หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 15/03/2014 11:45:22

เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2557 17:08 น.    
 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ
เรือยูเอสเอสเร็นต์ (USS Rentz, FFG 46) เรือฟริเกตติดจรวดนำวิถี (ไกลสุด) เข้าขบวนฝึกซ้อมทางยุทธวิธีของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีคาร์ล วินสัน (USS Carl Vinson, CVN 70) ในทะเลแปซิฟิกตอนใต้รัฐแคลิฟอร์เนียวันที่ 1 ก.ย.2553 ประกอบด้วยเรือแม็คคลัสกี (USS McCluskey, FFG 41) เรือสต็อกเดล (USS Stockdale, DDG 106) เรือกริดลีย์ (USS Gridley, DDG 101) ซึ่งเป็นเรือพิฆาชั้นอาร์ลีย์เบิร์ก (Arleigh-Burke Class) กับเรือเลคแชมเพลน (USS Lake Champlain, CG 57) และเรือบังเคอร์ฮิล (USS Bunker Hill, CG 52) ทั้งสองลำเป็นเรือลาดตระเวณชั้นติคอรเดโรกา (Ticonderoga Class) เรือเร็นต์กับเรือแม็คคลัสคีย์รวมอยู่ในเรือฟริเกต 7 ลำที่จะปลดระวางปี 2557 ลำแรกสหรัฐให้ไทยและลำหลังให้กองทัพเรือเม็กซิโก. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Ashley Van Dien.
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพเรือสหรัฐฯ นำเรือฟริเกตติดจรวดนำวิถีชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอรี (Oliver Hazard-Perry-Class) ลำหนึ่งกลับจากภารกิจสุดท้ายปลายสัปดาห์ที่แล้ว และเข้าสู่ขั้นตอนรอปลดประจำการอย่างเป็นทางการในอีก 3 เดือนข้างหน้า ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนที่ประกาศล่วงหน้ามาข้ามปี เรือรบลำนี้ก็จะตกเป็นของราชนาวีไทยแบบฟรีๆ ตามแผนการช่วยเหลือชาติพันธมิตรจำนวนหนึ่งของสหรัฐฯ
       
       เรือยูเอสเอสเร็นต์ (USS Rentz, FFG 46) ปฏิบัติภารกิจสุดท้ายตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา โดยทำหน้าที่หลักลาดตระเวน-สกัดกั้นขบวนการลักลอบขนยาเสพติดในเขตปฏิบัติการ กองทัพเรือที่ 4 ครอบคลุมอ่าวแคริบเบียน ละตินอเมริกา-อเมริกาใต้ รวมทั้งชายทะเลทั้งฝั่งแอตแลนติก และแปซิฟิก ก่อนกลับถึงฐานทัพเรือซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นสังกัดต้นตอเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐฯ
       
       นั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่า เรือเร็นต์ กำลังเข้าสู่กระบวนการปลดระวางประจำการตามกำหนด
       
       ช่วง 2 ปีมานี้ เรือ FFG 63 มีผลงานมากมายในการปราบปราม-จับยึดยาเสพติดที่ถูกลักลอบนำเข้าสหรัฐฯ โดยขบวนการใหญ่ในย่านละตินอเมริกา โดยออกลาดตระเวนทางฝั่งแปซิฟิกและฝั่งแอตแลนติกโดยข้ามคลองปานามา รวมทั้งเคยร่วมการฝึกซ้อมกับเรือรบชาติพันธมิตรอเมริกาเหนือ-ใต้ ซึ่งจัดขึ้นในทะเลแคริบเบียน ตั้งแต่นี้ต่อไปได้กลับคืนสังกัดกองทัพเรือที่ 3 (จากชายฝั่งทะเลตะวันตกในแปซิฟิก-มลรัฐฮาวาย จนถึงเส้นแบ่งเวลาสากล) ปฏิบัติหน้าที่ร่วมการฝึก-ลาดตระเวณชายฝั่ง เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุโดยไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับกำหนดปลดระวางในวันที่ 23 พ.ค.ปีนี้
       .
       
       .
       เรือเร็นต์เป็นลำท้ายๆ ในบรรดา “เรือเพอรี” ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน และสหรัฐฯ จะทยอยปลดให้หมดในปี 2562 อีก 1 ลำที่ประกาศมอบให้ราชนาวีไทยหลังเดือน มี.ค.2558 หรือปีหน้าคือ ยูเอสเอสแวนเดกริฟต์ (USS Vandegrift, FFG 48)
       
       เรือชั้นเพอรี หรือเรียกง่ายๆว่า OHP สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนเรือชั้นน็อกซ์ (Knox class) ที่ทยอยปลดระวางจนหมดทั้ง 46 ลำ ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ก่อนนำไปทำลายทิ้งเป็นเศษเหล็กกับอีกจำนวนหนึ่งจำหน่าย หรือมอบให้ชาติพันธมิตรเพื่อนำไปอัปเกรด ฟื้นฟูระบบต่างๆ ขึ้นใหม่ ติดระบบอาวุธใหม่ ปัจจุบัน เรือชั้นน็อกซ์ ยังคงประจำการในกองทัพเรือ 7 ประเทศ รวมทั้งในราชนาวีไทย 2 ลำ คือเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (461) กับเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (462)
       
       สำหรับ OHP ถึงแม้จะมีขนาดเท่าๆ กับเรือรุ่นพี่ คือ 4,200 ตันเท่าๆ กัน แต่ก็ยาวกว่า เพรียวกว่า เร็วกว่า ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่า ติดระบบอิเล็กทรอนิกส์ กับระบบอาวุธที่ทันสมัยล้ำหน้ากว่าและยังมีพื้นที่สำหรับติดระบบรวดนำวิถีใน ชั้นได้มากมายซึ่งเป็นเสน่ห์สำคัญยิ่ง
       .
       
       .
       มี 2 เหตุการณ์ที่ทำให้เรือชั้นเพอรีตกเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่ได้ช่วยพิสูจน์ว่าเรือ OHP ทั้งอึดทั้งทนต่อการทำลายล้างของอาวุธทันสมัย
       
       วันที่ 17 พ.ค.2530 ในช่วงปีแห่งสงครามอิรัก-อิหร่าน เรือยูเอสเอสสตาร์ก (USS Stark, FFG 31) ถูกยิงด้วยจรวดเอ็กโซเซต์ จากเครื่องบินอิรักขณะลาดตระเวณในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม ฮุนเซน ในขณะนั้นกล่าวว่า ด้วยความเข้าใจผิดของนักบิน และได้สั่งลงโทษแล้ว เหตุการณ์นี้ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 37 คน เรือเอียงไปกราบขวาแต่ไม่จม ผู้บังคับการเรือถูกนำตัวขึ้นศาลทหารในเวลาต่อมาฐานปฏิบัติหน้าที่ในความ ประมาททำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และถูกลงโทษ การสอบสวนปรากฏว่าขณะถูกโจมตีเรือสตาร์กไม่ได้อยู่ใน “โหมด” ป้องกันใดๆ ทั้งสิ้น
       
       อีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 14 เม.ย.2531 เรือยูเอสเอสแซมมิวล์ บี โรเบิร์ต (USS Samuel B Roberts, FFG 58) ชนทุ่นระเบิดบรรจุทีเอ็นที 250 ปอนด์ ของอิหร่าน ในอ่าวเปอร์เซียเช่นกัน แรงระเบิดทำให้ระบบขับเคลื่อนเสียหายอย่างสาหัส ท้องเรือเป็นรูโหว่กว้างขนาด 9 ฟุต (เกือบ 3 เมตร) เหตุการณ์นี้ทำให้สหรัฐฯ โจมตีแท่นเจาะน้ำมันแห่งหนึ่งของอิหร่านเสียหายยับเยิน โดยระบุว่าเป็นแหล่งซ่องสุมทุ่นระเบิด เป็นแหล่งปฏิบัติการวางทุ่นในบริเวณดังกล่าว
       
       ทั้ง 2 เหตุการณ์ทำให้เรือถูกไฟไหม้อย่างรุนแรง ลูกเรือพยายามแก้ไขด้วยระบบควบคุมความเสียหายที่มีอยู่ และทำให้ลอยลำอยู่ได้ จนกระทั่งเวลาต่อมา จึงถูกลากไปยังมิตรประเทศในย่านอ่าวเปอร์เซีย เรือสตาร์ก แล่นกลับสหรัฐฯ ด้วยตัวเอง ส่วนเรือโรเบิร์ต ถูกนำขึ้นเรือขนส่งขนาดใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ลำหนึ่งกลับมาตุภูมิ ได้รับการซ่อมแซม และกลับเข้าประจำการอีกครั้งก่อนปลดระวางในอีก 1 ปีถัดมา
       .
       
