หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรือหลวงกระบี่มีพี่น้องเพิ่มแล้วครับ กองทัพเรืออังกฤษสั่งต่อเรือ Ocean-Going Offshore Patrol Vessels จาก BAE Systems จำนวน3ลำ

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 19/11/2013 00:04:38

แปลสั้นๆเฉพาะข่าวเรือOPVนะครับข่าวเรือฟริเกตและเรือบรรทุกเครื่องบินอ่านกันเอง  วันที่6พฤษจิกายน 2556 กองทัพเรืออังกฤษสั่งต่อเรือเรือOPVใหม่จำนวน3ลำเพื่อมาทดแทนเรือชั้น River Class (น่าจะเป็นในเรื่องภาระกิจมากกว่า) โดยเรือแบบใหม่จะมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับเฮลิคอปเตอร์Merlinได้และเข้าประจำการในปี2017หรืออีก4ปีข้างหน้า  ภาพประกอบคือโมเดลเรือล่าสุดจาก BAE Systemsเมื่อ1เดือนที่ผ่านมาครับ ตรงตามความต้องการของเขาเป๊ะๆเลย

 

http://www.royalnavy.mod.uk/News-and-Events/Latest-News/2013/November/06/131106-New-ships-for-Royal-Navy

The agreement with BAE Systems provides work for the company between the completion of the Queen Elizabeth Class Aircraft Carriers and the Type 26 Global Combat Ship, securing the vital skills needed to build the UK’s future warships.

The Defence Secretary is also announcing today that more than £100 million will be invested in Her Majesty’s Naval Base Portsmouth, which will be home to both HMS Queen Elizabeth and HMS Prince of Wales.

The money will expand the dockyard to ensure it is ready for the arrival of the Royal Navy’s biggest ever warships as well as the Type 45 destroyers which are based in Portsmouth.

Under the Terms of Business Agreement signed with BAE Systems in 2009 the MoD would have been liable to pay for any periods when no shipbuilding was taking place at UK yards.

Building Offshore Patrol Vessels means not only are staff at BAE Systems able to continue to work and maintain their skills, but the Royal Navy benefits from three new ships and the taxpayer gets much better value for money.

The cost of building the ships is funded from money that would have been used to pay for idle capacity, finance redundancies and meet the cost of industrial restructuring.

Portsmouth will maintain its proud maritime heritage as the home of much of the Royal Navy’s surface fleet and the centre of BAE Systems ship support and maintenance business.

Defence Secretary Philip Hammond said:

This deal will provide the Royal Navy with three brand new maritime patrol vessels with a wide range of capabilities which will support our national interests and those of our Overseas Territories.

"This is an investment not only in three ships but in this country’s warship building industry. It prevents workers standing idle and sustains the vital skills needed to build the planned Type 26 frigate in the future.

"I am also pleased to announce additional investment in Portsmouth Naval Base to prepare for the significant increase in tonnage as the home port for the Royal Navy’s aircraft carriers and destroyers.”

Work on the new Offshore Patrol Vessels is due to begin next year with the first ship being delivered to the Royal Navy in 2017. The ships are expected to replace the current, smaller River Class vessels, HM Ships Tyne, Severn and Mersey which have been policing the UK’s waters since 2003, but a final decision will be taken in the next Strategic Defence and Security Review.

Admiral Sir George Zambellas, First Sea Lord, said:

"These new patrol vessels will build on the proven performance of the River Class by adding a flight deck to take the Navy’s Merlin helicopters and by adding operational flexibility through extra storage capacity and accommodation.

“They are very welcome.”

 






ความคิดเห็นที่ 1


ทำไมผมจึงคิดว่าเรือ3ลำนี้จะมาทดแทนเรือชั้น River Class ในเรื่องภาระกิจมากกว่า เป็นเพราะเรือชั้น River Class ทั้ง3ลำเพิ่งเข้าประจำการในปี2004เป็นต้นไปเท่านั้นเองจึงไม่น่าจะปลดประจำการไปเลย และภาระกิจของเรืออาจจะ2ใน3ลำก็คือบฎิบัติโดยรอบหมูเกาะฟอร์คแลนด์ คำว่า OPV จึงย่อมากจาก Ocean-Going Offshore Patrol Vessels แทนแบบเดิมๆที่เราคุ้นเคย ความแตกต่างต่องเรือเก่ากับเรือใหม่มีประมาณนี้ครับ

 

90 metre (the new OPV)
Displacement: 1,800 tonnes
Length: 90 metres
Maximum beam: 13.5 metres
Top speed: 25 knots
Range: 5,500 miles
Crew size: 70
Embarked troops: 50
Endurance: 35 days

 

