ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานติดจรวดบู๊ก (Buk) แบบเอ็ม2อี (M2E) หรือ SA-17 "กริซลี่" (Grizzly) ในระบบของนาโต้ ติดตั้งบนยานยนต์ให้เป็นจรวดอัตตาจร จีนผลิตออกมาเป็นหงฉี-16 เอและบี (HQ-16A/B)
โดยระบบBuk-M1/M2M/2MKE Tor-M1/M2/M2E สามารถโจมตีเป้าหมายตั้งแต่จรวดนำวิถีไปจนถึงระเบิดร่อน มีระยะยิงประมาณ 50 km++ สามารถยิงเป้าหมายที่ระดับความสูงที่แตกต่างกัน ได้
จากคลิปวิสัยทัศน์กองทัพเรือ ๒๕๕๗-๒๕๖๗ นั้นผมเชื่อว่าคงเป็นไปได้นะครับ แสดงว่า Buk อยู่ในใจทางสอ.รฝ.แล้ว
ดูจากคลิป รู้สึกจะเป็นตัวนี้หรือเปล่าครับ
คุณ part88 ในคลิปนั้นเป็นจรวด Buk จริงๆครับ
จากวิกิ
จากวิกิ Royal thai navy
นี่ไงครับ ดูท่าจะจริงแล้วนะครับ
ภาพจากวิกิ
ถ้าจะเอาแบบมีล้อขอบอกว่าไม่เท่อย่างแรง แบบบนแคร่สายพานเท่กว่า
ระบบ BUK นั้นมีลูกจรวดหลายระยะยิงครับ 32-45-50ก.ม. โดยเฉพาะรุ่นM-1 ตัวแรกกับ M-2 ซึ่งรุ่นM2 ได้รับการกล่าวถึงประสิทธิภาพในการต่อต้านระเบิดร่อนมากกว่าตัวแรก ซึ่งพัฒนากันต่างปีพอดู(ปลายยุค1980 กับปลายยุค1990 ) ซึ่งไม่รู้ว่าจะส่งผลให้ราคามันต่างกันหรือเปล่า
ปล.หวังว่าคงไม่ออกไปที่ BUK จีน นะ พวก KS-1และKS-2
ในความเห็นผม BrahMos น่าจะเป็น ภัยคุกคาม ที่ ทร. มองเห็น...เลยต้องจัด Buk-M2E มาใช้
เวียดนาม และ อินโดนีเซียย�อาจจะรวมถึง มาเลเซีย ที่คงเป็น กลุ่มประเทศ มี SU และ เป้าหมายของ BrahMos ที่จะมีอยู่ในประเทศเหล่านี้ ก็ได้ครับ
เป็นชุดแบบนี้หรือเปล่า (อีกรูปภาพไม่ขึ้นเสียแล้ว)
ภัยคุกคาม
ไม่ทราบว่า ถ้าจะซื้อต้องจัดชุดแบบนี้หรือเปล่าครับ
เรียนถึงคุณ part88 ผมว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
อย่าไปเชื่อวิกิฯครับ คนเขียนก็อย่างเราๆนี่ล่ะ มีการเสนอก็ใส่เข้าไปด้วย บอกว่าได้รับการเสนอ แต่แฟนๆจับยัดเข้าไปในกำลังรบเฉย
ทาง สอรฝ.อยากได้หรือมองๆไว้ไม่ได้แปลว่าจะจัดหานะครับ ถ้ามีการสั่งซื้อแล้วอย่างนี้ค่อยเอามาใส่ในกำลังรบ
อย่างกรณีตอนสมัยทบ.หารถถังใหม่ก็ใช้รูป k1 ของเกาหลีใต้ในสื่อประชาสัมพันธ์ มีผู้มีอำนาจหลายคนออกมาแสดงทรรศนะว่างอยากได้ของเกาหลี ทั้งมีการออกมาให้ข่าวของทหารบางนายว่าไม่อยากได้โอพล็อตเพราะเรื่องระบบออโต้โหลดเดอร์
สุดท้ายหวยออกที่โอพล็อต
มีข้อสงสัยครับว่าวัตถุประสงค์ในการจัดหาเพื่อป้องกันสิ่งใด หน่วยนาวิกที่อยู่แนวชายแดน หรือว่า ฐานทัพเรื่อที่เป็นเป้านิ่ง
คือมองว่า เจ้าตัวนี้มันใหญ่เกินไป ไม่คลองตัวถ้าจะเอาไปแนวหน้าชายแดน
