หลังจากกม.การโอนเรือและขายเรือOliver Hazard Perry-class guided missile frigates ไปยังมิตรประเทศทั้งหลาย(รวมทั้งไทย)หยุดชงักไปเป็นเวลานาน ตอนนี้คืบหน้าไปอีกขั้น ผ่านสภาล่างไปแล้ว ด้วยแรงผลักดันจากไตหวัน(ที่น่าจะต้องการเรือฟริเกตจำนวนมาก มาเสริมอำนาจทางทะเล ต่อกรกับกองเรือดำน้ำของจีนที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ) และได้เปลียนชือร่างกม.เป็น Taiwan Relations Act Affirmation and Naval Vessel Transfer Act of 2014 ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่านสภาสูงเพื่อไปยังการลงนามโดยประธานาธิบดีในไม่ช้า
ว่าแต่ทร.ไทยจะต้องการหรือไม่ ขนาดไตหวันที่ว่ารวยๆยังยอมซื้อเพื่อเอามาใช้งาน ของไทยได้ฟรี(จ่ายค่าrefurbished)จะเอาหรือไม่
http://www.janes.com/article/36564/us-house-approves-frigate-sale-to-taiwan
สงสารก็แต่ปากีสถาน ขนาดมีเงื่อนไขชีวิตเยอะมากยังโดนตัดชื่อออกในที่สุด เฮ้อ :(
ต่อใหม่ก็แพง ดีกว่าของจีน คุณภาพดีกว่าจีนแน่นอน ไหนก็ให้ฟรีแล้ว จัดเต็มออฟชั่นกันไปเลย ปรับปรุงติดตั้งอาวุธ แบบจัดเต็มน่าจะเร็วว่าเรือจากเกาหลี มาถึงใช้ได้เลยไม่ต้องปรับปรุง คิดเร็วทำเร็ว
ใครบอกให้ฟรี นี่พูดเลี่ยงบาลีกันชัดๆ มันก็จ่ายเงินกันทั้งคู่นั่นแหล่ะ
เหมือนผมบอกว่าจะให้รถเก่าคันนี้แก่คุณฟรีๆ เพียงคุณจ่ายค่าซ่อมแซมให้ผมเพื่อทำให้มันวิ่งได้อีกครั้ง
ที่สำคัญดีลของไทยถอดอุปกรณ์เท่าที่จะถอดได้
เรือOliver Hazard Perry-class
ของฟรีใช่ว่าจะไม่ดีนะครับ..เพราะเรือรุ่นนี้ โดน เอกโซเซ่ เข้าไป 2 เม็ด ยังไม่จม ยังแถมไปซ่อมกับมาใช้ได้ใหม่
ถ้ากองทัพเรือนำมาอัพเกรด ระบบต่างๆ ให้ทันสมัยขึ้น ก็สามารถนำมาทดแทนเรือรบที่จะต้องปลดระวางในอีก 2-4 ข้างหน้าได้แบบสบายๆ
ถ้าไม่นับ เรื่อง ปราบเรือดำน้ำ OHP จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเรื่อกระบี่อีก ครับ จรวดก็ยิงไม่ได้ ปืนอยู่กลางลำ อ่อดีกว่าหน่อยตรงมีโรงเก็บ ฮโ แต่ก็ไม่มี ฮโ ให้เก็บอยู่ดี ให้ฟรีแต่ไปซ่อมเอาเอง ค่าปรับปรุงอาจจะต่อเรือกระบี่ได้ 2-3 ลำ หรือ ต่อเรืออ่างทองได้เลย ถ้าต้องการเรือ มือสองจริงๆ ดูเรื่อรุ่นอื่นดีกว่าครับ
ท่าน aonestudio ครับ ขอข้อมูลตรงส่วนนี้ด้วยครับ "ที่สำคัญดีลของไทยถอดอุปกรณ์เท่าที่จะถอดได้"
เพราะจะเป็นปัจจัยชี้ขาดว่าเราจะรับมอบหรือไม่ ผมหวังว่า US คงจะไม่ใจรายเกินไป
ท่านskyskyครับ "ถ้าไม่นับ เรื่อง ปราบเรือดำน้ำ OHP จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเรื่อกระบี่อีก ครับ"
หน้าที่หลักของเรื่อ OHP ตอนนี้คือเรือปราบเรือดำน้ำ(และเป็นสิ่งที่เรากำลังจะขาดแคลน) ถ้าท่านเอาหน้าที่หลักในการปราบเรือดำน้ำของมันออกจากการเปรียบเทียบ มันก็จะเอาเปรียบมากนะครับ
กลับกันในงบประมาณใช้ในการปรับปรุง(refurblish) OHP น่าจะประมาณ 3,000 ล้านบาท ท่านไม่สามารถต่อเรือฟริเกตในแบบ War Grade ขนาด 4000 ตันได้อย่างแน่นอน และยิ่งจะไม่สามารถทำหน้าที่ปราบเรือดำน้ำได้อย่างแน่นอน (เรือกระบี่ น่าจะ Comercial Grade)
อย่าดูถูกดูแครนกันไปเลยครับ..เรือขนาด 4000 ตัน เค้าให้มา เราก็รับไว้เถอะครับ ไปต่อใหม่ ก็ต้องหมดไม่น้อยกว่า 10000 ล้าน
ส่วนจะต้องใช้เงินมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจ.. ถ้าเอาดีจัดหนัก ก็ต้องจ่ายหนักหน่อย มันก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วครับ ระบบต่างๆ บนเรือ ก็ใช้งานมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มันก็ต้องโบราณ หรือล้าสมัยไปแล้ว ได้มาก็ต้องวางกันใหม่ จ่ายตังไปก็ไม่ใช่ว่าจะได้ของเดิมเสียเมื่อไร เราก็ได้ของใหม่มาใส่เรืออยู่ดี
ถ้าท่านพร้อมจะลงทุนอีกสัก 10000 ล้าน ผมเชื่อว่า เรือลำนี้มีอาวุธ จัดหนัก มากกว่าเรือเกาหลีต่อใหม่แน่นอน และถ้าเอาตัวเรือ ยิง จรวดเข้าใส่คนละนัด ผมก็เชื่อว่า เรือเกาหลีจมก่อนแน่นอน ไม่นั้น ไต้หวัน คงไม่ออกตัวล้อฟรีขนาดนี้หรอกครับ เพราะเค้าใช้อยู่ เค้าถึงอยากได้เพิ่ม แปลว่า มันต้องมีดีแน่นอน
จริงๆแล้วผมก็ไม่อยากได้สักเท่าไร .. แต่เรือรบขนาด 4000 ตัน ต่อใหม่ใช้ตังไม่ใช้น้อย ถึงจะมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจสูงกว่าเรือรบรุ่นใหม่ แต่ถ้าเราติดอาวุธที่เป็นสมัยใหม่เข้าไป จอดไว้ที่ท่าเรือเฉยๆ .. เค้าก็กลัวกันแล้ว ..
สำหรับโครงการนี้ผมว่า ยังมีเวลา คุยกันอีกยาว... ผมว่าอีกไม่นาน เราน่าจะมีข่าวดี..เรื่องเรือดำน้ำแน่.. มันเริ่มตะงิดตะงิดแว้ว..
ผมคิดว่านาทีนี้ถ้าได้มาจริง ด้วยงบประมาณจำกัดและเวลาที่จำกัดในการหาเรือทดแทนที่จะปลดประจำการ ผมว่าเอาแค่เพิ่ม MK41 เพื่อติดจรวด ESSM กับเพิ่มแท่นยิงจรวดฮาพูนย์แค่นี้ก็น่าจะพอ ซึ่งก่อนหน้านี้สมาชิกหลายๆท่านก็เคยเสนอความเห็นมาประมาณนี้เหมือนกันครับ ใจจริงผมอยากได้มาสัก 4 ลำ ส่วนเรื่อง ฮ. ประจำเรือ เราก็มี Seahawk 6 เครื่อง กับ ซูเปอร์ลิงค์ 2 เครื่อง น่าจะพอแบ่งมาประจำบนเรือ OHP ได้อยู่ ครับ
คือว่านะอย่าเพิ่งโลภกันเลยว่าจะติดอาวุธใหม่เข้าไป แค่ได้รับพร้อมกับใส่ MK 13 ให้ด้วย ผมว่าก็บุญโขแล้วสำหรับ เมกา
แค่เงินปรับสภาพ ก็หากันขี้แตกแล้ว จะเอาตังค์ที่ไหน ไปใส่ของใหม่ ตอนนี้ท้องพระคลัง น่าจะร่อยหรอ เต็มทีแล้วมั้ง
อย่าใช้คำว่า ท้องพระคลัง ได้มัยครับ... ใช้คำว่า งบประมาณแทนเถอะ ...
ท้องพระคลัง เราเลิกใช้ไปต้ังแต่ ปี 2475 แล้ว
เงินไม่มีก็ต้องหาละครับ.... ทหารไม่มีอาวุธ ก็ไม่ต่างอะไรกับ ยามหน้าหมู่บ้าน..
เราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ รศ112 (ร.5) ที่ฝรั่งส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา บังคับให้เราต้องจ่ายเงิน
จนหมดท้องพระคลัง ยังไม่พอจ่าย ถ้าไม่มีก็จะบุกยึดสยามประเทศ
ดีว่า สมัย ร.3 ท่านมีเงินก้อนหนึ่งเก็บไว้ในถุงแดง ซึ่งเดิมที ร.3 สั่งเสียไว้ว่า
เงินก้อนนี้ให้เอามาทำนุบำรุงวัดวาอารามที่ท่านทรงสร้างไว้เป็นจำนวนมาก ตอนน้ันใกล้ถึงเส้นตายที่เราต้องชดใช้เงินแล้ว
แต่ยังหาไม่ครบ พอดีมีคนนึกออกว่า สมัย ร.3 ท่านทรงมีเงินถุงแดงเก็บไว้ ไม่ได้เอาออกมาใช้กัน พอไปเปิดดู ทุกคนถึง
กับอึ้ง เพราะเงินที่เก็บอยู่ในถุงแดง น้ัน เป็นเงินตราต่างประเทศท้ังสิ้น นี้คือความปราดเปรื่องของ ร.3 เป็นอันมาก เพราะถ้าเก็บเป็นเงิน
ตราไทย ค่าเงินมันคงถูกลงมา หรืออาจจะไม่มีค่าพอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับฝรั่งเศล พอนับเงินกันแล้วปรากฎว่า ยังเหลือเงินอีกกว่า
ครึงงบประมาณแผนดีนในสมัยน้ัน เงินส่วนที่เหลือท่านก็รีบนำมาปรับปรุงกองทัพให้เป็นแบบตะวันตก ..
ทำให้กองทัพเข็มแข็งไว้.. ลูกหลานเราก็อยู่กันได้อย่างมีเกียรติ และไม่โดนกดขี่ ข่มเหง จากคนชาติอื่น...ถ้าไม่อยากเห็นคนไทย
ต้องไปตกอยู่ในสภาวะแบบเดียวกับคนไทยใหญ่ในรัฐฉาน ก็ช่วยกันสนับสนุนให้กองทัพเรามีอาวุธที่ดี ทันสมัย ไว้ใช้งานกันนะัครับ
เอามาเถอะครับ เพื่อนบ้านใกล้เคียงมีเรือดำน้ำกันอย่างคับคั่ง เราจัดหาเรือดำน้ำไม่ได้ก็ต้องมีเรือประเภทนี้ไว้มห้พร้อมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าคิดว่าเพื่อนบ้านไม่ได้มุ่งมาที่เรา แต่วันหนึ่งเกิดขัดเคื่องผลประโยชน์ขึ้นมาเอาเรือดำน้ำมาดำป้วนเปี้ยนปากอ่าวถึงไม่เข้าอ่าวก็เสียวได้ระดับหนึ่งนะครับ
ด้วยสภาพการเมืองและเศรษฐกิจแบบนี้ สภาพกำลังรบเพื่อนบ้านโดยรอบแบบนี้ ผมว่า ทร. คงต้องรับ 2 ลำนี้มาก่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วครับ เพราะมองไม่เห็นว่า DW-3000H ลำที่ 3 4 และเรือดำน้ำในอนาคตอันใกล้จะมาได้อย่างไร รัฐบาลยังไม่มีเลย
หมดทางเลือกแล้วครับ
อยากทราบว่าเรือชั้นพระพุทธเราเจ็บในเรื่องอะไรครับ
ส่วนตัวผมเองมองว่าการที่เราเอาเรือนี้มามันก็ยังมีดีว่าถ้าเราอัพเกรดโน่นนั่นนี่บ้างให้ใช้งานได้ตามงบของเรา
ถามว่าเรือหลักเรามีกี่ลำแล้วมองถึงเรื่องการหมุนเวียนเข้าซ่อมกันบ้างไหมครับอย่างน้อยเราเอาเพิ่มมาสองต่อให้เข้าซ่อมมันก็ยังมีอัตราพร้อมใช้งานที่พอรับได้นะครับไม่ใช่ว่าเรื่องจีนสี่ลำเข้าทำซ่อมสองลำเหลือสองภาระงานก็เพิ่มขั้นเพราะพื้นที่ทำงานเท่าเดิม
จะหวังเรื่องสมรรถนะสูงลำที่สามหรือสี่ หรือเรือดำน้าผมว่ายังไกลเกินตัวอยู่หรือเปล่าครับ ใกล้ตัวเขาให้มาแบบไม่ฟรีก็เอาใช้ๆไปก่อนผมว่าเก่าแต่โครงสร้างหรือวัสดุอื่นๆมันต้องทนทานกว่าของจีนที่เราเคยต่อมาแน่ๆครับ
เรือฟก.ใหม่นี่อีกนาน แบบยังไม่นิ่งเลยมั้ง
ไม่อยากจะพูดนะ แต่ผมว่ามีเรือฟริเกตไปก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการปราบด.หรอก ต่อให้เป็น ohp ก็เถอะ ยังไงก็ต้องเรือด.สถานเดียว
เรือพุทธเนี่ยน่ะครับ บุโรทั่ง น่าจะเป็นเรือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ทร.เคยมีมาเลยน่ะครับ มากกว่าเรือนเรศวรก่อนปรับปรุงเสียอีก
แหม แค่นี้ก็ถูกจะบ้าตายแล้วครับ กะให้เขาออกค่าส่งเรือพร้อมสร้างอู่ให้เลยมั๊ยครับ ถึงจะคุ้ม?
เรือพุทธฯ จะเรียกว่าเรือที่ครบเครื่องที่สุดของประเทศยังได้เลยมั้งครับ ไม่เห็นว่าจะเจ็บอะไร ถ้าจะเจ็บคงเรือชั้นเจ้าพระยามากกว่า ฮา
เรือของฟิลิปปินที่อเมริกาให้ไป เป็นคนละ class กับ เรือOliver Hazard Perry นะครับ และประเทศที่กำลังใช้กำลังภายในพลักดันกันเต็มที คือ ไต้หวัน ครับ
ส่วนฟิลิปปิน อยากได้เช่นกัน แต่ตอนนี้ แห้ว อยู่ เค้าก็รอเราอยู่ครับ ถ้าเราไม่เอา ฟิลิปปิน ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่แจ้งความประสงค์ว่าต้องการ อย่าคิดว่า เรือ oliver hazard perry ไม่มีใครสนใจนะครับ มีประเทศที่รอรับอยู่หลายประเทศนะครับ
เรือรุ่นนี้ถือว่าเป็นเรือรบหลักของ อเมริกา ในยุค 1990 เพราะมีมากถึง 51 ลำ ปฏิบัติภารกิจมาแล้วทั่วโลก ความคงทนทะเลไม่ต้องพูดถึง
คุณภาพของตัวเรือ ไม่ต้องพูดถึง ผ่านการพิสูจน์จากของจริงมาแล้ว อย่าดูถูกเรือเก่านะครับ เพราะคุณภาพการต่อเรือรุ่นใหม่ๆ หลายๆลำในปัจจุบัน น้ัน ยังสู้เรือ oliver hazard perry ของอเมริกาไม่ได้ ส่วนอาวุธก็อยู่ที่ภารกิจ
ผมเข้าใจนะว่าทุกคนรวมทั้งผมก็อยากได้ของใหม่ๆ แต่เนื่องจากภาระงบประมาณที่มีจำกัดและโอกาศที่จะได้เงินจากรัฐบาลในอนาคตก็มีจำกัด(เพราะมีภาระจ่ายประจำปีสูงมาก แต่รายได้ไม่ค่อยเพิ่ม) +กับความต้องการของกองทัพเรือที่จะต้องจัดหาอุปกรณ์ต่างๆอีกมากมายทั้ง SAM ฮ.ปราบด. ฮ.ขนส่งทางยุทธวิธี เรือดำน้ำ
โอกาศที่ทร.จะได้เรือฟริเกตราคาสูงจากเกาหลีลำที่3-4คงจะเป็นไปได้ยาก + การที่ทร.จะต้องปลดประจำการเรือหลวงพุทธ ทำให้ทางทร.จะมีเรือปราบด.ที่ไว้ใจได้แค่ไม่กี่ลำ ผมว่าราคาประมาณ 3,000 ล้านบาทกับเรือปราบด.ที่ไว้ใจได้อีก2ลำ เป็นอะไรที่จับต้องได้และน่าจะจัดหามา
อนาคตถ้ามีเงินเพิ่ม เอาเจ้า OHP ไปใส่ Sea Giraffe+Ceros(หรือ Mk.92 Fire Control)+MK.41+ESSM+Harpoon ผมว่ามันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเรือชุดนเรศวรที่ปรับปรุงใหม่ซะอีก เพราะมันมี Long Range Radar มีSonarทั้งหัวเรือและลากท้าย มีPhalanx และSm-2 ที่หลายท่านอยากจะได้อาจจะเกิดบนเจ้าOHPได้ง่ายกว่าเรือชุดอื่นๆซะอีก
เรื่อง OHP ทีไรยาวพอๆกะoplotทุกที ท่านที่บอกว่าจะไปติดอาวุธเพิ่มESSM harpoon ผมไม่ทราบว่าท่านจะเอาไปติดตรงไหนยังไง ครับ มันมีที่ให้ติดหรือตัวเรือมันติดได้เหรอครับ เแท่นmk13 ของเรือมันใช้ได้อยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้
ปราบเรือดำน้ำ เป็นข้อเด่นข้อเดียวของเรือลำนี้ แต่ต้องใช้ ตอปิโดเบายิง นะ เพราะ ไม่มี ASROC อันนี้คือสมมุติว่าอเมริกาไม่ถอดระบบโซนาต่างๆออกไปนะครับ
deal นี้จะคุ้มไหม ผมว่าไม่น่าจะนะ รอเอาเงินที่จะไปลงตรงนี้ไป ซื้ออย่างอื่น หรือ ซื้อเรือดำน้ำเลยดีกว่าไหม นอกจากทร จะปลดเรือพุทธ แล้วจะเอา OHP มาแทนอันนั้นอาจจะพอรับได้ครับ แต่ผมว่า เรือพุทธ ดีกว่า OHP เพราะเรือพุทธยังยิง harpoonได้
ถ้ามองที่งบประมาณเท่ากันที่ 30,000 บาท เปรียบเทียบระหว่างซื้อเรือเกาหลีลำที่ 3 ,4 (สมมุติลำที่ 1,2 สร้างไปแล้ว) กับซื้อเรือ OHP 2 ลำปรับปรุงให้ติด harpoon , ESSM ได้ ผมกว่ากรณีซื้อเรือ OHP น่าจะมีเงินเหลือไปซื้อเรือดำน้ำมือสองดีๆ 1-2 ลำน่ะครับ ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศทางทะเลสูงกว่าการซื้อเรือฟริเกตใหม่เพิ่ม ครับ และถ้าสมมุติต่อไปอีกว่า ทร. เสียดายไม่ปลดประจำการเรือพุทธทั้ง 2 ลำแต่ปรับปรุงระบบเครื่องยนตร์แบบเดิมให้ใช้งานง่ายและปลอดภัยขึ้นส่วนระบบอื่นๆแค่ซ่อมคืนสภาพผมว่าก็น่าจะประจำการต่อไปได้อีกหลายปีครับ (เรื่องระบบเครื่องยนตร์ของเรือพุทธผมคิดว่าแค่ใส่เทคโนโลยีใหม่ๆเข้าไปและซ่อมแบบ Overhual ก็น่าจะใช้งานได้ดีในระดับที่น่าจะยอมรับได้เพราะคงไม่ได้ใช้งานหนักเกิน 100% design บ่อยๆ)
ปรกติอายุของตัวเรือเอง ถ้าไม่ใช่เรือห่วยๆ ใช้ห้าสิบปีชิลๆ เรือสมัยสงครามโลกของสหรัฐฯ ถ้าจนจริงๆ ก็ยังใช้ได้อยู่ (ฟิลิปปินส์) แต่ถ้าคุณภาพของจีนก็รู้ๆ กันอยู่ว่าอายุยืนไม่เท่า ดังนั้นงานนี้เผลอๆ แค่ค่าตัวเรือเปล่าๆ ก็คุ้มแล้ว
เรื่องการอัพเกรด ออสเตรเลียติด mk41 ครับ ของตุรกีก็มี essm mk 41 เหมือนกันครับ
ฮาร์พูนมันมีมาตั้งแต่ปีมะโว้แล้วครับ ติดอยู่แล้ว และจะถ้าจะ mk141 จริงๆ ผมว่าไม่ได้ลำบากอะไร เรือจิ๋วๆ ติดกันเต็มไปหมด อาจจะไม่ได้ที่เหลือมากมาย ไม่ได้เหมาะสมที่สุด แต่ถ้าเทียบกับซื้อเรือใหม่โล้นๆ ละผมว่าขอของเก่าแบบเหลือตังค์ติดอาวุธดีกว่า
เรื่องปากีฯ ผมว่าน่าจะเกิดจากการที่เขาอิงจีนเยอะเกินไป ไทยเราก็ต้องตรองให้ดีเรื่องการถ่วงดุลและความสัมพนธ์
ค่าrefurbish ต่อลำประมาณ 40 ล้านเหรียญ หรือ ราวๆ 1,200-1,300 ล้านบาทต่อลำ
สองลำ เต็มที่ก็ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ได้ OHP สภาพเหมือนใหม่ถอดด้าม (รวม mk 13 ด้วย) ก็เยี่ยมแล้ว
ถ้าอยากได้ ESSM ก็ยัด MK 41 ลงไปอีก ลำล่ะชุด 8 cell ก็ แจ่มมากแล้ว ตีราคาให้อีก สองลำ 3,000 ล้านบาท
กลายเป็น harpoon 40 นัดต่อลำ ESSM 16 นัดต่อลำ ASROCK 4 นัดต่อลำ รองรับ ฮ 2 เครื่อง โซนาร์ มีทั้งด้านหน้าด้านหลัง SM1 ไม่พูดถึงแล้วน่ะ
รวมราคาสองลำ 6,000 ล้านบาท ถ้าได้ของขนาดนี้ (ไม่รวมลูกจรวด)
มันจะ สู้เรือหลวงกระบี่ไม่ได้ ก็คงจะไม่ใช่แล้ว
อ้างอิง ราคา จากที่นี้น่ะครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Taiwan_Relations_Act_Affirmation_and_Naval_Vessel_Transfer_Act_of_2014_(H.R._3470;_113th_Congress)
ไอ้ESSM+ASROCนั่นเลิกคิดเถอะครับ แพงก็แพง Mk.13เอามาใช้ยุ่งยากวุ่นวายอีก ค่าบำรุงรักษาไม่ใช่น้อยๆ จะยัดฮาร์พูน40ลูกจริงเหรอครับSM-1 SM-2ก็ไม่มีใช้
ติดฮาร์พูน8ลูกด้วยแท่นMk.141สองแท่น มีฝาลัง1Bมา แค่นี้ก็ดีกว่าเรือนเรศวรก่อนปรับปรุงแล้ว เหมือนมีเรือพุทธนั่นแล แค่เปลี่ยนจากASROCเป็นฮ.ปด.
