สวัสดีครับ ผมเป็นน้องใหม่ขอฝากตัวด้วยครับ
แหล่งข้อมูล http://aagth1.exteen.com/
Ukraine is studying the prospects for the development of cooperation in the sphere of military shipbuilding with Southeast Asian countries, including Cambodia, Thailand and South Korea, the press service of the Ukroboronprom State Concern told Interfax-Ukraine on Wednesday.
http://en.interfax.com.ua/news/general/171728.html
ยูเครนกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือทางด้านการสร้างเรือทางทหารกับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งประเทศดังกล่าวประกอบไปด้วย กัมพูชา ไทย และเกาหลีใต้
ซึ่งทาง Ukroboronprom เป็นหน่วยงานส่งออกยุทธโธปกรณ์ของยูเครนได้กล่าวกับสื่อในงานแสดงอาวุธของเกาหลีใต้
ยูเครนเองมี Technology ทางเรือที่ก้าวหน้าน่าสนใจหลายอย่างถึงแม้ว่ากองทัพเรือยูเครนเองจะไม่ได้มีขนาดใหญ่และทันสมัยนัก
ที่น่าสนใจก็เช่นยานเบาะอากาศ LCAC ชั้น Zubr เป็นต้นครับ
น่าสนใจนะครับ...เพราะยูเครนเองก็เคยมีประสบการณ์ต่อเรือใหญ่อย่างAdmiral Kuznetsovมาแล้ว และยังเป็นอู่หลักของโซเวียตในสมัยนั้นด้วย...
ติดครงที่ไม่ได้ต่อเรือเบ้งๆมาเป็นสิบปีแล้ว(ต่อแต่คอร์เวต ยกเว้นZubrนั่นใหญ่จริง) จะยังฝีมือดีอยู่หรือไม่...
ยูเครนทำได้สบายครับ แต่ส่วนตัวคิดว่าบ่จิ๊ครับ ก็เลยไม่ได้สร้างซักที จากการอ่านข่าวเหมือนจะหาคนลงทุน หรือคนซื้อก่อน ง่าย ๆ เหมือน Pre-Order ครับ จ่ายมาก็ต่อให้เท่านั้นเอง
ทุกวันนี้ผมยังสงสัยเลยว่าทำไมหลายๆคนถึงแอนตี้ของจากยูเครน ไม่ว่าจะเป็น BTR-3 , OPLOT
หรือ รถบรรทุกล็อตใหม่...ทั้งๆที่ยูเครนมีประสบการณ์ในการสร้างอาวุธมายาวนานตั้งแต่สมัย
สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย
หรือเป็นเพียงเพราะว่ามันไม่ใช่อาวุธจากค่ายโลกเสรีที่เรานิยมใช้และยึดติดกันมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นอย่างนั้นหรือ
...โดยหลงลืมดูไปว่าจริงๆแล้วทุกวันนี้บ้านเราก็ใช้อาวุธจากฝั่งสังคมนิยมอยู่ไม่ใช่น้อยและใช้มานานแล้วด้วย
ไม่ว่าจะเป็นอาก้า(ทั้งที่ชายแดนและ3จังหวัดใต้),อาร์พีจี(ซึ่งทุกวันนี้ถ้ามีข่าวความขัดแย้งตามชายแดนจะเห็น
ทหารเราเดินแบกอาร์พีจีกันจนชินตา แต่ผมแทบไม่เคยเห็นใครแบกM-72ของฝั่งโลกเสรีเลย)
หรือแม้แต่ L-39 ที่เราจัดหามาก็ไม่ใช่เครื่องบินจากค่ายโลกเสรีเต็มตัว...แต่เห็นเราก็สามารถนำมันมาใช้งานได้
เป็นอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ขีดความสามารถของมันจะทำได้
หากเราข้ามกรอบเดิมๆออกมาได้และลองหันมาร่วมมือกับประเทศยูเครน บางทีเราอาจได้ประสบการณ์
และความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางทหารเพิ่มขึ้น..
