เมื่อวันพุธที่ผ่านมา พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ.ระบุว่าทางกองทัพจะพิจารณาการจัดซื้อบ.Gripen เพิ่มอีก 6 ลำแต่ต้องรอการอนุมัติจากรบ.ในการจัดซื้อครั้งนี้ภายใต้ข้อตกลงระหว่างไทย+สวีเดนมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท
จาก https://www.facebook.com/groups/704804719545614/?hc_location=stream
The Royal Thai Air Force is considering buying six additional Gripen fighter jets from Sweden at a cost of 18 billion baht, according to air force chief Prajin Jantong.
The last batch of three Gripen fighter jets from Sweden were commissioned for service at Wing 7 in Surat Thani on Wednesday. (Photo by Thiti Wannamontha)
Air Chief Marshal Prajin said on Wednesday that the air force would have to wait for the government to approve any future purchase of the jets due to the high cost.
He was speaking after he flew as second pilot in a Gripen jet from Don Muang air force base to Wing 7 at Surat Thani.
The jet was one of three delivered on Wednesday that make up the last batch of a fleet of 12 Gripen jets ordered from Sweden in 2008 for 34 billion baht.
ACM Prajin said the air force may propose to buy the six extra jets under a barter trade agreement, adding that Sweden would consider a barter deal to exchange rubber, rice or chicken for the aircraft.
The Gripen Integrated Air Defence System, comprising 12 Gripen fighter jets along with two Saab 340 AEW early warning aircraft and a Saab 340 transport plane, will be included in the armed forces’ national defence programme on April 1, 2014.
The delivery of the last three jets was delayed by a day after one of them was hit by lightning over India en route to Thailand.
ACM Prajin added that Sweden's Saab group, which manufactures the aircraft, had installed a new computerised flight control system in the jet that was struck by lightning after it was found to have a glitch in one of its electronic components.
จาก http://www.bangkokpost.com/breakingnews/369209/royal-thai-air-force-eyes-six-more-gripen-jets
เป็นเรื่องน่ายินดีครับ ผมขอเสริมนิดนึง ถ้าหากในช่วง 10 ปีจากนี้ ทอ. มีความต้องการ บ. รบทดแทน บ. เก่าและ JAS39 ใช้แล้วถูกใจ ก็น่าจะใช้วิธีทยอยจัดซื้อ ปีล่ะ 3 เครื่อง ตกปีล่ะก็ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท 10 ปี ก็ได้ 30 ลำ แบบนี้น่าจะทำให้สามารถหา บ. มาทดแทนของเก่าได้ทันเวลาโดยไม่เกินกรอบงบประมาณ ครับ
ส่วนรุ่นก็อาจเป็น JAS39 C/D สัก 12 เครื่อง C/D plus 18 เครื่อง ( E/F แพงไปนิดงบอาจไม่พอ)
เป็นอันว่าฝูงละ18ลำ ตามนั้น
แสดงว่า ทอ.ได้มีการเปลี่ยนแบบแผนการจัดหาเครื่องบินเอาไว้แล้ว เพราะรู้อยู่แล้วว่าเรือฟรีเกตใหม่ขีดความสามารถยังไม่สามารถ ติดตั้ง SM-2 ได้ ดังนั้นก็จะต้องเพิ่ม ฝูงบินเพื่อช่วยการป้องกันกองเรือรบจาก ภัยคุมคามทางอากาศ
อืม..... ทอ.กับ ทร. รือ จะลับลวงพรางกันอีกแล้ว ???
ผู้ก่อตั้ง Saab นี้มันทำบุญด้วยอะไรฮึ ???
ขอเป็น รุ่น ซี ก็แล้วกันครับ จะได้มี แจส 39 ซี/ดี รวม 18 ลำ ครบฝูงสวยงามตามระเบียบ
ปล. เสร็จ นี้ น่าจัด เอฟ 15 ไซเรนอีเกิล มาลง โคราช สัก ฝูง คงเป็น ทัพฟ้าที่เทพ สุดๆ ในแถบนี้เลยนะครับ (จัด ลิงค์ 16 ให้ ครับทั้ง บ.เก่าใหม่ด้วยนะเออ )
C/D ปิดสายการผลิตไปแล้วครับถ้าซื้อใหม่คงได้ E/F
ความจริงแต่เดิมความต้องการมันก็คือ 18 ลำตามมาตรฐานอยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยคนมันจน เลยต้องปรับเป็นซื้อสิบสองลำพอ แล้วยังต้องแบ่งเป็นสองงวดด้วย แต่ก็ไล่ๆ กันมานั่นแหละ ทีนี้ถ้าเกิดรวยขึ้นมาเราก็อาจจะจัดซื้อให้มันเต็มๆ ปึ้กๆ
ส่วนตัวผมก็คิดเหมือนกันว่าถ้าเราได้อีกหกลำเป็นซีดี ไม่ใช่รุ่นอีเอฟอาจจะทำให้เรามีความพร้อมรบสูงกว่าหรือเปล่า?
ดีใจกับ ทอ.ครับ ครบฝูงซะที
ประโยคนี้
" ACM Prajin said the air force may propose to buy the six extra jets under a barter trade agreement, adding that Sweden would consider a barter deal to exchange rubber, rice or chicken for the aircraft "
น่าจะเป็น Barter trade น่าจะอยู่ในรุ่นเดิม คือ C/D ในประโยค คือ extra jets
ผมก็เข้าใจน่ะครับว่าเราหลวมตัวซื้อมาแล้วรู้ทั้งรู้ทำไมยังดันทุรังจัดหามาอีกเน้นแต่ปริมาณแต่ของคุณภาพต่ำ(นักบินมือหนึ่งของเราท่านนึงก็ได้กล่าวไว้แล้ว)แถมรูปทรงก็ไม่งามเลย
ในราคาที่เท่ากันเราสามารถจัดหาSU-30MKTได้แต่ไม่เอาซึ่งสมรรถนะเทียบค่าใช้จ่ายบางท่านบอกว่ามันแพงแต่สิ่งที่ได้มาความคุ้มค่ามันคุ่มกว่ากริเป้นมากกว่ากันเยอะ ไม่ต้องมี อีรีอาย เป้นพี่เลี้ยง ไม่ต้องมีระบบอะไรจิปาถะ ลามไปยัน ทร.อีกส่งผลให้เราได้สเปคเรือที่แปลกๆไม่งั้นเราคงได้ SM2มาพร้อมเรือโดยที่ไม่ต้องเสียตังค์หลายรอบ พอจะเปรียบเทียบ1-1ระหว่างSUกะJAS เหล่าแฟนบอยก้ชอบลากยุทธวิธีมาเกี่ยวด้วยเพื่ออะไร 1-1 ไม่ได้เพราะเราใช้ยุทธวิธีปิดเรด้าห์แล้วลุมสกรัม ทำยังกะมันจามาลำเดียว ถ้างั้นไม่จัดเอฟ 5มา200เครื่องไปเลยล่ะ ถูกและเยอะ ต่อให้พวก(su)ยกมาหมดฝูงบิน มาเจอF-5เรา200ลำขึ้นสกัดกั้นมันก็ต้องมึนตรีบมั่งแหละ โดยส่วนตัวผมว่าทางกองทัพควรจะทำอะไรไห้มันเหมือน คนอื่นๆเค้าทำกัน ยกตัวอย่างเช่น อินโด ที่การจัดหาดีลแต่ละอย่างมีความคุ้มค่าสูงเช่นดีล เจ้าลีโอเป้นต้น
พอเอามาเทียบกับดีลเจ้าโอทอป ของเราก็...ละไว้เป็นที่รู้กัน
ไอ้คำว่าคุณภาพต่ำนะช่วยขยายความได้ไหมครับว่าต่ำ ยังไง แบบไหน ถึงบอกว่าต่ำ อย่าเอาแต่ อคติมาบอกครับ เห็นแบบนี้หลายกระทู้แล้ว พอทำท่าจะโดนรุมก็ทิ้งกระทู้หรือไม่โผล่เข้าไป ถ้าคุยด้วยเหตุด้วยผลไม่มีใครว่าหรอกครับ ชื่นชมซะอีก แต่ถ้าความเห็นแบบนี้มาแสดงใครๆก็ส่ายหน้าไม่เอาครับ เข้าใจไว้ด้วย ( เห็นว่าเคยโดนระงับการใช้เพราะใช้ภาษาไม่ถูก ก็ไม่เห็นปรับปรุงเลยนี่ครับ จะมาอ้างว่าพิมพ์ผ่านแท็ปเล็ตอีกคงไม่ใช่แล้วละครับ ระบบแก้ไขก็มีแล้วนี่ครับ แต่ไม่เห็นปรับปรุง)
แม่.แม่นแล้ว....เอามาเบิ่งเด้อ....
Sweden ไม่ได้อยู่ในนาโต และอยู่ใกล้รัสเซียพอทีจะเรียกว่ามีโอกาศปะทะได้ ซึ่งก็แปลว่ามีภัยคุกคามจากsu30 ยังไม่เห็นต้องไปหาsu/f18 มาประกำการเลยครับ. ยังใช้jas เป็นหลัก. ตอนOplotคุณก็ว่าเป็นของมือสอง ทั้งๆที่หลักฐานว่ามือสองก็ไม่มี คนเขาเอาเหตุผลมายันว่ามันของใหม่คุณก็ไม่เชื่อ ผมขอเหตุผลที่คุณบอกว่า jas สู้su30 ไม่ได้มาหน่อยสิ หรือถ้าเอาให้ดี เอาเป็นว่า ถ้า su30 บุกไทย ทำไมทอเราถึงจะสู้ไม่ได้
การที่ทรเลือกsaab. และไม่เอาsm2 ผมว่าไม่เกี่ยวกับ ทอเลือกjasหลอกครับ เขาเลือกของเขาเอง แต่ล่ะเหล่ามีอำนาจจัดซื้อเอง ไม่งั้นเรือฟรีเกตุคงกลายเป็นvisbyขยายส่วนไปแล้ว
แห่มม..บางคนก็อคติกับอาวุธของเราเกินไป มันไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอกครับ
JAS-39 ติด IRIS-T+AIM-120 มันก็ไม่ใช่หมูที่ Su-30 จะกินง่ายๆหรอกนะ
แล้วเรามีอิริอายไว้ทำไม ถ้าไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์
ยุทธวิธีทำไมถึงคิดว่าไม่สำคัญล่ะ ผมว่าสำคัญกว่าตัวเครื่องบินอีก
ไม่งั้นไอ้พวกขับ F-22 คงไม่ต้องไปฝึกบิน ฝึกยุทธวิธีกันแล้ว บินขึ้น ยิงจรวด ชนะ จบ เฮ้อ....
คนมันอคตินะครับ. จริงๆคุยกันด้วยเหตุผลก็คุยได้ครับ แต่ไม่เอาขอด่าแบบไม่มีเหตุไว้ก่อนครับ
เป็นผมผมอายแทนนะ ที่โดนหลวงพี่ท่านตำหนิแบบนี้นครับ
aim-120 ไม่เท่าไหร่ เดี๋ยวเจอ meteor
JAS-39 ล๊อตใหม่ อย่าลืมขอของแถมเป็น เรือดำน้ำสวีเดน มือสอง สัก 2 ลำละ (ขอ มากไป ฝัน ฝันอ่ะ)
เรื่องเรือดำน้ำมือสองผมว่าเป็นได้นะครับ เพราะ ในการจัดซื้อครั้งที่แล้ว มีทั้งระบบเรด้า erieye พ่วงมาด้วย หาก
1 ทอ บอกว่าขอจัดซื้อ Jas ให้ครบฝูง โดยที่ สวีเดนสัญญาว่าจะซื้อ สินค้าเกษตรไทยเป็นการตอบแทน
2. สวีเดนอาจแถม (จริงๆคิดราคามาแล้วใน package) เรือดำน้ำมือ2ให้ไทย ในวันที่ปลดประจำการเรือดำน้ำ
ถึงตอนนี้น ทรก็ตอบได้ว่า เฮ้ยเขาแถมมาฟรีๆ จะไม่เอาหรือ เอามาศึกษาดูก่อนก็ได้ ไม่เอาก็ไม่ใช้ ใครที่ค้านก็พูดอะไรไม่ออก
จะอคติไปทำไมครับท่าน อาวุธแต่ละชนิดที่ ทอ เลือกจัดซื้อโดยใช้หลักคุ้มค่ามากที่สุดแหละครับ ท.อ งบก็ไม่ได้เยอะ แต่เดี่ยวนี้ ทร ทอ ร่วมมือกกันระหว่างเครือข่ายสามารถครอบคลุมทั้งน้ำและอากาศ ได้ทบ เข้าร่วมอีกคงครอบคลุมได้มากกวานี้ ถ้าคุณคิดว่า อาวุธมันไม่สวย มันไม่เทพ มันแล้วแต่คนคิดคนชอบ เราเอามาใช้ไม่ใช่เอาไว้โชว์
ผมเดาว่า .. ที่กองทัพไทย เน้นแต่ของสวีเดน เพราะเราใช้ของสวีเดนมาเยอะแล้ว ระบบดาต้าลิ้งค์
ทั้งในเรือรบ ทั้งบินรบ ล้วนแล้วแต่เป็นของบริษัท SAAB
แล้วถ้าจะเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น มันจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก หรือต้องเรียนรู้ระบบกันใหม่ ไม่แน่ ในอนาคต
เราอาจจะได้เรือดำน้ำจากสวีเดนมาก็ได้ ทีนี้ทุกระบบก็กลายเป็นของ SAAB หมด
.. อีกกรณี ที่เราต้องซื้อกริพเพน เพราะเรื่องอะไหล่ หากซื้อยี่ห้อละลำสองลำ มันจะมั่ว ถอดจากลำนู้น
มาใส่ลำนี้ก่อนก็ไม่ได้ นักบินก็สามารถขับได้เลยเพราะทั้งฝูงก็ยี่ห้อเดียวกัน ปุ่มหน้าคอลโซลก็อยู่ตำแหน่งเดียวกัน
.. ผมคิดว่า กองทัพรู้ตัวดีว่ากำลังทำอะไรอยู่ ไม่งั้นเค้าไม่เลือกกริพเพนหรอก .. มันต้องมีพลังงานบางอย่างซ่อนอยู่
ถึงทำให้กองทัพของเรามั่นใจในกริพเพน อิอิ
การรบต้องใช้กลยุทธ์ ไม่่ใช่การต่อสู้ที่ใช้กำลังและความสามารถเฉพาะตัวเพียงอย่างเดียว นี่คือความแตกต่างของ "คนฉลาด" กับ "คนโง่" ครับ
ทำเป็นพูดเล่นไปครับ Su-30 มาสัก 2 ฝูง 36 เครื่อง มาเจอกับ F-5 ที่ Upgrade แล้ว 200 เครื่อง (ติดตั้ง AAM เทพลำละ 4 ลูก ; สั้น 2 / ยาว 2) ถ้านักบินมีฝีมือดีมีมากพอรวมทั้งฝ่ายยุทธการเก่งๆ วางกลยุทธดีๆ ผมว่า Su-30 อาจไม่เหลือบินกลับถึงบ้านเลยนะครับ
อาวุธของสวีเดนเป็นของที่ดีนะครับ อย่าดูถูกตอนนี้เท่าที่ได้อ่านข่าวเห็นว่ากำลังจะร่วมมือกับโบอิ้งในการทำเครื่องบินฝึก แข่งขันในตลาดอเมริกา อยู่ ไหนจะเรือดำน้ำ อาวุธของสวีเดนตอนนี้อาจจะยังไม่โดดเด่นมากนัก แต่อนาคตจะเป็นตลาดอาวุธอีกรายที่ขายอาวุธทั่วโลก
อันนี้มีสมาชิกบอกว่าJAS-39 C/Dได้ปิดสายการผลิตลงแล้ว ผมไม่มีข้อมูลยืนยันนะครับ
แต่ผมเชียร์ให้มีการจัดซื้อJAS-39เพิ่มอีก6ลำครับ เป็นรุ่นC/D หรือE/Fก็ได้
สู้โว้ยทอ.
"ในราคาที่เท่ากันเราสามารถจัดหาSU-30MKTได้แต่ไม่เอาซึ่งสมรรถนะเทียบค่าใช้จ่ายบางท่านบอกว่ามันแพงแต่สิ่งที่ได้มาความคุ้มค่ามันคุ่มกว่ากริเป้นมากกว่ากันเยอะ ไม่ต้องมี อีรีอาย เป้นพี่เลี้ยง ไม่ต้องมีระบบอะไรจิปาถะ "
คุณมองว่าอิริอายเป็นแค่พี่เลี้ยงกริพเพน? แต่ผมมองว่ามันคือระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการของ ทอ.และเป็นส่วนหนึ่งของ RTADS ถ้าเราซื้อ Su-30 ปัจจุบันเราจะมี บ. AEW แบบนี้ใช้หรือเปล่า ราคา บ.ประเภทนี้ก็ไม่ใช่ถูกๆ
ส่วนระบบที่ว่าจิปาถะ มันคือระบบอะไรครับ? Data link? , ซ่อมบำรุง? , อาวุธ? แบบนั้นถ้าเราซื้อ Su-30 มันจะ จิปาถะยิ่งกว่านี้อีก เพราะมันไม่เข้ากับระบบเดิมของเราเลย ค่าบำรุงรักษาก็เยอะกว่าน้องหยาดซะอีก
เชื่อผมหรือเปล่า คนที่มาติไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ได้ยินเขาว่ามาทั้งนั้นแหละครับ แล้วคนที่เขาบอกว่าเขาว่ามาก็ไม่เคยบอกด้วยว่า คนที่ว่ามาเขาคือใคร ชื่ออะไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร สรุปครับ คนที่เขาว่าไม่เคยมีตัวตนอยู่จริง แต่ใช้อคติของตัวเองเป็นที่ตั้งแล้วก็ไปยกบุบคลที่3 ที่ไม่มีตัวตนมาเป็นแพะ(กลายๆ) ครับ
คนบางคนก็ยังมืดบอดไม่เปลี่ยนแปลง ชอบประโยคนึงของท่านนึงด้านบนมากครับ
คนโง่ เท่านั้น ที่พยายามชนะด้วยการต่อสู้ 1/1 โดยไม่ใช่ยุทธวิธีโดยรวมที่เหนือกว่า
ผมว่าคนที่คิดถึงเรื่องอาวุธในแง่ของความสวยงาม มากกว่าประสิทธิภาพที่สมราคานี่ "บรมโง่" เลยล่ะ
คอนเฟิร์มว่าหายหัวเข้ากลีบเมฆเช่นเคย
อย่าไปคิดมากครับ ขอ NG นะครับ 555 แพง แต่นะ 6 ลำเอง ทุ่มไปเลย อาวุธจะดีไม่ดีอยู่ที่ คนวางแผน และ คนใช้ด้วยครับ มันไม่มีอะไรเทพที่สุดหลอกครับ ไม่มีอะไรดีที่สุด แต่ที่สุดแล้ว เราพอดีกับสิ่งที่เรามีหรือยัง แมวสีอะไรก็ได้ แต่ให้มันจับหนูได้ก็พอ สรุปเครื่องบินอะไรก็ได้ที่ ทอ ซื้อมาแล้วใช้คุ้มค่า และ ยิงข้าศึกตกก็พอ ๕๕๕
ของแบบนี้ ดูยาว ๆ ครับ
เอาตัวอย่างง่าย ๆ F16 A ฝูง103 ประจำการก่อน SU-27 ของจีน หลายปี อยู่
ปัจจุบัน SU-27 ปลดไปเรียบร้อยแล้วนะครับ
หลายคนอาจสงสัยว่า รอบ บ้านเรา เป็น ซูคอยring ทั้งนั้น เราจะรอดหรือ
ต้นตำหรับบ้าน กริฟเฟน เป็นด่านหน้า ของ รัสเซีย นะครับ ต้องเจอ ซูคอยเวฟ แน่ๆ ทาง สวีเดน เลย ทำ network centric มาสู้ ถ้าคิดไม่ออกว่าnetwork centric ดียังไง ตัวอย่างง่ายๆ ครับ ทำไม เยอรมันที่มีเครื่องบิน ดีกว่า เยอะกว่า อังกฤษ ถึงแพ้ใน ศึกการรบเหนือบริเตน
นั้นคือระบบ เครือข่าย เรด้า ที่ทำให้ อังกฤษชนะ เยอรมัน ด้วยเครื่องบินที่ห่วยกว่า และ จำนวน น้อยกว่า
ต้นตำหรับ datalinkเขา มีมานานแล้วครับ ระบบdatalink ของสวีเดน สามารถ feed ข้อมูล จาก กล้องcctv ของเอกชน ไป feed ให้ กริฟเฟน ได้ หรือ ส่งให้ใครก็ได้ในระบบ datalink ถ้าเราบูรณาการได้ แบบสวีเดน คิดดูครับ กล้อง วงจรปิด ใน ยะลา จับภาพ การก่อการร้ายได้ ส่งข้อมูล เข้า ศูนย์กลาง แล้ว แจ้งให้หน่วยสนับสนุน เข้าช่วยเหลือ
ถ้าเรา บาเตอร์ สินค้า เกษตร ได้ จะดีมากๆเลย ครับ สนับสนุน เช่น ยาง ช้าว
มี ความเห็นบางคน บอกว่า SU ราคาเท่ากัน ดีกว่า ไม่ต้องใช้พี่เลี้ยง โอเค ครับ ไม่เถียงว่า ดีกว่า แต่ ถ้าค่าบิน มันแพง เราบินได้ไม่บ่อย อัตราพร้อมรบ ก็ต่ำ ให้เทียบนะครับ ปิดตาประกอบปืน คนนึงฝึกทุกวัน อีกคน ฝึกอาทิตย์ละครั้ง ใครจะประกอบปืน เร็วกว่า กัน ?
อยากให้ มี อีก สัก ฝูง จังไม่รู้ว่าจะ มีโอกาศไหม
เพราะ RTAF มุ่ง F35อย่างเดียว
อยากให้เอามาแทน F-5 ของทุกฝูงที่ไทยมี F-16 ก็ค่อยแทนด้วย F-35 หรือFS2020 หรือไม่ก็ F15silent eagle
ผมมองว่าเครื่องบินรบ ไม่ใช่แค่ซื้อมาเอาไว้ประดับบ้านหรือเอาไว้อวดประเทศอื่นๆน่ะ สมมุติว่าเรามีของดีมากเฃ่น SU-30Mk แต่ไม่ค่อยได้ซ้อมเพราะ ค่าบำรุงแพงเหลือเกิน ไม่กล้าใช้งานมากๆเพราะสั่งอะไหล่ยากหรือล้าช้ามากๆ ทำให้นักบันไม่คุ้นเคยกับเครื่องเท่าที่ควร หรือใช้ได้เฉพาะหน่วย(ง่ายๆคือหาคนขับยาก) ในขณะที่่ Jas-39 เราจะซ้อมได้มากขึ้น ทำอะไรกับเครื่องได้มากกว่าของ USA ซะอีก นักบินย่อมมีความชำนาญมากกว่า
ส่วนตัวผมชอบรูปร่างรูปทรงของ SU เค้าเหมือนกันเท่ห์ดี แต่เมื่อมองถึงจุดๆนี้แล้ว ผมเห็นด้วยที่ ทอ. มองการณ์ไกลและเลือกซื้อ Jas-39 C/D มาพร้อมอุปกรณ์ครบครั้น ถึงตอนนี้มีแค่ 12 ลำ แต่ถ้าอนาคตเรามีการซื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เป็นอะไรที่ยกระดับกองทัพของไทยเรามากขึ้นที่เดียว ด้วยระบบ Datalink ที่สามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วไม่เฉพาะ ทอ. แต่สามารถได้ถึง ทร. หรือ ทบ. ก็ได้
Jas-39 SAAB คือเครื่องบินที่เหมาะสมกับบ้านเรามากที่สุดในความคิดผมเลย
อันดับแรก คือ ขอแสดงความดีใจ กะ ทอ. ด้วยครับ เพราะ บ.ของสวีเดน มีการพัฒนาตลอด อีกไม่นาน ก็คงจะออก บ.Stealth ร่องหน ออกมา
ขนาด มาเลเซีย ยังอยากจะได้ Gripen เล้ยครับ Gripen ไม่ใช่ของหมูๆ ที่ SU จะกินได้ง่ายๆ นะ ในการรบของยุคนี้ / ความพร้อมรบ+ข้อมูลข่าวสาร+การโจมตีเป็นทีม+บ.Erieye ดวงตาทิพย์ (การรบให้ชนะ ไม่ได้มองแค่เพียงตัวเครื่องบินรบ อย่างเดียวหรอกครับ)
ทอ. มองการไกล แล้วก็เลือกได้ดีแล้วหล่ะครับ / ผม ชอบตรงที่ ถนนหลวงทุกสาย คือ สนามบินของ Gripen
ปล. ปัญหาของ บ.SU-30 ก็มีเยอะนะครับ เอาแค่ค่าซ่อมบำรุง+ชั่วโมงการบินแต่ละเที่ยว ก็มหาโหดแล้วครับ
อิอิ Gripen ติด Meteor missile ยิ่งถ้าเป็น Gripen รุ่น NG แล้ว ยิ่งโหด ไม่ใช่หมูๆ นะ ที่ซู จะกินได้ง่ายๆ
ผมคิดว่าจู่ๆ ทอ. ประกาศจะซื้อ JAS39 เพิ่ม 6 ลำ 18,000 ล้านบาท คงอาจมาจากทางสวีเดนเสนอ option พิเศษมาให้ ทอ. ก่อน คือการใช้สินค้าต่างตอบแทน เพื่อดึงดูดความสนใจของ ทอ. ไทย และในงวดนี้ด้วยวงเงินถึง 18,000 ล้านบาท ก็น่าจะมี JAS39 6 ลำ + SAAB 340 AEW 1 ลำ + ระบบอาวุธที่ยังขาดอยู่บางรายการ + กระเปาะชี้เป้าต่างๆ + หมวกนักบินติดกล้องเล็ง
ส่วนสวีเดนได้อะไร
1.ได้ยืดสายการผลิต Jas39 C/D ออกไปอีก อย่างน้อยก็ 1-2 ปี เพื่อให้สามารถมีเวลาหาลูกค้าเพิ่มได้
2. ได้รับความเชื่อมั่นจากตลาดโลกมากขึ้น คือสามารถโฆษณาได้ว่า ไทยมั่นใจในคุณภาพจึงสั่งซื้อแล้วถึง 3 ล๊อต และอาจมีล๊อตต่อไปอีก
3. อนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าไทยและประเทศในอาเซียนบางประเทศ อาจเป็นลูกค้า Jas39 C/D มือสองของสวีเดนก็ได้ (สวีเดนคงต้องปลดรุ่นเก่าบางส่วนเพื่อคงสายการผลิตรุ่น E/F ไว้)
ใช่ครับ ผมก็ว่างั้น แต่ยังไงเราก็คุ้มครับเพราะข้อเสนอที่ให้มาแม้ว่าทาง saab อยากขยายตลาดมาฝั่งเอเชีย เราก็คุ้มกว่าซื้อเปล่าๆไม่ได้อะไรเลย อีกอย่างเอามาแทน F-5 แค่นี้ผมว่าก็เกินพอแล้วครับ ไว้ตอนมาแทน F-16 สิ ค่อยจัดหนัก
ไปเจอมา เอามาฝาก ผมว่าอย่างคุ้ม
อันนี้ขอแสดงความคิดเห็นแบบส่วนตัวตามประสบการณ์ความรู้ที่ไม่มากนัก
เครื่องบินรบที่มีเรด้าห์ระยะไกลหรือมีอาวุธปล่อยในระยะไกล อย่าง SU-30 มันจะชิงความได้เปรียบในเชิงยุทธวิธีได้ซักกี่มากน้อย
จริงอยู่มันอาจจะเห็นเราก่อน แต่การที่เป้าหมายอยู่ในระยะไกลมากๆอย่างประมาณซัก 100 กม.โอกาสที่ มิสไซด์จะพลาดเป้าก็มีสูง
ไม่ใช่ว่ายิงมาตั้งแต่ไกลก็จะสามารถหวังผลได้ ไม่อย่างนั้น ปานนี้ทุกประเทศทั่วโลก คงจะพากันพัฒนาระบบอาวุธปล่อยระยะไกล Air-to-Air กันเยอะแล้ว ยกตัวอย่างเช่นสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศแรกที่มีระบบอาวุธ Air-to-Air
ในระยะไกลมากกว่า 100 กม. ก่อนเพื่อนในโลกนี้เลยอย่าง Falcon AIM-46 100 กว่าๆและต่อมา Phoenix AIM-54ยิงได้ไกลกว่า 150 กม. แต่เชื่อไหมครับเครื่องบินรบ
สมรรถนะสูงและมีราคาแพงมากๆ อย่าง F-22 ไม่สามารถรองรับอาวุธดังกล่าวได้ เคยถามตนเองไหมว่าทำไม???
