ขณะที่โครงการยานเกราะแห่งชาติยังไม่ไปถึงไหน แต่สิงห์โปร ต่อยอดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศไปไกลกว่าเราหลายเท่า สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคง ทำไมประเทศเล็ก ๆ ถึงมีศักยภาพมากถึงขนาดนั้น ทั้ง ๆที่ทรัพยากรก็ไม่มากไปกว่าไทย หรือว่าคนไทยมันไม่เก่ง แต่ก็เห็นข่าว คนไทยได้ที่ 1 ของโลกก็ปล่อย แล้วเป็นอะไร ประเทศไทย ถึงตามหลังเขาทุกที หรือว่า หัว ไม่ได้เรื่อง หาง ถึงไม่ขยับ ขอที เรานับ 1 2 3 4 มาแล้ว อย่าล้ม แล้วมา นับ 1 ใหม่ ดูโรงงานผลิตของเขาก่อน
เสวนายานเกราะไทย
ประเทศเล็กๆ สาเหตุของความก้าวหน้าของสิงคโปร์ ตามความเห็นของผม
1.สิงคโปร์มีพื้นที่น้อย จึงทำให้ออกกฎหมาย และดูแลประชาชนได้ง่าย และทั่วถึง
2.สิงคโปร์สร้างชาติมาด้วยความยากลำบาก ประชากรจึงมีคุณภาพ เนื่องจากภูมิคุ้มกันดี ไม่ได้สบายเหมือนประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ
3.ผู้นำประเทศที่มีเก่ง มองการไกล และมีคุณภาพ
จาก 3 ข้อข้างต้น มันทำให้สิงคโปร์พัฒนาประเทศได้อย่างโดดเด่น และร่ำรวย แต่ผมคิดว่าเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือผู้นำประเทศของเค้าเก่ง บวกกับประเทศเค้าเล็กนี่แหละ
ใช่ว่าประเทศเล็กทำไมถึงเจริญ เค้าเจริญได้ก็เพราะประเทศเค้าเล็กนี่แหละ การออกกฎหมาย การดูแล ให้การศึกษาคุณภาพชีวิตทั่วถึง เค้าไม่ได้เอาดีด้านทรัพยากรที่มีน้อย แต่เค้าเอาดีด้านเศรษฐกิจ
ลองแก้กฏหมายให้เอกชนผลิตพวกนี้ได้สิครับ รับรองไปไกล การผลิตยานเกราะแบบสิงคโปร์เขาออกแบบใหม่เลย
ต้องมี Know How เองทั้งหมด ของเรากว่าจะทำได้น่าจะหลายสิบปีครับ ของเราเอาแบบพม่าก่อนดีที่สุด
ประกอบเองให้ได้ ผลิตอะไหล่เองให้ได้ เท่านั้นก็ไปได้ไกลแล้ว ยานขนส่งอย่าง Bush Master นี่ก็ทำในไทย - -
ผมก็เพิ่งรู้ว่าไทยก็ผลิตรถหุ้มเกราะได้ไปเจอมาที่พันทิพย์ รถรุ่นนี้ชื่อ โ Bushmaster ผลิตโดยบริษัทล๊อกเล่ย์ประเทศไทย เอกชนไทยมีศักยภาพแต่กองทัพไทยเมิน โ
Bushmaster APC |
พรบ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติ โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ (๒) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “โรงงาน” หมายความว่า โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตอาวุธตามพระราชบัญญัตินี้ “ผลิต” หมายความว่า ทำ ประกอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะ “อาวุธ” หมายความว่า (๑) อาวุธปืน หรืออาวุธอย่างอื่นซึ่งใช้ส่งกระสุนปืน โดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของก๊าซ หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใดๆ ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้นด้วย (๒) กระสุนปืน และหมายความรวมถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิดตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรด ก๊าซ เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบกระสุนปืน รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้นด้วย (๓) วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันในเมื่อระเบิดขึ้น โดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดัน หรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหาร และหมายความรวมถึงเชื้อปะทุหรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ซึ่งใช้หรือทำขึ้น เพื่อให้เกิดการระเบิด รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้นด้วย หรือ (๔) สิ่งอื่นใดที่มีอำนาจในการประหาร ทำลาย หรือทำให้หมดสมรรถภาพในทำนองเดียวกันกับอาวุธตาม (๑) (๒) หรือ (๓) รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้นด้วย “ส่วนประกอบ” หมายความว่า ส่วนต่างๆ ของอาวุธ และหมายความรวมถึงอุปกรณ์อื่นใด ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกับอาวุธดังกล่าวแล้ว ทำให้อาวุธนั้นมีประสิทธิภาพหรือเกิดประโยชน์แก่การใช้เพิ่มขึ้น หรือทำให้คุณลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น กับออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๖ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การผลิตอาวุธโดยส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๗ รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลใดผลิตอาวุธสำ หรับส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่วนราชการอื่นหรือรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนในการมีและใช้ตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๘ นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ การกระทำใดซึ่งได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้การกระทำนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์
หมวด ๒ การขอและการออกใบอนุญาต