แต่ถ้าจะเอามากันฐานทัพเรื่อ ที่เป็นอะไรที่สำคัญมาก มีเรือจอดอยู่มากมาย ก็ไม่น่าจะเสี่ยงกับระบบอาวุธจีน ที่เราไม่ทราบว่าประสิทธิภาพแค่ไหน มีหมกเม็ดลดเสป็กหรือเปล่า(เพราะมันตรวจสอบยากเพราะเป็นเทคโนโลยี่ของจีนเท่านั้น) ใช้ระบบอาวุธของอิสราเอลน่าจะมั่นใจได้มากกว่า ผ่านมาหลายสนามรบ หรือระบบของนาโต อเมริกา ก็ยังดี
อาวุธ ไม่ได้มีไว้แค่เพื่อป้องกันชายแดน หรือฐานที่มั่นเท่านั้น
แต่ยังต้องคุ้มครองเศรษฐกิจ และผลประโยชน์ของประเทศชาติด้วย
นิคมอุตสาหกรรม โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ ถื่อว่ามีความสำคัญ และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงถ้าถูกทำลายไป
การมีอาวุธป้องกันตัวที่มีระยะยิงไกลนั้นถือเป็นความจำเป็น ถ้าพลาดก็ยังมีระบบอื่่นๆคอยสนับสนุน
ถ้าไม่มีอาวุธระยะไกล ถ้าพลาด ก็พังเลย
ความคิดเห็นของคุณ "น่าคิด" เป็นสิ่งที่ถูกต้องครับ เพียงแต่หน้าที่ที่ว่าควรเป็นของ ทบ.มากกว่าครับ
เพราะไม่เช่นนั้นต่างคนต่างจัดหา มันจะเกิดความซ้ำซ้อนของระบบ สิ้นเปลืองงบประมาณ เกิดความหลากหลายของอาวุธโดยใช่เหตุ
ถ้า ทร. จะจัดซื้อบ่างเพื่อเอามาป้องกันในส่วนของ ทร. คงไม่มีปัญหา เพียงแต่ต้องระบุควาต้องการให้แน่นอนก่อนว่าจะเอามาเพื่อป้องกันสิ่งใด
ฐานทัพเรือก็น่าจะโดนโจมตีด้วยจรวดร่อนมากที่สุดเพราะมีระยะไกลมาก จากเรือดำน้ำเครื่องบินหรือเรือรบ แต่ก่อนนั้นทางฝ่ายบุกต้องแจมมิ่งเรดาร์ก่อนเป็นอันดับแรก
ขอตอบคุณ kiktty 70 กองทัพบก มีหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ หรือกรม ปตอ.เดิม มีหน้าที่ต่อสู้อากาศยานภาคพื้นดิน ส่วนใหญ่มีหน่วยต้ังอยู่ตามจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆของประเทศ
กองทัพเรือ มีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ชื่อก็บอกแล้วนะครับว่ามีหน้าที่อะไร
กองทัพอากาศ มีหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ก็มีอาวุธจำพวก ปืน ปตอ. หรือจรวดต่อสู้อากาศยาน ระยะใกล้
สรุป ท้ัง 3 เหล่าทัพมีหน่วย ปตอ. ท้ังสิ้น เพราะเค้าแบ่งพื้นที่กันดูแลครับ ถ้าจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ก็ กองทัพบก ชายฝั่ง ก็กองทัพเรือ สนามบิน ก็กองทัพอากาศ
