http://www.saabgroup.com/th/Markets/Saab-Thailand/Defense--Security-2013/Saab-at-Defence-And-Security-2013-Proud-Partners-Of-Thai-Defence/-RBS-70-NG-/
ปูเสื่อรอ
ผมว่าไม่เกิด ระยะยิง แค่8 กม สั้นไปไหมสำรับยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีป้องกัน สนามบิน มองว่าทอ อาจต้องการอาวุธที่ยิงได้ไกลขึ้น เช่น iris-t sls หากจะใช้กับ ทบ ก็ว่าไปอย่างแบกไปกับทหารราบ หรือ ป้องกันที่ตั้งขนาดเล็ก แต่ ทบ ก็มีทั้ง igla starstreak แล้ว
จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG ประกอบไปด้วยเครื่องนำทางที่แม่นยำและไม่มีการติดขัดที่มาพร้อมกับจรวดทำให้ มีสมรรถนะในการต่อสู้กับเป้าหมายเล็กๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ (UAV) และ ขีปนาวุธติดปีกขนาดเล็ก (Cruise Missile) หรือเป้าหมายที่ติดเกราะแบบเบา เช่น ยานลำเลียงพล (APCs)
ไม่ได้เอาไว้สอยพวกบินเร็ว
^
^
^
ตรงไหนที่บอกว่าไม่ได้เอาไว้สอยพวกบินเร็ว
จริงๆท่าน super boy น่าจะดึงข้อมูลออกมาวางให้อ่านกันไปเลย คน anti ระบบ saab จะได้ไม่มีข้อโต้แย้งนะครับ
จรวจต่อสู้อากาศยาน (RBS 70 NG) สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย
ระบบอะไรบ้างในสาขาที่คุณเป็นตัวแทนที่จะถูกนำเสนอให้กับประเทศไทย
ณ งานการป้องกันและความมั่นคงของประเทศ ปี 2013 ทางเราจะจัดแสดงจรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG ระบบขีปนาวุธแบบป้องกันจากพื้นสู่อากาศ หรือจะกล่าวให้เจาะจงลงไปอีกเราจะจัดแสดงโปรแกรมฝึกฝน CGI สำหรับจรวจต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG และแบบจำลองจรวจ Bolide
จรวดต่อสู้อากาศยานนี้ตอบโจทย์แผนงานหรือความต้องการด้านไหน
จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดจากระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 ที่ใช้ในกองทัพอากาศไทยอยู่แล้วและยังถือเป็นระบบที่ปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลายสำหรับกองทัพไทยอีกด้วย สามารถใช้งานได้บนยานพาหนะหลายประเภท ไม่ว่าจะขับเคลื่อนบนล้อหรือบนสายพาน
ทำไมประเทศไทยถึงต้องการผลิตภัณฑ์นี้
กองทัพอากาศไทยได้มีโอกาสทดลองใช้จรวดต่อสู้อากาศแบบ RBS 70 แล้วพบว่าระบบและจรวดมีสภาพพร้อมใช้งานสูง เชื่อใจได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องการบำรุงรักษา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 30 ปี จากกล่าวมาทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นจรวดที่คุ้มค่าการใช้งาน จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG ประกอบไปด้วยเครื่องนำทางที่แม่นยำและไม่มีการติดขัดที่มาพร้อมกับจรวดทำให้มีสมรรถนะในการต่อสู้กับเป้าหมายเล็กๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ (UAV) และ ขีปนาวุธติดปีกขนาดเล็ก (Cruise Missile) หรือเป้าหมายที่ติดเกราะแบบเบา เช่น ยานลำเลียงพล (APCs) จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG มีสมรรถนะที่โดดเด่นในการปฏิบัติการในเมืองพื้นที่กลางแจ้งที่เป็นที่ล่อแหลมในการถูกโจมตี และจรวจต่อสู้อากาศยาน RBS 70 รุ่นก่อนก็ได้ถูกใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการประชุม APEC เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยผู้ซื้อหลายรายมาแล้ว
ผลิตภัณฑ์เหล่าสามารถตอบสนองความต้องการของไทยได้อย่างไรบ้าง
การจับภาพของจรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG รุ่นใหม่อันทันสมัยนี้ จับภาพตามความร้อนโดยอัตโนมัติและมีการติดตามเป้าหมายด้วยภาพสามมิติที่แม่นยำ นอกจากจะลดเวลาในการฝึกฝนและลดการใช้อาวุธลงแล้ว ยังลดเวลาในการระบุตำแหน่งเป้าหมายเพื่อการสกัดอีกด้วย