มาตรา ๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการโรงงานผลิตอาวุธตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อรัฐมนตรี ผู้ขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กฎกระทรวงตามวรรคสองจะกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ขอรับใบอนุญาตระหว่างผู้ถือหุ้นซึ่งมีสัญชาติไทยกับผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นซึ่งมีจำนวนหุ้นมากที่สุดตามลำดับลงมาห้าอันดับของผู้ขอรับใบอนุญาตไว้ด้วยก็ได้ การขอและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๐ ในการออกใบอนุญาต รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ชนิด ปริมาณ และคุณภาพของอาวุธที่ผู้รับใบอนุญาตจะต้องผลิต (๒) การขาย หรือจำหน่ายอาวุธให้แก่หน่วยงานตามมาตรา ๗ (๓) การรับข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการตามมาตรา ๖ เข้าฝึกอบรมการปฏิบัติงานในโรงงานผลิตอาวุธของผู้รับใบอนุญาต (๔) การกำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วน และแหล่งกำเนิดของวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธ (๕) สถานที่เก็บวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้น (๖) มาตรการในการรักษาความลับในการผลิตอาวุธ (๗) มาตรการในการรักษาความปลอดภัยในการผลิตอาวุธ (๘) การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือผู้ถือหุ้นซึ่งมีจำนวนหุ้นมากที่สุดตามลำดับลงมาห้าอันดับของผู้รับใบอนุญาต หรือการรายงานการดำเนินการใดๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต (๙) มาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบอาวุธที่ผลิตขึ้นหรือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตอาวุธตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๐) เงื่อนไขอื่นใดที่จำเป็นเกี่ยวกับการผลิตอาวุธ
มาตรา ๑๑ ใบอนุญาตมีสี่ประเภทคือ (๑) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทำอาวุธ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประกอบอาวุธ (๓) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานซ่อมแซมอาวุธ (๔) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเปลี่ยนลักษณะอาวุธ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทำอาวุธให้ถือว่าได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประกอบ ซ่อมแซม และเปลี่ยนลักษณะอาวุธด้วย ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรานี้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำ ประกอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๒ ใบอนุญาตให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วย ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาต เว้นแต่ผู้รับใบอนุญาตจะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการสุดวิสัยที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้
มาตรา ๑๓ ใบอนุญาตซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในใบอนุญาต แต่มิให้กำหนดเกินสิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ในกรณีที่เลิกประกอบกิจการตามมาตรา ๒๐ หรือย้ายโรงงานตามมาตรา ๒๒ หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานสิ้นอายุ ให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุในวันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการ หรือวันที่ออกใบอนุญาตใหม่ หรือวันที่ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๔ การขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ถือว่าผู้ยื่นคำขออยู่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตจนกว่ารัฐมนตรีจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๕ ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ตั้งของโรงงานที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหายหรือชำรุดเสียหาย การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๗ เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อโรงงานหรือชื่อผู้รับใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยน
มาตรา ๑๘ ผู้รับใบอนุญาตจะควบกิจการโรงงานกับกิจการอื่นมิได้ เว้นแต่จะควบกับกิจการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตอาวุธด้วยกัน การควบกิจการตามวรรคหนึ่งเข้ากัน ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ เมื่อได้จดทะเบียนควบกิจการเข้ากันตามกฎหมายแล้ว กิจการใหม่ที่ควบเข้ากันต้องขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๙ ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกิจการใหม่ที่ควบเข้ากันนั้น ในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการไปพลางได้ตามใบอนุญาตเดิม หากไม่ขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดดังกล่าวหรือควบกิจการเข้ากันโดยฝ่าฝืนมาตรานี้ ให้ถือว่าใบอนุญาตเดิมที่ออกให้ก่อนควบเข้ากันนั้นเป็นอันสิ้นอายุ
มาตรา ๑๙ การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับใบอนุญาต หรือผู้มีอำนาจจัดการโรงงานของผู้รับใบอนุญาตจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลตามวรรคหนึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้และให้ผู้รับใบอนุญาตเสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกประกอบกิจการให้ยื่นขออนุญาตเลิกประกอบกิจการต่อรัฐมนตรี ในการอนุญาตนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขอื่นใดที่จำเป็นไว้ล่วงหน้าก่อนการอนุญาตก็ได้
หมวด ๓ การดำเนินการผลิตอาวุธ
มาตรา ๒๑ เมื่อตั้งโรงงานเสร็จแล้ว ก่อนเปิดดำเนินการผลิตอาวุธ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบโรงงานก่อน ถ้าเห็นว่าผู้รับใบอนุญาตยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าระยะเวลาดังกล่าวไม่เพียงพอ ให้ผู้รับใบอนุญาตขอขยายระยะเวลาต่อรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายเพื่อสั่งขยายระยะเวลาให้ตามสมควร ถ้าเห็นว่าผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายอนุญาตเป็นหนังสือให้ดำเนินการผลิตอาวุธได้
