หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ใครรู้จักไอ้นี้บ้างครับ

โดยคุณ : Nazgul เมื่อวันที่ : 23/12/2013 07:17:35

หน้าตามันเหมือนไม่มีอะไรเลยมันใช้ยิงเจาะรถถังได้จริงเหรอ





ความคิดเห็นที่ 1


มันคือกระสุนHEAT?

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 19/12/2013 22:05:49


ความคิดเห็นที่ 2


เข้าไปดูในคลิปครับ  ผมก็ยังไม่เข้าใจการทำงานของมัน

โดยคุณ Nazgul เมื่อวันที่ 19/12/2013 22:44:19


ความคิดเห็นที่ 3


เป็นระเบิด shaped charge ครับ

หัวรบ heat ก็เป็นเชพชาร์จนั่นแหละครับ

หลักการก็ตามวิดีโอเลยครับช่วงที่เป็นเอนิเมชั่น

คือแผ่นทองแดงที่เป็นรูปกรวยกลับด้านอยู่ด้านหน้า ข้างในใส่ระเบิดพลาสติก พอจุดระเบิดแผ่นทองแดงจะละลายกลายเป็นรูปหัวเข็มเป็นลำที่มีพลังงานสูงมากที่ถ่ายมาจากแรงระเบิดรวมศูนย์อยู่ตรงปลายจนสามารถเจาะเหล็กได้ครับ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 19/12/2013 23:42:47


ความคิดเห็นที่ 4


หัวรบดินโพรง หลักการของลูกจรวจ RPG เลยครับ ทองแดงมันจะบีบ แรงระเบิดออกมา เหมือน ตะปู ครับ ความร้อนที่พุ้งออกมาจากหัวรบ มันพุ้งได้ไกลมากๆครับ 2-3 ม. เลย

โดยคุณ kapooknet200 เมื่อวันที่ 20/12/2013 00:57:42


ความคิดเห็นที่ 5


ตามที่ท่านข้างบนกล่าวครับ เหมือน shap charge ที่ใช้ jet โลหะ ทำลาย แต่ ที่น่าสงสัยคือ ระยะห่างเป้า 25 หลา หรือประมาณ 22 เมตรครึ่ง มันยังมีแรงทะลุเหล็กหนา 1 นิ้วได้ สบายๆ อย่างนั้นเลยหรือ 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 20/12/2013 01:26:12


ความคิดเห็นที่ 6


เข้าใจว่าการเจาะทะลุทะลวงนี่ขึ้นอยู่กับการออกแบบนะ สังเกตจากการใช้ตัวห่อหุ้มระเบิดเป็นเหล็กหนาทำให้บังคับแรงระเบิดออกไปทางเดียวทำให้เกิดพลังงานสูงสุด

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 20/12/2013 07:27:05


ความคิดเห็นที่ 7


ไปค้นข้อมูลมามันคือ explosively formed penetrator อาศัยหลักการแบบที่ผมว่าคือบีบแรงไปในทางเดียวมันจะให้พลังงานสูงสุดครับและตัวแผ่นทองแดงมันไม่ได้ละลายหายไปครับ แต่มันบีบตัวกลายเป็นกระสุนทองแดงต่างหาก

ในอิรักก็ใช้กันเยอะและมักจะไม่ได้โดนจ่อ ๆ แบบ RPG คือไประเบิดที่ผิวของเป้าหมายด้วยครับ การใช้หลักการนี้มันจะทำให้เกราะตะแกรงหมดประโยชน์ไปเลยคือแม้หัวรบแบบนี้จะระเบิดที่ตะแกรง แต่พลังงานก็ไม่ได้ลดลงไปเลย หัวรบแบบนี้แรงขนาดไหน ขนาดเอามาทำเป็นหัวรบสำหรับเจาะทำลายบังเกอร์ได้เลย

 

ภาพแรกจาก Google ครับ ยานเกราะ Golan ของอิสราเอลโดน EFP สอยครับ

 

http://en.wikipedia.org/wiki/Explosively_formed_penetrator

 