สมมุติว่าเราได้เรือทั้ง2ลำจะด้วยอะไรก็เถอะ อุปกรณ์ที่จะติดตั้งในเรือคงมีประมาณนี้(ภาพจากเรือปากีสถานที่โดนตัดเยอะสุด) ภาพแรกสุดสีเหลือง
- เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศระยะไกล AN/SPS-49 และ เรดาร์เดินเรือ AN/SPS-55
- ระบบควบคุมการยิง Mk 92 แต่ไม่มีSTIRเพราะเขาถอดออกไปแล้ว
- ระบบ ECM SLQ-32(V)2
- โซนาร์ SQS-56 ตัวหลังนี้จะมีการปรับปรุงไปพร้อมกับเรือด้วยเหมือนปากีสถาน เพราะเป็นจุดสร้างรายได้ให้กับอเมริกาอีกทางหนึ่ง
ระบบอาวุธที่จะติดตั้งมากับเรือก็จะมีประมาณภาพครับ ภาพที่2สีเหลือง
-ตอร์ปิโดแฝด3 Mark 32
-ปืนขนาด 76/62
-ระบบCIWS ฟาลังซ์ เแพาะตัวนี้คงเป็นประเด็นโต้เถียงกันเยอะ ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมาประมาณ70เปอร์เซนต์เพราะเคยมาประเทศไทยตั้งแต่เรือหลวงพุทธทั้ง2ลำแล้ว ถ้าระดับของเรายังเท่าเดิมก็น่าจะมาเหมือนเดิมนะครับ
ระบบอาวุธที่เราจะติดเสริมภาพที่2สีแดง
-ปืนรอง2ฝั่งซ้ายขวา ก็น่าจะเป็นDS-30M ไม่ใช่ตามภาพของอเมริกานะครับ ส่วนจุดติดตั้งอาจจะไม่ตรงตามนี้แต่ผมชอบตรงนี้มากกว่านะ
-ปืน12.7มม ก็แล้วแต่หละครับว่าจะติดเอาตรงไหน เพราะปืนมันกระบอกเล็กยังไงก็ได้ และทางอเมริกาคงไม่ได้ติดมาด้วย
การติดตั้งจรวดฮาร์พูนเพิ่มเติมบริเวณหน้าหอบังคับการเรือ มีด้วยกัน3รูปแบบตามภาพที่3
-ติดทแยงกันหันไปทางด้านข้างเหมือนเรือหลวงนเรศวรนั่นแหละ ตามภาพคือเรือปากีสถานอดีตคือเรือType21ของอังกฤษ ตัวเรือแคบกว่าOHPนิดหน่อย
-ติดระดับเดียวกันแต่หันเอียงมาด้านหน้าพอประมาณ เหมือนเรือmeko200ของออสเตรเลียซึ่งกว้างกว่า OHP นิดหน่อย ผมชอบแบบนี้ที่สุดเพราะสวยดี
-ติดระดับเดียวกันหันไปด้านข้างแบบเรือType23ของอังกฤษ แต่เรือเขากว้างกว่าOHPเลยทำแบบนี้ได้
อุปกรณ์ที่อาจจะไม่มากับเรือแน่ๆ เพราะของพวกนี้เขาคงเอาไปใช้กับเรือลำอื่น ตามภาพที่4
-เป้าลวง Mark 36 SRBOC (บางทีอาจจะติดมาก็ได้)
-เป้าลวง Nulka (ไม่มาแน่เพราะมันแพงจัง)
แต่ ก็อย่างว่านะครับนี่เป็นการคาดเดาจากบุคคลทั่วไปที่หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ไม่มีข้อมูลลับสุดยอดประเภทเหนือชั้นอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นอาจไม่ตรงก็ได้อย่าเชื่อผมนักเลยครับ
เอามาเถอะครับ ผมว่ามันก็ยังมาอุดช่องว่างได้อยู่นะครับ ใต้น้ำใ้นเขตอ่าวไทยนี้ คงเป็นที่ทดลองเรือดำน้ำชั้นดีเลยแหละครับ เพราะเราไม่มีเรือดำน้ำไป ดำเล่นเลย เพื่อนบ้านเลยเอามาดำเล่นแทน ส่วนไอ่แท่นMK.13 ผมว่าไม่ต้องเอามาก็ดีแล้วอ่ะครับ ติดแท่นMk.141
เพิ่มผมว่าง่ายสุดละขอแค่เนี้ยแหละครับ MK.13เดี๋ยวไม่มีอะไหล่ใช้อีก
เอารูปมาฝาก คุณ superboy ครับ ว่าการติดตั้ง MK141 canister สำหรับ OHP นั้นยังมีอีกแบบหนึ่ง คือ บนสะพานเดินเรือ แบบของไต้หวัน ครับ
ส่วนในความเป็นจริงเมื่อมาดูราคา อ้างอิงจากของ ออสซี่ ซึ่งใช้บริการของ Thales เป็นหลัก ราคาอัพเกรดต่อลำ เท่ากับ 262 ล้านเหรียญต่อลำ รวมค่าเงินเฟ้อให้ด้วย ก็น่าจะราวๆ 8,000 ล้านบาทต่อลำ
ส่วนของประเทศไทย ได้ตัวเรือมาฟรีๆ ส่วนอาวุธที่ติดมาก็ตามแต่จะคาดการณ์กันไป แย่สุด ก็เท่าปากีสถาน ดีสุดก็เท่าตุรกีหรือไต้หวัน
ถ้าเราไม่โมดิฟายมันมือเท่าออสเตรเลีย
ตัวเรือได้มาฟรี เสียค่าปรับปรุงคืนสภาพให้เหมือนใหม่ ราคาในร่างกฎหมาย 40 ล้านเหรียญ ให้เต็มที่เลย 100 ล้านเหรียญ ต่อลำ(เพราะเอา stir กลับมาใส่ด้วย)
ค่า MK-141 canister 8 unit ไม่รวมลูกจรวด harpoon + MK41 VLS 8 cell (6 ล้านเหรียญ )และค่าเจาะดาดฟ้า ค่าติดตั้ง cell ตีราคารวมๆซึ่งไม่น่าจะถึง ซัก 50 ล้านเหรียญ
ดังนั้น ราคา คำนวณหยาบๆ จะตก 150 ล้านเหรียญ ต่อลำ หรือราวๆ 4,800 ล้านบาท
จะได้เรือ OHP + 8 harpoon (in mk-141) + 32 ESSM + 2 x triple bore light weight torpedo + towed sonar +hull sonar+ 76 mm. Oto + Phalanx + ECM + mk 36 SRBOC + support 2 helicopter
ซึ่ง ตาม ราคาที่เราจ่ายเท่านี้ ขั้นต่ำต้องได้แน่ๆอยู่แล้ว จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมหลายคนถึง ยังเชียร์ การรับเรือรุ่นนี้มาใช้ต่อ โดยไม่ต้องง้อ mk-13 ด้วยซ้ำไป
สองลำตก 9,600 ล้านบาท ใช้กันยาวๆแบบคนไทย อีก 20 ปี ผมว่าเป็นอะไรที่คุ้มมากๆ เผลอๆ จะปลดหลังเรือชุดนเรศวร ซะอีก เนื่องจากคุณภาพตัวเรือดีกว่า
อ้างอิงจากลิ้งข้างล่างน่ะครับ
http://rhk111smilitaryandarmspage.wordpress.com/2013/08/21/mk13-to-mk41-launcher-conversion-for-oliver-hazard-perry-frigates/
http://www.defenseindustrydaily.com/australias-hazardous-frigate-upgrade-04586/
ส่วนอันนี้เป็นอย่างละเอียดของแท่นปล่อย อาวุธนำวิถีสามแบบ http://www.alternatewars.com/BBOW/Weapons/NAVEDTRA_14109_Ch7-8.pdf
[1] U.S. Navy Guided Missile Launcher Systems, http://www.alternatewars.com/BBOW/Weapons/US_GMLS.htm
[2] Vertical Launch System Mk41 Tactical-Length Module, 2013-08-17_Vertical_Launch_System_Mk41_Tactical-Length_Module
[3] Lockheed Martin Receives $16 Million Contract to Provide MK 41 Vertical Launching Missile Systems for Australian and Spanish Navies,http://www.prnewswire.com/news-releases/lockheed-martin-receives-16-million-contract-to-provide-mk-41-vertical-launching-missile-systems-for-australian-and-spanish-navies-57946802.html
[4] Thales FFG Upgrade, 2008-10_Thales_FFG_Upgrade
[5] Adelaide-class frigate, http://en.wikipedia.org/wiki/Adelaide-class_frigate
[6] Evolved Seasparrow Missile (ESSM) (RIM 162D), http://www.navy.mil/navydata/fact_display.asp?cid=2200&tid=950&ct=2
ของไต้หวัน
ของตุรกีบ้าง
mk 13 ถ้าสหรัฐฯ จะเอามาติดให้ใหม่ ซึ่งผมว่าคงไม่ได้โยนทิ้งไปและไม่ได้เป็นอาวุธล้ำเลิศอะไรที่จะต้องระมัดระวังในการค้าขายมาก ก็จะถือว่าดีนะครับ เพราะเติมจรวดได้เรื่อยๆ ติดทั้ง mk 141 ทั้ง 13 ไปเลยแหละนะ ในความเห็นผม
แท่นยิงแบบ Mk.13 เป็นระบบที่เก่าและมีปัญหามากพอสมควรนะครับ เดิมทีผมเองก็ชอบและอยากได้มันมาพร้อมกับ OHP แต่พอได้อ่านข้อมูลจากพวกเวปเมืองนอกก็เลยไม่ค่อยอยากได้ละ เพราะมีชิ้นส่วนกลไกเคลื่อนที่เยอะมาก มันจึงเกิดการติดขัดได้บ่อย และมีความต้องการการบำรุงรักษาที่มากเกินไป ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย ทั้งหมดคือสาเหตุที่อเมริกาเลิกใช้และถอดออก ออสเตรเลียแม้จะปรับปรุงระบบใหม่ให้สามารถยิง SM2 ได้ก็ยังต้องติดตั้ง Mk.41 เพิ่ม ส่วนไต้หวันก็ติดตั้ง SSM แยกต่างหากอีก 2 ชุด
ผมว่าเราสามารถรอดูว่าไตหวันจะทำอย่างไรกับเจ้า OHPกับMk.13 ก็ได้ครับ เพราะไตหวันจะซื้อไปถึง 4 ลำ และตัวเองก็เคยประกอบใช้งานมาแล้ว 8 ลำ น่าจะมีประสพการณ์ตรงในการโมพอสมควร (ขนาด US ไม่ขาย Harpoon ให้ก็ยังโมเอา SSM ของตัวเองมาใส่)
ถ้าไตหวันยังคงเอา Mk.13 เอาไว้(แสดงว่าจัดหามากลับมาใส่ได้) ก็แสดงว่ามั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพและอะไหร่พอสมควร ถ้าไตหวันไม่สนใจถอดทิ้ง เอาอย่างอื่นมาลงแทนก็น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
ใช่แล้วครับ mk13. มีจุดอ่อนหลายอย่าง
น้ำหนักมาก ประมาณ 60 ตัน MK41 หนึ่งโมดูล 8cell หนักประมาณ 14 ตัน
ถังเก็บจรวดสั้น จึง รองรับ SM1 SM2 ตระกูล RIM 66. แต่ถ้าเป็น RIM 67. หรือพวกที่มีER ต่อท้ายจะใส่ไม่ได้ครับ
การบำรุงรักษา ที่ต้องการการดูแลมาก
การอยู่รอดของระบบ จากความเสียหาย ถ้าแขนปล่อยจรวดเสียหายจากการโจมตี จรวดทั้งหมดจะปล่อยไม่ได้
การปล่อยจรวดหลายลูกต้องใช้เวลา. ห่างกันลูกล่ะ 8วินาที
ดังนั้น สหรัฐจึงพัฒนามาเป็น MK26. และ MK41. ตามลำดับ
แต่การจะโมเรือ OHP. โดยการถอดmk13 ออกทั้งหมด แล้วใส่ mk41 เข้าไปแทนลำล่ะสามสี่โมดุล มันไม่ง่ายอย่างนั้น
ตอนแรกผมก็คิดเหมือนกันว่าทำไม ออสเตรเลีย ไม่ใส่mk41 สักสามโมดูล 24 cell เป็นแถวเรียงเดี่ยวตามยาวเลย
ไปอ่านของที่ฝรั่งอธิบายคือ ตัวmk13 มันถูกออกแบบมาอย่างสอดคล้องกับลำตัวเรือส่วนหน้า และตัวชุดแท่นยิงเอง ก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของลำตัวเรือถ้าจะยกเอาออกดื้อ นอกจากนั้นพื้นที่ใต้ดาดฟ้าเรือรอบๆmk13 ยังเป็นที่อยู่ของอุปกรณ์ต่าง เอาออกไม่ได้. จึงทำให้เหลือพื้นติด mk41 เพียงชุดเดียว ซึ่งคงไม่พอสำหรับประเทศที่เขารวยๆ อเมริกาจึงไม่ปรับปรุงเรือเพื่อใช้ต่ออย่างที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก เพราะต้องทำลำตัวเรือที่เป็นบล็อกส่วนหน้าขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สำหรับใส่mk41 สักสามสี่โมดูล ทำให้มีราคาในการปรับปรุงแบบนี้ที่แพงมากจนเกินไป
ตรงข้ามกันกับประเทศไทย ที่เต็มที่กับเรือชั้นนี้ถ้ารับมา ใส่ mk41. สัก โมดูลเดียวก็เกินพอ สำหรับ ESSM. เพราะ Lockheed Martin เสนอตอน 2004 ที่จะอัพ FCS mk 92 mod 6. ให้เป็น mod 12. เพื่อให้ยิง ESSM กับ SM 2. ได้
ดังนั้น ถ้าเรา. ใส่ mk41 มาชุดเดียว 8 cell
แล้วอัพ mk. 116 UBFCS ของเดิมอีกแค่เล็กน้อย (อาจจะเป็น mod 4 หรือmod 7) ก็จะยิง ASROC. ได้ทันที ซึ่งก็ตรงตามความต้องการของ ทร.
อาจจะจัด. การใส่จรวดใน MK 41 ได้หลายแบบเช่น
16 ESSM + 4 ASROC + 8 harpoon
8 ESSM + 2 SM-2 + 4 ASROC + 8 harpoon
โดยไม่ต้องสน MK 13. เลยด้วยซ้ำไป
MK 41 ของตุรกีกับออสเตรเลีย เป็นรุ่น tactical น่ะครับ ดังนั้นแท่นยิงมันจึงยื่นออกมาสูงกว่าดาดฟ้าเรือ แต่ก็รองรับ RIM-67
แต่ถ้าได้ MK13 มาด้วย ก็จะกลายเป็นฟรีเกตสมรรถนะสูงสุดในกองทัพเรือทันที. สูงกว่า formidable class และ ฟรีเกตใหม่ของทร.ที่กำลังต่อในตอนนี้
เพราะจะกลายเป็น 16 ESSM + 40 SM-2 + 4 ASROC + 8 harpoon
ด้วยเหตุนี้ ไต้หวันถึงยังอยากได้เรือชั้นนี้มากครับ เพราะจะเพิ่มอำนาจกำลังรบของเรือผิวน้ำขึ้นอีกมาก. ได้ไปสี่ลำแล้วอัพเต็มๆนี่อืม…
essm ยังไงก็ต้องติด mk41 อยู่แล้วนิครับ
ที่สหรัฐฯ ถอดออกเพราะยังไงชุดเรือที่ยกกันไปก็มีลำอื่นทีทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศยิงกันเป็นร้อยๆ ลูกอยู่แล้ว ดังนั้นอยู่ไปก็ไม่ได้ใช่ แต่ประเทศที่เขาไม่ได้มี ddg อัดจรวดหน้าหลังเกินร้อยหน่วย ก็ยังคงเก็บไว้มีประโยชน์กว่ามั้งครับ
มีคำถามครับว่าถ้าเราโยกเอาปืน 76 มาใส่แทน mk.13 นี่สามารถทำได้หรือไม่ครับ แล้วพื้นที่เดิมของปืน 76 นั้นถ้าถอดออกแล้วสามารถติดแท่น mk.41 ได้หรือไม่ ถ้าทำได้ก็จะทำให้ OHP ที่เราจะรับมามีแท่น mk.41 ถึง 16cell กันเลย
ผมว่าถ้ามีเงินและไม่อยากไปยุ่งกับเจ้า Mk.13 หรือจัดหา Mk.13 มาใส่ไม่ได้ แต่ยังอยากได้ปืนข้างหน้า
ลองดูเจ้า Oerlikon Millennium 35 mm ไม่ต้องเจาะพื้น ไม่ต้องการ น้ำหล่อเย็น น้ำหนักแค่ 3.2 ตัน ยิงสกัดได้ทุกอย่าง
http://en.wikipedia.org/wiki/Oerlikon_Millennium_35_mm_Naval_Revolver_Gun_System
The Millennium gun is easy to install as it requires no through deck penetration and needs no supply of coolant, air or ship's power to operate. However, it does need a power supply to recharge its batteries. Installation can take as little as sixty minutes and requires only six square metres of deck space. A Millennium gun and 252 rounds weighs 3,200 kg.
การวางอะไรที่ต้องการพื้นที่ใต้ดาดฟ้าในตำแหน่งMk.13แทบจะเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะตัวแม็กยังอยู่ทั้งดุ้นเลย
Milleniumก็น่าสนนะครับ แต่จะจัดหากระสุน35มาเพิ่มเพื่อเรือสองลำเหรอครับ???
ผมว่าถ้าจะถอก mk 13 ออกไปเพื่อเพิ่ม cell ของ mk41 อย่าไปทำเลยครับ เพราะจรวดก็ใส่ไม่เต็มอยู่ดี เอาไปเพิ่มในนเรศวร หรือเรือใหม่ดีกว่าครับหากเงินเหลือจริง
ท่าน Phu2000 ครับ ของทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้น ถ้า Oerlikon Millennium 35 mm แจ้งเกิดได้ เดียวก็ต้องมีลำอื่นๆตามมาแหละครับ
ผมว่าพวกเรือตรวจการณ์ (OPV) ติด Oerlikon Millennium 35 mm ยังจะดีกว่าติด Oto Melara 76/62
automorela ก็ติดอยู่แล้วไม่ใช่เหรอครับ? ส่วน 35 mm เอามาทำไมเหรอครับ?
Oerlikon Millennium 35 mm ผมก็อยากได้นะ ในคลิปสุดยอดมาก ทบ.มีแผนจะเปลี่ยน ปตอ.เป็นขนาด 35 มม. ให้หมด ไม่ทราบ ทร.จะเปลี่ยนด้วยหรือเปล่า ถ้าเปลี่ยนด้วยแจ่มเลย
แต่ที่ไม่แจ่มคือ ทร.เราจะมี 20มม . 30มม. 35มม. 37มม. 40มม. 76มม. 100มม. 155มม. เยอะไปมั้ยครับ
แผ่นภาพจากกระทู้เก่า ที่เคยจัดทำไว้ครับ
ว่า ด้วยดุลย์สงครามใต้น้ำ โดยเฉพาะจากเรือดำน้ำ ในภูมิภาคนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 100% การจัดหา OHP ของ ทร. จะมีประโยชน์มากกว่า ไม่จัดหา ในแง่ การสร้างสมดุลย์ หรือ การคงความเป็น กองทัพเรือ ที่มีศักยภาพปราบเรือดำน้ำ เทียบเท่ากับ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับปี 2565
ปี 2565 ลองเปรียบเทียบดูว่า แม้ ทร. จะจัดหาเรือดำน้ำมาได้ จำนวน 2 ลำ
แต่เรือชุด มกุฎ และ ตาปี ต้องปลดระวางไป เพราะเรือทั้ง 3 ลำ ก็จะมีอายุเข้าใกล้ 50 ปี แล้ว ไม่มีเรือ OHP
ซึง ผมมองภาพในปัจจุบันว่า ทร. เอง ก็จัดหาเรือรบ ได้ไม่ทันกับ ดุลย์ กำลังทางเรือในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบัน เราทำได้เพียง ให้มีจำนวนเท่าเดิม เทียบเท่าปี 2540 ในขณะที่ ปรเะเทศอื่น ๆ มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น
การที่เรา อยู่กับที่ ในขณะที่ คนอื่น เขาเดินหน้า ก็เหมือนกับ เราถอยหลัง
ตามแผนการปลดประจำการเรือชั้นพุทธฯ
เรือพุทธยอดฟ้าฯ ปลดในปี 2560
เรือพุทธเลิศหล้าฯ ปลดในปี 2558
เรือพุทธเลิศหล้าฯ รับมอบที่หลัง แต่ ปลดก่อน
เคยลงความเห็นส่วนตัวเก่าไว้ครับ...
เรือ OHP ชุดนี้ของ ทร.สหรัฐ ที่จะมอบให้ไทย ก็มีการ ปรับปรุงเรือมาแล้วระดับหนึ่ง มีการเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ดังนั้น เรือชุดนี้ เมื่อเทียบ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน กับเรือ OHP ในอดีต เรือชุดนี้ จะมีค่าใช้จ่ายที่ ถูกกว่า
และ ผมให้น้ำหนักว่า ทร.สหรัฐ จะส่งมอบเรือให้ โดยคงทุกอย่างไว้เหมือนเดิม เหมือนเรือชั้น พุทธฯ เช่น เรือหลวง พุทธเลิศหล้าฯ ที่นำเรือเก่ามาทำการ refit ใหม่ และนำระบบอาวุธกลับมาใส่ให้เหมือนเดิม ในขณะที่เรือลำนี้ ไทย ไม่มีความสามารถชำระเงินให้ครบ (เราจัดหาในลักษณะการซื้อ) แต่ สหรัฐ ก็มอบให้ในลักษณะการช่วยเหลือ แบบเดียวกับเรือชั้น OHP ชุดนี้
ความเห็นส่วนตัวครับ
ทร.จะมีเรือฟริเกต และคอร์เวต รวมจำนวน 12 ลำ เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 6 ลำ (กองเรือฟริเกตที่ 1)
ทร.จะมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หรือ ปฏิบัติการลักษณะ OPV จำนวน 6 ลำ (กองเรือตรวจอ่าว)
โดยกองเรือตรวจอ่าว จะประจำการด้วย เรือตรวจการณ์ ทั้งสิ้น
โดยกองเรือฟริเกต ทั้ง 2 กองเรือ จะทำหน้าที่ของ เรือฟริเกตทางยุทธวิธี ไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการ ทำหน้าที่ เรือตรวจการณ์ ของลักษณะเรือ OPV
Oerlikon Millennium Gun มีคนชอบเยอะนะ(เมื่อก่อนผมก็ชอบแต่หลังๆเฉยๆแล้ว) แต่เวอร์ชั่นนาวีมีลูกค้าแค่เดนมาร์คกับเวเนซูเอล่าเท่านั้นเองกำลังจะมีอินโดอีกราย ผมมองเป็นCIWSแบบยุโรปที่ต้องมีFCSดีๆราคาแพงมาเป็นตัวช่วยเพราะตัวเองติดได้แค่ TV camera และยังทำงานอัตโนมัติได้ไม่ดีเท่าฟาลังซ์ ปัญหาอีกเรื่องคือราคาMillennium Gun 10ล้านเหรียญ(ไม่รวมFCS) ฟาลังซ์16ล้านเหรียญ โกลด์คีปเปอร์25ล้านเหรียญ
ถ้าจะมีอาวุธแบบใหม่กับกองทัพเรือคงต้องมีราคาที่ไม่แพงมากใช้งานง่าย ใช้ได้ทั้งกับกระสุนเก่าของเราและกระสุนแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสุง เป็นเอกเทศไม่ต้องมีFCSก็ได้และไม่ต้องยุ่งกับCMSด้วย BAE Systems Bofors 40 Mk4 40mm ครับ หนัก2.3ตันไม่ต้องเจาะพื้นมีกระสุนพร้อมใช้100นัด(แต่จะเจาะพื้นก็ได้) มีกล้องทีวีมีเรดาร์วัดระยะใช้กระสุน3P ammunitionได้ ทร.มีกระสุนแบบเก่าใช้งานอยู่แล้วเยอะมาก ราคายังไม่เคาะแต่ผมว่า5-6ล้านก็แพงแล้วนะ เพราะตลาดไม่ใช่ของเขาอีกต่อไปแล้ว จัดเป็นปืนรองหรือปืนหลักสำำหรับเรือลำเล็กที่กระทัดรัดและมีประสิทธิภาพพอประมาณ
เรือOPVส่วนมากทั่วโลกถ้าไม่ติด76/62 ก็ใช้ปืนกลติดรีโมทอย่างเดียวไปเลย ปืนMK38ขนาด25มม.ของอเมริการาคา1ล้านเหรียญDS-30Mของเราก็คงใกล้ๆกัน เท่ากับ1ต่อ10เลยนะเนี่ย โอกาสเกิดของOerlikon Millennium Gunในกองทัพเรือก็คือจากเราจะเปลี่ยนCIWSมาเป็นรุ่นนี้ และโละ40มม.มาเป็นรุ่นนี้ทั้งหมดด้วย กี่กระบอกหละนั่น
ผมเป็นคนหนึ่งที่่ไม่ชอบเรือลำเล็กติด76/62 แต่ถ้าเป็นเรือตรวจการณ์ยาว50เมตรขึ้นไปยังไงก็สมควรติดแน่นอน เป็นอาวุธมาตราฐานไปเลยนะเดี๋ยวนี้เรือจีนยังติดขนาดเท่ากันเลย เสียดายเรือหลวงเจ้าพระยาเราต่อเร็วไป20ปีแต่100มม.กระบอกคู่ก็เจ๋งเหมือนกันนะครับ
ภาพ Battel Group
แผ่นภาพ ในความเห็นส่วนตัว นะครับ
1. จัดหา OHP ติดตั้ง MK-141 สำหรับ อาวุธนำวิถี ฮาร์พุน เพิ่มเติม
2. จัดหา เรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ
3. เพิ่มเติมระบบสื่อสาร ระหว่าง เรือดำน้ำ ให้กับ S-70B
ท่าน judas คาดว่า ทร จะรับมา แบบเดิมๆตอนนี้เลยใช่ไหมครับ
แต่รอบนี้ ผมมีความหวังพอสมควรเนื่องจากรับพร้อมไต้หวัน อย่างน้อย
ไต้หวันต้องเลือกสักอย่าง ระหว่าง mk 13 กับ mk41 หรือ เลือกทั้งคู่ครับ
เชื่อตามป๋าจูลครับ มองตามความเป็นจริงทร.ไม่เคยได้อะไรมาแบบจัดเต็มซักครั้ง เงินน้อยซื้อแต่ละทีเห็นแล้วเหนื่อยแทน เรือฟริเกตชุดใหม่ เพ้อกันไปไกล ออกสเป็คมาทีหงายหลังตึง
เรือชุดนเรศวรยังซื้อ essm มานับลูกได้บรรจุไม่เต็มเซลล์ที่่าน้อยแล้วนะด้วยซ้ำ เรือ ohp ทร.คงมองเป็นของแถมแบบมีดีกว่าไม่มีแหละครับ
ดีไม่ดีไม่มีฮาร์พูนนี่ฮาเลย
เรือชั้นพระพุทธที่ว่ารอปลด สาเหตุหลักคือเครื่องยนต์ใช่ไหมครับ หากว่าตัวเรือยังพอได้เราปรับปรุงสักหน่อยไว้ทำสงครามกับเรือดำน้ำไหวไหมครับเสียดายแอสรอค ถ้าผังตามท่านจูลดาสว่าเราจะมีฟริเกตหมัดหนักอีกสองเป็นแปด
อ้อ้วบ.p-3ของเราใช้ลว.ปราดเรือดำน้ำได้ไหมครับ
เรือชั้นพุทธฯ ที่รอปลด คงไม่ใช้เรื่อง เครื่องยนต์ หรือ สภาพเรือ น่ะครับ
มันเป็นแผนที่ กองทัพเรือ วางไว้ ช่วงการจัดหา Type-206A และ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ครับ
แต่แผน ระยะเวลา ผิดโผ หมด จากเหตุการณ์ทางการเมือง และสะดุดขา ของใครก็ไม่รุ๊ ที่ขวางทางเอาไว้ ทำให้ Type-206A พลาดไป
ตามความเห็นทั้งหมด นี้ ก็คือ ถ้าเรือชั้นพุทธฯ ยังคงกำหนดปลดระวางตามแผนเดิม โอกาสของ เรือ OHP ผมว่า ก็มีอยู่สูงครับ
เพราะ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 1 กว่าจะได้รับมอบ ก็หลังจากแผนระยะเวลาการปลดประจำการของเรือชั้นพุทธฯ แล้ว
ส่วน เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของไทย ลำใหม่ ผมลองจัดทำข้อมูลแล้ว ถ้าเทียบกับการจัดหา เรือฟริเกตใหม่ในภูมิภาคนี้ ผมคิดว่า ของเรา มีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกประเทศครับ และราคาจัดว่า ไม่ได้แพงอย่างที่คิดกันหรอกครับ
ประเทศที่จัดหา เรือรบใหม่ ที่ราคาแพงสุด ในความเห็นผมตอนนี้ คือ มาเลเซีย ครับ ส่วนประเทศอื่น ๆ เป็นเพียง เรือฟริเกต อเนกประสงค์ ที่สุงกว่า เรือ OPV ขึ้นมา แค่นั้นครับ
ประเทศอื่น ๆ จัดหาเรือ Sea State ที่ระดับ 5-6 แต่ของ ทร.ไทย คุณลักษณะเรือ Sea State ถึง ระดับ 8 ซึ่งไม่รู้ว่า ข้อมูลที่ปรากฎ มีการพิมพ์ผิดกันรึเปล่่า นั่นก็คือ แสดงถึง ความคงทนของเรือ ที่มากกว่าประเทศรอบ ๆ ภูมิภาคนี้
เอาไว้ผมทำข้อมูลเสร็จ สมบูรณ์ จะนำมาเผยแพร่ ต่อไปครับ
แผ่นภาพใหม่ครับ ที่ทำขึ้นมา เพื่อดูเป็น สาระ มากขึ้น
ตามแผนภาพ คือ
1. รับมอบ OHP ติดตั้ง MK-141
2. จัดหา เรือดำน้ำ
3. เพิ่มระบบยุทธการให้กับ S-70B
แก้ไข แผ่นภาพใหม่ ครับ
ขอโทษครับ ขอแก้ไขใหม่ ภาพข้างบน เส้นมันเกินมาเส้นหนึ่ง
ได้ยินว่าเรือพุทธปลดเพราะว่าเครื่องจักรใหญ่นะครับ หม้อน้ำเก่ามากแล้ว ใช้นานกว่านี้จะเป็นปัญหาได้
เรือพุทธฯ มีปัญหาเรื่องความฟิตจริง ๆ ครับ แต่ก็ยังใช้การได้นะ แต่สภาพเครื่องยนต์เริ่มแย่แล้วเหมือนกันครับ ซ๋อมใหญ่ไม่ค่อยจะคุ้มแล้ว
ผมคิดว่าเครื่องยนตร์น่าจะยังพอซ่อมได้น่ะครับ ถ้าเป็นพวก steam turbine ปกติก็มีวงรอบเปลี่ยนท่อทางของหม้อไอน้ำอยู่แล้ว ดูแลดียังไงก็ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ที่มีปัญหาผมคิดเอาเองว่าน่าจะเกิดจากคุณภาพในการดูแลรักษาในช่วงแรกๆของการนำเข้าใช้งานที่เจ้าหน้าที่อาจไม่คุ้นเคยจนทำให้เกิดปัญหาการกัดกร่อนของระบบจนเกิดการแตก รั่วของท่อต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้ถ้ามีการใช้งานแล้ว หยุดใช้งานแต่ดูแลไม่ดีไม่เกินเดือนก็พังแน่นอน รวมถึงอาจเกิดจากปัญหาคุณภาพน้ำมี่นำมาทำไอน้ำไม่ได้คุณภาพที่ดีพอก็ได้ ทางแก้ก็ต้องเปลี่ยนท่อที่เสียทั้งหมด upgrade วัสดุที่ใช้ให้ทนกับสภาพไอน้ำที่ใช้ และเพิ่มการดูแลให้ถูกวิธี ก็น่าจะทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนานไม่เกิดปัญหา ครับ
ส่วนตัวยังเสียดายหากต้องปลดเรือชั้นพุทธทั้งสองลำ มันน่าจะยังมีประโยชน์อยู่ ครับ
ตามข้อมูลที่ผมมี เป็นรายงานการประชุม
ในปี 2553 มีการประุชุมรายงานความคืบหน้า การซ่อมบำรุงเรือชุด พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดย ทร.ให้ใช้งาน 461 ไปจนถึงปี 2560 และใช้งาน 462 ไปจนถึงปี 2558 ในรายงานไม่มีการพูดถึง เรื่องระบบเครื่องยนต์ แต่อย่างใด
โดย ทร. จัดหา อะไหล่ไว้รองรับการใช้งาน จากโครงการ FMS ของ สหรัฐ ในปี 2553 ทร.ดำเนินการมีความก้าวหน้าไปกวา 90% ซึ่งปัจจุบัน คงดำเนินครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
และในการซ่อมบำรุง ดังกล่าว มีการจัดหาจอ LCD ติดตั้งบนเรือ เพิ่มเติม
และแผนการซ่อมบำรุง ปรับปรุงในปี 2554 ก็จัดหา อะไหล่ และซ่อมทำระบบ Phalanx , ระบบควบคุมการยิง, ปืน 5 นิ้ว และแท่นยิง ASROC โดยใช้วงเงินในโครงการ FMS ของ สหรัฐ
ผมว่า ปัจจุบัน เรือชุด พุทธยอดฟ้าฯ มีความพร้อมรบ เหมือนปกติ ไปจนถึงการปลดประจำการ และเทาที่ติดตาม เรือของ กองทัพเรือ ผมยังไม่เคยได้ขา่ว หรือ เคยเห็น เรื่องการปีปัญหาของระบบเรือ เว้นแต่ มันเก่ามาก จนหมดคุณค่ายุทธการ เช่น เรือ PC เรือ LST เรือสนับสนุนการยกพล และเรือ ต. ต่าง ๆ
มีเรือรบผิวน้ำที่ ทร. จัดหาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลดประจำการไป ก็มี เรือชุด ประแสร์ (PF) เพียงชุดเดียว ซึ่งเป็นเรือที่ ถูกแทนที่โดยเรือชุด เจ้าพระยา
และในปี 2553 เช่นกัน มีการประุชม เพื่อขอจำหน่ายอะไหล่ จำนวนมาก ของเรือชุด ประแสร์ นี้ โดยอะไหล่ที่จัดเก็บยังสามารถใช้ประโยขน์ได้อยู่
หรือ แม้แต่ ร.ล.ปิ่นเกล้า ก็ยังไม่ยอมจะหยุดประจำการแบบง่าย ๆ
ผมว่า การซ่อมบำรุง เรือรบของ กองทัพเรือ แม้จะมีข้อจำกัด แต่ก็ประสิทธิภาพพอสมควร
ซึ่งถ้า กองทัพเรือ จะยืดอายุการใช้ เรือชุด พุทธฯ ออกไปอีก ก็คงมีความสามารถทำได้ เพียงแต่ในเมื่อ มีตัวเลือก คือ OHP เข้ามา มันก็น่าจะเป็นตัวเลือก ที่คุ้มค่ากว่า การยืดอายุใช้งาน เรือชุด พุทธฯ น่ะครับ
คือตอนนี้เรือพุทธฯ ยังมีความพร้อมรบเหมือนปกติครับพี่จูลดาส แต่ปัญหาเรื่องสภาพเครื่องยนต์ในอนาคต อาจจะไม่ไหวจริง ๆ ถ้าข้อมูลผมได้รับมาไม่ผิดพลาดความเร็วที่ทำได้สูงสุดตอนฝึกครั้งล่าสุดนั้น ทำได้เพียง 9 น๊อต และการจะอัพเกรดระบบขับเคลื่อนแทบจะทำไม่ได้ เพราะห้องสตีม ห้องควบคุมเครื่องจักร ห้องสั่งการ แยกกันอยู่ มันเลยไม่เหมือนการเปลี่ยนเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์น่ะครับ
แต่นั่นเมื่อต้นปีนะครับ ตอนนี้อาจแก้ไขแล้วก็ได้
ผมพยายามหา plan หรือ cutaway ของเรือชั้น Knox แต่ไม่มี อยากจะดูผังห้องเครื่องกับห้องควบคุม ไม่ทราบท่านใดมีหรือไม่ครับ ไม่ทราบว่าการเปลี่ยนเป็น CODAG. ซึ่งใช้พื้นที่ไม่มาก จะเป็นไปได้หรือไม่ครับ
ไม่น่าได้นะครับพี่ เท่าที่จำได้ ในส่วนของหม้อสตีมนั้น อยู่กลางลำฝังเข้าไปข้างในเลย (ถ้าจะไม่ผิด ถึงเส้นแนวน้ำเลย) ห้องควบคุมก็อยู่อีกส่วนหนึ่ง หากจะผ่า หรือดัดแปลงอะไร ต้องรื้อโครงสร้างด้านบนออกทั้งหมดครับ งานมันเลยช้างไปหน่อย แล้วดูจะไม่ค่อยคุ้มค่าเท่าไหร่
ขอบคุณครับ ท่านครูชนบท สำหรับข้อมูล
ซึ่งถ้าเหตุการณ์เป็นอย่างนั้น ผมว่า ความเร็วสูงสุดได้ระดับ 9 นอต น่าจะเป็น เหตุการณ์กระทันหัน มากกว่า หรือเปล่าครับ
ผมคิดว่า เอาแค่ ความเร็วเรือเดินทางปกติ มันน่าจะมากกวา 9 นอต นะครับ มันน่าจะรู้ตั้งแต่ เริ่มเดินทาง ออกเรือ นะครับ ว่าเรือแล่นไปไม่ไหว
คงต้องวิเคราะห์ว่า เป็นที่ บุคคล หรือ เครื่องจักร ถึงทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 9 นอต นะครับ
พอดี ผมไม่ทราบ ความเร็วเรือเดินทาง ปกติ ที่กี่นอต ครับ (แต่ผมว่า มันน่าจะมากกว่า 9 นอต นะครับ ถ้าเดินเรือเพื่อไปฝีก)
ความเร็ว 1 นอต เท่ากับ 1.853 ก.ม. ต่อ ช.ม.
