หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ความสามารถของ F-16 ทอ สิงค์โปร์ Vs Gripen E/F หาผู้รู้ช่วยแก้ข้อสงสัยที

โดยคุณ : lfazuru เมื่อวันที่ : 15/04/2014 18:53:40

1.ทอ.สิงค์โปร์ปรับปรุง F-16 ให้ติดตั้งเฟรซอเรย์เรด้า ถ้าติดตั้งแล้ว เปรียบเทียบกับ Gripen E/F ตัวใหม่ที่ใช้เรด้าเหมือนกัน ระยะตรวจจับถือว่าเท่ากันไหมครับ 

2.F-16 ของสิงค์โปร์ มีระบบ Data-Link ไหมถ้าไม่มี สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ไหม

3. F-16 ของสิงค์โปร์ + เครื่องเอแวกสิงค์โปร์  กับ Gripen E/F + อีรี่อาย ระยะตรวจจับใครไกลกว่า

4.เปรียบเทียบรวมกับพื้นที่หน้าตัดขนาดเล็กหน้าเครื่องแล้ว F-16  block-52 เทียบกับ Gripen E/F ตัวไหนตรวจจับยากกว่ากัน

5.มีโอกาสไหมที่ F-16 จะใช้จรวดเมเทออร์เพราะระยะยิงไกลกว่า Aim 120

6.นอกรอบถ้าใช้ เครื่องเอแวก+F-5(ที่ยิง aim 120 ได้) VS  F-16 ติด Aim 120 ความได้เปรียบจะตกอยู่กับ F-5 หรือ F-16 เพราะจะกลายเป็น F-5 เห็น F-16ก่อน จากการส่งข้อมูลของ เอแวก แล้วให้เอแวกเป็นเครื่องสั่งยิงเลยได้ไหม





ความคิดเห็นที่ 1


1. ตอนนีสิงคโปร์ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะซื้อเรดาร์เจ้าไหน ดังนั้นบอกไม่ได้ครับว่า ระยะเท่าไร แต่คิดว่าของที่ F-16 สิงคโปร์จะติดน่าจะระยะไกลกว่า เพราะเรดาร์เองหน้าจะใหญ่กว่าตามขนาดเครื่อง

2. F-16 สิงคโปร์มีดาต้าลิงค์ครับ f-16 ติดได้หมดครับ

3. F-16+ Awac สิงคโปร์ กับ gripen E/F+ erieye ในกรณีอย่างนี้ไม่ต้องไปนับระยะของเครื่องขับไล่แล้วครับ นับเฉพาะเครื่อง Awac ซึ่งกรณี้ผมเชื่อว่า erieye ระยะไกลกว่า IAI EL/W-2085 ของสิงคโปร์ (370 vs 450km)

4.วัดหน้าตัดกันผมคิดว่า F-16 Bl 52 เสียเปรียบกริพเพนนะครับ rcs ประมาณ 1.2 ต่อ 0.5 ตารางเมตร

5. F-16 อนาคตประเทศที่ไม่ใช่สหรัฐฯ โดยเฉพาะยุโรปน่าจะเปลียนมาใช้ meteor แน่นอน ซึ่ง meteor พัฒนาออกมาเสร็จสิ้นระยะอาจจะสั้นกว่า aim-120 C-D แต่ได้เปรียบตรงที่ความเร็วจะไม่ตกช่วงตีนปลายแบบ aim-120 ครับ เมกาเองอาจจะมีการพัฒนา aim 120-x ที่มี ramjet เช่นกันก็ได้ครับ เดาๆ เอา

6. อยู่ที่เรดาร์และอุปกรณ์อื่นๆ ของ f-16 ด้วยครับ ถ้า f-16 มีระบบ passive อาจจะชิงล่อ awac ก่อนก็ได้ ฮา 

ปล. พวกระยะเรดาร์หรือ rcs ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ทแต่ยืนยันไม่ได้ครับ ของพวกนี้มันออกแนวความลับเพื่อความมั่นคง

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 13/04/2014 17:52:39


ความคิดเห็นที่ 2


1.ผมนึกว่าเลือกไปแล้ว และมีเรด้าที่ดีกว่า เฟรซอเรย์เรด้า  ด้วยเหรอครับคือรุ่นไหนครับ

