ในช่วงหลังนี้แนวโน้มความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรือบรรทุกเครื่องบินปีกนิ่ง (ขอย่อว่า รบบ.) น่าสนใจนะครับ เท่าที่ทราบมีหลายประเทศ ที่กำลังเตรียมการจัดหาเข้าประจำการ และบ้างก็กำลังจะปรับปรุงเรือ เพื่อให้บรรทุก บ.ปีกนิ่ง ได้กันอยู่ เช่น ๑)สิงคโปร์/แสดงโมเดลแล้ว(เอนเดอแรนซ์ ๑๖๐) ๒)ออสเตรเลีย/เตรียมรับมอบเรือ (แคนเบอร์ร่า) ๓)เกาหลีใต้/เตรียมปรับปรุงเรือ (ดอกโด) เพื่อรองรับ เอฟ๓๕บี ๔)ญี่ปุ่น/เตรียมปรับปรุงเรือ (เฮียวกะ) เพื่อรองรับ เอฟ๓๕บี เหมือนกัน และกำลังต่อลำใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ยังมี ๕) อินเดีย และ ๖) จีน อีกที่กำลังต่อ รบบ. ลำใหม่เพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้บอกอะไรเรา ผมว่าหมายถึง ทุกประเทศที่กล่าวมามองว่า รบบ. มีพลานุภาพและบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการรบและภารกิจอื่นๆ ที่สำคัญของประเทศ
จากข้อมูลเท่าที่ทราบ :-D ก็น่าจะแบ่งประเภทของการจัดหา รบบ. ประจำการได้ ๒ แบบ คือ ๑) ต่อเรือใหม่ และ ๒) ซื้อมือสองมาปรับปรุง แต่ผมคิดว่าที่น่าสนใจคือ การซื้อเรือมือสองมาปรับปรุง เช่น อินเดีย คือ รบบ.วิราท (เดิมเป็นเรืออังกฤษ) และ รบบ.วิกรมดิฐย์ (เดิมเป็นเรือรัสเซีย) นอกจากนี้ยังมี จีน คือ รบบ.เหลียวหนิง (เดิมเป็นเรือโซเวียต แต่ยังต่อไม่เสร็จ ยูเครนขายต่อให้จีน) จึงพอจะเห็นภาพว่า การปรับปรุง รบบ. เก่า ให้ทันสมัยเพิ่มขีดความสามารถต่างๆ เพื่อใช้ราชการต่อไป เป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รบบ.วิกรมดิฐย์ ที่ค่อนข้างชัดเจน แล้วอีกอย่าง รบบ. ก็มีอายุราชการค่อนข้างยาวนานทีเดียว เช่น รบบ.วิราท ของอินเดีย ถ้านับตั้งแต่ประจำการที่อังกฤษ จนถึงปัจจุบัน ก็น่าจะประมาณ ๕๔ ปีแล้ว
มองมาที่ไทยเรากันบ้าง ถ้าไม่นับอินเดีย ไทยมี รบบ.ที่ยังประจำการอยู่มาต่อเนื่องยาวนานที่สุด (ลำเล็กที่สุดด้วย) นอกนั้นหลังเราหมดครับ น่าภูมิใจนะครับ แต่กลัวจะเหมือนเรือดำน้ำซิครับ :-D ดังนั้นเราควรจะปรับปรุงอย่างไรดี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ ๙๑๑ รองรับ บ.ปีกตรง ได้หลากหลายแบบมากขึ้น โดยไม่ต้องยึดติดอยู่กับ บ. STOVL เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ ๙๑๑ ยืดหยุ่นขึ้นและมีอายุราชการยาวนาน (เพื่อรอลำใหม่) เพื่อนๆ คิดว่าเป็นไปได้มั้ยหรือมีความเห็นอย่างไร มาช่วยกันคิดเล่นๆ นะครับ :-D
