ระหว่างที่ กำลังทำแผ่นภาพ ข้อมูลเปรียบเทียบ การจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของ ประเทศในภูมิภาค ASEAN ก็เห็นมีภาพปรากฎ เรือฟริเกตยุคใหม่ของ ทร.พม่า ที่ปรากฎ เผยแพร่ใน อินเตอร์เนต ซึ่งก็มีการระบุ ถึง ระบบอาวุธต่าง ๆ ที่จะติดตั้งบนเรือชุดใหม่ นี้
จึงได้ลอง วิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูล และเหตุผล ส่วนตัว จึงขอนำเสนอ เพื่อนำมาวิพากษ์ วิจารณ์ กันครับ
เรือชุดใหม่ หรือ ยุคใหม่ของ ทร.พม่า เมื่อได้ลองดูภาพ CG แล้ว แล้วลองเปรียบเทียบกับคุณลักษณะเรือแล้ว
จึง วิเคราะห์ ได้ว่า น่าจะเป็นแบบเรือ Type-054 Class ของ ประเทศจีน ที่ทำการ Mod. รูปแบบเรือบางส่วน
สำหรับระบบอาวุธ ก็ได้มีส่วนผสม ระหว่าง รัสเซีย อินเดีย และ จีน
โดยระบบ AAW ในแผ่นภาพได้ระบุว่าเป็น Shtil-1 จึงได้ลองดูข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นได้ว่า ระบบ AAW จะใช้ของ รัสเซีย ทั้งหมด
สำหรับระบบ VLS ของเรือ จำนวน 3 ระบบ รวม 24 Cell โดยในแผ่นภาพได้ระบุถึง อาวุธนำวิถี จำนวน 4 แบบ ด้วยกัน
จึงได้ข้อมูลว่า ระบบ VLS ควรจะเป็น Universal VLS ซึ่งเป็นระบบร่วม ของ อินเดีย และ รัสเซีย
โดยระบบตรวจจับ เพื่อส่งข้อมูลให้ อาวุธนำวิถี เชื่อว่า น่าจะเป็นระบบจาก ประเทศจีน เช่นเดิม ซึ่งเป็นระบบที่ คัดลอก มาจากระบบตรวจจับ ของประเทศรัสเซีย อยู่แล้ว
เนื่องจาก ระบบอาวุธนำวิถี พื้น สู่ พื้น ในแผ่นภาพได้ระบุ ว่าใช้ C-602 เป็นระบบพื้นฐานของเรือ จึงเชื่อว่า ระบบตรวจจับ ก็ควรจะเป็นระบบตรวจจับ และส่งข้อมูลจาก ประเทศจีน
ส่วนระบบ ปราบเรือดำน้ำ นั้น
จากข่าวที่ พม่า ได้จัดหา ระบบโซนาร์ จาก ประเทศอินเดีย เพื่อติดตั้งให้กับ เรือฟริเกตใหม่ (F-11,F-12,F-14,F-15)
จึงเชื่อว่า ระบบโซนาร์ คงไม่หนีไปจาก ประเทศ อินเดีย เช่นกัน
ประกอบกับ แท่นยิง VLS มีการระบุการใช้ อาวุธนำวิถีโจมตีเรือดำน้ำ ด้วย
ดังนั้น เรือลำนี้ จึงควรมี ระบบโซนาร์ นอกเหนือจาก ที่ติดตั้งบนลำตัวเรือ จึงน่าจะมีระบบโซนาร์ ลากท้าย ด้วย
ระบบโซนาร์นี้ จึงน่าจะใช้ระบบของ ประเทศอินเดีย ทั้งหมด และด้วยระบบแท่นยิง เป็นระบบของประเทศอินเดีย ร่วมกับ รัสเซีย การส่งข้อมูล ให้จรวด ควรจะมาจากแหล่งเทคโนโลยี่ เดียวกัน
ในภาพรวมของ คุณลักษณะเรือ จึงพอสรุปได้ ตามแผ่นภาพ
โดยในส่วนของ CMS ค่อนข้างให้น้ำหนักไปที่ เป็นของ ประเทศจีน ซึ่งได้ ไลเซนต์ โดยคัดลอกมาจากระบบ TAVITAC
โดยมูลค่าโครงการ เป็นการคาดคะเนในความเห็นส่วนตัว เนื่องจากเป็นการสร้างเรือที่ ประเทศพม่า ทั้งสิ้น
