มีข่าวจากมติ ครม.เมื่อวาน 8/10/56 ว่า ครม.อนุมัติ งบผูกพันข้ามปี2556-2558 จำนวน 8 พันล้านให้กองจัดซื้อ ฮ.เพิ่ม อีก 8 ลำ เป็น UH-72 A Lakota 6 ลำ และ MI-17 V5 อีก 2 ลำ (สงสัยเรื่อง MI-17 ไหนมีข่าวว่า นบ.ไม่ปลื้มนี่?)
http://www.thairath.co.th/content/newspaper/374950
ช่วงท้ายๆนะครับ
ช่วงนี้เรามีซื้อ ฮ. เยอะจัง จะว่าไป ปีนี้กองทัพได้งบช้อปปิ้งกันเยอะจัง ขยับแบบนี้ ข้างบ้านนั่งไม่ติดแน่
นักบินไม่ปลื้มแต่คนซื้อปลื้มละมั้งครับท่าน Nok
สั่ง ฮ.ใหม่ 8 ลำ ตอนนี้AS550C3E มาแล้ว 2 ลำครับ ใน F .สมาคมคนบ้าเครื่องบินไม่รู้ห้องนักบินซ้ายโลงจังหรือรอใส่อุปกรณ์ที่หลังหรือเปล่า
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ต.ค. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์รุ่นฮิวอี้ ของชุด ฉก.อโนทัย กอ.รมน.จว.ยะลา จากค่ายอิงคยุทธบริหารจ.ปัตตานี เสียการทรงตัว ไปพาดเกี่ยวกับสายไฟฟ้าแรงสูงทำให้นักบินต้องนำเครื่องลงจอดฉุกเฉิน แต่ไม่สามารถบังคับเครื่องได้ ส่งผลให้ตกลงในคลองสายบ่อลายู พื้นที่ ม.4 บ้านท่าฤดี ต.เทพา อ.เทพาจ.สงขลา ซึ่งใกล้กับบ่อเลี้ยงกุ้งของชาวบ้าน
เหตุการณ์ดังกล่าวในเบื้องต้นมีรายงานแจ้งว่า มีเจ้าหน้าที่บนเครื่องได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย 1 นาย ยังไม่ทราบชื่อ สำหรับเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าว ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่บนเครื่องจำนวน 10 นาย ได้ออกเดินทางมาจากค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี โดยปฏิบัติภารกิจตรวจความเรียบร้อยของเสาไฟฟ้าแรงสูงจากพื้นที่ จ.ปัตตานี มายังพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา
เนื่องจากเกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดป่วนในพื้นที่หลายจุดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 3 อำเภอรอยต่อของ จ.สงขลา เมื่อมาถึง อ.เทพา ก็ได้ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้ทางนักบินจำเป็นที่จะต้องนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินแต่บังเอิญพื้นที่ดังกล่าว มีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการลงจอด ทำให้นักบินเลือกที่จะนำเครื่องลงในคลองที่เกิดเหตุ
หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทุกนายบนเครื่องสามารถออกมาจากเฮลิคอปเตอร์ได้ทั้งหมด ก่อนที่เครื่องจะจมลง โดยมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 1 นาย ส่วนเฮลิคอปเตอร์ที่จมลงในคลองดังกล่าว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าทำการเก็บกู้ซากต่อไป
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ข่าวสดออนไลน์
จากที่ทบ. จัดซื้อฮ. MI-17V5 เพิ่มอีก 2 ลำ แสดงว่าในอนาคตทบ.อาจจะไม่มีโครงการจัดหาฮ.CH-47 Chinook ลำใหม่แล้วหรือเปล่าครับ
MI 17 ใช้งานดี คุ้มค่าครับ มีวิศวกรการบิน อยู่ในห้อง นักบินด้วย ช่วยลดภาระบางเรื่องของนักบินไปได้เยอะ
ตกเฉลี่ยละ 1000 ล้าน เป็น UH-72A 6 Mi 17 2 ถ้าจำไม่ผิด Mi-17 V5 ราคา 500 - 600 ล้านบาท ไม่รู้ว่าคราวนี้มีอ๊อปชั่นอะไรมาบ้าง แต่ ฮ. รุ่นนี้ทั้งถึกทั้งทุยและเชื่อถือได้สูงนะครับ
แต่ UH-72 A เป็น ฮ. อเนกประสงค์เบาที่ดีมากครับ คราวที่แล้วที่มีข่าวออกมา ราคาต่อหน่วยก็ไม่แพงขนาดนี้ ผมว่าน่าจะมีอ๊อปชั่นติดตั้งมาบนฮ. หรือ อะไหล่ นอกเหนือจากตัวเครื่องอย่างเดียวหรือเปล่าครับ
มาแทนปู่ฮิวอี้ให้หมดๆไปซะทีเถอะครับ ให้ปู่เขาพักบ้าง
จากข่าวผมอ่านแล้ว ทั้งหมดรวมเป็นเงิน 3150 ล้านบาท ไม่ใช่ 8000 ล้านบาท นะครับท่านครับ แบ่งเป็น mi 17 จำนวน 2 ลำในราคา 1253 ล้านบาท uh 72 จำนวน 6 ลำ 1737 ล้านบาท พร้อม อะไหล่ อุปกรณ์สนับสนุน การฝึก การส่งกำลังบำรุง
ความต้องการ UH 72 จำนวน 30 ลำ ถ้าสั่งปีละ 6 ลำก็ใช้เวลา 5 ปี ครบตามต้องการ(ใจอยากให้สั่งทุกปีนะครับ ไม่รู้ว่า ทบ.จะยังไง) อยากให้ปลดปู่ ฮิวอี้แล้ว สงสารคนขับกับคนนั่งไปด้วย แหะๆ
ปล. ขอบคุณครับ สั่ง UH 72 6 ลำครับผม(พิมพ์ผิด เหมือนท่าน นกเลย อิอิ)
-ขอบคุณครับที่แก้ข้อมมูลให้ ผมพิมพ์ผิดเองครับ
ใครมีข้อมูลช่วยสรุปให้ทีครับ เพราะผมสับสน ว่าตอนนี้เราสั่งซื้อ ฮ.ไปกี่แบบแล้ว แต่ละแบบจำนวนกี่ลำครับคือเห็นข่าวหลายครั้งเลยงงกับจำนวน ที่จริงเราสั่งไปกี่ลำแล้วครับ หรือสั่งไปแล้วแต่พึ่งอนุมัติงงมากครับ
http://www.aavnc.com/Link/us/us.htm นีครับผมเห็นน่าสนใจดี
