ผมคิดว่าหากสถานการณ์ในยูเครนบานปลายจนไม่สามารถส่งมอบ oplot ได้อีกต่อไป ทางไทยคงต้องเลือกรถถังแบบใหม่ ดังนั้นผมคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบที่ประเทศผู้ผลิตเกิดปัญหา โดยการเลือกแบบรถถังที่มีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตต้องร่วมกับบริษัทคนไทยตั้งโรงงานผลิตในไทย เช่น บริษัทร่วมทุนไทยกับญี่ปุ่น หรือ ไทยกับเกาหลีใต้ ไทยกับเยอรมัน เป็นต้น
ผมว่า oplot ที่เราสั่งไปนั้นยังอยู่ในระหว่างการรอล็อตต่อไปครับท่านจขกท. ถ้าให้เกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมันมาช่วยผลิตรถถังในไทยคงเป็นไปได้ยากครับ เพราะราคาสูงเกินความจำเป็น ถ้ารัสเซียและยูเครนมาช่วยผลิตให้ไทยยังพอว่าไปอย่าง(เพราะราคาย่อมเยาพอตัว) ตามหลักแล้ว ทบ.เราสั่งของยูเครน แต่เรื่องของการที่ยูเครนจะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีรถถังมันน่าจะเป็นเรื่องของอนาคต
ผมว่าไม่เกี่ยวหรอกครับ ถ้าเราอยากจะผลิตรถถังจริงๆ ไม่ต้องรอให้ผู้รับจ้างผลิตไม่ทันถึงมานั่งคิดหรอกครับ ในทางกลับกันถ้าเราไม่ได้ความตั้งใจจะผลิตแล้ว ต่อให้ผู้รับจ้างผลิตไม่ทัน มันก็ไม่ได้ทำให้เรามานั่งผลิตเองหรอกครับ
ครับ การที่เราไม่คิดสร้างอาวุธเอง เช่น รถถัง ยานเกราะ ต่างๆ ทำให้เราเสียโอกาสในการพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะเวลาเกิดสงคราม อาวุธที่ซื้อมาอาจหมดไป หาซื้อไม่ทัน งบไม่เพียงพอ หรือโดนคว่ำบาตรไม่สงอาวุธให้ ซึ่งของไทยเหตุการณ์ลักษณะนี้น่าจะเคยมีแล้วในสมัยก่อน ตั้งแต่สมัยสงครามฝรั่งเศส ช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น
ส่วนตัวผมคิดว่าช่วงเวลานี้เป็นโอกาสดีที่ไทยจะมีอุตสาหกรรมผลิตอาวุธเอง เพราะ อาวุธเก่าที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่ใกล้ปลดประจำการทำให้ไม่มีปัญหาในด้าน demand แต่หากปล่อยให้มีการจัดซื้อจากต่างประเทศทดแทนของเก่าไปเรื่อยๆ สุดท้าย demand ในประเทศจะไม่พอที่จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมอาวุธในประเทศ ครับ
เป็นไปได้แต่ก็ไม่ง่ายครับ โลกนี้ไม่มีอะไรง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากอยู่แล้ว ถ้าเราอยากให้เขาช่วยให้เราสร้างเองได้เงินก็ต้องถึง ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ถ้าเราจะทำเองทั้งหมดโอกาสล้มเหลวก็มีมาก รถถังก็มีส่วนประกอบจำนวนมาก มีตั้งแต่ที่ไม่ซับซ้อนที่เราอาจทำเองได้ง่าย ส่วนประกอบที่ซับซ้อนที่ยูเครนทำอยู่ ไปจนถึงส่วนประกอบซับซ้อนที่สุดที่ยูเครนเองยังต้องสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์มาประกอบขายต่อให้เรา ถ้าเราจะทำเองคงต้องค่อยๆพัฒนาไปตามสเต็ป แต่ถ้าไม่คิดพัฒนาก็ซื้อต่อไป ผมว่าถ้ามีเงินเราไปทำเครื่องบินหรือจรวดดีกว่า สมัยนี้ใครครองท้องฟ้าได้ก็ได้เปรียบไปเยอะละ
..
