ไนตรัส
รบกวนท่านไอซ์อีกแล้วครับช่วยวิจารณ์หน่อย บนสมมุติฐานว่า Sea Giraffe ER เป็นS-Band AESA ระยะทำการ 350km. สามารถ Uplink semi-active homing missiles ได้ และมีโหมด ICWI ในมุมจำกัด ผมนำมาติดบนเรือป้องกันภัยทางอากาศ4จาน4มุม (แต่ถ้าเรือฟริเกตทั่วไปก็1จานหมุนๆแล้วกันถูกดี) ใช้FCS 2ตัวคือCeros300 ที่เป็น 4th Gen X Band Missile Illuminator หรือพูดง่ายๆว่าSaabซื้อ CEAMOUNT มาพัฒนาต่อนั่นเอง ไม่มีLRR Radarใช้แค่เรดาร์2มิติแรงๆช่วยเสริมหน้าหลังเอา ระบบ 9LV MK5 CMS ที่รองรับความสามารถสุงสุดของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
1 สามารถยิงจรวดระยะปานกลางขึ้นไปแบบไหนได้บ้างครับ SM-2,SM-3,SM-6,Aster30,Barak2 และสามารถยิงได้พร้อมกี่เป้าหมาย สามารถยิง2นัดต่อ1เป้าหมายได้หรือไม่
2 FCSต้องเป็นสเป็กขึ้นไปเท่านี้ใช่ไหมครับ Ceros200ปรับปรุงใหม่ยังไงก็ไม่มีทางแน่นอน
3 แล้วถ้าไม่ติดFCSหละ ใช้ตัวเรดาร์เองเป็นICWIในแต่ละมุมจะสามารถทำได้ไหมและประสิทธิภาพลดน้อยลงหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นเรดาร์จานเดียวหมุนๆก็ยังต้องใช้FCSแน่นอนหละ
4ราคา ??? ติดแบบนี้จะไปไกลแค่ไหนกัน ผมเข้าใจว่าจานเปล่าๆน่าจะถูกกว่าแบบจานหมุนบนฐานนิดหน่อย(เพราะอุปกรณ์น้อยกว่า)แต่ในเมื่อใช้4จานราคาย่อมแพงกว่าเยอะแน่นอน ถ้าประสิทธิภาพสุงจริงๆก็น่าจะมีอนาคตไกลเหมือนกันนะ
ที่พูดมาทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับโครงการของทร.นะครับ ภาพประกอบผมจิ้นเองตามความชอบส่วนตัวพอดีไม่ชอบเรือสุงๆ
lสมมติว่าเป็นAESA จริง แต่เป็นS-band จะต้องมีโมดูลX band ในตัวจานเพื่อทำICWI ด้วย
หากมีโมดูลx band ก็ไม่ต้องมีceamount (หากจำไม่ผิด ceamountที่ใช้กับ SM-2 จะมีขนาด 1.6ม. จากปกติ 1ม.)
คอนฟิกแบบนี้ จะคล้ายๆเรดาร์ AN/SPY-3 แบบนี้ เทพจัด แถมหากไว้ในตำแหน่งสูงพอ เรดาร์horizon searchอาจจะไม่จำเป็นด้วยซ้ำ
(หากจะอธิบายง่ายๆคือ ย่านS-band ทำหน้าที่Volume search,missles uplink X-band ไว้เป็นFire control ,Horizon search ,illuminator อาจจะเสริมL-band 3D สักตัวสำหรับภารกิจBMD )
และอีกแบบคือ S band AESA อย่างเดียว มีS band Uplink ให้จรวดได้ แต่ไม่มีX band ไว้ทำICWI
แบบนี้ไม่ซับซ้อนมากนัก เทพแบบพอเพียง แต่ต้องมีilluminator อย่างCeamount หรือ แบบอื่นๆ
แบบนี้จะคล้ายSPY-1ดั้งเดิม แต่เป็นAESA ซึ่งทันสมัยกว่ามาก (แต่ยังต้องมีเรดาร์Horizon search แยกมาอีกตัวหนึ่ง อย่างในAEGIS ใช้SPQ-9B )
แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากในแบบ4หน้าแบบนี้คือ
1.เรือต้องใหญ่ .....ระบบระบายความร้อน ระบบair dryer ไม่ใช่เล็กๆ ยังไม่รวมน้ำหนักเรดาร์อีกราวๆ3ตัน เรือต้องมีขนาด5-6พันตันขึ้นไป
2.ระบบไฟฟ้าต้องป้อนพลังงานเพียงพอ แม้จะใช้เทคโนโลยีโซลิดสเตท แต่อัตราการกินพลังงานก็น่าจะไม่น้อยเหมือนกัน
3.ราคา ........จับไม่ลงแน่ๆสำหรับไทย แต่สำหรับชาติอื่น ที่อยากได้AAWแต่ไม่อยากจะทะเลาะกับคองเกรสของอเมริกา ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่ต้องไปแข่งกับระบบอย่างEMPAR หรือ Herakles ที่ถูกกว่า และใช้ลูกASTER ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาเท่าSM-2/3/6 (แต่หากcertifiedกับทั้งสองค่าย รับรองนับเงินไม่ทัน) และในคอนฟิก S-band อย่างเดียว ก็ต้องไปฟาดฟันกับ i-Mast ของทาเลสด้วย
...............แต่โดยส่วนตัว ยังเชื่อว่า Giraffe ER น่าจะเป็น S band PESA มากกว่า
เมื่อประมวลผลความต้องการของท่าน superboy
S-Band AESA 4 face non rotating solid-state radar
ที่น่าคิดคือระยะ 350 km 4 จาน ต้องใช้ไฟฟ้าขนาดไหนละเนี่ย เพื่อให้ได้กำลังส่งขนาดนั้น
สรุปแล้วท่านจะได้ Radar หน้าตาคล้ายๆ ตัวนี้ 555
จาก https://www.facebook.com/OPVkrabi น่าสนใจดีครับ
เท่าที่ผมจำได้ในข่าวและคนที่รู้จักและก็เพื่อนที่เคยร่วมมือเรือหลวงกระบี่ ปัญหาใหญ่มันอยู่เครน นะครับ ส่วนอื่นก็แบบปัญหาแบบเล็กๆๆน้อยที่ยังแก้ไขได้ ถ้า อู่มหิดลอัพเกรดหรือเพิ่มเครนที่สามารถลองรับน้ำหนักได้มากกว่าหรือใกล้เคียง500ตัน ผมว่าในการต่อเรือก็จะไม่มีปัญหาอะไร เพราะตอนทำเป็นบล๊อค เราก็ทำกันในที่ล่ม เป็นหลังคาที่เลื่อนไปมาได้ ก็ดูตัวอย่างง่ายๆ อย่างที่อเมริกาเค้าต่อเรือบรรทุกเครื่องบินอ่ะครับ เค้าก็ทำเป็นบล๊อค แล้วก็เอามาประกอบในอู่แห้ง มันก็เหมือนของเราแหละครับ เพียงแค่เครนที่ยกของเค้ายกได้ทีละเยอะส่วนของเรา ยกได้ทีละน้อยๆ ส่วนอีกอู่ที่เคยมีการวางแผนไว้ในอดีตนั้น เพื่อนผมบอกว่า ยังไม่ขยายเพราะว่าแค่อู่เดียว คนก็จะไม่พออยู่แล้วอุปกรณ์ก็ขาดๆ เกินๆ
55555555........................555555.....................ขอหัวเราะอย่างชอบใจเป็นที่สุดครับ ยอดเยี่ยมครับผบ.อู่ราชนาวี
อยากให้เครื่องไม้เครื่องมือของอู่พร้อมกว่านี้ครับ แสดงว่าเรือชั้นนี้คงจะเอามาทดแทนเรือฟรีเกตลำอื่นๆในอนาคตที่จะปลดประจำการแน่ๆ
แต่เสียดายสำหรับอู่แห้งหมายเลข 2
ลองไปเลียบๆเคียงรัฐบาลดูสิครับในเรื่องอู่หมายเลข 2 นี้ แล้วให้เอกชนมาเอี่ยวแบบเดิม โดยเสนอให้อู่ราชนาวีเป็นหัวจักรหลักในการขับเคลื่อนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีของประเทศที่รัฐบาลซีกนี้เคยวางแผนจะพัฒนาสิครับ น่าจะโดนใจ เผลอๆอาจจะได้งบมาเพิ่มเกินคาด
เพราะขนาดโครงการเล็กลงกว่าของเดิม สถานที่มีพร้อมไม่ต้องไปวิ่งหาสถานที่ใหม่เหมือนก่อนและใช้เวลาน้อยกว่าเดิม และไม่ต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างชาติเต็มร้อยแบบเดิม น่าจะใช้งบประมาณแผ่นดินไม่มากและโดนวิพากษ์วิจารณ์น้อยกว่าด้วยครับ
สารคดีการต่อเรือหลวงกระบี่ไทยฉบับใหม่ ฉบับเต็ม
ออสเตรเลียประสบความสำเร็จในการยิงทดสอบตอร์ปิโด MU90 ขั้นตอนสุดท้าย/ออสเตรเลีย – เมื่อ 18 ส.ค.56 กองทัพเรือออสเตรเลียได้เปิดเผยว่าประสบความสำเร็จในการยิงทดสอบตอร์ปิโดขนาดเบา MU90 ขั้นตอนสุดท้าย ก่อนจะนำเข้าประจำการในกองทัพต่อไป โดยได้ทำการยิงทดสอบจากเรือฟริเกต ชุด ANZAC ในบริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของออสเตรเลีย ผลการทดสอบตอร์ปิโดเข้าเป้าหมายอย่างแม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ ตอร์ปิโด MU90 เป็นตอร์ปิโดต่อต้านเรือดำน้ำ ขนาดเบา ใช้เรือรบเป็นฐานยิง มีความยาว 3 ม. น้ำหนัก 300 กก. ระยะปฎิบัติการมากกว่า 10 กม./ navyrecognition.com
เรือใหม่เรามีใช้ไหมครับ
MU-90 ก็น่าลุ้นอยู่ครับ...แต่ถ้า VL-ASROC ไม่ใช่ มาจาก เกาหลีใต้ แต่เป็นของ สหรัฐ...
ก็น่าจะใช้ ตอร์ปิโด แบบเดียวกันทั้งหมด คือ ใช้กับ ASROC ใช้กับ ท่อยิงตอร์ปิโด...และติดไปกับ ฮ. แบบ S-70B ที่น่าจะเป็น ฮ.ประจำเรือ..
แผ่นภาพนี้ ประเมินในความเห็นส่วนตัว ครับ...กับ ระยะเวลาในการดำเนินการของ เรือฟริเกต ลำที่ 1 และ ลำที่ 2 ซึ่ง อาจจะดำเนินการไปในระยะเวลาต่อเนื่องกัน ก็เป็นได้ครับ...
แผ่นภาพ ความเห็นส่วนตัว กรณี จัดหา ระบบ SM-2 ในระหว่างการดำเนินการของ เรือฟริเกต ลำที่ 2
แก้ไข เพิ่มเติม
NG
เข้าใจแล้วว่าทำไมเรดาร์4จานแปะเสากระโดงจึงอยู่บนเรือใหญ่ๆทั้งนั้น นอกจากเรื่องราคาและความหนักแล้วแหล่งจ่ายไฟก็มีความสำคัญมากด้วย แล้วI-MAST500 ติดบนเรือ3000ตันก็หนักและน่าจะกินไฟมากไม่ต่างกันนี่ครับ หรือเรือต้องเพิ่มกำลังไฟสุงๆรอไว้เลย
มาดูเรือจากเดนมาร์คทดสอบยิงตอร์ปิโดM-90กันบ้างนะครับตั้งแต่ปี2009แล้วมั้ง ผมชอบทร.เขาอยู่อย่างที่มีการทดสอบอาวุธจรวดทุกชนิดบนเรือทันทีที่เข้าประจำการ(บ้านเราจะยิงเมื่อใกล้หมดอายุหรือผ่านไปแล้วซัก10ปีเป็นประจำ) แต่สำหรับตอร์ปิโดเป็นการยิงลูกเปล่ามั้งครับเสร็จแล้วยังไปลากกลับเรือเลย ดูภาพแรกยังคิดว่าพวกอยู่บนเรือเล็กใจกล้ามากที่ไหนได้เป็นเรือมูลนิธิรอเก็บศพนี่เอง
ออสเตรเลียทดสอบยิงตอร์ปิโดได้ผล100เปอร์เซนต์มันทดสอบยิงยังไงหละครับใครพอจะรู้บ้าง ประเทศนี้ก็แปลกดีจังปี2010เพิ่งสั่ง MK54จากอเมริกาไป200ลูกดันมาเอาMU-90อีก สำหรับตอร์ปิโดรุ่นนี้ผมว่าเจ๋งดีครับแต่ราคาดูจะแรงไปนิด
เรือเราถ้าได้ VL-ASROC ก็ควรจะมีMK54ติดกราบเรือ(เพราะใช้ตอร์ปิโดแบบเดียวกัน) ถ้าได้K-ASROC ก็ควรจะเป็นBluesharkของเกาหลีใต้ และถ้าอยากได้MU-90 ควรจะซื้อMilasมาใช้เป็นลูกยาวครับ เข้าทางท่านนีโอเลยงานนี้ 5555
เดาว่าเรดาร์Sea master 400 อาจจะใช้ตัวT/R โมดูลเทคโนโลยีแกลเลี่ยมไนไตรด์ (GaN) ซึ่งเบาลง และกินพลังงานน้อยลง หรือไม่เช่นนั้น ก็กำลังส่งน้อย จึงไม่ต้องใช้พลังงานมากนัก รวมถึงไม่ต้องใช้T/Rโมดูลจำนวนมาก (มีพิสัยทำการสูงสุด 250กม.) เมื่อเทียบกับระยะของGiraffe ER(สมมติว่ามีจริง)ที่ตามสเป็คคือ350กม. เลยต้องการพลังงานและมีน้ำหนักสูงกว่า ...... อย่างเรดาร์APAR เป็นX-Band ซึ่งมีพิสัยทำการสั้น จึงต้องใช้T/Rโมดูลกำลังส่งสูงหรือต้องใช้จำนวนมาก (ข้อมูลว่า 3000กว่าโมดูลทีเดียว )เพื่อที่ให้มีระยะทำการเพียงพอตามต้องการ ความต้องการพลังงานและการระบายความร้อนให้โมดูลขนาดนั้น ต้องการเรือขนาดใหญ่พอ ไม่ว่าจะทั้งโครงสร้างเรือและต้นกำเนิดพลังงาน (APAR แผ่นหนึ่งหนักถึง2ตัน ระบบรวมบนเสากระโดงหลักจะหนักถึง10ตัน http://books.google.co.th/books?id=4S3h8j_NEmkC&pg=PA262&dq=thales+apar&hl=th&sa=X&ei=7msbUpPQMdDHrQfLoYGICw&ved=0CC0Q6AEwAA#v=onepage&q=thales%20apar&f=false)
โอ้ APARหนัก2ตันเลยเหรอครับ แม่เจ้า
แล้วSPY-1F/K ล่ะครับ
ปล.ถ้ามันได้350km แปลว่าเหนือกว่าI-Mast เพียงแต่ไม่มีX-band Illuminatorรวมในตัวเสาเหรอครับ?(ในI-Mastมีใช่ไหมครับ?)
จากข้อมูลเว็บนี้ http://www.harpoonhq.com/waypoint/articles/Article_044.pdf
SPY-1D หนักหน้าละ 2ตัน เดาว่ารุ่นF ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า(และสล็อตของสายอากาศน้อยกว่าครึ่ง)จะหนักราวๆครึ่งหนึ่งคือ 1ตัน แต่อย่าลืมว่าSPY-1 เป็นPESA โดยเฉพาะรุ่นD/F/K ใช้Transmitter ร่วมกันทั้ง4หน้า ซึ่งต่างจากAESA ซึ่งใช้Transmit/Receive โมดูลติดตั้งแยกกันในแต่ละหน้า .......PESA ยุคใหม่ๆจึงเบามากๆทีเดียว (อย่างAMB ที่หนักเกินครึ่งตันมาหน่อยเดียว เมื่อเทียบกับSmart-S MK2 ที่คล้ายๆกัน แต่หนักประมาณ1.2ตัน เพราะเป็นรูปแบบคล้ายๆลูกผสมAESAกับPESA มีตัวTransmitterโซลิดสเตทในตัวจาน+Receiverโซลิดสเตทในตัวจาน จึงหนักกว่าด้วยเหตุนี้ ) แต่ประสิทธิภาพสู้AESAไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง
ส่วนเรื่องGiraffe ER พูดอะไรมากไม่ได้ เพราะไม่รู้จะมีจริงหรือเปล่าเลย
ในนี้เขาบอกว่าSPY-1F ประมาณ1.55 tons และ SPY-1K ประมาณ 0.75 ตัน ดูมีหลักการแต่ไม่รู้เท็จจริงแค่ไหน กระทู้คุยกันเรื่องเรดาร์เรือสนุกดีเหมือนกัน
http://warships1discussionboards.yuku.com/topic/1424#.Uht3f39Vc1k
APARพอจะเคยผ่านตามาบ้างว่าหนักมากแต่2ตันก็เกินความคาดหมายไปนิด แต่SEAPARที่เขาว่าใช้กับESSMนี่ทำไมไม่เคยเห็นตัวจริงซักทีเลยนะได้ยินแต่ชื่อ
Giraffe ERเป็นอะไรที่หาข้อมูลไม่เจอเลยซักนิด ส่วนAMBจุดเด่นของเขาผมว่าอยู่ที่ราคาถูกกว่าsmart-s mk2นิดหน่อยนะ(16ล้านเหรียญกับ20ล้านเหรียญกว่าๆ) ทำไมเรือABSALONจึงติด smart-s mk2 กับ ceros200 โดยใช้ Terma C-Flex CMS ของชาติตัวเองได้นะดูแปลกๆแต่ก็ใช้งานได้จริง
ข่าวค่ำโมเดิร์นไนน์ทีวีคืนนี้ มีสกู้ปข่าวการต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จากเว็ป
ขอบคุณมากสำหรับข่าวครับ มุมนี้เห็นชัดเจนว่า8ท่อแน่นอน เสากระโดงหลักหนาใหญ่มากเพื่อรองรับเรดาร์AMBที่หนักแค่0.6ตัน ?? มันน่าจะมีทีเด็ดทีขาดมากกว่านี้นะ
เราซื้อเรือฟริเกตขนาด3,700ตัน2ลำมูลค่า3หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะเป็นการต่อที่เกาหลี1ลำต่อที่บ้านเรา1ลำแต่ทำอะไรบ้างยังไม่รู้นะ คาดว่าน่าจะเป็นเรือเปล่าไม่รวมอาวุธจรวดทั้งหลาย
เทียบกับโครงการของอัลจีเรียที่ซื้อเรือฟริเกตขนาด3,700ตันจากเยอรมัน(Meko A200 ลำนี้ชอบมาก)4ลำโดยต่อที่เยอรมัน2ลำและต่อที่บ้านตัวเอง2ลำ เฮลิคอปเตอร์Super Lynx 6ลำและน่าจะรวมอาวุธจรวดทั้งหมดบนเรือด้วย(พูดง่ายๆว่ามากันครบรบได้เลย) มูลค่ารวม2.5พันล้านยูโรหรือประมาณ1แสนล้านบาท !!! สเป็กเรือเขาคือ
The MEKO A-200 in Algerian configuration will be fitted with the following weapons:
» 8x Diehl Defence RBS15 Mk3 anti-ship missiles
» 16x Denel Umkhonto SAM (launched from VLS tubes)
» 1x 76-mm/62 Super Rapid gun by Oto Melara (main gun)
» 2x Rheinmetall remotely controlled MLG27 guns
Length: 121.00 m
Beam: 16.34 m
Draft: 5.95 m
Displacement: 3,500 tons
Range: >7,500 nm at 16 knots
Endurance: 28 days
Speed: >30 knots
Accommodation: 124 berths
Propulsion plant: CODAG-WARP® with 1 GT 20 MW and 2 diesel engines 5.9 MW each
ผมแถม MU 90 torpedoes ให้ด้วย ไม่มีข้อมูลCIWSแต่น่าจะมีติดมานะ ข้อมูลเรื่องอื่นก็ยังไม่เห็นนะแต่คงใกล้เคียงเรือของแอฟริกาใต้ เห็นราคาแล้วกลืนน้ำลายเลย(แต่ผมว่าน่าจะรวมการส่งคนจากเยอรมันมาควบคุมทุกขั้นตอนด้วยนะ) เรือเขาเริ่มต่อตั้งแต่ปีที่แล้วคาดว่าจะส่งได้ในปี2016 ก็คือใช้เวลา4ปีเสร็จ ประเทศนี้ใช้แต่เรือยุโรปทั้งตะวันออกและตะวันตกแสดงว่ามีเงินจริงๆไม่ได้โม้
VLS หน้าเรือมี 8 เชลล์ผมว่ามันน้อยไปนะครับ
มีข่าวแจ้งมาใหม่ครับว่าเลื่อนเป็นพรุ่งนี้
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่ามันมีแค่ 8 cell แต่มันอยู่ที่ในอนาคตจะติดเพิ่มยังไง ดูๆ แล้วพื้นที่ไม่น่าพอ
อยากให้อู่เรือประเทศเราติดเครนแบบนี้จัง
ถ้าเป็นแบบนี้มันก็คงดีมากเลย ยิ่งได้เป็นโรงต่อในที่ร่มด้วยยิ่งดีใหญ่
ผมว่า น่าจะมีมากกว่า 8 เซล...
ผมสังเกตมานานแล้ว ว่าทำไมเรือเราไม่มี stabilizer fin
ผมว่า8Cell มันไม่เป็นไรนะครับ แต่ปัญหามันก็คือ มันจะติดเพิ่มยังไง แบบคือว่ามันชิดกับCIWSแล้วอ่ะครับ ยกเว้นตอนจะติดเพิ่มย้ายCIWSไปที่อื่นหรือ ติดเพิ่มได้ที่ด้านหลังที่โรงเก็บฮ. อ่ะครับ งงจริงๆๆๆ
เข้าใจว่าที่คุณ jirawat 007 เขียนคงหมายถึง Active Fin Stabilizer ซึ่งเป็นปีกใต้แนวน้ำที่ขยับได้ เรือไม่จำเป็นต้องมีทุกลำหรอกครับ อยู่ที่การออกแบบเรือ ขนาดเรือ ภารกิจ พื้นที่ปฏิบัติการ เรือขนาดเล็กยิ่งติดไม่ได้ใหญ่ เพราะมีต้องมีเครื่องกลไกภายในตัวเรือด้วย เช่น เรือ ต.991 ตอนจะต่อทีมช่างก็ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านก็มีพระบรมราชวินิจฉัยให้ดูเรื่อง Stabilizer ด้วย กรมอู่พิจารณาแล้วที่จำกัดมาก จึงได้เพิ่ม Bilge Keel ซึ่งเป็นครีบยาวใต้แนวน้ำ(fix)ช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น ถึงจะเป็นเรือใหญ่ขึ้นมาอีกเช่น ตอนต่อเรือ ตกป.ชุดหัวหิน ทีมที่ต่อเรือพิจารณาแล้วภารกิจเรือใช้ความเร็วต่ำเป็นส่วนใหญ่ fin ติดไปก็ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ก็หันไปใช้ระบบ Anti roll Tank แทน(ดูหลักการทำงานใน Google) ผมลอกคำอธิบายเฉพาะที่เกี่ยวข้องมาให้อ่านครับ และจากคำอธิบายก็จะทราบว่า เรือ ตกด.ชุดคำรณสินธิ์มีระบบ Fin Stabilizer ผมว่ามีเรือรบอีกหลายลำที่ติด แต่จำไม่ได้แล้ว..............
ที่มาของโครงการเรือ ตกป.ชุดหัวหิน
» 28 Aug 2009 14:15
จากบทความเรื่อง การพัฒนาการต่อเรือของกองทัพเรือภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนาวาเอก ทินกร ตัณฑากาศ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา กรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ
เรือตรวจการณ์ปืน – ผลงานการออกแบบเรือและสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือ
.............................ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว เนื่องจากเรือตรวจการณ์ปืนนี้จะต้องปฏิบัติภารกิจอยู่ในทะเลเป็นระยะเวลานาน จึงได้ถูกออกแบบให้มีอุปกรณ์ลดอาการโคลงของเรือเป็นพิเศษเพื่อให้กำลังพลได้รับความสะดวกสบายสามารถปฏิบัติภารกิจในทะเลเป็นระยะเวลานานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเรือตรวจการณ์ปืนนี้จะต้องปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ด้วยความเร็วต่ำ ๆ ในช่วง ๐-๖ นอต เป็นส่วนใหญ่ แต่ระบบ Fin Stabilizer ซึ่งเคยใช้งานอย่างได้ผลในเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ชุด ร.ล.คำรณสินธุ และเรืออื่น ๆ ของกองทัพเรือมาแล้วนั้น ตามทฤษฎีจะสามารถใช้งานอย่างได้ผลก็ต่อเมื่อเรือมีความเร็วประมาณ ๑๓ นอตขึ้นไป จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับเรือตรวจการณ์ปืนนี้ หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เช่น กรมประมง ที่มีอุปกรณ์ Anti Roll Tank ติดตั้งในเรือสำรวจประมงหลายลำ และใช้งานอย่างได้ผลดีเมื่อเปรียบเทียบกับเรือที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์นี้ นอกจากนั้นแล้ว Anti Roll Tank ยังเป็นอุปกรณ์ที่ประหยัด เป็นระบบ Passive Stabilizer ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ไม่ต้องการการบำรุงรักษาใด ๆ นอกเหนือจากการบำรุงรักษาตัวเรือตามปกติ ไม่กินเนื้อที่ภายในห้องเครื่องจักร ซึ่งมีเนื้อที่ค่อนข้างจำกัดอยู่แล้ว การใช้งานง่าย สามารถลดอาการโคลงของเรือในย่านความเร็วต่ำ ๆ ตามภารกิจของเรืออย่างได้ผล ทีมงานออกแบบเรือตรวจการณ์ปืนจึงได้ตัดสินใจเลือกใช้ Anti Roll Tank เป็นอุปกรณ์ลดอาการโคลงของเรือตรวจการณ์ปืนนี้ โดยว่าจ้าง บริษัท Flume Stabilizing System ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงเชี่ยวชาญในการออกแบบอุปกรณ์ระบบนี้โดยเฉพาะ เป็นผู้ออกแบบ ทำการทดลองแบบจำลอง (Model Test) และให้ข้อมูลทางเทคนิคในการใช้งานอุปกรณ์นี้ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ…………….
ถ้ามีการเพิ่มเติมระบบ VLS ในอนาคต ผมว่า ก็คงอยู่ในตำแหน่งเดิมครับ...
ในบริเวณดังกล่าว ผมว่าคงทำพื้นที่รองรับไว้อยู่แล้วครับ...เหมือนเรือชั้น นเรศวร น่ะครับ...
ทำเพียงแต่เพิ่มระบบ VLS ใส่เข้าไป แล้วเชื่อมระบบกับ VLS ระบบเดิม...เท่านั้น...ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไร...
เพราะ ทร. ก็คงรู้อยู่แล้วล่ะครับ...และระบบ MK-41 ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่อะไร...ขนาดเรือ OHP ที่ไม่เคยออกแบบไว้สำหรับ MK-41 ก็ยังสามารถดัดแปลงติดตั้งได้...และนี่เป็นเรือใหม่...ก็สามารถออกแบบไว้รองรับล่วงหน้าได้อยู่แล้วในตำแหน่งเดิม โดยพื้นฐานการออกแบบเรือสมัยใหม่...
จาก facebook ก็คงชัดเจนแล้วครับว่า...มี VLS เพียง 1 ระบบ
แต่ดูจากภาพที่ได้มาจากคุณพัด ด้านหลังเสาเรด้ามีช่องว่าอยู่เหมือนกับรองรับการติดตังท่อยิงแนวดิ่งได้ในอนาคต ทุกคนคิดเหมือนผมหรือป่าวครับ เพราะช่องว่างลึกพอตัวเลย
ถ้ามีเรือเล็ก2ลำตามภาพโอกาสติดVLSคงเป็นไปไม่ได้เลยเพราะพื้นที่จำกัดไม่เหลือทางเดินและควันไฟจากจรวดจะโดนกับเรือเล็กและโครงสร้างเรือโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ถ้ามีเรือเล็กลำเดียวแล้วอีกด้านตีกล่องสุงๆเพื่อติดตั้งVLSแบบนี้ยังพอเป็นได้หน่อย มันไม่ใช่มีที่ว่างๆแล้วจะติดได้หมดนะครับ
ส่วนตัวผมเล็งด้านหน้าเรือโล่งๆเอาไว้3จุด แต่หมายเลข2-3มีประตูทางเข้านั่นแปลว่าด้านล่างต้องเป็นห้องทำงานซักอย่างไม่ได้ออกแบบเอาไว้ ก็เหลือแค่หมายเลข1ที่ยังว่างพอจะยัดลงไปได้อีก1หน่อย8ท่อ โอกาสของK-ASROC ผมว่าเหลือน้อยมากแล้วหละครับ VL-ASROCคงจะลอยคอเข้าฝั่งแต่จะmergeยังไงกับ9LVบริหารท่อแบบไหนไม่รู้จ้า
ลองทำเล่น ๆ ครับ..
คุณ superboy กับ juldas คิดเหมือนผมเลย แต่อาจจะเป็นข้างละ 4 เพราะพื้นที่จำกัด
ประมาณนี้ก็มี16ท่อแล้วครับ ก็ตามอัฒภาพครับถึงจะหวัง24-32ท่อกันอยู่ก็ตาม
ของท่านจูดาสเวลาบรรจุจรวดจะยากพอสมควรเพราะฟาลังซ์สุงปิ๊ดจะคอยเกะกะสุดชีวิต ได้แต่ยากหน่อยและผมก็อยากให้เป็นแบบนั้นเพราะจะได้ถึง24ท่อ
สำหรับบางท่านที่กังวลว่าจะยิงฟาลังซ์พร้อมจรวดไม่ได้จะเห็นว่ามันห่างกันพอสมควรนะครับไม่มีปัญหาแน่นอน
ด้านข้างก็ไม่เกะกะ นะครับ...เหมือนด้านหน้าครับ...เพราะตำแหน่ง VLS อยู่หลังแท่นยิงครับ...
