อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ..วันนี้เราเดินช้า..หรือเค้าเดินเร็วไป
ในช่วง 10 ปีมานี้ ประเทศอินโดนีเชีย สิงค์โปร มาเลเชีย เวียดนาม มีการก้าวกระโดด ในเรื่องอุตสหกรมมป้องกันประเทศอย่างมาก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนได้แรงขนาดนี้.. น่าจะมาจากการวางโครงสร้าง อันได้แก่
1.การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิตภายในประเทศ
2.การหาพันธมิตรร่วมธุรกิจ(partnership)
3.การสร้างตลาดหรือคำสั่งซื้อทางธุรกิจ
และนี่เป็น 3 ปัจจัยหลักนี้น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ของประเทศเหล่านั้น
ถ้าเราย้อนกลับมามองตัวเอง จะพบว่าประเทศของเรานั้นเดิมทีมีความได้เปรียบอยู่หลายด้าน หรือพูดง่ายๆ เรามีแต้มต่อ มากกว่าประเทศเหล่านั้นอยู่พอสมควร แต่เหตุใดวันนี้ เราจึงเดินตามเค้าอยู่หลายช่วงตัวพอสมควร
ปัญหาของประเทศไทยที่พอมองเห็นก็น่ามาจาก
1.มุมมองหรือทัศคติของผู้คนโดยทั่วไปร่วมทั้งภาคราชการ หรือแม้แต่ทหารเอง
1.1 มุมมองต่อการผลิตอาวุธเป็นสิ่งต้องห้าม คนผลิตอาวุธเป็นคนไม่ดี สิ่งนี้ทำให้องค์ความรู้ต่างๆ ของคนไทยเกี่ยวกับการผลิตอาวุธนั้นมีน้อยมาก
1.2 มุมมองการจัดซื้อจัดหาอาวุธ ผู้คนโดยส่วนมาก รวมทั้งผู้บริหารกองทัพ มักจะใช้วิธีการซื้อของใช้ในชีวิตประจำวัน มาเป็บรรทัดฐานสำหรับการจัดซื้ออาวุธ โดยดูจากจำนวน คุณภาพ และราคาเป็นหลัก แต่ผมอยากให้ดูประเทศจีนเป็นตัวอย่าง จีนนั้นผลิตเองเกือบทุกอย่าง ถึงแม้คุณภาพจะห่วยแตก ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ แต่รัฐบาลเค้าไม่สนใจ มุ่งมั่น ที่จะใช้ของที่ตนผลิตเอง และยังพยายามที่จะขายของห่วยๆ นั้นให้กับประเทศอื่นนำไปใช้ด้วย แต่ที่มันน่าประหลาดใจ มันก็มีอยู่หลายประเทศไม่ใช้น้อย ที่ใช้ของประเทศจีน อาจด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ในช่วงรุ่นแรกอาจจะไม่ดีแต่พอรุ่นต่อๆมา ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับ และในช่วงหลังมานี้ จีนได้ร่วมพัฒนาอาวุธกับต่างประเทศทั้งจากยุโรปเอง เอเชียเอง ผลทำให้อาวุธของประเทศจีน มีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา บางอย่างมีคุณภาพทัดเทียมของทางยุโรป
2.ประเทศของเรามี supplier ที่เยอะมาก.. แต่ไม่มีการเชื่อมโยง ให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน (supply chian) เรามีทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอุตสากรรม พลาสติก อุตสาหกรรมกลางน้ำ เช่น เหล็ก อุตสาหกรรมปลายน้ำ เยอะแยะไปหมด บางอุตสาหกรรม เรามีเทคโนโลยี่ขั้นสูง เช่น อิเล็กทรอนิค จริงๆ แล้วประเทศเรามีครบเกือบหมดแล้ว ขาดแต่ กฎหมายที่เปิดกว้าง และผลิตภัณฑ์ตัวนำแค่นั้นเอง
3. ตลาด ถ้าเรามีโรงงาน มีเทคโนโลยี่ พร้อมหมด แต่ไม่มีคนใช้ ไม่มีใครซื้อ ผลก็คือ ปิดกิจการ นี้คือเหตุผลสำคัญที่ทำไม อาวุธในยุคแรกๆ ของจีนไม่ดีเอาเสียเลย จะเข้าขั้นห่วยด้วยซ้ำ แต่ทำไมจีนเค้าก็ซื้อใช้ของเค้าไป อินโดนีเซีย ทำไมเค้าดึง แอร์บัส ดึงบริษัทชั้นนำด้านอาวุธของโลก มาร่วมเป็น partner ได้ เพราะเค้ารู้ว่า อินโดยินดีที่จะซื้ออาวุธเหล่านั้นไว้ใช้เอง และต้องมีปริมาณที่มากพอด้วย มาเลเชียก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน สิงค์โปรก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน หลายคนคงสงสัยแล้วจะทำเช่นนั้นไปเพื่ออะไร สิ่งที่ประเทศเหล่านั้นจะได้ คือ 1.อาวุธที่ดี 2.