โดยอิสราเอลสั่งซื้อจากอิตาลีทั้งหมด 30 ลำ มูลค่ารวมประมาณ $1 billion ซึ่งตามแผนอิสราเอลจะได้รับครบจำนวนในปี 2016
อยากให้ Aermacchi M-346 ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ของทอ. เพราะระดับกองทัพอิสราเอลเลือกเข้าประจำการ น่าจะการันตีถึงความคุ้มค่าได้ และส่วนตัวคิดว่า Aermacchi M-346 เหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องบินฝึกมากกว่าอีกหนึ่งตัวเก็งคือ KAI T-50 ของเกาหลีใต้ เพราะสมรรถนะเพียงพอสำหรับเครื่องบินฝึก และราคา, ค่าปฏิบัติการ, ค่าบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งานที่ถูกกว่า
ผมไม่สันทัดเรื่องประสิทธิภาพ แต่ผมว่า รูปร่างของ บ. นี้ น่ารักดี เหมือนรถมินิ อิอิ
ถูกเกิ๊นน สามสิบลำพันล้าน ทอ เราเอาบ้างดิ
1billion$ = 32x1000 ล้านบาท = 32000 ล้านบาท
ราคาไม่ใช่น้อย ราคาต่อลำราวพันล้านบาท
น่ารักอะ
ลำล่ะ 33.34 ล้านเหรียญ ผมว่าไม่ถูกนะ
ถ้าเทียบกับ ดีลใหม่ๆนี่ ผมว่าถูกนะ อย่างน้อยก็ถูกกว่า ฮวอค กับ T-50 ของพวกซาอุ กับ อิรักแหละ
แล้วก็ เทียบปริมาณเครื่องบิน กับเครื่องบินรบ เงินสามหมืนล้าน ได้ สามสิบเครื่อง
นึกๆดูจำนวนแล้ว มันมากกว่ากริเพ่นเกือบสามเท่า ในราคาเท่ากัน
มันผลิตเองจะให้แพงเท่ากันก็แย่สิครับ อย่างพวกตุรกีที่เราเห็นซื้อเครื่องบินหรือฮ.ทีไรถูกกว่าเรามาก ก็คือเขาผลิตเองในประเทศ
ตรรกกะนั้นก็ไม่ถูกเสมอไปนะฮะ
ญี่ปุ่น ผลิต F-15 F-16 แบลคฮอคเอง แพงกว่าซื้อเยอะ
แล้วอย่างอิสราเอล ชอบม๊อดอะไรไห้อลังการกว่าต้นฉบับด้วย
ราคานี้ผมเคยเอาลงไปตอบในกระทู้หนึ่งแล้วถึงการแจกแจงแยกจ่าย 1 พันล้านน่ะ Aermacchi ได้ไปประมาณ 600 ล้านเหรียญ หารต่อเครื่องจะยิ่งถูกอีก ส่วนที่เหลือเป็นค่าเกี่ยวกับอุปกรณ์ภาคพื้นดิน
แต่ขอบอกก่อนครับว่า จริงๆระบบเอวิออนิคเกือบทั้งหมดบริษัทอิสราเอลได้ไป และต้องจ่ายเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 600 ล้านเหรียญ ทำให้ราคาโครงการจริงๆน่ะ 1200 ล้านเหรียญเลยนะ หารด้วย 30 เครื่องก็เกือบ 40 ล้านเหรียญนะครับ
รู้สึกกระทู้ก่อนที่เพื่อนๆลงเอาไว้จะเป็นการจัดหาของโปแลนด์หรืออะไรนะจำไม่ได้ ล่อไปซะเกือบ 47 - 48 ล้านเหรียญต่อเครื่องเลย แต่คงไม่ใช่แค่เครื่องเปล่า
จริงๆแล้ว M-346 นี่แพงกว่า T/A-50 มากพอควรทีเดียว และเมื่อเอาส่วนต่างราคาของเครื่องทั้งสองแบบมาหาร ตลอดอายุการฝึก 20 ปี จะชดเชยค่าปฎิบัติการที่แพงกว่าของ T/A-50 ไปแล้วนะ ดังนั้นราคารวมค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน 20 ปีของเครื่องทั้งสองแบบไม่ได้แตกต่างกันเลย แต่ T/A-50 จะได้เครื่องที่มีเรด้าร์ใช้งานด้วย และมีสมรรถนะสูงกว่าทุกอย่าง ทั้งน้ำหนักบรรทุก และ มีความเร็วเหนือเสียงด้วยครับ
ดีลเรื่องราคานี่ดูท่าจะสบสนกันพอดู ผมว่ารออีกสัก 1-2 ปี ถ้าการเมืองสงบเมื่อไหร่ ทอ.ประกาศจัดหาปั๊บ เดี๋ยวก็จะเสนอราคากันมาเองครับ แล้วตอนนั้นเราก็จะได้รู้ว่า M-346 T/A-50 Hawk T2/128 มีราคาค่าตัวต่อเครื่องกันเท่าไร ค่าใช้จ่ายตลอด 20 ปีเท่าไหร่ เมื่อรวมกันทั้งค่าเครื่องค่าใช้จ่ายปฎิบัติการ หารตลอด 20 ปี แล้วแบบไหนถูกกว่าหรือพอๆกัน ถ้าพอๆกันก็ต้องมาดูเครื่องทั้ง 3 แบบว่าใครให้ของมาดีที่สุดล่ะครับ
ตามข่าวที่มีออกมาทอ.ไทยเตรียมงบประมาณในการจัดหาบ.ฝึกไว้ราว 400 ล้านเหรียญ โดยมีความต้องการทั้งหมดราว 16 เครื่อง แต่ข่าวจากงานสิงคโปร์แอร์โชว์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของแอร์มัคคีได้ประเมินไว้ว่าจะสามารถเสนอโครงการนี้ด้วยบ.ฝึก M-346 จำนวน 8 เครื่อง !!!
