พิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่ ๑
กองทัพอากาศ กำหนดจัดพิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่ ๑ โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีฯ ในวันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๙๓๐ ณ กรมช่างอากาศ บางซื่อ (ขออย่าให้มีเหตุต้องเลื่อนวัน)
กรมช่างอากาศ มีขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และสร้างเครื่องบินเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องบินฝึก/ธุรการ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนมีผลงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเข้าสู่สายการผลิตได้ คือ บ.ทอ.๖
ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๖๒ (ฉบับปรับปรุงปี ๒๕๕๒) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ได้กำหนดกลยุทธ์ให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเชิงวิจัยและพัฒนากิจการการบินและอุตสาหกรรมการบิน และกิจการเกี่ยวข้องเนื่องในด้านการบินของประเทศ
นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ปี ๒๕๕๖ นโยบายเร่งด่วน ข้อ ๙ นำผลการวิจัยและพัฒนา บ.ทอ.๖ เข้าสู่สายการผลิต เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก/ธุรการ และพิจารณาการติดตั้งกล้องพร้อมระบบ Video Down Link (VDL) ที่ได้จากการวิจัย เพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ ของกองทัพอากาศ และต่างเหล่าทัพในอนาคตโดยจัดให้มีแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โครงการผลิต บ.ทอ.๖ จำนวน ๒๕ เครื่อง เป็นโครงการผูกพันระยะเวลาดำเนินการ ๖ ปี วง
เงินงบประมาณ จำนวน ๓,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐.-บาท แบ่งโครงการเป็น ๓ ระยะ โดยในระยะที่ ๑ ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ จะดำเนินการผลิตจำนวน ๓ เครื่อง
เครดิต รัชต์ รัตนวิจารณ์
ยินดีด้วยกับความสำเร็จครับ
เห็นแบบนี้แล้วอยากให้ไปซื้อแบบเครื่องบิน AlfaJet , Saab 340 มาผลิต น่าจะได้ยอดผลิตใช้งานในประเทศได้เยอะพอสมควร
^ ^
ยินดีกับ ทอ. ด้วยนะครับ เริ่มพึ่งพาตนเองได้ทีละขั้น
ราคา 3400 ล้านยาทสำหรับ 25 เครื่อง ตกเครื่องละเกือบๆ 136 ล้านบาท หรือประมาณ 4.2 ล้านเหรียญ ก็ราคาไม่หนีไปจากเครื่องที่สั่งจากต่างประเทศนัก เพราะกำลังการผลิตที่น้อย แต่แค่ 25 เครื่องนี่ยังได้ราคานี้ได้ ถ้ามีกำลังการผลิตเป็นร้อยๆเครื่อง ผมว่าราคาลดลงมาจมเลย และถ้าอุปกรณ์อิเลคทรอนิคการบินต่างมีการผลิตในประเทศด้วย ราคาน่าจะถูกลงมากขึ้นด้วย
ถ้าโครงการอุตสาหกรรมอากาศยานเดินหน้าต่อได้จริงในการวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนี้ และมีการลงมุนจากต่างประเทศในด้านอิเลตทรอนิคการบิน โดยใช้โมเดลอุตสาหกรรมยานยนต์ ผมว่าประเทศเราสู้ต่างประเทศได้แน่ๆครับ แม้แต่เกาหลีใต้ผมว่าเราก็วัดกับเขาได้ อย่าให้โครงการอุตสาหกรรมอากาศยานต้องล้มพับนับหนึ่งใหม่อีกเลย (แต่ดันมีแนวโน้มจะพับอีกแล้วสิ)
จากความสำเร็จครั้งนี้ ผมว่ากองทัพไทยสามารถต่อยอดไปผลิตเครื่องบินฝึกที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ตได้สบายเลยครับ
..
