หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เปรียบเทียบ oplot m - leopard 2

โดยคุณ : 6428 เมื่อวันที่ : 14/09/2013 16:41:58

ดูกันเพลินๆ น่ะ จ๊ะ แต่ oplot m ของเรา ท่า ครบชิ้นส่วน ดู ดุ ดัน ใช่เล่นน่ะครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ถ้าให้เลือก ส่วนตัวแล้วยอมใช้รถถังเก่ามือสองอย่าง Leopard 2A4 ดีกว่า แล้วค่อย Upgrade ไปเท่าที่งบประมาณจะอำนวย เหมือนอย่างสิงคโปร์และอินโดนีเซีย 


โดยคุณ Ares เมื่อวันที่ 11/09/2013 02:37:06


ความคิดเห็นที่ 2


ลงชื่อมู้นี้ยาวแน่ๆคอนเฟิร์ม

โดยคุณ FiTaLipz เมื่อวันที่ 11/09/2013 05:48:15


ความคิดเห็นที่ 3


จำได้ไหมเอ่ย ปืนเยอรมันอย่างG36 ของรพศ.นย. ที่ใครๆก็ว่าดี พอถึงช่วงปฏิวัติ เยอรมันไม่ส่งอะไหล่ให้ 

G36 ตอนนี้ขาดอะไหล่ ซ่อมกินตัว  จนต้องหาTavor หรือ M4A3 มาใช้  (ได้ยินว่าSig 516 ก็มี) 

เยอรมันของเค้าดีจริง แต่เป็นประเทศที่ขี้กลัวกว่าใครในโลก  หากขัดรัฐธรรมนูญประเด็นคู่สัญญาต้องเป็นประเทศประชาธิปไตย หรือ ต้องไม่มีปัญหาสิทธิมนุษยชนเมื่อไหร่ พี่แกก็เลิกสัญญาไปดื้อๆ 

อาจจะเป็นอย่างหนึ่งที่ทบ.ตัดสินใจไม่เอาเยอรมัน หรือ เกาหลี (ซึ่งK1 ก็ใช้เครื่องMTUเยอรมัน) ซึ่งตัวเลือกก็จะเหลือแค่T-90S กับOplot  

ดูอย่างไร Oplot ก็ภาษีดีกว่า T-90S  

 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 11/09/2013 06:19:38


ความคิดเห็นที่ 4


ประเด็นรัฐบาลเยอรมันห้ามค้าขายยุทธปัจจัยกับประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยผมสงสัยอยู่เรื่องนึง

คือรถบีทีอาร์ของเรานี่ก็ใช้เครื่อง mtu ซึ่งก็เป็นของเยอรมัน โดยเปลี่ยนแบบจาก duezt เพราะเยอรมันไม่ขายให้ผมว่าตลก

หรือเป็น mtu อเมริกา?

แล้วเรื่องปืน g36 ผมว่าตอนนี้ซื้ออะไหล่ได้แล้วหรือยัง? มันก็นานมาแล้ว หรือซ่อมกินตัวจนไม่เหลือแล้ว 

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 11/09/2013 06:34:08


ความคิดเห็นที่ 5


ท่าน icy_CMU  ครับเยอรมันไม่ขี้กลัวหรอกครับเขาเรียกว่าได้รับบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วต่างจากเราที่ไม่เคยโดน :D

บ้านเรายังไม่ใช่ประชาธิปไตยวันดีคืนดีอาจจะได้เห็น LEO ออกมาวิ่งในเมื่องหลวงก้ได้ใครจะไปรู้ทำให้ภาพพจน์รถหรูเขาเสียหาย

" ตลกร้ายดีๆนี่เอง :D "

โดยคุณ FiTaLipz เมื่อวันที่ 11/09/2013 06:59:30


ความคิดเห็นที่ 6


อ้าย ๆ ถ้าเป็นอย่างอ้าย ICY_CMU พูด เราก็อดได้ U-214 ละก้า U-209 ก็ได้เอ๊าะ แต่ถามว่า มันมีอะไรที่เยอรมันไม่เกี่ยวข้องบ้าง น้อย ยกเว้นคนละค่าย

โดยคุณ system_4 เมื่อวันที่ 11/09/2013 07:12:44


ความคิดเห็นที่ 7


เข้าใจว่าคงเลี่ยงไปใช้MTU ของสาขาอเมริกาแทน (หากจำไม่ผิด MTU สาขาอเมริกา เคยใช้ชื่อ Detroit Diesel ก่อนจะควบกับMTU แล้วTake over โดยบ.Tognum ซึ่งตอนนี้โดนซื้อโดย Daimler และ Rolls-Royce ซับซ้อนจริงๆพับผ่า) 

Ukrainian APCs to get US engines
By: WASSANA NANUAM
Published: 23/04/2009 at 12:00 AM
Newspaper section: News

The army will now use US-made engines in 96 armoured personnel carriers ordered from Ukraine after the German government refused to supply the units because of “Thailand’s political instability”, an army source says.