ขอเสริม แต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า อาวุธ ต่อสู้อากาศยานของไทยแต่เดิมน้ัน ส่วนใหญ่ เป็น ปืนต่อสู้กาศยาน ขนาดต้ังแต่ 12.7 มม - ขนาด 40 มม ปัจจุบัน ก็ยังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้อยู่ครับถึงจะซื้อมานานมากแล้ว แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว รอบบ้านเราขณะนี้ มีแต่เครื่องบินรุ่นใหม่ๆ อย่าง su 29 su30 ซึ่งอาวุธพวกนี้แค่เอาไว้ แย่ให้คันๆ เท่านั้น ถึงเวลาที่ประเทศเราต้องหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ แบบใหม่ ที่จะสามารถข่มขวัญและป้องกันภัยได้จริงๆ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า มีราคาที่สูงมาก ไม่ว่าจะซื้อจากประเทศไหนถึงแม้เป็นของจีนก็ชั่งเถอะ ดังน้ัน ต่อจากนี้ไปประเทศของเรามีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาจรวดต่อสู้อากาศยานอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เพราะที่มีอยู่มีน้อย และไม่ครอบคลุม และไม่สามรถเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายได้ ตอนนี้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของประเทศเรา มีช่องโหว่อยู่ นะครับ จะบอกให้ เค้าส่ง Su มา 30 ลำ พูดได้เลย ทำเนียบ สนามบิน หายจากแผนที่ประเทศไทย แน่นอน .. มีตังก็รีบจัดหาเพื่ออุดช่องโหว่ให้หมด เพราะอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน เรื่องความมั่นคงถ้าพลาดอาจถึงสิ้นชาติได้ ขอบคุณครับ
ถ้า สอ.รฝ. จะซื้อ Buk มารักษาฝั่ง มันผิดตรงไหนครับ ของแบบนี้ผมมองว่ามันขึ้นอยู่กับพื้นที่รับผิดชอบมากกว่า
จะบอกว่ามันควรเป็นหน้าที่ของ ทบ. แล้วพื้นที่ของ สอ.รฝ. ก็ต้องปล่อยให้ทบมารักษาให้ จะได้ไม่ซ้ำซ้อน? แล้วจะแบ่งหน้าที่การทำงานไปทำไม เหมือน ด.ช. ก มีหน้าที่ทำเวรห้องเรียน ด.ช. ก ก็ไปซื้อไม้กวาดดอกหญ้ามาใช้ แล้ว ด.ช. ข มีหน้าที่กวาดสนาม ก็ต้องใช้ไม้กวาดดอกหญ้ากวาดเหมือนบนห้อง เพราะถ้าซื้อไม้กวาดทางมะพร้าวมาใช้มันจะทำให้เกิดความยากลำบากเพราะมีอุปกรณ์หลากหลายรึเปล่า?
อีกอย่างการที่ ทร. เลือก Buk ผมก็ไม่เห็นว่าจะเสียหาย(หากเลือกจริง) หากเทียบกับ VL-MICA ที่มีบางท่านบอกว่า ทบ. เลือกไปแล้ว เพราะ ระยะ ของ Buk ไกลที่ 30000 เมตร ยิงได้สูงถึง 25000 เมตร ขณะที่ VL-Mica ยิงได้ไกล 10000 เมตร สูง 9000 เมตร ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่แค่ประติ๋วเดียว หากเอาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันยาวแสนยาวของไทย ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีการล่วงล้ำของ จรวดร่อน เครื่องบิน จากตรงไหน ที่ สอ.รฝ. ต้องรับผิดชอบ ผมก็ไม่เห็นว่า Buk มันจะไม่ดีตรงไหน ต่อให้ซื้อ 100 ระบบ มันยังป้องกันชายฝั่งได้ไม่หมดเลย ไว้หลุดจากชายฝั่งไป ก็เจอ Mica ของทบอีกทีก็ได้