เอนเดอแรนซ์ ๑๖๐
เฮียวกะ
ดอกโด
กอชค้อฟ ก่อนเป็น วิกรมดิฐย์
วิกรมดิฐย์
วิราท
ภาษาไทยน่าจะใช้คำว่าบ.ปีกตรึงนะครับ
เรือลำเล็กไปครับ ดัดแปลงไม่ไหวหรอก ขนาดมันพอแค่บ.ปีกตรึงSTOVL เหมือนกระทู้นี้ที่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
ปล.Dokdo อ่านว่า ดกโด นะครับ
ขึ้นเรือแล้วต้องออกทะเลนิดหนึ่งครับ ท่านภูแวะไปดูเรือลำใหม่แต่หน้าเดิมของผมหน่อยไหม ทีเด็ดอยู่ที่ประวัติอากาศยานปีกแข็งทั้งหลายแหล่ที่นั่งจิ้นเสร็จตอนนี้เอง(เมื่อวานนั่งวาดลายพรางอยู่นานมาก จะทำสัญลักษณ์ประจำฝูงด้วยนะแต่พอดีกว่า ปวดตาแล้ว)
ทนอ่านภาษาอังกฤษห่วยๆของผมหน่อยนะ ช่วงนี้เจอแต่ต้นไม้แสงแดดแล้วก็น้องหมา(สาวโรงงานด้วย) ถ้าเจอฝรั่งเข้ามาทักผมวิ่งหนีจริงๆด้วย ไม่ได้เขากรุงเทพปีกว่าๆแล้วไม่รู้มีใครย้ายเดอะมอลล์ บางกะปิไปหรือยัง :(
เห็นแล้วครับท่านSuperboy แต่จะมีSatcomไปทำไมเยอะแยะตั้ง4ลูกล่ะนั่น (- -''')
ว่าแต่ทำไมผมอ่านประวัติA-4แล้วขำหว่า คล้ายๆชีวิตจริงนะครับ หุหุ
ปล.ผมว่าสัญลักษณ์บนเครื่องบินท่านsuperboyมันเหมือนไอ้นี่นะ
ผมติดใหญ่2เล็ก2 สำหรับ Satellite Communication network กับ secure tactical communication network อันที่จริงที่เคยเห็นเรือรบยุโรปก็ติด3-4ลูกกันทั้งนั้นนะครับ (F-125ผมนับได้มากกว่า4อีก) เพียงแต่เรือเราใหญ่ก็เลยใช้ลูกใหญ่กว่าเท่านั้นเอง
ในAUผมปรับปรุงเรือให้ใช้Link16แล้วเลยเยอะกว่าเรือของจริงหน่อย เรื่องSatcomนี่ไม่ค่อยกระจ่างเห็นยังมี wideband integrated microwave communication network ด้วยนะวันหลังต้องหาข้อมูลมาอ่านเพิ่ม
สัญลักษณ์เป็นตัวAใหญ่ภาษาเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวครับ คำแรกของประเทศในAUผมเบื่อวงกลมกับสีเหลี่ยมหนะ
ขออนุญาตจขกท.ออกทะเลต่อนิดนึงนะครับ ท่านsuperboyครับช่วยดูหน่อยเสากระโดงเรือM65มันเป้นยังไงกันแน่?? พยายามวาดอยู่แต่ยิ่งดูยิ่งงง
ท่านภูตาถึงมากครับที่เลือกเรือลำนี้ ภาพที่ลงไม่แสดงนะแต่แบบเรือM65ของมาร์ซันที่ถ่ายโดยเสี่ยโยมีภาพเดียวในโลกนี้
