จากการอ่านการสนทนากันใน TAF จะเห็นว่ามีการเปรียบเทียบแบบเรือ DW-3000H ของทร.ไทยเรากับ FFX batch-2 ของเกาหลีซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกันมาก แต่ทางเกาหลีแก้ไขแบบจนสามารถใช้พื้นที่ดาดฟ้ายกให้ดีกว่าพอควรทีเดียว เพราะแบบเรือทั้งสองใกล้กันมาก (ผมว่าเรือเรามันออกแบบจาก FFX มากกว่าแล้วมั๊ง) โดยการหดสะพานเดินเรือแหลมๆแบบของเราให้ป้านลงแบบเรือชั้นนเรศวรของเรา ผลที่ได้ ได้พื้นที่ดาดฟ้ายกมาเพียบครับดังรูป
รูปแรก DW-3000H ของเรา
รูป2 - 3 FFX batch 2 ของเขา
เรือทั้งสองมีขนาดใกล้กันมาก แบบรายละเอียดโดยรวมเหมือนกันมากทีเดียวในตำแหน่งอุปกรณ์สำคัญๆ
DW-3000H ยาว 123 m กว้าง 14.4 m ระวาง 3700 ตัน
FFX batch 2 ยาว 122 m เศษ กว้าง 14.2 m ระวาง 3650 ตัน
เรียกว่าพี่น้องกันเลยล่ะครับ
ผมก็ลองทำการตัดแปะภาพของเรือ FFX batch-2 ของเกาหลีดู เออมันมีพื้นที่เหลือเชื่อจริงๆดังรูปครับ
รูปแรก โมเดลต้นแบบ
รูปสอง ลองตัดแปะ VLS ดู พื้นที่ขนาดนี้ติดตั้งได้ถึง 48 cell เลยทีเดียว!
รูปสาม ลองตัดแปะให้มี K-VLS 32 cell จะพบว่า มีพื้นที่ว่างพอที่จะติดตั้ง ฟาลังก์อีกตัวติดกับสะพานเดินเรือ และมีมุมการยิงน่าจะเกิน 100 องศานะ
เรือ FFX batch-2 นั้นมีสะพานที่เล็กกว่าเรือของเรา และมีเสากระโดงหลักที่หนากว่าของ FFX batch พอสมควร ก็เป็นตัวบ่งบอกว่ามีไว้เพื่อติดตั้ง Fixed Phased array radar ในวันข้างหน้า นอกจากนี้ตรงสะพานดันทำเป็นแหลมๆยื่นออกมากกินพื้นที่ดาดฟ้ายกเป็นอย่างมาก
FFX ติดตั้งปืนใหญ่ 127 mm ในขณะที่เรือของไทยเราติดแค่ 76 mm เท่านั้น
ผมลองเอาภาพต้นแบบบริเวณดาดฟ้าเรือเรามาทำการตัดแปะเติม VLS Mk-41 จำนวน 32 cell โดยตัด ฟาลังก์ออกไป เพราะคิดว่าในอนาคตถ้าทร.หาเงินได้ ก็คง upgrade แบบนี้ล่ะ แล้วเอาฟาลังก์ไปไว้อทน ceros 200 ติดตั้ง CEA mount/FAR ลงไปแทนยีราฟทะเล
เรือ FFX batch-2 นั้นมีสะพานที่เล็กกว่าเรือของเรา และเรือ DW-3000H ของเรามีเสากระโดงหลักที่หนากว่าของ FFX batch พอสมควร ก็เป็นตัวบ่งบอกว่ามีไว้เพื่อติดตั้ง Fixed Phased array radar ในวันข้างหน้า นอกจากนี้ตรงสะพานดันทำเป็นแหลมๆยื่นออกมากกินพื้นที่ดาดฟ้ายกเป็นอย่างมาก
FFX ติดตั้งปืนใหญ่ 127 mm ในขณะที่เรือของไทยเราติดแค่ 76 mm เท่านั้น
ผมลองเอาภาพต้นแบบบริเวณดาดฟ้าเรือเรามาทำการตัดแปะเติม VLS Mk-41 จำนวน 32 cell โดยตัด ฟาลังก์ออกไป เพราะคิดว่าในอนาคตถ้าทร.หาเงินได้ ก็คง upgrade แบบนี้ล่ะ แล้วเอาฟาลังก์ไปไว้อทน ceros 200 ติดตั้ง CEA mount/FAR ลงไปแทนยีราฟทะเล
รูปต่อมาลองขยายเป็น 40 cell เลย เพราะเห็นพื้นที่ระหว่างดาดฟ้ายกกับปืน 76 mm มันมีที่ว่างเหลือเยอะจัดเกินไป
ปล. ผมลงซ้ำไป 1 อันครับ รบกวนแอดมินช่วยลบอันบนที่ซ้ำทีหนึ่งด้วยนะครับ
แต่เมื่อลองตัดต่อภาพ โดยหดสะพานเดินเรือของเราจากแบบแหลมเพื่อสเคลธ์มาก มาเป็นป้านๆแบบ FFX batch 2 ดู พบว่ามันสามารถยัด VLS 32 cell และ ฟาลังก์ลงไปได้ด้วยเช่นกันครับ
FFX batch 2 จะด้อยกว่าเรือของเราตรงที่ไม่มีการติดโซน่าร์ลากท้าย และ 3D LRR แบบของเรามาด้วย จึงทำให้ราคาลดลงมาแค่ 308 ล้านเหรียญเท่านั้น นอกจากนี้ยังใช้ระบบตรวจจับแบบต่างๆและ K-VLs ที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ( Sumsung thales ทั้งนั้น) แถมมี 16 cell ราคาเฉียดๆ 10,000 ล้านบาท และมีพื้นสำหรับการ upgrade เพียบ ผมว่าเรือลำนี้น่าสนใจมากๆเลยครับ ทั้ง DW-3000H และ FFX batch 2
