A new version of Elbit Systems’ Autonomous Truck Mounted howitzer System (ATMOS) 155 mm/39-calibre SP artillery system was developed for the Royal Thai Army (RTA), in cooperation with Thailand’s military industrial complex. A first unit comprising six CAESAR 155mm/52 caliber guns is currently in service. The ATMOS platform is designed to operate the 155mm/52 caliber tube, but in Thailand the Army opted for the 155mm/39 caliber howitzer using a 6×6 truck. The ATMOS has already been demonstrated implemented on 8×8 trucks, carrying 54 caliber guns.
The new 6×6 configuration of the ATMOS was designed to address the Thai Army requirements. Photo: Elbit Systems
The RTA is expected to field a second battery of truck-mounted howitzers. It is designed with a low silhouette making the camouflaged vehicle indistinctive on road travel. Many of the gun’s systems are automated, enabling operation by a crew of three personnel. The ATMOS system is fully integrated with Elbit Systems’ command and control and various systems enabling to reduce the workload the crew is faced with.
The prototype development has recently been completed in Israel and was demonstrated in firing series prior to delivery to the customer. Follow-on production systems will be built in Thailand. The current requirement is for six systems. The development has been underway since 2012.
The RTA currently operates a battery of six Nexter Systems CAESAR 155 mm/52-calibre (6×6) SP artillery systems and it had been expected that additional systems would be ordered to form a complete regiment of 18 weapons.
According to Jane’s Defense Weekly, the SPGs will be produced at the Thai Army Artillery and Mortar Production Division of the Royal Thai Army’s (RTA’s) Weapon Production Centre (WPC). The locally produced guns are expected to be delivered by the military factory in 2015.
In India, Elbit Systems and Bharat Forge are promoting the ATMOS to meet the Indian Army MGS requirement. The two companies are also collaborating in other artillery modernization programs in India, including the up-gunning of 130mm M46 to 155mm/45 Caliber. The program offers the Army operators improved logistics through the lifespan of the gun.The two partners are also pursuing the Indian 155mm/52 Autonomous Towed howitzer requirement offering the ATHOS towed gun system. As an autonomous weapon platform ATHOS integrates a highly sophisticated and accurate navigation and positioning system, comprising an inertial navigation system, global positioning and on-board firing computer offering maximum flexibility and efficiency. Automated ammunition loading system to accelerate firing series and minimize the exposure of the gun in the firing position.
