http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?232114-Dutch-Navy-unveils-M-frigate-replacement
นี่คือภาพโมเดลเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีแผนที่สร้างขึ้นมาประจำการแทนเรือ M frigatesในปี2023 หรืออีกประมาณ10ปีข้างหน้า Damen Schelde naval shipbuilding เป็นผู้ออกแบบและสร้างเรือลำนี้ ภายใต้การทำงานร่วมกับกองทัพเรือ
โมเดลเรือยังไม่ลงรายละเอียดเยอะมากและน่าจะมีการปรับเปลี่ยนอีกพอสมควร โดยมีสเป๊กคร่าวๆดังนี้คือ
Lenght: +/-145 m
Crew: 120 persons
Weapons:
- 1x76mm cannon
- 16x cells mk-41 VLS (ESSM) possible also SM-2 or other missiles
- 2x 30mm Marlin WS (ปืนรอง เหมือนDS-30Mของเรา)
- 2x Hitrole remote HMG (ปืนกล12.7มม ติดรีโมท)
- 4x Harpoon ASuW missile
- 1x CIWS (unknown system)
ระวางขับน้ำเรือลำนี้ ผมเดาว่าจะอยู่ในช่วง4,000-5,000ตัน เหมือนเรือฟริเกตใหม่ๆของยุโรปในปัจจุบัน กองทัพเรือเบลเยี่ยมให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย เพราะทั้ง2ประเทศมีความสัมพันธ์กันในระดับดีมากๆ
ขอวิจารณ์เล็กน้อย โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะติด Harpoon 8นัดเหมือนเรือทั่วไป(แม้ในภาพจะใส่มาแค่4ก็เถอะ) ส่วนระบบCIWS ปืนรอง และปืนกลนี่ค่อนข้างวุ่นวายนิดหน่อย ตามข้อมูลบอกว่ามี1CIWSแต่ผมดูว่า2ระบบนะ ติดอยู่มุมหน้าขวาของหอบังคับการเรือและมุมหลังซ้ายของโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ และจากภาพดูได้ว่าเหมือนฟาลังซ์มากกว่าโกลค์คีปเปอร์ของเนเธอร์แลนด์เอง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จริงๆคงบอกอนาคตของโกลค์คีปเปอร์ได้เลย ส่วนปืนอีก2ระบบก็ติดกันไขว้กันวุ่นวายไปหมดตามภาพที่ทำเอาไว้ แต่ท้ายเรือผมใส่ตำแหน่งปืนHitrole remote HMG สลับกับปืน30mm Marlin WSหนะครับเพิ่งรู้เมื่อครู่นี้เอง แหะๆ
เข้าใจว่าเขาจะติดCIWS2ฝั่งสลับกันเพื่อให้ยิงได้ครบทุกมุม ส่วนอีกด้านจะเป็นปืนรอง30mm Marlin เพื่อให้ยิงได้ทุกมุมเช่นกัน ส่วนปืนHitrole remote HMG ก็ติดในมุมเดียวกับCIWSแต่สุงขึ้นไปหน่อย ปืนเยอะจริงๆครับเรือลำนี้เพราะเป็นเรือฟริเกตเอนกประสงค์จึงมีครบทุกภาระกิจ ยังมีสิ่งที่แตกต่างไปจากเรือฟริเกตเราอีกอย่างคือจำนวนเรือเล็กที่เอาติดตัวไปได้
จากภาพเขาบอกไว้ว่ากลางลำเรือมีเครนใหญ่2เครน สามารถบรรทุก Unmanned Surface Vessels (USV) เรือเร็วติดอาวุธควบคุมด้วยรีโมทได้ถึง4ลำ ขณะเดียวกันด้านท้ายเรือใต้ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ยังมีmultimission bay ใส่เรือ USV ได้อีก2-4ลำ แต่ในการใช้งานจริงๆคงเป็นการผสมกันระหว่างเรือUSV และ RIHB มากกว่า ด้วยออปชั่นนี้ทำให้เรือใช้งานได้หลากหลายภาระกิจตามแบบเรือฟริเกตสมัยใหม่
mk-41 16ท่อ คงแบ่ง8ท่อสำหรับ32 ESSM แน่นอน ส่วนอีก8ท่ออาจจะเป็น SM-2 ในอนาคต LRASM หรือ VL-ASROC ก็เป็นได้ เรือเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบและเรดาร์ของตัวเองที่โด่งดังและขายดีทั่วโลก และใช้อาวุธมาตราฐานนาโต้จึงเข้ากันได้เลยกับอาวุธต่างๆของอเมริกา แต่ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาจะใช้8ท่อนี้ติดตั้งอะไร เรดาร์เหมือน i-MASTเอามากๆ ถึงตอนนั้นคงได้รู้ว่าเป็นรุ่นไหนกันแน่ ไม่มีเรดาร์ระยะไกลติดตั้ง ไอ้ที่โด่อยู่บนแท่นสุงด้านหลังคืออะไรไม่แน่ใจเหมือนกัน บางทีอาจเป็นCIWSจำนวน1ระบบก็ได้ (แล้วฟาลังซ์มุมแปลกๆของเอ็งหละ??)
