หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เจ้าตัวนี้มีโอกาสมากน้อยเท่าไหร่ที่จะมาอยู่ 911 จักรีนฤเบศ

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 28/02/2014 11:03:48

ฝูงบินขับไล่นาวิกโยธิน 214(VMF-214)

รูปภาพ : ฝูงบินขับไล่นาวิกโยธิน 214(VMF-214)ในปัจจุบัน





ความคิดเห็นที่ 1


เมื่อเช้าดูข่าวทีวีแว๊บๆ ขณะแต่งตัวจะไปทำงาน   ได้ยินว่าอเมริกาจะลดขนาดกองทัพลง จนมีขนาดเล็กสุดในรอบ 70 ปี (ทหารจาก 520,000 คน เหลือประมาณ450,000 คน)  ขณะรายงานข่าว  ผมเห็นภาพ F-35 (B?) กำลังแทกซี่สั้นๆขึ้นจากลานเรือบรรทุก บ. ด้วย  ดูนิ่งและงามมาก  ซึ่งนั้นอาจหมายถึง โอกาสที่เราจะได้ AV-8B สภาพที่น่าใช้   ก็มีความเป็นไปได้    แต่....  ก็ต้องถามอีกล่ะว่าโปรเจคนี้เร่งด่วน(เช่น ถ้าเค้าขาย แต่เราไม่พร้อมเดี๋ยวนี้  ก็ชวดเลย) จนแซงโปรเจคอื่นๆของ ทร. หรือไม่?   ซึ่งสรุปว่า...  อยากได้ แต่  ยากถึงยากมาก มาก...

โดยคุณ nui-714 เมื่อวันที่ 26/02/2014 14:28:32


ความคิดเห็นที่ 2


ฟันธงศูนย์เปอร์เซ็นต์

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 26/02/2014 14:42:52


ความคิดเห็นที่ 3


เชื่อว่าทร.อยากได้ แต่ให้ตายก็ไม่มีเงินไปซื้อหรอก

ว่าแต่ถ้ามันมาฟรีๆแบบOHPล่ะครับ เพราะประเทศอื่นไม่มีCVLแล้ว(สเปนกับอิตาลีก็ไม่สน) ไม่มีใครแย่งร้อยล้าน% ถ้าอเมริกาจะโละก็ต้องมาไทยนี่แหละ เสียค่าซ่อมทำไปทีละลำสองลำน่าจะพอไหว

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 26/02/2014 15:41:47


ความคิดเห็นที่ 4


ฝันครับ งบจะต่อเรือ OPV ให้ครบจำนวนยังไม่มีเลย

โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 26/02/2014 15:44:39


ความคิดเห็นที่ 5


อนาคต ส่วนตัวมองว่า 911 เรา น่าจะหา ระบบ ต่อต้านอากาศอย่างมิสไซน์ มาติดตั้ง จะดีกว่าครับ

ส่วนตัวเรือ น่าจะปรับเป็นเรือบรรทุก ฮ.เหมือนเดิมเเหละดีเเล้ว .... หากจะซื้อ บ.รบ มาอีก ทาง ทร.คงมอง ไปถึง บข.ที่ภาคพื้นมากกว่า อย่างเช่น Gripen NG อะไร ประมาณนั้น

โดยคุณ konthai2 เมื่อวันที่ 26/02/2014 16:55:51


ความคิดเห็นที่ 6


ทำไมประเทศอื่นจะไม่อยากได้ละครับ? ผมว่าถ้าอเมริกาปล่อยล่วงหน้าจริงๆ ซึ่งคงไม่เกิด สเปนคงฮุบล่ะครับ ทุกวันนี้สเปนมีแต่เครื่องรุ่นแรก และยังไม่ได้สั่ง f-35b เลย ดังนั้นคงต้องการ และที่แน่ๆ มีตัง ส่วนอิตาลีก็มีสิทธิ์กว่าไทยอยู่ดี หรืออินเดียนี่ก็ไม่แน่ 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 26/02/2014 17:53:08


ความคิดเห็นที่ 7


ปาฏิหาริย์ เท่านั้น เอา ภาวนากันเถอะพวกเรา

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 26/02/2014 19:02:53


ความคิดเห็นที่ 8


สเปนปลดPrincipe de Asturiasไปแล้ว EAV-8B(รุ่นเดียวกับAV-8Bนะครับ ไม่ใช่รุ่นแรก)ก็ยังเหลือในสภาพค่อนข้างดี ซึ่งคงไม่ได้ต้องการเพิ่มจำนวนเพราะJuan Carlosก็ไม่ได้ขนแต่เครื่องบิน ถ้าจัดหามาเป็นอะไหล่เพิ่มคงไม่กี่สิบลำ(จากเป็นร้อย) แต่ผมมองว่าคงไม่จัดหาเพราะไม่น่าจะประจำการอยู่ต่อนานสักเท่าไหร่ในเมื่อสเปนเองก็อยากได้F-35B