ความเร็ว 9 นอต ก็จะประมาณ 16.67 กฺ.ม. ต่อ ชั่วโมง หรือเปล่าครับ
ผมว่า ไม่น่าจะขนาดนั้น นะครับ
ถ้าจะให้ผมตีความหมาย ความน่าจะเป็น ก็น่าจะเป็นว่า ความเร็วเดินเรือปกติที่ 9 นอต แต่พอถึงเวลาให้เร่งความเร็วเดินทาง แล้วเร่งเครื่องไม่ได้ หรือ ทำความเร็วเพิ่มขึ้นไม่ได้ หรือเปล่า ?
ซึ่งผมว่า มันก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาดของ บุคคล หรือ เกิดความขัดข้องของเครื่องยนต์ ก็มีโอกาส ความเป็นไปได้ อาจจะไม่ใช่ เพราะความเก่าของเครื่องยนต์ อย่างเดียว
วันนั้นเครื่องยนต์มีปัญหาครับ น่าจะแก้ไขจนปกติแล้วครับ เพื่อนผมที่ร่วมฝึกเขาเล่าให้ฟังครับ
จากเรื่องเล่า ของ ท่านพัน รักษ์แก้ว เป็นช่วงเหตุการณ์ในปี 2516
ความเร็วเดินทางปกติ น่าจะอยู่ระหว่าง 8 - 10 นอต (ท่านสมญานามว่า กองเรือ 10 นอต) ซึ่งผมคิดว่า ปัจจุบัน ทร. อาจจะยังไม่ได้เปลี่ยนมาตรฐานไปจากเดิม
ผู้การ ตอน คนละเรื่องเดียวกัน |
พลเรือโท พัน รักษ์แก้ว |
หน้าที่ 1 |
ผู้การออกทะเลไปแล้ว ๓ ตอน ในตอนแรกออกทะเลไป "รับแขก"คือเรื่องราวเหตุการณ์ที่
เรือรับผู้อื่นขึ้นมาบนเรือออกทะเลไปนอกเหนือจากคนประจำเรือ ตอน "ชนและเกือบชน" เป็น
เรื่องที่ผู้การทั้งหลายไม่พึงประสงค์ให้มีขึ้น ในการชนและเกือบชนเรืออื่นก็ดี สิ่งปลูกสร้างใน
น้ำหรือวัตถุใต้น้ำก็ดี มาถึงตอนี้เป็นประสบการณ์หลายอย่าง ที่ยากจะรวมเป็นหัวเรื่องเดียวกัน เพราะมัน "คนละเรื่องเดียวกัน" ระหว่างการเป็นผู้การเรือลำหนึ่ง - เรือหลวงประแส ลำล่าสุด
การฝึกภาคทะเลของนักเรียนนายเรือในฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๑๖ นักเรียนจำนวนประมาณ
๔๐๐ คน ต่างแยกย้ายลงเรือฝึก ๓ ลำ ซึ่งมีเรือประแสเป็นเรือธงการฝึกเป็นภาคต่างประเทศที่
เดินทางไกลพอสมควร ช่วงเดินทางที่ยาวที่สุดระหว่างเกาะบอร์เนียวกับเกาะไต้หวัน นอกนั้นก็
ยาวพอตัว จากอ่าวไทยไปยังเกาะบอร์เนียวและเกาะบอร์เนียวมายังสิงคโปร์ นับได้ว่าเป็นแผน
การเดินทางที่ดีต่อการฝึกการเรือการเดินเรือและการกลที่ใช้เวลา ๔๐ วันในทะเล คนหลาย
ร้อยชีวิตในเรือในทะเลเป็นเวลาค่อนข้างนาน มักเกิดเหตุการณ์ที่ต้องทำอะไรสักอย่างอยู่เสมอ
นอกแผน
ในช่วงการเดินทางจากลาบวนไปยังเมืองเกาซุงในไต้หวัน ขณะหมู่เรืออยู่ในทะเลจีนใต้
มองเห็นเกาะใหญ่ ๆ ของฟิลิปปินส์ทางกราบขวาอยู่รำไร ทางท้องเรือได้แจ้งมายังสะพาน
เดินเรือว่า พลหทารผู้หนึ่งมีอาการปวดท้องอย่างต่อเนื่องผู้บังคับหมู่เรือ (พลเรือตรี ประพัฒน์
จันทวิรัช- ยศขณะนั้น)ได้สั่งให้นายแพทย์ประจำหมู่เรือ(เรือเอกวีระจิตต์ ชูจินดา - ยศขณะนั้น)
ไปตรวจอาการของผู้ป่วย สักพักหนึ่งหมอก็แจ้งกลับมายังสะพานเดินเรือให้ทราบว่า - ไส้ติ่ง
อักเสบควรรับการผ่าตัดโดยเร็ว
หมู่เรือฝึกประกอบด้วยเรือฟริเกต (PF) เรือกวาดทุ่นระเบิดใหญ่(MSF) และเรือลำเลียง
พลใหญ่(LST) อย่างละลำ ไม่มีขีดความสามารถในการผ่าตัดไส้ติ่ง ผู้บังคับหมู่เรือท่านคงเห็น
ว่าควรนำคนไข้ไปยังที่หมาย คือ เมืองท่าเกาซุง จะดีกว่าทำอย่างอื่นแม้ฟิลิปปินส์จะอยู่ใกล้กว่า
ท่านจึงสั่งให้เรือประแส ที่มีฝีเท้าเร็วที่สุดแยกกระบวนเดินทางล่วงหน้าไปยังเกาซุง พร้อมกับ
แจ้งและขออนุญาตทางไต้หวันว่า เรือประแสขอเข้าเมืองท่าก่อนกำหนดจากการที่จะถึงเกาซุง
ในเช้าวันมะรืนเป็นบ่ายวันรุ่งขึ้น พร้อมกับขอรับการสนับสนุนการรักษาพยาบาลด้วย
เรือประแสติดไฟหม้อน้ำ ๒ หม้อ แล่นจนท้ายสั่นได้ความเร็ว๑๖ นอต ทำให้นึกถึงโอกาส
ที่ได้ไปกับเรือตั้งแต่ครั้งเริ่ม "ร่วมเครือนาวี" และออกทะเลไปกับเรือฝึกในฐานะนักเรียน ซึ่งก็
คุ้นเคยอยู่กับ"ความเร็วเดินทาง ๘ นอต" บ้าง"๑๐ นอต" บ้างทุกเที่ยวทุกเมื่อเชื่อวันจนเผลอๆ
คิดไปว่าเป็นกองเรือ ๑๐ นอต มิหนำซ้ำเมื่อเป็นนายทหารยศเรือโท เรือเอก ไปฝึกกับกองเรือ
นับสิบครั้ง "หมู่เรือลำเลียงช้า" ในการยกพลขึ้นบกซึ่งเป็นเรือ LCU หรือ LCT รุ่นเรืออาดัง
ตะลิบง ฯลฯ จะมี "ความเร็วเดินทาง ๖ นอต" เดินทางล่วงหน้าไปก่อนในขณะที่หมู่เรือลำเลียง
เคลื่อนที่เร็วที่เป็นเรือ LSM หรือ LST มีความเร็วขึ้นมาหน่อย ๑๐ นอต ดังนั้นถ้าเมื่อใดความ
เร็วเดินทางมากกว่า ๑๐ นอต จึงออกจะผิดปกติ
สมัยเป็นนักเรียนจำได้ว่า "ผิดปกติ" ครั้งหนึ่ง เหมือนกับเมื่อเป็นผู้การแล้วในครั้งนี้ กล่าว
คือ นักเรียนผู้น้องคนหนึ่งเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ ขณะหมู่เรือฝึกอยู่ที่เกาะสมุยและอยู่ในช่วง
สุดท้ายของการฝึกที่จะเดินทางมายังสัตหีบอยู่แล้ว ทางหมู่เรือสั่งให้เรือบางปะกงรับผู้ป่วยแยก
กระบวนเดินทาง "ออกเย็น - ถึงเช้า"มายังสัตหีบเพราะบางปะกงมีฝีเท้า(จักร) ดีที่สุดในหมู่เรือ
ที่สัตหีบเวลานั้น ยังไม่มีท่าเทียบเรือใหญ่ที่ฝั่งอยู่ในปัจจุบัน เรือบางปะกงจอดทอดสมอกลางน้ำ
แล้วนำผู้ป่วยลงเรือเล็กไปยังชายหาดหน้าโรงพยาบาล (อาภากรเกียรติวงศ์ในปัจจุบัน) ผู้เขียน
เป็นนายท้ายเรือเล็กจำได้ว่าผู้ป่วยเป็นนักเรียนนายช่างกลตัวเล็ก ๆ ผิวคล้ำยังจำชื่อเขาได้ เมื่อ
เรือเล็กถึงชายหาดก็ช่วยกันอุ้มผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลถึงมือหมอต่อไป
ในชีวิตการเป็นทหารเรือของผู้เขียน ได้ลงเรือที่แล่นเร็วที่สุดเมื่อเป็นเรือโทไปร่วมฝึก
ยุทธการ Pony Express ของสนธิสัญญา SEATO ในทะเลจีนใต้ เมื่อเริ่มฝึกด้ลงเรือลาด
ตะเวนอังกฤษจากสิงคโปร์ที่ร่วมฝึกกับเรือชาติต่าง ๆ ตามขั้นตอนของการฝึก จนกระทั่งก่อน
การฝึกขึ้นสุดท้าย คือ การยกพลขึ้นบกที่บอร์เนียว ผู้เขียนและคณะได้ถ่ายเรือไปลงเรือพิฆาต
สหรัฐ ฯ เพื่อจะไปขึ้นเรือยกพลของสหรัฐ ฯ ที่อยู่ห่างออกไปจากเรืออังกฤษเรือพิฆาต เมื่อรับ
ทีม ผู้เขียนขึ้นเรือแล้วก็แยกกระบวนใช้ความเร็วเดินทางทันที อยู่บนเรือนั้นประมาณ ๖ ชั่วโมง ได้มื้อกลางวัน ๑ มื้อ ถามเขาดูว่าแล่นน้ำบานอย่างนี้ ความเร็วเท่าใด เขาว่า - ๓๐ นอต
ไปดูวิสัยทัศน์ ทร. ในการจัดหาอาวุธก่อนนะ ไม่มีความต้องการเรือเก่าๆนี่เลย อย่าเอาแต่ปริมาณ เราต้องประเมินภัยคุกคามก่อน เอามาก็เจ็บตัวเปล่าๆ
ข่าวล่าสุดไต้หวันจะซื้อเรือฟริเกต OHP จากสหรัฐฯ เพียง 2 ลำ จากจำนวนที่สหรัฐฯ เสนอให้ทั้งหมด 4 ลำครับ สำหรับใครที่เชียร์เรือชุดนี้อาจเป็นข่าวดีว่าจะมีจำนวนเรือเหลือเพิ่มขึ้นอีก 2 ลำ
ช่วยชี้แจงประเด็นกันหน่อยนะครับ
1.ภาระกิจ asuw ถ้าต้องการจรวดเช่น harpoon เรือชุดนี้ต้องทำการติดตั้งเพิ่มเติมหรือเปล่า ถ้าต้องติดตั้งเพิ่ม.....จะถามว่า จำนวนลูก ฮาร์พูน,ESSMที่มีปัจจุบันและกำลังจะจัดหาในอนาคต มันเหลือเฟือที่จะต้องจัดหาเรือมายิงเพิ่มหรือไม่
2.ภารกิจ asw หากจะหวังเรือชุดนี้มาช่วย น่าจะเป็นความคิดที่ล้าหลังมาก เพราะปัจจุบันตอปิโดร์ของ ด. สามารถยิงได้ไกล 50 60 ไมล์ ประกอบกับ ด.ก็มีระบบจรวดนำวิถีใช้ หลักนิยมในการปราบ ด. จึงเปลี่ยนไปใช้ อากาศยาน และ ด. แทน การเอาเรือผิวน้ำไปปราบ ด. เท่ากับกำลังส่งหมูเข้าปากหมานั่นเอง ถ้าจะให้ตรงจุด ต้องจัดหา ด. ให้ได้ อย่ามามึนงง เอามาเป็นภาระ ทำให้ไม่มี เงิน ไปซื้อ ด. อีก เพราะ ด. ต้องต่อกรกับ ด. ถึงจะสมน้ำสมเนื้อกั
3.หากจะเปรียบเทียบกับเรือจีนชุดปัจจุบันทางด้านราคาและจำนวนนั้น ยังถือว่าคุ้มค่าอยู่ เนื่องจากหลังได้รับการปรับปรุงแล้ว ยังใช้ในการลาดตระเวนโดยใช้งบประมาณน้อยกว่า เรือ OHP แน่นอน ใครบอกว่ามันไม่คุ้มมันไม่ดีขอเถียงขาดใจ ใครก็อยากได้ของดีทั้งนั้น แต่เมื่อได้มาแล้วเราใช้มันคุ้มค่าก็นับว่ายอดเหมือนกัน
หวังว่าโครงการนี้จะไม่เกิดขึ้นทเพราะมันจะดึงงบประมาณมหาศาลไปใช้แน่นอน ของเก่าจากไอ้กันมันไม่ได้ดีเสมอไป ในเมื่อเราไม่ต้องเน้นปริมาณเหมือนไต้หวันกับฟิลิปปินส์ ที่รบกับจีน การปลดเรือพุทธ ทิ้ง จัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงครบ 2 ลำ ก็เพียงพอแล้ว เอาเงินมาทำให้เรือพร้อมรบดีกว่า อัพเกรดเรือที่มีอยู่ยังดีกว่า เพิ่มสมรรถนะ ฮปด. ยังคุ้มกว่าอีกนะ.....จะบอกให้
ในไม่ช้าเรือดำน้ำจะสามารถสอยอากาศยานได้จากใต้น้ำ ด้วยอวป.อย่าง MIDAS ถ้าเข่นนั้นเราก็คงไม่ควรส่งฮ.ไปจัดการ เพราะมันจะเป็นการส่งหมูไปเข้าปากหมารึเปล่าล่ะครับ สิ่งที่ OHP มีและน่าสนใจคือระบบโซนาร์ และ ASW Suite แม้จะเก่าแต่ก็ยังใช้การได้ดี (ใหม่กว่าของเรือพุทธฯ ที่คนในทร.เองยังบอกว่าเป็นของดี) อย่างที่บอกไว้ครับว่า ในไม่ช้าทร.จำเป็นต้องปลดเรือที่มีความสามารถในการล่าเรือดำน้ำอีกหลายลำ ไม่เพียงแค่เรือพุทธฯ "การล่าด.ต้องใช้ด.ด้วยกัน" แค่นั้นพอเหรอครับ แล้วอเมริกามีด.กี่สิบลำ ฮ.อีกเป็นร้อยๆ ทำไมยังต้องมีเจ้า OHP ตั้งกว่า 50 ลำ ลองนับดูใหม่นะครับว่าอนาคตทร.จะมีเรือที่มีระบบ ASW ครบๆ กี่ลำ ในขณะที่ต้องดูแลท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลทั้ง 2 ฝั่ง การมีเรือดำน้ำในความเป็นจริงก็เพื่อ "รักษาดุลยอำนาจ" และเพื่อเป็นการ "ป้องปราม" มากกว่าเจตนาที่จะใช้ขีดความสามารถในการค้นหาเรือดำน้ำอย่างจริงจัง
ผมเห็นด้วยกับท่านpookajo ว่า จะปราบเรือดำน้ำ ใช้เรือดำน้ำดีที่สุด แต่เมื่อไหร่เราถึงจะได้เรือดำน้ำที่ว่า เมื่อไหร่เราจะมีเรือดำน้ำพอเพียงที่จะปกป้องกองเรือและน่านน้ำได้ และมันจะผ่านสภา ผ่านกลาโหมได้แน่หรือ ดังนั้นเอาของที่ได้ชัวร์มาไว้กับมือไม่ดีกว่าหรือ อย่าไปหวังน้ำบ่อหน้าเลย
การที่จะเอา ฮ. มาปราบด. ก็เป็นแนวคิดที่ทันสมัย แต่สำหรับกองทัพเรือจนๆอย่างไทย เราจะมีงบประมาณเอา ฮ.มาบินลาดตระเวนได้ตลอด 24 ชม.หรือ ดังนั้นเอาเรือที่มันลอยลำอยู่แล้วมีทั้ง Active+Passive Sonar ที่สามารถตรวจได้ตลอด 24 ชม.จะไม่ถูกกว่าหรือ แล้วค่อยเอาฮ.ออกไปเช็คอีกทีเวลาที่มีจุดสงสัยเป็นพิเศษ
ส่วนที่ ด. สามารถยิงได้ไกล 50-60ไมล์ มีจรวดนำวิถี ก็ต้องวัดใจกันละครับ ว่าใครจะตรวจเจอได้ไวกว่ากันแล้วใครจะพิสูจน์ฝ่าย พิสูจน์ประเภทของเรือได้ดีกว่ากัน + ใครมีระบบลวง ระบบต่อต้านจรวดและตอปิโดได้ดีกว่ากัน ก็คงประมาณว่าแลกกันคนละชุดหว่างเรือดำน้ำกับเรือผิวน้ำ
ส่วนข้อ 1 ภาระกิจ asuw ก็ต้องวัดใจทร.ว่ายังคิดว่ามีภัยอันตรายมากแค่ไหน เรือที่มีอยู่เอาอยู่ไหม ถ้าคิดว่ายังไม่พอรับมือ ก็ต้องจัดหาเพิ่มมาใส่ OHP ถ้าคิดว่าพอแล้ว ก็ให้ OHP จัดการเรืองเรือดำน้ำอย่างเดียวเวลาไปไหนก็ไปเป็นหมู่เรือ(อย่าฉายเดียว) ให้เรือลำอื่นจัดการ asuwแทน
ข้อ.3 เรื่องเรือจีน น่าจะหมายถึงเรือชุดนเรศวร ซึ่งก็น่าจะจริงเพราะใช้เครื่องยนต์ดีเซลได้ค่าเดินเรือถูกกว่า เหมาะสมกับทร.ในตอนนั้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในขณะนั้น แต่ถ้าสมมุติว่าผมเป็นทหารเรือและให้เลือกได้ว่าจะไปกับเรือ OHPหรือเรือชุดนเรศวร ผมเลือกOHP มากกว่า เพราะตัวเรือเหล็กเกรดดีกว่า มีการออกแบบระบบป้องกันระงับภัยอันตรายยามเข้าสงครามดีกว่า โอกาศอยู่รอดมากกว่า ยอมเสียเงินค่าเดินเรือมากกว่าแต่ขึ้นไปแล้วมีโอกาศกลับเข้าท่าเรือได้มากกว่า
ผมว่าเอามาเหอะ ใช้แป๊บเดียวเจ๊ง ผมยังว่าน่าจะคุ้มเลยนะ หรือเปลี่ยนเครื่องก็ได้ถ้าเน้นวิ่งประหยัด
มีเรือนี้ราคาแสนถูก กับเรือดำน้ำที่ไม่มีวี่แววว่าจะมี ผมว่าเอาลำนี้ดีกว่าครับ
ผมมองว่า เผลอๆ ชั้นเจ้าพระยาตัวเรือจะไปก่อน ohp ซะด้วยซ้ำ
ส่วนตัวผมว่าฮอน่ะ vulnerability สูงกว่าเรืออีก เพราะออกไปนี่มันจะโดนเรือผิวน้ำหรือเครื่องบินข้าศึกสอยเอาง่ายๆ เรือยังมีระบบป้องกันตัว เช่นดีคอยต่างๆ ฮ.มีก็จริงแต่ประสิทธิผลนั้นผมว่าฮ.เวลาโดนล็อกเป้านี่แทบจะจองโลงเลยทีเดียว ยิ่งฮ.เราชุดอุปกรณ์ปราบเรือดำน้ำหน่อมแน้มมาก แบบอเมริการาคาจะเป็นเครื่องบินรบแล้ว อีกอย่างคืออเมริกาต้องทำการ secure น่านฟ้า/ผิวน้ำก่อนที่จะส่งฮ.ไปลุยดุ่ยๆหาเรือดำน้ำ
สรุปตอนนี้ก็ยังไม่มีระบบอะไรที่สามารถข่มด.สมัยใหม่อย่างเด็ดขาด ส่วนตัวผมว่าสิ่งที่จะมาปราบด.ก็คือโดรนดำน้ำนั่นแหละ ใช้จำนวนเข้าถล่ม ไม่ต้องกลัวโดนยิง แต่ก็อาจจะไม่สามารถเเล่นน้ำลึกหรือไกลฝั่งมาก
การได้รับ OHP นี้ ไม่ได้ทำให้เรือรบของ กองทัพเรือ เพิ่มขึ้น แต่อย่างใด
ถ้าเปรียบเทียบกับ ความสามารถของเรือดำน้ำ ยุคใหม่
เรือชุด ตาปี จำนวน 2 ลำ และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ก็ไม่เพียงพอกับภัยคุกคามปัจจุบัน ตามที่อ้างถึงแล้ว และไม่สามารถ บรรทุก ฮ. ไปเพื่อปราบ ด. ได้แต่อย่างใด
ปัจจุบัน เรือทั้ง 3 ลำ อายุโดยประมาณจะเข้าใกล้ 40 ปีแล้ว และจะถึงเวลา ปลดประจำการแล้ว นั่นหมายความว่า เมื่อเรือทั้ง 3 ลำ ปลดประจำการ ไม่ว่าจะอย่างไร ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นี้ ทร. ก็จะต้องมีโครงการจัดหางบประมาณ เพื่อจัดหาเรือรบใหม่มาทดแทนเรือทั้ง 3 ลำ นี้ อยู่ดี ซึ่งมันน่าจะส่งผลกระทบต่อการจัดหาเรือดำน้ำ มากกว่า การจัดหาเรือ OHP และเมื่อถึงเวลานั้น ทร.เวียดนาม ผู้จัดหา เรือดำน้ำ รายใหม่ ก็จะมีความพร้อมรบของ เรือดำน้ำ ทั้ง 6 ลำ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ ทร.ไทย ปัจจุบัน ยังไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ว่าจะมี เรือดำน้ำ อัตราขั้นต่ำ จำนวน 2 ลำ แต่อย่างใด
และอัตราจำนวน 2 ลำ ไม่ได้เพียงพอกับความต้องการ แต่ มี ก็ดีกว่า ไม่มี และจำเป็น ต้องมี ผลสุดท้าย ทร.ไทย ก็ต้องมี เรือรบผิวน้ำปราบเรือดำน้ำ มาเสริมอยู่ดี
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำใหม่ นี้ เพื่อมาทดแทน เรือชุด พุทธฯ ตามคำชี้แจงของ ทร.