โมเดลเรือค่อนข้างหยาบในอนาคตคงมีการเปลี่ยนบ้างพอสมควร หน้าตาเรือดูฮอลแลนด์ดีแต่ตรงกลางไม่ได้ติดปิดหมดแบบเรือ(ที่เรียกตัวเองว่า)STEALTHในปัจจุบัน ก็แล้วแต่มุมมองครับประเทศเขาคงเน้นใช้งานมากกว่าพะวงเรื่องSTEALTH
หัวกระทู้ผมใส่ภาพซ้ำครับ:( แก้ไขไม่ได้ด้วยเลยเอาภาพท้ายเรือมาใส่ในคห.นี้แทนแล้วกัน
ปัจจุบันนี้กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์มีเรือฟริเกตทั้งหมดแค่6ลำเท่านั้นเอง เป็นรุ่น De Zeven Provinciën-class frigates ที่มีทั้งAPAR SMART-L และ SM-2 จำนวน4ลำ (ราคาเมื่อ10ปีที่แล้วลำละ$816 million) และเรือ M frigates ที่จะถูกทดแทนด้วยเรือลำน้อีก2ลำ
ในปี2004 เนธอร์แลนด์มี M frigates มากถึง8ลำด้วยกัน แต่เขาขายต่อยกทั้งลำให้กับประเทศชิลี เบลเยี่ยม และโปรตุเกส ประเทศหละ2ลำจึงเหลือแค่2ลำในปัจจุบัน เพราะเรือใช้อาวุธและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างแพร่หลายจึงมีคนสนใจจัดหาไปใช้งานต่อ ต่างจากเรือของอังกฤษที่ใช้อุปกรณ์และอาวุธตัวเองไม่เหมือนชาวบ้านนัก เมื่อปลดระวางลงมักขายได้แค่เศษเหล็กเท่านั้นทั้งเรือฟริเกต เรือพิฆาตไปจนถึงเรือบรรทุกเครื่องบินมีชะตากรรมเดียวกันหมดเลย
จำนวนเรือฟริเกตที่ลดลงไปเนเธอร์แลนด์ใช้เรือOPV (Ocean Patrol Vessel)จำนวน4ลำมาทำหน้าที่แทนในยามปรกติ ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและมีประโยชน์มากกว่าเดิมเยอะ และยกภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศให้กับเรือใหม่อย่างDe Zeven Provinciënดูแลไปเต็มๆ ประเทศที่มีชื่อเสียงด้านต่อเรือรบขายไปทั่วโลกจะมีเรือฟริเกตประจำการแค่6ลำเอง
ภาพนี้จะเห็นได้ชัดๆว่า เมื่อเราอยู่บนสะพานเดินเรือ ขวามือด้านบนจะเป็นปืน Hitrole remote HMG ซ้ายมือเป็น30mm Marlin WS ถัดลงไปอีกบล๊อกด้านล่างขวามือจะเป็นCIWSหน้าตาเหมือนฟาลังซ์(แต่อาจไม่ใช่ก็ได้) ส่วนด้านล่างสุดจะเป็นMK-41 16ท่อ และปืน76/62 ด้านหน้าเรือ และแสดงให้เห็นด้วยว่าเป็นโมเดลที่ค่อนข้างหยาบทำตามแบบเรือในคห.บนซึ่งออกแบบในปี2010ชนิดตรงเป๊ะๆ
การติดตั้งปืนในแบบทะแยงมุมนั้นก็เพื่อให้สามารถมีมุมการยิงที่ครอบคลุมได้รอบตัว 360 องศา ด้วยปืนเพียง 2 ชุด ไงครับ หากติดตั้งทั้งสองชุดที่สองข้างหัวเรือก็จะมีมุมอับทางท้ายเรือ ติดทางท้ายเรือก็มีมุมอับทางหัวเรือ จะให้ครอบคลุมก็ต้องติดที่หัวเรือกับท้ายเรือ และการติดตั้งระบบปืนสองแบบสองขนาด อย่างละ 2 ชุดทั้งหัวเรือและท้ายเรือให้ครอบคลุมรอบตัวเรือและบาลานซ์กันได้พอดี ก็เลยออกมาเป็นอย่างที่เห็นนั่นแหละ
ปล. โมเดลอันหลังนี่ดูแล้วน่าจะใช้การกัดโฟมด้วยเครื่อง CNC แต่ทำแบบรีบหรือประหยัด จึงเล่นโชว์แบบเนื้อโฟมเปลือยๆ
karel Doorman ก็มีโครงการอัพเกรดด้วยครับ น่าจะติดตั้ง และปรับโรงเก็บสำหรับให้ NH-90
Ships
All ships were built by Royal Schelde Dockyard
Karel Doorman F827 1991 sold to Belgium as Leopold I (F930) in 2005
Willem van der Zaan F829 1991 sold to Belgium as Louise-Marie (F931) in 2005.