และในเครื่องบินรบที่สามารถรองรับกับ AIM-54 มีเพียงแค่ F-14 เท่านั้นและเป็นเครื่องบินรบที่ทางกองทัพเรือสหรัฐใกล้จะปลดประจำการทั้งหมดแล้ว คือ กำลังจะบอกว่าถ้าระบบอาวุธปล่อยพิสัยไกลมากกว่า 100 กม.
ถ้ามันดีจริงหรือชิงความได้เปรียบทางยุทธวิธี ทำไมกองทัพอากาศสหรัฐจึงหยุดการพัฒนาระบบอาวุธปล่อยติดตั้งกับอากาศรุ่นดังกล่าวไม่พัฒนาต่อ
และนอกจากจะไม่พัฒนาต่อแล้วยังไม่ผลิตเพิ่มและนำมันไปใช้งานกับเครื่องบินรบรุ่นใหม่อีกต่างหากด้วย แต่กลับหันไปทุ่มเทกับการพัฒนาอาวุธปล่อยในระยะพิสัยกลางและพิสัยใกล้แทน เช่น AIM-120, AIM-9X เป็นต้น
โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องของระบบหัวรบให้มันมีความอัจฉริยะมากขึ้นเข้าทำลายเป้าหมายได้แน่นอนมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านมิสไซด์ด้วยกันเองได้อีกด้วย (missile anti-missile Air-to-Air) ขนาดเล็ก, เร็ว,เบาและช่วยลดการถูกตรวจจับโดยเรด้าห์
สหรัฐอเมริกาต่อ - ผมสังเกตมานานหลายปีแล้วครับและพยายามหาเหตุผลว่าทำไมเครื่องบินรบรุ่นใหม่ๆของสหรัฐ อย่าง F-22
หรือ F-35 หรือก่อนหน้านั้นอย่าง F-15 จึงไม่ติดตั้งระบบรองรับอาวุธมิสไซด์ระยะไกลอย่าง AIM-54 แสดงว่ามันต้องมีเหตุผลบางประการอะไรแน่ๆ
ที่มิสไซด์แบบ air-to-air ที่มีระยะพิสัยไกลมากกว่า 100 กม.ขึ้นไปจะเหมาะนำมาใช้งานกับการติดตั้งกับอากาศยานในยุทธวิธีในการรบทางอากาศ.
คือผมเคยเข้าไปอ่านเวปไซด์ในลักษณะแบบเดียวกันกับเวป thaifrighterclub ของพวกชาวอเมริกันเค้าเคยยิงกระทู้ถาม
กันไปมาในเรื่องของอาวุธมิสไซด์ระยะไกลกับเครื่องบินรบของพวกเค้าเอง มีท่านหนึ่งกล่าวว่า ต่อให้เครื่องบินรบติดตั้ง
อาวุธมิสไซด์ที่สามารถยิงได้ในระยะไกลและเรด้าห์ที่มีระยะตรวจจับได้ไกลมากๆแค่ไหนแต่สุดท้ายระยะการติดตามและ
ทำลายที่สามารถหวังผลได้ดีที่สุดในเชิงยุทธวิธีการรบทางอากาศ ของเครื่องบินรบด้วยกันมันจะอยู่ที่ระยะระหว่าง 1 –
50 km ครับ (อันนี้ไม้รู้ว่าจริงหรือเปล่านะ) ซึ่งคนดังกล่าวได้ให้เหตุผลในเรื่องนี้ว่า
*** เหตุผลเพราะมิสไซด์ Air-to-Air ทั้งยิงระยะใกล้และระยะยิงไกลๆโดยทั่วไปจะมีระบบเรด้าห์ที่หัวรบของมันเองอยู่แล้ว แต่มันก็ยังขาดความแน่นอนในการประมวลผลในเรื่องของการแยกแยะเป้าหมาย พูดให้เข้าใจกันง่ายขึ้น คือ หัวรบของมิสไซด์มันเป็นโปรแกรมที่ยังไม่ฉลาดเท่ามนุษย์ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าอันไหนเป็นความร้อนที่มาจากเครื่องยนต์ของเครื่องบินรบและอันไหนเป็นความร้อนที่มาจาก Chaff decoy หรือ พลุเป้าลวงนั้นเอง
*** อันนี้เห็นถ้าจะจริงครับเพราะเท่าที่ผมเคยหาอ่านในเวปไซด์ ต่างๆระบบ FCS ที่รองรับการติดตามเป้าหมายในระยะไกลๆมักจะเป็นแบบใช้งานบนบกและกับเรือรบเท่านั้น กับบนอากาศยานยังไม่เห็นมี หรือว่ามีผู้รู้ช่วยตอบที
เค้ายังอธิบายต่ออีกว่าอาวุธมิสไซด์ระยะพิสัยไกลทั่วๆไปที่ใช้กับเครื่องบินรบในทุกประเทศในโลกที่มีใช้กันอยู่นั้น ก็เป็นการยิงมิสไซด์ออกไปแบบ กำหนดแต่เพียงทิศทางให้มันพุ่งเข้าหาเป้าโดยการคำนวณและคาดคะเนเผื่อไว้ล่วงหน้าจากการบอกทิศทางของเรด้าห์จากเครื่องบินรบนั้นๆเองและการนำพามิสไซด์ด้วยระบบ FCS ในระยะไม่เกิน 40 ถึง 60 กม. (ตามขนาดและข้อจำกัดของมัน)โดยจะนำทางให้มิสไซด์เข้าไปให้ใกล้เป้าหมายให้มากพอจนถึงระยะของเรด้าห์ที่หัวรบมิสไซด์นั้นๆทำหน้าที่ค้นหาและล็อกเป้าหมายด้วยตัวมันเอง
ดังนั้น ถ้าเหตุผลมันเป็นเช่นดัง ชาวอเมริกันท่านนี้ว่าเอาไว้จริง (อันนี้ฟังหูไว้หูก่อนละกัน) แล้ว SU-30 มันเหนือกว่า
Grippen JAS-39 ของเรา มากมายเลยหรือ??? และมันดูน่ากลัวซะขนาดประมาณว่าไม่เป็นอันกินหรือเป็นอันนอนกันเลยทีเดียวเชียวหรือ อย่างที่ใครๆหลายคนเข้าใจกันไปแบบผิดๆว่าเครื่องบินรบที่มีขนาดใหญ่และบินได้เร็วมีเรด้าห์ที่ตรวจจับได้ไกล และมีระบบอาวุธปล่อยระยะพิสัยไกล (แต่ระบบ FCS ในระยะไกลยังไม่มีรองรับในเครื่องบินรบ) ว่าเครื่องบินที่มีลักษณะดังว่าจะดีและน่าเกรงขามนั้น ซึ่งแลดูจะสวนแนวทางกับรูปแบบของเครื่องบินในยุคใหม่ยิ่งจะออกแบบให้มีขนาดเล็กลงและตรวจจับได้ยากมากขึ้น
นี้ก็เป็นอีกเหตุผลที่จะแสดงว่ามันไม่ได้หมายความว่า JAS-39 ของเราจะแลกมัดกับ SU-30 แบบตัวต่อตัวไม่ได้นะครับ ถ้า JAS-39 ของเรา upgrade ให้สามารถติดตั้ง chaff decoy (อันนี้ไม่แน่ใจว่าทอ.จัดหามาแล้วด้วยหรือเปล่า) เพื่อใช้ป้องกันตัวเองจากมิสไซด์จำพวก R-27EP และบวกกับขีดความสามารถเฉพาะตัวรวมทั้งไหวพริบปฏิภานของนักบินไทยเราด้วย
*** ซึ่งคุณสมบัติอันนี้เองที่ผมเชื่อมาโดยตลอดว่านักบินของไทยเราเก่งที่สุดในอาเซียนครับ และจงภาคภูมิใจกับเครื่องบิน Grippen ของเราเถิด
อ้ะ!!! เกือบลืมโพสต์รูปสวยๆภาพนี้
**** คือที่โพสต์มาซะยืดยาวเนียะก็ไม่ได้จะสื่ออะไรมากมายให้ลึกซึ้ง นอกจากจะบอกกับคนในวงการรุ่นน้องหน้าใหม่ๆที่ยังไม่รู้อะไรกับเรื่องอาวุธมิสไซด์ในระยะพิสัยไกลมากนัก เพราะเห็นไปชื่นชมกันจังเลยกับไอ้ SU-30 นั้นดีอย่างนั้นดีอย่างนี้งัยละครับ
ดังนั้นนับตั้งแต่มีการนำ chaff ออกมาใช้งานกันในกองทัพอากาศสหรัฐในยุคปลาย 1970 ความสำคัญของอาวุธมิสไซด์แบบ air-to-air ระยะไกลๆ ในสายตาของกองทัพอากาศสหรัฐจึงลดความสำคัญลงไปจนถึงในปัจจุบันนี้
ของสวีเดนไม่ดีตรงไหนครับ ผมใช้ volvo ตั้งแต่ 240 244 740 940 s60 v70 s80 ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร ทนทานจะตายไป 5555
IRIS-T
ชอบดวงตานี้จัง อิอิ
อาวุธสวีเดน เมกายังซื้อไปใช้เยอะแยะไป
เรื่องซูนี่ ผมว่า อย่าไปกลัว สู้ไปสู้มา เดี๋ยวก็กลายเป็นรบระยะประชิดแล้ว ฮา
ที่ว่ากริพเพนอ่อนน่ะ พูดก็พูดเหอะ เพื่อบ้านรอบๆ เราเขาก็หวั่นๆ กันทั้งนั้น เหมือนที่เราหวั่นๆ เวียดนามจัดหาซู ฯลฯ
ว่ากันตามตรง จะบอกว่าระบบเราไฮเทคที่สุดในอาเซียนก็อาจจะเป็นได้ (สิงคโปร์อย่าไปยุ่งกับเขา)
Meteor missile
ว่าแต่ เจ้าตัวนี้ เราจะได้นำเข้าประจำการไหมครับ เห็นว่า เป็นจรวดที่มีระยะยิงที่ไกลพอควร
ไอ้ phoenix มันโบราณเกิ๊นครับ คือยิงว่าวหมด ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้นไม่ถึง
chaff/flare ติดเป็นมาตรฐานอยู่แล้วครับ สมัยนี้
พวกระยะยิงไกลสุดทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่ค่อยโดนหรอกครับ
ส่วนเรื่อง fcs เรียกระบบนำวิถี ก็แล้วแต่ชนิดมิสไซล์ ถ้าระยะไกลๆก็จะเป็น semi active homing พอเข้าระยะมีลุ้นก็ปล่อยมิสไซล์ลุยเองเป็นแบบ active homing
ถ้าพูดถึงเรื่องแบบนี้พิสูจน์ยากว่ามีโอกาสยิงโดนกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะที่ผ่านมาสงคราม air to air combat สมัยใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ยิ่งการใช้อวป.ระยะไกลยิ่งน้อย
มีแต่แบบเจ็ทใหม่เอี่ยมไล่ตีของเก่าสงครามเย็น ก็กินเรียบสิ
พวกเป้าฝึกยิงก็มีความเร็วต่ำ แฟลร์ ชาฟ ก็ไม่มี ความคล่องตัวหักเลี้ยวก็ไม่มี
เวลาฝึกบินรบ air to air combat ก็ได้แค่ล็อกเป้า (ขืนยิงก็ตายสิ)
ส่วน meteor ผมว่ามาแน่นอนครับ ใช้ได้ไม่ต้องขออนุมัติ แถมดีกว่าของอเมริกา
ยิ่งดูแนวทางการจัดหา มีไอริสทีมาด้วยแล้ว
การปะทะ อาจจะเป็นแบบนี้เปล่าครับ เริ่มแรก ก็ซัดกันด้วยลูกยาวระยะไกล แล้วก็รบพันตูกันระยะประชิด เพราะด้วยความเร็วของเครื่องบินรบ บินแปปเดียว ก็บินถึงกันแล้ว
ดูคลิปนี้แล้ว ทำให้ผมคิดได้ว่า สงครามกลางเวหานั้น มีได้ทุกรูปแบบ ทั้งระยะใกล้และระยะไกล แฮ่ะ
จะไปกำหนดตายตัว คงไม่ได้
......งบประมาณขนาดนี้ ผมว่าได้ Next Genation เลยนะ...น่ะ (พร้อมอาวุธ ติดตัวมาด้วย)
......6 ลำต่อไป ผมว่าซื้อมาเงียบๆ แบบที่เคยๆ ทำมาก็ดี ครับ
......จริงๆ แล้วไม่เห็นต้อง เป็นข่าวอีกแล้วสำหรับส่วนเพิ่มนี้
(พวกเราก็ควรเห็นด้วยในข้อนี้ กันทุกๆคน แบบสมานสามัคคีกันนะครับ)
ทำไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ไปอวดใครก็จบ อวดแต่ 12 เครื่องแรกก็พอแล้ว ครับ
ดูเหมือนว่าที่จริงแล้วทอ.ก็ไม่ได้ต้องการให้เป็นข่าวดังข่าวใหญ่อะไรหรอกครับ แต่เหมือนฟ้าจงใจก็เลยผ่าลงเครื่องที่มาชุดสุดท้ายนี่แหละ มันก็เลยต้องเป็นข่าวเพร่ะมีนักข่าวสนใจเยอะสอบถามกันมากกว่าปกติ และมีผลต่อจิตวิทยาความเชื่อมั่นของประชาชน ก็เลยออกข่าวมันซะเลยว่ากำลังจะจัดหามาเพิ่ม ให้เป็นที่ทราบและเข้าใจว่า การจัดหาบ.กริปเป้นนั้น "มิใช่การตัดสินใจที่ผิดพลาด" และ "ทอ.พึงพอใจในสมรรถนะของกริปเป้น" เหมือนที่พวกเรา(บางคน)เคยได้ตั้งข้อสังเกตุกัน
แต่...ที่ยังอุบไว้ก็คือ รายละเอียดของการจัดหาในรอบนี้ เช่น ระบบ AEW (อาจไม่ได้มาทั้งลำ แต่จัดหาระบบมาติดตั้งกับเครื่อง SAAB 340 ที่มีอยู่แล้ว) และระบบอาวุธที่เพิ่มจาก 2 เฟสแรก ซึ่งตามห้วงเวลาที่จะมีการจัดซื้อจนกระทั่งส่งมอบ น่าจะมีโอกาสที่ทอ.จะพิจารณาสั่งซื้อ Meteor มาพร้อมกันเลย
ผมว่าการเลือก gripen เนี่ยเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดของ ทอ.แล้วครับเพราะมองแล้วปลอดจากการเมืองแน่ๆ
ถ้าการ รบทางอากาศนี่ gripen กินขาดครับเพราะอาวุธที่ได้มานี่ก็ระดับแนวหน้าทั้งนั้น และจะนำหน้าเพื่อนบ้านรอบข้างเราอยู่เสมอ อย่างตอนที่สั่ง aim-120 ก็นำหน้าเหนือมาเลย์ซึ่งกว่าอีกหลายปีที่ มาเลย์ถึงจะสามารถสั่ง aim-120 และ r-27 เข้ามาประจำการได้ ส่วน irst-t ก็เทียบได้กับ aim-9x ที่มีแค่สิงค์โปร์ใช้เจ้าเดียวในย่านนี้ มาเลย์ยังใช้รุ่นธรรมดาอยู่เลย ดังนั้นฟันธงว่า meteor ยังไงก็ต้องมาแน่
แต่ที่คนช่างติพูดน่าจะบ่นเรื่องข้อด้อยของ gripen ที่มันไม่เอนกประสงค์ นั่นคือเรื่อง ของการโจมตีทางลึกซึ่ง gripen แบกอาวุธไปถล่มในแดนข้าศึกมากๆไม่ได้ เรื่องนี้ยอมรับเลยจริงๆว่าด้อยกว่ามาก แต่ดูจากนโยบายของหลายๆรัฐบาลและจากหลายๆปีที่ผ่านมาที่ห่วงเรื่องการค้ามากกว่าศักดฺิ์ศรี ไม่เคยสั่งให้โจมตีข้ามพรมแดนสักครั้งแม้จะโดนโจมตีก่อน ดังนั้นถึงได้ su-30 มาก็ไม่มีประโยชน์ สู้เอาเงินค่าบำรุงรักษากับค่าเชื้อเพลิงมาซื้ออาวุธแนวป้องกันเจ๊งๆดีกว่า
สวัสดีครับผมสมาชิกใหมาหมาดๆเลยครับ เห็นคุยกันเรื่อง เครื่องบินรบก็เลยอยากแสดงความเห็นมั่งเพราะปกติก็เข้ามาอ่านและศึกษาหาความรู้ในเวปนี้และอีกหลายๆเวป ผมว่าระบบเรดาร์จะว่าไปมันก็คือสายตาดีๆนี้เองถ้าทัศนวิศัยดีๆก็จะมองเห็นได้ไกล วัตถุที่ใหญ่ก็จะสามารถมองเห็นและแยกแยะได้ว่ามันคืออะไรได้ในระยะที่ไกลกว่าแต่ถ้าวัตถุที่เล็กกว่าจะมองเห็นและแยกแยะว่ามันคืออะไรก็ต่อเมือเข้ามาใกล้ขึ้นจนสายตาสามารถมองเห็นและแยกแยะได้ จริงๆเรื่องนี้ก็มีผู้รู้คุยกันและอธิบายไว้แล้วเรือ่งของ เรดาร์ของ Gripen, F-16MLU และ Su-30MKM ในเวปนี้ ถ้าเป็นจริงตามที่ผู้รู้วิเคราะห์ไว้ ทั้ง Gripen และ F 16MLU ของไทยด้วยขนาดและสมถนะเครื่องก็ไม่ได้ด้อยกว่า SU-30MKM เท่าไหร่เลย ในด้านอาวุธ Air to Air แล้วอาจจะได้เปรียบในด้านความทันสมัยกว่าด้านอาวุธด้วยซ้ำ
จากข้อมูลที่มี คือ
1. เรดาร์ของ Su-30MKM แบบ N001M PESA สามารถตรวจจับเป้าหมาย บ.ขับไล่ (RCS 5 m2) ได้ที่ระยะ 125 nm
2. เรดาร์ของ Gripen C/D แบบ PS-05A สามารถตรวจจับเป้าหมาย บ.ขับไล่ (RCS 5 m2) ได้ที่ระยะ 47 nm
3. ค่า RCS ของ Su-30MKM ประมาณ 10 m2
4. ค่า RCS ของ Gripen C/D ประมาณ 0.5 m2
จากการคำนวณจะพบว่า
1. Su-30MKM จะตรวจพบ Gripen C/D ได้ที่ระยะ 70 nm หรือ 127 km
2. Gripen C/D จะตรวจพบ Su-30MKM ได้ที่ระยะ 56 nm หรือ 101 km
ระยะยิงของ อวป.อากาศ-สู่-อากาศ คือ
1. Su-30MKM ใช้ R-77M2 ระยะยิง 54 nm
2. Gripen C/D ใช้ AIM-120C-5 ระยะิยิง 58 nm
แต่ถ้าเป็น Gripen NG ล่ะ
1. เรดาร์ของ Gripen NG แบบ Vixen 1000ES สามารถตรวจจับเป้าหมาย บ.ขับไล่ (RCS 5 m2) ได้ที่ระยะ 92 nm
2. Gripen NG จะตรวจพบ Su-30MKM ได้ที่ระยะ 109 nm หรือ 197 km
3. Gripen NG ใช้ Meteor ระยะยิง 72 nm
ใครจะเห็นใครก่อน แต่อย่าลืมสถานการณ์นี้ คือ กรณี head-on หมายถึงหันหน้าเข้าหากันแล้วใส่กันให้สุดๆ
ข้อมูลระยะตรวจจับไกลสุดต้องบอกด้วยว่าเป้่าหมายมีค่า RCS เท่าไหร่ แต่โดยทั่วไปค่ามาตรฐานที่ใช้กัน คือ 5 m2 (5 ตร.ม.)
จากการคำนวณ
1. Gripen C/D จะตรวจพบ Su-30MKM ได้ที่ระยะ 56 nm หรือ 101 km
2. F-16A/B MLU จะตรวจพบ Su-30MKM ได้ที่ระยะ 69 nm หรือ 124 km
3. Su-30MKM จะตรวจพบ Gripen C/D ได้ที่ระยะ 70 nm หรือ 127 km
4. Su-30MKM จะตรวจพบ F-16A/B MLU ได้ที่ระยะ 88 nm หรือ 158 km
อ้างอิงจาก http://www.thaiarmedforce.com/forum.html
ท่าน more มาเล อัพเกรดF-18 ไปแล้วครับ พร้อมติดตั้ง พอดชี้เป้า 6ลำ
ส่วน AIM 9X บล็อค2 ก็สั่งซื้อไปแล้วเช่นกันตั้งแต่ปลายปี2011 20ลูกพร้อมลูกซ้อม2ลูก
ถึงอย่างไร ทัพอากาศ มีทีมที่ดีกว่า มีดวงตาที่มองชัดกว่า
แถมอนาคตอันไกล้นี้ยังมีทีมทัพเรือที่คอยประสานกันอย่างไกล้ชิด..
TDL
หากจะเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านที่ใช้ บ.ตระกูล Su ทั้งหลายแล้ว ทอ.ไทยมีสิ่งที่เพื่อนบ้านเหล่านั้นยังไม่มีก็คือ AEW และระบบ NCW ที่ใช้เครือข่าย DataLink แบบก้าวหน้า ทำให้การปฏิบัติการรบโดยรวมสามารถใช้ยุทธวิธีและกลยุทธที่หลากหลาย และดำเนินกลยุทธในแบบที่มีความได้เปรียบ อย่างเช่น ระยะการตรวจจับ เราสามารถใช้เครือข่ายเรดาร์ที่มี ร่วมกับ Erieye ที่มีระยะการตรวจจับได้กว่า 200 nmi ไกลกว่าเรดาร์ของ Su แน่นอน แล้วส่งข้อมูลเป้าผ่านไปให้ Gripen เพื่อปล่อย AMRAAM หรือ METEOR ไปสกัดกั้นและทำลาย Su ก่อนที่ Su จะตรวจจับทั้ง Erieye และ Gripen ได้โดยที่ Gripen ไม่ต้องใช้ไม่ต้องแพร่สัญญาณเรดาร์ของตัวเองเลยด้วยซ้ำ
ระบบData-link ที่เรามีต้องใช้กับระบบจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นไหนดีที่สุดที่มีความสอดคล้องกันเพื่อบูรณาการกับกองทัพบก
ไม่รู้ว่าใช้คู่กับ จรวดสปาด้าได้ด้วยเปล่าครับ
อ้าว คนด่าหาย ไปไหนแล้วล่ะ กระทู้เริ่มยาวแล้วนะ
spada จะทิ้งได้แล้วมั้งครับ ฮ่าๆ เก่ามากก
เห็นข่าวว่า ทบ กำลังมองหา องใหม่มาแทน Aspada นิครับ
Spada แค่ซื้อตัวจรวจชุดใหม่มาก็ใช้ได้แล้วม้ังครับ ดินขับจรวจมันหมดอายุไปกว่า 2 รอบแล้ว
ตัวระบบ กับตัวเรด้าร์ มันน่าจะยังใช้งานได้ตามปกตินะครับ
(ถ้าระบบมันเสีย น่าจะซ่อมได้)
มาเช็คอินกระทูฮอต รอคนด่ามาแก้ตัว แค่คาดว่า หายศีรษะ ตามความชำนาญ
ไม่กล้ามาตอบแล้วมั้งครับ หายหัวเหมือนเช่นเคย
เท่าที่พี่ๆได้แจ้งข้อมูล..................