80 metre (existing River class)
Displacement: 1,700 tonnes
Length: 81.5 metres
Maximum beam: 13.5 metres
Top speed: 20 knots
Range: 5,500 miles
Crew size: 36
Embarked troops: 20
Endurance: 21 days

 

นี่คือข่าวที่ฮอทที่สุดของคนที่สนใจแวดวงทหารอังกฤษในรอบ1อาทิตย์ที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ ผมเลยขอแทรกคิวลงกระทู้ติดกันมาก่อนเพราะกลัวไม่ว่าแล้วจะลืม คนของเขามีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแบบเรือ หลายๆคนเห็นเหมือนกับที่ผมเห็นคือ แม้จะมีลานจอดสำหรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด10ตันก็จริงแต่เรือไม่มีโรงเก็บ เรือหลวงกระบี่ของเราโผล่เป็นภาพประกอบด้วยสิตามไปอ่านในกระทู้นี้ได้ครับ

http://warships1discussionboards.yuku.com/topic/24351/Three-new-OPVs-to-be-built-for-Royal-Navy?page=1#.UoWqaSedfIU

http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?232073-Three-New-Ocean-going-Offshore-Patrol-Vessels-for-the-Royal-Navy

 

ส่วนกระทาชายท่านนี้เขียนลงบล๊อกตัวเองยาวมากแต่ข้อมูลเยอะน่าสนใจไม่เบา ข้อมูลแน่นมากว่างๆตามไปอ่านกันเองนะครับ เคยคิดฝันว่าจะมีคนไทยทำแบบนี้บ้างผมจะตามไปอ่านมันทุกตอน แต่เท่าที่มีก็ยังไม่แน่นขนาดนี้รอท่านกับตันนีโมอยู่เนี่ย 5555

 

http://ukarmedforcescommentary.blogspot.it/2013/11/the-evolving-equipment-budget-situation.html

 

เรือหลวงกระบี่ลำที่2ของเรายังไม่มีวี่แววเลยซักนิด ผมอยากท้วงติงเรือลำนี้เรื่องโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์มานานแล้ว ถ้ามันมีถึงจะไม่มีเฮลิคอปเตอร์ก็ยังใช้ทำเป็นห้องอเนกประสงค์ได้ แต่ปล่อยโล่งเลยก็ต้องกางเต๊นส์แบบในภาพแหละครับ ภาพสุดท้่ายคือเรือOPVขนาด1400ตันจากเนเธอร์แลนด์ มีทั้งโรงเก็บแบบพับได้และช่องปล่อยเรือเล็กจากท้ายเรืออีกด้วย ยังไงผมฝากไปถึงกองทัพเรือให้พิจารณา2ข้อนี้ด้วยนะครับ ได้ไม่ได้ไม่เป็นไรแต่อยากให้พิจารณาก่อนเท่าน้ันเอง




โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/11/2013 12:53:32


ความคิดเห็นที่ 2


ภาพเรือชั้นRIVERของเขาที่ต่อในอู่เรือVTครับ เมื่อไหร่บ้านเรามีแบบนี้ได้ผมจะดีใจเป็นที่สุด


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/11/2013 13:27:15


ความคิดเห็นที่ 3


แล้วของเราละครับ เมื่อไหร่จะมีข่าวดีต่อเพิ่มกับเค้าบ้าง ผมว่าแบบเรือกระบี่ ดูเหมาะสมกับภัยคุมคามของเราในขณะนี้ OPV ก็เพียงพอในการดูแลอาณาเขตในเบื้องต้น และก็ได้พิสูจน์แล้วในการเดินทางไปซิดนีย์ เป็นความภาคภูมิใจของเราเลยก็ว่าได้ ผมให้ความสำคัญแก่มันมากกว่าเรือฟริเกตใหม่ด้วยซ้ำ ผมอยากให้ ทร. และ รบ. ให้ความสำคัญแก่มันมากกว่านี้ครับ

ความเห็นส่วนตัวนะครับ อยากให้ ทร.เรียงลำดับความสำคัญ ในแผน 10 ปี เฉพาะกำลังทางเรือนะครับ ถ้าได้อย่างนี้ก็จะดีมากครับ

1. เรือหลวงชั้นกระบี่ ต่อเพิ่มอีก 3 ลำ

2. เรือหลวงชั้นอ่างทอง ต่อเพิ่มอีก 1 ลำ (มันอเนกประสงค์ และสามารถช่วยผู้ประสบภัยพิบัติได้ เข้ากับสถานการณ์โลกในขณะนี้)