ซึ่งมันอาจเป็นพื้นฐานให้อุตสาหกรรมทางทหารของเราก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเหมือนอย่างพม่า
ทุกวันนี้ก็เป็นได้
เป็นเพราะเราใช้อาวุธจากฝั่งอเมริกามานานครับ ประกอบกับแรงโปรโมทของอาวุธจากฝั่งตะวันตกนั้นมีเยอะมาก ไม่ค่อยมีเรื่องเกี่ยวกับอาวุธรัชเซียหรือยุโรปตะวันออกมาให้เห็นกันมากนัก เลยทำให้เกิดข้อกังขาเรื่องประสิทธิภาพ อีกทั้งเรื่องรูปลักษณ์ความความสวยงามรูปทรงทันสมัยนั้นทางยุโรปตะวันออกและรัชเซียมันสู้จากทางตะวันตกไม่ได้ไงครับ
55555......กด LIKE ให้ admin ครับ ของมันห่วยเพราะมันไม่สวยยย..........นิยามที่เชื่อกันมานาน
Mi-17 ไงครับ หน้าตาโหลยโท่ยมากกกกก........คุณภาพคับแก้ว
เห็นด้วยครับอาวุธทางฝั่ง รัสเซีย จะออกแนว "หน้าตาอุบาทว์ แต่รสชาติแซ่บเว่อร์"
เรื่อง แอนตี้ อาวุธจาก ยูเครน...ผมว่า ไม่ได้มีใคร แอนตี้ ขนาดนั้น นะครับ...
เพียงแต่ บางท่าน รวมถึงผม ก็มีความข้องใจ ในการได้ ดีล เหล่านั้นมาครับ...
BTR-3E เรื่องมันเกิดข้อน่าสงสัย ถึง ขนาดเข้า สตง. ซึ่ง ไม่ใช่ บทวิจารณ์ ของฝ่ายไหน นะครับ...
และ BTR-3E ก็ไม่ใช่คัน ต้นตำรับ ด้วย...ระบบเครื่องยนต์ ก็ใช้เครื่องยนต์ที่ใช้เครื่อง ทดแทน...เนื่องจาก เยอรม้น ยังไม่ขายเครื่องยนต์ ดอยส์ ให้...รูปมัน ใช่ ครับ...แต่ ข้างใน (เครื่องยนต์ มันไม่ใช่)...และ สมรรถนะ มันจะเหมือนกันหรือเปล่า ? ปัจจุบัน ก็คงไม่มีใครตอบได้ครับ...คงต้องใช้ เวลาเป็น เครื่องพิสูจน์....
เรื่อง Oplot ก็มาอย่าง ม้ามืด หรือ ไม่มีใคร ระแคะ ระคาย ครับ...
มันจึงเกิดเป็นข้อ สะกิด ในใจของ หลายท่าน ว่า แล้วมันจะดีจริง หรือ...และจะมีอายุใช้งาน ราชการ ของ กองทัพไทย ได้นานเพียงใดครับ...
ส่วน MI-17 กับ รถบรรทุก...ผมว่า ไม่ค่อยได้ยิน เรื่อง ความไม่พอใจ นะครับ...เพราะ ราคามันก็ถูก ก็สมกับราคา...มันมีเหตุ มีผล ในงบประมาณการจัดหาอยู่...เช่น MI-17 ใช้งบประมาณ ซ่อมแซม มาซื้อ ฮ.ใหม่ เป็นต้น...
แต่ ทั้ง 2 รายการข้างต้น (BTR-3E , Oplot) มันมีการ แข่งขัน มันมีตัวเลือกอื่นๆ ที่จ่ายเงิน เท่ากัน อยู่ครับ...