The refusal by Germany has forced Ukraine to delay the delivery of the first batch of 12 vehicles, due by the end of this year, for about another six months, the source said.

The army and Ukrspetsexport Co, a Ukrainian state arms trading company, have agreed to tackle the problem regarding Berlin’s refusal to sell Deutz engines for the 96 BTR-3E armoured personnel carriers, worth 3.9 billion baht.

Germany cited political instability since the 2006 military coup for not selling the parts.

The army now uses Allison gears from the US for its armoured vehicles.

The source said Ukraine’s armoured vehicles were originally fitted with manual transmissions. As the army wants automatic transmission units, the armoured vehicles’ gear system had to be modified.

Now US-made engines and gears are to be used, Ukraine has to conduct performance tests for the vehicles for about four months.

Ukraine had tried in early April to negotiate with German diplomats stationed in its country for the Deutz engines but nothing was resolved, the source said.

 

 

K1 ของเกาหลี หากจะนับอีกปัญหาที่ว่าทบ.ไม่เลือก ก็คงเพราะปืน120มม. ที่แม้เกาหลีจะผลิตเอง แต่ผู้ถือลิขสิทธิ์ปืนยังเป็นRheinmetall ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกเหตุผลที่ทบ.ไม่เลือกK1หรือLeo 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 11/09/2013 07:26:10


ความคิดเห็นที่ 8


อ้าย ๆ ถ้าเป็นอย่างอ้าย ICY_CMU พูด เราก็อดได้ U-214 ละก้า U-209 ก็ได้เอ๊าะ แต่ถามว่า มันมีอะไรที่เยอรมันไม่เกี่ยวข้องบ้าง น้อย ยกเว้นคนละค่าย

 

 


น่าแปลกอย่างหนึ่ง เรือของทร.ไทยกลับไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเยอรมันไม่ขายเครื่องยนต์เรือ หรือระบบต่างๆบนเรือให้ ทั้งๆที่หลายๆยุคที่ทร.ซื้อเรือ ไทยเองก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ..........หรือเรือรบมันไม่ได้ไปจอดทำรัฐประหารก็ไม่รู้ได้ 

 

 

*********หมายเหตุ กำลังดักรอขาประจำมาด่าOplotอยู่***********

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 11/09/2013 07:29:08


ความคิดเห็นที่ 9


ความเห็นใน anuchit97it.wordpress ตอนปี 2553 ก่อนการจัดหา Oplot...(ลองอ่านกันดูครับ มีหลายหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ BTR-3E ด้วย ที่น่าสนใจ)

http://anuchit97it.wordpress.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

และ K1 ก็เคยลงรูปในหนังสือแจกประชาสัมพันธ์ของ กองทัพบก พิมพ์ 4 สีอย่างสวยงาม...ตามที่ผมเคย สแกน ลงให้ดูในกระทู้เก่า (ขี้เกียจหา...ตอนนั้น ผมก็เข้าใจผิด นึกว่าเป็น Oplot)...

ก็คิดว่า K-1 มาเต็ง 1 ในตอนแรก...แต่สุดท้าย พ่าย Oplot ไป ในปี 2554...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2013 07:54:18


ความคิดเห็นที่ 10


มันคือ ข่าวเก่า...

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างประชาธิปัตย์ - บิ๊กทหารเอื้ออาทรจนถึงนาทีสุดท้าย กลาโหมดันเอาจนได้จัดซื้อยานเกราะล้อยางล็อตสอง 121 คัน ควบรถถังสายพานลำเลียงจากยูเครนเจ้าเก่ารวมวงเงินหมื่นกว่าล้านผ่านฉลุย วงการค้าอาวุธวิจารณ์แซ่ดบิ๊กทหารชอบซื้อยุทโธปกรณ์เก่าเพราะค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 30%
       
       การอุ้มสมให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลของเหล่าบิ๊กทหาร ทำให้บุญคุณนี้ต้องทดแทน ยิ่งเมื่อสถานการณ์ชายแดนตึงเครียด มีเหตุปะทะสู้รบกับเขมรเพราะการเดินเกมพลาดพลั้งตกเป็นเบี้ยรองฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ยิ่งทำให้คำขอของทหารเป็นคำขอที่ประชาธิปัตย์แทบไม่มีสิทธิปฏิเสธ มีแต่ต้องจัดให้และจัดหนักตามข้อเสนอทั้งสิ้น
       