มาตรา ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะย้ายโรงงานผลิตอาวุธไปจากที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตต้องดำเนินการขอรับใบอนุญาตใหม่
มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตผลิตอาวุธอื่นใดนอกจากที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตเปลี่ยนแปลง หรือใช้โรงงานหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงงานให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๒๕ ผู้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งวัตถุหรืออาวุธใดเพื่อใช้ในการผลิตอาวุธ หรือเป็นตัวอย่างหรือเพื่อวิจัยเกี่ยวกับการผลิตอาวุธต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้รับใบอนุญาตซึ่งได้รับอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งวัตถุหรืออาวุธตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับอนุญาต และปฏิบัติตามกฎหมายอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตสั่งหรือนำวัตถุหรืออาวุธนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรและการมีกรรมสิทธิ์ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุหรืออาวุธดังกล่าว
มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตใช้วัตถุหรืออาวุธที่ได้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา ๒๕ ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต
มาตรา ๒๗ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเวลาทำการของโรงงาน และห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงเวลาทำการ เว้นแต่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
มาตรา ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตต้องเก็บวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นไว้ภายในโรงงานหรือสถานที่เก็บตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดในใบอนุญาต สถานที่เก็บวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้น ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต เว้นแต่รัฐมนตรีจะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขดังกล่าวหรือกำหนดเป็นอย่างอื่นในกรณีที่มีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ในกรณีที่วัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นมีกฎหมายใดกำหนดวิธีการเก็บไว้โดยเฉพาะ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นด้วย การเก็บ กำจัด หรือทำลายเศษวัตถุที่เกิดจากการผลิตอาวุธ หรือวัตถุหรืออาวุธที่เสียหายใช้ไม่ได้ หรือไม่ได้ใช้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๙ ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีบัญชีเกี่ยวกับชนิด ปริมาณ และการรับจ่ายประจำวันของวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้น รวมทั้งวัตถุหรืออาวุธดังกล่าวที่เสียหาย ใช้ไม่ได้ หรือไม่ได้ใช้ และต้องส่งรายงานและสำเนาบัญชีดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบบัญชีและหลักเกณฑ์การรายงานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บัญชีตามวรรคหนึ่ง ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำให้มีรายการถูกต้องตรงกับชนิดและปริมาณของวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นที่เก็บไว้ภายในโรงงานหรือสถานที่เก็บตาม มาตรา ๒๘
มาตรา ๓๐ ผู้รับใบอนุญาตต้องสำรองวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธตามชนิดและปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในโรงงานหรือสถานที่เก็บตามมาตรา ๒๘
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตขนย้ายวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นออกจากโรงงานหรือสถานที่เก็บ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย การขนย้ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยผู้รับอนุญาตต้องนำหนังสืออนุญาตการขนย้ายตามวรรคหนึ่งกำกับไปพร้อมกับการขนย้ายด้วย
มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตขายหรือจำหน่ายด้วยประการใดซึ่งอาวุธที่ผลิตขึ้นเว้นแต่ขายหรือจำหน่ายให้แก่หน่วยงานตามมาตรา ๗ หรือได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าโดยการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร การขออนุญาตขายหรือจำหน่ายอาวุธให้แก่บุคคลอื่นนอกจากหน่วยงานตามมาตรา ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการที่รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ขายหรือจำหน่ายโดยการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอยู่แล้วผลิตเฉพาะส่วนประกอบของอาวุธสำ หรับส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่สามารถผลิตส่วนประกอบของอาวุธนั้นได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ในกรณีนี้ให้ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานยื่นคำขอรับอนุญาตจากรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาตเป็นการเฉพาะคราวเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะผลิตส่วนประกอบของอาวุธสำหรับส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๕มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๔๑และมาตรา ๔๗ มาใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตตามวรรคสองโดยอนุโลม
มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์แก่การผลิตอาวุธสำหรับหน่วยงานตามมาตรา ๗ ถ้ากรณีมีความจำเป็นเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตสามารถดำเนินการผลิตอาวุธไปได้โดยสม่ำเสมอ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวผลิตอาวุธไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่นนอกจากหน่วยงานตาม มาตรา ๗ เป็นการเฉพาะคราวได้เมื่อผู้รับใบอนุญาตนั้นร้องขอ การขายหรือจำหน่ายอาวุธที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรา ๓๒
หมวด ๔ การควบคุม
มาตรา ๓๕ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินการผลิตอาวุธของผู้รับใบอนุญาตให้รัฐมนตรีมีอำนาจวางระเบียบการจัดให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมอยู่ประจำโรงงานของผู้รับใบอนุญาต เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ (๑) เข้าไปตรวจสถานที่ทำการ โรงงาน หรือสถานที่เก็บวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นของผู้รับใบอนุญาต (๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้น (๓) ตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) ออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐาน หรือสิ่งอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา
มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๓๕ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา ๓๖ ผู้รับใบอนุญาตต้องให้ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร
มาตรา ๓๘ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้องร้องขอ บัตรประจำตัวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๓๙ เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้องหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะสั่งให้หยุดประกอบกิจการ ทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนก็ได้ ในกรณีที่สั่งให้หยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนถ้าผู้รับใบอนุญาตได้ปฏิบัติให้ถูกต้องหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายสั่งให้ประกอบกิจการต่อไปได้
มาตรา ๔๐ เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙ วรรคสอง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการตามใบอนุญาตนั้น เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามมาตรา ๙ วรรคสองแล้ว รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งของรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายตามมาตรา ๓๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ได้อีกต่อไปแล้ว หรือเมื่อปรากฏว่าการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติของผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๙ เป็นการกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยของประเทศ หรือผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ในกรณีที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา ๔๐ หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งรัฐมนตรีจะมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมเข้าควบคุมหรือดำเนินการแทนก็ได้
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตมีความจำเป็นต้องหยุดดำเนินการผลิตหรือไม่อาจดำเนินการผลิต หรือดำเนินการในลักษณะที่ลดปริมาณการผลิตซึ่งอาวุธที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมเข้าดำเนินการผลิตอาวุธในโรงงานของผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทั้งนี้ จนกว่าพฤติการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตนั้นต้องหยุดดำเนินการผลิต หรือไม่อาจดำเนินการผลิต หรือลดปริมาณการผลิตนั้นจะสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมเข้าควบคุมหรือดำเนินการแทนผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ ให้อาวุธที่ผลิตขึ้นสำหรับส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมตกเป็นของกระทรวงกลาโหม และให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนการใช้โรงงานตามระยะเวลาที่เข้าควบคุมหรือดำเนินการแทนและค่าชดใช้ราคาอาวุธตามราคาที่คณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ กำหนดภายในเวลาอันควร
มาตรา ๔๔ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่กำหนดค่าทดแทนการใช้โรงงานและราคาอาวุธที่จะชดใช้ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ การกำหนดค่าทดแทนการใช้โรงงานและราคาอาวุธตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามราคาอันเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาของวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธ ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น ทั้งนี้ เฉพาะที่นำมาใช้ในการผลิตอาวุธที่ตกเป็นของกระทรวงกลาโหม องค์ประกอบและคุณสมบัติของกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่พอใจค่าทดแทนการใช้โรงงานหรือราคาอาวุธที่ได้รับชดใช้ตามที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นตามมาตรา ๔๔ ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งราคาที่คณะกรรมการกำหนด คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา ๔๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๔๗ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือใบอนุญาตสิ้นอายุและไม่ได้ต่ออายุอีก ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดการขายหรือจำหน่ายวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ ระยะเวลาที่รัฐมนตรีจะกำหนดนั้นจะกำหนดให้มีการขยายระยะเวลาไว้ด้วยก็ได้ แต่มิให้ขยายระยะเวลาเกินหนึ่งครั้ง ถ้าพ้นระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดตามวรรคหนึ่งแล้วยังขายหรือจำหน่ายไม่หมดให้วัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นตกเป็นของรัฐและให้ผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อจัดการตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่มีเศษวัตถุที่เกิดจากการผลิตอาวุธ หรือมีวัตถุหรืออาวุธที่เสียหายหรือใช้ไม่ได้ซึ่งจะต้องกำจัดหรือทำลายให้หมดไป ให้ผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบอนุญาตสิ้นอายุและไม่ได้ต่ออายุอีกยังคงเป็นผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะเพื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
หมวด ๕ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๘ ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานผลิตอาวุธโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ วรรคสอง หรือประกอบกิจการโรงงานผลิตอาวุธผิดประเภทที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงห้าล้านบาท
มาตรา ๔๙ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใด (๑) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐ (๒) ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ (๓) เปิดดำเนินการผลิตอาวุธโดยไม่แจ้งให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายทราบตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง หรือ (๔) ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๗ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๕๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๕๑ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดเลิกประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๕๒ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๕วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๘ วรรคสอง หรือวรรคสี่ หรือมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๕๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือไม่นำหนังสืออนุญาตการขนย้ายวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นออกจากโรงงานหรือสถานที่เก็บกำกับไปพร้อมกับการขนย้ายตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๕ ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง วรรคสองหรือวรรคสี่ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๗ วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐ หรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายที่สั่งให้หยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา ๓๙ หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๓๓ วรรคสาม ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้สำหรับผู้รับใบอนุญาต
มาตรา ๕๖ ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๓๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๕๗ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๘ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๙ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายที่สั่งให้หยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
มาตรา ๖๑ บรรดาวัตถุหรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้นซึ่งได้ผลิตสั่งนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร มีกรรมสิทธิ์ มีไว้ในครอบครอง ขาย หรือจำหน่าย โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ และให้ส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อจัดการตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๖๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือความผิดตามมาตรา ๕๘ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๓ คำขออนุญาตใดๆ ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมและให้ดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖๔ ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตที่ออกให้ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๕ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งใดอ้างถึงคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ หรืออ้างถึงข้อความในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้หรืออ้าง ถึงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๖ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และยังคงใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. อัตราค่าธรรมเนียม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาต และมาตรการในการควบคุมและตรวจสอบโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน รวมทั้งปรับปรุงบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|
รถหุ้มเกราะบุชมาสเตอร์ เราแค่รับจ้างประกอบครับไม่ได้สร้างขึ้นมาเองครับ
จ้างประกอบก็จริงครับ ผมไม่เคยเห็นภายในโรงประกอบนะแต่เชื่อว่ามีชิ้นส่วนที่ทำในไทยอยู่เยอะครับ ไม่งั้นไม่มาสร้างโรงประกอบที่นี่หรอก เหมือนรถยนต์นั่นแหละ นำเข้าแต่เครื่องยนต์ที่เหลือผลิตในไทยล้วน ๆ ไม่เว้นแม้แต่สายไฟ และ กระจกข้าง (โดยบริษัทญี่ปุ่น)
ง่ายมาก ครับ...หากคนไทยเรานิ่ง พอ...นิ่ง...แต่สวนมาก ประเภท บ้าของนอกเยอะ...ทั่ง ๆ ที่ เงินมีน้อย...
