ถ้าในขณะสู้รบ ดันมีจรวจนำวิถีหลุดเข้ามาและพุ่งใส่ cic หรือ สะพานเดินเรือ เสียหายหนัก เรือจะสามารถเดินเรือต่อได้ไหมครับ แล้วจะสามารถสั่งการยิงอาวุธจากที่ไหนที่ไหนได้บ้างครับถ้าไม่มีcicแล้ว
หมดสภาพทำการรบได้?
ถ้าเดินเรือต่อได้สามารถใช้การควบคุมหางเสือที่ห้องหางเสืออะไหล่ได้ครับ สำหรับระบบอาวุธบางประเภทสามารถสั่งการยิงที่ปืนได้{อาวุธสมัยก่อน}
ก็เหลือยิงปืนได้ครับ อาวุธนำวิถีก็ไม่ต้องเล่นแล้ว
หาทางกลับบ้านครับ - -
1) ประเด็นมันอยู่ที่ว่า หากห้อง CIC อยู่ในส่วนเดียวกันกับหอบังคับการ ผู้การเรือกับรองผู้การ ยังมีสติหรือชีวิตอยู่หรือเปล่าเท่านั้นแหละ
ถ้า 2 คนนี้ไม่อยู่ในสภาพความพร้อมรบ ทุกอย่างก็จบ เพราะถ้านายเรือคนอื่นๆที่ตำแหน่งรองลงมายังมีชีวิตอยู่บนเรือแต่ไม่มี power หรือ วุฒิภาวะการตัดสินใจแล้ว ก็ส่งสัญญาณขอยอมจำนนหรือยอมแพ้ได้เลย
2) เรือรบในปัจจุบันเป็นการใช้มิสไซด์รบกัน หากระบบ CIC เจ้ง ถ้าเราไม่ยอมจำนนคิดหรือว่ายังจะใช้ปืนใหญ่ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามได้อีก ฝ่ายตรงข้ามก็จะยิงมิสไซด์มาใส่เรือเรา อีกเป็นชุดอย่างแน่นอน
สรุปคือถ้าสภาพเรือเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้ตั้งโจทย์เอาไว้ สิ่งที่ควรต้องปฎิบัติ คือ ยอมจำนนเท่านั้น (อันนี้เป็นกรณีฉะนั้นถ้าในสถาณการณ์ที่เรือของเราอยู่เพียงตามลำพังเรือลำเดียวเท่านั้น
ปล.ถ้าไม่อยากรบแพ้ก็ต้องหาระบบต่อต้านมิสไซด์ดีๆและไว้ใจได้และต้องเพียงพอต่อการป้องกัน มาติดตั้งบนเรือเท่านั้นแหละ
ถามโง่ๆ หน่อยครับ เป็นไปได้ไหมครับ ถ้ามีเรือคุ้มกันกองเรือ โดยติดอาวุธประเภท CIWS ล้วนๆ เช่น ติดฟาลังซ์ หรือ จรวดต่อต้านขีปนาวุธ หลายๆระบบใน 1 ลำ แล้วให้เรือเหล่านั้นเป็นเรือคุ้มกัน กองเรือ
CIWsชื่อก็บอกแล้วครับว่าเอาไว้ป้องกันระยะ"ประชิด" ซึ่งมีระยะใกล้เกินกว่าที่จะยิงอวป.ยุคใหม่ที่มาทีละหลายๆลูกทัน เมื่อAShMลูกโตยิงไกลแถมบินไวมาทีละหลายๆลูกวิธียิงที่ดีที่สุดคือสอยมันตั้งแต่ไกลๆครับ (ลองคิดถึงArleigh Burkeดูครับ ถ้าถอดVLSออกหลายๆท่อแล้ววางCIWsแทนมันคงไม่ใช่เรือฉากที่ดีเท่าไหร่สำหรับกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่จะมีจรวดลอยมาหาทุกๆชั่วโมงตั้งแต่ลูกเท่าHarpoonจนถึงลูกเท่าP-700)
ขอแก้จากคุณ Obeone นะครับ อันที่จริงแล้วเรือรบส่วนใหญ่จะมีตำแหน่งเรียงลำดับกันมาตามนี้นะครับ
1.ผบ.เรือ
2.ต้นเรือ
3.ต้นกล
4.นายทหารยุทธการ
5.นายทหารการอาวุธ
6.นายทหารไฟฟ้าอาวุธ
ซึ่งขอข้ามในลำดับที่1-3 นะครับ ในส่วนของ ลำดับที่ 4 นายทหารยุทธการเนี่ย ทุกคนจะเคยเป็นผู้บังคับการเรือมาก่อนแล้วทุกคนนะครับเพราะฉะนั้นในเนื่องของวุฒิภาวะหรือ power ที่ว่าย่อมมีกันทุกคนอยู่แล้วนะครับ ส่วนลำดับที่ 5 รนายทหารการอาวุธ ก็จะเคยเป็น ต้นเรือ หรือ ผบ.เรือ มาก่อนแล้วเช่นกัน ซึ่งคิดว่าน่าจะมีคุณสมบัติเพียงพอในการควบคุมบังคับบัญชาเรือได้นะครับ อีกอย่างถ้าจะว่ากันตามการทำงานภายในเรือแล้วนะครับ ผู้ที่ ควบคุมอำนวยการ ภายใน CIC และการใช้อาวุธนี่ก็ เป็นนายทหารยุทธการ และ นายทหารการอาวุธนะครับ