อิตาลีจะปลดทิ้งทั้งฝูงอยู่แล้ว

อินเดียกำลังจะปลดViraatหลังต่อชั้นVikrant(IAC)เพิ่ม

เหลือพี่ไทยนี่แหละครับ ผมมองว่ามันเหลือเครื่องให้จัดหาได้แน่ แต่เราไม่มีเงิน อย่างน้อยๆก็คงใช้ได้เกินสิบปีถ้ามีเงินมาซ่อม อเมริกามีอยู่หกฝูงมีพอแจกเหลือเฟือ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 26/02/2014 20:06:33


ความคิดเห็นที่ 9


  ผมก็อยากให้มาใจจะขาด   คิดเช่นกันครับว่าทั้งอืตาลีและสเปนมี AV-8B ประจำการอยู่แล้ว   และคงใช้มันต่อบนเรือบรรทุกบ. ลำใหม่ของทั้งสองประเทศจนกว่าจะได้  F-35B  เข้าประจำการทดแทน   ส่วนอินเดียก้อย่างที่ท่าน Phu ว่าล่ะครับ   เขารอเรือใหม่พร้อมเครื่องบินใหม่    ถ้าอเมริกาจะขายได้ก็คงเหลือแต่เราเท่านั้น

    ถ้าดูจากการขายในอดีต (ถ้าไม่ให้เปล่าแบบ OHP)  ก็อาจจะต้องซ่อมคืนสภาพแล้วกลับเข้าประจำการ   ราคาคงประมาณพอๆกับซื้อเครื่องให่เมื่อ 20 ปีก่อน  หรือ ประมาณ 500 ล้านบาท   ถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับ F-35 B  ที่ตอนนี้น่าจะเกิน 5,000 ล้านบาทไปแล้ว     ถ้าได้ AV-8 B  มาสัก  8-12  เครื่องจะยอดมาก  แต่คงต้องจัดหาแบบซ่อมกินตัว     อ้อลืมไป  มีโครงการบริหารอะไหล่  AV-8 B  สำหรับลูกค้าต่างแดนอยู่ 

  ถ้าจ่ายเพิ่ม  4,000 - 6,000 ล้านบาทแล้วได้  AV-8 B  มาใช้ 8-12  เครื่อง  ผมว่าคุ้ม

  แต่เรือดำน้ำยังไงก็คงต้องมาก่อนครับ   งบคล่องแล้วค่อยว่ากัน

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2014 22:20:44


ความคิดเห็นที่ 10


เรื่องเรือ opv ผมว่าเป็นเพราะเรา capacity ของอู่เรือไม่พอมากกว่าไม่มีงบฯต่อเรือ เพราะปัจจุบันเห็นว่าซ่อมบำรุงตามวงรอบ + ปรับปรุงกันมันส์

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 27/02/2014 01:20:03


ความคิดเห็นที่ 11


โอกาสในอนาคตของเราก็ยังเปิดกว้างครับ แต่ต้องมีจังหวะที่ดีมากๆเข้ามาผสมด้วยเช่นกัน(เหมือนOHP)นั่นคือ

 

1 ทางอเมริกาปลดประจำการไปแล้วและอยากปล่อยให้เราแบบไม่คิดมูลค่า เพียงแต่ต้องปรับปรุงเครื่องใหม่ทั้งหมดในประเทศเขาเพื่อให้มีรายได้เข้ามาด้วย ผมคิดว่าอาจจะตกอยู่ที่ลำหละ500บาทเหมือนท่านนีโอนี่แหละ แต่เราได้เครื่องบินรบใช้งานได้15-20ปี โดยมีสัญญาใจว่าจะช่วยสนับสนุนอะไหล่ให้ในอนาคตทั้งทางการซื้อขายและแบบลับๆ (นาวิกโยธินเขาขนใส่เรือมาให้ตอนฝีกคอบบร้าโกลด์อะไรแบบนี้)

 

2กองทัพเรือของเราให้ความสนใจที่จะจัดหางบประมาณมาซื้อเครื่องบิน ถ้าผบ.ทร.ไม่สนคนเดียวเรื่องก็เอวังด้วยประการทั้งปวง และเมื่อให้ความสนใจแล้วก็พยายามผลักดันโครงการนี้ให้เกิด ไม่ว่าจะใช้แผนทำแบบเงียบๆหรือโปรโมทมันไปทั้งโลกก็ตาม เพราะมีคนใกล้ตัวที่พร้อมจะตัดแข้งตัดขาตลอดเวลาเพื่ออะไรซักอย่างนี่แหละ

 

3รัฐบาลในตอนนั้นต้องมีเงิน เข้าใจในความจำเป็น และมีความสัมพันธ์อันดีมากกับอเมริกา ข้อสุดท้ายนี่สำคัญสุดนะผมว่าไม่อย่างนั้นเรื่องก็คงจะไม่ผ่านสภาคองเกรสเขาแน่

 