สังเกตุดี ๆ นะครับว่าตัวแผ่นทองแดงกับปลอกมันจะไม่ได้เชื่อมติดกัน แค่มีตัวล๊อกกันหลุดเท่านั้นเอง เห็นกับที่ผมบอกไว้ตอนแรกครับ คือให้พลังงานมันบีบออกมาทางเดียวให้เต็มที่มันก็เลยทำงานได้คล้าย ๆ กับ SABOT คือเป็นกระสุนโลหะขนาดเล็กโจมตีเป้าหมายด้วยความเร็วสูง แต่ใช้ทองแดงเพราะเมื่อโดนความร้อนสูง มันจะดูดซับพลังงานความร้อน จนมันอ่อนตัวไวกว่าโลหะประเภทอื่น


โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 20/12/2013 07:40:47


ความคิดเห็นที่ 8


ลืมรูป

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 20/12/2013 07:41:31


ความคิดเห็นที่ 9


GSh-7VT ของรัสเซียก็ใช้หลักการเดียวกัน

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 20/12/2013 07:46:21


ความคิดเห็นที่ 10


จรวดTop Attack (Bill2)หรือกระสุนปืนใหญ่ที่ใช้ทำลายรถถัง(อย่างBONUS ) หรือ Cluster Bomb(อย่างCBU-97 )ใช้หลักการEFPในการทำลายยานเกราะทั้งนั้น 

EFP -Explosively Formed Penetrator 
ใช้หลักการMunroe Effect แบบเดียวกับเชพชาร์จ แต่ไม่ได้สร้างเจ็ทของทองแดงเหลว แต่สร้างกระสุนเจาะเกราะจากการขึ้นรูปด้วยแรงระเบิด  ตัวเจาะเกราะนั้นใช้หลักการของพลังงานจลน์ในการเข้าทำลายเกราะ แม้จะเบากว่ากระสุนเจาะเกราะทั่วไป แต่อาศัยความเร็วในการเคลื่อนที่ที่สูงมาก (การระเบิดสามารถอัดอากาศด้วยความเร็วเกินมัค7ได้) พลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจะสูงพอที่จะเอาชนะเกราะได้ แต่ก็ยังไม่เท่าHEAT หรือ APFSDS  แต่ด้วยความที่มันไปได้ในอากาศไกลกว่าเจ็ทโลหะของกระสุนHEAT จึงเหมาะสำหรับใช้โจมตีส่วนที่อ่อนแออย่างด้านบนป้อมรถถัง ซึ่งหากใช้กระสุนHEATจะเป็นระบบที่ซับซ้อนกว่า เพราะต้องอาศัยการพุ่งชนโดยตรง  แต่ในกรณีEFP สามารถทำงานได้จากระยะไกลกว่า  จึงไม่ต้องการเซนเซอร์ที่แม่นยำแบบเป๊ะๆขนาดนั้น 
และยังมีข้อดีกว่ากระสุนAPคือ ขอให้มีตัวนำส่งหัวรบไปถึงเป้าหมาย จะ10หรือจะ100กม. ก็ให้ผลเท่ากัน  แต่กระสุนAPทั้งหลาย(รวมถึงAPFSDS) อำนาจการเจาะเกราะจะลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น (สหรัฐฯพยายามสร้างจรวดนำส่งที่สามารถทำให้กระสุนAPFSDSไปได้ไกลขึ้นอย่างLOSATหรือCKEM ซึ่งใช้ความเร็วถึงมัค6.5 )  

เรียกว่ารวมเอาข้อดีของกระสุนHEAT และAP ไว้ในตัว แต่อำนาจการเจาะเกราะยังไม่เทียบเท่า 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 20/12/2013 08:43:36


ความคิดเห็นที่ 11


ก็คงจะเป็น EFP เพราะเชพชาร์จระยะขนาดนั้นแรงทะลุทะลวงหน้าจะสลายหมดแต่ทำไมในคลิปมันบอกเป็นเชพชาร์จฟระ ทั้งแอนิเมชั่นก็เป็นเชพชาร์จชัดๆ

แต่ดูจากรูปทรงแผ่นทองแดงคงเป็น EFP จริงๆ (เว้าเข้าไปตื้นกว่ามาก)

จากที่ผมอ่านมาเชพชาร์จ กรวยยิ่งลึกอำนาจทะลุทะลวงยิ่งมาก แต่รูที่เจาะจะเล็กลงๆ (รูปทรงของเจ็ทโลหะเหลวก็เรียวแหลมขึ้นเท่านั้น)