ถ้าจำไม่ผิด เครื่องยนต์ BTR-3E1 นั้นเราเป็นฝ่ายต้องการเครื่องยนต์ดอยซ์เองนะครับ แต่ปัญหาเยอรมันไม่ส่งมอบน่าเป็นปัญหาของยูเครนกับบริษัทดอยซ์เอง วันเด็กใครมีโอกาสลองไปขอดูนะครับว่าเครื่องยนต์จากไหน อิ อิ เรื่องสมรรถนะไม่เคลือบแคลง แต่ที่ผมไม่ค่อยชอบใจคือการบริหารจัดการของบริษัทประกอบรถถัง OPLOT กับรถหุ้มเกราะ BTR-3E1 นี้ต่างหากครับ ผมจึงลุ้นอยู่ตลอดว่าถ้ากองทัพบกต้องการให้ร่วมมือกันประกอบในประเทศน่าจะมีผลดีในระยะยาวกับกองทัพบกเองครับ
BTR-3E เป็น เครื่อง ดอยส์ ครับ...ของ พม่า จำนวน 10 คัน ที่ได้รับมอบไป ก็เป็น ดอยส์...จึงมีข้อสงสัย ครับว่า...เยอรมัน ได้เปลี่ยนท่าที กับ พม่า แล้วเหรอ...ยูเครน ถึงมีการส่งมอบ BTR-3 ให้กับ พม่า ได้ครับ...และมีข่าวว่า พม่า จะประกอบเอง กว่า 1000 คัน...แต่สุดท้าย เรื่องก็เงียบหายไป...จนปัจจุบัน ไม่แน่ว่า BTR-3 ของ พม่า ถัดจากทั้ง 10 คันนั้น ใช้เครื่องยนต์ ของใคร ครับ...
และหลังจากที่ เยอรมัน ปฏิเสธ การขายเครื่องยนต์ให้...จึงมี บทความของ กองเครื่องกล ในการจัดหาเครื่องยนต์ทดแทน ซึ่งมีเครื่องยนต์หลายแบบ มาเปรียบเทียบกัน จนมาจบที่ เบ็นส์ ที่คุณลักษณะ ใกล้เคียงมากที่สุด ครับ...
The standard equipment of the BTR-3U also includes hydraulically amplified powered steering on the front four road wheels and a central tire-pressure regulation system that allows the driver to adjust the tire-pressure to suit the terrain being crossed. The BTR-3U is fitted with French Michelin tires.
The BTR-3U engine compartment consists of a Deutz BF6M1015 diesel developing 326 hp coupled to an Allison MD3066 fully automatic transmission. The power pack and transmission are fitted by the Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau with the technical assistance of the Deutz AG and the Allison Transmission companies. The engine compartment is fitted with an automatic double-action fire extinguishing system.
The vehicle is fully amphibious, propelled when afloat by a single water jet mounted at the rear of the hull. To prepare the vehicle for water, the driver erects a trim vane and switches on the bilge pumps from within the vehicle.
The troop compartment accommodates six soldiers who enter and leave the vehicle by a door in either side of the hull. The lower part of the door folds downward to form a step, with the upper part opening forwards. There are also hatches in the roof and firing ports with associated vision devices provided in the sides and front of the vehicle. An air conditioning system is fitted as standard to ensure crew comfort in hot conditions.
อย่างที่ท่านจูลดาสว่า ที่บอกคนแอนตี้อาวุธยูเครนรัสเซียเพราะไม่สวย มันไม่มีหรอกครับ แต่มันเป็นประเด็นอื่นมากกว่า
อย่างตอนแรกที่มีข่าวลือออกมาว่าซื้อ oplot 200 คัน ผมดีใจมาก เพราะราคาต้องบอกว่าถูกโคตรๆ แต่กลับกลายเป็นว่าเหลือ 49 ทำให้ราคาไม่ได้ถูกจนทิ้งขาดเจ้าอื่น ดังนั้นจึงเกิดข้อกังขาว่าทำไมไม่มีการพิจารณา หรือเอามาทดสอบแข่งขันกันเหรอ?
