กองทัพอากาศไทย VS กองทัพอากาศมาเลเซีย...ใครเหนือกว่ากันครับ?
ตอนนี้ ทอ.ไทย ได้รับมอบเครื่องบินรบกริพเพนครบ 12 ลำแล้ว และทาง
ทอ.มาเลเซียก็มี SU 30 18 เครื่อง อยากทราบว่า.....หากเกิดกรณีพิพาท
ระหว่างไทยและมาเลเซีย จนถึงขั้นที่ต้องใช้กำลังทางอากาศทั้งหมดที่มี
อยู่ในการทำสงคราม...ใครได้เปรียบเสียเปรียบ และใครเหนือกว่ากันครับ
เกมบุก มาลาเซียเป็นต่อ
เกมรับ ไทยเป็นต่อ
ถ้า 16 mlu เสร็จ เกมบุกไทยจะดีขึ้นมาก
ถ้าเอาเพียวๆตัวต่อตัว ไม่รวมองค์ประกอบอื่นๆ SU-30 กินขาด เพราะขนาดซ้อมรบร่วม F-15E ยังร่วงหมดฝูง นับประสาอะไร กับ Jas-39 ล่ะครับ
แต่ถ้าความสามารถเฉพาะตัวไม่แน่
เอาใหม่ดูไม่สมจริง เกิดพิพาทจริง ทัพบกประจันหน้าอยู่ชายแดนเตรียมพร้อมปืนใหญ่ ทัพเรือพร้อม คงรบกันทางทะเลประทะกันทางอากาศในทะเล ณ ขณะนี้ Su-30MKM+F-18 บินมาเข้าเขตน่านน้ำไทย18+8 พร้อมกองเรือรบและเรือดำน้ำตามหลัง หยาดขึ้นบินพร้อม sabb340 2 ลำ และกองทัพเรือเรือไทยเตรียมพร้อมป้องกัน แบบนี้ suเป็นผู้รุก หยาดเป็นผู้รับด้วยระบบทั้งหมด +aim 120 , iris T , RBS-15F อยู่ไหมครับ
สำหรับผมเชื่อว่าไทยรับมืออยู่
เจอ Buk M2E ไป 100 ระบบ ซ่อนตามป่าแล้วยิง ร้องจ๊ากกก!!!!!!!!!!!!!!!!
ซ้อมรบเมื่อไหร่เหรอครับที่ f-15 e ร่วงหมดฝูง
แต่ความจริงเวลาซ้อมรบเขาจะกำหนดคอนดิชั่นมาแล้วแต่ว่าการฝึกนั้นๆเปา้หมายคืออะไร ซึ่งคนภายนอกไม่รู้ เพราะเขาไม่เปิดเผยครับ
อย่างกรณีที่ยูโรไฟตเตอร์สามารถสอยเอฟยี่สิบสองในการซ้อมรบเขาก็ไม่มีการเปิดรายละเอียด
เลยคาดการณ์กันว่ายิงได้ในการรบระยะประชิด
ไอ้การซ้อมรบทางอากาศระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯ ที่สหรัฐฯ แพ้กันจนเป็นตำนานไว้เชียร์ซู สาเหตุที่สหรัฐฯ แพ้เพราะความซ่าล้วนๆ ครับ สหรัฐฯ ต่อให้อินเดียพอสมควร แรกเลย สหรัฐฯ มี f15c สี่เครื่อง ติดตั้ง aesa สองลำ ส่วนอินเดียมีปนกันมั่วไปหมด 12 ลำ ทั้ง su-30, mirage 2000, mig-27 และ mig-21 โดย mig-27 เล่นเป็นเครื่องโจมตีเอสคอร์ตโดย mig-21 โดยจำนวนเครื่อง 3 ต้อ 1 นั้นอินเดียขอมา
ประการที่สอง เงื่อนไขและกฎกติกาในการแข่งขัน อินเดียมีระบบ awac สหรัฐฯ ไม่มี อินเดียสามารถใช้จรวด homing ทำให้ fire and forget ได้ ส่วนสหรัฐฯ ทำการจำกัดความสามารถนี้ ให้ใช้เรดาร์เครื่องอย่างเดียว แถมยังถูกจำกัดระยะของ amraam ไว้แค่ 32 km
ถ้าเล่นอย่างนี้แล้วอินเดียแพ้ อินเดียคงต้องล้างบางทอ. กันใหม่แล้วล่ะครับ