อ้างอิงจากข้อมูลในเอกสารเผยแพร่ บนอินเตอร์เนต ได้ประเมินไว้ว่า เรือ Type-054 Class ของ ทร.จีน จะมีต้นทุนโดยรวม ประมาณ 333 ล้านเหรียญต่อลำ
จึงคาดหมายว่า เมื่อเรือชุดนี้ มีพื้นฐานมาจากแบบเรือ Type-054 ราคาเรือ จึงไม่น่าจะแตกต่างกัน
ขนาดแค่ 3500 ตัน แต่หมัดหนักมาก แถมราคาไม่แพงด้วย ทร. ของเราน่าจะกลับมาคิดทำการบ้านสำหรับแก้ไขแบบเรือฟริเกตสมรรถนะสูง 2 ลำ ว่าจะต้องเพิ่มเติมอะไรอีกหรือเปล่า หรือเอาแบบของพม่าคือซื้อแบบมาต่อเองทั้งหมด ส่วนแบบอาจของจีนก็ได้ เกาหลีก็ได้
ดูแบบผ่านๆมันเหมือนเรือชั้นปัตตานีของเราเหมือนกันนะ
ราคาใช้ อ้างอิง ใช้ไม่ได้นะครับ ผมคิด เอาเอง
แต่ความทนทานของเรือที่ ทร.ไทย จัดหา จะมีความคงทนกว่ามากครับ
เพราะตามข้อมูล คือ เรือของ ทร.ไทย ทนได้ถึง Sea State 8
ส่วนเรือของ พม่า ผมคิดว่า ไม่น่าเกิน Sea State 6 หรือ อาจจะอยู่แค่ Sea State 5
ความรู็เรื่อง Sea State ตามลิงค์ ครับ
http://zedth.exteen.com/20060424/sea-state
ว่ากันว่าเรือชั้น type 054A เชื่อกันว่าเอาดีไซน์หลายๆ อย่างมาจากชั้นปัตตานีครับ
Type 344 (Mineral-ME Band Stand) OTH target acquisition and SSM fire control radar หรือเปล่าครับท่านจูดาส ไม่น่าใช่เรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกลนะครับ ส่วนMR-36A เองก็มีประสิทธิภาพประมาณ100กม.เองติดไว้ยอดสุดเชียว
เรือType054ของจีนลูกกลมๆด้านหน้าน่าจะเป็นType 345 (MR35) fire-control radar system to guide the HQ-7 short-range surface-to-air missile มากกว่านะครับ ส่วนเรือพม่าเล่นติดอาวุธราคาแพงทันสมัยแบบนี้จนเต็มำราคาไม่ถูกแน่นอนหละ(ถ้าได้ตามนี้จริงๆนะ)
จะเอาแบบเรือType054ของจีนมาโมได้คนทำต้องเก่งมากพอตัวเลยทีเดียว เพราะช่องปล่อยท่อไอเสียขนาดใหญ่กลายมาเป็นแบบท่อคู่2ฝั่งเหมือนเรือซิกม่ายังไงยังงั้น เกาหลีใต้ส่งคนไปดูงานบ้างนะเรา ชิ (ขอประชดDSMEน้อยนึง)
design ของ type 054 ผมว่าเหมือนเรือเกาหลีแบบ kdx ll จากทรงสะพานเดินเรือ เสากระโดง โรงเก็บฮ.
เรือพม่าลำต้นแบบนี้ผมว่าตัวจริงน่าจะเปลี่ยนไปเยอะ อารมณ์ประมาณเรือฟริเกตใหม่ของเรา
เผลอๆยังเป็นแค่ภาพคอนเซ็ปยังไม่ได้เริ่มมีแบบแปลนอะไรด้วยซ้ำ
Type-344 ตัวนี้ น่าจะเป็น MINERAL-ME เรดาห์ ที่ จีน ก๊อปปี้ จาก รัสเซีย
Mineral-ME shipborne radar system is intended to control missile armament system and provide over-the-horizon early radar acquisition and target designation on virtually all types of ships.