เราตาทิพย์......สามารถมองเห็นศัตรูและล็อคได้..........ตั้งแต่ไก่โห่..............แต่ศัตรูไม่เห็นเราจนกว่าจะใกล้ระยะ
ปล.เจ้าของกระทู้คงเชียร์ JAS เลยใช้มุขนี้...........
ที่แล้วๆก็แล้วไปเถอะครับ อย่าจองเวรกันเลย ยังไงก็ยังอยากเห็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงที่โต้กันด้วยเหตุผลมากกว่าการมาตามด่าตามว่าเอาทีหลัง เดี๋ยวจะกลายเป็นว่ากระทู้ยาวเพราะด่ากัน ปล.เจ้าของกระทู้ไม่ได้เชียร์กริพเพนขนาดความคิดเห็นด้านบนนะครับ 555 แค่ไปเจอข่าวมาเลยเอามาฝาก ผมก็ยังเด็กใหม่ในเว็บนี้ ถ้าผิดพลาดอะไรก็ขออภัยด้วยครับ
ถึง คุณSkuLLPunK
ผมจะอธิบายให้ว่าจรวดกึ่งเรด้าห์กึ่งอินฟาเรต (คือจะขอใช้ภาษาไทยอธิบายกันแบบให้เข้าใจกันง่ายๆนะ พยายามจะไม่ใช้ภาษาอังกฤษเดียวจะไม่เข้าใจ)
รูปแบบที่เมื่อเวลาเครื่องบินเข้ามาแบบเผชิญหน้ากันนะเวลาปล่อยจรวด อากาศสู่อากาศออกไป เรด้าห์หัวรบของมิสไซด์ของมันจะดำเนินการค้นหาเป้าหมายที่เป็นสัญญานเรด้าห์ของเครื่องบินรบอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีนี้ ใช้ครับถูกต้อง แต่ยุทธวิธีการป้องกันในแบบนี้ คือถ้าสมมุติว่าไทยเราต้องเผชิญหน้ากับ SU-30 แล้วเจ้า SU มันปล่อย R-27EP เครื่องบินกริฟเพ่นของเราไม่มีอาวุธมิสไซด์ระยะไกล ดังนั้น ก็ต้องหันเครื่องบินกลับ ให้หัวเครื่องบินหันไปในทิศทางตรงข้ามกับมิสไซด์ของฝ่าย SU-30 และก็เป็นการอวดบั้นท้ายที่มีความร้อนจากเครื่องยนต์ไอพ่น
(หรือหันทำมุมซัก 60 - 90 องศาก็เพียงพอแล้วละไม่ถึงกับหันบั้นท้ายให้เลยเพราะแลดูจะขี้ขลาดเกินไปหน่อย)
ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ก็เท่ากับเป็นการหลบหลีกการถูกล้อกเป้าโดยเรด้าห์ของมิสไซด์ดังกล่าว เหตุผลเพราะเรด้าห์ที่ใช้บนเครื่อง
บินรบทั่วไปนั้นมันมีหลักการทำงานที่จะปล่อยหรือยิงสัญญาณคลื่นเรด้าห์เพื่อตรวจหาเป้าหมาย ไปข้างหน้าอย่างเดียวไม่สามารถยิง
สัญญาณคลื่นเรด้าห์ไปด้านข้างซ้ายหรือขวาและข้างหลังได้ครับ (นึกภาพเอาเองนะ) เมื่อกริฟเพ่นของเราหันหัวเครื่องฉีกหนีไปในทิศ
ทางใดทิศทางหนึ่งแล้ว มิสไซด์จาก SU-30 จะไม่สามารถใช้เรด้าห์ตรวจจับเรด้าห์ของกริฟเพ่นเราได้อีกต่อไปแล้วมันจะเปลี่ยน mode
จากใช้เรด้าห์ค้นหาสัญญาณเรด้าห์เปลี่ยนไปเป็นใช้เรด้าห์แบบตรวจหาวัตถุและอิฟาเรตเพื่อตรวจหาความร้อนแทน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความน่ากลัวของ R-27EP ก็ลดลงไป 50% และเมื่อระยะเวลาหนึ่งที่มิสไซด์ดังกล่าวกำลังจะเข้าใกล้กริฟเพ่นของเรา
ระบบเรด้าห์ของ R-27EP ก็จะยิ่งโง่ลงไปทุกขณะและเริ่มจะหลอกได้ง่ายมากขึ้น เมื่อถึงช่วงจังหวะที่เหมาะสมกริฟเพ่นก็จะหัน บั้นท้ายงามๆพร้อมกับความร้อนของเครื่องยนต์เพื่อให้ระบบประมวลผลหรือสมองของระบบหัวมิสไซด์ดังกล่าวทำการล็อกค่าความร้อน(อุณหภูมิ)ที่ของเครื่องยนต์กริฟเพ่นของเรา
เมื่อตัวแปรทุกอย่างพร้อมแล้ว กริฟเพ่นของเราก็จะปล่อย พลุไฟ ความร้อนสูงงามๆ ออกมาแบบเป็นชุด ความร้อนของพลุที่ถูกปล่อยออกมาเป็นชุดจะทำให้บริเวณบั้นท้ายเครื่องบินเต็มไปด้วยความร้อนของพลุมากจนสามารถครบคลุมและบดบังความร้อนจากเครื่องยนต์ของกริฟเพ่นเรา คือระบบประมวลหรือสมองของ R-27EP เอ่อแดกไปเลยไม่สามารถทำการแยกแยะอุณหภูมิว่าอะไรเป็นอะไร และแถมระบบเรด้าห์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับวัตถุ ก็จะสับสนว่าวัตถุอันไหนเป็น bodyของพลุและวัตถุอันไหนเป็น body ของกริฟเพ่นครับ และเมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสมกริฟเพ่นของเราก็จะเอี้ยวหลบแบบฉีกหนีไปข้างใดข้างหนึ่งโดยทันที แล้วปล่อยให้เจ้า R-27EPพุ่งผ่าน พลุไฟออกไปแบบมึนๆ
ปล.1 ถ้านักบินบนเครื่องกริฟเพ่นลำนั้น ชะตาถึงฆาตจริงๆ แล้วมิสไซด์ดังกล่าวดันสามารถแหวกทะลุพลุไฟเหล่านั้นมาได้ อันนี้ก็ตัวใครตัวมันก็แล้วกันนะครับ *** แต่เท่าที่เคยหาอ่านจากเวปไซด์ต่างประเทศมา คือโดยส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ปล่อย พลุ(chaff/flare) แบบผิดจังหวะจริงๆ โอกาสรอดตัวก็มีสูง มากกว่า 70% ครับ
ปล.2 นี้เป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งที่เป็นการเผชิญหน้ากันแบบตัวต่อตัวระหว่าง กริฟเพ่น กับ SU-30 โดยไม่ต้องพึ่งพา อีรี่อายด์ โดยไม่ต้องปิดระบบสัญญาณเรด้าห์ก็ได้ครับ
ปล.3 สุดท้ายแล้วการใช้มิสไซด์แบบอากาศสู่อากาศ ที่มีประสิทธิภาพและสามารถหวังผลได้สูงสุดก็ยังต้องพึ่งพาระบบ FCS ที่เครื่องบินรบนั้นๆอยู่ดี (แต่ระบบ FCS ที่ติดตั้งบนเครื่องบินรบมีขนาดเล็กและสามารถนำส่งมิสไซด์ได้ในระยะพิสัยกลางได้เท่านั้น (ประมาณตั้งแต่ 1-50 km)
และปล.4 ก็คือสุดท้ายแล้วต่อให้ระบบอาวุธบนเครื่องบินรบทันสมัยแค่ไหนก็ยังต้องพึ่งพาไหวพริบและความสามารถของนักบินและก็ต้องมาวัดกันว่าใครจะอยู่และใครจะไปกันในระยะไม่เกิน 50 km อยู่ดีแหละครับ
คลิปนี้ น่าจะแสดงระบบการรบได้ดีนะครับ โดยเฉพาะระบบดาต้าลิ้งค์ ที่เชื่อมโยงข้อมูลทุกๆ อย่างเข้ากันได้อย่างดี ทั้งข้อมูลดาวเทียม+ข้อมูลภาคพื้น+ข้อมูลจาก บ.Erieye และข้อมูลจากหลายๆ อย่างที่ส่งเข้ามา ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลการรบได้อย่างดี (ระบบฐานข้อมูล จะช่วยการรบได้มาก)
ในคลิปนี้ Gripen แบกเจ้า Meteor missile ไปด้วย ซึ่งเป็นอาวุธหมัดเด็ดยิงระยะไกลมาก (ซึ่งน่าจะสู้จรวดของทางฝั่งค่ายหมีได้อย่างดี)
หากลองคิดดูว่า SU-30 มีความสามารถที่ได้เปรียบในเรื่องเรด้าก็จริง แต่ถ้า ตรวจจับเจ้ากริพเพนได้ ก็ต้องบินเข้าไปใกล้ๆ เพื่อยิงจรวดมิสไซร์ในระยะหวังผลเช่นกันใช่ไหมครับ (แต่การที่จะต้องบินมายิงในระยะหวังผล) ก็ต้องเผชิญกับเรด้าของกริพเพนและเรด้าของ บ.พี่เลี้ยง Erieye ของกริพเพน (ซึ่งในการรบจริง ยังไง ก็ต้องใช้ บ.พี่เลี้ยงอยู่แล้ว)
ดังนั้น การจะโจมตีบ.คู่ต่อสู้ได้ ก็ต้องดูระบบอาวุธของตัวเองด้วยและต้องบินเข้าไปในระยะหวังผลที่จะยิงได้เช่นกัน แต่กริพเพน ก็มีไม้เด็ดลูกยาวอย่าง Meteor missile ไว้รอเช่นกัน หาก SU จะเข้ามายิงในระยะหวังผล
อย่าลืมว่า Gripen คือ บ. ที่มาทดแทนเครื่อง F5 ฉะนั้น (นี่แค่จัดมาทดแทน F5 บ.ขนาดกลางเองนะ) หาก บ. ที่จะมาทดแทนเครื่อง F-16 หล่ะ (น่าจะเป็น บ.โจมตีในเชิงลึกได้และครองอากาศได้นานๆเช่นกัน) แล้วถ้ามีการจัดหาทัดแทนเมื่อไร เมื่อนั้น ทอ.ไทย คงมีบ.โจมตีเชิงลึก แบบ 2 เครื่องยนต์แน่
Gripen ค่าซ่อมบำรุงน้อย (สายพานซ่อมบำรุง ไม่ต้องห่วง) แถมรันเวย์ก็สั้น-ถนนหลวงทุกสายคือ สนามบินของมัน ส่วน SU-30 นั้น สายพานการซ่อมบำรุงนั้น ดีแค่ไหน ด้วยระบบ 2 เครื่องยนต์เจ๊ต ก็ต้องซ่อมบำรุงรักษาตามวงรอบมากเช่นกัน เพราะเมื่อบินไปนานๆ เครื่องยนต์ย่อมจะต้องพังและต้องเปลี่ยน เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แถมชั่วโมงการบิน ก็คงจะไม่ใช่ถูกๆ นักบิน จะมีชั่วโมงการบินกะเครื่องได้มากแค่ไหน (ในความคิดส่วนตัว ผมว่า คงผลาญเงินไปเยอะแน่) บวกแถมท้าย ความพร้อมรบ จะมีมากแค่ไหน
ปล. ด้วยยุคนี้ การจะโดนโจมตีหรือโจมตีใคร ก็ไม่ใช่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกันได้ง่ายๆ นานๆ เกิดขึ้นที แต่ บ. ก็ต้องทำการบินและฝึกบินแทบจะทุกวัน (คงกินตังในการบินและซ่อมบำรุงเยอะแน่) ผมว่า ทอ. คิดถูกแล้ว ที่เลือก Gripen อิอิ
ตอบคุณ obeone
มิสไซล์ที่สามารถเปลี่ยนโหมดนำวิถีกลางคันมีด้วยเหรอครับ รุ่นอะไรครับ
ผมไม่รู้จักนะ
chaff ไม่ได้เป็นการแจมสัญญาณเรดาร์นะครับ แต่ทำหน้าที่เหมือนเป้าล่อ เมื่อยิงชาฟออกไปเครื่องบินจะเคลื่อนตัวออกห่าง ขณะที่เศษเหล็ก (ชาฟ)ลอยเป็นกลุ่มอยู่ที่เดิม มิสไซล์ก็วิ่งเข้าหากลุ่มชาฟ
อีกอย่างมิสไซล์ที่นำวิถีด้วยเรดาร์นั้นไม่ได้แพร่คลื่นเรดาร์ออกเป็นเส้นตรง แต่แผ่ออกมาเป็นแนวกว้าง ผมว่าสมัยนี้จะมาบินล็อกหลบมิสไซล์โคตรยากครับ มิสไซล์รุ่นใหม่ๆคล่องตัวกว่าเดิมเยอะ อีกอย่างเมือเข้าระยะมิสไซล์นำวิถีด้วยตนเอง (กรณีเป็นระยะกลางขึ้นไป ส่วนระยะใกล้นำวิถีด้วยตัวเองอยู่แล้ว) ผมว่าไม่เกี่ยวกับว่าเครื่องเป้าหมายจะเปิดเรดาร์หรือมไม่แล้วครับ เพราะเรดาร์โปรไฟล์ของเครื่องเป้าหมายใหญ่พอที่มิสไซล์จะจับได้อยู่แล้วแม้จะไม่เปิดเรดาร์ก็ตาม บ.หันตูดให้มิสไซล์นำวิถีด้วยเรดาร์ก็ตรวจจับได้ครับ ไอพ่นนี่ก็ตัวลดความเสตลธ์ในเรดาร์ดีๆนี่แหละครับ
คลิปวีดีโอ Gripens intercepting SU 24 fencer
http://www.youtube.com/watch?v=0CeYNFii6sY
ถ้าอธิบายแบบมั่วๆ ข้อมูลผิดๆ แบบนี้ไม่ดีนะครับ คนอ่านจะเข้าใจและจดจำไปแบบผิดๆ (มันคลาดเคลื่อนจากความจริงมากเกินไปน่ะครับ)
R-27 (จะรุ่นไหนก็ตาม) มันไม่ได้เทพขนาดที่จะมีระบบนำวิถีได้มากถึง 3 ระบบในลูกเดียวหรอกนะครับ มันมีแค่รุ่นที่ใช้ระบบ Semi Active Radar Homing กับ รุ่นที่ใช้ IR Homing (R-27 T) ซึ่งก็ไม่มีรุ่นไหนที่มีระบบนำวิถีสองระบบในลูกเดียวอีกด้วย
โดยเฉพาะที่บอกว่ามันใช้การจับสัญญาณเรดาร์จากเครื่องบินที่เป็นเป้านี่ไม่มีในระบบนำวิถีของเจ้า R-27 สักรุ่นเลย ระบบนำวิถีประเภทนี้ส่วนมากใช้กับจรวดนำวิถีจำพวกที่เจาะจงสำหรับยิงทำลายฐานเรดาร์/เรือรบ/เครื่อง AEW ที่มีการแพร่คลื่นสัญญาณเรดาร์ที่มีกำลังส่งสูง
ส่วนการหันเลี้ยวจะกี่องศานั้นก็ไม่ได้เป็นการหลบพ้นจากการ "ล๊อค" ของระบบนำวิถีได้ในทันทีนะครับ ยิ่งระยะห่างมากมุมองศาความกว้างของระบบนำวิถีแค่นิดเดียวก็ครอบคลุมระยะทางเป็นไมล์แล้ว พอคุณเบนเครื่องเลี้ยวระบบนำวิถีที่จรวดมันก็สั่งให้จรวดเบนหัวตามไปแทบจะในทันที แล้วเครื่องของคุณจะหลุดจากการล๊อคของระบบนำวิถีได้อย่างไรครับ
ยิ่งถ้าหันหลังกลับแล้วล่ะก็ หึ หึ จรวดยิ่งล๊อคสัญญาณได้ง่ายและชัดเจนมากกว่าเดิมอีกนะครับ ท่อท้ายไอพ่นของเครื่องบินนี่แหละตัวสะท้อนเรดาร์ดีๆนี่เอง ไหนจะมีไอพ่นร้อนๆ ที่ช่วยเพิ่ม RCS ได้อีกต่างหาก หากจะใช้วิธีนี้ล่ะก็ ต้องรีบทำและต้องแน่ใจว่าคุณอยู่ห่างจากจรวดนั้นมากจนเกือบสุดพิสัยยิงไกลสุดของมัน และคุณจะต้องสามารถเร่งเครื่องไปถึงความเร็วสูงสุด ที่มากกว่า 2 มัคได้ทันก่อนที่จรวดจะเข้าใกล้คุณจนหนีไม่ทันแล้ว (จรวด AAM ส่วนมากมีความเร็วระหว่าง 3-4.5 มัค และคุณก็ไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้จากระยะไกลว่าเป็นจรวดอะไรรุ่นไหน พิสัยยิงเท่าไหร่)
ยุทธศาสาตร์ของ ทอ. คือ Digital Airforce
ถ้าเข้าใจเรื่องนี้
ก็จะเข้าใจได้เลยว่า ทำไมดีลของสวีเดน ถึงชนะ
เพราะมันครบถ้วนในสิ่งที่ ทอ. ต้องการจะเป็น Digital Airforce
สวีเดน เสนอ ระบบ โดยมีเครื่องบิน เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
แต่รายอื่น เสนอแต่ เครื่องบิน
ระบบการนำวิถีของจรวดหรืออาวุธปล่อยนำวิถีในปัจจุบันนี้มีหลากหลายรูปแบบ แต่จะอธิบายเท่าที่ถามในแบบพอสังเขปนะครับ
ระบบการนำวิถีของจรวดจำพวก อากาศสู่อากาศ (Air to Air) "แบบดั้งเดิม" จะมี 2 พวก คือ
- นำวิถีด้วยการจับสัญญาณความร้อน (IR : Infra Red) สังเกตุได้จาก ที่ส่วนหัวของจรวดประเภทนี้จะมีตัวจับสัญญาณความร้อน (IR Seeker) อยู่ในครอบแก้ว ดูคล้ายดวงตา เช่น Aim-9 "Sidewider" , AA-11 "Archer" (R-73 ของรัสเซีย) หรือ จรวดรุ่นใหม่อย่าง Iris-T , ASRAAM เป็นต้น
- นำวิถีด้วยสัญญาณเรดาร์ จะอาศัยหลักการตรวจจับสัญญาณเรดาร์ที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุเป้าหมาย (เครื่องบิน) ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Active Homing และ Semi Active Homing ซึ่งทั้งสองชนิดใช้หลักการเดียวกัน แต่ต่างกันที่ตัวส่งคลื่นสัญญาณเรดาร์ไปยังเป้าหมาย โดย
ระบบ Active Radar Homing (ARH) จะมีตัวส่งสัญญาณเรดาร์อยู่ที่ตัวจรวดเอง ข้อดีคือ เป็นจรวดที่ทำงานได้ด้วยตัวเองที่เรียกกันว่า ยิงแล้วลืม (Fire and Forget) เครื่องบินที่ยิงปล่อยจรวดนี้ออกไปสามารถหันออกจากเป้าได้เลย และสามารถดำเนินการปล่อยจรวดไปสู่เป้าหมายอื่นๆ ในทิศทางอื่นได้ต่อไป จึงทำให้สามารถต่อตีเป้าหมายได้พร้อมกัน ข้อเสียคือ จรวดชนิดนี้มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากและราคาแพงมาก อีกทั้งระบยเรดาร์บนตัวจรวดเองก็มีประสิทธิภาพค่อนข้างจำกัด จึงถูกต่อต้าน/รบกวนได้ง่าย ตัวอย่างของจรวดชนิดนี้ เช่น Aim-120 "AMRAAM" , AA-12 "Adder" (R-77)
ระบบ Semi Active Radar Homing (SARH) จะใช้สัญญาณเรดาร์ที่ส่งออกมาจากเครื่องบินที่เป็นฐานยิง ข้อดีคือ จรวดชนิดนี้จะมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่า ราคาถูกกว่าชนิด ARH และสัญญาณเรดาร์ที่ส่งมาจากเครื่องบินจะมีคุณภาพสูงกว่าต่อต้าน/รบกวนได้ยากกว่า เพราะเรดาร์บนเครื่ิงบินมีขนาดใหญ่กว่ามีขีดความสามารถมากกว่า (เช่น ความสามารถในการเปลี่ยนความถี่ไปมา) ข้อเสียคือ เครื่องบินที่เป็นฐานปล่อยจรวด ต้องบินอยู่ในแนวที่จะสามารถส่งสัญญาณเรดาร์ไปยังเป้าหมายได้(เกือบ)ตลอดเวลา จึงไม่สามารถต่อตีเป้าหมายที่อยู่นอกแนวทิศทางกันได้ และทำให้มีโอกาสถูกโจมตีกลับได้ง่าย เพราะต้องแพร่คลื่นสัญญาณเรดาร์ความเข้มสูงเพื่อชี้เป้าให้แก่จรวด จึงถูกตรวจจับได้ง่ายโดยเซนเซอร์ของข้าศึกด้วย ตัวอย่างของจรวดชนิดนี้ เช่น Aim-7 "Sparrow" , AA-10 "Alamo" (R-27) เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันนี้จรวด/อาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นใหม่แบบใหม่นั้น มีระบบนำวิถีที่หลากหลายและสลับซับซ้อนกว่าเดิมมากๆ มีทั้งระบบ GPS/INS , ระบบ 2 ways DataLink ที่คอยรับ-ส่งข้อมูลเป้าหมาย ทั้งจากเครื่องที่เป็นฐานปล่อยเองและ/หรือจากแหล่งอื่นเช่น บ.ร่วมฝูงปฏิบัติการ โดยไม่ต้องแพร่และรับสัญญาณเรดาร์จากเป้าโดยตรง ในระหว่างที่จรวดโคจรสู่เป้าหมาย แล้วใช้ระบบตรวจจับเป้าหมายในขั้นสุดท้าย(Terminal Phase)ด้วย IR Seeker ที่ติดตั้งอยู่ที่หัวจรวดเอง เช่น Iris-T ที่ยิงปล่อยแบบ LOAL : Lock On After Launch (ยิงปล่อยจรวดออกไปก่อนที่เซนเซอร์บนตัวจรวดจะล๊อคเป้า)
ปล. ผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัย และขอคำชี้แนะเพิ่มเติมจากท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ^ ^
ที่ผมพูดว่าเรดาร์โปรไฟล์ (radar profile) หมายถึง แหม แปลยากวุ้ย รูปร่าง+ขนาดที่ปรากฏในจอเรดาร์เวลาถูกแพร่คลื่นเรดาร์ใส่
เช่นเครื่องบินลำนี้เรดาร์โปรไฟล์เล็กก็หมายถึงว่ามี radar cross section ที่เล็ก
เติมอีกนิดละกัน พวกมิสไซล์ active homing ระยะใกล+กลาง ตอนออกตัวนี่เรดาร์ของระบบนำวิถีของจรวดยังไม่สามารถจับเป้าได้นะครับ เรดาร์ระยะไม่ถึง ตอนเครื่องบินยิงจะใส่อินพุทข้อมูลไปว่าเป้าหมายอยู่ทิศทางไหน ระยะเท่าไหร่เข้าไปที่ตัวจรวด จากนั้นจรวดจะใช้ระบบ inertial( เช่นวัดแรงลม สนามแม่เหล็ก ฯลฯ)นำทางไปหาเป้าหมาย เมื่อเข้าระยะที่เรดาร์จับได้แล้วก็จะเข้าโหมด active homing วิ่งตามเป้าหมายไป
ปัญหาคือกว่ามันจะวิ่งไปถึงตำแหน่งที่เครื่องบินป้อนไว้หรือเข้าระยะ self-homing เป้าหมายก็ไปไหนแล้วไม่รู้ ในรุ่นใหม่ๆจึงมีการพัฒนาระบบ mid course update เครื่องบินที่ยิงคอยอัพเดทข้อมูลของเป้าหมายเป็นระยะๆ จะได้ไม่หลง
อีกนิด.. ฮา LOAL ดีตรงที่ไม่ต้อเสียเวลาล็อคเป้าแล้วค่อยยิง แต่ยิงออกไปก่อนแล้วค่อยไปล็อคเป้า (อัตโนมัติ) อปุมา อุปไมยเหมือนกับยิงปืนดวลกัน กว่าจะเล็งก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้ายิงออกไปก่อนแค่หันปากกระบอกปืนไปทางเป้าหมาย ไม่ต้องแม่นแล้วกระสุนค่อยเข้าเป้าเองก็จะไวกว่าเยอะ โอกาสรอดก็เพิ่มขึ้น
meteor ผมค่อนข้างแน่ใจมากๆ เพราะเท่าทีจะได้ ท่าน อดีต ผบ ทอ เคยยืนยันว่ามานะครับ
(หรือจำผิดวะ?)
