อยากอภิปรายกับทุกท่านว่า หากเรือชั้นปัตตานีต่อในไทยเหมือนเรือชั้นกระบี่และระบบต่างๆใช้เหมือนกันหมด เรือแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ส่วนตัวผมคิดว่าเรือชั้นปัตตานีจะคุ้มค่ากว่าในภาระกจตรวจการณ์ไกลฝั่ง เพราะ
มีข้อเด่นหลายข้อ ราคาต่อเรือต่ำกว่า ระวางขับน้ำที่น้อยกว่าทำให้ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัตงานต่ำกว่า มีโรงเก็บ ฮ. ทำให้สามารถเก็บและติดตั้งอุปกรณ์และอาวุธให้ ฮ. ได้สะดวกและปลดภัยกว่า ทำให้มีขีดความสามารถในการรบสูงกว่า
มีข้อด้อยเพียงเรื่องความคงทนทะเลจะต่ำกว่าเรือชั้นกระบี่เท่านั้น
เสมอกัน ในเรื่องความสามารถในการติดตั้งอาวุธเพิ่มเติมในอนาคต
ทุกท่านมีความเห็นเป็นอย่างไรบ้าง ครับ ผมคิดว่าทาง ทร. เองก็กำลังเปรียบเทียบเช่นกันเนื่องจากภารกิจเป็นแบบเดียวกัน
ส่วนตัวผมอยากให้มีการต่อเรือขายด้วย พวกเรือสนับสนุนทั้งหลายไม่ใช่เรือที่มีใช้ในการรบเช่นเรอ ฟิเกต เรือบรรทุกเครื่องบิน ฯ แต่อยากให้ต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ไกลฝั่งขาย ต่อเรือนํ้ามัน เรือส่งกำลังบำรุงขาย เรือสำรวจแบบนี้ เพราะว่าเรือพวกนี้เ็นเือสนับสนุนไม่ใช่เรือรบมันจะสามารถตัดปัญหาเรื่องกองทัพคือความมั่นคงไม่ใช่การค้าขาย อย่างน้อยๆก็คือว่าเราไม่ได้ขายจุดชี้เป็นชี้ตายของยุทโธปกรณ์ให้กับใครอาไปล้วงข้อมูล มันจะทำให้แรงตต้านน้อยลง ส่วนตัวผมก็ไม่อยากให้เอาความมั่นคงมาขาย แต่เรือสนับสนุนพวกนี้มันไม่ใช่เรือรบ หากว่าเราสามารถตีตลาดได้ระมาณหนึ่งถึงแม้อาจนำมาบำรุงกองทัพไม่ได้มากแต่อย่างน้อยมันก็แบ่งเบาภาระงบประมาณไปพอสมควร เราอาจนำงบที่ขายได้มาปรับปรุงอู่เรือก็ได้
ผมมองว่าเปรียบเทียบกันค่อนข้างยากนะครับ เพราะ
1. ช่วงเวลาที่สร้างเรือทั้ง 2 ลำ ห่างกันเกิน 10 ปี ค่าใช้จ่ายก็เปรียบเทียบกันลำบาก ทั้งค่าเงินเฟ้อค่าวัตถุดิบในช่วง 10 ปี ค่าแรงงานในไทยและจีนที่แตกต่างกัน
2. ร.ล.กระบี่ ไม่ได้มีแค่ค่าแรงงาน ค่าวัสดุในการก่อสร้างเท่านั้น หากแต่นับรวมถึงค่าแบบเรือด้วย อาจรวมถึงค่าถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยก็เป็นได้
3. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตเรือ อย่างที่คุยๆ กันในเวบบอร์ดเกี่ยวกับเรื่องทหาร เรื่องที่ว่าเรือที่เราว่าจ้างให้ประเทศจีนเป็นผู้ต่อนั้น คุณภาพเหล็กเป็นเช่นไร ถ้าใช้วัตถุดิบแบบเดียวกันในการสร้าง ร.ล.กระบี่ ผมว่าราคาคงไม่ต่างกันมากนัก ถ้าแตกต่างกันคงเป็นค่าแรงงานที่ต่างกัน
4. เรื่องโรงเก็บ ฮ. ในแบบเรือเดิมของเรือชั้นนี้ก็มีรุ่นที่มีโรงเก็บ ฮ. เช่นกัน แต่ที่ ทร. สร้างนั้น ต้องการแบบไม่มีโรงเก็บ ฮ. ผมว่าถ้าเราดัดแปลงให้มีโรงเก็บ ฮ. จริงๆ คงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
ถ้าติดอาวุธเหมือนกันต่อด้วยมาตราฐานเดียวกัน ต้องวัดกันที่แบบเรือหละครับ