ด้านหน้า ลองทำ
ถ้าในอนาคต เพิ่มเติมเพียง 1 ระบบ...ดูแล้ว ผมก็ว่าในตำแหน่งหลังปืนหลัก น่าจะเหมาะสมสุด...
คิดว่า แบบของท่านsuperboy น่าจะเป็นไปได้ที่สุด แบบของทางท่านจูลดาสนั้น กำลังพลไม่สะดวกที่จะเติมกระสุนให้ฟาลังซ์ เพราะต้องเดินผ่านVLS และยังโมดูลแยกกันแบบนี้ ระบบควบคุมที่ควรใช้ร่วมกันได้ ก็ต้องแยกกัน (ลดค่าใช้จ่ายและการซ่อมบำรุงยังง่ายกว่าด้วย)
การสร้างsuperstructure ขึ้นมา ดูเหมือนจะเป็นออปชั่นที่เข้าที่าที่สุดแล้ว
ยังไม่หมดนะท่านจูดาสเห็นบอกว่าอยากเล่นของใหม่ไม่ใช่เหรอ MK-57ไปเลยไม่ต้องตีกล่องสุงเพิ่มด้วย
ส่วนตรงกลางใต้ฟาลังซ์ยังเป็นทางเดินเชื่อมไปยังกลางเรือได้ต่อไป
คอนฟิกของเป้าลวงเป็น
4*Mk137 ด้านหน้า กราบละ2แท่น
4*DL-12T ด้านหลัง กราบละ 2แท่น
ที่น่าแปลกใจที่สุดคือ ด้านข้างปล่องที่ควรจะมีแท่นตอร์ปิโดอยู่กลับไม่มี
แสดงว่า แท่นตอร์ปิโดอยู่ภายในตัวเรือ?
ขอแจมด้วยคนนะครับ ในอนาคตถ้าเอา Phalanx ออกก็น่าจะเพิ่มได้อีก 2 ระบบ รวมเป็น 3 ระบบ 24 cells ก็น่าจะพอในระดับนึง
แบบอันที่มีmk57ตัดทิ้งเลย เพราะมันไปกั้นทางเดินทั้งแผงเลยล่ะ
ถ้าวางแนวนอนจะเกินขอบออกมานิดหน่อย
รู+ฝาปิดต้องสงสัย หากโมเดลถูกต้อง ฝานี้ใหญ่เกินที่จะเปิดได้ด้วยคน และไม่น่าจะเปิดได้
อาจจะเป็นพื้นที่ว่างข้างใต้ เผื่อVLSไว้แล้ว .......
ท่อยิงตอร์ปิโด อาจจะมุมบัง มองไม่เห็น...
แต่ดูยังไง ก็มองไม่ค่อยเห็นจริง ๆ...ก็น่าจะมีแนวโน้มสูงว่า จะอยู่ในตัวเรือ...
แต่โดยส่วนใหญ่ ถ้าอยู่ในตัวเรือ ก็มักจะโชว์เปิดให้เห็น ท่อยิงตอร์ปิโด ในโมเดลจำลอง...
เห็นด้วยกับท่าน Icy_CMU ว่า ถ้าจะเพิ่ม VLS น่าจะเพิ่มตรงตำแหน่งหลังปืน 76 ม.ม.
ส่วน MK-57 คงจะไม่เกิดแล้ว...เพราะต้องมีระบบควบคุมการยิงเฉพาะของเขาอีก...คราวนี้คงจะวุ่นวาย พอสมควร....ถ้าเพิ่มระบบ MK-57 เข้ามา...
ก็น่าจะจบที่ MK-41 VLS จำนวน 1 ระบบ + MK-41 VLS จำนวน 1 ระบบ (May be fit)
ส่วนการถอดฟาลังซ์ออก คงเป็นไปได้ยาก เพราะจากการสังเกต มีช่องสำหรับให้ลูกเรือขึ้นมาเติมกระสุนให้ฟาลังซ์ได้ นั่นหมายถึงข้างใต้นั้นoccupiedหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางเดิน หรือ ห้องเก็บกระสุน หรือห้องอื่นๆ (เช่นห้องควบคุม และคอนโซลสำหรับควบคุมVLSและฟาลังซ์)
ผมมองไม่เห็นมีช่องสำหรับให้ลูกเรือขึ้นมาเติมกระสุนให้ฟาลังซ์เลยครับ มันอยู่ตรงไหน พยายามมองแล้วไม่เห็น งง?
ถ้าติดตั้งตรงฟาลังช์ไม่ได้ การไปติดเพิ่มเติมหลังปืน 76 mm ทำได้หรือครับ ไม่ไปปิดมุมการยิงของปืนใหญ่หรือครับ แล้วคลังกระสุนที่อยู่ด้านล่างละครับ ผมว่าติดตรงฟาลังช์ง่ายกว่าอีกข่างลางน่าจะมีแค่ที่เก็บกระสุนฟาลังช์ ที่คอนโซลควบคุมการยิงน่าจะอยู่ที่ห้อง clc มากกว่า
เรือของเราทั้ง2ลำคงหมดปริศนาแล้วทั้งตอนสร้างเสร็จและตอนปรับปรุง ผมขอฝากจิ้นไปยังเรือลำที่3(ถ้ามี)แล้วกันนะครับ 32VLS และSea Giraffe ER(ถ้ามีจริง)อยู่เสากระโดงหลัก แค่จานเดียวหมุนๆแล้วหาฝามาครอบแบบเรือสิงค์โปร์ก็พอแล้ว ใส่กันได้เห็นๆนะผมว่า
แท่นยิงตอร์ปิโดเขาไม่ได้ติดมามั้งครับ เรือเล็กยังมีตั้ง2ลำเลยนี่
ผมขออนุญาตครับ อาจมองไกลไปหน่อยถึงเฟส2
อยากทราบว่า SM2 มันน่าจะติดตรงไหนครับ
ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับรูป never built ของท่าน Superboy มากที่สุดครับ น่าจะเหมาสมกับภารกิจและความเป็นเรือฟริเกต"สมรรถนะสูง" หรืออย่างน้อยที่สุดก็น่าจะติดตั้ง Mk.41 แบบตามแนวยาว 2 ชุด 16 cells แล้ววาง Phalanx ไว้อย่างเดิมก็ยังดี เข้าใจว่าสามารถทำได้เลยด้วยซ้ำ แต่คงติดขัดเรื่องงบประมาณที่ถูกจำกัดไว้มากกว่า จึงมาได้แค่ 8 cells และหากช่องว่างหลังปืนหลักเป็นที่ๆเผื่อไว้ก็น่าจะพอติดตั้งได้อีก 1 ระบบ 8 cells รวมเป็น 24 cells ก็น่าจะเพียงพอได้ในระดับหนึ่ง
มาถึงตรง นี้ก็เลยทำให้เกิดความสงสัยครับว่า งบประมาณที่ใช้ไปในโครงการนี้ "แพงเกินไป" หรือไม่ โดยเฉพาะการที่เรือนี้มีอุปกรณ์ต่างๆ เหมือนกับรล.นเรศวรที่ปรับปรุงใหม่เกือบทั้งหมด ทั้งที่รล.นเรศวรใช้งบประมาณ(แค่)ลำละ 4 พันล้านบาท ในการปรับปรุงเกือบยกลำ นั่นหมายความว่าค่าต่อเรือลำใหม่ ขนาด 3,700 ตัน (Stealth Design) + เครื่องจักรใหญ่ (CODAG) + ระบบไฟฟ้า + เรดาร์เดินเรือ + DSQS-24C + ACTAS + 3D LRR + Hapoon + Torpedo + Phalanx = 10,000 ล้านบาท ??? ถูกหรือแพงอย่างไรขอความเห็นจากเพื่อนๆด้วยครับ
ผมมองไม่เห็นมีช่องสำหรับให้ลูกเรือขึ้นมาเติมกระสุนให้ฟาลังซ์เลยครับ มันอยู่ตรงไหน พยายามมองแล้วไม่เห็น งง?
อยู่ข้างๆฟาลังซ์เลยล่ะ เป็นฝามีมือจับสำหรับเปิดขึ้นมา
ถ้าติดตั้งตรงฟาลังช์ไม่ได้ การไปติดเพิ่มเติมหลังปืน 76 mm ทำได้หรือครับ ไม่ไปปิดมุมการยิงของปืนใหญ่หรือครับ แล้วคลังกระสุนที่อยู่ด้านล่างละครับ
ทำได้ เพราะตัวโหลดเดอร์ของ76มม.มีขนาดเท่าป้อมของ 76มม.เอง ส่วนห้องเก็บกระสุน ก็ไม่น่าจะใหญ่โตมากนัก เพราะกระสุนไม่ได้ใหญ่มากอย่าง127มม. ส่วนมุมการยิง ก็ถูกจำกัดด้วยดาดฟ้ายกเดิมอยู่แล้ว ดูได้จากภาพหน้าตรง
ผมว่าติดตรงฟาลังช์ง่ายกว่าอีกข่างลางน่าจะมีแค่ที่เก็บกระสุนฟาลังช์ ที่คอนโซลควบคุมการยิงน่าจะอยู่ที่ห้อง clc มากกว่า
คอนโซลที่ว่านั้น เป็นmaintenance console สำหรับทดสอบระบบ และซ่อมบำรุง ทั้งของฟาลังซ์และVLS ส่วนในCIC เป็นDisplayและControlของระบบอาวุธ
ภาพแรก มิติของระบบปืน76มม.
ภาพสอง รูปจริง
ภาพสาม วงกลมสีเหลือง ห้องกระสุน และวงกลมสีดำ คือคอนโซลควบคุมระบบVLS
อย่าเอาราคาเรือหลวงนเรศวรมาเป็นที่ตั้งสิครับ ต้องคิดค่าต่อเรือบวกอุปกรณ์ทั้งหมดที่ติดในราคาปีนั้นๆ อุปกรณ์หลายอย่างซื้อ1ชิ้นแพงกว่า4ชิ้น20เปอร์เซนต์ก็ต้องบวกเพิ่มเข้าไปด้วยอะไรประมาณนี้ และวงเงินต้องตัดภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปอีก กับค่าฝึกอบรมอะไรทั้งหลายแหล่ออกไปด้วยซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าคิดรวมหรือเป็นออฟเซตแถมมาให้
คิดค่าต่อเรือให้แล้วกัน ถ้าตันหละ2ล้านก็ 7,400ล้านบาทเข้าไปแล้ว Sea Giraffe AMB 16ล้านเหรียญ ฟาลังซ์15ล้านเหรียญ(อาจจะเอาของเก่าไปอัพ) ที่เหลือท่านTWGไปหามาเพิ่มเองแล้วกันนะครับผมจำไม่ได้แล้ว
อย่าพูดว่าฟาลังซ์เป็นของเก่า
โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะเป็นของเก่าเอามาปรับปรุง ราคาต่อชุดในการปรับปรุงจากBlock 1A ไปสู่ Block 1B (ในภาพ ชัดเจนว่าเป็นBlock 1B แม้จะไม่มีFLIR แต่ลักษณะภายนอก ครบถ้วนว่าเป็น1B โดยเฉพาะโครงสร้างรอบลำกล้อง) ราวๆ 8ล้านเหรียญ ....... จากเว็บ
ทร.สหรัฐและโปรตุเกส อัพเกรดฟาลังซ์ประเทศละ3ชุด มูลค่า 45ล้านเหรียญ (ทร.โปรตุเกสนั้นปรับปรุงชั้นVasco da Gamaของตน )
http://www.deagel.com/Ship-Air-Defense-Systems/Mk-15-Phalanx-Block-1B_a001641003.aspx
ราคาการปรับปรุงจาก 0(ของชั้นพุทธฯ) ไป 1B ซึ่งเรียกว่าแทบจะใหม่หมด(ลำกล้องปืน ระบบอิเล็กโทรนิคส์ เรดาร์ แท่นปืน พูดง่ายๆคือนอกจากเปลือกแล้ว ภายในใหม่หมด) ซื้อของใหม่จะสมเหตุสมผลกว่าเยอะ
ลองทำภาพดู ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ ในส่วนเรดาห์ระยะไกล ข้อมูลยังไม่นิ่งใช่มั้ยครับ
Mk137 อยู่ข้างสะพานเรือ
DL-12T อยู่เหนือโรงเก็บฮ.
นอกนั้นโอเค
ลืม......แหม่แอดมิน น่าจะเพิ่มฟังก์ชั่นแก้ไขรูปได้นะเนี่ย ...........
ส่วนเรดาร์ระยะไกล
โดยส่วนตัว คิดเป็น2แนวทางอย่างที่ว่าไปกระทู้ที่แล้ว
1.Giraffe ER ........S-Band PESA
2.เรดาร์อื่นๆ
ผู้ต้องสัยสำคัญคือ EMPAR และMESAR2 (ต้นแบบของSAMPSON)
โดยเฉพาะMESAR2 หากตัดระบบหล่อเย็นด้านหลัง(ซึ่งเอาไปไว้ในเรือได้) หน้าตาจะใกล้เคียงมาก (ที่สำคัญเป็นของBAE บ.แม่ของSAAB)
1.EMPARแบบถอดเปลือก ........จำได้ว่าเคยมีPDFว่าด้วยEMPAR-A ซึ่งใช้ตัวส่งคลื่นเป็นโซลิดสเตท และเป็น S band
2.MESAR 2
ถ้าถามถึงว่า ราคาแพง ไหม ?
ผมคิดว่า ก็คงจะเป็น ราคาตลาดทั่วไป...แต่ก็ไม่จัดว่า ถูก...
แต่สิ่งหนึ่ง ก็คือ เรือลำที่ 2 จะมีการประกอบเรือ และสร้างเรือบางส่วนในประเทศไทย ดังนั้น มันก็จะมี Subcontract เป็นบริษัทฯ ในประเทศไทย...ก็คือ มันจะมีส่วนค่าเงินบาทจำนวนหนึ่ง อยู่ในประเทศไทย...
แต่ถ้าเราจะเทียบ ราคาโครงการ ต่อ ตันเรือ...
ของ เวียดนาม ที่จัดหา Sigma จะอยู่ระหว่าง 167,000 เหรียญ ต่อ ตัน
ของ มาเลเซีย ที่จัดหา Gowind จะอยู่ระหว่าง 156,000 เหรียญ ต่อ ตัน
ของ ประเทศไทย ที่จัดหา DSME จะอยู่ระหว่าง 120,000 เหรียญ ต่อ ตัน
ของ อินโดนีเซีย ที่จัดหา Sigma ลำใหม่ จะอยู่ระหว่าง 95,000 - 100,000 เหรียญ ต่อ ตัน
ซึ่งเมื่อประมาณ 10 กว่าปี ถ้าเราจะประเมิน โครงการ เรือรบประเภท ฟริเกต ก็จะประเมินจาก ระวางเรือ คูณ 100,000 เหรียญ เช่น เรือระวาง 4,000 ตัน จะมีมูลค่าโครงการประมาณ 400 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ...เรือขนาด 6,000 ตัน จะมีมูลค่าดครงการประมาณ 600 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ...
เห็นรูปท่านSuperboy เลยปิ๊งไอเดีย แต่ไม่มีปัญญาทำ
คือในรูปจะเห็นวางVLSแนวตั้งแบบนี้
แต่อาจจะเพิ่มความยาวของดาดฟ้ายกมานิดหน่อย หลบแนวลำกล้องของฟาลังซ์ (แต่ถ้าวางแนวดีๆก็ไม่ชนหรอกเพราะจะอยู่ระหว่าง2แท่นพอดี )
แบบนี้ไม่ต้่องต่อดาดฟ้ายกยาวมาก(หรืออาจจะไม่ต้องต่อเลย )
แก้ไขแล้วครับ ขอถามอีกนิดนะครับ วงกลมสีเขียวในรูปนี่ใช่ EOS 500 หรือป่าวครับ
ใช่แล้ว .......ข้างหน้าLRR คือEOS 500
มานั่งคิดมากกัน.... 5 5 5 5 5
อันที่จริงผมเชียร์ฟาลังซ์ใหม่เอี่ยมราคา15ล้านเหรียญนะแต่เห็นท่านจูดาสพูดถึงเอาของเก่าไปอัพเกรดบ่อยๆเลยคล้อยตาม(โยนกลับซะเลย อิอิ) 16ท่อตามขวางหรือตามยาวเรือเอามาตัดแปะแบบในภาพก็ได้อยู่ แต่ถ้าทำจริงไม่รู้จะวุ่นวายหรือเปล่าเพราะต้องย้ายของเก่าไปอีกด้านแล้วเอาอีกหน่วยมาเพิ่มก่อนเชื่อมระบบเข้าหากัน
MESAR2 หน้าหนะใช่แต่ท้ายยาวเหลือเกิน ถ้าไม่ใช่ERจะไม่เป็น Lanza MRR มากกว่าเหรอครับ
ช่วยทำให้ดูง่ายขึ้นครับป๋า อย่าบอกนะครับว่าเป็น Nulka
เรื่องการเพิ่ม VLS อีก 1 ระบบ ผมให้คะแนนน้ำหนัก เพิ่มหลังปืนหลัก 76 ม.ม. แบบที่ท่าน Superboy กับที่ ท่าน Icy_CMU ให้ความเห็นไว้ โดยการต่อเพิมขึ้นมา...เพราะดูมันจะง่ายที่สุด และไม่ยุ่งยากกับระบบ..และคงไม่มีผลกับ รัศมีการใช้ปืน 76 ม.ม. เท่าไหร่...ถ้าเทียบความสามารถที่เพิ่มขึ้น สำหรับระบบการยิง SM-2...
ขอบคุณครับท่าน MIGGERS...มันจะ คือ อะไรหน๊อ...
จะว่า ทำโมเดลละเอียด โดยใส่ คอมเพลสเซอร์แอร์ มาให้ด้วย รึเปล่า ?...5 5 5 5...
แต่ที่ แน่ ๆ ไม่ใช่ ประตู แน่นอน...เพราะมี มิติ ความลึก ยาว อยู่...
1.น่าจะประตู หรือ ระบบท่อรับน้ำมันกลางทะเล
2.ไม่รู้แฮะ.......Hatchสำหรับเดินขึ้นมาหรือเปล่า? แต่ใหญ่มากพอดูนะเนี่ย
แต่ที่สำคัญคือ ...........ไม่มีท่อตอร์ปิโด ..........ท่าทางจะอยู่ข้างในจริงๆ
ถ้าห้องตอร์ปิโดอยู่ในเรือจริงแบบ FREMM , F-310 หรือ Absalon ผมจะขอบคุณมากๆเลยครับ ขออนุญาติทำความรู้จักกับ พัทธนันท์ สงชัย นักข่าวสาวจากช่อง9อสมท. และนางแบบที่กำลังร้อนแรงที่สุดในTFC ประชันกันไปเลยสาวไทยกับสาวเกาหลีไผสิงามกว่ากัน
ปล.เสากระโดงเรือหนามากกกกก..... น่าจะมีห้องอะไรอยู่ข้างในบ้างนะ
ว้าวๆ ขอบคุณท่าน Superboy มากๆ รวดเร็วทันใจจริงๆ ครับ ผมจิ้นไว้ว่าหากทร.มีงบมากพอและต้องการให้เรือลำนี้มีอาวุธครบครันตามศักยภาพที่ควรจะมีได้แล้วล่ะก็ การเพิ่มท่อยิงระบบ Mk.41 ที่พอจะเป็นไปได้ง่ายที่สุดก็คือการติดตั้งเพิ่มลงไปด้านหลังปืนหลัก ในแนวขวางตัวเรือตามที่ท่าน icy_cmu ได้กล่าวไว้นั่นแหละ แต่หากจะพยายามยัดลงไปให้มากกว่านั้น โดยไม่ถอด Phalanx ออก(หรืออาจเพราะใต้นั้นไม่ได้เป็นที่ว่างอย่างที่เข้าใจกัน) การเปลี่ยนลักษณะการติดตั้งเป็นแนวยาวตามลำเรือในตำแหน่งเดิมน่าจะสามารถติดตั้งได้มากกว่า (เหมือนรูปของท่าน Superboy นั่นเอง) นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มท่อยิง Mk.41 ได้อีก 1 ชุด 8 ท่อตรงตำแหน่งหลังปืนหลัก ในแนวขวาง (ส่วนหัวเรือนี้อาจไม่ลึกมากพออาจติดตั้งเป็นรุ่น Self Defense สำหรับ ESSM และ Nulka เท่านั้นครับ) รวมแล้วก็จะมีท่อยิงทั้งหมด 24 ท่อ ก็น่าจะมากพอแล้วล่ะครับ
เทียบลานจอดและโรงเก็บเรือกับFFX-I โรงเก็บขวามือ หอควบคุมซ้ายมือ ประตู3บานและความสุงเท่ากันเป๊ะๆ เพียงแต่เรือเรามีเรดาร์ด้านท้ายเรือห้อยมาด้วยเท่านั้นเอง
เทียบปล่องไอเสียเครื่องยนต์ ความสุงใกล้เคียงกันมากจนน่าจะเท่ากัน(ของเราตีกราบสุงปิดไว้ด้วย) แต่เรือเกาหลีมีเครื่องยนต์ GE LM2500 gas turbine 2ตัวจึงมีปล่องใหญ่2ปล่องและดูหนากว่าของเราที่มีเครื่องยนต์เดียว(แต่ดีเซล2ตัวเท่ากัน) แบบนี้เรือเราต้องเป็น CODAG หรือเปล่าครับแต่ไม่ใช่ CODOGแน่นอน
แผ่นเหล็กปิดช่อง อะไรเอ๋ย กลางลำ ระหว่าง Harpoon
ภาพจาก http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/08/blog-post_27.html#more
น้า kaewmusik ข้างหน้า VLS ก็มีแผ่นๆ ปิดนะเออ แกะออกมันจะมีอะไรหว่า 555
ปล LRR มุมบน ดูหนาๆ อ้วนๆนะครับ
2xDL-12T แฮะ ไม่ใช่4x
ช่องตรงกลางนี่มีลุ้น ขนาดคร่าวๆเรือยางท้องแข็งมาตรฐานคือ 16ฟุต เจ้านี่ยาวพอๆกัน มีลุ้นจริงๆช่องนี้
Edit:วัดขนาด เทียบสเกล......ช่องนี้กว้าง 3.4*2ม.นิดๆ เกือบๆขนาดโมดูลVLS 1ช่อง
เรดาร์LRR มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 2ม.
ตัดLanza และ EL/M-2238ไปได้เลย
แบบนี้หรือเปล่าครับ ถ้าเอาช่องเรือออกด้านข้างเป็นตัวเทียบความสุงก็จะพอดีกับหัวเรือที่ตีสุงเพื่อติดVLSเลย
แต่ตอนยิงจะลำบากไปไหมทั้งเปลวไฟและควันคงอัดอยู่ในนั้นเยอะพอสมควร
มันเป็นช่อง ที่เอาไว้สำหรับ ยกเครื่องจักรใหญ่เรือหรือปล่าวอ่ะครับ ผมว่ามันไม่ใช่ช่องที่จะเอาไว้ติดแท่นยิงMK.41เลยนะครับ ที่จะติดเพิ่มได้จริงก็ ผมว่าน่าจะเป็นหลัง ปืนหลักมากกว่า และก็ผมเคยถามพี่ๆมา เรือรบทุกลำของทร. ที่มีเครื่องดีเซลกับแก๊สเทอร์ไบ อันไหนใช่บ่อยมากสุด เค้าก็บอกว่าใช้ดีเซล จนต้องยกเครื่องออกจากเรือโดนการ ผ่าด้านข้างลำตัวเรือเพื่อเอาเครื่องจักรใหญ่ออก ถ้าเรือฟริเกตลำใหม่ลำนี้ เค้าคงจะทำช่องเปิด-ปิดเอาไว้แล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการยกเครื่องจักรใหญ่ออกมาซ่อมนะครับ
น่าจะเป็น ตำแหน่ง ท่อยิง ตอร์ปิโด...คงไม่ได้อยู่ในตัวเรือ...
น่าจะเป็น ลิฟท์ สำหรับขน ยุทธภัณฑ์...รึเปล่า ?
เช่น บริเวณข้างปล่องเรือ ทั้ง 2 ข้าง ก็จะเป็น ขนตอร์ปิโด เป็นต้น...
บริเวณตรงกลางระหว่างท่อยิง ฮาร์พูน..อาจจะไว้รองรับ การปฏิบัติการของ RHIB เช่น การซ่อมบำรุง หรือ ขนอุปกรณ์...
ช่องน่าจะอยู่ตรงกับตำแหน่งห้องเครื่อง คงเป็นช่องเตรียมไว้สำหรับยก/ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เรือนะครับ ดูจากภาพตำแหน่งเครื่องยนต์ของFREMMแล้วเรือเราคงจะคล้ายๆกัน
จากข่าวการรับมอบ ร.ล.กระบี่....
อ่านจากข่าว จากนี้ ถึง ปี 2560...ทร. จะต้องจัดหาเรือ ตกฝ. อีก จำนวน 3 ลำ...โดยมีแนวทาง คือ
1. จัดหาใหม่
หรือ
2. ต่อเรือเองในประเทศ
ในขณะที่ เรือฟริเกต สมรรถนะสูง ในลำที่ 2...ทร. ก็วางแผน ทำการต่อเรือภายในประเทศเอง...
ในความเห็นส่วนตัว...
มองอนาคตของ เรือชั้น กระบี่ น่าจะมีไม่เกิน 2 ลำ
และคงจัดหาเรือใหม่ อีก 2 ลำ ก็จะอยู่ใน ห้วงระยะเวลา ปี 2555 - 2560..
ในตอนนี้ ผมจึงมองในลักษณะ 2 แนวทาง เพราะต้องดำเนินการในระยะเวลาใกล้ ๆ กัน คือ
แบบที่ 1
1. จัดหาเรือชั้น กระบี่ ลำที่ 2 โดย บจก.อู่เรือกรุงเทพ จำนวน 1 ลำ
2. จัดหาเรือแบบใหม่ จำนวน 2 ลำ (โดยการเปิดประมูลแบบ) (โอกาส เรือจากประเทศจีน มีสูง)
แบบที่ 2
1. จัดหาเรือชั้น กระบี่ ลำที่ 2 โดย บจก.อู่เรือกรุงเทพ จำนวน 1 ลำ
2. ยอมรับเรือฟริเกตมือสอง จาก สหรัฐ คือ OHP จำนวน 2 ลำ แต่ทำหน้าที่ในลักษณะ ตกฝ.
ผมคิดว่าเรือตรวจการไกลฝั่ง เรือชั้นกระบี่อาจมีแค่ 2 ลำ แต่ลำที่ 3 , 4 ผมไม่คิดว่าจะหาแบบเรือใหม่ให้เปลืองค่าแบบและเรื่องอื่นๆให้วุ่นวาย ทางที่เป็นไปได้หากเรือชั้นกระบี่ใช้ดีก็น่าจะปรับปรุงแบบต่อยอดพัฒนาให้เป็นแบบของเราเอง (เพื่อไม่ให้มีปัญหาลิขสิทธิ์) เช่น เพิ่มโรงเก็บ ฮ. เพิ่มการปรับปรุงรูปร่างให้ลดการถูกตรวจจับ (โดยเฉพาะตอนท้ายของเรือที่ปัจจุบันเปิดโล่งมาก) ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดไปถึงขั้นต่อเรือฟริเกตเบา 2500-3000 ตัน ในภารกิจต่างๆ ได้ไม่ยาก ในราคาที่ไม่แพงมากนัก เช่น เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ เรือฟริเกตเอนกประสงค์ เป็นต้น ครับ
แล้วโครงการเรือฟรีเกตลำที่สองของเราเนี่ย จะมีออฟชั่นเรื่องอาวุธ หรือ อะไรเพิ่มเติมบ้างใหมครับ แล้วที่บอกว่าต่อเองเนี่ย ชักสงสัยว่าจะต้องอัพเกรด หรือ ติดตั้งอะไรเพิ่มเติมที่อู่ราชนาวีของเราหรือเปล่า เท่าที่เห็นมีเครนขนาดใหญ่อยู่แต่ไม่น่าจะรับน้ำหนักบล็อกใหญ่ ๆ ได้ แต่ถ้าต้องต่อ เองในอู่ราชนาวีเราต้องจัดหาซัพพลายทั้งหมดเองหรือ เปล่าหรือทางเกาหลีเค้าจัดหาให้จากซัพพลายเดิมของเขา ถ้าเป็นอย่างนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกใหมเนี่ย แต่จริงๆ แค่บอกว่าจะต่อเองนี่ ผมก้อดีใจจนน้ำตาจะใหล
ผมว่าคงรู้ผลว่าจะต่อเองหรือไม่ หลังจาก รล.กระบี่เดินทางไปสวนสนามนานาชาติทางทะเล ที่ออสเตรเลียเสร็จแล้ว คงประเมินค่าได้มาก อาจจะเทียบระหว่าง รล.ปัตตานี และ รล.กระบี่ ว่าแบบไหนดีกว่ากัน ถ้า รล.กระบี่ดีกว่าก็คงต่อในประเทศที่เหลือครับ
ผมว่า Daewoo น่าจะทำเป็น Subcontract นะครับ...และน่าจะมีหลายราย...โดย Daewoo เอง ก็ต้อง ควบคุมการผลิตด้วย...ก็หมายถึง การถ่ายทอดเทคโนโลยี่...ให้กับ อู่เรือ...ส่วน อู่มหิดล ก็น่าจะเป็นลักษณะรับงาน จาก Subcontract ของ Daewoo อีกที...ก็คือ ทร. ได้รับเงิน ค่าเรือคืน จำนวนหนึ่ง เข้างบประมาณ ทร. เอง...
ซึ่งถ้าสุดท้าย ทร. มีโครงการจัดหา เรือฟริเกต ลำที่ 3...ก็น่าจะเป็น ว่าจ้าง อู่เรือ โดย อู่เรือ ก็ไป Subcontract จากเรือลำที่ 2 แล้วมาประกอบเรือ ที่อู่เรือ มหิดล...ทร. ก็จะได้รับเงินคืน จำนวนหนึ่ง เข้างบประมาณ ทร. เอง...