ที่ผมว่าตาถึงก็คือปรกติแบบเรือของมาร์ซันจะเป็นไส้กรอกสั้น ใส้กรอกยาว ใส้กรอกยาวมาก อะไรพวกนี้ คือแบบเรือเหมือนเดิมแต่ขยายขนาด เรือM58ก็เช่นกันผมดูแล้วเป็นการเอาต.996มาขยายออกไปอีก ข้อดีก็คือราคาไม่แพงคนต่อทำด้วยความชำนาญ แต่เรือมันก็มีความจำกัดตามแบบแปลนซึ่งถ้าเอามาใช้ตรวจการณ์เหมือนเดิมก็คงไม่มีอะไรมาก
แต่M65ไม่ใช่ตามนนี้เลยดูจากภาพจะเห็นได้ว่ามันกว้างกว่ามาก จากภาพติดปืน57มมบนสะพานเรือที่ยกสุง1ชั้น ขณะที่ด้านกลางเรือมีเครนใหญ่มาก1อัน มีเรือโบ๊ทด้านซ้าย1ลำตรงกลางเป็นตู้คอนเทนเนอร์2ตู้ด้านขวาเป็นเรือยาง2ลำ ท้ายเรือยังติดจรวดSSMได้อีก4ลูกสบายๆนี่มันแบบเรือจากต่างประเทศแน่นอน มาร์ซันเองไม่เคยเอาภาพมาแสดงอีกเลยเพราะตัวเองคงไม่มีลิคสิทธิ์ ที่กองทัพเรือไม่เลือก(เสียดาย)คงเพราะราคามันคงเลย700ล้านไปไกลแหละครับ อยากรู้จริงๆต้องตามดมกลิ่นไปที่แบบเรือต่างประเทศ ไอ้ประเทศที่ใช้ปืน57มม.นั่นแหละ
พูดซะยาวเลยมาที่เสากระโดงเรือดีกว่า ดูภาพที่ผมทำให้จะเห็นว่าเสามีปีก2ชั้นแต่เลือกที่จะติดเรดาร์ไว้ด้านหน้า(ถือว่าดีแบบเรือรุ่นใหม่ๆ) เรดาร์ตัวบนเล็กกว่าจึงน่าจะเป็นX BAND ตัวล่างใหญ่กว่าจึงเป็น S BAND (แต่ปรกติตัวใหญ่จะอยู่บนนะ) เสาเรือมีเจาะตรงกลางและเหมือนจะมีเสาเล็กๆแทรกด้านหน้า ส่วนที่อยู่หน้าเสาผมไม่แน่ใจ ถ้าไม่ใช่มิราดอร์เพราะติดอยู่ด้านหน้าก็ต้องเป็นเรดาร์หละครับ thales variant อะไรพวกนี้หละมั้งสไตล์การติดเรดาร์คล้ายแบบเรืออิตาลี
มีภาพเดียวตอบยากจังเอาใจช่วยแล้วกัน เรือลำนี้ขยายด้านท้ายทำเป็นเรือOPVแบบที่2ของท่านนีโอได้นะ แต่ถูกดองเค็มเสียแล้วน่าเสียดายเหอๆ จะว่าไปเรือOPVผมยาว68เมตร ส่วนเรือของเดนมาร์คยาวแค่62เมตรแต่ของเขามีทั้งลานจอดเฮลิคอปเตอร์และเครนใหญ่มาก อีกทั้งยังออกแบบให้ติดVLSในอนาคตได้ด้วยแบบเรือโคตรดีเลย
ขอนอกเรื่องนิดนะครับ พอดีเห็นรูปเรือบรรทุก ฮ.ของญี่ปุ่นแล้วประทับใจกับการให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ คือ ตรงที่เก็บสมอเรือ(แฮๆ..เรียกไม่ถูก) เขากันไม่ให้น้ำทะเล+สนิมไหลลงมาโดนตัวเรือ ต่างกับเรือหลวงอ่างทองของเราพึ่งใช้ประจำการได้ไม่นาน มีรอยสนิมเป็นทางตั้งแต่ปีแรกที่ประจำการเลย
เปรียบเทียบให้ดูเฉยๆนะครับไม่ได้ว่าใคร....
