The Myanmar Navy (MN) has commissioned its first guided-missile frigate with low observable radar characteristics.
UMS (Union of Myanmar Ship) Kyansitthar (or Kyan-Sit-Thar ), with pennant number F12, was commissioned on 31 March at Thanlyin naval station near Yangon, just two days after the launch of the third frigate UMS Sin Phyu Shin (F14).
เรือ stealth frigate ลำที่สองของพม่า UMS Sin Phyu Shin (F14)
แหล่งข่าวบอกว่าระวางขับน้ำ 2,500 ตัน ยาว 108 เมตร เน้นป้องกันภัยทางอากาศ
เรดาห์ Type 346 ของจีน และ RAWL-02 Mk III ของอินเดีย
อาวุธหลัก OTO Melara 76 mm , C602 , HQ9 น่าจะมี VLS ไม่ต่ำกว่า 8 cells
ที่มา
http://www.janes.com/article/36259/myanmar-commissions-first-frigate-with-reduced-rcs
http://www.asiandefencenews.com/2014/04/myanmar-navy-launch-new-stealth-frigate.html
http://www.baomoi.com/Lo-chien-ham-tang-hinh-khung-tu-che-cua-Myanmar/119/13469444.epi
http://defense-studies.blogspot.com/2014/04/myanmar-quietly-finishing-2nd-stealth.html
พม่ายังต่อเอง ทุกอย่างมีครั้งแรกเสมอ บ้านเราซื้อของคนอื่นครั้งแรกเสมอ
มันคงไม่ได้ต่อยากเย็นขนาดนั้น เรือใหญ่กว่านี้ญี่ปุ่นต่อใช้มาแล้วตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ70-80ปีที่แล้ว
เหล็กก็นำเข้าได้ ระบบอาวุธเรด้าเครื่องยนต์อุปกรณ์ต่างๆก็นำเข้าได้ ต่างกันแค่พม่าคิดต่อเองแต่ไทยซื้อ
..
มันเรียบเพราะยังไม่เสร็จไงครับ ยังไม่ได้ติดอะไรเลย แค่ปล่อยตัวเรือลงน้ำ
ของพี่หม่องใกล้เสร็จแล้ว แต่ของพี่ไทยเราเสร็จอีกนาน
คือไม่แน่ใจว่ารูปมันพศ.ไหน ตามข่าวบอกว่าประจำการแล้ว
แต่รูปสภาพเหมือนตอนยังสร้างไม่เสร็จ ปัจจุบันอาจจะเสร็จแล้วก็ได้
เห็นแบบนี้แล้งผมล่ะชื่นชมในความคิดของผู้นำและคนในประเทศพม่าครับ เขาคิดพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งหมดอาจจะมาจากการที่เขาโดนควำ่บาตรจากพวกตะวันตกเมื่อ20กว่าปีที่แล้ว เขาพัฒนาไปได้ดีมากในหลายๆด้านทั้งการศึกษา การทหาร ระบบระเบียบของสังคม พอมองที่ประเทศสารขันต์ทีไรกว่าจะทำอะไรสักอย่างก็จะมีแต่พวกเตะตัดขาหรือต้องเป็นดครงการพิเศษตลอดถึงจะทำได้ ถ้าอะไรที่ใหญ่ๆแล้วข้าจะซื้อมันอย่างเดียวไม่สนใจในการพัฒนาองค์ความรู้ เรื่องงบประมาณก็ส่วนหนึ่งแต่ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะเริ่มวันไหน เรือตรวจการก็ลองต่อมาแล้ว 1 ลำ ลำที่ 2 3 4 ก็น่าจะทำได้ เบื่อที่สุดกับคำว่า รองบประมาณเอื้ออำนวยแล้วทำไมไม่อำนวยสักทีล่ะจะได้เลิกซื้อซะที อย่างน้อยก็ตัวเรือต่อเองระบบข้างในก็ซื้อมาติดตั้งโดยขอถ่ายทอดเทคโนโลยีเอา......มันจะไม่ได้เชียวหรือ
ถ้าเข้าใจไม่ผิด พม่า เขามีอุตสาหกรรมต่อเรือพาณิชย์ ขนาดใหญ่ อยู่แล้วครับ ซึ่งสำหรับเรือฟริเกต ชั้นนี้ คิดว่าระดับมาตรฐานการต่อเรือ เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ต่อเรือรบของประเทศจีน ซึ่งน่าจะเป็นระดับพัฒนามาจาก เรือชั้น เจียงหู มากกว่าครับ ซึ่งความคงทน หรือรองรับภาระกรรมความเสียหาย คงไม่ได้ความคงทนเท่าไหร่ แต่ พม่า คงจะใช้การออกแบบที่ ลดการสะท้อนเรดาห์ มาลดข้อด้อยตรงนั้น คือ การได้ประสบการณ์การออกแบบในเรื่อง ลดการสะท้อนเรดาห์ ที่เป็นจุดเด่นของเรือชั้นนี้ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า เป็นการร่วมมือระหว่าง พม่า กับ อินเดีย หรือเปล่า ?