ประเด็นต่อมาคือ ความคล่องตัวของระบบต่อต้านอากาศยาน จริงอยู่ที่มันเทอะทะไม่คล่องตัว แต่ระบบอื่นในโลกมันก็มาบนแคร่รถ 6x6 ไม่ก็ 8x8 หรือเป็น Track ทั้งนั้นยิ่งยิงไกลมากก็ยิ่งใหญ่มาก สิ่งที่ชดเชยความคล่องตัวก็คือความสามารถในการตรวจจับ และระยะที่ไกลขึ้น และที่สำคัญเค้าก็จอดป้องกันพื้นที่อยู่กับที่ไม่ได้วิ่งไล่ยิง เครื่องบิน ที่บินเข้ามาซะหน่อยจะเอาความคล่องไปทำไม ถ้าจะเอาเล็กขนาดติดบนรถที่คล่องตัวสูงๆได้ ระยะมันก็อาจจะแค่ 7000 เมตร เหมือน Starstreak นั่นไง
สุดท้ายความยืดหยุ่นในการจัดซื้ออาวุธของกองทัพควรจะมีพอสมควรโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีศักยภาพที่จะทำใช้เองได้แบบเต็มๆ 100% ถ้าจะผูกขาดกับชาติใดชาติหนึ่งแบบถาวรผมไม่เห็นด้วย เพราะการเมืองและผลประโยชน์มันไม่มีมิตรแท้และศัตตรูถาวร เกิดวันหน้าผลประโยชน์มันไม่ลงตัว เค้ายังจะสนับสนุนอาวุธเราอยู่หรือ? คิดว่ามหามิตรอย่าง อเมริกาจะไม่หันปืนใส่เราหรือ? มันก็ดูก็ชล่าใจเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ถึงกับซื้อแม่งทุกยี่ห้อทุกประเทศ เอาที่เหมาะสมกับภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานก็พอ เรื่องการดูแลมันก็ของหน่วยใครหน่วยมันอยู่แล้ว งบฯ ใคร งบฯ มัน ไม่ใช่ว่า ทร. ซื้อ Buk แล้วจะมาฝากให้ ทบ. ซ่อมซะเมื่อไหร่ ใช้ใครใช้มัน ซ่อมใครซ่อมมัน แต่ให้มันสามารถสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวก็พอ เหมือนร่างกายที่มีทั้งหัวใจ ตับ ปอด ต่างคนต่างทำหน้าที่ของใครของมัน ไม่ใช่หัวใจสูบฉีดเลือด แล้วก็ฝากไปย่อยอาหารด้วยนะ เออไหนๆแล้ว สืบพันธุ์แทน XX เลยละกันจะได้ไม่ซ้ำซ้อนสิ้นเปลืองแคลลอรี่
ถ้าจำไม่ผิดพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของ นย ครับ ไม่ใช่ ทบ ซึ่งแนวชายฝั่งดังกล่าวมีนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญของประเทศหลายแห่ง
555+
Manpads ตอนนี้ทบ.ก็มี Igla พี่หมีแล้ว ทร.มี QW-18 พี่จีนแล้ว ทอ.อันนี้ก็คงเป็น RBS-70 ของพี่ไวกิ้งสวีเดน
จรวดพื้นสู่อากาศ ที่แน่ๆ ทบ.มี VL-Mica แล้ว ดีไม่ดีอาจจะหยุดแค่ 3 ระบบก็ได้ เพราะเชื่อว่าทบ.ยังคงมีตัวเต็งอีกหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน รัสเซีย สวีเดน เกาหลีใต้(อันนี้ไม่แน่เสมอไป) ต้องดูก่อนว่ามีงบหรือต้องการเสริมอะไรอีกหรือไม่อย่างไร
ส่วนเรื่องทร.เลือก Buk มันก็ไม่แปลกนี่ครับ เพราะผมเชื่อว่าทร.คงแอบเล็งแบบไม่เปิดเผยต่อสาธารณะก็ได้มั้งครับ ผมก็เดาไปแบบนั้นแร่ะ 5555+
ที่แน่ๆนะครับ Iris-T คงเกิดยากในทร.แน่นอน เพราะ....