2.แสดงว่า F-16 ก็ทำแบบ Gripen C/Dของเราได้คือ ไป 3 ลำ เปิดเรด้าลำเดียวใช้ร่วมกันได้ถูกไหมครับ

3.ถ้าอีรี่อายเราดีกว่า และถ้า USAยอมให้เราเชื่อมต่อข้อมูล F-16MLU แบบนี้ บ เราก็ถือว่ามีความสามารถในการต่อต้านอากาศยานได้สูง แต่จะมีโอกาสไหมครับ

4.จากเรื่องหน้าตัดของเครื่องถือว่ามีส่วนสำคัญมากไหมในการตรวจจับของเครื่อง AWAC

5.การเลือกจรวด แบบ BVR ของไทย AIM 120 ที่มีของเราคือ รุ่นไหนครับ และเราควรจะเลือก meteor หรือ aim 120 c/d อันไหนดีในอนาคตถ้าเขาขาย(ความเห็นส่วนตัวครับ)

6.จากข้อมูลที่ว่าแสดงว่าจะกลายเป็นว่า F-5จะได้เปรียบ F-16 ใช่ไหมครับเพราะยิงได้ก่อน โดยใช้เรด้าของ AWAC เป็นตัวนำทางและชี้เป้า

7.อยากทราบว่าแบบนี้ meteor จะสามารถพัฒนาเป็นจรวดจากพื้นสู่อากาศได้ไหมถ้าได้จะเทียบได้กับ แพททิออดเลยไหมเพราะระยะยิงไกล 120 km จากอากาศสู่อากาศ (ถ้าทำได้การร่วมโครงการของmeteor มีโอกาสที่ไทยหรือประเทศอื่นจะขอเข้าร่วมโครงการได้ไหมไม่ทราบว่าราคาโครงการเมเทออร์เนี่ยกี่พันล้านดอน)

โดยคุณ lfazuru เมื่อวันที่ 13/04/2014 20:47:47


ความคิดเห็นที่ 3


1.Phased Array radar คือเรดาร์ที่มีตัวtransmitterเยอะๆ มันก็แล้วแปต่ว่ารุ่นไหนไซส์ไหน แต่สิงคโปร์ไม่ได้จะเอาAN/APG-80 AESAเหรอครับ?

3.F-16AM/BMและSaab S-100 (340AEW&C) มีLink16ทั้งคู่อยู่แล้ว

4.เรดาร์บนAEWก็คือเรดาร์ธรรมดาๆ RCSมีผลอยู่แล้ว แต่มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ คำนวณได้จาก

DR1 = [(RCS1/RCS2)^0.25] x DR2 

โดย
RCS1 = ค่า RCS ของเป้าหมายที่ต้องการหาระยะตรวจจับ (m2)
RCS2 = ค่า RCS ของเป้าหมายที่ตรวจจับได้ด้วยเรดาร์ที่เราสนใจ (m2)
DR1 = ระยะตรวจจับของเรดาร์ที่้้เราสนใจต่อเป้าหมายที่ต้องการ (nm)
DR2 = ระยะตรวจจับของเรดาร์ที่เราสนใจต่อเป้าหมายที่ทราบค่า RCS อยู่แล้ว (nm)

5.ไทยกำลังจัดหาAIM-120C5 และAIM-120C7 AIM-120C8(หรือAIM-120D) อเมริกาไม่ขายให้ไทยหรอก แต่Meteorอยู่ประมาณระหว่างAIM-120C7-8 ดังนั้นเราก็ใช้ทั้งAIM-120Cทั้งMeteorเถอะครับ ส่วนจะIntegrate M eteorกับF-16ได้รึเปล่าก็อีกเรื่องนึง

7.บริษัทผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องทำนี่ครับ เขาทำAsterขายอยู่แล้ว

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 13/04/2014 21:32:43


ความคิดเห็นที่ 4


1. สิงคโปร์ มีตัวเลือกสองตัวคือSABRของnorthrop กับRACRของRaytheon ทั้งสองเป็นFixed Plate AESA
    ซึ่งทั้งสองตัวนี้ดีกว่าAN/APG-80 ของf-16 bl60 ขณะที่ Gripen E ใช้RAVEN ES-05 มีmoving partจึงมี
    มุมตรวจจับได้กว้างกว่า  ส่วนระยะตรวจจับของทั้งสามแบบไม่น่าจะห่างกันมาก

