รบ.ญี่ปุ่นผ่อนคลายกฎ “ห้ามส่งออกอาวุธ” แต่ยังเน้นพัฒนายุทโธปกรณ์ที่ไม่ใช่เพื่อสังหาร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 เมษายน 2557
เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการออนไลน์ – รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มผ่อนคลายกฎ “ห้ามส่งออกอาวุธ” ที่ใช้มานานเกือบ 50 ปีในวันนี้ (1 เม.ย.) พร้อมเสนอกฎระเบียบใหม่ที่จะควบคุมการจำหน่ายอาวุธแก่ต่างชาติ ซึ่งจะทำให้แดนอาทิตย์อุทัยมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในตลาดค้าอาวุธโลก แม้จะสร้างความขุ่นเขืองแก่มหาอำนาจอย่าง “จีน” ก็ตาม
โยชิฮิเดะ สุกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงว่า นายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับกฎระเบียบใหม่ ซึ่งจะนำมาแทนที่กฎห้ามส่งออกอาวุธที่โตเกียวใช้มาตั้งแต่ปี 1967
ภายใต้นโยบายใหม่ ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ นอกจากนี้ การจำหน่ายอาวุธก็จะต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพสากล และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของญี่ปุ่นเอง
“รัฐบาลได้กำหนดกลไกในการส่งออกอุปกรณ์กลาโหมที่มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือนานาชาติ ในแนวทางสันติวิธีเชิงรุก (proactive pacifism)” สุกะกล่าว
“เราพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาและผลิตอาวุธกับนานาชาติด้วย”
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แม้จะมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ แต่ญี่ปุ่นจะยังเน้นการผลิตและส่งออกยุทโธปกรณ์ที่มิใช่เพื่อการสังหาร (non-lethal) เช่น เรือลาดตระเวน และเครื่องตรวจจับทุ่นระเบิด เป็นต้น และยังไม่มีแผนที่จะผลิตหรือส่งออกอาวุธจำพวกรถถังหรือเครื่องบินขับไล่
เฮอิโกะ ซาโตะ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทากุโชกุ ให้ความเห็นว่า “นโยบายนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบริษัทอาวุธญี่ปุ่นในแง่ที่ว่า พวกเขาจะสามารถร่วมทุนพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ๆ และยังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดได้ด้วย”
“หากคุณอยู่ในตลาดปิดเหมือนที่อุตสาหกรรมอาวุธญี่ปุ่นเคยเป็นมา แน่นอนว่าเทคโนโลยีของคุณย่อมต้องล้าสมัยกว่าชาติอื่นๆ”
รัฐธรรมนูญสันติภาพที่ร่างโดยสหรัฐฯหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีข้อห้ามไม่ให้ญี่ปุ่นเข้าสู่สงคราม ซึ่งชาวเมืองปลาดิบส่วนใหญ่ก็ให้การยอมรับ และอีก 2 ทศวรรษต่อมาก็มีการออกกฎห้ามญี่ปุ่นส่งออกอาวุธ
ฝ่ายที่สนับสนุนให้รัฐบาลผ่อนคลายกฎส่งออกอาวุธมองว่า วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมอาวุธในญี่ปุ่น ในยามที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกกำลังคุกรุ่นด้วยข้อพิพาท รวมไปถึงภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือซึ่งมักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและคาดเดาไม่ได้
