หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Saab อาจซื้อกิจการของอู่ต่อเรือดำน้ำ Kockums กลับมาเป็นของสวีเดน จากบริษัท TKMS ของเยอรมนี

โดยคุณ : maritime เมื่อวันที่ : 06/03/2014 19:32:14

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.57 สวีเดนได้อนุมัติงบประมาณ 3.84 ล้านดอลลาร์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่บริษัท Saab จะออกแบบและผลิตเรือดำน้ำรุ่นใหม่ของสวีเดน สืบเนื่องมากจากการที่บริษัท TKMS ของเยอรมนี ซึ่งควบรวมกิจการของอู่ต่อเรือ HDW ของเยอรมนี กับอู่ต่อเรือ Kockums ของสวีเดน จะปรับฐานการผลิตในสวีเดนสำหรับเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระวางขับน้ำไม่เกิน 1000 ตัน นอกจากนี้ TKMS ยังไม่ส...ามารถกำหนดค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในการสร้างเรือดำน้ำ A26 รุ่นใหม่ และการปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น Gotland ของสวีเดน ทำให้สวีเดนมีความเสี่ยงที่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่างบประมาณในอนาคต

บริษัท TKMS ของเยอรมนี ได้รับสัญญาการสร้างเรือดำน้ำ A26 จำนวน 2 ลำ ให้กับ ทร.สวีเดน เมื่อปี ค.ศ.2010 และได้กำหนดค่าใช้จ่ายขั้นต้นสำหรับงบประมาณในปีนั้น แต่ยังไม่ได้กำหนดค่าใช้จ่ายโดยละเอียดตลอดช่วงโครงการ

นอกจากนี้ TKMS มีแผนที่จะปรับอู่ต่อเรือที่ Malmo เป็นศูนย์กลางการสร้างเรือขนาดเล็กที่มีระวางขับน้ำไม่เกิน 1000 ตัน ในขณะที่เรือดำน้ำ A26 และเรือดำน้ำชั้น Gotland ของสวีเดน มีระวางขับน้ำ 1900 ตัน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น Gotland และการสร้างเรือดำน้ำ A26 รุ่นใหม่ของสวีเดน

บริษัท Saab ยืนยันว่าสามารถสร้างขีดความสามารถในการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำได้ในระยะเวลาอันใกล้ โดยปฏิเสธที่จะยืนยันข่าวการซื้อกิจการของ Kockums จาก TKMS แต่เป็นที่คาดการณ์ว่าการซื้อกิจการของ Kockums กลับมาอยู่ในความควบคุมของบริษัทสวีเดน จะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ Saab มีขีดความสามารถในการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำให้แก่ ทร.สวีเดนได้อย่างรวดเร็ว

อุตสาหกรรมการสร้างเครื่องบินรบของ Saab และอู่ต่อเรือดำน้ำในประเทศ เป็น 2 อุตสาหกรรมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศสวีเดน

 

ข่าวสารจากเพจ submarine squadron(กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ) ครับผม  สมาชิกทุกๆท่านมีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ ^^


Kockums Type A26 เรือดำน้ำรุ่นใหม่ของสวีเดน






ความคิดเห็นที่ 1


อีกหนึ่งตัวเลิือก จะอจ่มกว่ากิมจิป่าวน้า
โดยคุณ doosongkla เมื่อวันที่ 04/03/2014 20:57:58


ความคิดเห็นที่ 2


ผมล่ะชอบจริงๆเลยประเทศสวีเดนนี่หน่ะ มันเหมือนถูกชะตายังไงไม่รู้

ประเทศนี้มีอนาคตนะครับ จับไว้ก็ดี ไม่ต้องพึ่งพามหาอำนาจโดยตรง

ผิดกับยูเครน ที่ตัวเองยังเอาไม่รอด ซื้ออาวุธจากประเทศนี้จังเลย

 