แต่ตกใจที่ ACTAS และ โซน่ร์หัวเรือ และ เซตอของ ASW suit ทั้งชุดจากเยอรมัน ประมาณราคาแบบเดาๆได้ว่าน่าจะไม่น้อยกว่า 100 ล้านเหรียญทีเดียวสำหรับ ASW ทั้งชุดจากเยอรมัน ซี๊ดดดดด................แพงโคตร
ผมว่า ทร.พลาดตรงที่ตั้งความหวังไว้กับ SAAB สำหรับให้ได้ Link-T และ CEA มากไปจนต้องจ่ายแพงไปหน่อยหรือเปล่าครับ เพราะเรือชั้นนี้ถ้าจะต้อง upgrade เพื่อให้เป็น AAW frigate เต็มตัวแล้ว ผมว่าต้องจ่ายอีกไม่น้อยกว่า 5000 ล้านบาทเพื่อติดตั้งทั้งเรด้าร์ CEA MOUNT/FAR ที่ราคาไม่น้อยกว่า 80 ล้านเหรียญ และยังต้องจัดหา VLS 32 cell มาใส่ทดแทนของเก่าด้วย จะทำให้ราคารวมแพงกระโดดขึ้นไปถึง 18,000 ล้านบาทต่อสำได้เมื่อต้อง upgrade สองลำก็ 36,000 ล้านบาททีเดียวนะครับ
ผมว่า ทร. น่าจะหยุดต่อเรือ DW-3000H ที่ใช้ระบบของ SAAB + CEA ไว้ที่แค่ 2 ลำนี้ดีไหมครับ แล้วลำต่อๆไปถ้าจะต่อก็อาจจะดัดแปลงแบบให้ใกล้เคียง FFX batch 2 ให้มากที่สุด แล้วติดอุปกรณืต่างๆของเกาหลี ทั้ง K-VLS และระบบ ของ Sumsung thales ทั้งระบบ เพื่อให้ราคาถูกพอๆกับ FFX batch 2 หรืออาจติดตั้ง CAPTAS แทน ACTAS ใช้ ASW suit ของ Thales ทั้งหมดไป ผมว่าราคาน่าจะไม่เกิน 12,000 ล้านบาทนะต่อลำนะครับ แถมได้ 16 cell ด้วย มีทั้ง K-ASROC ด้วย ทำภาระกิจ ASW ได้สมบูรณ์แบบทีเดียว และอาจจะติดตั้งระบบ Land attack เพิ่มวันข้างหน้าได้ครับ
ASW suit จากเยอรมันนี่ราคามันโหดดีนะครับ ส่วนต่างราคาเรือ DW-3000H ของเรากับ FFX batch 2 ก็น่าจะมาจากตรงนี้เป็นหลักเลย และก็น่าจะมาจากค่า 3D LRR ที่เพิ่มเข้ามา และค่า R&D ระบบ SAAB น่ะล่ะ
วัตถุประสงค์ของท่านนีโอคือเพิ่มจำนวนท่อVLSให้มากที่สุดเพื่อใช้เป็นเรือฟริเกตต่อสู้อากาศยาน แต่วัตถุประสงค์ของกองทัพเรือคือใช้เป็นเรือฟริเกตอเนกประสงค์มันต่างกันตรงนี้แหละครับ
เรือเราติดมา8VLSซึ่งทุกคนก็บอกว่าน้อยเกินไป เพียงแต่ทร.ระบุเองว่ามีเตรียมพื้นที่เพิ่มเติมVLSไว้แล้วและเรือรองรับSM-2ในอนาคต ว่ากันตรงๆก็คงเป็นไปไม่ได้หรอกครับที่จะแก้แบบเรือในลำแรกนี้(ลำที่2ก็คงเหมือนกันถ้ามีนะ) เรือของเราหน้าตาอาจจะเพี้ยนจากในรูปไปบ้างแต่พื้นที่ติดVLSก็คงเท่าเดิม
โดยส่วนตัวถ้าได้เรือKDX-II แปลงร่างหดลงผมจะฝันถึง32VLSแบบสบายๆ แต่เป็นKDX-Iแปลงกาย16VLSก็โอแล้ว เพียงแต่ว่าถ้าเห็นชัดๆว่าพื้นที่ติดตั้งเพิ่มอยู่ตรงไหนจะสบายใจมากกว่านี้ แต่กว่าจะรู้ก็คงอีกนานมากถึงตอนนั้นอาจลืมไปแล้วก็ได้
กองทัพเราจัดอะไรแต่ละอย่าง บอกตรงๆขัดใจไปหมด ไม่เคยทำไห้สบายใจอะไรซักอย่าง เรือลำไหม่ของเราตอนแรกที่เห็นรูปทรงมัน เอ่ม... เอาง่ายๆเลยนะเรือหลวงนเรศรวส ประจำการมาเป็น 10ปีและ ผมว่าทรงมันยังล้ำกว่าเรือลำไหม่ของเราเสียอีก ผมสงสัยทร.เราตอนเห็นรูปทรงมันครั้งแรกไม่สะกิดใจอะไรบ้างเหรอ
ใน TAF เห็นจุดชนวนในเรื่องที่แบบเรือทั้งสองใกล้เคียงกันมากๆครับ แต่เกาหลีออกแบบพื้นที่ใช้งานตรงดาดฟ้ายกได้ดีกว่า และการต่อเรือชั้นนี้ยังไม่มีการลงมือดำเนินการแต่อย่างใด รวมทั้งรายละเอียดที่ออกเป็นโมเดลของตัวเรือนั้นยังไม่ครบถ้วนเหมือน FFX batch 2 เลยครับ ดังนั้นแผนแบบอาจจะมีการดิ้นได้ว่าง่ายๆ ที่ TAF เขาคุยกันแบบนี้นะ