เปิดตัว ฮ.ใช้งานทั่วไป รุ่นล่าสุดของ ทบ.สหรัฐอเมริกา กล่าวนำ แม้ว่าบทความที่ผู้เขียนได้รวบรวมและเรียบเรียงมาให้ผู้อ่านได้รับทราบในวารสารการบิน ฉบับนี้ อาจไม่ทันสมัยสำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารด้านการบินอย่างสม่ำเสมอ เพราะว่ากองทัพบกสหรัฐอเมริกา (ทบ.สหรัฐ ฯ ) ได้ตัดสินใจเลือกแบบเฮลิคอปเตอร์ ที่จะนำมาใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา ( LUH – Light Utility Helicopter ) ตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2549 แล้วก็ตาม แต่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะยังมีผู้ที่ตกข่าวอยู่อีกพอสมควร และนอกจากข่าวสารเกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกแบบ ฮ.ดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม อันประกอบด้วยข้อมูลคุณลักษณะเฉพาะและ สมรรถนะ, รายงานการบินทดสอบ ตลอดจนข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้เขียนเอง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นที่สนใจ และเป็นประโยชน์แก่พวกเรา “ ชาวการบินทหารบก ” ได้บ้างพอสมควร • รายงานการคัดเลือกแบบ ฮ. เมื่อต้นเดือน ก.ค.49 คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบ ฮ.ของ ทบ.สหรัฐ ฯ ได้ตกลงใจเลือก ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดเบา ( LUH – Light Utility Helicopter) จาก ฮ.ที่เข้าร่วมรับการพิจารณาจำนวน 4 แบบ ( ฮ. MD 902 MD Helicopter, ฮ. EC-145 Eurocopter, ฮ. 412 EP Bell helicopter และ ฮ. AW139 AgustaWestland) เพื่อนำมาใช้ในราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้พิจารณาเลือก ฮ.รุ่น EC- 145 ที่ผลิตโดยบริษัท Eurocopter ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท EADS ผลจากการคัดเลือกในครั้งนี้ แสดงให้เห็นนโยบายด้านการจัดซื้อจัดหาที่เปิดกว้างของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ฯ ทบ.สหรัฐ ฯ มีแผนที่จะจัดซื้อ ฮ. EC- 145 จำนวน 322 เครื่อง (มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ) ซึ่งจะนำเข้าประจำการโดยใช้ชื่อทางทหารว่า UH – 72A ในการนี้บริษัท Eurocopter ได้วางแผนที่จะผลิต ฮ. EC -145 รุ่นใช้งานทางทหาร ( Military Versions ) หรือ UH – 72A ด้วยการขยายโรงงานผลิตที่มีอยู่แล้วในสหรัฐ ฯ ส่วนโรงงานผลิตหลักในเยอรมันยังคงผลิต ฮ. EC- 145 ในรุ่นใช้งานทางพลเรือนต่อไป และตามสัญญาฯจะมีการส่งมอบ ฮ. จำนวน 8 เครื่องแรกภายในเดือน พฤศจิกายน 2549 นี้ UH – 72A จะถูกนำไปบรรจุทดแทน UH – 1 และ OH – 58 ของ Army National Guard โดย ฮ.ดังกล่าวจะถูกจำกัดการใช้ เฉพาะในพื้นที่ภายในประเทศของสหรัฐ ฯ เท่านั้น ซึ่งหมายถึงว่าจะไม่ถูกนำเข้าสู่พื้นที่ทำการรบ และยังไม่นับเป็นยุทโธปกรณ์หลักของทบ.สหรัฐฯอีกด้วย ภารกิจที่ ทบ.สหรัฐฯ กำหนดไว้สำหรับ UH – 72A ได้แก่ การส่งกำลังบำรุง, การขนส่งผู้โดยสาร, การส่งกลับสายแพทย์, การปราบปรามยาเสพติด, การบรรเทาสาธารณภัย และการฝึก – ศึกษา เป็นต้น เหตุผลที่ทำให้ ฮ. EC- 145 ของบริษัท Eurocopter เป็นผู้ชนะในการคัดเลือกจากคู่แข่งอีก 3 ราย ซึ่งได้แก่ ฮ. AW139 ของบริษัท Augusta Westland จากยุโรป, ฮ. MD902 ของบริษัท MD Helicopter และ ฮ. Bell412EP ของบริษัท Bell Helicopter ซึ่งนอกจากในเรื่องคุณลักษณะเฉพาะ/ สมรรถนะ รวมทั้งความประหยัดกับความคุ้มค่า ที่ตรงกับความต้องการของ ทบ.สหรัฐฯ แล้ว บริษัท Eurocopter ยังได้มีการร่วมมือกับบริษัท Sikorsky อีกด้วย จึงทำให้ได้เปรียบในเรื่องการให้บริการหลังการขายในอนาคต ทั้งในเรื่อง การส่งกำลังและซ่อมบำรุง, การฝึก – ศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากบริษัท Sikorsky เป็นผู้ผลิต UH - 60 ซึ่งเป็น ฮ.หลักของ ทบ.สหรัฐในปัจจุบันนั่นเอง