เป็นต้น
ส่วนบีทีอาร์นี่ก็เรื่องเยอะกับหลายๆ ประเทศ ไม่ใช่แค่เรา
oplot ผมว่ามาถึง 200 คันแน่ แต่ต้องรอดูผลการทดสอบ 49คันก่อน เพราะจำนวนที่ต้องทดแทนคือ 200 คัน ไม่แน่ถ้ามันห่วยจริงเราคงได้เห็นรถถังหลักจากฝั่งยุโรปหรือเกาหลีมาแทน เพราะกองทัพเราไม่ได้มีเงินจัดซื้อที่เดียวล๊อตใหญ่ๆ ดูอย่าง BTR ได้ข่าวว่าล๊อตสองมาแล้วนี่ครับ
กด10ไล้ส์ให้ท่านจูดาส
Oplot โดยรวมแล้วผมชอบนะในเรื่องของรูปร่างหน้าตาและอาวุธ ส่วนเรื่องประสิทธิภาพนั้นก็คงต้องรอลุ้นจาก 5 คันแรกที่รอส่งมอบอยู่ ผมว่าถ้า 5 คันนี้ทดสอบผ่าน 100% ส่วนที่เหลือก็ไม่น่าจะมีปัญหาแล้วนะครับ ส่วนตรงที่คนค่อนข้างแอนตี้เจ้า Oplot คงเป็นผลกระทบมาจากกรณีของ BTR-3 E1 ที่ทั้งล่าช้าและมีปัญหาเยอะจนหลายคนไม่เชื่อมั่นในอาวุธของยูเครน พอมีโครงการ Oplot ขึ้นมาก็เลยพากันแอนตี้ไปพอสมควร
มาดูอู่ของยูเครนกันครับ ถ้าร่วมมือกับเราแล้วมาสร้างที่เฟตสองคงจะดีไม่ใช่น้อย
^
ดูจากข่าวนี้ เมื่อปี 2554 เหมือนกับว่า อุตสาหกรรมต่อเรือของยูเครน ก็กำลังประสบปัญหา เหมือนกันครับ...เลยต้องหา ช่องทาง หาการร่วมทุนใหม่ ๆ เข้ามา
ล่าสุด รัฐบาลยูเครน พยายามช่วยเหลืออุตสาหกรรมต่อเรือ โดยการว่าจ้างต่อเรือ คอร์เวต จำนวน 4 ลำ มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านเหรียญ...โดยลำแรก น่าจะเสร็จในปี 2559
Kyiv, May 18, 2011. Ukraine is serious about reviving and further development of its ship-building industry in Mykolaiv region (South Ukraine — Ed.). This is the theme of the visit of the Ukrainian President Viktor Yanukovych to Chernomorsky Shipyard in Mykolaiv, where he participated in laying the keel of the corvette class ship for the Naval Force of Ukraine.
During the visit the President commended the ship-building employees for their patience and faith. “I am confident that together we will create with you all the motivation for the development of shipbuilding”, said the Ukrainian leader. This will be the third ship of corvette class that Ukraine will build since its independence.
It’s been reported earlier that the Cabinet of Ministers of Ukraine plans to allocate about UAH 16.22 billion (about $ 2 billion) to finance the construction of four corvette-class ships until 2021. The first ship of the corvette class is planned to leave the shipyard in 2016.
Chernomorsky shipyard is located to the south west of the city of Mykolaiv at the Black Sea. The shipyard is one of the largest in Europe possessing the ship-building and machine-building capacity and is certified by Germanisher Lloyds, Shipping Register of Ukraine and Russian Shipping Register.
Ukraine is famous to have built missile and aircraft carriers, large antisubmarine ships, heavy transport ships, boats, lighter carriers and multi-purpose icebreaking supply vessels. Overall, there are about 25 branch research institutes, 7 large plants that produce ship engines and ship equipment for ship building industry, 11 shipyards and 11 factories that produce ship instruments in Ukraine. Nowadays, experts claim that Ukrainian shipbuilding operates at 40 percent capacity.
The history of Ukrainian shipbuilding is closely connected to the shipbuilding history of the former Soviet Union, which owned approximately 30 percent of the global market share in producing navy ships and was among the top 10 countries in the world to produce cargo and passenger vessels. Ukrainian shipyards played a vital role in the military and civilian shipbuilding. In the 90s when Ukraine became independent the number of state order for navy vessels has decreased substantially and the state wasn’t ready to maintain the industry. In the last 10 years Ukrainian shipyards started to reorganize their operations and look for alternative solutions.
คอร์เวต ขนาด 2,500 ตัน (ดูงบประมาณแล้ว ราคาต่อลำ ของ ยูเครน เอง ดูจะสูงกว่าของ ทร.)