ทำเรือตามจินตนาการท่านภูแต่ผมไม่ถอดVLSเพราะใช้จรวดRAMที่เป็นCIWSชนิดหนึ่งแทน
VLSจำนวน90ท่อใส่ RAM Block II ได้ 360นัด ติดSadral 2ระบบหน้าหลัง และ Simbad RC 2 ระบบซ้ายขวาได้จรวด Mistralอีก 16นัด จรวดทั้ง376นัดให้SPY-1D ค้นหาเป้าหมายและให้ระบบเอจิสที่แสนทันสมัยเป็นคนจัดการบริหารการยิงจรวดอีกที ถึงจะได้ระยะไกลสุดแค่11กม.แต่ยิงได้ไม่อั้นนะเฟ้ย
ติดฟาลังซ์4จุดรอบเรือ มิลลิเนียมกัน2จุดหน้า-หลังใช้มิราดอร์ควบคุม ปืนหลักเปลี่ยนเป็น 76/62 STRALES ใช้ CEROS 200 ควบคุมพอไหวไหมเนี่ยเรือผม :(
ค่าลูกจรวดคงแพงน่าดูนะครับ ปาเข้าไปเกือบสี่ร้อยนัด
ลองคำนวณการไปจะเอ๋กับกองเรือรัสเซียหน่อยไหมครับ kirov 1ลำ + Oscar-II 4ลำ มีP-700ยิงได้116นัด ปะทะArlegih 4ลำกับจรวด1504นัด(จะเยอะไปไหนฟะ???)
ถึงคุณ ทานตะวัน love ตามโจทย์ที่เจ้าของกระทู้เค้าตั้งไว้ คือถ้าหัอง CIC โดนมิสไซด์ทำลายแล้วนายทหารฝ่าย ยธ.ในห้อง CIC คุณคิดว่าในสถาณการณ์จริงพวกเขาเหล่านั้น ยังจะมีชีวิตอยู่ให้คุณได้เชยชมการทำหน้าที่ผู้การเรือแทนหรือครับ ?????????? แล้วโดยส่วนใหญ่เรือรบ ที่มีห้อง CIC จะอยู่ร่วมกันกับอาคารหอบังคับของเรือโดยหอบังคับการจะอยู่ส่วนบนของอาคารแล้วห้อง CIC จะอยู่ส่วนล่างของหอบังคับการ ถ้าในสถาณการณ์จริงถ้าห้อง CIC ถูกโจมตีด้วยมิสไซด์แรงระเบิดจากหัวรบมากพอที่จะสร้างความเสียหายไปถึงห้องบังคับการด้านบนซึ่งมีผู้การเรือและรองผู้การซึ่งตามที่ผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น คือถ้าทั้ง 2 คนยังมีสติหรือชีวิตอยู่ที่จะสามารถปฎิบัติการได้
ดังนั้นในสถาณการณ์จริงผมคิดว่าภายในเรือลูกเรือจะพากันโกลาหลกันหมด โดยปกติแล้วในการรบถ้าแม่ทัพตายในสนามรบแล้ว มันยากครับที่ผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าแทนจะสามารถควบคุมการรบต่อได้ยาก และมักจะจบด้วยการยอมแพ้หรือถอยทัพเพราะในตอนนั้นลูกเรือจะพากันเสียขวัญไปก่อนหน้าแล้ว (อันนี้จากที่เคยอ่านๆหรือดูๆมาในหนังสือหรือรายการสารคดี)
ที่คุณ tantawanlove เขาว่านั้น ผมว่าเขาคงหมายถึงตำแหน่ง น.บนเรือมากกว่ามั้ง เพราะตำแหน่งรองผู้การไม่มี มี ผบ.เรือ(CO) แล้วก็เป็น ต้นเรือ (XO) สมัยก่อนไม่มีพวก น.ยุทธการ น.การอาวุธ มีแต่ต้นปืน เขา(หลาย ทร.ไม่เหมือนกัน)มักจะจัดให้ ผบ.กับต้นเรืออยู่คนละที่ สมัยเก่า ผบ.เรืออยู่บนสะพานเดินเรือ เดี๋ยวนี้เกือบทุก ทร.เรือที่มี OpsRoom หรือ CIC ผบ.เรือลงมาอยู่ข้างล่างหมดแล้วเพราะเห็นภาพสถานการณ์ดีกว่า สะพานกับ CIC ของเรือใหญ่ผมว่าอยู่ห่างกันพอสมควรนะ แต่เรือเล็ก พท.บังคับอาจอยู่ไม่ห่างนัก
ปัจจุบันผบ.ก็ยังอยู่สะพานเดินเรือไม่ใช่เหรอครับ? ใช้การสื่อสารกับCICเอา
แถมปกติCICก็อยู่ใต้สะพานเดินเรือไม่ใช่เหรอครับ ขนาดเรือลำบักเอ้งอย่างTiconหรือBurkeยังวางCICไว้ตรงนั้นเลย