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 04/03/2014 22:31:46


ความคิดเห็นที่ 3


ประเทศนี้จิ๋วแต่แจ๋ว ถ้าเป็นไปได้ ไทยไปขอร่วมลงทุนแล้วขอแชร์เทคโนโลยีหรือขอเกาะกระแสไปด้วยได้ก็ดี  แบบไปถือหุ้นไว้เวลาจะซื้ออะไรเราก็ซื้อจากที่นี่ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งขอเอามาสร้างหรือต่อในไทย เขาก็ได้กำไรได้แชร์ต้นทุน เราก็ได้ซึมซับความรู้มาถ้าเขาไม่เหนียวความรู้ ดีกว่าเราซื้ออย่างเดียวอีกร้อยปีต่อมาอ้าวก็ยังซื้ออยู่ ไม่ไปถึงไหนเลย

 

 

 

 

โดยคุณ zakuIII เมื่อวันที่ 04/03/2014 23:10:50


ความคิดเห็นที่ 4


ว้าว 1000 ตัน น่าจะมีอ่าวไทยสัก 3 อันดามันสัก 3 เตรียมพร้อมเช่าเรือดำน้ำสวีเดนสักคู่นึงก่อน เตรียมบุคลลากร เฮ้อ!!! ฝันกลางวัน ตื่นๆ

โดยคุณ Anajanxxx เมื่อวันที่ 04/03/2014 23:49:05


ความคิดเห็นที่ 5


ข่าวนี้เป็นด้านที่ไม่ค่อยดีของสวีเดนนะครับอย่าเพิ่งอวย TKMS ซึ่งซื้อกิจการKockumsและHDW ไปแล้วต้องการสร้างเรือดำน้ำขนาดไม่เกิน1000ตันโดยให้อู่ต่อเรือที่ Malmo เป็นศูนย์กลาง เรื่องนี้น่าจะดีมากกับไทยในอนาคตนะถ้าเรายังอยากได้เรือดำน้ำเล็กๆอยู่

 

แต่สวีเดนมีแผนการมานานแล้วที่จะสร้างเรือดำน้ำA26ขนาด1900ตันขึ้นมาทดแทนของเดิม มันก็เลยเป็นเรื่องความไม่แน่นอนและค่าใช้จ่ายที่จะบานปลายไปเรื่อยๆจนเกินงบประมาณไปมาก สวีเดนเลยมีแผน2ให้SAABที่ชำนาญบนอากาศและบกรวมทั้งผิวน้ำมาสร้างเรือดำน้ำให้แทนโดยหวังว่าจะประหยัดลงไปบ้าง ที่เหลือก็เป็นการคาดการณ์หรือศัพท์นักข่าวเรียกว่าใส่ไข่แล้วหละครับว่าอย่างโน้นอย่างนี้

 

ความเห็นส่วนตัวก็คือสวีเดนใช้เรือดำน้ำ1000ตันไปเถอะ อย่างน้อยอู่ต่อเรือประเทศตัวเองเป็นศูนย์กลางก็ยังมีเงินเข้าประเทศบ้างน่า ลูกค้าประเทศไทยอาจสนใจก็ได้นะคุณ ปล่อยSAABให้เขาไปทำสิ่งทีชอบๆเถอะกำลังจะบุกAESAเรดาร์ไม่ใช่เหรอ มันจะกลายเป็นเตี้ยอุ้มคร่อมเปล่าๆ ผลิตให้ประเทศแค่2-4ลำอนาคตมีแต่ตัวเลขสีแดง

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 05/03/2014 08:35:54


ความคิดเห็นที่ 6


ตามที่อ่าน ก็เข้าใจว่า ค๊อกคูม ที่ตั้งอยู่ใน สวีเดน...บริษัทเยอรมัน จะใช้เป็น ฐานการผลิต เรือดำน้ำ ขนาดไม่เกิน 1000 ตัน (ทร.ไทย น่าจะยิ้มหวานได้)

แต่ทางสวีเดน เกรงจะเกิดการบานปลาย และความไม่แน่นอนสำหรับเรือดำน้ำ A26 เลยคิดว่า จะซื้อ ค๊อกคูม กลับมา โดยใช้ SAAB เป็นผู้ซื้อ เพื่อจะได้ควบคุมโครงการเรือดำน้ำ A26 ให้เป็นไปตามเป้าหมายได้....