โธ่ท่าน rayong ผมยิ่งเสียวๆอยู่นาว่าทางยูเครนจะเอามันไปลุยกับ T-90 MS อยู่ พาล อดแบบเรือลาดตระเวนเบาชั้นนเรศวรและตากสินในสมัยโน้น..... แต่ก้ดีจะได้รู้ว่า OPLOT-M วัดกับ T-90 MS แล้วเป็นอย่างไร
พึ่งพาตนเองได้เป้นหนทางดีที่สุดแล้วครับ
นั่นสิครับ ผมน่ะเสียวจริงๆ ยูเครนอาจรอดและโรงงานของยูเครนอาจไม่รอด สมมุติเกิดประเทศใหม่ชื่อไครเมีย เค้าคงไม่รับผิดชอบเงินค่างวดที่ส่งให้ยูเครน ผมนี่เสียวจริงๆเลยออกกระทู้หาแนวทางเผื่อไว้ก่อน
ไครเมีย แยกประเทศ แล้วไงครับ โรงงานรถถังเรา อยู่ ภาคตะวันออกของอูเครน ไม่ได้เกี่ยวกับ ไครเมีย
โรงงานตั้งอยู่แถบโปรรัสเซียครับ กลัวว่ามันจะหลุดไปทั้งยวงนี่สิ
แต่โซนนั้นประฃาฃนนิยมรัสเซียและพูดภาษารัสเซียเป็นหลักเช่นกันนะครับ และผมว่ารัสเซียคงเอาจริงๆงานนี้ คงไม่ใช่แค่ไครเมียแน่ๆ ส่วน EU บอกว่าจะคว่ำบาตรรัสเซีย ผมหัวเราะแทบตกเก้าอี้เลยนะนั่น แค่รัสเซียปิดท่อแก๊ส ยุโรปก็กลับไปมีสภาพก่อนอาการตรีฑูตทางเศรษฐกิจทันที เพราะราคาน้ำมันทั่วโลกจะทยานปริ๊ดดดดดดดดดด รัสเซียรวยทันที อเมริกาน่ะเหรอ เจอราคาน้ำมันจากสงครามอีกครั้ง หงาย จวนจะฟื้นอยู่แล้วจะกล้าหาเรื่องรัสเซียขนาดนั้นเชียว
โอ้แม่เจ้า .......... น่าจะส่งมอบจนครบแล้วค่อยมีเรื่องนะ แล้วให้ทางยูเครนผลิตออกมาใช้เองในสงครามคราวนี้เอง จะได้รู้ว่า T-90 MS + OPLOT-M ใครเจ๋งกว่ากัน
เอาไว้ให้มีโรงถลุงเหล็กคุณภาพสูงกันก่อนดีกว่าครับแล้วค่อยมาคิดเรื่องอื่นกันต่อ
แหม๋ ....อยากเห็น T-90 MS ดวลกับ O-plot-M จัง ถ้า o-plot ชนะขาดขึ้นมา ......ย่านนี้มีหนาว
ประเทศอิสราเอลมีประชากรแค่ 8 ล้านคน ไม่มีโรงถลุงเหล็กก็สร้างรถถังเองได้ครับ ชื่อเมอคาวา ในเมื่อรถถังนำเข้าได้ เหล็กคุณภาพสูงก็นำเข้าได้เหมือนกัน ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด มันอยู่ที่นโยบายมากกว่า http://www.globalfirepower.com/ บอกว่าไทยอยู่อันดับ 24 อิสราเอลอยู่อันดับ 11 ทหารประจำการเขาน้อยกว่าเราครึ่งหนึ่งแต่กำลังพลสำรองมากกว่าเป็นสองเท่า จำนวนรถถังและยานเกราะมากกว่าแบบไม่เห็นฝุ่น
..
ด้วยความเคารพครับ
สหรัฐอเมริกา ค้นพบ shale gas and oil จนน่าจะกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอีกรายแล้วนะครับ
เอาจริงๆอเมริกาทรัพยากรณ์ธรรมชาติทั้งน้ำมันอะไรพวกนี้เยอะเป็นกระบุงโกย แต่กั๊กซื้อคนอื่นใช้ ของตัวเองเก็บไว้
พอคนอื่นหมดตัวเองก็ยังเหลือ ถึงตอนนั้นมีเงินก็ไม่ช่วยอะไรครับ
ส่วนเรื่องกำลังพลสำรองอิสราเอลก็ไม่มีอะไร คือประชากรไม่ได้จับใบดำใบแดง แต่ทุกคนต้องเป็น ชายหญิงไม่เลือก
t90 กับ oplot ไม่ได้ควลกันหรอกครับ เพราะปัจจุบันยูเครนใช้รถถัง รุ่นเก่า อย่าง t64 t80 เป็นรถถังหลักอยู่เลยครับ ส่วน oplot ก็เป็นแค่ตัวโชว์ มีอยู่ไม่กี่คัน ถ้าสู้กัน ก็คงได้เห็น t90 ดวล กับ t64 ซะมากกว้า...
จริงครับที่ระดับผลผลิตและแก๊สจาก เชลล์ แก๊ซ ของอเมริกากำลังพุ่งอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในระยะ 1-2 ปี เป็นเรื่องยากที่จะทดแทนการนำเข้าได้ทั้งหมด ผมว่าใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีจึงจะไม่ต้องนำเข้ามาได้ ดังนั้น 1-2 ปีนี้ ไปหาเรื่องกับรัสเซียแบบนี้ลำบากแน่ครับ ถ้ารัสเซีย ลุยยูเครนจริงๆ อเมริกาและ EU ได้แต่แหกปากโวยวายแต่ทำอะไรไม่ได้ครับ
ผมกลัวจะเป็นSuเจอกับt-64/t-80อะสิครับ
ถ้าEUกับอเมริกาไม่แอบช่วยนะจบเร็ว
แต่ถ้าช่วยก็คงจะยาวหน่อย
ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งครับ แต่ไม่ได้ออกไปไกล แต่ยังเป็นเรื่อง Oplot อยู่ คือไปอ่านที่ Pantip แล้วมีคน post ในแนวที่ว่า "oplot ที่ทดสอบในไทยมีการยิงพลาดเป้าเยอะ หาคลิปดูได้เลย" คำถามเป็นไปตามที่เขาพูดจริงหรือเปล่าครับ เพราะส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะเป็นอย่างที่พูดขนาดนั้น ผู้รู้ท่านใดช่วยไขความกระจ่างให้ทีครับ