ส่วนเรื่อง ระบบตรวจจับ น่าจะมาจากประเทศอินเดีย และระบบอาวุธ น่าจะมาจาก ประเทศอินเดีย และรัสเซีย (ปืน 76 ม.ม. มาจากประเทศอินเดีย ที่ได้สิทธบัตรผลิตปืนชนิดนี้)
ดังนั้น เรือลำนี้ โครงสร้างเรือ น่าจะเป็น มาตรฐาน จีน
ส่วนระบบการลดสะท้อนเรดาห์ กับระบบตรวจจับ และระบบอาวุธ น่าจะเป็น มาตรฐาน อินเดีย กับ รัสเซีย
และสมมติว่า เรือลำนี้ ถ้าจะมีระบบอำนวยการรบ คงเป็นของ รัสเซีย
จากความสัมพันธ์ระหว่าง บังคลาเทศ กับ จีน สำหรับกองทัพเรือบังคลาเทศ ทำให้ พม่า ต้องหันมาใช้ระบบอาวุธจาก อินเดีย และ รัสเซีย แทน
สำหรับ ประเทศไทย โครงการต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ถ้าทำได้สำเร็จตามแผน ผมว่าเป็นการก้าวกระโดด ข้ามประเทศ พม่า เวียดนาม และน่าจะเทียบเคียงหรือสูงกว่า เล็กน้อย เมื่อเทียบกับ อินโดนีเซีย
การเสนอข่าว ครั้งนี้ของ พม่า น่าจะเป็นการ บลัฟ กับ บังคลาเทศ ที่ เพิ่งรับมอบเรือฟริเกต ชั้น เจียงหู 3 จำนวน 2 ลำ (ชั้นเดียวกับ ร.ล.เจ้าพระยา) เมื่อเร็ว ๆ นี้
เจ๋งจริง แต่แปลกใจว่าใช้ปืนอิตาลี ไม่ใช้ปืนจีน เพราะการสนับสนุนอะไหล่ระยะยาวจากจีนน่าจะง่ายกว่า
เห็นด้วยกับท่าน Juldas ครับ ดูแล้วยังใช้เทคโนโลยีการต่อเรือแบบเก่า แม้จะพยายามทำหน้าตาให้เป็นสเตลธ์ดูทันสมัย แต่ในภาพรวมยังดูกลางเก่ากลางใหม่ ยิ่งพิจารณาถึงความแข็งแรงก็พอจะคาดเดาได้ หากเทียบกับรล.กระบี่ที่แม้จะเป็นแค่ OPV แต่ขนาด หน้าตาและคุณภาพ ผมว่าดูดีกว่าเรือพม่าเยอะเลยครับ
คุณภาพคงสู้ฝั่งยุโรปไม่ได้อยู่แล้วครับ แต่เค้าก็มีเรือรบไว้ปกป้องน่านน้ำไม่ต่างอะไรกับประเทศอื่นๆ ทั่วไป ถ้าเราโดนส่องก่อนถึงจะเป็นอาวุธห่วยๆ มันก็ตายเหมือนกัน.... ก็ขอยินดีกับพม่าด้วยนะครับ...ที่มีอาวุธใหม่ประจำกองทัพ .. ขอเรากว่าจะมาก็ต้ังปี 2560 นานจัง
คิดว่า เรือสเตล์ ลำที่ 3 และ 4 ของ พม่า น่าจะเป็นที่ จับตา มากครับ...ซึ่งถ้าจะเทียบกับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของไทย เรือลำที่ 3 และ 4 ในอนาคต จะเป็น สิ่งเปรียบเทียบได้ มากกว่า F-12 กับ F-14
คิดว่า ลำที่เป็นภาพ CG นี่ แหล่ะครับ ที่จะมา เทียบเคียงกับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของ ไทย ขนาด 3,500 ตัน ซึ่งคนละ รุ่นกับ F-12 และ F-14
ลำนี้ น่าจะคนละลำ กับ F-12 และ F-14 ซึ่งน่าจะ เทียบเคียงกับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของไทย
ดูจากภาพแล้ว น่าจะเป็นระบบของ รัสเซีย ทั้งหมด แต่น่าจะเป็นการ ร่วมมือระหว่าง พม่า กับ อินเดีย
สรุป ลักษณะการพัฒนา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของ กองทัพเรือ พม่า
F-11 มาสู่ F-12, F-14 อนาคต (คาดเดา) F-16, F-18
กองทัพเรือ พม่า อนาคต ในระยะ 10 ปี ข้างหน้า
ขอเดาว่า การให้ หมายเลขเรือ น่าจะใช้ ความหมาย คล้ายกับ ของ บ.ขับไล่ของ รัสเซีย
เช่น บ.ตระกูล Mig จะใช้เลข คี่ บ.ตระกูล SU จะใช้เลข คู่
สำหรับ กองทัพเรือ อาจจะใช้
หมายเลข 1 หมายถึง เรือฟริเกตสมรรถนะสูง
หมายเลข 2 หมายถึง เรือฟริเกต
หมายเลขคี่ คือ มาตรฐาน ประเทศ จีน
หมายเลขคู่ คือ มาตรฐาน ประเทศ รัสเซีย
มาตรฐาน ประเทศ จีน จะใช้ หมายเลข F-11, F-21, F-23 และถ้า สมมติในอนาคต การต่อเรือฟริเกตใหม่เพื่อทดแทน F-21 และ F-23 อาจจะใช้ F-13, F-15
มาตรฐาน ประเทศ รัสเซีย จะใช้ หมายเลข F-12, F-14 ผมจึง คาดหมายว่า เรือฟริเกตขนาด 3500 ตัน น่าจะใช้ หมายเลข F-16, F-18
เท่าที่ติดตามเรื่องนี้มาบ้าง "ตัวเรือ" พม่า ไม่ได้รวมมือกลับใคร ครับ คิดเองทำเองล้วนๆ
น่าชื่นชม ครับ......สำหรับเรือพม่า
กองทัพไทยขยับแขย้งแข้งขาเร่งมือกันเร้ว
รูปของ f12 ไม่ใช่ปัจจุบันครับ ส่วน F14 ก็อย่างที่เห็นยังไม่ได้ติดอะไร
เรื่องต่อเรือ พม่าได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากจีนมาตลอด
มีการลงทุนในเรื่องอู่ต่อเรือมาเรื่อยๆ พวกเรือรบก็ต่อมาอย่างต่อเนื่องยิ่งกว่าไทยเสียอีก
http://www.globalsecurity.org/military/world/myanmar/shipbuilding.htm
เขาก็แบ่งเป็นตัวเรือเป็นบล็อก กระจายงานออกไปเพื่อความรวดเร็วในการต่อเรือ
เมื่อประกอบบล็อกตัวเรือแต่ละบล็อกเสร็จก็จะทยอยยกบล็อก ตัวเรือต่าง ๆ ลงมาเชื่อมประกอบเข้าด้วยกัน
ส่วนของไทยดูก็รู้แล้วว่าไม่มีความพร้อมอุปกรณ์ก็ไม่เอื้ออำนวยทั้งที่มีพื้นที่เยอะ
ขนาดต่อเรือ OPV ลำแค่นั้นใช้เวลาถึง 4 ปี ก็ไม่รู้ว่าเป็นที่แบบเรือหรืออู่อุปกรณ์ไม่พร้อมกันแน่
นี่ถ้ายังไม่มีการปรับปรุงอู่ต่อเรือ ตอนต่อเรือฟริเกตขนาด 3700 ตัน คงดูไม่จืดแน่ๆ
เรื่องท้ายเรือพม่าที่หลายคนบอกว่าล้าสมัย ผมว่าขึ้นอยู่กับการใช้งานนะ ว่าจะเตรียมพื้นที่ไปทำอะไร
ขนาดเรือพิฆาต kolkata class ของอินเดียหรือ Type 056 ของจีนยังแนวนั้นเลย
ระบบ เซ็นเซอร์ และ โซนาร์ จะมาจาก ประเทศอินเดีย ซึ่ง ระบบปืน 76 ม.ม. ก็น่าจะมาจากประเทศอินเดียว เช่นกัน ซึ่ง อินเดีย ได้ ไลเซ่นต์ การผลิตปืน 76 ม.ม. otomelara ตามข่าว janes พม่า ว่าโปรแกรมเรือ ไว้จำนวน 8 ลำ ด้วยกัน