       หากติดตามข่าวคราวเรื่องการจัดซื้อยานเกราะล้อยางในภาพรวม จะเห็นว่า โครงการนี้มีปัญหามาตั้งแต่ต้นและถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น ทั้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สภานิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎร และถูกยกเป็นประเด็นอภิปรายไม่ไว้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เนื่องจากโครงการจัดซื้อจัดหายานเกราะล้อยางนี้มีพิรุธมาตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาในเฟสแรก จำนวน 96 คัน เมื่อปี 2550โดยกระบวนการเปิดประมูล การคัดเลือกผู้ชนะประมูล ถูกร้องเรียนมาตั้งแต่ต้นว่ามีความไม่โปร่งใส เอื้อประโยชน์ให้ผู้เข้าร่วมประมูลบางราย กระทั่งปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ที่ประเทศเยอรมันผู้ผลิตเครื่องยนต์ไม่ขายให้กับประเทศไทย
       
       ทางกองทัพบก ต้องดิ้นรนหนีข้อกล่าวหาโดยพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อจัดหาจากวิธีการประมูลโดยวิธีพิเศษ ไปเป็นการจัดซื้อโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล ทางด้านบริษัทผู้ชนะประมูลได้วิ่งเต้นเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์และเครื่องเปลี่ยนความเร็วใหม่ ขณะที่กองทัพบกมีการสอบถามความเห็นไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด กรณีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา เพื่อสร้างความชอบธรรมและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ขณะเดียวกันก็ถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยืนยันว่าความตกลงจัดซื้อจัดหายานเกราะล้อยางจากยูเครน เป็น “หนังสือสัญญา” ตามมาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ด้วยหรือไม่ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวต่างก็ล้วนตอบเอาใจกองทัพทั้งสิ้น
       
       ย้อนกลับไปดูโครงการจัดซื้อจัดหายานเกราะล้อยางยูเครน เฟสแรก 96 คัน นั้นประเด็นที่ สตง.ตรวจสอบหนักก็คือ ความไม่โปร่งใสในการประมูล มีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ชนะประมูล การทำผิดเงื่อนไขประมูลหรือทีโออาร์ที่กองทัพบก กำหนดว่า “ต้องเป็นยุทโธปกรณ์ใหม่ ไม่เก่าเก็บหรือเคยใช้งานมาก่อน” แต่ในที่สุดคณะกรรมการคัดเลือกแบบ กลับคัดเลือกแบบยานเกราะจากยูเครนที่เป็นรถเก่าจากรัสเซียนำมาดัดแปลง อีกทั้งยังมีคำถามเรื่องประสิทธิภาพความทนทานต่อตะปูเรือใบ กระสุนปืนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. ฯลฯ
       
       ต่อมา “รัฐบาลขิงแก่” ก็มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 เห็นชอบตามที่ พล.อ.บุญรอด สมทัต รมว.กลาโหมขณะนั้นเสนอ เพื่อขอผูกพันงบประมาณข้ามปี โครงการจัดหารถหุ้มเกราะ จำนวน 96 คัน ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 50 - 54 วงเงิน 3,898 ล้านบาท และให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายรถหุ้มเกราะระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลยูเครน ท่ามกลางการติดตามตรวจสอบอย่างไม่ลดละของ สตง.ทั้งเรื่องราคาที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าตอนเสนอประมูล รถเก่านำมาดัดแปลงใหม่ กระบวนดำเนินการจัดซื้อจัดหาไม่โปร่งใส ฯลฯ
       
       อาการดันทุรังของกองทัพบก เกิดสะดุดเมื่อเยอรมนี ได้ปฏิเสธส่งออกเครื่องยนต์ Deutz เพื่อนำมาติดตั้งให้กับยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ทางกองทัพบกจึงตั้งคณะทำงานฯพิจารณาเปลี่ยนแปลงระบบกำลังเป็นเครื่องยนต์ MTU และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว และสรุปว่ามีความเหมาะสม จึงเสนอให้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบก (กมย.ทบ.) พิจารณาและผบ.ทบ.ได้อนุมัติรับรองมาตรฐานยานเกราะล้อยางที่ติดตั้งเครื่องยนต์ MTU และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว Allison ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสัญญานี้ทำได้เพราะเป็นความตกลงซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ขณะที่สตง.เห็นว่า เป็นการแก้ไขในสาระสำคัญและอาจทำให้ราชการเสียประโยชน์ รวมทั้งอาจเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ขายได้
       
       แต่ข้อท้วงติงของ สตง. ดูเหมือนรมว.กลาโหม และคณะรัฐมนตรีจะไม่สนใจฟัง เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมได้อนุมัติแผนจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพบก ประจำปีงบประมาณ 2553 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ให้ซื้อรถยานเกราะแบบต่างๆ จำนวน 121 คัน ประมาณ 4,999 ล้านบาท แน่นอน ยานเกราะที่พล.อ.ประวิตร อนุมัตินั้น ย่อมเป็นยานเกราะล้อยาง BTR-3E1ประเทศยูเครน ที่ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ MTU ซึ่งว่ากันว่า นายหน้าค้าเครื่องยนต์ MTU ซึ่งปกติจะใช้เป็น “เครื่องเรือ” นั้นเป็นญาติกับบิ๊กทหารนั่นเอง
       
       จากนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปี ตามแผนการจัดซื้อยานเกราะล้อยางแบบ BTR-3E1 จำนวน 121 คัน จากบริษัท UKRSPECEXPORT ด้วยวิธีพิเศษ กรณีเป็นพัสดุที่โดยลักษณะการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ วงเงิน 4,999 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ถึงปีงบประมาณ 2556
       
       แต่การจัดซื้อด้วย “วิธีพิเศษ” ซึ่งเป็นประเด็นอาจเกิดปัญหาตามมาโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ เนื่องจากเป็นการแก้ไขในสาระสำคัญ ผบ.ทบ.จึงยกเลิกแผนจัดหาโครงการจัดหายานเกราะดังกล่าวข้างต้นใหม่ และได้ดำเนินการตามแผนหาใหม่ดำเนินการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 จากประเทศยูเครน ด้วยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล พร้อมกับทำการต่อรองราคากับผู้แทนรัฐบาลยูเครน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 ตกลงราคากันได้ที่ประมาณ 4,334 ล้านบาท จากนั้น พล.อ.ประวิตร ก็ได้เสนอเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554
       
       หากตามไปดูเอกสารแนบเรื่องที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม ระบุด้วยว่า ร่างความตกลงซื้อยานเกราะล้อยาง 121 คันนี้ ไม่แตกต่างไปจากเฟสแรก 96 คัน จึงไม่ต้องส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาอีกแต่อย่างใด ส่วนประเด็นที่ว่า ร่างความตกลงจัดซื้อดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฯ 2550 หรือไม่นั้น งานนี้ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ตอบกองทัพบกมาว่า ความตกลงดังกล่าวไม่น่าเป็น “หนังสือสัญญา” ตามหนังสือของกต. ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ขณะที่เรื่องนี้ สตง. มีความเห็นว่า เข้าข่ายหนังสือสัญญา ตามมาตรา 190 ซึ่งต้องผ่านรัฐสภาก่อน
       
       ไม่เพียงแต่ ยานเกราะล้อยาง เท่านั้น ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ จัดให้แก่กองทัพ ในประชุมคณะรัฐมนตรีนัดสั่งลา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ยังได้กล่าวถึงเรื่องจัดซื้อรถถังในราคา 7,300 ล้านบาท จากประเทศยูเครน ที่นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติด้วย รถถังหลักหรือรถสายพานลำเลียงที่กองทัพบกเสนอและได้รับอนุมัติครั้งนี้เป็นการจัดหาเพื่อเข้าประจำการในหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพบกเพื่อทดแทนรถถังเดิมที่ชำรุด โดยกระบวนการจัดหานั้น มีผู้เสนอที่ผ่านคุณสมบัติขั้นต้น 12 ราย แต่มีบริษัทที่นำเสนอข้อมูลให้คณะทำงานฯ พิจารณา 9 บริษัท และสรุปสุดท้ายมี 3 รายที่ผ่านการรับรองแบบ คือ จากเกาหลี, รัสเซีย และยูเครน แต่สุดท้ายกองทัพบกได้เลือกรถถังเก่าจากยูเครน เช่นเดียวกับยานเกราะล้อยาง
       
       การเลือกซื้อยุทโธปกรณ์เก่าแทนที่จะเป็นของใหม่นั้น พ่อค้าในแวดวงค้าอาวุธ ให้ข้อมูลว่า เป็นเพราะการให้ส่วนลดทางการค้า หรือคอมมิชชั่น ให้ได้สูงกว่า อย่างรถเก่าส่วนลดจะตกประมาณ 30% แต่หากเป็นของใหม่ คอมมิชชั่นจะอยู่ที่ประมาณ 10% เท่านั้น อีกทั้งหากเป็นอาวุธยุทโธปกรณ์จากโซนยุโรปหรืออเมริกา ส่วนลดการค้าก็จะได้ประมาณ 10% เช่นกัน

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2013 07:59:06


ความคิดเห็นที่ 11


ผมว่าข่าวป๋าเอามาลงมันชี้นำไปหน่อยนะครับ

เช่นการบอกว่าเลือกซื้อรถถังเก่ามันก็ยังไงๆนะครับ เพราะไม่มีข้อยืนยันว่าเอาซากมารีเมคใหม่จริง

สำบัดสำนวนข่าวไม่น่าเอามาอ้างอิง

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 11/09/2013 08:10:48


ความคิดเห็นที่ 12


MTU เป็นเครื่องเรืออย่างเดียว .........ขำฟันหลุด เอิ๊กๆๆๆๆ  พวกนี้ไม่รู้จริงๆเหรอว่าMTU6R106 ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับยานยนต์ทางการทหาร 

Oplot รถถังเก่า .........พูดเหมือนบางคนที่รูปAvatarใหญ่เกินไปเลย ........ขำอีกรอบ เอิ๊กๆๆๆ  T-84 ของยูเครนเองยังมีไม่ถึง10คันเลย 

หากจะเอาT-80UD มาดัดแปลง ก็ต้องเปลี่ยนทั้งป้อมเลย ..........