ดีลนี้เราขอความช่วยเหลือจากเขาเป็นหลักนะครับ(ไม่ใช่มีเงินอย่างเดียวแล้วจะซื้อได้) ถ้าในช่วงเวลาดังกล่าวมีแต่คนจิกด่าอเมริกาด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องเป็นผมก็คงไม่ปล่อยให้ อันที่จริงถือว่าเราเป็นลูกค้าเจ้าสุดท้ายของโลกนี้แล้วนะ การปล่อยเครื่องบินด้วยดีลแบบนี้จะเป็นผลดีมากกับทั้ง2ฝ่าย การขยับตัวเพื่อทำอะไรทางเขาต้องมีรายได้เขาประเทศด้วย ส่วนเราก็ได้เครื่องบินที่เหมาะสมกับเรือแบบไม่ต้องปรับปรุงอะไรเลย

 

แต่องค์ประกอบและจังหวะสำคัญที่สุด หลายๆอย่างในบ้านเราทำให้พลาดของดีมือสองราคาถูกไปเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ความนิยมซื้ออาวุธมือสองแต่สภาพดีค่อนข้างแพร่หลายมานานมากแล้ว

 

เรือOPVผมว่าอย่าไปตื่นเต้นอะไรเลยครับ เราประกอบเองในประเทศได้อยู่แล้วมีจังหวะเมื่อไหร่ค่อยว่ากันก็ได้ เรือตรวจการณ์เรายังมีอยู่เยอะแยะ หลายๆลำยังติดอาวุธสมัยสงครามโลกอยู่เลย OPVก็คือเรือตรวจการณ์ลำใหญ่มีเงินเมื่อไหร่ค่อยสร้างก็ยังทัน ตอนนี้กองทัพเรืออยากได้เรือดำน้ำและกำลังซื้อเรือฟริเกตรุ่นใหม่ โดยมีแนวโน้มว่าจะเอามาติดตั้งอุปกรณ์ในช่วงท้ายๆที่บ้านเราเอง(น่าจะเยอะกว่าสมัยเรือจากจีนที่เอามาติดอาวุธและเรดาร์ในประเทศ แต่คงไม่มาเฉพาะตัวเรือโล้นๆแบบเรือLPDออสเตรเลียที่ต่อจากสเปนแน่) ก็ว่ากันไปครับ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/02/2014 08:33:43


ความคิดเห็นที่ 12


ผมว่าทุกอย่างมีโอกาสเป็นไปได้นะครับ ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับการเจรจา และอยู่ที่ว่าอเมริกาจะให้เรามั้ย ส่วนตัวเดาว่า ๙๑๑ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อบรรทุก เอวีแปด โดยเฉพาะเลยแหละ (เช่น สกีจั้ม และอื่นๆ เหมือนกับเรือพี่สาวที่สเปน).... ถ้าใครสงสัยว่า ๙๑๑ คือ เรือบรรทุกเครื่องบินหรือเปล่า ผมว่าก็คงต้องตัดสินใจกันเองครับว่า เอวีแปด เป็นเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ แล้วก็น่าจะได้คำตอบ.... อย่างไรก็ตาม เอวีแปดบี จะสำคัญกับพลานุภาพของ ๙๑๑ มากแค่ไหน ผมคิดว่าหลายคนคงมองตรงกันคือ สำคัญมากๆ.... แล้วยิ่งในปัจจุบันท่าทีทางทหารของกอไผ่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ผมคิดว่าเราควรพร้อมรบให้มากที่สุด ในทุกๆด้านนะครับ เพื่อนๆคิดว่า ใครมีแผ่นดินใกล้กับกอไผ่มากที่สุด ระหว่าง เรา กิมจิ และ ซูชิ? แล้วกิมจิกับซูชิลงทุนและพร้อมรบมากแค่ไหน แล้วเราแค่ไหน? ก็ขอให้เป็นการคิดมากไปเองส่วนตัว และคงจะไม่มีอะไรในกอไผ่นะครับ :-D  ......

 

ทีนี้เรากลับมาดูว่า จะทำยังไงให้อเมริกาให้ เอวีแปดบี กับเรา เท่าที่คิดได้ก็น่าจะมีอยู่ประมาณ ๓ ข้อใหญ่คือ ๑) ไม่ต้องทำอะไร เขาให้เราฟรี เฮ แฮปปี้กันทุกฝ่าย ๒) ซื้อ เราซื้อด้วยเงิน สด/ผ่อน ว่ากันไป ๓) แลก เราอาจแลกด้วยผลผลิตทางการเกษตร/ปศุสัตว์ หรือ เราอาจแลกด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เราผลิตเอง ด้วยจำนวนที่สมเหตุสมผลตามที่ตกลงกัน เช่น เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งหรือรถหุ้มเกราะ เป็นต้น......เพราะบางประเทศเขาอาจจะไม่อยากได้ข้าว/ปศุสัตว์ แต่อยากได้เรือตรวจการณ์หรือรถหุ้มเกราะมากกว่า ซึ่งวิธีนี้ก็อาจจะนำไปใช้ในการจัดหาสิ่งอื่นๆ ด้วยได้มั้ย เช่น เรือดำน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปากีสถาน ไม่รู้ว่าจะสนใจข้าว รถหรือเรือตรวจการณ์ของเราอีกบ้างมั้ย เพราะเขาก็มีเรือดำน้ำเหมือนกัน :-D .... แต่สุดท้ายมันก็วนกลับมาตรงที่ว่า เขาจะตกลงหรือป่าว แต่ที่สำคัญมันอยู่ที่เราว่าลองเจรจารึยัง..... แล้วอะไรที่มันเร่งด่วนกว่ากันอีก ระหว่างเรือดำน้ำ กับ แฮร์ริเออร์ นี่ก็น่าคิดนะครับ ความเห็นส่วนตัวครับ มาช่วยกันคิดเล่นๆ นะครับ