2.สิงคโปร์ ใช้link 16 ครับ  ส่วนเรื่องปิดเรดาห์ เครื่อง4.5 ทำได้หมดครับ SU 35 ยังได้เลย

3.EL/W-2085 G550 CAEW ดีกว่า 340AEW ครับ370 km เป็นแค่ระยะที่จะตรวจจับวัตถุได้100เป้าพร้อมๆกัน

 

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=100:---2555&catid=41:magazine&Itemid=112
   

 

4.RCS ของทั้งสองแบบนั้นใกล้เคียงกัน ช่วง1.0-1.2 แต่grippenจะมีข้อเสียที่canardจะเพิ่มRCSได้ (ไม่เหมือนอย่างTyphoonที่มีRAMเคลือบ)

jasเคยมีโปรเจคเคลือบram เหมือนกัน ฉะนั้นตัวปกติrcsมากกว่า0.5m^2แน่นอน

 

5.Meteor น่าสนกว่าครับ 


6.F-16 รุ่นไหนดีละ

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 13/04/2014 22:11:14


ความคิดเห็นที่ 5


ผมเชื่อว่าระยะตรวจจับของเรดาร์ใหม่ของสิงคโปร์น่าจะไกลกว่า raven เพราะการขยับส่ายทิศทางไม่ได้เพิ่มระยะจรวจจับ ขณะที่เรดาร์ที่มีสิทธิ์จะมาลงของสิงคโปรคือตัว apg 63 v2 ที่อยู่ใน F-15 ตัวหลังๆ ที่เป็น aesa ที่มีระยะอยู่ประมาณ 400km ดังนั้นต่อให้ลดขนาดลงมาผมว่าก็ยังไกลกว่าของ Jas E/F อยู่ดีนะครับ

เอกสารที่คุณ dcalpha เอามาโชว์ ระบุว่า กริพเพน rcs อยู่ที่ 0.1m^2 

f-16 เก่ากว่า jas-39 ประมาณ 20 ปี แต่เดิม rcs อยู่ที่ 5m^2 ที่สาหัสสุดน่าจะเป็นช่องลมที่ปกติเป็นตัวดีอยู่แล้ว แต่ว่าพอมาถึงรุ่น c มีการพัฒนาและเคลือบสารลดการสะท้อนของเรดาร์รอบปากช่องลมเข้า ดังนั้น rcs จึงเหลือประมาณ 1.2m^2    F-18 ตัวแรกก็มีอาการเดียวกัน รุ่น super hornet จึงมีการออกแบบท่อลมเสียใหม่

กริพเพน เองใหม่กว่าเยอะ ตอนออกแบบมีการคำนึงถึงเรื่อง rcs เช่นช่องอากาศเป็นท่อตัว Y จากสองข้าง เรื่องคานาร์ดเพิ่ม rcs ผมว่าไม่น่าจะเกี่ยว เพราะ f-16 ก็มี stabilizer เหมือนกัน ใหญ่กว่าคานาร์ดกริพเพนเสียด้วย นอกจากนี้ f-16 ยังมี ครีบยั้วเยี้ยไปหมด

 

เรื่อง g550 ของสิงคโปร์ในนิตยาสารผมไม่เห็นว่าตรงไหนที่บอกว่าระยะตรวจจับไกลกว่า 450km นะครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 13/04/2014 22:52:58


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้าอนาคต meteor ไม่มีรุ่น f-16 ออกมา เราก็ใช้ aim-120 สำหรับ f-16 ไป และ meteor สำหรับกริพเพน แต่ผมคิดว่าอนาคตน่าจะมีนะ เพราะ ราฟาล ไต้ฝุ่น กริพเพนมีแน่ ส่วน f-35 คงมีเพราะอังกฤษต้องการ แต่ขณะเดียวกันยุโรปก็ยังเหลือ f-16 เป็นพันๆ ลำ ดังนั้นคงมีการปรับปรุงให้ใช้ร่วมกันได้ เพราะแม้แต่อินเดียยังสนใจไปผสมกับซูเลยครับ