((ข้ อมูล จาก Helicopter Specifications, Shepard's Helicopter World Handbook 2004) รายงานการบินทดสอบ ฮ. EC – 145 • กล่าวทั่วไป รอน บาวเออร์ (Ron Bower) นักบินทดสอบประจำนิตยสาร Rotor & Wing ซึ่งได้รับใบอนุญาต เป็นทั้งนักบินลองเครื่อง และครูการบิน มีประสบการณ์การบินมากว่า 43 ปี มีชั่วโมงบินรวมกว่า 8,500 ชั่วโมง โดยไม่เคยมีอุบัติเหตุเลย นอกจากนั้งยังเคยเป็น นักบิน ทบ.สหรัฐ ฯ ในห้วงสงครามเวียตนาม และยัง เป็นเจ้าของสถิติการบิน ฮ.รอบโลก โดยใช้เวลาน้อยที่สุด (17 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง) ในปี ค.ศ.1996 ด้วย รอน ฯ ได้รายงานผลการทดสอบไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ ก่อนการบินทดสอบ ได้ดำเนินการตรวจสอบ ฮ.ก่อนทำการบิน และพบสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจมากคือ ขนาดของห้องโดยสารดูกว้างขวางมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบขนาดของห้องโดยสาร กับพื้นที่ที่ใช้ในการจอด ฮ. จะพบว่า ฮ. EC-145 ใช้พื้นที่ในการจอดน้อยกว่า ฮ. Bell 412 มาก ทั้งที่พื้นที่ของห้องโดยสารแทบจะมีขนาดเท่ากัน ( EC-145 = 50.77 , Bell 412 = 51 sp.ft ) ทำนองเดียวกันเมื่อนำปริมาตรของห้องโดยสารมาเปรียบเทียบก็มีตัวเลขความจุใกล้เคียงกัน ( EC 145 = 213, bell 412 = 220 cu.ft ) ส่วนเหตุผลที่ ฮ. EC 145 ใช้พื้นที่จอดน้อยกว่า เนื่องจากความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดมีขนาดเล็กกว่า ฮ. Bell412 ถึง 10 ฟุต ( EC-145 = 36, Bell 412 = 46 ft) นอกจากนั้นความยาวจากปลายใบพัดหลักถึงใบพัดหาง ฮ. EC 145 จะมีระยะสั้นกว่ามากถึง 13 ฟุต ( EC- 145 = 43, bell 412 = 56 ft ) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ฮ. EC-145 มีความเหมาะสมกับการขึ้น – ลง ในพื้นที่จำกัด ด้วยภาพลักษณ์ดังกล่าวส่งผลให้ ฮ. EC- 145 จึงถูกนำไปใช้ อย่างแพร่หลาย ในภารกิจการค้นหา และกู้ภัยทางพลเรือนในปัจจุบัน สำหรับการบรรทุกภายในของ ฮ. EC-145 มีความสะดวกสบาย เพราะผู้โดยสาร/อุปกรณ์ต่างๆสามารถบรรทุก เข้า – ออก ทางประตูเลื่อนขนาดใหญ่ ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งประตูดังกล่าวสามารถเปิดค้างได้ในขณะทำการบิน นอกจากนั้นทางด้านท้ายของห้องโดยสาร ยังมีประตูบานพับขนาดใหญ่ ( clamshell doors ) ทำให้การบรรทุก หรือเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ เข้า – ออก ฮ.สามารถกระทำได้โดยง่าย และปลอดภัยแม้ในขณะที่ใบพัด ฮ.ยังคงหมุนอยู่ การติดตั้งใบพัดหางที่แพนหางดิ่ง ( Vertical Fin ) อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า 6 ฟุต ทำให้การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน บริเวณด้านหลังห้องโดยสารถึงบริเวณหน้าแพนหางระดับ มีความคล่องตัว และปลอดภัย ภายในห้องโดยสารสามารถติดตั้งเก้าอี้ผู้โดยสารได้ถึง 8 ที่นั่ง โดยยังเหลือพื้นที่อีกประมาณ 9 ตร.ฟุต ด้านหน้าของประตูหลัง สำหรับใช้เป็นที่บรรทุกสัมภาระ เช่น กระเป๋าเดินทาง หรือสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ได้ด้วย เพดานห้องโดยสารสูง 4 ฟุต และไม่มีเสาค้ำเพดาน พื้นห้องโดยสารราบเรียบตลอดจากหน้าถึงหลัง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการโดยสาร, การบรรทุก, ตลอดจนการกำบังสายตา การออกแบบจุดติดตั้งอุปกรณ์บนพื้นห้องโดยสาร ในลักษณะเป็นรางร่องขนานกัน จำนวน 4 ราง ทำให้การติดตั้ง/ปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดตั้ง เก้าอี้ผู้โดยสาร, เปลพยาบาล และอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ รวมทั้งการยึดตรึงสิ่งอุปกรณ์ที่บรรทุกภายในห้องโดยสาร สามารถทำได้ สะดวก รวดเร็ว คุณลักษณะด้านการบรรทุกผู้โดยสารของ ฮ. EC-145 สามารถบรรทุกนักบินจำนวน 1- 2 คน และผู้โดยสารจำนวน 8- 9 คน (ไม่รวมช่างเครื่อง) สำหรับภารกิจการส่งกลับสายแพทย์ สามารถบรรทุกผู้ป่วยบนเปลได้ 2 คน กับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล หรือ • การบินทดสอบ เมื่อเริ่มติดเครื่องยนต์จึงพบว่าใบพัดหลักของ EC- 145 หมุนทวนเข็มนาฬิกา เช่นเดียวกับ ฮ.ที่มีใช้ใน ทบ.สหรัฐ ฯ (ซึ่งตามปกติ ฮ.ที่ผลิตจากประเทศยุโรปส่วนใหญ่ใบพัดหลักจะหมุนตามเข็มนาฬิกา) ทำให้ง่ายต่อนักบินที่จะทำความคุ้นเคยในการบิน กับ ฮ. EC- 145 มาก ซึ่งจะส่งผลดีในแง่ของความปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อการฝึกบินเปลี่ยนแบบของนักบิน ทบ.สหรัฐ ฯ ในอนาคตเช่นเดียวกัน หลังจากการบินทดสอบผ่านไป 1 ชั่วโมง 20 นาที พบว่า ฮ. EC-145 บินง่ายมาก การบังคับควบคุม ฮ.