       .
       เรือชั้นเพอรี สร้างออกมาทั้งหมด 55 ลำ เป็น 2 รุ่นคือ รุ่นสั้นกับรุ่นยาว (ต่างกันราว 3 เมตร) และต่อจากหลายอู่ ในนั้น 51 ลำ เป็นของกองทัพเรือสหรัฐฯ อีก 4 ลำของราชนาวีออสเตรเลีย ในนั้น 2 ลำต่อในออสเตรเลียเอง กับอีก 8 ลำต่อในไต้หวัน สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน และ 6 ลำต่อในสเปน สำหรับราชนาวีสเปน
       
       ปีนี้กองทัพเรือสหรัฐฯ กำลังจะปลดระวางเรือทั้งหมด 9 ลำ ในนั้นเป็นเรือฟริเกต 7 ลำ ซึ่งจะทำให้มีเรือชั้นเพอรีเหลืออยู่ในกองทัพอีกราว 10 ลำ และจะทยอยปลดให้หมดภายใน 5 ปีข้างหน้า ตามจังหวะของการสร้างเรือโจมตีชายฝั่ง (Littoral Combat Ship) ทั้ง 2 รุ่น (ชั้น) ที่จะนำเข้าประจำการแทนคือ เรือชั้นฟรีดอม (Freedom Class, LCS 1) กับอินดีเพนเดนต์ (Independence Class, LCS 2)
       
       หลังจากใช้งานเป็นเวลา 30 ปี สหรัฐฯ มีวิถีปฏิบัติในการเสนอให้เรือฟริเกตที่ปลดประจำการแก่ชาติพันธมิตรจำนวน หนึ่ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูยกระดับให้เรือมีสภาพสมบูรณ์ซึ่งเป็นเงินตั้งแต่ หลายสิบ จนถึงร้อยล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าติดตั้งระบบอาวุธซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกเองของประเทศปลายทาง
       
       อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกชาติที่จะได้รับสิทธิดังกล่าว ที่ผ่านมา มีเพียง 5 ชาติที่สหรัฐฯ ยอมจำหน่าย หรือให้เปล่าเรือ OHP ที่เกษียณไปก่อนซึ่งได้แก่ บาห์เรน อียิปต์ ปากีสถาน โปแลนด์ และตุรกี ราชนาวีไทย ก็เป็นเพียง 1 ใน 6 กองทัพเรือทั่วโลกที่มีโอกาสได้ใช้เรือฟริเกตชั้นน็อกซ์ (Knox-class) ก่อนหน้านั้น
       
       สำหรับเรือ OHP มาเลเซีย เคยขอซื้อจากสหรัฐฯ 2 ลำ แต่ยังไม่มีคำตอบจากเพนตากอน เช่นเดียวกับ ฟิลิปปินส์ ประเทศพันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ของสหรัฐฯ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกับไทยทุกประการ และกำลังต้องการเรือรบอย่างยิ่งยวด แต่ก็ยังไม่เคยได้รับสิทธินี้ และรอลุ้นล็อตสุดท้ายอย่างใจจดใจจ่อ
       
       ในปี 2555 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้แจ้งต่อคณะกรรมาธิการอาวุธ และคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่ง ต่อมาได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการส่งมอบเรือออก มาฉบับหนึ่งและเสนอต่อวุฒิสภาในเดือน ม.ค.2556 ซึ่งในนั้นรวมทั้งการให้เปล่าเรือฟริเกตทั้ง 2 ลำ แก่ราชนาวีไทยด้วย เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งทั่วโลกบรรจุชื่อเรือเร็นต์กับเรือแวนเดกริฟต์ เข้าในกองเรือฟริเกตของไทยตั้งแต่นั้น แม้จะยังไม่ทราบความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย หรืออย่างน้อยที่สุดก็ยังไม่เคยมีข่าวคราวเรื่องนี้ออกจากกระทรวงกลาโหม หรือกองทัพเรือสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ
       
       และถ้าหากไทยไม่สนใจที่จะรับ เรือรบทั้ง 2 ลำก็มีโอกาสที่จะผ่านไปสู่มือประเทศเพื่อนบ้านที่มีความต้องการมากกว่าโดยง่ายดาย.
       .
       

ใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของ


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

เคย เก๋าในย่านนี้ -- เรือฟริเกตติดจรวดนำวิถี USS Rents, FFG 46) แล่นในทะเลจีนใต้วันที่ 15 ก.พ.2553 ในช่วงที่ประจำการกองทัพเรือที่ 7 ในกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีนิมิตซ์ (Nimitz Carrier Strike Group) เรือเร็นต์อาจจะได้กลับมาประจำการย่านนี้อีก ..ตลอดไป ในกองเรือรบของราชนาวีไทย หรืออาจตกไปสู่มือของมาเลเซียหรือฟิลิปปินส์ ถ้าหากไทยไม่สนใจที่จะรับ. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 2nd Class John Philip Wagner Jr.
       

2


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

ตี โค้งโชว์ -- เรือแวนเดกริฟต์ (USS Vandegrift, FFG 48) ในภาพวันที่ 9 พ.ย.2546 เข้าขบวนกับเรือพิฆาตมาร์แชลชาปอสนิคอฟ (Shaposhnikov, DD 543) ในการฝึก Russian Passing Exercise (PASSEX) นั่นคือช่วงปีที่เรือ OHP ลำนี้ประจำการที่ฐานทัพโยโกสุกะ ในญี่ปุ่น สังกัดกองทัพเรือที่ 7 สหรัฐประกาศมอบให้ไทยอีกลำ เป็นลำที่ 2 หลังปลดระวางในเดือน มี.ค.ปีหน้า. -- US Navy Photo/Photographer's Mate 3rd Class Gary B Granger.
       

3


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

เรือ USS Rentz (FFG 46) ในภาพวันที่ 8 ก.ย.2556 หรือ 6 เดือนก่อนหน้านี้ คู่กับเรืออิโรควอยส์ (HMCS Iroquois, F 280) เรือฟริเกตของราชนาวีแคนาดา ระหว่างการฝึกซ้อม "อูนิตาส 2013" ซึ่งมีความหมายว่า "เอกภาพ" เป็นการฝึกร่วมระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตรอเมริกาเหนือและใต้ ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาเรือเร็นต์ผ่านน่านน้ำต่างๆมาทั่วโลก. -- Royal Canadian Navy Photo/Cpl Anthony Chand .
       .
       

4


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

เรือ ชั้นเช็งกุง (Cheng Kung-class) ของกองทัพเรือไต้หวันซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้นโอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอรี หนึ่งในจำนวน 8 ลำที่ต่อเองภายใต้สิทธิบัตรติดตั้งจรวดนำวิถียิงเรือแบบ Hsiung Feng II ที่ผลิตเองอยู่บริเวณใต้เสากระโดง เรือ OHP มีที่ว่างมากพอสำหรับติดตั้งอาวุธได้อีกหลายระบบในชั้น รวมทั้งด้านล่างช่วงหัวเรือที่ติดตั้งชุดยิงจรวดในแนวดิ่งได้ ไต้หวันยังขอซื้อเรือที่ปลดฯแล้วเพิ่มอีก 4 ลำ คือ FFG 50, 51, 52 และ 55 ในนี้ 1 ลำจะส่งมอบกันปีนี้ อีก 3 ลำ "เกษียณ" ปีหน้า. -- ROC Navy Photo/Ministry of Defense.
       .
       

5


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

เรือ หลวงชั้นอะดีเลด (Adelaide Class) ราชนาวีออสเตรเลียซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาร์ซาร์ดเพอรี 1 ใน 4 ลำที่ซื้่อจากสหรัฐ ในนั้นมี 2 ลำต่อในออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงติดตั้งชุดยิงจรวดแนวตั้ง Mk 41 แบบ 8 ท่อยิงในส่วนหัวของเรือ 1 ชุดเช่นกัน เรือ OHP ยังมีที่ว่างมากพอสำหรับติดอาวุธในชั้นได้อีกหลายระบบหากจำเป็น. -- ภาพ: Wikimedia.
       .
       

6


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

เรือ ชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอรี (Oliver Hazard-Perry Class) สร้างขึ้นมาทั้งหมด 55 ลำ เป็นของกองทัพเรือสหรัฐ 51 ลำ มีรุ่นสั้นและรุ่นยาวซึ่งแตกต่างกันราว 3 เมตร ติดจรวดนำวิถี ตอร์ปิโด และตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาสหรัฐปลดแท่นยิงจรวดแบบเก่าที่เห็ยอยู่ด้านหน้าเรือในภาพออกทั้ง หมดแล้วและติดตั้งปืนใหญ่เรือแทน พร้อมติดตั้งชุดยิงแนวตั้งสำหรับจรวดฮาร์พูนรุ่นใหม่ เรือ USS Rentz (FFG 46) ที่เสนอให้ไทยฟรีๆ เป็นอีกลำที่ปรับปรุงมาสมบูรณ์แบบเป็นปัจจุบันที่สุด. -- ภาพ: US Navy Phot [FILE].
       .
       

7


 
เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

ลำ ที่สร้างชื่อเสียงให้เรือฟริเกตชั้นนี้มากที่สุดได้ชื่อทั้งอึดทั้งทน เป็นเรือสตาร์ก (USS Stark, FFG 31) ที่โดนอิรักยิงด้วยจรวดเอ็กโซเซต์2 ลูกในวันที่ 17 พ.ค.2530 ด้วยความเข้าใจผิด ลูกเรือเสียชีวิต 37 คน เอียงกะเท่เร่ .. เดี้ยง แต่ไม่จม จนมีเรือช่วยลากเข้าฝั่งประเทศเพื่อนมิตร ซ่อมแทรมเล็กน้อย ก่อนแล่นด้วยตัวเองกลับสหรัฐ เข้าซ่อมอีกใหญ่ กลับเข้าประจำการก่อนปลดออกเป็นกองหนุน จนกระทั่งสหรัฐทำลายเป็นเศษเหล็กในปี 2549. -- US Navy Phot [FILE].