HTMS Pattani HTMS Krabi
Displacement: 1,440 long tons (1,460 t) full load 1,969 tons
Length: 95.5 m (313 ft 4 in) 90.5 metres (297 ft)
Beam: 11.6 m (38 ft 1 in) 13.5 metres (44 ft)
Draft: 3.0 m (9 ft 10 in) 3.8 metres (12 ft)
Propulsion: 2 × Ruston16RK270 diesel engines, 2 × MAN 16v 28133D diesel engines
2 × controllable-pitch propellers 2 × controllable-pitch propellers
7 tons helicopter Deck 10 tons helicopter Deck
7 tons helicopter Hangar No helicopter Hangar
รุปร่างของเรือบอกได้อย่างชัดเจนว่าเรือหลวงกระบี่ทันสมัยกว่า เรือมีความกว้างมากกว่ากันเกือบ2เมตรเดินทางไกลดีกว่าแน่นอน แต่เรือไม่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ทั้งแบบถาวรหรือพับเก็บได้ ไม่มีจุดติดตั้งจรวดSSMเพิ่ม(จะติดก็คงได้มั้งแต่ต้องปรับปรุงพอสมควร) ขณะที่เรื่อหลวงปัตตานีมีอย่างชัดเจนออกแบบให้ใส่จรวดฮาร์พูนได้เลย มีโรงเก็บฮ.ยัดซูเปอร์ลิงซ์เข้าไปได้ทั้งลำแต่ถ้าBELL212ก็ครึ่งหนึ่ง
เทียบกัน2ลำผมให้แบบเรือหลวงกระบี่กินขาดให้เลือกนั่งเรือไปอเมริกา10ครั้งผมก็เลือกแต่ลำนี้ แต่การที่ไม่มีจุดติดตั้งจรวดSSMอย่างชัดเจนและไม่มีโรงเก็บฮ.อย่างแน่นอน ทำให้คะแนนลดลงมาอย่างน่าใจหาย จนไม่มีความเสียดายเลยซักนิดถ้าเรือOPVอีก3ลำจะเปลี่ยนแบบใหม่ไปเลย ถ้าทร.จะซื้อเพิ่มต้องมีการประกวดราคาอย่างชัดเจนต่อสาธารณะชนครับ จะต้องไม่มีเรือลำไหนนอนมาแบบแบเบอร์แม้จะเป็นแบบเรือของเรือหลวงกระบี่ก็ตาม ดีไม่ดีวัดกันที่สเป็กในปีนั้นๆไปเลย
คห.ผมไม่เอาเรื่องราคามาเปรียบเทียบนะเพราะมันทำไมได้ บางครั้งถึงเรือจะแพงกว่ากันมากแต่ถ้าใช้งานได้ตรงตามความต้องการผมก็ถือว่าคุ้มค่ากว่า
บางทีก็สงสัยว่าถ้าอุสาห์ซื้อแบบมาแล้วต่อลำเดียวจะซื้อแบบมาทำไม
ผมขอเสนอว่าถ้ายังต้องการเรือตรวจการไกลฝั่งเพิ่มก็น่าจะทำได้ 2 กรณีโดยที่ไทยน่าจะพอออกแบบเองได้ระดับนึงคือ
1. ขยายแบบเรือปัตตานีให้ใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อยให้ทนทะเลมากขึ้น รองรับ ฮ. ขนาด 10 ตันได้ หรือ
2. ปรับปรุงแบบเรือกระบี่ให้มี โรงเก็บ ฮ. และให้มีที่สามารถติดตั้งอาวุธนำวิถี จำพวกฮาพูนได้
ไม่ว่ากรณีไหนก็ถือว่าได้เรือตรวจการไกลฝั่งที่จะไปปฏิบัติงานที่ไหนก็ได้
ในใจอย่างเห็น 2 ลำนี้ไปปราบโจรสลัดคู่กัน แถมเรืออ่างทองไปด้วยอีกลำ ส่วนเรือสิมิลันต้องไปด้วยอยู่แล้วเนื่องจากเป็นเรือส่งกำลังบำรุง รวมไปทีเดียว 4 ลำสักครั้งให้เป็นประวัติศาสตร์กองเรือไทยไปตรวจการไกลต่างแดน ครับ
ถ้าดูถึง ภาระกิจ ความเป็น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง...คงต้องดูถึง ภาระกิจ ตรงนี้ ในการเปรียบเทียบกันครับ
ถ้าเทียบระหว่าง เรือชั้น ปัตตานี และ เรือชั้น กระบี่...
เรือชั้น กระบี่ จะเหนือกว่า อยู่ครับ...
