หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ASEAN New Frigate แผ่นภาพ เปรียบเทียบ คุณลักษณะเรือฟริเกตใหม่ในภูมิภาค

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 24/04/2014 08:47:09

แผ่นภาพ เปรียบเทียบคุณลักษณะเรือฟริเกตใหม่ ที่มีการจัดหาใหม่ในภูมิภาค ASEAN

โดยแผ่นภาพนี้ เป็นข้อมูลในเงื่อนไข

1. ข่าวที่ปรากฎใน อินเตอร์เนต

2. การคาดการณ์ และการประเมินในความเห็นส่วนตัวของผู้จัดทำ ได้แก่

    2.1 Endurance ของ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของ ทร.ไทย

    2.2 เรือชุดใหม่ของ ทร.พม่า ประเมินจากภาพ CG

3. เรือฟริเกตใหม่ของ ทร.ไทย และ ทร.พม่า ยังไม่รวม มูลค่า อาวุธนำวิถี

 





ความคิดเห็นที่ 1


คุณลักษณะเรือใหม่ ของ ASEAN

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 08:31:38


ความคิดเห็นที่ 2


แผ่นภาพ เปรียบเทียบ ระยะทำการ อาวุธนำวิถี Anti Air Warfare ของเรือฟริเกตใน ภูมิภาค ASEAN รวม ทร.สิงคโปร์

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 08:33:14


ความคิดเห็นที่ 3


แผ่นภาพ เปรียบเทียบ อาวุธนำวิถี Surface To Surface Warfare เรือฟริเกตใน ภูมิภาค ASEAN รวม ทร.สิงคโปร์


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 08:35:01


ความคิดเห็นที่ 4


แผ่นภาพ เปรียบเทียบ อาวุธปราบเรือดำน้ำ เรือฟริเกตในภูมิภาค ASEAN รวม ทร.สิงคโปร์

สำหรับ การประเมิน ASROC ของ เรือฟริเกต ไทย ระยะ 33 ก.ม. มาจาก

ระยะของ ASROC = 22 ก.ม.

ระยะของ ตอร์ปิโด MK-46 = 11 ก.ม. หลังการปลดภาระจาก ระบบขับเคลื่อน ASROC

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 08:36:12


ความคิดเห็นที่ 5


ของพม่าน่าสนใจมว๊ากกกก [ขอเล่นเสียงนิดนึง xD ] แต่จะมาจริงแบบจัดเต็มงี้หรือเปล่านี่สิ

 

ปล.ตื่นเช้าจริงๆ = = ได้นอนกันบ้างไหมนี่ยครับ

โดยคุณ FiTaLipz เมื่อวันที่ 21/04/2014 09:19:58


ความคิดเห็นที่ 6


จากการเปรียบเทียบระยะ ของ อาวุธนำวิถี

จะเห็นข้อได้เปรียบในลักษณะการจัดหา ของ ESSM กับ ASTER-15

ถ้า เรือฟริเกต มีความต้องการทำลายในระยะเกิน 30 ก.ม. แต่ไม่เกิน 50 ก.ม.

เรือฟริเกต ที่ติดตั้ง ESSM ก็ยังสามารถใช้ ESSM ได้ตามปกติ ลักษณะ จะเป็น ซัลโว ESSM ได้ทุกระยะตั้งแต่ 50 ก.ม. ลงมา

เรือฟริเกต ที่ติดตั้ง ASTER จะต้องเปลี่ยนแบบไปใช้ Aster-30 แทน Aster-15 ลักษณะการ ซัลโว ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยระยะเกิน 30 ก.ม. จะใช้ Aster-30 ส่วน Aster-15 จะรอระยะ 30 ก.ม. ลงมา

จึงดูเหมือนกับว่า การมี Aster-30 จะมีไว้เพื่อต่อระยะจาก Aster-15

ส่วนที่เกินระยะ 50 ก.ม. ก็คงปล่อยเป็นหน้าที่ของ SM-2 กับ Aster-30

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 09:52:26


ความคิดเห็นที่ 7


ส่วนตัวคิดว่า SM-2 สำหรับเรา คงอีกนานแสนนาน

ถึงตอนนั้น สิงค์โปร์ คงมี Aster 30 Block 2 ที่ประสิทธิภาพเทียบเท่า SM-3 สำหรับสอย ballistic missiles

(ในขณะที่ Aster 30 Block 1NT พัฒนาใกล้แล้วเสร็จ ทดลองยิงเมื่อปีที่แล้ว คิดว่าอีกไม่นาน ตัวนี้พอๆกับ SM-2)

หากดูจากตาราง ที่น่าทึ่งมากที่สุด คงเป็นพม่า

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 21/04/2014 09:54:36


ความคิดเห็นที่ 8


ในความเห็นผม ผมคิดว่า SM-2 น่าจะมาใน เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 2