เขามาด่าแบบอคติแล้วก็กลับไปมุดหัวเหมือนเดิม เพราะเถียงสู้เขาไม่ได้
ผมไม่เข้าใจว่าแอดมินจะเลี้ยงคนประเภทนี้ไว้ทำไม? เอาไว้เพิ่มยอดคอมเม้นต์ในกระทู้หรือ?
ขออภัยที่พูดแรงๆ แต่มันบ่อยเกินไปจนอดคิดไม่ได้
ตามพี่ทั้ง2 (TWG , Toeytei)ว่ามาครับ
นำวิถีด้วยสัญญาณเรดาร์ คือเราส่งคลื่นเรดาร์ออกไปและจับสัญญาณเรดาร์ที่สะท้อนกลับมาจากเป้าหมายครับ
แต่ที่ว่าการนำวิถีแบบที่ เครื่องบินข้าศึกเปิดเรดาร์และเราจับสัญญาณที่ส่งออกมานั้นคือการนำวิถีแบบ passive radar homing ครับ ซึ่งการนำวิีถีแบบนี้จะใช้ใน
ขีปนาวุธที่ใช้การโจมตีฐานเรดาร์ หรือโจมตีเครื่อง AEW/AWAC ตัวอย่างเช่น AGM-88 HARM ที่ใช้โจมตีฐานเรดาร์
(อันนี้เสริมนอกเรื่องนิดนึงคือ ขีปนาวุธ fire and forgetรุ่นใหม่ๆเช่น amraam หรือ r-77 จะมีโหมดที่เรียกว่า HOJ - Home on jam คือเมือเครื่องบินข้าศึกใช้ECMในการjammingเรดาร์ของอาวุธปล่อย และหากการjammingนั้นมีกำลังมากจนตัวอาวุธปล่อยไม่สามารถค้นหาและติดตามเป้าหมายได้ ตัวอาวุธปล่อยก็จะมีโหมด HOJ ซึ่งจะทำให้อาวุธวิ่งเข้าหาเครื่องบินที่เป็นต้นกำเนิดการjamได้เลยครับ)
ในเครื่องบินรบจะมีระบบ RWR (Radar warning receiver) ไว้สำหรับตรวจจับการแพร่คลื่นเรดาร์ด้วยครับ
ซึ่งหมายถึง หากเครื่องบินฝ่ายเราเปิดเรดาร์ ข้าศึกก็อาจเห็นเราได้จาก RWR
เพราะฉะนั้น จากยุทธวิธีที่ได้มีการพูดกันมาเช่น เครื่องgripen 4ลำ ปิดเรดาร์และรับข้อมูลเรดาร์จาก saab-340 AEW
ก็เป็นการลดโอกาสที่จะถูกตรวจพบจากเครื่องบินข้าศึกครับ
ผมว่า Jas เหมาะกับบ้านเราแล้วครับเนื่องจากสมัยนี้การรบกันแบบจริงจังเป็นเรื่องยากมากๆ การรบด้วยเครื่องบินจริงอาจเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปใหญ่เนื่องจาก สายป่านแต่ล่ะประเทศคงไม่ได้ยาวถึงกับรบกับเป็นเดือนๆ หรือปีๆ เปลี่ยนการครองน่านฟ้าด้วยเครื่องบิน เป็นการรักษาน่านฟ้า ด้วย ระบบอาวุธต่อต้านอากาศยานสุดไฮเทค ยิงยาวๆ ยิงกลางๆ น่าจะดีที่สุดครับ ยังไงกว่า su มันจะบินเข้ามาคงเหลือไม่กี่ลำแล้วครับ ความเห็นเล็กๆ ครับ
แบบนี้ดีครับ ชอบๆ ถาม-ตอบ กันด้วยความรู้และแสดงความคิดเห็นกันด้วยเหตุผล+ข้อเท็จจริง อาจมีอารมณ์บ้างก็พอได้บรรยากาศสนุกๆ กันนะครับ ^ ^
ส่วนพวกเกรียน พวกนักเลงคีย์บอร์ด ประเภทที่ชอบเข้ามาป่วนกวนน้ำให้ขุ่นแล้วเผ่น แถวบ้านผมเรียก "อีตุ๊ด" ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องใส่ใจ อ่านแล้วก็ปล่อยผ่านไปเหมือนไม่เคยอ่านเลยครับ พวกนี้ถ้าไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครโต้ตอบ ประเดี๋ยวมันก็จะเหี่ยวเฉา...ตายไปเองแหละ
กลับมาเรื่อง หก ลำที่มีข่าวดีกว่านะครับ มาช่วยกันคิดว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน รุ่นอะไร ด้วยงบ 1.8 หมื่นล้านนี่มันควรจะได้อะไร
ปล.ขอสนับสนุุนการพูดคุยด้วยเหตุผลครับ
โครงการเก่า 3.9 หมื่่นล้าน ได้ยาสสิบสองเครื่อง เอแว็คสอง 340 แถมมาอีกลำ จรวดต่อต้านเรืออีกสิบกว่านัด ระบบเรดาร์ภาคพื้นดิน(สามฐาน?)
โครงการนี้ราคาเกือบครึ่งของอันเก่า ไม่ได้ถูกเลย ผมว่าควรจะได้อย่างอื่นด้วยมากกว่าแค่เครื่องบิน 6 ลำ ไม่งั้นได้มาเพียวๆลำละ100ล้านดอลล์แพงโคตร
จริงครับที่ว่ามูลค่าโครงการนี้สูงจนเชื่อได้ว่าคงไม่ใช่การจัดหาแค่ตัวเครื่องบิน Gripen C เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่อาจจะมีมาด้วยก็เช่น ระบบ AEW ที่จะนำมาติดตั้งให้กับเครื่อง SAAB 340 เปล่าที่ได้มาในเฟสแรก , อวป. Iris-T และ อาจจะรวมถึง อวป. Meteor ด้วยก็เป็นได้ครับ (ขอจิ้นล่วงหน้าซะเลย)
นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกการใช้อาวุธของเครื่องบิน Gripen ในประเทศไทย ดังที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้อีกด้วย
1.8หมื่นล้าน แถม gotland มือ2 3ลำจะดีมากครับ
ดูเอาหนุกๆ ครับ ไม่ต้องคิดไรมาก อิอิ
อ๊ะ อ๊ะ .... อาจจะได้ KEPD-350 มาด้วยก็ได้นะ
เฮ้อ.......ดีใจโล่งอกที่ ทอ. ตัดสินใจรักษาฝูงละ 18-20 เครื่องเช่นเดิม ไม่ลดจำนวนเครื่องต่อฝูงบินเหลือแค่ 12 เครื่อง ในขณะที่เพื่อนบ้านกำลังแข่งขันอาวุธกันอย่างโครมคาม ทั้งจำนวนและคุณภาพ
ไหนๆก็ Jas-39 แล้ว ก็ขอให้ครบ 3 ฝูงบินขับไล่สกัดกั้นไปให้ครบครับ
ฝูงถัดไปควรมาแทน F-5T จะได้เอา F-5T ไปสำรองประจำการเอาไว้พร้อมรบเมื่อจำเป็น
อัฟริกาใต้กำลังสนใจขายทิ้งก็น่าสอยมาทั้ง 26 เครื่องเลยครับ ราคาน่าจะถูกลง เครื่องยังใหม่กิ๊กเลย
และผมว่า ราคานี้ที่แพงมาก อาจจะเป็นแพ๊คเกจแบบเดิมก็ได้ครับ คือ มี AEW&C มาด้วยอีก 1 ลำ ให้ครบ 3 เครื่องในการหมุนเวียนใช้งาน ต้องติดตามต่อไปครับ
ขอถามด้วยความไม้รู้ครับ ว่าถ้าราคาสูงกึงหนึ่งของล๊อตเดิม อาจเป็นไปได้ไหมครับว่าจะเป็นรุ่น Gripen NG มาเลยราคาเลยสูง?
ขอบคุณครับ
ผมว่าได้ราคา 1.8 หมื่นล้านบาท น่าจะมีแถมอยู่แล้ว อยู่ที่ ทอ.อยากได้อะไรบ้าง ส่วนตัวได้ SAM ซักระบบสองระบบ ก็ดีเหมือนกันนะครับ
สวัสดีครับผมเป็นสมาชิกใหม่ของบอร์ดนี้เพิ่งจะสมัครหลังจากเห็นโพสในกระทู้นี้ที่มองและวิจารณ์าอวุธของ ทอ.เราอย่างมีอคติ มากเกินไป
สมาชิกที่บอกว่า su 30 mk ดีกว่า กริฟเพนมัน ยอมรับว่าดีจริงครับ มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า ระบบเรดาห์ของ su เองก็น่าจะดีมากอยู่
แต่อย่างที่หลาย คน บอกละครับ เรา ใช้ยุทโธปกรณ์ของตะวันตกมานานมาก F-16 เอย F-5 เอย นั่นทำให้ช่างอากาศผู้ที่มีหน้าที่ซ่อมบำรุงเค้า คุ้นเคยกับอาวุธทางตะวันตก รวมทั้งนักบินผู้ขับเองก็ด้วย ที่สำคัย ทอ .เรา มองเห็นแล้วว่า ในตอนแรกที่ จัดซื้อ มีตัวเลือกมาหลายแบบ แต่ ที่เลือกกริฟเพน เพราะ เครื่องบิน กริฟเพน มีความต้องการการซ่อมบำรุง ต่ำ ไม่ยุ่งยาก มีระบบอำนวยการรบแบบ ดาต้า ลิงค์ สามารถใช้ ทางหลวง เปนรันเวย์ได้ในยามที่สนามบินหลักถูกทำลาย ขึ้นบินได้ รวมทั้งใช้ใช้ระยะวิ่งขึ้นลง ไม่มาก สามารถติดอาวุธได้หลากหลาย ในค่ายตะวันตก หรืออิสราเอลก็ได้ มีความคล่องตัวดี แล้วที่สำคัญคือ ทางสวีเดนเค้ายอมให้เราเข้าถึง soucecode ได้ แม้กระทั่ง ถ้าเราพัฒนา souce code ใหม่ที่มันมีประโยชน์ เค้าก็ยินดี ซื้อ souce code นั้นกลับไปเช่นกัน ไม่เหมือนกับ f-16 ที่เราต้องขออนุญาติจากบริษัทผู้ผลิตเพื่อขออัฟเกรดเครื่องบินในการติดอาวุธทันสมัยรุ่นใหม่ แล้ว บริษัทผู้ผลิต ต้องไปขอคำอนุญาติจาก ฝ่ายความมั่นคงของ อเมริกา อีกเพื่อดูว่าจะเป็นภัยคุกคามกับ อเมริกาไหม ถ้าให้เรา อัฟเกรด ยุ่งยากวุ่นวาย มากมาย ครับ การซื้อเครื่องบินรบใหม่ มันเป็นการป้องปราบและ เพื่อเสริมความทัดเทียมทางทหารวะมากกว่า โอกาศที่จะเกิดสงครามในหมู่อาเซียนโดยการโ๗มตีจากเครื่องบินรบมันมีน้อยครับ
อ้างอิงจากท่าน toeytei
"โครงการเก่า 3.9 หมื่่นล้าน ได้ยาสสิบสองเครื่อง เอแว็คสอง 340 แถมมาอีกลำ จรวดต่อต้านเรืออีกสิบกว่านัด ระบบเรดาร์ภาคพื้นดิน(สามฐาน?)"
ดังนั้น 1.8 หมื่นล้านก็ควรได้แบบเดิม 6 ลำ บวกอุปกรณ์เพิ่มเติมครับท่าน Gadalar คงไม่ข้ามไป Gripen NG
ส่วนตัวผมว่าก็ควรหา Gripen C อีก 6 ลำบวกอุปกรณ์เพิ่มเติม (Meteor ดีไหม) เพราะมันแค่เกือบเท่าครึ่งเดิมแต่ยังขาดไป 1 พันกว่าล้าน
หรือจะสอดไส้เรือดำน้ำก็ดูจะเป็นโอกาสที่ดีนะครับ
ส่วนเรื่องศูนย์ฝึก ถ้ามาตั้งนี่ใครควรออกเงินให้ใครกันแน่ครับ
คุณ YUKIKAZE
เดิมที่เรามีโครงการซื้อกริพเพนแทน F 5 มิใช่รึ
แล้วอีกอย่างนโยบายเราเป็นแบบป้องกัน ไม่ใช่จู่โจมไม่ทิ้งระเบิดที่แผ่นดินเขา และอีกอย่างในมุมมองผม...
ซื้อกริพเพนมาแทน F5 เพื่อเอาไว้ป้องกันตัวก่อน เพราะช่วงนี้เพื่อนบ้านเสริมอาวุธหนักเยอะเลยต้องป้องกัน
อีกหน่อยถ้ามีงบประมาณมากพอ คงมีโครงการซื้อบินรบมาแทน F 16 เอง เราไปแบบทีละขั้นครับ
ปล. ที่เวียดนาม มาเล อินโด ต้องตาลีตากเหลือกซื้อบินรบใหญ่ๆหนักๆเพราะเขามีศัตรู มีข้อพิพาทกับพี่เบิ้ม จึงต้องรีบโดยไม่สนฐานเศรษกิจตัวเองเท่าไหร่
ถ้าเกิดเราได้ กริพเพนของแอฟริกาใต้มาในราคาถูกนี่คงแจ่มสุดๆ เลยทีเดียว รู้สึกแอฟริกาใต้บินอยู่ประมาณห้าหกลำเองมั้ง จำได้ไม่ชัดเจน และไม่ใช่แค่กริพเพน แต่ทั้งฮ. ทั้้งอะไรต่อมิอะไร ก็บินไม่ได้เพียบ เพราะไม่มีการวางแผนอย่างรอบคอบ และความอิ๊บอ๋ายทางเศรษฐกิจที่ซ้ำเติมด้วยการเป็นเจ้าภาพบอลโลก
ไม่เหมือนพวกตะวันออกกลางที่จ้างฝรั่งมาดูแลให้หมด หลายๆ ประเทศจ้างนักบินต่างชาติที่เป็นอดีตทหารอากาศ
กรณีแอฟริกาใต้นี่ยิ่งย้ำความสำคัญให้เห็นว่า ความพร้อมรบสำคัญมาก ดูแลถูก ค่าบินถูก ย่อมส่งผลต่อความพร้อมรบ กริพเพนเองก็ไม่ได้ล้าหลังหรืออ่อนอะไร แค่ลำเล็ก บินไม่ไกล ขนไม่หนัก แต่เอาเข้าจริงๆ เห็นสู้กันทีไรไม่เคยเห็นติดจรวดเต็มยศกันหรอก (ดีไม่ดีติดไปต้องมาโยนทิ้งตอนร่อนลง ฮา)
ส่วนเรื่องคนด่าหนีอะไร ผมว่าเราอย่าไปทับถมกันเลย กระทู้นี้ก็มันดีของมันอยู่ ส่วนใครเป็นไง อคติไงมันก็รู้ๆ กันอยู่แล้ว
Jas-39 ออกแบบมาเป็นเครื่องบินรบขับไล่สกัดกั้นเป็นหลัก เป็นเครื่องเชิงรับครับ ไม่ใช่เครื่องเชิงรุก ออกแบบให้ใช้เวลาในการเติมเชื้อเพลิง ติดอาวุธ ซ่อมเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆในเวลาอันสั้น แล้วสามารถกลับขึ้นไปประจำสถานีรบได้ในเวลาอันรวดเร็ว จะทำให้ฝ่ายเราแม้จะมีเครื่องน้อย ก็จะรู้สึกว่ามีเครื่องเยอะ อันเป็นประสบการณ์ที่ชาติต่างๆได้มาจากสงคราม 6 วันครับ ที่อิสราเอลสามารถติดอาวุธเติมเชื้อเพลิง ซ่อมเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหายด้วยเวลาอันน้อยนิด ทำให้เครื่องสามารถขึ้นไปทำการโจมตีข้าศึก ระลอกใหม่ได้รวดเร็วมาก
เครื่องออกแบบให้ใช้ถนนหลวงเป็นสนามบินได้ เพื่อแก้ปัญหาสนามบินถูกโจมตี เพราะคาดว่าถ้าถูกรัสเซียรุก สนามบินทั้งหมดคงถูกทำลาย
เครื่องสกัดกั้น ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เพราะพึ่งพาระบบเครือข่ายเรด้าร์ภาคพื้นดินและเรด้าร์ลอยฟ้า AEW&C จึงไม่จำเป็นที่จะต้องแบกเรด้าร์กำลังมหาศาลแบบ SU-30 mk
และด้วยภาระกิจขับไล่สกัดกั้นเป็นหลัก จึงไม่จำเป็นต่อการแบกอาวุธจำนวนมากไปโจมตี แต่ต้องแบกอาวุธอากาศสู่อากาศหลายแบบไปได้ โดยใช้เวลาในการขึ้นบินสั้นที่สุด และสามารถเร่งความเร็วไปถึงจุดสกัดได้เร็วที่สุด
และสุดท้าย ด้วยภาระกิจของมัน มันจึงต้องมีความสามารถทางการบินสูง เพื่อทำการ Dog fight ได้ยอดเยี่ยม จึงเป็นที่มาของปีกสามเหลี่ยมและคานาร์ด ครับ
ความทันสมัยของเครื่อง ผมยอมรับได้ว่าทันสมัยมาก ทัดเทียม SU-30 และ F-15 F-16 F-18 Mirage2000-5 แต่เนื่องด้วยพื้นฐานการออกแบบที่เน้นภาระกิจขับไล่สกัดกั้น ในด้านภาระกิจอื่นจึงอ่อนมากครับ เช่น ภาระกิจขับไล่ครองอากาศ ภาระกิจโจมตีทางลึก
ถ้าต้องการเครื่องที่ทำภาระกิจ โจมตี โจมตีทางลึก ขับไล่ครองอากาศ คงต้องจัดหาเครื่องแบบอื่นมาเพิ่มครับ ผมสนับสนุน T/A-50 สำหรับภาระกิจโจมตีครับ ราคาถูก ประสิทธิภาพในด้านการโจมตีและเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศนั้น ไม่น่าจะด้อยกว่า F-16
เครื่อง Jas-39 นั้น แม้ผู้ผลิตจะบอกว่ามันเป็น multiroll แต่พื้นฐานจริงในการออกแบบ คือ เครื่องขับไล่สกัดกั้น ดังนั้นภาระกิจด้านอื่นๆจึงด้อย และทำให้มันมีความอ่อนตัวในการนำไปใช้ในด้านต่างๆด้อยกว่าพวก multiroll แท้ๆ แต่มันจะเทพมากๆในด้านภาระกิจขับไล่สกัดกั้นเท่านั้นครับ
Jas-39 เมื่อทำงานเป็นทีมร่วมกับเครื่อง AEW&C หรือ AWAC จะมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่า F-15 SU-30 แน่นอนครับ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีเครื่อง AWAC เป็นพี่เลี้ยงให้กับทั้ง F-15 SU-30 ก็ตาม
ดังนั้นถ้าฝ่ายโน้นบุกเข้ามา Jas-39 รับมือได้หมดครับ
แต่ถ้าจะไปบุกฝ่ายโน้น ทอ. คงต้องพึ่งพาเครื่องแบบอื่นแล้วล่ะครับ Jas-39 ดูไม่เหมาะด้วยประการทั้งปวง (ผมถึงไม่ปลื้ม Jas-39 นัก เพราะมันไม่มีความอ่อนตัวสำหรับภาระกิจอื่นมากนัก)
และถ้าเมื่อไหร่ที่ ทอ. ต้องการเครื่องที่สามารถโจมตีทางลึก และทำภาระกิจขับไล่ครองอากาศเหนือดินแดนข้าศึกได้ แบบนั้น ต้องการเครื่องขนาดใหญ่ 2 เครื่องยนต์ บินไกล บรรทุกอาวุธได้เพียบ 8-11 ตัน แบบ F-15E SU-30 โจมตีกองเรือด้วยจรวดต่อต้านเรือระยะไกล โจมตีด้วยอาวุธแบบ Stand-off พูดง่ายๆ ทำภาระกิจเชิงรุก แบบนี้ ทอ. คงต้องหาเงินจำนวนมหาศาลมาซื้อเครื่องแบบใหม่เพื่อภาระกิจแบบนั้นโดยเฉพาะ
ในขณะที่เครื่องเชิงรุกพวกนี้ ก็สามารถทไภาระกิจขับไล่สกัดกั้นได้ดีเช่นกันครับ แต่ความได้เปรียบบางเรื่อง เช่น ขึ้นจากถนนหลวง หรือ ความประหยัดเชื้อเพลิง นั้น คงทำไม่ได้แบบ Jas-39
ด้วยเหตุนี้ผมถึงมองว่า Jas-39 นั้น เหมาะสมสำหรับภาระกิจขับไล่สกัดกั้นเท่านั้น ทำให้เมื่อต้องการทำภาระกิจอื่น จึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องแบบใหม่มาใช้งานอีก ซึ่งสิ้นเปลือง สู้จัดหา multiroll ดีๆ หรือเครื่อง strike fighter ดีๆ มาเลยดีกว่า เพราะเครื่องพวกนั้นทำทุกภาระกิจได้ดี แม้แต่ภาระกิจขับไล่สกัดกั้นที่ Jas-39 ทำได้ มันก็ทำได้ดีไม่แพ้กันครับ
ถ้า Gripen ติดอาวุธเต็มสูบแบบนี้ พร้อมกะมีเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ คอยให้การสนับสนุน มันก็พร้อมที่จะใช้ในภารกิจโจมตีเชิงลึกได้นะผมว่า
Swedish aerospace and defence company SAAB Group looks to Asia to develop new stealth fighter, according to Global Times, a tabloid under the auspices of the Communist Party mouthpiece People's Daily.
To compete against various types of fifth generation fighters including China's J-31 and Japan's ATD-X Shinshin, the SAAB Group has sought help from South Korea, Finland and Taiwan to develop its newest stealth fighter, the FS-2020, reports Global Times, Want China Times reported.