การฝึกสถานีรบส่วนใหญ่ ผบ.เรือ จะอยู่ที่ ศยก. สะพานเดินเรือจะเป็น ต้นเรือ กับต้นหน ในการนำเรือ ตามที่คุณทานตะวันว่าถูกต้อง เรือมีตั้งแต่ระดับเรือ ต. ผู้การเรือมีตั้งแต่ชั้นยศ ร.อ. ซึ่งส่วนมากเรือ ต. จะอยู่ตามชายแดน เช่น มชด. ผบ.เรือทุกคนมีประสบการณ์ในการนำเรือทั้งนั้น เจอเรือประมงติดอาวุธ ทำการตรวจค้นเรือต้องสงสัย ความเป็นผู้นำมากพอ บางทีสารคดีหรือหนังมันไม่ใช่ชีวิตจริง มีพี่ที่มาสอนเล่าให้ฟังว่า เรือทำการลาดตระเวณอยู่ มีเสียงปืนเรือ ดังมาจากทางไหนไม่ทราบ พนง.ถือท้ายกลัวจนไม่สามารถทำงานได้ ผบ.เรือ จึงเอาเสื้อเกราะให้ใส่ จึงสามารถทำการถือท้ายได้ต่อไป ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นำเช่นกัน ซึ่งในเรือใหญ่ๆนั้น มีนายทหารเกือบทุกตำแหน่ง ก็ต้องมีอดีต ผบ.เรือ ต. ที่มาปฏิบัติงานบนเรือใหญ่ เช่น ฟริเกต
สู้ไม่ได้ แล้วยอมจำนน กลางทะเลเนี่ยน่ะ ... ผมว่ามันเหมือนไปเข้าแถวให้เค้ายิงเรียงตัวมากกว่า
ในภาวะสงคราม จะมีศัตรูซักกี่คนที่ยังมีมนุษยธรรม เวลารบกัน มันคงไม่มีกรรมการมาห้ามเหมือนมวย
แบบว่า พอล้มแล้วห้ามซ้ำ .. อีกอย่าง กลางทะเล กฏหมายสากลคงเข้าไม่ถึงมั๊ง
เคยเห็นในวีดีโอ ที่เรือญี่ปุ่นแตกทหารญี่ปุ่นลอยคอขอความช่วยเหลือจากทหารอเมริกา อเมริกาเลย
ช่วยสงเคราะห์ให้ กลายเป็นเป้าเคลื่อนที่ในน้ำไปเลย .. นี่ขนาดอเมริกา ที่ว่ามีมนุษยธรรมในระดับหนึ่ง
ยังไม่ให้โอกาศศัตรูเลย นับประสาอะไรกับประเทศอื่นๆ .. เจอสถานการณ์แบบเจ้าของกระทู้
ถ้าเป็นผม ยอมลงเรือแจว ยังมีโอกาศรอดกว่ายอมจำนนซะอีก
1. เฮอะๆ OK ครับต้องขอประทานโทษด้วยกับคุณ ทานตะวัน ผมได้กลับไปย้อนอ่านอย่างละเอียดแล้วมันเป็นการขยายความต่อจากผมเท่านั้นไม่ใช่การคอมเมนต์ (เผอิญตอนนั้นกำลังรีบไปเข้าประชุมงานเลยอ่านยังไม่ได้ศัพย์เท่าที่ควร)
2. แต่ก็ขอบอกก่อนนะครับว่านี้เป็นความคิดเห็นวส่วนตัวและวิเคราะห์ตอบโจทย์เจ้าของกระทู้ตามหลักการของผมเท่านั้น ใครมีความมาคิดเห็นต่างจากผมก็สามารถตอบโจทย์นำเสนอเจ้าของกระทู้ที่ต่างจากผมได้
ส่วนในชีวิตจริงจะเป็นอย่างไรนั้นผมก็ไม่ทราบหรอกครับแต่ผมอธิบายในลักษณะที่ถ้าสมมุติตัวผมเองเป็นหนึ่งในลูกเรือลำนั้นในสถาณการณ์แบบนั้นและเรือลำที่ว่าทำการรบโดยลำพังตามที่ได้กล่าวไปแล้วในตอบกระทู้ก่อนหน้านี้ โดยไม่มีเรือลำอื่นๆติดตามมาช่วยรบเลย และ ถ้าทั้ง ผู้การเรือและต้นเรือ หรือ ยธ.คนอื่นๆที่อยู่ร่วมกันในสะพานเดินเรือและห้อง CIC มันอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถสั่งการอะไรได้แล้วลูกเรือที่เหลือในเรือลำนั้นจะต้องทำอย่างไรต่อไป และที่สำคัญเรือเสียหายก็แค่ในส่วนดังกล่าวแต่สภาพเรือโดยรวมมันไม่ถึงขั้นจะสรุปว่าเรือจะอับปาง เพราะฉะนั้นในขั้นแรกเราควรจะส่งสัญญาณยอมจำนนก่อนหรือไม่เพื่อไม่ให้เรือฝ่ายตรงข้ามซัดมิสไซด์มาอีกลูกเพราะถ้ายิงมาอีกมันอาจจะทำให้เรือเราเสียหายถึงขั้นอับปางจริงๆก็ได้คราวนี้ (ขั้นตอนกระบวนการนี้ตามสนธิสัญญาเจนีวายังมีผลบังคับใช้อยู่ครับ และในยุคปัจจุบันคงไม่ป่าเถื่อนเมือนในยุคสงครามโลกหรอกครับ อันนี้อ้างอิงจากช่วงสงครามที่เกาะฟอร์กแลนด์) หลังจากนั้นเราควรจะติดต่อกองบัญชาการเรือใช่หรือไม่เพื่อให้พวกเค้าประสานงานไปทางผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางช่วยเหลือเรือรบและชีวิตลูกที่เหลือคนอื่นๆครับ