ซึ่งน่าจะเป็น ช่วงระยะเวลาที ทร. มีประสบการณ์กับ การอัพเกรดของ เรือชุด นเรศวร และ ร.ล.จักรีฯ 

และ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 1 สำหรับ ESSM เรียบร้อยแล้ว น่าจะมีข้อมูลเพียงพอในการจะปรับปรุง เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 2

ถ้าจะมองว่าในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 3 จะยังไม่เห็นโอกาสเกิด นะครับ

เพราะถ้าระยะเวลา เกินไปกว่า เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 2 นั้น ผมเกรงว่า SM-2 อาจจะไม่มีสายการผลิตแล้ว

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 10:05:33


ความคิดเห็นที่ 9


ของ ทร.พม่า ผมว่า เขามองไปที่ Aircraft Carrier Killer โดยเฉพาะ สหรัฐ ซึ่งน่าจะมีส่วนในการที่ ทร.พม่า กำหนด คุณลักษณะเรือ ให้ออกมาในลักษณะนี้

ก็อยู่ที่ว่า แบบเรือนี้ เป็นแบบเรือของ ทร.พม่า จริงๆ หรือ เป็นแบบเรือของ แฟนเพจ กองทัพเรือพม่า เท่านั้นครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 10:16:56


ความคิดเห็นที่ 10


ผมก็ยังมองไม่ออกอยู่ดีว่า เราจะได้ SM-2 มาพร้อมเรือลำที่ 2

จาก timeline ของ DSME จะส่งมอบเรือลำแรก ปี 2018  ลำที่ 2 ในปี 2020

นับจากวันนี้ ใน 6 ปี เราจะมี SM-2  ผมว่า โอกาสมันน้อยมากเลยนะครับ

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 21/04/2014 10:32:45


ความคิดเห็นที่ 11


ตอร์ปิโดหัวจรวดVL-ASROCเป็นMk.54รึเปล่าครับ....

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/04/2014 10:56:58


ความคิดเห็นที่ 12


คิดเหมือนคุณ miggers เลยว่า sm-2 มากแน่ๆ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 21/04/2014 10:58:09


ความคิดเห็นที่ 13


หลายชาติน่าจะเน้นการป้องกันกองเรือเป็นหลัก แต่ไม่ถึงขนาดห้วงอากาศกว้างๆเหมือนสิงค์โปร ที่อาจจะต้องการป้องกันทางอากาศระยะไกลสนับสนุนอากาศยาน อะไรแบบนี้......อีกส่วนนึงในกลุ่ม SAMระยะไกลในยุโรปนิยมASTER-15/30 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตรงนี้ไม่รู้ว่าราคาแพงมากหรือไม่ จึงนิยมใช้VL-MICA มากกว่า

อีกอย่างอาวุธของชาติที่เลือกใช้ก็มีระยะยิงตายตัวเช่น SA-N 7 ที่เป็นตัวส่งออก คล้ายเราที่เลือกESSM ส่วนSM-2 ไม่อยากจะคิดเลยจะได้จัดหาป่าว

 

RUM-139A-ใช้MK-46MOD.5 139C ใช้MK.54 น่ะครับ

 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 21/04/2014 11:49:13


ความคิดเห็นที่ 14


เรือฟริเกตสมรรถนะสูง โครงการนี้ มีระยะเวลา ประมาณ 10 ปี น่าจะสิ้นโครงการประมาณปี 2565

ลำแรก รับมอบประมาณปี 2561

ซึ่งถ้า ทร. มุ่งมั่นในโครงการเรือดำน้ำ เป็นลำดับแรก เป็นที่คาดหมายว่า งบประมาณลำที่ 2 น่าจะมาประมาณปี 2560 - 2561

ถ้านับจากปี 2557 จนกว่าจะครบปี 2565 ก็ประมาณ 8 ปี แล้วถ้านับ อายุ SM-2 ที่เริ่มเข้าประจำการ ปี 2526 ในอีก 8 ปี ข้างหน้า อายุเทคโนโลยี่ SM-2 ก็จะประมาณ 38 - 39 ปี แล้วครับ ผมว่า ถ้า ทร.จัดหา ล่าช้าไปกว่านี้ มันจะล้าสมัย ไปแล้ว หรือเปล่า ครับ

ผมว่า เป้าหมาย ทร. สำหรับ SM-2 ระยะเวลาคงไม่ได้นานเท่าไหร่ครับ

โดยเฉพาะ โครงกาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ทร. ได้วางงบประมาณจัดหา อมรภัณฑ์ (น่าจะหมายถึง อาวุธนำวิถีต่าง ๆ) ไว้ประมาณ 3,300 ล้านบาท (รวม 2 ลำ) หรือ ร่วม ๆ 100 ล้านเหรียญ 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 11:54:29