พวกนี้นั่งจินตนาการเองทั้งนั้น  

ต้องทำบุญกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวรประจำรถถังมั๊ยเนี่ย รู้สึกว่ามีกรรมเหลือเกิน .........LOL 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 11/09/2013 08:14:56


ความคิดเห็นที่ 13


ASTV ชื่อนี้รู้กัน = _= ว่าอย่าไปเอาอะไรมากเอียงได้โล่ห์เลยครับสำนักนี้

โดยคุณ FiTaLipz เมื่อวันที่ 11/09/2013 08:18:05


ความคิดเห็นที่ 14


เรื่องรูปk1 ลงพิมพ์ในหนังสือประชาสัมพันธ์ ของทบผมว่าเคยมีคนตอบไปแล้วนะว่าทบก็เคยเอา ยุทโธปกรณ์ ที่ไม่ได้มีอยู่จริง หรือไม่เคยเข้าประจำการมาขึ้นปกหนุงสือประชาสัมพันธ์ ตอนนัั้นลงรูป ผมจำๆม่ได้วาในรูปที่ท่านนั้นเขามาให้ดูเป็น รถถังm1a1 หรือ Stryker อะไรสักอย่างเนี่ยแหละ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 11/09/2013 09:38:15


ความคิดเห็นที่ 15


ผมว่าคุณ " juldas "  มีเจตนาชี้นำทางการเมืองแอบแผงอยู่นะคับ  อย่าเอาเรื้องการเมืองเอามาพูดเลยนะคับ ต่างคนต่างจิตต่างใจ พูดคุยแค่เพียงความรู้ระบบอาวุธดีกว่านะคับ

โดยคุณ tang2520-3@hotmail.com เมื่อวันที่ 11/09/2013 10:53:09


ความคิดเห็นที่ 16


ตามข่าวที่ยกมานั้น...รายละเอียด เทคนิคต่าง ๆ คงไม่ต้องไปสนใจนักครับ ถ้าข้อมูลที่เรารู้ และคิดว่ามันไม่ถูกต้อง...ส่วนเรื่องชี้นำการเมืองอะไรนั่น ไม่ได้เกี่ยวเลยครับ...ผมยกมาทั้งเนื้อข่าว...เพราะข้อมูลมันอยู่ในเนื้อข่าว...เดี๋ยวจะหาว่ายกมาเฉพาะบางส่วน...

แต่ที่เป็นข้อมูล สำหรับข่าวในนั้น ก็คือ แบบที่ได้รับคัดเลือก คือ เกาหลีใต้ รัสเซีย และ ยูเครน...

ซึ่งเป็นข้อมูลของข่าว...ที่น่าจะนำมาเปรียบเทียบกัน...ซึ่ง ข่าว มันจะจริง หรือ เท็จ ขนาดไหน...มันก็ยังมีส่วนเหง้าข้อมูลที่เป็นจริงผสมอยู่ในเนื้อข่าว...ซึ่งอยู่ที่ วิจารณาณของแต่ละบุคคล ที่จะใช้ข้อมูลในส่วนไหนของข่าว...นำมาประมวลผล เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด...ไม่ได้ ไปจำเขาบอกมา....

และบริษัทฯ ที่เสนอแบบมี 9 บริษัท...จาก 12 บริษัท...

รู้สึก เคยมีคนให้ข้อมูลมาว่า 9 บริษัท นั้น มาจากประเทศอะไรบ้าง...จากกระทู้เก่า...ผมจำไม่ได้แล้ว...

ก็เลยเป็นข้อสังเกตุที่ว่า ไม่มี Leopard เพราะ ไม่ได้เสนอแบบ หรือเปล่า ?

ส่วนที่ว่า ทบ. เคยลงรูปที่อาวุธที่ไม่เคยมีประจำการนั้น...ถ้าผมจำไม่ผิด มันเป็น หนังสือภายในกองทัพบก ครับ ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติของทุกเหล่าทัพ...

แต่หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือประชาสัมพันธ์ ภาระกิจและวิสัยทัศน์ ของ กองทัพบก เสนอกับ นานาประเทศ เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งเล่ม มีรูป BTR-3E ประกอบด้วย...ส่วนปีที่พิมพ์ เดี๋ยวผมกลับไปดูให้อีกทีหนึ่ง...