The system comprises:
- Mineral-ME1 active radar (ARdr),
- Mineral-ME2 passive radar (PRdr),
- Mineral-ะะะ data exchange and orientation radar (DEORdr).
All radars are built around a single design base.
พอดีผมเห็นใน คุณลักษณะเรือ Project 22356 ให้ความหมาย MINERAL-ME เป็น Long Range Radar ซึ่งคงไว้ใช้ ชี้เป้า ให้กับ Bramos และ มิสไซด์ ต่าง ๆ ที่บรรจุ อยู่ใน แท่นยิง Universal VLS ครับ และน่าจะรวมถึง C-602
ถ้าเป็น Passive Radar จะมีระยะถึง 450 ก.ม.
เรดาร์ Project 22356
Electronics: |
1 Fregat-M2EM or Fregat-MAE-3 air & surface target detection radar
|
ส่วนเรดาห์ MA-36A ผมก็ว่าไม่น่าจะใช่ แต่เห็นมันระบุไว้ใน คุณลักษณะของเรือ Type-054 เลยคิดว่าน่าจะเป็นตัวนี้
แต่พอดูในคุณลักษณะเรือ Type-052C ตัวเรดาห์ใน โดม บนสุดของเสา อาจจะเป็น Type-364 ซึ่งมีระยะประมาณ 300 ก.ม.
ซึ่งอาจจะเป็นตัวนี้ ก็ได้ครับ ก็จะเห็นตำแหน่งการติดตั้งเรดาร์ เรือฟริเกตพม่า ลำนี้ เหมือนกับ Type-052C
The Type 364 radar was developed by the Yangzhou Marine Electronic Instruments Research Institute / No. 723 Research Institute. It is typically enclosed in a dome on new PLA-N's frigates and destroyers. An improved version of the earlier Type 360, it replaces the Yagi IFF antenna with a planar IFF configuration and moves to higher frequencies in order to achieve better target discrimination. The dome is also expected to improve azimuth resolution. It is expected to be used primarily for CIWS targeting with secondary air search and SSM targeting abilities. It is offered for sale through the China Shipbuilding Industry Corporation
ส่วนท่อปล่องปล่อยไอเสีย ของเรือ ผมว่าดูเหมือน DW3000H ที่ DSME เคยเสนอแบบขายให้ไทย เพื่อลดความร้อน ลดการตรวจจับ
ขอไล่เรดาร์บนเรือจีนก่อนติดเยอะมากจนงงไปหมด ผมเข้าใจตามภาพนี่แหละครับคือ Type344ในราโดมหน้าเป็นเรดาร์สำหรับนำวิถีจรวดSSM ด้วยตำแหน่งที่ติดตั้งและการเซตอัพมันคงใช้งานอย่างอื่นไม่ค่อยได้และระยะทางตรวจจับก็คงประมาณ100-150ตามสไตล์จีนนั่นแหละครับ Type-054ถ้าไปเจอสงครามอิเลคทรอนิคเข้าทำอะไรไม่ได้เลยนะ เพราะใช้เรดาร์ควบคุมทุกอย่างไม่มีE/Oแบบมิราดอร์เลย ฉะนั้นEW Suite ของเขาต้องดีจริงเจ๋งจริง (ส่วนเรือเราไม่มีECM ชิ) ภาพอยู่คห.ถัดไปนะครับใส่ผิด แฮะๆ
มาเรือพม่าต่อ ถ้าเรือเขามีType382อยู่บนเสาสุงผมจะเกรงใจพอสมควร แต่เรดาร์ตัวนี้ไม่มีมีแต่ลูกกลมๆซึ่งผมคิดว่าจีนไม่มีทางขายType 364 radarให้แน่ อย่างดีก็ได้MA-36A(หรือType 362)ตามที่ท่านจูดาสบอก ทำให้เรือมีเรดาร์ประสิทธิภาพเท่าSelex RAN-30X/Iบนเรือหลวงปัตตานี จริงๆเรดาร์จีนมาจากอิตาลีหลายตัวเหมือนกันนะอย่างType360ที่เคยอยู่บนเรือหลวงนเรศวรนั่นก็คือ RAN-10Sแปลงร่างนั่นเอง เรือพม่าเจ๋งจริงหรือไม่ดูตอนต่อเสร็จว่ามีเรดาร์อะไรติดบ้างก็น่าจะไหว
ท่อคู่ออก2ด้านส่วนมากจะเห็นในเรือที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลล้วนนะ(LPDใช้แบบนี้กันแทบทุกลำ) ส่วนจะช่วยเรื่องลดการแพร่ความร้อนหรือเปล่าไม่แน่ใจแต่มันเล็กดีผมชอบเท่านั้นเอง