ความคิดเห็นที่ 1


ข่าวเรือลำนี้ผมตามอยู่บ่อยๆนะ แต่ไม่ตั้งกระทู้เพราะสภาคองเกรสยังไม่อนุมัติเสียที เรือมีกำหนดที่จะปลดประจำการในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2557 ตามนี้เลยครับ  ขอติงเนื้อข่าวนิดเดียวที่ว่า เรือ OHP ยังมีที่ว่างมากพอสำหรับติดอาวุธในชั้นได้อีกหลายระบบหากจำเป็น ผมว่ามันมีน้อยนะที่ว่างที่ว่าเนี่ย เพราะออกแบบให้ใช้MK-13เป็นระบบหลักในการยิงจรวด จะไปเกาะด้านข้างแบบเรือไต้หวันที่เขาทำมาตั้งแต่เรือต่อใหม่ๆ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคก็ต้องถูกโยกย้ายดัดแปลงกันวุ่นวายน่าดู

https://www.facebook.com/events/1411529572432273/?ref=5

USS RENTZ (FFG 46), 96677-1500

Thank you for your interest in attending USS RENTZ's (FFG 46) decommissioning ceremony May 9th, 2014. Your participation is valuable to us and we look forward to celebrating the life of this mighty warship with all who had the opportunity to experience one the finest frigates in the United States Navy. Her legacy will live on through all the stories and significant events that have marked a distinguished and remarkable naval career.

We will do our best to honor one of the mightiest battle frigates on the waterfront today as she retires from U.S. naval service.

Though the event time is in the final stages of planning, we will do our very best to post updates, event times or any scheduling issues as they arise.


Thank you, and remember...Dread Nought!

*Note: If you are a Plankowner for USS RENTZ (FFG 46), please contact Mr. Hansen at information provided below:

Eric A. Hansen
EWC(SW) USN (ret)
hansen_ea@hotmail.com

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 05/03/2014 22:45:11


ความคิดเห็นที่ 2


ถ้าเงินถึงก็โมได้เยอะนะครับเจ้า OHP

เอาแท่นยิง Mk13กลับมา+โม ก็ได้ SM2+Harpoon 40 ลูก

ใส่เพิ่ม แท่นยิง MK41 ก็ได้ ESSM 32 ลูก หรือจะเอาไปใส่อื่นๆๆก็ได้มากมาย เรือมันขนาดใหญ่นะ

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 06/03/2014 00:58:41


ความคิดเห็นที่ 3


ส่วนตัวผมชอบเรือนี้นะทั้งในเรื่องหน้าตาเรือผมว่าสวยมากๆทีเดียว และ lagacy ต่างๆ

แต่ผมคิดว่าแท่น mk 13 + จรวด 40 ค่อนข้างตกยุค ผมว่าจรวด 20 ลูกก็พอแล้วเพราะที่สำคัญคืออัตราการยิงและเรดาร์ตรวจจับภัยจากทิศต่างๆ เพราะต่อให้มีจรวดเยอะแต่นั่งยิงทีละลูกๆโดนยิงทีเดียวพร้อมๆกันซักสี่ห้าลูกก็รับมือไม่ทันแล้ว ผมว่าติด mk48 ซักแปดเซลล์ ค่าใช้จ่ายไม่น่าจะหนีกันมากระหว่างปรับปรุงสภาพระบบที่เก่ามากกับซื้อซองๆมาแปะๆด้านข้าง

โอกาสที่เราจะรบกับใครแล้วโดนซัลโวซะจนต้องใช้จรวดเยอะขนาดนั้นเป็นไปได้น้อยมาก อีกทั้งตังก็ไม่มีจะซื้อหรอกครับ เก็บไว้เยอะหมดอายุเปล่าๆ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 06/03/2014 01:16:40


ความคิดเห็นที่ 4


แท่นยิง MK41 ราคาแพงมากเคลื่อนย้ายลำบากมากถึงมากที่สุด เหมาะกับเรือใหม่เอี่ยมหรือมีอายุใช้งานอีกอย่างน้อย25ปี เรือรบเราก็อย่างที่เห็นบางลำใช้จนเก่าก็ยังติดอุปกรณ์ไม่ครบเลย

 

ถ้าได้เรือมาจริงๆผมอยากให้ทำภาระกิจปราบเรือดำน้ำดีกว่านะครับ ถ้าอยากมีSAMไว้ป้องกันตัวอยากให้ดูระบบที่มันไม่แพงหรือต้องใช้อุปกรณ์นำวิถีมากนัก เช่น RAM หรือRAMเมืองจีน TETRALสำหรับจรวดMistral อะไรแบบนี้ ถ้าอยากได้VLSนักไปเอาจรวดแอฟริกาใต้ราคาไม่แพงก็ได้ ไหนๆก็ไหนๆแล้วนี่

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 06/03/2014 08:47:47


ความคิดเห็นที่ 5


ขอให้ ทร.รับที 2 ลำ มีดีกว่าไม่มี.. ถ้าไปต่อใหม่ก็คงต้องใช้เงิน เป็นหมื่นล้าน... ได้มา เอามาใส่ ปืน 5 นิ้ว ติดจรวด essm และ Phalanxp ติด เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน ซัก 8 ลูก ใส่ปืน 30 mm อีกซัก 2 แท่นยิง ติดตอปิโด อีก 3 ท่อยิง ใส่โซน่าร์ ติดเรด้าร์เทพๆ อย่าง  Sea Giraffe AMB 3D ผมว่าแค่นี้ก็น่ากลัวมากแล้ว  รวมๆ แล้ว 2 ลำ สงสัยหมดอีกกว่า10000 ล้าน 5555 ไม่รู้ว่าได้อะไรติดเรือมาบ้าง...

โดยคุณ pornpoj เมื่อวันที่ 06/03/2014 08:56:16


ความคิดเห็นที่ 6


เอารูปมาให้ชมกัน










โดยคุณ pornpoj เมื่อวันที่ 06/03/2014 09:15:13


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าเราเอามาอุดช่องว่างแทนที่เรือที่ใกล้กำหนดปลดอย่างชุดพุทธและชุดตาปี ผมว่ามันก็น่าจะคุ้มนะครับ เพราะถ้าเรือสองชุดนั้นปลดกำลังรบเราจะหายไปเลย 4 ลำ ได้ OHP มา 2 ลำอย่างน้อยก็อุดช่องว่างได้ 10-15 ปี

โดยคุณ KwangKDJ เมื่อวันที่ 06/03/2014 10:32:08


ความคิดเห็นที่ 8


ตอนนี้อยากรู้ว่า อะไรบ้างที่ สหรัฐ จะให้มาพร้อมกับเรือ ... ถ้าให้เรือเปล่าๆ  สงสัยจะโดนอีกเยอะ และค่าอัพเกรดเรือ น่าจะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร  อาวุธอะไรบ้างที่ สหรัฐ จะยอมให้เรา หรือให้เราจ่ายตังเพิ่ม เพื่อติดเสริมเข้าไป ดูแล้วก็น่าจะพอใช้ได้อีก 15-20 สบายๆ

เรือขนาด 4200 ตัน บ้านเรามีน้อย และจะปลดอีกต้ังหลายลำ จะซื้อของใหม่ ก็คงต้องใช้เงินอีกเยอะพอสมควร ไม่รู้ค่าอัพเกรดจะแพงมากหรือเปล่า.. ดูไปดูมา สวยกว่า ฟริเกตสมรรถสูงของเกาหลี อีกนะ....  เกาหลีทำแสบ เสนอเรือให้เรา รูปร่าง ดูแปลกๆ ไม่สวยถูกใจวัยโจ๋เลย ยังแถมไม่นานออกรุ่นใหม่ คล้ายๆของเรา แต่สวยกว่าเยอะ เอาไว้ใช้เอง  ผมว่ากรรมการจัดซื้อ เห็นลำหลังแล้ว คงอยากจะกลับบ้านไปเขกหัวตัวเอง .. เรือนเรศวร ที่เราออกแบบเอง ยังดูดีกว่าเงย..  ถ้าเรือหลวงนเรศวรเปลี่ยนมาให้ smart - s ผมว่าคงดูทันสมัยขึ้นมาเป็นกอง ถ้าเกาหลีไม่ให้ออปชั่น ถ่ายทอดเทคโนการผลิตให้เรา  ผมจะเป็นคนแรกที่ไปยื่นหนังสือประท้วงที่กองทัพเรือ...เห็นแล้วมันช้ำ.. จะออกแบบให้สวยกว่านี่้หน่อยก็ไม่ได้ (ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ)

โดยคุณ pornpoj เมื่อวันที่ 06/03/2014 10:51:51


ความคิดเห็นที่ 9


ผมคิดว่า เรือ OHP 2 ลำ ผมจะให้งบปรับปรุงประมาณ 10,000 ล้านบาท  ดังนี้ ติด MK41 ESSM   ,  จรวดโจมตีเรือแบบฮาพูนย์ , ฮ.ประจำเรือ 1 ลำ (เอามือสองที่ติดมากับเรือนั่นแหล่ะครับ) , ซ่อมคืนสภาพเรือและระบบต่างๆให้สมบูรณ์  งบที่เหลือก็ใช้ซื้อลูกจรวด กระสุน อะไหล่ต่างๆ ของเรือ  แค่นี้เงินหมื่นล้านก็ได้เรือฟริเกตที่ครบเครื่องแล้วครับ  แต่ถ้างบไม่พอก็ตัด MK41 แล้วเอา MK13 เก่ามาติดก็ยังพอรับได้ดีกว่าไม่มี   อ้อ..ด้านข้างดูโล่งไปนิดน่าจะติดปืนกลอัตโนมัติขนาด 20-30 mm  อีกสักข้างล่ะกระบอก