ในที่สุดก็ได้ผลิตจริงๆสักที แบบนี้จะมีโอกาสผลิตออกมาเพื่อขายให้ภาคเอกชนด้วยไหมครับ ถ้าออกมาได้ไงก็เกิน 25 เครื่องแน่
ส่วนที่จะซื้อแบบ alpha jet มาผลิตเนี่ย เพื่อเอาไปทำเครื่องบินฝึกใช่ไหมครับ ราคาค่าลิขสิทธิ์จากเยอรมันจะสูงขนาดไหนอ่ะครับ
ไหนเห็นว่าเรื่องความร่วมมือตอนซื้อกริพเพน ใช้โครงการนี้ในการขอซื้อแบบการผลิต กริพเพน C/D เลยจะได้ไหมครับ(ได้คืบจะเอาศอก)
เยื่ยมครับ..ทั้ง 3 เหล่าทัพแข่งกันพึ่งพาตนเอง
ไม่อยากพูดให้เสียกำลังใจครับ.. แต่สำหรับ เครื่องอย่าง กริฟเพ่น หรือ เอลฟ่าเจท เรายังห่างไกลความจริง ผมว่าพัฒนาต่อจากรุ่นนี้ให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น คือสามารถทำความเร็วได้มากขี้น ทนแรงจีได้สูงขึ้น และที่สำคัญถ้าสามารถติดอาวุธทำลายรถถังหรือจรวดนำวิถีได้ อันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ มาก แต่ถึงตรงนี้ก็ดีใจมากแล้วครับที่สามารถเอางานวิจัยออกสู่สายการผลิตใช้งานได้จริง ต้องขอยกนิ้วให้กองทัพอากาศที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและหวังว่าจะพัฒนาต่อไปครับ
เห็นท่าน pornpoj เขียนคอมเมนท์ และ ภาพที่ท่านเอามาลง มันโดนใจและน่าจะเป็นแนวคิดเดียวกันกับผม คือ ระหว่างรอโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมอากาศยาน (ต้องกัดกันจบก่อน) ทอ. ก็น่าจะเข้าสู่การจัดหาเครื่องฝึกขั้นมัธยม ที่เป็นเครื่องใบพัด ผมว่า super tucano นี่เป็นอะไรที่โดนใจมากเลยครับ
มาแทน PC-9 ทั้งหมด โดยการผลิตเองในประเทศ (เฉพาะโครงอากาศยาน) ส่วนระบบอิเลคทรอนิคการบินและเครื่องยนต์ก็สามารถเลือกแบบเอาดังใจ แค่นี้ก็ปลื้มเหลือล้น
จบจากเครื่องฝึกใบพัด 2 แบบ ก็น่าจะถึงคราวเครื่องฝึกเจ๊ต งานนี้ 400 ล้านเหรียญสำหรับ 16 เครื่อง ก็ควรจะมีอ๊อปชั่นถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้สิทธิในการ "ประกอบเครื่อง" เองโดย TAI เพราะมีความชำนาญมาจาก F-16 อยู่แล้วทำได้แน่นอนครับ
และในฝูงถัดไป ถ้าเป็นไปได้ น่าจะขอให้ถ่ายทอดการผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นเอาเองในประเทศ เช่น แพนหางดิ่ง แพนหางระดับ ปีก หรือถ้าเป็นไปได้ เหมาโครงอากาศยานทั้งเครื่องมาผลิตเองเลยยิ่งดีครับ
ข้อแลกเปลี่ยนทางอุตสาหกรรมนี้ก็แลกด้วยการบอกเขาว่า เราต้องการ 4 ฝูง คือ ทดแทน L-39 2 ฝูง alphajet 1 ฝูง ฝูงโจมตีที่ขาดไปอีก 1 ฝูง และเป็นการลดแบบเครื่องบินด้วย
สุดท้ายนี้ น่าจะเรียก ทร. ตร. ป่าไม้ กรมการบิน โดยเฉพาะ ทร. มาแจมในเครื่องฝึกทั้ง 3 แบบด้วย จะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตให้มากพอครับ จนสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ง่าย แหมถ้า บทอ. 6 สามารถขายให้เอกชนได้ ยิ่งดี
น้ำตาไหล ฮา
ทำไมคุณ neoฯถึงมองว่าโครงการมีแนวโน้มจะล้มครับ?
ไม่รู้ว่าระบบภายในของเครื่องที่เราจะผลิต จะเป็นเหมือนในภาพหรือไม่
ดีใจด้วยครับ ที่ ทอ.6 พัฒนามาได้ขนาดนี้ ทีมงานทุกท่านเก่งมากครับ
แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้คือ จากกรณีศึกษาจากการเปิดสายการผลิตอาวุธของกองทัพ case ปืน HK
ซึ่งไม่ใช่งานถนัดของกองทัพ ที่ทำได้ไม่ดีและมีปัญหา หาผู้ซื้อ ตปท.ไม่ได้จนต้องพับโครงการไป
ทั้ง ๆ ที่ HK-33 เป็นปืนที่ดีตัวหนึ่ง และได้รับความนิยมสูงในยุคสมัยนั้นเลยละ
อันนี้คือปัญหาหลัก ๆ ในสายการผลิตปืน HK เท่าที่ผมทราบครับ
1. มีปัญหาในการควบคุมคุณภาพในการผลิต ปืนแต่ละกระบอกดี/เสีย ไม่เท่ากัน (yield ไม่ดี) (Rework บาน)
2. มีปัญหาในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ โดยเฉพาะเหล็ก
3. เครื่องมือที่ใช้ใน Process การผลิตล้าสมัย
4. อะไหล่ปืนภายในใช้แทนกันไม่ได้ ทั้งที่เป็นรุ่นเดียวกัน เพราะทำออกมาขนาดไม่เท่ากันในแต่ละ Lot
นอกนั้นก็มีสิ่งที่ผมเป็นกังวลคือ ระบบการบริหารงานของราชการ จะมีความอ่อนตัว และส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุง
อย่างต่อเนื่องแค่ไหน? ถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้กับโครงการ ทอ. 6 ทอ. จะแก้ไขยังไง?