พอให้ โอกาส ทำ แล้ว ก็ไม่รับผิดชอบ...ชอบวิจารณ์ แต่ไม่ชอบลงมือทำ....ไม่ต่อเนื่อง...
เป็นเรื่องจริงครับ ชิ้นส่วนรถยนต์ บ้านเรานี่ เครื่องคุณภาพ อันดับ 3 ของเอเชียครับ แพ้ แค่ ญี่ปุ่นและเกาหลี ส่วนราคาต่อคุณภาพ เราแค่เกาหลีชาติเดียวครับ ญี่ปุ่น ราคาสูงกว่า ตอนนี้ไทยผลิตแล้วไปตีตราที่ญี่ปุ่น เพื่อส่งออกเป็น Made in japan อีกที พูดง่าย ๆ แค่เอาแบบมาให้เราทำ เราสามารถผลิตได้ทันทีในไม่เกิน 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ น๊อตล้อ จะถึงเครื่องยนต์
ความจริงแล้ว ญี่ปุ่นพยายามย้ายฐานออกจากประเทศไทยหลายครั้ง ย้ายไปอินโดนีเซีย แต่ไม่สำเร็จเพราะ คุณภาพไม่ได้ ดูจากในรถยนต์หลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า อินโนว่า โตโยต้า อเวนซ่า ดีแมกซ์รุ่นแรก ๆ ใช้เสื้อสูบจากอินโดฯ คุณภาพแย่มาก จนต้องย้ายกลับมาทำที่เมืองไทยเหมือนเดิม
และในปีหน้า เราจะได้เห็นรถยนต์อีกหลายยี่ห้อที่จะมาเปิดสายการผลิตในเมืองไทย จีน อินเดีย มาเลฯ ยุโรป เพื่อเน้นส่งขายใน AEC ครับ ผมเคยถามว่าทำไมไม่ไปทำทีเวียดนาม เค้าบอก น่าสนใจ แต่คงไม่ต่ำกว่า 20 ปี เพราะ คุณภาพคนยังไม่ถึง ไม่ใช่ว่าไม่เก่งนะครับ แต่การศึกษามากกว่า กว่าจะมี เรียนทักษะวิชาชีพ ขนาดนั้น มีแรงงานด้านเครื่องกล เป็นล้านคนนี่ ทำได้ยากมากไทยเราพัฒนามากกว่า 20 ปี ถึงได้แบบนี้
ส่วนสิงค์โปร์ ต้องถามจริง ๆ ว่าคนที่สร้างจริง ๆ แล้วเป็นสิงค์โปร์รึ่ป่าว บริษัทอาจจะใช่ แบบอาจจะใช่ แต่โรงงานที่สร้างพื้นที่ ผมว่าเค้าไม่เหมาะ มันเป็นแค่ความมั่นคงมากกว่า ครับ ปัญหาของไทย คือ เราไม่มียี่ห้อเป็นของตัวเอง แต่มีโรงงานเป็นของตัวเอง
ถ้าเราอยากรู้ว่าไทยมีศักยภาพแค่ไหน ลองไปดูโรงงานสามมิตร แถวสมุทรปราการนะครับ นั้นแค่บริษัทเดียว นะครับ