"Ukrspetseksport" declassified appearance of a perspective Ukrainian corvette of the project 58250, is spoken in the message published on a site of the Ukrainian state company. The model of the perspective ship will be shown for the first time to public at the Weapon and Safety 2013 exhibition which will take place in Kiev on September 25-28, 2013. Length of the model will make 1,25, width โ 0,25, and height โ 0,45 meters. As notes "Ukrspetseksport", earlier appearance of a corvette was under a signature stamp "confidentially". The corvette of the project 58250 was developed by the Nikolaev Skilled and design center of shipbuilding. Ceremony of a laying of the ship took place on May 17, 2011. The project of a corvette assumes close cooperation with the foreign companies because of what only 60 percent of works on construction of the ship of the project 58250 will be conducted at the Ukrainian enterprises. By data "Ukrspetseksport", the new corvette on arms and fire power will be comparable to a frigate, but will be cheaper. Displacement of a corvette of the project 58250 will make 2,5 thousand tons with a length of 112 meters, width of 10,1 meter and a deposit 5,6 meters. Allegedly, the ship will be able to gather speed to 32 knots, and range of its course will make four thousand miles. Details concerning ship arms while are unknown. As expected, the first ship of this kind will arrive on arms of Naval Forces of Ukraine in 2015. In the middle November, 2011 the Cabinet of Ukraine approved the state target program of construction of the ships of the class "corvette" which financing will make 16,1 billion hryvnias (1,9 billion dollars). According to the Ministry of Defence of Ukraine, the need of the Ukrainian fleet for corvettes of the project 58250 makes ten units.
Ukrspecexport show first declassified layout "Project - 58250" (Corvette) at the International exhibition "Arms and Security-2013"
In-construction for the Navy of Ukraine. Looks like a Steregushchy but with Western armament. Particulars gathered from various sources:
Project 58250
Length - 112 meters
Breadth - 10.1 m
Draught - 5.6 m
Displacement - 2,500 tons
Speed - 32 knots
Range - 4,000 miles
3D Multifunction radar - "Phoenix" fixed-face phased-array (probably derived from the radars on China's Type 052C/Ds)
Integrated sonar suite - Thales Kingklip bow + Thales Captas-2 variable-depth sonars
Combat management system - Thales TACTICOS
Antiship missile - 8 x MM40 Exocet Block 3
Surface-to-air - 16 VLS cells for Aster 15 or Umkhonto (one 8-cell group either side of the hangar)
General-purpose gun - 1 x OtoMelara 76mm STRALES
Close-In Weapons System - 2 x Rheinmetall 35mm Millennium GDM-008 (one mounting either side of the hangar)
Lightweight torpedoes - 6 launch tubes for Eurotorp MU90 (3 tubes either side of the funnel)
ASW helicopter - 1 x Kamov Ka-28
Cost - €250,000,000 each
ดูรูปทรงแล้วคล่ายๆแบบเรือของทร.เราเหมือนกันนะครับ
เอ่อ...ก่อนอื่นผมต้องขอโทษท่าน จขกท. และ เพื่อนๆทุกคนด้วยครับ ที่ผมเป็นตัวเริ่มพากระทู้จากทะเลเข้ามาขึ้นฝั่ง
ทำให้จากที่คุยกันเรื่องเรือรบกลายเป็นคุยเรื่องรถถังซะนี่
และ ขอขอบคุณ คุณPop และ คุณ Juldas ที่ช่วยพากระทู้กลับออกสู่ทะเลมาคุยกันเรื่องเรือรบอีกครั้งครับ
ในรูปนี่เครื่องยนต์ของอะไรเอ่ย ทายซิ
จากในรูปไม่ไช่เครื่อง ดอยช์ นี่
Mercedes Benz
เรือเขาแคบไปหน่อยไหม ยาว112เมตรกว้างแค่10.1เมตรเอง (เรือหลวงกระบี่เรายาวไม่ถึง100เมตรยังกว้าง13.5เมตรเข้าไปแล้ว) Millennium gun คิดบนหลังคาโรงเก็บกระบอกเดียวก็พอคงไม่มาแบบเรือหลวงนเศวรอีกนะครับที่ใส่อะไรหนักๆบนนั้นไม่ได้
ขึ้นอยู่กับราคาและการถ่ายโอนเทคโนโลยีต่างๆหละครับงานนี้เพราะแบบเรือไม่ได้ทันสมัยมากออกแนวเรียวยาวเหมือนเรือเก่าๆอยู่ดี
สำหรับเครื่องยนต์ เป็นยี่ห้อตามที่ท่าน Banyat บอกไว้ครับ แต่เป็นเครื่องที่สั่งจากทางอเมริกา ซึ่งก็มีสมาชิกในนี้ให้ข้อมูลไว้แล้ว คงเหมือนกันกับกรณีของปืนพก เอชเค ที่ร้านค้าปืนก็สั่งจากอเมริกาเหมือนกัน ส่วนเครื่องเดิมแบบที่เราต้องการนั้นทางเยอรมันยกเลิกการขายให้ เนื่องจากโครงการมีปัญหาการถูกร้องเรียน
เครื่องยนต์ Deutz ตามข้อมูลในบทความของ กองเครื่องกล...