งบประมาณสำรองเตรียมไว้พร้อมหรือไม่? ขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้างสามารถทำได้รวดเร็วและมีคุณภาพแค่ไหน?
Local Supplier เป็นยังไง?
ฝากไว้ให้พิจารณาครับ ด้วยความหวังดี
สุดยอดครับ เข้ามาเชียร์ ทอ. ในการพึ่งพาตนเอง อันที่จริงก็อยากให้ซื้อสิทธิบัตรเครื่องไอพ่นมาผลิตเองด้วยเหมือนกันครับจะได้พัฒนาได้เร็วขึ้น เริ่มจาก อัลฟ่าเจทก่อนก็ได้แล้วค่อยต่อยอดเอา อันที่จริงเครื่องใบพัดตัวถังเราผลิตเองได้ตั้งแต่ ร.6 และขาดการพัฒนาไปนานมาก และมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ ทอ. ผลิตเอง แต่ประสบปัญหาความปลอดภัย ของใหม่ก็อยากให้คำนึงถึงความปลอดภัยของนักบินมากๆ ด้วยครับ ยินดีจริงๆ ตอนนี้ยังลุ้น ทร.ให้ต่อ รล.ชุดกระบี่ ต่อด้วย ตอนนี้ก็รอจนเงิบ ก็ยังไม่วี่แววโครงการจะต่อสักที สงสัยสิทธิบัตรที่ซื้อมาคงจะหมดอายุลงซะก่อน
ท่านNEOฯ ไม่ได้หมายถึงโครงการ บชอ.6(โครงการตามกระทู้นี้) จะพับ
แต่หมายถึงแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน ที่มีอยู่ตอนนี้ (มันมีการเริ่มต้นไปแล้วในหลายๆด้าน) แต่มันไม่ก้าวข้ามไประดับที่สูงขึ้นไป เคยมีความคิดถึงขั้นจะเป็นฮับรับซ่อมบำรุงบ.รบ ในภูมิภาค ด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เหลือไว้แต่เพียงชื่อโครงการ
เพิ่มเติม ลืมตอบกระทู้ ผมว่าราคาต่อ 25 ลำๆ 4.2 ล้าน ผมว่ารับได้นะครับ ไม่ได้แพงไปกว่าซื้อเขา แต่เราทำเอง ได้องค์ความรู้เพียบ ถ้าในอนาคต มีโอกาสขยับสเกลให้ใหญ่ขึ้น ขอสัก บ.ลำเลียงขนาดเล็ก เอาไว้ใช้ในภารกิจทางการเกษตร ป่าไม้ ก็น่าจะดีไม่น้อย
เราไปเน้นที่เครื่องบินฝึกแบบใบพัดดีกว่าครับ การมุ่งไปที่เครื่องบินไอพ่นนั้นตลาดคู่แข่งเยอะ ต้นทุนสูง ถ้าแค่ทำเองใช้เองโดยไม่ได้ส่งออกขายใครราคาต่อลำอาจจะสูงเกินสมรรถนะก็เป็นได้ครับ ครั้งจะขายเราจะสู้ประเทศที่เขามีตลาดเก่า มีประสปการณ์ในการผลิตได้ไหม เอาแค่ให้ถึงเครื่องบินฝึกขั้นมธยมให้เจ๋งก็พอสมควรครับ ส่วนเครื่องบินไอพ่นมาเน้นเรื่องการซ่อมบำรุงหรือปรับปรุงดีกว่า
ยินดีด้วยกับ ทอ. ครับ
จริงๆแล้วเครื่องบินเล็กต้นทุนต่ำเอกชนไทยก็ผลิตได้ครับ โดยการซื้อแบบที่ได้รับการรับรองแล้วมาผลิตครับ
http://www.youtube.com/watch?v=Tn3pBTeBgEE
http://www.youtube.com/watch?v=MikvvjOC49w
http://www.youtube.com/watch?v=MNBdq5-R4kY
http://www.youtube.com/watch?v=k9MQjDSNwGU