http://defense-update.com/20140206_elbit-systems-debut-new-variant-atmos.html
ในเนื้อข่าวบอกเป็นรุ่นรถ 6x6 ไม่ทราบว่าจะได้เป็นรุ่นนี้
หรือว่าเป็นรุ่นนี้ครับ เพราะเป็น 6x6 เหมือนกัน
โดยส่วนตัวชอบตัวแรกมากกว่า เพราะระบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด
แต่รุ่นหลัง ดูจากคลิปแล้ว น่าจะเป็นระบบกึ่งอัตโนมัตินะครับ
เท่าที่อ่านจากเนื้อข่าว ทาง ทบ. เลือกลำกล้องขนาด 155มม/39 แทนที่จะเป็นลำกล้องมาตรฐาน ATMOS ที่เป็น 155มม/52 แต่ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรเพราะไปหาข้อมูลดูก็เข้าใจว่ามันมี 2 ขนาดให้เลือกตามแต่ลูกค้าจะสั่ง ส่วนเรื่องที่กลัวว่าจะได้ระบบกึ่งอัตโนมัต ตามเนื้อข่าวบอกว่าเป็นแบบอัตโนมัตทั้งหมด และใช้พลประจำแค่ 3 นาย ตามที่ทาง ทบ. ไทยต้องการ ตามข่าวบอกว่าตัวต้นแบบเสร็จแล้ว และกำลังทดสอบการยิงอยู่ เพื่อจะส่งมาที่ไทยและให้ไทยผลิตเองที่เหลือตามที่ต้องการทั้งหมด 6 คัน
มีข้อสงสัยครับ
ทำไมเราถึงเลือก 155/39 แทนที่จะเป็น 155/52 ที่ยิงได้ไกลกว่า
เพราะเราจะเอาปืนใหญ่ที่มีอยู่แล้ว M198 ที่เป็น 155/39 มาใส่หรือเปล่า เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือเปล่า
แล้วมันจะเป็นการเสียดายโดยใช้เหตุหรือเปล่า เพราะในสงครามล่าสุด เราจะพบว่าใครยิงได้ไกลกว่า แม่นกว่าได้เปรียบ
ปล. แต่ถ้าจะทำเป็นปริมาณมาก สัก 36 หน่วยยิง อันนี้ไม่ว่ากันรับได้ ถือว่าเป็นการเอา M198 ที่มีอยู่มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยส่วนตัวแล้ว อยากให้ กองทัพบก สนับสนุนโครงการวิจัย ปืนใหญ่อัตตาจร 155 มม.ของเรา เพราะถือว่าพัฒนากำลังไปได้สวยแล้วครับ
เหลือแต่จัดหาเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยมาเสริม เช่น ระบบ loader หรือ ระบบ lock พิกัดยิง แบบ gps ระบบค้นหาเป้ายิงอัตโนมัติ อะไรพวกนี้มาเสริม ผมว่าการพัฒนาอาวุธสมัยใหม่ทุกวันนี้ ถ้าคิดทำคนเดียวประสพผลสำเร็จยากครับ.. เราต้องหา connection กับหลายๆ ส่วน ท้ังนักวิชาการที่มีความรู้ในสายน้ันๆ รวมถึงภาคเอกชนที่เค้ามีเครื่องไม้เครื่องมือ หรือมีเทคโนโลยี่ในการผลิตอุปกรณ์บางส่วนอยู่แล้ว ก็น่าจะเสริมให้โครงการวิจัยหลายๆ โครงการของเราก้าวหน้าได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การสนับสนุนที่จริงจังจากผู้บังคับบัญชาหรือจากหน่วยงานวิจัยเอง
ผมมองว่า นี่เป็นการแก้ปัญหาที่ดีเลยทีเดียวนะครับ ลองนึกดูนะครับว่าเรามี M-198 ขนาด 155/39 อยู่ตั้งมากมาย การที่เราพยายามเอาของที่มีอยู่มาประยุกต์ และสามารถทำได้เองนั้นจะทำให้เรายืนบนขาของตนเองได้ อีกทั้งยังช่วยให้เราใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราเห็นว่าการยิงตอบโต้ได้ด้วยความแม่นยำนั้น ทำให้เราเหนือกว่าอย่างชัดเจน แม้ระยะยิงจะไม่ไกลกว่ากันมาก ในทางปฏิบัติเราสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยยุทธวิธีที่ใช้ โดยเราใช้การเคลื่อนย้ายและตั้งยิงได้อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว ด้วยอัตราการยิงที่เหนือกว่า