ไม่แน่ใจว่าที่อ่างทองจะเป็นสนิมหรือไม่นะครับ แต่ที่ผมเคยลงเรือนี้ และเห็นตอนทั้งทิ้งสมอ และกว้านสมอขึ้น โคลนใต้ทะเลของบ้านเรานี่ติดมาเต็มเลย ต้องมีการเอาสายดับเพลิงฉีดน้ำไล่ดินโคลนที่สมอออก จึงน่าจะเป็นคราบดินโคลนที่ไหลลงเป็นทางด้วยส่วนหนึ่งครับ (ไม่แน่ใจนะครับ)
สมอเรือเป็นไปตามราคาและแบบเรือครับ เรือหลวงจักรีก็เหมือนของญี่ปุ่นไม่มีน้องหนิมเกาะ(ไม่ประทับใจบ้างเหรอครับประจำการตั้งแต่ปี1997แล้วนา)ส่วนเรือสิงค์โปร์ต้นตำหรับมีสนิมเกาะไม่ต่างกัน เพียงแต่ของเขาสีเข้มกว่าเลยเห็นไม่่ชัดเท่าของเรา
ไม่อยากให้เอาเรือLPDไปเปรียบเทียบกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เลยครับ สมควรจะเทียบกับแบบเรือเดียวกันมากกว่า เพราะเรือLPD LSTสนิมถามหาเยอะกว่าเรือแบบอื่นๆหน่อยเพราะใช้งานเยอะกว่า ขนาดเรืออิตาลีหรืออังกฤษที่ใหญ่กว่าเรายังเขอะเลย
giorgio class ของอิตาลี ต่อโดยอู่เรือระดับโลกที่ต่อเรือรบให้อิตาลีมาแล้วไม่ต่ำกว่า50ลำก็มีน้องหนิม เคยเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในโครงการเรือLPDลำที่1ของเรา แต่แพ้ให้กับสิงค์โปร์เพราะราคามั้งครับ เขามีแผนจะปลดประจำการบางลำใน5ปีข้างหน้าแล้วเอาเรือLPDดาดฟ้าเรียบขนาด2หมื่นตันมาแทน สนใจน้องหนิมจากแดนมักกะโรนีบ้างไหมครับ รองรับเฮลิคอปเตอร์จีนและเอารถไปจอดบนดาดฟ้าได้ด้วยนะเออ
ลิงค์ที่ ท่าน Phu2000 ให้ไว้ ผมว่ามีประโยชน์มากนะครับ มีทั้งเห็นด้วยว่าควรจะปรับปรุงและไม่เห็นด้วย ก็เป็นธรรมดาครับ แต่ผมคิดว่าควรปรับปรุง ๗๑๑ นะครับ ซึ่งที่ท่าน Juldas ให้ความเห็นไว้ก็น่าสนใจมากครับ แต่ดูจากแบบแล้วยังเน้นไปที่การขยายลานบินบน ๙๑๑ ไปทางด้านข้างมากกว่าด้านท้ายเรือนะครับ ส่วนผมคิดว่าด้านท้ายเรือ ๙๑๑ นั้น ดูเหมือนว่าจะขยายออกไปได้อีกมาก เพราะว่าท้ายเรือ ๙๑๑ ถูกออกแบบให้เฉียงออกไป ผมว่าน่าจะทำให้ลานบินยื่นออกไปด้านท้ายได้อีกซักอย่างน้อยก็ประมาณ ๑๐ เมตร หรือเปล่าครับ
ซึ่งถ้ายื่นออกไปด้านท้ายได้อีก บวกกับยื่นออกไปด้านข้างตามแบบ ท่าน Juldas แล้วติดลวดเกี่ยวลงจอด ผมว่าก็ไม่แน่นะครับ อาจจะประจำการเครื่องบินแบบเทอร์โบพร๊อบได้ เช่น ทูคาร์โน่ เควัน(เกาหลีใต้) หรือ บ.ทอ.๖(ปรับปรุง) ได้หรือเปล่า แต่ถ้าได้ กริปเพน ก็เยี่ยมเลย ส่วนตัวคิดว่ามันน่าจะเป็นไปได้นะครับ แต่ก็ไม่แน่ใจจนกล้าฟันธงลงไปนะครับ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ได้ :-D