นโยบายใหม่ยังอาจเปิดทางให้ญี่ปุ่นสร้างรายได้จากการส่งออกอาวุธให้ประเทศที่อยู่ติดเส้นทางเดินเรือสำคัญนำไปใช้ต่อสู้โจรสลัด ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์การค้าที่สำคัญสำหรับแดนปลาดิบซึ่งไม่มีทรัพยากรเป็นของตนเองมากนัก
อาวุธที่ผลิตในญี่ปุ่นอาจส่งไปขายยังอินโดนีเซีย รวมถึงประเทศที่อยู่ติดทะเลจีนใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีข้อพิพาทว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลกับจีน
หน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์ซึ่งปะทะกับเรือของจีนอยู่เป็นประจำได้สั่งซื้อเครื่องไม้เครื่องมือบางอย่างจากญี่ปุ่นอยู่แล้ว และหากโตเกียวจะส่งขายอาวุธให้ฟิลิปปินส์อย่างจริงจังก็น่าจะสร้างความกังวลต่อจีนไม่น้อย
หง เล่ย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน มีถ้อยแถลงวันนี้(1)ว่า จีน “ให้ความสนใจ” กับการผ่อนคลายกฎส่งออกอาวุธของญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง และขอให้การพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธของโตเกียวเป็นไปในเชิงสันติ และมีบทบาทส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น
จีนและญี่ปุ่นต่างอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเซ็งกากุ หรือเตี้ยวอี๋ว์ ในทะเลจีนตะวันออก ในขณะที่ปักกิ่งก็ยังทะเลาะกับอีกหลายชาติเกี่ยวกับอาณาเขตในทะเลจีนใต้ ซึ่งปักกิ่งอ้างกรรมสิทธิ์เกือบทั้งหมด
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000036718
https://www.facebook.com/MilitaryTechnologyLoverForum
ใครชอบ อาวุธที่ผลิตในญี่ปุ่น ( made in japan ) เชิญแสดงความคิดเห็นได้เลยครับ
Soryo-class submarine ครับ
ขนาด 4,000 ตัน ใช้ stirling AIP ใหญ่พอที่จะตามกองเรือออกไปถึงทะเลจีนใต้และฝั่งอันดามัน ราคาไม่แพงตกลำละ 540 เหรียญหรือ ไม่ถึง 17,000 ล้านบาท ในขณะที่สิงคโปร์ต่อเรือขนาดเดียวกันจากเยอรมัน Type-218sg ราคากว่า 33,000 ล้านบาท หรือกว่า 1,100 ล้านเหรียญ และออสเตเรียก็จะนำไปต่อเองอีกจำนวนมาก แม้ไม่มี VLS สำหรับยิงอาวุธครูสซ์แบบของสิงคโปร์ แต่ก็มีโซน่าร์ข้างลำตัวให้มาด้วย
เรือดำน้ำญี่ปุ่นไม่น่าเกลียดครับ แต่ก็คงไม่ดีกว่าของเกาหลีใต้ เพราะทางเกาหลีรับเทคโนโลยีจากเยอรมันต่อมาอีกที DW-1400T น่าจะมีระวางสูงสุดประมาณ 1,600 - 1,700 ตัน ก็พอจะตามกองเรือออกไปได้ครับ แต่คงไม่สามารถปฎิบัติการติดกันนานๆถึง 2-3 เดือนได้ ซึ่งเรือขนาด 4000 ตันจะมีระยะเวลาได้นานถึง 2 เดือนขึ้นไปได้ และสามารถดำได้นานโดยใช้ระบบ AIP น่าจะถึง 1 เดือน ทำให้ความสามารถใกล้เคียงเรือดำน้ำนิวเคลียร์มากขึ้นมาก
ยกเลิกโอท๊อปเอาอันนี้
น่าสนนะครับ... เรากับญี่ปุ่น ถือว่าเป็นมหามิตร กันมาต้ังแต่ในอดีต.. น่าจะเปิดซิง เลยก็ดี ถือว่าเป็นลูกค้าเก่าลูกค้าแก่ กันมา ถ้าจะเอาของญี่ปุ่น ขอเพิ่ม vls หน่อยเถอะ จะได้ครบจบกระบวนความ..จัดมาสัก 6 ลำ รับรองแถวนี้หนาวๆ ร้อนๆ แน่