 

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 27/02/2014 06:25:33


ความคิดเห็นที่ 13


   กำหนดการณ์เข้าประจำการ F-35B ครบเมื่อไหร่ ถึงตอนนั้นค่อยมาลุ้นกันดีกว่า ด้วยจำนวนที่เยอะพอสมควร ( ร้อยลำ ) ถ้าเป็นหลายๆปีก่อน อเมริกาจะเอาไปจอดในทะเลทรายอย่างไม่ใยดีที่จะขายให้คนอื่นแน่นอน แต่ในสภาวะเศรษฐกิจของตัวเองเป็นอย่างที่ทราบกัน จะมีการตัดลดรายจ่ายของกองทัพให้มากที่สุด ยุทโธปกรณ์ที่ใกล้จะปลดประจำการหรือจะมีรุ่นใหม่มาแทน ก็จะต้องปลดให้เร็วขึ้น ซึ่งก็มีทางเลือกเหมือนที่บางท่านตั้งข้อสันนิฐานเอาไว้ เรียงตามความเป็นไปได้

   1. เสนอขายในราคาที่ถูกระดับนึง มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น ซื้อ 2 แถม 1 อะไรทำนองนี้

   2. เสนอขายกับเอกชนที่สนใจ น่าจะพอขายได้บ้างแต่ก็คงเหลืออีกมาก

   3. ยกให้ฟรี แต่เราต้องออกเงินปรับสภาพเอง

   4. ยกให้ฟรี กรณีเราไม่มีเงินปรับสภาพ แต่เราขอเอามาซ่อมกินตัวเอาเอง เอามาซัก 36 - 48 ลำ น่าจะอยู่สภาพพร้อมรบได้ไม่ต่ำกว่า 15 ปี

 

 ระหว่างข้อ 4 การยกให้เราฟรีๆ อาจจะมีการขอความร่วมมือทางด้านการทหารต่างๆเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งได้ประโยชนืกว่าการเอาไปจอดทิ้งที่ทะเลทรายแน่นอน

    

โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 27/02/2014 08:21:35


ความคิดเห็นที่ 14


@ phu2000 เรื่องรุ่นเครื่องสเปนผมพลาด

ว่าแต่ตกลงทำไมสเปนไม่สนล่ะครับ (เพราะว่าไทยอยากซื้อสิบกว่าเครื่องจากเป็นร้อย?) juan carlos I มันก็ขนเครื่องบินได้เท่ากับ principe de Asturias แหละครับ ส่วนพวกยานยกพลสะเทินน้ำสะเทินบกมันก็ไม่ได้มาจอดใน hangar อะไรนิครับ 

ส่วนที่ว่าอิตาลีจะโละทิ้งหมดแล้ว ไม่แปลว่าอิตาลีจะมีแรงจูงใจอยากได้ av-8b มากขี้นกว่าเดิมเหรอครับ?

แล้วประเทศบราซิล?  ผมว่าอิตาลีกับสเปนมีความเป็นไปได้ในการสอยกว่าไทย

อีกประเด็นที่เราคิดๆ กันว่าเมกาจะมาลดแลกแจกแถม หรือขายให้เรา ผมยังคิดไม่ออกนะครับว่าเมกาจะมีแรงจูงใจอะไร เขาก็อยู่ของเขาสบายๆ  ยังตีไม่ตกว่าเขาจะเดือดร้อนเพราะต้องการให้ไทยมีเครื่องบินประจำการณ์บนจักรีด้วยเหตุใด เขาเอาเครื่องไปตากทะเลทรายน่าจะง่ายกว่าให้ฟรีเสียค่าซ่อมนะครับ นอกจากเรามีงบฯ แล้วไปตื๊อ นั่นก็อีกเรื่องนึง

ส่วนตัวผมเลยนะ ผมก็อยากได้มาประจำการณ์จักรีเหมือนกันว่ะครับ ฮา

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 27/02/2014 09:04:08


ความคิดเห็นที่ 15


opv มันก็ไม่ทำไมหรอกครับ ไม่ได้กลัวว่าจะทำไม่เป็นแต่นั่งๆไปสิทธิบัตรจะหมดอายุละครับ

