หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เราเอาระบบ Erieye ไปติดตั้งบนเครื่อง Tiltrotor แบบ V-22 Osprey หรือ AW609 ได้ไหมครับ

โดยคุณ : Abhisin เมื่อวันที่ : 18/11/2013 22:12:59

จะได้เอาขึ้นลงจากเรือ 911 ได้ด้วย






ความคิดเห็นที่ 1


เอาลงจักรีฯเหรอครับ

มันจะลงลิฟท์ไม่ได้นะครับ

อีกอย่าง ต้องออกแบบโอเวอร์ฮอลล์กันเลย ระบบอิเล็กโทรนิคต่างๆในตัวเครื่องบิน

ลำก็แพงเชียว

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/11/2013 03:38:42


ความคิดเห็นที่ 2


ลิฟท์กว้าง x ยาว x สูง เท่าไหร่อ่ะครับ

ถ้าพับใบพัดแล้วจะพอยัดลงลิฟท์ได้มั้ย

 

โดยคุณ Abhisin เมื่อวันที่ 16/11/2013 03:51:05


ความคิดเห็นที่ 3


ท่านทราบราคาของV-22หรือเปล่าครับ แล้วสหรัฐยอมขายให้เราหรือครับ

โดยคุณ oldman เมื่อวันที่ 16/11/2013 07:30:16


ความคิดเห็นที่ 4


ถ้าต้องการอากาศยานที่ทำหน้าที่เป็น AEW และสามารถประจำการบน 911 ได้ก็ควรใช้จำพวกฮ.ดัดแปลงดีกว่าครับ มีหลายรุ่นให้เลือกทั้งเล็ก-กลาง-ใหญ่ เช่น SH-3 , EH-101 , KA-31 หรือ Z-8 และยังมีอีกเยอะครับ ไม่จำเป็นต้องคิดไปดัดแปลงเจ้าออสเปรย์ให้ยุ่งยากหรอกครับ ลำพังแค่ตัวเครื่องเปล่าๆ ก็แพงเกินจะเอื้อมอยู่แล้ว

แต่..ทร.คงไม่จำเป็นต้องมี เราเน้นตั้งรับและคุ้มครองน่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเราเท่านั้น ซึ่งสามารถขอให้ทอ.ใช้เจ้า Erieye มาทำหน้าที่ร่วมกันได้อย่าสบาย เพราะทั้งสองกองทัพได้วางระบบเชื่อมต่อด้วยโครงข่ายดาต้าลิ้งค์ไว้เป็นอย่างดี อีกทั้งทร.และทอ.ก็ยังได้ติดตั้งระบบควบคุมและบัญชาการทางอากาศไว้บนเรือหลักของทร.อีกด้วย (ใช้เจ้าหน้าที่ของทอ.ในการปฏิบัติการ)

นอกเสียจากว่าทร.จะสามารถจัดหาบ.ขับไล่/โจมตีอย่าง AV-8B Harier II มาประจำบน 911 ได้สักฝูง(เล็กๆ) จึงจะพอมีเหตุผลที่ต้องมี AEW ประจำการไปด้วยพร้อมๆ กัน

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 16/11/2013 08:56:37


ความคิดเห็นที่ 5


โอ้ V-22 อีนี่แพงม๊ากมากนะนาย1ลำอีนี่ซื้อAV8-B ได้4ลำสบายๆนะนาย

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 16/11/2013 10:21:49


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้าเอาแค่ติดตั้งได้ไหม"ได้ครับ" เพราะเครื่องบินเขากับเรามีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ติดแล้วเครื่องสมดุลมากน้อยแค่ไหนอันนี้ไม่ทราบจริงๆ เพราะเรดาร์ทรงแท่งยาวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเครื่องบินปรับมุมใบพัดแบบนี้ได้ น่าจะเหมาะกับเครื่องบินปีกแข็งธรรมดามากกว่า

 

มีโครงการพัฒนา CEV-22 Cereberus AEW เพื่อใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินในอนาคตแต่ก็ไม่ทราบว่าไปถึงไหนแล้วรุ่งหรือร่วง เรดาร์ของเขาเป็นรูปสามเล็กไม่ใหญ่เกินไปจึงน่าจะเหมาะสมกับเครื่องบินมากกว่า (ถ้าเป็นอีรีย์อายน่าจะยาวไปจนถึงแพนหางนะครับ) ผมพูดถึงแต่เรื่องเครื่องบินและเทคโนโลยีนะไม่เกี่ยวข้องกับราคาและการประจำการในบ้านเรา

 

The CEV-22 Cerberus AEW (Airborne Early Warning) V/STOL Aircraft is a tilt-rotor aircraft with both a vertical takeoff and landing (VTOL), and short takeoff and landing (STOL) capability. It is designed to combine the functionality of a conventional helicopter with the long-range, high-speed cruise performance of a turboprop aircraft. The CEV-22 Cerberus AEW V/STOL Aircraft is an all-weather, aircraft with long range, which is capable of extended missions with in-flight refueling. The V/STOL capability of the aircraft let it operate from anywhere a medium sized transport Helicopter could, be it on land or off a vessel, providing AEW, ELINT/SIGINT, and C3 capability where required. The CEV-22 is used by the New Hayesalian Navy as a carrier-borne AEW platform.