แต่ถ้าให้ผม ฟันธง...

ผมว่า ดีล นี้ได้เกิด แน่นอน...และน่าจะเป็นการร่วมทุน โดย เยอรม้น น่าจะยังคงถือสัดส่วนเงินลงทุนใน ค๊อกคูม ในระดับหนึ่งอยู่ แต่ให้ SAAB เป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่...

เลยไม่แน่ใจว่า เกมส์นี้..... SAAB จะทำเพื่อ ไทย โดยเฉพาะ หรือเปล่า...โดยมี กลุ่มเป้าหมาย ลำดับรองลงไป คือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย ที่อาจจะมาร่วมในโครงการ เรือดำน้ำ...ทั้งระดับ ต่ำกว่า 1000 ตัน และ 2000 ตัน...

ตอนนี้ ตลาดของ SAAB นอกจาก สหรัฐ แล้ว ก็ยังมี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะเป็นตลาดใหญ่ อีกในอนาคต...

หรือ ดูว่า ตลาดฝั่ง ทะเลแปซิฟิก...สวีเดน เริ่มจะมีบทบาทสำคัญ มากขึ้น เรื่อย ๆ

ตอนนี้ สวีเดน มีบทบาทในตลาดอาวุธ สำหรับฝั่งทะเล แปซิฟิก เช่น สหรัฐ  ออสเตรเลีย ไทย สิงคโปร์ และไม่แน่ใน อนาคต อาจจะได้ มาเลเซีย ( Jas-39 + Erieye )...

ความสัมพันธ์  กัน แนบแน่น ของ กองทัพไทย กับ SAAB หรือ สวีเดน คงไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียหายแต่อย่างใด..

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2014 10:19:42


ความคิดเห็นที่ 7


อ่านคอมเมนท์ของท่านJuldasแล้วคันเลยครับ ผมก็เชียร์ให้ทางการไทยร่วมหอกับสวีเดนทางด้านการพัฒนาอาวุธ โดยอยากให้เป็นโครงการในระดับรัฐบาล สวีเดนเนี่ยไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมอาวุธนะครับ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ อิเคโทรนิคส์  สื่อสาร ดาวเทียม  นิวเคลียร์เพาเวอร์แพลนท์  มีครบ ในระดับแนวหน้าของโลกด้วย 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 05/03/2014 11:19:12


ความคิดเห็นที่ 8


ผมอยากให้สวีเดนซื้อกลับ โดยสวีเดนถือหุ้นส่วนใหญ่ เยอรมันก็ยังถือหุ้นบางส่วน  และให้ดีไทยน่าจะไปร่วมหัวจมท้ายกับเค้าด้วยขอถือหุ้นสัก 10%  โดยในการถือหุ้นไทยขอแค่ โรงงานประกอบเรือดำน้ำขนาดไม่เกิน 1000 ตัน ในประเทศไทยก็พอ  ส่วนในประเทศสวีเดนก็ผลิตชิ้นส่วนเรือทุกขนาด และต่อเรือขนาดเกิน 1000 ตันขึ้นไป  คราวนี้ไทยก็สั่งซื้อรุ่นต่ำกว่า 1000 ตัน สัก 7 ลำ ซึ่งจะทำให้อู่ต่อเรือดำน้ำในไทยมีงานต่อเนื่องไปเกิน 10 ปีแน่นอน  นอกจากนี้เรือผิวน้ำก็เป็นอะไรที่น่าสนใจนำมาต่อในไทยด้วย เอาขนาดไม่เกิน 3000 ตัน น่าจะดี