องค์ความรู้ที่พิสูตรแล้วว่าดีจริงไม่ต้องลองผิดลองถูก หลายคนอาจสงสัยอีก อย่างนี้เราก็ต้องใช้เงินมากซิ จริงๆแล้ว ไม่มากเลย ใช้เท่าเดิม ในอนาคตอาจได้คืนด้วยซ้ำ เพราะอะไร เช่น ประเทศ ก. ต้องการซื้อรถถัง 500 คัน แต่ครั้งนี้ของบจัดซื้อ 50 คัน ในราคาคันละ 150 ล้าน ก็เป็นเงิน 7500 ล้านบาท ส่วนประเทศ ข.ต้องการจัดซื้อรถถัง 500 คัน ในราคาคันละ 150 ล้าน ก็เป็นเงิน 75000 ล้าน คุณว่าประเทศไหนจะมีอำนาจต่อรองมากกว่ากัน โดยที่ประเทศ ข. บอกว่าคุณต้องถ่ายทอดเทคโลลียีในการผลิตให้ด้วย รวมทั้งต้องมาผลิตที่ประเทศ ข รวมทั้งต้องมาร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนของประเทศข ด้วย หลายๆคนคงคิดว่าก็ใช้เงินเยอะขนาดนั้นบริษัทไหนเขาก็ต้องยอม ใช่ครับ แต่จริงแล้วใช้เงินเท่ากัน เพราะ ประเทศ ข บอกให้บริษัทผู้ผลิตว่า ส่งให้ฉัน ปี ละ 50 คัน จนกว่าจะครบตามคำสั่งซื้อ ก็ตกปีละ 7500 ล้าน ส่วนประเทศ ก เมื่อซื้อไปแล้ว ก็ต้องจัดซื้อใหม่อยู่ดี ผลสุดท้าย ก็ได้ของไปเท่าๆกัน แต่ประเทศ ข.นั้นได้เทคโนโลยี่ได้ทั้งโรงงานตั้งอยู่ในประเทศของตน กลยุทธวิธีนี้และครับที่ประเทศอินโด มาเลเชีย เวียดนาม เค้าใช้อยู่ ...เราต้องสร้างตลาดขึ้นมาให้ได้ สิ่งแรก กองทัพ ต้องเป็นลูกค้ารายใหญ่ ก่อน ในช่วงแรก
เมื่อบริษัทเหล่านั้นตั้งไข่ได้แล้ว สินค้าเป็นที่ยอมรับแล้ว ผมเชื่อว่า บริษัทเอกชน เค้าสามารถเจาะตลาดอื่นๆ ได้ต่ออย่างแน่นอน นี้และถึงจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ... ถ้าทำได้
เราช้าไปมาาาาาาาาากครับ ในความเห็นของผมมันเป็นเพราะเรา "บริโภคนิยม" มากเกินไปครับ บวกกับไม่มีการบริหารโครงการที่มันสามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจใด้ โดยเน้นโครงการที่เริ่มจากความสามารถ/ศักยภาพที่มีภายในประเทศก่อน เอาเรื่องชัดๆเลยนะครับคนไทยถูกกรอกหูว่าเราเป็น ดีทร้อยท์แห่งเอเชีย วันนี้เรายังไม่มีเครื่องยนต์ หรือ รถยนต์ ที่ออกแบบและผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเองเลยนะครับ ที่พูดเรื่องนี้เพราะว่าในเมื่อเราทำรถยนต์มาเป็นหลายสิบปี เอาจุดแข็งข้อนี้มาต่อยอดทำรถบรรทุกทางการทหาร ทำขายนะครับ แล้วเอาโครงการนี้มาเป็นฐานเงินทุนสำหรับโครงการต่อๆไป... (First win เป็นตัวแรกที่พอจะให้ยืดอกใด้เล็กน้อย และเอาใจช่วยอยู่ )
พอเริ่มแล้วบอกว่าไม่ดีเท่าของนอก แพงกว่าของนอก ก็พายเรือวนในอ่างบริโภคนิยมนี่ล่ะครับ
เรื่องการ Partnership ก็สำคัญมาก แต่คนที่จะมาpartnership เขาก็ต้องมองว่า เขาจะใด้ประโยชน์อะไรจาก partner ถ้าเรายังใด้ยิน ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองพูดถึงเอาข้าวไปแลกรถถัง เอาไก่ไปแลกเครื่องบิน ก็ใด้แต่ทำใจครับ
ต้องปรับทัศนคติของคนไทยใหม่ด้วย
เร็วครับ ประมาณหอยทากตัวที่เร็วที่สุด
เรื่องธรรมดา ถ้าเรา ทำจริง วันนี้เรา เป็นผู้ผลิต ส่งออกรายหนึ่งแน่นอน จาก ผลงานในอดีต
แต่ๆๆ ช้าก่อน ผลิดเอง อด ค่าคอม ตามนั้น ไม่ต้องถกกัน ให้เหนื่อย
ไม่มีคำว่าสาย หรือ ช้าไป สำหรับคนที่จะทำครับ
ยานเกราะล้อยางสัญชาติไทย อีกไม่นานคงได้ยลโยมกัน...
คณะทำงานโครงการพัฒนาแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ ครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มี.ค. 57 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง สถานภาพ ความต้องการใช้งาน ปัญหาข้อขัดข้อง แนวคิดและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวทาง แผนงานและโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและความต้องการใช้งานในประเทศ โดย สทป. ได้เชิญข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งหมด 45 หน่วย มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 112 คน