1. ระวางเรือที่ใหญ่กว่า ระยะเวลาการปฏิบัติงาน จะนานกว่า และรองรับจำนวนคน ทั้งทางการทหารและกู้ภัย ได้มากกว่า
2. มีพื้นที่ รองรับ การใช้ คอนเทนเนอร์ สำหรับภาระกิจเฉพาะ ทั้งทางการทหาร และการกู้ภัย ซึ่งเรือชั้น ปัตตานี ไม่มี
3. เรื่องการติดตั้งระบบ อาวุธอื่น ที่นอกเหนือจาก ภาระกิจเรือตรวจการณ์ ก็สามารถทำได้เหมือนกับเรือชั้น ปัตตานี
4. ข้อที่จะด้อยกว่าเรือชั้น ปัตตานี คือ การไม่มีโรงเก็บ ฮ. ซึ่งเมื่อภาระกิจหลัก คือ การรักษาความมั่นคงภายใน จึงตัดความจำเป็นในส่วนนี้ไปได้
5. แต่ถ้าเมื่อ ปฏิบัติภาระกิจในการรักษากฎหมายทางทะเล การปราบปรามโจรสลัด ในการเดินทางไกล ออกนอกประเทศ ซึ่งถ้าปฏิบัติการร่วมกับ ร.ล.อ่างทอง แล้ว เรือทั้ง 2 แบบ ก็ดูจะไม่แตกต่างกันในเรื่องประโยชน์ของโรงเก็บ ฮ. เพราะ ฮ. ก็ใช้การเก็บ และซ่อมบำรุง ที่ ร.ล.อ่างทอง อยู่แล้ว...ซึ่งในการจอด ฮ. บนเรือ ทั้ง ร.ล.กระบี่ และ เรือชั้น ปัตตานี ก็คงอยู่ในลักษณะ สแตนบาย เป็นหลัก...
ผมว่าชั้นกระบี่นะ ว่ากันตามหน้าที่ของเรือ นอกจากนี้ใหม่กว่าเยอะ
Our family of offshore patrol vessels comprises 80 metre and 90 metre versatile and affordable ships. Their adaptable design is well suited to the export market and can be altered according to individual customer needs, ensuring they can meet the operational requirements of navies around the world.
The 90 metre vessel is equipped with an air surveillance radar which can be used to detect low flying aircraft often used in smuggling operations. The ship’s rigid inflatable boat can be deployed swiftly from the davits for recovery and rescue operations and gives the ability to conduct sea boarding.
Its automated 30 mm small calibre gun system can engage fast inshore attack craft armed with short-range missiles, rockets, rocket-propelled grenades, machine guns or explosives, while 25 mm guns mounted port and stardboard provide secondary armament to the vessel.
Featuring a 20 metre long flight deck, the 90 metre ship can land and fuel a medium-sized helicopter, up to 7 tonnes. It also provides ample deck space to up to six 20ft ISO containers for mission stores or humanitarian aid, with a 16 tonne capacity crane enabling cargo to be easily discharged to a jetty.
Offering a high standard of accommodation, this ship has sleeping quarters, dining and recreational facilities for up to 70 crew, but is capable of operating with a lean crew of just 36. It also incorporates additional cabin accommodation for up to 50 other personnel such as trainees, special forces, scientists or medical teams.
Programme(s)
Brazil:
We are supplying three Ocean Patrol Vessels and ancillary support services to the Brazilian Navy, as well as a manufacturing licence to enable further vessels of the same class to be constructed in Brazil.
P120 Amazonas, P121 Apa and P122 Araguari
Thailand:
We have a technology transfer agreement with our Thai industrial partner, Bangkok Dock, providing the design for a 90 metre Offshore Patrol Vessel for the Royal Thai Navy. Construction of the vessel is underway in Thailand, with engineers from our business working alongside Bangkok Dock to transfer design knowledge, technology and skills.
HTMS Krabi
United Kingdom:
We designed and built the UK Royal Navy’s River Class ships and continue to provide support to the vessels under a contracting for availability arrangement.
