หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


SAAB เปิดสำนักงานใหญ่ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกในประเทศไทย

โดยคุณ : perawat999 เมื่อวันที่ : 23/09/2013 10:26:09

วันนี้ ซาบ ซึ่งเป็นบริษัทด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคง ได้ทำพิธีเปิดสำนักงานที่ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ ซาบระบุว่าเอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ตลาดที่ซาบมุ่งให้ความสนใจและจะเพิ่มการเข้ามามีบทบาทให้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อที่จะให้ความร่วมมือกับทุกโอกาสในทั่วทั้งภูมิภาค สำนักงานที่กรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางสำหรับภูมิภาคนี้ ซาบมีสำนักงานในมาเลเซีย, เกาหลี, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย และจีน ในโอกาสนี้ซาบยังได้ทำการเปิดตัวเวปไซต์ส่วนที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทในประเทศไทยโดยเฉพาะอีกด้วย http://www.saabgroup.com/thailand.

เพื่อที่จะให้การสนับสนุนโครงการที่ประสบความสำเร็จแล้วด้วยดีอย่าง โครงการกริเพน, เออีดับเบิ้ลยู และเรือฟริเกต ตลอดจนโครงการอื่น ๆ ในอนาคตของประเทศไทยและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซาบจึงได้มีการเพิ่มบทบาทในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและได้เปิดสำนักงานใหญ่ของกลุ่มตลาดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่กรุงเทพฯ

ซาบ นำผลิตภัณฑ์, บริการและโซลูชั่นระดับโลกมาสู่ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ตั้งแต่การป้องกันภัยประเทศจนถึงการรักษาความปลอดภัยของพลเรือน

ประเทศไทยเป็นตลาดหนึ่งในสิบอันดับแรกของซาบมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว บริษัทมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางกับทั้งภาคการป้องกันประเทศและภาคพลเรือนของประเทศไทย

ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างความร่วมมือในระยะยาวภายในประเทศ ซาบจึงได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวกับเอวิเอแซทคอม โดยการเข้าไปถือหุ้นจำนวน 37% ของบริษัท ความร่วมมือกับเอวิเอแซทคอมได้ดำเนินการเต็มรูปแบบมาตั้งแต่ปี 2011

 

ซาบในประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของเรากับกองทัพไทยนั้นหมายรวมถึง ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการกริเพน, ระบบควบคุมและบังคับบัญชา, ระบบเรดาร์ และจรวดต่อสู้อากาศยาน RBS 70 สำหรับกองทัพอากาศ; ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังคาร์ล กุสตาฟ และเครื่องฝึกจำลองอุปกรณ์เลเซอร์สำหรับกองทัพบก และระบบอำนวยการรบ (9LV) และเรดาร์ตรวจการณ์แบบ Sea Giraffe AMB สำหรับกองทัพเรือ ซาบมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศไทยในระยะยาวเพื่อตอบสนองความต้องการของไทย

บริษัทมีสัมพันธภาพอันดีกับทุกเหล่าทัพ รวมถึงการได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลสวีเดนในการส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทย

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอจากสวีเดน ซาบกำลังทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงด้านอากาศยาน (aerospace) เป็นจำนวน 100 ปีทำงาน (man-year)ให้กับประเทศไทย จุดประสงค์ของการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระยะยาวของทั้งสองประเทศนี้ เป็นไปเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศในประเทศไทย

ความร่วมมือของซาบกับประเทศไทยนั้นมีกับทุกภาคส่วนของรัฐบาล ซาบ ซึ่งเป็นบริษัทด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคง ได้ปรับปรุงระบบอำนวยการรบและระบบควบคุมการยิงบนเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรทั้งสองลำของกองทัพเรือไทย ทั้งเรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการรบ 9LV Mk4 และระบบควบคุมการยิง CEROS 200 รุ่นใหม่ล่าสุด และยังมีคำสั่งซื้อระบบตรวจการณ์และระบบสื่อสารเพิ่มเติมเพื่อทำให้ระบบอำนวยการรบบนเรือฟริเกตทั้งสองลำทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ซาบยังได้ส่งมอบอุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Link) ให้กับเรือทั้งสองลำ ซึ่งจะทำให้เรือทั้งสองลำสามารถติดต่อสื่อสารกับกริเพนและซาบ 340 ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วได้ โดยซาบ 340 นั้นติดตั้งระบบเรดาร์แจ้งเตือนล่วงหน้าแบบอิรี่อาย