จะเป็นมาตรฐาน ยูโร I จะใช้เชื้อเพลิง ได้เกือบ 10 ชนิด จะมีความคงทน และอายุใช้งานจะยาวนานกว่า...
เครื่องยนต์ Benz ที่เลือกมาแทนนั้น จะเป็น มาตรฐาน ยูโร III จะใช้เชื้อเพลิงได้เพียง ชนิดเดียว...และไม่รับรองว่า ถ้ามีการใช้เชื้อเพลิงที่ต่ำกว่า มาตรฐาน ยูโร III จะมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือไม่...
ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแบบ เครื่องยนต์ ทำให้การวางระบบภายใน เปลี่ยนใหม่หมด...
เครื่องยนต์ Benz จะมีความยาวกว่า Deutz แต่จะความกว้างจะน้อยกว่า
ความลึกระหว่าง เครื่องยนต์ กับ เพลา...ของ Benz จะใช้ความลึกกว่า Deutz พอสมควร...
ส่วนน้ำหนักเครื่องยนต์ Deutz จะหนักประมาณ 800 ก.ก. ส่วน Benz จะหนักประมาณ 560 ก.ก.
แล้ว...??? ก็ในเมื่อเจ้าเครื่อง "ดอยซ์" ที่ว่าเจ๋งแจ่มแจ๋วนั้น ประเทศผู้เป็นเจ้าของเค้าไม่ยินยอมที่จะขายให้เรา ต่อให้มันยอดเยี่ยมแค่ไหน มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปกล่าวถึงมันอีกครับ
มาตรฐาน ยูโรI น่าจะเป็นข้อกำหนดเริ่มต้นหรือเปล่าครับ เพราะปัจจุบันรถยนต์บ้านเราที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลก็มีกฎหมายบังคับว่าต้องเป็นเครื่องยนต์มาตรฐาน ยูโรIII ตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งก็มีแต่เครื่องยนต์คอมมอนเรลเท่านั้นที่ตอบโจทน์นี้ได้
ว่าแต่เรื่องเรือผมกลับมายังไงหว่า....? อาจจะเป็นได้ที่เราสนใจให้เขามาร่วมทุนต่อเรือฟริเกตลำที่สามหรือเรือ OPV ในประเทศหรือเปล่า หรืออีกแง่หนึ่งคือ พม่าหรือกัมพูชา ซึ่งพม่าถือเป็นลูกค้าเก่ายูเครนในส่วนของยานเกราะอาจจะสนใจเรือรบอยู่บ้าง ส่วนกัมพูชาอาจจะหาเรือรบอย่างเรือคอร์เวทราคาไม่สูงมากมาใช้งานก็ได้ แต่ไม่น่าจะใช่ลาว
มันถึง โดน สตง. ไงครับ...ผิดสังเกตุ รอบ 2...
รอบแรก...ได้รับเลือก แบบมีข้อสงสัย...ว่ายื่นซองประมูล หรือเปล่า...(ประทับตราวันที่ ย้อนหลัง)
รอบสอง...เครื่องยนต์ ผิดจากแบบที่ได้รับคัดเลือก...ซึ่งเป็นสาระสำคัญ...
ในขณะที่ ตัวเลือกอื่น ๆ ที่เข้าร่วมประมูล ก็ยังอยู่...เช่น BTR-80 ของรัสเซีย...ซึ่งเป็นรถแบบเดียวกัน...
แต่ BTR-3E ก็ผ่านมาได้...จนรับมอบกันเรียบร้อย...