ที่มีแนวโน้มสูงมากที่จะพับ ผมหมายถึงโครงการนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานที่กำลังเลือกสถานที่ระหว่าง สนามบินโคราช กับ สนามบินอู่ตะเภาครับ ซึ่งจะเป็นโครงการทดแทนโครงการเดิมในเรื่องฮับของการเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซี่ยนเดิมที่จะทำที่สนามบินดอนเมือง
มีแนวโน้มจะลงที่สนามบินโคราชมากกว่าครับ และจะมีการชักชวนการลงทุนและทำช่อกฎหมายรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคการบินและอุตสาหกรรมเครื่องยนต์อากาศยาน โดยเฟสแรกทางรัฐจะเน้นศูนย์ซ่อมขนาดใหญ่ที่แต่เดิมจะทำที่ดอนเมืองก่อนครับ
ตอนนี้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาตรัฐโดนการเมืองพ่นพิษอย่างแรงครับ โครงการนี้ว่าจะเข็นออกมาภายในปีนี้ สงสัยจะไม่รอดเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆครับ
โครงการนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานนี้จะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมอากาศยานทั้งหมดของเราครับ โดยใช้โมเดลของอุตสาหกรรมยานยนต์มาเป็นแนวทาง...........
ฮือออ...........น้ำตาคลอเบ้าแล้วครับ เศร้ามากมาย.....มันจะต้องแขวนยาวไปเหมือนโครงการซับไมคอนอีกหรือเปล่า ที่เป็นโครงการพื้นฐานสำคัญสำหรับผลิตชิบหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล ตั้งแต่โรงงานถลุงซิลิคอน โรงงานโด๊ป P/N เพื่อเป็นต้นน้ำทั้งหมดของหน่วยความจำและหน่วยประมวลผล ถ้าไม่ล้มในคราวนั้น ป่านนี้ประเทสไทยเราจะสามารถผลิตออกแบบระบบหน่วยความจำและประมวลผลในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับระบบอาวุธทุกชนิดเองได้สมบูรณ์แล้วครับ
ตั้งโรงงานผลิตชิฟเองคิดว่าไม่น่าจะคุ้มนะครับ ที่จีนผลิตขายอยู่แบบเดียวกับที่ไส่หััวรบแพรตทิออตตัวละสลึงค์ ซื้อจากจีนน่าจะคุ้มกว่า
เข้าไปอ่านใน TAF และ facebook/rtaf6
เห็นว่า บ.ทอ.6 แม้จะใช้โครงสร้างของ SF-260 มาเป็นต้นแบบ แต่การออกแบบภายใน ทางเราออกแบบเองทั้งหมดเลยครับ โดยใช้เครื่องแฟนเทรนเนอร์เป็นต้นแบบ เช่น ระบบจ่ายเชื้อเพลิง ระบบไฟฟ้า
ออกแบบสถาปัตยกรรมในห้องนักบินเอง ระะบบแลนดิ้งเกียร์
และมีการดัดแปลงแก้แบบโครงอากาศยานให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ด้วย เรียกว่างานนี้คือการออกแบบสร้างเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นปฐมเองเกือบทั้งหมด
เห็นใน facebook/rtaf6 มั่นใจว่าตอนนี้ ทอ. สามารถออกแแบเครื่องบินใบพัดเองได้ทั้งลำ แม้แต่โครงอากาศยานด้วย
