แปลคร่าวๆนะครับ วันที่14 มกราคม 2557 ประเทศแอฟริกาใต้ บริษัท Diehl Defenceประสบความสำเร็จในการทดสอบการยิงจรวดต่อสู้อากาศยานIRIS -T SLMโดยใช้เรดาร์CEAFARรุ่นใหม่ การทดสอบครั้งนี้ได้รับความสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมเยอรมันและกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย โดยมีแขกรับเชิญจำนวน90คนจาก16ประเทศทั่วโลกร่วมชมด้วย(มีของไทยไหมนะ)
ในการทดสอบมีการเปิดระบบทุกอย่างเหมือนจริง ระบบIRIS -T SLMสามารถตรวจจับอากาศยานขนาดเล็ก DO DT-25 และทำลายได้ที่ระยะ20กิโลเมตร ระหว่างที่จรวดยิงออกไปมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่างตัวจรวดกับเรดาร์ผ่านระบบdatalink จนถึงระยะที่ระบบค้นหาเป้าหมายโดยอินฟาเรดของจรวดทำงานและพุ่งเข้าทำลายเป้าหมายในการยิงนัดแรก ทั้งระบบhardwareและsoftwareสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบ จึงถือได้ว่าการทดลองครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างงดงาม
แปลกใจพอสมควรที่เจอ CEAFAR แทนที่จะเป็นเจ้ายีราฟคอยาวเหมือนทุกเคย ไอเทมลับโผล่ออกมาอีกแล้วผู้เล่นหน้าใหม่ถูกส่งลงสนาม ความเห็นส่วนตัวในเรื่องนี้วิเคราะห์ได้2แนว ถ้าเป็นบ้านเราจะพูดว่าIRIS -T SLMจะไปลงในเรือผ่านระบบVLSซักรุ่น แต่ในต่างประเทศจะคุยกันไปในแนวว่า CEAFAR กำลังจะบุกขึ้นบก ถ้าดูตามภาพก็น่าจะเป็นไปได้สุงกว่าที่ออสเตรเลียสนใจระบบหน้าตานี้เป๊ะๆเพราะเรดาร์เป็นของในประเทศเขา ส่วนเยอรมันผมไม่ค่อยแน่ใจนักอาจเป็นแค่การร่วมแจมหรือเป็นผู้เล่นลึกลับของจริงก็ได้
Diehl Defence successfully demonstrated its Ground Based Air Defence System IRIS-T SLM in the presence of international experts and military representatives from 16 nations at the Overberg Test Range in South Africa on January 14, 2014.
The IRIS-T SLM Ground Based Air Defence System is characterized by its modular design and open system architecture. In the current campaign, IRIS-T SLM consisted of the new CEAFAR radar of CEA Technologies, Australia, a Tactical Operation Center (TOC) employing both the BMD-Flex command, control and communication system of Terma A/S, Denmark, and the Oerlikon Skymaster battle management system of Rheinmetall Air Defence, Switzerland as well as the IRIS-T SL launching station with Diehl Defence missiles. All elements were integrated into the system by the Diehl Defence Sensor, Fire, and Weapon Control.
IRIS-T SLM detected the low flying target drone of type DO DT-25 and established a stable track which was classified as hostile. The missile was launched at a distance of about 20 km and intercepted the target with a direct hit. During the entire flight, target data updates from the radar were provided to the missile through the data link allowing the infrared seeker to lock onto the target in flight for the endgame. All hardware and software components performed flawlessly.
For the first time, Diehl Defence demonstrated the full functionality of the IRIS-T SLM system comprising its own setup for radar, TOC and launcher in a real live firing. This event followed two successful test firings carried out last November, during which the IRIS-T SL launcher and missile were tested as part of the German development contract of Diehl Defence with the German Federal Office of Bundeswehr Equipment, Information Technology and In-Service Support (BAAIN Bw).
The IRIS-T SLM demonstration firing was supported by the German Ministry of Defence and the Australian Department of Defence. Close to 90 visitors from around the world witnessed the live firing demonstration inside the test range control center and were informed in detail about the operational capabilities and the technical details of the Ground Based Air Defence system during the test campaign.
พิสัยยิงจริงๆ ซักเท่าไหร่กันท่าน 20 กม นี่ยังถือว่าเป็นพิสัย ใกล้อยู่ใช่มั้ย
ตามข้อมูลรุ่นSLMจะยิงได้ไกลประมาณ40กม.(เพราะเยอรมันจะเอามาแทนแพทริออต คงจะเป็นในส่วนการป้องกันระยะกลางมากกว่าระยะไกล) โดยในช่วงแรกจะนำวิถีจากเรดาร์ผ่านระบบGPSที่ติดไปด้วย และในระยะสุดท้ายจรวดจะล๊อคเป้าด้วยระบบอินฟาเรดก่อนพุ่งเข้าทำลาย จึงน่าจะเป็นITIS-Tรุ่นที่ยิงได้ไกลที่สุดและยาวที่สุดด้วย
ใกล้ฮะ
เยอรมันไม่ได้เอาIRIS-T SLM มาแทนPAC-2/3 นะ
เยอรมันจะจัดหาMEADS มาแทนPAC-2/3
และลูกอวป.และแท่นยิง SL จะมาในฐานะตัวเชื่อมระหว่างระบบSysFlaกับMEADS ดังนั้นSL จะใช้ในลักษณะของPlug and Fight คืออินทิเกรตเข้ากับระบบMEADSก็ได้ หรือ จะไปใช้Sensorของตัวเอง เป็นระบบเดี่ยวอย่างSLM ก็ได้
IRIS-T SL เป็นลูกอวป.พิสัยกลาง 40กม.