- Iris-t มักจะเกิดง่ายในทอ.ซะส่วนใหญ่
- อาวุธ Iris-T ที่จะเกิดในทัพเรือยังไม่มีแผนใดๆเลย มันเป็นเรื่องของอนาคต
ผมเห็นด้วยถ้าทร.จะซื้อSAMมาเพื่อป้องกันฐานทัพเรือของตัวเอง(เหมือนทอ.ที่มีหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน) หรือซื้อระบบที่เล็กกว่านี้ถ้าจะเอาสนับสนุนที่แนวชายแดน
จากความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผมจับใจความได้ว่า ทร.จะเอาระบบSAMมาป้องกันพื้นที่ภาคตะวันออก (หมายความว่า ทร.ไม่เชื่อมือทอ.ว่าจะป้องกันภัยทางอากาศทางภาคตะวันออกได้ ทั้งๆที่มันต้องข้ามประเทศเขมรทั้งประเทศ แต่ในทะเล ทร.กลับเชื่อมือใน Link-E Erieye ว่าทอ.จะส่งเครื่องบินมาช่วยกองเรือได้ทัน) การที่เราจะเอาระบบSAM มาป้องกันพื้นที่ขนาดกว้างจะเรียกว่าเป็นการพลิกนโยบายการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ จากการที่ใช้เครื่องบินในการสกัดกันมาเป็นระะบบSAM ซึ่งผมมองว่ามันไม่น่าจะได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะมันจะมีแค่ 3-4 Unit และภาคเดียวของประเทศที่มีระบบSAMป้องกันพื้นที่ ศัตรูยังไปโจมตีส่วนอื่นของประเทศได้อยู่ดี หรือจะหมายความว่าภาคตะวันออกเป็นเขตสำคัญที่สุดของประเทศเลยต้องมีระบบSAMเพิ่มเติม
ถ้าจะใช้ระบบSAMป้องกันพื้นที่ก็ต้องจัดไปให้ครอบคลุมทั้งประเทศหรือแนวที่จะมีการปะทะ แบบตุรกีที่จะจัดหาHQ-9 13 unit 34,000 M US ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ประเทศภาพรวมมากกว่า เพราะจัดหาได้เป็นที่น่าเกรงขามแก่ผู้ที่จะบุกรุกและสามารถโยกย้ายไปได้ทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะปะทะที่ไหน
ไม่ใช่หรอกครับท่าน Kitty จรวด Sam ไม่ได้มีนัยที่สำคัญทางการป้องกันภัยทางอากาศขนาดที่จะมาเป็นตัวหลักฉายเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียวโดยไปบดบังหน้าที่ของ ทอ. หรือเครื่องบินแต่ประการใด ท่านเข้าใจผิดแล้วล่ะ ไม่อย่างนั้นเราคงไม่ต้องซื้อ ปตอ. ตั้งมากมายมาตั้งแต่แรก เพราะเราก็มีเครื่องบินขับไล่มากมายมาแต่ก่อน ให้ ปตอ. ดูแลแทนเครื่องบินเลยก็ได้ ใช่หรือ?
และไม่ใช่ว่าไม่เชื่อมือ ทอ. หากแต่ถ้ามันเกิดสถานการณ์จริงๆ แล้ว ทอ. มีอันเป็นไปเสียก่อนเล่า ฐานทัพโดนทิ้งระเบิด โดนจรวดร่อนโจมตี หรือมีเครื่องซักลำหลุดแนวป้องกันมาได้ ท่านจะไม่ให้มีอะไรไว้ตอบโต้เลยหรือ..ก็แค่อัพเกรดให้มันทันสมัยสมกับยุคเท่านั้น หรือจะให้เอา ปตอ. ไล่ยิงเหมือนเมื่อก่อน จะไหวมั้ยนั่น
อีกอย่าง การป้องกันภัยทางอากาศโดยใช้เครื่องบิน ทอ. นั้นเป็นเรื่องถูกต้องแล้ว แต่ก็หมายถึงว่ามันต้องมีการล่วงล้ำโดยเครื่องบินเท่านั้น ถ้าเป็นจรวดระยะไกลประเภทต่างๆ มันบินเร็วกว่าเครื่องบินตั้ง 1 ถึง 3 เท่า ท่านจะให้เอา เครื่องบินรบไป อินเตอร์เซ็ป จรวดนำวิถีหรือท่าน... ตรวจจับเจอจรวด แจ้งไป ทอ. นักบินเอาเครื่องขึ้นภายใน 4-5 นาทีรีบเร่งความเร็วสูงสุดมายิงจรวดทิ้ง ผมเกรงว่าเป้าหมายจะถูกทำลายไปเสียตั่งแต่นักบินเริ่ม TAXI ที่สนามบิน