โดยโครงการรถเกราะล้อยาง นี้...เป็นการจัดหาแบบพิเศษ คัดเลือกแบบรถไม่สนใจราคา ว่าของใครราคาจะสูงกว่า...แต่ให้สมรรถนะ ตรงกับความต้องการที่กำหนด...LAV-25 ถึงได้อันดับหนึ่ง...
แต่การคัดเลือกสุดท้าย กลับใช้วิธีการคัดเลือกจากแบบราคาที่ต่ำกว่า...มันเลยถูกร้องเรียน น่ะครับ...
ดู ๆ จากหลาย ๆ ข่าว แล้ว...เหมือนกับว่า อุตสาหกรรมอาวุธยูเครน จะยังไงก็ได้ ขอให้ขายได้ไว้ก่อน...เพื่อหาแหล่งเงินทุน หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมเอาไว้...
ถ้าจะร่วมทุนกับยูเครน...ผมว่า พวกเรือลำเลียงพลขนาดใหญ่ หรือพวกเรือยุทธบริการ อาจจะน่าสนใจกว่า เรือประเภทฟริเกต...เพราะราคาจะอยู่ในระดับกลาง ๆ...โอกาส การบานปลายของการลงทุน ไม่น่าจะเกิดสูง...เพราะดูแล้ว ทร. น่าจะยังมีความต้องการ เรือขนาด LST อยู่อีกประมาณ 3 ลำ...
ส่วนตัวผมมองแบบนี้ครับ ที่ ว่าอเมริกัน /เยอรมัน /รัสเซีย ผมไม่เคยคิดตัดสินใจอาวุธที่หน้าตา หากว่าเพื่อนสมาชิกบางท่านเข้าใจไปแบบนั้นก็ขอให้ปรับมุมมองซะใหม่ คือ ระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ผมก็เลือกของรัสเซียครับ เพราะอะไร ชิ้นส่วนต่างๆ รัสเซียสามารถทำเองได้หมด ต่างจาก ยูเครน ที่ต้องใช้ของหลายๆอย่างจากเจ้า อื่น เช่นเครื่องยนต์/ชุดเกียร์ และอื่นๆ แล้วทำไมต้องอเมริกัน เยอรมัน พวกนี้ของทำเองทั้งหมดนะครับ ถ้าให้คนอื่นทำส่งให้นั้นคือ เรื่องของราคาไม่ใช่ว่าตัวเองไม่มีเทคโนโลยี่ที่ไม่สามารถทำให้ ต่างกับ บางประเทศ
เพราะงั้นถ้าคิดดีๆ คิดไปคิดมา เรื่องรถถังหรือ รถเกราะ หรืออื่นๆ ถ้าต้องเป็นแบบที่ว่า เครื่องของคนนั้น เกียร์ของคนนี้ อุปกรณ์สื่อสาร ชุดควบคุมอื่นๆ เป็นของหลายๆเจ้า ผมว่าเราตั้งสำนักออกแบบ จ้างบริษัท เยอรมัน/อเมริกา หรือ แม้ แต่รัสเซีย มาเป็นพี่เลี้ยงในการออกแบบไม่ดีกว่าหรือ เพราะชิ้นส่วนหลักๆ สำคัญๆ ก็ซื้อเขาอยุ่ดี
ส่วนเรื่องว่า ทำไม่มองอาวุธทางฝั่งโน้นไม่ดี ก็เพราะมันมีข่าวเรื่องคุณภาพและมาตฐานออกมาเรื่อย ไงครับ เช่นล่าสุดเครื่องมิก 29 ที่ส่งให้อัลจีเรีย ไม่ยอมรับมอบเครื่องเพราะตรวจสอบพบว่าคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน จนทางรัสเซียต้องรับไว้เองโดยทำการซ่อมเปลี่ยนชิ้นส่วนประกอบใหม่ ทำการปรับปรุงแบบ Overhaul (อ้างอิงข้อมูลข่าวจาก หนังสือแทงโกครับ)
เพราะงั้นเลยทำให้สงสัยว่าถ้าอาวุธใดๆ จากประเทศใดๆ ในโลกนี้ ขายมาให้กองทัพไทย
1.เราจะตรวจพบแบบนี้ไหม
2.ถ้าตรวจพบเราจะทำอย่างไร กล้าที่จะเป็นข่าวไม่ยอมรับมอบไหม(หรือ ทำแค่ว่า ...ฉันอยากอยู่เงียบๆคนเดียว)