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 27/02/2014 10:25:58


ความคิดเห็นที่ 16


ถ้าจำไม่ผิด....ไตหวัน ก็มีความต้องการ AV-8B+ ครับ...น่าจะเคยขอเสนอซื้อจาก สหรัฐ อยู่ครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/02/2014 13:54:57


ความคิดเห็นที่ 17


ท่านtoeytei ลองคิดแบบผมดูสิครับ ถ้าเราต่อเรือOPVวันนี้จะติดตั้งเรดาร์ THALES Variant 2D แต่ถ้าเราต่อเรือในอีก4ปีข้างหน้าจะติดตั้งเรดาร์ THALES NS 100 AESA 3D จับเป้าได้ไกล200กม.เชียวนะเออ(ในราคาถูกกว่า SMART-S MK2พอสมควร) พอผมจิ้นได้แบบนี้ก็เลยนอนฝันหลับดีราตรีสวัสดี (ได้ไม่ได้ไม่สำคัญเพราะทำอะไรไม่ได้อยู่แล้วนี่)

 

ในอนาคตแบบเรือOPVกำลังโผล่ขึ้นมามากขึ้นเรื่่อยๆ เรดาร์ AESA สำหรับเรือลำเล็กๆก็มีมากขึ้นเรื่อยๆชนิดว่าไงว่าตามกัน จะเอาของใหม่ๆๆๆ

 

ข่าวของอิตาลีตั้งแต่2ปีที่แล้ว กองทัพเรืออิตาลีจะเอาF-35B 22ลำแต่อาจจะลดลงมาเหลือ15 มันยาวไปหน่อยผมตัดมาแค่ช่วงแรกๆนะครับ

ROME — Italy’s decision to slash its overall F-35 Joint Strike Fighter order from 131 to 90 jets has kick-started a debate over how the Italian Air Force and Navy can divide a shrinking number of F-35B short-takeoff, vertical-landing (STOVL) versions in the package.

With both services wanting the jet and neither likely to get the number they want, talks are underway at the Ministry of Defense to find a solution, with a pooled fleet a growing possibility, officials and analysts said.

Before Defense Minister Giampao-lo di Paola announced the JSF reduction in February, prompted by defense spending cuts, the Air Force had planned to acquire 69 conventional F-35As to replace its Tornados and 40 F-35Bs to replace its AMX fighter bombers, citing a need to field STOVL aircraft to exploit short landing strips. That left the Navy with 22 STOVL versions to replace its aging AV-8 Harriers on its new carrier, the Cavour.

http://www.defensenews.com/article/20120515/DEFREG01/305150010/Italian-AF-Navy-Head-F-35B-Showdown

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/02/2014 14:45:57


ความคิดเห็นที่ 18


ผมคิดว่าถ้าราคาเครื่องล่ะ 500 ล้านบาท และสหรัฐปลดประจำการจริง ก็มีโอกาสที่ AV8B จะมาประจำการบนเรือจักรีฯเพราะ

1. ทร. สามารถจัดงบประมาณทยอยซื้อที่ล่ะน้อยๆ เช่น เริ่มจาก 4 เครื่อง  บวกค่าฝึก อุปกรณ์สนับสนุน อาวุธ รวมๆน่าจะ 3000 ล้านบาทซึ่งน่าจะพอเจียดงบประมาณได้ จากนั้นก็ค่อยๆซื้อเพิ่มที่ล่ะ 2-3 เครื่อง จนครบฝูง

2. ผมคิดว่าประเทศที่ใช้งานอย่างสเปน  อิตาลี  สหรัฐ  คงไม่ปลดประจำการ AV8B ทั้งหมดใน 10 ปีแน่ เพราะ  F35B ราคาบวกค่าซ่อมบำรุงแพงมาก ทำให้จำนวนที่ซื้อได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ  จึงต้องมี AV8B ประจำการต่อไปบางส่วน

3. ขีดความสามารถในการรบและความทันสมัย ถ้าคิดตามความจริง AV8B ก็ไม่ได้ล้าสมัยอะไร และยังสามารถ upgrade ได้อีกในราคาที่ถูกกว่าการซื้อ F35B มาก เช่น สมมุติ ไทยซื้อ AV8B มาไม่ปรับปรุงก็ยังทันสมัย แต่หากจะปรับปรุงก็สามารถทำได้โดยอาจซื้อเรดาร์และอุปกรณ์เก่าจาก F16 สิงค์โปร์มาใช้ซึ่งก็เป็นรุ่นเดียวกับที่ F16 MLU ของไทยใช้อยู่ และเพิ่ม link 16 เข้าไป เท่านี้ AV8B ก็จะปฏิบัติการได้ทั้งครองอากาศและโจมตีได้ดีคุ้มค่าราคาเมื่อเทียบกับ F35B