HMS Clyde, HMS Mersey, HMS Tyne and HMS Severn
Key Facts
90 metre
Displacement: 1,800 tonnes
Length: 90 metres
Maximum beam: 13.5 metres
Top speed: 25 knots
Range: 5,500 miles
Crew size: 70
Embarked troops: 50
Endurance: 35 days
80 metre
Displacement: 1,700 tonnes
Length: 81.5 metres
Maximum beam: 13.5 metres
Top speed: 20 knots
Range: 5,500 miles
Crew size: 36
Embarked troops: 20
Endurance: 21 days
ถ้าภาระกิจแค่รักษากฎหมายและทำการลาดตระเวน ผมว่าเรือหลวงกระบี่เหมาะสมกว่าครับ ใหญ่กว่าทนทะเลกว่า เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเคยให้สัมภาษณ์มานี่ครับในคลิปการต่อเรือหลวงกระบี่ว่า ต้องการเรือที่มีพื้นที่วางตู้คอนเทนเนอร์สำหรับภาระกิจทางทหารแบบอื่นๆ ว่าไปแนวคิดคล้ายๆ LCS ไม่ได้เน้นการติดตั้งระบบอาวุธในภายหลังเพื่อยกระดับเป็นฟรีเกตเบา หรือ คอร์เวต แต่ทร.เป็นฝ่ายโมดิฟายด์แบบเรือให้ติดตั้ง SSM ได้เมื่อจำเป็น
ในขณะที่เรือชั้นปัตตานีมีแนวคิดไปคนละทางครับ เห็นบอกว่ายามจำเป็น เรือจะต้องมีขีดความสามารถติดตั้งระบบอาวุํเพิ่มเติมเพื่อเป็นเรือคอรืเวตหรือฟรีเกตเบาได้ ดังนั้นโรงเก็บ ฮ. ก็เลยจำเป็นกว่า ก็เห็นว่าอีกไม่นานก็จะติดตั้งอาวุธ SSM แล้วด้วย
ผมว่าหลักการแนวคิดของเรือ 2 แบบ มันคนละหลักการครับ แต่เอามาใช้เป็น OPV เหมือนกัน
ที่ท่านระยองเสนอขยายแบบเรือชั้นปัตตานีให้ใหญ่ขึ้น ทนทะเลขึ้น และมีพื้นที่รองรับ ฮ.ขนาด 10 ตัน แสดงว่าท่านชอบแนวคิด OPV ที่สามารถแปลงร่างกลายเป็นฟรีเกตเบาหรือคอร์เวตได้ในยามสงคราม แต่จะไม่อ่อนตัวในภาระกิจอื่นๆ
สำหรับผมคิดว่าควรมีแบบเรือ OPV จำนวน 2 แบบ คือ
แบบแรก สามารถแปลงร่างกลายเป็นเรือฟรีเกตเบาเจ๋งๆได้ เหมือนเรือชั้น Meko a-100
แบบที่สอง เรือ OPV ที่แปลงร่างเป็นภาระกิจอื่นๆได้ เช่นในการส่งกำลังแทรกซึม สงครามพิเศษ กู้ภัย วางทุ่นระเบิด หรือแม้แต่เรือฝึก
สำหรับแนวคิดผม
แบบแรก เรือ OPV ที่แปลงร่างกลายเป็นฟรีเกตเบาได้
ควรจะมีระวางขนาด 2000- 2500 ตัน ควรยาวกว่าเรือชั้นปัตตานีอีกสัก 10-12 เมตร กว้างกว่านี้สัก 2 เมตร มีดาดฟ้ายกด้านหน้าสำหรับติดตั้ง VLS mk-41 8 cell และ K-vls แบบ 4 cell ดาดฟ้าตอนกลางควรมีพื้นที่ติดตั้ง harpoon หรือ RBS-15 8 ท่อยิง โรงเก็บฮ. ขนาด 10 ตัน และหลังคาโรงเก็บควรแข็งแรงพอรองรับการติดตั้ง CIWs และ เรด้าร์ควบคุมการยิงตัวที่สองได้ เสากระโดงหลัก อาจจะออกแบบเผื่อการติดตั้งเรด้าร์แบบ Fixed phase arry ได้ ท้ายเรือเตรียมพื้นที่สำหรับโซน่าร์ลากท้าย
เมื่อใช้เป็น OPV ก็ติดตั้งปืนหลัก 76 mm ปืนรอง 30 mm พอ แบบเรืออาจจะทำการออกแบบโดยใช้แบบเรือชั้นปัตตานีเป็นพื้นฐานแล้วขยายแบบ เน้นสเตลธืมากขึ้นให้เหมือน DW-3000H ที่กำลังจะต่อ
แบบสอง opv สำหรับภาระกิจพิเศษ