เป็นความเห็น ที่ คิดเอาเอง นะครับ...
อาจจะตำแหน่ง VLS ตำแหน่งที่ 2 กรณี จัดหาเพิ่มเติม...
ตามแนวที่ท่าน FatBoy เคย แหย่ ๆ เอาไว้....
ประเมิน Max Missile ของเรือที่จะบรรจุ จาก ฐานเรือ...
กองทัพสหรัฐเตรียมติดตั้งอาวุธเลเซอร์บนฐานบินลอยน้ำย่านตะวันออกกลาง เล็งใช้สอยอากาศยานไร้คนขับและหยุดยั้งเรือผิวน้ำ แพร่คลิปยูทูบอวดเขี้ยวเล็บใหม่ คุยต้นทุนการยิงครั้งละไม่ถึง 30 บาท
ปีเตอร์ มอร์ริสัน แห่งโครงการอาวุธเลเซอร์ของสำนักวิจัยการทัพเรือ แถลงเมื่อวันจันทร์ว่า ปืนเลเซอร์จะเปลี่ยนโฉมของการทำสงครามในอนาคต เพราะเหตุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจึงสามารถยิงได้ไม่จำกัดตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้า โดยใช้ต้นทุนการยิงแต่ละครั้งไม่ถึง 1 ดอลลาร์
@ USS Ponce
พลเรือตรี แมทธิว คลันเดอร์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย บอกว่า ขีดความสามารถใหม่นี้มีความคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับเงินนับหมื่นเหรียญที่ต้องใช้ไปในการยิงจรวดหนึ่งลูก ในอนาคต ปืนเลเซอร์จะสามารถยิงทำลายมิสไซล์ได้อย่างแม่นยำ
@ ยูเอสเอส ปอนเช จะติดตั้งปืนเลเซอร์ ใช้ยิงโดรน หรือเรือข้าศึก
อาวุธต้นแบบซึ่งมีราคาชุดละประมาณ 930 ล้านบาทชุดนี้ จะติดตั้งบนเรือยูเอสเอส ปอนเช ซึ่งเป็นฐานบินลอยน้ำประจำภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยมีกำหนดติดตั้งในปีงบประมาณ 2557 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคมนี้
อย่างไรก็ดี รายงานของสำนักวิจัยของสภาคองเกรส ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ชี้ว่า อาวุธเลเซอร์มีข้อด้อยคือ อาจยิงโดนดาวเทียมหรือเครื่องบินโดยบังเอิญ และแสงเลเซอร์อาจใช้ไม่ได้ผลหากสภาพอากาศมีฝนตกหรือหมอกลงจัด.
ขอบคุณข้อมูลจาก http://news.voicetv.co.th/global/67288.html
ขอโทษด้วยครับ วีดีโอไม่ขึ้น http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=OmoldX1wKYQ
ภาพใหม่จาก พัทธนันท์ สงชัย
เมื่อเทียบราคาการจัดหา ต่อ ตัน ของเรือแบบต่าง ๆ
และเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะในกลุ่ม ASEAN
เรือแบบ OPV
เรือแบบ Frigate และ Corvette
เมื่อราคาต่อ ตัน...การจัดหาเรือฟริเกตของไทย ก็ไม่ได้จัดว่าอยู่ในราคาสูงกว่าปกติ...
และเป็นเรือที่มีขนาดระวางใหญ่ที่สุดใน ASEAN...ซึ่งเมื่อเทียบกับแบบเรืออื่น ๆ...เรือฟริเกตไทย ยังน่าจะรองรับระบบใหม่ ๆ ได้ในอีกอนาคต 15-20 ปี ข้างหน้า (โครงการปรับใหญ่ช่วงครึ่งอายุใช้งาน) ได้มากกว่า...
ส่วนในแบบเรือ OPV ก็น่าจะสนใจที่ ไนจีเรีย จัดหา เรือ OPV ขนาด 95 เมตร ในราคาที่ถูกกว่า เรือชั้นกระบี่...
จึงเป็นความเห็นของผมว่า ถ้า สมมติ จะมีการจัดหา เรือ OPV เพิ่มเติมอีก จำนวน 3 ลำ ภายในกำหนดระยะเวลาตามแผนจัดหา ภายในปี 2560...อาจจะเป็น โอกาส ของเรือจีน อีกครั้ง...แต่เชื่อว่า เรือชั้น กระบี่ อย่างน้อย คงมีการสร้างเพิ่มเติมอีกจำนวน 1 ลำ...
sigma105 ของอินโดน่าจะราคา220(ตัวเรือ)+75(อุปกรณ์,เรดาร์และอาวุธ)=295 ล้านเหรียญมากกว่านะครับ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแยกออกมาทำไมข่าวพวกนี้มันมาจากแหล่งเดียวแต่กระจายวกไปวนมาตลอดๆปวดหัวดี
ส่วนเรือMEKO A200ของอัลจีเรีย หลายๆข่าวก็บอกว่า 2ลำ(ต่อในเยอรมัน)+ออปชั่น2ลำ(ต่อในอัลจีเรีย)=4ลำและเฮลิคอปเตอร์6ลำ ราคาก็ด้วยหลายข่าวบอกว่า2.4พันล้านยูโร บางข่าวบอกแค่2.13พันล้านยูโร แล้วยังมีข่าวเรือ2ลำราคา400ล้านยูโรด้วยไม่รู้ว่าต้องเอาเงินก้อนไหนมาบวกกันบ้างถึงจะได้เรือรบ4ลำจริง
http://www.reuters.com/article/2012/04/05/thyssenkrupp-algeria-idUSL6E8F58US20120405
แต่ถ้าเรือOPVลำใหม่ต่อในจีนจริงๆก็น่าจะติดระบบและอาวุธของตะวันตกได้นะครับ เพราะหลังจากซื้อเรือเยอรมันไปแล้วอัลจีเรียก็สั่งเรือฟริเกตเบาจากจีนอีก3ลำรวด(ขนาดเบาๆก็2800ตันแล้วใกล้เคียงเรือหลวงนะเรศวรเราเลย) และตั้งเรดาร์และCMSจากThales Nederland โดยเอามาติดเองที่ประเทศ นั่นก็คือจีนต่อแค่ตัวเรืออย่างเดียว เครื่องยนต์ยังเป็นMTU diesel enginesเลย
http://www.rfc.org.za/Home/tabid/36/ctl/Details/mid/647/ItemID/2241/Default.aspx
แหม่.... ไม่อยากจะคิดมาถึงเรือฟริเกตเราเลยนะครับเพราะ(มันจบไปแล้ว) ที่ว่าใช้เรือจีนต้องอาวุธจีนทั้งหมดก็คงไม่ใช่แล้วหละ ข่าวนี้เพิ่งโพสเมื่อ10วันก่อนนี้เอง ใครมีภาพเรือจีนติดSAABเต็มลำโพสให้ผมดูเป็นบุญตาหน่อยสิครับ
เรือของ อัลจีเรีย ก็คงเหมือนกับ เรือชั้น ปัตตานี ของเราน่ะครับ...คือ ว่าจ้างสร้างเฉพาะตัวเรือ ส่วนระบบ กองทัพจะเป็นฝ่ายเลือกเอง...
ซึ่งเท่าที่สังเกตุ ถ้าใช้ CMS ของ Thales แล้ว...ระบบตรวจจับอื่น ๆ ก็ต้องใช้ของ Thale ด้วยครับ...
เช่น เรือชั้น กระบี่ ที่ใช้ TACTICOS...ระบบตรวจจับต่าง ๆ ก็จะเป็น Thales ทั้งหมด...
หรือเช่น ชั้น F-123 ของเยอรมัน หรือ KDX-1 หรือ 2 ของเกาหลีใต้...ที่ CMS เป็น TACTICOS...ระบบตรวจจับต่าง ๆ ก็เป็น Thales ทั้งหมด...
หรือแม้แต่ Bangabandhu ของ บังคลาเทศ ที่ใช้ TACTICOS...ระบบตรวจจับต่าง ๆ ก็เป็น Thales เจ้าเดียว...
เรือของ อัลจีเรีย เมื่อใช้ CMS ของ Thales แล้ว...ก็คงไม่มีตัวเลือกอื่น ที่ระบบอื่น ๆ ก็ต้องเป็น Thales เช่นเดียวกัน...
เรือที่ อัลจีเรีย สั่งสร้างจาก จีน จำนวน 3 ลำ ก็น่าจะเป็น ชั้น F-22A แบบ ปากีสถาน แต่ติดตั้ง ระบบ Thales...
ใช่ครับท่านจูดาสจีนรับต่อเฉพาะแค่ตัวเรือด้วยจึงสามารถใส่ระบบและอาวุธของตะวันตกได้อย่างเต็มที่แน่นอน ฉะนั้นเรือฟริเกตสมรรถนะสุงจากจีนที่เสนอให้เราอาจมีหน้าตาประมาณนี้ก็ได้นะครับ
ระวางขับน้ำ4,000ตัน ยาว134เมตร กว้าง16เมตร ติดVLS 2หน่วย16ท่อตามขวางในแถวเดียวได้เลยเพราะเรือกว้างมาก(แต่ติดมาก่อน8ท่อตามมาตราฐานชายไทย) วงเงิน3หมื่นล้านได้เรือ3ลำเฮลิคอปเตอร์6ลำพร้อมSAABทั้งระบบ เรือลำที่2-3ต่อในไทยพร้อมออฟเซตอู่เรือขนาดใหญ่
แหม่... จิ้นได้อีกครับพี่น้อง แต่อย่าเชื่อผมหละ
น่าจะเป็น รุ่นส่งออก Type-054...ส่วน จำนวน 3 ลำ ในข่าวช่วงแรก น่าจะเป็น ระบบจีน ทั้งหมด มากกว่าครับ (ข่าวออกก่อนมี TOR)...เพราะถ้า ติดตั้งระบบของ Saab คงได้เพียงแค่ 2 ลำ เหมือนกับเจ้าอื่น ๆ...
งานนี้เรือOPVลำใหม่ ถ้าเป็นแบบใหม่ผมคิดว่าเรือจีนคงเกิดยากเสียแล้ว ลำใหม่คงหนี้ไม่พ้นเกาหลี หน้าจะเป็นแบบเดี๋ยวกับเรือที่พิลิปินกำลังเจรจาชื้อจากเกาหลี
หน้าจะเรือฟริเกตของมาเล ทำไมของเขายังมีตัวอยางเนาะนำให้ดุ รู้ทั้งชื่อ ทั้งระบบ ของเราอย่าว่าแต่ตัวอย่างเลย รุ่นยังไม่รู้ชื้อเลยครับ กำไก่ กว่าจะได้ขอมูลมาคุยแต่ละที
สงสัยครับ
เสากระโดงมันใหญ่มากๆเหมือนจะทำมาติดอะไรเพิ่มเลย หรือว่าถ้าจะอัพไปยิงSM-2ก็ยกGiraffe ER(ถ้ามีจริว) ขึ้นยอดเสา แล้วหาLRRตัวใหม่มาอยู่ท้ายเรือ?
ปล.ใครที่ทำรูปเป็นขอลองแบบวางVLSใหม่เป็น2แท่นคู่กันตามแนวเรือที่ตำแหน่งเดิม+1แท่นบนSuperstructureหลังปืนหลักหน่อยครับ(รวม24cells) จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ตำแหน่ง เรดาห์ คงไม่เปลี่ยนหรอกครับ...
Sea Giraffe หน้าเรือ เป็น Multimissions ตรวจจับเป้าพื้นน้ำ ด้วย
ส่วน Sea Giraffe ท้ายเรือ น่าจะเพียง ตรวจจับเป้าอากาศ เท่านั้น...ทำหน้าที่ เหมือน Smart-L หรือ SPS-48E
ส่วนเสากราฟ คงเป็นการเผื่อไว้ รองรับ ในอนาคต เช่น ช่วงครึ่งอายุใช้งาน อีก 15-20 ปีข้างหน้า ที่อาจจะมีการปรับใหญ่ให้เข้ากับ ภัยคุกคาม ในอีก 20 ปีข้างหน้า...หรือ ถ้ามีการติดตั้ง ระบบชี้เป้า เพิ่มเติม...ให้น้ำหนักว่าจะเป็น CEA-MOUNT ก็คงติดตั้งบนเสากราฟ นี้ ก็ได้..
แบบนี้หรือท่านPhu2000 คิดว่าเรือเราติดแค่16ท่อเท่านั้นแหละครับ เพราะเรือมีคุณสมบัติมากเกินกว่าจะเป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศได้นั่นก็คือมีระบบต่อสู้เรือดำน้ำที่ครบครันมากทั้งระบบและอาวุธ SM-2ที่ติดใช้ในการป้องกันตัวเองเป็นหลักเพราะเรือจะต้องออกรบแนวหน้าอย่างแน่นอน เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศของเราจริง(เท่าที่มี)ก็คือเรือหลวงนเรศวรทั้ง2ลำ คือเรือมีอาวุธต่อสู้เรือดำน้ำแค่กันผีหลอกและไม่มีระบCIWSทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางไว้ป้องกันตัว เราคงใช้ป้องกันกองเรือในแถวที่2อยู่ไม่ห่างจากเรือหลวงจักรีเท่าไหร่และไม่ได้ติดกันเลยทีเดียว น่าจะเป็น เรือหลวงจักรี(ซาดรัล18นัด) -->เรือหลวงกระบุรี(37มม.ควบคุมด้วยเรดาร์8กระบอก)-->เรือหลวงนเรศวร (ESSM 32นัด) ส่วนแถว1ที่เป็นแนวหน้าจะมีเรือฟริเกตสมรรถนะสุง2ลำ(DSME) เรือดำน้ำ2ลำ(???) เรือฟริเกตเอนกประสงค์2ลำ(OHPหรือF122 หรือเรือหลวงพุทธ)
อันที่จริงเรือหลวงจักรีของเราเมื่อมีSTIR 1.8 ติด2ตัวแล้วผมอยากให้หาOerlikon Millennium 35 mm ราคา10ล้านเหรียญมาติดซักกระบอกนะ เพราะมีเรดาร์ควบคุมว่างๆอยู่แล้ว น้ำหนักทั้งชุดก็แค่3.3ตันเพราะไม่มีเรดาร์ส่วนตัว ติดบนหอบังคับการเลยมุมกว้างดีถ้าได้ตามนี้เราจะมีCIWSที่มีFCSส่วนตัวจึงยิงได้อย่างแม่นยำมากและมีกระสุนaheadทำลายเป้าหมายได้เด็ดขาดอีกด้วย เป็นไงหละจิ้นผม
เมื่อวานแย็บเรื่องเรือจีนไปถ้าเป็นสมัยก่อนคงโดนถล่มยับเยินไปแล้ว แต่มาถึงวันนี้เงียบดีแท้เหลือเฝ้ากระทู้กันไม่กี่คนเอง ผมเลยเอาเรือType-054รุ่นส่งออกของท่านจูดาสมาติดอาวุธตามความต้องการทร.ไทยเป๊ะๆ (ขี้เกียจคิดมากเลยวางอาวุธเหมือนเราเกาหลีไม่มีผิด) โดยมีสมมุติฐานว่าจีนยอมทำตามเงื่อนไขที่เราเสนอกับทุกอู่ คือจ้างให้ต่อแค่เรืออย่างเดียวแต่ติดระบบและอาวุธตามที่เราต้องการ ถ้าเป็นแบบนี้เราจะได้เรือ2ลำที่มีขนาดใหญ่กว่า ยาวกว่า และกว้างกว่า(สำคัญตรงนี้)เรือจากDSMEบ้างนิดหน่อย ราคาต่อเรือน่าจะถูกกว่าจนมีเงินเหลือติดอาวุธได้มากขึ้นบ้าง ก็คืออาจจะมี16VLSเพิ่มมาเท่านั้นแหละแต่ก็อาจจะมีแค่พื้นที่ว่างก็เป็นได้ ส่วนเฮลิคอปเตอร์Z-9จำนวน4ลำน่าจะอยู่ในออฟเซตด้วยนะครับ แต่เราคงใช้S-70Bกับเรือลำนี้แล้วเอาZ-9ไปใช้กับเรือลำอื่นแทนมากกว่า
ไม่มีอะไรมากหรอกครับผมวาดเล่นๆแก้เซ็งเท่านั้นเอง แต่Type-054รุ่นส่งออกก็คือรุ่นเดิมนั่นแหละมาขัดเกลาอีกทีจนทันสมัยมากขึ้น
นั่นแหละครับ จัดคอนฟิก16x SM-2MR(BlockIIIA/B) + 8x VL-ASROC
เอาแบบใช้ลูกยาวล้วนไปเลย ถ้าหลุดเข้ามาก็ค่อยใช้เรือชุดนเรศวรซัดESSMอีกที แล้วค่อยไปพึ่งPhalanx + Decoy
หรือจะเอาRAMไปยัดลงเรือจักรีฯด้วย แถมเรือดำน้ำให้อีก2ลำก็อุ่นใจขึ้นเยอะ
ถ้ามีSTOVL Fighter/Attacker หรือ Attack Helicopter พ่วงมาด้วย อำนาจการยิงกองเรือนี้รอบๆบ้านก็เข้าไม่ติดแล้วมั้งครับ
หรือไม่ต้องลงเรือจักรีฯเลยก็ได้ เอาF/A-18บินตามไปเลย
ขอบคุณทุกท่านที่ ค้นหา คิด ฝัน ข้อมูลต่างๆครับ ผมอ่านลูกเดียวครับ เป็นกำลังใจให้ ครับ ก็ดีใจครับ ที่ได้ดีกว่าไม่ได้อะไร สักลำ
อยากได้เรือพิฆาต หรือ เรือครุยเซอร์ ไม่่ทราบว่สประเทศไทยพอจะมีความหวังไหมครับ
มีความจำเป็นถ้าหากเรามีแผนที่จะไปถล่มกองเรือประเทศอื่นในระยะไกลๆครับ อย่างแล่นข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก
เอ๊ะ เรือKDX-1ก็เป็นDDHนี่นา
แต่เรือลาดตระเวน...เอาจริงเหรอครับ ปัจจุบันมีแค่สหรัฐ รัสเซีย และเปรูที่มีใช้นะครับ
ค่าปฏิบัติการไม่ต้องพูดถึง ยิ่งลำใหญ่ยิ่งแพง
คุณSuperboy อยากติดปืน แต่ผมอยากให้เรือจักรีติดMk41 (8cells) x32 ESSMs เพราะมีพื้นที่รองรับอยู่แล้ว อุตส่าห์ปรับปรุงติดตั้งSTIR1.8ก็น่าจะup gradeให้ยิงESSM ด้วยเถอะ เพิ่มเงินอีกหน่อย จะได้ป้องกันตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งหมู่เรือคุ้มกัน
ผมว่าไม่มีประโยชน์ที่จะติดตั้ง Vls บนเรือหลวงจักกรีฯครับ เพราะเรือ 911 ไม่ใช่เรือคุ้มกันหรือโจมตีครับ แต่มันเป็นเรือบรรทุกฮ.และเรือธงครับ
จริงๆแค่ upgate จาก mistral 2 แท่นจากทั้งหมด 3 แท่นยิง เปลี่ยนมาเป็น RAM phalanx CIWS RIM116 type 11 tube จำนวน 2 แท่นยิง รวมมิสไซด์ป้องกันตัว RAM 22 ลูก mistral 6 ลูก ทั้งหมด 28 ลูก ซึ่งจากเดิมใช้ของmistral ทั้งหมด 18 ลูก ก็น่าจะเหลือแหล่แล้วครับ (ประหยัดงบมา upgate เรือฟรีเกตสมรรถสูงลำใหม่จะดีกว่า)
ขนาดเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น NIMITZ ของสหรัฐยังใช้แค่ RAM กับ sea sparrow (RIM-7)ป้องกันตัวเองเลย
เข้าใจว่าSTIR180จากเรือหลวงนเรศวรจะไม่มีโหมด CWI สำหรับ Missile Illuminator จึงใช้ยิง semi-active homing missiles ไม่ได้ แต่ถ้าช่วยtrackingเป้าหมายให้ RAM หรือ Mistral ก่อนปล่อยจรวดออกไปน่าจะทำให้ใช้งานได้ดีมากกว่าเดิม (ถ้าข้อมูลผมผิดช่วยค้านด้วยนะครับ)
ถ้าจะเอามายิงESSMจริงๆตัวอุปกรณ์ก็ต้องเอามาปรับปรุงในเรื่องนี้แล้วค่อยไปทำให้มันเข้ากันได้กับระบบของSAABด้วยอีกทีหนึ่ง ไม่ง่ายเท่าไหร่ เข้าใจว่า 9LV MK4จะไม่ใช่ตัวท๊อปนะครับแต่แตกต่างตรงไหนบ้างไม่รู้เหมือนกัน
ระบบอาวุธก็ตามที่เห็นนั่นแหละครับ สำหรับciwsแบบจรวดทร.คงใช้ Mistral ไปจนกว่าจรวดจะหมดอายุไขแล้วค่อยเปลี่ยนอีกที นอกจากจะเปลี่ยนใจติดMistralให้กับเรือลำอื่นๆด้วยแบบนี้เรือ911ก็จะใช้กันต่อไปเช่นกัน หลายปีก่อนเคยมีข่าวว่าทร.สั่งซื้อระบบซาดรัลจำนวนหนึ่งเพื่อมาติดตั้งกับเรือหลวงนเรศวรแต่ก็เงียบหายไปเฉยๆเหมือนจะไม่ค่อยชอบใจแล้วมั้งครับ แบบนี้RAM Block2 ก็มีโอกาสแจ้งเกิดมากเหมือนกันนะครับแต่คงอีกนานเลยหละ 5-10ปีโน่น
ฝากผลงานกระสุน ahead ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยนะครับ เนื่องจากเรือมีCIWS แบบจรวดอยู่แล้ว3จุดการเสริมด้วยระบบปืนที่แม้จะยิงออโต้เองไม่ได้ผมก็เห็นด้วยนะ แต่ถ้เรือทั้งลำมีCIWSระบบเดียว ฟาลังซ์ SeaRam โกลด์คีปเปอร์ที่ทำงานได้เองหมดน่าจะดีกว่าในการรบจริง
แต่ก็แค่ทฤษฎีหละครับอยากรู้ชัดๆว่าเป็นยังไงต้องส่งไปล่อเป้าในสนามรบจริงๆก่อน เหอๆๆๆ
ใช่ครับ STIR1.8ที่ถอดมาติดตั้งบนเรือจักรีไม่มีCWI ผมถึงบอกว่า "น่าจะ up grade" เพื่อให้ยิงESSM ยังไงครับ ถ้าMistralหมดอายุจะได้เปลี่ยนเป็นRAMแทน ส่วน9LVไม่แน่ใจว่าเป็นรุ่นไหน
ถูกต้องครับ เรือจักรีเป็นแค่เรือบรรทุกฮ. และเรือธง ไม่ใช่เรือคุ้มกันและโจมตีใคร แต่ESSMเป็นPoint Def. นะครับ ปัจจุบันบนเรือจักรีมีแค่ Mistralเป็นCIWS ต้องพึ่งการคุ้มกันจากเรือที่มีMissileซึ่งปัจจุบันมีแค่เรือcorvettชั้น รัตนโกสินทร์ ที่กำลังปรับปรุงคือ FFG นเรศวร และFFGที่กำลังต่อใหม่ รวม6ลำ เมื่อประจำการครบ แต่ถามว่ามีเรือพร้อมใช้งานกี่ลำ แล้วสามารถจัดหมู่เรือคุ้มกันได้กี่ลำ เดิมทีเรือจักรีก็มีแผนที่จะติดตั้งMK41 + Sea sparrow แต่ก็ไม่มีงบประมาณ มีแค่Mistral ถ้าต้องจัดการกับSSMปัจจุบันจะสามารถทำได้แค่ไหน การที่เรือมีESSM เสริม จะทำให้เรือป้องกันตัวเองและหมู่เรือคุ้มกันรอบข้างที่ไม่ใช่FFGได้ น่าเสียได้ศักยภาพของเรือนะครับ เมื่อเรือไม่มีบ. ไม่มีระบบป้องกันตัวเอง เป็นเรือเปล่าต้องจอดเทียบท่า
ผมรออยู่นานกว่าจะได้ภาพหลายๆมุมของเรือใหม่เรา แล้วจากภาพ CG และแบบจำลองยังมีรายละเอียดแตกต่างกันอีกหลายแห่ง ผมเลยยึดแบบจำลองเป็นหลักก็ได้ออกมาประมาณนี้ ทำเสร็จก็รีบนำมาให้ดูช่วยวิจารณ์กันหน่อยครับจะได้นำไปปรับปรุง
สวยงามดีครับท่าน Cute...
แต่ท้ายเรือ น่าจะเป็น ประตูบานเปิด รึเปล่า ?
ถ้าเป็น ACTAC ของ ATLAS
ส่วนที่เพิ่มเติม
ปล่องควัน ตรงท่อระบายความร้อน
ตรง ท่อยิงตอร์ปิโด กับ แผ่นปิด (น่าจะเป็น ลิฟท์ ขนยุทธภัณฑ์ (ลูกตอร์ปิโด))
น่าจะอยู่ในแนวเดียวกับ ท่อยิงตอร์ปิโด...
ท้ายเรือผมไม่มีรูปอ้างอิงเลยจัดให้ไม่ถูก เลยทำตามแบบ KDX ส่วนปล่องควันในภาพ CG มันเป็นวงกลมสีขาว 7 วง แต่แบบจำลองมันกลับเป็นช่อง 4 เหลี่ยมใหญ่กับวงกลม 5 วง ส่วนลิฟรายละเอียดมันไม่ชัด ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มอีกหน่อยจะปรับปรุงให้ครับ
ไม่ได้ พยายาม จะให้เป็นนะครับ...แต่มันก็ดู คล้าย ๆ จริง ๆ....
K-VLS รึเปล่า ?
แบบไกล ๆ เทียบ กราบเรือ 2 ข้าง
1 Ceros200ด้านท้ายหัวมนแต่ด้านหน้าหัวแหลม
2 Mk-137 ตั้งอยู่บนพื้นที่ไม่มีอะไรบังน่าจะโผล่ทั้งหมดนะครับ(ชูชีพที่ตั้งบนพื้นก้โผล่หมด) ต่างกับบนโรงเก็บที่ตีโปร่งขึ้นมาบัง
3 จรวดด้านหน้าใส่ชื่อแต่ด้านหลังไม่ไส่ ผมว่าไม่ต้องใส่เลยดีกว่าครับรวมทั้งท่อแฝด4 ใส่แค่แบบอาวุธ3ตัวก็พอเข้าใจตรงกันแล้ว
4 เฮลิคอปเตอร์ลอยอยู่เหนือเรือแปลว่ามีลานจอดแต่ไม่มีโรงเก็บ เฮลิคอปเตอร์1ลำจอดอยู่บนเรือแปลว่ามีโรงเก็บ1โรง ถ้ามีจอดอยู่1ลำและลอยบนฟ้าด้วยอีก1ลำก็แปลว่ามีโรงเก็บ2โรง ถ้ามีมาเยอะกว่านั้นสงสัยคนวาดจะเมายาบ้า
ส่วนที่ผมใส่สีม่วงคือควรจะเปลี่ยนให้มันดูทันสมัยหน่อยเท่านั้นเอง ตะข่ายกันคนตกที่ลานจอดเอาแบบโปร่งๆดีกว่าครับ ส่วนท่อVLS ไม่ต้องหนาขนาดนั้นก็ได้แค่ใส่เป็นสัญลักษณ์แบบNulkaก็พอ
รูปมันแข็งไปนิดเดียวถ้ามีการเล่นขอบแรเงาบนเสากระโดงบ้างอาจจะดีขึ้น กลางตัวเรืออยากให้มีเวอร์ชั่นปรกติไม่ต้องโชว์อะไรแถมมาอีกภาพได้ไหมครับ เส้นบอกระดับน้ำสีขาวน่าจะสวยกว่า
จะ เงิบบบบ ไม๊หนอ...
(Above) In September 2005, DML announced its FC65 frigate concept. DML has not continued development of the concept, but it gives an indication of the thinking that might go in to a new UK design. (Source: DML)
ที่มา http://navy-matters.beedall.com/mvd.htm
คู่แฝดพี่น้องเยอะแฮะ 5555
ไม่น่าใช่นะครับท่านjuldas ผมว่าน่าจะเป็นช่องเปิดอะไรสักอย่างเหมือนหัวเรือ ระหว่างฮาร์พูน และอีกกราบเรือมากกว่า ดูจากภาพnegative
คือ ผมสงสัยที่ว่า รูปเรือ ถ่ายโดยผ่านแผ่นอะคริลิค ที่ครอบเรือโมเดล อยู่ ในระยะไกล...
ความคมชัด มันจะไม่ค่อยมี...
แผ่นฝาปิดต่าง ๆ มันก็จะไม่มีความคมชัด...หรือ ดูเหมือนกับว่าจะแทบจะไม่มีแผ่นฝาปิดอะไร...
แต่ในจุด ที่ผมทำ เน้น นั้น...จะเห็นเป็นรูปทรงในลักษณะหนึ่ง...ซึ่งในบริเวณภาพนั้น ก็ต้องมีการปรับแสงให้สว่าง เนื่องจาก ภาพต้นฉบับมีความมืด...