4. AV8B ไม่จำเป็นต้องขึ้นลงทางดิ่งตลอด หรือ ประจำการบนเรือ 911 ตลอด  อาจแบ่งมาประจำการบสนามบินทหารเรือเพื่อทดแทนฝูงบินโจมตี A7E และฝูงตรวจการณืโจมตี เช่น อู่ตะเภา  สนามบินสงขลา และบินขึ้นแบบเครื่องบินทั่วไปเพื่อลดการสึกหรอ  ก็สามารถทำได้ แล้วค่อยหมุนเวียนไปประจำการบนเรือ 911 เป็นรอบๆ ไป

  ดังนั้นหากมีโอกาสก็ไม่ควรมองข้าม AV8B สัก 1 ฝูงมาใช้งานป้องกันประเทศวึ่งเป็นอะไรที่คุ้มค่ามากๆ

 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 27/02/2014 16:25:39


ความคิดเห็นที่ 19


เอ ท่านJuldasครับ ถ้าไต้หวันจัดหาจริงจะเอาไปใช้กับอะไรล่ะ? หรือประจำการสนามบินบนบก?

ท่านtongwaritครับ นอกจากAV-8Bแล้วทร.สเปนยังมีฮ.อีกเยอะให้ขนนะครับ น่าจะมีเยอะกว่าเรือที่ขนได้อีกเพราะเพิ่งปลดเรืออีกลำไป(ถึงบางอย่างจะใช้ลงเรือสลับกันไปทั้ง2ลำก็เถอะ) ทั้งAB-212 SH-3 CH-47อีกทั้งยังสนใจV-22กับF-35Bอีก คงไม่จัดหามาเพิ่มแล้ว(เพราะไหนๆก็จะเอาเครื่องใหม่มาแทนแล้ว)

อิตาลีก็จะเอาของใหม่มาแทนเหมือนกัน

บราซิลเขามีเรือบรรทุกบ.ขึ้นลงตามแบบอยู่แล้วแถมตั้งใจจัดหาGripenมาใช้เรียบร้อย

 

ก็มีพี่ไทยกับไต้หวัน(ตามที่ที่ท่านJuldasบอก)นี่แหละที่น่าจะสนใจ เรือของตุรกีก็คงไม่รองรับ...อ้อ มีออสเตรเลียอีกเจ้าแต่เขาคงเลือกF-35Bมากกว่าถ้าจะซื้อ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 27/02/2014 17:11:05


ความคิดเห็นที่ 20


ผมว่าถ้าลำนี้ ขึ้น-ลง บนเรือหลวงจักรีนฤเบศ จะดูหล่อมากเลยนะครับ


โดยคุณ top4 เมื่อวันที่ 27/02/2014 20:47:04


ความคิดเห็นที่ 21


   ท่าน  rayong  ครับ   รู้สึกว่าปีก่อน  นย.อเมริกันตัดสินใจ upgrade  harrier2+  ไปแล้วนะครับ    มีการติดตั้ง  Link 16     data  link   และ  หมวก  helmet  ด้วย   รวมถึงปรับปรุงให้มันใช้  AIM 120 AMRAAM  ได้ดีขึ้นด้วย (น่าจะเป็นการใช้กับ AMRAAM รุ่นใหม่ๆ)    หาลิ้งที่เคยอ่านไม่เจอ    มีแต่ในวิกิ

As of 2013, the USMC was studying potential enhancements to keep the AV-8B Harrier IIs up to date until its planned retirement. Upgrades under consideration include Link 16 data links, increased compatibility with the AIM-120 AMRAAM, and integrating a helmet-mounted cueing system. It is also predicted that additional work on the aircraft's radars and sensor systems may take place. The Marines Corps Harrier II fleet is to remain in service until 2030, owing to delays with the F-35B and the fact that the Harriers have more service life left than the USMC F/A-18 Hornets.[60]

     

   ก็ได้มากกว่าที่ท่านหวังเลยครับ    แต่ว่าคงจะปลดในปี 2030  โน่นครับสำหรับฝูงที่  upgrade  เพราะต้องรอ  F-35 B  ที่ทยอยทดแทน        ถ้าไม่รีบนัก   อีก 16 ปี  ก็ไปจัดหาฝูงท้ายๆที่ปลดเพราะมีการ upgrade เรียบร้อยแล้ว   เสียดายที่เรด้าร์ยังใช้ตัวเดิมอยู่   ถ้าเป็น AESA  น่าจะแจ๋ว    

  ถ้าใจร้อนและเงินถึงพอ   ก็สอยฝูงแรกๆที่เริ่มจะปลดในอีก 4-5  ปีข้างหน้าก็ได้ครับ    แล้ว Upgrade  ตามโปรแกรมที่ นย. อเมริกันเพิ่ง upgrade ไปหมาดๆ   ถ้าแถมเปลี่ยนเรด้าร์เป็น  AESA ขนาดเล็ก ด้วยจะจี๊ดมากมาย   พวก  EL/M-2052  หรือของ  Sumsung Thales  ที่จะใช้กับ F-50  ก็ได้   หรือแม้แต่ของอเมริกันก็มีให้เลือก   ถ้าราคารวมการยืดอายุการใช้งานสัก 20-25 ปี  ตกประมาณ 1000  ล้านบาทต่อเครื่อง    ก็ยังน่าเล่นกว่า  F-35 B   ที่ราคา 5000  กว่าล้านต่อเครื่อง    ประสิทธิภาพโดยรวมน่าจะด้อยกว่า F-16  50/52 ไม่มากนัก