และเมื่อรวมส่วนผสมข้อมูลทั้งหมด...มันถึงมี มูลของข้อมูล ว่า...K-1...น่าจะเป็นตัวเต็ง มาแต่แรก ในช่วงปี 2553...แต่พอถึงปี 2554...ผลลัพท์ ที่ออกมา คือ รถถังจากยูเครน ที่ได้ไป...

ดังนั้น ในกระทู้นี้ พูดถึงว่า ถ้าจะเปรียบเทียบ รถถัง...

ก็น่าจะเป็นแบบ K-1 กับ T-90S และ Oplot...ที่เป็น รถถัง 3 แบบสุดท้าย ที่ ทบ. รับรองแบบ...

ส่วน Oplot จะประสิทธิภาพ สมกับ ข้อมูลใน อินเตอร์เนต หรือไม่...

ก็คงต้องติดตามต่อไปว่า ยูเครน จะขาย ใคร ได้อีกหรือเปล่า...

และ ประเทศไทย จะมี 49 หรือ 54 หรือ 100 หรือ 200 คัน...และเป็น ประเทศเดียว หรือเปล่า....

ในส่วนนี้ ก็น่าจะลองมีการวิเคราะห์กันด้วยครับ...เพราะมันจะมีผลในอนาคตกับ Oplot แน่...

ว่า ทบ. ควรจะซื้ออย่างเดียว หรือ ร่วมทุนการผลิต เพื่อให้คงมีอะไหล่ เพื่อให้คงประสิทธิภาพใช้งานว่าจะไม่มีปัญหาในอีก 20 ปีข้างหน้า...ถ้า ยูเครน ยังไม่สามารถมียอดขายได้เพิ่ม และ ยูเครน ไม่มีแนวโน้มว่าจะนำเข้าประจำการเป็นรถถังหลักของตนเองในอนาคต...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2013 11:07:36


ความคิดเห็นที่ 17


มาลงชื่อรอดูแฟน เลพเพิด2 ครับ อิอิ รูปล่าสุดเกี่ยวกับโอพล็อต น่าจะพอการันตีได้กระมังว่า ถึงแม้จะเป็นรถถังจากอดีตค่ายคอมมิวนิสต์ แต่ผิวเนื้อก็เหนียวพอตัว ยากที่ลูกปืนเจาะเกราะ(ทังเสตน) และจรวด จะทำให้ผิวเนื้อสาวอูเครนเป็นรอยราคีได้

โดยคุณ tawporn เมื่อวันที่ 11/09/2013 11:20:30


ความคิดเห็นที่ 18


ใช่คนที่ หาประโยชน์ของ เลพเพิด ได้อย่างเดียวคือ "มันสวย" กว่าหรือเปล่าน๊อ  ฮ่า ฮา

โดยคุณ Tigershark เมื่อวันที่ 11/09/2013 12:34:54


ความคิดเห็นที่ 19


คงห็นว่าสวยดูดี เลยคิดว่าคงเทพสุดๆไม่มีใครเทียบได้มั้ง ขาประจำเขาละคนเนี้ยะ

โดยคุณ apisit_aos เมื่อวันที่ 11/09/2013 13:04:56


ความคิดเห็นที่ 20


ผมว่า ต่อเองผลิตเองซิ่ ดีสุด ติดแต่ว่า ผลิตได้ แต่ กองทัพจะใช้มั้ย เพราะของนอกมันดีตรงที่ได้ .......

โดยคุณ uuhotu เมื่อวันที่ 11/09/2013 19:09:07


ความคิดเห็นที่ 21


ลงชื่อด้วยครับ ล่อเป้า ซ่ะขนาดนี้ ( แต่ผมปลื้ม T90 มีใครมาพอจะชำแหละ T90 ให้อ่านบ้างนะ )

โดยคุณ Nazgul เมื่อวันที่ 11/09/2013 19:31:11


ความคิดเห็นที่ 22


ทำไมคิดว่า จัดซื้อจากตปท มีค่าคอม แล้วผลิตเองจะไม่มีค่าคอม ล่ะครับ มีหลักฐานไหมครับว่า เขามีหรือไม่มีค่าคอม หรือว่าคิดเอาเอง 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 11/09/2013 19:36:15


ความคิดเห็นที่ 23


ตั้งกระทู้ Oplot ทีไร ดราม่ากันทุกที T T

โดยคุณ qwertyuiop เมื่อวันที่ 11/09/2013 20:18:58


ความคิดเห็นที่ 24


คือผมว่า ที่ป๋าโพสไม่เห็นจะเกี่ยวการเมืองเลย คิดมากไปหรือเปล่าครับ  ส่วนเรื่อง ถัง 2ตัว นี้ถ้าให้พูดเรื่องประสิทธภาพ และองค์ประกอบหลายๆอย่าง ต้องยอมรับครับว่า ลีโอ มันน่าจะดีกว่า ยกเว้นเรื่องเดียวที่ไปกับเราไม่ได้คือ ราคา ครับ ต้องยอมรับกันไปครับ ว่าราคาเท่านี้