ดังนั้นเมื่อรวมกับวัตถุประสงค์การต่อเรือ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ากองทัพจะเอายัง เพราะงบในการจัดหาครั้งแรกจะเป็น AAW frigate แต่แห้วทั้ง MEKO-A-200 และ KDX-2
ต่อมาเกิดอยากได้ฟรีเกตอเนกประสงค์ ก็ได้ DW-3000H + I-MAST ราคา 10,000 ล้าน เออน่าเล่น ถึงเป็นเสา I-MAST 400 ก็ OK. และดูเหมือนว่ามีพื้นที่สำหรับติดตั้ง FCS กำลังสูงๆเจ๋งๆดีๆ แต่มีที่ติดตตั้ง VLS แค่ 8 cell เอง งง
มาคราวนี้พอเรือดำน้ำคุกคามหนัก ก็เปลี่ยนใจมาเป็น ASW frigate เป็นหลัก ลงทุนในระบบ ASW suit แบบใจหายจริงๆครับ และมีการเตรียมพื้นที่กันมาเผื่อไว้เลยว่า ฉันอาจจะติดตั้ง VLS เพิ่มขึ้นนะ และเสาเรด้าร์ก็อย่างหนาบึกบึนแแบบว่าเกิดเปลี่ยนใจติด Fixed phased array เมื่อไหร่ก็ได้
การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทั้ง 3 ครั้ง ดูแล้วก็ยะงมีจุดร่วมตัวหนึ่ง คือ หวังว่าจะสามารถ upgrade ให้ได้ AAW frigate ที่เป็นความตั้งใจแรกเริ่มมาโดยตลอดครับ โดยเฉพาะเรือชุดนี้แสดงความชัดเจนมากกว่า DW-3000H + I-MAST ซะอีก
ดังนั้นการกำหนดแบบเรือชุดนี้ของทร.เหมือนยังกะว่าซ่อนความต้องการ AAW frigate เอาไว้เสมอ
ดังนั้นเมื่อมีแบบเรือที่ใกล้กันมากๆ เรียกว่าพี่น้องเลยล่ะ แล้วเห็นว่าทางนั้นออกแบบพื้นดาดฟ้ายกได้ดีกว่า และเรือก็ยังไม่ได้ลงเมือต่อเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ครับ
รูปกรณีมีการแก้แบบดาดฟ้ายกและสะพานให้ใกล้เคียง FFX batch 2 มากที่สุด ก็น่าจะสามารถติดตั้ง VLS ได้มากที่สุดเท่าๆกัน คือ 48 cell เลยทีเดียว
อีกอย่าง ผมไม่อยากเห็นกองทัพเรือต่อเรือมากแบบเกินไป ชุดละ 2 -3 ลำ ที่แตกต่างกันมากๆ ผมเห็นว่าการลงทุนแบบสิงคโปร์ที่มีเรือชั้นเดียวกันจำนวนหลายๆลำ น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับ ทร. มากกว่าครับ และการที่เรือ DW-3000H กับ FFX batch 2 มีพื้นที่ว่างสำหรับเลือกการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆกันตามความต้องการ ทำให้ทร.ต่อเรือฟรีเกตแบบเดียวกันทั้งหมด แต่ต่างภาระกิจได้ เช่น AAW ASW land attack เรือฟรีเกตอเนกประสงค์
ทำให้นึกถึงแนวคิด FSC concept และ type 054A และ type 054C ที่เป็นตัวเรือแบบเดียวกัน แต่เรือมีความอ่อนตัวในการติดตั้งระบบต่างกันไปได้ตามแต่ภาระกิจ โดยใช้เรือแบบเดียวเท่านั้นครับ เป็นการลดแบบเรือของ ทร. ลงไปได้มาก
ภาพ type 057 ที่จะมาเป็น AAW frigate ต่อจาก type 054A/054C ที่เป็น เรืออเนกประสงค์และ ASW
ดูจากภาพแล้ว type 057 น่าจะเป็นเรือที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น type 054A โดยมีการขยายแบบใหญ่ใหญ่ขึ้นเป็น 4500 ตันและมีถึง 64 cell ตำแหน่ง 32 cell ชุดที่สองจะอยู่ที่เดียวกับ type 054C ตัวเดิม(แต่รุ่นนั้นติดตั้ง 16 cell) ผมจึงเดาว่า type 054C อาจจะทำการยกเลิกการต่อเรือ แล้วไปเลือกแบบ type 057 เป็นตัวยืนสำหรับภาระกิจ ASW เพราะ 057 มีโซน่าร์ลากท้ายด้วย
จะเห็นว่า type 057 มีจุดอ่อนตัวในการเปลี่ยนภาระกิจเรือมากทีเดียว
และที่ผมมั่นใจว่าจุดประสงค์ในตอนจบสำหรับทร.ต้องการให้มันเป็น AAW frigate ก็เพราะมี LRR 3D เรด้าร์รุ่นใหม่ล่าสุด ระยะตรวจจับ 350 Km. ซึ่งราคาต้องพอดูเลย ถ้าจะซื้อเรือชั้นนี้มาเพื่อเป็น ASW frigate เพียวๆและไม่คิดปรับปรุงอะไรอีก ผมว่า ทร. คงไม่เอา LRR 3D ตัวนี้มาติดหรอกครับ สู้เอาเงินสำหรับ LRR 3D ไปติดตั้ง VLS 16 cell และจัดหาเรด้าร์อำนวยการรบแบบ giraffe 4A มาแทน sea giraffe จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่โดนบ่นการะจายแบบนี้ครับ