ดูท่าทางแล้ว FC65 frigate หน้าตาคร้ายๆกับเรือฟริเกตใหม่ของเรามากๆ แต่หน้าจะติดตังอาวุธปล่อยแนวดิ่งได้มากกว่าเรือเรา ดูจากด่านหน้ามีพืนที่มากเลย เหมือนก๊อปมาเลย เราหน้าจะเรือแบบเรือตัวนี้มากกว่านะครับ วันนี้ไปวันเรือดำน้ำมา ได้คุยกับนายทหารท่านหนึ่งที่ไปฝึกเรือดำน้ำที่เกาหลีมา ทั้งสิบคนกลับกันมาแล้ว ฝึก 2 เดือนแต่ไม่ได้ลงลึกมากนั้น เพราะเรายังไม่มีเรือเกาหลีจึงยังไม่ได้อบรมณ์ให้ครับ เลยถามถึงอาวุธปล่อยแนวดึ่งว่า 8 เชลล์น้อยไปป่าวครับ ท่าวบอกว่าไม่หน่อยไป ถ้าแบบ ESSm ไปได้ 32 ลูก ผมจึงถามถ้าใส่อาวุธอย่างอืนไปก็จะน้อยลง นายทหารท่านนั้นจึงอธิบายเหตุผลว่าเรือขนาด 3 พันตันไม่ได้ใหญ่มาก เป็นธรรมดาที่จะได้ 8 เชลล์เป็นมาตฐาน ไม่ได้ใหญ่เหมือนของยุโรป อเมริการ ขนาด 5000 ขึ้นไป ผมจึงยอมรับได้ในเรื่องนี้นะครับ
ไม่ค่อยเชื่อครับ ผมว่าพูดปลอบใจตัวเองหรือแก้ต่างให้ซะมากกว่า Formidable ของสิงคโปร์ระวาง 3,600 ตัน ก็มี VLS 32 เซลส์ หรือจะเป็น Type 054B ของจีนก็มี VLS 32 เซลส์ แม้จะบอกว่า 8 เซลส์ สามารถใส่ ESSM ได้ 32 ลูก ก็ตามเถอะ แต่ในเมื่อเรือใหม่นี้ถูกจำกัดความว่า "สมรรถนะสูง" ในทุกด้าน(อเนกประสงค์) แล้วต้องเอา VLS ที่มีแค่ 8 ท่อไปใส่ระบบจรวดอะไรต่ออะไรหลายแบบ ยังไงก็ไม่เพียงพอครับ ยิ่งบอกว่าอนาคตจะมีความสามารถในการยิง SM-2 ด้วยยิ่งแล้วใหญ่ ทร.เพี้ยนรึเปล่าที่จะลงทุนมากมาย(มากกว่าพันล้านบาท)ให้เรือลำนี้มีเรดาร์ระยะไกล มีความสามารถในการใช้ขีปนาวุธระยะไกล แต่ใส่จรวดไปได้แค่ 8 ลูก...!?!?!? ถ้าทร.มีเรือจำนวนมากหรือจัดหาเรือนี้มาหลายๆลำก็ว่าไปอย่าง นี่มีแค่ลำสองลำแล้วยังมามีข้อจำกัดมากมายซะอีก...เฮ้อออออ
ก็ไม่ได้น่าเกลียดนะครับแต่ต้องอัพเพิ่มให้ได้เป็นอย่างน้อย16ท่อ
ทำภารกิจปราบเรือดำน้ำก็เอาESSM 32ลูก ASROC 8ลูก
รวม2ลำก็ESSM 64ลูก ASROC 16ลูก
เทียบกับเรือปราบเรือดำน้ำแท้ๆก็พอถูไถ
ทำภารกิจป้องกันภัยทางอากาศก็SM-2 16ลูก
รวม2ลำได้32ลูกเท่าเรือAAWขนาด6000ตัน1ลำก็พอดูได้นะครับ
ผมว่าเป็นที่แบบบวกงปประมาณที่ได้มาหน้าจะได้แค่นี้จริงๆ เพราะ ทร.หน้าจะตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกแบบได้องค์ความรู้ ทั้งการต่อและออกแบบเพื่ออนาคตจะพึ่งตัวเองได้ ยอมขาดทุนเรื่องจรวคแนวดิ่ง แต่ในคนาคต ทร ต้องต่อเรือรบทดแทนเรือฟริเกตชั้นเก่าๆ ก็จะสามารถออกแบบได้ตามความต้องการ
อีกอย่างมันเป็นเรื่องบอกต่อๆกันมา จากแหล่งข่าวของแต่ละคน โดยส่วนตัวผมยังเชื่อว่า 16 เซลนะครับ ใจเย็นๆรอดูก่อนครับท่าน
จริงๆแล้ว 16 เซลอยู่หน้าฟาลังซ์ วางขวางกำลังสวยเลยครับ ไม่ต้องแก้ต้องแปลง ลงมาแล้วจบ(จบแบบสวย ถูกใจ คนเชียร์ด้วยนะครับท่าน)
ขอวิจารณ์ถึงพวกชอบคอมเมนต์เรือฟรีเกตไทยเราลำนี้หน่อยเถอะนะ สังเกตพฤติกรรมมานานแล้ว
ทำไมเหรอครับการที่เรือมี VLS 8 cell แล้วมันจะเสียหายตรงไหน มันเป็นเรือเป็ดตรงไหนหรือ ??????
ถามหน่อยดิ จะเอา VLS เพิ่มกันไปทำไมกันนักกันหนา??????
อย่าว่าแต่ 32 cell หรือ 16 cel เลยl เอาแค่ 8 cell ที่มีอยู่เนี่ยะแหละ ซื้อจรวด ESSM มายัดใส่ให้มันเต็มแม็กซ์ให้มันได้ก่อนเถอะครับ ท่านทั้งหลาย
โธ่ๆๆๆๆๆ......ขนาดเรือหลวงนเรศวรกับเรือตากสิน 2 ลำรวมกัน 16 cell ถามว่าตอนนี้ ทร.ไทยเราสามารถจัดซื้อ ESSM มาได้กี่ลูกครับ???
ตอบ ทั้งหมดได้ แค่ 9ลูก ครับ
แล้วถามต่ออีกว่าทำไมไม่ซื้อมายัดใส่ให้มันเต็มเรือทั้งสองลำเลย 8 cell เท่ากับ ESSM 32ลูก สองลำเท่ากับ 64ลูก
คำตอบ คือ ทร.ไทยเรามีงบจัดสรรค์ซื้อมาได้แค่ 9 ลูกเท่านั้นครับ (พูดชัดๆคือ ทร.มีตังค์อยู่แค่เนียะ)
ครับนี้คือความจริงที่บรรดาท่านเกจิผู้รู้หลายๆท่านก็คงจะทราบกันเป็นในๆกันแล้ว ว่าต่อให้เรือฟริกตลำใหม่ ทร.สามารถทำให้ฝันของใครหลายคนในที่นี้เป็นจริง คือ สมมุติว่านะ โอ้โฮ ติดตั้ง VLS 16 cell ทีเดียวเลย แล้วปรากฎว่ามีงบเหลือซื้อ ESSM 9 ลูก เอ้า...แถม SM-2 และASROCK ให้อีก 4+2 = 6 ลูกด้วยเอ้า สามารถเอามาลงเรืออย่างมากสุดเท่าไรครับ ลองคำนวณดูซิ
ESSM = 9 ลูก ใช้ VLS บรรจุ 3 cell SM-2+ASROCK = 6ลูก ใช้ VLS 6 cell รวมแล้วเท่ากับ 9 cells
แล้วที่เหลืออีก 7 cell เอาไว้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหรือครับ ???????????????
เหตุผลที่ทร. เค้าติดตั้ง VLS แค่ 8 cell นั้นก็เพราะดูถึงความจำเป็นในเรื่องการใช้งานเป็นหลักครับบวกกับงบประมาณที่ผมเชื่อว่าทางกองทัพเรือ เค้าประเมินมาแล้วว่า ถ้าในอนาคตประเทศเพื่อนบ้านเริ่มจะเป็นภัยคุมคามอย่างถึงที่สุดแล้วนั้นแหละถึงจะจัดหาเพิ่ม จริงๆ
แล้วตอนนี้ถามว่าประเทศในอาเซียนนอกจากไทยเราแล้วมีใครมี ESSM อีกหรือ????????
ตอบ ก็ยังไม่เห็นจะมี แล้วจะรีบเพิ่ม VLS เป็น 16 cell หรือ 32 cell ไปหาสวรรค์วิมานอะไรกันละครับ
สู้ประหยัดงบแล้วเอาเงินมาลงกับโครงการขยายอู่ต่อเรือขนาด 20000 ตันเพื่อรองรับการต่อเรือฟรีเกตเพิ่มในอนาคตดีกว่าใหม
****** ซึ่งทร.ก็เคยแจ้งถึงสเปกส์แล้วว่า โครงการ SM-2 และ ASROCK มันเป็นโครงการในอนาคต ก็แสดงว่าในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการจัดหามารองรับ กว่าเรือจะเสร็จก็อีกตั้ง 5 ปีเมื่อถึงตอนนั้นก็ค่อยมาติดตามอีกที แล้วจะรีบตีโพยตีพายกันไปทำไมกันนักกันหนา
ที่ผมพูดเนี้ยนะคือ ผมพูดอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง แบบคนมีสติ แบบวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆที่ประเทศไทยเราควรจะเป็นควรจะมีครับ ไม่ใช่พากันพูดจาเลอะเทอะเลยเถิดกันไปเรื่อยเปื่อย
พูดจากใจจริงผมอยากลุ้นให้ ทร.คอยเร่งและผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำไว้ใช้งานก่อนจะต่อเรือฟรีเกตลำที่สองเสียด้วยซ้ำ
ท่าน Obeone พูดถูกใจจริงๆครับ เพราะผมก็คิดเรื่องนี้มานานแล้วแต่ไม่อยากขัดคอ แถมไม่เคยเห็นใครพูดถึงว่าเรามีจรวดกี่ลูกเลย
พูดแต่อยากได้หลายๆcell ก็ไม่รู้จะเอาไปทำไมมากกว่า 8 cell ในเมื่อเรือนเรศวรตอนนี้เรายังหามาใส่ได้แค่ 9 ลูก 3 cell
เพราะงั้นผมมองว่าเอาเงินที่จะเพิ่ม cell ซึ่งก็คือเงิน ในงปจัดหาเรือครั้งนี้ไปเอาอย่างอื่นมาก่อนเถอะครับ ไอเพิ่ม cell เข้าไปทีหลังผมว่ามันของ่ายกว่าอยู่แล้วเพราะระบบมันมีพร้อมแล้ว ถ้าจะเอาเยอะ cell ตอนนี้แล้วลดสเปกไอนู่นไอนี่ลง ถึงเวลาปรับปรุงอันไหนน่าจะของ่ายกว่ากันครับระหว่างขอเพิ่ม cell กับยกตัวอย่างเช่นขอเรดาห์สเปกใหม่ที่ดีขึ้น ผมมองว่าจุดนี้ ทร ทำถูกแล้วในแง่จัดลำดับการใช้เงินก่อนหลังนะครับ
ถ้ามีเงินจัดหาจรวดได้เต็ม 16 32 cell จังหวะนั้นแค่แท่นปล่อยคงไม่ใช่ปัญหาเรื่องเงินหรอกครับ จะบอกว่าถึงเวลาจำเป็นต้องใช้มันจะไม่ทัน ไม่มีที่ใส่ แล้วถึงเวลาจำเป็นต้องใช้เราจะได้จรวดมาทันมั๊ยครับ
ดังนั้น 8 cell นะตอนนี้ เอา ESSM มาลง 8 ลูก 2 cell ASROC อีก3+SM-2 อีก3(สมมติว่าใช้ได้แล้ว) ยังลุ้นกันเหนื่อยตั้งแต่ ESSM 8 ลูกแล้วครับ ไม่นับ Nulka นะเนี่ย แต่ผมเชื่อครับว่าถึงเวลา 16 cell มันก็มาเองหน้าฟาลังซ์นั่นแหละครับ พท มันก็น่าจะพออยู่
ส่วนอีกข้อที่ผมเห็นหลายท่านวิเคราะห์มามากเรื่อง SM-2 เท่าที่อ่านตามเอกสารที่ ทร ชี้แจงมา เค้าก็แค่บอกว่าสามารถปรับปรุงให้รองรับได้ในอนาคต ซึ่งหลายท่านพอเห็นแบบนี้ก็เลิกพูดเรื่องการเชื่อมต่อระบบ การเลือกว่าจะใช้ของค่ายไหนดีกว่า จบกว่า ถูกกว่า ไปเลย ซึ่งในความเห็นผมตามที่ ทร ชี้แจงคือ Saab สามารถเชื่อม SM-2 ได้แน่นอน แต่ของที่เราสั่งนะตอนนี้ใช้ได้แล้วหรือต้องเสียเงินเพิ่มในอนาคตยังไม่มีใครรู้ อันนี้ก็ลุ้นกันต่อไปแล้วกันครับ
สุดท้ายคือผมเห็นด้วยกับ 8 cell ในตอนนี้ ทร น่าจะคิดดีแล้วและถูกต้องแล้วครับ
จะโวยวายอะไร...ก็เป็นความเห็นต่างไงครับ ท่านเห็นตาม แต่ผมไม่เห็นตาม ผมก็แสดงออกด้วยความคิดเห็น และใช้เหตุผลประกอบชัดเจน ผมไม่ได้บอกว่า "ต้องมีเดี๋ยวนั้นเดี๋ยวนี้" แต่บอกว่ามันควรต้องมีเท่านั้นเท่านี้เพื่อความเหมาะสม ที่วิพากย์วิจารณ์ก็เพราะเท่าที่คุยกันมาค่อนข้างเชืีอได้ว่าตามแบบของเรือลำนี้ ไม่มีที่ว่างที่เตรียมไว้สำหรับติดตั้ง Mk.41 VLS เป็นการเฉพาะ "มีแล้วยังไม่ได้ใช้" ดีกว่า "ไม่มีจะใช้เมื่อจำเป็นต้องใช้" ที่ทร.สั่งซื้อลูกจรวด ESSM มาไว้แค่ 9 ลูกนั้น ก็เป็นข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และเป็นแนวทางปกติของกองทัพไทยที่จะจัดหาเป็นงวดๆ ในระยะเวลาห่างกันพอสมควร เพราะตัวจรวดนั้นมีอายุการเก็บรักษา ในสภาวการณ์สงบมีโอกาสได้ใช้น้อยมาก หากสั่งมาทีเดียวเยอะๆ ถึงเวลาหมดอายุก็จะหมดพร้อมกัน เสียงบประมาณไปเปล่าๆ แล้วก็ต้องจัดหาใหม่เป็นจำนวนมากอีกเช่นเดียวกัน แต่...การมีท่อยิงเตรียมพร้อมไว้ หากเกิดสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ก็สามารถจัดหามาใส่ได้ไม่ยาก แต่หากไม่มีท่อยิงหรือมีไม่เพียงพอจะติดตั้งเพิ่มนั้นยากและใช้เวลามากกว่ามากมายนะครับ ส่วนที่บอกว่าเป็นเรือแบบเป็ดๆ ก็เป็นคำเปรียบเปรยที่หลายท่านกูรูใช้กันครับ เหตุผลก็ลองไปถามท่านเหล่านั้นดูนะครับ เอาสรุปง่ายๆ ก็คือ ตามข้อมูลที่มีณ.ปัจจุบัน เรือนี้มีขีดความสามารถปฏิบัติการได้ทั้งสามมิติ(อเนกประสงค์) แต่มีความสามารถที่จำกัด(ไม่ได้ดีที่สุด)ในแต่ละมิติ
ปล.อย่างรล.นเรศวรนั้น ที่มีแค่ 8 เซลส์ ผมก็เห็นด้วยครับ เพราะมีพื้นที่เตรียมไว้เท่านั้นและตามแผนก็ใช้แค่ป้องกันภัยทางอากาศแบบจำกัด แต่กับเรือลำใหม่ที่บอกว่าเรือขนาดนี้ก็มีได้เท่านี้...ผมว่าไม่จริง และได้ยกตัวอย่างเรือที่มีขนาดเท่ากันแต่มีจำนวนท่อยิง(ที่สามารถใช้กับอาวุธอื่นๆ)มากกว่าอย่างชัดเจน หรือจะพิจารณาเรือ ANZAC ของออสเตรเลีย ที่ติดตั้งแค่ 8 เซลส์ แต่เห็นได้ชัดเจนว่ามีพื้นที่เตรียมไว้สำหรับติดตั้งได้อีก 8 เซลส์ได้ในทันทีครับ
ใจเย็นๆครับการวิจารณ์คนวิจารณ์แล้วโดนคนวิจารณ์ที่โดนวิจารณ์ก่อนวิจารณ์บ้างคือต้นกำเนิดของเว็บบอร์ดครับ
แต่ผมแอบฮาท่านSeriesVll มากครับ เห็นด้วยในการสนับสนุนให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ชม2ภาพสุดท้านที่คุณพัทธนันท์ สงชัย เพิ่งลงไปแล้วกันนะครับ (ประตูเยอะมากแบบจำลองเรือลำนี้)
อ้าวเพิ่งสังเกตเห็น ใต้เสากระโดงหลักมีประตูด้วยแสดงว่าภายในนั้นเป็นห้องปฎิบัติการแบบในหนังแน่นอนเลย ประตูด้านหน้าก็เป็นแค่ส่วนห้องบังคับเรือเท่านั้น(ที่สื่อมวลชนจะพอเข้าไปได้)มีทางเดินเชื่อมถึงกันจากภายใน แต่ตรงนี้ไม่มีราวกั้นตอนบรรจุdecoyคงเสียวพิลึก
ประตูใต้เสา...น่าจะเป็นที่เก็บ ลูก Decoy ต่าง ๆ...เพื่อนำมา บรรจุ ในแท่นยิง MK-137...
ท่าน Superboy ในเรื่องลำจริง คงมี ราวกันตก แหล่ะครับ...5 5 5 5
ขอมาแสดงความคิดเห็นหน่อยครับ การที่ทร.ไทยเราสามารถจัดซื้อ ESSM มาได้แค่ 9ลูก ไม่ได้หมายความว่าจะมีแค่ 9 ลูกนะครับ 9 ลูกนี้เป็นแค่ล๊อตแรกเท่านั้นครับ จะซื้อมาเพิ่มก็ต่อเมื่อเรือหลวงนเรศวรกับเรือตากสินมีการทดสอบยิงประสบความสำเร็จเท่านั้น นัยว่า 9ลูกนี้ซื้อมาเพื่อทดสอบก่อนครับเพราะเรือหลวงนเรศวรกับเรือตากสินโมใหม่หมด ถ้าการทดสอบยิงประสบความสำเร็จ การซื้อหลังจากนั้นบอกได้เลยว่าทั้งคุณและผมไม่มีใครรู้จำนวนที่แท้จริงหรอกครับ
ใช่ครับท่าน speci แต่ตามปกติหลักนิยมของทร.ไทย จะบรรจุจรวดในอัตราขั้นต่ำที่ ครึ่งหนึ่ง จากจำนวนบรรจุเต็มของจรวดแต่ละแบบครับ ไม่แน่รล.นเรศวร/ตากสินอาจจะกำหนดให้บรรจุ ESSM แค่ 24 นัดเท่านั้น ที่เหลืออาจใส่เป็น Nulka ก็ได้ครับ (เหมือนกับเรือใหม่)
ใครก็ได้ ช่วยบอกคุณพัฒนนันท์ ขอภาพ ชัดๆแถวปล่องควัน ด้วยครับ
เห็นแต่ภาพแถวท่อharpoon แต่ปล่อควัน กับพื้นที่ด้านใน ไม่ชัดเลยอ่ะ
เหลือจุดเดียวทียังสงสัยอยู่ จะได้หายคาใจว่า แถวนั้น พอจะมีความเป็นไปได้ของอะไรอยู่มั่ง
ก็น่ะผมลองไปโพสต์ดูแล้วรู้สึกจะไม่มีจริงๆแฮะน่าเสียดายนั่งจิ้นกันต่อไปครับ
ภาพล่าสุดของ คุณพัทธนันท์...
ตกลงว่า ไม่ต้องลุ้นแล้วครับ...ไม่มี ระบบ VLS...บริเวณปล่องควัน
ขอวิจารณ์ถึงพวกชอบคอมเมนต์เรือฟรีเกตไทยเราลำนี้หน่อยเถอะนะ สังเกตพฤติกรรมมานานแล้ว
ทำไมเหรอครับการที่เรือมี VLS 8 cell แล้วมันจะเสียหายตรงไหน มันเป็นเรือเป็ดตรงไหนหรือ ??????
ถามหน่อยดิ จะเอา VLS เพิ่มกันไปทำไมกันนักกันหนา??????
อย่าว่าแต่ 32 cell หรือ 16 cel เลยl เอาแค่ 8 cell ที่มีอยู่เนี่ยะแหละ ซื้อจรวด ESSM มายัดใส่ให้มันเต็มแม็กซ์ให้มันได้ก่อนเถอะครับ ท่านทั้งหลาย
โธ่ๆๆๆๆๆ......ขนาดเรือหลวงนเรศวรกับเรือตากสิน 2 ลำรวมกัน 16 cell ถามว่าตอนนี้ ทร.ไทยเราสามารถจัดซื้อ ESSM มาได้กี่ลูกครับ???
ตอบ ทั้งหมดได้ แค่ 9ลูก ครับ
แล้วถามต่ออีกว่าทำไมไม่ซื้อมายัดใส่ให้มันเต็มเรือทั้งสองลำเลย 8 cell เท่ากับ ESSM 32ลูก สองลำเท่ากับ 64ลูก
คำตอบ คือ ทร.ไทยเรามีงบจัดสรรค์ซื้อมาได้แค่ 9 ลูกเท่านั้นครับ (พูดชัดๆคือ ทร.มีตังค์อยู่แค่เนียะ)
ครับนี้คือความจริงที่บรรดาท่านเกจิผู้รู้หลายๆท่านก็คงจะทราบกันเป็นในๆกันแล้ว ว่าต่อให้เรือฟริกตลำใหม่ ทร.สามารถทำให้ฝันของใครหลายคนในที่นี้เป็นจริง คือ สมมุติว่านะ โอ้โฮ ติดตั้ง VLS 16 cell ทีเดียวเลย แล้วปรากฎว่ามีงบเหลือซื้อ ESSM 9 ลูก เอ้า...แถม SM-2 และASROCK ให้อีก 4+2 = 6 ลูกด้วยเอ้า สามารถเอามาลงเรืออย่างมากสุดเท่าไรครับ ลองคำนวณดูซิ
ESSM = 9 ลูก ใช้ VLS บรรจุ 3 cell SM-2+ASROCK = 6ลูก ใช้ VLS 6 cell รวมแล้วเท่ากับ 9 cells
แล้วที่เหลืออีก 7 cell เอาไว้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหรือครับ ???????????????
เหตุผลที่ทร. เค้าติดตั้ง VLS แค่ 8 cell นั้นก็เพราะดูถึงความจำเป็นในเรื่องการใช้งานเป็นหลักครับบวกกับงบประมาณที่ผมเชื่อว่าทางกองทัพเรือ เค้าประเมินมาแล้วว่า ถ้าในอนาคตประเทศเพื่อนบ้านเริ่มจะเป็นภัยคุมคามอย่างถึงที่สุดแล้วนั้นแหละถึงจะจัดหาเพิ่ม จริงๆ
แล้วตอนนี้ถามว่าประเทศในอาเซียนนอกจากไทยเราแล้วมีใครมี ESSM อีกหรือ????????
ตอบ ก็ยังไม่เห็นจะมี แล้วจะรีบเพิ่ม VLS เป็น 16 cell หรือ 32 cell ไปหาสวรรค์วิมานอะไรกันละครับ
สู้ประหยัดงบแล้วเอาเงินมาลงกับโครงการขยายอู่ต่อเรือขนาด 20000 ตันเพื่อรองรับการต่อเรือฟรีเกตเพิ่มในอนาคตดีกว่าใหม
พูดตรงๆ ไม่ชอบกับการใช้คำเสียดสีแบบนี้จริงๆ
ทำไมเรือนี้ควรจะมี16cells
1.VLS ไม่สามารถบรรจุกลางทะเลได้ ตามภารกิจของเรือลำนี้ ที่มาแทนเรือชั้นพุทธยอดฟ้า จะต้องมีASROC ให้ได้ไม่น้อยกว่าที่ชุดเก่ามี ซึ่งก็คือ 8ท่อยิง (จำนวนเท่ากับในกล่องยิงMk16ซึ่ง?Mk16 ยังรีโหลดได้อีกต่างหาก) เพราะฉะนั้น VLS สำหรับASROC จึงต้องมี8ท่อ ส่วนที่เหลืออีก8ท่อ ก็อาจจะใส่ESSM หรือ ExLS ตามเรื่องตามราวไป
2.ในจำนวนเงินที่มากกว่าการอัพเกรดเรือหลวงนเรศวร+ตากสิน 2เท่า (15Kล้านบาท กับ โครงการอัพเกรดเรือ2ลำ 7พันล้าน)แต่กลับได้ระบบElectronics ที่เหมือนรล.นเรศวรยังกับผีจับยัด พูดตามตรงว่า ประเด็นนี่ก็น่าเล่นไม่แพ้กัน ซึ่งเงินที่เพิ่มมา น่าจะทำให้ได้ระบบอาวุธที่ดีกว่านี้ เพราะระบบอิเล็คโทรนิคส์ทั้งหลาย ก็ใช้แบบเดียวกับรล.นเรศวร
3. ทำไมต้องมี16ท่อ ต่อ ..... ระบบSM-2 (ที่ว่าในอนาคตนั่นแหละ ในเว็บสยป.ทร.ก็บอกไว้ชัดเจนว่าเฉพาะSM-2เท่านั้น ที่เป็นโครงการอนาคต ส่วนVL-Asroc มีบรรจุในโครงการด้วย) ยิ่งต้องการชัดเจนเลยว่า จะต้องมีVLSมากกว่า8 ด้วยเหตุผลเดียวกับVLA คือ
จรวดมันบรรจุเพิ่มกลางทะเลไม่ได้ หากมีสถานการณ์รบติดพัน การมีจรวดในท่อมาก ย่อมได้เปรียบกว่า .....
ประเด็นเรือเป็ด ........ พูดตรงๆ คำนี้ถูกประเด็นที่สุด สำหรับอธิบายเรือลำนี้
เป็ด(บ้าน) บินไม่ได้ไกล ว่ายน้ำก็ไม่ไกล ดำน้ำก็ไม่อึด เสียงดังอย่างเดียว
เรือลำนี้หากจะให้นิยามสั้นๆ
"สายตาดี(เรดาร์ไกล) หมัดสั้น(ESSM) จะสู้กับปลา(เรือดำน้ำ) ก็ดันมีฉมวกไปแทงแค่3-4ลูก (ฉมวกไม่ได้มีโอกาสโดน100%) แต่กลับใช้คำว่า สมรรถนะสูง ........."
รอบบ้านมีใครใช้ESSM เอาอย่างนี้ดีกว่า
รอบๆสิงคโปร์ มีใครใช้ASTER 30 บ้าง !!!!
อวป.Supersonic รอบบ้านเรา
Yakhont 2-3ประเทศ (อินโด มาเลย์ เวียดนาม ) KH-31 (มาเลย์ อินโด เวียดนาม)
อวป. อากาศ-เรือ พื้น-เรือ เรือ-เรือ ต่ำกว่าเสียง
MM40 Harpoon KH-35 Klub SM39 C801 C802 C602 C702 otomat
คิดว่า ภัยคุกคามแค่นี้พอไหม
****** ซึ่งทร.ก็เคยแจ้งถึงสเปกส์แล้วว่า โครงการ SM-2 และ ASROCK มันเป็นโครงการในอนาคต ก็แสดงว่าในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการจัดหามารองรับ กว่าเรือจะเสร็จก็อีกตั้ง 5 ปีเมื่อถึงตอนนั้นก็ค่อยมาติดตามอีกที แล้วจะรีบตีโพยตีพายกันไปทำไมกันนักกันหนา
ที่ผมพูดเนี้ยนะคือ ผมพูดอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง แบบคนมีสติ แบบวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆที่ประเทศไทยเราควรจะเป็นควรจะมีครับ ไม่ใช่พากันพูดจาเลอะเทอะเลยเถิดกันไปเรื่อยเปื่อย
พูดจากใจจริงผมอยากลุ้นให้ ทร.คอยเร่งและผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำไว้ใช้งานก่อนจะต่อเรือฟรีเกตลำที่สองเสียด้วยซ้ำ
ตรงนี้คุณพูดผิดชัดเจน ASROC ระบุไว้ในเว็บสยป.ทร.ว่า จัดหามาพร้อมกัน ไม่เหมือนกับSM-2ที่แยกออกมาว่าจะจัดหาในอนาคต
จริงๆแล้วเรื่องงบประมาณ พูดถูกต้องบางส่วนคือ ขั้นแรก อาจจะหาจรวดมาไม่ได้ครบจริงๆ แต่ในงบประมาณปกติ สามารถทยอยจัดหาเพิ่มเติมได้อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องไม่มีสตังซื้อมาใส่ จึงเป็นคำพูดที่ไร้เหตุผลสิ้นดี
ยกกรณีชัดเจนได้คือตอนจรวดอามราม พร้อมF-16ADF ที่มีมาตอนแรกแค่ 8ลูก ...........ตอนนี้มีใครรู้บ้างว่า ตอนนี้ ทอ.ไทยมีอามราม กี่ลูก????? ถึงรู้ก็บอกไม่ได้ แต่มากกว่า8ลูกแน่นอน
และที่สำคัญ ..............อย่าสำคัญว่า คุณ เป็นคนมีสติคนเดียว
ทุกคนมีสิทธิจะแสดงความเห็น ตราบใดที่อยู่ในกรอบการแสดงความเห็นอันผู้มี อารยธรรม (ธรรมอันผู้เจริญแล้วมี) ซึ่งแทบทุกท่านที่มาแสดงความเห็น ก็แสดงความเห็นของตน แม้จะจิ้นเกินเลยไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ออกนอกกรอบอันควรแห่งมิตรภาพ และไม่ได้เหยียดความเห็นคนอื่นแบบที่ท่านกำลังทำอยู่
ช่วยแก้คำผิด ASROC = Anti-Submarine ROCket ส่วนASROCK เป็นยี่ห้อเมนบอร์ด ............