การยอมรับ OHP จำนวน 2 ลำ ก็เพื่อมาทดแทน เรือชุด ตาปี และ ร.ล.มกุฎราชการ ที่กำลังเข้าใกล้อายุปลดประจำการ นั่นเอง
เรือ OHP เป็นเรือขนาด 4000 ตัน ที่ขน ฮ. ปราบเรือดำน้ำ แบบ S-70B ของ ทร.ไทยได้ ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีเรือรบผิวน้ำ ลำไหน ของ ทร.ไทย นำไปด้วยได้ และ ทร.จะปราบ ด. ด้วย ฮ. ก็ต้องใช้ ร.ล.จักรีนฤเบศ เท่านั้น
เรือชุดนี้ มีชุดควบคุมปราบเรือดำน้ำ ที่เป็นชุดเดียวกับ เรือชั้น Arleigh Burke มีชุดโซนาร์ลากท้าย มีชุดเป้าลวงตอร์ปิโด มีระบบเป้าลวง Nulka และระบบเป้าลวงอาวุธนำวิถีโจมตี และระบบป้องกันตัวระยะประชิด ที่มีไว้เพื่อสำหรับต่อต้านและทำลายอาวุธนำวิถีโจมตีเรือ ที่จะมาจากทั้งเรือรบผิวน้ำ อากาศยาน และเรือดำน้ำ และมีชุดควบคุมการยิง ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับ ฮ. SH-60 ได้ ซึ่งการที่ OHP สามารถบรรทุก S-70B ของ ทร.ไทย จำนวน 2 ลำ ไปได้ในคราวเดียวกัน ถ้าติดตั้งระบบการเชื่อมต่อข้อมูลแบบ SH-60 เข้าไป ก็เหมือนกับการต่อระยะ ค้นหาและปราบ ด. ซึ่งประหยัดกว่า การต้องออกเรือด้วย ร.ล.จักรนฤเบศ
เมื่อส่วนประกอบของ ภาระกิจปราบเรือดำน้ำ = ชุดโซนาร์ ของเรือ OHP + ชุดโซนาร์ของ S-70B ลำที่ 1 + S-70B ลำที่ 2 ติดตั้ง ตอร์ปิโด ปราบเรือดำน้ำ
เรือ OHP จะเป็น เรือรบผิวน้ำ ปราบเรือดำน้ำ ที่มีความสามารถสูง และเป็นกำลังเสริมให้ กับ เรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ ของ ทร.ไทย ที่เป็นอัตราที่ยังไม่เพียงพอต่อภัยคุกคามในภูมิภาคนี้
ในยุคที่ ภูมิภาค นี้ ยังไม่มีเรือดำน้ำ ประจำการ
ทร.อินโดนีเซีย มีเรือดำน้ำ ประจำการเพียง 2 ลำ
แต่เมื่อ มาเลเซีย และ สิงคโปร์ เริ่มมีเรือดำน้ำ เข้าประจำการ และ ทร.ไทย เริ่มโครงการจัดหาเรือดำน้ำ เข้าประจำการ
ทร.อินโดนีเซีย วางแผนจัดหาเรือดำน้ำ จำนวน 12 ลำ แต่ปัจจุบันจัดหาเรือดำน้ำ เพิ่มเติม 3 ลำ รวมของเดิม จะเป็น 5 ลำ
ทร.มาเลเซีย จัดหาเรือดำน้ำ เพิ่มเติม 2 ลำ รวมของเดิม จะเป็น 4 ลำ
ทร.สิงคโปร์ จัดหาเรือดำน้ำ เพิ่มเติม 2 ลำ รวมปัจจุบัน มีจำนวน 6 ลำ และจัดหาเรือดำน้ำ เพิ่มเติม ทดแทนเรือชั้น ชาแลนเจอร์ ไม่ต่ำกว่า 2 ลำ รวมเรือดำน้ำที่เพิ่งรับมอบจะเป็น ไม่ต่ำกว่า 4 ลำ
ทร.เวียดนาม จัดหาเรือดำน้ำ ในคราวเดียว จำนวน 6 ลำ
ทร.พม่า และ ทร.บังคลาเทศ กำลังจัดหาเรือดำน้ำ ไม่ต่ำกว่าประเทศละ 2 ลำ
ทร.ออสเตรเลีย กำลังดำเนินโครงการ เรือดำน้ำใหม่ จำนวนไม่ต่ำกว่า 6 ลำ
การที่ ทร.ไทย แม้จะจัดหา เรือดำน้ำมาได้ ในอัตราขั้นต่ำ จำนวน 2 ลำ ก็ไม่เพียงพอกับ ดุลย์สงครามเรือดำน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไปในอัตรา มากกว่า ทวีคูณ สำหรับในภูมิภาคนี้
ทร.ไทย สุดท้าย ยังไง ก็ต้องมี เรือรบผิวน้ำปราบเรือดำน้ำ สมรรถนะสูง เสริมกำลังอยู่ดี
สำหรับ อาวุธนำวิถี ฮาร์พูน ทร.ไทย สามารถจัดหาจากแหล่งอื่นได้ หรือ แม้แต่ โครงการ FMS ของ สหรัฐ ก็คงสามารถจัดหาได้ ยกตัวอย่าง เช่น การจัดหา ฮาร์พูน สำหรับติดตั้งบน บ. P-3T ก็จัดหามาจาก ฝรั่งเศส (ฮาร์พูน แบบติดตั้งบน อากาศยาน กับ บนเรือ แตกต่างกัน)
ตามข้อมูลและประสิทธิภาพของ เรือ OHP ในปัจจุบัน ผมยังไม่เห็นเหตุผล ที่จะไม่อยากจะรับสำหรับ ทร.ไทย ยกเว้นแต่ว่า ทร.สหรัฐ ให้มาแต่ ตัวเรือ ไม่ได้มี ระบบชุดปราบเรือดำน้ำ มาด้วย ถึงจะเป็น เหตุผล ที่จะไม่ยอมรับ
สำหรับเรือชุด กระบุรี ที่สามารถบรรทุก ฮ. ได้ ถ้าจะเพิ่มเติมระบบ โซนาร์ ก็ทำได้เพียง โซนาร์ ระยะใกล้ ซึ่งเรือชุดนี้ คงทำหน้าที่ ลักษณะการคุ้มกันกองเรือ และไม่น่าจะสามารถไล่ล่า เพื่อปราบเรือดำน้ำได้ เพราะเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เรือดำน้ำคงจับได้แต่ไกล และก็ไม่สามารถบรรทุก S-70B ไปได้ เรือชุด กระบุรี จึงทำหน้าที่ สนับสนุน ให้กับ เรือชุด นเรศวร เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ชุดใหม่ เท่านั้น และถ้าเรือชุด กระบุรี จะติดตั้ง โซนาร์ เพิ่มเติม ระบบโซนาร์ของประเทศจีน ก็คงไม่ใช่ตัวเลือก แน่นอน เพราะปัจจุบัน ผมยังไม่เห็นข้อมูลหลักสูตรการฝึกของ กองทัพเรือ ของโซนาร์ เรือชุด นเรศวร และชุดเจ้าพระยา ที่มาจากประเทศจีน ซึ่งเชื่อว่า โซนาร์ของเรือ เหล่านี้ คงไม่สามารถใช้การได้แล้ว
ผมเห็นข้อมูล หลักสูตรการฝึก ของ กองทัพเรือ เฉพาะ
โซนาร์ DSQS-21C ของ เรือชุด ตาปี, ร.ล.มกุฎราชกุมาร, เรือชุด รัตนโกสินทร์
กับ โซนาร์ทุกระบบ ของเรือชุด พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เท่านั้น
ผมว่า อาวุธจากประเทศจีน ควรจะตัดออกจากระบบทางยุทธวิธีสงครามเต็มรูปแบบ ออกไปดีกว่า ถ้าจะจัดหา ก็น่าจะเป็นเพียง เรือตรวจการณ์ เรือฝึก หรือ ระบบอาวุธที่ไม่ต้องการความซับซ้อน
ฮาป๋าจูลตัดญาติอาตี๋
ตอบคำถามเพื่อถามต่อนะครับ
1.ถูกต้องแล้วครับที่ว่าต่อไป ด. จะโจมตี ฮ. ได้ แต่สุดท้ายแล้ว เวลาเรือไปปฎิบัติภารกิจ จะประกอบกำลังไป ไม่ไปเดี่ยวลำเดียว และจะไม่เดิน active sonar แน่ๆ เรือที่เรามีในปัจจุบันมีระยะตรวจจับอยู่ หากเจอเป้าต้องสงสัยจะเป็นภัยคุกคาม กองเรือไม่ต่อตีหรอกครับ มีแต่จะหลบเท่านั้น แล้วส่ง ฮ. เข้ากดดัน ที่เหลือก็วัดใจกันว่าจะยิงหรือไม่ ถ้า ด. ยิง เท่ากับว่าเป็นการเปิดเผยตัว ด.ลำละหมื่นล้าน กับ ฮ.ลำละพันล้าน ถ้าแลกกันก็เหมือนเราเอาเบี้ยไปแลกกับเรือ ที่เหลือก็ส่ง ฮ. ไปหย่อนตอร์ปิโดกดดันต่อ
2.ทุกวันนี้เราไม่ต้องรอเรือจักรีอย่างเดียวแล้วครับ เรืออ่างทองก็บรรทุกซีฮอร์คได้ อีกหน่อยก็เรือฟริเกตสมรรถนะสูง เอ เรามี ฮปด. กี่ลำหว่า ทำไมต้องหา platform เรือเพิ่มอีกเยอะแยะ
3.ระบบ dipping sonar ของ ฮปด. ใช้การได้ดีที่สุดในการปราบ ด. เวลานี้
4.ถ้าปลดเรือตาปี คีรีรัฐ มกุฏ แล้ว ซื้อเรือใหม่ดีกว่า เรืออายุเกิน 30 ปี แล้วไม่น่าใช้หรอก
5.อย่ายึดติดกับเทคโนโลยีเก่าๆ เพราะประเทศอื่นเค้าใกล้เลิกใช้แล้ว หาระบบที่ยังมีสายการส่งกำลังบำรุงยาวๆดีกว่า
ขอแสดงความเห็นใน 2 ประเด็นครับ
1. การปราบเรือดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ฮ. หรือ ด. หรือเรือผิวน้ำ ต่างก็มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันไป การใช้ ฮ. (หรืออากาศยานโดยทั่วไป) มีข้อดีคือสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้เร็ว และอยู่ในมิติที่เรือดำน้ำตรวจจับ/ต่อต้านได้ยาก แต่ก็มีข้อด้อยคือมีเวลาอยู่ในพื้นที่น้อย และติดตั้งอาวุธได้น้อย ส่วนการใช้เรือผิวน้ำ ปัจจุบันมีระยะตรวจจับและระยะอาวุธที่สั้นกว่าเรือดำน้ำ แต่ก็มีความพยายามในการพัฒนาระบบตรวจจับและอาวุธระยะไกลแบบ stand off ไม่ว่าจะเป็นโซนาร์ ACTAS และอาวุธปล่อย ASROC ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าไปปราบเรือดำน้ำระยะประชิดได้ และข้อดีของเรือผิวน้ำคืออยู่ในพื้นที่ได้นานกับสามารถบรรทุกอาวุธไปได้มาก (ในส่วนของการใช้เรือดำน้ำขอไม่กล่าวถึงเพราะ ทร.ยังไม่มี) แต่แนวคิดการปราบเรือดำน้ำที่ดีที่สุดไม่ใช่การใช้ยานเพียงแบบใดแบบหนึ่ง แต่ควรใช้ยานหลายประเภทเพื่อช่วยอุดช่องโหว่ให้กันและกันในลักษณะของ layered defense ดังนั้นการใช้เรือผิวน้ำปราบเรือดำน้ำจึงยังไม่ใช่สิ่งที่ล้าสมัยเสียทีเดียว นอกจากนี้การที่มีเรือฟริเกตสำหรับเป็น platform ให้กับ ฮ. ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระของเรือขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว (แน่นอนว่าเรือขนาดใหญ่จะเป็นเป้าหลักของเรือดำน้ำอยู่แล้ว) และช่วยให้มีความอ่อนตัวในการแยกเรือฟริเกต + ฮ.ประจำเรือไปตรวจสอบเป้าต้องสงสัยใต้น้ำได้ ส่วนเรือขนาดใหญ่ก็สามารถหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงบริเวณนั้นและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ฮ.ประจำเรือฟริเกตในการตรวจสอบเป้า และใช้ ฮ.ของตนเองในการป้องกันกระบวนเรือต่อไป
2. ในเรื่องของการใช้เรือ OHP มาแทนเรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ในเรื่องของขีดความสามารถนับว่าเป็นแนวคิดที่ดีครับ ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับเรือ "ม้าใช้" ของ ทร.ด้วยซ้ำ แต่เรื่องของค่าใช้จ่ายดูแล้วยังไม่เหมาะสมครับ ยิ่งเรือชุดที่กล่าวถึงเป็นเรือที่มีขีดความสามารถปานกลาง มีการใช้งานบ่อย ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและกำลังพลประจำเรือจึงควรมีไม่มากเพื่อให้สามารถใช้งานได้บ่อยตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเรือ OHP ยังมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่ดูจะสูงเกินไป และการปรับปรุงเรือให้มีค่าใช้จ่ายน้อยลงก็ต้องลงทุนสูงมาก ทำให้สุดท้ายแล้วด้วยงบประมาณที่จำกัดของ ทร.อาจไม่มีการใช้เรือเท่าที่ควรครับ แต่เรื่องคุณภาพตัวเรือกับองค์ความรู้ที่จะติดมากับเรือ (คล้ายๆ กับการ upgrade/update องค์ความรู้ด้านการปราบเรือดำน้ำที่ ทร.ได้มากับเรือชั้น Knox) ไม่เถียงว่ามาตรฐาน ทร.สหรัฐฯ เป็นที่เชื่อถือได้อยู่แล้ว
ทำแผ่นภาพมาให้ครับ
การจัดหา OHP ไม่ได้ทำให้อัตราเรือรบของ ทร. เพิ่มขึ้น
ในขณะที่ ทร. มีความต้องการ เรือ OPV ในอัตรา จำนวน 6 ลำ
เมื่อมีรับมอบ เรือ OHP มาทดแทน ก็สามารถนำเรือ ชุด ตาปี, ร.ล.มกุฎฯ มาใช้ในภาระกิจ OPV และ ทร. ก็สามารถ ทะยอยจัดหา เรือ OPV มาทดแทนที่ละลำได้ และ ทร. จะมีเรือที่เป็น ม้าใช้ เต็มอัตราจำนวน 6 ลำ ซึ่งจะทำให้ ค่าใช้จ่ายของเรือในส่วนนี้ สามารถไปอยู่ในส่วนของการรักษากฎหมาย ได้
ซึ่งเรือ OHP ก็จะเป็นเรือทางยุทธการ เหมือนกับเรือชั้นพุทธฯ มากกว่า เป็น ม้าใช้ จะทำให้ค่าใช้จ่ายของเรือชุดนี้ เน้นไปทาง การฝึก การหาความชำนาญ มากกว่า การเป็นเรือตรวจการณ์
ซึ่งในแง่งบประมาณจัดหา ถ้า ทร. ไม่ต้องการปรับปรุงเรือมาก งบประมาณ 50 - 60 ล้านเหรียญต่อลำ ก็น่าจะเพียงพอในการปรับสภาพเรือ
แผ่นที่ 1 แสดงให้ถึง เรือรบผิวน้ำของ กองเรือฟริเกตที่ 1 จะคงในอัตราเดิม แต่มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น และ กองเรือตรวจอ่าว จะมีเรือ OPV ครบอัตรา จำนวน 6 ลำ โดยการจัดหา งบประมาณเรือดำน้ำ จะเป็นเรื่องการ บริหารงบประมาณ ระหว่าง การจัดหา เรือฟริเกต ลำที่ 2 กับ เรือดำน้ำ
แผ่นที่ 2 เป็นภาพแสดงถึง การขยายระเวลา การจัดหา เรือฟริเกต ลำที่ 2 โดยแทรก การจัดหาเรือดำน้ำ เข้ามาทดแทน โดย สมมติว่า ถ้ามีการจัดหา เรือ OHP มา ก็ไม่ได้จะเป็นภาระงบประมาณมากมาย เพราะในช่วงหลัง ปี 2563 เป็นต้นไป ทร. จะแทบไม่มีงบประมาณ ขนาดใหญ่ เกี่ยวกับเรือรบอีก และอายุเรือ OHP ที่ประจำการอยู่ใน ทร.ไทย ก็จะมีอายุประจำการ ไม่ถึง 10 ปี
แผ่นที่ 3 แสดงให้เห็นถึง ถ้า ไม่มีการรับมอบ OHP ประสิทธิภาพของ กองเรือฟริเกตที่ 1 มีความประสิทธิภาพเพียงใด ในเมื่อ เรือทั้ง 3 ลำ มีอายุ ไม่น้อยกว่า 45 ปี ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จะแสดงความถอถอยของความสามารถ ปราบเรือดำน้ำ และมาฝากความหวังไว้กับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 1 ในขณะที่ อย่างดีสุด คือ การได้เริ่มมีเรือดำน้ำ ประจำการ จำนวน 1 ปี ซึ่งยังไม่มีความพร้อมรบ
ถึงแม้เรือชุด นเรศวร จะมีความสามารถปราบเรือดำน้ำ ที่ดี แต่ กองเรือฟริเกตที่ 2 ก็เป็น กองเรือพี่เลี้ยง ให้กับ กองเรือบรรทุก ฮ. ซึ่งเรือ 911 ก็ไม่มีความสามารถป้องกันตัวเอง ทั้งจาก เรือดำน้ำ และ อากาศยาน และ เรือรบผิวน้ำ
ตามความเห็นที่ว่า ฮ.ซีฮอร์ค ไปกับ ร.ล.อ่างทอง ได้
ก็หมายถึงว่า เราต้องขน ทั้ง ร.ล.อ่างทอง ทั้ง เรือชุด นเรศวร ไปเพื่อปราบ ค้นหา ไล่ล่า ในขณะที่ ร.ล.อ่างทอง ก็ไม่มีความสามารถป้องกันตัวเองได้ ยิ่งกว่า ร.ล.จักรีนฤเบศ ที่ยังมี ระบบป้องกันตัวระยะประชิด ผมว่าจะใช้ เรือผิดประเภทไป หรือเปล่า....
แทนที่ เราจะใช้ เรือเพียง 1 ลำ คือ OHP แล้วขน ฮ.ซีฮอร์ค จำนวน 2 ลำ ไปล่า (จำนวนเท่า ร.ล.อ่างทอง)
การใช้ ฮ. ค้นหา เรือดำน้ำ น่าจะหมายถึง กองเรือ พอจะรู้ ตำแหน่ง คร่าว ๆ ว่า มีเรือดำน้ำ อยู่ใน บริเวณนั้น และถูกจำกัดเขตไว้
ถ้า การข่าว มีเพียง เรือประมง พบ ตากล้อง เรือดำน้ำ ในบริเวณนั้น โดยยังไม่ทราบอาณาบริเวณ ที่แน่ชัด
ท่านจะใช้ ฮ. ลาก Dipping โซนาร์ ค้นหา ทั่วอาณาบริเวณ หรือ ท่านจะใช้ เรือปราบเรือดำน้ำ ค้นหา ก่อน
ในความเห็นผม โดยหลัก มันก็ควรจะใช้เรือปราบเรือดำน้ำ ค้นหา ในบริเวณกว้าง และทำการ จำกัดเขต การปฏิบัติการของเรือดำน้ำ ก่อน
ถึงจะ ใช้ ฮ.ลาก โซนาร์ แล้วทำการ ไล่ล่า ในบริเวณที่ถูกจำกัดเขตเอาไว้ โดยมีเรือรบผิวน้ำ สนับสนุน อยู่ห่าง ๆ
เพราะถ้า ยังไม่สามารถจำกัดเขต ของ เรือดำน้ำ ได้ บางที เรือดำน้ำ อาจจะหลุดมาแนวหลัง และทำการ จม ร.ล.อ่างทอง ไปก่อนแล้วก็ได้ครับ ซีฮอร์ค อาจจะยังไม่ทัน บิน
และนอกเหนือจาก ในสภาวะสงครามแล้ว
ในสถานการณ์ปกติ ที่ รอบอ่าวไทย ประเทศเพื่อนบ้าน ล้วนมี เรือดำน้ำ ประจำการ กันครบ ยกเว้น กัมพูชา
ถ้า มีการข่าว พบเหน ตากล้องเรือดำน้ำ หรือ การข่าว ว่ามีการ ปฏิบัติการหาข่าว หรือ เพื่อฝึก ในบริเวณอ่าวไทย
ของประเทศเพื่อนบ้าน หรือ แม้แต่ มิตรประเทศ ก็ตาม โดยไม่แจ้งให้ กองทัพเรือ ทราบ
ผมคิดว่า กองทัพเรือ ก็ควร จะส่ง เรือปราบเรือดำน้ำ ไป ค้นหา หรือ ตรวจสอบ ว่า มีการ ปฏับัติการ ด้วยเรือดำน้ำใน อาณาบริเวณน่านน้ำไทย จริงหรือไม่
ซึ่ง เราจะยกไป ทั้ง กองเรือ เพื่อ พิสูจน์ หรือ จะส่งเรือ OHP กับ S-70B ติด Dipping Sonar ไป ตรวจสอบ
เพื่อจะได้ แจ้งเตือน ต่อไป ในทางการ ฑูต ว่า มีการรุกล้ำของ เรือดำน้ำ เกิดขึ้น
นั่น น่าจะเป็น อีกหน้าที่ ของ เรือปราบเรือดำน้ำ ในการรักษาความมั่นคง ด้วย ไมใช่ จะทำหน้าที่ ความหมาย เฉพาะใน สภาวะสงคราม เท่านั้น โซนาร์ลากท้าย หรือ Dipping Sonar ก็ควรจะมีการใช้งาน แม้ใน สภาวะการณ์สงบ ถ้ามีการข่าวเกิดขึ้น
ปัจจุบัน กองทัพเรือ ก็มีเรือไม่พอใช้อยู่แล้วนะครับ..และในอนาคตอันใกล้มีเรืออย่างน้อย 4 ลำต้องปลดประจำการ
ปัญหาคือว่า ตอนนี้ที่พอมองเห็นเรือที่จะมาทดแทน ก็เห็นมีแต่ฟริเตกสมรรถสูง 1 ลำ อีก 1 ลำต่อในประเทศ ก็ต้องรอหลัง ปี 2560
เพราะต้องรอให้ลำแรกต่อเสร็จก่อน และต่อนี้ไป กองทัพเรือ คงผลักดันเรื่องเรือดำน้ำ เต็มตัวแน่นอน โอกาสที่จะได้ ฟริเกตต่อใหม่ลำที่ 3 หรือ 4 ภายในระยะเวลา 15 ปีนี้ ไม่น่าจะเกิด ส่วน opv ที่จะต่อใหม่ ก็คงเอามาทดแทน ฟริเกตไม่ได้อยู่
เรื่องค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจ ยังไงมันก็ต้องสูงกว่าเรือที่กองทัพเรือมีอยู่ ด้วยระวางขับน้ำที่มากถึง 4000 ตัน แต่ก็อยู่ที่นโยบายว่าจะนำไปใช้ภารกิจอะไร เราควรมองที่จุดเด่นของเรือประเภทนี้มากกว่า
ดังน้ัน ผมเชื่อว่ากองทัพเรือไม่มีทางเลือกเท่าไร ที่จะต้องรับเรือ OHP ของสหรัฐ 2 ลำนี้ มาใช้ก่อน เพราะลงทุนอีกไม่มาก แต่ได้เรือฟริเกตเพิ่มอีก 2 ลำ ส่วนจะนำไปใช้ปฏิบัติภารกิจอะไร ก็แล้วแต่นโยบาย แต่อย่างน้อยก็สามารถนำไปปฎิบัติภารกิจยังต่างประเทศ แทนเรือหลวง ชุดนเรศวร ก็ได้ ดีกว่าส่ง เรือ opv ไปแทน เสี่ยงต่อกำลำพล เพราะความคงทนทะเล คงสู้เรือชุด Oliver Hazard Perry-class ไม่ได้ จะนำไปเป็นเรือปราบเรือดำน้ำก็ดี ก็ทำให้เรามีกองเรือปราบเรือดำน้ำที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขี้น
สรุป ผมมองดูแล้ว ยังไม่เห็นข้อเสีย นอกจากแค่มีค่าใช้จ่ายปฏิบัติภารกิจที่สูงกว่าเรือรบรุ่นใหม่ๆ แค่น้ัน นอกน้ันมีแต่ได้
อยากได้เรือที่ครบเครื่อง ทั้งระบบเรดาร์และอาวุธรุกและรับมากกว่า เท่าที่เห็นต้อนนี้ก็มีแค่เรือชั้นพุทธฯเท่านั้น เพราะเรือชั้นนเรศวรยังปรับปรุงไม่เสร็จ ถึงจะแพงได้มาแค่ 1-2 ลำ ดีกว่าไปซื้อเรือจีนมา 4-5 ลำ ถูกๆ มีปืนกับจรวดยิงเรือ แต่ถ้าสมมุติ เจอจรวดต่อสู้เรือที่ยิงจากเรือหรือจากเครื่องบินที่ปล่อยจากนอกระยะ ของ ปตอ.ประจำเรือ จะทำไง ใช้ ปตอ.ยิงจรวดเอารึ ขนาดเรืออังกฤษที่ว่าแน่ๆ ยังเจอเครื่องบินรบอาเจนตินาฝ่าแนวป้องกันเข้าไปยิงเอ็กโซเซ่ได้ ไหนจะอันตรายจากเรือดำน้ำ อีก ไอ้จรวดยิงเรือใครก็มีแม้กระทั้งพม่าแต่ระบบการป้องกันเรือและชีวิตทหารนี่ซิน่าคิด
ผมว่าเอา รล อ่างทองไปส่งฮ.ไล่กวดเรือดำน้ำแทน ohp จะเข้าท่ากว่าเหรอครับ? ลำใหญ่กว่า อาวุธป้องกันต้วน้อยกว่า แพงกว่า วิ่งช้ากว่า ไม่ยิ่งไปไวอย่างที่ป๋าจูลว่าล่ะครับ
เรื่องสัมปทานน้ำมัน ผมว่าเขมรจะไปยกให้เมกาทำไมล่ะครับ ยกให้จีนเข้าท่ากว่าเยอะ เอาจริงๆ เมกาไว้ใจไทยกว่าเขมรอยู่แล้ว และทุกวันนี้เขมรอิงจีนกว่าที่ไทยอิงอยู่ ผมว่าประเทศเราโชคดีที่ยังไม่ได้อิงจีนมากไป
ประเทศเราเองไม่ได้เล็กๆ ไม่มีเสียงแบบติมอร์ หรือปาปัวนิวกินิ หรือฟิจิ การที่เขมรจะมาเคลมที่น้ำมัน (ไปให้เมกา) ไม่ใช่ง่ายๆ เรื่องจะกลายเป็นเรื่องของหลายชาติ (เช่นจีนมาสอระเออะ) ดังนั้นไม่ใช่ว่าจะฮุบกันง่ายๆ แล้วยิ่งเมกาจะตีๆ กับจีนอยู่ ไทยกับเมกามีสัมพันธ์ทางการทูตการทหารมาก็ช้านานบางช่วงแนบแน่นมาก(แต่ยังไม่เคยมีการชักหุ่นแบบเขมรหรือลาวหรือเวียดนามใต้) เมกาเองยังต้องการรักษาความสัมพันธ์ทางทหารเพื่อการนี้ เห็นได้จากหลังจากเปลี่ยนนโยบายได้ออกมาพูดหวานๆ หลายทีละ (แต่พูดไปงั้น) แล้วถามคุณว่าหากคุณเป็นเมกา จะเลือกพันธมิตรระหว่างไทยกับเขมรเอาประเทศอะไร ผมว่าเป็นใครก็เลือกประเทศไทยอยู่แล้วครับ
เรื่องอาวุธที่เมกาเคยช่วยๆ มาเยอะๆ ที่ว่าเป็นภาระไม่มีเงินมาบำรุงรักษา ผมว่ามีแค่นี้ก็บุญแล้ว ประเทศเราไม่มีปัญญาซื้อฮ. เป็นหลายๆ สิบๆ ลำเหมือนที่เราได้ฮิวอี้หรอกครับ (ดูสถานะการจัดหาแบล็อกฮอว์กได้) เรือรบงี้ รถถังงี้ เครื่องบินงี้ แต่ก่อนเครื่องบินแนวหน้าเป็นร้อยลำ ตอนนี้กระเสือกกระสนจัดหาให้เต็มฝูง ดังนั้นผมว่าเขาให้มาตอนนั้นก็บุญแล้วครับ ไม่งั้นกองทัพเราคงสภาพเหมือนฟิลิปินส์ตอนนี้ล่ะครับ ที่จะเรียกว่าพิการก็ไม่ห่างความจริงมากเท่าไร
จริงๆ แล้ว ผมอยากให้กองทัพเรือ มี เรือฟริเกต สมถรรนสูง ที่สูงจริง ไว้ใช้จำนวนสัก 8 ลำ เรือดำน้ำ 6 ลำ แต่ราคาค่างวดอย่างฟริเกต ที่ครบเครื่องก็ต้องมี ลำละ 30000 -50000 ล้านต่อลำ ส่วนเรือดำน้ำ ถ้าเอาแบบของดีเลย ก้ต้องมี 30000-60000 ล้านบาท ต่อลำ รวมๆแล้ว เราก็ต้องมีเงินประมาณ 420000-760000 ล้านบาท ถึงจะได้อย่างที่ผมฝันไว้.....แต่ถ้าเกิดสงครามความฝันของผมก็อาจเป็นจริงได้นะครับ..
เพราะมันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัย จอมพล ป.พิบูลณ์สงคราม ตอนนั้นเรามีข้อพิพาทกับฝรั่งเศล ผลคือ ให้ จัดงบประมาณพิเศษให้กับกองทัพเรือจัดซื้อเรือรบ ก็ใช้เงินแค่เบาะๆ ก็แค่ งบประมาณแผ่นดินท้ังหมด 1 ปีงบประมาณแค่น้ันเอง..ถ้าเป็นในสมัยนี้ก็น่าจะประมาณ 1.4 แสนล้านๆ บาท หรือ 140,000,000,000,000,000.- บาท เราจะกลายเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคใน4 ปีเลย เหมือนที่เวียดนามกำลังทำอยู่ครับ..
ผมว่าอย่าเกิดสงครามเลยครับ ไม่งั้นเราจะมีแต่อาวุธ แต่ไม่มีอะไรอย่างอื่นอีกเลย สงสารประชาชนมั่เถอะครับ ในสภาพสงครามลำบากสาหัสแค่ไหนเพื่อให้มีเรือ แล้วมีเรือไปเพื่ออะไร? ถ้าไม่ใช่ไว้ป้องกันสงคราม? แค่ arm race ตอนนี้ก็แย่แล้วครับ
เวียดนามก็อย่างที่เห็น สภาพเศรษฐกิจไม่ได้ดีเลยครับช่วงปีหลังๆ นี้เงินเฟ้อเละเทอะ จนความเติบโตแทบไม่มีผล
ขณะที่ไทยเหตุการณ์บ้านเมืองเน่าซะจนแทบไม่เจริญ แต่เศรษฐกิจยังโตต่อไปได้กระจึ้กๆ ขืนเราไปพิพาทกับจีนเศรษฐกิจคงงามล่ะครับ
การอยากให้มีสงครามเพื่อจะได้มีอาวุธนั้นเปรียบเหมือนกับอยากป่วยเพื่อจะได้มีข้ออ้างเอาตังไปซื้อยา
อยู่ดีๆสุขกายสบายใจไม่ต้องป่วยใช้ตังทำอย่างอื่นเถอะครับถ้างั้น
ฮา
ลองคำนวณความสิ้นเปลืองแบบคร่าวๆ ง่ายๆ ดูครับ
เรือ OHP ติดตั้งเครื่องจักรใหญ่กังหันก๊าซ LM 2500 มีอัตราความสิ้นเปลือง (specific fuel consumption) 227 g/kW.hr ถ้าคิดที่โหลดประมาณ 40% หรือที่ 10,000 kW จะมีอัตราการกินน้ำมัน 2,270,000 g/hr คิดความถ่วงจำเพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ 0.9 kg/ltr จะได้อัตราการกินน้ำมัน 2,522 ltr/hr
เครื่องจักรใหญ่ LM2500 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง JP8 ราคาลิตรละ 34.24 บาท (ราคากลางปี 57 จากเวบ พธ.ทร.) ถ้าคิดว่าปีหนึ่งใช้เรือ 4 เดือน (120 วัน) มีอัตราการเดินเครื่องประมาณวันละ 33% (8 ชม.) ในหนึ่งปีจะใช้เงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 83 ล้านบาท
เทียบกับเรือฟริเกตใช้เครื่องยนต์ดีเซล+กังหันก๊าซ (ร.ล.นเรศวร) ใช้เครื่องจักรใหญ่ MTU 20V1163 (ไม่ใช้เครื่อง turbine ที่ความเร็วลาดตระเวน) มีอัตราความสิ้นเปลือง (specific fuel consumption) 200 g/kW.hr คิดให้ที่โหลด 10,000 kW เลย (จริงๆ จะน้อยกว่าที่ความเร็วเท่ากันเพราะเรือมีขนาดเล็กกว่า) จะมีอัตราการกินน้ำมันประมาณ 2,222 ltr/hr ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคาลิตรละ 30 บาท (ราคากลางปี 57 จากเวบ พธ.ทร.) คิดการใช้งานปีละ 4 เดือน เดินเครื่องวันละ 33% เท่ากัน ในหนึ่งปีคิดเป็นเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 64 ล้านบาท
เทียบอัตราส่วนแล้วเรือ OHP มีอัตราความสิ้นเปลืองมากกว่าประมาณ 1.3 เท่าของเรือฟริเกตที่เดินเครื่องยนต์ดีเซล หรือคิดง่ายๆ ว่าค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือ OHP 3 ลำ สามารถนำไปจ่ายให้กับเรือฟริเกตได้ 4 ลำ หรือถ้าเทียบลำต่อลำแล้วเรือ OHP จะมีค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงกว่าประมาณปีละ 19 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังไม่นับรวมค่าเบี้ยเลี้ยงกำลังพลที่มีจำนวนมากกว่าครับ
ขออธิบายเรื่องจำนวนอวป.ที่บรรจุบนเรือรบของทร.ไทย เพราะเป็นนโยบายและการบริหารจัดการทางด้านงบประมาณอย่างชาญฉลาด ภายใต้งบประมาณที่จำกัดและสภาวะสงบ กองทัพไทยทุกทั้ง 3 เหล่ามีวิธีการจัดหาระบบอวป.นำวิถีแบบเป็นล๊อตในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้อวป.มีสภาพความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง และทยอยหมดอายุปลดประจำการทีละล๊อต อีกทั้งยังสามารถมีระบบอวป.ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงในรุ่นใหม่กว่าอย่างสม่ำเสมอ การที่ทร.มีหลักนิยมในการติดตั้งอวป.บนเรือรบในจำนวนขั้นต่ำ 50% (ครึ่งหนึ่ง) ของขีดความสามารถเต็มในยามสงบ ก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและยืดอายุอวป.ให้ยาวนานที่สุด เพราะการเก็บในคลังอาวุธที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาสภาพพร้อมใช้ได้นานกว่า
การที่บางคนมักคิดว่า อยากให้ทร.เอางบประมาณไปจัดหาอวป.มาบรรจุให้เต็มลำนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่มีความจำเป็นมากนัก เมื่อเทียบกับการมีจำนวนเรือที่มีขีดความสามารถในการใช้อวป.ที่เพียงพอ เมื่อยามเกิดสถานการณ์คับขันและมีความจำเป็น เราสามารถจัดหาอวป.มาติดตั้งเพิ่มได้ง่ายและรวดเร็วกว่า การจะจัดหาเรือที่จะเป็นฐานปล่อยอวป.มากมายหลายเท่า เหมือนประเด็นจำนวนท่อยิง VLS บนเรือฟริเกตสมรรถนะสูง การมีไว้แต่ไม่ได้บรรจุอวป.จนเต็ม ย่อมดีกว่ามีน้อยแล้วบรรจุอวป.เต็ม เพราะเมื่อยามคับขันจำเป็นต้องใช้อวป.จำนวนมาก การจะนำเรือเข้าอู่เพื่อปรับปรุงติดตั้งท่อยิง VLS เพิ่มเติมย่อมไม่สามารถกระทำได้ทันต่อสถานการณ์
ปล.อยากขอรบกวนท่าน "กัปตันนีโม" ช่วยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงของรล.พุทธฯด้วยอีกสักแบบหนึ่งนะครับ ขอบคุณครับ
เรื่อง กำลังพล ของเรือ OHP จะมีประมาณ 300 คน
ส่วนเรือชั้น Knox จะมีประมาณ 288 คน
เรือ OHP จะมีกำลังพล มากกว่า เรือชั้น Knox เพียงเล็กน้อย
ขอบคุณท่านกัปตัน นีโม ในการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย แบบคร่าว ๆ ครับ ซึ่งผมก็อยากได้ข้อมูลนี้ มานานแล้วครับ
คราวนี้ เลยจะ เปรียบเทียบ ค่าใช้จ่าย ตลอดอายุใช้งานของ เรือ OHP แบบคร่าว ๆ เพื่อเปรียบเทียบนะครับ
ผมเลยทำ แผ่นภาพ มาให้ดู ครับว่า มูลค่าจัดหาเรือ เมื่อรวม ค่าสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง ตลอดอายุการใช้งาน เป็นเวลา 15 ปี
มุลค่าเรือต่อลำ จะถัวเฉลี่ยเพียงลำละ 3,750 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่าย เฉพาะในส่วนของเรือ กับ ค่าสิ้นเปลือง ตลอดระยะเวลา 15 ปี
ส่วนในเรื่องค่าใช้จ่าย กำลังพล ก็คงไม่แตกต่างจากปัจจุบัน มากนัก ที่ ทร. ประจำการด้วยเรือชุด พุทธยอดฟ้าฯ
แม้ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานต่อปี จะสูงกว่า เรือทุกลำของ ทร. แต่ด้วยที่ว่า เรือได้รับมอบมาในราคาถูก เมื่อเราคำนวณตลอดอายใข้งานจนกว่าปลดประจำการ ค่าใช้จ่ายในภาพรวม กับเงินจำนวน 7000 กว่าล้านบาท แต่ได้เรือฟริเกต สมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ ผมมองว่ายังไงก็ยังคุ้มค่าอยู่
ไม่มีใครเค้าโง่ที่จะคิดเอาเรืออ่างทองไปไล่กวด ด. หรอกครับ ไม่ต้องคิดซักแวบเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ใช้เป็นฐานปฏิบัติการเฉยๆ เอาเรือไปไล่ล่า ด. น่ะ มันเชยแล้วครับ
การปราบเรือดำน้ำ สมัยใหม่ คงไม่ได้แตกต่างไปจากภาพนี้ น่ะครับ
จากภาพ ก็ให้เปลี่ยน จากเรือ LCS เป็น OHP
จากภาพ ก็ให้เปลี่ยน Variable Depth Sonar เป็น AN/SQS-53
จากภาพ ก็ให้เปลี่ยน MH-60R เป็น S-70B ทั้ง 2 ลำ เพราะ OHP บรรทุกไปได้ทั้ง 2 ลำ (ติด Dipping Sonar 1 ลำ, ติดตอร์ปิโด 1 ลำ)
จากภาพ ปัจจุบัน ทร. ไม่มี UAV ถ้า อนาคตอันใกล้ จะมี ก็ใส่ไปได้ เพราะ OHP เรือมันใหญ่ พอ
ซึ่ง ระบบ การปราบเรือดำน้ำของ OHP ก็จะประกอบไปด้วย
The Sonar Set AN/SQS-53C is a computer-controlled surface-ship sonar that has both active and passive operating capabilities providing precise information for ASW weapons control and guidance. The AN/SQS-53C is designed to perform direct path ASW search, detection, localization, and tracking from a hull mounted transducer array. The AN/SQS-53C retains the transducer assembly from either the AN/SQS-53A or 53B. The AN/SQS-53C provides greater range and detection capability with only half of the electronics footprint and less weight than earlier versions. The AN/SQS-53C is equipped with high source level, fully stabilized beams, and wide convergence zone annuli coupled with computer-aided detection and automatic contact management. Implemented in standard electronic modules, the AN/SQS-53C is an all digital system with stable performance, on-line reconfiguration in the event of a component failure, and performance monitoring/fault location software to quickly isolate failures. The AN/SQS-53C provides apparent range, bearing, and true bearing of contacts when employing active sonar and provides true bearing of contacts detected by passive means.
The AN/SQS-53 is the most advanced surface ship ASW sonar in the US Navy inventory. It is a high-power, long-range system evolved from the AN/SQS-26CX, used actively and passively to detect and localize submarine contacts. The SQS-53B, located in a large dome at the bow of the ship, will detect, identify, and track multiple underwater targets. With its higher power and improved signal processing equipment, this sonar is the first in the Navy to be linked directly to digital computers, thus ensuring swift, accurate processing of target information. Functions of the system are the detection, tracking, and classification of underwater targets. It can also be used for underwater communications, countermeasures against acoustic underwater weapons, and certain oceanographic recording uses. The analog receivers of the AN/SQS-53A/B hull mounted sonars are being upgraded to digital by the use of Commercial-Off-The-Shelf (COTS) processors, and are redesignated SQS-53D.
AN/SQR-19 Tactical Towed Array SONAR (TACTAS)
The AN/SQR-19 Tactical Towed Array SONAR (TACTAS) provides very long-range passive detection of enemy submarines. TACTAS is a long cable full of microphones that is towed about a mile behind the ship. It is towed so far behind the ship so as to not let noise radiating from the shipitself interfere with the noise picked up from targets. Using that noise can determine exactly what ship or submarine is being tracked. The AN/SQR-19B Tactical Array SONAR (TACTAS) is a passive towed array system which provides the ability to detect, classify, and track a large number of submarine contacts at increased ranges. TACTAS is a component sensor of the AN/SQQ-89(V)6 ASW Combat System, and provides significant improvements in passive detection and localization, searching throughout 360 degrees at tactical ship speeds. Processing of complex TACTAS data is performed by the largest computer program assembly ever developed for surface ship anti-submarine warfare.
และ
The AN/SQQ-89 is the ASW Combat System for all surface combatants and will be the technological foundation for the ASW combat system of the DD-21. The ANISQQ-89 combat system suite provides Oliver Hazard Perry (FFG-7), Spruance (DD-963), Ticonderoga (CG-47), and Arleigb Burke (DDG-51) warships with an integrated undersea warfare detection, clas-sification, display, and targeting capability. The system combines and processes all active sonar information, and processes and displays all SH-60B Light Airborne Multi-Purpose System (LAMPS) Mk III sensor data.
น่าจะเป็น ชุดนี้ เพราะเป็นเรือลำดับท้ายของ ชั้นนี้
ซึ่งในการจะใช้่ ระบบปราบเรือดำน้ำ เหล่านี้
เรือรบ ก็ต้องมีระบบป้องกันตนเอง เพื่อรองรับการถูก โจมตี จากเรือดำน้ำ ทั้งจาก ตอร์ปิโด และ อาวุธนำวิถีโจมตีเรือ แบบ ใต้น้ำ สู่ พื้น และเรือ OHP ก็มีระบบป้องกันตัวเอง ทั้ง Torpedo Decoy และ Nulka และ CIWS
รล.อ่างทองจะรอดจาก อวป.ที่ยิงจากด.ได้ยังไงล่ะครับ ขนาด OHP ยังบอกว่าส่งหมูไปเข้าปากหมา แล้วส่งเรือที่ไม่มีระบบตรวจจับใต้น้ำ ไม่มีตอร์ปิโด ไม่มีระบบเป้าลวงตอร์ปิโด อย่างรล.อ่างทองนี่ล่ะครับ ยิ่งจะหนักเสียยิ่งกว่าไม่รู้กี่เท่า สุ่มสี่สุ่มห้าแล่นออกไปมีหวังโดนสอยลงไปนอนเป็นสุสานก่อน แล้วที่บอกว่าเค้าเลิกใช้เรือไล่ล่าด. นี่ไปเอามาจากไหนกันครับ คิดเองมั่วเองเออเองทั้งนั้น ขอหลักฐานที่มาที่ชัดเจนหน่อยสิครับ
ผมบอกว่าเอาเรือไปส่งฮ. ไล่กวด ด. ครับ อ่านไม่ถ้วนแน่ๆ หรือไม่ก็จับใจความไม่ได้แล้วแหละ
โครงการเรือฟริเกตสมรรถนภาพสูง สเป็ค ฮ.ลำเดียว ดังนั้น ohp ขนสองลำย่อมได้เปรียบ แถม ohp มี hangar ซีฮอว์กสองลำ รล อ่างทองก็มี hangar สำหรับฮ. สองลำเช่นกัน
**** เรื่องอื่นไม่ตอบเลยน้อ
แบบว่า อ่านเรื่องการตอบโต้ในกระทูไปมาแล้วอาจจะมีงงกันบ่าง ว่าใครตอบ คห.ไหนกันอยู่
อาจจะต้องระบุว่าตอบ คห.ไหน หรือ ตอบคำถามแก่ผู้ใด ดีหรือไม่ครับ เดียวจะกลายเป็นจับคู่ตอบโต้กันผิดคนหรือเปล่า ^ ^
(หรือว่าผมอ่านไม่ดีเอง เลยงงเอง)
ขอบคุณ ท่านกัปตันนีโม สำหรับ ค่า operate cost ของเรือทั้งสองลำ แต่ผมขอเพิ่มข้อสังเกตไว้นิดหนึ่งว่า ค่าน้ำมันดีเซล เป็นราคาที่กองทุนน้ำมันยังชดเชยอยู่ ถ้าเป็นราคาจริงตามตลาดโลกแล้วน่าจะทะลุเกินราคา ลิตรละ 35 บาท ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้วันใดสำหรับ ประเทศไทย เพราะจริงๆแล้ว ตามราคาที่แท้จริง น้ำมันดีเซลหมุนเร็วจะมีราคาจำหน่ายแพงที่สุด ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายห่างกันน้อยลงไปอีกมาก ระหว่างเรือ OHP กับ นเรศวร
และหากวิ่งที่ความเร็วสูงการใช้เชื้อเพลิงก็คงจะใกล้กันมากขึ้นไปอีก
ส่วน ตัวมองว่าอย่างไรก็ควรจะรับมาสำหรับเรือชั้นนี้สองลำ เพราะกองทัพเรือมีตัวเลือกไม่มากนัก เนื่องจากงบจำกัด ตัวเลือกอื่นก็มี F122 bremen ซึ่งน่าจะหริบหรี่เข้าไปอีก ทั้งๆที่ระบบใกล้เคียงกับของกองทัพเรือมาก แต่งานใต้น้ำก็สู้ OHP ไม่ได้ ขาด towed sonar ได้เรื่องความประหยัดน้ำมัน แต่ก็คงมีแรงขัดขวางที่ไม่สามารถอธิบายได้ มาทำให้ ทร. แห้วไปอีกแน่นอน
การรับ OHP มาจะทำให้เราได้ทดลอง sonar รุ่นที่ใหม่กว่าเรือชั้นพุทธ จากฝั่งอเมริกา รวมไปถึงเทคนิคที่จะได้รับการถ่ายทอดระหว่างการฝึกร่วมกัน และนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับของเรือฟรีเกตใหม่ หากกองทัพเรือยอมลงทุนเพิ่ม สำหรับ ระบบ LAMPS III ก็จะทำให้เพิ่มขีดความรู้ความสามารถในเรื่องงานต่อต้านเรือดำน้ำอย่างมาก(มันแยกระบบออกมาจาก SQQ-89 ใช่ไหมครับ ) รวมไปถึงการอัพ MK116 + MK 41VLS จะทำให้เราได้ลองใช้ ASROC จากระบบ VLS เพิ่ม จากเดิมที่ใช้ ASROC ปล่อยจาก MK16 บนเรือพุทธ ซึ่งจะนำไปใช้ได้กับเรือฟริเกตรุ่นใหม่ๆ (ไม่รู้ว่า ระบบของSAABจะรองรับASROCหรือไม่) ยังไม่นับว่า อาจจะได้ Nixie มาด้วย
ส่วนเรือดำน้ำ อย่างไรที่สุดแล้วก็คงต้องซื้อหามาประจำการจนได้ครับ และแน่นอนว่า ถ้าต้องเจอกับเรือดำน้ำไม่ทราบฝ่าย เรือดำน้ำด้วยกันย่อมดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อเงินไม่ใช่ปัญหา แต่มีอะไรก็ไม่รู้ทำให้ไม่มีการจัดหา และบทบาทของเรือรบผิวน้ำหลายอย่างเรือดำน้ำก็ไม่สามารถมาทดแทนได้ ในเมื่อการจัดหาเรือผิวน้ำไม่มีการเตะสกัดดาวรุ่ง ผมจึงมองว่ากองทัพเรือควรพิจารณาจัดหามาก่อน ไม่อย่างนั้นก็อาจจะไม่ได้อะไรมาเลย
แทงกันยับละ ฮา
ผมว่าต้องแจกแจงกันหน่อย เดี๋ยวคนละเรื่องเดียวกัน
คุณ pookajo บอกว่าใช้รล.อ่างทองเป็นฐานปฏิบัตการสำหรับปราบเรือดำน้ำ คนอื่นบอกว่าใช้เรือ ohp เป็นฐานปฏิบัตการณ์เหมือนกันครับ เพราะงั้นไม่มีใครมีแนวคิดใช้เรือตร์ปิโดปราบเรือดำน้ำเหมือนสมัยสงครามโลกหรือเรือชุดตาปีฯลฯ
เพียงแต่เรือ ohp มีระบบเป้าลวง+ป้องกันตัวต่างๆทั้งโซนาร์ลากท้ายใน asw suite มาด้วย
ทั้งนี้การปราบเรือดำน้ำ ใช้ฮ.หาและเข้าไปยิงก็จริง แต่การใช้เรือร่วมด้วยเป็นทีมจะให้ประสิทธิผลสูงสุด เพราะจะช่วยเสริมกัน
ระยะบินฮ.ไม่ได้ไกลเหมือนเครื่องบิน เพราะฉนั้นการปฏิบัตรการของฮ. เรือที่เป็นฐานก็อยู่ในระยะที่เรือดำน้ำของข้าศึกเป็นภัยคุกคามจึงต้องมีระบบป้องกัน+ต่อต้านเรือดำน้ำด้วย การหาพิกัดเรือดำน้ำก็ต้องใช้โซนาร์จากเรือช่วยนั่นแหละ แล้วใช้ฮ.เข้าไปขยายผลในที่ที่ต้องสงสัยหรือจับทิศทางเรือดำน้ำได้ ไม่งั้นกว่าจะส่งฮ.บินหย่อน sonar buoy หรือไล่จุ่ม dipping sonar ทั่วอ่าวน้ำมันหมดไปหลายรอบ
ซึ่งก็คือสิ่งที่ป๋าจูลกับกัปตันนีโมพูดไว้ครับ ไม่มีใครใช้เรือไปวิ่งไล่ล่าเรือดำน้ำหรอกครับ
ตอนนี้ดูเหมือนว่า เรากำลังวิเคราะห์ประเด็นที่ว่า ทร. ควรจะรับหรือไม่รับ OHP ใช่มั้ยครับ ผมเข้าใจถูกมั้ย ส่วนตัวเลยสงสัยว่า กระบวนการทำงานของอเมริกาในการจะมอบเรือรบให้ใคร มีขั้นตอนยังไงบ้าง เขาจะมีการบอกมาก่อนแบบไม่เป็นทางการหรือเปล่า แล้วเมื่อทางประเทศอื่นๆ ตกลงต้องการรับเรือ จึงจะจัดทำเอกสารอย่างเป็นทางการเหล่านี้อีกที หรือว่าเขานึกอยากให้ใครก็ตัดสินใจให้เลย โดยไม่ต้องถามกันก่อน อันนี้ใครมีข้อมูลก็มาปันกันนะครับ
แต่ถ้าเขาไม่ได้ถามเราแบบไม่เป็นทางการมาก่อน ส่วนตัวคิดว่าการปฏิเสธแบบไม่มีเหตุผลอันควร อาจมีผลต่อความสัมพันธ์ทางการทูตได้ไม่มากก็น้อย ส่วนความจำเป็นด้านการทหารก็อย่างที่สมาชิกหลายท่านได้ปันข้อมูลไว้แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเรือ ส่วนตัวคิดว่าควรจะใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเรื่องเร่งด่วนของเราไม่น่าจะเป็นเรือฟรีเกต แล้วเมื่อจัดหาเรือดำน้ำเสร็จ ก็ค่อยมาดูอีกทีว่าจะปรับปรุง OHP กันยังไง ส่วนเรื่องกินน้ำมันและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็คิดซะว่ามาแทน เรือชั้นพุทธ ที่ปลด ก็คงต้องดูว่าจ่ายเพิ่มจากเดิมที่จ่ายให้เรือพุทธไปมากแค่ไหน ถ้าไม่มากเกินไป ผมคิดว่าก็น่าจะเป็นประโยชน์เหมือนกันนะครับ :-D
ขอบคุณกัปตัน มีโม ที่คำนวณ Operating costs ของเรือ 2 ลำ ดูแล้วค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบแล้วก็รับได้นะครับ เรือ ohp เป็นเรือระวาง 4000 ตัน ส่วนเรือหลวง นเรศวร ระวาง 3000 คัน เปรียบเทียบแล้ว ก็ไม่ได้มากจนเว่อร์อะไร น่าจะรีบรับมาเลย.. เอาไว้เป็นกองเรือปราบเรือดำน้ำ ถึงเราจะซื้อเรือดำน้ำแล้ว กองทัพเรือก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีกองเรือปราบเรือดำน้ำอยู่ดีนะครับ หมดเรือช้ันพุทธ ไปแล้ว ก็คงต้องไปพึ่งพาฟริเกตสมถรรนะสูงที่กำลังต่อ 1 ลำ และอีก1 ลำ ก็ยังไม่รู้ว่า Specification จะเป็นอย่างไร
ระวังจะเหมือนตอนเราจะซื้อเรือดำน้ำมือสองจากเยอรมัน จะเข้าสุภาษิตไทยโบราณที่ว่า ...เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย...