รวมกับความแม่นยำของระบบเรดาร์ + คอมพิวเตอร์คำนวนทิศและระยะ + ระบบควบคุมการยิง เราสามารถเข้าสู่ที่ตั้งยิงและทำการยิงได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็เคลื่อนย้ายเปลี่ยนตำบลที่ตั้งยิงในทันทีที่ยิงเสร็จ แค่นี้ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่สามารถยิงตอบโต้เพื่อทำลายปืนใหญ่ของเราได้ โดยไม่จำเป็นต้องพยายามตั้งฐานยิงให้ห่างไกล ซึ่งจะทำให้ความแม่นยำลดลง ในอนาคตเราก็สามารถผลิตรุ่นที่เป็นลำกล้องยาว 52 cal. ได้ไม่ยาก แค่สั่งซื้อชุดปืนใหญ่ลำกล้องยาวมาประกอบเข้ากับระบบเดิม หรือไม่แน่เราอาจสามารถผลิตลำกล้องได้เองด้วยนะครับ
สาเหตุที่เราซื้อ ATMOS ก็เพราะว่ามันมีออปชั่นในการถ่ายทอดเทคโนโลยีไงครับ เพราะว่านอกจาก ตัวต้นแบบแล้วที่เหลือเราทำเองหมดภายในประเทศไทยครับ ถือเป็นการพัฒนาเพื่อต่อยอดในการผลิต ป.อัตตาจรของตัวเองในอนาคต
ส่วนเรื่องที่ทำไม ทบ. ไทยเลือกขนาดลำกล้อง 155มม/39 แทนที่จะเป็น 155มม/52 เดาเอานะครับ เดาเอาว่าทางโรงงานของไทยอาจจะมีศักยภาพที่จะผลิตลำกล้อง 155มม/39 อยู่แล้ว แต่ถ้าจะผลิตลำกล้องขนาด 155มม/52 อาจจะต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่อะไรประมาณนี้รึเปล่าเลยเลือกแบบ 155มม/39 ที่ทำเองได้อยู่แล้วเดาล้วนๆครับ
ไม่แปลซักหน่อยเหรอครับท่านภูเอาแค่พอเนื่้อก็ได้
ความคืบหน้ากองทัพเรือผม เรือ0PVยาว78เมตรเสร็จแล้ว เหมือนกันกับเรือตรวจการณ์ปืนยาว48และ62เมตร เรือเร็วโจมตีsemi stealth52เมตร เรือฟริเกตอเนกประสงค์รุ่นเก่า(นเรศวรโมดิฟาย) เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำที่กำลังต่อใหม่ เรือLPDทั้งแบบดาดฟ้าเรียบและแบบธรรมดา เมื่อวานเพิ่งได้เรือเร็วโจมตีปืนรุ่นเก่าสร้างตั้งแต่ปี1986 พร้อมรุ่นปรับโฉมปี2006 ยังทำเรือฟริเกตAAWไม่เสร็จ กับเรือคอร์เวตรุ่นเก่าและเรือช่วยรบอะไรพวกนี้ เรือบรรทุกเครื่องบิน911ว่าจะไม่เอาขอคิดหนักๆก่อน
แต่ปัญหาใหญ่คือจะตั้งชื่อเรือว่าอะไรดีฟระ ได้หมายเลขแล้วแต่ชื่อนี่ยากที่สุดเลย เหอๆ
จากเนื้อข่าว น่าจะเป็นการผลิตขึ้นใหม่ มากกว่าการนำเอา M-198 มาพัฒนานะครับ
สำหรับเหตุผลที่เลือกขนาด 155/39 น่าจะมาจากข้อจำกัดในการผลิตลำกล้องปืนของทาง ศอว.ศอพท.เองหรือไม่ ??
ผมว่าที่กองทัพบกเลือกแบบ 155/39 เพราะ ศอว.ศอพท. มีแบบสำหรับผลิตของปืน 155/39 อยู่แล้ว(เคยเห็นผ่านๆตาอยู่)
เลยทำให้ไม่ต้องซื้อเทคโนสำหรับผลิตปืน L52 เพิ่ม
http://icy2527.livejournal.com/1416.html ผมก็ไม่ใช่คนเก่งภาษาอังกฤษเลยแปลไม่ค่อยได้ แต่ในลิงค์นี้ของไทยใช่มั้ยครับ
155/39 ยิงได้ไกล 30 กม. 155/52 ยิงได้ไกล 41 กม. ต่างกันถึง 11 กม. ผมว่ามันเยอะอยู่นะ
อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยเลือก 155/39
When fitted with a 155 mm/39-calibre ordnance with a chamber volume of 16.85 litres, the maximum range is quoted as 30 km firing an extended range full bore base bleed (ERFB-BB) projectile.
When fitted with a 155 mm/45-calibre ordnance and with a chamber volume of 23.55 litres, maximum range is quoted as 39 km firing an ERFB-BB projectile.