ความคิดเห็นที่ 15


ดูแล้วเรือไทย ไม่ไดัมีอะไรโดดเด่นกว่าเรือเพื่อนบ้านเลยน่ะครับ และอนาคต ไทยจะมีจำนวนเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่เป็นรองเพื่อนบ้านหลายๆประเทศเลยน่ะ เรือฟริเกตจากค่ายแดวูลำที่สองจะคลอดเมื่อไรไม่รู้ คงเกิน10 ปีแน่ เรือแจ๋วๆ ทร. สรุปมีสามลำ คือ ร.ล.ตากสิน นเรศวร และ แดวู01

ถ้ายังไม่เริ่มการต่อเรือรบเอง

โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 21/04/2014 12:20:24


ความคิดเห็นที่ 16


เม้นสั้นๆก่อนกินข้าว DSMEให้ข่าวในงานที่มาเลย์ว่าเราซื้อเรือเขา2ลำและกำหนดส่งมอบในปี2018และ2020 ผมก็ยังงงๆว่าลำที่2เซ็นสัญญาไปตอนไหนหว่า(หรือว่ารวมไปกับลำแรกแล้ว)

 

คห.ส่วนตัว ถ้าเราซื้อเรือสเป็กเดียวกันควรจะมีการส่งมอบต่างกันไม่เกิน2ปีให้มากสุด3ปีเอ้า  นอกจากว่าคุณมีอู่ต่อเรือได้เองในประเทศและมีแบบเรือเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์แบบ แบบนี้จะเว้น5ปีแล้วค่อยต่อใหม่ก็ได้ เช่นอู่ต่อเรือของจีนเพิ่งขายเรือOPVชั้นเรือหลวงปัตตานีให้กับไนจีเรียหลังจากเคยขายเราเมื่อ10ปีที่แล้วโน่น

 

แต่ถ้าไม่มีแล้วต้องรอถึง5ปีถือว่านานมากเกินไปแล้ว ฝ่ายสาวคงไม่รอไปหาผู้ชายใหม่แต่งงานด้วย แล้วเธอก็ต้องผิดหวังเพราะคนใหม่ไม่คิดแบบนั้นเลยแห้วมัน2ทาง แหม่... วนมาเรื่องใกล้ตัวได้ยังไงนะเรา

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 21/04/2014 12:24:58


ความคิดเห็นที่ 17


เอ....แต่ผมเห็นว่า เรือฟริเกตสมรรถนะสูงไทย เหนือกว่า ทุกด้าน เลยนะครับ

ราคาโดยรวม ก็ถูกกว่า ได้เรือขนาดใหญ่กว่า

ระยะของ อาวุธนำวิถี ก็ไกลกว่า ทุกประเทศ ปริมาณ ต่อลำ ก็สูงกว่า

อย่าเพิ่ง ไป เปรี่ยบเทียบกับ เรือ พม่า นะครับ เพราะ ตัวเลข เป็นที่ ผมประเมิน เอาเอง

และแบบจริง ๆ ยังไม่มีใครยืนยัน ครับ

ก็เป็นการ เปรียบเทียบ ตามข้อมูลที่ปรากฎ โดยทั่วไป ครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 12:27:47


ความคิดเห็นที่ 18


แล้ว ตัวแทนของ SM-2 ในอีก 10ปีข้างหน้า คืออะไรครับ

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 21/04/2014 12:28:14


ความคิดเห็นที่ 19


ผมว่าสายการผลิตของSM-2ไม่น่าปิดง่ายๆนะครับ ในเมื่อยังถูกใช้งานอยู่ในเรือฟริเกต/เรือพิฆาตของชาติพันธมิตรหลายชาติ

ทั้งสเปน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฯลฯ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/04/2014 12:52:56


ความคิดเห็นที่ 20


สมาชิกใหม่นะครับ

เท่าที่ดูจากแผ่นภาพของคุณ juldas ผมมองว่าเรือฟริเกตของ ทร.ไทยเป็นรองแค่พม่าเท่านั้น ที่เหลือผมว่าเป็นรองไทยหมดเลยนะ

ยิ่งดูที่ average cost แล้วพบว่าของเราต่ำกว่าประเทศอื่นด้วย อันนี้ดีมากเลยนะผมว่า (แต่มันจะไม่ดีถ้าระยะทำการของ อวป. ของเราด้อยกว่าเพื่อนบ้าน)

โดยคุณ smallforward เมื่อวันที่ 21/04/2014 12:54:57


ความคิดเห็นที่ 21


เรือพม่าถ้าจะว่าเป็นรอง คงมีแค่ประสิทธิภาพอาวุธประจำเรือกลุ่ม ASM ซึ่งตัวเลือกมีมากทั้งรัสเซียและจีน ซึ่งส่วนใหญ่มีระยะยิงไกลและตอบสนองลูกค้ามากกว่าอาวุธตะวันตก....ซึ่งถ้าเราต่อเรือใส่อาวุธรัสเซียหรือจีน ประสิทธิภาพอาจจะดีกว่าของพม่าขึ้นไปอีก

