คำถามฉีกแนวหน่อยนะครับ ไม่ทราบว่า มันจะตอบสนองวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศใด้ ดี หรือด้อยกว่า หลักนิยมทั่วไปครับ... กรณีตัวอย่าง ประเทศไทย มีทะเลสองด้าน กำลังจะถูกรายล้อมด้วยเพื่อนบ้านที่มี ด. ทั้งสองฝั่ง
ถ้าแผนระยะยาว 10-20ปี สำหรับ ปท แบบนี้ ลงทุนในอนาคตกับ ด. 8 ลำ (ฝั่งละ4) เรือ บ. มือสอง ขนาดประมาณ 911 อีก 1ลำ AV8B มือสอง ฝูงละ 8 ลำ 3 ฝูง ( บนเรือลำละฝูง บนบก 1) บ AEW&C ฝั่งละ 1
การลาดตระเวณทางทะเลก็ทำ โดยทางอากาศ + ใต้น้ำ เป็นหลัก กำลังเรือผิวน้ำก็ออกปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์/กู้ภัย
มีเหตุตรึงเครียดก็เอา บ กับ ด เป็นกำลังหลักในการป้องปราม - ขับไล่
ส่วนเรือที่มีอยู่ประคองสภาพไปก่อน จนกว่าจะครบโครงการข้างบนค่อยขยับขยาย มันฟังดูเพี้ยนมั๊ยครับ ?
ภาพนี้เป็นภารกิจขับไล่สกัดกั้นโดยไม่ใช่ถังน้ำมันสำรอง Gripen ติดอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ (เช่น AIM-9M) จำนวน 4 นัด และอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยปานกลาง (เช่น AIM-120) จำนวน 2 นัด มีพิสัยทำการรบ (คือบินไปแล้วบินกลับฐาน - Combat Range) ไกล 800 กม. เมื่อขึ้นบินจากกองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อย่างนี้ ความจำเป็นเรื่องเรือบรรทุกเครื่องบิน อาจจะมีความจำเป็นน้อย มี911ลำเดียวก็พอ แต่จัดหาเครื่องบินมาใส่ให้ครบแล้วกัน
ทร.โซเวียตไงครับ
^
^
ใช่...กว่ากองเรือผิวน้ำพี่แกจะฝ่าน้ำแข็งออกมาได้....คงยิงกันเสร็จละ
มันไม่เพี้ยนหรอกครับ เพียงแต่มันแพงมาก
ที่ถามมามันก็คงเป็นเรื่องที่อยู่ในใจในจิตนาการของใครหลายคนอยู่แล้วล่ะครับ รวมทั้งผมด้วย Ha Ha
สำหรับเรือดำน้ำ อยากให้มีสัก 4 ลำ (ประจำการฝั่งละ 2 ลำ) เป็นความต้องการขั้นต่ำ ขนาดก็ไม่ต้องใหญ่โต เอาแค่ +/- 1,000 ตัน แต่ขอให้มีระบบ AIP และสามารถยิงอวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำได้
เรือบรรทุกบ.ที่มีอยู่ลำเดียวก็น่าจะพอ เพียงจัดหาบ.มาประจำการไว้สักฝูง ก็คงหนีไม่พ้น AV-8B Harier II ซึ่งก็คงต้องลุ้นจากเครื่องที่นย.สหรัฐจะสำรองราชการในอนาคต จัดมาสัก 12-16 เครื่อง ประจำการบน 911 สักครึ่งนึง ที่เหลือก็ไว้สำรองและฝึกบินที่ฐานบินบนฝั่ง
ในส่วนฝูงบินทั้ง Jas-39 และ Erieye S-100 AEW นั้นเป็นภารกิจรับผิดชอบของทอ.ซึ่งขอให้มีการจัดหามาเพิ่มตามข่าวอีก 6 เครื่อง และขอเพิ่ม Erieye อีกสัก 2 ชุด (เพราะทอ.มีเครื่อง SAAB 340 เปล่าๆอยู่แล้ว 2 เครื่อง) กับ อวป.ที่มี คือ Iris-T , AIM-120 C7 , RBS-15 ก็น่าจะพอเพียง แต่ถ้าจะได้ Meteor มาด้วยก็จะยิ่งดีมากๆ ครับ
ปล. แต่ในความเป็นจริงณ.เวลานี้ เรื่องบ.ประจำการบน 911 คงเป็นลำดับความสำคัญท้ายๆ มากๆ ของทร.ไทยครับ เพราะยังมีความต้องการเร่งด่วนกว่าในอีกหลายโครงการ ทั้ง ตกก. , LPD , ฮ.ประจำเรือ/ปราบด. , บ.ตรวจการณ์ทางทะเล หรือแม้แต่เรือฟริเกต/คอร์เวต
เป็นอันว่าถ้าเพี้ยนก็มีเพื่อนละ ถ้างั้นรายการของที่ต้องซื้อก็มี
1) อิรี่อายเรดาห์ 2 ชุด งป ?