เรือดำน้ำญี่ปุ่นไม่ธรรมดานะครับ ผมคิดว่าคงไม่ด้อยไปกว่าเกาหลีใต้หรอก ยกเว้นราคา
ไหนๆซื้อลำเล็กๆมาคนก็บ่น ซื้อโซริวไปเลย (Soryuนะครับ ตัวU)
ไหนๆจากกระทู้นี้ งานเข้าแล้วไปเอารถถังพี่ยุ่นดีไหมนะ คนจะได้เลิกบ่น
ผมก็ว่า soryu class ไม่ด้อยกว่าเรือดำน้ำเกาหลีแน่นอนครับ น่าจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ ส่วน type 10 ก็เทพนะครับเห็นในวิกิว่าเป็นรถถัง Gen 4 แต่ราคาก็เทพเหมือนกันครับ 5555
oyashio class submarine จากฐาน ฮิโรชิมา เคน กับการออกปฏิการและฝึกซ้อมยิงตอปิโด
ผมงงบางท่านบอกว่าเรือดำน้ำญี่ปุ่นเป็นรองเกาหลี ประเทศผู้พัฒนาเรือดำน้ำเก่าแก่อย่างญี่ปุ่นจะเป็นรองเกาหลีได้ไงครับเกาหลียังซื้อเยรมันอยู่เลย เรือเก่าเราก็ญี่ปุ่นนะครับอย่าลืมกัน >..<
ต่อๆ ฝันลมๆแล้งๆ
ปล่อยลงน้ำเลย ถ้าเป็นธงชาติไทยน่ะสวยที่สุดเลย
อยากทราบความแตกต่างของรถถัง Type 90 กับ Type 10 ครับ ยกเว้นเกราะกับเครื่องยนต์
Type 10
ผมคิดว่า ถ้าผมเป็นญี่ปุ่น เนื่องจากราคาอาวุธของญี่ปุ่นแพงกว่าของคนอื่นๆ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคา เพื่อเปิดตลาด และเพื่อลดแรงต่อต้านจากประเทศต่างๆ ผมจะเริ่มส่งออกอาวุธที่เป็นมือสองที่ใกล้ปลดประจำการก่อน ซึ่งถ้าผมเป็นประเทศลูกค้าผมสนใจเกือบทุกอย่างโดยเฉพาะ เรือรบ รถถัง ยานเกราะ ต่างๆ
โดยส่วนตัวผมชอบมากครับ อะไรที่เป็นญี่ปุ่นผมว่ามีคุณภาพและดูดีด้วย
อ้าาา.......พิมพ์มาเยอะหายเรียบเวลาส่ง ฝนกำลังตก.....เซ้ง
ผมให้เกาหลีใต้มีเครดิตในการต่อเรือดำน้ำเท่ากับญี่ปุ่นทั้งๆที่เกาหลีมาทีหลังญี่ปุ่นมาก ผมขอแจงเหตุผลดังนี้ครับ
1. ญี่ปุ่นมีการสะสมเทคโนโลยีการต่อเรือดำน้ำมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง นานมาแล้วก็จริง และหลังสงครามเมื่อได้รับอนุญาติให้ต่อเรือดำน้ำใช้งานเองได้ ญี่ปุ่นก้เร่งรีบทำ แต่เทคโนโลยีของญี่ปุ่นก็ต้องรับผ่านมาจากอเมริกา ซึ่งมั่นใจว่าจะถูกกักเอาไว้บางส่วนไม่ส่งผ่านมาทั้งหมดในทันที ดังนั้นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจะไม่มาลงที่เรือดำน้ำญี่ปุ่นได้เต็มที่มากนัก ในระยะหลังญี่ปุ่นเองก็เริ่มรับเทคโนโลยีเรือดำน้ำจากภายนอกด้วย เช่น ระบบ stirling AIP ที่รับมาจากสวีเดน จะเห็นว่ายังต้องพึ่งพาบางเทคโนโลยีจากชาติอื่นที่มีความพร้อมด้อยกว่าเยอรมัน
2. เกาหลีใต้แม้มาทีหลังในเรื่องอุตสาหกรรมต่อเรือ โดยเฉพาะเรือดำน้ำ หลังเกาหลีเหนือ จีน อินเดีย โขทีเดียว แต่ปัจจุบันพื้นฐานอุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีไม่รองใคร และมียอดขายสูงที่สุดในโลกด้วยครับ และการที่เกาหลีเลือกที่จะซื้อเรือดำน้ำเยอรมัน และรับเทคโนโลยีจากเยอรมัน ทำให้เกาหลีใต้ก้าวกระโดดในเรื่องนี้ทันที เพราะรับและเรียนรู้การต่อเรือดำน้ำจากประเทศผู้ผลิตเรือดำน้ำที่ดีที่สุดในโลก และมีภาคอุตสาหกรรมต่อเรือที่ใหญ่ทันสมัยระดับสุดยอดแห่งหนึ่งของโลกครับ