จึงไม่แปลกที่ดูแล้วพม่าจะเหนือกว่าคือเรื่องASM อย่างเดียว แต่ในด้านประสิทธิภาพอื่นๆเราเองก็ไม่ได้เป็นรองใคร

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:07:49


ความคิดเห็นที่ 22


มองตัวของพม่าครับ 

ถ้าอัพเต็มๆๆน่าเสียวตัวนี้ ไม่ธรรมดาครับ  นี้ถ้าเอาตัว fd 2000 ยัดลงไปด้วย ในวันหน้าพร้อม ป้องกันระยะไกล  เรดาร์ ตัวแจ๋ม ของพี่จีน

ตาร้อนเลยละครับ ทำเป็นเล่น อาวุธ จีน ยุคนี้  

พม่าก้าวหน้าดีครับ 

ไม่เกิน สองสามปีคง มีข่าวซื้อเรื่อลำน้ำ และ ซูสามสิบห้าแน่นอน  (เปิดปะเทศ ใครก่ออยากจับจองลงทุนด้วย) 

โดยคุณ ChaiTaNa เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:09:12


ความคิดเห็นที่ 23


เรือไซส์นี้ไม่น่าพอสำหรับHQ-9/FD2000นะครัข...

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:14:50


ความคิดเห็นที่ 24


ถ้าเป็นอย่างนั้น เบาใจได้ละ ไม่มีทีให้ลง fd 2000 ( กลัวจะโมเอามาตั้งเพียวๆ แถว ข้างเรือ เดาโมมั่วๆๆไม่มีอะไร ครับ  )

มาเชียรของเราต่อ (ให้บ้านเราสงบไวๆๆ มาพัฒนาทัพเรื่อกันหน่อยครับ ไม่ทันเพื่อนบ้าน แล้ว )

Meteor ตัวนี้ในอนาคต คงมีรุ่นยิงจากเรือ หรือเปล่า มองยาวไป (น่าจะมีเดา )

โดยคุณ ChaiTaNa เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:23:30


ความคิดเห็นที่ 25


ในตอนนี้ระบบใหญ่อย่างS-300/HQ-9 นั้นยังไม่มีส่งออกเลยน่ะครับมีใช้เฉพาะในกองเรือรัสเซียและจีน อย่างปากีสถานยังเลือกใช้LY-60 หรืออินเดียใช้ตัวใหม่อย่าง9M317ME เป็นต้น

เรือรัสเซียเล็กสุดน่าจะราว 4000+ตัน ที่รองรับแท่นยิงS-300

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:30:32


ความคิดเห็นที่ 26


ครับผม 

เรือเราต่อ ดูจากแผ่นภาพท่านจูล เรือเรา ไม่เป็นรองใคร ในย่านนี้แล้ว ละครับ

(มีข่าวปรับเปลี่ยนแก้ไข แบบ เรือ คิดว่า แฟนๆที่ชอบ ท่อยิง คงมีเฮ นะครับ รออัพเดส อีกรอบครับ  และจะมีของปลายน่วม มาแน่ ๆในวันหน้า)

โดยคุณ ChaiTaNa เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:45:20


ความคิดเห็นที่ 27


ผมยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องเอาMeteorมายิงจากพื้นนะครับ ในเมื่อMBDAเขามีAsterอยู่แล้ว

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/04/2014 14:47:58


ความคิดเห็นที่ 28


-เรือพม่า ภาพ CG ที่ไม่มีแม้แต่โมเดลประกอบไม่น่าจะนำมาอ้างอิงได้นะครับ  เพราะไม่เหมือนเรือที่พม่าต่อออกมาเสร็จแล้วแม้แต่ลำเดียว  เรือที่ต่อใหม่ยาวประมาณ 108 เมตร ระวางขับน้ำน่าจะประมาณ 3,000 ตัน

ส่วนระบบอาวุธและเซ็นเซอร์ควรดูคำสั่งซื้อของพม่ามากกว่าว่าซื้ออะไร

อย่าง Long  range radar ของเรือพม่าต้องเป็น RAWL-02 Mk III  2D  L-band เพราะมีข่าวสั่งซื้อ 3 ระบบจาก

Bharat Electronics Ltd (อินเดีย)

http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/03/indias-bel-signs-sensor-deal-with.html

http://www.janes.com/products/janes/defence-security-report.aspx?ID=1065977114&channel=defence

 

- RGM-84 Harpoon BlockII ระยะทำการประมาณ 130-140 km เองนะครับ ท่านอาจจะสับสนกับ  AGM-84  ซึ่งเป็น  air-launched

ซึ่งไม่มี  Booster  ทำให้มีเชื้อเพลิงมากขึ้นจึงมีระยะยิงไกล

ในอาวุธระดับเดียวกันสิ่งที่  Harpoon ได้เปรียบคือ ราคา ความน่าเชื่อถือ และหัวรบที่หนักกว่าชาวบ้าน

นี่เอาข้อมูลจากของโบอิ้งเลยนะ

http://www.boeing.com/assets/pdf/defense-space/missiles/harpoon/docs/HarpoonBlockIIBackgrounder.pdf

http://www.boeing.com/boeing/defense-space/missiles/harpoon/harpoonspec.page?