ขอถามความรู้ครับ
1.จากภาพ ระบบ multifunction tow array กับ variable depth sonar เรือ OHP มีหรือเปล่าครับ หรือมีแต่ sonar เฉยๆ
2.กรณีอ่าวไทยซึ่งเป็นเขตน้ำตื้น ระยะตรวจจับของ sonar เรือผิวน้ำ ไม่เกิน 10 ไมล์ ถ้าทำ ROD แล้วจะรู้ว่าใกล้กว่าด้วยซ้ำ มีเขต shadow zone ให้เรือดำน้ำหลบมากมาย การนำเรือเข้าตรวจจับเรือดำน้ำนั้น จะสร้างความได้เปรียบในการ iden ของ ด. โดย ด. จะเลือกหลบอยู่ใน shadow zone และจะโจมตีด้วยอาวุธปล่อย นี่คือสาเหตุที่ไม่ควรนำเรือเข้าไปต่อตี ด. ควรส่ง ฮ. ไปกดดัน ให้รู้ว่าเราทราบตำบลที่ หากสามารถโจมตีด้วยตอร์ปิโดจาก ฮ. ได้ก็ทำ
3.หากระบบตรวจจับดังกล่าวของ OHP ไม่มากเท่า LCS ดังภาพ ประกอบกับการสิ้นเปลืองน้ำมันสูงกว่า ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อมาปรับปรุงอะไรเพิ่ม เพราะมันจะเสียเงินพอๆกับของใหม่
4.การปราบ ด. ของ OHP โดยหลักนิยมคือการใช้ ฮ. ที่ไปด้วย 2 ลำ เข้าค้นหาและต่อตี หากเราใช้เรืออะไรก็ตามที่มี platform ที่ ฮ. ลงได้ แล้ว keep ระยะ stand off ไว้ ก็มีความปลอดภัยเช่นกัน หากกองเรืสามารถหลบ ด. ได้ ก็หลบ ใช้ ฮ. กดดัน ให้ ด. ออกนอกพื้นที่ปฏิบัติการ ก็จบ เพราะ ด. คง ออกไล่ล่ากองเรือไม่ไหวแน่นอน
5.การได้เรือมาเพิ่มน่ะมันก็ดี แต่ถ้างบประมาณมันจำกัด บางทีได้มาก็เป็นภาระเปล่าๆ เอาเรือเก่าๆมาฉุดรั้งโครงการใหม่ๆไปทำไม
คนที่สนับสนุนให้รับมาก็เพราะทร.มีความจำเป็นต้องมี แต่งบประมาณจำกัดมาก ส่วนที่คิดว่าเอาฮ.ออกไปค้นหาไล่ล่าด. ลองคิดดูว่าพื้นที่กว้างใหญ่กับฮ.ที่มีอยู่ 1-2 ลำมันจะทำอะไรได้แค่ไหน ยิ่งหากเป็นสภาวะตึงเครียดมากๆ เมื่อเกิดการโจมตีขึ้นจริง ฮ.ถูกสอยร่วงไปแล้ว รล.อ่างทองจะเอาตัวรอดได้อย่างไร ถ้าแค่การใช้ฮ.ไล่ล่าเรือดำน้ำสามารถทำได้ดีมีประสิทธิภาพมากขนาดนั้น ทำไมทร.ของประเทศที่มีศักยภาพสูงยังคงต้องมุ่งเน้นเรือที่มีภารกิจปราบเรือดำน้ำ และยังคงพัฒนาระบบ ASW Suite ใส่ลงไปมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนที่อ้างว่า OHP ไม่มีระบบที่ดีและมากมายเท่า LCS นั้น ผมว่ามันเป็นตรรกะที่ตลกมากนะ เหมือนบอกว่า "รถบีเอ็มมือสองที่จะได้มาในราคาถูกเหมือนได้ฟรี แต่มันไม่มี iDrive เหมือนรุ่นใหม่ เอามาใช้ก็ไม่คุ้ม ทั้งที่คุณต้องใช้แต่ไม่มีเงินไม่มีปัญญาซื้อ" คุณลองเปลี่ยนเรือในภาพของท่านจูลดาสจาก LCS เป็น รล.อ่างทองเทียบกับเปลี่ยนเป็น OHP ดูสิว่ามันแตกต่างกันขนาดไหน อีกอย่างรล.อ่างทองเองก็มีภารกิจของตัวเองที่ต้องทำอยู่แล้ว และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการก็ไม่ได้ต่ำไปกว่า OHP แถมความคล่องตัวยังน้อยกว่ากันเป็นอย่างมาก
ตอบเรื่องการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายครับ ที่เทียบค่าน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่าง FF(G)7 กับ FFG421 คิดที่ output power เท่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วเรือนเรศวรจะใช้ output power น้อยกว่าเนื่องจากเรือมีขนาดเล็กกว่า ส่งผลให้มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่าที่คำนวณไว้อยู่พอสมควร (ข้อมูลจริงก็พอมีอยู่ แต่หาข้อมูลจากแหล่งเปิดไม่ได้ครับ) แต่ถ้าจะเอาคร่าวๆ แล้ว อัตราความสิ้นเปลืองของเรือที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล (รวมทั้ง CODOG/CODAG ที่ความเร็วลาดตระเวนปกติไม่ใช้ turbine) จะต่ำกว่าความสิ้นเปลืองของเครื่องยนต์ gas turbine น้อยกว่าครึ่งครับ (คิดที่ความเร็วเท่ากัน) ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ผมมองว่าค่า operating cost ของเรือ OHP ซึ่งเป็นเครื่อง COGAG จะสูงกว่าเรือที่ใช้เครื่อง CODOG/CODAG จนยอมรับไม่ได้ แต่ข้อดีของเครื่อง gas turbine คือให้ power output ที่มากกว่า ในขนาดน้ำหนักและมิติที่เล็กกว่าเครื่องดีเซล ทำให้เรือมีอัตราเร่งที่ดีและทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า (แต่ก็ต้องจ่ายด้วยการกินน้ำมันที่มากกว่า และการใช้น้ำมันแพงกว่า)
พูดถึงราคาน้ำมัน ถ้าดูจากราคากลางต่างประเทศแล้วน้ำมันดีเซลหมุนเร็วก็ยังถูกกว่าน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ turbine อยู่ดีครับ ตัวอย่างเช่นราคากลางของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ปี ค.ศ.2013 น้ำมัน generic diesel (DF2) อยู่ที่แกลลอนละ 3.35 ดอลลาร์ ส่วน JP8/JA1 ราคาอยู่ที่แกลลอนละ 3.73 ดอลลาร์ ดังนั้นถึงจะไม่คิดเงินกองทุนน้ำมันที่แทรกแซงราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ก็ยังจะถูกกว่าน้ำมัน jet engine อยู่ดีครับ
ส่วนเรื่องอัตราความสิ้นเปลืองเรือชั้น Knox ยังหาข้อมูลจากแหล่งเปิดไม่ได้ครับ
ประเด็นคือ ohp มีระบบตรวจจับ ด.แค่ระบบเดียวคือโซนาร์หรือเปล่าครับ ถ้ามีระบบเดียวก็เหมือนกับเรือ นเรศวร ตากสิน และฟริเกตใหม่ที่ platform รับ ฮปด.ได้ ระบบแบบภาพมันดีครับ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น ohp แทน lcs ล่ะก็ ไม่ต่างอะไรจากเรือที่เรามีเลย ถ้าคิดแค่ว่ามี platform ให้ ฮปด.มากขึ้น มันไม่คุ้มกับค่าบำรุงรักษาเลย เวลา ฮปด.ขึ้นจากอ่างทอง ก็จะโอนการบังคับบัญชาไปให้ เรือที่มีขีดความสามารถ ในการปราบ ด. ซึ่ง ทร.ก็มีอยู่แล้ว การจะอินพุทระบบที่มีประสิทธิภาพกว่าโซนาร์ ใต้ท้องเรือมันไม่มีทางทำได้เราก็เท่ากับใช้เทคโนโลยีเก่าๆอยู่ หากซื้อเรือใหม่พร้อมเทคโนโลยีใหม่มันดีกว่า เค้าพัฒนาแล้วยังจะเอาบีเอ็มเก่ามาใช้ซ่อมกันตายพอดี....คิดว่าโครงการนี้ไม่เกิดแน่นอน ขอบคุณครับ
ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
1.กรณีที่บางท่านบอกใช้แค่เรือหลวงอ่างทอง ปราบเรือดำน้ำก็น่าจะเพียงพอ
ผมขอตอบว่า... ปกติเรือดำน้ำ 1 ลำ ถ้าจะใช้เรือผิวน้ำและอากาศยานไล่ล่า ต้องใช้ 1 กองเรือ นะครับ.. และเรือหลวงอ่างทอง เป็น เรือ Lpd หรือเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ จะเอาไปปราบเรือดำน้ำ เดี่ยวๆ นิ ทั่วโลกเค้าไม่ทำกันนะครับ เค้าจะหัวเราะเราได้ และข้อสำคัญจะหากันเจอมัยครับ ปกติหากันท้ังกองเรือ ยังหากันไม่พบเลย...
2. ตามที่ท่าน มีโม กล่าวถึงเครื่อง codog กับ gas-turbine ที่ว่า gas-turbine มีอัตราสิ้นเปลืองสูงกว่า
ผมขอตอบว่า... ผมกลัวหลายท่านจะเข้าใจผิด คิดว่า เครื่องยนต์แบบ gas-turbine ต้องไม่ดีแน่เลย ทุกคนถึงไม่อยากให้เอากัน เครื่อง gas-turbine ก็คือเครื่องแบบเดียวกันที่ใช้ตามเครื่องบินต่างๆ หรือแม้แต่ oplot tank ของเราก็ใช้ เครื่องแบบ gas turbine ท้ังสิ้น ข้อดีของเครื่อง gas-turbine คือ ความแรง แรงกว่าเครื่องยนต์แบบลูกสูบ หลายเท่า
Oplotใช้ดีเซลครับ เครื่อง6TD หกสูบสองจังหวะ รถถังทั่วโลกใช้ดีเซลกันทั้งนั้น ยกเว้นM1และT-80
สรุปว่าที่มีคนโพสกันมาตั้งเยอะ คุณได้อ่านไหมครับ อ่านแล้วรู้เรื่องไหม เข้าใจไหม โดยเฉพาะแผนภาพตารางและข้อมูลของท่าน Juldas ที่ค่อนข้างละเอียดชัดเจนดูไม่ยากเลย
ในปัจจุบันทร.ไทยมีระบบโซนาร์ที่ติดตั้งบนเรือรบเป็นแบบ Hull Mount Sonar ของ Atlas รุ่น DSQS-21C และมีเพียงรล.พุทธฯ ทั้ง 2 ลำเท่านั้นที่มีระบบโซนาร์ชักหย่อนและโซนาร์ลากท้ายด้วย ในอีกไม่นานทร.มีความจำเป็นต้องปลดประจำการเรือรบหลายลำ เนื่องจากมีอายุประจำการนานมาก กว่า 40 ปีแล้ว ได้แก่ รล.พุทธยอดฟ้าฯ , รล.พุทธเลิศหล้าฯ , รล.ตาปี , รล.คีรีรัฐ , รล.มกุฎราชกุมาร ในขณะที่มีการจัดหาเรือเข้าประจำการตามที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณแล้ว คือ เรือฟริเกตสมรรถนะสูงจำนวน 2 ลำ (ที่มีทั้ง Hull Sonar ; DSQS-24C และ Tow ; ACTAS ที่เป็น ASW Suite ของ Atlas ทั้งชุด) แต่อย่างน้อยทร.จะมีจำนวนเรือที่มีขีดความสามารถในการไล่ล่าและปราบเรือดำน้ำน้อยลง 3 ลำ การรับเอาเรือ OHP มาใช้งานจึงน่าจะช่วยอุดช่องว่างตรงนี้ได้ด้วยงบประมาณที่ไม่มากเกินไป
ระบบโซนาร์บนรล.พุทธฯ
โซนาร์หัวเรือ Lockheed Martin AN/SQS-26CX
โซนาร์ชักหย่อน ITT Electronics System AN/SQS-35(V) IVDS
โซนาร์ลากท้าย ITT Electronics System AN/SQR-18A(V)1
ระบบโซนาร์บนเรือ OHP (รวมระบบการรบแบบรวมการที่เชื่อมต่อกับระบบบนฮ.)** AN/SQQ-89(V)6/9 Configurations
ปล.ขออนุญาตก๊อปข้อมูลของท่าน Juldas มาใช้ประกอบนะครับ
สรุป..ได้ดีมากครับท่าน...
กลัวหลายท่านเข้าใจผิดนะครับ ไม่มีใครใช้ เรืออ่างทองในการปราบ ด. หรอกครับ แต่ใช้เป็นฐานปฏิบัติการสำหรับ ฮปด. ผมคิดว่าเราต้องคิดว่าจะปฏิบัติการยังไงจากสิ่งที่เรามีก่อน นอกนั้นมันก็แค่จินตนาการนะครับ เราสามารถปราบ ด. โดยอาศัยหลักการใช้ เรืออ่างทอง หรือ จักรี เป็นฐาน จากนั้นส่งมอบการบังคับบัญชาให้เรือที่มีหน้าที่ปราบ ด. ที่มีอยู่แล้วก็สามารถปฏิบัติได้ ดังนั้นการได้ ohp มาก็เท่ากับได้ระบบ sonar เพิ่มขึ้นมา 2 ระบบ + tow array ระบบsonobouy ไม่ต้องพูดถึง เพราะกว่าจะได้ทิ้งก็โดนยิงจมเสียก่อน ระบบsonobouy เนี่ยต้องใช้อากาศยานทิ้งเช่น บ.P3 ถึงจะทันเวลาและตรวจจับได้ไกลกว่า หากจะนำไปใช้ในภารกิจลาดตระเวนก็ใช้งบประมาณสูง เปลืองน้ำมัน และเบี้ยเลี้ยงกำลังพลจำนวนมาก มันเลยดูไม่คุ้มค่า กับการรับเรือมาเพื่อประโยชน์ในภารกิจเดียว หยอดกระปุกไว้ซื้อเรือใหม่ยังดีกว่า
OHP หน้าที่ล่าสุดในกองเรือสหรัฐ คือเป็นเรือปราบเรือดำน้ำ ดังนั้นเรืองระบบการตรวจจับ ประมวลผลและการปราบเรือดำน้ำสามารถวางใจได้ และถ้าOHP มาประจำการกองทัพเรือไทย ผมว่ามันจะเป็นเรือปราบเรือดำน้ำที่ีมีสมรรถณสูงสุดในกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน
***แก้ไขออก
สรุปคือเอาอากาศยานไปหย่อนโซนาร์ลากทั้งอ่าวว่างั้น?
ก็อากาศยานที่จะไปทิ้ง sonobuoy ก็ติดไปกับเรือไงครับ ซึ่งกรณีนี้คือฮ.ติดไปกับเรือ ohp และเรือชั้นนี้มีระบบสำหรับรับข้อมูลจาก sonobuoy
จากการอ่านนะครับ ผมไม่อยากดราม่ามากเดี๋ยวเว็บเน่ากลายเป็นพันทิปไปซะก่อน
ผมอยากบอกนะครับ อย่าถือทิฐิเถียงเอาชนะเลยนะครับ คือคุณอ่านไม่เข้าใจ หรือไม่เข้าใจเรื่องวิธีการปราบเรือดำน้ำ ข้อดีข้อเสียของวิธีต่างๆอย่างแท้จริง มีการเถียงไปถามไปด้วย ซึ่งก็แปลว่าคุณไม่รู้ แล้วยังจะเถียงอีก เข้าใจผิดอีกว่าโซนาร์ลากท้ายเป็นของเก่า สู้โซนาร์ใต้ท้องเรือของเรือฟริเกตเช่นชั้นนเรศวรไม่ได้ฯลฯ แนะนำว่าไปทำความเข้าใจมาก่อนดีกว่านะครับ ผมก็ไม่ได้ฉลาดอะไร แต่เถียงแบบนี้มันไม่จบครับเมื่อคุณเล่นเปลียนจุดยืนไปเรื่อยๆ ตอนแรกจะใช้ฮ.ปราบด.โดยใช้ lpd หรือเรือจักรีเป็นฐานปฏิบัตรการ เนื่องจากว่าเรือเอาไปล่าเรือดำน้ำโดนสอยหมด ตอนหลังจะเอาเรือใหญ่เป้นฐานปฏิบัตการณ์ส่งมอบบัญชาการให้เรือที่มีหน้าที่ปราบด. คือมันไม่มีที่ได้เรื่องๆไงครับถึงต้องการเรือชุดนี้มา แถมจะปลดกันเป็นพรวน ถึงจะเป็นภารกิจเดียว แต่เป็นภารกิจที่เร่งด่วนที่สุดไงครับ น่านฟ้ายังใช้ทอ.ไปก่อนได้ แต่ใต้น้ำมันไม่มีไงครับ
ถ้าผมเป็นผู้บังคับการเรือดำน้ำเนี่ย รับรองว่ายิ้มแป้นเลยทีเดียว ส่งhigh value target มาให้ถึงที่ แถมไม่ทิ้ง sonobuoy อีก ใช้แต่ยุทธการจุ่มแซบทั่วอ่าวไทยจาก ฮ.สองลำซึ่งแป๊บๆก็ต้องบินกลับไปเติมน้ำมัน ถือเข็มเดินเรือตามทิศ ฮ. ไปสอยอ่างทองหรือจักรีที่มาโดดๆ แล้วเตรียมกลับไปรับปูนบำเหน็จที่ประเทศตัวเองสบายๆเลย ขอบคุณ ทร.ไทยที่ให้โอกาสงามๆ
ของอเมริกา ยกกันมาทั้งกองเรือ ยังโดนA19 ลำเดียวเล่นซะอ่วม ไม่อยากจะคิดว่านั่นเขาใช้ฮ.กับเรือผิวน้ำ ทุ่น sonobuoy ระบบวิเคราะห์ข้อมูลจากทุ่น LAMPS อีกเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าเอา SSK มาหาด้วยหรือเปล่า
มันลำบากจนต้อง มาออกแบบโดรนใต้น้ำสำหรับ เรือดำน้ำดีเซลโดยเฉพาะ
แต่ของไทย อย่างน้อยๆโดนแมงป่องทะเลเข้าไปเนี่ย ความหวังจะหาเจอน่ามืดมนมาก
ความเห็นนี้ ขอยาว ครับ ค่อย ๆ อ่านนะครับ เพราะยิ่งแสดงความเห็น มากเท่าไหร่ ก็ดูจะขยายความ กลายเป็น จะเป็นนายทหารปราบเรือดำน้ำ ไปซะแล้ว ซึ่งผมก็ ปุถุชนธรรมดา น่ะครับ ผมเลยว่าจะหยุดประเด็นตรงนั้นแหล่ะ ก็ขอออกความเห็นในเรื่องที่สนับสนุนการจัดหา OHP ว่า
ถ้าเรามาคุยเรื่องค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ มาเป็นประเด็นจัดหาเรือ OHP มันก็จะไปเข้าเรื่องงบประมาณการใช้จ่ายของ กองทัพเรือ นั้น มันเป็นเรื่องการจัดการ การบริหาร ครับ
ถ้า กองทัพเรือ มีความจำเป็น และดูแล้ว มันก็มีความจำเป็น เพราะปัจจุบัน ดุลทหาร ทางทะเล มันได้เปลี่ยนแปลงไป มากแล้วครับ
มีการสะสมอาวุธ และมีอัตราการเพิ่มประจำการเรือรบผิวน้ำ และเรือดำน้ำ ของทุกประเทศ ใน AEC
ในขณะที่ ประเทศในกลุ่ม AEC บางประเทศ ก็มีโอกาส เกิดการกระทบกระทั่ง ทางทะเล กับ ประเทศมหาอำนาจ อย่างประเทศ จีน เป็นต้น
กองทัพเรือไทย สิ่งที่กำลังทำอยู่ ก็เป็นการจัดหา เพื่อทดแทนของเดิม มีอัตราเท่าเดิม แค่นั้น ซึ่งอัตราเดิม ก็เป็นอัตราที่ไม่เพียงพอในการใช้อยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่จัดหา ก็จะมี ประสิทธิภาพ มากขึ้น ภายใต้งบประมาณที่สมเหตุ สมผล
เรื่องค่าใช้จ่าย หรือความสิ้นเปลืองในเรื่องการปฏิบัติการ นั้น มันจะต้องเกิดขึ้น และจะต้องเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วครับ มันอยู่ที่ว่า ระดับบริหาร สามารถจะชี้แจงและทำความเข้าใจ และ แข็งพอ ที่จะให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ได้เข้าใจหรือไม่ ?
กองทัพเรือ จะมานั่ง เตี้ย อุ้ม ค่อม ใช้งบประมาณเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้หรอกครับ ถ้ามันจะต้องเพิ่ม ก็ต้องเพิ่ม
กองทัพเรือ ถ้ามีความจำเป็น ก็ต้องให้เหมือนในปี 2535 – 2540 ที่มีการเติบโตแบบ ก้าวกระโดด แบบนั้น เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าในสมัยนั้น กองทัพเรือ ไม่ก้าวกระโดด แบบนั้น ป่านนี้ กองทัพเรือ ก็คงมีเรือที่ดีกว่า พม่า เล็กน้อยเท่านั้น และไม่แน่จะมีเรือชุด นเรศวร ให้ อัพเกรด หรือเปล่า ?
และสุดท้าย กองทัพเรือ ก็จะได้เรือ มาทีละ ลำ ทีละ ลำ ซึ่งไม่ได้เพียงพอกับการใช้งานเลย หรือเพียงพอ และทันกับ ดุลย์ทางทหารที่เปลี่ยนแปลงไปเลย แค่เรือฟริเกตใหม่ จำนวน 2 ลำ ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ก็ภาวนาว่า ระหว่าง 10 ปีนี้ ก็อย่าให้ใครมาทะเลาะกันในบริเวณในอ่าวไทย หรือ อันดามัน รึกันครับ เรือยังสร้างไม่เสร็จ
อาวุธที่ใช้ในการป้องกันประเทศ ไม่มีคำว่า ถูก
เราอาจจะต้องเสียงบประมาณ จัดหาอาวุธหลายหมื่นล้าน หรือเป็นแสนล้าน ก็เพียงแค่ ป้องกันตัวสำหรับสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง ประโยชน์สูดสุด มันเท่านั้นแหล่ะครับ
ว่าสงครามจำนวน 1 ครั้งนั้น เรามีศักยภาพ ที่จะป้องกันตัวได้หรือไม่ หรือ เราทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนสมัย ญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2
การจัดหา OHP มา ก็เพื่อป้องกัน สงครามเพียง 1 ครั้ง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แค่นั้นแหล่ะครับ เพียงแต่ เราจะดูว่า แล้วการจัดหามานั้น มันสมเหตุ สมผล กับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่
ซึ่งหลาย ๆ ความเห็น ก็เห็นว่า มันคุ้มค่า สำหรับที่ต้องเสียไป และถ้าจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในอนาคต มันก็เป็นสิ่งจำเป็น ที่อาจจะต้องยอมสูญเสีย เพราะ ภัยคุกคามใต้น้ำ มันมีความเสี่ยงมากกว่าในอดีตหลายเท่า โดยจะ มีเรือดำน้ำใน ภูมิภาค ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตที่จะถึงอันใกล้ไม่เกิน 10 ปี รวมกว่า 25 ลำ (ยังไม่รวม ประเทศไทย) และมีเรือฟริเกต ใหม่ (ไม่นับ เรือ OPV) ที่จะประจำการเพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ อีก รวมกว่า 19 ลำ (ยังไม่รวมประเทศไทย) นั่นคือ ตัวเลข ที่เพิ่มขึ้น ของประเทศเพื่อนบ้าน นับจากปี 2540 นะครับ ไม่ใช่ ตัวเลข การทดแทน ของเดิม นะครับ
แต่สำหรับประเทศไทย เรือฟริเกตใหม่ และมือสอง ที่จะเกิดขึ้น มันเป็นตัวเลข ทดแทน ของเดิม (จากปี 2540) ไม่ใช่ ตัวเลขที่ เพิ่มขึ้น ตัวเลขคร่าว ๆ นี้ น่าจะแสดงให้เห็นง่าย ๆ ว่า ดุลทหารทางทะเล มันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สำหรับ ประเทศไทย
ถ้าประเทศไทย มีจุดโหว่ ในเรื่อง สงครามใต้น้ำ เราจะมานั่งคิดมากเรื่อง ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการ ไม่ได้หรอกครับ ถ้าตราบใด เรายังไม่มีสิ่งที่เราเชื่อมั่นว่า จะอุดจุดโหว่ ตรงนั้นได้ มันก็เป็นเรื่องความจำเป็นทีต้องเสีย เพื่อบรรเทาความเสียหาย ที่อาจจะขึ้นจาก จุดโหว่ ตรงนั้น เพียงแต่ ฝ่ายบริหาร จะมีความสามารถ ชี้แจง ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ได้เข้าใจหรือเปล่า
ซึ่งตามความเห็นที่ว่ามา ก็ให้มองว่า เรือ OHP คือ อาวุธทางยุทธการ ที่เน้นการป้องกันความมั่นคง เป็นภารกิจหลัก ไม่ใช่ อาวุธที่ใช้ในการรักษากฎหมายในชีวิตประจำวัน เป็นภารกิจหลัก มองให้เหมือนกับ F-16 หรือ JAS-39 ที่แม้จะต้องเสียงบประมาณมากมาย และไม่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ หรือนำไปทำฝนหลวงได้ และอาจจะไม่มีโอกาส ได้ทำลายเครื่องบินรบสักลำ ตลอดอายุการใช้งาน แต่มันก็มีความจำเป็นต้องมี มีความจำเป็นต้องฝึก มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล ในการซ่อมบำรุง จำนวนมาก เพื่อเตรียมความพร้อมรบ เมื่อมีสงครามเกิดขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีใครรู้ อาจจะวันนี้ หรือ พรุ่งนี้ ก็ได้ หรือไม่เกิดก็ได้ และถามว่า ช่องโหว่ ในสงครามใต้น้ำของ ไทย มันรอได้นานขนาดไหน แค่นั้นล่ะครับ เราถึงจะมานั่ง คิดว่า เราควรจะออมเงิน เพื่อรอซื้อเรือใหม่ ในอีก 10 – 15 ปี ข้างหน้าดีหรือเปล่า
เปลี่ยนบรรยากาศสนทนาครับ เอารูป เครื่องจักรไอน้ำเรือชั้นKnox มาฝากครับ แต่ก็ยังหาแปลนไม่ได้อยู่ดีครับ
มีแต่อันนี้น่ะครับ ไม่รู้ช่วยได้มากไหม
Examples for this ship: Bronstein, Garcia, Knox (USA)
จะเรียกว่าเป็นอะไรดี conceptการออกแบบพื้นฐานของเรือแบบนั้นล่ะมั้ง? เรือASW genนี้จะมีหลักการออกแบบเรือที่ไม่ต่างกันมาก
ดูจากรูปที่ท่าน phu2000 ให้มาแล้ว เครื่องกังหันไอน้ำกับหม้อต้ม มันอยู่กลางลำเรือเป๊ะ การผ่าลำตัว เพื่อซ่อมทำครั้งใหญ่อย่างโอเวอร์ฮอล หรือเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนดูท่าจะยากมากทีเดียว และไม่รู้งบประมาณจะบานปลายหรือเปล่า? สงสัยจะโดนปลดตามกำหนดแน่เลยสำหรับเรือพุทธสองลำ น่าเสียดายมากครับ
สอบถามหน่อยครับ ตอนนี้สหรัฐก็ทยอยปลดเรือ OHP มาก็หลายลำแล้ว แล้วตอนนี้สหรัฐใช้เรืออะไรทำหน้าที่ปราเรือดำน้ำแทนเจ้าOHPครับ (เพราะเจ้าLCS ก็ยังมีไม่กี่ลำแล้วโมดูลปราบเรือดำน้ำก็ยังไม่ลงตัวไม่เรียบร้อย) แล้วเรือลำที่ว่า ใช้Sonar รุ่นใดในการตรวจจับ มันจะเหนือกว่าที่เจ้าOHPมีสักกี่มากน้อย
อันดับแรกขอขอบคุณข้อมูลจากเพื่อนๆใน TFC ก่อนนะครับ
1. ขอบคุณท่านครูมากนะครับสำหรับข้อมูลการเกิดปัญหาเรื่องหม้อน้ำหลักของเครื่องยนต์ แม้ว่าจะทำการแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว แต่เอาเป็นว่า มันเก่าแก่มากจนถึงแก่เวลาอันควรแล้ว ให้เธอทั้งสองไปพักผ่อนสักที
2. ขอบคุณท่านกัปตันนีโมมากครับสำหรับข้อมูล 2 เรืื่อง คือ OHP ที่ไต้หวันรับแค่ 2 ลำ จากที่คาดว่าจะรับซื้อ 4 ลำ และสอง เรืื่องการคำนวณค่าความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายปฎิบัติการของ OHP ครับ
หลักนิยมและขั้นตอนการปราบเรือดำน้ำโดยเรือผิวน้ำ และข้อดีข้อเสียของเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำ อากาศยานปราบเรือดำน้ำ การใช้เรือดำน้ำในการปราบเรือดำน้ำด้วยกัน ท่านกัปตันนีโมและท่าน เตย ตอบได้ชัเจนดีมากครับ
ส่วนเหตุผลสำคัญที่ ทร. ควรรับ OHP เข้าประจำการแม้จะเป็นเรือเก่าแล้ว ท่านจูลดาส อธิบายได้ดีและครบถ้วนแล้วครับ
ผมว่าท่าน pookajo คงไม่ชอบของเก่า และดูไม่ค่อยชอบอเมริกาเลย แต่ดูท่าจะชอบจีนมาก และต้องการให้ทร.มีเรือดำน้ำสักที
แต่ต้องยอมรับความจริงอยู่เรื่องครับว่า
1. ทร.ไม่ได้มีเงินอย่างเหลือเฟือในการจัดหาเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำใหม่ๆ อุปกรณ์เจ๋งๆครบเซ็ตแบบเรือพิฆาตเอจีสของอเมริกันนะครับ ซึ่งราคาต่อลำสูงมากหลายหมื่นล้านบาทต่อลำ เงินไม่มีอยากจะได้อะไร บ่นว่าอันไหนไม่ดีไม่พอ บ่นไปก้ไม่ได้อะไรมาหรอกครับ เพราะไม่มีปัญญาซื้อ
2. เรื่องเรือดำน้ำไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเงินครับ คราวจัด type-206A ด้วยงบประมาณแค่ 7000 กว่าล้าน ยังไม่ได้ของเลยครับ ทั้งๆที่สุดคุ้ม แต่เรือฟรีเกต 2 ลำ 30,000 ล้านกลับได้ เรือดำน้ำ DW-1400T ที่ราคาน่าจะไม่เกิน 25,000 ล้านสำหรับ 2 ลำ ยังไม่กล้ายื่นขอในตอนนี้เลย ทั้งๆที่จำเป็นสุดๆแล้ว ไปลองคิดเอาเองครับ