ถ้าเกิดกรณีพิพาท จขกท นับ f-16 อีกครึ่งร้อยของเราด้วยก็ได้นะครับ มาเลย์เอา mig-29 กับ f-18 มาได้เลยบ่ยั่น
กองทัพอากาศประเมินไว้ว่า กองทัพอากาศไทยมีศักยภาพเป็นที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน เป็นรองแค่กองทัพอากาศ สิงคโปร์
สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เป็นเช่นนั้นคือในภูมิภาคนี้มีแค่ไทยกับ สิงคโปร์ เท่านั้นที่มีเครื่อง AEW&C ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบกองทัพอากาศประเทศอื่นๆอยู่มาก เพราะระยะตรวจจับของเรดาร์ Erieye นั้นไกลถึง 450 Km บวกกับระบบ Datalink ทำให้เครื่อง Jas-39 ของเรามีความได้เปรียบสูงมาก เพราะเราจะรู้ตำแหน่งเครื่องข้าศึกได้ก่อนที่เครื่องของเราจะเข้าระยะเรดาร์ของเครื่อง Su ด้วยซ้ำ
ผมไม่แน่ใจว่าเรดาร์ของ Su ไกลเท่าไหร่แต่ไม่น่าจะเกิน 120 Km อีกอย่างที่ไม่แน่ใจก็คือ Datalink ของ AEW&C ของเราสามารถล็อคเป้าให้เครื่อง Jas ยิงแทนได้ เหมือนที่ AWAC ของอเมริกา คอยล็อคให้ F-15 รึเปล่าถ้าทำได้ เราก็จะยิงลูกยาวที่มีใส่เครื่อง อะไรก็ตามที่บินเข้ามาโดยที่ข้าศึกไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ แบบนี่ Jas-39 แค่ 6 ลำที่พก AMRAAM ลำละ 4 ลูก ก็อาจจะสอยเครื่องข้าศึกได้ถึงมากสุดก็ 24 ลำในทางทฤษฏี ยิ่งถ้าต่อไป มี Mateor ก็ยิงจะได้เปรียบจัดเลย
เอาโจทย์แบบไหนล่ะครับ ทอ มาเลขนมาหมดทุกเครื่องบิน ทอไทยขนjas f16 f5 alphajet l39. ความพร้อมรบของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างไรบไทยบินได้หมดไหม บมาเลบินได้กี่ลำ
ยุทธศาสตร์ของกองทัพไทยคือการตั้งรับและป้องปราม ด้วยศักยภาพที่เทียบเท่าหรือเหนือกว่าภัยคุกคามโดยรอบ การที่ทอ.เลือกจัดหา Jas-39 C/D + SAAB 340 AEW "Argus" นั้นก็เพราะเล็งเห็นว่ามีสมรรถนะสูงเพียงพอที่จะรับมือได้ อีกทั้งยังเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับ และมีความสามารถในการดำรงความพร้อมรบสูง โดยได้ศึกษายุทธวิธีการรบสมัยใหม่จากพันธมิตรเช่น ทอ.สหรัฐ ทอ.สิงคโปร์ และทอ.สวีเดน โดยประเมินภัยคุกคามทางอากาศที่มีความเป็นไปได้ ในกรณีนี้คือ Su-30 MKM ซึ่งทอ.ไทยได้เลือกที่จะให้น้ำหนักในการป้องกันจากระยะไกล BVR
ประเมินคุณสมบัติขีดความสามารถของ Su-30 MKM จากข้อมูลที่พอจะหาได้
- ระบบเรดาร์ N011M มีพิสัย 300 กม. (ระยะตรวจจับเป้าหมายที่มี RCS 0.3 sq.m. : <80 km.)
- อวป. R-77M1 Adder (Active Radar Homing) ระยะยิงไกลสุด 160 km.