แหมกำหนดมาชัดเลยว่าต้องมี LRR 3D และสนใจจะใช้ SM-2 ออกซะขนาดนั้น
ตัดแปะรูป 32 cell และมี CEA MOUNT/FAR มาให้เรียบร้อย ว่าแต่ตอนพยายามจะเอาฟาลังก์ไปแปะทับ CEROS 200 ถึงได้รู้ว่าพื้นที่ตรงนั้น พอดีสำหรับฟาลังก์เป๊ะแบบกระดิกไปใช้แบบอื่นที่ไม่ใช่ฟาลังก์ไม่ได้เลย แบบว่าถ้าเป็น โกลคีปเปอร์นี่หมดสิทธิ์ครับ พื้นที่จะไม่พอ แท่นยิง RAM mk-31 ก็หมดสิทธิ์ sea RAM ก็ไม่ได้ เพราะกระแสเจ็ตท้ายแท่นยิงจะไปทำความเสียหายให้ SATCOM
เวปลิ้งค์ของ TAF ตรงท่อนที่คุยกันเรื่องนี้ครับ http://thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=6&t=1025&start=2730
ทั่นนีโอฯฉกเรือมาจากตู้โชว์เลยเปล่านั่น
ฮ่าๆ ยังตามลุ้นตามเชียร์ ceamount เหมือนเดิมนะทั่น
ทั่นนีโอฯฉกเรือมาจากตู้โชว์เลยเปล่านั่น
ฮ่าๆ ยังตามลุ้นตามเชียร์ ceamount เหมือนเดิมนะทั่น
โดยส่วนตัวถ้าซัก30ปีก่อนมีเรือติดSM-1ผมก็พออนุมานว่าเป็นเรือAAWได้อยู่นะ แต่ปัจจุบันเรือติดSM-2อย่างKDX-IIเจ้าของยังบอกเองว่าเป็นเรือฟริเกตเนกประสงค์เลย ในสมัยก่อนเราเคยมีโครงการเรือAAWเพราะตอนนั้นอู้ฟู่ถึงขนาดหวังเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่2ด้วยซ้ำ แต่ถึงนาทีนี้ผมไม่คิดว่าในแถบอาเซียนจะมีประเทศไหนซื้อเรือฟริเกตAAWแท้ๆเข้ามาประจำการหรอกรวมทั้งไทยแลนด์ด้วย เรือของเราถ้าติดSM-2ผมก็มองว่าเป็นเรือฟริเกตอเนกประสงค์ที่สามารถยิงจรวดSAMระยะปานกลางได้เท่านั้นเอง คงไม่สามารถตรวจจับเป้าหมายจำนวนมากทั้งเครื่องบินและจรวดแล้วยิง8เป้าหมายในเวลาไล่ๆกันได้แน่
อย่างเรือท่านนีโอติด32 VLS กับ CEAFAR แต่ไม่ยักกะมีECM Suiteเลย(ขณะที่ของจีนและเกาหลีโด่มาเชียว) เรือจริงๆของเราเมื่อไม่มีมาตั้งแต่ทีแรกแม้จะติดเพิ่มได้ก็ตามแต่ผมว่าโอกาสน้อยมาก เพราะทุกคนจะมองเป็นความสำคัญลำดับรองๆไปเอาเงินไปซื้ออาวุธดีกว่า
ความเห็นส่วนตัวก็คือให้ทร.จัดหาอาวุธต่างๆทีต้องการจนครบครันไปเถอะ ถ้าในอนาคตมีความจำเป็นต้องมีเรือฟริเกตAAWจริงๆก็ไปซื้อเรือAAWจริงๆมาใช้งานดีกว่าอย่างเรือF-100ของสเปนนี่ก็ได้ แว่วๆว่าอเมริกาสนใจนำแบบเรือมาดัดแปลงเพื่อประจำการแทนเรือLCS 32ลำที่ถูกยกเลิกไป จะเชียร์เรืออิตาลีก็ดันใช้คนหละระบบกับเราอีก เหอๆ
ผมว่าอเมริกาไม่เอาเรือสเปนมาเป็นแบบอะไรหรอกครับ
เพราะโครงการ lcs ไม่ได้ยกเลิก แค่ลดยอดจัดซื้อ จาก 50 ลำเหลือ 32 เพราะถังแตก
ซึ่งถ้าจะไปเอาเรือสเปนมาเพิ่มก็ทำไมไม่ต่อ lcs เพิ่มล่ะ ถ้างั้น
แจ้งข่าวท่านนีโอนิดหนึ่งครับ เรือฟริเกตสมรรถนะสุงของเราล่าสุดแก้แบบภายในอยู่ แต่จะแก้ตรงไหนยังไงบ้างคุณพัทธนันท์เธอบอกจะถามผบ.ทร.ให้อีกที ส่วนเรืออเมริกาช่างมันเถอะอย่าไปสนใจเลย ผมแค่ยกตัวอย่างเฉยๆเปลืองพื้นที่กระทู้นี้เปล่าๆ
ถูกต้องแล้วคร๊าบบบท่านเตย ขโมยมาจากตู้แล้วมาตัดแปะ 555555
สำหรับผมชอบ Thales ที่สุดครับ แต่เผอิญเห็นคนของทร.เขาท่าทางจะชอบชุด combo จาก SAAB + CEA มากน่ะ
ถ้า ทร. จะจัดหา ASW frigate เพียวๆโดยไม่ปรับปรุงอะไรอีก ผมเชียร์ชุด Thales ดังนี้ครับ
CMS TACTICOS