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/02/2014 22:56:40


ความคิดเห็นที่ 22


   ไหนๆแล้วก็อย่าลืม  MH-60  ติดตั้งกระเปาะ Vigilant  มาสัก 3 เครื่องเพื่อทำหน้าที่  AEW  ด้วย    จะได้ครบเซ็ทสำหรับภาระกิจเรือบรรทุกบ.   และไม่ต้องพึ่งพาทีม  Jas-39  + SAAB 340  ด้วยครับ    กองเรือจะได้ไปไหนไกลๆได้โดยไม่ถูกผูกไว้ในระยะของ  Jas-39  

   วุ้ยย..อยากเห็นภาพอีก 15 ปีข้างหน้า   กองเรือในอ่าวไทยเรามี  911 เป็นแกนกลาง  มี เรือชั้นนเรศวร  เรือ DW-3000H  ( OHP เป็น optionเพิ่ม) มาเป็นเรือคุ้มกัน               และบน 911  มี  harrier 2++  12 เครื่อง   MH-60 + vigilant pod เป็น AEW     และทีม ASW กับ SAR  พร้อม   ใต้น้ำมี  DW-1400T  อีก 2 ลำ

ฝั่งอันดามันมี  รล.อ่างทองเป็นแกน   มีเรือหลวงกระบุรี   สายบุรี และชั้นเจ้าพระยาคุ้มกัน  อาจจะมี DW-1400 T  อีก 2 ลำคุ้มกันใต้น้ำด้วย   ให้  jas-39  คุ้มกันทางอากาศ

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/02/2014 23:18:18


ความคิดเห็นที่ 23


แฮริเออร์ ของ ทร.อังกฤษ ที่ สหรัฐ ได้ซื้อมาทั้งหมด ก็เพื่อสำหรับเป็น อะไหล่และซ่อมบำรุง ให้กับ ประเทศที่มี AV-8B เหลือประจำการอยู่ คือ สหรัฐ อิตาลี่ และ สเปน...จนกว่าจะปลดประจำการทั้งหมด...และจำข้อมูลคร่าว ๆ ได้ว่า ทั้ง 3 ประเทศ ได้ร่วมทุนกัน...

ซึ่งดูแล้ว เหมือนกับว่า แฮริเออร์ ยิ่งใช้ระยะเวลา เนิ่นนาน ออกไป...ปํญหา ความขาดแคลน อะไหล่ และการซ่อมบำรุง ก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น...ซึ่งแม้แต่ สหรัฐ ยังต้องไปซื้อ เครื่องจาก อังกฤษ มาสำรองไว้...

จุด ที่จะทำให้ แฮริเออร์ จะยังคงมีความน่าสนใจ ก็ต่อเมื่อ โครงการ F-35B สามารถเข้ามาประจำการทดแทนได้เร็วเท่าไหร่...อายุการใช้งานของ AV-8B+ ก็จะมีคงเหลือมากขึ้นเท่านั้น...

และ F-35B ก็ไม่ใช่ว่า เมื่อ อิตาลี่ หรือ สเปน ได้รับมาแล้ว จะสามารถใช้งาน พร้อมรบ ได้เลย...มันต้องมีระยะเวลา ฝึกนักบิน ให้พร้อมรบอีกในระยะเวลานึงด้วย...นั่น หมายถึง ถ้าอีก 5 ปี ข้างหน้า อิตาลี่ หรือ สเปน ได้รับมอบ F-35B กว่าจะ F-35B จะพร้อมรบจริง ก็ต้องบวก 5 ปี...AV-8B ถึงจะปลดประจำการหมดของทั้ง 2 ประเทศ...

เลยดู ๆ ว่า โอกาสของ AV-8B+ กับ ทร.ไทย น่าจะผูกกับ อนาคตของ F-35B มากกว่าครับ....ถ้าทั้ง 3 ประเทศ ที่ใช้ AV-8B+ ยังคงมีปัญหาเรื่องระยะเวลาการประจำการของ F-35B เท่าไหร่...อนาคตของ AV-8B+ ที่จะหลุดจากทั้ง 3 ประเทศ นี้ ก็น่าจะยากมากขึ้นเท่านั้น

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/02/2014 09:18:13


ความคิดเห็นที่ 24


@คุณ phu2000 

ไต้หวันเคยมีข่าวจะซื้อเครื่อง harrier จริงๆ ช่วงที่สหรัฐฯ ปฏิเสธขาย f-16D ทัพฟ้าอังกฤษก็ประจำการเครืองนี้บนบก นาวิกฯ สหรัฐฯ ก็ปฏิบัติการจากบกเป็นหลักด้วยซ้ำ 