Tjerk Hiddes F830 1991 sold to Chile as Almirante Riveros (FF-18) in 2004
Van Amstel F831 1993 In Service
Abraham van der Hulst F832 1993 sold to Chile as Blanco Encalada (FF-15) in 2004
Van Nes F833 1994 sold to Portugal as NRP Bartolomeu Dias (F333) in 2006
Van Galen F834 1994 sold to Portugal as NRP D. Francisco de Almeida (F334) in 2006
Van Speijk F828 1995 In service
Van Galen
Armament
These multi-purpose frigates can be used in the anti-submarine, anti-aircraft or surface combat roles. Their armament reflects that.
Their primary surface armament consists of two quad launchers for the RGM-84 Harpoon anti-ship missile, which has a range of 120 kilometres. Backing this up is a 76 mm Oto Melara gun, which has both anti-ship and anti-air capabilities.
Air defence is provided by the Sea Sparrow vertical launch system, which uses semi-active radar to find its target and has a range of 14 km. 16 VLS cells are mounted on the port external bulkhead of the hangar. A Goalkeeper system provides close-range air defence. It fires 30 mm rounds and can fire up to 4,000 rounds per minute, with a range of 200 metres to 3 km.
For anti submarine warfare, each ship is equipped with two twin torpedo launchers, firing Mark 46 torpedoes; and carries one Westland Lynx helicopter. The helicopter is also armed with 2 Mk 46 torpedoes, and carries dipping sonar and forward looking infrared (FLIR) systems.
Karel Doorman
Modernisation Programme
The Royal Netherlands Navy and Belgium Navy decided to upgrade the four frigates by rebuilding both hangar and helicopter deck for the NH-90 as well to replace the forward mast for fitting the new Thales SeaWatcher 100 phased array surface search radar and Gatekeeper electro-optical surveillance system. The first ship to receive the upgrade was HNLMS Van Speijk F828 in April 2012, next will be BNS Leopold I F930, after her HNLMS Van Amstel F831 and BNS Louise Marie F931 will follow. SMART-S 3D search radars will not be replaced by SMART-S MK2.
Seawatcher 100 is a non-rotating active phased array radar for naval surface surveillance. The system automatically detects and tracks asymmetric threats and very small objects such as swimmers and periscopes in all weather conditions. Seastar can also be used for helicopter guidance.Seastar is internationally marketed as Sea Watcher 100
Gatekeeper is a 360° panoramic electro-optical surveillance and alerter system based on IR/TV technology. Designed to counter emerging asymmetric threats down to small boats and swimmers, Gatekeeper increases short-range situational awareness in littoral environments.
Edited by MSDOS, 06 November 2013 - 02:32 PM.
เรือเนเธอร์แลนด์นี่ใช้งานได้คุ้มจริง สงสัย2ลำนี้คงอยู่ไปอีกซัก15-20ปี ส่วนเรือใหม่คงไปทดแทน6ลำเดิมที่ขายต่อคนอื่นไปแล้วหละมั้งครับ (ชื่อโครงการ M-frigate replacement แต่M-frigateก็ยังปรับปรุงใหม่ด้วย ผมจะงงไหมเนี่ย)
เรือฟริเกตเขาแม้แต่ระบบขับเคลื่อนยังวางคอนเซปไว้ตั้ง8แบบแล้วค่อยเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเลยนะครับ CODOGคือคอนเซปหลักแต่ตัวอื่นก็น่าสนใจไม่ใช่น้อยๆ
และผู้ชนะเลิศ(นาทีนี้)ได้แก่ Concept 4: CODLAG (2 GT, 2 EM, 4 DG) to become the best solution โดยคะแนนรวมทุกด้านเฉือน Concept 5: CODLAG (1 GT, 2 EM, 4 DG) ไปแบบเส้นยาแดงผ่าแปด ก็ต้องรอดูเรือจริงๆหละครับว่าใช้ระบบขับเคลื่อนแบบไหนกันแน่
เป็นยุคของการขับเคลื่อนใบจักรด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็น FFX batch II ของเกาหลี F125 ของเยอรมัน SIGMA class จาก Netherlands
แล้วเรือฟริเกตใหม่ของไทยจะมีโอกาสได้ใช้ไหม
เห็นแบบเรือลำนี้แล้วทำให้รู้สึกภูมิใจแบบเรือฟริเกตใหม่ของเราเป็นครั้งแรก ถ้าของเขาอีก10ปีแบบยังเป็นแบบนี้ของเรากินขาด เรื่องความสวยนะครับฮ่าๆ