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 06/03/2014 15:56:44


ความคิดเห็นที่ 10


พี่ครับอยากทราบว่าทำไม ไทยเราถึงได้เรื่อของสหรัฐฟรีๆครับผม

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 08/03/2014 21:26:35


ความคิดเห็นที่ 11


ถ้า ทร.รับมาก็คงดีครับ ไม่ต้องปรับปรุงมากใช้ปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก ติด mk13 mod4 กลับมาเพื่อยิง ฮาร์พูน ไม่ก็ติดแท่นยิงฮาร์พูนแทนที่ mk13 แบบอังกฤษไปเลย ที่เหลือเดิมแค่ปรับปรุงคืนสภาพ จะประหยัดงบประมาณไปมาก ถ้าจะต่อใหม่แทนที่เรือที่กำลังจะปลดทุกลำเกรงว่า เราจะมีเงินไม่พอ เรือคงไม่ฟลูออปชั่นเป็นแน่ เรือดำน้ำคงรออีกยาว

 

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 08/03/2014 23:15:41


ความคิดเห็นที่ 12


@nuttawut44162 สหรัฐมากจะแจก/ขายอาวุธเก่าปลดประจำการที่ไม่ใข่ชั้นความลับให้พันธมิตรเสมอครับ เพราะเป็นการลดค่าใช้จ่ายและหารายรับไปในตัว โดยไทยก็มักจะได้ของมือสองฟรีๆ/ราคามิตรภาพมาเสมอ (ยกเว้นบางอย่าง ค่าซ่อมแทบจะขูดรีดกันเลย อย่างA-7E)

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 08/03/2014 23:45:30


ความคิดเห็นที่ 13


ถ้าจะเอาประหยัด ใช้งานเรือต่ออีก 20 ปี และให้เรือมีคุณค่าทางยุทธการ ตามความเห็นของผมนะ ผมจะปรับปรุงดังนี้

- re-fit สภาพเรือ

- ติดตั้งแท่นยิง MK 141 สำหรับฮาร์พูนลงไปบริเวณด้านหน้าสะพานเดินเรือ เนื่องจากน่าจะประหยัดที่สุดแล้วสำหรับการทำให้เรือลำนี้มีอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และอีกทั้งแท่นยิงแบบนี้ น่าจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าพวกแท่นยิง MK41

- ปืนใหญ่เรือไม่ต้องเปลี่ยน แค่ 76 นี่ก็พอแล้ว

เรื่องอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ ยังไม่ต้องก็ได้ เอาเท่านี้ก่อนก็พอแล้ว แต่ตอนปลดเรือ ต้องได้ฟาลังซ์ติดมาด้วยนะ ห้ามถอดออก 

 

น่าจะใช้งบประมาณไม่เกินสองพันล้านบาทต่อลำนะครับ (ประมาณนะ) 

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 09/03/2014 08:07:54


ความคิดเห็นที่ 14


ช่วงนี้มีแต่คนตั้งกระทู้แล้วก็หายตัวไม่ค่อยมีคนตอบเลยผมช่วยแล้วกัน 

 

ตามที่ครูบ้านนอกว่ามาตรงประเด็นที่สุดแล้วครับ แต่เรือในเฮลิคอปเตอร์เป็นอาวุธหลักในการปราบเรือดำน้ำเนี่ยสิครับบ้านเรายิ่งไม่ค่อยมีอยู่ อีกอย่างครูลืมปืนกลDS-30Mสุดยอดขวัญของผมไปแล้วนิผมว่าต้องมีสิน่า  ที่สำคัญเรือควรจะมาครบตามภาพคือมีNulka Decoy และ AN/SQL-32 ECM System ด้วย(ของแพง)

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 09/03/2014 09:54:41


ความคิดเห็นที่ 15


คห คุณPhu2000  คือเราได้ฟรีจริงเเต้ว่าสหรัฐเค้าจะขายมือ2 ให้ ในราคาที่เสนอให้ยังงี้หรอครับ ถ้าตกลงราคาได้ก็คือซื้อเลย

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 09/03/2014 14:51:32


ความคิดเห็นที่ 16


ตัวเรือฟรีครับ เสียค่าปรับปรุง

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 09/03/2014 17:26:47


ความคิดเห็นที่ 17


ขอบคุณมากครับผม  ตอนนี้ก็รอ เรือที่มีประสิทธิภาพเทคโนโลยีที่สูง ที่ไทยจะได้ใช้งาน

 

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 09/03/2014 19:31:28


ความคิดเห็นที่ 18


   ถ้างบน้อยจัด   คงต้องตามที่ท่านครูบอกแล้วล่ะครับ   และเรือก็ไม่ได้ออกมาวิ่งเล่นบ่อยๆด้วย    เอามาอุดช่องว่างแทนเรือชั้นพุทธไป     แต่เสียดายที่ไม่มีเงินติดตั้ง  Mk-41  ที่สามารถยิง  ASROC  ได้    ในขณะที่เรือชั้นพุทธมี ASROC      เอาน่ะได้โซน่าร์ลากท้ายดีดีมาทดแทน      

     เพราะผมเชื่อว่าในเมื่อเรามี  ASROC  ใช้งานในเรือชั้นพุทธได้   อเมริกาคงยินดีขาย  VL ASROC + Mk-41  ให้ติดตั้งในเรือชั้น  OHP  แก่เราโดยไม่มีปัญหาแน่นอน     ถ้าได้แบบนั้นเราก็จะได้เรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำที่ดีมาประจำการแบบหนึ่ง     แผนแบบเรือเราก็สามารถศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบแก่เรือใหม่ๆที่เราจะต่อในลำถัดๆไปด้วยครับ

    การติดตั้ง  MK-141  สำหรับ  harpoon  ผมว่าไม่ควรวางทับตำแหน่ง  Mk-13  ควรเว้นว่างพื้นที่  Mk-13   เพราะถ้าเกิดมีแนวโน้มจะใช้กำลังทหารกันขึ้นมาจริงๆ   เราสามารถร้องขอ  Mk-41  8 cell + ASROC  (รวมถึง  RAM  block2)    เพื่อติดตั้งพร้อมรบได้ในทันทีครับ     

  Mk-141   เอาไปวางตำแหน่งด้านหน้าของ  Mk-13  ก็ได้  มีพื้นที่เพียงพอ

สภาพการเมืองและการเงินแบบนี้   คงต้องรับเรือ OHP  ไปก่อนอย่างหลีกเลียงไม่ได้แล้วล่ะครับ     นึกว่างบจะกลับมาลื่นสำหรับ ทร. อีกครั้ง   เพราะถ้าได้งบสำหรับเรือ  DW-3000 H  ลำที่  3  4     แบบนี้ไม่รับ  OHP  ก็ได้    แต่มาถึงตรงนี้.....สงสัยจะยาก   เฮ้อ!

 

 

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/03/2014 13:00:51


ความคิดเห็นที่ 19


ท่านนีโอ ถ้าจะเผื่อที่ไว้ใส่ Mk.41 ก็ต้องติดตั้ง Hapoon ไว้เหนือตำแหน่งของแท่น Mk.13 เลยครับ เพราะหากไปดูเรือ Adelaide ของทร.ออสเตรเลีย เค้าติดตั้ง Mk.41 ไว้ที่บริเวณหัวเรือเกือบสุด ก่อนถึงแท่น Mk.13 เสียอีกครับ แต่นั่นก็อาจทำให้ไม่สามารถยัด VL ASROC ลงไปได้ เพราะความลึกคงจะติดตั้ง Mk.41 ได้แค่รุ่น Tactical เท่านั้น มันน่าเสียดายที่เรือรบชั้นนี้มีระบบตรวจจับที่ดีมาก แต่กลับไม่มีระบบอาวุธที่ดีและมากพอที่จะปฏิบัติการได้อย่างเต็มสมรรถนะของมัน

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 10/03/2014 18:45:36


ความคิดเห็นที่ 20


ของออสเตรเลีย ติดMk.41 tactical lenght ด้านหน้า ซึ่งรองรับVL-ASROCครับ แต่เรือไม่มีระบบควบคุมASROC

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 10/03/2014 19:50:35


ความคิดเห็นที่ 21


ขอบคุณท่าน Phu2000 มากๆครับ ที่ช่วยแก้ข้อมูลให้ 

กลับมาจิ้นต่อ ถ้าเจียดงบได้สัก 3-4 พันล้านบาท สำหรับเรือ OHP 2 ลำนี้ เอามาปรับปรุงเพิ่มเติม ติดตั้งระบบ Mk.41 (ESSM + VL ASROC) , Hapoon (2X Mk.141) , (2X) DS-30 และระบบควบคุมการยิง VL ASROC...??? ส่วนฮ.ประจำเรือก็บรรจุไว้แค่ลำเดียว อีกช่องที่ว่างในโรงเก็บก็ใช้สำหรับ UAV หรือเป็นที่ใส่อุปกรณ์ตามแต่ภารกิจ 