เรื่องคลิปซ้อมในไทยยิงเป้าไม่เคยเห็นนะครับ
เรื่องคลิปซ้อมในไทยยิงเป้าไม่เคยเห็นนะครับ
อีกอย่างถ้ายิงพลาดคงไม่มาโชว์หรอกมั้ง
ท่าทางรัสเซียจะบุกจริงแล้ว ตามข่าวเลยครับ
กระทู้สนทนา
นายแอนดรีย์ พารูบบีย์ เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของยูเครน เผยว่า กองกำลังของรัสเซียซึ่งประกอบไปด้วยทหาร 80,000 ราย พร้อมรถถัง 270 คัน รถหุ้มเกราะ 180 คัน ปืนใหญ่ 380 กระบอก เครื่องยิงขีปนาวุธ 18 เครื่อง เครื่องบินรบ 140 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 90 ลำ และเรือรบ 19 ลำ ได้เดินทางเข้าประชิดพรมแดนยูเครน ซึ่งวิกฤตดังกล่าวไม่เพียงมีผลกระทบต่อไครเมียเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงเขตพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครนทั้งหมดด้วย และเกรงว่ากรุงเคียฟเองก็จะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะกองกำลังรัสเซียบุกมาด้วยทีท่าพร้อมรุกราน ทั้งนี้จากจุดพรมแดนไครเมียที่กองกำลังรัสเซียตั้งอยู่ อยู่ห่างจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนเพียง 2-3 ชั่วโมง เท่านั้น
ทางด้านอดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีปูติน นายอองเดร อิลลาริโอนอฟ คาดการณ์ว่า ปูตินตจั้งใจที่จะเข้าครอบครองดินแดนอื่น ๆ นอกเหนือจากไครเมียด้วย อันได้แก่ คาร์คีฟ, โดเนคส์, ดาเนโปรเปโตรวิค ลูกันซิค ซาโปรอซเย่ เคอร์ซัน และโอเดสซ่า
ทั้งนี้ คาดการณ์กันว่าช่วงเวลาที่จะตึงเครียดมากที่สุด กำลังจะมาถึงในวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคมนี้ ซึ่งสภาท้องถิ่นไครเมีย จะจัดลงประชามติขอความเห็นจากชาวเมืองไครเมียเป็นข้อตัดสินว่าต้องการร่วม เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียหรือไม่ โดยทางรัฐสภาของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย แห่งยูเครน ได้ลงมติเห็นชอบในคำขอให้ไครเมียเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียแล้ว ด้วยคะแนนเสียง 78 เสียง และงดลงคะแนน 8 เสียง จากทั้งหมด 86 เสียง
http://news.tlcthai.com/world/281670.html
ตัดจากเวปพันธ์ทิพย์ครับ http://pantip.com/topic/31779272
สงสัยงานนี้อดได้ OPLOT-M ส่วนที่เหลือแน่ๆ
รูปประกอบตอบกระทู้ข้างบนครับ
อีกรูป (การวางกำลังตอนที่บุกเข้ามา)
ผมว่าน่าจะเป็นไปได้นะครับ แต่ส่วนตัวคิดว่า ทบ. น่าจะมีรัฐวิสาหกิจ (รสก.) ของ ทบ.เอง ที่จะเป็นแม่งานในการผลิตและออกแบบพัฒนายานยนต์ทางทหาร เพราะว่า รสก. แบบนี้น่าจะช่วย ทบ. ได้หลายด้าน ทั้งเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านการผลิตยานยนต์ใช้เอง ไม่เสียดุลการค้า และยังจะสร้างรายได้อีกด้วย เพราะ รสก. สามารถทำกำไรเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ผมว่า รสก. ยังมีศักยภาพมากกว่า บ.เอกชน ในการทำความร่วมมือกับต่างประเทศ และคล่องตัวมากกว่า ทบ. ในการทำความร่วมมือกับต่างประเทศเช่นกัน คงเหมือนที่ ทร. และ ทอ. มีคือ อู่กรุงเทพ และ ทีเอไอ (ส่วนใหญ่ต่างประเทศก็เป็นแบบนี้) โดยเฉพาะการสร้างเรือเราก็พัฒนาไปมาก เอาเฉพาะสองเดือนนี้ ทร. ได้เรือใหม่อย่างน้อย ๔ ลำ เข้าไปแล้ว เท่าที่ทราบคือ ชุด ต๑๑๑ และ เรือน้ำมัน (ที่ใหญ่ขึ้น) ผมว่าคงต้องมีแม่งานครับ ไม่งั้นงานไม่เดินเท่าที่ควร
แต่ตอนนี้ดูเหมือน ดีทีไอ กำลังทำหน้าที่นี้ให้ ทบ. ไปพลางก่อน เช่น โครงการรถยานเกราะล้อยางรุ่น Black Widows แต่คิดว่า ดีทีไอ ยังไม่มีโรงงานผลิตยานยนต์ ดังนั้นหน้าที่นี้ก็ต้องเป็น บ.เอกชน ไปดำเนินการ ซึ่งเอกชนก็คงมีงานของเขาอยู่แล้ว จึงน่าจะต้องแบ่งเวลาทำทั้งสองอย่างคือ งานปกติและงานออกแบบพัฒนา Black Widows แต่ทุกคนมีเวลา ๒๔ ชม.ต่อวันเท่ากันครับ แบบนี้ผมว่าน่าจะใช้เวลาพอสมควร เมื่อเทียบกับการมี รสก.