แต่ถ้าจะเอาจริงๆ ผมว่าคงต้องพึ่งหมอใหญ่ประจำตัว ๙๑๑ อย่าง นาวานเทีย ของสเปน มาเป็นที่ปรึกษาถ่ายทอดวิชากันหน่อยล่ะครับ แล้วให้อู่กรุงเทพดำเนินการกันต่อไป น่าจะดีมั้ย :-D
ปล. มาแล้วยังดีกว่ามาช้า มาช้ายังดีกว่าไม่มา :-D
ท้ายเรือ ๙๑๑ ภาพจาก phutawancamp.com
อินเดียยังทำได้ดูจากรูปข้างบนแล้ว ไม่น่ามีปัญหา ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำหรือเปล่าครับ
เรือบรรทุกบ. ลำที่สองผมว่าเราควรออกแบบเองครับ โดยยังไม่ปลดประจำการ 911
มาถึงวันนี้ ผมเริ่มมั่นใจในศักยภาพขีดความสามารถในการต่อเรือของ ทร. มากขึ้นมากครับ จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจขึ้นอีกเมื่อเรือฟรีเกตใหม่ลำที่สองถูกต่อโดยทร.เองจริง ดังนั้นถ้าทร. จะทำการขยายแบบเรือจักรีให้ใหญ่ขึ้นเป็น 16,000 - 20,000 ตัน ด้วยตนเองหรือมีที่ปรึกษา (อู่นูโวเทียร์ ; ไม่รู้ยังอยู่หรือเปล่า) ผมว่า ทร. น่าจะสามารถ ต่อเรือขนาดนี้เองได้ น่าจะสามารถกำหนดสเปกให้ครบคลุมรองรับเครื่องบินได้มากแบบขึ้น
เช่น ออกแบบลิฟท์ให้อยุ่ด้านข้างและขึ้นลงระหว่างดาดฟ้าลานบินกับดรงเก็บด้านล่างได้แบบเรือบรรทุกบ.ทั่วไป ซึ่งคงต้องเพิ่มความสูงของดาดฟ้าลานบินและโรงเก็บให้สูงจากแนวน้ำมากกว่านี้
ออกแบบเผื่อลวดหน่วงความเร็ว
ออกแบบเผื่อสำหรับตัวคัตตาพลัสท์ สองชุด
รองรับเครื่องบินรบแบบ F-35C FA-50 sea gripen หรือเครื่องปีกตรึงแบบอื่นๆที่มีขนาด ต่ำกว่า 10 ตันลงมาได้
ออกแบบเอง ต่อเอง น่าจะถูกกว่าและตรงตามความต้องการมากกว่าครับ หรือถ้าจะลองความมั่นใจ ก็ลองซื้อแบบ เอนดูแร่น ลำที่สองมาต่อเองดูก้ได้ เพื่อเพิ่มความชำนาญการต่อเรือขนาดใหญ่ ถ้าอู่ไม่พอ ลงทุนอู่แห้ง No 2 เลยครับ หาเรื่องขยายอู่ต่อเรือเล้ย
ส่วน 911 นั้น ผมว่ามาถึงวันนี้ถ้า ทร. จัดการเรื่องเรือดำน้ำให้ได้ภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า ก็คงมีลุ้นได้ครับว่า 5 ปีต่อจากนี้เมื่อ harrier2+ ปลดประจำการจาก นย. อเมริกัน เราอาจจะจัดหาเข้าประจำการ อยากได้สัก 12 ตัวมาใช้บน 911 จริง ใช้เงินพอๆกับเรือ LPD 1 ลำ ใช้งานไปได้อีก 20-25 ปี สบายๆ
เรือบรรทุกบ. ในภูมิภาคนี้มันชักจะเยอะกันขึ้นแบบพรวดพราดเลยแฮะ......