ปรับปรุงเสร็จก็เป็นเรือฟริเกตที่ไม่ธรรมดาเลย น่าจะเอามาใช้ในระหว่างที่ปลดรล.พุทธฯ เพื่อรอเรือฟริเกตสมรรถนะสูง และทดแทนรล.ปิ่นเกล้า รล.ตาปี ที่ใกล้จะปลดเต็มที

ปล. ไปหาข้อมูลของเจ้า Mk.13 มาอ่านจนผมถอดใจละ ไม่แปลกใจที่อเมริกาถึงได้เลิกใช้งาน

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 11/03/2014 08:20:41


ความคิดเห็นที่ 22


ผมไม่แน่ใจนะครับว่าVL-ASROCมันต้องใช้อะไรยังไงบ้าง แต่ทีK-ASROCมันยังต้องมีตู้คอนโซลเลย เดิมOHPไม่ได้ใช้ก็คงไม่มีตู้พวกนี้

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 11/03/2014 10:08:24


ความคิดเห็นที่ 23


ก๊อปอาจารย์รินมาอีกทีครับ ตัวเองไม่มีความรู้หรอก

 

ถ้ามองเรื่องงาน ASW ด้วย ไม่ว่าระบบใดๆ ก็ไม่ support ASROC VLA ครับ ทั้งโลกนี้มีคนใช้ ARSOC VLA แค่ 3 ประเทศ คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ด้วยระบบควบคุมการยิงแค่ 2 แบบ คือ SQQ-89/Mk.116 กับ OYQ-103 (ญี่ปุ่นผลิตเอง) ถ้า ทร. จะเอาจริงๆ ก็ต้องหาทาง integrate ระบบ SQQ-89 เข้ากับ 9LV หรือไม่ก็ TACTICOS ครับ เรื่องใหญ่เหมือนกัน และไม่แน่ใจว่าสหรัฐฯ จะยอมหรือไม่ด้วย ทางเลือกที่ง่ายกว่านี้ คือ ไปเอา OHP มือ 2 มา เพิ่มระบบ Mk.116 เข้าไปกับ SQQ-89 ที่มีอยู่ แล้วใส่แท่น Mk.41+ASROC ครับ แต่ออปชั่นนี้ก็เจ้าแรกของโลกเหมือนเดิม ส่วนทางเลือกสุดท้าย คือ K-VLS ซัก 1 ชุด + K-ASROC แต่ยังไงก็ต้องหาทาง integrate อยู่ดี เพราะเรือ KDX-II ใช้ระบบ CMS ของเกาหลีเอง

 

ถ้าเรามีOHPจะสามารถส่งเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์2ลำไปค้นหาเครื่องบินตกได้เลย มีระบบโซนาร์ที่ดีพอสมควรอาจะเจอพี่แมงป่องป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้นก้ได้ เท่ห์ชิบแต่ค่าน้ำมันแพงไปหน่อยมาเลย์ช่วยออกหน่อยนะ เหอๆๆๆ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 11/03/2014 10:43:03


ความคิดเห็นที่ 24


เรื่อง OHP ผมขออนุญาตเห็นต่างอีกเช่นเคย สหรัฐฯ ให้เรา แต่มีแค่ปรับปรุงคืนสภาพก่อนส่งมอบ ประมาณ 20-40 ล้านยูเอส ราคานี้ รวม 2 ลำ รึเปล่าไม่แน่ใจ และไม่รู้ว่าจะถอดอาวุธ อุปกรณ์ อะไรออกไปบ้าง เครื่องยนต์ก็เป็นก๊าชเทอร์บายซ์ บุคลากรประจำเรือ น่าจะต้องมีอย่างน้อยเกือบ 200 คน ยังขาด ซีฮอว์ค ปราบเรือดำน้ำ อีก 4 ลำ ทุกวันนี้มี S70 ยังแถบจะไม่พอใช้งาน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่อครั้ง ต่อปี ดูแล้ว ทร. เรา งบคงบานน่าดู ผมว่า ทร. เอางบไปต่อ OPV LPD ซื้อเรือดำน้ำ เพิ่มน่าจะครบคลุมภารกิจ และสถานการณ์ ในปัจจุบันมากกว่า   

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 11/03/2014 12:11:55


ความคิดเห็นที่ 25


ถ้ากะอีแค่เงินรีฟิตเรือเก่าสองลำยังไม่มี แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อเรือดำน้ำ เรือโอพีวี และเรือ LPD ละครับ?

เรือดำน้ำลำนึงจะซื้อเรือฟริเกตได้สองลำอยู่ละ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 11/03/2014 16:20:46


ความคิดเห็นที่ 26


   mk-116  เป็นตัวควบคุมการใช้  VL-ASROC  ซึ่ง  OHP  มีอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ (ต้องไปดูผังอีกที)      ดังนั้นเอาแท่น  Mk-41  ติดตั้งก็สามารถใช้  VL-ASROC  ได้เลย     ปัญหาถัดมา  ทางอเมริกาจะขายมันให้เราหรือเปล่าเท่านั้นเอง    แต่ผมว่า   เขาน่าจะขาย     เพราะ  ASROC  ตัวเดิมยังให้เราใช้เลย

    ถ้าติด  MK-41  เพียง 1  แท่นยิง   จะติดตั้งแบบออสเตเรียก็ได้ครับ      แต่ถ้าติดตั้ง  16 cell ขึ้นไป     ผมแนะนำว่าควรติดตั้งพื้นที่เดิมของ  Mk-13 ดีกว่าครับ    เพราะพื้นที่ใต้ดาดฟ้าน่าจะใหญ่โต  เพราะสามารถเก็บจรวดแบบ  SM-1  และ  harpoonได้ 40 ลูก        ดังนั้นความลึกและกว้างของแท่น Mk-13 ข้างใต้ดาดฟ้ามากเอาเรื่องทีเดียวครับ     สามารถพัฒนาได้แบบของตุรกี หรือ ของออสเตเรียก้ได้   โดยเน้นเฉพาะการต่อต้านเรือดำน้ำตามแบบของเราก็ได้   เอาแค่  ESSM  RAM-2   ก็พอสำหรับต่อต้านอากาศยาน( 16 cell  น่าจะพอ)        แต่ก็คงต้องเปลี่ยนเรด้าร์ใหม่ด้วย   upgrade  ระบบอำนวยการรบอีก          จ่ายอีกมาก           อย่างว่าล่ะ      เงินน่ะมีไหม

   สรุปต้องมีเงินครับ................จะเอายังไงก็ได้

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/03/2014 20:05:24


ความคิดเห็นที่ 27


ผมกำลังมองอีกรูปแบบหนึ่งหากเรารับเรือมา

1.ติดตั้ง mk13 Missile Launcher กลับคืนไป

2.ปรับปรุงให้สามารถยิง sm2 ได้แบบออสเตรเลีย หากเป็นไปได้ให้ยิง ESSM ได้ด้วย

3.เอาstir180 ที่ถอดออกมาจากเรือชุดนเรศวรปรับปรุงให้นำวิถีอาวุธได้ ใส่ในแท่นเดิมที่ถูกถอดออก (ถ้าไม่ได้เอาไปติด 911 ตามข่าวลือมา)

 รวมกับระบบอาวุธที่มีอยู่เดิมเท่านี้เราจะมีเรือฟริเกตที่มีความสามารถในการรบสูงลำหนึ่งเลย และเราจะมีเรือที่มีอาวุธปล่อยนำวิธีป้องกันกองเรือในระยะไกลระหว่างรอเรือฟริเกตสมรรถนสูงประบปรุงช่วงครึ่งอายุการใช้งานทันที และแทบไม่ต้องดัดแปลงโครงสร้างเรือเท่าไหร่ด้วย

โดยคุณ paoo เมื่อวันที่ 11/03/2014 23:12:41


ความคิดเห็นที่ 28


   ผังของ  OHP  FFG 7    ครับ   มีทั้ง  SQQ 89  และ  MK-116  ครบ    ดังนั้นติดตั้ง  Mk-41  เพื่อใช้  VL  ASROC  ได้ทันที  

แต่ติดปัญหาที่  Mk-92  FCS  และตัวระบบอำนวยการรบ   ไม่รองรับ  ESSM     แต่เขามีชุด  Upgrade  รองรับถ้าจ่ายตังค์เพิ่ม   แต่  เรด้าร์ควบคุมการยิงทำการควบคุมลูกอาวธนำวิถีได้ทีละลูกเท่านั้น  และสามารถติดตามเป้าต่อเนื่องได้อีก 1 เป้า   โบราณจัง 

  

   แต่ระบบต่อต้านเรือดำน้ำ  ทั้ง  towed array  ทั้งโซน่าร์  และระบบ  SQQ 89  นั้นสามารถเชื่อมต่อ ระบบ  LAMPs-3  ที่ติดตั้งบน  S-70  ได้     เรียกว่าถ้าไม่นับเรือฟรีเกต ASW  ที่จะต่อใหม่แล้ว    ของ  OHP  นี่จะเจ๋งที่สุดในอาเซี่ยนเลยทีเดียวครับ  เทพมากพอตัวทีเดียว

 

  ถ้าจะรับ OHP มา   ไม่ต้องยิง  ESSM  ก็ได้     ถ้าไม่มีฟาลังก์ติดกลับมาให้ด้วย    ก็เอาแค่  SEA RAM (ที่ยิง block 2 ได้)  มาติดแทนสำหรับต่อสู้อากาศยาและ  CIWs  ก็พอ    แต่ขอให้นะบบ  ASW  เทพสุดเป็นใช้ได้ครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/03/2014 23:22:28