มีความสะดวกสบาย และนุ่มนวลในทุกท่าบิน มีอาการสั่นน้อยมาก โดยไม่มีอาการสั่นเพิ่มขึ้นทั้งในขณะวิ่งขึ้น และร่อนลง การบินในท่าลอยตัวเหนือพื้น และในอากาศทำได้ง่ายมาก ระบบใบพัดหลักแบบ Hingless ตอบสนองต่อการควบคุมได้ดี การบินขึ้น – ลง ในพื้นที่จำกัดที่ล้อมรอบด้วยต้นไม้ทำได้อย่างสะดวกสบาย กำลังเครื่องยนต์ตอบสนองต่อการบินขึ้นจากพื้นที่จำกัดได้อย่างดียิ่ง กำลังเครื่องยนต์กับความเร็วมีการตอบรับ และสัมพันธ์กันดีมาก สามารถเร่งความเร็วในขณะบินตรงบินระดับไปที่ความเร็วกว่า 130 น๊อต ได้อย่างง่ายดาย ระบบนักบินอัตโนมัติทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ในทุกท่าทางบิน รวมทั้งในขณะการเดินอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินมาก ระบบเครื่องวัดต่าง ๆ ทั้งเครื่องวัดท่าทางบิน และเครื่องยนต์เป็นแบบ Multifunction Display สามารถลดภาระกรรมให้กับนักบินมากเพราะไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องวัดต่าง ๆ ในขณะบินตลอดเวลา นักบินจึงใช้เวลาในการควบคุมการบิน และตรวจการณ์ภายนอกอากาศยานได้มากกว่า ระบบการควบคุมอัตราการหมุนของใบพัดหลัก ( Automatic Rotor – rpm reduction) ซึ่งทำงานด้วยการเปรียบเทียบความเร็วใบพัด กับค่าแรงบิดให้สัมพันธ์กัน ทำให้สามารถลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ไม่เกิน 6.7 เดซิเบล ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าการกำหนดขององค์กรการบินระหว่างประเทศ ผู้ทดสอบได้สรุปความเห็นในภาพรวมของ ฮ. EC-145 ว่ามีคุณลักษณะเฉพาะ และสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้เป็นอย่างดี และเป็นไปตามข้อกำหนดของ ทบ.สหรัฐ ฯ ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะนำไปใช้เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดเบาที่สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างหลากหลาย นอกจากนั้น EC -145 ยังเป็น ฮ.ที่รวบรวมผสมผสานส่วนที่ดีต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันหลายประการ ได้ห้องนักบิน และระบบควบคุมการบิน ที่มีความทันสมัย ใช้เทคโนโลยีสูง ประกอบกับโครงสร้าง และลำตัว ฮ. ตลอดจนเครื่องยนต์ที่ผ่านการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้นยังมีราคาที่สมเหตุสมผลอีกด้วย
• ข้อพิจารณาเพิ่มเติม จากเนื้อหาของเรื่องตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว ผู้เขียนได้ศึกษาทบทวนจึงพบประเด็นที่น่าสนใจ และควรนำมาพิจารณาได้แก่ กระบวนการพิจารณาคัดเลือก ฮ.ของ ทบ.สหรัฐ ฯ ครั้งนี้มีโจทย์ หรือเงื่อนไขซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สำคัญ คือ กรอบวงเงินงบประมาณของ ทบ.สหรัฐ ฯ ที่ลดลงมาก ขณะที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องบรรจุ ฮ.ใช้งานทั่วไป ทดแทนให้กับหน่วยต่าง ๆ ที่ขาดอัตรา หรือที่จะขาดอัตราในอนาคต ซึ่งหากจะใช้ ฮ.ท.60 ( Black Hawk ) บรรจุตามแผนการบรรจุเดิม จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงมีการพิจารณาจัดหา ฮ.ท.ขนาดเบา ( LUH ) แทน เพราะสามารถลดงบประมาณด้านการจัดหาจำนวนมาก ทั้งยังประหยัดงบประมาณด้านการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงในระยะยาวได้อีกด้วย นอกจากนั้นในการจัดหายุทโธปกรณ์คราวนี้ใช้วิธีการจัดหาจาก ฮ.ที่มีอยู่ในท้องตลาด และ ฮ. EC-145 ซึ่งเป็นตัวเลือกของทบ.สหรัฐฯแม้ว่าจะเป็น ฮ.จากผู้ผลิตนอกประเทศสหรัฐ ฯ แต่ด้วยมูลค่าของโครงการจัดหาที่สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ กับจำนวน ฮ. 322 เครื่อง ทำให้ในขั้นตอนการผลิตจริง จึงสามารถดำเนินการในประเทศสหรัฐ ฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน และการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในประเทศสหรัฐ ฯ นั่นเอง ในทัศนะของผู้เขียน ฮ. EC-145 หรือ UH – 72A เป็น ฮ.ที่น่าสนใจหาก ทบ.ไทยจะพิจารณาจัดหา ฮ. เพื่อทดแทน ฮ.ท.1 หรือ ฮ.ท.212 รวมทั้ง ฮ.ท. 206 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน และคาดว่าจะมีปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุงในอนาคต โดยผู้เขียนมีเหตุผลสนับสนุนหลายประการ กล่าวคือ ฮ. EC -145 เป็น ฮ.ที่มีขีดความสามารถด้านการบรรทุกผู้โดยสารใกล้เคียงกับ ฮ.ท.1 หรือ ฮ.ท.212 และเหนือกว่าฮ.ท. 206(EC-145= 6, ฮ.ท. 1= 7, ฮ.ท. 212= 7, ฮ.ท. 206= 3 ที่นั่ง ) แต่มีสมรรถนะด้านความเร็วในการบินเดินทางสูงกว่า ( EC- 145 = 130, ฮ.ท.1 = 90 , ฮ.ท. 212 = 104, ฮ.ท. 206= 114 kts ) และยังเป็น ฮ.