จรวดต่อสูอากาศยานนี้สามารถยิงได้ไกลถึง 8 กิโลเมตร และสูงถึง 5,000 เมตร ทำให้ขีปนาวุธนี้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันทรัพย์สินที่สำคัญอย่างเช่นฐานทัพอากาศ และไม่ว่าจะถูกใช้โดยคนหรือบนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยล้อหรือสายพาน จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG ก็สามารถปกป้องได้ทุกอย่างตั้งแต่ทรัพย์สินที่สำคัญไปจนถึงหน่วยเครื่องยนต์
ทำไมข้อเสนอของซาบ(Saab) จึงสอดคล้องกับความต้องการของไทยมากกว่าเมื่อเทียบกับข้อเสนอของผู้ผลิตรายอื่น
- จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างหลากหลายทำให้มีประโยชน์มากต่อทุกสถานการณ์
- มีความพร้อมในการใช้งานสูง เชื่อใจได้และมีอายุการใช้งานนาน ทำให้คุ้มค่าในการลงทุน
คุณคาดหวังอะไรจากงานจัดแสดงครั้งนี้
ผมอยากจะเห็นผู้เข้าชมงานจำนวนมากที่มาจากกองทัพไทยในทุกสาขามาเยี่ยมชมบูทของเราและร่วมทดลองขับเครื่องบินรบโดยใช้จรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG แบบฝึกจำลอง
ผมมั่นใจว่าเราจะสามารถนำเสนอระบบการป้องกันจากพื้นสู่อากาศอันทันสมัยที่จะเติมเต็มความต้องการของผู้ใช้และถือเป็นการเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างซาบและกองทัพไทย
มีอะไรจะกล่าวเพิ่มเติมไหมครับ
ผมถือเป็นเกียรติตลอดมาที่ได้ร่วมงานการป้องกันและความมั่นคงของประเทศ ผมและเพื่อนร่วมงานจะพยายามให้ดีที่สุดเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG ทุกท่านได้ลองขับเครื่องฝึกจำลองจรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 NG และจะตอบคำถามไขข้อข้องใจต่างๆ ของผู้เข้าชมอีกด้วย
RBS-70 มันก็MANPAD หรือกลุ่ม SAMประทับบ่า เหมือนระบบIgla ใกล้เคียงกันทั้งระยะยิง ความสูงของเป้าหมาย
แต่RBS70 ใช้ระบบนำวิถีด้วยเลเซอร์ไม่ได้ใช้หัวรบอินฟาเรดเหมือนเจ้าอื่นๆ ซึ่งอากาศยานทั่วๆไปจะมีระบบชาฟ/แฟร์ยิงลวงเมื่อถูกลูกจรวดวิ่งตาม แต่ระบบเลเซอร์ เป้าหมายจะไม่รู้ตัวว่าโดนเล็ง(รุ่นเทพๆอย่างมากก็มีระบบแจ้งเตือนเลเซอร์)
ข้อเสียจึงต้องนำทางจนกว่าจรวดจะพุ่งชนเป้าหมาย ไม่สามารถยิงหลายๆเป้าในเวลาใกล้เคียงกัน(ถ้าแท่นยิง3นัดน่าจะไวขึ้น) ต่างกับหัวรบอินฟาเรดที่พุ่งชนเป้าหมายเองแล้วเตรียมยิงลูกต่อไปได้ทันที
แต่ข้อดีคืออากาศยานไม่มีเวลาตอบโต้เหมือนรถถังโดนATGM พุ่งชนนั้นเอง
กระทู้นี้ผมไม่ได้ตั้งนะครับท่านObeOne :( พอดีเข้ามาคนแรกเลยมาจองที่ไว้ก่อนเท่านั้นเอง นึกว่าจขกท.เขาจะลงข้อมูลต่อ เหอๆๆๆ
แต่ข้อมูลจรวดทั่วๆไปก็พัฒนาขึ้นมาจากของเดิมนั่นแหละครับ เมื่อก่อนนำวิถีเรเซอร์แต่ปัจจุบันพัฒนาให้ดีมากขึ้นไปอีก คือมีระบบติดตามเป้าหมายด้วยตัวเองติดตั้งอยู่ในตัวจรวด (แต่ดีมากน้อยแค่ไหนต้องดูที่ผลการทดสอบนะครับผมไม่ยืนยัน) และตัวจรวดสามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบเหมาะสมไปตามภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย ข้อดีที่สุดคือตัวจรวดเก็บได้นานมากคือ30ปี และเมื่อเทียบกับจรวดจีนPL-9 ที่สอ.รฝ.คยซื้อมาใช้10กว่าปีก็ต้องปลดประจำการแล้ว (แม้จะเป็นจรวดคนหละประเภทกันก็เถอะ)
ถามว่าดีไหม ดีครับ เหมาะกับทอ.ไหม เหมาะครับเพราะทอ.ใช้RBS70มาก่อนกำลังพลสามารถใช้งานต่อได้เลย แต่ควรจะซื้อไหมผมไม่แน่ใจเพราะระบบอื่นๆก็มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันทั้งสิ้น คงต้องมองไปที่ออฟเฟอร์เป็นส่วนประกอบด้วยแล้วสำหรับการซื้ออาวุธสมัยนี้ เพราะถึงได้จรวดที่โคตรทันสมัยมามันก็แค่MANPADป้องกันสนามบินในระยะใกล้ๆเท่านั้นเอง ซึ่งผมมองไม่เห็นความแตกต่างซักเท่าไหร่
ดูลักษณะของ ระบบป้องกัน เหมือนกับการป้องกัน ลักษณะการโจมตี แบบก่อการร้าย หรือลักษณะการโจมตีแบบ แทรกซึม บริเวณสนามบิน เช่น กองบินชายแดนต่างๆ เช่น 701 หรือ 211 หรือ 401...