เวรกรรมใส่รูปผิด *_* เดี๋ยวรูปใหญ่เกิน150kbก็ใส่ได้ไม่รู้มันดีหรือไม่ดีเนี่ย
เรือพม่า ลำนี้ ติด C-602 ซึ่งระยะยิง ประมาณ 280 ก.ม. ซึ่ง ทร.จีน เรือที่มีการติดตั้ง C-602 มีเพียงชั้น Type-052C
ดังนั้น เรือลำนี้ ก็จะเป็นลักษณะ ตัวเรือ เป็น Type-054 Mod.ส่วนระบบอาวุธ จะเป็น Type-052C
ซึ่ง เรดาร์ ตรงโดม นั้น เท่าที่ลองค้นดู เป็นว่า น่าจะเข้าใจผิดกันครับ
เรดาร์บนโดม บนสะพานเดินเรือ น่าจะเป็น MR-331 Mineral-ME ตามข้อมูล คือ ติดบน Type-052C กับ Type-054
ข้อมูลของเรือ Type-052C
A Russian MR331 Mineral-ME (with NATO reporting name Band Stand) fire-control radar (for anti-ship missile and for the main gun as its secondary mission) was capable of over the horizon targeting, and it has been installed on other newly built PLAN ships including Type 054A frigate. The Type 344 Radar is installed to provide fire control for the main gun, and for the Type 730 CIWS as its secondary mission in case the locally mounted fire control radars for the CIWS malfunctioned or damaged in battles. Two locally mounted LR66/TR47C radars derived from Type 347 Radar provide fire control for the Type 730 CIWS, and although these radars are also capable of providing fire control for the main gun, it is not known if such capability has been incorporated via the combat data system. Type 364 Radar is installed in a radome for air and surface search, and this radar acts as a supplement of the Type 348 Radar and as a provider of target information for SAM and CIWS, while also have the anti-ship missile targeting as its secondary mission.
ซึ่งดูตามข้อมูลแล้ว type-364 จีน ก็จำหน่ายครับ
It is offered for sale through the China Shipbuilding Industry Corporation
วิเคราะห์ ระบบเรดาร์ ใหม่ น่าจะเป็น ดังนี้
type-052c
C602 หมายถึงไอ้นี่เหรอเปล่าครับไปแอบขโมยมาอีกที ระยะยิง280กม.แต่เรดาร์ควบคุมการยิงระยะทำการสั้นกว่าก็เป็นปรกติอยู่นะ
ผมก็ยังไม่อยากเชื่ออยู่ดีว่าเรือพม่าจะติดของดีราคาแพงแบบนั้นได้ทั้งลำ ที่ผ่านมาทั้ง F-12 F-14 ยังไม่เห็นโดมโซนาร์เขาเลย(อาจจะอยู่กลางลำก็ได้)ระบบปราบเรือดำน้ำก็ยังเป็นRBU แล้วอยู่ดีๆมาลำนี้ได้จรวดปราบเรือดำน้ำVLSโคตรเทพระยะยิงไกลมาก สเป็กเรือค่อนข้างก้าวเยอะเกินไปเมื่อเทียบกับระวางขับน้ำและเรือลำก่อนๆ ยังสงสัยว่าลูกเรือจะต้องเก่งแค่ไหนกันแล้วคนที่จัดการระบบมันต้องเทพมาจุติแน่ๆ(เรดาร์จีนจรวดรัสเซีย+จีนระบบต่อสู้อากาศยานรัสเซีย ท่อVLSของใครดีหละ แล้วยังปืนอิตาลีโซนาร์อินเดียอีก)
ไม่ได้ว่าเขาขี้โม้นะครับแต่สเป็กมันเกินไปจริงๆ เหมือนสมัยก่อนไม่นานเท่าไหร่ที่เราฝันจะมีเรือฟริเกตเยอรมันติดเราดาร์มัสมัยยิงSM-2ได้ในวงเงิน500ล้านเหรียญ รอดูกันต่อไปว่าพม่าจะเจ๋งจริงตามนี้
พม่า จัดหา โซนาร์จาก อินเดีย เมื่อต้นปีนี้ ครับ
India has signed a $29.24 million deal to sell Indian-developed sonar equipment to Myanmar, Defence Minister A K Antony said on Wednesday.