เรื่องชายแดนถ้ามันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจำเป็นที่ต้องมีการป้องกันทางอากาศท่านก็แค่ย้ายมันไปตั้งไว้ ไม่ได้ลำบากเลยท่านท่านจะตั้งภาคไหนชายแดนไหนก็ได้ ถ้ารถธรรมดาวิ่งไปได้ พวกนี้ก็วิ่งไปได้ ถ้าเป็นภูมิประเทศต้องลุยออกนอกถนน ผมก็ว่าถ้าไม่ใช่ภูเขาที่สูงชันเกินไป พวกนี้ไปตั้งได้อยู่แล้ว เพราะอย่างที่บอกว่ามันไม่ไดใช้วิ่งไล่ยิงซะหน่อยมันจอดอยู่เฉยๆ ป้องกันพื้นที่ต่างหาก
สรุป ภาคไหนๆที่มีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ก็จำเป็นต้องมีจรวดต่อต้านอากาศยานที่มีประสิทธิภาพทั้งนั้น ไม่ใช่เพื่อมาฉายเดี่ยวเป็นพระเอกแต่ผู้เดียว แต่มาเป็นส่วนประกอบของระบบโครงข่ายขนาดใหญ่ที่มีการทำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์มากกว่า
เราต้องเข้าใจคำว่า"ภัยทางอากาศ"เสียก่อน ถึงจะเข้าใจว่าทำไมการป้องกันประเทศในส่วนของการป้องกันภัยทางอากาศจึงจำเป็นต้องมีระบบSAMมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางอากาศ ส่วนการเลือกใช้SAMแบบใดนั้นก็จะต้องคำนึงถึงภัยคุกคามในปัจจุบันและในอนาคตเป็นสำคัญ
ผมมองว่า ระบบป้องกันทางอากาศของเราเน้นหนักไปที่ทอ. ในการสกัดกันและป้องกันพื้นที โดยระบบSAMหรือปตอ.ที่มีเป็นการป้องกันเสริมเฉพาะจุดที่สำคัญมาก (Point Defend)
แต่ ถ้าทร.จะจัดหา Buk มันจะเป็นอะไรที่ใหญ่กว่าการป้องกันเฉพาะจุด เป็นการป้องกันระดับพื้นที่(Area Defend) และถ้าจะป้องกันระดับพื้นที่ ทางทร.จะจัดหาได้ในปริมาณขนาดไหน จะสามารถมีเงินไปซื้อลูกจรวดได้เยอะขนาดไหน
และ เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณ ทำให้เราไม่สามารถที่จะสกัดทุกอย่างที่หลุดลอดเข้ามาในพื้นที่ได้ เช่นพวกจรวดร่อน เราก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป แต่ไปใช้การป้องกันเฉพาะจุดเพื่อเอาไปสกัดที่ปลายทางถ้าเป้าหมายของมันคือสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด หรือถ้าอยากจะจัดหาSAMเพื่อป้องกันตนเอง เอาแค่ระดับป้องกันเฉพาะจุดที่ฐานทัพเรือก็น่าจะประหยัดงบประมาณไปได้เยอะ
ผมมองว่าหน้าที่หลักของทร.คือการป้องกันภัยทางทะเล กองเรือของทร.ผมยังมองว่ายังไม่แกร่งพอ เรือดำน้ำ ก็ยังไม่มี ,ระบบ CIWS ป้องกันตนเองก็มีเพียงไม่กี่ลำ, ระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือที่พอจะไว้ใจได้ ก็มีอยู่ไม่กี่ลำ,ฮ.ก็ยังจัดหาได้ไม่ครบ,บ.ตรวจการทางทะเล ก็ยังมีไม่พอ ผมคิดว่าแทนที่จะเอาเงินไปซื้อ Buk ที่เป็นการป้องกันภัยทางอากาศระดับ Area Defend ให้กับภาคพื้นดิน ที่เป็นหน้าที่รอง เอาเงินดังกล่าวไปเสริมกองเรือที่เป็นหน้าที่หลักให้มันแกร่งขึ้นไม่ดีกว่าหรือ
ปล. มันก็เป็นเรื่องการจัดสรรงบประมาณของทร.เอง ทางทร.อาจะเห็นว่าเอาดีทางด้านน้ำไม่ได้เลยจะมาเอาดีทางด้านบกแทน หันมาหนุน นย. มากขึ้นจัดSAMชุดใหญ่ให้ไป