ส่วนเรือรบลำดังกล่าวนะเมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำการรบได้แล้ว ก็ควรจะทำการกู้สภาพเรือและผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ใช่หนีลงเรือบด โดยละทิ้งเรือและหน้าที่ของตนเอง (ก็ในเมื่อเรือยังไม่อับปางนิ)
เรื่องยอมจำนนนี่ไม่มีในสารบบการรบทางเรือหรอกครับ ไม่เคยมีการสอนไว้ในโรงเรียนใหนในกองทัพเรือ น่าจะไม่มีใน รร.ใหนในโลก ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ ผบ.เรือตาย ก็ไล่กันต่อมาตามอาวุโสครับ ว่าใครจะเป็นผู้นำเรือและบังคับบัญชาต่อ ไม่มีการชักธงขาวขึ้นไปยอมแพ้ อับอายไปถึงลูกหลาน กองทัพเรือ และประเทศชาติ ปกติเมื่อเกิดความเสียหายก็ต้องทำการรบต่อไปด้วยอาวุธที่มีอยู่ จะเรียกเพื่อนมาช่วยก็เรียกไป แต่จะวิทยุยอมจำนนต่อข้าศึกนั้นคงต้องเสียสติไปแล้ว หากอยู่ไกลความช่วยเหลือและเรือไม่อยู่ในสภาพทำการรบได้ ต้องสละเรือ ให้พลประจำเรือปลอดภัยไว้ก่อน ส่วน ผบ.เรือ หรือผู้บังคับบัญชาคนอื่นที่เหลืออยู่จะไปกับลูกเรือหรือจะอยู่กับเรือจนวาระสุดท้าย ไม่มีใครบังคับไว้ แต่ต้องจมเรือตัวเองก่อน เอาไปแต่สมุดปูม รหัสสื่อสารไปกับตนเอง ทำลายเครื่องเข้ารหัส เอกสารลับ ฯลฯเสียก่อน ส่วนเรื่องมนุษยธรรมของข้าศึกนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เหตุที่ต้องจมเรือไม่ให้ข้าศึกได้ไปก็เพราะเรือมีอุปกรณ์ และเอกสารที่เป็นความลับหลายอย่างครับ
นานา จิตตังครับ ของแบบนี้ถ้าไม่เจอเข้ากับตัวเองมันก็พูดยาก ว่าจะสู้จนตัวตายหรือจะยอมจำนน เพราะคิดว่ามันต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ต้องเอามาคิดแล้วตัดสินใจด้วย นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้การเรือแต่ละท่านด้วย งั้นลองมาลำดับเหตุการณ์ในช่วงยุทธนาวีที่เกาะช้างลองอ่านกันดูแล้วกัน เผื่อจะได้แง่คิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น
เช้าวันที่ 17 มกราคม ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนในบังคับบัญชาของนาวาเอกบรังเยร์เข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นประการสำคัญ เพื่อกดดันให้กำลังทหารของไทยที่รุกข้ามชายแดนต้องถอนกำลังกลับมา
กำลังทางเรือของฝรั่งเศสได้อาศัยความมืด และความเร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด 7 ลำ คือ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เรือสลุป 2 ลำ เรือปืน 4 ลำ เรือเหล่านี้ได้แยกออกเป็น 3 หมู่ หมู่ที่ 1 มี เรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวเข้ามา ทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ 3 มีเรือสลุป 1 ลำ กับเรือปืนอีก 3 ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตก ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า เกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธ คงรออยู่ด้านนอกในทะเล และไม่ได้เข้าทำการรบ