Indian electronics firm, Bharat Electronics Limited (BEL) signed a contract for the supply of three “hull-mounted sonars” with the government of Myanmar on January 16, 2013, the Minister told Indian lawmakers on Wednesday in a new highlight of Asian regional cooperation.
Contrary to earlier reports, he said India’s Defence Research and Development Organisation is not involved in export as it has been given the mandate for research and development of various systems and technologies for the use of the armed forces.
BRICS members China and India have formed an intergovernmental body with Bangladesh and Myanmar for the BCIM economic corridor in December last year.
Consultations have been held earlier on the feasibility of a BCIM Economic corridor, a region host to 40% of the world’s population. The belt hopes to retrace the lost trails and revive commercial trade in the ‘Southern Silk Route’.
Both India and China have been allies of Myanmar (earlier called Burma) through the country’s transition from military dictatorship to civilian rule even as it grappled with western sanctions.
While, the EU and the US permanently ended sanctions against Myanmar last year, they maintained an arms embargo on the Southeast Asian nation.
The military government that had run the country also known as Burma for five decades stepped aside in 2011.
ส่วน C-602 ก็มีข่าวเมื่อปีที่แล้ว ไม่แน่ใจ จัดหามารึยังครับ ส่วนเรือ F-11 ติดตั้ง Kh-35 ของ รัสเซีย ครับ
Myanmar may have become the first foreign nation to import the C-602 anti-ship missile from China according to Kanwa Defense Review, a magazine published by Andrei Pinkov, a military analyst from Canada.
The PLA Navy is currently the only operator of the YJ-602 anti-ship missile designed by the China Aerospace Science and Industry Corporation based in Beijing. However, a source from the Chinese defense industry told Kanwa Defense Review that the C-602, the export version of the missile, had recently been sold to an unknown nation, which is very likely to be Myanmar.
If this report is true, the article said Myanmar's navy will have the best anti-ship missile of any country in Southeast Asia. Myanmar currently deploys two other types of anti-ship missile from China, the C-802 and C-802A, it said. Reports in Russian media meanwhile state that the anti-ship missiles on board two of Myanmar's most advanced frigates, the F11 and F12, are the Russian-built Kh35 with a range of 130 kilometers, but Kanwa Defense Review said they are more likely to be C-602 missiles judging from their size.
Since the two Myanmar frigates each have a displacement of over 3,000 tonnes, the article said the missile launchers on these two vessels should be able to carry eight Kh35 missiles. However, a photo shows only four missiles in the launchers, suggesting they are likely to be the 6.1-meter-long C-602 rather than the 3.85-meter-long Kh35. Kanwa Defense Review said even larger PLA ships like the Type 052C guided missile destroyer with its displacement of 7,000 tonnes is able to carry only eight YJ-602 missiles.
Kanwa also said Myanmar is constructing a stealth missile boat with the hull number 491 which looks very similar to the 500-tonne fast attack craft the PLA Navy turned over to Pakistan last year. The new stealth missile boat will likely carry the C-802 or C-802A like its counterpart in Pakistan, the article said. This demonstrates that China still has strong influence over Myanmar despite the end of the nation's military regime. Islamabad is also negotiating with Beijing to purchase the C-602 missile, according to Kanwa.