เน้นคล้ายๆเรือหลวงกระบี่ แต่ขยายขนาดขึ้นอีกให้อยู่ไม่เกิน 2500 ตัน เน้นภาระกิจพิเศษ และภาระกิจเรือฝึก พื้นที่ท้ายเรือให้กว้างขนาดรองรับ ฮ. แบบ mi-17 ชินุค หรือ CH-53 ได้เลย กว้างขนาดนี้คงจอดพัก ฮ.ขนาด 10 ตันได้ 1-2 ลำโดยยังมีพื้นที่ว่างสามารถรับส่ง ฮ. ขนาด 10 ตันอีก 1 ลำได้ และมีโรงเก็บแบบพับเลื่อนเข้าออกได้ รองรับ ฮ. ขนาด 10 ตัน ข้างโรงเก็บมีพื้นที่วางตู้คอนเทนเนอร์ ต้องมีเครนยกของ ดาดฟ้าเรือด้านหน้า เผื่อพื้นที่ติดตั้ง harpoon 4 ท่อยิง และ ติดตั้ง Exls 4 cell เท่านั้น พร้อมปืน 76 mm 30 mm เพียงพอแล้วครับ เมื่อใช้เป็น OPV จะติดตั้งแค่ 76 mm 30 mm เท่านั้น
ห้องพักสำหรับหน่วยซีล หรือสำหรับนักเรียนนายเรือฝึกหัด ท้ายเรือน่าจะมีที่สำหรับปล่อยยานดำน้ำขนาดเล็กของทีมซีล หรือภาระกิจวางทุ่นระเบิด
เรือท่านนีโอแบบแรกก็คือ DAMEN Sigma ถ้าให้ชัดเข้าไปอีกก็คือแบบของประเทศโมรอคโคซึ่งเป็นเรือฟริเกตไปแล้ว
เรือแบบที่สองก็คือ DAMEN OPV 1800-2600 ถ้างบน้อยเอารุ่น1400ก็ยังไหว
ประเทศที่กำลังจะมีทั้ง Sigma และ OPV2400(ประจำการแล้ว) ก็คือเวียตนาม ประเทศที่ใช้อาวุธรัสเซียมาหลายสิบปี
อะไรประมาณนั้นครับท่าน superboy แต่ต้องซื้อใหม่เพื่อให้ได้ตรงตามต้อง ผมว่าทร. จ่ายไม่ไหวครับ เอาแบบว่า เอาแผนแบบเรือเก่าที่เรามีอยู่ในมือมาทำใหม่เลย อย่างที่ผมลองวาดเล่นๆให้ดูครับ แต่วาดห่วยมากๆนะ
แบบเรือ OPV ที่สองสำหรับภาระกิจพิเศษ
ลูกศรชี้ตรงดาดฟ้าเรือด้านหน้า พื้นที่ว่างสำหรับ harpoon/RBS-15 4 ท่อยิง และ Exls 4 cell
ลูกศรชี้ดาดฟ้าท้ายเรือ เป็นลาดจอด ฮ. ยาวโล่ง และมีโรงเก็บ ฮ. พับเก็บได้ (ยังไม่ได้วาด เพราะไม่รู้จะวาดอย่างไรสำหรับ hanga พับได้) ลานจอดยาวโล่งแบบเรือพิฆาต haruna ของญี่ปุ่นน่ะครับ
ผมคิดดูก็รู้สึกว่าผมชอบเรือแบบที่ท่านนีโอว่าไว้ คือ เรือ OPV ที่ออกแบบไว้รองรับอาวุธเพิ่มได้แบบเรือฟริเกตเบา คือ แบบเรือเดียวกันจะสร้างครั้งล่ะ 2 ลำ 1 ลำเป็นเรือตรวจการไกลฝั่งติดอาวุธปืนอย่างเดียว และอีก 1 ลำ ติดจรวดต่อต้านเรือรบ ตอปิโดต่อต้านเรือดำน้ำ และจรวดต่อสู้อากาศยานได้ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลาจำเป็นจริงๆ เรือ OPV จะสามารถเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตเบาได้จริง
หลังจากนั้นก็พัฒนาแบบเรือต่อยอดเป็นรุ่นใหม่โดยต่อทีล่ะ 2 ลำในหลักการเดียวกัน ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ(ขนาดเรือคิดว่าไม่ควรเกิน 2500 ตันกำลังดี มากกว่านี้จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลาดตระเวนมากเกินไป)
สำหรับภาระกิจพิเศษ เช่น ส่งหน่วยแทรกซึมต่างๆ ผมคิดว่าเรือรบทั่วไปก็พอทำได้อยู่เพราะมีเรือยางติดเครื่องยนตร์อยู่แล้ว และในการแทรกซึมน่าจะให้ไปทาง ฮ. แล้วบินต่ำไปหย่อนลงใกล้ที่หมายจะปลอดภัยกว่า ส่วนภาระกิจช่วยเหลือภัยทางทะเล ผมว่าเรือขนาดต่ำกว่า 2500 ตันจะเล็กเกินไป ผมคิดว่าต้องระดับเรือหลวงอ่างทองกำลังเหมาะครับ