เวลา 06:05 น. เครื่องบินตรวจการณ์ฝรั่งเศสแบบ Potez จากฐานทัพเมืองเรียมในกัมพูชา บินตรวจการผ่านกองเรือไทยและยืนยันตำแหน่งเรือตอร์ปิโดไทยสองลำ เนื่องจากในคืนนั้นเรือหลวงชลบุรีพึ่งเดินทางมาถึงเพื่อเปลี่ยนผลัดกับเรือหลวงสงขลาซึ่งมีกำหนดการกลับไปฐานทัพเรือสัตหีบ สร้างความประหลาดใจให้แก่ฝ่ายฝรั่งเศส เพราะรายงานก่อนหน้าระบุจำนวนเรือตอร์ปิโดไทยเพียงลำเดียว
เวลา 06:10 น. เครื่องบินทะเลฝรั่งเศสแบบลัวร์ 130 ทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือตอร์ปิโดไทยแต่ถูกยิงตกด้วยปืนต่อสู้อากาศยาน เรือฝรั่งเศสรู้จำนวนเรือไทยจึงเดินหน้าเข้าตีตามแผน แต่กองเรือไทยเริ่มไหวตัวแล้ว และได้โหมเร่งความดันไอน้ำเพื่อเตรียมปฏิบัติการ เมื่อสังเกตเห็นข้าศึกอยู่ในพิสัย เรือหลวงสงขลาจึงเปิดฉากยิงต่อสู้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่มีอาวุธหนักกว่ามากแต่ไม่มีมุมยิงตอร์ปิโด เนื่องจากเรือหลวงสงขลาจอดโดยหันหัวเรือไปทางฝั่งเกาะช้าง กระสุนจากเรือลามอตต์ปิเกต์ทำความเสียหายแก่เรือหลวงสงขลา เกิดไฟไหม้กลางลำเรือ น้ำทะลักเข้าตัวเรือ ยุ้งกระสุนน้ำท่วม ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บังคับการเรือหลวงสงขลา สั่งสละเรือใหญ่ เวลา 06:45 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ 35 นาที
ในขณะเดียวกัน เรือหลวงชลบุรีได้ทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสที่ตรงเข้ามารุมโจมตีถูกกระสุนที่ท้ายเรือและกลางเรือ เกิดระเบิดไฟลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย เรือเอกประทิน ไชยปัญญา ผู้บังคับการเรือหลวงชลบุรี สั่งสละเรือใหญ่เวลา 06:53 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ประมาณ 40 นาที ซึ่งภายหลังมีรายงานจากฝ่ายไทยว่ากองเรือฝรั่งเศสได้กระทำการผิดธรรมเนียมการรบทางทะเล โดยใช้ปืนกลกราดยิงทหารเรือไทยที่ลอยคออยู่ในทะเลอีกด้วย
เวลา 06:20 น. นาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี สั่งถอนสมอและเคลื่อนลำประจำสถานีรบ และสั่งให้เรือหลวงหนองสาหร่ายและเรือหลวงเทียวอุทกซึ่งเป็นเรือเล็กให้ถอนตัวออกไปจากสมรภูมิ
เวลา 06:38 น. เรือหลวงธนบุรีประจันหน้าเข้ากับกองเรือฝรั่งเศสและทำการยิงตอบโต้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่ระยะ 10,000 เมตร การรบเป็นไปอย่างหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสเข้าทำการร่วมรบรุมยิงเรือหลวงธนบุรีด้วย กระสุนนัดหนึ่งจากเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ตกใต้สะพานเดินเรือและเกิดระเบิดขึ้น ทำให้ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีรวมทั้งนายทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสหลายนาย ส่งผลให้การบังคับบัญชา สื่อสาร และควบคุมหยุดชะงัก ระบบถือท้ายเสียหายบังคับทิศทางไม่ได้