 





โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/11/2013 10:40:02


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าจะเอาฮ.มาติดเรดาร์เป็นเอแว็คให้เครื่องบินรบผมว่าอย่าเลย ความเร็วฮ.ต่ำมาก ระยะบินก็ไกล้ เพดานบินต่ำ ตกง่ายอีก

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/11/2013 11:28:41


ความคิดเห็นที่ 8


นอกจากจะแพงเกินความจำเป็นแล้วมันยังสิ้นเปลืองน้ำมันและค่าใช้จ่าย+ค่าซ่อมบำรุงอีกด้วย ราคาตัวเครื่องเปล่า 70 ล้าน usd (ไม่รวมค่าอื่นๆ) http://en.wikipedia.org/wiki/Bell_Boeing_V-22_Osprey

ถ้าจะซื้อ V-22 osprey มาเพื่อบรรทุกหนัก ผมว่าซื้อ ฮ.UH-54 หรือ UH-46 มาลงเรือหลวงของเราจะดีกว่า ครับ

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 16/11/2013 12:33:23


ความคิดเห็นที่ 9


Helicopter AEW systems มีหลายแบบเลยจ้ะ V-22ก็มีโครงการจะติดเหมือกัน ถ้าเป็นเรือจักรีฯเอา ฮ.แบบอื่นก็ได้ไม่จำเป็นต้องV-22





โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 16/11/2013 13:40:11


ความคิดเห็นที่ 10


แล้วใครบอกไม่มีล่ะครับ เพียงแต่สมรรถนะมันสู้เครื่องบินไม่ได้เลย ฮ.เอแว็คส่วนใหญ่เป็นเหมือนการดัดแปลงฮ.มาแก้ขัดมากกว่า ไม่ใช่เพราะว่าประสิทธิภาพดีเลิศ

ผมบอกถ้าจะเอามาใช้กับเครื่องบินรบผมไม่คิดว่าดี ซึ่งฮ.เอแว็คส่วนใหญ่ก็มาแนวกึ่งๆเรดาร์ตรวจการณ์ทางทะเล ความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายทางอากาศที่ระดับ altitude สูงๆนั้นสู้เครื่องบินเอแว็คแท้ๆไม่ได้เลย ฮ.เองก็ไต่ไม่ถึงด้วย 

ถ้าเอาฮ.มาบัญชาการรบแบบ air combat ยี่สิบนาทีเครื่องบินหายจากจอเรดาร์หมด เพราะบินไม่ทันพวก

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/11/2013 16:01:50


ความคิดเห็นที่ 11


ที่ผมติดใจสไตล์นี้เพราะคิดว่าความเร็ว+เพดานบินสูงกว่าฮ.ทั่วไป
และขึ้นลงง่ายกว่าบ.ปีกตรึงปกติอ่ะครับ (เนื่องจากขนาดของเรือ 911)

ผมว่า Spec มันก็พอๆกับ Saab 340 แต่เล็กกว่า ขึ้นลงแนวดิ่งได้

ถ้าเจ้า V-22 มันแพง ซื้อ AW609 มาดัดแปลงจะพอได้ไหมครับ
ข่าวบอก $5 M - $30 M เต็มที่ก็น่าจะราคาพอๆกับ AV-8B 1 ลำ
ถ้ากลัวจะซื้อมาไม่คุ้มก็ทำเป็น AEW และ Tanker ไปในตัวนี่จะตลกไหม

ว่าแต่ทร.มีแผนจะจัดหาบ.ขับไล่มาประจำการบนเรือจักรีฯบ้างไหมครับ

ถามเยอะไปนิด ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ

ดูๆไปมันก็เครื่องบินดีๆนี่เองครับ



โดยคุณ Abhisin เมื่อวันที่ 16/11/2013 16:09:12


ความคิดเห็นที่ 12


แล้วใครไปท้วงติงท่านละครับ toeytei ผมบอกว่า ฮ.AEW แบบอื่นมีให้เลือกไม่จำเป็นต้อง V-22 เป็นเอามากนะเนี่ย

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 16/11/2013 17:48:46


ความคิดเห็นที่ 13


ไม่ต้องทำท่าจะทะเลาะกันก็ได้ครับ ใครเข้าใจผิดก็ขอโทษกันไป

 

ตอบท่านAbhisin หลักๆเลยคือเจ้าV-22มันไม่น่าลงลิฟต์ได้ครับ...(จากที่ถามมาในTAF V-22, Super Stallion, Sea Chinook ลงลิฟต์ไม่น่าได้ถ้าไม่ปรับปรุง)ส่วนบ.ขับไล่/โจมตีบน911ทร.ก็อย่ากได้ครับ แต่อย่างอื่นมันเร่งด่วนกว่า(มาก) ทั้งฟริเกต(ไม่งั้นเดี๋ยวมีไม่พอใช้ มีแต่เรือบรรทุกบ.แต่ไม่มีฟริเกตที่พอคุ้มกันไหวก็เอาไปรบไม่ได้เหมือนกัน) ฮ.ประจำเรือฟริเกต แล้วก็OPV โดยเฉพาะเรือดำน้ำ (ว่าแต่LPDเร่งด่วนเหรอครับ เท่าที่เห็นมีอ่างทองลำเดียวก็รับงานไหว ถ้างานหนักก็แถมLSTไปอีกสอง) เรือดำน้ำมือหนึ่งโครงการคงตก50,000ล้านแล้ว OPVอีก3ลำ9000ล้าน(ตีลำละ3000ล้านบวกค่าออปชั่นเสริม) ฮ.ประจำเรือผมไม่ทราบราคา กว่าเงินจะมาถึงโครงการบ.ปีกตรึงถ้างบไม่ได้มากขนาดหลักแสนล้านคงไม่ได้หรอกครับ(ถ้าทร.ได้โครงการ10ปีแสนล้านก็อาจจะไหว)

 

ส่วนถ้าถามเรื่องความคุ้มค่าด้านอายุการใช้งาน ผมว่าก็ยังใช้ได้อีกนานอยู่นะ เพราะเหลืออะไหล่ใช้อีกบาน(มีประจำการเป็นร้อยลำ) ซื้อมายังไงก็ไม่เกิน20ลำ อะไหล่พอใช้อยู่ถ้ามีเงินซื้อ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 16/11/2013 18:29:55


