หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อเมริกาจะทำยังไงต่อกับเรือชั้นArleigh Burkeที่ต้องปลดประจำการ

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 16/10/2013 14:07:59

ตามข้อมูลในวิกิอเมริกามีArleigh Burke class จำนวน62ลำและมีแผนจะสร้างจนครบ75ลำในอนาคต นับเป็นเรือที่มีจำนวนเยอะมากเป็นกระดูกสันหลังกองทัพเรือของเขา แต่ USS Arleigh Burke (DDG-51) ก็ประจำการมา22ปีแล้วนับว่านานมากจนไม่น่าเชื่อ

 

ปรกติเรือจากประเทศตะวันตกรุ่นหลังๆมักใช้ประจำการประมาณ30ปีก็ปลดออกไปแล้ว อเมริกาอาจจะยังมีปัญหาการเงินและลากเวลาปลดออกไปแต่ผมคิดว่าคงไม่น่าเกิน35ปีหรอก เพราะการสร้างเรือใหม่ในประเทศเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้คนของเขาด้วย ติดเสียว่าอีก10-12ปีเรือลำแรกต้องปลดประจำการ แล้วอเมริกาจะทำยังไงต่อดีหละ

 

1 จอดทิ้งไว้เฉยๆเป็นเรือสำรองการรบ มีค่าใช้จ่ายต่อปีเยอะพอสมควรเขาคงเลือกบางลำแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เรือชั้นติคอนเดอโรก้าก็จอดอยู่ตั้งหลายลำแล้วเรือบรรทุกเครื่องบินบางลำก็ต้องจอดเพราะไม่มีค่าใช้จ่าย มันเริ่มเยอะเกินไปแล้วไหม

 

2ขายต่อให้ประเทศมหามิตรในสภาพเดิมไม่ได้ถอดอุปกรณ์ใดๆ เรือลำนี้มีสมรรถนะสุงติดระบบเอจิสและเรดาร์spy-1 สภาคองเกรสคงต้องคิดมากหน่อยถึงจะอนุมัติ ว่าแต่ประเทศไหนพอจะมีรายชื่อในกลุ่มนี้บ้างนะ  เกาหลีใต้ ญีปุ่น ใต้หวัน(ยากมากจีนไม่ยอมแน่) ออสเตรเลีย สเปน ลำบากเหมือนกันถ้าจะขายต่อแบบนี้

 

3 ถอดระบบที่สำคัญต่างๆขายเรือเปล่าให้กับมหามิตรในราคาประหยัด มาแนวเดียวกับOHPเลยแต่คราวนี้หนักกว่าอีก เพราะเป็นเรือพิฆาตที่ลำใหญ่มากกว่าถึง2เท่าในรุ่นแรกๆ เครื่องยนต์แก๊สโซลีน4ตัววิ่งเร็วดีแต่กินสุดๆ ถ้าปล่อยให้ประเทศเราในราคา100ล้านเหรียญจะสู้ค่าน้ำมันกันไหวไหมเนี่ย ไหนจะหาอุปกรณ์มาติดตั้งทั้งเรดาร์หลัก เรดาร์ควบคุมการยิง ไปจนถึงจำนวนจรวด ชอบจังเลยลำนี้แต่มองได้อย่างเดียว

 

4 ถอดระบบที่สำคัญต่างๆแล้วทำลายหรือขายซาก มีค่าใช้จ่ายต่อลำสุงพอตัวแต่อาจเป็นหนทางที่ดีที่สุด อะไหล่เรือเก่าพอจะเอาไปใช้กับเรือที่ยังประจำการอยู่ได้บ้างประหยัดไปอีกนิดหน่อย เหล็กก็ยังอยู่ในประเทศเงินทองไม่รั่วไหล แต่เงินคืนกระเป๋าคงน้อยกว่าขายเรือแน่นอน






ความคิดเห็นที่ 1


ถ้าจะขายขอเดาว่าลูกค้ารายแรก คงจะเป็น ไต้หวัน หรือไม่ก็ตุรกี เพราะชาติพัธมิตรในยุโรปต่อเรือใหม่เกือบครบแล้ว

แคนาดา จะซื้อรึเปล่าไม่รู้แต่ถ้าซื้อรัฐบาลคงโดนด่าเละ แค่ค่าซ่อมเรือดำน้ำ4ลำ ยังไม่ให้เลย

ออสเตรเลียก็กำลังต่อ ชั้น Hobart

ส่วนญี่ปุ่นกับเกาหลีมีของตัวเองแล้ว

ซาอุคงไม่ซื้อของมือ2 

สิงคโปรมีพอแล้ว และเรือใหญ่เกินความจำเป็น

ปากีสถานไม่มีสิทธิซื้อแม้จะซื้อได้ก็ตาม

อินเดีย????? ช่วงหลังเน้นต่อเรือเอง

ก็เหลือแค่ไต้หวันซึ่งมีเงินทุน (แต่ซื้ออะไรไม่ได้เลย) สภาคองเกรสน่าจะขายให้ กับตุรกีซึ่งกำลังสะสมกำลัง แต่ยังไม่มีเรือAEGIS

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 16/10/2013 11:04:25


ความคิดเห็นที่ 2


มองข้ามช็อตไปไหมครับท่าน

เพิ่งประจำการมาได้ยี่สิบปี (ฮา เรืออยู่ได้นานครับ อย่าง uss enterprise ลำล่าสุด ก็ประจำการไปสี่สิบปี)