Saab is also said to be close to a cooperation with American airplane maker Boeing to offer JAS 39 Gripen fighter jets to the U.S. Air Force's educational TX.
http://www.swedishwire.com/business/18196-saab-looks-to-asia-to-develop-new-stealth-fighter
ผมคิดต่างจากท่าน neo เล็กน้อยครับ ผมเห็นด้วยว่า jas โจมตีทางลึก หรือ ครองอากาศ ได้ ด้วยกว่า Su30 หรือ f15 เพราะ นน บรรทุกน้อยกว่า พกอาวุธและเชื้อเพลิงได้น้อยกว่า จึงทำให้ บินบนอากาศได้ สั้นกว่า แต่ พิจารณาจาก 2 ประเด็นนี้นะครับ
1. การเข้าตีทางลึก ในยุคปัจจุบัน มีโอกาศที่ทอ จะไปโจมตีทางลึกไกลๆ ไหม ผมเดาว่ายาก จะมีก็แต่ แถบๆ ชายแดน ลึกเขาไปไม่มาก ประเภทบินไปร่วมพันกิโล คงไม่มี ดังนั้นระยะเวลาบินจึงไม่ใช้ปัญหา
2. การครองอากาศ โสืบเนื่องมาจากข้อ 1 พท การรบ มองว่า กองทัพไทยคงรบใกล้บ้านเป็นหลัก การครองอากาศคือต้องมี บ อยู่บนฟ้า ในห้วงเวลาที่เราต้องการ jas เป็น บ ที่ ใช้เวลา maintainance ต่ำ การเติมเชื้อเพลิิง การติดอาวุธต่ำ และเรามีสนามบินกระจายอยู่มาก การครองอากาศโเราอาจจะมี บ อยู่บนฟ้า 4 -6 เครื่องในแต่ละ ชุด สลับกันขึ้น ในพื้นที่ ซึ่งแน่นนอน รบใกล้บ้าน ใช้เวลาเดินทางเข้าพื้นที่ไม่นาน
ในกรณ๊ของโจมตี/คุ้มครองกองเรือ หากกองเรือเราอยู่ในน่านน้ำไทย หรือ อ่าวไทย ผมว่าก็เช่นเดียวกับ 2กรณีแรก เพราะมัน ไม่ได้ไกลมาก
นั้นคือสำหรับไทยนะครับ แต่ถ้าเราเป็น อินโด มาเล ฟิลิปิน jas อาจจะไม่เหมาะ เพราะ ประเทศเขา มี พท ทางทะเลมาก ไม่มีที่ให้บ ลงจอดง่ายๆ บ ต้องบินระยะไกลๆ ระยะเวลาบิน อาจจะมีความสำคัญมากกว่าเราเยอะ
การที่ SAAB ทำการปรับปรุงให้ Jas-39 NG มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในภารกิจโจมตีนั้นก็เพื่ออุดข้อด้อยของการออกแบบที่เน้นภาระกิจขับไล่สกัดกั้นเท่านั้น แม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถช่วยในเรื่องนี้ไปได้ไม่น้อยก็ตาม แต่ไม่ได้ออกแบบจากพื้นฐานแนวคิด Multiroll หรือ แนวคิด strike fighter ดังนั้น ในรุ่น NG จึงสามารถทำภาระกิจโจมตีได้ดีมากขึ้น แต่ยังไงก็ไม่อาจจะเทียบได้กับแม้แต่ F-16 50/52 เลยด้วยซ้ำ
แต่ถ้าเอา Jas-39 กับ F-16 50/52 มาดวลกันกลางอากาศ โดยเฉพาะเมื่อเข้า dogfight แล้ว F-16 คงสู้ไม่ได้แน่นอนครับ
แต่ถ้า F-16 50/52 ติดตั้งถัง CFT และกระเปาะชี้เป้าเดินอากาศและระบบสงครามอิเลคทรอนิดแล้วไซร้ ในภาระกิจโจมตี หรือ โจมตีทางลึก นั้น Jas-39 ยังไงก็เป็นรองอย่างมากอยู่ดีครับท่าน GTO
ถ้าจะว่าไปเปรียบเทียบ คล้ายๆเครื่อง T-50 ที่พื้นฐาน คือ เครื่องบินขับไล่ multiroll แต่ดันยัดเยียดเอาไปทำเครื่องบินฝึก LIFT อย่างไรก็อย่างนั้นล่ะครับ
ส่วนที่ว่า ทอ. เลือกเครื่องเชิงรับเป็นหลักน่าจะเป็นด้วยเหตุผลตามที่ท่าน skysky กล่าวไว้น่ะครับ คือ ทอ. คงประเมินว่ายังไงซะสงครามใหญ่ระหว่างเพื่อนบ้านแบบสมัยก่อน ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกในระยะเวลา 20-30 ปีนี้ น่าจะมีปัญหากันที่ชายแดนมากกว่าจะรุกเข้าไปถึงตอนในของประเทสเพื่อนบ้าน จึงตัดสินใจเลือกเครื่องขับไล่สกัดกั้นแบบเทพๆเอาไว้ก่อน และมีค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการต่ำมาก และสามารถดำรงความพร้อมรบง่ายกว่าเครื่อง strik fighter เทพๆ ด้วย รวมถึงราคาต่อหน่วยที่ต่ำกว่า strike fighter แบบ F-15E SU-30 MKT(คำนวณค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน)
และในอีกมุมมองหนึ่งของผม ที่ทอ. เลือกเครื่องแบบนี้ เพราะภูมิประเทศ ที่ตั้งของเราได้เปรียบมากในเรื่องที่สามารถวางกำลังเครื่องบินขับไล่ โจมตีเบาไว้ตามจุดสำคัญก็สามารถบินปฎิบัติการได้ไกลโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องขนาดใหญ่ เช่น
วางกำลังไว้ที่ สนามบินสงขลา เครื่อง Jas-39 F-16 (ไม่มีถัง CFT) ก็มีรัศมีปฎิบัติการครอบคลุมจุดสำคัญมากๆของเพื่อนบ้านอย่างมาเลย์และสิงคโปร์ได้ และสามารถบินไปถึงเกาะเบอร์เนียวเหนือได้ด้วย
ถ้าวางกำลังที่กองบิน 41 ที่เชียงใหม่ ก็สามารถบินครอบคลุมจุดสำคัญของพม่าได้แทบทั้งหมด
ถ้าวางกำลังไว้ที่อุบล ก็สามารถบินไปถึงเมืองท่า ไฮฟอง และอาจจะไปถึงไซง่อนได้
และ ทอ. คงพิจารณาแล้วว่า ถ้าต้องปฎิบัติการไกลถึงทะเลจีนใต้นั้น ควรเป็นหน้าที่ของ ทร. เสียมากกว่าครับ เพราะ ทร. มีแผนการจัดหาเรือบรรทุกบ.เบา 2 ลำ และได้ทำการจัดหามาแล้ว 1 ลำ ซึ่งสามารถปฎิบัติการได้ถึงทะเลจีนใต้ (ที่ตอนนี้มันร้อนขึ้นมามากโขทีเดียว)
ส่วนภาระกิจโจมตีนั้น สำหรับในตอนนี้ F-16 ทั้งหมดที่มี โดยเฉพาะฝูง 403 ที่กำลัง MLU นั้น มีประสิทธิภาพสูงมากในการบินเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศ จึงน่าจะเพียงพอสำหรับภาระกิจโจมตี พูดง่ายๆ มีเครื่องโจมตีแบบ multiroll ที่เทพๆ อยู่แล้วครับ
และเมื่อ f-16 ฝูง 102 103 ปลดประจำการเมื่อไหร่ ทอ. ฝันจะจัดหา F-35 มาใช้งงานแทน
แต่ผมว่า ถ้าเป็นแบบนั้น ภาระกิจโจมตีและโจมตีทางลึกของเราจะด้อยลงไปอย่างมากครับ เพราะดูแล้ว ผมไม่มั่นใจว่า F-35 จะทำแบบนั้นได้เก่ง เพราะการที่มันเน้นเสตลธ์มากเกินไป ทำให้บรรทุกอาวุธทั้งภายในภายนอกได้น้อยไป และราคาที่สูงมากของเครื่อง ถ้าจะเอามันไปทำภาระกิจโจมตีเป้าหมายหน่วยยานเกราะที่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศคุ้มครอง หรือ โจมตีสนามบิน หรอื CAS มันดูจะไม่คุ้มเลย เพราะถ้าถูกยิงตก จ๋อยมากครับ ทำภาระกิจขับไล่ครองอากาศ ดูน่าจะเหมาะสมกว่า
ดังนั้นเมื่อ F-16 ปลดเหลือแค่ 1 ฝูง ในความคิดผมนั้น ทอ. น่าจะมีจุดบอดในเรื่องภาระกิจโจมตีธรรมดา CAS ส่วนโจมตีทางลึกนั้น F-16 MLU น่าจะยังรองรับได้อยู่
ถ้าตามความต้องการของ ทอ. แล้ว ต้องการเครื่องขับไล่สกัดกั้น 3 ฝูงบิน ก็คงเป็น Jas-39 ทั้งหมด และ เครื่องสเตลธ์ f-35 2 ฝูงบิน ทำหน้าที่ขับไล่ครองอากาศ และ โจมตีทางลึก พูดง่ายๆ strike fighter
ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมไม่มั่นใจว่า f-35 จะทำหน้าที่โจมตีทางลึกได้ดี ส่วนหน้าที่ขับไล่ครองอากาศนั้น ผมพอยอมัรบได้ แต่ไม่เต็มร้อยครับ
แล้วหน้าที่โจมตี และ CAS เดิมของ F-16 จะมอบให้ jas-39 นั้นผมไม่เห็นด้วยครับ
แต่ก็โชคดีหน่อยที่ f-16 ยังออกลูกมาให้เราใช้ได้ต่อ นั่นคือ T/A-50 และ A-50 ซึ่งประสิทธิภาพอย่างที่ผมเคยลงความเห็นไว้ คือ ใกล้เคียง F-16 block 40/42 มาก โดยเฉพาะ A-50 ที่ระบบเรด้าร์ EL/M-2032 นั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียง APG-68 v5 และราคาก็ไม่แพง ซึ่งถ้า ทอ.จัดหา A-50 มาทดแทน alpha jet จำนวน 2 ฝูง เออ แบบนี้ผมว่า OK.
ส่วนภาระกิจโจมตีเบาและ CAS นั้น super tucano น่าจะเหมาะสมกว่า โดยมาแทน AU-23 เป็นหลักครับ
ด้วยที่ตั้งของประเทศ และความเสี่ยงในเรื่องการเกิดสงครามใหญ่ถึงขนาดต้องออกไปปฎิบัติการไกลมาก มันมีโอกาสน้อย และก็มีเครื่องที่เป็นลูกของ F-16 มาให้เลือกใช้ในอนาคต ผมจึงเห็นว่า
" ไหนๆก็ไหนๆแล้ว jas-39 3 ฝูงบินขับไล่ไปเลยก็ ok. ครับ"
แต่ควรมี strike fighter สัก 2 ฝูง (ไม่ปลื้ม f-35 มาก) และ ควรมีเครื่องโจมตีที่เทียบเท่า f-16 ในราคาย่อมเยาว์มาด้วยสัก 2-4 ฝูงครับ (เชียร์ T/A-50 A-50 ออกหน้า)เพื่ออุดช่องว่างในยามที่ F-16 ปลดไปแล้วทั้งหมดครับ
ที่ท่าน นีโอ กล่าวมานั้นผมเห็นด้วยเกือบทั้งหมดนะครับ เว้นแต่เรื่องที่ว่า ถ้า แจส 39 Dogfight กับเอฟ 16 แล้ว เอฟ 16 สู้ไม่ได้แน่นอน อันนี้ เห็นต่างมากครับ ผมกลับมองว่า เอฟ 16 ซิครับน่าจะเหนือกว่า อาจได้กันคนละหมัด ขึ้นอยู่กับฝีมือนักบินด้วย แต่เรื่องความสามารถของ บินรบแล้ว สู้ประชิด เอฟ 16 ไม่เป็นรองแน่นอน เรื่อง ความคล่องตัว สูสี แต่ แรงขับ เอฟ 16 กินขาด แล้ว มันก็เป็นสิ่งสำคัญในการสู้ระยะประชิด หรือ ที่เรียกกันว่า Dogfight ส่วนตัวชอบ ครับ แจส 39 แต่ เอฟ 16 นี้ขาดไม่ได้ ถ้าให้ดี ผมกลับมอง ว่า เอา เอฟ 15 เอสอี มาแทนในโครงการ ที่จะจัด เอฟ 35 ดีกว่าไหม ลง โคราช เลย 1 ฝูง 18-24 ลำ พอเลย ที่เหลือก็จัดแจส 39 เพิ่ม อัพเกรด เอฟ 16 เท่า นี้ ฝูงบินรบของเราก็สุดจะเทพแล้ว และก็เป็นอีกทางไปของนักบิน แจส39 กับ เอฟ 16 ว่าจะไปไหน ไป เอฟ 15 เอสอี ไงครับ...อิอิ
ส่วนเรื่องที่ว่า ถ้าเราจะต้องตอบโต้ โดยการบินไปโจมตีเขากลับคืนบ้าง(กรณีเขามาเยียมเราถึงบ้านแล้วโดน แจส 39 สวนไปแล้ว จะเอาคืนสักดอก...) แน่นอนครับ ที่่ๆเราจะไปนั้นไม่อยู่แถวตะเข็บชายแดนแน่นอน มันต้องเป็นจุดสำคัญ ลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก นี้แหละครับที่เครื่องประเภท 2 ยนต์ จะได้เปรียบ คิดดู เอฟ 16 โหลดไปเต็มๆ กับน้อง แจส 39 โดยมี พี่ใหญ่ อย่าง เอฟ 15 เอสอี ไปด้วยมันจะดีขนาดไหน เรื่องต่อ ระยะโดยบิน เติมเชื้อเพลิงเห็นจะไม่สม เท่ากับการ มีเครื่องอย่าง เอฟ 15 (เอฟ 16 /แจส39 โหลด อาวุธ อากาศสู่พื้น/ระเิบิด+ถังเชื้อเพลิง เอฟ 15 โหลดอาวุธปล่อยต่อสู้อากาศยานเต็มๆ)
ปล. ความเห็นส่วนตัวนะครับ เห็นต่างเห็นแย้ง ไม่ว่ากันครับผม ขอบคุณครับ
ผมกลับไม่ปลื่ม T/A 50 สักเท่าไหร่ และผมคิดว่า เรา สามารถมี เครื่องขับไล่หลัก ได้ไม่กี่ตระกูลพร้อมกัน
ในเมื่อ วางตัว Jas = F5 แล้ว คง ไม่เอา T/A50 มาด้วยแน่ๆ
ก่อนที่จะซื้อเครื่องบินโจมตีทางลึกผมว่าต้องมาดูหลักนิยมก่อนว่าเราจะเอาแบบไหน
ต้องการใช้เพื่อโจมตีโรงงานผลิตอาวุธ ฐานทัพ ฐานเรดาร์หรือจุดยุทธศาสตร์ต่างๆในกรณีมีการปะทะกัน เพื่อทำลายหลังแนวข้าศึก กดดันให้ข้าศึกเจรจาหยุดยิง หรือใช้ในสงครามเต็มรูปแบบเพื่อทำลายขีดความสามารถในการรบยืดเยื้อของข้าศึก หรือใช้ในการ ‘เอาคืน’กรณีโดนเล็ดลอดเขามาได้ หรือใช้ในการทำลายภัยคุกคามเฉพาะจุด เช่นโรงงานไฟฟ้าเพื่อสันติ หรือฐานมิสไซล์ข้ามทวีป แบบที่ประเทศมิตรน้อยแถวตะวันออกกลางทำอยู่บ่อยๆ (ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับประเทศที่กำลังฝึกขุดอุโมงค์อยู่ ฮา)
ซึ่งก็ต้องดูด้วยว่าเพื่อนบ้านเรา(หรือศัตรูในกรณีนี้ ฮา) มีขีดความสามารถต่อต้านอากาศยานแค่ไหนด้วยครับ
ถ้าจะใช้ในภารกิจลับ ถล่มอุโมงค์ ลุยดุ่ยๆเข้าไป F15 SE ผมว่าไม่เวิร์ค เพราะเสตลธ์แค่ด้านหน้า ราคาร้อยล้านดอลล์ แถมโหลดระเบิดเขื่องๆเข้าช่องในลำตัวไม่ได้ ได้แต่มิสไซล์ a-a (หรือใส่ระเบิดได้ผมก็ไม่รู้นะ) ผมว่ามันเหมือนเครื่องครองอากาศมากกว่า ถ้าจะโหลดระเบิดยั้วเยี้ยก็ไปซื้อ F 15E ธรรมดาดีกว่า ไปถล่มเที่ยวเดียวราบคาบแก้ว
ถ้าเราจะใช้ในการล้างบางจุดยุทธศาสตร์ข้าศึก กรณีระบบป้องกันภัยข้าศึกกระจอก อันนี้ว่ากัน เอา strike eagle ไปเลย อยากบอมบ์อะไรบอมบ์ ไม่มีใครขวาง แต่ถ้าข้าศึกมีระบบป้องกันภัยที่ดี ก็ต้องมีการทำลายระบบที่ว่านี้ก่อนที่จะเข้าไปบอมบ์เล่นได้ ถ้าเป็นอเมริกา ซึ่งแกมีเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่เสือกสเตลธ์อย่าง B2 ก็เอาเจ้านี่แหละไปหว่านระเบิดใส่ฐานเรดาร์จนเกลี้ยง จากนั้นอยากปู้ยี่ปู้ยำก็ตามสบาย
อีกวิธีก็แบบที่ทำการสาธิตไปเมื่อไม่นานที่ประเทศที่มีนายพันเอกที่ชอบนุ่งจีวรเป็นเผด็จการอยู่ ซึ่งกรณีนั้นเราต้องมีอวป.จะร่อนหรือจะบอลิสติกก็ได้ แต่ต้องระยะยิงไกลพอ จำนวนมาก หลายร้อยลูกทีเดียว (ยิงไม่ค่อยจะโดนซะด้วย) ก็ไม่รู้ว่าใครจะขายให้ ชาตินี้จะมีใช้หรือเปล่า หรือรอ DTI ผลิตลูกยาวมา ก็ย้อนกลับไปดูประโยคที่แล้วเพราะวิจัยไม่ใช่ง่ายๆ เอ้ยไม่ใช่
อีกวิธีก็คือการใช้โจมตีทางอิเล็กทรอนิคเข้าทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึกเป็นง่อย ด้วยเครื่องบิน หรือปฎิบัติการ SEAD
สรุปคือเราจะมีเครื่องบินโจมตีทางลึกอย่างเดียวไม่ได้ (กรณีที่ข้าศึกไม่กระจอกงอกง่อยจนเกินไป เพราะปัจจุบันยังไม่มีเครื่องบินโจมตีทางลึกที่เสตลธ์ เพราะไม่รู้จะเอาอาวุธไปยัดไว้ที่ไหนนั่นเอง) ต้องมีระบบอื่นๆเข้ามาช่วย
ส่วนตัวผมว่าถ้าเราจะซื้อ ซื้อระบบสงครามอิเล็กโทรนิคดีกว่า ตั้งฝูงบิน sead เลยถูกสุดแล้ว ทำลายเครื่อข่ายเรดาร์ได้ก็สบายแล้ว เพราะต่อให้มันมีเอฟ22จอดเรียงเป็นแพ แต่ถ้าเครื่อข่ายเรดาร์ไปหมดแล้วก็เหมือนนอนรอให้เราไปขยี้เล่นเท่านั้นเอง เอาเอฟห้าไปยังได้(ฮา) นอกจากนี้ยังเข้าไปโจมตีอุโมงค์เพื่อนบ้านได้ จัดเป็นฝูงไปมีขนบังเกอร์บัสเตอร์(ไม่มีใช้หรอก) ลำนึง ติดแจมเมอร์ไปอีกลำ ถ้าไม่พอมีอีกลำขนอวป. a-a ไปเป็นพวงก็ได้
ส่วนเอฟสามสิบห้าผมว่าปล่อยๆมันไปเห๊อะ กว่าอเมริกาจะทดแทนเครื่องบินเก่าครบ (ทุกประเภทยกเว้นเอฟสิบห้า เป็นพันๆลำ) กว่าพันธมิตรร่วมหุ้นที่จองกันจนจะยกเลิกการจองกันหมดแล้ว กว่าชาติที่รวยๆหากินกับน้ำมันประเภทอยากได้ปุ๊บตบโต๊ะอนุมัติเลย ไม่ต้องเด้งเข้าเด้งออกเจอม็อบ ติดสภา ไม่ผ่านซักที กว่าเราจะได้ซื้อเลิกผลิตไปแล้ว(ฮา) แพงก็แพง บินก็ช้า ขนอาวุธก็น้อย ดีแค่สเตลธ์กับเรดาร์ (ซึ่งเปิดไปก็หายเสตลธ์กันพอดี พับผ่า)โคตรดี แถมเจอเครื่องบินติดแจมเมอร์ดีๆอาจจะยืนงงเพราะยิงไม่ได้ โดนระบบจับภาพแบบที่ราฟาลมีล็อกเป้าเข้าไปอีก เงิบ ฮา
เหยดดดดด เมนท์ที่ร้อยพอดี
รอบนี้ผมเห็นด้วยกับท่าน SeriesVll คือ ผมคิดเหมือนกันที่น่าจะมี F15SE สัก 24 ลำ ไว้ครองอากาศและโจมตีทางลึก ที่เหลือที่เป็นส่วนใหญ่ก็ F16MLU กับ JAS39 รวมกันสัก 5 ฝูง สำหรับ F15SE อาจแบ่งเป็น 2 ฝูงๆล่ะ 12 ลำ ไว้ที่กองบินที่อยู่ชั้นในของประเทศ เช่นโคราชและนครสวรรค์ เพราะ ต้องการให้ บ.ฝ่ายตรงข้ามหากจู่โจมบุกเข้ามาต้องผ่านด่าน F16 Jas39 ที่อยู่ตามแนวชายแดนก่อนทำให้มีเวลาให้ F15 บินขึ้นไปช่วยได้ทัน และการไว้ที่เดียวอาจมีความเสี่ยงถูกทำลายทั้งหมดหากถูกโจมตีโดยการจู่โจมได้จึงต้องแบ่งเป็น 2 ฝูงบิน
ส่วนเครื่อง Tucano เรื่องประสิทธิภาพผมยอมรับเลยว่าดีจริง แต่ผมมองต่างมุมนิดนึงตรงที่ ผมคงเลือก P21 ของสวิสฯ เนื่องจาก เรามี P9 เป็นเครื่องฝึกบินอยู่แล้ว และสวิสฯก็ใช้ Jas39 ด้วย ผมจึงมองว่าในอนาคตไทยน่าจะสามารถมีโครงการพัฒนาอะไรร่วมกันได้ ระหว่าง สวีเดน สวิสฯ และไทย เช่น โรงงานประกอบเครื่องบินร่วมทุนในไทย เพื่อประกอบ เครื่อง P21 Jas39 เพื่อส่งออกในแถบเอเชีย เป็นต้น ครับ
ผมับมองว่า f15 ไม่workณวันนั้น กว่าเราจะซื้อบใหม่ อาจจะอีก10ปีข้างหน้าสำหรับฝูงใหม่นะ ผมว่าบgen5เช่นpakมาแน่ๆ เราควรมองบgen5มากกว่า อาจจะไม่ใช่f35ก็ได้ แต่ควรเป็นgen5 อย่างที่กล่าวไป ผมมองว่าการโจมตีทางลึกในภูมิภาคนี้ไม่น่าเกิด และหากจะทำจริงๆเราควรใช้ จรวดหรือ จรวดร่อนalumมากกว่าครับ เพราะถ้่า บ โดนยิงตกไป ทอ มีขีดความสามารถที่จะส่ง ฮ. ไปรับนักบินหรือไม่ถ้าเป็นการโจมตีทางลึก จรวดพวก alcm เช่น storm shadow หรือkepd350จะเหมาะกว่า
ถ้าจะจัดหาบ.พวก 5th Gen. ก็น่าจะเข้าไปร่วมในโครงการ FS-2020 ของ SAAB หรือ KFX ของเกาหลี + อินโดฯ ไม่แน่อาจจะรวมกันเป็นโครงการเดียวกันก็ได้ หรืออาจใช้พื้นฐาน(Platform)เดียวกันเพื่อลดต้นทุนทั้งในการผลิตและการดูแลรักษา รวมทั้งโอกาสขยายตลาดให้ได้กว้างยิ่งขึ้น
ส่วนตัวผมมองว่า หากจะใช้ กริฟเฟนแล้ว ก็ควรใช้ กริฟเฟน ให้หมด จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เราไม่ควรจะมีเครื่องบินมากแบบจนเกินไป เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุน การซ่อมบำรุง และความพร้อมรบ เพราะส่วนใหญ่เราจะเน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก และควรจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินในประเทศให้เข้มแข็ง อาจส่งเสริมให้ บ.ซาบ เข้ามาตั้งโรงงานผลิต หรือ ซ่อมบำรุงในภูมิภาค โดยทำเป็นศูนย์กลางบิน ครบวงจรในภูมิภาคเอเซีย ตามปณิธานที่ตั้งไว้ ซึ่งตรงนี้ เราคงต้องเน้นปริมาณการใช้งานของเครื่องบินซาบ (ไม่เฉพาะแต่เครื่องบินรบ) ให้มากขึ้นเพื่อจูงใจบริษัท ก็จะช่วยพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ ทางด้านการบินของเราอย่างยั่งยืน และควรร่วมพัฒนาเครื่องบินกับซาบ ใน เจนฯ 5 และต่อๆไปด้วย ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แก่เราเอง และบริษัทซาบ ก็ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์แค่เครื่องบินอย่างเดียว ยังมีระบบอาวุธ ผลิตภัณฑ์อื่น อีกมาก ซึ่งตรงเราอาจได้อานิสงค์อีกหลายอย่าง
ส่วนในเชิงป้องกันของเราเอง ก็ควรให้ DTI เป็นหัวหอกหลักในการพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคง พื้น สู่ พื้น ได้แล้ว ก็ควรพัฒนา พื้น สู่ อากาศ, อากาศ สู่ อากาศ, อากาศ สู่ พื้น เป็นต้น ซึ่งบางส่วนเราก็ได้เริ่มแล้ว ผมว่ามูลค่าการวิจัยและพัฒนา จรวด คงไม่มากไปกว่าการจัดหาเครื่องบิน ต้นทุนในการผลิตจรวด ก็ต่ำกว่า เครื่องบิน ถ้าสร้างได้เองเป็นจำนวนมาก ต่อให้ข้าศึกยกเครื่องบินมาทั้งฝูง ก็คงเจาะเราได้ยาก ควรเน้นหลักการพึ่งพาตนเองให้มาก และต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่แน่ จรวดที่ผลิตได้เอง เราอาจเป็นชาติแรกในอาเซียนที่สามารถส่งดาวเทียม มนุษย์ขึ้นสู่อวกาศแบบเบ็ดเสร็จได้เป็นชาติแรกของอาเซียนก็เป็นได้ มันจะน่าภูมิใจกว่าเยอะ แม้จะใช้เวลานานกว่า เป็นผู้บริโภคซื้อเค้าเอาก็ตาม มีคนบอกว่าซื้อเค้าเอามันเร็วกว่า ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทันที ไม่ต้องเสียเวลามาคิดพัฒนา จริงอยู่ กองทัพจะพัฒนาได้เร็ว แต่ข้างในจะกลวงมาก หากเกิดภาวะสงคราม ประเทศผู้ผลิตไม่ส่งอะไหล่ หรือ ส่งให้เราไม่ได้ หรือ มีเรื่องกับประเทศผู้ผลิต หรือ ประเทศผู้ผลิตให้การสนับสนุนอยู่ เราจะง่อยทันที ตัวอย่างก็มีให้เห็นแล้ว ก็อยากให้ผู้บริหาร หรือผู้ใหญ่ได้ตระหนักและพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่าเห็นแก่เล็กแก่น้อย ปิดประโยชน์ที่ประเทศ และลูกหลานของเราจะได้ในอนาคตครับ
ภาพประกอบผมขอยืมจากเพื่อนสมาชิกในเว็บนะครับ พอดีผมจำชื่อท่านไม่ได้ ต้องขออภัย
จะซื้อพวก f-15 นี่ต้องถามเขาก่อนว่าจะขายหรือเปล่า ฮา แต่ผมมองว่ากว่าเราจะซื้อจริงๆ ก็เก่าเกินแล้วมั้งครับ และก็เรื่องความพร้อมรบว่าเอามาแล้วจะบินได้หรือเปล่า
เรื่องการโจมตี ผมว่า รอบๆ บ้านเราน่าจะเอาไหว
ถ้าถามถึง F-15 นั้น ถ้าจำไม่ผิดวันที่รับมอบ F-16 ชุดแรกๆนั้น นักข่าวได้มีการสอบถามกับท่านผบ.ทอ.ในตอนนั้น (พลอากาศเอกวรนาถ อภิจารี) ว่าทาง ทอ.ไม่สนใจ F-15 บ้างหรือ ท่านตอบว่า ก็สนใจอยู่ แต่เราไม่มีกำลังพอที่จะซื้อ F-15ครับ ถ้าแปลแบบบ้านๆคือ ถ้าจะซื้อทางสหรัฐก็ขายครับ ขนาด F-18 ยังมีการตกลงซื้อขายกันมาแล้วไม่ใช่หรือครับ แต่เจอพิษเศรษฐกิจเข้าไป เลยต้องเปลี่ยนเป็น F-16 ADF มือ 2 แทน
กด LIKE ให้ท่าน tommy ครับ
ผมเห็นด้วยกับท่าน toeytai ครับว่า การที่เราจะมีส่วนกองบินเชิงรุกกับเขานั้น ทอ. คงต้องถามว่าเรายังยืนยันที่หลักนิยมป้องกันตัวและต้องทบทวนว่าในอนาคต 20-30 ปีนี้ สถานะการณ์รอบบ้านจะยังคงสงบเหมือนเดิมต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะจีนเป็นตัวกระตุ้นทั้งภูมิภาคแล้วล่ะก็ ทอ.คงต้องมีการทบทวนหลักนิยมกันใหม่
เอาเป็นว่าฝาก ทอ. พิจารณากรณีจีนสร้างแรงกดดันทำให้ดุลอำนาจและความเสี่ยงในสงครามใหญ่มีมากขนาดไหน ถ้ามีความจำเป็นสูงที่จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับกำลังเชิงรุก แบบนี้ก็คงต้องมีการพิจารณาจัดหาแล้วครับ
สำหรับฝูงบินเชิงรุกนั้น คงต้องมีเครื่องสนับสนุนสงครามอิเลคทรอนิคแบบที่ท่าน toeytei กล่าว รวมถึงการจัดตั้งฝูง wild weasel เพื่อทำการกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศ และในส่วนของ ทบ. คงต้องมีการปรับปรุงกองบินทหารบกและหน่วยยานเกราะและระบบป้องกันภัยทางอากาศแก่หน่วยยานเกราะใหม่ทั้งหมด
ดังนั้นถ้าจะใช้เครื่องบินเชิงรุก ก็ต้องมีสิ่งอื่นประกอบอีกมากทีเดียวครับ
ปล. ผมมอง T/A-50 A-50 ในภาระกิจโจมตีธรรมดา แบบที่ A-4 ทำครับ โดยเฉพาะเมื่อ F-16 ทุกฝูงถูกปลดประจำการแล้วเราจะไม่มีเครื่องที่ทำภาระกิจแบบนี้โดยตรงเลย เพื่อทำการกวาดล้างหน่วยยานเกราะของข้าศึกที่มีขีดความสามารถในการต่อต้านอากาศยาน ซึ่งเพื่อนบ้านแถบนี้หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับม้นมากขึ้นมาก เครื่องไม่ต้องหรูขั้นเทพ แต่ต้องออกแนวๆพวก best buy และต้องดีพอที่จะเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศได้ด้วยครับ ซึ่ง T/A-50 A-50 ตอบโจทย์นี้ได้ดี
รวมถึงการทำลายที่ตั้งปืนใหญ่ MLRs คลังอาวุธใกล้แนวรบ สนามบินในแนวหน้า หน่วยที่ตั้งทางทหารในแนวหน้า และมีระบบป้องกันภัยทางอากาศคุ้มครอง ต้องบอกเลยว่าเพื่อนบ้านแถบนี้กำลังพัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศดีขึ้น ดีขึ้น จนน่าเป็นห่วงครับ
ส่วนการโจมตีทางลึกนั้น ถ้าสถานะการณ์เปลี่ยน ค่อยว่ากันทีหลังได้
กด LIKE ให้ท่าน TWG ครับ ไม่จำเป็นต้อง F-35 ก็ได้..........