ความคิดเห็นที่ 29


   ผมว่าถ้าเป้าหมายของการรับ  OHP  มาก็เพื่อทดแทนเรือชั้นพุทธ  เพื่อภาระกิจ  ASW  เป็นหลักแล้วละก็    เน้นระบบ  ASW  ทั้งชุดให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนดีกว่าครับ   ตามผัง  แค่ติดตั้ง  MK-41  8 cell  เท่านั้น   ยิง  ASROC  ได้เลย   จ่ายค่า Mk-41 อีก 12 ล้านเหรียญกับค่าลูก ASROC  8 ลูกเพิ่ม   

   จ่ายเพิ่มในส่วน ASW นี้คงไม่เกิน 20 -22  ล้านเหรียญ     ได้ระบบต่อต้านเรือดำน้ำที่เทพสุดระบบหนึ่งในอาเซี่ยนแล้วครับ

   

   ส่วนการที่จะให้ใช้  SM-2 และ  ESSM  ด้วย     งานช้างครับ   ต้องรื้อ Mk-92  ออกทั้งชุด   ไม่แน่ใจว่าต้องรื้อ  NTDs   WSS  ออกด้วยหรือเปล่า   แต่ไม่น่าจะนะ    ซึ่งต้องติดตั้ง  ระบบอำนวยการรบ  NTU  เข้าไปแทนใหม่ทั้งชุดเลยครับ (แบบที่ใช้ใน KDX-2)      แถมต้องเปลี่ยนเรด้าร์ 3 D  และ  FCS  รวมถึงระบบ  uplink และ  CWI  ใหม่ทั้งชุด   ยังต้องติดตั้ง  Mk-41  เพิ่มที่ตำแหน่ง Mk-13 เดิมอีกไม่ต่ำกว่า  16 cell    รวมกับอีก 8 cell  สำหรับ ASROC  ก็ไม่น้อยกว่า 24 cell  เลยทีเดียว

  งานช้างครับ    สำหรับเฉพาะส่วนการป้องกันภัยทางอากาศ   คงต้องถมลงไปไม่ต่ำกว่า 5000  ล้านบาทครับสำหรับส่วน AAW นี้      ผมว่าถ้าต้องถมขนาดนั้น   เอาเงินไป  UPgrade  DW-3000H  ทันทีก่อนทำการต่อเรือเลยดีกว่าครับ   คงได้  CEA MOUNT/FAR  และ VLS 32 cell   แต่ไม่มีลูกจรวดนะ

 

  ค่าปรับปรุง  OHP  ของออสเตเรียสูงถึง  1.46 พันล้านเหรียญออสเตเรียเลยทีเดียวนะครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/03/2014 23:39:19


ความคิดเห็นที่ 30


    ถ้าต้องจ่ายอีก  5 -6 พันล้านบาท ( 160 - 200 ล้านเหรียญ)เพื่อให้ OHP เป็น  AAW      

        ผมว่าเราเอาเงินนี้ไปจ่ายให้  DW-3000H  ที่ต่อใหม่ติดตั้ง   CEA-MONUT/FAR ( 80 ล้านเหรียญ)   Mk-41  32 cell + K-VLS 8 cell (อีกสัก 60-70 ล้านเหรียญ)          เราจะพบว่า  DW-3000H มันจะเทพสามารถควบคุมลูกอาวูธนำวิถีต่อตีเป้าหมายได้เกิน 10  เป้าแน่ๆ   ดีกว่า NTU  ด้วยนะผมว่า    แล้วเอามาเป็น  AAW  คุ้มกันทั้งกองเรือดีกว่าครับ

    เอา OHP  มาเป็นเรือคุ้มกันด้าน  ASW  ไปแทนจะดีกว่า 

ถ้าจะเอาระบบต่อต้านอากาศยานให้ได้      

  และถ้าไม่มีฟาลังก์มาให้       ก็ติดตั้งแท่นยิง  RAM  Mk-31 เข้าไปแทนทีเลย     ด้านท้ายโรงเก็บ ฮ. ที่รองรับ  RAM  block 2 ตามรูป      แล้วเปลี่ยนไอ้  STIR mk 75(ถ้าจำรุ่นไม่ผิด)ไปเป็น  STIR 1.2 EO  แทนก็ได้    

 RAM  block 2  ระยะยิง 20 กิโลโดยประมาณ  และแท่นยิงนี้น่าจะรองรับได้  14-16 ลูก  (เดิม 21 นัด)   

แค่นี้ก็ไม่น่าเกลียดแล้วครับสำหรับ  ASW  frigate

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/03/2014 00:02:46


ความคิดเห็นที่ 31


  ถ้าเรือไม่มีฟาลังก์มาให้   และไม่ต้องการยุ่งยากในการติดตั้ง Mk-31  และ  stir 1.2 EO    ก็เอาง่ายๆเลย

SEA   RAM  ไปวางแทน ฟาลังก์      20 ล้านเหรียญพร้อมลูกจรวด 11 นัด   น่าจะเอาอยู่   ระยะยิง 9  กม

ถ้ากลัวว่าจุดอ่อนตรงดาดฟ้าเรือด้านหน้าจะยังมีอยู่   ก็เอา  SEA RAM  อีกชุดไปวางดาดฟ้าเรือด้านหน้าคู่กับ  MK-41 และ Mk-141  ไปเลยอีกชุด  

   จริงๆแล้ว  MK-41  ก็รองรับ  RAM  block-2  อยุ่แล้ว     แต่ถ้าต้องการใช้  ASROC  เต็มเหนี่ยว 8 ลูก    ก็คงต้องยกพื้นที่ให้ทั้งหมด 

 

   

     แต่ถ้าอเมริกาติด ฟาลังก์มาให้     การปรับปรุงก็แค่ใส่  VLS MK-41  8 cell  ลงไป     ติดตั้ง  EXls ลงใน Mk-41 สัก 4 cell    แล้วใส่  RAM  block 2   จำนวน  16 ลูก   แต่ใช้  ASROC  4 ลูก

   เป็นอันจบพิธี    ใช้เงินไม่เกิน 30  ล้านเหรียญพร้อมจรวดครบ

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/03/2014 00:55:12


ความคิดเห็นที่ 32


ท่านนีโอ นี่จิ้นได้มันส์มากเลยนะครับ ส่วนตัวผมมองว่าการส่งมอบเรือ OHP นี้น่าจะมี ปืนหลัก เครื่องยิงตอร์ปิโด ฟาลังซ์ เรดาร์ โซนาร์ และ Nulka มาด้วยนะครับ ถ้าถอดออกเราก็คงไม่รับมาให้เป็นภาระงบประมาณ และถ้าเป็นตามที่ท่านนีโอว่ามาล่ะก็ น่าสนใจมากๆ แค่ยัด Mk.41 ลงไปแล้วแบ่งไปใส่ VL ASROC สัก 6 ลูก อีก 2 ช่องใส่ RAM block II ได้ 8 ลูกก็น่าจะพอ (แต่ในใจผมก็ยังรอการพัฒนา Iris-T SL อยู่นะ) อ้อ..อย่าลืม Mk.141 อีก 2 แท่นสำหรับ Hapoon 8 ลูกด้วยนะครับ...จ้าวววว นายยยย

ปล. Mk.92 ยังต้องคงไว้เพื่อคคย.ให้กับปืน OTO 76/62 ครับ ที่ถอดออกไปแล้วคือ Stir ที่ใช้ชี้เป้าให้ SM-1 ซึ่งหากจะเอา Stir 1.8 ที่ถอดมาจาก รล.นเรศวรมาติดตั้งแทนก็น่าจะทำได้ครับ แต่ถ้าจะปรับปรุงเพื่อให้ใช้ ESSM ได้นี่ ค่าใช้จ่ายจะไหวรึเปล่า..??

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 12/03/2014 08:08:07


ความคิดเห็นที่ 33


     จริงๆการ จิ้นของผมมันดูง่ายเกินจริงไปนิดหนึ่งครับ  ตรงที่ถ้าใช้  Mk-41  แล้วแบ่งช่องให้  ASROC  กับ  RAM  block 2   ฟังดูดีใช้เงินน้อย     แต่เอาจริงๆแล้ว   แท่นยิง  MK-41  มันต้องเชื่อมต่อกับ  ระบบควบคุมการยิง  Mk-92  ด้วย     แต่ในแผนภาพ   Mk-92  มันไม่ได้เชื่อมต่อกับ  Mk-116  ที่ควบคุมแท่นยิง  Mk-41  อยู่นี่สิ     จะทำให้แท่นยิง  MK-41  ยิงเฉพาะ  ASROC  ได้อย่างเดียวเท่านั้น   ดังภาพที่ผมวงเอาไว้  และตัดส่วนแผนภาพมาแสดง

 

ภาพแรก   จะเห็นว่าระบบอำนวยการยิง   Mk-92   ไม่ได้เชื่อมต่อกับ  MK-116  แต่อย่างใด

ภาพสอง   เมื่อเอาแท่นยิง  VLS  MK-41   มาติดตั้ง   จะต้องให้มันเชื่อมต่อกับ  Mk-116   แต่มันไม่ได้เชื่อมต่อ  ระบบควบคุมการยิง  Mk-92   จะทำให้ให้มันยิง  RAM  block 2  ไม่ได้ครับ   จะยิงได้แต่   ASROC  เท่านั้น