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 05/03/2014 12:55:25


ความคิดเห็นที่ 9


ขอเสนอความคิดในการจัดหาเรือดำน้ำของไทย  ผมคิดว่า ทร. น่าจะทำดังนี้

1.คัดเลือกเรือจากผู้เสนอขายให้เหลือเพียง 2 แบบ เช่น เหลือแบบของสวีเดน (A19 upgrade) และเกาหลี DW1400)

2. จากนั้นกำหนดให้ประเทศผู้ขายอนุญาตให้ทหารเรือไทยเข้าร่วมปฏิบัติงานจริงในทุกตำแหน่งกับเรือดำน้ำที่ประจำการในประเทศนั้นๆเป็นเวลา 1 ปี อาจเป็น A19 รุ่นเก่า กับ U209 เกาหลี เพื่อเปรียบเทียบในการตัดสินใจ และเพื่อเตรียมคนไว้ประจำการในเรือดำน้ำที่จะซื้อ

3. คัดเลือกผู้ชนะแล้วสั่งซื้อทีเดียวทั้งหมด เช่น อาจสั่งซื้อ 7 ลำใน 10 ปี โดยมีข้อแม้ว่า

   - ระหว่างรอเรือที่ต่อใหม่จะต้องให้ทหารเรือไทยร่วมปฏิบัติงานในเรือดำน้ำประจำการของประเทศนั้นด้วย

    - ลำที่ 1 ต่อในประเทศนั้น แต่มีช่างไทยเข้าฝึกการต่อด้วย

   - ลำที่ 2 ต่อในประเทศนั้น โดยช่างไทย และให้ช่างประเทศนั้นดูแลอย่างใกล้ชิด

   - ลำที่ 3 ต่อในประเทศนั้น แต่นำมาประกอบชิ้นส่วนในไทย

   - ลำที่ 4 ,5 ต่อในประเทศนั้น 50 % และต่อในไทย 50%  แล้วประกอบในไทย

   - ลำที่ 6 ,7 ต่อและประกอบในไทยทั้งหมด

   สำหรับอุปกรณ์อิเลคทรอนิค และระบบอาวุธ นำเข้าจากประเทศนั้นๆทั้งหมด  ไทยจะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย  รวมเวลาแล้วก็ไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไปจึงจะต่อครบ 7 ลำ ซึ่งก็น่าพอดีกับลำแรกต้องเข้า Overhual & upgrade ระบบต่างๆ พอดี ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 05/03/2014 13:13:33


ความคิดเห็นที่ 10


ผมใส่ข่าวเพิ่มเติมนะครับ แปลจากสวีเดนเป็นอังกฤษ ไปแปลเป็นไทยเอาเองอีกทีแล้วกัน

ความเห็นส่วนตัวเหมือนจะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาปะปนนิดหน่อย มันก็เลยมีความเสี่ยงตามฐานเสียงรัฐบาลไปด้วย แต่ปรกติมันก็มีอยู่แล้วนี่นามากน้อยว่ากันไป 

 

Defence Materiel Administration will not order the submarines from Kockums but is instead turning to Saab. Many Kockums Employees now risk being left without jobs.

FMV has now commissioned a study that will investigate the possibility of buying submarines of Saab.

"There isn't any incentive to proceed with Thyssen Krupp and with the order of the submarine A26. It simply would not have been a good longterm solution for the taxpayer or for the armed forces, partly because there is not an opportunity to share the cost of the submarine and cooperate with other nations "says Louise Wileen Bjarke, press officer at FMV.

Do you intend to enter into a deal with Saab?
"FMV's intention is to find a vendor that can provide a long term solution. We want to ensure that the unique expertise stays in Sweden."