ในสายตาผม แม้เกาหลีใต้จะมาทีหลังในเรื่องเรือดำน้ำ แต่ให้ซื้อเรือจีน เรือดำน้ำอินเดีย เรือเกาหลีเหนือ หรือแม้แต่เรือรบก็เถอะ ผมขอเลือกเรือเกาหลีใต้ดีกว่าครับ ทั้งเรือรบเรือดำน้ำ
เกาหลีใต้ผลิตเรือดำน้ำของเยอรมันมา 2 แบบ แล้ว ถ้า KSS-3 programe เกาหลีใต้เกิดเลือก type 216/218 มาต่อเองในประเทศ จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เรือดำน้ำที่ผลิตจากเกาหลีใต้มากขึ้นอีก แต่ผมว่าคราวนี้เยอรมันคงไม่เอาด้วยอีกแล้ว เพราะเข็ด
ด้วยเหตุผลนี้ แม้ประเทศที่มีการสะสมเทคโนโลยีมาก่อนเหมือนจะได้เปรียบ แต่ถ้าผู้มาทีหลังฉลาดพอ เงินถึง ภาคอุตสาหกรรมพื้นฐานทางด้านนี้พร้อมระดับสุดยอดอยู่แล้ว การก้าวกระโดดมาทัดเทียมในเวลาสั้นๆ ไม่ใช่เรื่องยากเกินเลยไปครับ
สำหรับผมให้เรื่องการต่อเรือดำน้ำของเกาหลีและญี่ปุ่นทัดเทียมกันครับ ถ้าเกาหลีใต้เกิดเลือก Type 216/218 มาต่อใช้งานในโครงการ KSS-3 แทนที่จะออกแบบเองต่อเอง ผมจะให้เครดิตเกาหลีใต้สูงกว่าญี่ปุ่นในเรื่องเรือดำน้ำทันที
พูดง่ายๆ ถ้านักเรียนมีความพร้อมสูงมาก ผมก็ต้องให้เครดิตครูผู้ฝึกสอนว่าเจ๋งแค่ไหนนั่นเองครับ เผอิญคนสอนให้กิมจิเขาระดับแชมป์โลกครับ นักเรียนก็ฝีมือระดับโลกด้วยเช่นกัน ไม่ยากครับที่จะแซงมือเก๋าผู้มีฝีมือระดับต้นๆได้
แหมไม่รู้ว่ารุ่นอะไรจากเกาหลีใต้ แต่ดูแล้วใหญ่กว่า DW-1400T แน่ๆ หน้าตาก็แบบว่าขยายขนาดเรือ type-209 type-212/214 เอาเอง
น่าจะจัดหา Type 216/218 มาสัก 4-6 ลำก่อน แล้วที่เหลือก็ออกแบบเอง เรือใหม่น่าจะดูดีกว่านี้อีก
รูปบน DW-1400T
รูปล่าง ไม่ทราบรุ่น แต่หน้าตาใกล้ๆ type 214 พอควร
DSX-3000 Deawoo
KSS EX-3300
Type-214
KSS-500A
รูปสุดท้าย Type-212/214
ผมว่าตอนนี้เกาหลีสะสมประสบกาณ์สูงขึ้นมาก สารพัดแบบเรือที่ออกมาในช่วงสั้นๆ ยืนพื้นบนเรือเยอรมัน ญี่ปุ่นในช่วงนี้ยังไม่ได้ออกแบบและทดสอบแบบเรือดำน้ำมากขนาดเกาหลีใต้เลยนะครับ
แต่เอาเถอะ เยอรมันคงลำบากขึ้น เพราะมีคู่แข่งตัวเอ้ๆเพิ่มมาอีก 2 รายแล้ว
สำหรับกรณีที่สนใจ soryu class ติดตั้ง VLS สำหรับภาระกิจ Land attack นั้น ในข้อกำหนดของทร.ออสเตเรียมีความต้องการในเรื่องนี้ด้วยครับ ทางเยอรมันจึงออกแบบให้มี VLS มาด้วย ดังนั้นในเมื่อ soryu ชนะเรือเยอรมันมาได้ (ราคาต่างกันเท่าตัวนี่ ไม่ชนะก็ไม่รู้จะพูดไงแล้ว) ก็น่าจะมีการโมดิฟายด์ให้ติดตั้ง VLS ได้ ตามความต้องการของ ทร. ออสเตเรีย ตามวิกิเลยครับ เท่ากับว่า soryu class มีผู้ใช้ 2 ประเทศ จำนวน 22 ลำ
In the 2009 Defence white paper, the replacement submarine had been outlined as a 4,000-ton vessel fitted with land-attack cruise missiles in addition to torpedoes and anti-ship missiles, capable of launching and recovering covert operatives while submerged, and carrying surveillance and intelligence-gathering equipment.[6][9][10] It is likely that the submarines will be fitted with the United States AN/BYG-1 combat system.[11]