โดยส่วนตัวค่อนข้างให้น้ำหนักกับบ.เกาหลีมากกว่า(เล็กน้อย) เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเห็นว่า SAAB ของสวีเดนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบอาวุธร่วมกับเกาหลีใต้มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของทร.ไทย น่าจะมีช่องทางที่จะช่วยให้เราเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธของเราต่อไป
น่าสนใจครับ ระหว่าง M346 ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน กับ T50 ที่มีสมรรถนะทางการรบที่ดี
M346 ช่วงนี้ขายดี ส่วน T50 เป็นเครื่องความเร็วเหนือเสียง เครื่องยนต์เป็นแบบเดียวกับ F18 ทีนี้ถ้าเราจะจัดหาก็ต้องดูว่า อะไรเหมาะสมและคุ้มค่ากับเรามากที่สุดในระยะยาวครับ
นอกจากนี้ข่าวจากเว็บไซต์ต่างประเทศคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ เกาหลีใต้จะเซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินเติมน้ำมันและเครื่องบินขับไล่ ซึ่ง บ.ขับไล่ น่าจะเป็น F35 ของอเมริกา เพราะต้องการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสเตลท เพื่อไปพัฒนาเครื่องบินของเกาหลีเองเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันเกาหลีใต้ก็หวังว่าจะได้ขาย T50 ให้อเมริกาคืนบ้าง จากโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ของอเมริกัน ประมาณ 300 กว่าลำ ซึ่ง Lockheed Martin ก็ช่วยชงให้อยู่เต็มที่ แต่คู่แข่งเยอะ อันนี้ก็น่าติดตามกันต่อไป แต่ถ้าทำสำเร็จ ผมว่า T50 ก็จะมีอนาคตที่สดใสเลยครับ ส่วนค่ายอิตาลีก็จะส่งแข่งขันด้วย แต่เห็นว่าจะเป็นรุ่น T-100 ซึ่งพัฒนาขึ้นจาก M346 นั่นเองครับ นอกจากนี้ยังมี บ.ฝึก ที่ Saab & Boeing ร่วมกันพัฒนาอีก และยังเจ้าเก่าอย่าง BAE อีกครับ
สำหรับไทยเรา ผมว่าข้อเสนอด้านการถ่ายทอดเทคฯ จะเป็นประโยชน์ต่อเรามากที่สุดครับ จะเครื่องของค่ายไหนก็ได้ แอบหวังว่าจะมีม้ามืดมายื่นข้อเสนอการถ่ายทอดเทคฯ และ ร่วมผลิตและพัฒนาเครื่องบินฝึกกับ TAI ในไทยเรา แต่คิดว่าคงยากครับ เพราะงบฯ เราจำกัดหรือเปล่า
ปล. ภาพ บ. ขับไล่ JF17 ของ ปากีสถาน ซึ่งร่วมผลิตและพัฒนากับจีนครับ
JF17
ข่าวล่าสุด เกาหลีตกลงซื้อแล้วครับ F35 จำนวน 40 เครื่อง สำนักข่าวรอยเตอร์ :-D
ส่วนคลิปข้างล่างคือ Scorpion ของ Textron Airland ขึ้นบินทดสอบครั้งแรก เมื่อธันวาคม ปีที่แล้วนี่เอง จากคอนเซปท Lower cost tactical jet ราคาอยู่ที่เครื่องละ 20 ล้านดอลล่าสหรัฐ น่าสนใจครับ
ใช่ครับท่าน TWG ที่ประเมินการขายดีลที่ผ่านมาล่าสุดของ M-346 งบของเราจะได้ 8 เครื่องกว่าๆ ถ้าทอ.ต้องการ 16 เครื่องก็แทบหมดหวังแล้วครับ เครื่องละเกือบ 50 ล้านเหรียญแล้ว ก็ตก 1400 - 1500 ล้านบาทต่อเครื่องเลยทีเดียว แบบนี้ผมว่าถมเงินไปจัดหา Jas-39 มือสองดีกว่าครับ น่าจะได้ครบฝูง 16-18 เครื่องเลยทีเดียว