มีเวลาเลือกอีกนานครับ พิจารณาดีๆ
ผมสงสัยว่าทำไมชอบมีคนบอกว่า ทอ. อยากได้ F-35 มาก (คือ ทอ เค้าอยากได้จริงๆรึเปล่า ผมสงสัย)
ผมว่าประเทศเราสนามบินมันก็เยอะอยู่แล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้องเอาเครื่องที่ขึ้นลงทางดิ่งมาเลยหนิ ผมว่าถ้าเทียบกับราคาแล้วมันไม่คุ้มเลยนะ เว้นแต่ว่าจะเอามาลงเรือจักรี แต่ภารกิจของเรือจักรีมันก็ไว้บรรทุก ฮ อีกอ่ะ ผมว่ากว่าเราจะได้ F-35 มา เรือจักกรีก็คงใกล้ปลดแล้วหละครับ
ผมว่าถ้าอยากได้เครื่องสเตลล์อ่ะนะ แทนที่จะซื้อ F-35 ไปรอซื้อ FS2020 ดีกว่า อย่างน้อยเค้าก็ไม่กักเทคโนโลยีเท่าฝ่ายนู้นเค้า
ความเห็นผมมองว่าหลักนิยมของเรามันก็ควรพัฒนาขึ้นตามลำดับครับจากป้องกันอย่างเดียว เป็นสวนคืนได้ด้วยผมว่ามันควรเริ่มพัฒนาไปเป็นจุดนั้นได้แล้วจากการจุดประกายของพี่เบิ้มให้กับภูมิภาคนี้
ทีนี้มามองว่า 5 ฝูงขับไล่ 3 ฝูงโจมตีในอีก 10-15ปีข้างหน้า
ในส่วนของฝูงขับไล่ผมเลือก
3 ฝูง Gripen เนื่องจากเรานี้รักสงบครับ เพราะงั้นถ้าเกิดเหตุขึ้นมาให้น้ำหนักว่าเกิดแถวบ้านซะมาก ก็เอาแบบซ้อมเยอะๆจนเก่ง
เตรียมตัวเร็ว ขึ้นไปรุม บวกฝีมือ บวกพี่เลี้ยง กลับมาเติมใหม่ไปรุมมันอีกรอบ(โม้) แค่นี้ในบ้านหายห่วงคนมันฝึกได้บ่อย
ซะอย่าง เครื่องก็เกิดมาเพื่อตั้งรับอยู่แล้ว ออฟเซ็ตก็ดูค่อนข้างมีอนาคต ดังนั้นเราได้มา 1 อีก 2ก็หามาแทน F-5 กับ F-16
1 ฝูง F-15E ก็แทน F-16 แหละครับ ถึงจังหวะก็เริ่มมองหามือสองสภาพพอควร ความจริงผมก็ยังไม่โอเคกับความคิดนี้เท่าไหร่เพราะมัน
เหมือนหามาขัดตาทัพ แล้วต้องเสียตังค์ซื้อนู่นนี่เพิ่มอีก แต่เอามาแก้ขัด Gen5th ไปก่อน สวนได้ หมัดหนัก แบกเพียบ
ตะลุยเก่ง เอามาฝึกให้ได้เท่ากับที่เพื่อนบ้านเราฝึกเครื่องพี่หมีก็พอ เอาแบบพอน้อง Jas ไล่กลับบ้านไปได้พี่ก็บินตามเค้า
กลับไปด้วยกันเลย เดี๋ยวให้น้อง Jas แวะถนนติดถังน้ำมันตามไปคุ้มกัน ใช้จนหมดสภาพก็คงพอขู่ให้แถวนี้คิดหนักได้อยู่
1 ฝูง F-16 อ้าวทำไม F-16 ล่ะครับ ก็แหม่ใน 15 ปีนี้ผมว่า Gen5th มันยังไม่ได้เกิดหรือไม่ได้ซื้อ ดังนั้นมีอะไรก็ใช้ไปก่อนครับ
ดูแลเค้าดีๆ อัปเกรดเค้าหน่อย เค้าก็อยู่กับคุณได้อีกซักพัก อย่างน้อยก็อเนกประสงค์ ชำนาญ อุปกรณ์เพียบ เอา 3 ฝูง
มารวมกันก็อะไหล่บวกเครื่องสำรองเพียบ ทีนี้ถ้าจะหา Gen5th มาผมก็ไม่เห็นด้วยกับ F-35 ถึงแม้ ทอ.จะบอกว่ามัน
คือ target ก็เหอะนะ เพราะมันคงแพงระยับแถมคิวยาว เอาแค่อเมริกาคนเดียวก็รอจนเก่า(แต่ซื้อราคาเท่าตอนออก
ใหม่ๆตลอด)เราก็จะได้ของที่ราคาแพงแต่เป็นเทคโนโลยีที่ผ่านมาซักพักแล้ว แล้วเราพึ่งได้ใช้ งั้นเราก็ควรมองหาจาก
ที่อื่นเช่น รัสเซีย สวีเดน จีน เกาหลี ยุโรป มันก็แพงพอๆกันเทคโนโลยีพอๆกันแต่ได้ใช้ก่อน หรือจะเอา F-15มาแทน
ทันทีเลยผมก็โอเคนะ แล้วค่อยเก็บตังค์รอยุค Gen5th เต็มตัว
ทีนี้ขอฝูงโจมตีนิดนึง มีอยู่ 3 ใช่มั๊ย งั้นขอเป็น
2-3 ฝูง เอิ่มมม ก็มี F/A-50, M-346, Yak-130, Hawk Family(งง ไม่รู้เอาตัวไหนดี) แล้วก็ L-15 from china เลือกมาซักแบบครับ
มันหนีไม่พ้นในนี้หรอก(มั้ง) จะระเบิดภูเขา เผากระท่อม ยิงรถถัง สมัยนี้ใบพัดดูจะไม่ทันกินแถมจะโดนเค้ากิน ก็จัดมาแบบ
พื้นฐานเดียวกันน้อยแบบเข้าว่า เผลอๆก็หามาทำเครื่องฝึกเปลี่ยนด้วยเลย ประกองเองด้วยเลย
1 ฝูง Super tucano เรื่องของเรื่องคือทรงมันสวยครับ เอ๊ะไม่ใช่ คือแบบว่าเผื่ออยากกินลมชมวิว รบกับคนในบ้าน หรือที่กล่าวมาด้าน
บนถล่มข้างบ้านจนพอใจเป็นง่อยไปแล้ว ก็บินตรวจไปเรื่อยๆเจอเหลือตรงไหนก็จัดให้เค้าไป หรือจะบินชมหมู่เกาะ
หรือจะใช้ต้อนรับแขกบนหัวหาด สำหรับกรณีที่หาข้างบนมา 2 ฝูงนะครับ
นี่คือความคิดผมที่ประกอบด้วยการณ์มั่ว(ไม่เคยเสนอข้อมูลด้านเทคนิคเลย) บวกกับการณ์วิเคราะห์ว่าเป็นแนวทางที่เราน่าจะทำได้
แต่จะตรงใจหลายๆท่านหรือ ทอ.รึเปล่านี่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน
f35 มีหลายversion นะครับ versionปรกติ ก็ไม่ได้ลงทางดิ่ง ทำไมถึงมองว่า ทอ อยากได้ F35 เพราะf35 เป็น บ gen5 ที่ เป็นรูปเป็นร่างแล้วจรึงขาดกันว่า ทอ คงจะเลือก ตัวเลือกของ บ gen5 ตอนนี้ก็มี
1 f35 ของค่าย นาโตที่เริ่มผลิตขายแล้ว และน่าจะมีคนใช้มากสุด
2 pak ของ รัสเซีย ที่ตัวต้นแบบออกมาแล้ว
3 บ ของพี่จีน ซึ่งก็มีแค่ต้นแบบ
4 บ ของเกาหลี ต้นแบบก็ยังไม่มี
5 บ ของ sweden ต้นแบบยังไม่มี
6 บ ของ ญี่ปุ่น อันนี้ไม่มีทั้งต้นแบบและ ไม่รู้ว่าจะขายไหม
อ่อ ลืม f22 อีกลำ แต่พี่กันไม่ขาย
เท่าที่เดาๆดูเลยมองกันว่า gen5 ที่พอเป็นไปได้ที่สุดคือ f35
แล้วท่าดวลกันแบบ jas-39 c 6ลำ บวก เครื่องบินแจ้งเตือนภัย กับ Su-30 mkm 6 ลำ กลางทะเลอ่าวไทย ใครจะชนะ ไม่รวมตัวช่วยอื่นนะ
การพัฒนาของ Gripen ผมว่า ต้องดูที่สวีเดน เป็นหลักนะ แล้วเขาก็ต้องมองเห็นจุดอ่อนจุดแข็งของ บ.ตัวเองอยู่แหล่ะครับ
ส่วน บ.โจมตีทางลึกและครองอากาศได้นานๆ น่าจะรอได้นะ อีก 10-20 ปี ค่อยมาเลือกแบบกันใหม่ เมื่อถึงตอนนั้น คงจะมี บ.ยุคที่5 ให้ได้เลือกอยู่หลายค่ายเช่นกัน คงสนุกน่าดูเมื่อถึงตอนนั้น
ส่วนตอนนี้ มีงบ ก็ซื้อ Gripen สะสมค่ายเดียวไปเลยครับให้ได้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆและเพิ่ม บ.เอแว็ค ให้มากขึ้นด้วย ถ้าจะใช้ในภารกิจโจมตีเชิงลึกให้กะมัน ก็คงต้องเพิ่ม บ.เติมน้ำมันกลางอากาศ เพื่อให้การรบต่อเนื่อง (การโจมตี เป็นกลุ่มเป็นทีม น่าจะมีประสิทธิภาพมากนะครับ) โดยเฉพาะ เรา ทำการเชื่อมข้อมูลดาต้าลิ้งค์ได้ทั้งหมดหรือยังครับ ทั้งทัพบก+ทัพเรือ+ทัพอากาศ
การพัฒนาแบบนี้ ผมว่า มันจะดูแลง่าย ทั้งการซ่อมบำรุงและอีกอะไรต่างๆ มากมาย แต่ถ้าหาก F5 ปลดประจำการหมดแล้ว ก็เอาเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หาก บ.ที่จะใช้ในการรบ ไม่เพียงพอ
เรา งบไม่เยอะครับ ต้องค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ
คำถามของผมคือ F16 ที่เรามี เราสามารถนำมาทำ MLU ได้ทั้งหมดไหมครับ
F-16 ที่เหลือของเราเก่าเกินกว่าจะเสียเงินที่MLUแล้ว ฝูงแรกที่เราซื้อมาผมยังเป็นเด็กน้อยอยู่เลย
เข้ามากดไลท์ให้ท่านนีโอแบบไม่มีเหตุผลครับ สวีเดนให้ความช่วยเหลือเกาหลีใต้และตุรกีในการพัฒนาเครื่องบินรบลำใหม่ มากน้อยแค่ไหนไม่กล้ายืนยันไว่รอดูเครื่องจริงอีกทีก่อนครับ
ขอบคุณครับท่าน superboy สำหรับ LIKE
jas-39 เห็นผู้ผลิตกล่าวอ้างว่าสามารถ upgrade เป็นรุ่น Jas-39 C/D+ ได้ด้วยการติดตั้งเรด้าร์เฟสอะเรย์ในอนาคต และคงมีการอับเกรดอย่างอื่นด้วยเมื่อถึงเวลา
นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือสองใหม่กิ๊กของอัฟริกาใต้จำนวน 26 ลำ ให้ลุ้นได้อยู่ หวังว่าราคาอยู่แถวๆ 50 - 55 ล้านเหรียญต่อเครื่อง ซึ่งเป็นราคาที่ผมว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับ SU-30 mk รุ่นใหม่ที่ซื้อขายกันที่กว่า 80 ล้านเหรียญ (ไม่ทราบว่าอ๊อปชั่นอะไรบ้าง) และ F-15 SG/K/SE ที่แพงแบบจับไม่ติด
นอกจากนี้สวีเดนก็ต้องเร่งโล๊ะรุ้น C/D ทิ้งทั้งๆที่ชั่วการใช้งานยังเหลืออีกมาก เพราะต้องดันรุ่น E/F เอาไว้ให้ได้ น่าจะมีให้เลือกอยู่อีกไม่น้อย และราคาน่าจะหย่อนลงมากว่าของ ทอ อัฟริกาใต้ครับ 2 ฝูงที่เหลือนี้ เราน่าจะสามารถจัดหามาได้ไม่ยากนัก และควรมี AEW&C มาด้วยฝูงละ 3 ตัว เพื่อสนับสนุน jas-39 ด้วย
ระยะหลังนี่ FS-2020 และ KFX นี่ผมให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆครับ ถ้าสวีเดนสามารถจับมือกับเกาหลีใต้เพื่อให้โครงการทั้งสองรวมกันเป็นโครงการเดียวกันได้ ผมว่า F-35 มีสะดุ้ง
แต่เกาหลีใต้นั้นมีผลประโยชน์กันกับทางอเมริกามาก โดยเฉพาะโครงการ T-50 ซึ่งแขวนอนาคตไว้กับโครงการ TX-programe ผมก็เลยค่อนข้างแน่ใจว่า ทางอเมริกาคงวิ่งล๊อปบี้กันสุดๆ เพราะกระทบตลาด F-35 โดยตรง
ส่วน F-16 ที่มีชั่วโมงบินเหลือพอที่จะคุ้มค่าแก่การ MLU นั้นมีแค่ฝูง 403 ฝูงเดียวเท่านั้นครับ 102 103 คงต้องปลดสถานเดียว ในเวลาไล่กันไม่นานมาก รวมถึงฝูง F-5T ด้วย โอ้ยยย.......ดูแล้วปวดหัวแทน ทอ. เลย และด้วยงบอันจำกัด สงสัยคงต้อง Jas-39 มือสองทั้งจาก อัฟริกาใต้และสวีเดน มาทดแทนล่ะครับ ถ้าได้ราคาประมาณ 40-50 ล้านเหรียญต่อเครื่อง ก็คงต้องใช้เงินประมาณ 50,000 - 60,000 ล้านบาทสำหรับ 36 - 40 เครื่องใน 2 ฝูงถัดไป แต่ควรยอมจ่ายสำหรับเครื่อง AEW&C อีก 6 เครื่องให้เป็นของใหม่สำหรับสนับสนุน Jas-39 2 ฝูงถัดไปล่ะครับ แบบนี้พอสู้ราคาไหว ประสิทธิภาพตั้งรับสู้ F-15 SU-30 ได้ ถึงมันจะแค่ตั้งรับก็ยังดี ถือว่ากองหลังโคตรแน่น
ทอ. พูดออกผ่านสื่อ ทั้งโทรทัศน์ เวปไซต์ มานานหลายปีแล้วครับว่าต้องการ F-35 จำนวน 2 ฝูงครับ
นั้นแหละครับ ท่าน Grippen ที่ผมพยายามจะบอก เพียงแต่ผมจะเร่งเร้าให้ แทน เอฟ 16 ที่ฝูง โคราชด้วย เอฟ 15 เอสอีเลย ดัน เอฟ 16 โคราช 1 ฝูง ไปแทน เอฟ 5 ที่ปลด เห็นเหมือนกันครับ เรื่อง แบบเครื่องกับ จำนวน ของ บินขับไล่ แต่ บินฝึก/โจมตีนี้ ขออนุญาติเลือกแบบ
เลยแล้วกันนะครับ คือ เอา ซูเปอร์ทูคาโน่ หรือ ฮอค ครับ ไม่เอา บินเกาหลีเลย(แอบขัดใจ ป๋า นีโอ ... อิอิ) ส่วนบินยุด 5 เต็มๆ ที่เรามอง เอฟ 35 ไว้นั้น ผมกลับมองว่าให้รอมาแทน เอฟ 16 เอมแอลยู นั้นคือ ยืดเวลากำหนดความต้องการออกไป ซึ่ง ถึงตอนนั้นคงมีบินยุค 5 ออกมาเป็นรูปร่างหลายเจ้าแล้ว เทคโนโลยี่ตัวนี้คงไว้รับการพิสูตรผลการใช้งานพอสมควร แม้แต่เอฟ 35 เองก็ตาม(ประมาณ 20-25 ปี) เราค่อยซื้อ ตัว อัพเกรดเทคโน พูดง่ายๆว่า เวอร์ชั่นหลังๆ หรือ ของค่ายอื่นคงออกมาให้เลือกมากมาย
เพราะงั้น สรุป
-กริฟเฟน 3 ฝูง(ซี/ดี-ซี/ดี+....คงไม่เล่นตัว อีเ/อฟ)
-เอฟ 15 เอสอี 1ฝูง(แทน เอฟ 16 โยกไปลงแทน เอฟ 5 ที่ปลดเลย ไม่ต้องรอแล้ว)
-เอฟ 16 เอมแอลยู 1ฝูง
-ฝึก/โจมตี สัก 2 ฝูง
นับได้ 7 ฝูง ต้องการ 9 ฝูงเลขสวย...เอาอะไรมาลงดีหนอ อีก 2 ฝูง แหะๆ
ปล. ป๋า นีโอ ครับ แจส 39 ราคามือสอง 50-55 แพงไปครับ รบกวนไปต่อเหลือ สัก 25-30 เอาหมดเหมาเลยถ้าเขาขายนะครับ อิอิ
อีกอย่าง เรื่องว่า ขายไหม เอฟ 15 ขนาด เอฟ 35 ยังขายให้เลยครับ เรื่องอเมริกาเอางี้นะครับ ง่ายๆวิธีเทียบ สิงคโปร ซื้ออะไรได้ เราสามารถซื้อได้เหมือนกันครับ เพียงแต่เราติดปัญหาเดียวที่ไม่เหมือนสิงคโปร คือ เงิน ...เงิน และ เงิน แต่ไอ้เจ้า เอฟ 15 หรือ อื่นๆพูดตรงๆ ว่าเราพอมีเงินซื้อได้ครับ ถ้าจะเอา
คงต้องมองถึงงบประมาณและระยะเวลาควบคู่กันไปด้วยครับ เพราะกว่า F-16 A/B,ADF จะปลดก็อีกราว >15-20 ปี (นี่คือเหตุผลที่ไม่อยากให้ทอ.ปรับปรุงยืดอายุ F-5T ออกไป เพราะในช่วงนั้นทอ.จะต้องเจอสภาพขาดแคลนบ.ขับไล่ เพราะต้องจัดหาที่จะมาทดแทนเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น) เครื่องที่น่าจะมาทดแทนในช่วงนั้นก็คงจะเป็น Jas-39 (C/D , + , E/F) จะใหม่หรือมือสองก็ขึ้นอยู่กับสภาวะงบประมาณและสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้น ส่วนเครื่อง AEW นั้นเป็นตัวเสริมคงจะมีไม่มากถึง 6 เครื่องครับท่าน neosiamese2 ดูจากการที่ทอ.ยังคงยึดถือการใช้สถานีควบคุมภาคพื้นอยู่ และในพื้นที่ตอนกลาง-บน-ตต.-อีสานนั้นเป็นผืนแผ่นดินโดยตลอดจึงไม่มีข้อจำกัดในที่ตั้งของสถานีภาคพื้นเหมือนภาคใต้ อีกทั้งงบประมาณที่จำกัด ดังนั้นจำนวน AEW ที่จะมีคงไม่มากกว่า 3-4 เครื่อง (ไม่รวมส่วนของกบ.7 นะครับ) ส่วนเครื่องพวก 5th Gen. นั้นน่าจะเป็นช่วงเวลาหลังจากนั้น ซึ่งตรงจุดนี้มองว่ายังมีเวลาอีกมากพอที่จะรอการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่จาก SAAB เอง หรือจะเป็น KAI หรือแม้แต่รัสเซียกับจีน (สองรายหลังนี่ยากมาก แต่ก็ไม่แน่นะครับ) ผมมองไปที่โอกาสที่จะเกิดความร่วมมือระหว่างสวีเดนกับเกาหลี เพราะในจุดนี้หากเราสามารถเข้าร่วมได้จะมีประโยชน์มากๆ เพราะแบบเครื่องบินของทั้งสองประเทศนั้นใกล้เคียงกันมาก อีกทั้ง FS2020 ของ SAAB เองนั้นก็มีพื้นฐานมาจาก Gripen ระบบต่างๆจึงน่าจะเหมาะกับเราเช่นเดียวกัน
ปล. เมื่อพิจารณาแนวทางนโยบายของทอ.ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดเจนว่าทอ.พยายามลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการฝึกบิน ทั้งนี้เพื่อดำรงสมรรถนะ-ความพร้อมของยุโธปกรณ์และบุคคลากรที่มีอยู่ให้สูงที่สุดอยู่โดยตลอด จึงเชื่อว่าโอกาสของเครื่องบินขนาดใหญ่ที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้น เป็นไปได้น้อยมากในอนาคตอันใกล้ (นอกจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์อย่างมากในช่วงนี้)
จากการโหวตในกระทู้นี้สรุปได้ว่าเกือบทุกท่านอยากให้มี Jas39 มากกว่า 1 ฝูง คือประมาณ 3 ฝูง ส่วนเรื่อง บ. แบบอื่นๆยังแตกต่างกันไป ส่วนผมคิดไปอีกว่า ทอ. คิดจะทยอยจัดซื้อ Jas39 มาทีล่ะ 6 เครื่องหรือเปล่า และที่ว่าจะซื้อใหม่งวดที่ 3 อีก 6 เครื่องล่าสุดอาจไม่ได้มาประจำการที่กองบิน 7 ก็ได้ อาจมาที่กองบิน 1 แล้วโยก F16 ไปแทน F5 ก็ได้เหมือนที่เพื่อนๆในกระทู้คิดไว้เป็นแนวทางที่เหมาะสม ครับ
ที่ท่าน ผบ ทอ กล่าวว่าก็อยากได้อยู่แต่งบไม่พอ ไม่ได้แปลว่างบฯ พอแล้วเมกาเขาจะซักนิดเลยนะครับ แค่อยากเฉยๆ ครับ
ทั้ง f-18 กับ f-16 ตอนนั้นล็อบบี้กันจะเป็นจะตาย ตอนนี้ทั้งสองรุ่นก็เก่าแล้วเขามีเครื่องที่ดีกว่าก็ขายง่ายขี้น แต่ f-15 นี่เป็นรองแค่ f-22 เท่านั้นซึ่งนับเป็นเครื่อง exclusive ของเมกาเขา
ขออนุญาติแย้งนิดหนึ่งนะครับ ท่านที่บอกว่า ทอ ก็อยากได้ f15 แต่ไม่มีตังค์คือ ท่านวรนาจ อภิจารี (ไม่ทราบสะกดชื่อท่านถูกไหม) ท่านเป็นผบ ทอเมื่อ ปี 30-32 และท่านกล่าวไว้เมื่อประมาณปี 30 ช่วงนั้นเรามีภัยคุกคามกับเวียดนาม อยู่นะครับ ผ่านมา 25 ปี ผมว่าภัยคุยคามเปลี่ยนไปแล้ว แถมตอนนั้น เศรฐกิจบูมก่อนต้มยำกุ้ง ราคาน้ำมันถูก มาวันนี้ น้ำมันแพง เศรฐกิจ เอิ่ม.... และภัยคุกคามจากเวียดนามแทบจะเรียกว่าหมดไป ทอ ยังจะอยากได้ f15 หรือ บ โจมตีทางลึก อยู่ไหมก็ไม่รู้
ปล ทำไมไม่มีใครคิดถึง f16 หรือ ทอนาโด มือสอง บ้างครับ
- เรื่องโจมตีทางลึกต้องถามก่อนว่าจะไปโจมตีทางลึกกับใครครับ KEPD 350 ช่วยได้ครับ
- ณ เวลานี้ Jas 39 ไปน่ะดีแล้วครับ การมีเครื่องบินหลายๆ แบบเป็นภาระต่อกองทัพเปล่าๆ ดูมาเลเซียก็ได้ครับ
ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการคงสภาพความพร้อมรบขนาดไหน มีเครื่องบินดีแต่ไม่พร้อมบินก็เท่านั้น แถมจำนวนเครื่องบินเท่ากันต้องใช้นักบินมากกว่าเราเท่าตัว
- F16 ทำภารกิจอะไรได้ Jas 39 ก็ทำได้เช่นกัน Air to Air ก็มี IRIS-T (ระยะใกล้) meteor (ระยะไกล ซึ่งทดสอบเสร็จเข้าประจำการเมื่อไร ก็จะเหนือกว่า AIM-120 ที่เรามีอยู่ทันที) Anti ship ก็มี RBS15F พวก Smart bomb ก็ใช้ได้เกือบหมด
- F16MLU คงเป็น F16 ชุดสุดท้ายของกองทัพแล้วคงไม่มีการจัดหา F16 มาเพิ่มหรือปรับปรุงอะไรอีกแล้วรอปลดลูกเดียว
- AU-23 ผมว่าทุกวันนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เสียเท่าไร Super tucano ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
ถ้าเป็นพม่าซึ่งต้องรบกับชนกลุ่มน้อยยังเหมาะเสียกว่า ที่เราควรหันไปมองคือ UAV เอาไปรักษาความสงบทางภาคใต้
ซึ่งมีค่า operation cost ต่ำกว่าและสามารถฝึกให้ชำนาญได้ในเวลาอันสั้น ลดความเสี่ยงด้านบุคลากรด้วย
ถ้ามองไกลกว่านั้นก็ UCAV แต่คิดว่ามีความเป็นไปได้ต่ำ (ถ้ามีก็ดี เอามายิงพวกขุดหลุมฝังระเบิดเวลากลางคืน)
- เครื่องบิน USA ดีแน่นอนแต่พี่แกมีนิสัยเสียคือชอบกั๊กกับตัด option นู่นนี่ เงื่อนไขมากมาย
โดยเฉพาะประเทศกลางๆ ไม่เลือกข้างแบบชัดเจนแบบเรา อย่าง F-35 คิดเหรอว่าจะไม่โดนลดประสิทธิภาพ
ผมเหมือนได้ยินมาว่า JAS ไทยเราซื้อมาแพงที่สุดในโลก
.....จริงแท้ประการใดผู้รู้ช่วยตอบที่ครับ
มาอีกคนละ .... เอา งบของระบบทั้งระบบ มาหาร กับจำนวนเครื่อง มันก็ต้องแพงซิครับ
Saab เขา ขาย ระบบ ไม่ใช่ ขาย เครื่อง เลยทำให้ เข้า วิน ในการ จัดหา
ผมว่า saab เขา ฉลาด นะ ขาย infrastructure ซึ่ง สามารถ เอา สินค้าอื่น มาต่อยอดได้
อธิบายง่ายๆก็คือ ที่คนพูดกันว่าเราได้ของแถม นั่นก็คือ(ขอยืมคำคุณโยมาใช้)
"เครื่องบินความคุมและแจ้งเตือนล่วงหน้า (AEW&C) แบบ S-100B Argus จำนวน 2 ลำ เครื่องบินลำเลียง Saab 340 จำนวน 1 ลำ อาวุธปล่อยต่อต้านเรือรบ RBS-15 สถานีเรด้าร์ภาคพื้นดิน 3 สถานี กองทัพอากาศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมการเข้าถึง Source Code ของโปรแกรมในเครื่อง และทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนนายเรืออากาศไทย"
ทั้งหมดนี้ที่ว่าของแถม ที่จริงมันไม่ได้แถมหรอกครับ เค้าเรียกว่าขายพ่วง แต่ระบบราชการไทย การซื้อทีละเยอะๆแบบนี้มันไม่ค่อยจะทำได้ เค้าจึงรวมอยู่ในแพ็คแกจ แล้วอ้าง(แบบทุกคนก็รู้อยู่แล้ว) ว่าซื้อเครื่องบิน 12 ลำ แล้วได้ของแถม
ถามว่าทำไมเราไม่ใช้วิธีนี้กับเครื่องบินรุ่นอื่นๆ คำตอบก็คือ เจ้าอื่นเค้าไม่ขายให้เราแบบนี้ครับ สวีเดนเพื่อการขายครั้งนี้เค้าใจกว้างจริงๆ ซึ่งไทยเราก็ไม่โง่ รับไว้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป
คุณหมายความว่าไงครับคุณ u3616234 ที่ว่าเอาอีกแล้ว?!?!