There are four possible routes for the SEA 1000 project to take, in order of increasing complexity and risk:[3][8]
Designs considered for the two MOTS routes include the Spanish S-80 class, the French-Spanish designed Scorpène class, the German-designed Type 214, and Japan's Sลryลซ class.[3] Scaled-up proposals of the S-80 and Scorpène classes, as well as the Type 216 (an enlarged version of the Type 214) have been offered by the respective designs' parent companies as possibilities for modification.[3] An updated version of the Collins class design is also being looked at: the original submarine was designed for the RAN's unique operating environment, and replacing or fixing the issues that affected the original submarines while updating equipment and systems would result in a design that meets the white paper requirements.[3] SEA 1000 will most likely follow the 'modified MOTS' or 'evolution' path.[3] No existing MOTS submarine design meets the RAN's desired capabilities, or would successfully operate in the warm seas and huge transit distances of Australian service.[3][11][12] MOTS submarines were initially ruled out by the project in March 2011, but were put back on the table in December 2011.[13] At the other end of the scale, designing a submarine from first principles is considered incredibly risky.[3][11]
The Australian government has rejected nuclear propulsion.[3] Reasons for the rejection include the lack of a nuclear power industry and the related infrastructure and regulatory guidelines (Australia would be the only non-nuclear nation to operate nuclear submarines), as well as public opposition to nuclear technology.[11][3][14] Defence commentators have suggested that the United States Navy's Virginia class nuclear-powered submarines would fit the outline given in the white paper.[3] Other options include exploring the air-independent propulsion of the Sลryลซ-class submarines as part of a 2012 weapons technology swap deal between Australia and Japan.[15]
ถามอย่างเถอะ MOTS = militarry off the shelf มันคืออะไร งง
แต่เราอาจจะอดเพราะเงื่อนไขที่ว่า ''ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง'' ต่อด้วยถ้าไม่มีความขัดแย้งแล้วก็คงจะอดซื้อเรือและรถถังเพราะ ''เน้นการผลิตและส่งออกยุทโธปกรณ์ที่มิใช่เพื่อการสังหาร (non-lethal) เช่น เรือลาดตระเวน และเครื่องตรวจจับทุ่นระเบิด เป็นต้น และยังไม่มีแผนที่จะผลิตหรือส่งออกอาวุธจำพวกรถถังหรือเครื่องบินขับไล่''
ตามที่ท่าน KwangKDJ บอกว่าประเทศเราอาจจะอด เนื่องจาก "ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง" ผมว่าเหตุผลนี้ดูแล้วฟังไม่ค่อยขึ้น