ความคิดเห็นที่ 14


ถ้าจะเอาAW609มาติดเรดาร์อีรีย์อายแบบ SAAB340 AEW&C พอจะบอกได้ว่าหมดหวังครับ เพราะเครื่องบินเล็กเกินไปแบกเรดาร์แท่งยาวๆขึ้นไปบินบัญชาการรบบนอากาศคงจะไม่ไหว 19.73เมตรกับ13.3เมตรห่างกันเยอะพอสมควรและเรดาร์น่าจะชนกับแพนหางหลังเพราะความสั้นของเครื่อง ไหนจะต้องมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเครื่องบินดังภาพด้วยเยอะแยะ หมดหวังสำหรับเรดาร์ตัวนี้ครับแต่ถ้าเป็นตัวอื่นที่ขนาดเล็กกว่านี้ผมไม่แน่ใจนะเพราะไม่เคยรู้มาก่อน

 

V-22 พับปีกได้ครับตามภาพเลย ในโบรชัวร์CEV-22 Cereberus AEWระบุความกว้างความยาวเอาไว้แล้ว ใครอยากรู้ว่าลงได้ไหมเอาไปวัดกับลิฟท์เรือจักรีได้เลย แต่ก็อย่างที่เพื่อนๆบอกเครื่องบินแพงเรดาร์ก็แพง  ผมลองคิดราคาแบบคร่าวๆให้อย่างเครื่องบินSAAB340น่าจะราคาอยู่ที่10-15ล้านเหรียญ แต่พอเป็นSAAB340AEWแบบของเราก็ประมาณ100ล้านเหรียญขึ้นแล้ว ถ้าจะเอาตัวCตัวบวกเข้าไปอีกเท่าไหร่ไม่แน่ใจรอกองทัพอากาศอัพก่อนค่อยรู้กัน

 

เอาV-22มาติดเรดาร์เอง คิดแค่ราคาเครื่องและเรดาร์ไม่รวมการพัฒนาให้มันใช้ได้น้อยสุดก็ 70+90=160ล้านเหรียญสำหรับAEWอย่างเดียว คุ้มไม่คุ้มไปนั่งคิดเอาเองนะครับผมเผ่นก่อนดีกว่า ส่วนจะให้ทำภาระกิจTankerด้วยควบ2เด้งเป็นไปไม่ได้ครับไม่ว่าจะลำไหนก็เถอะ เพราะเครื่องบินTankerก็ต้องติดอุปกรณ์ทั้งหลายเหมือนกันคงใส่ในลำเดียวไม่หมดแน่นอน




โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/11/2013 19:59:02


ความคิดเห็นที่ 15


จะว่าไปพี่กันก็ใช้เครื่องบินคุ้มเหมือนกันนะ หลังจากเป็นTankerบรรทุกเชื้อเพลิงไปแล้ว ก้าวต่อไปของเขาคือASWปราบเรือดำน้ำ ตัวหลังมาช้าหน่อยนะครับ น่าจะเข้าประจำการไม่เกิน2024นี่แหละ(ถ้าโครงการไม่ล่มไปก่อน)



โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/11/2013 20:27:02


ความคิดเห็นที่ 16


     สำหรับผมคิดเห็นเหมือนท่าน  Akula  ว่ามีระบบเรด้าร์ที่สามารถติดตั้งบน ฮ. ที่สามารถขึ้นลงและเก็บเข้าโรงเก็บของ 911  จะง่ายกว่ามากและไม่มีความเสี่ยงที่จะต้องทำการพัฒนาระบบเพื่อให้ติดตั้งและใช้งานบน V-22   และเสี่ยงกับการที่เอามันมาใช้งานบน 911  ด้วยครับ

   มีหลายระบบมาก   และคิดว่าสำหรับ  911  ที่สามารถนำพา  Harrier 2+  ไปได้สูงสุด 10-12  เครื่องเท่านั้น   คงไม่ต้องถึงขนาด  AEW&C  หรือ  AWAC  ก็ได้ครับ    เอาแค่ขยายขีดความสามารถเรด้าร์ให้ตรวจจับครอบคลุมมากขึ้นนอกจากเรด้าร์เรือ    และที่สำคัญจุดบอดของเรด้าร์ประจำเรือก็คือ  

 

   เครื่องบินที่บินระดับต่ำมากเหนือพื้นน้ำแทบเรี่ยยอดคลื่นนั้น    ซึ่งต่อให้เรด้าร์ของเรือที่ใช้เรด้าร์  SPY-1 D หรือเรด้าร์  AESA  ก็ตรวจได้ไม่ไกลเกินขอบฟ้าครับ     เพราะเป็นยุทธวิธีที่ฝูงบนโจมตีบินเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือเข้าทำลายเรือรบ     และได้ผลดีมากในสงครามฟอร์คแลนด์ครับ

 

  ดังนั้นการนำเรด้าร์ขึ้นไปข้างบน   จะสามารถทำให้กองเรือมองเห็นเป็าหมายที่บินเจาะเข้ามาในระดับต่ำมากๆได้โดยง่าย     ซึ่งสำคัญกว่าการติดตามเครื่องบินที่บินเข้ามาด้วยเพดานบินสูงๆ   เพราะพวกนั้นเรด้าร์ประจำเรือสามารถตรวจจับได้ไม่ยากและติดตามได้จำนวนมากๆด้วย    

   ส่วนการบัญชาการและควบคุม   ก็ยังคงให้เรือ 911  ต่อไปดีที่สุด

 