ซาบยังได้ปรับปรุงระบบควบคุมและบังคับบัญชาของเรือหลวงจักรีนฤเบศร โดยเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ได้ติดตั้งระบบอำนวยการรบ 9LV Mk4 รุ่นล่าสุด ซาบยังได้ส่งมอบอุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งทำให้เรือหลวงจักรีนฤเบศรและเครื่องบินขับไล่กริเพน รวมถึงเครื่องบินแจ้งเตือนล่วงหน้าซาบ 340 เออีอับเบิ้ลยู ซึ่งติดตั้งระบบเรดาร์แจ้งเตือนล่วงหน้าอิรี่อายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้

ซาบในเอเชียแปซิฟิก

สำหรับซาบ เอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดที่มีความสำคัญเพราะมีการเติบโตในวงกว้างและความมีศักยภาพในด้านความสัมพันธ์ ซาบมุ่งมั่นที่จะให้ความร่วมมือในระยะยาวกับเอเชียแปซิฟิกเพื่อที่จะรองรับและส่งมอบตามความต้องการของแต่ละประเทศในภูมิภาค

ผลิตภัณฑ์ของซาบมีการใช้งานอยู่ในหลายประเทศทั่วทั้งภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี, ญี่ปุ่น, จีน(ระบบรายงานตนอัตโนมัติ), ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ปัจจุบันซาบมีส่วนร่วมในการส่งมอบโครงการหลายโครงการให้แก่ประเทศไทย รวมถึงมีการติดตามโอกาสทางการขายรายบุคคลในอีกหลายประเทศของภูมิภาค

ธุรกิจทั้งหมดของซาบมีให้บริการในเอเชียแปซิฟิก โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิเช่น กริเพน, อากาศยานไร้นักบินรุ่น Skeldar, หอบังคับการบิน, ระบบควบคุมและบังคับบัญชา, ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบป้องกันตนเอง), การจัดการการตรวจจับ, ฐานการบิน, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบตรวจการณ์, ระบบควบคุมการยิงและระบบเรดาร์

 

 

 

ที่มา http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=7&t=16&p=75730#p75730





ความคิดเห็นที่ 1


มาแล้ว ซ๊าบ เปิดสำนักงานใหญ่ในไทยแบบนี่ในอนาคตก็อาจจะได้เห็นโครงการร่วมกันระหว่างกองทัพไทยและซ๊าบในการประกอบเครื่องบินแบบต่างๆได้ด้วยซิครับนี่?ถือว่าเป็นข่าวที่ดีมาก แบบนี่ซ๊าบอยู่กันอีกยาวไปเลยนะ ฮ่าๆๆ

 

ผมคิดเล่นๆ Jas-39 รุ่นประกอบในไทย(ผมฝันมากไปหน่อย ขออภัยครับ แฮะๆๆ)

 

ไม่แน่ว่าโครงการเครื่องสเตลธ์ FS-2020 ประเทศไทยอาจจะเข้าไปมีส่วนร่วม ถ้าจริงจะสุดยอดไปเลยครับ เครื่องยุด Gen.5 ก็ไม่ใช่แค่ฝันกันอีกต่อไปแล้ว สำหรับทอ.ไทย ตั้งแต่ผมเลิกมอง F-35 ก็มีเจ้านี่ล่ะที่เข้าตาจริงๆ มีข่าวแบบนี้ยิ่งชอบกว่าเดิมเลยนะ

โดยคุณ Gadalar เมื่อวันที่ 20/09/2013 05:44:13


ความคิดเห็นที่ 2


ดีใจครับ ที่ซาบเห็นความสำคัญของประเทศไทย ถ้าเป็นสำนักงานใหญ่ในภูมิภาค ก็หวังว่า ซาบจะตั้งโรงงานผลิตและซ่อมบำรุงภายในประเทศไทยอีกด้วย ก็ดีครับช่วยกันส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยกันเยอะๆ ^ ^