 

http://www.designation-systems.net/dusrm/m-84.html

ถ้าอิงปัจจุบันอาวุธปล่อยนำวิถีที่ยิงไกลสุดของกองทัพเรือคือ C-802A ของจีนที่มีระยะ 180 km

C602 ที่ยิงไกลถึง 280 km น้ำหนักมากกว่าถึงเท่าตัวเลย

 

- เรื่องความคงทนทะเล ก็ไม่รู้ว่าค่าที่บอกมาอยู่ในเรื่องไหน  และมันเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งมีเยอะก็ใช่ว่าจะทนขีปนาวุธมากกว่าชาวบ้าน

อย่างโครงการจัดหาเรือฟริเกตของฟิลิปปินส์ มีความต้องการ ดังนี้

https://rhk111smilitaryandarmspage.wordpress.com/2013/10/10/philippine-navy-frigate-acquisition-project-technical-requirements/

-Able to operate up to Sea State 6 (or maximum wave height of 6 m)

-No degradation of warfare mission at Sea State 5

-Able to conduct helicopter operations at Sea State 4

-Able to conduct Rigid Hull Inflatable Boat (RHIB) operations at Sea State 3

ส่วนใหญ่เค้ามักจะบอกค่า Sea State ที่ทำการรบได้ซึ่งมักจะอยู่ที่ 5

อย่าง MEKO® A-200  เค้าพูดว่า  helicopter and boat operations ได้ใน sea state 6

- เรื่อง SM-2  แน่ใจเหรอครับว่าจะได้ใช้ แค่ ESSM ยังไม่มีเงินหาให้เต็มอัตราเลย

FCS ก็กำลังส่งต่ำ ขนาดเสาอากาศก็ไม่ใหญ่พอ ถ้าขนาด 2.4 m จะไม่สงสัยเลย

 

- Ciws ของเรือพม่าผมให้น้ำหนัก AK-630 มากกว่า ส่วน SAM นอกจากของรัสเซียแล้ว

HQ-7  และ HQ-16 ก็มีลุ้นในเรือพม่าสูง

- ผังนี้ยังขาดด้าน Electronic Warfare กับจำนวนลูกเรือนะครับ ผมว่ามีผลเยอะเหมือนกัน

 



โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 21/04/2014 16:17:05


ความคิดเห็นที่ 29


Harpoonนี่มันสั้นกว่าชาวบ้านจริงๆ เพราะมะริกันไม่ชอบSSMหรือไงนะ...เรือตัวเองก็แทบไม่ติด

แต่block II มี land attack modeด้วยนี่ครับ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/04/2014 17:13:42


ความคิดเห็นที่ 30


เรื่องอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำผมคิดว่า ทร. น่าจะเลือกรุ่นที่มีระยะยิงไม่ต่ำกว่า 180 กิโลเมตรน่ะครับ คืออย่างน้อยเวลาเกิดดวลกันจริงระยะทางก็มีผล ยิงถูกก่อนก็มีสิทธิยิงซ้ำได้หากข้าศึกไม่จม

ผมเห็นในตารางมี Asroc ด้วยตกลงเรือเรามีแล้วหรือครับ หรือแค่รองรับสำหรับติดตั้งในอนาคต  แต่ในความเห็นผมควรจะมีติดมาตั้งแต่แรกเลยดีที่สุด ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 21/04/2014 17:37:49


ความคิดเห็นที่ 31


ผมว่า ของ ไทย ก็ สวย นะ เเต่อยากได้ ปืน ตัวที่ 2 เเบบเรือ SIGMA -10514 เห็นในคลิป  มันยิง เร็ว เเม่น ยำอีก

เเต่อยากได้รูปทรงเรือ เเบบ SIGMA -10514 มันทันสมัยดี

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 21/04/2014 17:48:08


ความคิดเห็นที่ 32


Meteor มีแน่นอน รุ่นยิง จาก พื้น และจะขยาย มาสู่เรือ  อ้างอิงจาก IRIS-T SL 

ซึ่งคนที่จะ คิดทำ น่าเป็นเจ้าเดียวที่ทำตัวนี้ ต้องใช้เวลา น่าจะประมาณ สิบปี พอกับ เราได้เรือ ลำที่สอง คงมีตัวเล่นอีกเยอะ 

ห้าปี ความทันสมัยด้าน ไอที ไปอีกไกล 

มาลุ้นให้บ้านเมืองสงบ ไวๆๆ ให้ พม่าซื้อ เรือดำน้ำ ตอนนั้น( ถ้าพี่ไทย ยังไม่ซื้อ ก่อยอมละครับ นอกประเด็นนิดหนึ่ง ขออภัย)