  สรุป  .......   แนวคิดผม     ฮ.ติดตั้งระบบเรด้าร์ดีที่สุดครับ   ถูกกว่า    มีตัวเลือกมาก   และสามารถใช้งานกับเรือได้ทันที    เป็นการขยายขีดความสามารถของเรด้าร์ประจำเรือให้สามารถตรวจจับเป้าที่บินต่ำเรี่ยยอดคลื่นได้  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 20:46:42


ความคิดเห็นที่ 17


      ถ้าเอาระบบที่ทันสมัยที่สุดในตอนนี้   ผมว่าหนีไม่พ้นกระเปาะเรด้าร์  Vigilance หรือ  Vigilance  pod   

ซึ่งกระเปาะนี้สามารถติดตั้งบน ฮ.และเครื่องบินได้หลายแบบ  เช่น   MH-60   AW-101(EH-101 เดิม)   sea king   C-130   Cn-235      ซึ่ง  MH-60  ทร. ก็มีประจำการครับ   และก็สามารถขึ้นลงลิฟท์ของ  911  สบายๆ

   กระเปาะนี้ใช้เรด้าร์  APG  80/81  ซึ่งเป็นเรด้าร์  AESA  ที่ใช้งานกับ  F-16 block-60   และมีระยะตรวจจับอยู่ในช่วง 300-350 Km.   ซึ่งผมว่าเพียงพอในการตรวจจับระยะไกล   และน่าจะมีความละเอียดสูงทีเดียวในการตรวจจับเป้าที่บินเรี่ยพื้นน้ำเข้ามาด้วยความเร็วสูงมาก      เราแค่เอามันขึ้นบินวนรอบๆกองเรือเพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามมากกว่าจะตามฝูงบนออกไปเพื่งอควบคุมบัญชาการรบลึกเข้าไปในชายฝั่งข้าศึกมากกว่านะครับ    ไอ้อย่างนั้นคงต้องใช้เรือบรรทุกบ.โจมตีที่บรรทุกเครื่องบินจำนวนมากๆและสามารถนำเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ขึ้นลงได้     จักกรีมันเป็นแค่เรือบรรทุกบ.เบา  sea  control  เท่านั้นครับ    แค่  AEW  ก็เหลือเฟือแล้ว

 

      ถ้าเีทียบกับเรือบรรทุกบ.เบาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง   911  ที่เป็น  sea  control   คงเทียบได้กับ  escort  aircarft  carrier  มากกว่าครับ    ซึ่ง  Escort  carrier  นั้น   ราคาถูก   ผลตได้จำนวนมากๆ    ไม่จำเป็นต้องมีความเร็วสูง   ใช้แบบตัวเรือสินค้ามาสร้างก็ได้    ทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศให้กองเรือรบ  กองเรือยกพล หรือกองเรือสินค้าเท่านั้น     ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเรือหลักในการโจมตีกองเรือข้าศึกหรือชายฝั่งข้าศึกครับ    พูดง่ายๆ   ขยายขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศให้แก่กองเรือเท่านั้น    ไม่เน้นการโจมตีกองเรือข้าศึก

 

   แต่เรือจักกรีเราต่อตามมาตรฐานเรือรบ  และมีความเร็วใช้ได้ทีเดียวครับ   ดีกว่า  Escort  carrier  (ซึ่ง  escort  carrier  จะมีความเร็วประมาณ  22-25 น๊อต  และใช้แบบตัวเรือสินค้ามาดัดแปลงแบบ  ต่อตามมาตรฐานเรือสินค้า   เปราะมาก   แต่โคตรถูก)

    แต่จักรี  911  ไม่เน้นให้มีความเร็วสูงมากและมีเครื่องบินประจำเรือที่มีขีดความสามารถในการโจมตีและขับไล่สูง(เครื่องขนาดกลาง ถึง ใหญ่)   ซึ่งแบบนั้นควรจะเป็นเรือบรรทุกบ.เบา  แบบ   SAC-200/220  มากกว่า   จึงจะเทียบเท่าเรือบรรทุกบ.เบาที่เป็นกำลังหลักในการโจมตีของกองเรือครับ    ซึ่งเมื่อ 15 ปีก่อน  ทร. เคยมีแผนจัดซื้อครับ  รองรับ F-18  และ  E-2C ได้   ทำหน้าที่โจมตีเป็นหลักเลย

 

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:03:59


ความคิดเห็นที่ 18


ท่านneosiameseครับ 911แบกHarrierได้ถึง16เครื่องโดยไม่กินพื้นที่รันเวย์เลยนะครับ (ในโรงเก็บ10ลำ บนดาดฟ้าหน้าลิฟต์ตัวหน้า4 หลังislandอีก2)

หรือจะเอาHarrierออกแล้วใส่MH-60Sสำหรับภารกิจลำเลียงด้วยก็สุดแล้วแต่จะทำ(และแล้วแต่งบประมาณ) ผมว่าน่าจะได้Harrier 14ลำ และMH-60 4ลำ (AV-8ในโรงเก็บ8 บนดาดฟ้า6 ส่วนMH-60อยู่ในโรงเก็บหมด เบียดพอสมควร)

ส่วนถ้าใส่มากกว่านั้นโดยกินพื้นที่รันเวย์ด้วย(แบบที่อังกฤษจอดบนเรือชั้นInvincible หรือสเปนจอดบนPrincipe de Asturias)ก็อาจจะทำได้ แต่ไม่รู้จะหนักเกินไปสำหรับดาดฟ้าเรือหริอไม่