ประเด็นเรื่องจำนวนท่อยิง VLS นี้ยังต่อเนื่องไปถึงแผนการปรับปรุงเพื่อขีดความสามารถในการใช้ SM-2 อีกดัวยนะครับ ด้วยข้อจำกัดเรื่องจำนวนจรวดที่น้อยมาก ทำให้เกิดประเด็นอีกว่า มันคุ้มค่าไหมกับการใช้เงินอีกนับพันล้านบาทเพื่อปรับปรุงระบบ CWI ให้รองรับ SM-2 แล้วบรรจุจรวดนี้ไปได้แค่ 8 ลูก สู้เอาเงินกัอนนี้ไปจัดหาจรวดฉลาดๆ ราคาแพงอย่าง Aster 30 จะดีกว่าไหมครับ (ตัวอยางสมมติเปรียบเทียบนะครับ) ลองนึกถึงภารกิจปราบด.ที่คงยัด ASROC ไปเต็มแมก แต่ดันต้องแบกระบบต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ไปซะเพียบ (ถึงสถานการณ์จำเป็นก็ไม่มีจรวดให้ใช้) ไม่คุ้มทั้งการลงทุนและความเสี่ยง จริงไหมครับ
ปล.ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวในมุมมองของผมเองนะครับ ซึ่งในความเป็นจริงก็อาจจะไม่เป็นไปตามที่ผมคิดเองวิเคราะห์เองก็ได้นะ
ทำไมเพื่อนๆเถียงกันเรื่องหรือบอกว่าเรือหลวงนเรศวรมีVLS แค่8cell
แต่ในรูปที่ผมมีอยู่ในเครื่องเดิมมีVLS 16 cellอะครับ จำไม่ได้ว่าเอารูปมาจากไหนนะครับ
ผมว่าตามรูปนี้ก็ดีนะครับสวยด้วย
เป็นรูปจากโครงการปรับปรุงเรือหลวงชุดนเรศวรที่ทาง Thales เสนอ ซึ่งได้พ่ายแพ้แก่ SAAB ไปแล้วครับ
ในรูปเป็น Mk48 Mod2 ซึ่งมีท่อยิง 16ท่อ ถ้าใช้ชุดยิงแบบ Dual-Pack ก็จะบรรจุ ESSM ได้ 32นัด
ผมให้ MK41 เหนือกว่าตรงที่ยิงอาวุธได้หลากหลายกว่า อุปกรณ์เสริมเยอะ ดูมีอนาคตกว่า Mk48 Mod2
เป็นภาพตัดต่อ และทำเอง น่าจะของท่าน AAG_th1 ครับ...ที่ในช่วงนั้น ประสบปัญหางบประมาณ ก็เลยพูดถึงการใช้ MK-48 แทน MK-41...แล้วรู้สึกว่า เว๊ป ทร. เอาไปใช้ ยังไงนี่ล่ะครับ...
ของ Thales ก็เป็น แท่นยิง MK-41 ตามปกติ ครับ...
เรื่อง แอมราม กับ F-16 ADF....ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันนะครับว่า จะมีมากกว่า 8 ลูก ได้อย่างไรน่ะครับ...ในเมื่อ การขาย มันต้องผ่าน สภาครองเกรส ? หรือแม้แต่การช่วยเหลือแบบให้เปล่า ก็ต้องมีการอนุมัติจาก ครองเกรส ด้วยไม่ใช่เหรอครับ ?
ส่วนเรื่อง VLS จะต้องมีกี่ เซล นั้น...ในความเห็นผมว่า...
คงต้องทำความรู้จัก ความหมายของตัวเลข 32 ของ SAM น่ะครับ...
ทำไม เรือ FFG ถึงต้องมี ตัวเลข 32
ตัวอย่างเช่น MK-41 จำนวน 8 เซล แต่ บรรจุ ESSM ได้ 32 ลูก
หรือ แท่นยิง ASTER ทำไมต้องมี 32 เซล (ขอเสียเปรียบ ASTER คือ อัตรา เซล แท่นยิง กับ กล่องบรรจุ คือ 1 ต่อ 1)
จำนวนเซล จำนวนเท่าไหร่ ไม่สำคัญเท่า CANISTER ที่บรรจุสำหรับยิง ลูกจรวด ทั้ง ESSM และ ASTER...
หรือ อย่าง KDX-2 ต้องใช้ MK-41 จำนวน 4 ระบบ หรือ 32 เซล เพราะต้องบรรจุ SM-2 จำนวน 32 ลูก เพราะ CANISTER บรรจุได้ 1 ต่อ 1...(ตัวเลข 32 อีกแล้ว)
แต่เดิม เรือชั้นพุทธฯ แท่นยิง ASROC จะบรรจุ ASROC จำนวน 4 ช่องยิง...และบรรจุ ฮาร์พูน จำนวน 4 ช่องยิง...
จาก อัตราเดิม ก็พอจะประมาณได้ว่า เรือฟริเกตใหม่ ขณะที่ยังไม่มี SM-2 น่าจะใช้อัตราบรรจุ คือ ESSM จำนวน 16 ลูก (ครึ่งหนึ่งของ ตัวเลข 32 แต่มากกว่าเท่าตัวของแท่นยิง MK-29 ตัวเลขคือ 8) และ VL-ASROC จำนวน 4 ลูก...(เท่าอัตราเดิมของ เรือชั้น พุทธฯ)
โดยในใจ คิดว่า แท่นยิง MK-41 หรือ แท่นยิง ของ ASTER....เมื่อได้ทำการยิง หรือ ใช้งาน เซลใด เซลหนึ่งแล้ว...เซลนั้น ก็น่าจะไม่เหมาะสมกับการนำมาบรรจุ CANISTER ใหม่...
ดังนั้น เรือแต่ละลำ จะต้องเรียงลำดับทะยอยใช้งาน เซล ส่วนที่เหลือให้หมด...ก็คือ ตลอดอายุใช้งานของเรือ 1 ลำ...ยิง Missile ได้สูงสุด ไม่เกิน 32 หน่วยยิง....
ในเบื้องต้น ผมจึงพอจะมองความหมายในตัวเลข 8 และ 16 กับ 32 คือ
SAM จำนวน 8 ลูก คือ อัตราพร้อมรบ ขั้นต่ำสุด (เท่ากับ แท่นยิง MK-29 จำนวน 1 ระบบ) (เหมือนเรือชั้น รัตนโกสินทร์ และเรือแบบอื่น ๆ ในยุค 80)
SAM จำนวน 16 ลูก คือ อัตราพร้อมรบ ขั้นมาตรฐาน (เท่ากับ แท่นยิง MK-29 จำนวน 2 ระบบ) สำหรับเรือ Multirole เน้น ปราบเรือดำน้ำ เช่น KDX-1 ที่ติดตั้ง MK-48 จำนวน 16 ท่อยิง หรือ DDH-181 ที่ติดตั้ง MK-41 แบบ 16 Cell โดยใช้ ESSM จำนวน 16 ลูก ของ ญี่ปุ่น...
SAM จำนวน 32 ลูก คือ อัตราพร้อมรบ ขั้นสูงสุด และรวมอัตราสำรอง ตลอดอายุใช้งานของเรือ (เท่ากับ แท่นยิง MK-29 จำนวน 4 ระบบ หรือ MK-13 จำนวน 1 ระบบ ของเรือชั้น OHP สำหรับยิง SM-1) สำหรับเรือเน้นการป้องกันภัยทางอากาศ (เช่น ANZAC หรือ นเรศวร หรือ KDX-2 หรือ Formidable)
ก็คือ ถ้ามีข้อมูลแล้วให้ได้ทราบความหมายว่า ทำไม ตัวเลข อัตราสูงสุด ถึงต้อง 32 ก็คงจะพอประเมิน หรือ ทำความเข้าใจกันได้ครับ...
ในขณะนี้ ผมมองการวาง ความพร้อมรบของ เรือฟริเกตใหม่ สำหรับเรือ 1 ลำ คือ
ก่อนการเพิ่มระบบ SM-2
SAM จำนวน 16 หน่วยยิง (ESSM = 16) ความพร้อมรบ อัตรามาตรฐาน (เหมือน KDX-1 หรือ DDH-181)
ASROC จำนวน 4 หน่วยยิง (MK-54 = 4) ความพร้อมรบ อัตรามาตรฐาน (เท่าชั้น พุทธฯ) (มากกว่า KDX-1 แต่น้อยกว่า DDH-181)
หลังการเพิ่มระบบ SM-2
SAM จำนวน 16 หน่วยยิง (ESSM = 8, SM-2 =8) ความพร้อมรบ อัตรามาตรฐาน (เหมือน KDX-1 หรือ DDH-181 แต่เพิ่มระยะมากกว่า)
ASROC จำนวน 4 หน่วยยิง (MK-54 = 4) (เท่าชั้น พุทธฯ) ความพร้อมรบ อัตรามาตรฐาน
VL-Decoy (Nulka) จำนวน 8 หน่วยยิง ความพร้อมรบ อัตรามาตรฐาน
เรื่อง แอมราม กับ F-16 ADF....ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันนะครับว่า จะมีมากกว่า 8 ลูก ได้อย่างไรน่ะครับ...ในเมื่อ การขาย มันต้องผ่าน สภาครองเกรส ? หรือแม้แต่การช่วยเหลือแบบให้เปล่า ก็ต้องมีการอนุมัติจาก ครองเกรส ด้วยไม่ใช่เหรอครับ ?
----------อาวุธราคาต่ำกว่า 14ล้านเหรียญ ไม่ต้องแจ้งสภาคองเกรส
Under Section 36(b) of the Arms Export Control Act, Congress must be formally notified 30
calendar days before the Administration can take the final steps to conclude a government-togovernment foreign military sale of major defense equipment valued at $14 million or more,
defense articles or services valued at $50 million or more, or design and construction services
valued at $200 million or more
ส่วนเรื่อง VLS จะต้องมีกี่ เซล นั้น...ในความเห็นผมว่า...
คงต้องทำความรู้จัก ความหมายของตัวเลข 32 ของ SAM น่ะครับ...
ทำไม เรือ FFG ถึงต้องมี ตัวเลข 32
ตัวอย่างเช่น MK-41 จำนวน 8 เซล แต่ บรรจุ ESSM ได้ 32 ลูก
หรือ แท่นยิง ASTER ทำไมต้องมี 32 เซล (ขอเสียเปรียบ ASTER คือ อัตรา เซล แท่นยิง กับ กล่องบรรจุ คือ 1 ต่อ 1)
จำนวนเซล จำนวนเท่าไหร่ ไม่สำคัญเท่า CANISTER ที่บรรจุสำหรับยิง ลูกจรวด ทั้ง ESSM และ ASTER...
หรือ อย่าง KDX-2 ต้องใช้ MK-41 จำนวน 4 ระบบ หรือ 32 เซล เพราะต้องบรรจุ SM-2 จำนวน 32 ลูก เพราะ CANISTER บรรจุได้ 1 ต่อ 1...(ตัวเลข 32 อีกแล้ว)
แต่เดิม เรือชั้นพุทธฯ แท่นยิง ASROC จะบรรจุ ASROC จำนวน 4 ช่องยิง...และบรรจุ ฮาร์พูน จำนวน 4 ช่องยิง...
------แท่นMk16 ของเรือชั้นพุทธฯ ติดฮาร์พูนได้ 2ช่องยิงเท่านั้น ด้านขวาสุดของกล่องยิง 2ท่อ ยังไม่รวมการที่มีกระสุนรีโหลดในแม็กกาซีนอีก 16ลูก
จาก อัตราเดิม ก็พอจะประมาณได้ว่า เรือฟริเกตใหม่ ขณะที่ยังไม่มี SM-2 น่าจะใช้อัตราบรรจุ คือ ESSM จำนวน 16 ลูก (ครึ่งหนึ่งของ ตัวเลข 32 แต่มากกว่าเท่าตัวของแท่นยิง MK-29 ตัวเลขคือ 8) และ VL-ASROC จำนวน 4 ลูก...(เท่าอัตราเดิมของ เรือชั้น พุทธฯ)
โดยในใจ คิดว่า แท่นยิง MK-41 หรือ แท่นยิง ของ ASTER....เมื่อได้ทำการยิง หรือ ใช้งาน เซลใด เซลหนึ่งแล้ว...เซลนั้น ก็น่าจะไม่เหมาะสมกับการนำมาบรรจุ CANISTER ใหม่...
ดังนั้น เรือแต่ละลำ จะต้องเรียงลำดับทะยอยใช้งาน เซล ส่วนที่เหลือให้หมด...ก็คือ ตลอดอายุใช้งานของเรือ 1 ลำ...ยิง Missile ได้สูงสุด ไม่เกิน 32 หน่วยยิง....
-----------ผิด Mk41 ยุคแรกๆนั้น มีเครนสำหรับเปลี่ยนCanister ได้กลางทะเล --อย่างรุ่น61cell ของticonderoga (แต่ภายหลังพบว่ายากลำบาก เพราะความโคลงของเรือ และสภาวะไม่เอื้ออำนวยต่างๆ) ......การยิงจรวดแต่ละครั้ง แทบไม่มีผลกับตัวcell เองเลย
ในเบื้องต้น ผมจึงพอจะมองความหมายในตัวเลข 8 และ 16 กับ 32 คือ
SAM จำนวน 8 ลูก คือ อัตราพร้อมรบ ขั้นต่ำสุด (เท่ากับ แท่นยิง MK-29 จำนวน 1 ระบบ) (เหมือนเรือชั้น รัตนโกสินทร์ และเรือแบบอื่น ๆ ในยุค 80)
SAM จำนวน 16 ลูก คือ อัตราพร้อมรบ ขั้นมาตรฐาน (เท่ากับ แท่นยิง MK-29 จำนวน 2 ระบบ) สำหรับเรือ Multirole เน้น ปราบเรือดำน้ำ เช่น KDX-1 ที่ติดตั้ง MK-48 จำนวน 16 ท่อยิง หรือ DDH-181 ที่ติดตั้ง MK-41 แบบ 16 Cell โดยใช้ ESSM จำนวน 16 ลูก ของ ญี่ปุ่น...
SAM จำนวน 32 ลูก คือ อัตราพร้อมรบ ขั้นสูงสุด และรวมอัตราสำรอง ตลอดอายุใช้งานของเรือ (เท่ากับ แท่นยิง MK-29 จำนวน 4 ระบบ หรือ MK-13 จำนวน 1 ระบบ ของเรือชั้น OHP สำหรับยิง SM-1) สำหรับเรือเน้นการป้องกันภัยทางอากาศ (เช่น ANZAC หรือ นเรศวร หรือ KDX-2 หรือ Formidable)
---------ถึงตรงนี้ก็ให้กลับไปอ่านด้านบนใหม่
ถูกต้องแล้วครับที่เราวิจารณ์กัน มันก็มีแต่เปิดมุมมอง ขยายแนวคิดเป็นประโยชน์ งั้นผมขอแสดงความคิดเห็นต่อนะครับ
ผมไม่ได้จะตำหนิหรือต่อว่าท่านทั้งหลายที่อยากได้มากกว่า 8 cell แต่ประเด็นที่ผมอยากชี้ให้ลองนำมาวิเคราะห์คือ
ณ วงเงินตอนนี้ซึ่งผมไม่มีรายละเอียดพอว่าที่จ่ายไป 15k มันเรียกว่าคุ้มค่ารึเปล่า ซึ่งประเด็นนี้ผมขอผ่านไปก่อนนะครับ
1.เอา 8 cell เลยกับเอา 16 cell เลย.... 8 กับ 16 ใช้ระบบหลักต่างๆ อุปกรณ์ radar กี่ชุดครับ ก็ชุดเดียวใช่มั๊ยครับ แล้ว 8 กับ 16 นี่ใช้อุปกรณ์ที่เฉพาะตัวกี่ชุดครับ ก็ตามจำนวน cell งั้นเอา 16 มาเลยแล้วส่วนอื่นก็ตามเงินที่เหลือ หรือ 8 มาก่อนไอตัวหลักเราก็เลือกที่ดีขึ้น เพราะสุดท้ายเพิ่ม cell น่าจะง่ายกว่าเปลี่ยนระบบหลักต่างๆ อุปกรณ์ radar(เรื่อง เทคนิคนี่อ่านอย่างเดียวไม่ค่อยจำเลยผม) บางท่านอาจบอกแล้วเปลี่ยนทำไมระบบหลักต่างๆ อุปกรณ์ radar มันก็ใช้ได้หนิ แหม่ก็ถ้าจัดลำดับขอนู่นก่อนอาจขอเพิ่มนี่ได้ กับขอนี่ก่อนแล้วขอนู่นเพิ่มไม่ได้ ใครๆก็อยากได้ทางที่ได้ทั้งหมดใช่มั๊ยครับกับแค่สลับลำดับขอชีวิตก็เปลี่ยน อันนี้ตามความคิดผมนะครับ
2.เรา มีเงินซื้อ ESSM... ณ จุดนี้เราก็ทราบกันทุกท่านว่ามี 9 ลูก ซึ่งบางท่านบอกว่าเอามาทดสอบ ส่วนตัวผมว่าถ้าจะเอามาทดสอบก็ ซื้อมาทุกค่ายเลยสิครับ ไอยิงน่ะมันยิงได้อยู่แล้ว แล้วอะไรมันยิงดีกว่ากันเข้ากับระบบมากกว่ากัน ถ้าจะซื้อมาทดสอบ 100 ลูกแต่เป็น ESSM หมด มันแปลว่าอะไรครับ ไม่ได้แปลว่าก็เราเลือกที่จะใช้มันไม่ว่ามันจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ตาม งั้นเราก็ออกข่าวซื้อมามากกว่านี้เถอะครับ เพื่อนบ้านเราคงไม่เชื่อหรอกครับว่าเราจะมีอยู่แค่ 9 ลูก ถ้าจะบอกว่าซื้อมาทดสอบนะครับ (ซึ่งผมก็อยากให้มันมีมากกว่า 9 ) เพราะฉะนั้นประเด็นนี้มันก็ควรจะเป็นเรื่องเงิน ณ เวลานี้ถูกต้องมั๊ยครับ และถ้าจะบอกว่าอีก 5 ปีกว่าเรือจะมาตอนนั้นก็มีเงิน แล้วเรือดำน้ำผมล่ะจะเอาเงินส่วนไหนไปขอเค้านะ(ให้ ทร ปลูกข้าวขาย รัฐบาล ดีกว่า)
3.ใน สถานะการณ์ต่างๆ... แนวความคิดผมยอมรับว่าไม่ดีพอจะครอบคลุมทุกสถานะการณ์(ถ้าจะดีพอ 16 อาจยังไม่พอ) ในสภาพปรกติเรือเราก็คงไม่เอาติดไปเยอะ หรือพูดง่ายๆไม่ซื้อมาเยอะเพราะบางท่านก็บอกเองว่ามันมีอายุการใช้งาน ก็เอาไปลำละหน่อยล่ะ 4 ลำก็เอา ESSM ไปลำละ 8 ลูกแล้วกัน (รวม 32 ลูกก็เกิน 9 ลูกมาเยอะแล้วนะ) บวก ASROC 6ลูก (SM-2 ช่างมันก่อนเพราะยังเป็นโครงการณ์ในอนาคต) ซึ่งให้ฟริเกตใหม่มี 16 cell เลยแต่ใส่ มา 8 พอตามสไตล์สถานะการณ์ปรกติ เหลือว่างๆ 8 ซึ่งนี่ก็จะได้ตามที่หลายท่านบอก ซึ่งผมว่าสถานะการณ์ปรกติมันก็เปลี่ยนเป็นสถานะการณ์รบในพริบตาแหละครับ ไม่มีเวลาเอากลับมาเติม 8 ที่เหลือแล้ว เว้นแต่ท่านจะยกกองเรือตั้งใจจะไปบุกเค้าอ่ะนะ ถ้าสถานะการณ์แบบนั้นผมยอมรับว่า 8 cell ของผมมันทำให้เรือกลายเป็นเป็ดง่อยเห็นๆ อีกอย่างคือหลายท่านพูดถูกเรื่องใส่จรวดเร็วกว่าติดแท่นยิงมากโขมากๆๆๆๆ ก็อย่างที่บอกว่าถ้า สถานะการณ์คือการไปบุกเค้า หรืออยู่ในภาวะสงคราม ภาวะที่มีภัยเสี่ยงสูง จังหวะนั้นเงินมันไหลมาเทมาแน่ครับ(แล้วไปลดภาคอื่นเอา)ซึ่งมันน้อยนะครับ ลองเอามาชั่งกับข้อ 1 ของผมดู หรือ ลองอ่านข้อ 3 อีกรอบว่าปรกติท่านมีเท่าไหร่และใส่เท่าไหร่ สำหรับผมถ้าจะมี 16 ต้องใส่ 16 เต็มตลอดเวลาไปเลยครับ ซึ่งผมก็คิดว่า เงิน อีกนั่นแหละที่เป็นปัญหา ณ เวลานี้
สุด ท้ายครับ สำหรับสมาชิกที่ชอบบอกว่าพิมพ์มาตั้งนาน ล็อกอินหลุด หายหมดเลย เพราะทุกวันนี้ผมจะพิมพ์อะไรทีก็ต้องคอยเตือนสติตัวเองว่า clt+c ก่อนหนอ แต่พิมพ์มันส์ไปลืมตลอด รบกวนแอดมินถ้า ทำคำเตือนให้ "กรุณาก๊อปไว้ก่อน" สีแดงๆตัวใหญ่ เหนือปุ่ม Submit ทีครับ
ผมเห็นด้วยที่ว่า ณ ตอนนี้มีVLSแค่8cellก็เพียงพอแล้วครับ
แต่ผมยังไม่เห็นพื้นที่ๆเตรียมไว้รองรับการเพิ่มระบบVLSในอนาคตเลย
มีเพียงที่เดาๆกันคือ1บริเวณกลางลำ 2บริเวณหลังปืนใหญ่76 เท่านั้น
เปรียบเทียบกับFommidable ขนาดใกล้เคียงกัน แต่ตัวเรือสามารถติดตั้งVLSถึง32cell
ปล.แล้วเมื่อเรือฟริเกตเรามีการปรับปรุงให้ใช้sm-2ได้จะคุ้มค่าหรือไม่เมื่อยิงได้แค่จำนวนมากสุด16นัด
1.เอา 8 cell เลยกับเอา 16 cell เลย.... 8 กับ 16 ใช้ระบบหลักต่างๆ อุปกรณ์ radar กี่ชุดครับ ก็ชุดเดียวใช่มั๊ยครับ แล้ว 8 กับ 16 นี่ใช้อุปกรณ์ที่เฉพาะตัวกี่ชุดครับ ก็ตามจำนวน cell งั้นเอา 16 มาเลยแล้วส่วนอื่นก็ตามเงินที่เหลือ หรือ 8 มาก่อนไอตัวหลักเราก็เลือกที่ดีขึ้น เพราะสุดท้ายเพิ่ม cell น่าจะง่ายกว่าเปลี่ยนระบบหลักต่างๆ อุปกรณ์ radar(เรื่อง เทคนิคนี่อ่านอย่างเดียวไม่ค่อยจำเลยผม) บางท่านอาจบอกแล้วเปลี่ยนทำไมระบบหลักต่างๆ อุปกรณ์ radar มันก็ใช้ได้หนิ แหม่ก็ถ้าจัดลำดับขอนู่นก่อนอาจขอเพิ่มนี่ได้ กับขอนี่ก่อนแล้วขอนู่นเพิ่มไม่ได้ ใครๆก็อยากได้ทางที่ได้ทั้งหมดใช่มั๊ยครับกับแค่สลับลำดับขอชีวิตก็เปลี่ยน อันนี้ตามความคิดผมนะครับ
--------------ใช้ระบบเดิมหมด แค่เพิ่มระบบท่อยิงเข้าไป
แต่ปัญหาตอนนี้คือ ดูยังไงๆ เรือลำนี้ ติดVLS ได้เพียง8ท่อ ......ไม่มีที่ให้ติดเพิ่มแต่อย่างใด ถ้าให้พูดคือDesign Flaws หรือ จุดอ่อนของดีไซน์นั่นเอง
2.เรา มีเงินซื้อ ESSM... ณ จุดนี้เราก็ทราบกันทุกท่านว่ามี 9 ลูก ซึ่งบางท่านบอกว่าเอามาทดสอบ ส่วนตัวผมว่าถ้าจะเอามาทดสอบก็ ซื้อมาทุกค่ายเลยสิครับ ไอยิงน่ะมันยิงได้อยู่แล้ว แล้วอะไรมันยิงดีกว่ากันเข้ากับระบบมากกว่ากัน ถ้าจะซื้อมาทดสอบ 100 ลูกแต่เป็น ESSM หมด มันแปลว่าอะไรครับ ไม่ได้แปลว่าก็เราเลือกที่จะใช้มันไม่ว่ามันจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ตาม งั้นเราก็ออกข่าวซื้อมามากกว่านี้เถอะครับ เพื่อนบ้านเราคงไม่เชื่อหรอกครับว่าเราจะมีอยู่แค่ 9 ลูก ถ้าจะบอกว่าซื้อมาทดสอบนะครับ (ซึ่งผมก็อยากให้มันมีมากกว่า 9 ) เพราะฉะนั้นประเด็นนี้มันก็ควรจะเป็นเรื่องเงิน ณ เวลานี้ถูกต้องมั๊ยครับ และถ้าจะบอกว่าอีก 5 ปีกว่าเรือจะมาตอนนั้นก็มีเงิน แล้วเรือดำน้ำผมล่ะจะเอาเงินส่วนไหนไปขอเค้านะ(ให้ ทร ปลูกข้าวขาย รัฐบาล ดีกว่า)
-------------Mk41 ยิงลูกจรวดของค่ายMBDA อย่างASTER ไม่ได้ ........(อย่างน้อย ณ ตอนนี้) เหมือนกล้องCanon จะใช้เลนส์เมาท์Nikon ไม่ได้นั่นแหละ (ยกเว้นยุคเก่าๆอย่างเมาท์M42 ) โดยส่วนตัว 9ลูกนั้น ไม่ใช่ล็อตสุดท้าย และไม่ได้ซื้อมาทดสอบ แต่อาจจะหยิบมาทดสอบสัก 1-2 ลูก ไม่ได้ให้คะแนนตัวจรวด แต่ดูว่า ระบบต่างๆของเรือ ทำได้อย่างที่ผู้ผลิตคุยไว้หรือเปล่า ซึ่งโหมดsimulation ของVLS ไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น sequence การยิง การนำวิถีจรวด เป็นต้น
ส่วนเรื่องเรือดำน้ำ พูดตามตรง ยังเป็นฝันกลางวันต่อไปสำหรับทร. ยังมีคนคอยขัดแข้งขัดขากันอีกเยอะ
3.ใน สถานะการณ์ต่างๆ... แนวความคิดผมยอมรับว่าไม่ดีพอจะครอบคลุมทุกสถานะการณ์(ถ้าจะดีพอ 16 อาจยังไม่พอ) ในสภาพปรกติเรือเราก็คงไม่เอาติดไปเยอะ หรือพูดง่ายๆไม่ซื้อมาเยอะเพราะบางท่านก็บอกเองว่ามันมีอายุการใช้งาน ก็เอาไปลำละหน่อยล่ะ 4 ลำก็เอา ESSM ไปลำละ 8 ลูกแล้วกัน (รวม 32 ลูกก็เกิน 9 ลูกมาเยอะแล้วนะ) บวก ASROC 6ลูก (SM-2 ช่างมันก่อนเพราะยังเป็นโครงการณ์ในอนาคต) ซึ่งให้ฟริเกตใหม่มี 16 cell เลยแต่ใส่ มา 8 พอตามสไตล์สถานะการณ์ปรกติ เหลือว่างๆ 8 ซึ่งนี่ก็จะได้ตามที่หลายท่านบอก ซึ่งผมว่าสถานะการณ์ปรกติมันก็เปลี่ยนเป็นสถานะการณ์รบในพริบตาแหละครับ ไม่มีเวลาเอากลับมาเติม 8 ที่เหลือแล้ว เว้นแต่ท่านจะยกกองเรือตั้งใจจะไปบุกเค้าอ่ะนะ ถ้าสถานะการณ์แบบนั้นผมยอมรับว่า 8 cell ของผมมันทำให้เรือกลายเป็นเป็ดง่อยเห็นๆ อีกอย่างคือหลายท่านพูดถูกเรื่องใส่จรวดเร็วกว่าติดแท่นยิงมากโขมากๆๆๆๆ ก็อย่างที่บอกว่าถ้า สถานะการณ์คือการไปบุกเค้า หรืออยู่ในภาวะสงคราม ภาวะที่มีภัยเสี่ยงสูง จังหวะนั้นเงินมันไหลมาเทมาแน่ครับ(แล้วไปลดภาคอื่นเอา)ซึ่งมันน้อยนะครับ ลองเอามาชั่งกับข้อ 1 ของผมดู หรือ ลองอ่านข้อ 3 อีกรอบว่าปรกติท่านมีเท่าไหร่และใส่เท่าไหร่ สำหรับผมถ้าจะมี 16 ต้องใส่ 16 เต็มตลอดเวลาไปเลยครับ ซึ่งผมก็คิดว่า เงิน อีกนั่นแหละที่เป็นปัญหา ณ เวลานี้
---------เรือรบหลายๆลำที่ติดVLS ก็ไม่ได้ใส่ไปเต็มแม็ก แม้จะติดกัน 32-64 cell ก็ตาม (อย่างที่เราจะเห็นMk48 ของKDX-1 ว่างๆอยู่ก็มี) แต่ทำไมชาติเหล่านี้ต้องติดกันขนาดนั้น ....... คงต้องพูดว่า si vis pacem para bellum ---แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ การมีระบบยิงไว้ก่อน แม้จะไม่บรรจุเต็ม แต่มันก็เพิ่มความได้เปรียบในสนามรบมากกว่า มีเพียง8 แค่นั้น เพราะการโหลดcanister ง่ายกว่าการติดตั้งcell มาก
การเปรียบSylver A50 ของFormidable กับ เรือฟรีเกตใหม่ที่ใช้Mk41 นั้น นอกจากเรื่องจำนวนcell ซึ่งให้จรวดจำนวนเท่ากัน (32*1 กับ 8*4 ) แต่มันเป็นประเด็นว่า เฮ้ย เรือขนาดใกล้เคียงกัน (ความยาว ระวางขับน้ำ ความสามารถบรรทุกฮ.) ทำไมเค้ามีพื้นที่ติดVLS มากกว่า ???(ซึ่งแท่นSylver และMk41 มีขนาดพอๆกัน ยังไม่รวมว่ามีพท.กลางลำให้ยัดฮาร์พูนได้ถึง16ลูก) มันบ่งบอกให้เห็นถึงความสามารถในการต่อเรือของเกาหลีด้วยหรือเปล่าว่า จัดการพื้นที่ต่างๆยังไม่เก่งเท่าฝรั่ง?