ที่บังคับควบคุมง่ายมีความปลอดภัยสูง ใช้ระบบควบคุมการบินที่ทันสมัยเอื้อต่อการบินในสภาพอากาศที่ไม่อำนวย มีระบบนักบินอัตโนมัติ ( Auto Pilot ) ที่เชื่อถือได้และได้รับการรับรองจาก FAA ให้สามารถทำการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IFR) ด้วยนักบินเพียงคนเดียวได้ ระบบต่าง ๆของ ฮ. รองรับการบินในเวลากลางคืนด้วยกล้องช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืน( NVG ) ด้วยคุณลักษณะเฉพาะ/สมรรถนะตามที่กล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ฮ. EC-145 สามารถตอบสนองภารกิจของ ทบ.ได้หลากหลาย เช่น การขนส่ง, การค้นหา/กู้ภัย, การส่งกลับสายแพทย์, การฝึก-ศึกษา, การลาดตระเวน/ตรวจการณ์ และ อาจติดตั้งอาวุธเพื่อใช้เป็น ฮ. โจมตีขนาดเบาได้ด้วย เป็นต้น 5. สรุป ฮ. EC-145 เป็น ฮ. ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการของทบ.สหรัฐ ฯ เพื่อนำเข้าประจำการ โดยเป็น ฮ.จากบริษัทผู้ผลิตนอกสหรัฐฯ ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่าเป็นคัดเลือกมีความเหมาะสมสอดรับกับสภาวการณ์ต่างๆโดยเฉพาะด้านงบประมาณที่จำกัด ซึ่งหาก ทบ.ไทยจะจัดหา ฮ.แบบใหม่ที่ใช้งบประมาณด้าน การจัดหา, การปฏิบัติการ รวมทั้งการซ่อมบำรุงไม่สูงนัก ฮ. EC-145 จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และเป็นแรงจูงใจให้ผู้เขียนเกิดความสนใจที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอต่อผู้ที่ติดตามข่าวสารด้านการบิน โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร และหากพบข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ก็จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป. เอกสารอ้างอิง 1. “Eurocopter Win Shows Pentagon Is Globalizing”, Defense News, July 10, 2006 . 2. “Flying the EC- 145” , Rotor & Wing, April 2006. 3. “Helicopter Specifications Eurocopter EC- 145” , Helicopter World Handbook 2004. 4. “UH-145 made for the mission”, www.uh-145.com , EADS NORTH AMERICA. 5. “Eurocopter nets US Army's LUH award”,Defence Helicopter,Volume 25,August 2006. |
|
แปลและเรียบเรียง โดย อินทรีย์ 03 หากผิดพลาดประการใดผมต้องขออภัยมานะที่นี่ |
ท่าน SeriesVll ครับ ตามข่าว TAF ครม อนุมัติจัดซื้อ UH-72A Lakota จำนวน 6 ลำ และ Mi-17V5 พร้อมอุปกรณ์การบินเพิ่มเติมอีก 2 ลำ รวมมูลค่า 3,150 ล้านบาท ครับ UH-72A Lakota 6 ลำครับไม่ใช่ 4ครับ
ตามนี้ครับhttp://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/53-rta-news/607-thai-army-uh-72a-lakota.html
Mi 17 วิศวกรการบิน ที่เพื่อนสมาชิกว่า บ้านเราคือช่างเครื่องครับ รุ่นนี้ ช่างเครื่องกับ นักบินต้องติดเครื่องพร้อมกันครับ นักบินติดเครื่องคนเดียวไม่ได้ เป็นการสอบทานกัน ซึงโซเวียตออกแบบมาเพื่อมิให้ นักบินคนเดียวสามารถเอาเครื่องหนีได้....
เมื่อรวมยอดถึงปัจจุบัน
ทบ. มีการจัดหา ฮ. อัตราใหม่ รวม 30 ลำ โดยในขณะนี้ มีข่าวการจัดหา รวมจำนวน 15 ลำ คือ
UH-60 จำนวน 7 ลำ
AW-139 จำนวน 2 ลำ
UH-72A จำนวน 6 ลำ
ดังนั้น จะมีอัตราเหลือจัดหาอีก จำนวน 15 ลำ ซึ่งในความเห็นส่วนตัว น่าจะประกอบด้วย
AW-139 จำนวน 2 ลำ
UH-72A จำนวน 13 ลำ
โดยรวมของ การจัดหา ฮ. จำนวน 30 ลำ มูลค่าโครงการรวมทั้งหมด ประมาณ 15,650 ล้านบาท จะประกอบด้วย
UH-60 จำนวน 7 ลำ
AW-139 จำนวน 4 ลำ
UH-72A จำนวน 19 ลำ
ส่วน MI-17 น่าจะเป็นการทดแทน CH-47D จำนวน 2 ลำ ที่จำหน่ายซากไป...น่าจะคนละวงเงินงบประมาณ ของการจัดหา ฮ.ใช้งานทั่วไป จำนวน 30 ลำ...ส่วนการจัดหา MI-17 จำนวน 2 ลำ...น่าจะใช้งบประมาณการซ่อม CH-47D ของ 2 เครื่องแรกที่ชำรุดถึงขั้นจำหน่าย...
แต่เดิม อัตรา ฮ.ลำเลียง จะประกอบด้วย CH-47D จำนวน 6 ลำ และ MI-17 จำนวน 3 ลำ รวมอัตรา 9 ลำ
เมื่อมีการสั่ง MI-17 Lot ใหม่นี้...ก็จะทำให้ ฮ.ลำเลียงของ ทบ. มีจำนวนเท่าเดิม คือ
CH-47D จำนวน 4 ลำ และ MI-17 จำนวน 5 ลำ รวม 9 ลำ...
น่าจะเป็น ดังนี้
Lakota ทบพึ่งจัดหาไปแค่6ลำครับไม่ใช่12
กรมบิน ทบ.
โอ..ขอโทษครับ นึกว่า เป็น Lot ที่ 2 แล้ว...แก้ไขข้อมูลให้ครับ
อันนี้เขาทดสอบอะไรครับ
ก็ตามชื่อครับเป็นการทดสอบบินโดยไร้คนขับ unmanned
เหมือน ฮ. บังคับทั่วๆไปแต่ลำไหญ่
ตอบแบบมักง่ายเกินไปไหมครับ "เหมือนกับฮ.บังคับแต่ลำใหญ่" ถ้ามันง่ายๆ แค่นั้น คงมีบินกันให้ว่อนทั่วโลกแล้วล่ะ หลักการอาจคล้ายคลึงกันบ้าง แต่วิธีการแตกต่างกันราวฟ้ากับเหว ฮ.บังคับวิทยุใช้เครื่องบังคับแค่ 4-6 แชนแนล บังคับชุดเซอร์โวแค่นั้นก็บินได้ แต่ฮ.ลำใหญ่ๆ ที่ใช้นักบินแล้วเอามาดัดแปลงให้บินด้วยระบบบังคับระยะไกลนี่มันง่ายเหมือนกันขนาดนั้นเลยเหรอ ???