ผมมีอีกความคิด นอเหนือจากกระทู้ คือ ลดชั้นเรือฟริเกตเก่าที่มีแต่ปืน และเรือฟริเกตเก่าที่จรวดต่างๆหมดอายุเหลือแต่ปืน ลงมาเป็นเรือตรวจการไกลฝั่ง เนื่องจากไม่ปลอดภัยหากต้องไปอยู่แถวหน้าต่อสู้กับเรือฟริเกตแท้ๆ แล้ว ทร. สร้างเรือฟริเกตเบา (ที่พัฒนามาจากเรือชั้นกระบี่ , ชั้นปัตตานี) ที่ติดอาวุธครบทั้งปืน จรวดแบบต่างๆ มาทดแทน
เช่น เรือชั้นเจ้าพระยา 2 ลำ ถ้า C801 หมดอายุ ก็ถอดออก แล้วดัดแปลง ถอดปืนท้ายแล้วดัดแปลงทำลานจอด ฮ. เหมือนเรือหลวงกระบุรีส่วนที่ว่างตรงที่เคยเป็น C801 ก็ทำที่ติดตั้งเรือเล็กสำหรับหน่วยจู่โจม หรือเรือบังคับวิทยุ ติด hoist ไว้คอยยกขึ้นลง กลายเป็นเรือ OPV ไป
อันนี้เป็นแนวคิด OPV แบบที่ 1 ของผมครับ
เอาภาพเรือชั้นปัตตานีมาลองวาดทับดู
1. ดาดฟ้ายก เผื่อเอาไว้สำหรับ VLS mk-41 8 cell และ K-VLS 4 cell
2. ที่ติดตั้ง FCR ตัวที่สอง
3. ที่ว่างสำหรับ CIWs
4. ที่ว่างสำหรับ harpoon / RBS-15 8 ท่อยิง ตำแหน่งเดิมของเรือชั้นปัตตานี
ลานจอดยาวขึ้น โรงเก็บยาวและใหญ่ขึ้น เสากระโดงหลัก หนาและเผื่อ Fixes phased array radar
ผมว่าแนวคิดเรื่องปลดเรือชั้นเจ้าพระยา 2 ลำถอดระบบอาวุธเหลือแต่ปืน 76mm 30 mm เอามาเป็น OPV เข้าท่านะครับ เพราะจีนยังปลดเรือชั้นนี้มาเป็นเรือยามฝั่งเลย ประหยัดดี
แนวคิดเรื่อง OPV ในภาระกิจ ASW ก็น่าสนใจครับ ถ้าเอาเรือ OPV ที่สามารถแปลงร่างกลายเป็นเรือฟรีเกตเบาได้มาทำการติดตั้งระบบต่อต้านเรือดำน้ำเข้าไปก็เพียงพอ เช่น โซน่าร์ลากท้าย แท่นยิงตอร์ปิโด K-VLS 4 cell แต่มันจะกลายสภาพเป็น คอร์เวตต่อต้านเรือดำน้ำแทนล่ะครับ
neosiamese2 เมื่อวันที่ 28/02/2014 22:21:26
ลองเปลี่ยนจาก bitmap เป็น jpeg คราวนี้ถ้าไม่ได้ยอมแพ้
opv แบบที่ 1 จะใกล้เคียง PKR sigma 10514 ที่สุดแล้วครับ ยาว 105 m ระวาง 2000 กว่าตัน
opv แบบที่สอง จะใกล้เคียง OPV 2600 ของ Damen ที่สุดเช่นกันครับ
แนวคิดตรงกับพวกดัชท์พอดีเลย ไม่ได้ลอกนะครับ คิดมานานหลายปีแล้ว
สนุกใหญ่เลยนะครับท่านนีโอ เดี๋ยวเจอเรือหลวงรินรดาของผมหน่อยแล้วจะหนาวววว.... เอาชื่อแฟนเก่ามาตั้งชื่อเรือเลยนะเนี่ย พูดแล้วคิดถึงชะมัด กระซิกๆๆๆ :(
คอนเซปOPVของเราไม่เหมือนกัน ผมชอบเรือขนาดเล็กหน้าตาแบบเรืออิตาลีมากกว่า และเป็นการขยายขนาดจากเรือตรวจการณ์ให้มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์พร้อมโรงเก็บUAVเท่านั้น ความนิยมกำลังจะย้อนกลับไปช่วยสงครามเย็นอีกครั้ง เพราะUAVที่มีค่าใช้จ่ายต่ำและคล่องตัวมากกว่ากำลังเป็นที่นิยมไปแล้ว แต่สมัยนั้นอเมริกาใช้เพราะยังไม่ประจำการเฮลิคอปเตอร์บนเรือรบทั่วไปมากกว่า