เรื่องความสามารถในการต่อเรือของเกาหลียังไม่ทราบ แต่เรื่องการออกแบบและการบริหารจัดการพื้นที่ต่างๆบนเรือ
ผมคิดว่ามันแปลกๆอยู่ หรือเป็นเพราะเรือลำนี้มีแบบแผนมาจาก KDX-1 จึงมีข้อจำกัดด้านการออกแบบ
ผมว่าปัญหาพื้นที่มันอยู่ที่เสากระโดงหลักมากกว่า
ถ้าถอยด้านหน้าของเสาไปหน่อย ยกPhalanxขึ้นบนตามตำแหน่งGoalkeeperเดิม
เสาไม่น่าเหลือเล็กขนาดอัพติดCEAMOUNTซึ่งไม่ได้ใหญ่อะไรมากได้
เอาSATCOMไว้ที่เดิมก็ได้หรือจะยกมาแปะหลังเสาแล้วใส่Phalanxหรืออยากได้ อวป.เพิ่มก็RAM
ตีกรอบsuperstructureกว้างขึ้น(ทำไมต้องทำแหลมๆ? ทางเดินตรงดาดฟ้าเปิดหัวเรือไม่น่าต้องใช้พื้นที่มากขนาดนั้น แคบลงไม่น่าเป็นอะไร)
แค่นี้ก็น่าจะยัดได้24แบบเหลือๆ เผลอๆ32ยังได้ ติดมาก่อน8ผมก็โอเคแต่มันต้องยัดเพิ่มให้ได้ มี32ท่อก็ใส่กันได้อิ่มแล้วครับ
จรวดค่อยทยอยซื้อเอาทีละ8ลูก16ลูกก็ได้ เวลาปกติก็พกไปครึ่งนึง
ไอ่ที่วงกลมสีแดงๆ ไว้นั้น ผมว่าน่าจะเป็นท่อยิงปอติโด นะครับ ตามที่ท่าน จูดาสเคยแอบหวังเอาไว้ แต่มันจะเป็นแบบไหน 3ท่อหรือ2ท่อ
รูปจาก พัทธนันท์ สงชัย ทางFacebook
งานนี้คงจะโทษเกาหลีไม่ได้หรอกครับ เพราะเขาก็เสนอแบบเรือตามความต้องการทางเทคนิคและงบประมาณของผู้ซื้อ(ทร.) และแม้แต่แบบเรือของสเปนที่เราได้เห็น ก็ติดตั้ง VLS มาแค่ 8 cells เหมือนกัน ส่วนแบบเรือ Formidable ของสิงคโปร์นั้นน่าจะเป็นเพราะแผนแบบพื้นฐานของเรือที่ทันสมัยกว่า จึงมีความกว้างของตัวเรือมากกว่า อีกทั้งมีกำลังพลประจำเรือที่น้อยกว่ามาก(เพียงแค่ 70-90 นายขณะที่ทร.ไทยกำหนดไว้ >130 นาย) ทำให้มีพื้นที่สำหรับติดตั้งระบบต่างๆ ได้มากขึ้น หรือแม้แต่เรือของจีน Type 054B ก็สามารถออกแบบจัดวางระบบต่างๆได้มากมายไม่แพ้กัน แม้ตัวเรือจะต้องมีขนาดและระวางที่มากกว่าบ้างแต่ก็ไม่ได้มากมายจนเกินข้อกำหนดความต้องการ
ผมว่า กลับไปเอาแบบเรือDW3000Hไม่ดีกว่าเหรอไง แบบใหม่ มันยังไงไม่รู้แบบคือว่าออกแบบมา ให้มันพอดีเลยแบบต่อยอดไม่ได้เลยมันจะเหมือนเรือชุดนเรศวรอีกอ่ะครับ ถ้าspecมันออกมาแบบนี้อ่ะ จริงๆ บอกตามตรง อีกอย่าง ใครพอจะทราบราคาของเจ้าDW3000Hบ้างอ่ะครับ
เกาหลีจัดการพื้นที่ต่างๆยังไม่เก่งเท่าฝรั่งหรือเปล่า ผมว่าไม่ต่างกันมากนะเขาทำแบบเรือตามความต้องการของเรามากกว่า ถ้าเรือสเปนเป็นจริงตามแบบที่ท่านMiCroบอก นั่นคือสเปนเอาเรือOPVมาขยายขนาดติดตั้งVLS8ท่อในระยะแรกและเพิ่มเป็น16ท่อได้ในอนาคตเรือDSMESก็เอาเรือฟริเกตขนาด3,800ตันของตัวเองมาปรับปรุงโฉมใหม่และใส่เข้าไป8ท่อในปัจจุบันและ16ท่อในอนาคต
ข้อมูล แค่จากภาพ3มิติและแบบเรือจำลองเวอร์ชั่นแรกสุดคงบอกไม่ได้แน่ชัดหรอกว่าเรือใส่ได้กี่ท่อกันแน่ ก่อนหน้านี้ถ้ามีใครซักคนบอกผมว่าเรือAvanteใส่ได้16ท่อผมก็คงไม่เชื่อ ถึงตอนนี้ก็ไม่ค่อยอยากจะเชื่อเท่าไหร่จนกว่าจะเห็นเรือจริงซึ่งไม่มีแล้ว KDX-Iของเดิมก็มี16ท่อและ2CIWSหน้า-หลังอยู่แล้วถ้าเราต้องการเท่านั้นจริงๆทำไมเกาหลีจะทำไม่ได้
แต่... เรือเราเปิดโครงการจริงๆประมาณกันยายนปีที่แล้วและประกาศผลหลังจากนั้นประมาณ8เดือนเอง ค่อนข้างสั้นมากพอสมควร ไม่ว่าเรือเกาหลีหรือสเปน(ที่ขยายขนาดขึ้นเยอะกลางเรือแปลกตาไปเลย) ยังไงก็ต้องพัฒนาปรับปรุงพิมพ์เขียวพิมพ์เหลืองกันสดๆร้อนๆต่อไปหละ ผมคิดว่าเกาหลีจัดพื้นที่ยังไม่เก่าเท่าฝรั่งในเรื่องความสะดวกสบายพื้นที่ใช้สอยรูปทรงความสวยงามเพราะแบบเรือไม่ทันสมัยเท่า แต่ถ้าพื้นที่ติดตั้งอาวุธบนเรือก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่เพราะเรือรบของเขาก็ติดอาวุธเต็มลำพร้อมรบกับเกาหลีเหนืออยู่แล้ว แต่พอส่งขายก็ต้องลดสเปกลงตามความต้องการลูกค้า
เอาง่ายๆ KDX-II กับ F-310 ที่เราคิดว่าพวกเขาจะส่งเข้าประกวดกันแต่ไม่มาซักลำ เกาหลี4,500ตันใส่ได้มากสุด64VLS สเปน5,200ตัน ใส่ได้มากสุด32VLS(น่าจะยัดได้นะ) ผมจึงคิดว่าเป็นกรณีๆไปมากกว่า ถ้าเราต้องการ32ท่อแต่แรกจริงๆก็น่าจะทำได้นะครับเพียงแต่เราไม่ได้ต้องการแบบนั้นเองก็ไม่รู้จะทำยังไง คือทุกคนในที่นี้อยากได้16-32VLSกันทั้งนั้นแหละ อยากให้เรือยิงSM-2ได้ด้วยเลยแม้จะครั้งหละ2ลูกก็ยังดี แต่ก็อย่างที่เห็นนี่แหละรอสมุดปกขาวของทร.ก็ยังเผยโฉมเสียที
แต่ถ้าคิดในทางที่ดีทร.ประกาศผลเร็วและเซ็นสัญญาเร็วเป็นผลดีกับทุกฝ่ายมากกว่านะ เพราะถ้าลากยาวมาถึงตอนนี้โครงการเรือฟริเกตแลกกับข้าวและยางพาราที่ประเทศเรามีล้นโกดังคงถูกหยิบขึ้นมาวางใกล้มือรมต.กลาโหมแน่ๆ และท่านนายกก็ไม่คัดค้านอะไรเสียด้วยเพราะเป็นคนเดียวกัน (อันหลังนี่จิ้นเยอะไปหน่อยนะแต่ดูข่าวช่วงนี้แล้วเสียวหลังชะมัด)
มาถึงนาทีนี้ถ้าDSMEเอาลำบนมาก็จบแล้ว แต่พอเสริมสวยมาเป็นลำล่างเลยหายไป8ท่อกับ1CIWSและ1gas turbines อันที่จริงถ้าเอาKDX-II Downside มาโดยไม่ต้องทำสาวเลยจะเป็นอะไรที่สุดยอดของสุดยอด ยังฝันถึงอยู่บ่อยๆเลยนะเรือลำนนี้หนะ
งั้นผมขอความรู้เพิ่มจากหลวงพี่และทุกๆท่านต่อแล้วกันนะครับ
1.------------ใช้ระบบเดิมหมด แค่เพิ่มระบบท่อยิงเข้าไป
แต่ ปัญหาตอนนี้คือ ดูยังไงๆ เรือลำนี้ ติดVLS ได้เพียง8ท่อ ......ไม่มีที่ให้ติดเพิ่มแต่อย่างใด ถ้าให้พูดคือDesign Flaws หรือ จุดอ่อนของดีไซน์นั่นเอง
......หลายท่านอาจเคยวิเคราะห์แล้ว แต่ขออีกรอบ
1.ใน กรณีที่ติดมาตามตำแหน่งโมเดล เมื่อถึงเวลาเพิ่มเป็น 16 จะจับวางยาวตามตัวเรือแล้วใส่ไป 16(วางคู่กันหน้าฟาลังค์)โดยไม่ต้องขยายพื้นที่บริเวณที่ยกขึ้นมาพอได้หรือไม่ แต่มันก็ยุ่งๆแหละนะเพราะต้องยกชุดแรกออกก่อน
2.แล้วถ้ายกพื้นเพิ่มมาถึง 76mm คิดว่าจะติดปัญหาอะไรรึเปล่า
3.มันอาจไม่ได้ติดมาขวางตามแบบโมเดล ทำรอข้อ 1 ไว้แล้ว
4.ผมไม่แย้งหลวงพี่ครับว่าเรือนี้มันดูมีปัญหาเรื่องการบริหารพื้นที่(เท่าที่ตัวเรือจะอำนวย)
ปล.ประเด็น ในความเห็นที่แล้วของผมในข้อ 1 คือ การจัดลำดับการใช้เงินระหว่าง 16 cell กับ อุปกรณ์อื่นที่สเปกสูงขึ้น อันไหนขึ้นก่อนแล้วจะขออันต่อไปง่ายกว่ากัน
2.-----------Mk41 ยิงลูกจรวดของค่ายMBDA อย่างASTER ไม่ได้ ........(อย่างน้อย ณ ตอนนี้) เหมือนกล้องCanon จะใช้เลนส์เมาท์Nikon ไม่ได้นั่นแหละ (ยกเว้นยุคเก่าๆอย่างเมาท์M42 ) โดยส่วนตัว 9ลูกนั้น ไม่ใช่ล็อตสุดท้าย และไม่ได้ซื้อมาทดสอบ แต่อาจจะหยิบมาทดสอบสัก 1-2 ลูก ไม่ได้ให้คะแนนตัวจรวด แต่ดูว่า ระบบต่างๆของเรือ ทำได้อย่างที่ผู้ผลิตคุยไว้หรือเปล่า ซึ่งโหมดsimulation ของVLS ไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น sequence การยิง การนำวิถีจรวด เป็นต้น
ส่วนเรื่องเรือดำน้ำ พูดตามตรง ยังเป็นฝันกลางวันต่อไปสำหรับทร. ยังมีคนคอยขัดแข้งขัดขากันอีกเยอะ
......นั่นแปลว่ายังไงๆ เจ้านกกระจอกทะเลวิวัฒน์ ก็นอนมา แต่ที่ผมสงสัยคือ ก็ระบบก็ติดแล้ว แล้วถ้าทำไม่ได้แล้วทำไงหล่ะครับ
ส่วนเรือดำน้ำนั้น ผมเข้าใจเรื่องคนคอยปัดแข้งขาครับ แต่ถ้าวันนึงมันได้ขึ้นมาแต่กระเป๋าแห้งมันก็... บางเรื่อง ทร อาจต้องหนักแน่นและพยายามอย่าพึ่งถอดใจถึงแม้จะทนมานานก็ตามที
3.--------- เรือรบหลายๆลำที่ติดVLS ก็ไม่ได้ใส่ไปเต็มแม็ก แม้จะติดกัน 32-64 cell ก็ตาม (อย่างที่เราจะเห็นMk48 ของKDX-1 ว่างๆอยู่ก็มี) แต่ทำไมชาติเหล่านี้ต้องติดกันขนาดนั้น ....... คงต้องพูดว่า si vis pacem para bellum ---แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ การมีระบบยิงไว้ก่อน แม้จะไม่บรรจุเต็ม แต่มันก็เพิ่มความได้เปรียบในสนามรบมากกว่า มีเพียง8 แค่นั้น เพราะการโหลดcanister ง่ายกว่าการติดตั้งcell มาก
......ข้อนี้ผมยังให้น้ำหนักไปที่งบประมาณของแต่ละประเทศนะครับที่จะสามารถแค่ไหน หรือเลือกทุ่มให้ด้านไหนจากปัจจัยรอบบ้าน ประกอบกับเรื่องสถานะการณ์ต่างๆในความเห็นที่แล้วครับ ก็คล้ายๆกับที่เราเลือกกริพเพน ทั้งๆที่เรารู้ว่ามันบุกไม่เก่ง
ปล.ใครช่วยบอกผมหน่อยได้มั๊ยครับ สมมติฝั่งอ่าวไทยเราจะจัดกองเรือในสภาวะสงคราม จะประกอบด้วยเรืออะไรบ้าง
4.การ เปรียบSylver A50 ของFormidable กับ เรือฟรีเกตใหม่ที่ใช้Mk41 นั้น นอกจากเรื่องจำนวนcell ซึ่งให้จรวดจำนวนเท่ากัน (32*1 กับ 8*4 ) แต่มันเป็นประเด็นว่า เฮ้ย เรือขนาดใกล้เคียงกัน (ความยาว ระวางขับน้ำ ความสามารถบรรทุกฮ.) ทำไมเค้ามีพื้นที่ติดVLS มากกว่า ???(ซึ่งแท่นSylver และMk41 มีขนาดพอๆกัน ยังไม่รวมว่ามีพท.กลางลำให้ยัดฮาร์พูนได้ถึง16ลูก) มันบ่งบอกให้เห็นถึงความสามารถในการต่อเรือของเกาหลีด้วยหรือเปล่าว่า จัดการพื้นที่ต่างๆยังไม่เก่งเท่าฝรั่ง?
......เห็นด้วยครับว่านี่ก็ประเด็นใหญ่ แต่ถ้าเอาฟาลังค์ออกอาจจะ 32 สบายๆก็ได้นะครับ แล้วก็นี่มันเรือทรงเก่ามันคงสูสีกันลำบากต่อให้จัดวางแบบดี(แต่มันก็น่าจะดีกว่านี้) ก็ต้องถาม ทร ว่าทำไมเลือกทรงนี้แหละครับ
AMRAMM เป็น อาวุธ ที่ถูกควบคุม ไม่ให้ จำหน่ายโดยทั่วไป...
และ AIM-120 ที่ ทอ.ไทย ได้รับ เป็น ดีล ที่รวมอยู่ใน การจัดหา F-16 ADF...
ส่วนความหมาย 32 cell คือ เฉพาะเรือ FFG ครับ ไม่ใช่ Cruiser...อย่าเปรียบเทียบ ผิด แบบ...
AMRAMM เป็น อาวุธ ที่ถูกควบคุม ไม่ให้ จำหน่ายโดยทั่วไป...
และ AIM-120 ที่ ทอ.ไทย ได้รับ เป็น ดีล ที่รวมอยู่ใน การจัดหา F-16 ADF...
----------
United States Sells Missiles to Thailand
In early July 2001, the State Department approved the sale of an undisclosed number of AIM-120 Advanced Medium Range Air-to-Air Missiles (AMRAAMs) to Thailand. But the Pentagon will not deliver the missiles unless another Asian country acquires a similar capability because U.S. arms transfer policy restricts Washington from being the first to introduce advanced weaponry into a region. The United States has the same arrangement with Singapore and Taiwan.
A defense official said the total number of AMRAAMs was approximately 30. If delivered, Thailand will use them to arm F-16A/B fighter jets it previously acquired from the United States. AMRAAMs have a maximum range of roughly 75 kilometers and an autonomous radar enabling a pilot to ?fire and forget.?
Official details of the sale are not available because its total value does not exceed the threshold requiring congressional notification. Under the 1976 Arms Export Control Act, arms sales equaling or exceeding $14 million must be reported to Congress, which could block the sale by passing a joint resolution of disapproval within 30 days of notification (15 days in the case of NATO members, Australia, Japan, and New Zealand).
ส่วนความหมาย 32 cell คือ เฉพาะเรือ FFG ครับ ไม่ใช่ Cruiser...อย่าเปรียบเทียบ ผิด แบบ...
------------พูดถึงMk41 ที่ท่านว่า เมื่อยิงไปแล้ว ไม่เหมาะกับการรีโหลดใหม่ ........ขอยืมคำมิตรสหายท่านนึงที่ได้คุยเรื่องนี้ด้วยว่า
ปืนลูกโม่6นัด ยิงหมด ทิ้งปืนเลย .........เป็นไปได้หรือ ?????
การเปรียบSylver A50 ของFormidable กับ เรือฟรีเกตใหม่ที่ใช้Mk41 นั้น นอกจากเรื่องจำนวนcell ซึ่งให้จรวดจำนวนเท่ากัน (32*1 กับ 8*4 ) แต่มันเป็นประเด็นว่า เฮ้ย เรือขนาดใกล้เคียงกัน (ความยาว ระวางขับน้ำ ความสามารถบรรทุกฮ.) ทำไมเค้ามีพื้นที่ติดVLS มากกว่า ???(ซึ่งแท่นSylver และMk41 มีขนาดพอๆกัน ยังไม่รวมว่ามีพท.กลางลำให้ยัดฮาร์พูนได้ถึง16ลูก) มันบ่งบอกให้เห็นถึงความสามารถในการต่อเรือของเกาหลีด้วยหรือเปล่าว่า จัดการพื้นที่ต่างๆยังไม่เก่งเท่าฝรั่ง?
.....................................................................................................................................................................
เอาอีกแล้วเอาอีกแล้วชอบไปเปรียบกับเรือ Formideble อีกแล้ว นั้นมันเรือ modify ของสิงคโปร์เค้าจริงๆต้องเครดิตให้ทางสิงคโปร์เค้าครับไม่ใช้ไปยกเครดิตให้พวกฝรั่งครับ แล้วถามว่าพี่ไทยเราละมีปัญญาออกแบบเรือเองหรือยัง เรือฟรีเกตใหม่ของไทยเราลำนี้คือก้าวแรกที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้เทคโนโลยีการต่อเรือลำเองในอนาคต (และอาจจะรวมไปถึงการออกแบบเรือเองในอนาคตด้วย)ถามว่าระหว่างฝรั่งกับเกาหลีใครมันจะยอมทุ่มเทให้กับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทยเรามากกว่ากันครับ
แล้วกับสิงคโปร์ แหม่ผับผ่า สิ ยังกะจะไปสู้กับเค้าได้ยังงั้นละ ที่เรือ Formidable มีระบบการจัดการและใช้พื้นที่บนเรือได้คุ้มค่านั้นก็เพราะทางสิงคโปร์เค้าทุ่มเงินไปกับการพัฒนาบุคคลกรและระบบอู่ต่อเรือที่สามารถต่อเรือรบที่ทันสมัย ในระดับสูงยังไงละครับ เค้าจึงสามารถ modify เรือหรือออกแบบเรือได้เอง หน้าตาของเรือ Formidable ,มันจึงออกมาดูดีแต่ถามหน่วยเถอะกว่าสิงคโปร์จะได้เรือลำดังกล่าวซะขนาดนี้เค้าได้ใช้เงินลงทุนกับโครงการพื้นฐานไปเท่าไรแล้วครับ ในขณะที่ไทยเรายังไม่เคยลงทุนกับเรื่องพวกนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังซักที
แล้วเรื่อง aster-30 กับสิงคโปร์ นั้นเค้าเป็นประเทศเล็กพลเมืองน้อยแต่มีผลประโยชน์มากมายเค้าจึงจำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อมีอาวุธสำหรับต่อต้านภัยสงครามที่ได้มากที่สุดบวกกับเงินคงคลังก็มีอยู่มากเค้าจึงสามารถเนรมิตรเรือได้ดังใจเขา พูดง่ายๆอีกนั้นก็ คือ สิงคโปร์ เค้ารวยกว่าเราครับ (ไม่รู้ว่าจะต้องพูกเรื่องนี้กันอีกกี่ทีเหมือนกันนะ มันเหมือนเรากำลังไปอิจฉาริษาความที่เค้ารวยกว่ามั่งมีกว่าแต่กลับไม่หันมามองปัจจัยพื้นฐานของตัวเราเอง)
ถ้าวันนี้ไทยเราเลือกเรือจากเกาหลีสิ่งที่เราจะได้จากเกาหลีนอกจากเรือฟรีเกตแล้วก็คือ เทคโนโลยีการต่อเรือดำน้ำในอนาคตนั้นคือการเริ่มต้นการทำอะไรซักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเราจากที่เคยซื้อเรืออย่างเดียวให้เปลี่ยนมาเป็นต่อเรือเองซะ
ซึ่งผมเชื่อว่าทางเกาหลีน่าจะมีข้อเสนออะไรบางอย่างที่เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่ทำให้ทางผู้ใหญ่ในกองทัพเรือ ตัดสินใจเลือกเกาหลีแทนที่จะเป็นเรือจากสเปน (ไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องเรือดำน้ำหรือเปล่านะ)เพราะผมไม่เชื่อว่าพวกฝรั่งมันยอมถ่ายถอดเทคโนโลยีหรือ support อะไรให้เราได้มากมายนักหรอก
และไอ้ที่ว่า เงิน 13000 กว่าล้านซื้อได้มาแค่เท่าเรือชั้นนเรศวร คุณรู้ถึงราคาต้นทุนที่แท้จริงของอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างที่ใช้ประกอบเรือหรือครับ ว่าในปัจจุบันนี้ราคามันพุ่งสูงไปเท่าไรแล้ว ไม่ต้องไปพูดถึงประเทศเกาหลี แค่บ้านเราเนี้ย ค่าครองชีพบวกกับสภาวะเงินเฟ้อมันขึ้นไปเท่าไรแล้วเราๆท่านๆก็คงจะทราบกันดีอยู่นะ และอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเชื่อว่าราคาเรือ 13000 กว่าล้านน่าจะรวมไปถึงราคาค่าแบบเรือและเรื่องของการถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีการต่อเรือลำที่สองที่เราจะทำการต่อขึ้นเองด้วยครับ เรื่องค่าลิขสิทธิ์ค่าวิทยาการองค์ความรู้ทั้งหลายแหล่ เชื่อเถอะไม่มีใครยอมยกให้กันฟรีๆหรอกครับ เพราะเรื่องพวกนี้ไม่มีใครยอมเปิดเผยข้อมูลให้เป็นข่าวมากมายนักหรอกเพราะมันเป็นความลับของแต่ละบริษัทที่ดำเนินกิจการอู่ต่อเรือ
เรื่องระบบ VLS 8 cell ก็อย่างที่บอกไปแล้ว มันเป็นในเรื่องของความจำเป็นและเหมาะสม กับงบประมาณของกองทัพเรือในปัจจุบัน
***** ใครที่ทนเห็นเรือมี vls แค่ 8 cell ไม่ได้ก็ขอความกรุณาเถอะครับ กองทัพเรือไทยเรามีงบแค่นี้จริงๆ
(แต่ถ้าหากท่านใดมีเงินในตอนนี้ก็ช่วยซื้อเพิ่มให้กับกองทัพเรือด้วยแล้วกัน)
ไม่สามารถบันดาลหรือเนรมิตรเรือในฝันตามที่พวกท่านจิ้นกันได้หรอกครับ ไอ้ที่ว่าเรือ เป็ด ผมก็ยังจะถามอีกนั้นแหละว่า
มันเป็ดอย่างไรหรือ ก็ในเมื่อกองทัพเรือยังไม่ได้เปิดข้อมูลรายละเอียดถึงรุ่นและยี่ห้อของระบบเรดาห์และระบบอาวุธที่จะนำมาติดตั้งกันเลยและแถมทางกองทัพยังบอกด้วยอีกว่าข้อมูลดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ ก็ในเมื่อมันมีโชว์ให้ดูแค่โมเดลเรือแล้วจะรีบตีโพยตีพายกันไปทำไม??????????????????????
เอาอีกแล้วเอาอีกแล้วชอบไปเปรียบกับเรือ Formideble อีกแล้ว นั้นมันเรือ modify ของสิงคโปร์เค้าจริงๆต้องเครดิตให้ทางสิงคโปร์เค้าครับไม่ใช้ไปยกเครดิตให้พวกฝรั่งครับ แล้วถามว่าพี่ไทยเราละมีปัญญาออกแบบเรือเองหรือยัง เรือฟรีเกตใหม่ของไทยเราลำนี้คือก้าวแรกที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้เทคโนโลยีการต่อเรือลำเองในอนาคต (และอาจจะรวมไปถึงการออกแบบเรือเองในอนาคตด้วย)ถามว่าระหว่างฝรั่งกับเกาหลีใครมันจะยอมทุ่มเทให้กับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทยเรามากกว่ากันครับ
--------------หุหุ แสดงว่าสิงคโปร์มีความสามารถมากกว่าเกาหลี ? แล้วถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่ร่วมมือกับสิงคโปร์ไปเลยเล่า ASEAN และ AEC ช่วยเหลือกันและกัน น่าสนใจกว่า จริงไหม?
แล้วกับสิงคโปร์ แหม่ผับผ่า สิ ยังกะจะไปสู้กับเค้าได้ยังงั้นละ ที่เรือ Formidable มีระบบการจัดการและใช้พื้นที่บนเรือได้คุ้มค่านั้นก็เพราะทางสิงคโปร์เค้าทุ่มเงินไปกับการพัฒนาบุคคลกรและระบบอู่ต่อเรือที่สามารถต่อเรือรบที่ทันสมัย ในระดับสูงยังไงละครับ เค้าจึงสามารถ modify เรือหรือออกแบบเรือได้เอง หน้าตาของเรือ Formidable ,มันจึงออกมาดูดีแต่ถามหน่วยเถอะกว่าสิงคโปร์จะได้เรือลำดังกล่าวซะขนาดนี้เค้าได้ใช้เงินลงทุนกับโครงการพื้นฐานไปเท่าไรแล้วครับ ในขณะที่ไทยเรายังไม่เคยลงทุนกับเรื่องพวกนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังซักที
------------เรื่องนี้ เกี่ยวอะไรกับไทย ถ้าจะเทียบอย่างนั้น อู่DSME น่าจะมีความสามารถสูงกว่าอู่สิงคโปร์ไม่ใช่หรือ ??
แล้วเรื่อง aster-30 กับสิงคโปร์ นั้นเค้าเป็นประเทศเล็กพลเมืองน้อยแต่มีผลประโยชน์มากมายเค้าจึงจำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อมีอาวุธสำหรับต่อต้านภัยสงครามที่ได้มากที่สุดบวกกับเงินคงคลังก็มีอยู่มากเค้าจึงสามารถเนรมิตรเรือได้ดังใจเขา พูดง่ายๆอีกนั้นก็ คือ สิงคโปร์ เค้ารวยกว่าเราครับ (ไม่รู้ว่าจะต้องพูกเรื่องนี้กันอีกกี่ทีเหมือนกันนะ มันเหมือนเรากำลังไปอิจฉาริษาความที่เค้ารวยกว่ามั่งมีกว่าแต่กลับไม่หันมามองปัจจัยพื้นฐานของตัวเราเอง)
---------- ไม่ได้อิจฉาเลย แต่เราทึ่งมากกว่า ประเทศแค่เกาะภูเก็ต แต่มีกำลังขนาดนั้น
ถ้าพูดกันตรงๆคือ เรามัวแต่มองตัวเองว่าด้อย และไม่ยอมพัฒนาต่างหาก ที่ทำให้ไทย เป็นอย่างทุกวันนี้
ถ้าวันนี้ไทยเราเลือกเรือจากเกาหลีสิ่งที่เราจะได้จากเกาหลีนอกจากเรือฟรีเกตแล้วก็คือ เทคโนโลยีการต่อเรือดำน้ำในอนาคตนั้นคือการเริ่มต้นการทำอะไรซักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเราจากที่เคยซื้อเรืออย่างเดียวให้เปลี่ยนมาเป็นต่อเรือเองซะ
ซึ่งผมเชื่อว่าทางเกาหลีน่าจะมีข้อเสนออะไรบางอย่างที่เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่ทำให้ทางผู้ใหญ่ในกองทัพเรือ ตัดสินใจเลือกเกาหลีแทนที่จะเป็นเรือจากสเปน (ไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องเรือดำน้ำหรือเปล่านะ)เพราะผมไม่เชื่อว่าพวกฝรั่งมันยอมถ่ายถอดเทคโนโลยีหรือ support อะไรให้เราได้มากมายนักหรอก
------------อันนี้เห็นด้วย แต่เรื่องเรือดำน้ำ ฝันไปก่อน เกาหลีเองยังต้องพึ่งแบบเรือจากเยอรมันอยู่ ไทยเรามาจากไหน จะต่อเรือดำน้ำเอง ? ก้าวข้ามพื้นฐานสำคัญ เอะอะก็จะทำเอง ระวังจะหกล้มเพราะเดินยังไม่แข็งแล้วจะวิ่งเลย
และไอ้ที่ว่า เงิน 13000 กว่าล้านซื้อได้มาแค่เท่าเรือชั้นนเรศวร คุณรู้ถึงราคาต้นทุนที่แท้จริงของอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างที่ใช้ประกอบเรือหรือครับ ว่าในปัจจุบันนี้ราคามันพุ่งสูงไปเท่าไรแล้ว ไม่ต้องไปพูดถึงประเทศเกาหลี แค่บ้านเราเนี้ย ค่าครองชีพบวกกับสภาวะเงินเฟ้อมันขึ้นไปเท่าไรแล้วเราๆท่านๆก็คงจะทราบกันดีอยู่นะ และอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเชื่อว่าราคาเรือ 13000 กว่าล้านน่าจะรวมไปถึงราคาค่าแบบเรือและเรื่องของการถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีการต่อเรือลำที่สองที่เราจะทำการต่อขึ้นเองด้วยครับ เรื่องค่าลิขสิทธิ์ค่าวิทยาการองค์ความรู้ทั้งหลายแหล่ เชื่อเถอะไม่มีใครยอมยกให้กันฟรีๆหรอกครับ เพราะเรื่องพวกนี้ไม่มีใครยอมเปิดเผยข้อมูลให้เป็นข่าวมากมายนักหรอกเพราะมันเป็นความลับของแต่ละบริษัทที่ดำเนินกิจการอู่ต่อเรือ
--------------เรื่องนี้ ไม่ขออธิบายต่อ เพราะอธิบายไปมากในกระทู้ก่อนๆแล้ว
เรื่องระบบ VLS 8 cell ก็อย่างที่บอกไปแล้ว มันเป็นในเรื่องของความจำเป็นและเหมาะสม กับงบประมาณของกองทัพเรือในปัจจุบัน
***** ใครที่ทนเห็นเรือมี vls แค่ 8 cell ไม่ได้ก็ขอความกรุณาเถอะครับ กองทัพเรือไทยเรามีงบแค่นี้จริงๆ
(แต่ถ้าหากท่านใดมีเงินในตอนก็ช่วยซื้อเพิ่มให้กับกองทัพเรือด้วยแล้วกัน)
ไม่สามารถบันดาลหรือเนรมิตรเรือในฝันตามที่พวกท่านจิ้นกันได้หรอกครับ ไอ้ที่ว่าเรือ เป็ด ผมก็ยังจะถามอีกนั้นแหละว่า
มันเป็ดอย่างไรหรือ ก็ในเมื่อกองทัพเรือยังไม่ได้เปิดข้อมูลรายละเอียดถึงรุ่นและยี่ห้อของระบบเรดาห์และระบบอาวุธที่จะนำมาติดตั้งกันเลยและแถมทางกองทัพยังบอกด้วยอีกว่าข้อมูลดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ ก็ในเมื่อมันมีโชว์ให้ดูแค่โมเดลเรือแล้วจะรีบตีโพยตีพายกันไปทำไม??????????????????????