NS-100 radar เป็น daul axis รอบหมุน 30 รอบต่อวินาที ก็ได้ update rate 60 รอบต่อวินาที แถมมี CWI โมดูลครบ ระยะตรวจจับ 200 กว่ากิโล ไม่ต้องมี LRR 3D เพิ่มมาอีกตัวให้เปลือง
1.2 EO FCR
NS ICMS + CAPTAS + โซน่าร์หัวเรือแบบที่เหมาะสม (ไม่รู้รุ่น 5555)
VLS 16 cell ยิง ASROC หรือ K-ASROC ได้ และยิง ESSM ได้
ฟาลังก์ ท้ายเรือ และ 76 mm STRALES หัวเรือ จะได้มี CIWs ครบทั้งหน้าเรือ ท้ายเรือ
ECM ก็ตัวเดียวกับ FFX batch2 น่ะล่ะ (จำชื่อรหัสรุ่นไม่ได้แย้ว)
ราคาคงไม่หนี 12,000-13,000 ล้านบาทที่เราจ่ายไปล่ะครับ แบบนี้จบ ไม่โดนด่าด้วย ไม่ต้องปรับปรุงอะไรอีก แบบเรือ DW-3000H แบบเดิม
ขอบคุณมากครับท่าน superboy สำหรับข่าว ก็เป็นอันว่า ทร. คงยึดแบบที่เราเห็นเป็นหลักล่ะนะ แสดงว่า upgrade เต็มที่ก็ 32 cell เป็นพอแล้วสำหรับ ทร. แค่นี้ก็หรูที่สุดในอาเซี่ยนแล้วครับ
โห สเปกที่ท่าน superboy เสนอสำหรับ AAW frigate น่ะ ระดับเรือพิฆาตแล้วนะครับ ถ้าอย่างนั้นก็ต้อง KDDX หรือ KDX-2A เดิมน่ะครับ งานนี้ IM-500 มีแปลงโฉมไม่เหมือนเดิม พี่ล่อ APAR มาแทน X-band เดิมเลย ราคาเกิน 100 ล้านเหรียญต่อระบบชัวร์ และมันทั้งใหญ่ทั้งหนักด้วย เรือคงต้องขนาด 5000 - 6000 ตัน ราคาเรือสงสัยเกิน 25,000 ล้านบาทชัวร์ครับ
อ้าววว.....ภาพ KDDX ไม่มา ลองใหม่
สำหรับ AAW frigate นั้น
combo คู่แข่งของ SAAB + CEA ผมเสนอของ Thales ทั้งชุด คือ TACTICOS + SEAPAR น่ะครับ แต่คงต้องติดตั้ง LRR 3D เหมือนกันครับ แบบเรือเดิม DW-3000H หรือจะแก้แบบเรือให้ใกล้เคียง FFX batch 2 ตรงดาดฟ้ายกและสะพานก้ได้
รับรองว่าประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าชุดของ SAAB + CEA แน่ๆ และมีใบรับรองการันตีไม่ให้ถูกด่าด้วยน่ะ
ภาพ KDDX ยังไม่มีอีก สงสัยจะใหญ่ไป คราวนี้ลองตัดให้เล็กลง
ถ้ามีโอกาสเดี๋ยวจะสร้างภาพ SEAPAR มาแปะแทน MOUNT/FAR ดูครับ 32 cell เหมือนเดิม
ที่ผมอยากให้ ทร. แก้แบบดาดฟ้ายกและสะพานในเรือลำที่ 3 4 5......เพราะเราสามารถติดตั้งท่อยิงแบบ RBS-15 mk4 ได้ 16 ท่อยิงคู่กับ VLS 16 cell ได้ สำหรับภาระกิจ land attack หรือติดตั้ง K-VLS 32 cell แล้วร้องขอซื้อ Hyunmoo 3 ได้ หรือ พัฒนา DTI-1G รุ่นใช้งานทางทะเลแล้วมาติดตั้งที่ดาดฟ้ายกนี้ได้
ปล. ผมว่าไอ้ MFR s-band ของ IM-500 เดี๋ยวมีขายแยกออกมาแข่งกับของ SAAB แน่นอน และน่าจะมีระยะตรวจจับไม่น้อยกว่า 350 km เพราะ IM-500 ล่ะ APAR ก็แสดงว่าระยะตรวจจับของ s-band MFR ตัวนี้เกือบเท่า smart-L เลยทีเดียว
ปล.2 สะพาน KDDX หน้าแหลมๆแบบเรือของเรา ผมว่าแล้วคนของทร.คงไปช่วยการออกแบบ concept idea ให้เขาแน่นอน แล้วพี่ก็เอา concept นี้มาใช้ชัวร์
เอ้าเจอภาพ FFX batch2 ภาพนี้น่าจะเป็นโมเดลก่อนทำการแก้ดาดฟ้ายกและสะพาน หน้าตาเหมือนเรือเราเปี๊ยบ เพียงแต่ฟาลังก์ไปอยู่ด้านหลัง เอออย่างนี้การแก้แบบไม่น่าจะเป็นเรื่องยากอะไรเลย
นี่เท่ากับว่าเราต่อเรือ FFX batch2 เลยนะนี่ ลูกค้ารายแรก...............นี่ถ้าคนของทร.ไปทำการช่วยออกแบบหรือทำ concept idea ให้ทางเขาจริงๆ .......... มิเท่ากับว่าเราไปช่วยเขาออกแบบเรือเหรอเนี่ยะ
ทำไมภาพไม่มาบ่อยจัง สงสัยใหญ่ไป ลองอีกทีครับ
สะพานเดินเรือแบบแหลมเหมือน freedom class เราไม่ได้ออกแบบแน่นอน ดูจากผลงานเรือ ต. ที่เคยต่อมาก็รู้แล้ว