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:07:57


ความคิดเห็นที่ 19


    ภาพกระเปาะข้างบน   จะเห็นว่าเอาเรด้าร์เครื่องบินขับไล่ไปติดตั้งแล้วคงมีการจัดในส่วน  software เพื่อให้มันทำงานใน mode  AEW  ได้นะคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา     ดังนั้นมันสามารถกระดกแผ่นสายอากาศขึ้นลงได้   เพื่อตรวจจับเป้าด้านล้างและเป็าที่อยู่ในเพดานบินสูงได้ไม่ยาก    แต่จากรูปไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่ายทางข้างได้หรือไม่   ซึ่งถ้าไม่สามารถส่ายทางข้างได้    มันจะมีมุมตรวจจับไม่ถึง  360 องศา      แต่ถ้ากลัวแบบนั้น   ก็ติดตั้งเรด้าร์อีกชุดที่เรโดม(จมูก)ของ ฮ. ไปเลยเพื่อให้สามารถติดตามและตรวจจับเป้าข้างหน้าในมุมประมาณ  100 องศาได้  (เท่ากับว่าต้องติดตั้งเรด้าร์ 3 ชุด)

   ภาพ  vigilance  pod  ติดตั้งอยู่ด้านข้างทั้งสองฝั่งของ ฮ. AW-101  

 

 



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:12:11


ความคิดเห็นที่ 20


แล้วใครบอกว่าผมกำลังตอบท่านล่ะครับคุณ Akula ฮา อันนี้พูดเล่นครับ

เปล่าหรอกผมอ่านๆไล่ๆลงมาแต่ละความเห็นแล้วดูจากเนื้อความเหมือนติงผมไงฮะ เพราะมีคนพูดถึงฮ.aew ก่อนหน้าแค่สองคน

จบๆ หุๆ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:18:59


ความคิดเห็นที่ 21


   ใช่ครับท่าน  Phu2000      

911  ของเราสามารถนำ  harrier2+  ไปได้มากกว่า 10  เครื่องครับ   10  เครื่องน่ะในโรงเก็บฮ. ครับ   ที่เหลือสามารถจอดบนดาดฟ้าเรือได้โดยไม่ทำให้การเคลื่อนย้ายอากาศยานต่างๆติดขัดอีก  6  เครื่อง    แต่ในทางปฎิบัติคงต้องลดทอนเครื่องบินขับไล่ลงไปเพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับ  ฮ. ASW     SAR   AEW  ด้วยครับ    ซึ่งถ้าจะให้  911  ทำภาระกิจเรือบรรทุกบ.เบาเต็มตัว (ไม่ใช่สนับสนุนการยกพลขึ้นบก  และ เรือบรรทุกบ.ปราบเรือดำน้ำ)    คงต้องใช้  ฮ. AEW  3 เครื่อง   ฮ. SAR และ ASW  อีกอย่างน้อย 4 เครื่องครับ     ซึ่งถ้าเป็น ฮ. ผสมกับ  harrier      911  นั้นน่าจะสามารถบรรทุกได้ในช่วง  16-18  เครื่องแบบเต็มเอียดแน่นเรือครับ   น่าจะเป็น  harrier2+  ได้ประมาณ 10-12  เครืื่อง     แต่ทร.จะเอา  911  มาใช้ในฐานะเรือบรรทุกบ.เบาเต็มรูปแบบอีกหรือเปล่า  นั่นอีกเรื่องครับ

ลิ้งค์เกี่ยวกับ  vigilance  pod  ครับ

http://www.ainonline.com/aviation-news/singapore-air-show/2012-02-10/lockheed-martin-and-northrop-grumman-offer-airborne-vigilance-lower-cost 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:22:21


ความคิดเห็นที่ 22


   ข่าวเพิ่มเติมสำหรับกระเปาะ  Vigilance  ครับ

LM  uk  เคยเสนอขายมันให้มาเลยเซียครับ(ปี 2011)       ผมว่าทางมาเลย์อาจจะนำมันมาติดตั้งกับ  AW-101  มากกว่า  ตามข่าวนี้ครับ

http://www.flightglobal.com/news/articles/lockheed-martin-uk-offers-vigilance-aew-system-to-malaysia-365257/

 

 

Lockheed Martin UK offers Vigilance AEW system to Malaysia

 

Malaysia's long-held requirement to field an airborne early warning (AEW) capability will see Lockheed Martin UK Integrated Systems formally launch a product in the country in December.

Dubbed "Vigilance", the system combines mission equipment developed for the UK Royal Navy's AgustaWestland AW101 Merlin HM2 multi-role helicopter upgrade with active electronically scanned array (AESA) radar technology provided by Northrop Grumman.

The latter draws on the company's APG-80 radar developed for the Lockheed F-16 Block 60 fighter and the APG-81 scaleable agile beam radar, being offered as an upgrade option for earlier versions of the type.

"We bring the same performance as a fighter radar, although it will be an APY- [AEW sensor] in function" said George Riley, Northrop's manager for surveillance systems business development.

Vigilance sensors will be mounted in self-contained pods and be capable of supporting tasks such as AEW, fighter control, and maritime and border surveillance, said Neil Morphett, system solutions engineering group manager for Lockheed Martin UK.

"We are aiming to be as minimally disruptive to the aircraft as possible. We just need power on the aircraft and a hard point for mounting the sensor," he added.

Each pod will contain its own cooling system and other equipment, while a system interface panel will allow for the rapid integration of additional sensors, such as an electro-optical/infrared camera. Pod installation should take less than 4h, Morphett said.

Carrying one pod mounted on either side of its fuselage, a medium utility helicopter such as the Mil Mi-17 would be able to provide 360° radar coverage, with each AESA sensor's field of regard being expanded by the use of using a mechanical positioner.