3. เรือดำน้ำ 2 ลำ

4. เฮลิคอปเตอร์ ขนาด 7 ตัน 6 ลำ 10 ตัน 6 ลำ

5. เรือฟริเกต 2 ลำ



โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 15/11/2013 14:43:01


ความคิดเห็นที่ 4


อะไรก่อนหลังได้หมดครับ แต่ขอทีเถอะครับ วิจัยเสร็จก็สั่งซื้อด้วย สั่งซื้อก็ขอให้เยอะๆหน่อยจะมาอ้างต้องพิสูจตัวะเองก่อนมันคัดกับความเป็นจริงไงก็ไม่รู้มันก็ต้องเอามาใช้ก่อนถึงจะรู้ว่าดีไม่ดีตรงไหน แล้วค่อยปรับปรุงกันไปเรื่อยๆ ไม่ใช่วิจัยพัฒนาเสร็จไม่มีประจำการในประเทศ  เห็นหลายโครงการดีๆทั้งนั้น สุดท้ายก็ซื้อเขามาใช้เหมือนเดิมที่ทำมาก็เป็นศูนย์ 







โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 16/11/2013 03:15:51


ความคิดเห็นที่ 5


ท่าน Pop04 คงเมนท์ผิดกระทู้น่ะครับ  เนือ้ความมันน่าจะเป็นการเมนท์สำหรับกระทู้ 

คิดว่ากองทัพไทยจะผลิตสิ่งใดต่อไปนี้ใช้เองได้เป็นอย่างแรกครับ  

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 16/11/2013 05:03:06


ความคิดเห็นที่ 6


เอาราคาของเรือOPVอังกฤษมาให้ดูนะครับ รวมอะไหล่และการซ่อมบำรุงทุกอย่างแล้วเรือ3ลำมีมูลค่า 348 ล้านยูโรหรือ 14797.49 ล้านบาท เฉลี่ย่ลำละประมาณ 4,900ล้านบาท สัญญาจะเซ็นในปีหน้าและส่งมอบเรือในปี2017-2018

เรือเขาจะต่างกับเราบ้างตรงอาวุธที่ติดตั้งและใช้เรดาร์หลักเป็นรุ่น Terma Scanter 4100 (เหมือนบนเรือหลวงอ่างทอง) ลานจอดรองรับเฮลิคอปเตอร์ใหญ่ขนาด10ตันได้ แต่แบบเรือเหมือนเรานี่แหละคือไม่มีโรงเก็บเหมือนกัน ด้วยราคาขนาดนี้คนอังกฤษจำนวนหนึ่งจึงอดเปรียบเทียบกันเรือOPV ของเนเธอร์แลนด์ สเปน และอิตาลี ไม่ได้

 

Based on a firm price offer, and subject to main gate approval and contractual agreement, the cost of the contract for the three offshore patrol vessels, including initial spares and support, is expected to be £348 million. A unit cost for these vessels has not yet been calculated. On current plans, the contract will be signed in 2014, with the three vessels entering service between 2017 and 2018.


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/11/2013 09:10:04


ความคิดเห็นที่ 7


เรือ OPV ของอังกฤษไม่ได้เน้นติดอาวุธอะไรมาก  เน้นที่การบรรทุก "ฮอ" ขนาด 10 ตันลงมา  เข้าใจว่าเน้นเป็นฐาน

จอด "ฮอ" กลางทะเลชั่วคราว  หรือฐานลอยน้ำต่อระยะให้ "ฮอ"  ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการบินลาดเวณไปเรื่อยๆ

หรือการบินไปกลับฐานบินบนฝั่งมาก  ทำให้สามารถใช้ "ฮอ" ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกมาก

 

ผมว่า ทร.  ควรซื้อ OHP มาประจำกองเรือตรวจอ่าว  เพื่อใช้งานในลักษณะนี้บ้าง  ไม่ต้องปรับปรุงอะไรมาก

ใช้เป็นฐาน "ฮอ" ชั่วคราว  หรือ ฐานต่อระยะการบินก็ได้  แค่นี้ก็น่าจะคุ้มค่ามาก  เพราะสามารถบรรทุก "ฮอ"

ได้ตั้ง 2 ลำ  เรื่องค่าใช้จ่ายเรือที่สูงก็ถูกชดเชยมาในรูป ความเร็วที่สูง ขนาดของเรือที่ใหญ่และสมรรถนะของเรือที่สูงขึ้น

ทนครื่นลมได้มากขึ้น ปฏิบัติงานได้ยาวนานขึ้น  ซึ่งเรือลำเล็กๆ ทำได้ไม่ดีเท่าแน่.....