เวลา 07:15 น. ผลจากการถูกรุมยิงทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นบนเรือหลวงธนบุรี แต่ทหารบนเรือไทยที่เหลือเพียงลำเดียวยังคงทำการยิงต่อสู้ โดยสลับเปลี่ยนเป้าหมายไปที่เรือฝรั่งเศสทั้งสามลำ เมื่อระบบถือท้ายเสียหาย ป้อมปืนไม่ทำงาน (ทหารฝ่ายไทยต้องใช้วิธีการหมุนป้อมปืนด้วยมือเอง) ทำให้การยิงโต้ตอบของเรือหลวงธนบุรีเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังสร้างความเสียหายให้แก่เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ในที่สุด
เวลา 07:40 น. มีเครื่องบิน 1 ลำบินเข้ามาทิ้งระเบิดทะลุดาดฟ้าเรือหลวงธนบุรี มีลูกเรือเสียชีวิต3นายและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ในขณะที่เรือทั้งหมดยังทำการรบอย่างติดพัน ป้อมปืนที่เหลือของเรือหลวงธนบุรีไม่สามารถยิงได้อย่างแม่นยำเนื่องจากไม่อาจบังคับเรือได้ตรงทิศทาง เรือหลวงธนบุรีได้แล่นลำเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น กองเรือรบฝรั่งเศสจึงได้ส่งสัญญาณถอนตัวจากการรบ
เวลา 07:50 น. หลังจากถอนตัวจากการรบ เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ยิงตอร์ปิโดอีกชุดเข้าหาเรือหลวงธนบุรีที่ระยะ 15,000 ม. แต่พลาดเป้า ในขณะที่เรือหลวงธนบุรียังทำการยิงต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และในที่สุดเรือทั้งหมดได้เคลื่อนออกนอกพิสัยทำการรบ
เวลา 08:20 น. เรือหลวงธนบุรีหยุดยิง
เวลา 08:40 น. นาวาเอกเรจี เบรังเยร์ ออกคำสั่งให้กองเรือฝรั่งเศสมุ่งหน้ากลับฐานทัพ เนื่องจากเกรงกำลังหนุนของไทย โดยเฉพาะเรือดำน้ำ เนื่องจากฝ่ายไทยรู้ตัวแล้ว ในเวลาเดียวกัน หมู่บินที่ 2 แบบ Hawk 3 จากกองบินจันทบุรีได้มาถึงและทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือฝรั่งเศส แต่ถูกสกัดด้วยปืนต่อสู้อากาศยานอย่างหนัก ระเบิดลูกหนึ่งตกลงบนเรือลามอตต์ปิเกต์ แต่ไม่ระเบิด ในเวลา 09:40 น. ฝูงบินทิ้งระเบิดบ่ายหน้ากลับ ทำให้กองเรือฝรั่งเศสหลุดรอดออกไปได้ และมุ่งหน้ากลับไปไซ่ง่อน
เหตุการณ์หลังการรบ
เรือหลวงธนบุรีจมเกยตื้น
เมื่อเรือรบฝรั่งเศสล่าถอยไปจากบริเวณเกาะช้างแล้ว ป้อมปืนต่าง ๆ ในเรือหลวงธนบุรีจึงหยุดยิงเมื่อเวลา 8.20 น. ทหารประจำป้อมปืนต่างพากันเปล่งเสียงไชโยขึ้นพร้อม ๆ กัน ด้วยความดีใจที่สามารถขับไล่ข้าศึกไปได้ จากนั้นทั้งหมดก็ได้ช่วยกันดับไฟที่ไหม้เรืออยู่อย่างหนัก แต่ไฟก็ไม่สงบลง เรือเอกทองอยู่ สว่างเนตร์ ต้นเรือซึ่งทำหน้าที่แทนผู้บังคับการเรือ จึงตัดสินใจไขน้ำเข้าคลังกระสุนและดินปืน เพื่อป้องกันดินปืนและกระสุนต่างๆ ระเบิดเมื่อไฟลุกลามไปถึง ทำให้น้ำไหลเข้าเรือเร็วขึ้นและเอียงไปทางกราบขวา แต่เรือก็ยังใช้จักรเดินต่อไปด้วยความสามารถของพรรคกลิน ต่อมาเมื่อไฟไหม้ลุกลามไปถึงหลังห้องเครื่องจักร ควันไฟและควันระเบิดได้กระจายไปถึงห้องเครื่องจักรใหญ่ เครื่องจักรช่วย และห้องไฟฟ้า ทำให้ทหารพรรคกลินในห้องไฟฟ้า 8 นายขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้ผู้ที่อยู่ข้างนอกจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือนายทหารดังกล่าวก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีไฟไหม้สก้ดอยู่ที่ปากทางช่องขึ้นลงไปยังห้องเครื่องของเรือ