ส่วนเรื่องโรงถลุงเหล็ก ไม่อยากให้ไปจริงจังมากครับ ผมว่ามีผลน้อย เพราะเราซื้อเหล็กเอาก็ได้ First Win ไทยก็สร้างเองครับ แต่ถ้าโรงถลุงเหล็กสำคัญจริงๆ เราก็มี บ.เอกชน ของคนไทยเป็นเจ้าของแล้วครับ แต่โรงถลุงไม่ได้อยู่ในไทยเท่านั้นเองครับ (เอาจิ้นกันต่อไปพวกเรา เฮ) :-D
Leopard2 A6 (Shipbucket.com)
กระทู้สนทนา
เศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ หน้าต่างโลก
ในขณะที่รัฐปกครองตนเอง”ไครเมีย”ของยูเครน กำลังลงประชามติว่า จะอยู่กับประเทศรัสเซียหรือยูเครน ตามเกมที่รัสเซียวางเอาไว้ แต่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่ออกมาคัดค้านรัสเซียอย่างหนัก ก็ยังไม่มีทีท่าว่า จะมีมาตรการอันใดเข้าจัดการกับรัสเซีย นอกจากการสั่งห้ามบรรดาอดีตผู้นำในรัฐบาลของยูเครนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา เท่านั้น
การประชุมเจรจากันกว่า 6 ชั่วโมงระหว่างรัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกากับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ที่ลอนดอน เมื่อวันศุกร์ ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
รัสเซียไม่สนใจข้อเสนอของสหรัฐอเมิกา และยืนยันว่า การใช้วิธีลงประชามติใน”ไครเมีย”นั้นถูกต้องแล้ว ให้ประชาชนตัดสินใจและรัสเซียจะเคารพในมติของประชาชนในไครเมีย
คำตอบจากนายจอห์น แคร์รี่ ในวันนั้น ก็คือ สหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป จะมีปฎิบัติการที่สำคัญกดดันให้รัสเซียหยุดการละเมิดอธิปไตยของยูเครน
เวลาผ่านมา 2 วัน ไม่มีมาตรการใดๆ จากสหรัฐอเมริกาและยุโรป และดั่งที่กล่าวก็คือ ประชาชนในไครเมียลงประชามติกันแล้ว และเชื่อว่า ผลก็คงจะเป็นที่ทราบกันก่อนหน้าแล้วว่า อยู่กับประเทศรัสเซีย
ไฉน สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จึงมิกล้าส่งกองกำลังทหารเข้ายึดครองไครเมียกลับคืนมา ทั้งๆที่รัสเซียละเมิดอธิปไตยของชาติอื่นอยู่เห็นๆ
แม้กระทั่งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ดั่งที่เคยใช้กับประเทศอิหร่าน
คำตอบ คือ ต่อไปนี้ครับ
รัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่าการส่งออกทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติซึ่งถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตอุตสาหกรรมทุกประเภทไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกาในแต่ละปีสูงถึงกว่า 160 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
การตัดสินใจคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ย่อมจะส่งผลให้รายได้ของรัสเซียและกระแสเงินสดจากต่างประเทศเข้าสู่รัสเซีย หยุดชะงักลง แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็จะต้องแลกกับการขาดแคลนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใช้เพื่อการบริโภคและ อุตสาหกรรมการผลิต ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติรวมทั้งเชื้อเพลิงต่างๆในตลาดโลก จะพุ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
นางแองเกล่า เมอร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมัน ผู้เป็นเจ้าของเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก กล่าวเมื่อวานนี้ว่า ประเทศของเธอพร้อมที่จะยอมรับกับภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา รวมทั้งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นทุกประการ หากว่า บรรดาพันธมิตรตัดสินใจคว่ำบาตรรัสเซีย
คำถามก็คือ ประชาชนของเธอพร้อมที่จะอดอยากและยากจนลงด้วยหรือไม่ !
นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์. จากแบงก์ ออฟ อเมริกา และมอร์แกน สแตนเลย์ ต่างกล่าวในทำนองเดียวกันว่า ยากที่ยุโรปจะเปิดปฎิบัติการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจร่วมกับสหรัฐอเมริกา สาเหตุก็เพราะ ทุกวันนี้ ทั่วทั้งสหภาพยุโรปต่างต้องพึ่งพาน้ำมันดิบ ก๊าซ รวมทั้งเชื้อเพลิงทุกชนิด คิดเป็น 32% ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด (ข้อมูลจากสำนักงานพลังงานสากลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ปารีส)
สำนักงานพลังงานสหรัฐฯ(U.S. Energy Department)ในกรุงวอชิงตัน ก็ให้ข้อมูลเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า เมื่อปีที่แล้ว ทั้งสหภาพยุโรป และรวมทั้ง นอร์เวย์ ตุรกี สวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งกลุ่มประเทศบอลข่าน ใช้ก๊าซธรรมชาติที่กลั่นมาจากรัสเซียผ่านทางท่อที่ส่งผ่านประเทศยูเครนเข้า มาคิดเป็น 30% ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด หรือประมาณถึง 1 ใน 3 ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้
ประเทศใหญ่ๆที่ทรงอำนาจในยุโรป อาทิ เยอรมัน ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ที่สุดของยุโรปและเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่และแข็งแกร่ง ที่สุดในยุโรป ก็ยังต้องพึ่งพาก๊าซและเชื้อเพลิงที่ส่งตามท่อผ่านประเทศยูเครนมาเป็นจำนวน ถึง 40% ของปริมาณการใช้น้ำมันดิบทั้งหมดในประเทศ
รวมทั้งประเทศยักษ์ใหญ่เช่นดั่ง อิตาลีก็ต้องใช้อยู่ถึง 20% และฝรั่งเศสก็ต้องใช้อยู่ถึง 18% ของปริมาณการใช้ทั้งหมดในประเทศ
รวมแล้วเมื่อปี 2556 ยุโรปต้องใช้เชื้อเพลิงจากรัสเซียคิดเป็นมูลค่า 1.56 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯหรือ 5.2 ล้านล้านบาท
สูงกว่าเชื้อเพลิงที่สหรัฐอเมริกาซื้อจากรัสเซีย 38 เท่า(ข้อมูลจากองค์การค้าระหว่างประเทศ- International Trade Centre)
“เป็นไปไม่ได้เลยที่จะยกเลิกการนำเข้าก๊าซและน้ำมันจากรัสเซีย” มาร์ค แลนเธอร์มานน์ นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านยูเรเชียของบริษัท สแตรทฟอร์ ในเมืองออสติ มลรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกากล่าว
พร้อมกับระบุว่า ยุโรปเคยมีปัญหานี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อ 6 ปีก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งที่รัสเซียเปิดสงครามบุกประเทศจอร์เจีย ก็มีความคิดนี้กันขึ้น แต่เมื่อคิดคำนึงถึงการต้องพึ่งพาทั้ง ก๊าซ น้ำมันดิบ เชื้อเพลิง รวมทั้งวัตถุดิบเพื่อการผลิตทุกชนิด ก็ต้องทำให้พวกเขาเลิกราความคิดเหล่านี้ไป
“เราไม่คิดว่า จะมีการคว่ำบาตรทางด้านเศรษฐกิจด้วยการยกเลิกการนำเข้าน้ำมันดิบและก๊าซจากรัสเซีย” เขากล่าว
แต่ระบุว่า มาตรการที่ออกมาของสหรัฐอเมริกาและยุโรป อาจจะจำกัดอยู่ในกรอบของการคว่ำบาตรทางด้านการเงิน ไม่ติดต่อกับธนาคารของรัสเซีย และห้ามผู้นำรัฐบาลรัสเซียเข้าประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้การคว่ำบาตรทางด้านการเงิน นักวิเคราะห์หลายคน ก็ยังเชื่อว่า ยุโรปก็ไม่กล้ากระทำ เนื่องจากความจำเป็นต้องใช้น้ำมันดิบและก๊าซ จากรัสเซีย ก็ยังจำเป็นต้องใช้เงินติดต่อกับธนาคารของรัสเซียอยู่ดี
ประการสำคัญอีกประการก็คือ รัสเซียยังเป็นตลาดที่ใหญ่ของบรรดาอุตสาหกรรมในสหภาพยุโรป ทั้งหมด
เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา รัสเซียซื้อสินค้าจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เข้าประเทศเป็นจำนวนถึง 169 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5.5ล้านล้านบาทไทย
ในขณะที่ ยุโรปนำเข้าสินค้าทั้งที่เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตอาทิ สินแร่เหล็ก ทองแดง ฯลฯ ไปจนกระทั่งถึงน้ำมันเชื้อเพลิงดังที่กล่าว เป็นจำนวนถึง 292 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ(ประมาณ 9.5 ล้านล้านบาทไทย)
ทั้งสองฝ่ายจึงเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์มีอยู่ในนั้นมหาศาล!
วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียกุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกไปทั้งยุโรปและสหรัฐ อเมริกา คิดเป็นมูลค่า 1.6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯและอาจจะรวมกับอาวุธที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกเข้า ชนสหรัฐอเมริกาและยุโรป
เรื่องโดย
ทรงเกียรติ ชาติวัฒนานนท์
บรรณาธิการบริหาร
http://www.biztempnews.com/index.php/economics/item/6728-ไฉนสหรัฐฯและสหภาพยุโรป-มิกล้าคว่ำบาตรัสเซีย
ท่าทางเสื้อสีส้มในยูเครนจะรอดยากแล้วครับ ตกลงคนหนุนหลังตัดใจชิ่งหนีเสียแล้วล่ะ ก็บอกแล้วว่ารัสเซียได้เปรียบ เสื้อสีฟ้าในยูเครนคงจะกลับมาครองอำนาจใหม่แบบเต็มตัวแล้วล่ะ
เดาว่ารัสเซียบุกแน่ๆ และจะผนวกไครเมียที่เป็นฐานทัพเรือที่สำคัญของยูเครนและของรัสเซียด้วยเข้าเป็นดินแดนรัสเซีย ส่วนยูเครนที่เหลือทั้งหมดทางรัสเซียคงให้คนที่สวามิภักตนขึ้นเถลิงอำนาจต่อแน่นอน โดยฝ่ายตรงข้ามคงโดนกำจัดแบบไร้ความปรานีตามสไตล์ปูติน
เครดิตเวปพันทิพย์ตามลิ้งค์นี้เลยครับ
http://pantip.com/topic/31787046
ทบ. คงต้องพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างถี่ถ้วนแล้วล่ะครับ ผมว่าประเทศยูเครนยังคงอยู่ต่อไป แต่อาจจะไม่มีไครเมียอีกแล้ว เพราะถ้า EU และอเมริกาพ่ายแบบหมดสภาพแบบนี้ตั้งแต่ยังไม่รบ รัสเซียคงยึดยูเครนทั้งหมดแน่นอน ดังนั้นข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศน่าจะยังเหมือนเดิม เฮ้อนึกว่าอเมริกาและ EU จะหนุนสุดตัว นี่ไม่กล้าแม้แต่จะคว่ำบาตรทางการเงินเลยด้วยซ้ำ
ถ้าดีลนี้รอดไปได้ ผมว่า ทบ. คงมีบทเรียนและควรเพิ่มความร่วมมือเพื่อทำการผลิตรถถัง OPLOT-M และทำการพัฒนารุ่น T หรือ S ที่เราสามารถเลือกแหล่งอะไหล่และชิ้นส่วนจากที่อื่นๆทดแทนได้ หรือผลิตเองได้ให้มากชิ้นส่วนที่สุดครับ
ออกแนวนี้กองทัพยูเครนคงปล่อยให้รัสเซียเดินทัพเข้ามายึดง่ายๆเลย ไม่ถึง 200 ไมล์ก็เข้าเคียฟแล้ว ไม่กี่ชั่วโมงก็เรียบร้อย
ผมว่าเรื่องยูเครนกับรัสเซีย เดายากอยู่ครับ ทุกอย่างยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้หมด ล่าสุด เอ็กซิตโพล (ผลอย่างไม่เป็นทางการ) ที่ไครเมียบอกมาแล้วว่า ชาวไครเมีย ร้อยละ ๙๓ เลือกอยู่กับรัสเซียนะครับ (ข่าวจากบีบีซี) ส่วนไทยเราถ้ายังไม่อยากจะผลิตรถถังหลักตอนนี้ ผมว่าเราอาจจะเริ่มที่การพัฒนา เจ้ากระเบนประจันบาน (คอมมานโด สตริงเลย์) ของเราก่อนก็ได้นะครับ ไหนๆ เราก็ใช้อยู่ประเทศเดียวแล้ว :-D เพื่อสร้างความพร้อมก่อน เป็นการวอร์มอัพ ค่อยๆ ปรับปรุงอุปกรณ์ที่ทันสมัยใส่เพิ่มเข้าไป กลายเป็น สตริงเลย์สอง ว่าไปนั่น :-D ดูจากคลิปที่ใส่ไว้นี้ ผมว่าเราไม่ได้เริ่มจากศูนย์แล้วนะครับ เพียงแต่เราจะทำหรือเปล่าเท่านั้นเอง :-D
ในส่วนรถถังสตริงเรย์ โดยส่วนตัวผมชอบรูปทรง และประสิทธิภาพมันมากกว่ารุ่นอื่นๆที่มีในกองทัพไทย เสียแต่ว่ามันเล็กไปนิด เกราะบาง ปืนใหญ่ก็แค่ 105 mm คราวนี้ถ้าจะแกะแบบมาลองพัฒนาเองก็น่าสนใจ แล้วอาจจะแกะเอาเทคโนโลยีต่างๆของ oplot มาผสมผสานกันเข้าให้ได้รถถังไทยแลนด์ ขนาดสัก 50 ตัน อย่างนี้น่าสนใจ ครับ โดยรุ่นแรกอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่ค่อยๆพัฒนาหรือซื้อเทคโนโลยีที่ยังขาดมาเสริมบางส่วนก็จะได้รถถังที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