เรื่อง F-5 + amraam + awac vs F-16 อันนี้ในทางทฤษฎี ชนะครับ แต่ปัญหาคือในโลกจริงผมไม่คิดว่ามีนะครับ อย่างสิงคโปร์น่าจะเป็นประเทศเดียวที่ใช้ amraam กับ F-5 ขณะที่ประเทศอื่นก็มีแต่จรวดระยะใกล้กับกลางซึ่งส่วนใหญ่ก็อัพเป็นตระกูล python แหละ ขณะเดียวกันบราซิลเป็นประเทศเดียวที่มีการอินติเกรทระบบ datalink เชื่อมกับ f-5 แต่กลับไม่มี amraam ดังนั้นในโลกความเป็นจริงก็ยังไม่มีใครมีระบบอาวุธดังว่า

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 13/04/2014 23:12:08


ความคิดเห็นที่ 7


ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ

จากแนวคิดผมที่ได้

ถ้าจะเปรียบ F-16 ของสิงค์โปร์ ที่มีอยู่ + AWAC ยังไม่นับเครื่องอื่นนี่ก็ถือว่าสามารถคุ้มครงตัวเองได้สูงมากเลย

และไทยเราก็พยายามเลียนแบบ ในงบประมาณที่จำกัด โดยหันมาใช้ Jass 39 C/D +อีรี่อาย แต่เพียงเครื่องบินรบเราน้อยฝูงกว่า 

ถ้าเพิ่มได้ อีก 1-2 ฝูงก็จะมีความสามารถที่เกือบจะเหมือน ทอ สิงค์โปร์

เสียอย่างเดียวสำหรับอีรี่อายไม่รู้ว่า USA จะยอมให้เชื่อมข้อมูลระหว่าง F-16 MLU กับ อีรี่อายมากน้อยแค่ไหน

-อีรี่อายของเราสามารถสั่งjass 39 C/D ของเรายิงจรวด เพื่อโจมตีแบบ BVRได้เลยไหมครับ หรือแค่ทำการส่งข้อมูลให้กับ Jass 39เพื่อประมวลผลและนักบิน Jass 39 เป็นคนยิงเอง

โดยคุณ lfazuru เมื่อวันที่ 14/04/2014 21:10:53


ความคิดเห็นที่ 8


Saab 340 Argus S-100B AEW  ไม่มีระบบ Link 16 นะครับ ต้องเป็นรุ่น S-100D หรือ AEW-200 (มาตรฐานสวีเดน) และ AEW-300 (มาตรฐานนาโต้) ที่ปรับปรุงใหม่ล่าสุด

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 15/04/2014 00:12:19


ความคิดเห็นที่ 9


ผมไม่แน่ใจนะว่าของเราสามารถให้เครื่อง erieye สั่งยิงเองเลยได้หรือเปล่า แต่ปรกติเครื่อง AEW&C  น่าจะทำได้นะครับ

ของสิงคโปร์เขา F-16 หลายฝูงครับ ของเราก็ต้องอีกซักสามถึงห้าฝูงแล้วแต่ว่าจัดฝูงกี่ลำ แถมของเขามี G550 สี่ลำอีกต่างหาก ระบบของเขาไม่แน่ใจว่าต้องมี ground station หรือเปล่า อย่างระบบกริพเพน+อีรี่อายส์ เข้าใจว่าต้องมีสถานีภาคพื้นดินด้วยถึงจะทำงานได้.

* ไปเช็คมาละ เครื่องบัญชาการไม่น่าจะกดปุ่มยิงได้

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 15/04/2014 06:15:41


ความคิดเห็นที่ 10


เอ่อ ผมว่าตลกนะครับที่ว่าต้องมีสถานีภาคพื้นดิน

คือผมยังไม่ได้เช็คข้อมูลนะ แต่ยังงั้นมันไร้ประโยชน์มาก บินได้อยู่รอบๆบ้านนี่แหละออกไปไกลไม่ได้ สถานีภาคพื้นดินเอาไว้สำหรับติดต่อกับส่วนบัญชาการภาคพื้นดินมากกว่า เหมือนส่วนบัญชาการอยู่ในเครือข่ายดาต้าลิงค์ด้วยเห็นข้อมูลเหมือนกันแบบ real-time ส่วนแค่เครืองอีรี่อายกับเครื่องบินลูกข่ายต้องทำงานแบบดาต้าลิงค์ได้ ไม่งั้นอย่ามีเลย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/04/2014 07:34:26