ขออนุญาติ ท่าน juldas คือ ฮ จำนวน 30 ลำควรจะเป็นโครงการเดียวกันทั้งหมดครับ คืองี้ครับ เท่าที่ผมทราบมา โครงการจัดหา ฮ 30 ลำ เป็นโครงการจัดหาทดแทน ฮิวอี้ ซึ่งในตอนแรกเป็นแบล็คฮอร์ค และต่อมา ขึ้นโครงการใหม่ เป็น จะเอา s 70i จากโปแลนด์ครับ ขึ้นโครงการไปแล้ว แต่มาเมื่อกลางปี ข่างลาโกต้า มาแรงมาก จนเปลี่ยนโครงการ เป็น ลาโกต้า ซึ่ง ผมคาดว่า ทั้ง 30 ลำเป็น ลาโกต้าทั้งหมดครับ
ส่วน AW 139 เป็นงบสำนักนายก โอนให้ ทบ.จัดหา และ ฝากให้ ทบ.ใช้และซ่อมบำรุงไปด้วยครับ เพราะฉะนั้น....อีก 24 ลำที่เหลือจะทะยอยซื้อลาโกต้า จนครบ โครงการครับ
ส่วน MI 17 ที่ ว่าจะมาแทน ชินุค อย่างแยบยล นั้น เรื่องมันยาว....ครับ....
ถ้าผิดพลาด ขออภัย...ในข้อมูล ด้วย
คุณjuldas ครับผม
uh-60 7 ลำ ยังไม่รวมที่สั่งไปแล้วใช่ป่ะครับ
รู้สึกว่าจะเป็น uh-60m อีก 3 ลำ
ขอบคุณท่าน:juldas มากนะครับ แต่ข่าวก็ยังขัดๆกันอีกตกลงเราสั่งไปแล้วกี่ลำกันแน่ครับแต่ละแบบ ปวดหัวจริงๆครับกับการสั่งซื้อของทบ. เหมือนกับกรณีBTR ตกลงมาครบหรือขาด
UH 72 เป็นชุดที่สอง แล้วครับ บรรจุให้กับ ร้อยบิน ,บรรจุที่ ศบบ. เอาไว้ฝึก ทบ.เขามีแผนแจกจ่ายมาแล้ว
เห็นท่านจูดาสเอาอัตรามาลง ไม่ใช่แล้วมังครับ เอเอสไม่ได้อยู่ปีกหมุนสามนะครับ แล้วเอามาจากไหนครับว่า ปีกหมุน1กับ2 มี212เป็นสิบตัว อัตราบรรจุมันแค่แปดตัวเองนะครับ
ใช่ครับ AS ตอนนี้บรรจุไปแล้ว ไม่ใช่ที่ หมุนสาม ตามที่เพื่อนสมาชิกบอกน่ะครับ หน่วยที่รับมอบบรรจุ ส่ง นักบิน กับ ช่างไปอบรม มาแล้ว
ตามแผ่นภาพ คือ ในปี 2563 ครับ...ไม่ใช่ในปัจจุบัน ครับ...
ในปัจจุบัน จะมีอัตรา ฮ.ท.212 ที่ 8 ลำ...แต่ตามแผน ท.บ.จะปรับปรุงทั้ง 48 ลำ เป็น ฮ.ทางยุทธวิธี โดยวางแผน ปรับปรุงเป็น Gunship จำนวน 25 ลำ...
ข้อมูล จำนวน 30 ลำ และ UH-72 ที่ผมใช้ 19 ลำ...เพราะ ตอนแรกเข้าใจว่า การจัดหา AW-139 คือ การจัดหาในโครงการนี้ น่ะครับ...
ส่วนตามแผ่นภาพ ผมจัดตาม บทความ เรื่อง การพิจารณา กองบินทหารบก เป็น กรมบิน ครับ...
พอดี แผ่นภาพนี้ เป็นแผ่นภาพในกระทู้เก่า ปี 2555 ผมเลยใส่ AH ไว้ที่ หมุน 3 ครับ เพราะไม่มีข้อมุล ครับ...ซึ่ง AH ชุดแรก ก็อยู่ หมุน 3...เลยใส่ไว้ใน หมุน 3 เหมือนเดิมครับ...
กระทู้เก่า ครับ...ที่มีการปรับข้อมูลใหม่ ในความเห็นส่วนตัว ครับ...
ส่วนตัวคิดว่า ทบ. น่าจะประจำการด้วย ฮ.ประมาณนี้นะครับ(มากกว่าบ้างรุ่นยิ่งดี...หมายถึงจำนวนนะครับ)
UH 72 30 ลำ
AH 1 12-18 ลำ
UH 60 30 ลำ(ทุกรุ่น)
Mi 17 12 ลำ
AS 550 12 ลำ
AW 139 12 ลำ(ใช้เป็น VIP 6 อีก 6 ช่วยเหลือกู้ภัย)
ตัวเลข ผมใช้อ้างอิง จากข้อมูล ชุดนี้ น่ะครับ...