ใน TAF เพื่อนสมาชิกที่เป็นทหารอากาศ ก็มีการบอกล่าวว่ากำลังพัฒนาระบบ fight sim สำหรับ บ.ทอ.6อยู่ ก้าวหน้าถึง 60% แล้ว แต่ยังไม่เปิดตัว
ท่าทาง ทอ.เดินเครื่องเต็มที่ในโครงการเครื่องบินฝึกขั้นปฐม
ปล. ถ้า ทอ. สามารถ revese eng เครื่อง PC-9 แล้ว re-design แบบให้มีประสิทธิภาพสูงแบบ super tucano ได้ ผมว่าสุดยอดเลยครับ แต่ความเสียงในโครงการก็สุงมากขึ้นกว่าการซื้อแบบ super tucano มาผลิตเอง แต่ถ้าซื้อเขาใช้ทั้งดุ้น เครื่องละ 17 ล้านเหรียญ ก็กว่า 500 ล้านบาทต่อเครื่องทีเดียวครับ ราคาขนาดนี้น่าลองเสี่ยงทำเองดูเหมือนกันนะครับ
โครงการซับไมครอน ริเริ่มเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ซึ่งเปิดตัวใกล้เคียงกับโครงการซิลิคอนวัลเลย์ของไต้หวัน ซึ่งไต้หวันลงทุนเป็นมูลค่าสูงนับล้านๆบาทตลอด 20 กว่าปี ตอนนั้นจีนยังไม่มีการทุ่มในโครงการเหล่านี้สุดตัว แต่มีแผนลงทุนเช่นกันครับ
ถ้ามีการลงทุนจริงในโครงการซับไมครอน เรา กะ ไตหวัน และ จีน จะกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่เป็นเจ้าตลาดสำคัญของโลกครับ
แต่พวกเต่าล้านปีเขาค้านสุดตัวแล้วล้มโครงการไปพร้อมๆกับรัฐบาลผู้ริเร่ม ทำให้เรา (ที่มีโอกาสสูงมากพอๆกับไตหวันและจีน) เลยต้องกระจอกงอกง่อยในเรื่องนี้จนทุกวันนี้ครับ
คนไทยเก่งครับ แต่มีเจ้ากรรมนายเวรที่เตะตัดขา่เก่งสุดๆเช่นกันครับ ไม่รู้ว่าประเทศไทยจะต้องตกรถในโครงการนิคมอุตสาหกรรมการบิน แบบเดียวกับ โครงการ ซับไมครอน อีก หรือไม่ ติดตามกันต่อไปครับ
ตอนนี้กำลังมีการพิจารณาจะติดตั้งกล้อง ด้วยคับ
55555.......จะมีรุ่น R ด้วย
บ.ทอ.5 นี่ถ้าทำการแก้ปัญหาเรื่องระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้ โดยติดตั้งเครื่องยนต์ในตำแหน่งเดียวกับ OV-10 น่าจะสามารถทำเป็น UAV ขนาดใหญ่ที่สามารถติดตั้งอาวุธได้มากแบบ OV-10 นะครับ อ่ะฮ้า
ถ้าซื้อเขา 500 ล้านบาทต่อลำ ควรจะทำเองนะครับ สมมุติต้นทุนการผลิต 50 ล้านบาทต่อลำ เงิน 500 ล้านบาท สามารถสร้างได้ 10 ลำ
งบเท่ากันเราสามารถสร้างเครื่องได้ 10 เจเนอเรชั่น สร้างแล้วทดสอบ พอพังหรือตกก็สร้างใหม่ แก้ไขจุดบกพร่องเดิม
ที่สำคัญคือต้องมีระบบเซฟชีวิตนักบิน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ผ่านไป 10 รุ่น มันจะต้องดีขึ้นจนใช้งานได้สมบูรณ์แน่ๆ
การสร้างเอง คนของเราจะมีความรู้ มีประสบการณ์
สามารถสอนคนรุ่นหลังหรือเป็นผู้นำในการพัฒนาเครื่องบินรุ่นอื่นที่ยากยิ่งกว่าเดิม ใช้งบมากขึ้นกว่าเดิม
ต้องแบบนี้ถึงจะเรียกว่าก้าวหน้า
..