-----------------ข้อมูลพวกนี้ หาได้ตามอินเตอร์เน็ต ทำไมจะไม่มีคนรู้ ? แต่ทำไมทร.ยังปกปิดไว้ ? บางประเทศ พอเซ็นต์สัญญาปุ๊บ แทบจะบอกหมดเลยว่า มีอะไรติดมาบ้าง แต่ทำไมทร.ไทยถึงยังไม่เผยสักที มันมีข้อกังขา และมันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่จะสงสัย
เป็ดอย่างไร รอดูTAF Editorial ภาค2/3 แล้วกัน แล้วจะรู้ ไม่ขอสปอยล์
ส่วนเรื่อง 8 หรือ 16 มันจบประเด็นที่จะคุยแล้ว ในเมื่ออธิบายแล้ว ก็แล้วแต่จะวิเคราะห์กัน และ เรือลำนี้ยังไงก็ติดแค่ 8 ป่วยการที่จะพูดต่อเรื่อง16
และเรื่องงบประมาณทุกคนเข้าใจดีว่าสถานการณ์มันเป็นอย่างไร แต่ในราคาเท่านี้ ควรจะได้อะไรที่มันดีกว่านี้
ก็ขอให้รอTAF editorial ภาค2-3 แล้วกัน มีเฮ
ถ้าถามถึงเรื่องจิ้น นะหรือ ผมนะจิ้นไปไกลกว่าพวกท่านอีก
หลังจากที่ผมทราบถึงรูปแบบเรือและสเปกส์เรือในเบื้องต้นผมก็ลองมานั้งเขียนแบบเรือในฝันของตัวเอง
ในโปรแกรม UG NX สาธยายถึงเรือในฝันในแบบของตัวของผมเองว่ามีระบบอาวุธอะไรบ้างระบบเรด้าห์อะไรบ้าง
แต่สุดท้ายก็ได้แค่ฝันครับ
ก็ลองวิพากย์วิจารณ์เรือที่ผมออกแบบเองคล้าวๆโดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์
เชิญวิจารณ์ได้เต็มที่ครับ
เหตุที่กองทัพเรือไม่เลือกแบบ DH 3000 น่าจะติดเรื่องขนาดเรือครับ คือ เรือดังกล่าวมันแค่ 3000 ตัน และคิดว่าทางเกาหลีเค้าคงไม่มีแบบแผนจะขยายสเกลเรือให้ใหญ่กว่า 3000 ตันครับ และแบบของเรือน่าจะรองรับระบบเรด้าห์ที่เป็นของทางฝั่ง Thales ครับ เพราะเรือถูกออกแบบมาให้รองรับ กับ I-MAST มากกว่ารองรับระบบของ saab น่าจะเป็นแบบเรือที่ทาง daewoo ทำสัญญาโครงการร่วมกับ thales เท่านั้นครับ
กำลังจะดู zero dark อยู่พอดีดันมาเจอเรือท่านObeOneเสียนี่ สปอยหนังได้เลยนะเพราะผมไม่เข้าแล้ว ท่อนบนมันหนาเกินไปครับเหมือนนักกล้ามอันดับ1ของโลกยังไงยังงั้น บางลงหน่อยแล้วใส่กระจกหน้าด้วยแจ่มเลย วันหลังเจอ HTMS Taksin Flight III ของผมหน่อยทำเรดาร์ERเสร็จแล้ว เหอๆๆๆ
อ้าว...ทำไมล่ะครับ ก็ในเมื่อเรือชั้น Formidable นั้นมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกับเรือใหม่มากๆ แถมสิงคโปร์ก็เป็นเพื่อนบ้านเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับบ้านเรามากๆ แล้วก็ไม่เห็นจะแปลกที่เราจะเอาแบบอย่างการพัฒนาที่ดีมาปรับใช้นี่ครับ เอามาแค่แนวคิดแนวทางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ไม่ได้ให้ไปก๊อปปี้เขานะครับ แล้วที่ว่าเขาร่ำรวยกว่าเรามาก...ก็ใช่ครับ แต่เขาไม่ได้ใช้แบบไม่คิดไม่วางแผนไม่จำกัดนะ เพราะเรือของเขาก็ยังไม่ครบสมบูรณ์ซะทีเดียว ถึงได้มีโครงการปรับปรุงตามมาอยู่ในเวลานี้ ที่ว่าเขารวยเพราะเขาจัดทีเดียว 6 ลำต่างหาก แต่ราคาต่อลำไม่ได้แพงลิบลิ่วแต่อย่างใด และการที่เขาเลือกใช้ Aster 15/30 นั้น ก็เป็นแนวทางแนวคิดที่ไม่ต้องลงทุนกับระบบเรดาร์และชี้เป้าบนเรือให้มากมาย แต่ยอมจ่ายค่าจรวดแพงกว่า ซึ่งประโยชน์อีกอย่างก็คืออัตราการยิงและความสามารถในการจัดการเป้าหมายได้มากกว่า
อ้อ...ระบบตรวจจับและอาวุธเกือบทั้งหมด ทร.ก็เปิดเผยออกมาแล้วนี่ครับ พวกเราถึงเอามาวิเคราะห์วิจารณ์ถกเถียงกันอยู่นี่แหละ เหลือแค่ระบบเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศระยะไกล 3 มิติ เท่านั้นที่ยังไม่มีการระบุยี่ห้อรุ่นอย่างชัดเจน ซึ่งระบบทั้งหมดก็แทบไม่ได้แตกต่างจากรล.นเรศวรเลย ถึงตรงนี้ขอจับผิดกับคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ทร.ที่บอกว่า ทร.ได้เลือกระบบที่มีใช้อยู่แล้วเพื่อความง่ายในการใช้งานการฝึกและซ่อมบำรุง อยากถามว่าระบบที่มีใช้แล้วที่ว่านั้นคืออะไรครับ เพราะทั้งหมดที่เลือกมาทร.ยังไม่ได้มีใช้บนเรือแม้แต่ลำเดียว เรือที่จะใช้ระบบของ SAAB ได้แก่ รล.จักรีฯ , รล.นเรศวร , รล.ตากสิน มีลำไหนปรับปรุงเสร็จแล้ว ทดลองใช้งานแล้ว และกลับเข้าประจำการแล้วเหรอครับ ??? ใช้ได้ดีหรือไม่แค่ไหนอย่างไรยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำไป จริงไหมครับ
ขออภัยด้วยครับ ใช้ไอโฟนโพสแล้วงงๆ โพสซ้ำสองครั้งแล้ว...เฮ้ออออ
ก็ได้ครับท่าน TWG งั้นจัดเรือให้ไปเปลี่ยนจาก VLS mk41 ไปเป็น sylver ก็ได้จะได้ใส่ ASTER-30 ได้เหมือน formidable
หรือจะให้เหมือนกับเรือฟรีเกตใหม่ของเราแบบเพิ่มให้เป็น 16 cell แล้วมี phalanx อยู่ทางด้านหลัง
******* เดียวขอเวลาซัก 4 สัปดาห์ขอเวลาเก็บแบบและขนาดเรือ ฟรีเกตลำใหม่ของไทยเราก่อนเดี่ยวจะเขียนเป็น 3D ถึงตอนนั้นแล้วใครอยากให้เรือฟรีเกตใหม่ของเรามีอะไรเพิ่มหรืออยากได้อะไรเพิ่มร้องขอมาได้เลยเดียวผมจัดให้แทนกองทัพเรือ
ช่วยกันจิ้นกันซะให้ซะใจกันไปเลย 555555+
In early July 2001, the State Department approved the sale of an undisclosed number of AIM-120 Advanced Medium Range Air-to-Air Missiles (AMRAAMs) to Thailand. But the Pentagon will not deliver the missiles unless another Asian country acquires a similar capability because U.S. arms transfer policy restricts Washington from being the first to introduce advanced weaponry into a region. The United States has the same arrangement with Singapore and Taiwan.
A defense official said the total number of AMRAAMs was approximately 30. If delivered, Thailand will use them to arm F-16A/B fighter jets it previously acquired from the United States. AMRAAMs have a maximum range of roughly 75 kilometers and an autonomous radar enabling a pilot to ?fire and forget.?
Official details of the sale are not available because its total value does not exceed the threshold requiring congressional notification. Under the 1976 Arms Export Control Act, arms sales equaling or exceeding $14 million must be reported to Congress, which could block the sale by passing a joint resolution of disapproval within 30 days of notification (15 days in the case of NATO members, Australia, Japan, and New Zealand).
ตามข้อมูล คือ ยอดอนุมัติ คือ 30 นัด...แต่ยังไม่ได้ส่งมอบ...แต่ ต่อมา ถึงมีข่าวที่ สหรัฐ ขายให้ประเทศไทย จำนวน 8 ลูก ในปี 2003
ซึ่งในปัจจุบัน ก็มีข่าวออกมาแล้วว่า มาเลเซีย จัดหา AIM-120C ได้แล้ว และมีการระบุจำนวนอยู่...ดังนั้น ประเทศไทย เอง ในปัจจุบัน ก็ไม่น่าจะมีเหตุ ปกปิด ในการมี AIM-120 ว่ามีประจำการ จำนวนประมาณกี่นัด...แต่ก็เคยไม่เคยมีข่าวปรากฎ ไปมากกว่าเดิม...และการจัดหามา ก็ต้องให้ Raytheon ดำเนินการให้...ก็ไม่มีข่าวออกเพิ่มเติมจากเดิม...
US Selling High Tech Missiles To ThailandThursday, 6 November 2003, 7:16 amArticle: Richard S. Ehrlich |
BANGKOK, Thailand -- The U.S. is supplying Advanced Medium Range Air-to-Air Missiles (AMRAAMs) to Thailand because of "an imminent threat" posed by Russian rockets offered to China and Malaysia, according to weapons monitors.
The U.S. decided to deliver eight AMRAAMs to Thailand after Washington earlier insisted the warheads would only be exported if Bangkok suffered a potential military threat.
"We have no comment on arms deliveries to Thailand," a tight-lipped U.S. embassy spokesman said when asked about the air intercept missiles being delivered.
"The United States committed to sell Thailand AMRAAMs a few years ago, but did hold off on delivery because U.S. policy regarding AMRAAMs is not to be the first to introduce that particular type of missile into a region unless other comparable missiles already exist there," said Wade Boese, research director of the Washington-based Arms Control Association, in an email interview.
"The strict U.S. policy on exporting AMRAAMs reflects the lethality of the missile," Mr. Boese said.
The AIM-120C AMRAAM is prized for being able to kill an enemy plane, or intercept an incoming rocket, before the AMRAAM-firing pilot actually sees the target.
The sophisticated air-to-air missile offers "beyond-visual-range capability", which also allows the AMRAAM-firing pilot to fly away before the warhead explodes -- colloquially known as "fire and forget", "launch and leave" or "shoot and scoot".
"Essentially, the missiles are pilot equalizers in the sense that it puts the outcome of a potential dogfight more on the missile's technical capabilities and not the skills of a pilot," Mr. Boese said.
"In its annual report on Chinese military power released on July 28, the Pentagon reported that China now possesses the Russian-made AA-12 Adder missile, which is comparable to the AMRAAM," the Arms Control Association reported in its September issue of Arms Control Today.
"The Bush administration told Congress earlier this year that Beijing's ability to relocate the missiles, and Russian offers to sell Adders to Malaysia, create an imminent threat justifying AMRAAM deliveries to Thailand and Singapore," Arms Control Today reported.
Under the new arrangement, Singapore could receive up to 100 AMRAAMs while Taiwan may receive 200 AMRAAMs, according to weapons monitors.
A Russia-Malaysia weapons deal, worth an estimated 900 million U.S. dollars, was clinched during Russian President Vladimir Putin's visit in August to Kuala Lumpur, the report said.
Mr. Putin agreed to supply 18 advanced combat aircraft, known as Su-30MKM jets, to Malaysia within the next few years, it said.
"An educated guess would be that Russia will sell AA-12s to Malaysia to arm the planes," Mr. Boese said.
Muslim-majority Malaysia currently possesses 18 Russian MiG-29N fighters plus eight U.S.-built F/A-18D combat aircraft, Arms Control Today said.
Texas-sized, Buddhist-majority Thailand enjoys relatively good relations with all its neighbors, including Malaysia on its southern peninsular border and with China to the north.
"Burma is probably the most significant current potential external threat" to Thailand, said Jane's Defense Weekly's Asia-Pacific editor Robert Karniol in an interview.
"But the Burmese don't have an airforce capability to match the Thais," Bangkok-based Mr. Karniol said.
Cross-border, ground-to-ground mortar clashes occasionally erupt between Thailand and Burma in the northern, opium-rich Golden Triangle region where Burma-based drug smuggling guerrillas hold sway.
"There is no arms race" in Southeast Asia, Mr. Karniol said.
"There is an arms build-up. An arms race indicates an imminent threat of hostilities. An arms build-up is a modernization of military capability," Mr. Karniol said.
"The United States has delivered Advanced Medium Range Air-to-Air Missiles to Thailand to maintain the military balance in the region," the respected Bangkok Post newspaper reported, quoting an unidentified Thai Air Force source.
"They arrived two months ago, shortly after the [Thai] Air Force received 16 second-hand F-16 fighter jets worth a total of 130 million U.S. dollars," the paper reported on Oct. 24, indicating the AMRAAMs arrived in August.
"There were reports that the U.S. planned to deliver the missiles in September or October, but I have not seen any confirmation that they have been delivered," Matthew Schroeder, an Arms Sales Monitoring Project research associate at the Washington-based Federation of American Scientists, said in an email interview.
"Raytheon has at least one contract to produce eight AMRAAM air vehicles for Thailand," Mr. Schroeder said.
ส่วนเรือชั้น พุทธฯ บรรจุ Harpoon จำนวน 4 ท่อยิง และ ASROC จำนวน 4 ท่อยิง เป็นข้อมูลจาก กองเรือฟริเกตที่ 1 ครับ...
ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗
คุณสมบัติทั่วไป ประเภทเรือ FAST FRIGATE ,FF
|
ส่วนเรื่อง ไปเปรียบเทียบกับ ปืนลูกโม่ มันก็คนละอย่างกันอยู่ดี แหล่ะครับ...
ผมถึงตั้งข้อสังเกตุว่า ทำไม ต้องใช้ 32 ทำไม ไม่ใช้ 16 หรือ 24 ถ้าการใส่ CANISTER ใน cell ที่ใช้งานไปแล้ว และจะได้ ประสิทธิภาพที่เหมือนเดิม...ซึ่งผมก็คิดว่า ในอายุประจำการของเรือ 1 ลำ จะได้เห็น เรือที่ ยิง จรวด ในจำนวน 32 เซล ครบ ไหมครับ...
ซึ่งผมพูดถึง เฉพาะ เรือขนาด Frigate นะครับ ไม่เรือ ระบบ Aegis....
ยกตัวอย่างเช่น KDX-2 ของ เกาหลีใต้...มีโอกาส สักกี่เปอร์เซ็นต์ ที่ เรือ 1 ลำ จะยิง SM-2 ได้ครบ 32 เซล...
ทำไม KDX-2 ไม่มี cell เพียง 16 cell หรือ 24 cell ก็พอ...พอยิงครบ ก็ค่อยมา บรรจุใหม่...
ผมก็เลยให้ความเห็นว่า Cell สำหรับยิง ไม่สำคัญเท่า CANISTER สำหรับบรรจุรวด...เพราะถ้า ไม่มี CANISTER มันก็ยิงอะไรไม่ได้...
พอดี วันนี้ดึกแล้ว...ผมกำลังจะทำสรุป เรือขนาด Frigate ที่ไม่ใช้ระบบ Aegis จะเห็นข้อมูลการอัตราบรรจุของเรือแต่ลำ ว่า SAM อยู่ในอัตราจำนวนกี่นัด ครับ...อาจจะพรุ่งนี้ หรือ มะรืนนี้ น่าจะเสร็จครับ...
แล้วก็เที่ยวไปว่าคนอื่นเค้าว่า เพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อย ผมว่าท่าน ObeOne นั้นแหละหนักสุดแล้ว
เรือท่านนี้เล่นยกระบบ AMDR มาทั้งชุดเลยนะนั้น กองเรือรบอเมริกายังไม่มีใช้เลยในตอนนี้
ขอเดานะว่าระบบเรด้าห์ คงจะเป็น
1. Radar phase array SPY-1D (S-band) 4 units
2. SPY-3 (X-band) 3 units
3. ระบบ ESM คงจะเป็น SEWIP-2A แบบ phase array 4 units อันนี้ไม่แน่ใจว่า มันใช้แค่ 2 หรือ 4 ?
4. แต่ทรงกลมๆ สีขาว2 อันด้านข้างหอเรด้าห์มันคือระบบอะไร?
5. FCS แบบ SPG-62 3 units
6.satcom แบบเดียวกันกับของ LCS-1 freedom เลย
ระบบอาวุธหลัก
1. ปืนหลัก Mk 45 mod 4 127 mm.
2. ปืนรองคือ ? (25mm หรือ 30mm)
3. ตอร์ปิโด ถ้าให้เดา คงจะเป็น Mk.54 (ก็เล่นใช้ระบบเอจีสทั้งชุดแล้วนิก็คงจะหนีไม่พ้น ระบบ MK116 UBFCS)
4. ASM ? ถ้าให้เดาตรงสี่เหลี่ยมเล็กๆ 4 จุดน่าจะเป็นท่อยิงแบบเปิดปิดฝาประตูได้แล้วบรรจุ harpoon ไว้ข้างในตัวเรือ คล้ายกับเรืออะไรหว่าของสวีเดน ผมจำชื่อไม่ได้ แต่รายนั้นเป็น ABS-15 ไม่แน่ใจว่า harpoon จะบรรจุในรูปแบบของเรือท่านได้หรือเปล่านะ
5. VLS mk 41 64 ท่อยิง!!!!!!!! สงสัยคงจะรวมไปถึง SM-2,ASROC rum-139,SM-3 และ Tomahawk ด้วยละสิท่า
ระบบอาวุธป้องกัน
1. RAM 2 แท่นยิง
2. SRBOC mk36.decoy 6 แท่นยิง (อันนี้ผมขอชมว่าวางได้ในตำแหน่งที่ครอบคลุมเรือดีครับ)
3. Nulka decoy 4 แท่นยิง
(จะติดระบบ เป้าลวงไปทำไมกันนักกันหนาเกินความจำเป็นนะเนี่ย)
ระบบปราบเรือดำน้ำ ดูแล้วเรือท่านคงจะบรรจุ ฮ.ได้อย่างน้อย 2ลำ เพราะดูจากท้ายเรือแล้วมีประตูขนาดใหญ่ 2 บานคล้ายกับเรือ OHP
ส่วนระบบโซน่าอื่นๆละ ?
ขนาดเรือดูแล้วน่าจะประมาณ 5000 ตันขิ้นไป
-ขอวิจารณ์เลยนะท่านดูจากรูปแบบโครงสร้างแบบเรือก็ดูดีคิดว่า ท่าน obeone น่าจะอ้างอิงจากแบบเรือจาก LCS-1 freedom เป็นmain หลักในการออกแบบ แต่ก็ดูดีพอสมควรครับ แต่ถ้าจะให้ดีน่าจะทำส่วนของท้องเรือและ ใบพัดเรือด้วยก็จะแหล่มมากๆเลยทีเดียว สรุปผมว่าโดยรวมมันไม่ใช่เรือฟรีเกตแล้วครับ มัน คือ เรือพิฆาตต่างหาก
แต่ที่ขอชมเชยเลยคือทำออกมาแบบ 3D ได้ด้วยเลย (อันนี้ขออิจฉาหน่วยละกันเห็นลงว่าใช้ NX ด้วยนิใช้software high end ซะด้วย)
แค่ผมกำลังฝึกเขียนภาพเรือแบบ ให้เหมือนกันกับท่าน super boy และ ท่าน จูดาส ผมยังเขียนไม่ได้เลยครับ
ขอจบการวิจารณ์เท่านี้ละครับ...หากผิดพลาดประการใดในการวิจารณ์ก็ขออภัยด้วยครับ
ขอนอกประเด็นเรื่อง AIM-120c หน่อยนะครับ
ถ้าจำไม่ผิดเห็นเคยมีการคุยกันไปแล้ว ว่าจรวดสามารถซื้อได้แล้ว แต่วิธีการของ ทอ. เราคือทยอยซื้อ
ด้วยงบประมาณที่มีในแต่ละปี ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดีครับ ทำให้ไม่มีข่าวออกสื่อเหมือนการจัดซื้อปริมาณ
มาก ๆ ยกตัวอย่าง AIM-9M-9,GBU,AGM ต่าง ๆ ก็ใช้วิธีทยอยจัดซื้อมาเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าไม่เคยมี
ข่าวเลย....อยู่ ๆ ก็เอามาฝึกซะงั้น
ส่วนเรื่องการปกปิดจำนวนอาวุธประเภทจรวดมีความสำคัญครับ เพราะมันจะทำให้ศัตรูคาดเดายุทธวิธี
ที่เราจะใช้ได้จากอาวุธที่เรามี ถ้าอะไรมีน้อยราคาแพง ก็แสดงว่าจะใช้กับเป้าที่เป็น High value asset
เท่านั้น หรือถ้ามี Aim-120 30 นัด ก็แสดงว่า F-16 ADF และ Gripen จะขึ้นบินแล้วมีจรวดประเภทนี้ได้
ไม่เกิน 15 ลำ หรือถ้ามากกว่านั้นก็เป็นลำละนัด อะไรประมาณนี้ครับ
ท่าน Juldas ครับ ปกติกองทัพไทยจัดข้อมูลเรื่องจำนวนของระบบอาวุธโดยเฉพาะรุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูงเป็นความลับทางราชการ ห้ามเผยแพร่เราจึงไม่ทราบจำนวนและสถานที่เก็บอย่างแน่ชัด หลายครั้งที่กว่าเราจะทราบก็เมื่อผ่านไปหลายปีหรือมีการประจำการระบบที่ใหม่กว่าแล้ว อีกอย่างนึงกองทัพไทยมักจะจัดหาระบบอาวุธโดยเฉพาะจรวดแบบเป็นงวดๆ เพื่อให้ทะยอยหมดอายุเป็นล๊อตๆ โดยส่วนตัวจึงเชื่อว่าปัจจุบันทอ.ไทยน่าจะมี AMRAAM มากกว่า 8 ลูกอย่างแน่นอน อาจมีบางส่วนเก็บไว้ในคลังอาวุธร่วม แต่อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะมีเก็บไว้ที่กองบิน 1 ; F-16 ADF และ 7 ; Gripen (และ 4 หลังจาก F-16 MLU กลับเข้าประจำการ) กองบินละ 4-8 ลูก
ส่วนเรื่องที่ว่าทำไมเรือรบต้องมีท่อยิงจรวดเป็นจำนวนมาก แม้ตลอดอายุประจำการอาจไม่ได้ยิงเลยก็ตาม ก็แล้วแต่ละประเทศมีอาวุธไว้มากมายเพื่ออะไรกันล่ะครับ ??? ประเด็นคือ "ต้องมีความพร้อมและมีเพียงพอที่จะใช้เมื่อจำเป็นต้องใช้" ไม่ใช่หรือครับ ที่ต้องมีท่อยิงเยอะเพราะการออกปฏิบัติการของเรือรบมีระยะทางยาวไกลใช้ระยะเวลายาวนานในแต่ละครั้ง จะให้วกกลับเข้าท่าเพื่อโหลดอาวุธบ่อยๆ คงไม่ไหวครับ อย่างเรือรุ่นเก่าเช่น Knox รล.พุทธฯ แม้ระบบแท่นยิงจะใส่ลูก Hapoon + ASROC ได้แค่อย่างละ 4 ลูก แต่เรือนี้มีคลังเก็บลูกจรวดพร้อมใช้อีก 16 ลูก และมีระบบโหลดลูกจรวดระหว่างปฏิบัติการกลางทะเลได้ทันทีนะครับ ส่วนเรือ KDX II ของเกาหลีมีภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งเขามองว่าภัยคุกคามทางอากาศสูง (คงต้องเผื่อไปถึงจีนที่คอยหนุนเกาหลีเหนือด้วย) ทั้งจากบ.และขีปนาวุธระยะสั้น-กลาง-ไกลทั้งหลายเป็นจำนวนมาก เรือรุ่นเก่านั้นจำกัดด้วยเทคโนโลยีจึงมีจรวดพร้อมยิงน้อย แต่ก็พยายามติดไปในคลังเก็บเพื่อโหลดเพิ่มได้ระหว่างปฏิบัติการ เรือรุ่นใหม่มีเทคโนโลยีทันสมัยอย่างเช่น VLS สามารถติดตั้งจรวดพร้อมยิงได้เป็นจำนวนมากกว่า แต่ไม่สามารถโหลดเพิ่มเองได้ระหว่างปฏิบัติการ ต้องกลับเข้าท่าเท่านั้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมเรือรบรุ่นใหม่จึงควรมีจำนวนท่อยิงเยอะๆ ที่สำคัญเรื่องที่ท่านบอกว่า "ท่อยิงของ Mk.41 ใช้ได้ดีแค่ครั้งเดียว" ผมว่ามันตลกมากๆ ไม่สมเหตุสมผลด้วยประการทั้งปวง ถ้าจะบอกว่า "ตัว Canister ใช้ได้ดีแค่ครั้งเดียว" ยังจะฟังได้มากกว่านะครับ (ความจริงก็ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น) โดยหลักการแล้วระบบ Mk.41 VLS นั้นก็ไม่ได้ต่างจากแท่น Mk.16 สักเท่าไหร่ แค่เปลี่ยนจากท่อยิงที่ว่งบนแท่นที่หมุ่นและกระดกได้ เอามาวางในแนวตั้งแล้วมีท่อทางระบายไอพ่นขึ้นมาด้านบน เวลายิงตัวท่อยิงก็ไม่ได้เสียหายอะไร ถ้าไม่อย่างนั้นจะออกแบบระบบโหลดลูกจรวด/Canister มาไว้เพื่ออะไรล่ะครับ
ส่วนท่าน ObeOne ที่ผมเปรียบเทียบ SM-2 กับ Aster-30 นั้น เพียงต้องการหยิบยกเรื่องแนวคิดในการเลือกใช้ระบบอาวุธ/จำนวน ให้เหมาะกับยุทธวิธีและงบประมาณ ไม่ได้เชียร์ให้ทร.เลือก Aster-30 เพราะมันไม่เข้ากับระบบอื่นๆ ที่ทร.เลือกใช้ครับ
คุณ obeone เขาประชดครับ
แล้วคุณ obeone ครับ คุณไม่เก็ตอะครับเรื่อง 8 cell / 16 cell ไม่ได้มีใครเรียกร้องให้ของเราติดพรึบไปหมด แต่ต้องการให้มันสามารถอัพเกรดได้ในอนาคตครับ
ก็ตามที่ให้ความเห็นครับว่า...คงต้องหา ความหมายว่า ทำไม สำหรับเรือขนาด Frigate บางลำ บางประเทศ ถึงใช้ ตัวเลขที่ 32 เป็นจำนวนสูงสุด...อย่าไปนึกถึง DDG ของ ทร. หรือ KDX-III นะครับ...
ซึ่งเรือพวกนี้ โดยหลักจะปฏิบัติการ อยู่ภายในอาณาเขตตัวเอง เป็นหลัก...
แต่สำหรับเรือที่จะต้องเดินไป โพ้นทะเล แบบ DDG ของ สหรัฐ หรือ Type-45 ของ อังกฤษ...ตัวเลขของเรือ จะมากกว่าที่ 32 คือ อยู่ระหว่าง 48 - 61...ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า มันต้องปฏิบัติการนอกอาณาเขตประเทศตัวเอง...
ซึ่งตัวเลข 32 ผมก็เห็นว่า ในเบื้องต้น ก็ขอยกตัวอย่าง เช่น MK-13 บนเรือ OHP ที่จะมีคลังบรรจุสำหรับ SM-1 ได้สูดสุด คือ จำนวน 32 นัด...สำหรับเรือ 1 ลำ...คือ บรรจุอยู่ภายใต้ฐานแท่นยิง นั่นเอง...