ขอแสดงความเห็น...ด้วยคนครับ.. ผมว่าตอนนี้ระบบป้องกันภัยทางอากาศมีความสำคัญไม่แตกต่างกับกองเรือ หรือเครื่องบินรบ หรือกำลังรบ อื่นๆ เพราะเนื่องจากรูปแบบการรบได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากอดีตพอสมควรแล้ว ดูได้จากช่วงหลังๆ รูปแบบการรบจะเน้นไปที่การใช้ จรวด หรือขีปนาวุธเข้าทำลาย จุดแข็งหรือจุดยุทธศาสตร์สำคัญของคู่ต่อสู้ก่อน แล้วจึงใช้กำลังภาคพื้นดินเข้าโจมตีเพื่อยึดที่หมาย
ดังน้ัน ประเทศของเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็น hq-9 หรือ s300 หรือ patriot ภัยคุกตามทางอากาศไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เครื่องบินรบเหมือนเช่นในอดีตแล้ว สิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คือ จรวดหรือขีปนาวุธ ซึ่ง สามารถติดหัวรบแบบต่างๆ ได้ และจรวดสมัยใหม่น้ันมีประสิทธิภาพที่สูงมาก ถ้าจะรอให้เครื่องบินรบของเราขึ้นไปสกัดกั้นอย่างเดียวคงจะไม่ทันการแน่ ดูได้จากทุกประเทศที่มีกำลังทรัพย์ เค้าจะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศด้วยกันท้ังสิ้น แม้แต่เหตุการณ์ล่าสุดที่เกาหลีเหนือขู่จะถล่มญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ เค้าก็เตรียม จรวด patriot มาต้ังไว้ตามเกาะที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อเป็นด่านป้องกัน จริงแล้วเค้าวางไว้หลายช้ันมาก แต่น้ันเค้ามีตัง แม้แต่ประเทศใกล้บ้านเรา เวียดนามเค้าก็จัดซื้อ s300 มาวางไว้ตามชายแดนที่ติดทะเลและติดกับประเทศจีน เพื่อป้องกันขีปนาวุธ และเวียดนามจัดซื้อไปแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ชุด เวียดนามเค้าจนกว่าเรามาก แต่เค้าก็ยังต้องแข็งใจหาไว้เพื่อความอุ่นใจ.. เรากลับมามองตัวเราว่าวันนี้เรามีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มั่นใจได้หรือยัง..
ผมเชื่อว่า กองทัพทุกเหล่าอยากจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศที่เชื่อถือได้มานอนกอดไว้ให้อุ่นใจทุกเหล่า แต่ราคานี้ จับแทบไม่ลง ดูจาก lot ล่าสุด ของตุรีกี Hq 9 ของจีน ราคาที่ชนะ 3000 ล้านเหรียญ เทียบเป็นเงินไทยก็ ประมาณ 90000 ล้านบาท คืออันนี้ถูกสุดแล้วและข้อเสนอดีสุด ระบบไว้ใจได้ โดนไป 90000 ล้านบาท ดังน้ั้น สอ.รฝ คงไม่มีงบมากพอที่จะจัดหาระบบพวกนี้แน่นอน ตัวที่จะพอจับต้องได้ก็คงอย่างที่พวกเราคาดการณ์ไว้ อยู่ที่หวยงวดนี้จะออกข่ายไหนแค่น้ันเอง รัฐเซีย ก็ buk จีนก็ Hq16 ของฝั่งยุโรป ก็มีหลายตัว ราคาก็คงไม่หนีกันเท่าไร น่าลุ้น
เอารูป Hq 9 มายั่วน้ำลายเล่น (มีระบบอย่างนี้ไว้ประจำบ้านนอนตาหลับแน่นอน)
สามารถต่อต้าน electronic jamming conditions อย่างหนักได้
พิสัย ป้องกัน cruise missiles 7-24 km
พิสัย ป้องกัน air-to-ground missiles 7-50 km
พิสัย ป้องกัน aircraft 7-125 km
พิสัย ป้องกัน จรวด ฮาพูน PGM และ TBM 7-25 km