ในส่วนตัวรถถังและระบบขับเคลื่อนผมคิดว่าชัยเสรีน่าจะทำได้ ปืนใหญ่อาจต้องซื้อมา ระบบควบคุมการยิงต่างๆก็ลองของที่บริษัทคนไทยผลิตดู (จริงๆแล้วอาจก๊อปปี้มาผลิตเอง) เกราะเสริมก็อาจเอามาจาก oplot ก็ได้ ผมคิดว่าไทยน่าจะลองก้าวแรกได้แล้ว
Stringray v.Thai น่าสนครับ แต่ก็ต้องถามทาง Textron Marine & Land Systems ว่าเขาอนุญาตรึป่าว?
ถ้าจะทำจริงคงต้องใช้เวลาแกะมาศึกษาอีกนาน เว้นแต่ซื้อตัววิศวกรต่างประเทศมาช่วยในช่วงเริ่มต้นก่อน
จากคลิปคาดว่าบริษัท KCP แค่แกะมาซ่อมเฉยๆ คงไม่ได้แกะมาแล้วทำใหม่ตามของเดิม
50 ตันนี่ก็ไซส์โอพล็อตแล้วครับ
ใช่ครับ ผมกะว่าไหนๆถ้าจะพัฒนาก็ขยายแบบขึ้นมาเป็นรถถังหลักขนาด 50 ตันไปเลย แต่หน้าตาคล้ายๆสตริงเรย์ ผสม oplot
สร้างเอง ใครสร้าง ทุนเท่าไหร่ ถ้าขายจะขายเท่าไหร่ ใครจะซื้อ กลุ่มลูกค้าอะไร บลาๆ คำถามมากมายท่วมหัวเลยตอนนี้
ถ้าไม่สร้างทำไมถึงไม่สร้าง... เพราะอะไร.... ต่อไปจะใช้อะไร....ชาตินี้จะทำเองได้มั้ย.....ต้องซื้อตลอดไปใช่รึเปล่า....คำถามแบบนี้ก็ต้องมีในใจคนไทยส่วนหนึ่งเหมือนกัน
ผมเข้าใจว่ามันทำได้ยาก...มากๆ แต่ถ้าไม่คิดจะเริ่มกันจะได้เริ่มเมื่อไหร่ (ผมไม่ได้พูดว่าจะต้องเริ่มตอนนี้เดี๋ยวนี้นะ) นี่ก็คือคำถามเช่นกัน
ขอย้อนไปเรื่องโรงถลุงเหล็กหรือ อะไรนะวัสดุศาสตร์ ที่หลายๆคนอ้างกันเหลือเกินว่าถ้าวงการนี้ยังไม่มีการพัฒนาชาตินี้อย่าได้คิดทำผลิตภัทณ์ทางการทหาร.....
ผมคิดว่าวัสดุศาสตร์ต่างหากที่ต้องพัฒนาตามหลัง นวัตกรรมทางการทหาร เช่น...ใยสังเคราะห์ชนิดนี้ไม่ทนทานต้องพัฒนาเพิ่ม....เหล็กชนิดนี้ไม่มีความแข็งแรงพอที่จะทำปืนใหญ่ ต้องพัฒนาให้แข็งแรงกว่าเดิม.....ปืนสมัยสงครามโลกใช้ไม้เป็นส่วนประกอบมีน้ำหนักมาก..พอมีการใช้พลาสติกสังเคราะห์แบบต่างๆปืนสมัยใหม่ก็ใช้โครงสร้างเป็นพลาสติกเพื่อจะได้มีน้ำหนักเบา....ไม่เห็นมีใครบอกอยากใช้ปืนเบาๆเราต้องทำพลาสติกให้เสร็จก่อนนะ....ไม่งั้นเราไม่มีทางใช้ปืนดีๆเบาๆได้หรอกใครจะไปพัฒนาวัสดุก่อนแล้วค่อยมาประกอบเป็นอาวุธ...ถ้าไม่ลองทำต้นแบบมาลองใช้แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าวัสดุที่ใช้มันไม่ดีพอ
ท้ายสุด...คนส่วนใหญ่ที่จะประสบความสำเร็จคือคนที่กล้าเสี่ยง... กล้าทำตามความคิดความฝันของตัวเองมากกว่า ดูอย่างพี่น้องตระกูลไรท์สิ ยุคนั้นมีใครรู้จักเครื่องบินบ้าง??? มีใครทำอุปกรณ์เครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อเครื่องบินแล้วบ้าง....แล้วมีใครบ้างที่ไม่ได้บอกว่าพวกเค้า "บ้า"
ผมว่าถ้าอยากก้าวหน้าบางทีก็ต้องเริ่ม "บ้า" กันได้แล้ว
สร้างเองก็มีข้อดีครับ เชื่อว่าระบบขับเคลื่อนสายพานนั้นทำได้ 100เปอร์เซ็น ส่วนระบบป้อมปืนยังทำไม่ได้ก็ซื้อเอาสิครับยุคสมัยนี้อันไหนยังทำไม่ได้ซื้อเอาครับ คงมีหลายเจ้าอยากขายอยู่ครับ อยากได้ป้อมไหนเลือกเลยครับ อย่างน้อยการทำตัวถังคงไม่ได้หยุดอยู่ที่เป็น MBT น่าจะเป็นตัวถังของ แบบอื่นไม่ใช่แค่ทัพบกอย่างเดียว
รัสเซียอเมริกาเปิดศึกยกแรกกันแล้วครับ
วิกฤติยูเครนส่อ เค้าลามเป็นสงครามการเงินระหว่างรัสเซียและสหรัฐ ที่ปรึกษา"ปูติน"ร่างแผนตอบโต้เน้นเลิกใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ใช้รูเบิ้ล
เว็บไซท์เทสโตสเตอโรน พิทของรัสเซีย รายงานอ้างคำพูดของนายเซอร์เก กลาซเยฟ ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ร่างแผนการเพื่อตอบโต้มาตรการแซงค์ชั่นของสหรัฐฯว่าประกอบด้วย เลิกพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์อย่างแท้จริง ขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้หมดทั้งพอร์ต ให้บริษัทรัสเซียเบี้ยว หนี้ ที่เป็นดอลล่าร์ให้หมด สร้างระบบการเงินใหม่ มีเงินสกุลหลักใหม่ กับกลุ่ม BRICS และกลุ่มที่ผลิตน้ำมันเช่นเวเนซูเอล่าและอิหร่าน