The longest range of 41 km firing an ERFB-BB projectile is obtained when the system is fitted with a 155 mm/52-calibre ordnance.
http://icy2527.livejournal.com/1416.html ผมว่าดูจากชื่อคนเขียนบทความแล้ว
น่าจะเป็นชื่อคนมีชื่อเสียงของคนสนใจเรื่องแวดวงอาวุธนะครับ
ท่านเป็นผู้รู้จริงและให้ความรู้กับพวกเราบ่อยๆ ทั้งใน TFC, TAF และ Military technology lover club
เจอที่มาว่าทำไมเป็น 155/39 แระ
น่าจะเป็นการต่อยอดจากโครงการณ์เดิมหรือเปล่า ที่เราเอา Soltam M71 ไปทำปืนใหญ่อัตราจร ใส่บนรถบรรทุก แต่ยังไม่มีระบบอำนวยการยิง คราวนี้ก็เลยมาร่วมมือกับ Ebit มาทำระบบอำนวยการยิงให้
kitty70 เมื่อวันที่ 10/02/2014 12:35:00
อ่านดูแล้ว ไม่สงสัยในเรื่องว่าทำไมเอามาแค่ 155/39 เพราะให้มันเหมือนกับ ปอจ.ที่เรากำลังพัฒนา จะได้ต่อยอดกันได้
แต่ข้องใจปัญหาเรื่องระยะยิง แต่ 30 กิโล ผมว่าสั้นไปนิด น่าจะได้สัก 40 กิโล ไม่งั้นเจอนักเลงคีบอร์ดด่าเหมือนoplot อีก อิอิ
ระยะยิงทำให้ได้เปรียบ แต่มันไม่ได้จบแค่ใครยิงได้ไกลกว่าชนะหรอกครับ
จำนวนก็สำคัญ การที่จะมีจำนวนเยอะๆได้ สายการผลิตต้องมีความเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้ง่ายต่อการผลิตและขนส่ง
ต้นทุนการผลิตก็สำคัญ ต้นทุนต่ำกว่าก็ผลิตได้จำนวนเยอะกว่าโดยใช้วัตถุดิบเท่าๆกัน
..
การมีระยะยิงที่เหมาะสม มียุทธวิธีที่ดีกว่า ปริมาณที่เพียงพอ และสามารถส่งกำลังบำรุงได้ดีเยี่ยม คงเป็นหลักคิดของการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งผมสนับสนุนแผนนี้ของ ทบ
ขอบคุณความเห็นของเพื่อนๆครับ หายข้องใจแล้วว่าทำไมต้องรุ่นคาลิเบอร์ 39 ทั้งๆที่มีรุ่น 52 คาลิเบอร์ให้เลือกซื้อด้วย
กะจะมาเอาต่อยอดของที่กำลังพัฒนาอยู่นี่เอง และปืนใหญ่ของเก่าที่มีอยู่มากก็คาลิเบอร์ 39 ด้วย ถ้าได้องค์ความรู้สำหรับการพัฒนาระบบควบคุมการยิงและระบบป้อนกระสุนทั้งหมดมา การพัฒนาก็ง่ายขึ้นมาก สามารถผลิตตัวรถและระบบควบคุมการยิงการป้อนกระสุนได้ โดยยังมีตัวปืนของเก่าพร้อมให้โมดิฟายด์ ใช้เงินไม่มาก และเป็นการ upgrade ของเก่าเดิมให้ดีขึ้น
เมื่อต้องการรุ่น คาลิเบอร์ 52 ก็สามารถทำการต่อยอดได้ทันที ส่วนตัวปืนใหญ่ 155/52 ก็ไปเลือกแบบเอาทีหลังแล้วขอสิทธิบัตรการผลิตตัวปืนใหญ่ได้ เอาหัวใจของระบบมาก่อนว่าง่ายๆ
สนับสนุนครับ.....
มีโอกาสเอาเลยครับ
เอาไรมาก ปืนใหญ่m-114ระยะยิงแค่14.5กม.(เทคโนโลยีสมัยสงครามโลกครั้งที่2)ยังยืนสู้กับปืนใหญ่130มม.ที่มีระยะยิงถึง27กม.(เทคโนโลยีสมัยสงครามเกาหลี)ได้ทั้งในสงครามเวียดนามกะสงครามกลางเมืองในลาวได้เลย ทั้งที่ระยิงห่างกันครึ่งต่อครึ่ง
ละตกลงโครงการนี้เป็นการดัดแปลงปืนใหญ่เก่าหรือว่าซิ้อของใหม่มาประกอบกันแน่งง เพราะมีข่าวหลายที่หลายกระแสมาก