อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ร่วมดำเนินโครงการเครื่องบินขับไล่ KFX - เมื่อ 7 ม.ค.57 ที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของฟิลิปปินส์กล่าวว่า อินโดนีเซียกับเกาหลีใต้ตกลงร่วมกันดำเนินโครงการเครื่องบินขับไล่ Korean fighter jet project Fighter Xperiment (KFX) /โครงการ Indonesian Fighter Xperiment ( IFX ) โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555 โดยเดือนธันวาคมในปีเดียวกันโครงการประสบความสำเร็จในการดำเนินการในขั้นตอนแรก คือ ขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Development Phase: TD) และอินโดนีเซียได้ส่งวิศวกร จำนวน 37 คน ไปยังเกาหลีใต้ ตามรายงานของกระทรวงกลาโหมของอินโดนีเซีย ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงความร่วมมือในโครงการดังกล่าวแต่อย่างใดแต่โครงการเกิดความล่าช้า อันเนื่องมาจากเกาหลีใต้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและรัฐสภาชุดใหม่ เมื่อ 3 ม.ค.57 รัฐบาลเกาหลีใต้ชุดใหม่มีหนังสือมายืนยันในการร่วมดำเนินโครงการนี้ต่อและได้จัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.2558 ให้สำหรับโครงการนี้ จำนวน 20 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และให้อินโดนีเซียออกงบประมาณ จำนวน 5 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งปี พ.ศ.2558 จะมีการดำเนินการในขั้นตอนการพัฒนาสู่การผลิต ดังนั้นปี พ.ศ.2557 อินโดนีเซียจะเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านวิศวกรรม รวมทั้งมีการตั้งศูนย์การออกแบบ ณ เมือง Bandung เครื่องบินขับไล่ HFX เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5 หรือเทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่ F-18 ของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินขับไล่ HFX จะเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยกว่าเครื่องบินขับไล่ F-16 และ Sukhoi รวมทั้งเครื่องบินขับไล่ที่อินโดนีเซียมีประจำการอยู่/defense-studies.blogspot.com
เครดิตร http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=482:defence-news-around-the-world-13-17-jan2014&catid=3:defense-news&Itemid=3
อินโดนีเซียก้าวหน้าไปหลายอย่างที่เดียว น่าทึ่งมาก ต่อจากเกาหลี ไทยอาจจะต้องซื้อเรือซื้อเครื่องบินจากอินโดนีเซีย
...
ตราบเท่าที่ยังไม่เห็นค่าของการลงทุนทางองค์ความรู้
นิยามความคุ้มแค่ตัวเลขของงบดุล
ประเทศเราก็จะเป็นได้แค่ประเทศกำลังพัฒนายังงี้ต่อไป
ที่ผ่านมามันมีพลังงานบางอย่างอยู่ (ผลประโยชน์ ค่าคอมมิชชั่น) ทำให้เราไม่สามารถที่จะร่วมมือหรือร่วมลงทุนกับหลายๆ โครงการได้ ทั้งที่เรามีพันธมิตรที่พร้อมจะมีการร่วมกันพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น สวีเดน ยูเครน จีน เกาหลี แต่เรากลับเลือกที่จะซื้อมากกว่า โดยใช้เหตุผลง่ายๆว่า ถูกกว่าพัฒนา แต่แท้ที่จริงแล้วถ้าเราร่วมกันพัฒนาวันนี้อาจจะแพงกว่าจริง แต่ในอนาคตข้างหน้าจะถูกกว่าซื้ออย่างเดียวอย่างแน่นอน
ผมชอบโครงการ DTI มาก ถึงแม้จะใช้เวลานานในการพัฒนา ถึงแม้จะว่าต่อให้ล้มลุกคลุกคลานแค่ไหน อย่างน้อยก็ทำให้เราได้ความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป
+1 .ให้ท่าน Koongkamoo ครับ
ช่วงนี้แหละเหมาะกับการพัฒนากองทัพที่สุดแล้ว ในสภาวะสงครามเราค่อยไปเน้นซื้อ (เพราะหมดเวลาวิจัยแล้ว)
สมมุติ 100 ล้าน ซื้อ บ.ได้ 10 ลำ กับ งป.100ล้านผลิตบ.ได้5-6ลำ ผมเลือกผลิตเองดีกว่า
กระทู้ข้างบนบอกว่าญี่ปุ่นจะจัดหา F-35 โดยมีงบ 8000 ล้านเหรียญ โดยจะจัดหา 40-50 เครื่อง ตกเครื่องละประมาณ 160 -200 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 5000 -6600 ล้านบาทต่อเครื่อง
ผมว่า ประเทศเราน่าเข้าร่วมโครงการ KFX กับเขาด้วยอีกหนึ่งประเทศนะครับ ราคา F-35 ที่ พศ. นี้รับไม่ไหว อีก 20 ปีข้างหน้าคงเลิกหวังแน่ๆครับ และยังได้องค์ความรู้และความสามารถในการพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย
ปัญหาคือซื้อตอนมีสงครามมันจะไม่ทันเอาน่ะสิครับ
ของเทคโนโลยีพื้นฐานถึงปานกลางอย่าง รถถัง รถเกราะ จรวด(บางแบบ) ปืนใหญ่ เรือรบ(เฉพาะตัวเรือ) นี่ควรจะผลิตเองให้ได้แน่นอนครับ โดยเฉพาะการร่วมพัฒนากับประเทศต่างๆที่คุยง่ายๆ ยกตัวอย่างก็ยูเครน สวีเดน จีน เห็นด้วยว่าเรามีควรมีความสามารถผลิตเอง"ในประเทศ"ได้ ถ้าได้ระดับที่ยกตัวอย่างราคามาก็โอเคครับ แต่สำหรับของเทคโนโลยีสูงเกินกว่าความสามารรถในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้อย่างบ.ขับไล่...แค่ร่วมทุนพัฒนายังพอว่า โดยเฉพะโครงการของSaabแต่จะให้ได้ระดับผลิตเองในประเทศนี่ยากยิ่งกว่ายากครับ เพราะอย่างหลังมันจะไม่ใช่จบแค่100ซื้อ10แต่ผลิตได้5-6 มันจะใช้เงินมากกว่านั้นนี่ส