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชียร์ JAS นะครับ
แต่ ....หนึ่งคือ ก็เพราะผมไม่รู่ไงผมถึงได้ถาม มันจะได้หายข้องใจกันไป เผื่อคนที่ไม่สนับสนุนจะได้ไม่ต้องเอาข้อนี้มาเป็นเรื่อง
สองคือ คำตอบผมมันไปโจมตีอะไรตรงไหน ซึ่งถ้าคุณอ่านคำถามผมดีๆ ผมเขียนว่า ผมได้ยินมาและอยากให้ผู้รู้บอกผมหน่อย ถ้าผมจะทำผมคงเขียนยาวกว่านี้ไม่ให้ใครมาว่ากลับได้ง่ายๆ
สาม...กระทู้นี้เป็นการเขียนออกความคิดเห็น ไม่ใช่ว่าคุณจะมากล่าวหาว่าคนนั้นคนนี้ไม่ใช่พวกคุณแล้วพูดว่ากันต่างๆนาๆ
สรุปคือ พวกที่ไม่เห็นด้วยในบางจุดก็ไม่มีสิทธิที่จะพูดเลยงั้นเลยหรอ ?? งั้นคุณไปเปิดเว็บกระทู้ใหม่แล้วระบุบด้วยนะว่าถ้าความเห็นไม่เหมือนกันห้ามมาเขียน
แต่ผมขอขอบคุณ คุณ mutuhagi มากนะครับ นี้ละครับคำตอบที่ดีและตัวอย่างที่ดีในการตอบคำถามให้กระจ่าง
ใจเย็นๆครับ อย่าลืมว่าคนที่สนใจด้านอาวุธ ไม่ได้แปลว่าเขาต้องรู้ทั้งหมดนะครับ บางคนสนใจแต่เขาไม่ได้ศึกษาลึกซึ็ง รู้แต่เพียงผิวเผิน
อยากรู้ อยากถาม เท่านั้น บางคนได้อ่านเขาโพส์มาตามข่าว แต่ก็ยังข้องใจ เลยมาถามแค่นั้น เรารู้เราก็ตอบ แค่นั้น ละครับ .................
ขนาดบาง.....เรื่องผมว่าผมรู้ มันยังมีที่มากกว่าที่ผมรู้อีก ใจเย็นๆครับ
อันนี้ ผม ขอ ความกระจ่างนะครับ
ที่ผม เขียนไป เพราะว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ผม ต้อง อธิบายให้เพื่อนๆ หรือ คนรู้จัก ฟังมาตลอดว่า เหตุใด เราจึงซื้อ ของแพงกว่า ประเทศอื่น อธิบายตั้งแต่ ยุคที่ ทอ ยังไม่ได้ตัดสินใจ ว่า JAS จะได้ จนตัดสินใจแล้ว จนเครื่อง Lot แรก มาแล้ว ยัน Lot 3ลำสุดท้าย
เพราะ เวลา สื่อ เสนอข่าว มันจะ เขียน กระชับเสียจน เนื้อหา หายไปเยอะ ทำให้ผู้ที่อ่าน เข้าใจผิด และคิดว่า เงิน หลายหมื่นล้าน นั้น คือ แค่เครื่อง 12 เครื่อง (เลยจับเอา 12หาร งบจัดซื้อซะเลย กลายเป็น ราคาต่อเครื่องแพงกว่าชาวบ้าน)
ทั้งที่จริง deal ชุดนี้ นอกจากเครื่อง ยัง รวมถือ AWC + เครื่องผึก + ระบบ โครงสร้างพื้นฐาน + ระบบอาวุธ + MA ซึ่งถ้าตีราคา แล้ว จะพบว่า ของ ที่อยู่ใน Deal บางชิ้น ประเมิณค่่ามิได้ เช่น ทุนการศึกษา ซอสโคต รวมถึงระบบ datalink Ground Control ที่มูลค่า ของมันจะเพิ่มขึ้นทุกปี
หวังว่า ท่าน....จะเข้าใจนะครับ
ปล เหมือนกับ เรื่อง นาฬิกาเทพ ของรัฐสภา ที่เจอ สื่อไทย จับ เอา โครงการ ทั้งโครงการ หาร จำนวน นาฬิกา ทั้ง ๆ จริง ๆ แล้ว มันเป็นระบบ รักษาความปลอดภัย มาตราฐาน ที่รวมทั้ง server / software ระบบปลีกย่อย อีกเยอะ (แต่สื่อ ดันบอกไปว่า แค่ นาฬิกา )
ขอบคุณครับ และก็ขออภัยหากผมพูดอะไรไม่ดีหรือแรงไป แต่สุดท้ายเราต่างก็มีเจตนาที่ดีต่อประเทศชาติเราครับ
....ผมเชื่อครับว่าถ้าได้ gripen มาอีกฝูงจะเสริมทัพเราให้แข็งแกร่งมากขึ้น แต่ก่อน platform ใหม่จะมาผมเห็นว่าเราควรให้ความสำคัญกับบ.ฝึกที่กำลังจะหมดอายุก่อนครับว่าจะยังไงดี
ขอถามนิดหนึ่งครับ สถานีเรด้าทั้งสามสถานีที่มากับกริปเปนนี่ครอบคุมเฉพาะภาคใต้หรือทั้งประเทศครับ
ขอนอกเรื่องนิดนึงครับ ผมอยากทราบว่านาฬิกาที่รัฐสภา มันมีคุณสมบัติพิเศษอะไรถึงขนาดที่เราต้องใช้เงินมากมายขนาดนั้นไปซื้อมาครับ เพราะเท่าที่ทราบราคาที่จำหน่ายเรือนละประมาณ "หมื่นกว่าบาท" และเมื่อรวมกับระบบควบคุมและสื่อสารกับดาวเทียมก็เฉลี่ยเรือนละ 2-3 หมื่นบาท แต่งบประมาณที่ใช้รวมแล้วกลายเป็นเรือนละ เจ็ดหมื่น !!! ที่สำคัญคือ หลังจากมีข่าวออกมากลับไม่มีคำอธิบายที่แจ่มชัดถึงรายละเอียดที่มาที่ไปของราคา มีแค่ประโยคง่ายๆ คือ มันเป็นนาฬิกาที่สามารถควบคุมได้จากส่วนกลางและมีระบบตรวจสอบเวลาผ่านดาวเทียมที่แม่นยำ ถามว่าแค่นี้ตอบคำถามครบแล้วหรือ มันจำเป็นต้องใช้ขนาดนี้เลยหรือ มันมีประโยชน์กับประเทศชาติมากแค่ไหน ทั้งหมดเทียบกับการจัดซื้อเครื่องบินกรปเป้นได้ตรงไหนครับ
บอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ มีส่วนได้เสีย กับ รัฐบาล และ ไม่ได้เป็นคนทำระบบให้ รัฐสภา
แต่ เคยทำระบบคล้ายๆ แบบนี้ให้ สถานบันเทิงแห่งหนึ่ง ในประเทศ เพื่อนบ้าน ใกล้ชายแดน
ผมไม่ทราบว่า ของบ้านเรา ซือมาเต็มระบบหรือเปล่า นะครับ เอาจากที่ผมเคยทำให้ละกัน ราคา แพงกว่า ของ ไทย นิดหน่อย
ระบบมันจะเชื่อม เข้ากับระบบรักษาความปลอดภัย พวก กล้องวงจรปิด ระบบ เปิดปิดประตูหน้าต่าง มี software ควบคุม จากส่วนกลาง (ถ้าดูจากหนังฝรั่ง จะเห็นภาพ) พ่วงเข้ากับระบบ ของ HR เรื่องเวลา เข้าออก ของพนักงาน กำหนดสิทธ์การเปิดประตู ต่าง ๆ แค่ ค่าระบบ software กับ Server ก็หลาย ล้านแล้วครับ แถม ตอนทำ มีการยิงสัญญาณ ไมโครเวฟ ข้ามมา ฝั่งไทย ทำ VDO Real time ซึ่ง เวลา จะ ต้องตรงกัน กับที่ สถานบันเทิง
ถ้าคุณTWG มองว่าเรื่องนาฬิกามันแพง ผมก็มองว่าเรื่อง GT-200 มันหนักกว่าอีกครับ ต้นทุน GT-200 ต่อเครื่องไม่น่าเกิน 1,000 บาท ( ถ้าผลิตบ้านเรา ไม่เกิน 100 บาท รวมค่าขนส่งและ VAT แล้ว ) แต่ขายกันราคาครึ่งล้านหรือบางหน่วยงานราคาเกือบล้าน
กำไรกี่เท่าครับ เรื่องนาฬิกา อย่างน้อยมันก็ยังใช้งาน ( เข็มมันเดิน ) แต่ GT-200 คนถือเดินเอง เครื่องมันไม่เดินครับ แย่กว่ากันมาก แต่กลับไม่มีใครคิดจะตรวจสอบหาคนรับผิดชอบ .............................
อาจจะไม่เกี่ยวกับ ข้อสงสัยคุณ TWG นะครับ แต่รู้สึกไหมครับว่าประเทศไทยปัจจุบัน แปลกครับ คนมีหน้าที่ตรวจสอบ มีหน้าที่ตัดสินผิดถูก สามารถเลือกที่จะตรวจสอบ เลือกที่จะไม่ตรวจสอบได้ บางโครงการก็สงสัยกันเหลือเกิน ตรวจสอบกันใหญ่ประโคมข่าวกันใหญ่ แต่บางโครงการที่ควรสงสัย ( ใครๆก็ทราบว่ามันโกง ) ก็ทำผ่านๆไป มองไม่เห็น ไม่พูดถึง บ้านเมืองเราถึงมีปัญหาแบบทุกวันนี้ เลือกรักเฉพาะพวก ใครไม่ใช่พวกไล่มันออกไป คล้ายๆที่คนเราไม่รับฟังความเห็นที่แต่ต่างกัน ใครคิดเห็นต่างกันก็ด่าเขาไล่เขาออกไป ยิ่งมีพวกผสมโรงยิ่งหนักกันเข้าไปใหญ่ เหมือนกระทู้นี้ ที่ข้างบนมี สมาชิกถามในสิ่งที่เขาไม่รู้ แค่อยากรู้ แต่คำถามเขาไปสะกิดต่อม ของรัก ของสมาชิกบางท่าน มันก็เกิดเหตุการณ์แบบที่ผมกล่าว
คือแทนที่สมาชิกที่ทราบ จะตอบคำถามอย่างมีเหตุมีผล ช่วยให้คนอื่นที่ไม่ทราบได้มีความรู้เพิ่ม มันกลับกลายเป็น การตอบแบบด่า แบบเกลียดกัน ซึ่งมีแทบทุกบอร์ด โดยเฉพาะที่ TFC นี้ มันจึงทำให้มันดูน่าเบื่อครับ สมาชิกใหม่ มีคำถามพอถามก็โดนด่า เขาก็ไม่อยากเล่นแล้วครับ กระทู้มันก็รกไปหมด ถามแล้วก็ไม่มีใครตอบ
ตอนนี้บอร์ด TFC จึงมีแต่สมาชิกเปิดเข้ามาอ่านมาดูรูป แต่น้อยนักที่จะตอบกระทู้ครับ ซึ่งมันก็เหมือน TAF ที่มีแต่กูรู เก๋าๆ ไปนั่งอ่านเห็นหลายกระทู้ มีสมาชิกใหม่ ถามไม่มีกูรูตอบเลย มองข้ามหัวสมาชิกใหม่ๆไป ทั้งๆที่บางคำถามของสมาชิกใหม่น่าสนใจ แต่เห็นมีการตอบถามกันเฉพาะกูรูด้วยกันเอง เห็นแล้วเสียดายครับ แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน เจ้าของบอร์ดอาจชอบให้มีคนคลิกเปิดบอร์ดดูอย่างเดียวก็ได้ แค่คลิกก็คุ้ม คงจะเหมือน TFC เช่นกัน เจ้าของบอร์ดจึงไม่เข้ามาช่วยตอบแทน ถ้าเห็นว่าเป็นคำถามที่ไม่เหมาะสมเจ้าของบอร์ดก็น่าจะแสดงaction อะไรบ้าง ผมว่าดีกว่าปล่อยเงียบๆไป จนกระทู้เต็มบอร์ดไปหมด ( ความเห็นผมนะ คิดต่างได้ครับ แต่อย่าด่า แต่จากประสบการณ์ เดี๋ยวผมก็คงโดนด่า 555 )
ไม่เข้าใจครับ ว่าเอามาเปรียบเทียบกับ GT-200 เพื่ออะไร ??? ในเมื่อเจ้า GT-200 นั่นมันหลอกลวงชัดเจน การทีีเรื่องมันเงียบไปได้ในทุกรัฐบาลนั้นสะท้อนให้เห็นสภาพของประเทศไทย การจัดการกับผู้ที่ฉ้อฉลคอรัปชั่นยังไม่สามารถทำได้จริงๆ สักที ตอนนี้ก็ต้องจับตาพวก คณะกสทช. กสช. กทค. ว่าจะทำอะไรยังไงต่อไป
ถ้าอย่างนั้นขอต่ออีกนิด แล้ววตู้กดน้ำ และ ชุดกินข้าวอีกล่ะครับ มันจะแพงไปไหนครับ มันจำเป็นและเหมาะสมแล้วหรือ ขนาดประชุมเรื่องสำคัญมันยังไม่เข้าเลย เข้ามาก็หลับบ้างเล่นเกมบ้างดูรูปxxxบ้าง ด่ากันตีกันบ้าง น่าสมเพชที่สุด ล่าสุดคลิปกดบัตรแทนทีเดียว 4-5 ใบ แค่นี้ก็ทุเรศมากที่สุดแล้วครับ
ปล. ผมไม่ได้หลับหูหลับตาดันและเชียร์ฝ่ายไหนนะ หลายเรื่องก็เห็นกันอยู่ แต่คนส่วนมากถูกปั่นหัวจนกลายเป็นปชช.มาทะเลาะกันเองเพื่อปกป้องคนพวกนี้
ขอบคุณ คุณเชลซี ที่มาชี้แนะติชมนะครับ ไม่ใช่ว่าทีมงานจะไม่ได้เข้ามาดูหรือไม่อยากแสดงความเห็นนะครับ แต่ทั้งเว้บมาสเตอร์และทีมงานแอดมินช่วงหลังมานี้งานประจำค่อนข้างจะเยอะมากด้วยเพราะหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้การเข้ามาพูดคุยด้วยน้อยลงแต่ก็เข้ามาอ่านเห็นอยู่เสมอ ซึ่งหลายครั้งต้องใช้สมาร์ทโฟนในการเปิดเข้ามาแทนการใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้การเข้ามาตอบกระทู้การพูดคุยไม่คอยถนัดนัก แต่จะเข้ามาแสดงความเห็นเป็นระยะนะและปรับปรุงตามคำตอชมครับผม
คุณ chelsea พูดก็น่าคิดนะ ซึ่งก็จริงที่บางกระทู้เปิดว่าง....มีเมนท์ตึ๋งนึง
ต้องเอาโอพล็อตมาหยอดเข้าไปรับรองยาว ฮา
บอร์ด TAF ผมไม่ได้เล่นนานละ กว่าจะเนวิเกทเข้าไปได้แทบรากเลือด ฮา
ที่คุณ TWG กล่าวมานั้นละครับ ผมถึงยก GT-200 มาครับ ก็เพราะโครงการต่างๆ ที่ท่านกล่าวทั้งนาฬิกา หรือตู้กดน้ำ ชุดกินข้าว ฯลฯ ประชาชนเขาก็สงสัย แต่ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ส่วนมาก ( เน้น ) จะเลือกปฎิบัติ อย่างที่ผมกล่าวไปก่อนหน้าโพสนี้ คือ เงียบ แต่บางเรื่องก็เล่นกันจนมั่วไปหมด สังคมประเทศเราถึงเลว ( ขออภัย ที่ต้องใช้คำนี้ เพราะมันมั่ว ไร้บรรทัดฐาน กฎหมายก็มั่ว เรื่องเดียวกันพวกหนึ่งผิด พวกหนึ่งไม่มีแม้จะตั้งกรรมการ (ขอใช้เพราะเห็นชอบตั้งคณะฯกัน ) มาตรวจสอบ
ผมไม่ได้เข้าข้างไหน แต่ผมอยากเห็นบ้านเมืองมันมีกฎ มีหลักการ ไม่ใช่ว่า เรื่องโกงเหมือนกัน แต่พวกหนึ่งเงียบเป็นป้าช้า แต่อีกพวกผิดตลอด ถามว่าทำไมผมถึงอยากให้บ้านเมืองมีกฎ มีระเบียบมีกติกา ที่ยุติธรรม เพราะว่าประชาชนอย่างเราๆ ใช้ขีวิตลำบากครับ เพราะไม่รู้จะไปอ้างิอิงกฎหมายอย่างไไร ผมขอยกตัวอย่างกรณีที่ผม เปิดร้านอาหาร ผมยึดตามกฎระเบียบในการก่อสร้างอาคาร รวมถึง การขออนุญาตเปิดกิจการ รวมถีงขออนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมหมด เสียเงิน เสียเวลา แต่ผมที่ได้คือ มีการมาไถ่เงิน ถ้าไม่ให้ เรื่องก็ไม่เดิน ร้องเรียนไปเรื่องก็เงียบ แถมโดนแกล้งไม่มาเก็บขยะอีก ทั้งๆที่เราก็ไปแจ้งขอใช้บริการ
ท่านทราบไหมว่าแม้แต่ขออนุญาตใบประกอบกิจการ กับหน่วยงานเจ้าเดิมนี้ เขาก็ไม่ให้ อ้างต่างๆนาๆ ( ร้านข้างๆร้านผม ไม่มีแม้แต่ป้ายชื้อร้าน ไม่มีถังบำบัดน้ำเสีย เทน้ำทิ้งใส่ท่อระบายน้ำบนถนน มันยังเปิดได้ แต่ร้านผม แค่จะขอเปิดมันยังไถ่เงินเลย แล้วอะไรคือระเบียบ กฎกติกาครับ เงินหรือครับ
ร้านผมกว่าจะได้ รอไปเกือบ 2 ปี ร้านเปิดมาแล้วกว่า 18 เดือน ถามว่าผิดไหมที่ร้านเปิดก่อน ตามกฎก็ผิด แต่ถ้าเราไม่เปิดก็อดตายครับ ลงทุนไปเยอะแล้ว แต่คนพวกนี้มันก็อยู่กันสุขสบาย ภายใต้ คำโฆษณาตามถนนในเมืองหลวง " ทั้งชีวิตเราดูแล " ท่านคนทราบนะครับว่าผมหมายถึงพวกไหน
ผมจีงบอกท่าน TWG ไง ว่าประเทศนี้เลว ครับ ใครอยากอยู่ก็ต้องโกงหาเงินมากๆ พวกที่ทำตามกฎตามระเบียบคือคนโง่ แบบผม
ดังนั้น เรื่อง นาฬิกา ราคาแพง ถือเป็นเรื่องธรรมชาติครับ เหมือนเรื่อง GT-200 ราคาแพงไม่รู้กี่ 1000 เท่า แต่ก็ไม่มีหน่วยงานไหนสนใจ รวมถึงสื่อมวลชนสนใจ เล่นให้จบหาคนผิดมาลงโทษ ...............................ขอโทษครับออกทะเลมากมาก กลับไปบนฟ้าเรื่อง Gripen ต่อดีกว่าครับ ผมจะได้ไปทำงานต่อ ( ต้องหาเงินไว้ครับ เพราะเดี๋ยวพวกมันก็มาหาเรื่องไถ่อีก 555 ทำงานสมัยนี้เหมือนทำจ่ายเงินให้ลูกน้อง ค่าไฟ ค่าน้ำ แล้วก็ต้องเก็บไว้จ่ายพวก " ทั้งชีวิตเราดูแล " 55555 บ้าไปแล้วเรา )
...เห็นด้วยกับท่าน chelsea ครับ คงต้องรอคนรุ่นใหม่ค่อยๆปรับ ค่อยๆเปลี่ยน ไอ้รุ่นเรา เจอความ"ด้าน" ของ"พวกเขา"กระแทกจนชา ซะแล้ว.. 555
นิดหนึ่งครับ "ไถ" บ่ใช่ "ไถ่" นะครับ.... (แซวซะหน่อย)
ผมไม่เข้าใจว่าจะพูดถึง โGT200ทำไม และผมมองว่ากรณ๊GT200กับโต๊ะกินข้าว และ นาฬิกา ที่กดน้ำต่างกันโดยสิ้นเชิง
กรณี โต๊ะกินข้าว นาฬิกา และ ตู้กดน้ำ คำถามคือทำไมต้องซื้อแพง
GT200 รัฐเสียประโยชน์โคือซื้อมาแล้วมันใช้ไม่ได้ มันลวงโลก คนละโจทย์กันนะครับ ถามว่าในวันที่ซื้อรู้ไหมว่ามันใช้ไม่ได้ คำตอบคือไม่มีใครรู้ แล้วไอ้เครื่องบ้านี้เราใช้ประเทศเดียวหรือเปล่า ผมไม่เถียงว่า มันทำให้รัฐเสียหาย แต่ถามว่าทุจริตไหม กระบวนการจัดซื้อถูกต้องไหม ผมว่าถูกนะ ในข้อ อนุมานว่าไอ้เครื่องบ้านี้มันใช้ได้ ราคา 100,000บาทถือว่าถูก แต่ก็โดนหลอกกันทั้งโลก เพราะมันใช้ไม่ได้ และทำให้รัฐเสียผลประโยชน์
การที่รัฐเสียเงินไปฟรีๆตรงนี้ถามว่าคนซื้อผิดไหม ตรงนี้ตอบยาก เพราะรถไฟฟ้า hopewell, หรือ อาคารต่างๆที่จัดซื้อถูกต้องแต่ผู้รับเหมาดันทิ้งงาน ถามว่าคนอนุมัติผิดไหม ถ้ากระบวนการจัดซื้อจัดประมูลถูกต้องทุกอย่างแต่ ผู้รับเหมาทิ้งงานเพราะ สมมุติว่า เอาเงินไปเล่นการพนันหมด หรือ งานวิจัยต่างๆ เอา UAVสักโครงการณละกัน สมมุติว่าวิจัยแล้วไม่ประสมความสำเร็จ รัฐก็เสียเงินฟรีเหมือนกัน ถามว่างั้นคนอนุมัติผิดไหม หรือคนวิจัยผิดไหมที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์
ถ้าจะบอกว่าทำไมไม่ทดสอบก่อนซื้อ ผมว่าเขาก็ดูว่ามันก็ใช้ได้ แต่ไม่มีใครผ่าออกมาดูเพราะมองว่าไม่จำเป็น เนื่องจากมีใช้งานในหลายประเทศและทุกประเทศคงคิดเหมือนกันหมดว่า ถ้ามันใช้ไม่ได้ชาติอื่นจะซื้อกันเยอะแยะเหรอ เทียบง่ายๆ ยาต้านไวรัสโรคเอสด์ที่ รพ ต่างๆ ซื้อมา หรือ ยารักษาโรคมะเร็งต่างๆ ผมว่า โรงพยาบาลในไทยทุกที่ก็ไม่ได้ทำการทดลองว่าได้ผลจริงไหม ต่อให้ อยด้วยเอ้าก็ไม่ได้ทดสอบ แต่ก็สั่งซื้อกันได้เพราะฝรั่งบอกว่าใช้ได้
ถ้ามองกันกลางๆจริงๆ GT200 ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรมากมาย แต่ไปทำเป็นประเด็นการเมืองกันเอง