Other potential host platforms could include the Airbus Military CN-235 and Lockheed C-130 transports, with these to be equipped with roll-on, roll-off mission stations for up to four operators. Rotorcraft are likely to be equipped with one operator station, and the ability to downlink data to analysts or commanders on the ground.

One radar has recently undergone vibration testing at Northrop's Baltimore site in Maryland, with this to undergo three months of industry-funded flight trials in the UK from the first quarter of 2012, using a prototype pod installed on a "medium-size" helicopter.

The first production-standard system is now in manufacture, and customer deliveries could commence within two years, said Younus Mustafa, Lockheed's capture manager for the Vigilance product. The company will launch the Vigilance product at a Tangent Link conference in Malaysia in late November, before promoting the system at the Langkawi International Maritime and Aerospace exhibition.

 

 

 

 



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:33:28


ความคิดเห็นที่ 23


    อยากเห็น  911   มี  harrier2+  จำนวน 12  ตัว  พร้อม ฮ. แบบต่างๆเหมือน  R11  บ้างจังครับ   ตอนรับเรือครั้งแรก  911  ของเรามีภาพแบบนี้ด้วย (ในหนังสือสงครามและสมรภูมิ   อื้อฮือออ.....harrier เต็มเรือเลยวุ้ย  ตอนนั้น.....

  มันออกแบบโดยพื้นฐาน  sea control   ผมว่าก็ควรจะให้มันกลับไปทำหน้าที่ของ  sea  control  ตามเดิมนะครับเหมาะสมกว่าเรือบรรทุกฮ.ปราบเรือดำน้ำ   หรือ  เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก       เสียดายเรือ.....เพราะเรือมันดี

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 21:44:21


ความคิดเห็นที่ 24


ถ้าโครงการEH-60ไม่ล่มนะผมว่าน่าสนอยู่เหมือนกัน



โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 16/11/2013 22:09:27


ความคิดเห็นที่ 25


     พูดถึงเจ้า Harrier 2 แล้วมันเลิกผลิตไปรึยังครับถ้าเราอยากจะซื้อของใหม่มันมีขายมั้ยหรือต้องรอซื้อของมือ 2 อย่างเดียว บริษัทผู้ผลิตเค้าไม่พัฒนาต่อแล้วเหรอหรือเค้าหันไปสน F-35 กันแทน

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 16/11/2013 22:34:47


ความคิดเห็นที่ 26


   ในกระทู้เก่าๆของ  TFC  เรามีข้อมูลอยู่นะครับ   ท่านจูลดาสลงเอาไว้อย่างละเอียดครับ   หลังจากปลด  Harrier2+  ไปแล้วจะยังมีโครงการบริหารอะไหล่ร่วมกันกับประเทศผู้ที่ยังใช้  AV-8B  อยู่  คือ  อิตาลี และ สเปน  ครับ  ลองๆค้นหาดูนะครับ

   คาดว่าราคาในการซ่อมคืนสภาพน่าจะมีราคาประมาณ 500-550  ล้านบาทต่อเครื่อง (คาดเดาจากราคาขายของมือสองที่ผ่านๆมาขงอเมริกา)  หรือก็คือราคาขายของใหม่มือหนึ่งเมื่อ 15-20 ปีก่อนโน้นครับ   ตอนนั้นทางบริษัทผู้ผลิตเสนอขาย ทร.ไทย 16  เครื่องครับ   ราคา  550  ล้านบาทต่อเครื่อง   ถ้าไม่เดี้ยงปี 40 ก่อน  ก็คงได้มาแล้วครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/11/2013 22:51:18


ความคิดเห็นที่ 27


ตกลงนโยบายการใช้งานเรือหลวงจักรีฯในปัจจุบันนี่คือเพื่ออะไรครับ

ดูๆไปแล้วถ้าไม่มีเขี้ยวเล็บอะไรให้ใช้จู่โจมหรือป้องกันภัยทางทะเล

เหมือนจะมีไว้จอดเฉยๆรอช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเดียวเลย


โดยคุณ Abhisin เมื่อวันที่ 17/11/2013 01:11:26


ความคิดเห็นที่ 28


พูดไปแล้วก็ยิ่งอยากเห็น 911 มี บขับไล่ประจำการ. ถ้าเราหาคนมาร่วมลงขันสัก 6ล้านคน เอาคนละ1000บาทก็พอ  เราก็ใด้ av8b มา10เครื่องละนะ

อันนี้เข้าข่ายฝันเฟื่องมั๊ยนะ. ผมว่าในบรรดา 3 เหล่าทัพเนี่ย ทร  ใด้งบไม่สมดุลย์กับภัยคุกคามเลยครับ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 17/11/2013 03:50:32


ความคิดเห็นที่ 29


ท่านAbhisinครับ เพราะทร.ไม่มีเงินไงครับ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 17/11/2013 07:44:28


ความคิดเห็นที่ 30


ท่านAbhisinครับขอท้วงติงนิดนึง ความเห็นอันหลังสุดออกแนวดราม่าตัดพ้อต่อว่าแล้วนะครับ

 

ถึงตอนนี้อนาคตAV-8B มือ2จากนาวิกโยธินอเมริกาค่อนข้างมืดมนแล้ว เพราะเขาเลื่อนแผนการปลดประจำการจากปี2015ไปเป็นปี2030โน่น เข้าใจว่าเครื่องบินบางส่วนจาก134ลำที่ค่อนข่างเก่ามากเกินเยียวยาจะมีการทยอยปลดออกไปก่อน แต่ก็อยูในสภาพเน่าใช้ถอดชิ้นส่วนทำอะไหล่ได้เท่านั้นเอง เป็นผลสืบเนื่องจากการเงินของประเทศเขาและF-35ที่เข้าประจำการช้าและแพงเกินไป

 

พูดตรงๆช่วงต้นปีผมยังหวังว่าเราจะมีงบไปสู่ขอมาซัก8ลำอยู่เลยนะ แต่ตอนนี้ยากมากถึงมากที่สุดที่จะจัดหาได้แล้ว

http://www.ainonline.com/aviation-news/ain-defense-perspective/2013-06-07/av-8b-harrier-ii-retirement-stretched-2030

June 7, 2013, 10:20 AM

The U.S. Marine Corps has extended the retirement date of its AV-8B Harrier IIs in increments until 2030, and most of the fleet will remain active through 2027, according to Boeing, which supports the 1980s-generation strike aircraft.