เวลา 9.50 น. เรือหลวงช้าง ภายใต้การบังคับบัญชาของเรือเอกสนิท อังกินันท์ ได้นำเรือเข้าช่วยดับไฟที่ไหม้อยู่อย่างหนักบนเรือหลวงธนบุรี แต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะสายสูบน้ำผ้าใบยาวไม่พอที่จะลากหัวสูบไปฉีดให้ถึงห้องต่างๆ ภายใต้ดาดฟ้าเรือได้ เรือหลวงช้างจึงเปลี่ยนวิธีเป็นทำการลากจูงเรือหลวงธนบุรีไปพลางพร้อมทั้งทำการดับไฟในเรือไปด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ผลอีก เมื่อเห็นหมดทางที่จะแก้ไขได้แล้ว ผู้บังคับการเรือหลวงช้างจึงตัดสินใจจูงเรือหลวงธนบุรีให้ไปเกยตื้นที่บริเวณแหลมงอบ
เวลา 11.30 น. เรือหลวงธนบุรีถูกจูงมาถึงเขตน้ำตื้นและไม่สามารถลากจูงต่อไปได้ ต้นเรือเรือหลวงธนบุรีจึงสั่งให้ลำเลียงทหารบาดเจ็บลงเรือหลวงช้าง แล้วให้สละเรือใหญ่ ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงและทหารเรือส่วนหนึ่งยังคงพยายามดับไฟในเรือหลวงธนบุรีต่อไปแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเรือหลวงธนบุรีก็จมลงเมื่อเวลา 16.40 น. โดยจมไปทางกราบเรือทางขวา เสาทั้งสองเอนจมลงไป กราบซ้ายและกระดูกงูกันโคลงโผล่อยู่พ้นน้ำ
ผลการรบ
ฝ่ายไทยเสียเรือรบไป 3 ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี ทหารเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 36 นาย แบ่งเป็นทหารประจำเรือหลวงธนบุรี 20 นาย (รวมนาวาเอก หลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีด้วย) เรือหลวงสงขลา 14 นาย และเรือหลวงชลบุรี 2 นาย เฉพาะเรือหลวงธนบุรีนั้น ต่อมากองทัพเรือไทยได้กู้ขึ้นมาเพื่อทำการซ่อมใหญ่ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 แต่เนื่องจากเรือเสียหายหนักมาจึงได้ปลดระวางจากการเป็นเรือรบและใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ จนกระทั่งปลดประจำการในปี พ.ศ. 2502 หลังจากนั้นทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี ภายในโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ
สำหรับฝ่ายฝรั่งเศส แม้จะไม่เสียเรือรบลำใดเลยก็ตาม แต่เรือธงลามอตต์ปิเกต์นั้นก็ได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น การข่าวของฝ่ายไทยไม่ทราบจำนวนแน่นอน แต่มีรายงานว่าเมื่อเรือข้าศึกกลับถึงไซ่ง่อน ได้มีการขนศพทหารที่เสียชีวิต และทหารที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นบกกันตลอดคืน ขณะที่ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างว่าไม่มีความสูญเสียแต่อย่างใดเลย แต่ฝ่ายไทยกลับยืนยันว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ถูกเรือหลวงธนบุรียิงเข้าอย่างจัง จนสังเกตได้ว่ามีไฟลุกอยู่ตอนท้ายเรือ และลำเรือตอนท้ายนั้นแปล้น้ำมากกว่าปกติ โดยอ้างตามคำให้การของทหารเรือที่รอดชีวิตและชาวประมงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การรบนี้ ได้มีบันทึกต่อมาว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ได้เดินทางไปยังเมืองโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อซ่อมบำรุงเรือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากนั้นจึงได้ปลดเป็นเรือฝึกเมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และถูกจมโดยเครื่องบินสังกัดกองเรือเฉพาะกิจที่ 38 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2488
เห็นไหมครับเรือรบที่ว่าใหญ่กว่า(ของฝรั่งเศส)แต่บางครั้งผู้การเรือกลับใจมด หรือใจไม่ได้ใหญ่ตามเรือรบ แต่กลับเรือรบของราชนาวีไทยเราเรือลำเล็กกว่า แต่ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี (คือเรือเอกประทิน ไชยปัญญา นายต้นเรือ ผู้บังคับการเรือแทน ผู้การเรือที่เสียชีวิต) กลับบังคับบัญชาการเรือรบจนสามารถทำให้กองเรือรบฝรั่งเศสฝ่อเปิดตูดหนีไปไซ่ง่อน (คือเวียดนามในปัจจุบัน)
ทีนี้เจ้าของกระทู้น่าจะได้ความคิดอะไรหลายๆอย่างแล้วนะครับบางครั้งเรือรบเสียหายก็ไม่ได้หมายความว่าจะรบต่อไม่ได้ยั้งเรื่องการยอมจำนน(ตามที่ท่าน obeone ได้สรุปเอาไว้) ผมก็ขอเสริมต่อจากท่านอีกทีว่าการยอมจำนนก็ไม่ได้หมายความว่าจะยอมแพ้เราก็อาจจะแฝงเล่ย์กลอะไรบางอย่างเข้าไปก็ได้ เช่นอาจจะยอมจำนนเพื่อประวิงเวลาในการรอเรือรบของฝ่ายเราหรือเครื่องบินรบฝ่ายเราเข้ามาช่วยเหมือนในกรณียุทธนาวีที่เกาะช้างก็เป็นได้ แต่ถ้าในสถานการณืดังกล่าวมันอาจจะอยู่ในช่วงคับขันว่าฝ่ายตรงข้ามอาจจะซัดมิสไซด์เข้ามาอีกลูก เราก็ทำทีว่าขอยอมแพ้ เพราะว่าทางเรือรบของฝ่ายตรงข้ามก็คงจะไม่กล้าบุมบามเข้ามาใกล้เราเพื่อยึดโดยทันทีทันใดอย่างแน่นอน ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าผู้ที่จะเป็นผู้การเรือต้องมีไหวพริบอย่างมากที่จะประเมิณสถานกาณ์แบบทุกนาที เพราะคิดว่าคงไม่มีผู้การเรือคนไหนอยากที่จะสละเรือโดยง่ายเหมือนกับลูกเรือหลวงธนบุรีที่พยายามทำทุกวิถีทางที่จะรักษาเรือของตนเองเอาไว้
ครับก็ขอจบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้แหละครับ
หมายเหตุ ข้อความยุทธนาวีที่เกาะช้างดึงข้อมูลมาจากใน goolge
ขอแก้ไข จากคำตอบคุณ Phu2000 นะครับในเรื่องตำแหน่งห้อง CIC ของเรือชั้น Arleigh Burke-class นั้น ห้อง CIC ไม่ได้อยู่ใต้สะพานเดินเรือพอดีนะครับ แต่อยู่ลงมาข้างล่างอีกอีกหลายชั้นดาดฟ้าเลยทีเลย ประมาณใต้ main deck นะครับ ทั้งนี้น่าจะเป็นการออกแบบที่เผื่อในกรณีโดนจรวด เข้าบริเวณ superstructure แรงระเบิดจะส่งผลให้บริเวณใกล้เคียงเสียหายทั้งหมด แต่ ห้อง CIC ยังมีลุ้นเสียหายน้อยกว่าได้นะครับ ซึ่งสำหรับในกรณีเรือขนาด 10000 ตัน ขึ้นไปแบบของเรือ USA แล้วเนี่ย เรือจรวดโจมตีเรือปัจจุบัน จะต้องยิงใส่ไม่น้อยกว่าสองลูกละครับถึงจะทำให้หมดสภาพการรบได้ และเรือชั้นนี้นั้นออกแบบให้ มีผนังตัวเรือ2 ชั้นเพื่อทำให้จรวดจุดระเบิดก่อนที่จะทะลุเข้าไปในห้องสำคัญๆ นะครับ นี่ถือเป็นข้อดีของประเทศที่ทำสงครามอยู่ตลอดเวลาในการออกแบบเรือนะครับ