หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพอากาศไทยจะดำเนินโครงการฝึกนักบินขับไล่หลังตั้งรัฐบาลใหม่

โดยคุณ : apinunfluke เมื่อวันที่ : 03/02/2014 22:43:49

 

กองทัพอากาศไทยจะดำเนินโครงการฝึกนักบินขับไล่หลังตั้งรัฐบาลใหม่ - เมื่อ 22 ม.ค.57 น.อ.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศกล่าวว่า กองทัพอากาศคาดว่าจะดำเนินโครงการฝึกนักบินขับไล่ หรือ Lead-In Fighter Trainer (LIFT) มูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังตั้งรัฐบาลใหม่ โดยอากาศยานใหม่จะนำมาทดแทนเครื่องบินฝึก Northrop F-5 และเครื่องบินฝึกโจมตีเบา Aero L-39 Albatros โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะซื้อเครื่องบินฝึกจำนวน 16 ลำ การจัดซื้อในโครงการนี้ได้กลายเป็นเรื่องด่วนตั้งแต่กองทัพอากาศได้มีเครื่องบินรบ JAS 39 Gripen จำนวน 12 ลำ เข้าประจำการ ที่ส่งมอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2556 ในขณะนี้ใกล้จะถึงขั้นตอนของการประกวดราคานานาชาติ แต่ต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากรัฐบาลได้ยุบสภาไปแล้ว จึงต้องรออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลใหม่ โดยสำนักข่าว Jane’s เข้าใจว่าจะมีเครื่องบินรุ่นต่างๆ ที่จะเข้าร่วมประกวดราคาในครั้งนี้ ได้แก่ เครื่องบิน T-50 จากบริษัท Korea Aerospace Industries เครื่องบิน Hawk จากบริษัท BAE Systems เครื่องบิน L159 จากบริษัท Aero เครื่องบิน M-346 จากบริษัท Aermacchi และเครื่องบิน L-15 Falcon จากจีน ส่วนโครงการจัดซื้ออากาศยานอื่นๆ ของกองทัพอากาศก็จะมีการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen เพิ่มเติมอีก 6 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 เพิ่มเติมสำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัย/Jane’s

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=187446971464780&set=a.186726204870190.1073741880.150885401787604&type=1&theater

http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=484%3Adefence-news-around-the-world-27-31-jan2014&catid=3%3Adefense-news&Itemid=3





ความคิดเห็นที่ 1


เป็นโครงการที่สำคัญมากอีกโครงการหนึงเลยนะครับเนี่ย 

ผู้เข้าร่วมก็ดูมีภาษีดีกันหมดเลย ที่เด่นๆ ก็คงหนีไม่พ้น T-50 กับ M-345 ละมั้ง

มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับนักรบทั้งหลาย

โดยคุณ RPG เมื่อวันที่ 28/01/2014 12:04:24


ความคิดเห็นที่ 2


ได้เครื่องจีน + ออปชั่นประกอบในประเทศจะโอรึป่าวนะ แแต่ส่วนตัวแล้วไม่ชอบเครื่องแบบเป็ดเหมือน L159 รึว่า ซุปเปอร์เป็ดแบบ T50 เลย ถ้าจะเอาเป็น บ ฝึก ก็อยากได้เป็นฝึกจริงๆ
โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 28/01/2014 12:28:00


ความคิดเห็นที่ 3


ขอแก้ไขนิดนึงนะครับ

น.อ.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ..นั้น ความจริงท่านเป็น "ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ 

ส่วนโฆษกกองทัพอากาศคือพลอากาศโท มณฑล สัฌชุกร ครับ และสอบถามแล้ว น.อ.ประภาส ฯ ไม่เคยให้สัมภาษณ์กรณีนี้(ข้อมูลจากท่านท้าวทองไหลครับ)

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 28/01/2014 13:35:05


ความคิดเห็นที่ 4


ข่าวดีนะ แจ่มๆ ส่วนตัวผมเชียร์ m346 หรือ t-50 หรืออะไรก็ได้ที่มันเสร็จเรียบร้อยแล้ว 

L-15 นี่เห็นหน้าตาเหมือน m346 (ก๊อปมาเปล่าวะ ฮา) แต่ตอนทำล่าช้าเละเทะจนรัฐบาลจีนไปใช้เครื่อง jl-9 ที่เทคโนโลยี่ใหม่เอี่ยมอ่อง (ฮา) พัฒนามาจากตระกูล mig-21 (เก๋ามาตั้งแต่รุ่นพ่อ) 