กลับมาเข้าประเด็นเรื่อง Gripen ดีกว่าครับ /ADMIN
ในที่สุดกระทู้ก็ออกทะเล งั้นเอาซะหน่อย ก็ไม่เข้าใจทำไมคนไทยอินกับการเมืองมากการเมืองก็เหมือนละคร คนดูประเภทโมโหนางร้ายแล้วรอดักเอาทุเรียนตบก็ยังมี โดยคงลืมคิดไปว่ามันแค่ละคร คุณคิดเอาเองเคยมีภาพคุณจ่าประสิทธิ์(รัฐบาล)ทำท่าซารังเฮโยกับคุณรังสิมา(ฝ่ายค้าน)ทั้งๆที่ตอนถ่ายทอดออกทีวีด่ากันจะเป็นจะตาย(ออกมาเผยกันเองด้วยว่าทำหลังอภิปรายเสร็จเพิ่งออกจากห้องมาอีกต่างหากมันสรุปให้รู้เลยว่านี่มันละครน้ำเน่าชัดๆ)
เดี๋ยวนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้วนะครับอย่าลืมไม่มีใครสามารถหลอกลวงใครได้อีกแล้วเพราะความเป็นจริงทั้งหลายอยู่แค่นิ้วคุณคลิกกัน
ยกเว้นแต่คุณเต็มใจให้เค้าเห็นพวกคุณเป็นแค่.....ที่เค้าคอยจูงจมูกได้ง่ายๆ คนไทยบ้ากันไปหมดแล้ว อนิจจา
ประเด็นกริปเป้นมันดับไปแล้ว ฮา
ขอเพิ่มเติมเรื่องจีทีสองร้อยนิดนึงนะครับ คือบริษัทนี้เขาขายมีกฎห้ามผ่าเครื่องออกมาดูครับ ห้ามแกะใดๆทั้งสิ้น
ส่วนเรืองการเมืองละครน้ำเน่านั้นถ้าใครรู้พวกนี้แอ็คชั่นครับ ทำคะแนนเอาใจแฟนๆ ทำออกทีวี พูดจากันเคียดแค้นมาก แต่ความจริงก็คนกันเองทั้งนั้น พูดคุยสนิทสนมกัน นอกจอนี่คนละเรื่องกับในจอ
ขออนุญาติดึงกลับ มาที่ Jas39 นะครับ คือสงสัยว่า ฝูงของ jas นี่ควรจะมีกี่ลำกันแน่ เพราะ ไทย มี ฝูงล่ะ 12 ลำ south africa ก็มี 26 ลำ หาร ออกมาน่าจะฝูงล่ะ 13 ลำ ฮังการี กับ เชค มี ประเทศล่ะ 14 ลำ
๕๕๕ พอดี GT 200 มันเป็นไม้ตีพลิก เอ้ย ไม้หาผีนะครับ หลายๆท่านเลย งง เลยมาเถียงกัน ต่อพอหอมปากหอมคอกันแล้วนะครับ
ยังไงเรามาคุยเรื่อง น้อง ยาส กันต่อนะครับ อยากอ่านต่อ ๕๕๕
ชวนให้กลับมาคุยเรื่องยาส
แล้วจะไปพูดถึงเจ้านั่นอีกทำไมค้าบ 55+
เรื่องการจัดฝูงกี่ลำ มันแล้วแต่หลักนิยม (หรืออัตภาพ) ของประเทศนั้นๆ ครับ
การจัดฝูงบินและหมู่บินของ Jas-39 Gripen มีความน่าสนใจตรง จำนวนของเครื่องรุ่น D ที่มี 2 ที่นั่ง เพราะเครื่องรุ่นนี้มิได้มีไว้เพียงเพื่อฝึกเปลี่ยนแบบขั้นสูงเท่านั้น แต่มันมีขีดความสามารถในการเป็นผู้ควบคุมการดำเนินกลยุทธให้แก่ฝูงบินได้อีกด้วย อย่างที่ทราบกันว่าเครื่องกริปเป้นมีระบบ DataLink แบบก้าวหน้า ที่สามารถใช้ระบบตรวจจับร่วมกันได้ในฝูงบิน ในทางยุทธวิธีจึงสามารถใช้นักบินที่ 2 บนเครื่องรุ่น D เป็นผู้เฝ้าตรวจ/จัดการ/สั่งการ/แจ้งเตือนในการดำเนินกลยุทธและการใช้อาวุธของฝูงบินได้เป็นอย่างดี ช่วยให้นักบินในฝูงบินสามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการบินได้มากที่สุด
ส่วนตัวเชื่อว่าเครื่องบินรบมันเป็นได้ทั้ง รุก และ รับ ครับ ขึ้นอยู่ที่ภารกิจ
ส่วนแบบของเครื่องเรื่อง น้ำหนักบรรทุก พิสัยการบิน จะทำให้ได้เปรียบในบางภารกิจ
ก่อนอื่นเราดูกันก่อนครับว่า การปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีในภารกิจการรบมีอะไรบ้าง
ใหญ่ๆมี 3 อย่างคือ
1 การตอบโต้ทางอากาศ (CA : Counter Air)
2 การขัดขวางทางอากาศ (AI : Air Interdiction)
3 การปฏิบัติการร่วมเหล่าทัพอื่น (Joint operations)
ในส่วนของ CA ก็แบ่งเป็น 2 อย่างคือ เชิงรุก (OCA:Offensive CA) และ เชิงรับ (DCA:Defensive CA)
OCA จะมี 3 อย่างคือ
การโจมตีทางอากาศ (Air Strike)
การกดดันการป้องกันภัยทางอากาศ (SEAD)
การครองอากาศ(Air Superiority)
การครองอากาศยังแบ่งย่อยอีกคือ การกวาดล้างทางอากาศ(SWEEP),การบินคุ้มครองทางอากาศ(Force Potection) และ การบินลาดตระเวนรบ(CAP : Combat Air Patrol)
DCA มี 2 อย่างคือ การบินสกัดกั้น (Air Interception) และ การบินลาดตระเวนรบ(CAP)
AI มี 2อย่างคือ การโจมตีทางอากาศ (Air Strike) และ การลาดตระเวนติดอาวุธ(Armed Reconnaisance)
Joint operation มี 3 อย่างคือ การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด(CAS : Close Air Support),การขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ(BAI : Battle-Field Air Interdiction) และการปฏิบัติการทางทะเล(Maritime Operation)
จากข้างต้นจะเห็นว่าแบบของอากาศยานจะทันสมัยแค่ไหนก็ไม่อาจตอบสนองทุกภารกิจในการขึ้นบินครั้งเดียวได้ซึ่งตรงนี้จำนวนยังเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญที่สุดคือ จำนวนพร้อมรบ ณ ตอนนั้น(ซึ่งไม่มีทางเป็น 100%)
ชั่วโมงแรกๆของการรบเชื่อว่าเพื่อชิงความได้เปรียบในการครองอากาศอย่างแท้จริงนั้น การ OCA จึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป้าหมายหลักในการโจมตีระลอกแรกจึงเป็นสนามบินหลักของฝ่ายตรงข้าม เพื่อทำลายทางวิ่งทางขับ(ไม่ให้เครื่อง DCA ของฝ่ายตรงข้ามขึ้นบินได้),เครื่องบินในลานจอดโรงจอด และคลังน้ำมันเครื่องบิน ถ้าทำสำเร็จการ AI,BAI CAS ที่จะตามมาก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง DCA จากอากาศยานฝ่ายตรงข้าม(ไปพะวงที่ ปตอ. อย่างเดียวแทน 5555)
การจัดกำลัง OCA ต้องมีเครื่องบินไปทำภารกิจอะไรบ้าง(พร้อมๆกัน) เรามาคุยกันเล่นๆ ก็จะต้องมีกลุ่มเครื่อง Striker กลุ่มเครื่อง Escort กลุ่มเครื่อง SWEEP กลุ่มเครื่อง SEAD และกลุ่มเครื่อง CAP
จำนวนเครื่องของกลุ่ม Striker จะได้มาจากการคำนวณปริมาณน้ำหนักของอาวุธที่จะต้องใช้กับขีดความสามารถของแบบเครื่องนั้นๆว่าแบกไปได้เท่าไหร่ในระยะทางนั้นๆ กลุ่มเครื่อง SWEEP,Escort จะเป็นหลักประกันว่า Striker จะไปถึงเป้าหมายโดยไม่ถูกเครื่อง DCA ฝ่ายตรงข้ามยิงตกระหว่างทาง
SWEEP เป็นปราการด่านแรกที่ต้องดึงเครื่องฝ่ายตรงข้ามที่ Hot alert ขึ้นมาสกัดกั้น ไปรบกันทางอากาศไม่ให้ไปถึงกลุ่ม Striker ของฝ่ายตน,Escort เป็นปราการด่านต่อไปกรณีมีเครื่องหลุด SWEEP เข้ามา,CAP คอยช่วยแก้ปัญหากรณีเจอปัญหาไม่คาดคิด,SEAD ไปหากลุ่มสถานีเรดาร์ สถานีรายงานของฝ่ายตรงข้าม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลักการ จู่โจม สำคัญมาก สงคราม 6 วันเป็นตัวอย่างได้อย่างดี
จากเหตุการณ์ข้างต้นหากมามองประเทศเราและกลุ่มประเทศที่มีชายแดนติดกันและลองจัดกำลังกันสนุกๆกันดีกว่า ส่วนตัวเชื่อว่า F16 ฝูง 403 จะเป็น Striker หลัก 103 แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Striker และSEAD 102 เป็น Escort 701 เป็น SWEEP และ 211 เป็น CAP
หากคิดว่าจำนวนพร้อมรบได้ 70% Striker รวมกันน่าจะประมาณ 20-22 ลำ (LGB 2000 ปอนด์ รวมกันประมาณ 40-44 ลูก หรือ 40-44 ช็อตตัน) SEED ประมาณ 7-9 ลำ(ระเบิด+มาเวอริค) Escort ประมาณ 9-10 ลำ SWEEP ประมาณ 8-9 ลำ และ CAP ประมาณ 10 ลำ เข้าโจมตี 3 สนามบินหลัก ซึ่งเชื่อว่าบินถึงหมดสำหรับประเทศที่มีชายแดนติดกัน(อยู่ที่สนามบินที่จะใช้ดีพลอยด้วย)
ประเทศเพื่อนบ้านที่ชายแดนติดกัน เอามาเลเซียมายกตัวอย่าง(เพราะมี ซู 30 5555) คิด 70% เท่ากัน
ส่วนตัวเชื่อว่า Striker เป็น ซู 30 (ว่าแต่ตอนนี้มาเลย์มีกี่ฝูง ลืมแล้ว งั้นคิด 2 ฝูง 36 ลำตามความต้องการเค้าเลย) 1 ฝูง อีกฝูงเป็น SWEEP+SEAD มิก 29 เป็น Escort F 18 เป็น CAP
Striker จะมีได้ประมาณ 12 ลำ SWEEP ประมาณ 6 ลำ SEED 6 ลำ Escort ประมาณ 10-11 ลำ และ CAP ประมาณ 5 ลำ ไม่แน่ใจว่า ซู 30 ติดระเบิด 2000 ปอนด์ได้เท่าไหร่ แต่เดาว่าน่าจะ 4 ถ้าคิดที่ 4 ก็หมายความว่า Striker แบกระเบิดไป 48 ช็อตตัน เข้าโจมตี 3 สนามบินหลักเหมือนกัน
ตัวอย่างข้างต้นคร่าวๆจะเห็นว่า มาเลย์สามารถนำพาน้ำหนักระเบิดไปได้มากกว่านิดหน่อย แต่จำนวนเครื่องในภารกิจอื่นๆแถบจะมีจำนวนน้อย และถ้ามาเลย์ปลดประจำการณ์มิก 29 ด้วยแล้วละก็จะยิ่งกว่านี้ ซู 30 แบกระเบิดได้มากกว่าเท่าตัวก็จริง แต่ถ้าถูกยิงตกระหว่างทาง ก็หมายความว่าน้ำหนักระเบิดรวมจะหายไปเท่าตัวด้วยเช่นเดียวกัน และแบกระเบิดมาก ก็หมายถึง จำนวนเที่ยวที่จะต้องลงใช้อาวุธก็มากตามตัวซึ่งจะมีเกณฑ์เสี่ยงมากขึ้น แต่เครื่อง SWEEP จะได้เปรียบที่ระยะเวลาที่มากในอากาศ แต่จำนวนที่สามารถใช้ได้มีน้อย
เป็นตัวอย่างคิดกันเล่นๆสนุกๆนะครับ เพื่อให้เห็นภาพว่าเราสามารถ OCA ได้ระดับหนึ่งเลย(เครื่องเล็กแต่ชดเชยที่จำนวนที่มี) มาเลย์เองส่วนตัวว่า OCA เต็มๆได้ยาก(ด้วยจำนวนเครื่องที่มี) พม่า ลาว กัมพูชา ไม่ต้องคิดเลยครับ ตัวเลือก OCA ยากกว่านี้
มาเลย์เลือก ซู 30 อาจจะเป็นเพราะต้องการใช้ประโยชน์จากระยะเวลาในอากาศในการใช้ CAP และ การลาดตระเวนติดอาวุธในพื้นที่พิพาทเหนือหมู่เกาะเจ้าปัญหามากกว่าครับ(รวมถึงเวียดนามด้วย)
แต่อะไรก็ไม่สำคัญเท่าเรื่องการทำให้มีจำนวนพร้อมรบที่สูงครับ ซึ่งตรงนี้เราดูตัวอย่างจากมาเลย์ได้เลยในเรื่องการเลือกแบบเครื่องบินรบหลักจากหลายแหล่งมากเกินไป ปัญหาความพร้อมรบของ มิก 29 เราก็น่าจะเคยได้ยินกันบ้าง ในส่วนของเราที่เลือก กริฟเฟ่นนั้น ส่วนตัวเชื่อว่าเราคิดดีแล้วครับ เพราะยังใช้ของที่มีอยู่เดิมได้เกือบทั้งหมด ไม่ต้องมาลงทุนที่ 0 กันใหม่
เท่าที่ทราบมาเลมี Su-30 แค่ 18 ลำนะครับ อัตราความพร้อมปฏิบัติการในยามสงบก็ไม่น่าจะสูงกว่า 70% ส่วน Mig-29 นั้นแย่กว่ามาก บางช่วงต่ำกว่า 50% เลยด้วยซ้ำ จนมีข่าวว่ามาเลคงจะปลดประจำการในเร็วๆนี้ และจัดหาบ.ใหม่มาทดแทน ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกก็คือ Jas-39 Gripen !!!
ในส่วนของทอ.ไทย เชื่อว่าอัตราความพร้อมปฏิบัติการในช่วงเวลาปกติน่าจะอยู่ราว 70-80% โดยฝูง 701 น่าจะมีเปอร์เซนต์สูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณ >80% เนื่องจากเป็นเครื่องที่จัดหามาใหม่ อีกทั้งเป็นบ.ที่มีคุณสมบัติเด่นที่มีความต้องการการซ่อมบำรุงต่ำและซ่อมบำรุงได้ง่ายอีกด้วย
ขอเสริมนิดนึงครับ ผมมองว่าเครื่อง SAAB 340 AEW นั้นมีบทบาทที่สำคัญมากกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ทอ.ไทยเลือกใช้ในการป้องกันน่านฟ้า จำนวนที่มีอยู่เพียง 2 เครื่อง จึงน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ความรับผิดชอบของกองบิน 7 ด้วยขนาดเครื่องที่เล็ก สมรรถนะการบินค่อนข้างต่ำ ทั้งระยะทาง/ระยะเวลาในการบินแบบ Endurance และความเร็ว/เพดานบิน พื้นที่รับผิดชอบน่านฟ้่า/น่านน้ำสองฝั่งเป็นแนวยาวของภาคใต้ เฉพาะกองบิน 7 ก็ควรจะมีไม่น้อยกว่า 3 -4 เครื่อง
ถ้ามีแค่ฝูงเดียว มาเลย์ยิ่งยากในการที่จะ OCA ต่อ 3 สนามบินหลักพร้อมกันในเที่ยวแรกครับ
ว่าแต่ สิงคโปร์มี F 16 C/D กี่ลำ ครับ
จริง ๆแล้ว การบินไทย เอง มีเครื่องบิน ที่ รอวันเจ๊งอยู่ ชุดนึง ( เอ 340-500) น่าจะขายให้ ทอ ในราคา ถูก มาติด tanker หรือติด AWAC
ดีกว่า จอดทิ้งไว้
SingaporeมีF15SG x 24 , F16C/D Block52(ติดCFTs) x 74 , F5S/T x 41 แต่บางส่วนประจำการนอกประเทศ ไม่แน่ใจว่าอยู่ในประเทศเท่าไรบ้าง
เครื่องบินสมรรภนะสูง เอนกภาระกิจ กริ้ปเป้นสองฝูง 24 ลำ กับ เอฟ-16 เอ/บีเอ็มแอลยู 18 ลำ รวม 42 ลำ สำหรับประเทศเราผมว่าเพียงพอน่ะครับ จำนวนที่มากไป ไม่ใช่คำตอบ คุณภาพของนักบินและระบบอาวุธที่ทันสมัย คือคำตอบ และหากได้ระบบอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่มีศักยภาพสูงอย่าง แอสเตอร์-30 วางทุกกองบินหลัก 3 กองบิน กองบิน 1 กองบิน 4 กองบิน7 ก็ไม่มีใครกล้ามายุ่งบ้านเราหรอกครับ
มาเลเซียมีF/A-18 ด้วยนะครับติดฮาร์พูน,อัมรามและไซน์ไวด์เดอร์รุ่นล่าสุด ส่วนSU-30 เขามี Kh-59ME air-to-ground missile. NATO reporting name AS-13 Kingbolt. Range: 200km และ Kh-31P supersonic anti-radiation missile. NATO reporting name AS-17 Krypton. Range: 110km ที่เรียกสั้นๆว่า "AWACS killer" เป็นของฝากนักกอล์ฟครับ
นักบินเขาไม่ต้องทำอะไรมากแค่ยิงตามคำสั่งแล้วก็กลับฐานทัพเท่านั้นเอง อยู่ที่ฝ่ายตั้งรับหละครับว่าจะทำยังไงกับจรวดดังกล่าวเอาอยู่มากน้อยแค่ไหน ยิงไปซัก20ลูกให้กองเรือหรือกำลังรบข้าศึกหายไปครึ่งหนึ่งแล้วค่อยนั่งคิดอีกทีว่าจะเอายังไง หลักการรบของรัสเซียแท้ๆเลยนะใช้ลูกยาวระยะไกลทำลายให้เรียบก่อน
a 340 ลำใหญ่เกิน แถมกินน้ำมันวายวอด จนเขาจะเลิกบินกันหมดละ ถ้าเราอยากได้ tanker จริงๆ ซื้อ a 310 mmrt มาทั้งลำ คงถูกกว่า convert a340 ซึ่งยังไม่มีใครทำ แล้วเราก็คงทำเองยังไม่ได้
ถ้าได้gripenเพิ่มแล้วF-16 E/F ยังมีโอกาศมั้ยครับเพราะถ้ารอF-35คงอีกนานมากๆๆๆ
ปัญหาของมาเลเซียคือการขาดแคลนนักบิน กรณีของ MIG-29 ก็มีปัญหาเรื่องนี้ บวกกับความพร้อมของอากาศยาน ส่วน SU-30MKM ก็เคยเกิดปัญหาทางเทคนิคตอนส่งมอบทำให้ต้องมีการแก้ไขแต่ก็ลุล่วงไปด้วยดี ในขณะที่ตอนกองทัพอากาศรับมอบ JAS-39C/D ล็อตแรกไม่นานนักบินเราก็เอาเครื่องไปบินโชว์ถึงมาเลเซีย ซึ่งแสดงถึงความพร้อมรบในเวลาไม่นานจนเป็นที่จับตามองของมาเลเซียเลยทีเดียว
เครื่อง A340 ที่จอดทิ้งไว้ เพราะมันไม่ได้เรื่องจริงๆ แถมออกแบบมาบินระยะไกล คงไม่ได้สอดรับกับของเรา เพราะเครื่องเรา คือแค่ปกป้องน่านฟ้าก็จะแย่แล้ว เอามาใช้ก็ไม่เหมาะสมกับภาระกิจ ตัวอย่างที่ดีของการจัดการกับเครื่องนั้น คือ ถ้าไม่มีคนรับซื้อไป ก็คงต้องเอาไปแลกกับเครื่องแอร์บัสเองอย่างที่สิงคโปร์เขาทำนั่นแหล่ะ
เอามาแลก เป็น A330 MRTT ได้ไหมเนี่บ ^^
การมีจรวดมิสไซด์ในระยะไกลก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณจะได้เปรียบ หากฝ่ายตรงข้ามมีระบบเป้าลวงและมิสไซด์ต่อต้านที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูกกว่า
ฉะนั้นการใช่อาวุธมิสไซด์ระยะไกลที่มีราคาแพงก็อาจจะเป็นการยิงออกไปที่สูญเปล่าได้เหมือนกัน อาวุธลูกยาวส่วนใหญ่ของมาเลเซีย
ที่ซื้อมานั้น น่าจะเก็บเอาไว้ใช้งัดข้อกับประเทศจีนเสียมากกว่า เพราะระบบอาวุธของจีนส่วนใหญ่จะมาจากค่ายเดียวกันคือรัสเซีย
ระยะหลังๆที่ผ่านมามาเลเซียเริ่มจะคบหากับสหรัฐมากขึ้นเพราะต้องซื้อระบบอาวุธต่อต้านมิสไซด์และอากาศยานที่มีประสิทธิภาพสูงมาไว้ใช้งาน หนึ่งในนั้นก็คือ ESSM