HQ-16 มีเกิดแน่นอนครับ ในวันหน้า กลับพม่า 

 

 

โดยคุณ ChaiTaNa เมื่อวันที่ 21/04/2014 18:02:53


ความคิดเห็นที่ 33


จริงอยู่ครับที่เรือฟริเกตใหม่เราเจ๋งกว่าเรือเพื่อนบ้าน คิดถึงเรื่องจำนวนด้วยและความยากง่ายของโอกาสการได้เรือลำใหม่ๆ ส่วนตัวคิดว่าหมัดยังไม่โดดเด่น (แต่สายตาดีมาก555 )SM-2 Asroc จะได้แจ้งเกิดหรือไม่ยังไม่รู้เลย 555

คิดเล่นๆ เอาDTI1G ยัดใส่ เรือหลวงปัตตานี นราธิวาส เลยดีมั๊ย 555

โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 21/04/2014 18:03:55


ความคิดเห็นที่ 34


ท่านChaiTaNa Meteorเป็นของMBDA ซึ่งเจ้าตัวมีทั้งVL-MICAในระยะสั้นมาก Aster-15ในระยะสั้น Aster-30ในระยะกลาง-ไกล

ผมไม่เห็นว่าเขาจะพัฒนามาทำไมนะ

ส่วนIris-Tเป็นของDiehl Defence ซึ่งที่บริษัทไม่มีอวป.พื้นสู่อากาศ (นอกจากRAMที่ถ้าเข้าใจไม่ผิดซื้อlicenseมาจากRaytheon)

ดังนั้นก็เป็นธรรมดาที่เขาจะพัฒนาออกมาจากรุ่นที่ผลิตอยุ่แล้ว ให้ใช้ยิงจากภาคพื้นและเรือดำน้ำ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/04/2014 18:59:19


ความคิดเห็นที่ 35


ผมเอาข้อมูลมาจาก วิกีพีเดีย น่ะครับ

  • Range: Over-the-horizon (approx 50 nautical miles)
    • AGM-84D (Block 1C): 220 km (120 nmi)
    • RGM/UGM-84D (Block 1C): 140 km (75 nmi)
    • AGM-84E (Block 1E) : 93 km (50 nmi)
    • AGM-84F (Block 1D): : 315 km (170 nmi)
    • RGM-84F (Block 1D): 278 km (150 nmi).
    • RGM/AGM-84L (Block 2): 278 km (150 nmi)
    • AGM-84H/K (Block 1G / Block 1J): 280 km (150 nmi)
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2014 19:55:02


ความคิดเห็นที่ 36


 

http://weaponsystems.net/weapon.php?weapon=HH10+-+Harpoon

ขอแปะ ครับ

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ ChaiTaNa เมื่อวันที่ 21/04/2014 20:28:13


ความคิดเห็นที่ 37


ระบบที่ใกล้เคียง SM-2,SM-3 มากที่สุดของ MBDA คือ Aster30 รุ่นนี้ครับ

แน่นอน มันออกแบบมาให้รองรับแท่นยิงแบบ Sylver VLS 

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 21/04/2014 21:01:36


ความคิดเห็นที่ 38


เห็นว่าเวียดนามเล่น 2 ตัวเลย เกพาร์ด(สั่งไป 2 ลำ)กับซิกม่า(ไม่แน่ใจเรื่องจำนวน) คงจะรับมือกับจีนงานนี้ 

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 21/04/2014 23:17:44


ความคิดเห็นที่ 39


ว่าที่เรือฟริเกตพม่านี่ ของเล่นเยอะน่าดูเลย ถ้าเทียบจากเรืออื่นๆที่สั่งไปของต่างประเทศ รวมถึงไทยด้วย

โดยคุณ udom34 เมื่อวันที่ 21/04/2014 23:19:41


ความคิดเห็นที่ 40


MBDA ที่ว่าตระกูลจรวดซ้ำซ้อนกัน คือบริษัทมันเป็นการควบรวมกิจการขีปนาวุธของยุโรปเข้าด้วยกัน ซึ่งพวกจรวดพวกนี้พัฒนามากึ๊กกึ๋ย มากแล้วครับ และแต่ละประเทศก็ยังใช้จรวดเดิมของตัวเองอยู่ เช่นราฟาลก็ยังใช้ mica ดังนั้นไม่มีสาเหตุให้ MBDA โยนทิ้งครับ

 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/04/2014 01:00:12


ความคิดเห็นที่ 41


เท่าที่หาข้อมูลได้ RGM-84L มีระยะยิง 67-75 nmi. (124-140 km.) เท่านั้นครับ (ในเวปของโบอิ้งเองก็ระบุแค่ 67 nmi.) ส่วนรุ่นที่มีระยะยิงไกลถึง 145 nmi. (280 km.) จะเป็น AGM-84H/K "Slam ER" ซึ่งใช้ "ปีก" ที่พัฒนามาจาก "โทมาฮอว์ค" ในการเพิ่มแรงยกด้วยแรงฉุดต่ำจึงช่วยให้ร่อนได้ไกลขึ้น