ซึ่งญี่ปุ่นมองมาที่ตลาดเอเซียอยู่แล้วและคงเน้นความสัมพันธ์กับอาเซี่ยนเพื่อคานอำนาจจีน เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าหลายประเทศในอาเซี่ยน
มีข้อพิพาทกับจีน ญี่ปุ่นก็มองประเทศในอาเซี่ยนว่าอาจได้เป็นลูกค้ารายแรกๆ เช่น อินโดฯ ฟิลิปปินส์ ผมจึงมองว่าจะเอาข้ออ้างอันนี้มากักไม่ให้ประเทศเราซื้ออาวุธจากญี่ปุ่นคงไม่ได้
ถ้าอย่างนั้นผมขออ้างข้อความท่อนนี้แล้กันคับ "การจำหน่ายอาวุธก็จะต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพสากล และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของญี่ปุ่นเอง" ซึ่งผมมองว่าอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในไทยมีอยู่ไม่น้อย ญี่ปุ่นเขาต้องเห็นความสำคัญนี้ที่จะขายอาวุธให้กับเรา
เอา sam ของพี่ยุ่นมาเสนอครับ น่าจะแพงพอตัว 5555 Type3 Chu-sam
Type 3 Chลซ-SAM
แพทริอ็อต เวอร์ชั่นญี่ปุ่น
ผมเห็นด้วยกับท่านแก้วมุสิ นะครับ และเราเป็นฐานการผลิตที่สำคัญมากๆของญี่ปุ่น และมีความสัมพันธ์ทางทหารกันมานานมาก ถึงขนาดบีบให้เราเลือกข้างแล้วเราก็เลือกเขา (แม้ไม่เต็มใจ) นอกจากนี้ เรือ ดำน้ำดีเซล รถถัง มันเป็นอะไรที่ไม่ได้แย่งตลาดอเมริกาเลย เปิดขายเต็มที่เมื่อไหร่ อาจจะมีอาวุธญี่ปุ่นในประเทศไทยไม่น้อยนะครับ
ผมมองว่าถ้าเราจะซื้อของญี่ปุ่นนะ นอกจากเรือรบ นอกนั้นคงได้แค่ของมือสอง เพราะ ของมืนหนึ่งมันแพงมาก ญี่ปุนทำอะไรไม่เคยถูก เขาไม่ได้ต้องการให้มันถูก แต่ต้องการแค่ทำในประเทศ แพงแค่ไหนก็ไม่สน อาวุธบางอย่างที่ญี่ปุ่นซื้อของอเมริกามาผลิตเองในประเทศแพงกว่าทำในอเมริกาซะอีก
ของญี่ปุ่นแพงเว่อร์จริงๆแต่ถ้าเปิดตลาดราคาก็อาจจะลดได้
ส่วนที่ญี่ปุ่นบอกว่าขายแต่ของที่ไม่ได้เอาไว้ไล่ฆ่าใครผมว่าตอนเริ่มก็ต้องอย่างนี้แหละครับ
เดี๋ยวตอนหลังก็ค่อยๆเปลี่ยนเอง ทำเนียนๆ
เอาจริงๆ ผมยังมองไม่ค่อยออกนะว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกอาวุธของญี่ปุ่นสักเท่าไรเชียว ของแพงกว่าเมกายุโรปอีก อย่างเก่งก็กดราคาให้สูสีแต่ถูกกว่าคงไม่มี นอกจากนั้นการที่เราไปซี้กับทหารญีปุ่นมากจีนคงไม่พอใจ หลายๆ โครงการเราก็ได้รับความช่วยเหลือจากจีนแท้ๆ ไม่รู้จะกระทบหรือเปล่า
ประเทศที่ขายของมือสองราคาถูก ก็ต้อง เยอรมัน เลยครับ...
เราไปรอรับได้เลย รับรองได้ของถูกแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน เอลฟ่าเจ็ท leo เรือดำน้ำ
ขายถูกเว่อร์ เลยละ ขนาดถูกอย่างน้ัน ยังมีคนถามอีกว่า จะคุ้มม้ัย ไม่รู้ใช้หัวหรือตูดคิด เครื่องบินขับไล่ขายลำละ 1 ล้านเหรียญ มันบอกว่าจะคุ้มหรอ เรือดำน้ำ 7 ลำ 7700 ล้าน มันบอกว่าจะคุ้มหรอ leopard ตกคันละ ไม่ถึง 60 ล้านบาท จะคุ้มหรอ
ถ้าชอบของถูกและดี ไปรอรับจากเยอรมันเลยครับ...คุ้มแน่นอน