L-15 ยังเป็นโปรโตไทป์บินๆ กันอยู่เลย 

ส่วน m346 ได้รับใบรับรองจากรัฐบาลอิตาลีแล้ว ทอ. อิตาลี อิสราเอล สิงคโปร์ ซื้อกันแล้ว น่าไว้ใจ แถมนาโต้อีกต่างหาก ดีไม่ดีอิสราเอลจะโมฯ ต่ออายุยามแก่เฒ่าชราให้เราได้ใช้บริการอีกต่างหาก

 

@คุณ fulcrum37 มันก็เป็ดกันทุกเครื่องรวมถึงของจีนเช่นกัน

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 28/01/2014 14:32:16


ความคิดเห็นที่ 5


ผมว่าหวยออกเกาหลีครับ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 28/01/2014 15:23:33


ความคิดเห็นที่ 6


   ตัวเต็งก็คง  T-50  กับ  M-346  นั่นแหล่ะครับ      น่าแปลก  L-15  มาแจมกับเขาด้วย   

L-15  พัฒนาร่วมกัยระหว่างบริษัทจีนกับทางรัสเซียที่เป็นสำนักออกแบบ  Yak-130  ดังนั้นจึงหน้าตาไม่หนีกันมากครับ    แต่ L-15  จะเป็นเครื่องฝึกความเร็วเหนือเสียง  yak-130 เป็นเครื่องฝึกความเร็วต่ำกว่าเสียงครับ         ผมว่าคราวนี้ L-15 คงเสนอราคาน่าจะต่ำที่สุดในเครื่องที่เสนอตัวเข้ามาคราวนี้นะ

ครั้งก่อนตอนจัดหา  L-39   ผมยังคิดว่า  Hawk  จะชนะเลย   แต่ติดที่ราคา   จนกลายเป็นว่า  L-39  เข้าวิน      งานนี้ผมว่า ทอ.คงต้องการ   M-346  มากกว่า     แต่ก็คงเจอปัญหาเดิมๆ......เงิน......อาจจะเปลี่ยนแปลงไปกว่าที่คิด    ..........ว๊าก ก ก .....L-15  เข้าวิน

 ว่าแต่  400  ล้านเหรียญสำหรับ  16  เครื่อง   ตกเครื่องละ  25 ล้านเหรียญ    ว่ามะมันราคาเครื่องเปล่าของ........T/A-50.....หุหุหุหุ..........

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/01/2014 22:37:11


ความคิดเห็นที่ 7


   จาก wiki  ระบุว่าอินโดนีเซียจัดหา  TA-50  จำนวน  16  เครื่องในราคา   400  ล้านเหรียญ  หรือ 25 ล้านเหรียญพอดีๆ

Indonesia had been considering the T-50, along with four other aircraft to replace its BAE Hawk Mk 53 trainer and OV-10 Bronco attack aircraft.[70] In August 2010, Indonesia announced that T-50, Yak-130 and L-159 were the remaining candidates for its requirement for 16 advanced jet trainers.[71] In May 2011, Indonesia signed a contract to order 16 TA-50 aircraft for US$400 million. The aircraft is to feature weapons pylons and gun modules, enabling light attack capabilities.[4][72] The Golden Eagles are to replace the Hawk Mk 53 in Indonesian Air Force service.[73] Indonesia's version has been designated T-50i. Deliveries began in September 2013.[74] The last pair of T-50i aircraft were delivered on 25 January 2014.[75]

 

ส่วนดีลสิงคโปรจัดหา  M-346   จำนวน 12 ลำนั้น   ตัวโครงการทั้งโครงการซึ่งมี

1.  เครื่องบินฝึก  12  เครื่อง

2.  ศูนย์ฝึกใหม่ 

3.  อะไหล่

ราคาโครงการ  410 ล้านเหรียญ  ตกเครื่องละ  34.2 ล้านเหรียญ     แต่ทาง  Aermacchi  บอกว่าจะมีส่วนได้จากโครงการนี้  340  ล้านเหรียญ   ซึ่งน่าจะเป็นการขายเครื่อง  M-346 เปล่าๆให้  หรือตกเครื่องละ  28.3 ล้านเหรียญ    

เวปอ้างอิง   http://www.flightglobal.com/news/articles/singapore-confirms-order-for-m-346-trainer-347885/

 

       ดังนั้นจากราคาอ้างอิงตรงนี้มีแนวโน้มจะเป็น  TA-50  มากกว่า  M-346

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/01/2014 22:55:02


ความคิดเห็นที่ 8


  ส่วนกรณี  M-346  จำนวน  30  เครื่องที่ขายให้อิสราเอลนั้น   ทั้งโครงการมีมูลค่า 1,000  ล้านเหรียญ    แต่ทาง  Alenia  Aermacchi ประกาศว่าตนมีส่วนแบ่งในโครงการ  600  ล้านเหรียญ  หรือตกเครื่องละประมาณ  20  ล้านเหรียญเท่านั้น   ส่วนอีก 400  ล้านเหรียญที่เหลือน่าจะเป็นส่วนศูนย์ฝึกและอื่นๆ 

July 19/12: M-346 Deal Finalized. Italy and Israel sign a set of 2-way defense deals. Israel will get 30 M-346 trainers, for delivery beginning in mid-2014. It’s a $1 billion deal, with Alenia’s share announced at around $600 million. Israel will join Italy and Singapore as M-346 operators.