กับ คุณสมบัติ ที่แสดงออกมาของ เจ้า ออปลอต ถือ ว่าคุ้มค่า ( คัน ละ 5 ล้าน กับ คันละ 15 ล้าน โดยประมาณ)

แต่ถ้าเอาความรู้สึกส่วนตัว ล้วนๆ ผมเคยบอกแล้ว ว่าผม ชอบ M1A2 ประเภท เติมได้ ทุกอย่างที่เรียกว่าน้ำมัน สุดๆดี (บุกถึงมาเลย ก็เติมปั้ม มาเลย เลย บุกถึง เวียด ก็เติมปั้มเวียดเลย ไม่ต้อง รอน้ำมันจาก สายส่งกำลังบำรุง ... อันนี้พูดเล่นนะครับ แหะๆ)

ปล.เรารักสงบ ไม่ ไปบุกใครอยู่แล้ว รับอย่างเดียว อิอิ

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 11/09/2013 21:23:56


ความคิดเห็นที่ 25


ท่าน icy  ถามนิดนึง  oplot m มันภาษีดีกว่า t 90 s ยังไงเหรอ  

 

เท่าที่ผมดูนะ มันก็พอๆกัน และ

โดยคุณ end เมื่อวันที่ 11/09/2013 21:50:57


ความคิดเห็นที่ 26


เห็นเหมือนมีใครสักคนพูดว่าอีกเหตุผลที่ไม่เอาleoก็เพราะน้ำหนักด้วน oplotนนพร้อมลม51ตัน leo61 ถึงแม้นจะบอกว่าground pressure มันจะใกล้เคียงกันแต่เมื่อรถขึ้นสะพาน หรืออยู่บนรถลาก(รถถังถ้าเคชื่อนย้ายระยะไกลจะไปบนรถลาก) น้ำหนักทั้งคันย่อมมีผลต่าง

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 11/09/2013 21:57:00


ความคิดเห็นที่ 27


ผมว่าถ้าเยอรมันขาย Leopard A2 ในราคาคันละ 2 ล้าน us dollar ....ก็ควรซื้อมาเป็นอย่างยิ่งครับ..   50 คันก็ยังดี

แล้วค่อยมาจ้าง Ukrain ปรับปรุงให้มีสมรรถนะ ให้เหมือน Oplot อีกคันละ 2 ล้าน us dollar (ปรับปรุงในเมืองไทย)

เรื่องระบบป้องกันจรวดเจาะเกราะก็ รองเลือกใช้ระบบอื่นลองดูมั่งก็ไม่เลว....

มันน่าจะดีที่เดียวครับ  ปัญหาเรื่องอื่นๆ (อะไหล่) เอาไว้แก้กันทีหลัง....จะได้รู้เสียทีว่ามันดีจริงเปล่า...

(อินโดซื้อได้ คันละ 2 ล้าน Dollar เท่านั้น  สำหรับ Leopard  A-2 )

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 11/09/2013 22:15:34


ความคิดเห็นที่ 28


ซื้อมาอัพเกรดเหรอ ผมว่ายาก ที่ผ่านๆมายานเกราะ หรือรถถังทบ.ใช้จนคุ้มทั้งนั้น เรื่องอัพเกรดนี่เห็นมีแต่ Typ69II ที่พี่จีนมาอัพให้ กับสกอร์เปี้ยนที่อัพชุดเล็ง นอกนั้นก็ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลง

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 11/09/2013 22:28:34


ความคิดเห็นที่ 29


ท่าน iCY  ครับ

ประเทศเยอรมัน จะขายอาวุธให้กับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้นใช่มั๊ยครับ แล้วอย่าง

จีน เวียดนาม หรือ พม่า(ก่อนจะเปลี่ยน )  เยอรมันไม่ขายให้ อันนี้ผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า

 

ปล. มีหลายท่าน แอนตี้ข้อมูลจากเว็บ manager เหลือเกิน เท่าที่ผมเข้าไปอ่านดู อย่างข่าวคราว

เกี่ยวกับการเมืองอันนี้ผมไม่เถียง ว่ามันเอนเอียงจริงๆ แต่ ข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ผมว่า

เขาก็ไม่มีอะไรนี่ครับ  ..  ปัจจุบันสังคมไทยมันบีบบังคับให้เราต้องเลือกสีเสื้อจริงๆพับผ่า

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 12/09/2013 14:29:36


ความคิดเห็นที่ 30


พอจะมีใครมีข้อมูลน้ำหนักพร้อมรบของ Leopard 2 SG หรือ Leopard 2 Revolution บ้างไหมครับ เห็นใช้นน.ของ Leo 2 A4 ที่ 61 ตัน มาเทียบสมรรถนะ(นน./แรงม้า) และนน.ที่สายพานกดลงบนพื้น เทียบกับ Oplot M เชื่อว่านน.น่าจะเพิ่มขึ้นมากพอสมควร ดูจากเกราะและระบบต่างๆ ที่ได้ติดตั้งเสริมเข้าไป