2) เรือดำน้ำ 4 ลำ ( Gotland $400M/ship ? = $1,600M)
3) อันนี้เผื่อฟลุค AV8-B x 10 6 เอามาด่อระยะ 911 เก็บ 4 ไว้ทำสแปร์ ( $20Mx10 = $200M )
วางโครงการ 10 ปี อนุมัติมั๊ยครับท่าน
พูดถึง Jas-39ที่กองบิน 7 สุราษฎร์...แล้วนึกถึงกองบิน56ที่หาดใหญ่
เราน่าจะหาJas หรือ เครื่องบินรบแบบอื่นๆมาประจำการบ้างดีมั้ย
เพราะสมัยก่อนตอนผมเด็กเคยเห็นมี T-33 ประจำการอยู่...บินเกาะหมู่ 2-3 ลำผ่านหน้าต่างโรงเรียนทุกวัน
ปัจจุบันพอ T-33ปลดประจำการไป..ก็ไม่มี บ.รบแบบอื่นมาประจำการแทนเลย
ยิ่งถ้าได้ Jas มาเพิ่มเติมทีี่กองบิน56ด้วย...ผมว่าขอบเขตในการปฏิบัติการของ Jasสำหรับใช้ในการต่อตีเรือรบ
จะขยายออกไปอีกมาก....น่าจะข่มกองเรือทางฝั่งมาเลย์และอินโอได้พอสมควร
ผมไม่อนุมัติครับ ฮา
แฮริเออร์เก่าเกิ๊น
ผมเห็นด้วยครับ แต่มีแย้งบางรายการ คือ
รายการตามความเร่งด่วน เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ในการครองอากาศ ใต้น้ำ ผิวน้ำ ให้ได้ก่อนที่กองเรือหลัก เช่น เรือฟริเกต เรือลำเลียง เรือตรวจการปืน จะเข้าทำการรบ
1. เรือดำน้ำ 4 ลำ ( Gotland $400M/ship ? = $1,600M)
2. เครื่องบินปราบเรือดำน้ำตระกูล P 3 มือสองเพิ่มอีก 4 เครื่อง
3. ฮ. ปราบเรือดำน้ำ 4-6 เครื่อง และต้องสามารถใช้จรวดนำวิถีโจมตีเรือได้ (มือหนึ่งหรือมือสองก็ได้)
4. AV8-B แบบที่นั่งเดี่ยว 6 แบบสองที่นั่ง 3 (ไม่แน่ใจว่าโครงสร้าง GR7 , GR9 เก่าที่ทางสหรัฐแกะถอดไส้ในออกไปแล้ว สามารถจ้างทางสหรัฐ ให้ทำใหม่โดยใช้อุปกรณ์ทุกอย่างของ AV-8 B ได้หรือเปล่า เห็นแล้วน่าเสียดาย)
รายการที่รอได้ไม่ต้องรีบ
1. ฮ. ลำเลียงต่างๆ มีมากแล้วและหลากหลายยี่ห้อ น่าจะยุบรวมฝูงแล้วใช้จริงสัก 2 ใน 3 ที่เหลือไว้เป็นอะไหล่ได้ 10 ปี ค่อยคิดซื้อรุ่นใหม่ทีเดียว
2. เรือตรวจการไกลฝั่ง / ใกล้ฝั่ง เรือเก่าน่าจะพอต่อได้อีกสัก 10 - 15 ปี แค่ปรับปรุงยืดอายุการใช้งาน