NS-100 radar จับตลาดต่ำกว่าSMART-S MK2 แต่สุงกว่าVariant มีระยะทำการประมาณ200กม. ผมคิดว่าอาจมีโผล่กับเรือ เอ่อ... เรือขนาดประมาณ2,000ตันที่เราต่อเองในประเทศนับไปอีก5-10ปี จะเรียกเรือคอร์เวตหรือฟริเกตเบาก็ช่างมันเถอะ แทนเรือหลวงชั้นตาปีและอาจจะรวมเรือหลวงเจ้าพระยาในเฟส2ด้วย แต่เรดาร์ตัวนี้จะโผล่บนเรือLMVของสิงค์โปร์เป็นเจ้าแรกภายใน5ปีนี่แหละ เรือเราก็ขนาดประมาณนี้เผลอๆใช้แบบเรือลำนี้ด้วยซ้ำ เอาสิ
ทั้งหมดนี่ผมมโนล้วนๆ เห้นท่านนีโอใส่มาเยอะผมขี้เกียจทำงานแล้วขอมั่ง ฮี่ๆ
เฮ่อ เฮ่อ เฮ่อ......เห็นบ้านโน้นเขาบอกว่าทร.สนใจงานจากอู่ฝั่งยูเครน มีชี้เป้ามาตัวนี้ ขนาด 2650 ตันครับ ราคาคงน่าสนใจ ใส่ VLS ได้ 32 cell เลยนะนั่น หน้า 16 cell หลัง 16 cell
ว่าไปเรือคงอยู่ระหว่าง LMV ของสิงกับ gowind ของเสือเหลืองเขา แบบนี้มีทางเลือก 2-3 ทาง ถ้าเลือกออกแบบเอง
1. ใช้แบบเรือกระบี่มาดัดแปลงให้เป็น khareef class corvette ขนาด 2000 - 2500 ตัน
2. แก้แบบเรือชั้นนเรศวร โดยลดขนาดลงมาเหลือประมาณ 110 + - 5 m ขนาด 2000 - 2500 ตัน
3. ขยายขนาด รล. ปัตตานีขึ้นมาเป็น 2000 - 2500 ตัน
ผมว่าถ้าเป็นเรือรบรอง ทร. เอาแบบเรือที่เราเคยมีมาทำใหม่ดีกว่าครับ เพราะแบบเรือจะเป็นกรรมสิทธิของเราโดยเฉพาะ ค่าแบบก็ไม่ต้องจ่าย ราคาคงต่ำลงมาก และถ้าต่อในประเทศจะยิ่งต่ำ
ทร. กะจะต่อฟรีเกตสมรรถนะสูง 3-4 ลำ สนใจ light frigate น่าจะอย่างน้อยสุด 3-4 ลำนะครับ แต่ผมว่าภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำแหง๋ เผลอๆมีการย้าย ยีราฟทะเล CEROS 200 VLS 8 cell จาก DW-3000H มาใส่ในเรือชุดนี้แทน เพื่อให้ราคาเรือชุดนี้จะยิ่งถูก ผมว่ากว่าจะต่อ light frigate ชุดนี้สงสัยจะ 10 ปีขึ้นไปแล้ว ตอนนี้ต้องเรือดำน้ำ opv frigate high end ก่อน แล้วได้เวลา upgrade DW-3000H พอดีเลย
แต่ถ้าไม่ใช่เรือหลักที่สำคัญสุดๆ ออกแบบเองดีกว่าครับ จะได้ถูกตังค์ ย้ายอุปกรณ์บางอย่างจากการ upgrade DW-3000H มา จะยิ่งจ่ายน้อย
ว่าแต่มีโซน่าร์ลากท้ายแบบอื่นไหมที่ใช้กับ 9LV ได้นอกจาก ACTAS และราคาถูกกว่า CAPTAS บ้าง
บ้านโน้นบางท่านบอกว่าเรือ DW-3000H ของเราไม่ได้เตรียมการสำหรับใส่ VLS เพิ่มเป็น 16 -32 cell ได้หรอก คงจบแบบ 8 cell แบบนี้แหล่ะ แล้วบอกว่า KDX-1 ที่เป็นต้นแบบนั้นติดตั้ง MK-48 mod ขนาด 16 cell มาแท่นเดียวเท่านั้น
ผมไม่เห็นด้วยนะ เพราะ Mk-48 mod 2 ขนาด 16 cell นี่ใหญ่โตเอาเรื่องนะครับ จากภาพมันยาวกว่า 16 cell ของ Mk-41 ซะอีก และเรือ FFX batch2 ก็เริ่มที่ 16 cell ดังนั้นขั้นต่ำของเรือเราก็ต้อง 16 cell
จะใส่ 32 cell ได้ไหม จากรูป 16 cell ของ FFX จะเห็นทางเดินรอบ vls 16 cell อยู่ แถบสีแดง ส่วนแถบสีเหลืองจะเป็นระยะโดยประมาณที่ mk-48 mod2 16 cell ยาวกว่า mk-41 16 cell และน่าจะเป็นแบบนี้ตลอด 3 ชั้นเลย เพราะ VLS รุ่นนี้กินเนื้อที่ใต้ดาดฟ้า 3 ชั้น
ถ้าจะยัด 32 cell ลงไป ก็ใช้พื้นที่ทางเดินและพื้นที่ห้องด้านหลังอีกหน่อยได้ ฟาลังก์เอาไปท้ายเรือดีที่สุด ถ้ามันยุ่งนักทีท้ายเรือ ก็เอาลูก SATCOM ออกไปดีกว่า
^ ด่าซะเสียหมดเลยนะนั่น
รูปทรงพิลึกยังไงครับ ว่ากันตามตรงการลดหน้าตัดเรดาร์ดีกว่าของเกาหลีด้วยซ้ำ ผมว่าเกาหลีติดทำเน้นสวย ตรงหัวเรือไม่ว่าจะออกรุ่นไหนๆก็ชอบทำขอบเล่นระดับเหมือนเป็นเหมือนเป็นลายเซ็นทั้งๆที่คนอื่นเค้าทำแบบเรียบเป็นเเนวเดียวกันหมดแล้ว