ขณะที่ EFP ก็คือเหมือนกรวยของเชพชาร์จที่ตื้นมากๆ ฉนั้นอำนาจทะลุทะลวงต่ำกว่ามากแต่ว่ารูเบิ้มกว่า

ผมเห็นแย้งท่าน icy นะครับ เรื่องที่ว่า EFP มีข้อดีของ HEAT 

ในเมื่อ EFP ทำงานเหมือน AP ทุกอย่าง อำนาจทะลุทะลวงก็ย่อมลดลงไปตามระยะทางเหมือนกันสิครับ เพราะมันก็แค่เป็นเหล็กรูปกระสุนเท่านั้นเอง ขณะที่หัวรบ HEAT จะจุดระเบิดเมื่อสัมผัสเป้าหมายทำให้ไม่ว่าจะยิงจากระยะเท่าไหร่มันก็ไปเริ่มทำงานเอาตอนถึงเป้าหมายแล้ว เหมือนเอาเชพชาร์จไปแปะดีๆนี่เองเพียงแต่ใช้จรวดส่งไป (ไปหาอ่านมาแล้วเป็นจริงเช่นนั้นด้วยครับ)

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 20/12/2013 10:09:12


ความคิดเห็นที่ 12


ใช้งานแบบนี้

http://www.youtube.com/watch?v=AKdFCsycYm8

 

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 20/12/2013 10:13:19


ความคิดเห็นที่ 13


The Munroe Effect

 

โดยคุณ HSTKSE เมื่อวันที่ 20/12/2013 11:40:58


ความคิดเห็นที่ 14


ลำเจ๊ทของHEAT ไปได้ไม่ไกลเท่าตัวกระสุนของEFP 
EFPสามารถวางห่างจากตำแหน่งข้าศึกได้หลายเมตร แต่ถ้าเป็นHEAT วางห่างเมตรเดียวก็เจาะไม่เข้าแล้ว ลำเจ๊ทโลหะของHEATไม่สามารถเดินทางในอากาศได้ไกล และไวต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอกมาก  จึงมีเกราะสแตนด์ออฟหรือกรงนกเพื่อใช้จุดอ่อนของHEATให้เป็นประโยชน์ในเรื่องการเดินทางผ่านอากาศ และใช้เกราะERAในการทำลายสมดุลย์ของลำเจ็ท (รวมถึงเกราะแบบNERAที่ใช้โพลิเมอร์สะท้อนช็อคเวฟไปกวนลำเจ๊ทด้วย) 

กรณีเรื่องตัวนำส่ง กระสุนAPใช้ตัวเจาะเกราะเดินทางผ่านอากาศโดยตรง จึงลดประสิทธิภาพการเจาะไปเมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น (ความเร็วตก)  ส่วนHEATและEFP ใช้ในลักษณะหัวรบติดไปกับตัวนำส่ง เมื่อถึงเป้าหมายถึงจะทำงาน ซึ่งทำให้ระยะการทำงานไม่จำกัดตราบที่ยิงโดนและยิงไปถึง  
จึงมีการคิดค้นให้กระสุนAP(หรือKE penetrator) เดินทางได้ไกล โดยการติดไปกับจรวดนำส่งความเร็วสูงมาก(มัค6+)พอถึงเป้าหมายก็ทำงานแบบเดียวกับsabotคือสลัดตัวจรวดออกแล้วส่งลูกดอกพุ่งชน  
XM1111 MRM-KE 


โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 20/12/2013 11:55:12


ความคิดเห็นที่ 15


สรุปผมเข้าใจคอมเมนท์แรกของหลวงพี่ผิด สรุปคือข้อดีกว่า HEAT ที่หลวงพี่พูดถึงในคอมเมนท์แรกคือ ระบบนำวิถีไม่ต้องซับซ้อน?