นอกจากนี้ นายอเล็กซีย์ อุลยูเคฟ รัฐมนตรีพัฒนาเศรษฐกิจ และอดีตรองประธานธนาคารกลางของรัสเซีย ออกมาตอบโต้ดุเดือดไม่แพ้กันว่า รัสเซียจะตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐและยุโรปด้วยการถล่มดอลล่าร์ เพิ่มการค้าด้วยการใช้เงินสกุลอื่นของผู้ค้าขายด้วยกัน และไม่ต้องใช้ดอลล่าร์อีกต่อไป รัสเซียจะทำการค้าด้วยเงินรูเบิ้ลและเงินของประเทศคู่ค้า โดยไม่ต้องผ่านดอลล่าร์ และประเทสคู่ค้าหลักที่สำคัญของรัสเซียคือจีน อินเดีย ตุรกี
ในขั้น ความร่วมมือทางการเงินเป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้ นายอุลยูเคฟ ต้องการสร้างระบบการเงินใหม่ ออกจากอิทธิพลของระบบ เปโตรดอลลาร์ ซึ่งจะมีผลให้ความน่าเชื่อถือของดอลล่าร์ลดลง ในขณะที่สหรัฐฯกำลังมีปัญหาในระบบการเงิน
ขณะที่ นายฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์ สนับสนุนประเทศฝั่งตะวันตกด้วยการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย หลังประธานาธิบดีปูติน ผู้นำรัสเซีย ออกมารับรองให้คาบสมุทรไครเมีย เป็นรัฐเอกราชแยกตัวออกจากยูเครน
การคว่ำบาตรของญี่ปุ่นต่อรัสเซีย จะประกอบไปด้วย ระงับการเจรจาผ่อนผันการขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นของชาวรัสเซีย และจะไม่มีการเปิดการเจรจาเพื่อการลงทุนครั้งใหม่ใดๆ รวมทั้งไม่มีการทำข้อตกลงร่วมมือด้านอวกาศและการทหาร
ก๊อปจากเวปพันทิพย์ http://pantip.com/topic/31798075
ข่าวจาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20140318/569614/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99.html
ท่าน GT 500 ใจเย็นๆครับ เราต้องเริ่มอุตสาหกรรมทหารอย่างรอบคอบด้วยครับ เพราะไม่งั้นจะต้องเจอชะตากรรมเดียวกับ IPTN ของอินโดนีเซียที่ต้องล้มละลายแล้วกลายเป็นภาระของประเทศ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อไปแล้ว และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตด้วย
ถ้ารัฐต้องถมเงินเพื่อการพัฒนาให้โครงการนี้ คงต้องเป็นแสนล้าน และกว่าวิจัยเองนั้นยาก นอกจากนี้ถ้าไม่มีตลาดอื่นรองรับ จะขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาและบริษัทก็จะขาดทุนสะสม และรัฐบาลต้องพยุงด้วยการจัดหาจำนวนมากเพื่อเปิดสายการผลิตให้ได้ ดูซ๊าบเป็นตัวอย่างครับ ขนาดมีตลาดรองรับ ขนาดมีชื่อเสียงมาก่อนตอนนี้กำลังเป็นภาระหนักทีเดียวสำหรับภาครัฐ
ต้องให้บริษัทที่ผลิตรถถังของเรามีตลาดรองรับ มีกำไรและอยู่ได้ด้วยตนเอง สามารถหาแหล่งระดมทุนได้ด้วยตนเอง (ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แบบบริษัทผลิตอาวุธของประเทศตะวันตก ทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ จึงจะไม่เป็นภาระแก่ประเทสชาติครับ
งานนี้ต้องร่วมมือกันระหว่างประเทศ ก้เราตั้งใจร่วมมือกับยูเครนในเรื่องนี้เต็มที่นี่ครับ แต่ยูเครนดันเจอปัญหา ดังนั้นถ้าจะสร้างโดยไปเน้นที่รถถังเบาก่อน ก็ไปร่วมกับคาดิแลคเกจในการผลิตและทำตลาดกับเขาแทนยูเครนไปก่อนก็ได้ครับ ทางนั้นเขามีสตริงเรย์ 2 รอไว้แล้ว พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี่ แต่ก็คงต้องจัดหาจำนวนมากๆ ซึ่งป่านนี้น่าจะคันละกว่า 150 ล้านแล้วมั๊ง (สมัยซื้อราคาแค่ 70 กว่าล้านบาทเท่านั้น)