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/11/2013 08:57:35


ความคิดเห็นที่ 31


ผมว่า เรือจักรีไม่ต้องใส่เครื่องบินหรอกครับ จากสถานการปัจจุบันที่ 1. เครื่องผลิตใหม่ไม่มีมีแต่มือสอง ซ่อมันอ้วกแตก  2. ไม่มีคนขายเราเพราะเขาก็ยังไม่มีเครืองตัวตายตัวแทนเหมือนกัน  3. เราไม่มีตังซื้อ ฮา 

เปลืองตังค์ ผมว่าเอาฮ. ประจำการให้เต็มๆ อัตราศึก อาวุธป้องกันตัวทางอากาศ ให้ครบๆ เปลียนเรดาร์สามมิติ (อันหลังไม่แน่ใจว่าทัพเรืออนุมัตเปลี่ยนไปหรือยัง) แค่นี้ก็แหล่มแล้ว เพราะแฮริเออร์ ว่ากันตามตรงเดี๋ยวนี้สู้ได้ในสถานะเครื่องบินโจมตีอย่างเดียวแล้ว เอาไปขับไล่ไม่ได้ นอกจากกับเครื่องหลงยุค

ส่วน f35 ก็ลำใหญ่หนักมหิมากว่าขับไล่ของทุกลำในประวัติศาสตร์เครื่องบินขับไล่ไทยเลยทีเดียว เรือพังพอดี

ส่วนเรื่องการเอา erieye ไปติดบนเครื่อง v-22 จะติดแบบตามยาวคงไม่ได้ครับ ตอนพับปีกกับใบพัดและเครื่อง คงชนกันปึงปังไปหมด หรือจะติดบนฐานตรงกลางปีก ถ้ายาวๆ อย่างนี้ หมุนปีกไป ได้เรดาร์ยื่นออกมาด้านข้างแทน 

ถ้าจะติดกับ v-22 จริง คงต้องเปลียนรูปแบบการติดตั้ง แต่ทีนี้เครื่องนี้เป็นเครื่องบรรทุก ท้องมันเรี่ยพื้นมากๆ จะไปติดด้านล่างก็ไม่ได้อีก สรุปคือถ้าจะเอาตัวนี้ คงต้องรอแบบกลมๆ ติดข้างบนของเมกา 

เจ้าลำ 609 ก็เล็กเกิน เล็กกว่า v-22 เยอะเลยครับ ลำผอมเฟี้ยว ตลาดเขาเหมือนไปแข่งกับพวกฮ.ส่วนตัว ลำไม่ใหญ่

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 17/11/2013 13:16:10


ความคิดเห็นที่ 32


ขอบคุณท่าน superboy นะครับ ที่ทักท้วง คอมเมนต์ผมก็ออกแนวตัดพ้อมากเกินไปจริงๆ

แต่คืออยากเห็นเรือจักรีของเรากลับมาเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพเรือไทยอีกครั้งน่ะครับ

ขอโทษด้วยครับ

โดยคุณ Abhisin เมื่อวันที่ 18/11/2013 02:01:41


ความคิดเห็นที่ 33


   ขอบคุณากครับท่าน  superboy  สำหรับข่าวสารที่เพิ่มเติมเข้ามา

แสดงว่า  F-35 B  มีปัญหาเยอะจริงและมีความล่าช้าในการส่งมอบให้ นย.อเมริกามากจนจำเป็นต้องทำการ  upgrade  harrier2+  ให้ทำหน้าที่ต่อไปได้อีก   ซึ่งการ upgrade ทำให้ใช้หมวก helmet ได้    Link-16  และอื่นๆ

     ก็มาลุ้นดูครับว่า  F-35 B  จะสามารถเร่งเข้าประจำการได้เร็วขึ้นหรือไม่    ถ้าทำได้   134 ตัวของ  Harrier2+  Upgrade   คงมีการปลดเร็วขึ้น    ก็เท่ากับว่าเราสามารถจัดหา  harrier2+ ที่ผ่านการ upgrade มาแล้วด้วย     และเนื่องด้วยมีมากถึง 134 เครื่อง    ก็น่าลุ้นอยู่ครับสำหรับความต้องการของเราแค่ 10-12 เครื่อง    และยังมีโครงการบริหารอะไหล่รองรับอยู่      โดยความเชื่อส่วนตัว   แม้โครงสร้างจะล้าลงไปมากจนเกือบหมดอายุการใช้งาน    แต่เนื่องจากยังมีโครงการบริหารอะไหล่ร่วมกันของผู้ใช้    ผมว่าการซ่อมคืนสภาพก่อนทำการขายทิ้งน่าจะยังมีชิ้นส่วนให้ทำการเปลี่ยนเพื่อขายทิ้งอยู่  

     สำหรับผมถ้ายังคลุมเครือ    ผมก็จะยังมีความหวังอยู่ครับ  เหมือนโครงการเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงและโครงการเรือดำน้ำ (สมหวังแห่งการรอคอยไปหนึ่งล่ะ)

 