- ขนาดหน้าตัดที่สะท้อนสัญญาณเรดาร์ RCS 5 sq.m.**
คุณสมบัติและขีดความสามารถของ Jas-39 C/D + Argus S-100B
- ระบบเรดาร์ Erieye ของ Argus มีพิสัย 450 กม. (ระยะตรวจจับเป้าหมายที่มี RCS 5 sq.m. : 180 km.)
- ระบบเรดาร์ PS-05/A ของ Jas-39 C/D มีระยะตรวจจับเป้าหมายที่มี RCS 5 sq.m. : 120 km.
- อวป. AIM-120 C5*** (Acative Radar Homing) ระยะยิงไกลสุด >100 km.
- ระบบ Datalink แบบ 2 ทาง ระหว่าง Jas-39 กับ AEW รวมถึง อวป. AMRAAM (mid course update)
- RCS ของ Jas-39 C/D : 0.3 sq.m.****
ทอ.จะใช้ยุทธวิธีที่นำเอาจุดเด่นของ Jas-39 C/D + Argus + AMRAAM และข้อจำกัดของ Su-30 MKM + R-77M1 มาใช้เพื่อความเหนือกว่า โดยใช้ระบบเรดาร์ของ Argus ในการตรวจจับและติดตามเป้า Su-30 จากระยะ 180 km. และส่งข้อมูลเป้าให้กับ Gripen ที่บินอยู่ข้างหน้าในระยะห่างจากเป้าหมาย 90-100 km. (ซึ่งเรดาร์ของ Su-30 จะยังไม่สามารถตรวจจับเพื่อปล่อย R-77 ได้) และทำการปล่อยอวป. AMRAAM ไปสู่เป้าหมาย โดย Gripen สามารถบินกลับออกมาเพื่อไม่ให้เข้าไปในระยะตรวจจับและยิงอาวุธของ Su-30 โดยปล่อยให้ระบบเรดาร์และดาต้าลิงค์ของ Argus ทำการนำส่งข้อมูลให้ AMRAAM เข้าสู่เป้าหมาย (mid course update)
แต่...หาก Su-30 MKM สามารถหลุดรอดจาก AMRAAM มาได้ล่ะก็ งานนี้ Argus และ Gripen ก็ต้องพึ่งพาระบบ ECM ของตัวเองเพื่อเอาตัวรอดจาก R-77 ให้ได้ !!!
ในกรณีที่ทั้สองฝ่ายหลุดรอดเข้ามาต่อกรกันในระยะสายตา WVR ตรงนี้ Gripen จะเสียเปรียบด้านสมรรถนะทางการบินค่อนข้างมาก ทางที่ดีก็ควรใช้ Iris-T ออกไปจัดการตั้งแต่ระยะ 20 km. แล้วรีบเผ่นโดยเร็วที่สุดจะดีกว่าครับ
** RCS ของ Su-30 MKM มีข้อมูลแตกต่างกันตั้งแต่ 5-25 sq.m. ผมเลือกใช้ค่าที่ต่ำที่สุด
*** มีข้อมูลบางแหล่งระบุว่าทอ.ไทยได้รับมอบ AIM-120 C5 รวมทั้ง C7 แต่ตัวหลังไม่มีการยืนยัน
**** RCS ของ Jas-39 C/D ตามข้อมูลของ SAAB ระบุว่ามีขนาด 0.1 sq.m. แต่บางแหล่งประเมินว่า 0.3-0.5 sq.m.
ปล.ในกรณีของ F-16 AM/BM นั้นก็ใกล้เคียงกัน ทอ.เลือกระบบเรดาร์ APG-68V9 เพราะมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะคงความได้เปรียบเหนือ Su-27 / Su-30 ของเพื่อนบ้าน แต่ในอนาคตก็หวังว่าทอ.จะจัดหาเครื่อง AEW เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนฝูง F-16 AM/BM รวมทั้ง AIM-120 C7 (หรือข้ามไป D) และ Meteor ที่มีสมรรถนะสูงมากขึ้นอีกมาก มาประจำการต่อไป
kitty70 เมื่อวันที่ 23/02/2014 23:19:48