ผมว่ากองทัพเรือเขาไม่ได้สนว่าสวยไม่สวยขนาดนั้นนะครับ ตลกละ ไอ้เสากระโดงปลายมันก็ไม่ได้ประเหลิดกว่าคนอื่นเท่าไหร่ ทั้ง lcs2 ทั้ง gowind class, ทั้ง visby class ก็ยอดกลมๆทั้งนั้นถึงจะเพราะใช้ซียีราฟกันเกือบหมดก็เถอะ
คือเรื่องหน้าตานี่ประเด็นรองเลยนะครับ ที่ขัดใจกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องสเป็คหน่อมแน้มมากกว่าครับ
หน้าตาอาจไม่ใช่เรื่ิองสำคัญที่สุด แต่ก็มองข้ามไม่ได้นะครับ แต่ประเด็นนี้มันอยู่ที่หน้าตาขัดแย้งกับประโยชน์ใช้สอย เช่น ออกแบบสะพานแหลมลาดยาวสเตลธ์สุดๆ แต่ดันเอาเจ้าฝาลังมาตั้งโด่เด่อยู่ข้างหน้าแบบขัดใจวัยรุ่น ดาดฟ้ายกก็หดสั้นจนยัด VLS ได้แค่ชุดเดียว ทั้งที่แบบเดิมมีมาเลย 2 ชุด เสากระโดงหลักที่หนาใหญ่เกินควร แล้วเอาเรดาร์ 3D LRR ระดับเทพไปไว้ในระดับต่ำด้านหลัง ให้เสากระโดงหลักบดบังอีกต่างหาก
พอได้เห็นหน้าตาของเจ้า FFX batch II ย่อมรู้สึกหงุดหงิดไม่น้อย เพราะมันดูลงตัวกว่าแถมยังถูกกว่าตั้งเกืิอบครึ่ง ถามจริงๆนะครับว่า ไอ้สะพานเดินเรือทั้งสองแบบน่ะมันจะลดหน้าตัดเรดาร์ได้ต่างกันมากจนมีนัยสำคัญเลยหรือครับ แล้วการเอาเจ้าฝาลังไปวางตั้งโด่หน้าสะพานแบบนั้นความเป็นสเตลธ์มันจะเหลือไหม สู้เอาไปไว้ท้ายเรือเหนือโรงเก็บฮ. อัพเป๊น Block 1B แล้วไม่ต้องมี DS-30 ก็ยังได้เลยนะครับ
ยัดระบบเทพซะเต็มลำ แต่มีที่บรรจุอาวุธได้เท่าเล็บแมว เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเลยสักนิด เหมือนนักมวยหัวโต(สมองดี) สายตาดี แต่หมัดเล็กกระจิดริด ออกหมัดช้า แถมหมัดเด็ดก็มีแค่ข้างเดียว พอจะเตะก็ต้องถอดนวมออกใช้หมัดไม่ได้ อย่างนี้หรือที่เรียกซะสวยหรูว่า "เรือฟริเกตสมรรถนะสูง"
ปล. ผมไม่โลภมากนะครับ ที่จริงขอแค่ VLS สัก 16 cells แต่สามารถใส่เพิ่มได้อีกสัก 8 cells ก็พอใจแล้ว (แต่ถ้าได้ถึง 32 cells ก็จะดีมากๆ)
ตรงหน้าผมเห็นด้วยว่าด้านหน้าถ้าทำแบบเกาหลีเรามีที่ใช้สอยเยอะขึ้น ซึ่งการที่หน้าตาขัดกับประโยชน์ใช้สอยประเด็นมันก็คือประโยชน์นั่นแหละ ไม่ใช่ความสวยงาม แต่ผมว่าเกาหลีไม่ได้หลอกอะไรเราหรอกน่าจะเลือกเเบบเองด้วยซ้ำ
ที่ผมพูดถึงความสเตลธ์ผมหมายถึงด้านข้าง ของเกาหลี ทำเป็นมีช่องเว้นไว้ไม่ได้ปาดกำแพงเรียบไปทั้งเเถบเพื่อความเท่เห็นๆ
คงไม่ได้เว้นไว้เพียงเพื่อความเท่หรอกครับ น่่าจะเป็นเรื่องของระบบระบายความร้อนของปล่องควันมากกว่า ด้วยระบบเครื่องจักรใหญ่ที่ใช้รูปแบบและชนิดที่แตกต่างกัน เห็นได้อย่างชัดเจนว่าปล่องของเรือทั้งสองนั้นต่างกันครับ
FFX มีแผ่นป้องกันดักความร้อนด้วยครับ ส่วนของเรารายละเอียดจากโมเดลตรงนี้น้อยมาก เหมือนยังออกแบบไม่แล้วเสร็จ ผมว่าจริงๆรายละเอียดระดับย่อยๆเหมือนยังออกแบบไม่จบเลยด้วยซ้ำครับ บางทีตอนต่อออกมาจริงหน้าตาอาจจะเปลี่ยนไปเกินคาดได้
ในความเห็นของผมว่าทำไมทร. ถึงต่อเรือลำนี้โดยติดตั้งระบบอาวุธมาน้อยมากๆ ทั้งที่ระบบตรวจจับเทพหลายรายการ เดาครับว่า
เพราะต้องการให้เป็น " เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ "
โดยเอาเรื่อง ฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำมาบังหน้า เอาภัยคุกคามหลักตอนนี้มาบังหน้า ไม่สังเกตหรือครับว่า มีแผนเรือฟรีเกตเบาหรือคอร์เวตรองรับอีก 1 แบบ ซึ่งเรือน่าจะออกแนวๆฟรีเกตอเนกประสงค์แต่มีอ๊อปชั่นปราบเรือดำน้ำ ซึ่งเรือแบบนี้สเปกแบบเรือนเรศวรก็พอแล้ว หรืออาจจะมีโซน่าร์ลากท้ายมาเป็นอ๊อปฃั่น