3. ของเก่า แต่ถ้ามันเคยระบบท๊อปชั้นเยี่ยมมาก่อน ยังไงก็ยังน่าเล่นครับ ถ้าท่านเล่นเครื่องเสียง Hi-end อยู่จะเข้าใจทันที ลำโพงรุ่นเก่าแก่เป็นสิบๆปีบางตัว ยังให้เสียงสุดยอดอยู่เลย ดังนั้น OHP ถึงจะเก่า แต่ก็ไม่ธรรมดามาก่อนนะครับ อยู่ที่คนใช้งาน และจริงๆแล้วก็ถือได้ว่ายังทันสมัยสำหรับภูมิภาคนี้เลยล่ะ แต่ยังไงของใหม่เกรดเยี่ยมก็ย่อมต้องดีกว่าเสมอ แต่ราคามันก็สะดุ้งโหยง แล้วก็กลับไปวนข้อ 1. ใหม่อีก ชีวิตจริงก็แบบนี้แหล่ะ
จริงๆผมก็ชอบของบางอย่างของจีนเหมือนคุณนะครับ type 054A นี่ผมออกตัวเป็นโปรจีนเชียร์แบบออกตัวสุดๆเลย โต้เถียงกับป๋าจูลพอควรเรื่องนั้น แต่ผมยอมรับเต็มอกเช่นกันครับว่าคุณภาพอาวุธจากจีนยังเป็นรองตะวันตก แม้แต่รัสเซียในหลายๆเรื่องด้วยซ้ำ เพียงแต่ว่าจีนมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดทั้งเรื่องคุณภาพและจำนวน จนต้องจับตามองเป็นอย่างมาก แต่ผมไม่อวยระบบอาวุธจีนขนาดนี้หรอกครับ
ผมไม่เถียงแล้วครับ คนมันหย่อนอยู่ทุกวัน ฝึกมาสารพัด ด.ไอ้กัน ก็หย่อนมาแล้ว เข้าใจยุทธวิธีดี เถียงกับคนไม่รู้ มีแต่จินตนาการ มันเพลียครับ ถึงว่าเค้า feedback กันไม่ค่อยดีสำหรับบอร์ดนี้ ลาล่ะครับ
ผมคิดว่าจะบอกว่าบอร์ดฟีดแบ๊คไม่ค่อยดีนี่ตรงไหนหรือครับจากกระแสตรงไหนเหรอครับ
ท่านผู้ตอบทำงานในจุดๆนั้นจริงผมว่าก็น่าจะบิกกล่าวกันตรงๆนะครับอย่างผมทำงานในส่วนของผมผมก็ตอบเท่าที่ตอบได้ จริงๆถ้าว่าท่านอยู่จุดๆนั้นแล้วยกเหตุหรือกรณีการฝึกขึ้นมามันก็มีน้ำหนักที่จะรับฟังนะครับแต่บางทีการว่าอะไรขึ้นมาลอยๆมันก็ยากที่จะทำให้สมาชิกเชื่อได้ เหตุและผลครับผมมองว่าจะเชื่อกันได้จริงๆไม่ต้องลาหรอกครับอยู่แลกเปลี่ยนข้อมูลกันไปดีกว่าครับ
ถ้าเป็นผู้ใช้ที่แนวหน้าจริงดังว่า ผมคงต้องรู้สึกหวั่นใจในวิสัยทัศน์ รวมทั้งข้อมูลความรู้ที่ได้นำมาโต้เถียงกัน แค่เรื่องระบบตรวจจับบนฮ.ที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลกับเรือ หรือระบบโซนาร์ชนิดต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในทร.ไทยกับที่มีอยู่บน OHP ท่านก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก คงไม่ใช้เป็นแค่คนหย่อนตามคำสั่ง บอกให้หย่อนก็หย่อน บอกให้จุ่มก็จุ่ม บอกให้เก็บก็ดึงขึ้น...จบ ถ้าเป็นแบบนี้ก็...(ขอละไว้ดีกว่านะครับ)
ผมคัดลิ้งที่เกี่ยวกับการฝึก มาให้เพื่อนๆลองอ่านดูน่ะครับ เกี่ยวกับการที่อเมริกาเช่าเรือดำน้ำสวีเดน A19 Gotland มาทำการฝึก ปี2005
http://www.ss346.com/PDFs/NavyLeasingSwedishSub.pdf
ไม่รู้ว่าตอบคำถามของท่านkitty ได้หรือเปล่าครับ
ซึ่งฝรั่งบางคนก็บอกว่า ผลการฝึกที่ออกมาไม่ถูกต้อง กองเรือของเขามีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ที่หาเรือดำน้ำสวีเดนไม่เจอตลอดช่วง 2 เดือน เป็นเพียงรายงานเท็จ เพื่อนำไปของบประมาณในโครงการวิจัยอื่นๆ (ก็ดราม่ากันไป) รู้สึกจะฝึกกันที่ปานามา มีเรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐสองลำเข้าร่วม
ผมก็เลยไม่มั่นใจว่าของ ทร.ไทย เวลาจะควานหาเรือดำน้ำดีเซลสักลำไม่ว่า กิโล หรือ สกอปิเน่ ในอ่าวไทยน่ะครับ(เอาแค่อ่าวไทยเลย) ใช้เพียง ฮ. สองลำกับไฮโดรโฟน บินจากฐานบิน หรือ เรืออ่างทอง ที่ลอยลำอยู่ในเขตน้ำตื้น จะเพียงพอ อาจจะเป็นประสิทธิภาพลึกๆของ ทร.ไทย ที่เราไม่ทราบก็เป็นได้ (ไม่ได้เสียดสีน่ะครับ ไม่ทราบจริงๆ)
หรือความหมายของท่าน pookajo. คือการหาแบบนี้มันไม่เสี่ยงกับเรือผิวน้ำที่มาเป็นฐานบินให้ แต่ว่าถ้าอย่างนั้นมันจะหาเจอเหรอครับ พื้นที่มันกว้างน่ะครับ แต่ผมก็ไม่ทราบประสิทธิภาพของเจ้าตะกร้อจุ่มแซบที่ ทร.ใช้ คือมันอาจจะจุ่มทะลุผ่านชั้นthermal layer. แล้ว detect. ได้ทั้งเสียงและสนามแม่เหล็กเป็นพื้นที่ สิบตารางกิโลเมตร ต่อการจุ่มหนึ่งครั้งอย่างงั้นหรือเปล่าครับ จุ่มไม่กี่ทีก็ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายแล้ว ผมยังไม่เคยลองหาข้อมูลดู ไม่มีข้อมูลครับ
ที่ผมเคยอ่านผ่านตาคร่าวๆ ก็มีแต่variable depth. Towed Sonar ของ atlas. แต่ยาวมาก มากันเป็น textbook. เลย เพื่อนคนไหนมีข้อมูลเกี่ยวกับระบบตรวจจับใต้นำ้ของไทยก็ขอความกรุณาด้วยน่ะครับ เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจครับ
ขอบคุณครับท่านccguy สำหรับpdfผลการทดลองหาเรือดำน้ำGotlandของสวีเดนโดยกองเรือสหรัฐในปี2005 อ่านแล้วเหมือนโฆษณาชวนเชื่อขายเรือดำน้ำเลย(เพราะดูหมือนจะเล่าเรื่องข้าง Gotlandเป็นหลักมีรายละเอียดเพียบ แต่ข้างUSไม่ค่อยมีข้อมูลเท่าไหร่(หรืออาจจะอายที่หาไม่เจอเลยไม่กล้าบอกว่าUSใช้อะไรบ่าง)) เล่นซ่อนหากันอยู่ 2 เดือนกองเรือสหรัฐที่ประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน เรื่อพิฆาต เรือcruiser และเรือดำน้ำพลังนิวเคลีย์USS Virgina กลับหาไม่ค่อยเจอ (แต่ก็อย่างว่าเรือดำน้ำGothland เล่นมีAIPโหมดไม่ต้องเดินเครื่องดีเซล ใช้แต่พลังงานไฟฟ้าดำอยู่ได้หลายอาทิตย์ก็ตรวจจับยากเอาการอยู่ เพราะมันเงียบมาก ก็น่าจะประมาณที่เค้าเอาทั้งเครื่องบินP8และเรือออกตามหาซากMH370 หายังไงก็ไม่เจอซักที ) จบการฝึกUSบอกว่า “fundamentally changeASW operations away from individual platforms-ship, submarine or aircraft-to a system with the attributes of‘pervasive awareness, persistence and speed, all enabled by technological agility.’ ” เราคงจะใช้ระบบเดียวในการทำ ASW ไม่ได้แล้ว มันต้องใช้ การรับข้อมูลหลายทาง ความแน่นอนและความรวดเร็ว ซึ่งทำได้โดยเทคโนโลยี่ชั้นยอดเพื่อจัดการกับเรือดำน้ำ
หลังจากจบการฝึกนี้ มีบอกว่าออสเตรเลียขอเรือ ดำน้ำGotlandของสวีเดน ไปทดลองบ่าง ไม่ทราบว่าผลเป็นอย่างไรเพราะไม่เห็นข่าวเลย
บ๊าย บาย ครับ
สรุปหลักนิยมปราบเรือดำน้ำที่ดีที่สุดใน 3 โลก คือ การใช้ ฮปด. ในการไล่ล่าเรือดำน้ำ โดยใช้เรืออะไรก็ได้มาเป็นฐานปฎิบัติการ ..............................เอาเถอะ จะเชื่อแบบนั้นก็ตามใจครับ
หลักนิยมการใช้อากาศยานมาปราบเรือดำน้ำมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกแล้ว และก็พัฒนามาต่อเนื่อง จนสร้างเรือที่เป็นฐานสำหรับ ฮ.ที่มีระบบตรวจจับเรือดำน้ำครบ ป้องกันตัวจากเรือดำน้ำได้ดี เงียบ และสามารถทำงานเป็นทีมกับอากาศยานปราบเรือดำน้ำ
ก่อนที่ ฮ.จะขึ้นบิน ก็ต้องพึ่งโซน่าร์สาราพัดแบบจากเรือร่วมขบวน โดยเฉพาะเรือฟรีเกต ASW จะมีระบบพวกนี้สมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว และ OHP เป็นหนี่งในเรือที่ดีแบบหนึ่งที่มีระบบพวกนั้นครบ
ท่านบอกว่า LCS มี OHP มีขนาดนี้ไหม หรือมีแค่โซน่าร์หัวเรือ ป๋าจูลตอบให้หมดแล้วครับ คือ มีเช่นกัน และระบบอำนวยการรบสงครามเรือดำน้ำแบบ SQQ-89 โซน่าร์หัวเรือ AN/SQS-53 โซน่าร์ลากท้าย TACTAS ฮ.ที่ใช้ระบบ LAMPs-3 ก็เป็นระบบที่ใช้บนเรือพิฆาตอาร์คเลเบิก และเรือลาดตระเวนติคอนเดอโรก้า ถ้าท่านเป็นทหารเรือที่ทำงานในกองเรือปราบเรือดำน้ำจริง ก็น่าจะรู้นี่ครับว่าเรือ OHP มีระบบพวกนี้อยู่ครบถ้วน เหมือนพวกเล่น มอเตอร์ไซค์ เล่นรถ แต่งรถ แทบจะรู้จักรถทุกรุ่นในตลาดเลย
แม้ว่าปัจจุบันมีการ upgrade เรือพิฆาตให้ใช้ของใหม่ อย่างเช่น AN/SQR-20 MFTA แทน TACTAS แต่ TACTAS ก็ยังจัดว่ามีประสิทธิภาพสูงมากอยู่ดี และเราได้มันมาเกือบฟรีด้วย.......ไม่เอาหรือครับ
ถ้าการใช้ ฮปด. แต่เพียงอย่างเดียวก็สุดยอดแล้วในการปราบเรือดำน้ำ แบบนี้ ทำไม ทร. ผบ.ทร. แต่ละท่านต้องเต้นเหยงๆเพื่อจะจัดหาเรือดำน้ำมาประจำการละครับ และเห็นอดีตท่านผบ.ทร.ยังพูดตอบสื่อเองด้วยว่า ในการไล่ล่าเรือดำน้ำ ใช้เรือดำน้ำด้วยกันดีที่สุด ดีกว่าการใช้เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำซะอีก
การไล่ล่าเรือดำน้ำมันต้องใช้ทุกระบบเท่าที่เราจะมีได้ครับ ไม่ควรพี่งระบบใดระบบหนี่ง
ถ้าใช้ ฮ. อย่างเดียว แล้วเกิดถูกยิงด้วย sub MICA ก็เสร็จ เรือดำน้ำก็สบายไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ เดี๋ยวโดนจม จริงๆถ้าเรือดำน้ำทำแบบนั้น เรือฟรีเกต ASW ก็สวนกลับด้วย ASROC ไปยังตำแหน่งปล่อย MICA แล้วละครับ รวดเร็วพอกับ SSM ที่ยิงมาจากเรือดำน้ำเช่นกัน จะเห็นว่าเรือฟรีเกต ASW จะติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆสนับสนุน ฮปด. ด้วยเสมอ ไม่ใช่จะเอาเรืออะไรมาใช้ในภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำก็ได้
สำหรับผม ในตอนแรกที่ทราบข่าวว่า ทร. จัดหา DW-3000H จำนวน 2 ลำ และมี option สำหรับลำที่ 3 และอาจจะมี 4 ด้วย ทำให้ผมคิดว่าแบบนี้คงไม่จำเป็นที่จะรับ OHP แล้ว
แต่มาถึงตรงนี้ เมื่อการเมืองพลิกผันกันขนาดนี้ เศรษฐกิจวุ่นวายขนาดนี้ก็คงต้องรับ OHP 2 ลำนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยิ่งเรือ DW-3000H ลำที่ 1 และ 2 ยังไม่ 100% แบบนี้ด้วย ผมยังเสียวเลยว่าโครงการจะมีปัญหาเอาเมื่อการเมืองมีการเปลี่ยนแปลง แบบนี้ชักนึกถึงว่าถ้าจำเป็น OHP ลำที่ 3 4 ก็ควรต้องดิ้นรนด้วยซ้ำครับ ถ้าไต้หวันไม่เอา เราเอาเองก็ได้
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไม่มี ท่าน pookajo กระทู้นี้ไม่น่าจะป๊อบขนาดนี้นะครับ ผมว่าเป็นประโยชน์นะครับ เพราะได้เห็นทั้งสองด้าน :-D
พอไปอ่านบอร์ดของ TAF แล้วถึงบางอ้อเลย 555
เรื่องเสียงของเครื่องยนต์ดีเซลของเรืออ่างทองถ้าจำไม่ผิดเรืออ่างทองเครื่องดีเซลใช่ไหมครับ เคคยได้ยินสมาชิกคุยกันว่าเครื่องดีเซลเสียงดังกว่าเครื่องไอน้ำหรือแกสเทอร์ไบน์ ถ้าแบบนั้นจริงเรื่องอ่างทองก็โดนหาเจอแต่ไก่โห่สิครับ แล้วถามจริงๆนะครับถ้าว่าอยู่ในหน่วยงานที่ค้นหาจริงๆท่านไม่คิดเหรอครับว่าซีฮอว์คมันมีไม่กี่ตัวแล้วถามว่าวงรอบการซบร.ละแล้วเครื่องกราวด์รออะไหล่ละครับมันจะเหลือกี่ตัว ผมเคยไปราชการที่อูตะเภายังเห็นจอดกราวด์เลย ล่าสุดถามเพื่อนมามันก็ไม่ได้บินได้ครบยอด เพราะมีเข้าซ่อมอะไรด้วย เหอๆๆ พอเหรอครับเอาไปไล่จุ่มหาเรือดำน้ำ อีกอย่าง หลักการใช้อากาศยานทุกเหล่าทัพจะเน้นใช้ในภารกิจที่สำคัญที่สุดเพราะตอนนี้เราขาดแคลนงบต่างๆ ไอ้ครั้งคิดสงสัยแล้วไปจุ่มๆ ชม.ละเท่าไหร่ละนั่นครับค่าใช้จ่าย สป.3(อ.) สป.อะไหล่ต่างๆ แล้วมุมมองของผมต่อไปท่านจะเอาเรืออ่างทองบออกเป็นฐานลอยขนาดใหญ่ ท่านจะไม่ต้องเอาเรือไปคุ้มกันด้วยหรือครับ เปลืองหนักไปอีก สุดท้ายผมว่านะครับ ทั้งTFC TAF ไม่ต่างกันหรอกครับ เขาคุยกันด้วยเหตุและผลเป็นส่วนใหญ่ สมาชุกเกือบทุกคนมีความรู้หาข้อมูลมาคุยกันเยอะแยะครับบ่างท่านไม่ได้เป็นทหารข้อมูลอย่างแม่น
ผมก็มีความเห็นว่าน่าจะเหมา ohp มา 4 ลำ ปรับปรุงระบบอาวุธอีกนิด เอาแค่ระดับเรือนเรศวรคือเพิ่ม harpoon 8 ท่อยิง กับmk41 1ชุด 8 ท่อยิง(แต่ขอเป็นรุ่นยิง asroc ได้ แค่นี้ก็อาจจะดีกว่าเรือฟริเกตใหม่จากเกาหลีแล้วครับในราคาที่พอจะเจียดมาทำได้ แถมแบ่งเป็นอ่าวไทย 2 ฝั่งอันดามัน 2 ลำพอดี
คราวนี้เวลาใช้งาน ohp ถ้าภาระกิจปราบเรือดำน้ำ mk41 ก็ติดasrocสัก 6 ท่อ ESSM 2 ท่อ(8 ลูก) แต่ถ้าเป็นภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศ MK41 ก็ติดตั้ง ESSM 4 ท่อ (16 ลูก) และ asroc 4 ลูก
สำหรับเรือนเรศวรกับเรือฟริเกตที่ต่อใหม่ผมก็อยากให้ใช้หลักการเดียวกันเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งาน (ทร. ควรบีบ saab ควรพัฒนาระบบให้ทำให้ได้)
รอเพื่อนบ้านถ่ายภาพเรือเราสวยๆ แบบนี้บ้าง
เห็นด้วยกับท่าน rayong แต่คิดว่าทร.คงไม่ต้องไปบีบ SAAB หรอกครับ เพราะดูจากสเปก้รือฟริเกตสมรรถนะสูงที่ออกมา มันก็น่าจะเป็นตามที่ท่านบอกนั่นแหละครับ ในเมื่อมี LRR 3D (ปริศนา) กับ ASW Suite ชุดใหญ่อลังการ แต่ดันมี Mk.41 มาแค่ชุดเดียว 8 Cells
ปล. ขนาด OHP แค่ 2 ลำยังมีเสียงคัดค้านงึมงัมๆ ถ้าจะเอามา 4 ลำ พร้อมโมเต็มอย่างที่ว่า คงจะต้องลองกำลังกันยาวเป็นแน่
สเปกที่ท่าน rayong ว่า นั่นล่ะน่าจะเป็นสิ่งที่ทร.อยากทำล่ะครับ เอาแค่ 8 cell แต่ติดตั้งได้ทั้ง ASROC และ ESSM ผมเดาว่าอเมริกันยินดีขาย VL ASROC ให้เราแน่นอน เพราะเราก็ประจำการด้วย ASROC บนเรือชั้น Knox อยู่แล้ว
แค้ mod SQQ-89 และ MK-92 อีกนิดก็ยิงทั้ง ASROC ESSM ได้แล้วครับ แต่นี้ก็เป็น ASW frigate ดีที่สุดในภูมิภาคนี้แล้ว
ส่วน DW-3000H ผมสงสัยเรื่อง ASW combat suit จริงๆว่าใช้ของใคร ใช้กับ MK-41 + ASROC หรือ K-VLS + K-Asroc กันแน่ หรือใช้ไม่ได้เลยทั้งสองระบบ เพราะ ASW suit โคตรหรูเลย ดีกว่า รุ่นใหม่กว่า ASW suit ที่ใช้บนเรือ F-123 ASW frigate ของเยอรมันซะอีก ถ้ายิง VL-ASROC หรือ K-ASROC ไม่ได้นี่ เซ็งๆไงก็ไม่รู้ครับ และผมว่า ASW suit ชุดนี้น่าจะมีประสิทธิภาพในการดักฟังตรวจจับเรือดำน้ำดีเซลได้ดีกว่าชุด ASW suit ของ OHP ที่เน้นตรวจจับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของอดีตโซเวียต เพราะเรือดำน้ำดีเซลสมัยนี้น่ากลัวไม่ด้อยกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์แม้แต่น้อย
พูดจากใจเลยนะครับว่า สถานการณ์การเมืองแบบนี้ ผมกลัวโครงการฟรีเกตสมรรถนะสูงโดนล้มมากๆครับ กลัวจับใจเลย
นั่งเสพมาม่า เอ้ย เสพความจนปวดตา ได้ความรู้เรื่องการปราบเรือดำน้ำเพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เชียร์ให้ OHP ด้วยเหมือนกัน บอกตามตรงว่าความรู้เรื่องการปราบเรือดำน้ำเนี่ยแทบไม่มี แต่เห็นด้วยกับตามแผนภาพของท่าน Juldas ครับ และด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน มันแทบจะเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะทำให้ทร.แสดงความจำนงรับเรือ OHP จากสหรัฐขั้นต่ำ 2 ลำ
เรือของเรา.....
**
อ่านจนปวดประสาทตาเลย 55+ ผมไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับระบบหรือยุทธวิธีการปราบเรือ ส.เลยพออ่านกระทู้นี้แล้วเริ่มเข้าใจมากขึ้น
แต่ก็ก่อนผมก็เคยคิดว่าการใช้ ฮ.ไปจุ่มแซ็บฮัท เอ้ย! ไปหย่อนไอ้แท่งข้าวหลามหรือใช้ P-3 ไปโปรยไว้ก็พอเมื่อเจอเรือ ส.หลังจากนั้นก็ส่งตอปิโดหรือจรวดปราบเรือ ส.จากฮ.ไปถล่มก็พอ หรือใช้เรือจักรีฯเป็นฐานให้ ฮ.ปราบ ด.ไปจุ่มแซ็บ เฮอๆแต่ลืมไปว่ามันต้องมีเรือคุ้มกันอีกหลายลำ สรุปแล้วจะหาเรือ ส. หนึ่งลำในอ่าวไทยนี่มันต้องประกอบด้วยกองเรืออย่างน้อย 3 ลำ อากาศยานอย่างน้อยก็3ลำ กำลังพลอีกหลายร้อยเลย (ขาดแต่เรือ ส.) ขืนโด่เด่ไปแค่อย่างไดอย่างหนึ่งมีหวังเป็นผีเฝ่าอ่าวไทยแน่
โหท่าน pornpoj เอา Genesis CMS มายั่วน้ำลาย ทร. แต่มันหรูจริงๆนะ
ระบบ SQQ-89 ASWCS และ MK-116 anti submarine weapon control system ที่ว่าอเมริกันไม่น่าจะขายให้เรานั้น ถ้าเขายกเรือ OHP ให้เราแล้วเราซ่อมคืนสภาพ แบบนี้เท่ากับว่าเขาขายระบบทั้งสองนี้ให้เราแล้วล่ะครับ ซึ่งเป็นการค่อนข้างแน่ว่าเขาจะขาย VL-ASROC ให้เราด้วย
ดังนั้นในความเห็นผม ผมคิดว่าเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงทั้งสองลำ น่าจะติดตั้งระบบใดระบบหนึ่ง โดยสามารถอินติกรัลระบบเข้ากับ 9LV ได้ ก็ คือ
1. SQQ-89 + Mk-116 และติดตั้ง VLS Mk-41 + ASROC
2. NS-ICMS ของ Sumsung Thales + MFC 2000 console ของ SAAB และติดตั้ง K-VLS + K-ASROC
ซึ่งจะทำให้ ASW suit บนเรือมีประสิทธิภาพสูงสุดในภูมิภาคและดีกว่า OHP ได้ครับ แบบนี้ผม OK กับราคาเรือ 13,500 ล้านบาท เพราะเป็นของใหม่และของหรูจากเยอรมันทั้ง set ถ้าไม่ได้ไอ้ชุดที่ผมว่านี้ รับ OHP มา 4 ลำเลยดีกว่า
MFC-2000 จาก SAAB
ในบทความของนิตยสาร Dtech ไตรมาสล่าสุด รูปเครื่องบินฝนหลวง
มีบทความที่วิเคราะห์เรื่อง ASW ของเรือฟริเกตสมรรถนะสูง, 9LV กับ VL-ASROC อยู่ด้วยครับ
แต่เนื่องจากยังไม่มีเวลา ถ้ามีเวลาจะคัดลอกบทความมาลงให้นะครับ
ถ้าจำไม่ผิด...Mk.116บนOHPเป็นคนละmodครับ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับASROC
เรือ FFG48
ระบบ ASW. เป็นแบบ SQQ-89 (V)9. ทำงานร่วมกับ MK116. Mod7
ซึ่งใช้ตู้consoleแบบ AN/UYQ-25A สองตู้
ถ้าจะยิง ASROC. ต้องเป็น แบบห้าตู้ console. ของ AN/UYQ-21
อันนี้พูดถึงเฉพาะ ตัวตู้consoleน่ะครับ ส่วนตัวคอมเป็น AN/UYK-43
แต่ถ้าจะรับเรือมาแล้วอัพระบบเป็น GENESIS. ใส่ MK-41. VLS. ถ้าอยากยิง ASROC. ก็อัพระบบเป็นห้าconsole. หรือเปลี่ยนเป็น AN/UYQ-70
ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองเข้าใจว่าน่าจะทำได้ ย้ำน่ะครับ ว่าเป็นความเห็นส่วนตัว
ผมไม่มีรูปconsole. AN/UYQ-25A. มีแต่AN/UYQ-21
AN/UYQ-21
AN/UYQ-70
ตู้ console. ของ AN/UYQ-70 รุ่นใหม่กว่า
ไอ้ระบบ SQQ-89 และ Mk-116 จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบเอจีส ถ้าเป็นรุ่น baseline 1-5 น่าจะเป็นระบบที่ใช้ในเรือ OHP ที่คาดว่าเราจะรับครับ และใช้ Mk-116 mod 7 ก็น่าจะรองรับการใช้งาน ASROC แล้ว แต่ส่วนคอมพิวเตอร์จะเป็น AN/Uyk-43/44 อยู่ และใช้ตู้ console AN/UYQ-21
ส่วน baseline 6-7 น่าจะเป็นรุ่นใหม่ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในset AN/UYQ-70 ไม่น่าจะใช้บนเรือ OHP น่าจะใช้บนเรือเอจีส flight หลังสุด ยกเว้นจะยกเครื่องใหม่ และไม่รู้ว่า GENESIS CMS จะรองรับมันด้วยหรือเปล่าครับ
ผมต้องขอไปทำการศึกษาแผนภาพและการทำงานร่วมกันของระบบเอจีสใน baseline 1-5 และ 6-7 ก่อนครับ เมื่อก่อนดูและอ่านแบบผ่านๆตา แต่เมื่อต้องพูดคุยกันเรื่องนี้แบบเจาะลึกมากขึ้น ต้องขอกลับไปอ่านแบบจริงจังทีเดียว และมันแสนจะยุ่งเหยิงด้วย
สรุป mod 7 น่าจะยิงได้แล้ว แต่ตัวคอมพิวเตอร์และตู้ console ที่ใช้น่าจะต้องมีการเพิ่มเติมเพื่อทำการยิง ASROC ได้
สรุป 2 ทั้ง SQQ-89 Mk-116 mod 7 เป็นส่วนหนึ่งของระบบเอจีส ที่ตัดมาลงใช้ในเรือ OHP แม้ว่ามันจะเป็นของเก่า ( baseline 1-5) แต่ก็โคตรหรูสำหรับเราแล้วครับ
http://blog.naver.com/PostView.nhn?blogId=dolicom&logNo=10075377296
อ้าวรูปอีกอันไม่มา ลองอีกทีครับ
อ้าวก็ยังไม่มาอีก ดูในเวปที่มให้ไว้ได้ครับ ขอเวลาศึกษาสักแป๊บครับ
อันนี้เป็น AN/UYQ-70 ทั้ง set ครับ http://www.q70.com/products1.htm
ใบโปรโมท http://www.q70.com/index.html
นี่เป็นเฉพาะส่วนตู้ Acoustic Display Console http://www.q70.com/products/adc1.htm
กรณีของ OHP ผมว่าน่าจะแต่เปลี่ยนตู้ console ไปใช้ UYQ-21 และ คอมพิวเตอร์ AN/UํYK-43/44 นะครับ ก็น่าจะใช้ ASROC ได้แล้ว
ไม่รู้ว่า SAAB จะสามารถเชื่อมต่อ 9LV กับ SQQ-89 + MK-116 และ AN/UYQ-70 ในส่วนที่ใช้กับ ASW ได้หรือเปล่า ถ้าทำได้ มันจะจ๊าบสุดๆ เพราะเท่ากับว่าเรามีระบบ ASW ในเรือฟรีเกตใหม่เทียบเท่าระบบที่ใช้ในเอจีส baseline 6-7 ที่เป็นชุดทันสมัยมากสุดได้ ได้แต่ฝันไว้เท่านั้นครับ
เชียร์ให้ได้สี่ลำเลย แทนชั้นพุทธ สอง และ แทนชั้นเจ้าพระยาไปเลยดีมะ(สองลำที่ยังไม่ได้อัพอะ) แล้วเอาสองลำที่ไม่ได้อัพ ไปทำหน้าที่อื่นเลยดีมะ
ตื่นๆ ฝันกลางวัน จิงๆ
เข้ามาเชียร์ OHP ด้วยอีกคนครับ ของดีราคาถูก เหตุผลที่มีมาให้เพิ่มเติมจากที่อ่านๆมา มีดังนี้
- ด้านข้อจำกัดด้าน กำลังพล และ งป. ถ้ากลัวคนไม่พอ /งป.ประจำปีไม่พอ.......ก็ปลดเรือไปเพิ่มก็ได้ครับ ชุดไหนมีแผนปลดอีก ปลดไปเลย เช่น ชุด ตาปี (กิจหลัก ปราบ ด....ก็เหมาะแล้วที่จะแทนที่ด้วย OHP)
- การมีเรือที่มีขีดความสามารถ ASW เพิ่มขึ้น ทำให้การคุ้มกันกระบวนเรือทำได้ดีขึ้น เราสามารถออกแบบ screen ให้ป้องกันภัยจาก ด. ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การแบ่งหน้าที่ในกองเรือคุ้มกัน จะชัดเจนอย่างยิ่ง มองภาพตามนะครับ (ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ)
- 911 / อ่างทอง เป็น OTC / AC / HEC
- เรือฟริเกตใหม่ รับหน้าที่ AAWC / ASuWC (สำรอง)
- 421/422 ทำหน้าที่ ASuWC / AAWC (สำรอง)
- OHP ทำหน้าที่ ASWC หรือวางกำลังหน้า screen โดยใช้ sonar ลากท้าย
- เรือใน screen ที่เหลือ เช่น รัตน์ สุโข กระ สาย ฯลฯ เป็น SAG / SAU และหน้าที่อื่นๆ
การมาของ OHP จะทำให้เรามี ASWC ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่อยู่กับ HVU ตลอด
ทำให้เมื่อมีภัยคุกคามจากหลายมิติ / หลายทิศทาง แล้วจำเป็นต้องแยกเรือออกไปต่อต้านภัยคุกคาม
กองเรือยังคงมีเรือที่ประสิทธิภาพอยู่ใน screen (screen ไม่โบ๋)
ยกตัวอย่าง ถ้า มีภัยคุกคามผิวน้ำ 2 ทิศ ใต้น้ำ 1 ทิศ
เราอาจต้องแยกกำลังที่มีขีดความสามารถและเอาตัวรอดได้ ปิดระยะไปต่อตี เรือที่เหลือจะมีประสิทธิภาพป้องกันภัยให้กองเรือได้ดีเพียงใด
แต่การมาของ OHP จะทำให้เรามี ASWC ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่อยู่กับ HVU ตลอด หรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้หลากหลายหนทาง
ซึ่งแน่นอนครับ มีเรือดีๆ ให้เลือกใช้เยอะๆ ย่อมบรรลุภารกิจได้ดียิ่งขึ้น
Taiwan ไม่ใช่ Thailand
Refurbished US frigate to join ROC Navy next year
Date Posted: 14 Jun 2014
The United States military is scheduled to refurbish an Oliver Hazard Perry-class frigate that was reportedly damaged during a mission in Europe earlier this year before sending it to serve in Taiwan's navy next year.