IRIS-T SLM เป็น IADS (Integrated Air Defense System) ของSL
IRIS-T SLS เป็นลูกอวป.IRIS-Tแบบไม่ได้ดัดแปลง พิสัย......ลืม สามารถใช้ร่วมกับMEADSหรือเป็นIADSได้เหมือนSL
Iris-T SL : จรวด Iris-T Surface Launch รุ่นยิงจากผิวพื้น (พื้นดินหรือผิวน้ำ)
Iris-T SLM : ระบบป้องกันภัยทางอากาศ "พิสัยกลาง" ที่ใช้ตัวจรวด Iris-T SL (M = Medium Range)
ตามข้อมูลของบริษัท Diehl Defence นั้นระบุว่า
จรวด Iris-T SL มีพิสัยยิงไกลสุด ~40 กม. จากการปรับปรุงมอเตอร์ดินขับ และ อากาศพลศาสตร์ของตัวจรวด (กรวยฝาครอบเรียวแหลม) Iris-T
กลไกการทำงานของระบบนำวิถี จะใช้ข้อมูลเป้่าหมายจากระบบเรดาร์ก่อนปล่อย และระหว่างการโคจรช่วงแรก ผ่านระบบ 2 Ways Datalink โดยอ้างอิงตำแหน่งด้วย GPS/INS เมื่อเข้าสู่ระยะการตรวจจับล๊อคเป้าของระบบ IR Imaging ที่หัวจรวดจะทำงานและนำส่งจรวดเข้าสู่เป้าหมาย (Lock-On After Launch)
ปล. กดตอบปุ๊บ เจอโพสของท่าน Icy_CMU แทบเงิบเลยผม 555
ขออนุญาตเสริมข้อมูลนะครับ Iris-T SLS ใช้ลูกจรวดรุ่น Iris-T (AIr to Air) มีพิสัยยิง 20 กม. ครับ
เปิด Wiki เห็นบอกไทยสั่งซื้อ Buk 2 ระบบ ข่าวจริงรึเปล่าอ่ะ(นอกเรื่องนิดนะ)
ขอจิ้นต่ออีกหน่อยนะครับ คือผมคิดเองว่าเจ้า Iris-T SL นี้มันน่าสนใจ น่าเอามาใช้งานได้หลากหลายมาก เช่น เอากลับไปติดตั้งกับบ.น่าจะได้ AAM ที่มีพิสัยยิง >40 กม. หรือจะเอามาติดตั้งกับเรือผิวน้ำ อย่างรล.นเรศวร , เรือฟริเกตสมรรถนะสูง หรือ รล.จักรีฯ เพื่อช่วยปิดข้อจำกัดของระบบ ESSM ที่ต้องใช้เรดาร์ชี้เป้าตลอดเวลา แล้วยังสามารถใช้เป็น CIWS เหมือนระบบ RAM ได้ด้วย เพราะระบบการทำงานที่คล้ายกันมาก และมันถูกออกแบบมาให้ใช้ยิงทำลาย อาวุธปล่อย จรวดร่อน หรือแม้แต่ UAV ที่มีขนาดเล็ก บินในระดับต่ำมาก ได้เป็นอย่างดี (ถ้าจะเอารุ่น Iris-T ธรรมดาก็ยังดีนะครับถ้าราคามันถูกกว่ามากๆ) ปัญหาคือ มันจะมี Quad Pack Canister ที่จะเอาไปยัดลงใน Mk.41 VLS ได้ด้วยหรือไม่ ???
ข้อมูลท่านไอซ์ครบถ้วนที่สุดแล้วหละครับอย่าจำมาแค่ครึ่งๆกลางๆอย่างผมนะ บอกตรงๆว่าจำ SLS SL SLM ไม่ได้เสียที ถ้าท่านไอซ์ไม่มาทักผมก็ยังจำว่าSLMคือตัวจรวดอยู่เลยนะเนี่ย ทั้งที่เนื้อข่าวก็บอกว่าเป็นระบบอยู่แล้ว ตั้งชื่อแยกไปหน่อยได้ไหมซาป
แต่ถ้าCEAFARได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในระบบMEADSจริงๆถือเป็นก้าวสำคัญในการขึ้นบกของCEAเลยนะเนี่ย เป็นไปได้ไหมครับ