และค่าใช้จ่ายในการบินของ "ฮอ" มันแพงกว่าค่าใช้จ่ายปฏิบัติการของเรือมากๆ อยู่แล้วละ....ครับ

และสามารถลดค่าใช้จ่าย "ฮอ" ลงได้มาก  กว่าการมีฐานจอดกลางทะเลน้อยๆ หรือการบินไปกลับไกลๆ

ซึ่งมันลดประสิทธิภาพ และสมรรถนะของการปฏิบัติการด้วย "ฮอ" ให้ลดลงไปอย่างมากมาย

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 16/11/2013 15:42:11


ความคิดเห็นที่ 8


^

ผมว่าค่าปฏิบัติการของOHPจะหนักกว่าค่าปฏิบัติการของฮ.น่ะสิครับ...

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 16/11/2013 18:33:29


ความคิดเห็นที่ 9


OHP ยังไม่แน่ไม่นอนนะครับ ผมว่าช่วงปลายเดือนธันวาคมหรือต้นเดือนมกราคมน่าจะมีความชัดเจนในเรื่องนี้

คือถ้าอเมริกาออกข่าวว่ายังจะโอนเรือให้เราจริงๆแบบต้นปีที่ผ่านมาก็คงเป็นไปตามนั้นแหละครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนไปโอนให้ประเทศอื่นก็คงไม่มาแน่แล้ว เรื่องค่าใช้จ่ายได้มาจริงๆทร.ก็ต้องจัดสรรรงบประมาณมาให้เองแหละครับ ยังไงเสียOHPก็ราคาถูกกว่าเรือใหม่เอี่ยม10เท่าตัวกระมัง(เทียบกับเรือDSMEที่ขนาดเล็กกว่า400ตัน) อาวุธก็ใช้ไปเท่าที่มีก่อนมีงบค่อยจัดหามาเพิ่ม

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/11/2013 09:05:01


ความคิดเห็นที่ 10


ผมว่าการเอา OHP class มาใช้เป็นฐานปฏิบัติการลอยน้ำให้ "ฮอ" มันเสียดายของนะครับ

อีกอย่างเรือชั้นนี้เป็นเครื่อง gasturbine ซดน้ำมันน่าดู

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 17/11/2013 11:13:53


ความคิดเห็นที่ 11


จำได้คล่าวๆ ครับว่าค่าใช้จ่ายมันปีละ 30-35 ล้านดอลล่าร์ ประมาณ 900-1,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วงที่มันประจำการ

ซึ่งน่าจะรวมเงินเดือนเบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงทั้งปีเข้าไปด้วย ครับ

แต่อยู่เมืองไทยคงใช้งบไม่เกิน 5 ล้านดอลล่าร์เท่านั้นละครับ  เพราะไม่ได้ตระเวณไปไหนไกลๆ ครับ

ปกติเรือของทุกประเทศก็เตรียมพร้อมในท่ามากกว่า 90% อยู่แล้วครับ  ยกเว้นเมกัน

เรื่องภาระกิจเรือ OHP มันมีหลากหลายครับ  ซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงก็ได้ครับ....

ถ้าจะปราบเรื่องดำน้ำคงต้องลงทุนนิดหน่อย  แต่เราควร Creative ภาระกิจใหม่ๆ ให้มันใช้ได้คุ้มค่ามากขึ้น

ตามลักษณะของ ภูมิยุทธศาสตร์ ของบ้านเราโดยเฉพาะ  โดยไม่ลงทุน หรือลงทุนให้น้อยที่สุด  ครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 18/11/2013 23:22:19


ความคิดเห็นที่ 12


สำหรับ OHP แล้ว  ผมไม่อยากให้มองเป็น ASW อย่างเดียวครับ  แต่ในภาวะสงครามแบบสงครามกวนใจกับเพื่อนบ้าน

บางประเทศ  มันไม่มีเรือดำน้ำให้ปราบหลอกครับ  แต่เราจำเป็นจะต้องป้องกันแหล่งพลังงาน

มันจำเป็นต้องมีอะไรที่รวดเร็วทันใจ  ทั้งเรือใหญ่ที่เร็ว และ "ฮอ" ที่อยู่ในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว  และมีน้ำมันเต็มถัง

การเอาเรือ 911 ออกไปก็ได้แค่จุดเดียว  แต่ทรัพย์สินมันกระจายอยู่มากมายในทะเล  มันก็ต้องแบ่งภาระกิจกันไป

จึงต้องมีเรือมากๆ

สำหรับ OHP นี้ ถ้าเราไม่เอา แต่เราก็ไม่ได้มีเรือขนาดใหญ่ ในจำนวนมากเพียงพอใช้งาน

แต่ประเทศมะละกา  เขามีเรือมากกว่าเราในอนาคต เขายังยื่นข้อเสนอความต้องการไปแล้วครับ

ว่าต้องการเรือ OHP จำนวนหนึ่ง ก่อนที่เราได้สิทธินี้ด้วยครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 19/11/2013 00:04:38