The Taiwan military announced last November that it is scheduled to receive two Perry-class frigates in 2015 to replace its existing fleet of aging frigates.
U.S. media, however, reported this February that USS Taylor, one of the frigates that the U.S. is scheduled to sell Taiwan, ran aground in Turkey.
The guided-missile frigate USS Taylor, one of two ships on deployment in the Black Sea, suffered damage after running aground as it was preparing to moor in Samsun, Turkey, U.S. media quoted a statement from U.S. Naval Forces Europe as saying.
In response, Taiwanese lawmakers have been calling on the R.O.C. armed forces not to buy the USS Taylor as it was damaged during the incident.
Sources close to the procurement project told the Chinese-language United Daily News that Taiwan still decided to buy the USS Taylor because the U.S. has promised to refurbish the damaged vessel prior to sale.
In the wake of the incident, the R.O.C. Navy expressed its concerns over the condition of the frigate via Taiwan's military officials stationed in Washington. According to their understanding, the U.S. will not decommission the USS Taylor despite the February incident.
The warship will continue to be in service for the U.S. Navy until next year.
After it is decommissioned, the U.S. will refurbish the ship and replace its main propeller shaft and propeller blades that were damaged during the incident, sources told the newspaper.
USS Taylor กัปตันเรือโดนปลดด้วย ไปเป็นพนักงานในเรือDestroyer
NAPLES, Italy — The Navy relieved the commander of the USS Taylor on Tuesday, about two weeks after the Florida-based frigate ran aground in the Black Sea.
Cmdr. Dennis Volpe was relieved by Capt. Jim Aiken, commander of Task Force 65, which controls surface ships in the Navy’s 6th Fleet waters in the Mediterranean and Atlantic. A preliminary inquiry into the grounding resulted in a “loss of confidence” in Volpe’s ability to command, according to a 6th Fleet news release.
Volpe was temporarily reassigned to the staff of Destroyer Squadron 14 in Mayport, Fla., Taylor’s homeport. His duties as commander of the Taylor are to be assumed by Cmdr. Chris Cigna until a permanent replacement can be found, according to the release. A full investigation into the grounding is underway.
http://www.stripes.com/news/navy-relieves-uss-taylor-s-commander-after-ship-ran-aground-1.269895
ผมว่าตอนนี้ไทยเราจะพาทั้งหมดชวดเพราะกม.โอนเรืออาจจะไม่ผ่านสภาสูง
อาจจะต้องไปร่างใหม่ตัดไทยออก ^ ^
ก่อนหน้านี้ผมเชียร์เจ้าohp มาตลอด แต่คิดไปคิดมาถ้ามันยุ่งยากนักเราน่าจะคิดใหม่ เช่น ต่อเรือใหม่ที่เล็กลงมา ประมาณ 2500-3000 ตัน ติดอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นที่ใช้ร่วมกับระบบนาโต้ได้ เช่น อาจจะระบบsaab+เกาหลี ประสิทธิภาพอาจสู้ ohp ไม่ได้แต่ก็ไม่น่าเกียจอะไร
เรือใหม่ คงไม่มีโอกาส สำหรับ เรือรบผิวน้ำ ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ
เพราะ โซนาร์ ที่มีประสิทธิภาพ ก็อยู่ฝั่งตะวันตกหมด
โซนาร์ จีน คงมี บทเรียนของ เรือชั้นเจ้าพระยา กับ นเรศวร มาแล้ว
ถ้าต้องได้เรือใหม่ ที่ไม่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำแล้ว
ก็แค่เพียง ปรับปรุงเรือชั้น ปัตตานี จำนวน 2 ลำ
ยืดอายุ เรือชั้น พุทธฯ อีก 10 ปี
รอ อนาคต ว่า เรือฟริเกตสมรรถนะสูงจากเกาหลี จะสำเร็จ หรือเปล่า
เรือชั้น นเรศวร จะดำเนินการต่อไปได้อีกหรือไม่ ?
ร.ล.จักรีฯ จะดำเนินการต่อไปได้อีกหรือไม่ ?
แม้จะมี รัฐบาล เกิดขึ้น ในเดือน ก.ย. แต่ก็เป็น รัฐบาล แต่งตั้งจาก คสช.
ก็คงอยู่กับแบบ ตามมี ตามเกิด กันต่อไป
อย่างหรูสุด ของ ทร. ก็คือ เรือดำน้ำ จีน ที่จะเกิดขึ้น
คือ ล้มดีล ก่อนหน้านี้ ทุกโครงการ รวมถึง เรือฟริเกตสมรรถนะสูงจาก เกาหลี ที่ แวว กำลังจะเกิด
เห็นแวว ทร. ไทย มาตรฐาน ทร.จีน มา ริบ ๆ
ประเมินว่า อย่างเร็วสุด อีก 3 ปี ชาวโลก ถึงจะยอมรับ แล้วถึงจะดำเนินต่อเนื่องจากแผนปัจจุบันสำหรับอาวุธจากค่ายตะวันตก ได้
แต่ดูจากสภาพอายุของ เรือฟริเกตต่าง ๆ จึงเป็น สิ่งวิเคราะห์ กองเรือรบไทย จะมีแวว เรือรบจีน ที่ ทหารเรือจีนจะสามารถใช้เรือรบไทย ได้ในอนาคต
ผมคิดว่ากรณีซื้ออาวุธจากอเมริกา ยุโรปโดยตรงคงยาก แต่หากเค้ามองว่าเมืองไทยสงบขึ้นคนไทยยอมรับ เค้าอาจกลัวเสียประโยชน์ โดยอาจยอมหลับตาข้างนึงยอมให้มีการขายอาวุธผ่านคนกลาง เช่น เกาหลี สิงค์โปรค์ แต่แน่นอนว่าราคาจะแพงขึ้น รุ่นลดเกรด และจำนวนที่ขายต่อครั้งไม่มาก หรืออาจไส้ในใช่แต่ภายนอกอาจไม่ใช่เป็นยี่ห้ออื่น ส่วนของจีนถ้าจำเป็นก็ต้องเอา แต่ไม่รู้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีปราบเรือดำน้ำจีนไปถึงไหนแล้ว มีคล้ายแบบ asroc , essm ,ฟาลังค์ หรือเปล่า
นับถึงปัจจุบันกองทัพเรือใช้โซนาร์Atlasของเยอรมันเป็นอุปกรณ์มาตราฐาน ยกเว้นแค่เรือฟริเกตจากจีนใช้ของจีนและเรือชั้นพุทธใช้ของอเมริกา
ก็อย่างที่รู้กันนะครับว่าเยอรมันไม่ออกมากดดันเราเท่าไหร่ แต่เขาไม่ขายของให้เราแน่นอนตามกฎหมายของเขา
สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ชอบใจเลยคือการซื้อหาอาวุธแบบซิกแซกไม่ตรงไปตรงมา มันดูขี้โกงเหลือเกินและหวังว่ากองทัพเรือไทยจะไม่กระทำอย่างเด็ดขาด เรื่องนี้สำคัญมากกว่าเรามีอาวุธหรือไม่มีชนิดฟ้ากับเหว ต้องไม่ทำไม่คิดและจัดการกับคนที่ทำอย่างเด็ดขาดด้วย (เด็ดหลายรอบเลยวุ้ย)
ส่วนตัวคิดว่าเราคงยังจะสามารถซื้ออาวุธจากตะวันตกได้โดยผ่านเกาหลีใต้ มันไม่ใช่เรื่องแปลกนักหรอกครับ หากดีลนี้ล้มจริงๆการได้เรือดำน้ำจีน ขีปนาวุธจีน เรือฟรีเกตจีน พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยี่และผลิดเองตามข่าว สำหรับผมถือว่าทดแทนกันได้
หากได้เรือดำน้ำจีนมาจริง การจะไม่ได้เรือ Oliver Hazard Perry หรือมีก็ไม่ใช่ประเด็นแล้วครับ เพราะการที่เราอยากได้เพราะเราอดได้เรือดำน้ำ เราจึงอยากได้เรือชั้นนี้มาปราบเรือดำน้ำ และเป็นเรือดำน้ำที่ ทร.อยากได้ไม่ใช่เรือ Oliver Hazard Perry
หากเรือฟริเกตสมรรถนะสูงจากเกาหลี ล่ม การได้เรือฟริเกตสมรรถนะสูงจากจีน เรด้าสวีเดน/อิสราเอล CMSไทย+สวีเดน อาวุธจีน/อิสราเอล/สวีเดน ก็น่าสนใจไม่ใช่น้อย ระบบโซน่าถ้าได้เรือดำน้ำมา ค่อยเอามาติดที่หลัง หลังจาก....
ตอนนี้เรายังซื้อขายกับสวีเดนได้ครับ อิสราเอลขอแค่มีเงิน จีนไม่ต้องพูดถึงได้ตลอด และผมก็ไม่คิดว่าอเมริกาจะทิ้งเราได้
ผมคิดว่าการที่เราจะซื้ออาวุธของชาติตะวันตกผ่านทางเกาหลีเป็นไปได้น้อยมากหรือมีแค่ไม่กี่ประเทศครับ ของสวีเดนและเยอรมันเนี่ยไม่มีทางแน่นอนครับ เพราะทางสภาและภาคประชาชนการตรวจสอบเค้าเข้มมากครับไม่มีทางซิกแซกได้ (ทาง SAAB ก็ออกตัวแล้วว่า หวังว่าไทยจะกลับมามีการเลือกตั้งอีกครั้งในเร็วๆนี้) ถ้าจะมีหวังก็จากฝรั่งเศษ อิสราเอล และระบบที่ผลิตในเกาหลี ซึ่งก็ถือว่าไม่เลวนัก มีทั้งเรือดำน้ำ K-Asroc KSAM Ksonar ......
แต่ผมคิดว่าทางกองทัพไทยก็คงจะคาดหวังว่าจะกลับมามีการเลือกตั้งในเร็ววัน ดังนั้นระบบอะไรที่พอจะรอได้ก็คงชลอไปก่อน แต่อันไหนที่มันไม่ได้ก็ต้องปล่อยผ่านไป
วิเคราะห์ การจะถูกแทรกตัวด้วย เรือดำน้ำจีน ในระยะ 5 ปีข้างหน้า
ผมก็คิดว่าทางทร.พร้อมที่จะล้มทุกโครงการณ์ ไม่ว่าจะเป็น OHP หรือ เรือฟริเกตจากเกาหลี เพื่อที่จะเอาเรือดำน้ำอันเป็นเป้าหมายหลัก แต่ว่าทางกลาโหมจะยอมให้ผ่านให้จัดซื้อหรือไม่
และถ้าทางทร.จะเลือกเรือดำน้ำจากจีนมันจะเป็นอะไรที่ท้าทายมาก เพราะเราอาจจะเป็นลูกค้ารายแรกที่ซื้อเรือดำน้ำจากจีน และหลังจากที่เราว่างเว้นจากกองเรือดำน้ำมาเป็นเวลานานเราจะได้เรือดำน้ำจากจีนที่เราไม่คุ้นเคย ผิดจากแผนกำลังพลที่วางไว้ว่าจะเป็นเรือดำน้ำเทคโนโลยี่เยอรมัน
ตามความเห็นข้างต้น จะหมายถึงว่า ถ้า ทร. ล้มโครงการ เรือฟริเกตสมรรถนะสูงจาก เกาหลี จริง ๆ
งานนี้ ก็มี ใบสั่ง แหล่ะครับ
กลาโหม คงไม่เกี่ยวข้องกัน
เรื่อง เรือดำน้ำ สภากลาโหม ไม่มีใครไม่เห็นด้วยนะครับ
แต่น่าจะเป็นเรื่อง เป็น เรือดำน้ำ ของ ประเทศไหน มากกว่าครับ ที่มีการ ขัดขา กัน
และที่ผม วิเคราะห์ว่า ตอนนี้ อาวุธตามโครงการต่าง ๆ จากเหตุการณ์ในวันนี้ แนวโน้ม จะไปออก หวย ที่ จีน ซะเกือบทั้งหมด
ซึ่งคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ ที่ยิ่งใหญ่กว่า เรื่องการเมือง น่าจะเรื่องใน หมวด 2 ที่ยังคงไว้จากการยกเลิก รัฐธรรมนูญปี 50 โดยคงเหลือองค์กรอิสระ และ วุฒิสภา ไว้
และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่า ได้แต่หวังว่า จะไม่มีการดำเนินการที่ผิดแปลกไปจากในอดีตกาลที่มีมา
ซึงถ้า วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ คือ พิธีการที่แปลกไปจากในอดีตกาลของไทย ระบบอาวุธทั้งหมด เชื่อได้ว่า คงมาจาก ประเทศจีน เป็นหลัก ทั้ง 3 เหล่าทัพ
และเป็นห่วงในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จากประวัติศาสตร์ไทย ในรัชกาลที่ 7 เป็นอย่างไร อนาคต มันจะเกิดความวุ่นวายและแย่งชิงอำนาจ ที่หนักหนากว่าในอดีต มากกว่าเดิมหลาย ๆ เท่าครับ
และสภาพการเมือง การปกครอง ประเทศไทย จะไม่แตกต่างจาก กัมพูชา สักเท่าไหร่ครับ แม้จะมีการเลือกตั้ง เกิดขึ้นก็ตาม
และฝ่าย โปร จีน ก็จะได้ จีน เป็น พี่ใหญ่ สมใจอยาก...
เห็นท่านfatboy ใบ้แบบเหมือนประชดว่า 2+2 ต่อในประเทศแต่ไม่ใช่อเมริกา ถ้าเป็นเรือฟริเกต+เรือดำน้ำจากจีนนี่คิดหนักเลยครับ ไม่ใช่เรื่องอาวุธที่เข้ากันไม่ได้แต่หมายถึงเพื่อนบ้านต่างหาก สิงค์โปร์ มาเลย์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียตนาม ทุกประเทศมีกรณีพิพาทกับจีนหมด ผมเป็นเขาคงมีความกินแหนงแคลงใจกับเราด้วยอย่างแน่นอน ถึงจะไม่เลิกคบเลยแต่ต้องระวังตัวมากขึ้นอีกเท่าตัว และจะไม่ออกมาช่วยเวลาประเทศตะวันตกอัดใส่อีกต่อไปแล้ว มันจิีดจริงๆนะคุณลองคิดกลับกันดูเอา
ส่วนเรื่องอเมริกาถ้าเรารับดีลนี้ อย่างแรกสุดผมจะไม่ขายSM-2ให้ประเทศไทยแน่นอน ขณะที่ESSMซึ่งขายให้เราเป็นประเทศแรกของอาเซียน เขาอาจจะของดไปด้วยถ้าเกิดความห่างเหินกันขึ้น เรือหลวงนเรศวรที่ติดMK-41ไปแล้วอาจจะต้องโมดิฟายไปติดASTER15แทน สามารถติดได้8ลูกราคาลูกละเท่าไหร่ก็ไม่รู้รู้แต่แพงมาก โดยส่วนตัวคิดว่าฝรั่งเศสขายของกับเราครับด้วยราคาแพงกว่าเดิมอย่างน้อย20เปอร์เซนต์(และพร้อมจะชักดาบทุกวินาที) แต่อาวุธจากเยอรมันผมว่าโบกมือลาตลอดชีวิตได้เลยถ้าบ้านเรายังวนกลับมาเรื่องเดิมแบบนี้ F-122 ของผมไม่นะ *_*
และสิ่งทีอันตราย สำหรับ ประเทศไทย ในเรื่องระบบอาวุธหลัก ถ้า สมมติ มาจาก ประเทศจีน คือ
ความสามารถใช้งาน และควบคุม ได้ โดย กองทัพจีน
ซึ่ง ดินแดน ประเทศจีน กับ ประเทศไทย มีแค่ประเทศลาว ขั้นกลาง ในระยะไม่กี่ กิโลเมตร
ความวุ่นวาย ในอนาคตอีกสัก 20 ปีข้างหน้า ถ้า สมมติ มีเกิดขึ้นอย่างสาหัส และกระทบผลประโยชน์ของประเทศจีน
ก็จะไม่ใช่ เรืองยาก ในการควบคุมจาก ประเทศจีน ในการเข้าข้าง อำนาจการเมืองไทย ขั้วใด ขั้วหนึ่ง โดยมี กองทัพจีน สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ และ ประเทศจีน ก็จะมี ทางออก ทางทะเล ในบริเวณอ่าวไทย จรดกับ ทะเลจีนใต้ และสามารถ ควบคุม ทะเลฝั่งอันดามัน จรด ทะเลจีนใต้ ได้อย่า่งมีน้ำหนัก
ข้อมูลอันหนึ่ง ที่ความเห็นผมคิดว่า จีน คงยังไม่ทิ้งหลักความต้องการไป คือ
ในช่วง สงครามเวียดนาม
มีการแย่งชิง ในการวางกองเรือ ระหว่าง ประเทศจีน กับ สหภาพโซเวียต ในประเทศกัมพูชา
ซึ่งในขณะนั้น สหภาพโซเวิยต มีกองเรือแล้วที่ อ่าวคัมราห์ ประเทศเวียดนาม ถ้า สหภาพโซเวียต สามารถวางกองเรือที่บริเวณอ่าวไทย ในขณะนั้น เป้าหมาย คือ ประเทศกัมพูชา (เพราะ ประเทศไทย มันเป็นเรื่องยากหลายเท่า) ก็จะทำให้ สหภาพโซเวียต มีอำนาจทะเลในบริเวณ ทะเลจีนใต้ จนทำให้ จีน หมดความหมายไปได้
ดังนั้น ผมคิดว่า จีน ยังมีความต้องการ ที่ตั้ง กองเรือ ในบริเวณ อ่าวไทย อยู่
เรือ 2 + 2 ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็น แพคเกจ ของ ประเทศจีน ในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง น่ะครับ (คือ สร้างที่ประเทศจีน 2 ลำ และสร้างที่ อู่เรือไทย จำนวน 2 ลำ)
คงไม่น่าจะใช่ เรือฟริเกต + เรือดำน้ำ
แต่คิดว่า ถ้าสุดท้าย ทร. ต้องล้มโครงการ เรือฟริเกตจากประเทศเกาหลี
ผมคิดว่า ทร. คงใช้ข้อต่อรองในการจัดหา เรือดำน้ำ มา มากกว่าครับ
เพราะถ้า เอาเรือฟริเกต มา 4 ลำ ที่ระบบเข้ากับระบบการรบของ กองเรือปัจจุบัน ไม่ได้
สู้ เอา เรือดำน้ำ ที่เป็นอาวุธ เอกเทศ จากระบบกองเรือรบผิวน้ำ อยู่แล้ว น่าจะมีประโยชน์กว่า
ผมขอเดาครับว่า 2+2 น่าจะเป็น เรือฟริเกตเกาหลี 2 ลำ (ยืดระยะเวลาจัดหาออกไปเนื่องจากปัญหาทางการเมือง) และเรือดำน้ำจีน 2 ลำ หรือเรือรบจีน 2 ลำ อาจไม่ใช่ฟริเกตแต่เป็นเรือผิวน้ำแบบอื่นๆ เช่น เรือประเภทเดียวกับเรือชั้นอ่างทอง เรือสิมิลัน เป็นต้น โดยใช้งบประมาณปัจจุบันต่อเนื่อง 5 ปี ที่คิดอย่างนั้นเพราะทางไทยเพิ่งไปเยือนจีนมา น่าจะมีอะไรคุยซื้อขายอะไรกันบ้างแล้วไม่มากก็น้อย และดูไม่น่าเกียจเกินไปนัก เพราะเราซื้อเรือที่ทางสหรัฐไม่มีขาย หรือ มีขีดความสามารถในการลำเลียงมากกว่าโจมตี ครับ แถมได้รักษาน้ำใจของจีนที่เค้าเสนอมาให้เราบ่อยๆ ด้วย
ข้อมูลล่าสุดที่เราคุยกันอยู่ก็คือ
"จะได้เรือต่อใหม่ ไม่ดีใจหรือครับ 2 + 2 เห็นชื่นมื่นกันเหลือเกิน ( ไม่ใช่พี่กันนะครับ รายนี้เขาเดินหมากผิด )"
เพราะ ฉะนั้นเกาหลี+จีนไม่มีทางแน่นอนครับ ผมคุยทางด้านจีนก่อนแล้วกันเพราะมาแรงกว่า ถ้า2+2คือเรือผิวน้ำต่อในจีน2ต่อในไทย2 เดามั่วไปเลยว่าไอ้เลข2ตัวหลังที่ต่อในไทยเป็นชั้น C28A ครับ
ข้อมูลของเรือก็คือยาว120เมตร กว้าง14.4เมตร กินน้ำลึก3.87เมตร(ไม่รวมโดมโซนาร์) ระวางขับน้ำ 2880ตัน เห็นได้ว่าขนาดใกล้เคียงเรือฟริเกตDSMEเลย แต่ระวางขับน้ำน้อยกว่า770ตัน ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าเป้นระวางขับน้ำสุงสุดหรือไม่ ที่ผมเดาว่าเป็นรุ่นนี้เพราะจีนสร้างให้กองทัพเรือแอลจีเรีย3ลำโดยติดเรดาร์ Thales Smart-S Mk2 3D และเรดาร์เดินเรือKelvin Hughes ShapeEye มากับโมเดลเลยดูจากภาพได้ครับ ปล่องควันมันหายไปไหนหว่าก้นเรือก็ไม่มีแฮะ ระบบอำนวยการรบเป็นTACTICOSคนแอลจีเรียจึงคุยกันว่าจรวดต่อสู้อากาศยานอาจจะเป็น VL-Mica 12นัดก็ได้ ในภาพคือ HQ-7
ถ้าเรือ2ลำต่อในเมืองไทยโดยใช้โมเดลลูกผสมนี้ เราก็สามารถใช้อาวุธตะวันตก+จีนได้โดยจีนไม่ตะขิดตะขวงใจ เวอร์ชั่นของเราถ้าเอาเวอร์ชั่นในฝัน จะเป็นปืนOto 76/62 SR จรวดC802 จำนวน4-8นัด ท้ายเรือเป็นปืนDS-3OM 2กระบอกพร้อมมิราดอร์ควบคุม Thales เพื่อนรักกลับมาสู่กองทัพไทยอีกครั้งพร้อม TACTICOS และ Smart-S Mk2 3D กลมๆกลางเรือใส่SATCOMรุ่นใหม่เข้าไป ใช้ Lirod mk2 ควบคุมปืนหน้า 12 VL-Mica สำหรับต่อสู้อากาศยานรวมเป็นเงินเท่าไหร่หนอ ส่วนตอร์ปิโดเบาก็แล้วแต่จะใช้นะครับเพียงแต่เราไม่มีโซนาร์เยอรมันแน่นอน
แต่ถ้าเวอร์ชั่นในฝันสยองก็มาตามภาพนั่นแหละ HQ-7 กับบรรดาเรดาร์+โซนาร์จากจีนรวมไปถึงระบบอำนวยการรบ ข้อดีคือราคาจะถูกลงตามประสิทธิภาพการใช้งานระบบและอาวุธที่ติดตั้ง แต่เราจะมีเรดาร์ตัวใหญ่2ตัว เรดารควบคุมการยิง4ตัว (ซ่อมทีอ๊วกเลย) แต่ถ้าเราติดHQ-7 ใน2ลำหลัง ก็พอมีแววว่า2ลำแรกจะเป็นHQ-7ไปด้วย อืมมม..
แล้วถ้าเป็นในอีกแบบล่ะครับ 2+2 ในวงเงินน้อยสุด คือ เรือเกาหลี 2 ลำ (แต่ต้องรอนาน) บวกการปรับปรุงเรือชั้นเจ้าพระยา 2 ลำ ซึ่งน่าจะทำต่อจากเรือกระบุรีมากที่สุด และน่าจะทำให้สหรัฐและจีนสะบายใจที่สุด โดยผมเสนอเองว่าน่าจะเอาปืนหลังออกแล้วดัดแปลงเป็นลานจอด ฮ. อื่นๆก็ปรับปรุงตามแบบเรือกระบุรี แต่อาจเพิ่มจรวดต่อสู้อากาศยาน พวก HQ7 เข้าไป
มองโลกในแง่ร้ายกันจังเลยนะครับ ผมว่าเราควรหาจุดยืนของตัวเอง ที่ไม่ต้องอิงพึ่งพิงใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มากเหมือนที่ผ่านมาก็ได้ครับ อยู่ที่ความฉลาดหลักแหลมในการวางยุทธศาสตร์ การถ่วงดุลอำนาจ กระจายความเสี่ยง ทำตัวเป็นมิตรกับทุกฝ่าย ให้เค้าเลือกเองว่าจะให้ความสำคัญในความสัมพันธ์กับเรา แค่ไหนและอย่างไร "ไม่มีใครเป็นมิตรแท้หรือศัตรูที่ถาวร" ดูอย่างท่าทีของอเมริกาช่วงเกิดรัฐประหาร กับในเวลานี้สิครับ ทางโน้นเองก็ต้องคิดหนักนะครับ เพราะประเทศเราเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญไม่น้อย ทั้งจีนและอเมริกา ต่างก็ต้องการแสวงหาและปกป้องผลประโยชน์ของตนเองทั้งนั้น เราเพียงต้องมีจุดยืนที่ถูกต้องเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด
เรื่องเรือจีน อาวุธจีน อาจมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นก็ได้ครับ เช่น เกิดสภาพอากาศในบางประเทศไม่ดี ผลผลิตข้าวลดลงส่งออกน้อยลง จีนมีความต้องการข้าว ก็อาจขอแลกกับอาวุธที่จะจัดซื้อได้ ข้าวในสต๊อกเรากว่า 10 ล้านตัน ตีว่ามีอยู่จริงและมีคุณภาพดีพอส่งออกได้สักครึ่งนึงก็ 5 ล้านตัน ราคาตันละ 350 USD (เอาตัวเลขกลมๆ 10,000 บาท) เราก็อาจมีงบซื้ออาวุธได้อีก 5 หมื่นล้านบาท !!!
รับมาให้ไวเลยครับ