ของจีนถือว่า ดีนะลายพรางสวยมากๆ เเต่ใจจริงอยากได้ s400 ระยะยิงพอกันเเต่ราคาไม่รู่นะ s400ถือว่าติด top อันดับ1เลยในจรวดต่อต้านอากาศยาน
ผมว่า buk ไม่ค่อยหน้าเล่นหรอก เห็นว่าระยะในการยิงมันสั้น
ความเห็นผมน่ะ ถ้ามีงบประมาณซื้อจรวดต่อสู้อากาศยานที่พอสำหรับซื้อระบบที่มีระยะยิงไกลเกิน 100 km เช่น S300 HQ9 แต่ได้เพียง 1-2 ระบบ เป็นผมจะไม่ซื้อแต่จะนำงบประมาณที่เท่ากันไปซื้อจรวดที่มีระยะยิงราวๆ 30-60 km แต่ได้หลายๆระบบ เหตุผลคือ
1. ความแน่นอนในการสกัดน่าจะสูงกว่า
2.โอกาสในการตรวจจับอากาศยานสูงกว่า เช่น เครื่องบินที่มีหน้าตัดเรดาร์ต่ำมากๆ บินมาตรงๆ เรดาร์ชุดต่อสู้อากาศยาน 1 ชุดยิงอาจจับไม่ได้ แต่ถ้ามีหลายชุดยิงวางในมุมองศาที่แตกต่างกันก็มีโอกาสตรวจจับเครื่องบินนั้นได้ง่ายกว่า
3. สามารถวางกระจายตามจุดได้ตรอบคลุมพื้นที่มากกว่า
4.ราคาลูกจรวดถูกกว่า มีผลมากในเรื่องจำนวนจรวดที่สามารถยิงได้
เหตุผลก็คร่าวๆตามนี้ครับ ส่วนระยะเกินกว่า 60 km ให้เป็นหน้าที่เครื่องบินรบเข้าจัดการ
พวก s-300 s-400 ผมมองว่าพวกนี้เป็นอาวุธที่น่าจะออกแบบมาให้สอยพวก ballistic missile แบบต่างๆมากกว่า ดูขนาดจรวดลูกเบ้งขนาดนั้นผมคิดว่าเป้าหมายต้องมาจากความสูงที่สูงมากจนจรวดตัวเล็กๆยิงไม่ถึง เช่น ICBM หรือไม่ก็พวกเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีเพดานบินสูงๆ อย่าง B-52
ถึงแม้มันจะยิงเครื่องบินขับไล่ทั่วๆไปได้เช่นกันแค่ผมมองว่าไม่คุ้มอยู่ดี แม้จรวดลูกนึงมันจะถูกกว่าเครื่องบินลำนึงก็เถอะ
ดังนั้นถ้าภัยคุกคามรอบบ้านเรายังไม่มี ballistic missile หรือเครื่องบินทิ้งระเบิดลำใหญ่ๆ แค่ Cruise missile จรวดร่อนระเบิดร่อน ก็เอาเล็กๆก็พอ s-300 ใหญ่ปายยยยย 5555
ปล.ผมเห็นด้วยกับท่าน Kitty นะเรื่องอาวุธของกองเรือที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก
ขอตอบคุณ Kitty70 ครับ มีเรื่องขำๆนิด อย่าโกรธกันนะครับ 5555+
"ทางทร.จะจัดหาได้ในปริมาณขนาดไหน จะสามารถมีเงินไปซื้อลูกจรวดได้เยอะขนาดไหน" ในความคิดของผมนะครับ ผมเชื่อว่ารัสเซียคงถ่ายทอดให้เราล่ะมั้งครับ แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ 55555+ กร๊ากกกกกกกกกๆๆๆๆๆๆ
ถ้าเอา Buk ไปขึ้นเรือ ทำได้ทำไปนานแล้ว ถ้าเอาระบบจรวด Buk มาติดบนเรือฟรีเกตได้นะ แต่เสียดายเรือฟรีเกตไม่ได้อิงระบบรัสเซีย
ขอพูดอะไรนิดนึงนะครับ บางทีผมอาจจะชอบอาวุธรัสเซีย แต่จะไม่ให้กระทบความเห็นของคนอื่นมากไป
ต้องดูการขยายตลาดของ Rosoboronexport ด้วยครับว่าเค้าจะเสนออะไรให้เรา จะเสนอแต่ SAM หรือไม่อย่างไร เอาล่ะ ไม่ขอพูดเรื่องอาวุธอื่น ผมมีความเห็นว่า ทร.ก็คงซื้อ Buk มา 1 ระบบก็เป็นได้ เพื่อลองดูประสิทธิภาพในตัวมันว่าดีขนาดไหน ยังไงก็ต้องดีอยู่แล้ว แต่อาจจะมีข้อด้อยบ้าง ทุกอย่างย่อมได้ไปอย่างเสียไปอย่าง
SAM ของรัสเซีย ก็ไม่ใช่งุๆปลาๆเด้อ 5555+
แล้ว S-350E นี้ถือว่าน่าสนใจเปล่าครับ เห็นเป็นตัวใหม่ด้วย