ตอนนี้ยังมีแผนผลิตเพิ่มอยู่เลยครับ แต่เป็นเวอร์ชั่นใหม่

ตอนนี้กำลังสร้าง DDG 114-116 ส่งมอบปี 2016 เป็นต้นไป

มีสัญญาจัดสร้างจนถึงรุ่น flight III เลย

สรุปคือเรือชั้น arleighburke จะมีประจำการจนถึงปี 2070 ว่านู่น ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน

ป่านนั้นก็แก่กันหงำเหงือกแล้วครับ บอร์ดนี้ยังจะอยู่รึเปล่าไม่รู้เลย

ส่วนลำเก่าๆจะปลดไปให้ใครนั้นคงเดายาก แกคงไม่ทิ้งหรอก อย่างน้อยก็แคะเอาเหลือแต่ซากขายลูกจ๊อก (รวมถึงไทย) ได้

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/10/2013 11:28:47


ความคิดเห็นที่ 3


       ถ้าให้ไทยเปล่าๆแบบ OHP ผมคิดว่าไทยน่าจะรับไว้ 2 ลำแล้วปรับปรุงให้ใช้งานได้เป็นปกติ ถึงแม้จะใหญ่เกินความจำเป็นและมีค่าใช้จ่ายมากก็ตาม  เหตุผลคือ

       ประการแรก ไทยยังขาดเรือรบหลักที่มีเทคโนโลยีสูงและขีดความสามารถในการรบสูงๆ สามารถใช้โจมตีและป้องกันกองเรือรบอื่นๆของไทยได้ (เรือฟริเกตที่ต่อใหม่ของไทยผมคิดว่ายังไม่สูงพอ)

       ประการที่สอง  ใช้เรือเป็นสัญลักษณ์ในภารกิจป้องปรามประเทศที่อาจไม่หวังดีได้ดีกว่าเรือรบธรรมดา (จอดอยู่กับท่าโดยไม่จำเป็นต้องแล่นเรือบ่อยๆก็ได้)

       ประการที่สาม  เรือยังคงสภาพดีและยังทันสมัย  ราคาค่าปรับปรุงและดูแลรักษาไม่น่าจะแพงกว่าต่อเรือฟริเกตใหม่ของไทย

      เหตุผลยังมีอีกมากมายที่สนับสนุน หากไม่นับเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้กับเรือรุ่นนี้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 16/10/2013 11:44:49


ความคิดเห็นที่ 4


รายชื่อเรือที่ผมตัดมาใส่และไม่ได้ใส่อาจจะมีการปลดประจำการไล่ตั้งแต่ปี 2026 ไปจนถึง 2039 ในเรือFlightแรกๆ สร้างใหม่ก็ส่วนสร้างใหม่แต่ของเก่าเขาก็คงต้องปลดเมื่อถึงวาระ

 

ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บนี้ก็พอไหวอยู่นะแม้จะอัพเดทล่าสุดเมื่อปี2005ก็ตาม อย่างเรือชั้นติคอนเดอโรก้าเขาบอกว่าเริ่มตั้งแต่ปี2005ซึ่งก็จริงแต่บอกว่าลากยาวไปถึง2026-2034เลย  ตอนนั้นเขาคงไม่คิดว่าจะมีปัญหาการเงินจนต้องปลดมันเกือบหมดในปีนี้  เรือEnterpriseก็บอกถูกว่าปลดปีนี้ไม่เลวเลยแอนดิว

 

http://dkosopedia.com/wiki/US_Navy_Ship_Age

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/10/2013 12:07:26


ความคิดเห็นที่ 5


ก็น่าจะแบบTiconderogaนะครับ ที่ไม่ขาย

ยกเว้นถังแตกจริงๆ ตัวเลือกก็น่าจะมีออสเตรเลีย เกาหลีใต้ กับญี่ปุ่น (ที่ในอนาคตจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินที่ประจำการด้วยF-35ทั้งหมด และตัวสองเลือกแรกยังมีAegisชั้นHobartและSejong The Greatเพียง3ลำในอนาคต ต่างจากญี่ปุ่นที่มีแล้ว6ลำ)

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 16/10/2013 12:31:11


ความคิดเห็นที่ 6


ผมว่าคงอีกนานครับกว่าสหรัฐจะปลดเรือชุด Flight I ต่อให้พอถึงเวลาปลดแล้วชำแหละถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออกแล้วขายเรือเปล่าให้มองแล้วยังไงมันก็ไม่ค่อยคุ้มสำหรับทัพเรือเราเท่าไหร่เลย การจะไล่หาระบบต่างๆมาติดให้พร้อมรบก็ต้องใช้เงินมากพอสมควร ที่สำคัญผมว่าเค้าคงไม่คิดขายให้เราด้วยซ้ำ

โดยคุณ KwangKDJ เมื่อวันที่ 16/10/2013 13:18:47


ความคิดเห็นที่ 7


ดูแบบ Ticonderoga สิ ไม่ขายให้ใคร จอดให้สนิมจับ อาจเป็นเพราะระบบเทคโนโลยีชั้นสูง เลยไม่คิดจะขายให้ใคร


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 16/10/2013 14:07:59