ไม่เข้าใจกองทัพเรือ ในเมื่อตั้งเป้าจะต่อเรือตรวจการณ์ำไกลฝั่ง ให้ครบ 6 ลำ อุตสาห์ไปซื้อสิทธิบัตรจาก BVT มาต่อเรือกระบี่ ขาดอีกแค่ 3 ลำ ก็จะครบตามเป้าหมายแล้ว ทำไมไม่ดำเนินโครงการให้ครบ และต่อเนื่อง อายุสิทธิบัตรเหลืออีกแค่ 3-4 ปี จะหมดอายุอยู่แล้ว ทั้งๆที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีในการพึ่งพาตนเอง พัฒนาศักยภาพ จนท. องค์ความรู้ในการต่อเรือของ ทร.เอง โครงการกลับเงียบหายไปเฉยๆ ทั้งๆที่ รล.กระบี่ ได้ไปอวดธง เป็นความภาคภูมิใจของ ทร. แม้แต่การประชาสัมพันธ์ ทร. ก็มักจะมีภาพ รล.กระบี่ มาเกี่ยวข้อง แต่โครงการกลับไม่มีความคืบหน้า ราคาต่อลำ ก็ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท จะต่อปีละลำก็ยังได้ ทำไมไม่ทำ โดยส่วนตัวเห็นว่าน่าจะนำเงินโครงการต่อเรือฟริเกตสมรรถนสูงลำที่สอง มาใช้กับโครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งก่อน เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาวมากกว่า และเหมาะสมกับประเทศไทย และสถานะการณ์ในปัจจุบัน
เพิ่มเติมอีกนิดครับ ถ้าจะขยายแบบเรือกระบี่ ส่วนตัวผมคิดว่าควรซื้อแบบเรือ BVT ชั้น krareef class ของโอมาน มาต่อเองน่าจะดีกว่า และ น่าจะมีอุปกรณ์ที่เราต้องการครบถ้วน เช่น VLS โรงเก็บ ฮ. และไม่เป็นการไปยุ่งกับโครงสร้างเรือมากเกินไป ซึ่งการแก้ไขแบบเรือกระบี่อาจจะประสบปัญหาในการต่อเรือ หรือ ความคงทนเหมาะสมของโครงสร้างได้ สิ่งที่ผมต้องการที่สุด คืออยากให้ ทร.พึ่งพาตนเอง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ไม่ได้ทั้งหมดเพียงบางส่วนก็ยังดี และจัดหายุทโธปกรณ์ตามความต้องการอย่างแท้จริง ปราศจากผลประโยชน์และความเกี่ยวข้องล้วงลูกจากฝ่ายบริหาร ที่ผ่านมาเรื่องเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ ผมไม่เห็นด้วยเลย ถ้าจะจัดหาของจากเกาหลีจริงๆ ควรนำมาซื้อเรือดำน้ำ DW-1400 จะดีกว่า อีกไม่นาน 1-2 ปี เรือชุดนเรศวร ก็จะปรับปรุงเสร็จสิ้นแล้ว ก็พอรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง อยากให้ ทร. คำนึงถึงความเหมาะสมในปัจจุบันด้วย
ผมว่ารูปสเก็ตช์คุณ neoฯ โรงเก็บฮ.เล็กไปนะครับ
เรื่องการขยายแบบเรือหรือโมดิฟาย ผมว่ายังไงชั้นกระบี่เหนือกว่าเยอะ
ระวางขับน้ำมากกว่า ที่สำคัญรูปทรง สั้นๆ กว้างๆ ทำให้เรือคล่องตัว พวกเรือผอมๆ เฟี้ยวๆ อย่าง ticonderoga, knox, ohp, มันหมดยุคแล้วครับ รุ่นหลังๆ ออกมาทรงกว้างๆ เช่น fremm, arleigh berk, horizon เป็นต้น
แถมผมเชื่อถือแบบเรืออังกฤษมากกว่าจีน บอกตรงๆ แต่เรื่องสิทธิบัตรหมดอายุ ถ้าไม่ได้ประกอบเพิ่มจริงเสียดายแย่
ผมเองจำได้ว่าลำที่สองเราอนุมัติงบไปแล้ว หรืออนุมัติหลักการไปแล้ว เป็นปีๆ แล้ว ไม่ทราบคนอื่นๆ คุ้นๆ เหมือนผมหรือเปล่า หรือผมเพ้อไปเอง
ขอทำความเข้าใจนิดนึงนะครับ เรื่องสิทธิบัตรที่มีอายุ 10 ปีนั้น เป็นสิทธิบัตรของการต่อเรือเพื่อส่งออกไปต่างประเทศครับ
แต่ถ้าจะต่อเรือเองเพื่อใช้ในประเทศแล้ว อันนั้นไม่มีอายุสิทธิบัตรครับ เนื่องจากเป็นการซื้อแบบเรือเพื่อมาต่อใช้เองครับ
ดังนั้นแบบเรือของ ร.ล.กระบี่ นั้น ถ้าจะต่อใช้เองในประเทศ ไม่มีวันหมดอายุครับ
ถ้าเป็นตามที่คุณ rivcebeanoil ว่าก็ดีครับ
5555....55555......ดูคนอื่นเขามันมานานแล้ว ลองส่งเรือปุปุปะปะเข้าประกวดกับเขาบ้าง เผื่อเป็นม้ามืด.....5555....