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 20/12/2013 12:16:44


ความคิดเห็นที่ 16


ผมว่าหลวงพี่ไอซ์หมายถึงคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ (ทองแดง) มันอ่อนนุ่มกว่ากว่าพวก APFSDS  แท้ ๆ ที่เป็นทังเสตนหรือ DU และมันก็แรงสู้ลำเจ็ทร้อน ๆ ไม่ได้ มันเลยเจาะเกราะได้ไม่ดีเท่าพวกนั้นครับ แต่ลำเจ็ทของ Heat มันก็แพ้อากาศ(เพราะทองแดงรับและถ่ายเทความร้อนให้อากาศได้ง่าย)  ก็เลยต้องระเบิดจ่อ ๆ ที่ผิวเท่านั้นถึงจะทำงานได้ดีสุด

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 20/12/2013 12:43:27


ความคิดเห็นที่ 17


ใช่ การเอาจรวดไปชนตรงๆ กับการเล็งจ่อๆแล้วยิงเนี่ย อันหลังง่ายกว่าเยอะ อันแรกนี่ต้องให้ลงไปชนเป๊ะๆ ส่วนEFPขอแค่ภาพกว้างๆ แล้วมีจุดให้เล็ง ระยะแค่4-5เมตรตัวเจาะเกราะไปเป็นเส้นตรงอยู่แล้ว จึงง่ายกว่ากันเยอะ  
 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 20/12/2013 12:47:43


ความคิดเห็นที่ 18


อันนี้เป็นShaped Charge ใช้แก้วเป็นlinerแทนทองแดง 
เป็นวิธีการแบบบ้านๆที่น่าจะให้ทหารเราได้เรียนไว้ 


โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 20/12/2013 13:14:54


ความคิดเห็นที่ 19


ผมกลัวก่อการร้ายหรือม็อบเอาไปใช้น่ะสิ

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 20/12/2013 14:42:22


ความคิดเห็นที่ 20


แหม่ถ้าหาC4หรือComp Bกันมาได้ เรื่องนี้น่ากังวลน้อยที่สุดแล้วล่ะ 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 20/12/2013 15:42:44


ความคิดเห็นที่ 21


ม๊อบนะไม่ต้องห่วงหลอกครับ เพราะคงหา  c4 หรือระเบิดพลาสติกไม่ได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็น ผู้ก่อการร้ายล่ะน่าคิด 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 20/12/2013 15:57:37


ความคิดเห็นที่ 22


ฮ่าาาาาาา

EFP ถ้าใช้ปุ๋ยมันจะไม่แรงนะ ระเบิดปุ๋ยนี่ถ้ามีรูอากาศเข้ามันจะฟู่ออกมา ไม่บึ้ม แต่ C4 นี่มันบึ้มได้เลยไม่ต้องเอาอะไรมาหุ้ม พวกที่เอามาหุ้มแบบระเบิดมือนี่แค่ต้องการหิ้วง่าย ๆ + สะเก็ด (ตามความเข้าใจผมนะ)

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 20/12/2013 16:00:12


ความคิดเห็นที่ 23


ก็นี้ล่ะที่น่ากังวลดูแล้ว อุปกร+วิธีทำไม่ยุ่งยากเลย เว้นแต่ดินระเบิด c4 ที่หายากแต่ท่าพวกนั้นหาได้นี้ต่อไปคงไม่ต้องขุดหลุมฝั่งระเบิดกันล่ะวางดักข้างทางหาใบไม้กลิ่งไม้พลางนิดๆ น่ากลัวครับ

ขอถามอีกนิดแล้วเจ้านี้รูปร่างคล้าย M2SLAM แล้วทำงานแบบเดียวกันไหมครับ

โดยคุณ Nazgul เมื่อวันที่ 20/12/2013 20:37:18


ความคิดเห็นที่ 24


หลักการคล้ายกับEFPเคยถูกนำมาใช้ลอบสังหารมาแล้วครับ ในปี1989 แนวร่วมของหน่วยStasiของเยอรมันตะวันออกใช้ลอบAlfred Herrhausen ประธานบริหารDeutsche Bank โดยใช้ระเบิด7Kg.ใส่ในกระเป๋าที่มีแผ่นทองแดงวางไว้ท้ายจักรยานแล้วใช้อินฟราเรดในการส่งสัญญาณจุดชนวนระเบิด พอรถประจำตำแหน่งวิ่งผ่านระเบิดทำให้แผ่นทองแดงพุ่งทะลุรถเบนซ์กันกระสุนเข้าไปสังหารAlfred Herrhausen

http://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Herrhausen

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 21/12/2013 00:05:43


ความคิดเห็นที่ 25


M2 Slam ก็ใช่ครับ

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 23/12/2013 07:17:35