3. เรือฟริเกตใหม่ เพราะ แค่โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้ง การปรับปรุงเรือชุดนเรศวร 2 เรือฟรีเกตเกาหลี 2 เรือคอเวตชุดสุโขทัย 2 เรือกระบุรี 2 รวมเป็น 8 ลำก็ใช้เวลานานแล้วและส่วนเรือที่เหลือน่าจะพอทนต่อไปได้สัก 10 ปี หรืออาจปลดบางส่วนไปเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แล้วจัดหาเรือฟริเกตเบาใหม่ 2 ลำ
4. เรือลำเลียงชั้นอ่างทอง ลำที่ 2 ก็น่าจะรอได้ เพราะ ของเก่าเรือชั้นสุรินทร์ก็น่าจะพอซ่อมใช้งานต่อไปได้อีก แถมเรือพวกนี้อาวุธน้อย โอกาสรอดน้อยหากถูกโจมตี (กรณี ทร. ไม่สามารถครองทางอากาศ ใต้น้ำ ผิวน้ำได้)
5. เครื่องบินลำเลียง / ตรวจการณ์แบบต่างๆ ที่มีอยู่ก็จำนวนมากแล้ว ควรลดจำนวนลง เอาบางส่วนไว้ทำอะไหล่กินตัวไปเรื่อยๆ แล้วค่อยซื้อใหม่ทีเดียวจะได้เหมือนกัน
ถูกครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน ความรู้เรื่องระบบอาวุธของผมมันแค่ผิวเผืน ต้องอาศัยท่านครับ
สำหรับของเร่งด่วน รวมๆแล้วในวงเงิน 2 - 2.5 พันล้านเหรียญ ก็น่าจะเอาอยู่นะครับ เป็นเงินไทยก็ 6 - 7.5 หมื่นล้านบาท สำหรับโครงการ 10ปี แจงออกมา(ง่ายๆ) ก็ปีละ 200 - 250ล้านเหรียญ สำหรับโครงการทางยุทธศาสตร์อย่างนี้มัไม่ใดมากเลยนะ
ผมว่าถ้ามองภาพรวมของ ปท เรื่องนี้เร่งด่วนกว่า รฟ ความเร็วสูงสายเชียงใหม่ (ทราบว่าการเชื่อมต่อกับจีนจะทำทางหนองคาย) และอีกอย่างไทยควรรีบทำเพราะ ขณะนี้สภาพเศรษฐกิจทางยุโรปย่ำแย่ ในขณะที่ความเสี่ยงสงครามในภูมิภาคต่ำ ถ้าเราสร้างสรรค์หน่อยอาจใด้ดีลดีถึงขนาดใด้เช่าใช้ ด. ในขณะที่ของเรากำลังสร้างอยู่ ส่วนค่าเงิน บาท - สกุลต่างๆก็อยู่ในสถานะที่ดีพอควร มัวเงื้อง่าราคาแพงเดี๋ยวเป็นแบบโครงการ F18อีก
ท่าน Teoytei เสนอ บ อะไรครับ... ผมจะไปหา งป มาให้ แฮ่ แฮ่
ที่หาดใหญ่ เข้าใจว่าเมื่อกองบิน 7 มีเครื่อง Jus 39 เพิ่มขึ้นเป็น 16 หรือ 20 เครื่อง
อาจมีส่วนแยก (กองบิน 7 ส่วนหน้า 6 เครื่อง) ประจำเป็นการถาวรก็ได้ครับ
ปัจจุบันสนามบินภาคใต้ทุกแห่ง ก็มีไปประจำการแบบไม่ค้างคืนอยู่แล้วนี่ครับ
ผมว่าเค้ามองล่วงหน้าไว้แล้วละครับ...