กว่า ทร.จะจัดหาเรือดำน้ำได้ กว่าจะต่อเรือฟรีเกตใหม่ 2-3 ลำจนครบ กว่าจะต่อ OPV ลำที่ 2 3 4 กว่าจะจัดหา LPD ลำที่ 2 ผมว่าใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10-15 ปี ข้างหน้า เวลาเยอะขนาดนี้ น่าจะเจียดคนและเวลามาลองทยอยแก้แผนแบบ 911 ให้มันใหญ่ขึ้น เป็น CATOBAR หรือ STOBAR ดูก็ไม่เลวครับ
ปล. ท่าน superboy ครับ ผมนึกออกแล้วว่าแนวทาง OPV ที่ผมเสนอและหน้าตา ผมไปได้แนวคิดจากใคร ผมตะหงิดๆว่าเคยเห็นเรือคล้ายๆอย่างที่คิดนี้ที่ไหน อ้อ FSC C-3 ของอู่ BVT นั่นเอง ดันจำไม่ได้ เพียงแต่ตำแหน่งติดตั้ง SSM มันคนละที่เท่านั้น รู้สึกท่านจูลดาสจะเคยลงไว้ และ FSC C-3 จะมีขีดความสามารถในด้านการต่อต้านเรือดำน้ำด้วย ท้ายเรือวางตู้คอนเทนเนอร์ได้เหมือน OPV 2600
เห็น jane ลงข่าวอู่ มาร์ชันได้งานลงนามต่อเรือจาก ทร. แบบ M-58 แล้วชื่นใจครับ
ผมว่าน่าจะอันนี้ล่ะครับ บริษัท Navantia ที่ทำ ๙๑๑ ก็ยังอยู่นะครับ ท่านนีโอ ผลงานล่าสุดก็ รบบ.ฮวนคาร์ลอส (สเปน) และก็กำลังจะส่งมอบ รบบ.เคนเบอร์ร่า (ออสเตรเลีย) ครับ
ของอินเดียลำใหญ่กว่าบานตะไทครับ ถ้าเอาเรือประจันบาญมาให้ผมว่าเราโมดิฟายเอาเอฟสิบห้าลงก็ได้เหมือนกัน
ถ้าจะต่อออกไปข้างหลัง ความแข็งแรงคงต่ำกว่าเดิมเยอะเลย
ผมว่าในทางทฤษฏีซื้อใหม่อาจจะคุ้มค่ากว่าด้วยซ้ำ หรือไม่ก็ซื้อที่เป็น amphibous ไปเลยแล้วเอาให้ขน f-35b ได้ (เริ่มฝัน) ซึ่งยามใดไม่มีเครื่องบินก็ยังเป็นเรือโจมตียกพลได้อยู่ เพราะอย่างที่ท่านนีโอฯ ว่าว่าโครงการมันจะอีกเป็นสิบๆ ปีซึ่งเงินก็คงพอแหละ
แต่ในทางปฏิบัติอาจจะถูกมองว่าสิ้นเปลือง ขณะที่ถ้าปรับปรุงลำเก่าต่อให้งบบานปลายจนไม่คุ้มกับซื้อใหม่แต่คนอาจจะ approve กว่าเพราะเป็นแค่การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้ว จึงอาจจะเกิดได้ง่ายกว่า
ถ้าจะปรับปรุงขยายดาดฟ้าเรือ ผมว่าอาจจะยุ่งยากและเสี่ยงที่จะทำให้เรือเสียหายนะ จัดหาใหม่ให้เป็นแบบ LPH ไปเลยน่าจะดีกว่า
เรือ 911 ผมคิดว่าคงจะประจำการต่อไปได้สัก 30-40 ปี ดังนั้น ในระยะแรกคงไม่ต้องปรับปรุงอะไรมาก แค่หา AV8B กับ ฮ. มาประจำการให้ครบจำนวน หลังจากนั้นอีกสัก 20 ปีข้างหน้าค่อยปรับปรุงใหญ่ทั้งระบบต่างๆ และดาดฟ้าเรือก็ทำให้รับน้ำหนักได้มากขึ้นจนสามารถใช้ F35B ได้เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอ ครับ