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 20/09/2013 09:18:20


ความคิดเห็นที่ 3


 

แค่ " สำนักงาน"  ไม่พอ  ... คนไทยส่วนมาก ต้องการ " โรงงาน " ด้วย

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 20/09/2013 13:37:38


ความคิดเห็นที่ 4


ไทยแม้จะคิดเองลงทุนเองยังไม่ได้ แต่เรื่องฝีมือนั้นคับโลกอยู่อย่างน้อยๆอุตสาหกรรมประกอบรถเราก็ใช่ได้ ร่วมทุนคือทางเดียวแล้วผมว่า

โดยคุณ fighttt เมื่อวันที่ 20/09/2013 13:39:47


ความคิดเห็นที่ 5


เห็นด้วยกับการร่วมทุนครับ ผมว่าเราพัฒนาได้อีกไกลหากใช้วิธีร่วมทุน และได้แน่ๆด้วย

 

ไม่อยากให้แค่คอยโอกาสฟรีๆ แล้วมันจะลอยมาหาเรา รอโชควาสนาเพียงอย่างเดียวมันไม่พอ

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 20/09/2013 14:15:45


ความคิดเห็นที่ 6


อ๊ากกกกกกกก อาจจะได้สร้างเรือดำน้ำเองด้วย

โดยคุณ pichitchai เมื่อวันที่ 20/09/2013 15:32:02


ความคิดเห็นที่ 7


ใจเย็นพี่ เค้าแค่มาตั้งสำนักงานเล็กๆเพื่อดูแลการตลาด ไม่ได้จะมาลงทุนพันล้านหมื่นล้านสักหน่อย

โดยคุณ jeepy เมื่อวันที่ 20/09/2013 16:38:33


ความคิดเห็นที่ 8


ที่ว่าเค้ามาแค่ดูแลตลาดยังไม่ได้ลงทุนใหญ่

 

ผมจึงมีความคิดไงครับว่าเราต้องร่วมทุนกับเค้าไปเลยดีกว่า การร่วมทุนมันได้แน่ๆ พัฒนาการทางการทหารเราจะสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด

 

ไม่ใช่ให้รอโชควาสนาให้เค้าเปิดโรงเรียนฝึกการบินบ้าง ให้เค้ามาตั้งโรงงานที่เราบ้าง รออย่างเดียวมันไม่แน่นอน

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 20/09/2013 17:50:30


ความคิดเห็นที่ 9


ถ้าฝันเป็นจริง...สมมุติว่า เราตกลงร่วมทุนกับเค้า...ตั้งโรงงานประกอบ Jas-39 ในไทย (หรือ อย่างน้อยก็โรงงาน

ผลิตอะไหล่ บ.รบก็ยังดี)....สิ่งที่เราจะได้

      - ประสบการณ์ และ องค์ความรู้ที่อาจเอาไปต่อยอด ในสร้าง/ซ่อม อากาศยาน และ สร้างอะไหล่ใช้เอง

      - เกิดความมั่นคงในการป้องกันประเทศ..เพราะมีความสามารถในการสร้างเครื่องบิน และผลิตอะไหล่

        ในประเทศได้ในระดับนึง

      - สร้างเอง / ใช้เองในประเทศ..ประหยัดค่าใช้จ่าย...เงินทองไม่รั่วไหล...สร้างงานในประเทศ

      - ความภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้...ว่าคนไทยก็ก้าวไกลจนใครๆก็ไม่อาจมองข้าม

แต่ไม่รู้ว่าความหวังนี้จะเป็นจริงวันไหน...ทั้งๆที่ความจริงไม่น่าจะยาก

เพราะตอนนี้อินโด และ สิงคโปร์ เริ่มนำหน้าเราไปหลายก้าว....ผลิตอาวุธใช้เองกันแล้ว

และเค้าทำได้ทั้งๆที่เคยตามหลังเรามาก่อน...

แล้วเราไม่คิดจะพยายามแซงเค้ากลับบ้างหรือครับ

โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 23/09/2013 10:26:09