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/03/2014 09:39:20


ความคิดเห็นที่ 34


   ดังนั้นทางเลือกที่ต้องการใช้  SAM  ในการป้องกันตัว   โดยไม่ต้องรื้อระบบอำนวยการยิง  MK-92 ออก      จะเหลือทางเลือกลดลง  ได้แก่

1.  ปรับปรุง  MK-92  ให้ยิง  ESSM  ได้   แล้วติดตั้งแท่นยิง  VLS  MK-41  ชุดที่สอง  เพื่อยิง  ESSM  โดยเฉพาะ และเชื่อมต่อกับ  MK-92  โดยตรง   ซึ่งตุรกีน่าจะเลือกวิธีนี้

2.  ไม่อยากถมเงินปรับปรุง  MK-92   งบน้อยจัด    ก็ติดตั้ง   SEA  RAM  ที่ตำแหน่ง ฟาลังก์ไปเลยจบ   ใช้  RAM  block 1  ที่มีระยะยิงแค่  9 Km.  ไปแทน    ถ้ากลัวไม่พอ  เอามาอีกชุดติดตั้งคู่กับ  MK-141 และ Mk-41

3.  ติดตั้ง  VLS  Exls แบบ  stand  alone  จำนวน  4  cell   ซึ่งจะสามารถใช้  RAM  block 2  ได้ 16 นัด  ตรงดาดฟ้าด้านหน้าติดกับ  MK-41  หรือ  Mk-141   แล้วเชื่อมต่อมันกับ  ระบบอำนวยการยิง  Mk-92  โดยตรงไปเลยครับ 

 

   ทางเลือกที่ 2  ดูใช้งบน้อยและยุ่งยากน้อยที่สุด     ส่วนทางเลือกที่ 3  ผมชอบมากที่สุดครับ

 

 



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/03/2014 09:51:35


ความคิดเห็นที่ 35


คอนโซลอาวุธผมเหมือนที่นั่งในร้านเกมส์เลยนะท่านนีโอ ใช้แบบนี้ก็พอถูไถไปก่อนได้น่า(ถ้าฟาลังซ์ยังอยู่นะ) อย่าเอาระบบVLSเลยมันถอดไปใช้เรือลำอื่นยาก กว่าจะผ่านอนุมัติเรื่องปรับรุงบางทีเรืออาจปลดประจำการไปแล้วก็ได้นะเออ

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 12/03/2014 14:16:00


ความคิดเห็นที่ 36


   ลงรูปแนวคิดครับ 

รูปแรก   ใส่ MK-41  8 cell  และ  Exls 4 cell (stand alone) โดยแยกช่องกัน   กลายเป็น 12 cell        จะทำให้ติดตั้ง  ASROC  8 ลูก   และ  RAM block 2   16  ลูก        และเมกาติดตั้งฟาลังก์มาให้ด้วย    ได้แบบนี้จะจ๊าบมาก

รูปสอง   ใช้  SEA  RAM  หน้าหลังแทน    เมกามันงก   ไม่ยกฟาลังก์มาให้  

 

    ราคาค่าใช้จ่ายในกรณีแบบรูปที่ 1       MK-41 8 cell + 8 ASROC   ประมาณ  22 ล้านเหรียญ

MK-141 + 8 harpoon  ประมาณ  15  ล้านเหรียญ               Exls  4 cell + 16 RAM block 2  ประมาณ  15  ล้านเหรีญ

รวมราคาอาวุธ ประมาณหยาบๆ   52  ล้านเหรียญ    แต่ถ้าเมกามันงก ไม่ติดฟาลังก์มาให้   ต้องติดเอง   ก็ต้องบวกไปอีก  16  ล้านเหรียญ  ราคาจะกลายเป็น  68  ล้านเหรียญ   

ราคาที่เมกาเสนอเรือชั้นนี้ให้เมื่อมีการซ่อมคืนสภาพแล้ว   ต่ำสุด 40  ล้านเหรียญ   ลงสัยเรือเปล่าๆนะ    ดังนั้นถ้าเราจัดอาวุธแบบนี้    ราคารวมคงถึง  92 - 108  ล้านเหรียญ  หรือ ประมาณ  2900 - 3400  ล้านบาท(ที่ 31.6 บาท/dall)ต่อเรือหนึ่งลำ    

   ผมว่าน่าเล่นนะ   เพราะ  OHP ที่ได้มาจะไม่กลายเป็นภาระให้เรืออื่นดูแลมากมาย  เพราะป้องกันตัวเองจาก  SSM ได้  

 

     ท่าน  superboy  ครับ    ดีลที่ท่านเสนอผมว่าเหมาะกับกรณีขาดเงินเอาเรื่องทีเดียวนะนั่น   แต่ต้องได้ฟาลังก์มาด้วยนะ    แต่อาบังซินแบตต้องไปวางดาดฟ้าเรือด้านหน้านะ   เพราะตรงนี้โบ๋อยู่   เดียวจะเป็นแบบ  USS stark

 



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/03/2014 17:27:30


ความคิดเห็นที่ 37


ผมในฐานะคนหัวโบราณขี้งก มีเงินน้อยแต่อยากได้หลายๆอย่าง  ดังนี้  รับ OHP มา 2 ลำ พร้อมขอติดตั้ง MK13 แต่ upgrade ให้ใช้ SM2 กับ harpoon ได้ และเพิ่มปืนรอง DS30 อีก 2 กระบอก เท่านี้ราคาน่าจะซักลำล่ะ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ  และหากเงินยังเหลือก็จะเอาไปถอยเรือดำน้ำมือสองจากสวีเดนหรือเกาหลีอีกสัก  2 ลำ  ในราคาลำล่ะสัก 250 ล้านเหรียญ รวมทั้งหมดทั้งเรือทั้งเรือดำน้ำก็ 700 ล้านเหรียญ เป็นเงินไทยก็ประมาณ 23,000 ล้านบาท ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 12/03/2014 21:15:24


ความคิดเห็นที่ 38


เรือชั้น OHP มีจุดเด่นในด้านระบบตรวจจับเรือดำน้ำ หากทร.จะรับมาใช้งานก็คงจะเน้นภารกิจในจุดนี้มากกว่าการป้องกันภัยทางอากาศ ดังนั้นการจะปรับปรุงให้ใช้ SM-2 ได้ไม่น่าจะคุ้มค่ากับสมรรถนะของระบบที่มีอยู่นะครับ แต่ในขณะที่มีระบบตรวจจับที่ดีกลับมีอาวุธเพียงแค่ตอร์ปิโด 2 แท่นเท่านั้นที่ใช้ในการต่อตีเรือดำน้ำ ในระยะไกลก็ต้องใช้ Sea Hawk บินไปจัดการ เหมาะกับสำหรับทร.สหรัฐเพราะมีฮ.ปราบด.ให้ใช้มากมายเหลือเฟือ แต่กับทร.ไทยเรา...เฮ้ออออ จึงมองว่าการลงทุนกับ Mk.41 และ VL ASROC ด้วยเงินประมาณ 600-700 ล้านบาท น่าจะคุ้มค่า เพราะเจ้า Sea Hawk ที่ติดตั้งระบบปราบด.ในระดับ LAMPS มันแพงระยับ ขนาดบน 911 ยังมีใช้แค่ 3 ชุด ที่สำคัญแนวโน้มในอนาคตเรือดำน้ำจะสามารถโจมตีอากาศยานได้ก่อนที่จะถูกตรวจพบด้วยซ้ำ ซึ่งโอกาสที่ฮ.จะถูกยิงตกด้วยจรวดนั้นมีเปอร์เซนต์ที่สูงมากๆ

ปล. ท่านนีโอครับ ผมว่าแท่น Mk.141 ในรูปมันเล็กไปหน่อยนะครับ และการติดตั้งก็อาจจะติดในแนวเฉียงๆ เหมือนเรือ ANZAC ของออสเตรเลีย ก็ได้นะครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 13/03/2014 08:19:21


ความคิดเห็นที่ 39


       ถ้าราคา MK41 ที่ใช้ยิง ASROC และ ESSM อยู่ที่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ก็ถือว่าน่าลงทุนครับ  ไม่ต้องมี MK13 + SM2 ก็ได้

       ส่วนจรวด Harpoon ถ้ามีเงินก็ติดมาด้วย  แต่ถ้าไม่มีก็ขอให้ ฮ. ประจำเรือสามารถยิงจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำได้จำพวกเพนกวิน ก็ถือว่าพอรับได้ครับ

       ผมคิดว่า ด้วยระวางขับน้ำเรือขนาด 4,000 ตันเศษ  ซึ่งถือว่าเป็นเรือฟริเกตที่ใหญ่สุดของไทย  ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการก็มากกว่าเรือลำอื่นๆ   ดังนั้น OHP ที่ได้มามันต้องสามารถฝากความหวังได้  ต้องมีอาวุธที่สามารถรบได้ทั้ง 3 มิติ และต้องดีไม่น้อยหน้ากว่าเรือลำอื่นๆ ในกองเรือด้วยครับ  ดังนั้น ทางอากาศควรมี ESSM  + ฟาลังค์   ใต้น้ำมี ASROC , ฮ. ปราบเรือดำน้ำ  , ผิวน้ำมี Harpoon + ฮ. ติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ  อย่างนี้น่าจะ O.K ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 13/03/2014 11:47:43