อิตาลลีจะรีไทร์เครื่อง av-8b ในปี 2020 และแทนที่ด้วย f-35b แต่ดูจากโหงวเฮ้งแล้วมาไม่ทันแน่ๆ ซึ่งอิตาลีเองก็อาจจะยืดอายุการประจำการไปหรือก็ไม่ต้องมีเครื่องประจำการไปจนกว่า f-35b จะมา (ซึ่งคุณ phu200 บอกเองว่า อิตาลีจะโละทิ้งหมดแล้ว ผมก็เลยบอกว่า อ้าวอย่างนั้นอิตาลียิ่งไม่ต้องการกว่าเดิมเหรอครับ เพื่อมาอุดรอยต่อเป็น short term solution)

ด้านสเปนเอง ไม่ได้สั่งซื้อ f-35b อนาคตคงไม่แคล้ว แต่เนื่องจากไม่ได้เป็นประเทศผู้ร่วมพัฒนา ดังนั้นไม่รู้จะได้เมื่อไร ตอนนี้ก็ใช้มาเฉี่ยวๆ สามสิบปีละ และดูท่าจะต้องยืดออกไปอีก

ด้านบราซิล เครื่องที่ประจำการบนเรือหลงยุคแล้วแหละครับ ส่วนกริพเพนสำหรับเรือผมว่ายังห่างไกลคำว่า "เรียบร้อย" อยู่โข มีแต่การคาดคำนวนในเบื้องต้นเท่านั้น

@คุณ neosiamese โปรเจกท์หรือเชียวครับ แซวหน่อย อิๆ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 28/02/2014 08:20:40


ความคิดเห็นที่ 25


ด้วย ไตหวัน เป็นประเทศเล็ก ๆ และเป็นเกาะ...อากาศยานแบบ V/STOL ดูจะมีความสำคัญในระดับหนึ่ง เหมือนกัน เพราะไม่ต้องใช้สนามบิน ด้วยความจำกัดของพื้นที่

Pentagon to recommend Taiwan buy F-35B, AV-8B fighters: report

2011/09/21 20:48:32

Washington, Sept. 20 (CNA) A U.S. Defense Department study has concluded that Taiwan should buy short-takeoff and vertical-landing jets such as the British-designed AV-8B Harrier jump jet or the new F-35B vertical-takeoff jet, the Washington Times reported Monday.

The Pentagon will deliver the congressionally-mandated study on Taiwan's air power to Capitol Hill later this week, the newspaper said.

Citing U.S. officials familiar with military aircraft, the report said the Pentagon conclusion was based on anticipated mainland Chinese missile strikes against Taiwan's airfields with cratering munitions that would thwart takeoffs by F-16s and other fighter jets.

"A defense official said that conclusion appears skewed to support the administration's decision not to sell new F-16s by highlighting airstrip vulnerability," said the report.

As a matter of fact, Taiwan's Ministry of National Defense already came up with a proposal during the George W. Bush administration to procure AV-8B Harrier jump jets.

Meanwhile, the Washington Times report said the Pentagon is bracing for some cutbacks in military and other cooperation efforts with China as a result of a new arms package for Taiwan.

The administration of President Barack Obama is expected to announce as early as Wednesday the sale of a package of equipment and weapons worth US$5.8 billion to upgrade Taiwan's F-16 A/B fighter fleet. In agreeing to the upgrade, the Obama adminsitration, however, will reject Taiwan's proposal to buy 66 new and more advanced F-16 C/Ds.

The Washington Times cited U.S. officials familiar with internal assessments of the arms sale in reporting that China will cut off several military exchanges with U.S. Pacific Command, cancel some high-level visits and end limited cooperation with Washington on arms proliferation.

However, the report said officials do not expect a complete break in military ties with Beijing.

"China does not want a major disruption in relations," said one official, who noted that Beijing's key priority is to avoid a spat with the United States as Communist leaders prepare for the transition from President Hu Jintao to Vice President Xi Jinping, set for the fall of 2012.

The Chinese military on its own, however, could undertake some reprisals, as it did in 2007 by blocking the aircraft carrier USS Kitty Hawk from making a scheduled Thanksgiving Day port call to Hong Kong, the report said.

The study on Taiwan's air power was initiated by Republican Senator John Cornyn, who called for an amendment to the 2010 National Defense Authorization Act that required the Pentagon to come up with such a report within three months after the act took effect. The report came 19 months late. (By Tony Liao and Sofia Wu) enditem/ly

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/02/2014 09:21:06


ความคิดเห็นที่ 26


เข้าใจว่าเวลาการฝึกจนประกาศพร้อมรบไม่น่าจะถึง 5 ปีนะครับ

เพราะปกติสหรัฐฯ จะให้ไปฝึกก่อนส่งมอบนานพอสมควร และตอนนี้ใช้ simulator ฝึกอย่างเดียว และฝึกเดี่ยวเลย เหมือนอังกฤษนักบินฝึกจบ f-35c ไปแล้ว รัฐบาลเปลี่ยนกลับเป็น f-35b ก่อน ฮา

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 28/02/2014 11:03:48