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 22/04/2014 08:53:18


ความคิดเห็นที่ 42


เข้าใจว่าบล็อก II (84L) มีทั้งสามแพล็ตฟอร์มครับตาม pdf ของ boeing. ที่ใช้เทคโนโลยี่ JDAM ผสมกับ Slam ER

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/04/2014 10:10:24


ความคิดเห็นที่ 43


หลังจากที่ได้ลองศึกษาข้อมูลดูแล้ว น่าจะเป็น ดังนี้ ครับ

Harpoon Block 2 จะเป็นชุด อัพเกรด ในการเพิ่มระบบ GPS/INS และจะมีชุด ชุดระบบควบคุมเพิ่มเติม ด้วย

เช่น ทร. ออสเตรเลีย ก็ใช้การ อัพเกรด จาก Harpoon ชุดเดิม เป็นการ retrofit เป็น Block 2 ดังนั้น คุณลักษณะพื้นฐาน เรื่องระยะทำการ จึงยังเป็นระยะของตัวเดิม คือ 124 ก.ม.

The Harpoon Block II is an upgrade program to improve the baseline capabilities to attack targets in congested littoral environments. The upgrade is based on the current Harpoon. Harpoon Block II will provide accurate long-range guidance for coastal, littoral and blue water ship targets by incorporating the low cost integrated Global Positioning System/Inertial Navigation System (GPS/INS) from the Joint Direct Attack Munitions (JDAM) program currently under development by Boeing. GPS antennae and software from Boeing's Standoff Land Attack Missile (SLAM) and SLAM Expanded Response (SLAM ER) will be integrated into the guidance section. The improved littoral capabilities will enable Harpoon Block II to impact a designated GPS target point. The existing 500 pound blast warhead will deliver lethal firepower against targets which include coastal anti-surface missile sites and ships in port. For the anti-ship mission, the GPS/INS provides improved missile guidance to the target area. The accurate navigation solution allows target ship discrimination from a nearby land mass using shoreline data provided by the launch platform. These Block II improvements will maintain Harpoon's high hit probability while offering a 90% improvement in the separation distance between the hostile threat and local shorelines. Harpoon Block II will be capable of deployment from all platforms which currently have the Harpoon Missile system by using existing command and launch equipment. A growth path is envisioned for integration with the Vertical Launch System and modern integrated weapon control systems. With initiation of engineering and manufacturing development in 1998, initial operational capability for Block II will be available by 2001.

Harpoon Block II orders and deliveries

In April 2004, Boeing was awarded a $20m contract to deliver Harpoon Block II missile retrofit kits for the Australian Defence Force.

Boeing received the first contract for Harpoon Block II in November 1998. The first Harpoon Block II missile was delivered in 2001.

In April 2004, Boeing was awarded a $20m contract to deliver Harpoon Block II missile retrofit kits for the Australian Defence Force (ADF).

In June 2009, Boeing delivered the first four Harpoon Block II missiles with a redesigned GCU to the US Navy for transfer to two nations under Foreign Military Sales (FMS) programme.

In August 2010, India and US signed a FMS contract for the delivery of 24 Harpoon Block II missiles for the maritime strike squadron of the Indian Air Force.

In July 2011, Boeing was awarded a $120m firm-fixed-price contract by the US Navy for the production of about 60 Lot 86 Harpoon missiles and associated systems for the US and six other nations. The deliveries began in August 2011 and were concluded by mid-2012.

In June 2012, Boeing received a $145.1m firm-fixed-price contract from US Naval Air Systems Command for 90 Harpoon Block II missiles and associated hardware for the US and four foreign customers. The contract also includes example and test variants of the SLAM ER. The missile deliveries are expected to be made through December 2013.

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2014 12:31:34


ความคิดเห็นที่ 44


ส่วน Harpoon ที่มีระยะทำการ มากกว่า 200 ก.ม. ก็จะมี RGM-84F (Block 1D) ซึ่งต้องมีการใช้ ท่อปล่อยอาวุธนำวิถีที่มีความยาวมากขึ้น

AGM-/RGM-84F (Block 1D)
IOC planned in 1993. 23.2-in (0.59-m) extension added to the sustainer section to carry additional fuel making it roughly 90kg heavier. The wings are moved forward to maintain flying characteristics.

Aerodynamic range is approximately 150 nm (173 miles; 278 km). Much of the increased range capability is used for flying a cloverleaf search pattern that permits the Harpoon to resume searching if the target breaks lock on the first pass. MGU incorporates improved memory board, faster Central Processing Unit (CPU), modified ARA originally developed for the AGM- 84E SLAM .