ซึ่งในความเห็นส่วนตัว คิดว่า น่าจะเป็น เรือขนาด 106 ม. จำนวน 4 ลำ และขนาด 122 ม. จำนวน 4 ลำ
ส่วนเรื่องหมายเลข เมื่อลองไปดูความเชื่อเรื่องตัวเลขที่ไม่ดี หมายเลข 4 จะหมายถึงความตาย ดังนั้น จึงไม่มีหมายเลขเรือ 13 และ 22 เพราะ ตัวเลขทั้งสอง บวกกัน จะได้ 4 หรือเปล่า ?
หมายเลขเรือ F-11, F-12, ข้าม 13, F-14
หมายเลขเรือ F-21, ข้าม 22, F-23
India's state-owned Bharat Electronics Ltd (BEL) has secured a contract to supply a number of shipborne sensors to Myanmar, IHS Jane's understands.
A contract was signed in mid-January for the delivery of three sets of RAWL-02 Mk III L-band 2D search radars, which are licence-built versions of the Thales LW-08 radar, commercial-off-the-shelf (COTS) navigation radars, and a hull-mounted sonar system. The latter is likely to be the HUMSA system. These are to be fitted to frigates under construction in Myanmar.
Myanmar has a frigate construction programme under way at its naval dockyard in Yangon. The first of the 106 m-long frigates, UMS Aung Zeya (pennant number F11), is fitted with what appears to be an older variant of the RAWL. A second hull, with a stealthy superstructure, was launched in September 2012 as UMS Kyan-Sit-Thar (F12). The ship is undergoing outfitting, with completion slated for early 2014.
A third frigate is under construction at Sinmailik Naval Dockyard, Rangoon, according to Burmese sources. Its keel-laying ceremony took place on 5 September 2010, and hull framing was largely complete by February 2012. The BEL deal could mean a fourth frigate is on the way, and reports indicate eight frigates are planned
ตามข้อมูล Janes อาจจะได้เห็นภาพ กองทัพเรือพม่า ในอนาคต ภายใน 10 ปี เป็นแบบนี้ก็ได้ครับ
การพึ่งพาตนเองของพม่าก้าวหน้าอย่างรวดเร็วครับ แต่ของไทยที่มีศักยภาพมากกว่าพม่ากลับพัฒนาน้อยมาก อาจจะเพราะวิสัยทัศน์ การสนับสนุนของผู้บริหารแตกต่างกัน หรือ พม่ามีแรงขับ จากเหตุถูกคว่ำบาตรมาอย่างยาวนาน พอเปิดประเทศอะไรที่มันเคยอั้นไว้ มาก็เลยพรั่งพรู ขอกลับมาที่การต่อเรือ รล.