โครงการปรับปรุง212 ยังไมาแน่หรอกครับว่าจะทำกี่ตัว แค่แปดตัวแรกยังไม่ทราบว่าจะเสร็จตอนไหน แล้ว มันมีแผนเอาลาโกต้ามาลงปีกหมุน1นะครับล๊อตแรกที่มา
ตามข้อมูลของท่าน Capt.TOM ว่า AW-139 ไม่ใช่ในโครงการ 30 ลำ...ในปี 2563 ฮ.ใช้งานทั่วไป ของ ทบ. ก็น่าจะประกอบด้วย
๑. ฮ.ท.๒๑๒ จำนวน ๔๘ ลำ
๒. ฮ.ท.๖๐ จำนวน ๑๖ ลำ
๓. ฮ.ท.๗๒ จำนวน ๒๓ ลำ
รวมทั้งหมด ๘๗ ลำ
ถ้าทำ 212 จริงตามแผนที่ว่าภายใน ปี 2563 นี้ มันจะเป็นอะไรที่สุดยอกมากๆ เลย ทบ. ขอเครื่องทุกรุ่น สภาพพร้อมรบนะครับ
ภายใน 10 ปีนี้ คงจะเป็นกองทัพยุคใหม่ไฮเทค สมดังตั้งใจ กองทัพไทยสุดยอด ไม่มากไปไม่น้อยไปไฮเทคประสิทธิภาพเต็ม 100
ปล.ถามนอกประเด็นนิดนะครับ ท่าน Capt.TOM ครับ มีแนวโน้วว่า รถถังหลักจะเข้าประจำการ มากกว่า 1 แบบไหมครับ ...อิอิ
ผมขอบอกตามตรงเลยนะครับ ผมรู้สึกสับสนมาก กับการจัดหา ฮ.ของ ทบ. ไอ่33ลำ มันนี้คือ UH-60LกับM และก็มีS-70I แต่ไปจัดหาUH-72 แทนจำนวน30ลำ แล้วมาจัดหาMI-17V5อีก5ลำนี้คือรวใของเก่า3ลำ+ใหม่2ลำ ถูกหรือปล่าวอ่ะครับ
สรุปอะไรมาแทนอะไรกัน แล้วไปอยู่หน่วยไหน แล้วตอนนี้ผมบอกตรงๆ เลยนะครับ แค่จัดหาUH-60 รุ่นLกับM นี้ ผมสับสนมากๆ ว่าตอนนี้มันกี่ลำแล้ว จัดหาทีละนิดทุกปี มันก็ต้องสับสนมากอยู่แล้ว ปวดหัว
ทั้ง UH 60 และ UH 72 เป็นการจัดหาเพื่อแทน ปู่ ฮิวอี้ ครับ ซึงเราเคยมีเป็นร้อยกว่าลำ แล้วถ้าต้องคงจำนวนเท่าเดิม ที่จัดหามาถือว่าน้อยอยู่เหมือนกัน ครับผม
UH 72 6 ลำ ก็ประมาณ 1700 ถ้า 30 ลำก็ 8500 ล้านบาท(คิดหยาบๆนะครับ) ทั้งหมดนี้ รวมอุปกรณ์การฝึกศึกษา ซ่อมบำรุง พร้อมทั้งอะไหล่
ส่วน UH 60 นี้ ถ้าเอา 30 ลำจริงๆ ก็ ประมาณ 2000*30 ก็ 60000 ล้านบาท(ถ้าจำไม่ผิดนะครับรู้สึกชุดหลังๆตก ลำละ 2000 ล้าน)ถ้าจำผิดกราบขออภัยท่านทั้งหลาย ช่วยแก้ให้ด้วยนะครับ
ถ้าว่ากันตรงๆผมก็ยังคงเชีย BLACKHAWK น่ะสำหรับฮ.ทดแทนปู่ฮิว ไม่ต้องซื้อทีเดียวค่อยๆซื้อไปก็ได้ถ้าต้องการจะเจียดเงินไปหาอย่างอื่น
หลายๆ คนคงอยากให้ทบ.จัดหา Black Hawk มาใช้เยอะๆ เพราะมันเป็นฮ.ที่มีสมรรถนะสูง แต่...ในความเป็นจริงแล้ว นอกจากเรื่องราคาค่าตัวที่แพงมากๆ ก็ยังมีเรื่องของขนาดและน้ำหนัก ซึ่งเจ้า Black Hawk นั้นเป็นฮ.ขนาดกลางที่มีลำตัวค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักมาก ทำให้มีข้อจำกัดในการบินและการขึ้น-ลงในหลายพื้นที่ เช่น ฐานปฏิบัติการบนเขา หรือ บริเวณที่มีสิ่งกีดขวาง ทำให้มีพื้นที่ลงจอดที่จำกัด นอกจากนั้นการที่มีเครื่องยนต์หลักสองเครื่อง ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ การซ่อมบำรุงดูแลรักษาจึงสูงมาก การปฏิบัติงานในหลายภารกิจโดยเฉพาะด้านธุระการก็จะสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ เช่นเดียวกันกับกองทัพสหรัฐ ทั้งที่มีฮ.แบลกฮอว์กอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังต้องจัดหา UH-72A Lakota ไปใช้งานถึงกว่า 3 ร้อยเครื่อง
จุดเด่นที่น่าสนใจมากของเจ้า Lakota ก็คือ ขนาดของมันนั้นเล็กมากๆ แต่กลับมีความสามารถในการบรรทุกสูงพอๆกับ "ฮิวอี้" ขนาดห้องโดยสาร/สัมภาระแทบไม่ต่างกันเลย ทั้งพื้นที่และปริมาตร อีกทั้งมีความอ่อนตัวในการใช้งานมาก ด้วยประตูด้านท้ายเครื่องขนาดใหญ่ พื้นห้องสัมภาระที่แบนราบ กลีบใบพัดประธานที่สั้น มีความคล่องตัวในการบินสูงและความสามารถในการขึ้นลงในพื้นที่จำกัดได้ดีมากๆ
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ ราคา จากงบประมาณที่จำกัดของทบ. แต่ต้องจัดหาฮ.ทดแทนเป็นจำนวนมาก หากต้องจัดหาเจ้าแบลกฮอว์กทั้งหมดจะต้องใช้งบประมาณสูงถึงราว 5 หมื่นล้านบาท (จากความต้องการขั้นต่ำ 30 เครื่อง) ในขณะที่เจ้า Lakota ซึ่งสามารถใช้งานทดแทนฮิวอี้ได้ทั้งหมด โดยสามารถจัดหาได้ด้วยงบประมาณที่ต่ำกว่ามาก เพียงแค่ 9 พันกว่าล้านบาท (จากจำนวน 30 เครื่อง) เท่านั้น !!!