ความคิดเห็นที่ 11


Saab 340 AEW "รุ่นที่เราใช้อยู่" มีขีดจำกัดที่ต้องrelayข้อมูลลงสถานีภาคพื้นดินครับ ซึ่งปัจจุบันก็มีหน้าที่แค่ลบจุดบอดของRTADSเท่านั้น

ถ้าอัพเกรดเป็นAEW 200 จะส่งให้Gripenได้โดยตรง

ถ้าอัพเกรดเป็นAEW 300 จะส่งให้บ.แบบอื่นนอกจากGripenโดยตรงได้

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 15/04/2014 11:24:33


ความคิดเห็นที่ 12


ต่อให้ซื้อเครื่องgripen E/F ได้ก็ต้องอัพเกรด อีรี่อายอีก 3 ลำ ให้ได้มาตรฐานสวีเดน ราคาอีรี่อายตัวมาตรฐานสวีเดนนี่ราคามากกว่าตัวที่เราใช้สูงไหมครับ

โดยคุณ lfazuru เมื่อวันที่ 15/04/2014 11:40:09


ความคิดเห็นที่ 13


ตัวที่เราใช้อยู่น่าจะเป็นS-100B ส่วนAEW 300คือS-100D ไม่น่าจะแพงกว่ากันมาก(ผมก็ไม่เคยเห็นราคา แต่ไม่น่าจะแพง) กองทัพอากาศน่าจะมีงบพอจ่ายได้

แต่ปัญหาคือถ้าอัพเกรดแล้วโดนด่าว่าของใหม่ทำไมต้องอัพเกรดแล้วนี่สิ...

 

***เพิ่มเติม

จากที่เสี่ยโยบอก ค่าอัพเกรดS-100Bอยู่ราวๆไม่กี่ร้อยล้านบาท

โดยอัพไปเป็นS-100D ASC หรือ Saab 340AEW&C-300 ที่มีLink16

เพราะS-100Bไม่มีLink16 คงเป็นเหตุผลที่ทร.ต้องใส่LinkE/Gไปด้วย

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 15/04/2014 12:42:54


ความคิดเห็นที่ 14


ถึงกับเงิบหัวกระแทกพื้น ฮา

สมกับเป็น"หลักนิยมเชิงรับ"จริงๆ

จริงๆผมว่าเวอร์ชั่นใหม่นั้นก็ห้วงเวลาพอๆกับที่ทอ.ยื่นจัดหา ทำไมไม่สั่งของหใม่ไปเลยถ้าราคาไม่หนีกัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/04/2014 14:32:22


ความคิดเห็นที่ 15


เราได้มาจากแพกเกจในดีลการจัดหา Gripen C/D นะครับ (ทอ.ไม่ได้สั่งซื้อเครื่อง SAAB 340 Argus S-100B โดยตรง) เฟสแรก 1 เครื่อง และเฟสที่สองอีก 1 เครื่อง (จำได้ว่าเป็นเครื่องหลังจะเป็นเครื่องที่มาจากกำลังสำรองของทอ.สวีเดน) พร้อมกับเครื่อง SAAB 340 ที่เป็นตัวเครื่องเปล่าสำหรับการฝึกบินอีก 1 เครื่อง โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงข่ายการควบคุมและบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากเราเน้นตั้งรับจึงใช้สถานีภาคพื้นดินเป็นส่วนควบคุมและบัญชาการ แต่ในพื้นที่ภาคใต้นั้นมีบริเวณที่เป็นทะเลขนาดใหญ่ ไม่สามารถตั้งสถานีเรดาร์ภาคพื้นได้ ทอ.จึงมีความจำเป็นต้องใช้ AEW เพื่ออุดช่องว่างในส่วนนี้ รวมทั้งการบูรณาการโครงข่ายร่วมกับทร. อันเป็นที่มาของการจัดหาระบบการรบต่างๆ จาก SAAB สวีเดน  มาติดตั้งบนเรือรบหลักของทร. ได้แก่ รล.จักรีฯ รล.นเรศวร และรวมทั้ง เรือฟริเกตสมรรถนะสูง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในอนาคตทอ.น่าจะมีความต้องการจัดหาเครื่อง AEW เพิ่มเติมและน่าจะมีการปรับปรุงสมรรถนะให้สูงขึ้นทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทันต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 15/04/2014 18:53:40