 

 

    แต่มีการลงนามของทางกระทรวงกลาโหมอิสราเอลกับบริษัทภายในประเทศ 2 บริษัทคือ  Elbit และ IAI  ในการสนับสนุนโครงการนี้อีก  603  ล้านเหรียญ    เพื่อสำหรับการสร้างศูนย์ฝึก  และ ค่าใช้จ่ายการปฎิบัติการของศุนย์ฝึกตลอด 20 ปี   รวมถึงระบบ  avionics  สำหรับเครื่องฝึกใหม่ทั้ง 30  เครื่องด้วย  

Sept 10/12: TOR Agreement. The Israeli Ministry of Defense reaches a $603 million agreement with the IAI/Elbit TOR consortium, which will operate and maintain the Future Trainer Program’s M-346 jets and associated facilities. Overall, the workshare breaks down to about $420 million for Elbit, and (by inference) $183 million for IAI.

Elbit has received an initial $27 million interim purchase order to get things moving, and the full contract will be signed in the next few weeks, once the government finishes lining up the financing. During the program’s Establishment Phase, Elbit Systems will set up the support and maintenance infrastructure, as well as the simulators and the rest of the ground training array. They will also provide the jets’ advanced avionics systems. Total value for this phase is $110 million over 3 years.

During the operational phase, Elbit Systems will provide about $310 million (current dollars) of support services over the agreement’s 20-year lifespan. Elbit Systems external link.

 

     ดูๆแล้วทั้งโครงการน่าจะเกินงบประมาณ 1000 ล้านเหรียญที่ตั้งเอาไว้   เพราะแค่สองส่วนนี้ก็กว่า 1200 ล้านเหรียญแล้วครับสำหรับ 30 เครื่อง  หรือประมาณ  40 ล้านเหรียญต่อเครื่อง    ซึ่งราคาพอๆกับ  FA-50  ที่ฟิลิปปินส์จัดหา   ซึ่งน่าจะเป็นราคารวมศูนย์ฝึกและการเมนเทนแนน   อะไหล่  ตลอด 20 ปี   เพราะฟิลิปปินต้องนับหนึ่งใหม่หมดในเรื่องการมีฝูงบินขับไล่ครับ

 

 

       ดูเหมือนว่าโครงการนี้ของอิสราเอลจะมีการจัดหาเครื่องจากอิตาลี   และระบบ เอวิโอนิคต่างๆจะมาจากบริษัทภายในประเทศ   และมีการลงนามความร่วมมือกันในด้านตลาดค้าอาวุธ   รวมถึงการต่างฝ่ายจัดหาของจากกันและกันด้วย     ดังนั้น  20 ล้านเหรียญต่อเครื่องที่  Aermacchi  ได้ไปนั้น    น่าจะไม่มีการรวมราคาระบบ  avionics  ต่างของเครื่องเลย    จะใช้ของอิสราเอลทั้งหมด    ซึ่งผิดกับทางสิงคโปร์ที่ซื้อหมดล้วนๆ     ดังนั้น   จะกล่าวว่า  M-346  ที่ขายให้อิสราเอลมีราคาแค่  20  ล้านเหรียญต่อเครื่องนั้นไม่น่าจะถูกต้องครับ    ต้องไปดูว่าระบบ เอวิโอนิคต่างๆที่ติดตั้งในเครื่องที่เป็นของ Elbit และ IAI นั้นมีมูลค่าทั้งหมดเท่าไร   จึงจะหาราคาค่าตัวจริงๆของ  M-346 ที่ขายให้อิสราเอลได้

 

     เห็นว่าโครงการนี้ดราม่ากันมาก    เพราะข้อมูลในตอนแรกเห็นว่าทางเกาหลีเสนอความร่วมมือในระดับสูงกับอิสราเอล    ถึงขนาดที่ว่าเกาหลีตัดสินในจัดหาเรด้าร์  EL/M-2032 มาใช้กับ  TA-50  และ  ทำการร่วมกันโมดิฟายด์เรด้าร์  EL/M-2032  ให้แรงยิ่งขึ้น (แรงกว่าเดิม 60% จากระยะตรวจจับเดิม 130 Km.  กลายมาเป็นประมาณ 200 Km.)    เพื่อใช้กับ  FA-50  ที่เกาหลีใต้สั่งซื้อชุดแรกอีกด้วย    และมีการถกเถียงกันอย่างมากในการจัดหา  M-346 คราวนี้   ซึ่งมาจบที่  M-346