การคำนวณราคาเครื่องโดยเอาจำนวนไปหารกับเงินงบประมาณ ผมว่า เป็นการคำนวณต้นทุนในการจัดซื้อที่ง่ายไปและไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย.. ยิ่งยุปโธปกรณ์ชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เราวิจัย และพัฒนาและกำลังจะเข้าสู่สายการผลิต จำนวนเงินงบประมาณนี้อาจจะรวมถึงสิ่งที่เราจะต้อง
จัดซื้อเครื่องมือ ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อที่จะเพิ่มมาตราฐานในการผลิตให้ดีกว่ารุ่นก่อนๆ รวมถึงสิ่งที่ต้องวิจัยเพิ่มเติม ดังน้ันถึงแม้จะไม่ถูกหรืออาจจะแพงกว่า เครื่องของต่างประเทศ แต่ในเชิงยุทธศาสตร์และความคุ้มค่าในระยะยาวผมว่าคุ้มค่าแน่นอน อยู่ที่ว่าจะสามารถพัฒนาต่อ
ยอดไปในรุ่นต่อๆ ไปได้หรือไม่ นั้นสำคัญกว่า การคำนวณต้นทุนแค่ราคาอย่างเดียวอาจทำให้เราลืมนึกถึง ความสำคัญในด้านอื่นๆไป เช่น เรื่ององค์ความรู้ ความมั่นคงด้านอาวุธ ด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเทคโนโลยี่น้ันเป็นของคนไทย ไม่ต้องง้อชาติอื่น ให้เค้าผลิตให้
ยินดีกับการขึ้นสายการผลิต บ.ทอ.6 ครับและหวังอย่างยิ่งว่าจะพัฒนาเป็นรุ่นตรวจการณ์โจมตีทุกกาลอากาศเข้าประจำการสำหรับ ทอ. ทร. สัก 3-4 ฝูง แค่นี้สายการผลิตก็น่าจะได้สัก 10 ปีแล้ว
นอกจากนี้ผมยังเห็นว่าน่าจะให้เอกชนเป็นหุ้นส่วนในการผลิตทั้งนี้เพื่อให้การผลิตชิ้นส่วนต่างๆได้มาตรฐานสากล และสามารถหาตลาดนอกประเทศได้ ครับ
ต่อยอดจากนั้นอีก 10 ปีข้างหน้า ผมอยากให้พัฒนาวิจัยให้สามารถผลิตเครื่องบินฝึกบินและโจมตีเครื่องยนตร์ Jet แบบเดียวกับ Alpha jet , L39 , L159 , T/A50 โดยไทยอาจผลิตโครงสร้างและเครื่องยนตร์ ยกเว้น ระบบอิเลกทรอนิกต่างๆ ครับ
เครื่องยนต์นี่แหละตัวยากเลย
ขนาดจีนที่ว่าเจ๋งเรื่องการแคะของคนอื่นมาลอกยังคิดไม่ตก เครื่องแรงสู้พวกเจ้าใหญ่ๆที่มีประสพการณ์กับเทคโนโลยีแถวหน้าไม่ได้ ต้องซื้อเครื่องของประทเศอื่นมาเรียนรู้
ครับ เครื่องยนตร์นี่แหละครับที่ยากที่สุดและไทยขาดความรู้ในการสร้างมากที่สุด ปัจจุบันผมมั่นใจว่าคนไทยสามารถประกอบเครื่องยนตร์ได้ ซ่อมได้ ดัดแปลงได้ แต่ถ้าสร้างทั้งหมดคงไม่ได้ ดังนั้นต้องซื้อเทคโนโลยีเครื่องยนตร์มาสร้างเองสักแบบ ครับ
ทุกวันนี้เครื่องยนต์รถอีโคคาร์เรายังนำเข้ามาประกอบในประเทศเลยครับ การพัฒนาเครื่องยนต์ต้องใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีที่สุงมหาศาล ประกอบกับเจ้าของตลาดเดิมไม่ยอมปล่อยข้อมูลตรงนี้แน่ การซื้อเครื่องยนต์มาแกะทำได้ยากมาก L-15 ของจีนก็ยังใช้เครื่องยนต์จากยูเครนอยู่เลย การผลิตเครื่องยนต์เองไม่ว่าจะสำหรับรถยนต์ เครื่องบินหรืออะไรก็ตามเป็นฝันเหนือฝันยิ่งกว่าประกอบเครื่องบินเองเสียอีก ไม่คุ้มครับเชื่อผมซื้อจากเจ้าที่มีมาตราฐานคนใช้ทั่วโลกดีกว่า
โครงการนี้ผมขอให้เข็น3ลำแรกออกมาแล้วทดสอบบินอย่างสำเร็จลุล่วงก่อน จากนั้นจึงทยอยแก้ปัญหาต่างๆที่พบในระหว่างการผลิตให้เรียบร้อย แล้วค่อยผลิต22ลำที่เหลือในอนาคตอย่างสมบรูณ์แบบ ช้านิดหน่อยไม่ว่าแต่ถ้าทำออกมาแล้วไม่ได้โครงการจะโดนยุบเอาได้