ส่วนปืน 76 ม.ม. ผมคิดว่าน่าจะซื้อมาจาก อินเดีย ครับ ที่ได้ ไลเซ่นต์ ในการผลิตปืน Otomelara
ส่วน ระบบอาวุธ รัสเซีย จีน และ อินเดีย เป็นระบบอาวุธที่มี พื้นฐาน เดียวกันครับ
ระบบ เรดาร์ MR331 ก็คือของ รัสเซีย ระบบ Universal VLS ก็เป็นระบบของรัสเซีย ที่มี อินเดีย ร่วมพัฒนาด้วย สำหรับใช้ Brahmos ได้ ซึ่ง Brahmos ก็เป็นความร่วมมือระหว่าง รัสเซีย กับ อินเดีย
ก็ยังสงสัยว่า ระบบ CMS ของเรือ พม่า ลำนี้ จะเป็นของ รัสเซีย หรือ ของ จีน
ประเมิน คุณลักษณะ ปรับปรุงใหม่ ครับ
เป็นข้อมูล เพียง การประเมิน นะครับ
ผมสงสัยนิดนึงครับ ในเมื่อพม่ามีความสามรถต่อเรือได้ในระดับฟรีเกต(ตัวเรือ) ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีในทางทหารที่ดีระหว่างเรากับพม่า
เราส่งแบบเรือให้พม่าต่อไ้เราได้มั้ย(ตัวเรือ)ค่าใช้จ่ายน่าจะถูกกว่าเราต่อเอง ตัวเรือเสร็จปล่อยลงน้ำแล้วลากมา ติดอุปกรณ์ที่อู่เรือของเรา
การต่อเรือฟริเกต มันก็ต้องมีควบคุม โดยช่างเทคนิค เจ้าของแบบเรือ
นอกจากนั้น การทดสอบการเดินเรือ การที่ต่อเรือเสร็จ ก็จะไม่ได้ หมายถึงว่า ได้เรือแล้ว
ยังต้องมีการทดสอบ และ แก้ไข ข้อบกพร่อง
ซึ่ง ประเทศไทย กับ ประเทศพม่า ก็ไม่ได้ความสัมพันธ์ แนบแน่น ขนาดนั้นครับ
ต่างฝ่าย คิดว่า ยังถือมีด คนละเล่ม ไว้ข้างหลัง
การที่เราจะต่อเรือทางยุทธการ โดยอู่เรือจากมิตรประเทศ ที่เรายังไม่วางใจ ก็ไม่เป็นผลดี จะทำให้เขาทราบถึง ความสามารถของเรือได้ โดยไม่ต้องสืบ
ในละแวก ASEAN ประเทศไทย คงไว้วางใจ ในการต่อเรือรบได้ ก็มีเพียง ประเทศ สิงคโปร์ เท่านั้น แหล่ะครับ
ที่เป็น ประเทศ ที่ไม่ได้มีความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ แต่คิดว่า ประเทศไทย ก็คงไม่ได้วางใจ 100% การต่อเรือจากในภูมิภาค ASEAN คงได้เพียง เรือช่วยรบ เท่านั้น เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
สเปกเรือ เป็นอะไรที่น่ากลัวมาก ไม่น่าาเชื่อเลยว่าราคาแค่นี้จะอัดสเปกได้ขนาดนี้
ขอย้ำนะครับว่า
ราคาเรือ ผม คิดเอาเอง นะครับ
ใช้ อ้างอิง ไม่ได้ นะครับ
โดยประเมินจาก เรือ F-11 มูลค่าโครงการเรือต่อลำ ประมาณ 200 ล้านเหรียญ
จึงคาดคะเนว่า ถ้าเรือชุดนี้้ ราคาสูงกว่า 1 เท่าตัว ในขณะที่ มีการประเมิน มูลค่า Type-054 ราคาการจัดหาของ ประเทศจีน ประมาณ 333 ล้านเหรียญต่อลำ จึง ประเมิน ด้วยความคิดส่วนตัวว่า น่าจะประมาณ ลำละ 350 ล้านเหรียญ ครับ