ท่าน tommy ครับ จริงๆ ทร.เสนอเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำมือสอง type 206A ก่อน โดยซื้อเหมายกกองเรือ แต่แห้วทั้งๆที่ใช้เงินแค่ 7000 กว่าล้านเท่านั้น แต่ตอนนี้กลับได้เรือฟรีเกต ASW ด้วยงบ 30,000 ล้านบาท ดังนั้นเรื่องเรือดำน้ำนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงินครับ รัฐบาลทั้งสองขั้วก็สนับสนุน ทร. จัดหาเรือดำน้ำ แต่แห้วทุกงาน ทั้งๆที่สำคัญเป็นอันดับที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้เรือดำน้ำ จึงต้องสอยเรือฟรีเกต ASW มาอุดช่องว่างก่อนครับ
OPV ลำถัดๆมาหายจ้อยยย ผมว่าเป็นเพราะ ทร. คงทุ่มเงินสำหรับเรือดำน้ำก่อนล่ะ อาจจะยื่นเสนออีกครั้งภายใน 2-3 ปี ถ้าแห้วอีก OPV ลำที่ 2 3 4 และฟรีเกตลำที่ 3 (อาจจะมี 4) คงจะต้องตามออกมาครับ
ส่วนการดัดแปลงต่อยอดนั้น ก็เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบและต่อเรือของเราไปด้วยครับ ซึ่งเรือชั้นกระบี่ได้ทำการโมดิฟายด์โดยกองทัพเรือไปเรียบร้อยแล้ว ให้สามารถติดตั้ง SSM ได้ มีห้องพักนักบินด้วย จะว่าไปเรือชั้นกระบี่ลำนี้ไม่ได้สร้างตามแบบแป๊ะๆ ถ้าการโมดิฟายคราวนี้ เรือสามารถใช้งานได้ไม่มีปัญหา ลำที่สองได้งบมาเมื่อไหร่ (หลักการน่าจะผ่านแล้ว แต่เงินยังไม่มา) น่าจะเป็นการต่อที่สามารถเพิ่มทักษะและความชำนาญให้เจ้าหน้าที่ของเราครับ
ถ้าทำได้ดีในลำที่สอง ทร. คงกล้ามากขึ้นที่จะดัดแปลงแบบ หรือ ขยายแบบเรือจากแผนแบบเดิมเพื่อให้ตรงตามความต้องการได้มากขึ้น
ปล. ไม่รู้ว่าโรงต่อเรือและสลิปเวยฺ ลานซ่อมเรือ lift ship ที่ได้ข่าวว่าร่วมทุนกับสิงคโปร์ เดินหน้าไปถึงไหนแล้ว.....
ถ้าเรือชั้นปัตตานี ขยายความยาวเป็นประมาณ 104-106 เมตร และขยายความกว้างออกไปประมาณ 2 เมตร เรือจะกว้างถึง 13.8 เมตรทีเดียว ซึ่งกว้างพอๆกับเรือชั้นนเรศวร จะได้อัตราส่วน ความยาว/ความกว้าง = 7.6/1 ถึง 7.7/1 ซึงเป็นอัตราส่วนของเรือสเตลธ์รุ่นใหม่ๆที่ทยอยกันออกมาครับ ก็เหมือน DW-3000H ที่ดัดแปลงจากเรือชั้น KDX-1 ที่มีอัตราส่วน 10/1 ทีเดียว (เหลือแค่ 8.1/1 ) ผมว่า ทร. มีความสามารถสูงพอโมดิฟายด์แบบเรือได้ ยิ่งเมื่อทำการต่อเรือ DW-3000H ทั้งสองลำแล้ว น่าจะมีความเข้าใจในการ โมดิฟายด์แบบเรือมากยิ่งขึ้น
555.....เรือชั้นกระบี่ mod-2
เรือชั้นปัตตานี mod-1
ตั้งชื่อเอาเลยด้วย....55555
ลองลงรูป OPV แบบที่ 2 ทำตามแนวคิด OPV 2600 ดู ผมว่าทร.สามารถโมดิฟายด์แบบได้
ถ้าให้ดี เอา แบบเรือกระบี่เป็นตัวตั้ง + ส่วนผสมเรือปัตตานี + ขนาดเรือประมาณเรือนเรศวร ไม่รู้หน้าตาจะออกมาดีกว่าเรือฟริเกตใหม่จากเกาหลีหรือเปล่า
ยังไม่มีตังค์ซื้อ i-mast เอามาแค่นี้ก่อนก็ได้ วันหลังสินสอดพร้อมคอยถอยมาใส่ เห็นโฆษณาว่า plug and play ไม่ใช่เหรอ
เห็นว่าเป็นคุณjeepyนะครับผมเลยทำให้ SAAB ทั้งลำจัดแน่นจัดเต็ม :)
plug&play แต่ต้องออกแบบร่วมกันครับ จะได้วางได้พอดี เหมือนสร้างบ้านก็ออกแบบแนวสายไฟท่อน้ำไปด้วย มันจะได้พอดีกันไงครับ
พอเสร็จก็ยกเสาเรดาร์มาแปะ