อ่านข่าวแล้วเตรียมทำใจครับ ไม่ใช่ว่าไม่สนับสนุนคนไทยนะครับ แต่สิ่งที่กลัวจริง ๆ คือ คนไทยซึ่งรวมทั้งระบบราชการไทยด้วย ส่วนใหญ่ (เน้นส่วนใหญ่) มีนิสัยสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชอบเอาของใหม่รื้อทิ้งของเก่า ยิ่งมีเจ้านายใหม่มา ตัวเจ้านายใหม่ก็มักจะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่เอาของเก่าที่ทำอยู่ ทั้ง ๆ ของเก่าที่มันก็ดีแล้ว แต่ก็อาจมีข้อเสียบ้างแทนที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น พี่แกก็จะรื้อใหม่หมด ยกเลิกของเก่าที่ทำไว้ซะงั้น แล้วเอาของใหม่มาทั้งหมด ทำไปทำมาก็มีปัญหาใหม่อีกแบบหนึ่ง การขาดความต่อเนื่อง และความมุ่งมั่น เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีอากาศยานต้องใช้ระยะเวลายาวนานมาก ขนาดจีนที่ว่าเจ๋ง ๆ มีความต่อเนื่องกันหลายผู้นำแล้ว ตอนนี้ยังติดปัญหาเรื่องเครื่องยนต์อากาศยานที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศอยู่เลย ตรงนี้ head ในเรื่องนี้ต้องคิดให้ดี ว่าจะเตรียมรับเรื่องนี้อย่างไร ถ้าจะทำให้สำเร็จต้องวางแผนระยะยาวมาก และต้องมีผู้นำที่มีความต่อเนื่องสนับสนุนแผนนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่วันดีคืนดีบอกไม่เอาแล้วจะใช้วิธีซื้ออาวุธดีกว่า
ถ้ามันง่ายมันก็ไม่น่าภูมิใจเท่าไหร่ครับ ยิ่งยากยิ่งท้าทาย ถ้าเราทำสำเร็จยิ่งน่าภาคภูมิใจ การป้องกันประเทศหรือการสร้างความมั่นคงให้ประเทศ ไม่ใช่แค่มีเงินซื้อปืนแจกปืนให้ทหารไปยืนเฝ้าหรือตามคุ้มครองคน แต่อยู่ที่เราสามารถสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชนชาติไทยได้หรือเปล่าด้วย จีน อเมริกา หรือประเทศระดับโลกอื่นๆก็พยายามสร้างอาวุธเองทั้งนั้น อย่างสวีเดนเขาก็พยายามสร้างเครื่องบินขับไล่เอง ทั้งที่เครื่องยนต์ยังต้องซื้อชิ้นส่วนบางชิ้นจากอเมริกา ต้องย้ำว่าสิ่งที่ทอ.ทำมันมีค่ามีความหมาย ไม่ใช่แค่ซื้อมาจากไหนก็ใช้ได้เหมือนกัน หรือตัดสินกันแค่ดีกว่าถูกกว่า
..
ทาง RTAF6 เขาตอบโพสต์ผมกลับมาว่า จะทำการหาคู่สัญญาที่เป็นเอกชนมารับช่วงต่อในการผลิตและทำตลาด โดยที่ ทอ. เจ้าของงานวิจัยและพัฒนาจะเป็นคนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ นับเป็นยุทธวิธีทางการผลิตที่ฉลาดมากครับ เพราะเอกชนมีความชำนาญกว่าในด้านการตลาด การควบคุมต้นทุนการผลิต การบริหารทรัพยากรการผลิต (เครื่องจักร แรงงานคน วัตถุดิบ) โดย ทอ. น่าจะเป็นที่ปรึกษาในทางเทคนิคและเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า
ขอตอบว่า GREAT Idea .............
แบบนี้ปัญหาเดิมๆที่เคยเจอ อย่างคราวผลิตปืน HK 33 ก็จบไป ผมมีความรู้สึกว่าหน่วยงานทางทหารของเราเริ่มเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ บริหารการตลาดดีขึ้นเป็นอย่างมากเลยครับ แบบนี้ไปโลด ก็ต้องขึ้นกับว่าบริษัทเอกชนที่ว่านั้นจะมีขีดความสามารถในด้านการตลาด และขีดความสามารถในด้านการผลิตถึงระดับไหนด้วย อาจจะเป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติที่มีความชำนาญด้วยก็เป็นได้