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/11/2013 15:31:32


ความคิดเห็นที่ 34


เรือ 911 ผมว่าใช้ในภาระกิจ  ยกพลขึ้นบกแบบไกลฝั่ง  และสนับสนุน "ฮอ" ปราบเรือดำน้ำ แค่นี้ก็คุ้มแลัวครับ

จริงๆ แล้ว นิตยสาร "เจน" ก็เคยเขียนไว้นานแล้วว่าภาระกิจหลักของมันคือยกพลขึ้นบกครับ  (ไม่บอกก็น่าจะทราบ..ครับ)

แต่ว่า "ฮอ" ลำเลียงมันมีน้อยจัง..  สิ่งแรกที่ควรคือต้องเพิ่ม "ฮอ" ขนาดกลางเพิ่มขึ้นอีกซัก 6-8 หรือ10 ลำ (ใน 10 ปี)

หรือเท่าที่จะหางบประมาณมาได้  ทะยอยเพิ่ม "ฮอ" รุ่นใหม่เรื่อยๆ  ไม่ต้องรีบ ครับ (เพราะ ทร....บ่..จี้)

 

ส่วนเรือ "อ่างทอง"  ก็ทำภาระกิจอย่างเดียวกันครับ  แต่เรือ "อ่างทอง" สามารถทำภาระกิจสนับสนุน  การปฏิบัติการพิเศษ

ด้วยเรือ พ. 55  หรือเป็นเรือพี่เลี้ยง  พ. 55  ได้

แต่ "เรืออ่างทอง" สามารถ ยกพลขึ้นบกทั้งในระยะใกล้ฝั่ง  และไกลฝั่ง  ได้ทั้ง 2 อย่างครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 18/11/2013 18:30:50


ความคิดเห็นที่ 35


การยกพลขึ้นบนใกล้ๆ ฝั่งอย่างที่เราเห็นกันในการฝึก "คอบบล้า" นั้น  มันทำไม่ได้กับประเทศที่มีกำลังทหาร

และกำลังอาวุธที่เท่าๆ กัน  ทำได้ต่อเมื่อกำลังรบมันต่างกันมากเท่านั้น  เพราะมันเสี่ยงเกินไป

และยังต้องมีการโจมตีทางอากาศจุดยุทธศสตร์ สนับสนุนอีก  ทั้งก่อนหน้า และขณะยกพล (แบบใกล้ชิด)

ต้องทำการส่งกำลังขึ้นบกแบบไกลฝั่งมากๆ  และลำเลียงโดย "ฮอ" เข้าสู่พื้นที่เป้าหมายที่ลึกเข้าไปจากฝั่ง

จนกว่าจะยึดพื้นที่ตอนในด้านหลังชายหาดได้ก่อน  จึงจะยกพลขึ้นหาดแบบที่เราเห็นในการฝึกปกติได้

เพื่อส่งกำลังหนุน และสัมภาระต่างๆ ขึ้นฝั่ง  ภาระกิจอขง เรือ 911 มันน่าจะเป็นอย่างนี้ ครับ คือเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 18/11/2013 18:56:25


ความคิดเห็นที่ 36


ความเห็นอาจไม่ตรงตามหัวข้อ....นะครับ    แต่ก็น่าจะคุยกันได้ครับ

เรือ OHP จำนวน 2 ลำ นี้ก็สามารถใช้เป็นเรือ  ยกพลขึ้นบกแบบไกลฝั่งสุดขอบฟ้า  ได้ครับ

อาจทดแทนเรือ "อ่างทอง"  ลำที่ 2 ได้เลยที่เดียวครับ  ถ้ามี  (ไม่ต้องซื้อ LPV มาเพิ่มอีกก็ยังได้เลย ครับ)

การใช้ความสามารถพลิกแพลงเข้าช่วย  ทำให้ประหยัดเงินซื้อเรือใหม่ได้เลยครับ

เพราะความสามารถในการบรรทุก "ฮอ"  ขนาดกลางได้ทีเดียว  2 ลำ  และระวางเรือขนาดใหญ่ นี่ละครับ

การใช้ "ฮอ" 2 ลำ  กับฐานลงจอดเล็กๆ  นี่ก็ต้องฝึกกันหน่อยละครับ...

(ในอดีด เราเคยใช้เรือชั้น Cannon ในการลำเลียงพล ไปรบที่เกาหลี มาแล้วครับ)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 18/11/2013 19:41:15


ความคิดเห็นที่ 37


^

เท่าที่ทราบ เรือที่เราส่งไปมี

รล.ประแส(1) และรล.บางปะกง เป็นเรือคอร์เวตชั้นFlower

รล.ประแส(2) และรล.ท่าจีน เป็นเรือฟรืเกตชั้นTacoma

และก็มีเรือลำเลียง รล.สีชัง...

เราไม่ได้ส่งรล.ปิ่นเกล้าไปเลยนี่ครับ?

 

ส่วนเรื่องยกพลขึ้นบก...ถ้าเรือมันเป็นLHDผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ว่าการที่มันออกแบบบนพื้นฐานจากSCS(และต่อมาคือPrincipe de Asturias)...ซึ่งภารกิจหลักคือsea control ไม่ใช่landing support....การให้เป็นฐานบินฮ.อย่างเดียวในภารกิจยกพลขึ้นบกดูจะเป็นการใช้ที่ไม่ค่อยจะเหมาะสมกับคุลักษณะตัวเรือเท่าไหร่ครับ (แต่ถ้าจะอัดฮ.ปด.เต็มสูบอย่างInvincibleหรือHyugaก็เป็นอีกทางเลือกที่ค่อนข้างจะเหมาะสมกว่าครับ)

 

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 18/11/2013 22:12:59