ความคิดเห็นที่ 40


    ขอบคุณมากครับท่าน  TWG  ผมตัดแปะอย่างเดียวเลย   55555 

เรื่อง  Sub SAM  นี่ยิ่งเสียวๆอยู่ครับท่าน    เพราะเห็นข่าวว่าทางมาเลย์สนใจ  sub MICA  กำลังศึกษาว่าอาจจะเอามาใช้กับแมงป่องทะเล      ทำให้ตะเกียง(LAMPs)ราคาแพงของเรามีเสียวได้เมื่อต้องไล่ล่า    ดังนั้นเรือลำไหนที่มีแนวโน้มใช้  ASROC   K-ASROC   ผมเชียร์หมดครับ    เพราะถ้าเรือดำน้ำยิง Sub SAM   ใส่ ฮ. เรา   ก็จะเป็นการเปิดเผยที่ตั้ง    จะได้สวนกลับด้วย  ASROC  เต็มเหนี่ยว

   การเมืองกับการเงินแบบนี้    สงสัยคงต้องรับ  OHP  จริงๆแล้ว   นึกว่าจะได้  DW-3000H ลำที่  3  4   และเรือดำน้ำ  DW-1400-T    เห็นแล้วชักท้อ..... 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/03/2014 12:37:02


ความคิดเห็นที่ 41


   ปล.   ถ้ามีการจ้างให้ทำการเชื่อมต่อ  MK-92  เข้ากับ Mk-116  เพื่อควบคุมแท่นยิง  VLS mk-41  ร่วมกันเพื่อให้ใช้ทั้ง  ASROC  และ RAM  block 2  ได้   จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการไม่ต้องเชื่อมต่อ  mk-92 กับ mk-116  แต่ไปติดตั้ง  VLS Exls เลย     ถ้ามันมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า    ก็น่าทำครับ   เพราะสามารถใช้แท่นยิง  MK-41 กับ  ASROC + RAM block 2  ได้เลย

   ส่วนการจะใช้  ESSM  ได้ด้วย  นอกจากต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อ  MK-92 + mk-116   ก็ยังต้องจ่ายค่า  upgrade  mk-92  ให้ใช้ ESSM  ได้อีก    จึงจะทำให้แท่นยิง  MK-41  ใช้ได้ทั้ง  ASROC   ESSM   RAM

   การปรับปรุงเรือเก่าให้ใช้อาวุธใหม่ๆ........วุ่นจังเว้ย.....


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/03/2014 13:25:58


ความคิดเห็นที่ 42


สมมุตินะครับเห็นจิ๋นระบบอเมริกา ถ้าลองเปลี่ยนจากค่ายอาวุธอเมริกา เปลี่ยนอาวุธเป็นค่ายรัสเซีย เอาแบบไม่คิดถึงความเป็นจริงนะครับ น่าจะใส่อะไรลงไปได้บ้าง คิดสนุกนะครับ ถ้าจะมีเรือในกองทัพเราที่ระบบอาวุธแตกต่างจากค่ายยุโรป เรือลำนี้น่าจะใส่อะไรของฝั่งรัสเซียบ้าง เวลาซ้อมรบจะได้รู้เขารู้เรา เรืออเมริการะบบอาวุธรัสเซีย โอ้!!!! คิดกันเล่นๆ นะครับ

โดยคุณ Anajanxxx เมื่อวันที่ 13/03/2014 22:52:03


ความคิดเห็นที่ 43


ประเด็นสำคัญที่ทร.จะพิจารณาสำหรับเรือ OHP นี้ก็คงจะเป็นเรื่ิงงบประมาณ(ที่น้อยมากในแต่ละปี) และอายุการใช้งานที่เหลือ(ราว 20 ปี) ตามแผนงานโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ทร.กำหนดไว้ว่าจะนำมาทดแทนชุดรล.พุทธฯ ที่จะปลดในช่วงปี 2560-2562 แต่ต้องไม่ลืมว่าในเวลาอีกไม่นานนี้ยังมีเรือฟริเกตที่กำลังจะต้องปลดอีกหลายลำ ได้แก่ รล.ปิ่นเกล้า รล.ตาปี-คีรีรัฐ และ รล.มกุฏราชกุมาร ในขณะที่งบประมาณที่ทร.ได้รับมานั้น คงไม่สามารถดำเนินการจัดหาเรือมาทดแทน เพื่อดำรงขีดความสามารถในการ "ป้องปรามและต่อต้านเรือดำน้ำ" ได้อย่างเพียงพออย่างแน่นอน

 

ปล. ที่จิ้นกันอยู่นี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มี "ความเป็นไปได้ตามข้อเท็จจริง" นะครับ กรณีที่จะเอาระบบรัสเซียมาใส่ เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน จึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะนำมาพูดคุยกันในกรณีนี้นะครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 14/03/2014 07:34:40


ความคิดเห็นที่ 44


แบบนี้ก็พอมั้งครับถูกดี

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 14/03/2014 12:58:37


ความคิดเห็นที่ 45


พอดีตอนรับเรือมารัฐบาลถังแตกส่วนอเมริกาก็เขี้ยวถอดฟาลังซ์ออกไปซะงั้น เลยเอาอาวุธเก่าของเรือหลวงกระบุรีมาใช้ไปก่อน มี GLA (General Launch Anti-Submarine Rocket) ด้วยนะครับท่านภู

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 14/03/2014 21:19:39


ความคิดเห็นที่ 46


ภาพไม่ขึ้นเอาใหม่ เจอของแพงเข้าไปแล้วมาดูของถูกกันบ้าง


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 12/03/2014 14:38:42


ความคิดเห็นที่ 47


ดัดแปลงเรือต้องให้มะริกันทำเท่านั้นไม่ใช่เหรอครับท่านsuperboy...

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 14/03/2014 22:57:50


ความคิดเห็นที่ 48


ผมสมมุติว่ารัฐบาลถังแตกเลยรับเรือมาในราคาถูกสุด ฝ่ายโน้นเลยถอดฟาลังซ์ออกทหารเรือเราก็โมกันตามมีตามเกิด ระบบมันไม่ซับซ้อนทำเองได้อยู่หรอก C801ไปขโมยมาจากอะไหล่เรือหลวงบางปะกงซัก4กล่อง ปืน37แมนนวล จรวดปราบเรือดำน้ำก็ไม่นำวิถีอยู่แล้ว ใช้ๆไปก่อนรอมีเงินค่อยว่ากันใหม่เน้อ

 

ปล.เรือลำใหม่ผมมาแล้วนะ รีบโพสจะได้ไปทำงานอื่นต่อ ดึกๆอาจจะมาอัพเดทเพิ่มอีกเรื่องแต่ไม่ใช่เรือ อาทิตย์หน้าถ้าไม่ผิดแผนเป็นWIP(ยังไม่ถูกใจเสียที เหนื่อยแล้ว)

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/03/2014 09:04:48


ความคิดเห็นที่ 49


ผมว่าถ้าจะซื้อเรือ ohp มาติด c-801 + จรวดปราบเรือดำน้ำ ปืนแมนน่วล 37 mm.

โยนทิ้งเถอะครับ (ฮา)

อย่างนั้นไม่น่าเอามา เหมือนมีเรือเจ้าพระยา (ที่คุณค่าทางยุทธวิธีต่ำมาก)

เรือรบที่ไม่สามารถทำการรบและป้องกันตัวด้วยอาวุธนำวิถีในระดับที่พอไปวัดไปวาได้อยู่ยากครับสมัยนี้ คือจำนวนสำคัญก็จริง แต่คุณภาพก็สำคัญ ต้องดูอัตราส่วนความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกับปริมาณด้วยครับ

นับเรือเราตอนนี้ รวมในอนาคตอันไกล้ (ไกลนิดนึง) มีเรือทำการรบได้คือชั้นเจ้านเรศวรสองลำ เรือฟริเกตใหม่อีกหนึ่งถึงสองลำ เรือชั้นสุโขทัยอีกสองลำ ผมว่าโอเคนะ การมีเรือชั้นเจ้าพระยาเพิ่มคงไม่เป็นประโยชน์เท่าไหร่ เอาเงินไปอัพเรือที่มีให้มีขีดความสามารถเพิ่มดีกว่า การรบยุคใหม่แบบแลกกันหมดหน้าตักคงเกิดยาก มักจะเป็นการปะทะกันเป็นครั้งคราวมากกว่า ซึ่งทำให้หลักนิยมสมัยใหม่เน้นการป้องกันตัวสูง เพราะมันแพงด้วยตีกันนิดๆหน่อยๆพอหยั่งเชิง ไม่ไหวก็ถอย ไม่ต้องดันทุรัง ดึงคนอื่นมาช่วยหรือเจรจาต่อรอง นอกจากเตรียมแปลงร่างเป็นประเทศก่อการร้ายโดยสมบูรณ์แบบ ทิศทางของอนาคตก็เป็นแบบนี้ ของดีมากแพงมาก จำนวนลดลงมาก ใช้รบจริงน้อยลงมาก ดูง่ายๆอเมริกาเวลามันรบ มันกะถล่มไล่ตื้บข้างเดียว ถ้ามวยรุ่นเดียวกันก็เลี่ยง คือกะสู้แบบไม่เจ็บ เจอประเทศที่มีแต่อาวุธเบาก็จัดไม่เลี้ยง ขนกองเรือบรรทุกเครื่องบินประเคนกันอย่างเมามัน 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/03/2014 11:45:22