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 12/09/2013 16:56:46


ความคิดเห็นที่ 31


เรื่องการเปรียบเทียบ Oplot M กับเจ้าอื่น นี้มันจบไปนานแล้วนะ ทำไมยังจะมารื้อฟื้นหาตะเข็บอะไรกันอีก??? (มีปัญญาแก้ไขสัญญาซื้อขายได้หรือยังไง)

ทำไมถึงต้องยูเครน ??? และทำไมถึงไม่เลือกรัสเซีย (ส่วนเยอรมันไม่ต้องไปพูดถึง)  คำตอบและข่าวการเมืองที่ออกมาอยู่บ่อยๆในหน้าสื่อทั้งหลายแหล่มันก็บ่งชี้อยู่แล้ว เคยติดตามกันบ้างไหม มีหรือซื้ออาวุธไม่พ่วงเรื่องการเมือง คิดแบบนี้นึกว่าตนเองกำลังใช้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งเทพนิยายริยังไง

( ไม่เข้าใจจริงๆคนพวกนี้ )

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 12/09/2013 21:13:51


ความคิดเห็นที่ 32


เรื่องสื่อค่ายนี้ผมไม่ได้พูดเรื่องการเมืองนะครับ 

แต่การเขียนข่าวเกี่ยวกับอาวุธหลายครั้งแล้วที่ชอบออกแนวสารคดี คือเขียนเป็นสกู๊ปเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่รายงานข่าวว่าใครซื้ออะไร พอเป็นสกู๊ปก็เติมข้อมูลเข้าไปเยอะ เข้าใจถูกบ้างไม่ถูกบ้าง แถมต่อด้วยบทวิเคราะห์ แล้วพลาดเยอะมากๆๆๆ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 13/09/2013 02:46:15


ความคิดเห็นที่ 33


ขออภัยนะครับ หากคำถามเล็กๆน้อยๆของผม มันไปสะกิดต่อมของท่าน มิได้มีเจตนาจะดราม่าแต่อย่างใด ผมแค่สงสัยใคร่รู้อยากรู้ แต่ลองหาแล้วไม่เจอ ที่ค้นเจอจะเป็นข้อมูลของ Leopard 2 A 4 ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะเอามาใช้ เพราะเวลาเทียบสมรรถนะก็มักอ้างไปถึง Leo 2 SG และ Leo 2 Revolution แต่พอเทียบน้ำหนักและเครื่องยนต์กลับใช้ข้อมูลของตัวดั้งเดิม (รวมทั้งราคาด้วยในบางครั้ง) ผมก็เลยงงและไม่เคลียร์ไงครับ ไม่ได้ต้องการเปิดประเด็นอะไรเลยนะครับ

ปล. หากท่านได้อ่านโพสของผมจะทราบได้ว่า ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ แม้จะเป็นมุมมองเป็นความคิดส่วนบุคคลของผมเอง แต่มันก็เป็นไปตามเหตุและผลเกือบทั้งหมดครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 13/09/2013 07:47:06


ความคิดเห็นที่ 34


เพื่อนแนะนำเข้าเว็ปฟิลิปปินส์เห็นมันว่าชอบเอาไทยไปเปรียบมันทั้งที่มันไม่มีใครเปรียบ เขมรยังดีกว่ามันเลย มันก็เถียงต่างชาติว่าแม้อาวุธมันจะน้อยแต่ทหารมันมืออาชีพ พอทหารมันตายมากในการบุกยึดจ.ซัมบองก้าโดยกลุ่มมุสลิมแบ่งแยกดินแดนแล้วเมื่อวาน(11/9/2556)ต้องเสียจ.บาซิลันอีก มันก็กัดกันเองเราต่างชาติที่ติดตามมันได้แต่นั้งหัวเราะโถ่ไอ้เพื่อนเจ้ากรรมให้กรูเข้าไปดูห-ากัดกันซะได้

โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 13/09/2013 15:47:07


ความคิดเห็นที่ 35


เอาเว็บทหารของฟิลิปปินมาดูมั่งสิครับ  :D อยากไปเยี่ยมชมบ้าง

โดยคุณ FiTaLipz เมื่อวันที่ 13/09/2013 18:22:45


ความคิดเห็นที่ 36


อั๊ยยะ บอกว่าได้....(เทคโนโลยีใหม่ๆ)        คิดว่าได้อะไรกัน?

โดยคุณ uuhotu เมื่อวันที่ 14/09/2013 11:32:11


ความคิดเห็นที่ 37


อยากรู้เรื่อง "ปิ น"  ลองเข้าไปดู Timawa.net ก็ได้ครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/09/2013 16:41:58