ที่ลักษณะที่ตั้ง อาจจะถูก แทรกซึมจากฝ่ายตรงข้ามได้ โดยทำการ โจมตีบริเวณ สนามบินให้เกิดความเสียหาย ขัดขวาง การขึ้นปฏิบัติทางอากาศ อาจจะไม่มีเป้าหมาย ขนาดการทำลายทั้ง กองบิน...
เช่น UAV สอดแนม หรือ จรวดหรือระเบิดร่อน ที่ปล่อยจาก อากาศยาน หรือ จากยานเกราะต่าง ๆ หรือ อาจจะรวมถึง การก่อการร้าย ที่ใช้พาหนะท้องถิ่นติดตั้งอาวุธ สร้างความเสียหายให้กับสนามบินได้...เช่น การก่อการร้ายจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้...
ซึ่งเป็นภัยคุกคาม ที่อาจจะเป็นจุดบอดของระบบป้องกันทางอากาศขนาดใหญ่....
อยากให้กองทัพซื้อลิขสิทธิมาเลยครับ นำมาศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาจรวดต่อไปครับ เช่นอาจนำมาติด AF-1H เป็นต้น
ตอบคุณ MIG31
ระบบแจ้งเตือนว่าถูกลำเเสงเลเซอร์ส่องถ้าพูดถึงเครื่องบินรบ ผมว่าเครื่องบินยุคสี่น่าจะมีกันเกือบหมดนะครับ (ไม่เอาแบบว่ารุ่นออพชั่นต่ำสุดๆประเภทสเปสแคบมาตรฐาน ไม่มีแอร์ ไม่มีวิทยุ นะครับ) หรือว่าคุณ MIG31 กำลังหมายถึงว่าทำได้เพียงแค่แจ้งเตือนไม่สามารถทำการรบกวนหรือหลอกได้? ที่ผมอ่านจากวิกิบอกว่า rbs 70 เอาส่วนอิเล็กโทรนิคไปกองไว้ตรงตูดทำให้แจมได้ยาก แต่ผมก็ไม่เคยอ่านเจอเหมือนกันว่ามีเครื่องบินขับไล่ไหนมีระบบแจมเลเซอร์
ผมว่าระบบนี้ถ้าพลยิงมีความชำนาญประสิทธิภาพก็สูงเชียว แต่ถ้าไม่คล่องละก็ เพราะถ้าเครื่องบินบินที่ความเร็วเกือบมัคนึงการเล็งติดตามเป้าหมายน่าจะทำได้ยากมาก
ผมเคยอ่านจากเว็บนี้แหละ นานแล้ว ที่บอก rbs 70 ที่เรามีไม่เคยยิงเลย เคยลองยิงทีนึง แต่ตกน้ำหรือลงดิน เพราะพลยิงทำเครื่องยิงวืด สุดท้ายเจ้าหน้าที่บริษัทมายิงโชว์ให้เสร็จสรรพ หลังจากนั้นก็ไม่เคยมาทำการซ้อมยิงจริงเลย
กล่าวไว้ชัดเจนว่า " แจ้งเตือนทิศทางเลเซอร์ " มิได้แจมหรือลวงเลเซอร์แต่อย่างใด
ส่วนอุปกรณ์LWS(laser warning sensor ) แจ้งเตือนเลเซอร์นั้น รอบบ้านเราที่ผมหาเจอ มีแต่มาเลเซียที่ใช้LWS ส่วนเวียดนามที่ใช้SU30MKK ผมยังหาไม่เจอว่าติดตั้งLWSแต่อย่างใด จะเห็นกล่าวถึงมากก็เป็นRWR เท่านั้น
เรียกว่าใช้ป้องกันอากาศยานรอบๆบ้านเราได้ดีเลยล่ะครับ บินเข้ามาโจมตีมั่วๆจะร่วงเอาได้