ปล.ผมว่าเรื่องหน้าตาอาวุธคงไม่มีท่านใดเอามาพูดอีกนะครับ ถึงแม้จะมีบางท่านพูดถึงอยุ่บ้าง ก็ให้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ขอบคุณครับ
อีกอย่างนะครับนายทหาร วิศกร ในกองทัพเรานี้ เก่งๆกันเยอะครับแค่ออกแบบให้ตรงกับความต้องการใช้งานโดยเลือกชิ้นส่วนต่างๆ จากผู้ผลิตภายนอกนี้สบายๆ ครับ
ขอสนับสนุน และ โต้แย้ง ท่าน Serie VII ไปในคราวเดียวกันเลยนะครับ
1) เรื่องจับแพะชนแกะเนี่ยให้มาเป็นอาวุธของเราเองเนี่ย ทบ ก็พยายามอยู่นะครับ เช่น โครงการใส่ระบบขับเคลื่อนขนาดเล็กให้กับ ป.ลากจูง จะใด้ย้ายที่ยิงในสนามรบใด้ด้วยตัวเอง อีกกรณีก็คือ การจับ GNH 45 มาลงบนรถยรรทุกโดยยึดแนวทางแบบ Caesar ผมก็ลุ้นให้มีระบบ คคย เป็นคอมพ์ด้วย
2) จ้างนักออกแบบมา หรือ ซื้อมาลอกแบบ มันก็จะออกแนวเดียวกันล่ะครับ ผมว่า Oplot เนี่ยถึงจะไม่เทพ แต่มันเป็นอะไรที่เราสามารถเอามาเป็นต้นทางในการพัฒนาต่อในรูปแบบของเราเองใด้ในอนาคตถ้าทำจริงอย่างที่ ทร ทำกับโครงการเรือต่างๆ
3) อาวุธหลายอย่างที่เราอยากใด้จากอเมริกา เค้าก็ไม่ขาย แต่ถ้าเราลงเต็มตัว กับอาวุธของรัสเซีย เราจะมีปัญหากับอะไหล่สำหรับ อาวูธของเมกา ทันที
4) ยูเครนเองพยายามที่จะให้โลกมองตัวเองในฐานะประเทศที่ไม่อยู่ในพวกรัสเซีย (ซึ่งเค้าคิดอย่างนั้นจริงๆ) ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าอาวุธเค้าผสมข้ามพันธ์กันบ้าง และตรงนี้เราก็จะไม่มีปัญหาว่าจะถูกแอนตี้ในการจัดหาอาวุธ/อะไหล่ จาก ตต ในอนาคด
5) เราซื้อสติงเรย์แล้วเรามีปัญหา เราก็แก้ไขกับ บ ผู้ผลิตนะครับ... กรณีอื่นๆคงมีบ้างเหมือนกันแต่ผมไม่มีรายละเอียด
6) ส่วนตัวผมมองว่าการเอาอาวุธไปให้ทหารผลิตเองนั้นไม่เหมาะครับ เพราะ... 1)โครงสร้างการบริหารเป็นไปแบบผลัดเปลี่ยนตามวาระ ในขณะที่การพัฒนาอุธ ต้องทำโดยทีมงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง ยาว นาน และ 2) มันต้องตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการได้ด้วย เช่น หลังจากดำเนินโครงการไปสักระยะหนึ่ง จะหารายได้จากไหนมาให้โครงการดำเนินต่อไปโดยไม่ใช้ งป. นี่คือก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งนักอุตสาหกรรมเค้าถนัดกว่า ทหาร และ นักวิจัย (พูดแล้วก็เป็นห่วง DTI)... ส่วนโครงการเฉพาะกิจ เช่น ก็อป ซีซ่าร์ นีทำในกองทัพพอได้ครับเพราะเป็นการ อัพเกรดของที่มีอยู่ พอเสร็จก็ใช้กันไปเหมือนที่ใช้ ซีซ่าร์
โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยกับแนวคิดของท่าน Serie VII ครับ แต่แนวทางมันเป็นอะไรที่ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆตามสถานการณ์และข้อจำกัดของตัวเราเองด้วบเหมือนกันครับ