กระบี่ ซึ่งในชุดนี้น่าจะมี 4 ลำ แต่ไปๆ มาๆ ได้ข่าวว่าจะมีแค่ลำเดียว ไม่ต่อเพิ่มแล้ว ทั้งๆ ที่เราอุตสาห์เริ่มพึงพาตนเองแล้ว และ รล.กระบี่ ก็เป็นความภาคภูมิใจของ ทร. นำไปประชาสัมพันธ์ อวดธงถึงต่างประเทศมากมาย ผมก็ไม่เข้าใจ ทร.เหมือนกัน ราคาต่อลำละประมาณ 3,000 ล้านบาท ถ้าเจียดงบประมาณซักหน่อยปีละ 1,500 ล้าน ของทร. มาต่อ 2 ปีต่อ 1 ลำก็ได้ ทำไมไม่ทำ หรือ ขอ รบ.ชุดใหม่ทีเดียวซัก 9,000 ล้านบาท มาต่อให้ครบ 3 ลำ ก็ได้ ไม่แน่ใจในเรื่องของสิทธิบัตร ที่มีอายุ 10 ปี นี่ก็จะเข้าปีที่ 7 แล้ว ยังไม่เริ่มต่อเพิ่มเลย แต่บางกระแส บอกอายุสิทธิบัตรไม่เกี่ยว หากต่อใช้เองในประเทศ ไม่ใช่การขายเรือให้ต่างประเทศ ยังไงก็ขอให้ ผู้รู้ช่วยแจ้ง แถลงให้คลายข้อสงสัยหน่อยก็ดีครับ
เรื่องการพึ่งพาตนเองของพม่าไม่เีกี่ยวกับที่ได้รับการยกเลิกคว่ำบาตรหรอกครับ
ไอ้การโดนคว่ำบาตรนั่นแหละที่ทำไห้ต้องกระเสือกกระสนพยายามผลิตเอง แล้วที่ซื้อก็ซื้อของจีน รัสเซีย อิราเอล คือพวกที่ขายมันหมดและไม่สนใจกฏหมายนานาชาติ (ที่ออกโดยอเมริกา ฮา)
เรื่องการพึ่งพาตนเองของพม่า ผมคิดเหมือนท่านแหละครับ เนื่องจากการถูกคว่ำบาตร เป็นแรงขับไม่ได้ต่างอะไร กรณีนี้ก็จะมีอิหร่านที่คล้ายๆ กัน ส่วนที่กล่าวว่าอะไรที่มันอั้น มันเลยพรั่งพรู (ซึ่งไม่ได้อธิบายให้ชัด) ผมหมายถึง ได้เห็นเทคโนโลยี ได้เหนแบบไม่ค่อยมีปิดบัง เห็น เนปิดอร์ แบบชัดๆ ยังมีรถรบ รถหุ้มเกราะที่พม่าผลิตเอง รวมถึงมีการเตรียมแผน พัฒนาเศรษฐกิจ มาก่อนเปิดประเทศ และจะมีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมกระจายทั่วประเทศกว่า 30 แห่ง ที่ดินบางแห่งในพม่า ยังแพงกว่าในเมืองของไทย สมัยก่อนจริงๆ แล้ว พม่าก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร เพราะเจ้านายฝ่ายเหนือของไทยมักส่งลูกไปเรียนภาษาอังกฤษที่พม่า แม้แต่เวียดนามยังส่งเสริมให้เด็กเรียนสายวิทย์ วิศวกรรมศาสตร์ให้มากๆ คนเปนครูต้องได้ที่หนึ่งของเมืองหรือประเทศ สนับสนุนการพึ่งพาตนเอง เกาหลีใต้ ที่ญี่ปุ่นเคยมองข้าม เดี่ยวนี้ญี่ปุ่นเริ่มหันกลับมามอง วิเคราะห์ถึงการพัฒนาของเกาหลี การสร้างแบรนด์ และเทคฯ ของเกาหลี กลับกันกับประเทศไทยหรือเพราะอาจไทยเราชิวไปไม่มีแรงขับ ทั้งที่คนของเราไม่ได้ด้อยไปกว่าชนชาติใด หรือ อาจไม่ได้รับแรงสนับสนุน
กองทัพพม่าถือว่าเป็นเสือซ่อนเล็บ(แต่จะซ่อนเล็บได้ทนขนาดไหน)ของอาเซียนเลยก็ว่าได้ กองทัพเรือพม่าก็เริ่มเสริมทัพโดยหาเรือดำน้ำจากฝรั่งเศสแล้ว