ในกระทู้ก่อนๆเรื่อง BTR3-E1 นั้นมีการพูดถึงความร่วมมือกับยูเครน ถึงขั้นตั้งความหวังกันว่าเราจะเป็นฐานการผลิต BTR-3 E1 และ OPLOT-M ให้ยูเครนในแถบตะวันออกไกล ถ้ามันทำแบบนั้นได้ ต้องมีการจดทะเบียนบริษัทร่วมทุนกัน ระดมทุน แล้วหาตลาดร่วมกัน แบบนั้นจะเป็นการดีกับทั้งเราและยูเครนครับ เพราะทางยูเครนก็ต้องประจำการด้วย OPLOT-M เพื่อเรียกความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าด้วย ทำให้มีประมาณการผลิตสูงพอ
ลองไปหาดูในกระทู้เก่าๆครับ แนวทางนั้นแหล่ะครับเหมาะสมที่สุด แต่ถ้ายูเครนเกิดเดี้ยงขึ้นมา งานนี้คงต้องมองหาผู้ร่วมมือคนใหม่แทน แต่ผมว่ายูเครนคงไม่ร่มหรอกครับ เพียงแต่กลับไปถูกปกครองด้วยหุ่นเชิดรัสเซียแทน เพราะโอกาสที่อเมริกาจะแพ้สงครามทางการเงินมีสูงมากทีเดียว
IPTN ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น IAe แล้วครับ ปรับตัวดีกว่าเดิมมากทีเดียว เพราะมีบทเรียนแสนสาหัสจากวิกฤตปี 40 ที่ประเทศเราเป็นคนก่อเอาไว้ครับ
ยังไงอุตสาหกรรมทหาร เราต้องเริ่มครับ เพื่อพึ่งพาตนเองให้ได้
ดีเลยครับ แสดงว่าทางเขาน่าจะสนใจร่วมงานกับไทยเราอยู่เหมือนกัน จึงออกแบบ สติงเรย์๒ เตรียมรอไว้แล้ว นี่ก็จะทำให้เราเริ่มการผลิตได้เร็วมากขึ้น (ถ้าเราจะทำนะ) :-D
ยังไงก็ตามที่เรามาแลกเปลี่ยนความคิดกันก็คือ ตามที่ ท่าน Rayong ตั้งคำถามไว้ว่า ถ้าเราพลาดออพล็อต เพราะวิกฤติการณ์ในยูเครนตอนนี้ จะทำยังไงดี แต่ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดในยูเครน รถถังหลักเราก็คงต้องเป็น เจ้ารถถังบินออพล็อต นี่แหละครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้ตั้งโรงงานผลิตออพล็อตในไทยด้วย ผมว่าเยี่ยมเลยครับ
วกกลับมาที่ สติงเรย์ ผมว่ามีเอกลักษณ์คือ ตัวเล็กหมัดหนัก เหมาะกับสภาพภูมิประเทศบ้านเรา และถ้าสมมติเราจะออกแบบพัฒนา รถถังเบารุ่นใหม่เอง ผมว่าคอนเซ็ปตัวเล็กหมัดหนัก ก็น่าจะยังเป็นประโยชน์นะครับ และติดตั้งดาต้าลิงค์ด้วย เพื่อให้ส่งข้อมูลถึงกันได้ทุกคัน เอาแบบว่าคันนึงเห็น ทุกคันก็เห็นด้วย ออพล็อตกับกริปเพนก็เห็นด้วย ก็ว่ากันไป :-D
สติงเรย์ ๒ ตามลิงค์นี้ครับ http://www.thaifighterclub.org/webboard/17148/Stingray-II.html
Commando Stingray 2
^ คาดิแล็คเขาไม่ได้ออกแบบสติงเรย์มารอเราเป็นการพิเศษอะไรหรอกครับเขาก็ทำหาลูกค้าของเขาเพราะรุ่นแรกขายไม่ออก ก็พยายามลบข้อด้อยหาลูกค้าใหม่
^ คาดิแล็คเขาไม่ได้ออกแบบสติงเรย์มารอเราเป็นการพิเศษอะไรหรอกครับเขาก็ทำหาลูกค้าของเขาเพราะรุ่นแรกขายไม่ออก ก็พยายามลบข้อด้อยหาลูกค้าใหม่
จริงๆสตริงเรย์ 2 นี่ออกแบบจากข้อเสนอแก้ไขข้อผิดพลาดมาจากเรานะครับ ผมจำได้ และทางผู้ผลิตทำการแก้แบบดัดแปลงตามความต้องการของเราจริงนะครับ แต่ว่าเจ้ากระเบนธงตอนนั้นโดนเกมส์โจมตีจากน้ำลายคนซะหงายท้องจนเมื่อเราพิจารณาจะซื้อล๊อตต่อไป เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเปลี่ยน ผบ.ทบ. มันก็เลยเข้ากรุและไม่มีใครพูดถึงมันอีก สมรภูมิยังนำเสนอเรื่องกระเบนธง 2 ให้อ่านเลย เพราะทบ.สมัยนั้นต้องการอีก 100 กว่าคัน ครบ 1 กรม
ถ้าจะหยิบโครงการเก่ามาทำใหม่ก็ไม่เลวนะครับ เพียงแต่คราวนี้อาจจะร้องขอเปิดสายการผลิตในไทยได้ครับ อาจจะร้องขอการทำตลาดร่วมกันได้ด้วย เขาอยากขายจะตายครับ ประเทศแถบนี้เหมาะสมกับรถถังเบาเป็นอย่างมากเลย