FMV has received a letter in which Kockums German owner Thyssen Krupp suggests that Kockums in Karlskrona will becom the center for building small submarines. Meanwhile, the company wants to have access to the Swedish technology which the armed forces so far have refused to disclose. The Swedish government also offered to take over a portion of the ownership of Kockums.

http://www.di.se/artiklar/2014/2/27/fmv-avbryter-ubatsforhandling/

 

ข้อมูลบริษัทสวีเดนมีประมาณนี้ครับ

Kockums and super submarine A26

* Kockums is part of the German ThyssenKrupp Marine Systems and has approximately 1,000 employees in Karlskrona, Malmö and Muskö.
*The company designs, builds and supports submarines and naval systems with advanced stealth technology.
*The first new submarine A26 would according to plan delivered to the Armed Forces in 2020.
*A26 has a length of 62 meters and has a maximum diving depth of around 200 meters.
*The companys history stretches more than three hundred years, back to when when the Karlskrona shipyard was founded. Kockums Mechanical Workshop delivered its first ship built in Malmö in 1873.

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 05/03/2014 14:01:08


ความคิดเห็นที่ 11


น่าสนนะครับ แต่ทร.จะรับราคาไหวรึเปล่าหว่า....แถมซื้อเรือเล็กกว่า1000ตันมาโดนเรื่องเป็นเรือตุ๊กตาอีกชัวร์ป้าบร้อยยี่สิบล้านเปอร์เซ็นต์

ส่วนท่านrayong เอา7ลำตามแบบนั้นเราจะมีความสามารถทั้งด้านการรบและการผลิต/ซ่อมบำรุงมากขึ้นเยอะ...แต่ราคาโครงการมันจะปาเข้าไปกี่หมื่นล้านล่ะครับนั่น

__________________________________________________________________________________________________

นอกเรื่องหน่อย ท่านSuperboyพอจะมีเจ้า2กระบอกนี้แบบshipbucket styleไหมครับ (ขอใช้รูปเล็กจะได้ไม่รบกวนเนื้อหากระทู้)

  OTO MElara Single 30 SAFS

 OTO Melara Single Fast Forty (Stealth)

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 05/03/2014 17:04:48


ความคิดเห็นที่ 12


ข้อเสนอของท่าน rayong น่าสนใจนะครับ  เเต่ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าจะต่อเรือดำน้ำลำที่ 6,7 ในประเทศจริงๆ  ต้องมีการปรับปรุงอู่ต่อเรือขนานใหญ่เลยล่ะครับ เเล้วก็ต้องเริ่มทำตั้งเเต่ตอนนี้เลย เพราะไหนๆก็ปรับปรุงอู่สำหรับต่อเรือดำน้ำเเล้ว ก็ทำให้ต่อได้ทั้งเรือดำน้ำ เเละเรือฟริเกตระวางขับน้ำ 4,000-5,000 ตันด้วยเลย  ถ้าทำได้จริงเราก็สามารถประหยัดงบประมาณไปได้เยอะเลยนะครับ

โดยคุณ maritime เมื่อวันที่ 05/03/2014 18:07:53


ความคิดเห็นที่ 13


กระบอกบนมีคนใช้น้อยเลยไม่มีคนวาดรูป รู้สึกตอนนี้จะยกเลิกการขายไปแล้วนะ(แต่ผมชอบมากนั่งยิงแมนนวลแบบสงครามโลกเลย)  โอเคผมเจอแล้วเอามาโมเพิ่มให้ ได้ประมาณนี้แหละครับ

 

 

กระบอกล่างมีแต่แบบไม่stealthนะครับ  ท่านภูเอาไปแต่งต่อเองก็ได้ สมัยก่อนผมก็เอาปืนไต้ฝุ่นมาติดจรวดสไปรส์ด้วยนะแต่ไม่รู้อยู่ไหนแล้ว หลังๆขี้เกียจจู้จี้เลยใช่มันเท่าที่มีนั่นแหละ ทำAUยิ่งง่ายใหญ่เพราะมันบังคับให้ใช้เหมือนเรือลำอื่นอยู่แล้ว

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 05/03/2014 21:25:05


ความคิดเห็นที่ 14


ถ้าแบบธรรมดาผมก็มีครับ เอามาจากในrenewing old part sheetsนั่นแหละ

ว่าแต่ เจ้านี่ก็ไซส์เดียวกันรึเปล่าครับ?