กรณีราคาโครงการนั้นคงต้องรวมค่าเครื่องจักรด้วยครับ ในกำลังการผลิตไม่ว่ามากหรือน้อย ราคาสินค้าที่ผลิตออกมาต้องมีการบวกต้นทุนค่าเครื่องจักรการผลิต ค่าโรงงาน และค่าที่ดินไปด้วยทันที่ เขาเรียกว่ Fix cost ครับ ดังนั้นยิ่งกำลังการผลิตมากเท่าไร ในส่วน Fix cost จะถูกหารลงด้วยจำนวนการผลิตที่มากขึ้น ทำให้ต้นทุนตรงส่วนนี้ต่อหน่วยลดลงไปแทบจะไม่มีผลมากนัก ( อันนั้นคงต้องผลิตหลายร้อยหรือนับพันเครื่องครับ) เป็นหลักการในเศรษฐศาสตรจุดภาคเลย ดังนั้นผมจึงใช้ราคาโครงการหารด้วยจำนวนการผลิตในล๊อตนี้ทันทีครับ
กรณีที่ ทอ. มีคู่สัญญากับทางเอกชนในการผลิตด้วย (ไม่รู่ว่าเป็นแบบไหน จะเป็นซับคอนแทรก หรือ เป็นหุ้นส่วนโดยจดทะเบียนบริษัมใหม่ หรือ อะไรก็ได้ ที่ไม่ผิดกฎหมายที่ห้ามกองทัพในเรื่องการค้า)
ถ้าเป็นซับ ก้คงออกแนวว่าถ้าเอกชนทำการตลาดได้ดีมาก แล้วหาลูกค้าจำนวนมากมาป้อนสายการผลิตจนเกินกำลังของ ทอ. จะรับไหว ทางเอกชนจะรับผลิตส่วนเกินกำลังแทน แบบนี้เครื่องจักรที่ลงทุนไปแล้วจะได้คุ้มค่ามากขึ้นและราคาต่อหน่วยจะถูกลงครับ
แต่ถ้าออกแนว ยกการผลิตทั้งหมดและการตลาดทั้งหมดให้เอกชน โดย ทอ. ทำหน้าที่แค่วิจัยและพัฒนาสินค้าตามที่บริษัทร้องขอ (ต้องไปทำการสำรวจความต้องการของตลาดมาก่อน) แบบนี้ ทอ. จะรับความเสี่ยงแค่การลงแรงทำการวิจัยและพัฒนาครับ เอกชนจะรับความเสี่ยงทั้งหมดในด้านการผลิตและการตลาดเอง ส่วนทอ.คงได้ผลตอบแทนมาเป็นสิทธิบัตรและได้สินค้าตรงตามความต้องการของตนเองก่อนเป็นอันดับแรกสุด
ผมว่กองทัพเริ่มเข้าในจุดนี้ได้ดีขึ้นเป็นอย่างมากแบบก้าวกระโดดนะครับ ถ้าทุกโครงการทำแบบแนวๆนี้ โอกาสรอดก็มีสูงขึ้น แต่บริษัทที่มาร่วมมือกันก็ต้องฝีมือเก่งพอดูด้วย
ชักอยากเห็นเครื่องฝึกขั้นมัธยมที่ ทอ. ออกแบบเองแล้วลุยตลาดแข่งกับ PC-21 กับ super tucano บ้างแล้วครับ
ไม่ทราบผมสับสนหรือเปล่า อันที่จริง พวกชิปเนี่ย ซับไมครอน ทำหลังเกาหลี ใต้หวันนานอยู่นะครับ เพราะตอนที่เราริเริ่มจะทำ ซัมซุง ก็ทำนานแล้ว ปัจจุบัน ซัมซุงก็ใหญ่มาก ๆ ส่วนไต้หวันก็นานแล้วเช่นกัน เป็นผู้ส่งออกชิปใหญ่โตระดับโลกเสียด้วยซ้ำไป เราเริ่มจะคิดโดยบริษัทเอกชน ที่น่าจะทำเกี่ยวกับพวกแผงวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งตอนนั้นเงินกู้นอกมันดอกเบี้ยต่ำ ความเสี่ยงด้านค่าเงินไม่มี เพราะรัฐบาลไป fix ค่าเงินไว้ แต่ปัญหาเกิด เพราะความไม่โปร่งใสของตัวผู้บริหารของบริษัทเอง ประกอบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง
ภายหลังเจ้าหนี้เองก็พยายามจะฟื้นฟูนะ โดยเห็นว่าจะเอาบริษัทฝรั่งถ้าจะไม่ผิดน่าจะชื่ออินฟินิออนมาซื้อกิจการ ซึ่งไม่สำเร็จ แต่อาจจะถือว่าโชคดี เพราะภายหลังบริษัทฝรั่งนั้นก็น่าจะมีปัญหาขาดทุนและไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับบริษัทในเอเชีย แถมหลังจากนั้น อุตสาหกรรมชิปมันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ถ้าเงินไม่ถึงนี่ก็แย่เลย ดูอย่างซัมซุงมีทุนวิจัยมหาศาล ถ้าเราจะทำอย่างนั้น คือรัฐบาลเข้าอุ้ม เกรงว่าจะทำให้ต้องเงินภาษีต้องเสียหายอย่างหนักไปด้วย