ระบบอาวุธในเรือ DW-3000H ดูน้อยจัดและระบบตรวจจับบางตัวดูไม่สมดุลกันเลย เช่นเรด้าร์อำนวยการรบมีแค่ ยีราฟทะเล แต่กลับใช้เรด้าร์ 3D LRR ที่ใฃ้เทคโนโลยี่ใหม่ล่าสุด ผมว่ามันแหม่งๆโคตรๆ ไอ้ชุดเรด้าร์ธรรมดาอย่างยีราฟทะเล CEROS 200 ปืน DS-30 และแท่นยิง VLS 8 cell มันเหมาะกับฟรีเกตธรรมดาๆเท่านั้น
ดังนั้นคาดว่าเมื่อโครงการฟรีเกตเบา/คอร์เวตสร้างขึ้นมา น่าจะเป็นเวลาที่ DW-3000H upgrade แล้วชุด combo เบาๆพวกนี้จะกระเด็นออกไปจากเรือ DW-3000H ไปอยู่เรือฟรีเกตเบาแทนครับ
ทำไมต้องทำแบบนั้น คงเพราะเงินไม่พอที่จะซื้อ 32 cell และ CEA-MOUNT/FAR ในคราวนี้เลย เพราะต้องใช้อย่างน้อยอีก 5000 ล้านบาท
สังเกตุไหมครับ งบคราวนี้ 14,500 ล้านบาท เหลือจากการจัดซื้ออีก 1,000 ล้านบาท จะเหลือไปทำอะไรครับ สู้เอาไปจัดหา VLS ให้ครบ 16 cell แล้วเปลี่ยนยีราฟทะเลเป็น giraffe 4A ไปไม่ดีกว่าหรือครับ แล้วฟาลังก์จะเอามาวางตรงนี้ให้มันลดสภาพเสตลธ์ไปทำไม เอามันไปวางข้างท้ายเรือแล้วไม่มี DS-30 จะดีกว่านะครับ
Giraffe 4A มี update rate สูงพอๆกับ NS-100 มี s-band uplink มี CWI โมดูลเหมือนกัน น่าจะควบคุมลูกจรวด เซมิแอคทีฟได้เลย แม้จะไม่ค่อยแม่น ราคาไม่น่าจะแพงเกิน SMART-S mk2 ดูคู่ควรกับ 3D LRR เทคโนโลยี่ล่าสุดออก แล้วทำไมไม่จัดหาทั้งทีเงินยังเหลือ น่าสังเกตุนะครับ
ผมเดาครับว่า เมื่อ ทร. ได้เรือดำน้ำ เรือ DW-3000H ครบ 3 ลำ OPV ครบ เรือฟรีเกตเบาคงได้เวลาประกาศจัดหา
เดาเอาว่า ทร. คงออกแบบเรือฟรีเกตเบาไว้แล้ว ถ้าไม่ใช่ปรับแบบจาก รล.กระบี่ ก็ต้องมาจากเรือฟรีเกตอเนกประสงค์อย่างเรือชั้นนเรศวร แล้วย่อขนาดลงมาที่ 2500 -2600 ตัน
ถอดชุด combo sea giraffe CEROS-200 หน้าหลัง DS-30 VLS 8 cell 76 mm. SR ออกมาทั้งชุด
ซื้อ 9LV และ SMART-S มาเพิ่มทีหลัง เรือออกแบบเอง ต่อเอง ใฃ้เงินอีกไม่มากแล้วก็ได้เรือใหม่แบบนเรศวรมาใช้เลยครับ
DW-3000H ก็จะมีพื้นที่ให้ VLS 32 cell CEA-MOUNT/FAR หลังโรงเก็บฮ. ว่าง ไม่มีทั้ง CEROS-200 DS-30 เอาฟาลังก์ไปวางได้ พื้นที่ก็แป๊ะสำหรับมัน 76mm STRALES วางแทน 76mm SR คราวนี้ของที่คู่ควรกับ 3D LRR ACTAS LAMP-3 มันก็มาครบ
ผมว่าอาวุธและระบบตรวจจับที่ดูมันไม่สมดุล จริงๆคือ การซื้อเรือฟรีเกตเบาเอาไว้แล้วครึ่งลำมาฝากเอาไว้กับ DW-3000H ส่วน AAW frigate รอเงินอีก 5000 ล้าน แต่ว่าทำไมทร. ต้องทำแบบนั้น นี่คือปัญหาให้ขบคิด
ผมคิดว่าตราบใดที่รือยังเป็นเพียงแบบในกระดาษ แบบเรือก็จะยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอครับ จะเพิ่มโน่น ตัดนี่ออก ย้ายที่ติดตั้ง สามารถทำได้ เพียงแต่อาจมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่น้อยมากๆ จนกว่าจะมีการเซ็นต์ยอมรับแบบสำหรับก่อสร้าง (as build) ซึ่งน่าจะเป็นหลังจากเซ็นต์สัญญาว่าจ้างในครั้งแรกประมาณ 1 ปี (sign contact) ดังนั้นแบบจำลองครั้งแรกกับแบบเรือจริงน่าจะมีอะไรที่แตกต่างกันพอสมควรครับ เช่น อาจเพิ่ม MK41 เป็น 2 cell (สำหรับติด SM2) , ย้ายฟาลังค์ไปไว้ด้านหลัง (อาจกลายร่างเป็น searam ไปเลยก็ได้) , ขยายพื้นที่บริเวณหลังคาโรงเก็บ ฮ.และเพิ่มระดับความสูงของโครงสร้างที่ติดตั้งเรดาร์สามมิติท้ายเรือ ฯลฯ ครับ
ยังไงผมก็ชอบแบบเรือของNavantiaมากกว่าอยู่ดี...