 

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 05/03/2014 22:59:19


ความคิดเห็นที่ 15


ดูๆแล้วเท่าๆกับfortyแหละครับ แต่ป้อมแหลมและป้านออกมาข้างหน้าเพื่อให้มันstealthเท่านั้นเอง  แต่อนาคตดูมืดมนยังไงพิกลเพราะอิตาลีใช้76/62แทนหมดแล้ว ส่วนประเทศอื่นก็หันไปหาปืนรองติดรีโมททั้งนั้น ขณะที่40/70 mk4ของโบฟอร์ขนาดเล็กกว่าไม่ต้องใช้พื้นที่ด้านล่างด้วย(แต่มีออปชั่นเสริม) อย่างน้อยก็มีอังกฤษนี่แหละซื้อไปติดเรือตรวจการณ์เพราะเป็นของBAEไปแล้ว (มีประเทศผมด้วย เหอๆๆ)

 

กระทู้เรือต้องออกทะเลนิดหนึ่งไม่ว่ากันนะครับ

 

ปล. ผลโมให้คงประมาณนี้ แต่ไม่เห็นด้านข้างชัดๆเลยไม่แน่ใจ                         

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 06/03/2014 08:39:20


ความคิดเห็นที่ 16


ด้านข้างน่าจะคล้ายรุ่นsingleรึเปล่าครับ? (แต่เหลี่ยมเยอะกว่า)

ว่าแต่ในAUท่านsuperboyนี่กระบอกนี้ใช่ไหมครับ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 06/03/2014 11:44:08


ความคิดเห็นที่ 17


กระบอกนี้เลย พัฒนาต่อจาก40/70ที่มีอยู่ใน3เหล่าทัพของเราเป็นเข่งๆ แต่อนาคตกับกองทัพเรือคงสู้76/62และ DS-30Mไม่ได้แล้ว

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 06/03/2014 14:20:48


ความคิดเห็นที่ 18


สำหรับเรือดำน้ำขนาดไม่เกิน 1,000 ตัน ตีราคาไว้สักลำล่ะ 300 ล้านเหรียญ (ประมาณ 10,000 ล้านบาท)  ถ้าต่อ 7 ลำ ก็ 70,000 ล้านบาท บวกค่าสร้างอู่ต่อเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกเบ็ดเสร็จก็น่าจะประมาณ 80,000-90,000 ล้านบาท  ใช้เวลาต่อนับจากเริ่มสร้างลำแรกจะใช้เวลารวม 12 ปี เพื่อให้ครบวงรอบหมุนเวียนการซ่อมบำรุงใหญ่ (คือพอลำที่ 7 เสร็จ ลำที่หนึ่งก็เข้าซ่อม overhual ใหญ่พอดี)  ก็ตกเฉลี่ยปีล่ะ 8,000-9,000 ล้านบาท ที่  ทร. ต้องจ่ายเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเรือดำน้ำในประเทศ  ก็ถือว่าใช้งบมาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะทำ  แถมว่าในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนกับสวีเดนยังสามารถรับประกอบเรือดำน้ำหรือเรือรบให้กับลูกค้าต่างประเทศในแถบเอเชียให้กับทางสวีเดนด้วย 

สำหรับอู่ต่อเรือดำน้ำก็อาจทำเผื่อไว้ให้สามารถรองรับการต่อเรือขนาดไม่เกิน 5,000 ตันไปเลยก็ได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 06/03/2014 16:11:00


ความคิดเห็นที่ 19


ถ้าลำละ 10,000 ล้านน่าสน เคยได้ยินแต่ลำละสองสามหมื่นล้าน แต่คงใหญ่กว่านี้

โดยคุณ bangkokguy เมื่อวันที่ 06/03/2014 19:32:14