ดีลการจัดหาของอินโด T/A-50 ตกเครื่องละ 25 ล้านเหรียญ 16 เครื่อง ก็ 400 ล้านเหรียญพอดีๆ
และการจัดหาคราวนี่คงจะเป็นฝูงแรก และต้องทดแทนฝูง 2 ด้วย รวมถึง alphajet และฝูงโจมตีที่ขาดไปอีก 1 ฝูง ด้วยจำนวนไม่น้อยที่จะต้องจัดหาต่อเนื่อง ผมว่าเราสามารถต่อรองการถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น ประกอบเครื่องโดย TAI ได้
T-50 ผมว่ามีอนาคตที่คึกคักดีเชียว จากองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น มีเครื่องหลายแบบทั้ง T-50, TA-50 และ FA-50 ซึ่งก็ปรับปรุงจาก T-50 และอินโดนิเซียกับฟิลิปปินส์ก็ใช้ นอกจากนี้ยังมีลุ้นในโครงการของอเมริกาด้วย และยังมีโครงการ KFX รองรับในอนาคตอีก K-pop นี่เค้าสง่า
KFX จาก Defense.PK
เรื่องค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการนั้น ผมมองว่าหากเอาสมรรถนะของเครื่องยนต์เป็นตัวตั้ง ก็ค่อนข้างแน่นอนว่า T-50 น่าจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่หากเราตัดประเด็น F/A-50 , T/A-50 ออกไป เพื่อเปรียบเทียบแบบยุติธรรม คือ เอาแต่รุ่นฝึกเปลี่ยนแบบ LIFT (ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ารุ่นที่ใช้ปฏิบัติการรบได้) เมื่อพิจารณาว่า M-346 มี 2 เครื่องยนต์ ในขณะที่ T-50 มีเครื่องยนต์เดียว แถมยังเป็นเครื่องตระกูล F-404 เช่นเดียวกับ RM-12 ของ Jas-39 C/D ทำให้ผมคิดว่าค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานไม่น่าจะต่างกันมากมายอย่างที่หลายท่านบอก ในส่วนสมรรถนะทางการฝึกบิน ผมมองว่า T-50 น่าจะเหมาะในการฝึกเปลี่ยนแบบไปสู่เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงอย่าง F-16 AM/BM และ Jas-39 C/D ได้ดีกว่า M-346 ซึ่งบินได้ง่ายกว่า น่าจะเหมาะกับนักบินในระดับการฝึกขั้นกลางได้ดีมากกว่า สุดท้ายก็คงอยู่ที่คณะกรรมการจัดหาของทอ.ว่าจะให้น้ำหนักไปในทางใดมากกว่ากัน แต่ดูจากแนวโน้มในช่วงหลังมานี่ผมว่าอาวุธเกาหลีใต้ดูมีอนาคตที่สดใสในกองทัพไทยมากกว่าอิตาลีนะครับ
KFX ตอนนี้พัฒนารุ่น C-103ia ไปมากแล้วจะใหญ่กว่า C-100 คือเกือบ 17 m เป็นรุ่น 2 เครื่องยนต์ และสามารถบรรทุก AIM-120 ได้ 6 นัดใน weapon bay เกาหลีคงต้องการมันเพื่อเป็น F-22 เวอร์ชั่นเกาหลี (ก้เมกาไม่ขายให้ใครนี่นา)
ส่วน KFX C-100 มันมีขนาดพอๆกับ KFX-E ที่ท่าน superboy นำเสนอ จะใช้เครื่องยนต์เดียว อนาคตยังไม่ชัดเจน เพราะมันจะไปชน F-35 ของอเมริกาจังๆ ตอนนี้คงต้องเกรงใจหุ้นส่วน เพราะเดี๋ยวจะขาย T/A-50 ในโครงการ T-X ไม่ได้
แต่เกาหลีลงทุนซื้อ F-35 40 เครื่อง คงได้ศึกษาเทคโนโลยัเสตลธ์กันเต็มที่ล่ะ จะส่งผลดีเมื่อเราต้องจัดหาเครื่องยุคที่ 5 เพราะมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมา คือ KFX C-103 ia และ KFX-E
จะว่าไปถ้าสนใจ KFX KFX-E เครื่องฝึก T/A-50 ก็ยิ่งน่าสนครับ