ผมชอบที่ท่าน Skysky ว่าไว้คือ ญี่ปุ่น ไม่ได้ต้องการของถูก แต่ต้องการผลิตเองในประเทศมากเลยครับ แม้ของนั้นจะแพงกว่าที่ซื้อจากต่างชาติ ในช่วงต้นๆด้วย ผมไม่คิดว่ายุ่นเขลานะครับ ที่ซื้อของแพงกว่าแต่ผลิตเองได้ แต่ที่สงสัยคือทำไมเขาถึงมุ่นมั่นขนาดนั้น และไม่ใช่ยุ่นที่คิดแบบนั้น จีน เกาหลีใต้ ก็คิดแบบนั้น ประเทศเหล่านี้เลยมีสินค้าที่ผลิตเองแทบทุกชนิด และเจริญอย่างรวดเร็วครับ ผมไม่ขอโม้ต่อแล้วครับ เอารูปภาพมาฝาก ทำเองครับ ถูกผิดช่วยกันดูที :-D
การซื้อสินค้าไทย
ผมไม่เห็นด้วยมราว่าอเมริกา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ญี่ปุ้นไม่หมด หรือ กัก ครับ อย่างเทคโนโลยีปีกเครื่องบิน F 22 อเมริกาก็ไม่ได้คิดเอง ญี่ปุ่นเป็นคนคิด เทงโก้ฉบับเก่าๆไปหาอ่านได้เลย ไนเว็บก็มี คนอย่างญี่ปุ่นผมไม่เชื่อเรื่องที่ว่าญี่ปุ่นไม่ได้สร้างเรือดำน้ำมานานเทคโนโลยีต่างๆไม่ทันเกาหลีหรืออเมริกา แต่ความคิดผมคือ ผมว่าญี่ปุ่นคิดและพัฒนามาตรอดเพียงแต่ไม่ได้สร้างช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
เรื่องญี่ปุ่นอินเวนท์เทคโนโลยีปีกเอฟ22 นี่ความรู้ใหม่นะเนี่ย ผมพูดตามตรงว่าหาอ่านตามเว็บไม่เจอครับ
วานคุณ rylnet หาลิงค์ให้อ่านหน่อยครับ
เรื่องเทคโนโลยี่ผมว่าไม่ใช่แค่ความซับซ้อนที่สำคัญ แต่อยู่ที่ทิศทางว่าจะไปทางไหนด้วย คนที่หลุดวงโคจรไปการจะโดดกลับเข้ามาในสนามแล้วเท่าคนอื่นมันเป็นไปไม่ได้ เพราะสมัยนี้กับสมัยนั้นมันต่างกัน ถ้าพัฒนาของตัวเองเงียบๆไปคนเดียว สิบปีต่อมามาเจอกันนี่คนละแนวเลย
เรือดำน้ำชั้น Soryu ของญี่ปุ่นมีแผนการผลิตแล้ว 22 ลำ จึงทำให้ราคาลงมาแค่ไม่ถึง 17,000 ล้านบาทต่อลำ ทั้งๆที่ผลิตในญี่ปุ่น เพราะมีจำนวนการผลิตสูงครับ 22 ลำสำหรับเรือดำน้ำนี่เยอะมากนะครับ
ทางเกาหลีใต้ เรือขนาด 4000 ตันในภาพ ยังไม่มีการผลิตเลย และไม่รู้ว่าเมื่อเริ่มผลิต จะมีแผนการผลิตกี่ลำ น่าจะน้อยกว่า 22 ลำ ดังนั้นราคาก็ไม่น่าจะถูกกว่าของญี่ปุ่นชั้น soryu หรอกครับ ยกเว้นจะหายอดการผลิตได้เกิน 20 ลำขึ้นน่ะแหล่ะ ต่อให้ต้นทุนการผลิตของเกาหลีต่ำกว่าญี่ปุ่นก็เถอะ
อย่างเรือชั้น DW-1400T ถ้าเราสั่งต่อ 2-4 ลำ ผมรับประกันว่าราคาน่าจะอยู่ในช่วง 12,000 -13,000 ล้านบาท เพราะยังขายใครไม่ได้ โดยระวางเต็มที่ก็แค่ 1600 - 1700 ตันเท่านั้น ดังนั้น 4000 ตันของเกาหลีก็น่าจะประมาณเกือบ 20,000 ล้านบาทต่อลำแน่แท้ครับ
สรุป Soryu class submarine ราคา 540 ล้านเหรียญ หรือไม่เกิน 17,000 ล้านบาท ถือว่าถูกมากแล้วครับ เมื่อเทียบกับคุณภาพเรือ
ขอบคุณ ข้อมูลเพิ่มเติมจาก คุณ นีโอ คับ ถ้าราคาและคุณภาพของเรือออกมาแนวนี้ผมมองว่าคงเป็นที่สนใจของ กองทัพเรือ ไม่น้อยไปกว่า เรือจากเกาหลีใต้ อีกอย่าเรือชั้นนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ออสเตรเลีย ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ Soryu Class มากขึ้นด้วย
ณ วัันนี้ผมคงดีใจถ้ากองทัพเรือส่งนักเรียนไปฝึกศึกษากับเรือ ชั้นนี้ที่ญี่ปุ่น อย่างน้อยเพื่อเพิ่มตัวเลือกในการตัดสินใจ ในการจัดหาเรือดำน้ำต่อไป เพราะผมเชื่อว่าทุกครั้งที่เราส่งคนไปฝึก ทั้งที่ เยอร์มันและเกาหลีใต้ก็ดี น่าจะมีการประเมิณเรื่องของเรือด้วย ผมจึงอยากให้ ทร.ไทยส่งนักเรียนไปฝึกกับญีปุ่นดู