กด Like ให้ท่าน TWG ครับ
ตอนที่มีข่าวว่าจะจัดหา UH-60 มาทดแทน ฮิวอี้ โดยลดจำนวนลงมาที่ 33 เครื่อง แต่ไปทดแทน อิวอี้นับร้อยเครื่อง ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะบางครั้งมันก็ไม่ได้ใช้งานลำเลียงทางยุทธวิธี ผมว่าถ้าใช้งานโดยทั่วไป ลำเลียงสัมภาระส่งเสบียงให้หน่วยทหารแนวหน้า ส่งกลับสายการแพทย์ และถ้าจำเป็นก็ทำหน้าที่ลำเลียงทางยุทธวิธียามขาดแคลนเครื่องได้บ้างบางครั้ง UH-72A น่ะเหมาะสมที่สุดแล้วครับ โดยเฉพาะการมีประตูด้านท้าย สามารถนำคนเจ็บขึ้นลงทางนั้นได้ดี และใบพัดท้ายอยู่สูงจนไม่เป็นอันตรายขณะย้ายคนเจ็บขึ้นเครื่องทางด้านท้าย พวกโรงพยาบาลชั้นนำทั้งหลายก็นิยมเครื่องรุ่นนี้เพราะมีประตูท้ายนี่แหล่ะครับ
UH-72A ราคาต่อหน่วยแค่ 300 ล้านบาท ทบ. สามารถจัดหาได้จำนวนมากได้ เช่น 100 เครื่องใช้งบประมาณประมาณ 30,000 ล้านบาท ในขณะที่แบล็คฮอว์ค ราคาเฉลี่ยๆที่ดีลที่อ่านๆ ตกลำละ 1800 ล้านบาททีเดียว ราคาพอๆกับ Jas-39 ถ้าจัดหา 33 เครื่องก็กว่า 60,000 ล้านบาท และเพื่อทดแทนฮิ้วอี้เป็นร้อย มิต้องใช้งานกันหลังแอ่นหรือครับ หรือบางหน่วยก็จะไม่มีเครื่องใช้ หรือยุบหน่วยไป
ในขณะที่ UH-72A มีค่าใช้จ่ายต่ำ ค่าซ่อมบำรุงก็ต่ำ ความน่าเชื่อถือก็ดี ใช้งานลำเลียงทั่วไป ส่งกลับสายการแพทย์ ไม่ต้องใช้ของหรูเริ่ดขนาด blackhawk ก็ได้ครับ
ผมว่าแยกการจัดหาออกเป็น 2 แบบ คือ ลำเลียงทางยุทธวิธี ถ้าหน่วยไหนต้องใช้งานด้านนี้มากๆ ก็จัดหา UH-60 มาใช้งาน แต่ถ้างานของหน่วยไหนไม่เน้นลำเลียงแบบนี้ ก็ใช้ UH-72 A ทดแทน ฮิวอี้ไป
ใจจริงผมชอบ AW-139 ใช้ในงานลำเลียงยุทธวิธีครับ ลำเลียงหน่วยทหารได้จำนวนพอๆกันกับ blackhawk สามารถติดตั้ง option ได้หลายรายการ ราคาเป็นมิตรกว่า ประมาณ 900-1000 ล้านบาทต่อเครื่อง ประสิทธิภาพก็ดีครับ แม้จะไม่เริ่ดขนาด Blackhawk แต่ก็ไม่กระจอกแต่อย่างใด ใช้งบประมาณการจัดหาน้อยกว่ามากครึ่งต่อครึ่ง
ทำไมเฮลิคอปเตอร์ UH-72A ถึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในทางยุทธการครับ หรือว่ากองทัพไม่เอารุ่นนี้มาใช้ในภารกิจนี้เอง หรือผมใจผิดเอง 55
ที่ UH-72 หรือ EC-145 ไม่เหมาะสมกับการขนส่งทางยุทธวิธีก็เพราะเครื่องไม่ได้มีพื้นฐานการออกแบบสำหรับกิจการทหารครับ พื้นฐานการออกแบบเน้นการตลาดสำหรับพลเรือนเท่านั้น เน้นความประหยัดในทางธุรกิจ ซ่อมบำรุงง่าย ราคาไม่แพง เชื่อถือได้ดีเมื่อใช้บินในกิจการพลเรือนครับ เพราะไม่ต้องไปบินท่ามกลางห่ากระสุน ไม่ต้องสมบุกสมบัน
เหมือนกับเอารถกระบะมาดัดแปลงสำหรับกิจการทหารครับ เพราะประหยัดถูก เหมาะสำหรับในบางหน้าที่ เช่นใช้งานขนส่งทั่วไป ธุรการ เอามาติดเกราะเพิ่มความอยู่รอด ก็พอที่จะใช้ลาดตระเวนได้บาง แต่ไม่ปลอดภัย 100% ก็เหมือนข่าวกระบะดัดแปลง นาวาร่า ที่เพื่อนๆลงข่าวมาให้อ่านน่ะครับ ใช้งานลาดตระเวนได้ระดับหนึ่ง แต่เมื่อโดนระเบิดจากข้างใต้ ก็จอดเรียบร้อย
ดังนั้นสำหรับ UH-72 A ก็คงเหมาะสมสำหรับส่งกลับสายการแพทย์ ขนส่งทั่วไปหลังแนวรบ ฮ.ธุรการ รุ่นนี้เป็นการปรับปรุงเพื่อกิจการทหาร คงมีการเพิ่มความสามารถในการอยู่รอดในสนามรบมากขึ้น คงจะสามารถส่งเสบียงและสัมภาระเครื่องกระสุนให้แนวหน้าได้บ้าง ลาดตระเวนได้บ้างบางครั้ง หรือลำเลียงทางยุทธวิธีเมื่อยามขาดแคลนและจำเป็นจริงๆเท่านั้น เพราะยังไงความสมบุกสมบัน ความทนทานในสนามรบ อึดถึกทุย(อย่าง Mi-17) ความอ่อนตัวในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในสนามรบ คงจะทำไม่ได้ครับ เพราะระบบสำรองต่างๆไม่ได้มากมายแบบเครื่องทหาร ไม่มีเกราะป้องกันในบางจุด
ดังนั้นภาระกิจหลังแนวรบ และยามสงบ เครื่องพวก UH-72A จึงเหมาะสมครับ จะเอา UH-60 มาใช้ในภาระกิจพวกนี้ ผมว่ามันเหมือนเอารถสปอร์ต มาขับรับส่งเด็กไปโรงเรียน ซึ่งจริงๆเอาแค่ นิสสันมาร์ช ก็พอแล้วครับ
UH-60 AW-139 ถูกออกแบบมาสำหรับกิจการทหาร เหมาะสมสำหรับภาระกิจแนวหน้าท่ามกลางห่ากระสุนนานาชนิด ระบบสำรองต่างๆเพียบ ดังนั้นควรจะให้มันไปทำหน้าตรงตามหลักการออกแบบมาน่ะดีที่สุดครับ
AW-149 การพัฒนาขั้นถัดมา เข้าทำตลาดเดียวกับ UH-60 ครับ เครื่อง AW-139/149 นี่ไม่ได้กระจอกและน่าเกลียดแต่ประการใดเลยครับ