US $9.8 million contract awarded to McDonnell Douglas in September 1989. First air-launched test flight on 4 September 1991, followed by firings from USS JOUETT (CG 29); all five development test phase launches were described as successful. Will not be deployed in submarines, Mk 13 SAM launcher, or ASROC magazines because the missile is too long. Surface vessel fits will require a new launch canister.

 

ซึ่งมี ติดตั้งอยู่กับ เรือชั้น F-124 ของ ทร.เยอรมัน ระยะทำการประมาณ 240 ก.ม. ซึ่งมีเป้าหมายในการใช้ โจมตีภาคพื้นดิน ด้วย

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2014 12:34:15


ความคิดเห็นที่ 45


ตามความเข้าใจ ถ้าอยากได้ Harpoon Block 2 ที่มีระยะทำการมากกว่า 200 ก.ม.

ก็น่าจะใช้ชุด RGM-84F ใส่ชุด อัพเกรด Block 2

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2014 12:38:11


ความคิดเห็นที่ 46


แท่นยิง Harpoon ของ F-124 class

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2014 12:42:43


ความคิดเห็นที่ 47


น่าจะเป็นตามที่ท่าน Juldas บอกล่ะครับ ที่หาเจอคือ RGM-84F จะเป็นรุ่น ER เพิ่มเชื้อเพลิงขึ้นอีก 90 kg. ระยะยิงไกลสุด 150 nmi (278 km.) ตัวจรวดยาวขึ้นอีกราว 2 ฟุต น้ำหนักรวมเพิ่มขึ้นอีก 160 kg. ตามข่าวของคุณวาสนาตัวที่จะติดตั้งบนเรือฟริเกตสมรรถนะสูงก็น่าจะเป็น เจ้าตัวนี้แหละ RGM-84L Hapoon block II 

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 23/04/2014 13:39:59


ความคิดเห็นที่ 48


เออ แล้วระบบเรดาร์เรือฟริเกตใหม่ไทยนี่พอจะสามารถ รองรับกับจรวดที่ยิงใกล 200กว่า กมได้ได้ไหม ครับ อย่างเราจะเล็งเป้าไหนก็ต้องใช้เรดาร์ล๊อคเป้ายิง   ประมาณนั้น

โดยคุณ au233 เมื่อวันที่ 23/04/2014 16:01:07


ความคิดเห็นที่ 49


มีเรดาร์ระยะไกล ด้านท้ายเรือครับ

เห็น ทร. ระบุไว้ ใช้ Sea Giraffe Extened Range 3D ระยะไม่น่าจะต่ำกว่า 350 ก.ม.

และถ้าใช้ Harpoon Block 2 ก็มีระบบ GPS ด้วย นอกจากเรดาร์ตัวเรือ ก็น่าจะสามารถใช้ระบบในเครือข่าย ชี้เป้าให้กับ Harpoon ด้วย

โดยจะมีความสามารถในอีกลักษณะหนึ่ง คือ การโจมตีภาคพื้นดิน จาก ทางทะเล ของเรือชุดนี้

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/04/2014 08:09:33


ความคิดเห็นที่ 50


ในหนังสือทางวิชาการ เห็นมีข้อมูลไว้ สรุป พอประมาณว่า

RGM-84L = Harpoon 2000 = RGM-84J

โดย RGM-84L เป็นรุ่น เฉพาะส่งออก จะไม่มีประจำการใน ทร.สหรัฐ

ดูที่หน้า 553

http://books.google.co.th/books?id=4S3h8j_NEmkC&pg=PA554&lpg=PA554&dq=egypt+RGM-84L&source=bl&ots=hI_yLOXZd-&sig=NJcvEf8PDsy2ymVU8P-k_J2mAgA&hl=th&sa=X&ei=qGZYU-TPNMz38QWu6IK4Bw&ved=0CGcQ6AEwCg#v=onepage&q=egypt%20RGM-84L&f=false

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/04/2014 08:16:13


ความคิดเห็นที่ 51


ซึ่งก็ เดา ๆ กันว่า ไม่แน่ อาจจะเป็น Sea Giraffe 4A

ที่โฆษณาล่าสุด ก็ลงไว้เป็น Long Range Radar

http://www.miltechmag.com/2014/02/defexpo-2014-saabs-naval-and-maritime.html

The long range variant of the Sea GIRAFFE radar family is the Sea GIRAFFE4A. This is a 3D multi-mission AESA radar on the S (E/F)-band  which is designed to meet tomorrow´s naval commander challenges like smaller and faster multiple threats, complex target maneuvering, electronic attack and protect. With automated target classification and identification, the radar is suited for both littorals and blue water operations. It takes full advantage of the AESA technology (multi mission), and like other Saab Naval radars, has a low footprint, and high air and surface search volume capacity and very long detection range for a relatively small radar.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/04/2014 08:47:09