เวปลิ้งบางส่วน (มันเยอะมาก)

http://www.defenseindustrydaily.com/israels-skyhawk-scandal-05105/

http://www.globes.co.il/en/article-1000725663

 

 

   ถ้าใช้  AN/APG-67 v4  กับ TA-50  ก็ได้ครับ   ประสิทธิภาพจะดีกว่า  EL/M-2032 นิดหน่อย คือประมาณ  150 Km.   ส่วนระบบเอวิโอนิดภายในจะเป็นของเกาหลีเป็นหลัก    แต่ก็รองรับ  NATO และของทุกอย่างในคลังของเราเช่นกันครับ  

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/01/2014 23:33:35


ความคิดเห็นที่ 9


  ฝูงถัดไปที่จะมาทดแทน  Alpha jet  และฝูงโจมตีที่ขาดไปอีก 1 ฝูง  รวมอีก 2 ฝูงบิน                ถ้าได้  FA-50  จะแจ๋วมากๆเลยครับ ประมาณ 30  ล้านเหรียญต่อเครื่อง  น่าเล่น( ดีลการจัดหาของ ทอ.เกาหลีใต้ต่อเครื่องประมาณนี้)     ส่วนดีลของฟิลิปปินส์นั้นสูงมาก  464 ล้านเหรียญสำหรับแค่ 12  เครื่องเท่านั้น  หรือเกือบ 40  ล้านเหรียญต่อเครื่องทีเดียว

     คิดว่าไม่ใช่แค่ตัวเครื่องครับ    น่าจะเป็นการรวมระบบฝึก  ศูนย์ฝึก  การเมนเทนแนนซ์ตลอด 20 ปี  และอะไหล่      เพราะในเวป  philippins  defense forum  เห็นบอกว่าทางเขาต้องมาดำเนินการตั้งต้นใหม่ทั้งหมดในเรื่องการใช้เครื่องบินขับไล่   ทั้งการฝึก LIFT ด้วย    เพราะขาดการประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่มานานทีเดียว

 

จากดีล  M-346 ของสิงคโปร์ที่ตกเครื่องละ  28.3  ล้านเหรียญนี้   ไม่มีระบบเรด้าร์ครับ     แต่ 25 ล้านเหรียญนี้รวมระบบเรด้าร์และ  ECM  แล้วด้วยแถมบินด้วยความเร็วเหนือเสียงและกำลังเครื่องยนต์ที่แรงกว่า   บรรทุกมากกว่า      แต่ถ้าเป็น  T-50  ตัวเปล่าไม่มีเรด้าร์  ก็ราคาแค่ 20-21  ล้านเหรียญเท่านั้น

    แต่ถ้าเพิ่มอีกนิดเป็น 30  ล้านเหรียญจะได้เรด้าร์แรงพอๆ APG-68 V4  ประมาณ 200-220 Km.   และเป็น  Fighter แท้ๆด้วยครับ    ราคาน่าต่อประสิทธิภาพเล่น

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 01/02/2014 00:00:39


ความคิดเห็นที่ 10


สอบถามนิดนึงครับ เรดาที่เราถอดจาก f-16 ก่อนทำmou เราต้องส่งกลับหรือเราเทอนอะไหล่กับของใหม่หรือไม่ครับ

ถ้าหากเรายังเก็บอยู่ เราสามารถซื้อแต่ตัวเครื่องแล้วใส่เรดาตัวนี้แทนได้หรือไม่

ผมคิดว่าภารกิจหลักของบ.ฝึกไม่น่าต้องใช้เรดาที่แรงมาก บางครั้งอาจทำการโจมตีภาคพื้นก็ตาม

โดยคุณ bird เมื่อวันที่ 01/02/2014 08:06:41


ความคิดเห็นที่ 11


mou= memorandum of understanding บันทึกความเข้าใจร่วมกัน

mlu= midlife upgrade อัพเกรดกลางชีวิต

เรดาร์ไม่น่าจะคืนน่าจะไว้เป็นอะไหล่ เดานะครับ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 01/02/2014 08:59:00


ความคิดเห็นที่ 12


แวบมาถามหน่้อยครับ หาไม่เจอ

เจ้าgun pod ของM-346มันรุ่นอะไร? แล้วถ้าจัดหาในการติดตั้งอาวุธนำวิถีระยะใกล้จะใช้AIM-9Mหรือต้องจัดหาAIM-9Xหรือใช้Iris-Tพร้อมtargeting pod ได้?

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 03/02/2014 22:43:49