ซึ่งมันก็เทียบกับการที่ MK-41 ต้องมี cell เพื่อสำหรับ บรรจุ SM-1 ให้ได้จำนวนสูงสุดที่ 32 นัด ให้เท่ากับ อัตราบรรจุของ แท่นยิง MK-13...ก็ตามที่ท่านกล่าวมานั่นแหล่ะว่า...การบรรจุในทะเล มันไม่ได้ง่าย...แท่นยิง MK-41 จึงต้องมี cell ไว้สำหรับรองรับอัตราสูงสุดไว้...หรือ ก็คือ เรือต้องแบก cell จำนวน 32 cell ไปกับเรือตลอดเวลา...ซึ่งจะบรรจุเต็ม หรือ ไม่เต็ม ก็ได้ ตามแต่ภาระกิจ ณ ขนาดนั้น ๆ...คือ แทนที่จะแบก แท่นยิง MK-13 จำนวน 1 แท่น ก็ต้องแบก MK-41 ไปจำนวน 4 แท่นยิง..
ดังนั้น ในแง่การใช้ ก็คือ การที่เรือ เปลี่ยนจากคลังบรรจุใต้แท่นยิง ของ MK-13 จำนวน 32 นัด มาติดตั้งใน cell จำนวน 32 เซล แทน...
และที่เปรียบเทียบให้เห็น ก็เป็นข้อสังเกตุของผมว่า...ในเมื่อ เรือต้องแบก 32 cell ไว้กับเรือตลอดเวลา...ลักษณะการใช้งาน...ตัวเรือเอง ก็ต้องใช้ประโยขน์จาก cell ทั้ง 32 cell นั้นทั้งหมด...แล้วเมื่อถึงเวลาต้องเข้าฐาน หรือเข้าอู่...จึงอาจจะ ทำการซ่อมบำรุง และนำเอา CANISTER ที่ใช้งานแล้วออกจาก แท่นยิง...ซึ่งอาจจะบรรจุ จรวด ใหม่...หรือ ไม่มีการบรรจุใหม่ ก็เป็นได้...ถ้า จรวดที่บรรจุอยู่ใน cell ที่ยังไม่ได้ใช้ยิง...ยังเพียงพอ...
และที่ตั้งข้อสังเกตุ ทำไม KDX-2 ถึง ไม่ใช้ 16 cell หรือ 24 cell ถ้าการใส่ CANISTER กับ cell ที่ใช้งานไปแล้ว จะไม่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ...เพราะ ลักษณะเรือ ก็คือ เรือที่ใช้ภายใน อาณาเขตทะเล...โดยสภาพการใช้ก็คงไม่น่าจะแตกต่างจาก การติดตั้ง Harpoon ที่สามารถติตดั้งเพิ่มและทดแทน ได้ที่ ฐานทัพเรือ...ซึ่งเรือปฏิบัติการอยู่ในอาณาเขตทะเล ตนเอง ก็คงมีระยะเวลา 45-60 วัน เป็นขั้นสูงสุด...
คราวนี้ ใน cell จำนวน 8 cell แต่สามารถยิงจรวด ได้จำนวน 32 นัด เมื่อเทียบกับ cell 1 ต่อ 1 คือจำนวน 32 cell...
ตัวเลขของจำนวน จรวด คือ 32...นั่นคือ ที่ผมว่า น่าจะหาความหมายว่า ทำไม เรือระวางขนาดนี้ คือ Frigate หรือ Destroyer Escort ถึงต้องมี ตัวเลข การยิง ลูกจรวด ได้สูงสุดที่ 32 นัด...หรือ 16 นัด หรือ 8 นัด...โดยมันก็คงต้อง สัมพันธ์ กับระยะเวลาการปฏิบัติการของเรือด้วยหรือเปล่า...ตัวเลข มันถึง ออกมาเป็น 32, 16, 8
จากภาพประกอบครับ...ลองนึกถึง การยิง SM-2 จำนวน 8 ลูก ของ แท่นยิง MK-41 จำนวน 8 cell...ครับ...
สำหรับผม เรื่องแท่นยิง 8 เซลล์ ก็ยอมรับได้นะครับ
แต่ อยากให้แยกแท่นยิง nulka ออกมาอยู่กลางลำตัว สัก 4 ท่อ ก็ยังดี
8 เซลล์ ที่เหลือ ก็จัด ESSm 4*4=16 อีก 4 ก็เป็น vlsroc แค่นี้ก็จบเลย
ขอแค่นี้ก็พอครับ ในอนาคต เพิ่มอีก 8 เซลล์ จัด SM-2 อีก 4 essm อีก 4*4 ก็แจ่มแล้ว
ถึงท่าน tongwarit ไม่ได้ไม่ get ครับและก็ไม่ได้ สปอยด์ด้วย ตามที่บางคนกล่าวหาผม (ไม่ใช่ท่านtongwaritนะครับ) จะบอกให้คนที่กล่าวหานั้นละคือสปอยด์ รู้ก็รู้อยู่แก่ใจก็ทำเป็นแกล้งไม่รู้ ถึงเรื่องธรรมเนียมการจัดซื้อจัดหาอาวุธของกองทัพไทย ทำมาเป็นออกอาการ action สเปกส์เรือไม่เหมาะกับราคาเรือเลย ปัดโธ่....... ไม่อย่างนั้นคนเค้าจะมักพูดกันเหรอว่าทำไมของหลวงมันถึงได้ซื้อมาในราคาแพงกว่าปกติวะ.....
แต่ที่ผมพยายามจะบอกกับพวกท่านคนอื่นๆทั้งหลายว่า ตามที่คนบางคนพยายามอวดรู้ว่าข้าได้ฟันธงไปแล้วว่าเรือลำนี้มันขี้เหร่ยังไง มันเป็นเรือเป็ดยังไง ทั้งๆที่ไม่เคยได้เข้าไปนั่งฟังนั่งดูหรือได้มีโอกาสซักถามถึงข้อมูลเชิงลึก( ไม่สามารถไป search หาจากใน google ได้) ตอนที่ ตัวแทนบริษัท Daewoo เข้ามาpresent specification ของเรือให้กับทางกองทัพเรือได้รับพิจารณาถึงข้อเสนอและผลประโยชน์สูงสุดที่ประเทศไทยเราจะได้รับ ส่วนการจัดหา VLS เพิ่มเติมให้มากว่า 8 cell ก็คงจะรอพร้อมกับการจัดการหา SM-2 ในอนาคตครับ
คือจะบอกว่าถ้าระบบ FCS ของเรือไม่รองรับ SM-2 ได้แล้วกองทัพเรือเค้าจะออกมาแถลงว่าสเปกส์เรือฟรีเกตลำใหม่สามารถรองรับ SM-2 ได้ในอนาคต มาให้พวกท่านคอยวิพากษ์วิจารณ์ (หรือด่านั้นแหละ) และนั่งลุ้นกันทำไมละครับ สู้ออกมาชี้เปรี้ยงไปเลยทีเดียวว่าเรือลำนี้จะสามารถติดตั้ง VLS ได้แค่ 8 cell และใช้อาวุธได้แค่ ESSM กับ 9LVของsaab แล้วให้พวกท่านด่ากันซะให้เสร็จๆไปเลยซะตั้งแต่เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมาไม่ดีกว่าหรือ?
ผมยังจำได้ว่าเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้วตอนที่มีข่าวออกมาว่าเรือใหม่ของเราจะเป็นเรือ KDX-1 โอ้โฮเท่านั้นละ พากันออกมา โวยวายแหวะ แบบเรือเก่ามั้งละ แบบเรือกโบราณมั้งละไม่ ไฮด์เอ็นเลยบ้างละ แต่พอแบบเรือออกมาจริงๆก็พากันตะลึงกันไปหมด (แทบจะไม่เหลือเค้าโครงเรือ KDX-1 เดิมเสียด้วยซ้ำ) เป็นงัย surprise กันไปตามๆกัน
ส่วนระบบอาวุธและระบบเรดาร์ก็บอกแล้วว่าให้รอกองทัพเรือเค้าออกมาแถลงถึงรายละเอียดก่อน ถ้าให้ผมลำดับเหตุการณ์จากเดิมที่กำหนดจะสรุป tor ของเรือตั้งแต่เดือนมีนาคม จนมาจบลงที่เกาหลีในเดือน สิงหาคม โดยยังไม่ระบุรายละเอียดถึงเรื่องระบบอาวุธและระบบเรดาร์ จากวันนั้นถึงเดือนสิงหาคมมันเลยมา 6 เดือนกว่าแล้วครับ แล้วถ้าจะรอการเปิดเผยระบบอาวุธของเรือกันต่อไปอีกหลายเดือนแล้วจะเป็นอะไรไป
ซึ่งเชื่อเถอะว่าทางกองทัพเรือเค้าก็ร้อนใจในเรื่องจัดหาระบบ FCS มารองรับ SM-2 ในอนาคต โดยมีตัวแปรสำคัญคือต้องลิงค์กับระบบ Saab ของกองทัพอากาศได้ และน่าจะกำลังหาทางออกในเรื่องนี้กันอยู่ครับ แต่ผมเชื่อว่ากองทัพเรือน่าจะมีทางออกและมีข้อสรุปในเรื่องนี้ก่อนที่จะนำเอกสารสัญญาไปให้ทางท่าน นายกและคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติ
A picture is worth than a thousand words.
ทำมาให้แล้วครับ...
สำหรับเรือระดับที่ไม่จัดอยู่ในประเภท Aegis หรือ APAR
ก็จะเห็นข้อมูลว่า ในระดับของ SAM จะอยู่ใน ปริมาณบรรจุ 2 จำนวน คือ 32 กับ 16
ตามแผ่นภาพของท่าน Icy_CMU สำหรับการนำ Canister กลับมาใช้ใหม่...ก็คือ หมายถึง ต้องไปทำการ ปรับสภาพ ซ่อมบำรุงระดับโรงงาน หรือ ทำอะไรก่อนหรือไม่ หรือ บรรจุ ลูกจรวด ลงไปได้เลย...แล้วยิงได้เลย...
ขอแก้ไขใหม่ ครับ...สำหรับ Murasame Class ของ Japan...ที่ปัจจุบัน น่าจะเป็น ESSM จากเดิม เป็น Sea Sparrow...จึงต้องเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32
รูปไม่ขึ้น ลงใหม่ครับ
ขอบคุณท่าน Juldas สำหรับตารางข้อมูลที่อุตส่าทำซะมากมายนะครับ แต่...ช่วยผมหาหน่อยเถอะนะครับว่า มีเรือแบบใดของประเทศไหนบ้างที่อุตส่าลงทุนติดตั้งระบบโซนาร์ทั้ง Hull และ Tow แถมมีคอนโซลคคย. Mk.116 ครบชุด แล้วมีจรวด ASROC พร้อมใช้บนเรือน้อยกว่านิ้วมือบ้างไหม ??? นี่คือประเด็นที่ผมพยายามชี้ให้พิจารณากันครับ เช่นเดียวกับแผนการปรับปรุงให้เรือนี้สามารถยิง SM-2 ได้ในอนาคต ซึ่งต้องใช้งบประมาณอีกนับพันล้านบาท ติดตั้งระบบเรดาร์และ/หรือตัวชี้เป้าที่มีประสิทธิภาพสูงและกำลังส่งสูง แต่ดันแบกจรวดที่ว่านี้ไปได้(มากที่สุด)แค่ 8 ลูก !!!
ปล.แต่กับรล.นเรศวร/ตากสิน ผมกลับมองว่า Mk.41 VLS : 8 Cells ที่มีอยู่นั้นเหลือเฟือ เพราะขีดความสามารถของระบบที่มีอยู่บนเรือทั้งสอง คงใช้ได้แค่ ESSM กับ Nulka เท่านั้น ซึ่งเมื่อใช้ Canister แบบ Quadpack ก็จะทำให้มีจำนวนลูกจรวดพร้อมยิงได้สูงสุดถึง 32 ลูก ซึ่งมากมายเกินกว่าที่ Ceros-200 CWI : 2 ชุดจะใช้ได้หมดในวงรอบการยิง 8 รอบด้วยซ้ำ (สมมติให้ยิง ESSM แบบเบิ้ล 2 ลูกต่อเป้าหมาย ได้คราวละ 2 เป้า) ดังนั้นเชื่อว่าน่าจะมีการแบ่งท่อยิง 1-2 ท่อ มาใส่ Nulka ด้วยครับ
โพสเบิ้ลอีกแล้ว ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าทำไมใช้ไอโฟนโพสแล้วถึงกลายเป็นแบบนี้บ่อยมากๆ เฮ้อออออ
น่าจะเป็นที่เครือข่ายอินเตอร์ที่ท่านใช้ครับผมเองก็ใช้ I-phone 4gs เป็นระบบของ TRUE 3G ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรเลยครับ
ผมใช้ ลักกี้โกลด์สตาร์ เน็ตดูอัลไม่มีปัญหาโพสซ้ำครับ มีปัญหาหน้าจอเล็กจัดพิมพ์ก็ไม่ถนัดสาวๆก็ไม่ค่อยคุยด้วยไม่เคยถูกหวยมาหลายปีแล้ว ท่านTWGแลกกันใช้ไหมเดี๋ยวผมออกค่าโอนให้เอง
ขอบคุณท่าน Juldas สำหรับตารางข้อมูลที่อุตส่าทำซะมากมายนะครับ แต่...ช่วยผมหาหน่อยเถอะนะครับว่า มีเรือแบบใดของประเทศไหนบ้างที่อุตส่าลงทุนติดตั้งระบบโซนาร์ทั้ง Hull และ Tow แถมมีคอนโซลคคย. Mk.116 ครบชุด แล้วมีจรวด ASROC พร้อมใช้บนเรือน้อยกว่านิ้วมือบ้างไหม ??? นี่คือประเด็นที่ผมพยายามชี้ให้พิจารณากันครับ เช่นเดียวกับแผนการปรับปรุงให้เรือนี้สามารถยิง SM-2 ได้ในอนาคต ซึ่งต้องใช้งบประมาณอีกนับพันล้านบาท ติดตั้งระบบเรดาร์และ/หรือตัวชี้เป้าที่มีประสิทธิภาพสูงและกำลังส่งสูง แต่ดันแบกจรวดที่ว่านี้ไปได้(มากที่สุด)แค่ 8 ลูก !!!
ปล.แต่กับรล.นเรศวร/ตากสิน ผมกลับมองว่า Mk.41 VLS : 8 Cells ที่มีอยู่นั้นเหลือเฟือ เพราะขีดความสามารถของระบบที่มีอยู่บนเรือทั้งสอง คงใช้ได้แค่ ESSM กับ Nulka เท่านั้น ซึ่งเมื่อใช้ Canister แบบ Quadpack ก็จะทำให้มีจำนวนลูกจรวดพร้อมยิงได้สูงสุดถึง 32 ลูก ซึ่งมากมายเกินกว่าที่ Ceros-200 CWI : 2 ชุดจะใช้ได้หมดในวงรอบการยิง 8 รอบด้วยซ้ำ (สมมติให้ยิง ESSM แบบเบิ้ล 2 ลูกต่อเป้าหมาย ได้คราวละ 2 เป้า) ดังนั้นเชื่อว่าน่าจะมีการแบ่งท่อยิง 1-2 ท่อ มาใส่ Nulka ด้วยครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เห็นด้วยกับท่าน twg ทุกอย่างเลยครับ พูดได้ถูกจุดจริงๆ
ยิ่งเห็นตารางของท่าน judas แล้วยิ่งชัดเจน ไม่มี ทร.ชาติไหนเลยที่ติดตั้ง Mk.41 VLS : 8 Cells แล้วติดตั้ง sm-2 , vl-asroc เข้ามาด้วย ไม่มีเลย
ฟังดูเหมือนเถียงกันคนล่ะเรื่องเลยครับ
ฝั่งหนึ่งให้เหตุผลว่า ด้วยงป ที่มีและภัยคุกคามในปัจจุบัน ตอนนี้มี VSL ท่อก็พอ ยังไงก็หาจรวดมาใส่ได้ไม่ครบในยามปรกติอยู่แล้ว
อีกฝั่งบอกว่า แบบเรือแบบนี้ัมันไม่มีที่ให้ติดVSL เพิ่มในอนาคต ถ้าในอนาคตต้องยัด ASROC, SM2 ESSM และเป้าลวงลงไป 8cell ไม่น่าพอ จำเป็นต้องมีvsl เพิ่ม แต่เรือไม่มีที่ให้ติดเพิ่ม
ว่าแต่ mk41 หนึ่งระบบ 8 cellนี่ใส่อาวุธได้กี่แบบ ??? ท่านแนใจเหรอครับว่า มันใส่อาวุธต่างชนิดไวในระบบเดียวกันได้ ซึ่งหากไม่ได้ งานนี้แปลว่า ถ้าแบก ASROC ก็ไม่มี ESSM แบก ESSMก็ไม่มี ASROC....
อีกอย่าง งานนี้เซ็นสัญญากันไปแล้ว น่าจะแปลว่า ขั้นตอนการเสนอ รมต หรือ นายกน่าจะผ่านไปหมดแล้วครับ ทร น่าจะออกรายละเอียดมาให้ดูได้แล้ว
คำถามผมคืออะไรทำให้ท่านทั้งหลายบอกว่ามันจะมีได้แค่ 8 cell เท่านั้นล่ะครับ พื้นที่นี่ผมว่าถึงไม่ถอดฟาลังค์ก็ยังวางได้
และในเมื่ออนาคตจะอัพระบบเพื่อรองรับ SM-2 ถึงตอนนั้นมันอาจเพิ่มเป็น 16 cell ผมไม่ชัวร์หรอกครับว่ามันจะเพิ่มไม่เพิ่ม
แล้วทำไมท่านทั้งหลายเอาแต่พูดว่าเรือลำนี้มีได้แค่ 8 cell
มันใส่ได้ครับ เพราะตัวแท่นยิง mk41 ใส่อวป.หลักๆของทร.อเมริกาได้แทบทุกชนิด
โดยต้องใส่สล็อตเข้าไปอีกชั้นสำหรับอาวุธแต่ละชนิด เช่นลูกเล็กอย่างอีเอสเอสเอ็มก็ใส่ได้ช่องละสี่ลูก ถ้าลูกใหญ่ก็ใส่ได้น้อยลงไปจนถึงช่องละลูก ทำให้มีความยืดหยุ่นสามารถจัดอาวุธได้หลาย configuration เช่นจะคุ้มกันกองเรือก็ใส่อวป.ต่อต้านอากาศยานเป็นหลัก ถ้าจะไปหาเรื่องประเทศแถบตะวันออกกลางก็เอาโทมาฮอ์คเข้าไปเยอะๆ ครับ
ก็ตอนแรก ท่านพูดถึง SAM ไม่ใช่เหรอครับ...ตอนนี้ ก็จะเอา ASROC ที่ในประเทศภูมิภาค ASEAN นี้ ยังไม่เห็นใครจะติด...
Formidable ก็ไม่มีให้นับสักนิ้ว เลยนะนั่น ติดทั้งโซนาร์ Hull (Formidable ไม่ติดโซนาร์ตัวเรือ) ติดทั้ง ลากท้าย...5 5 5 5 5 มันก็น่าจะห่วยกว่า เรือฟริเกตไทย นะครับเนี่ย...
ลำนี้ ราคาประมาณ 670 ล้านเหรียญ
ปืน 2 กระบอก
CIWS ไม่มี
มี SAM จำนวน 16 ลูก (Aster 15/30)
มี Milas จำนวน 8 ลูก
มี SSM จำนวน 8 ลูก
ขน ฮ. ไปได้ 2 ลำ
คำถามผมคืออะไรทำให้ท่านทั้งหลายบอกว่ามันจะมีได้แค่ 8 cell เท่านั้นล่ะครับ พื้นที่นี่ผมว่าถึงไม่ถอดฟาลังค์ก็ยังวางได้
และในเมื่ออนาคตจะอัพระบบเพื่อรองรับ SM-2 ถึงตอนนั้นมันอาจเพิ่มเป็น 16 cell ผมไม่ชัวร์หรอกครับว่ามันจะเพิ่มไม่เพิ่ม
แล้วทำไมท่านทั้งหลายเอาแต่พูดว่าเรือลำนี้มีได้แค่ 8 cell
------------จากการได้พูดคุยกับเพื่อนๆในTAFและTFC
ดูเหมือนว่า เรือลำนี้จะไม่มีพท.เพิ่มเลย สำหรับVLSชุด2
เพิ่มดาดฟ้ายกอีก ก็ไม่ได้ เพราะตรงนั้นเป็นห้องคลังกระสุนของปืน76 (ฝาที่อยู่หลังปืน76 มีไว้โหลดกระสุนเข้า-ออกคลังกระสุน)
จะยกฟาลังซ์ออกก็ไม่มีประโยชน์ เข้าใจว่าข้างใต้เป็นห้องอะไรสักอย่างไปแล้ว (หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือทางเดินในเรือ)
นอกจากจุดหน้าเรือแล้ว กลางเรือยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย ไม่มีที่แน่ๆ
ก็ตอนแรก ท่านพูดถึง SAM ไม่ใช่เหรอครับ...ตอนนี้ ก็จะเอา ASROC ที่ในประเทศภูมิภาค ASEAN นี้ ยังไม่เห็นใครจะติด...
Formidable ก็ไม่มีให้นับสักนิ้ว เลยนะนั่น...5 5 5 5 5 มันก็น่าจะห่วยกว่า เรือฟริเกตไทย นะครับเนี่ย...
------------ท่านJuldas ไม่เข้าใจประเด็นของท่านTWG ......... ประเด็นของท่านTWGคือ ไม่มีชาติไหนที่ติดVLS 8cell แต่จัดmissileหลายแบบไว้ในนั้น
ส่วนเรื่องcanister reuseใหม่จะต้องผ่านโรงงานหรือเปล่านั้น อันนี้ค่อนข้างชัวร์ว่าจะต้องอย่งๆน้อยๆซ่อมบนฝั่งแน่ๆ
แต่ที่จะสื่อคือ ขนาดCanister ยังรอดพ้นจากการจุดระเบิดของจรวด ตัวCell ที่เป็นแค่โครงเหล็กรอบๆ ก็ไม่มีปัญหาแน่ๆ
** เรือฟริเกต ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธ ปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย
เรือฟริเกต ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธ ปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว
มันอาจจะไม่ได้หมายความว่าจะสามารถติดVLSเพิ่มได้ ......... เมื่ออ่านดูดีๆแล้ว จะพบว่า อาจจะสื่อแค่ว่า ตัวVLS และโครงสร้างเรือ ออกแบบเพื่อรองรับการยิงSM-2 ก็เป็นได้
Nulka คือ อะไร
Nulka is an Australian designed and developed active missile decoy built by an American/Australian collaboration. Used aboard warships of the United States Navy (USN), Royal Australian Navy (RAN), United States Coast Guard (USCG), and Royal Canadian Navy, Nulka is a rocket propelled, disposable, offboard, active decoy designed to seduce anti-ship missiles away from their targets. It has a unique design in that it hovers in mid air while seducing the incoming anti-ship missile. The hovering rocket concept was initiated in Australia by the Defence Science and Technology Organisation (DSTO), and the system was designed, developed and then manufactured by AWA Defence Industries (AWADI) (now BAE Systems Australia). The word "Nulka" is of Australian Aboriginal origin and means "be quick".
ESSM คือ Anti Ship Missile
Nulka ก็น่าจะเป็น Anti Ship Missile ที่รองรับจากการที่ ESSM ไม่สามารถ สกัด ได้ หรือ มี จำนวนที่มากเกิน ความสามารถในการยิง ESSM หรือ ทำการยิง ESSM ไม่ทัน...
ในความเห็นผม มันก็ควรจะรวมนับเป็นจำนวน Anti Ship Missile ด้วย...
ส่วนในภาพของท่านJuldas ที่เป็นเรือUSS Lake Erie หลังจากยิงจรวดจากVLSไปแล้ว รอยไหม้ที่เห็นนั้น มีแต่เพียงภายนอก
ภาพประกอบแรก Mk41 แยกส่วนประกอบออกมา จะเห็Canisterซ้ายสุด ตามด้วยฐาน ที่มีท่อสำหรับระบายแก๊สร้อน และแบบเต็มๆ
ภาพที่2 Mk15 mod 0 Canister ของVL-ASROC สังเกตด้านท้ายของCanister จะมีช่องระบายแก๊ส ซึ่งจะต่อกับฐานที่มีช่องระบายแก๊สสู่ด้านบนของVLS ซึ่งเป็นช่องใช้ร่วมกันของ8cell
ที่จะสื่อคือ ตัวโครงสร้างของแต่ละCell แทบจะไม่ได้สัมผัสแก๊สร้อนจากจรวดเลย และตัวช่องระบายเองก็สัมผัสในเวลาสั้นมากๆ ประมาณ1วินาทีนิดๆ แถมยังมีระบบsplinkler หล่อเย็นในตัวกรณียิงต่อเนื่องจนร้อนอีกด้วย ...... ซึ่งแน่นอนหลังยิงต้องมีการซ่อมบำรุงแน่ๆ
แต่อย่างที่ท่านJuldasพูดว่า เมื่อยิงไปแล้วแต่ละcellไม่เหมาะที่จะยิงซ้ำอีก จึงเป็นการพูดผิดชัดเจน
(เรื่องรล.พุทธ มีท่อยิงharpoonแค่2 ต้องขออภัย .......มี4จริงๆ คือแถวท่อยิงหมายเลข1 และ 4(ท่อยิง1 4 5 8)
ถ้าความหมาย มันคือ อย่างนั้น ก็เรือปัจจุบันมันติดตั้ง VLS อยู่แล้วนี่ครับ...ก็ไม่ต้องออกแบบโครงสร้างอะไรเพื่อรองรับ..ในส่วนท้ายของ หมายเหตุ ก็น่าจะหมายถึง การปรับปรุง VLS เดิม ให้สามารถใช้งานได้ด้วย...เป็นความหมายนี้ ก็น่าจะได้ เหมือนกันครับ...
ก็น่าจะคล้ายกับที่ท่าน MiCro ที่โพสภาพเรือสเปน เคยให้ความเห็นไว้เหมือนกันว่า...แนวโน้มน่าจะมีการเพิ่ม VLS และอาจจะให้ Nortrop หรือ Raytheon ทำ CWI ให้...
ก็เป็นความเห็นส่วนตัวของผมไงครับ ว่าผมมีมุมมองอย่างนี้ โดยข้อมุลที่แสดง คือ การอธิบายว่าทำไม ผมถึงมีมุมมองแบบนั้นครับ...ไม่ได้หมายถึงว่า ความเห็นผมถูกต้อง...
และผมถึงว่า ผมก็อยากทราบความหมายที่ว่า ทำไม ปริมาณ ของ SAM (อาวุธนำวิถีทุกชนิดที่ต่อต้านอากาศยาน) ถึงต้องใช้ตัวเลขสูงสุด ที่ 32....และตัวเลข 16 สำหรับเรือชั้น FREMM ของอิตาลี่ และ F-123 ของ เยอรมัน ความหมายมัน คืออะไร...ทำไม ไม่ใช่ ตัวเลข 32...
ซึ่งมันจะอธิบายได้ว่า...ทำไม เรือฟริเกตใหม่ ถึงจะมีตัวเลขของ SAM สำหรับเรือที่ 16...เพราะมันต้องแบ่ง cell ให้ VL-ASROC
ในเมื่อความสามารถในการยิงของเรือแต่ละลำ ในการยิงแต่ละครั้ง มันก็ รองรับ ได้ ครั้งละ 1 เป้าหมาย ถึง 4 เป้าหมาย เท่านั้น....
ก็เป็นความเห็นส่วนตัวของผมไงครับ ว่าผมมีมุมมองอย่างนี้ โดยข้อมุลที่แสดง คือ การอธิบายว่าทำไม ผมถึงมีมุมมองแบบนั้นครับ...ไม่ได้หมายถึงว่า ความเห็นผมถูกต้อง...
--------- หากคนจำไปผิดๆก็จะแย่ ก็เลยช่วยแก้ให้ มิเช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดประเด็นเข้าใจผิดแล้วลือกันต่อไปก็ได้
ด้วยความเคารพ ไม่ได้อยากชนะคะคานกัน
และผมถึงว่า ผมก็อยากทราบความหมายที่ว่า ทำไม ปริมาณ ของ SAM (อาวุธนำวิถีทุกชนิดที่ต่อต้านอากาศยาน) ถึงต้องใช้ตัวเลขสูงสุด ที่ 32....และตัวเลข 16 สำหรับเรือชั้น FREMM ของอิตาลี่ และ F-123 ของ เยอรมัน ความหมายมัน คืออะไร...ทำไม ไม่ใช่ ตัวเลข 32...
ซึ่งมันจะอธิบายได้ว่า...ทำไม เรือฟริเกตใหม่ ถึงจะมีตัวเลขของ SAM สำหรับเรือที่ 16...เพราะมันต้องแบ่ง cell ให้ VL-ASROC
-------อันนี้จริง แต่ยังสงสัยว่าทำไมเรือแต่ละลำถึงต้องมีVLS ในจำนวน8 (xเท่าไหร่ก็ว่าไป) .......หากว่าเอาแท่นโบราณอย่างMk13 และ Mk26 เป็นฐาน อย่างMk13 มี40ลูก Mk26 Mod 0 ,1, 2,3,4,5 มี 24 ,44, 64, 24, 44, 64 ตามลำดับ ก็ดูเหมือนจะมีเหตุผล
อย่างMk26 mod 5 บนเรือTicon มี44ลูก ticon จึงติด VLS Mk41 แบบ61cell (รุ่นเก่า)หรือ 64cell (รุ่นใหม่ๆ) เพื่อให้ได้ปริมาณจรวดมากขึ้น
ขอสันนิษฐานนี้ของท่านJuldas ดูสมเหตุสมผลดีทีเดียว
ในเมื่อความสามารถในการยิงของเรือแต่ละลำ ในการยิงแต่ละครั้ง มันก็ รองรับ ได้ ครั้งละ 1 เป้าหมาย ถึง 4 เป้าหมาย เท่านั้น....
-----------อันนี้ ไม่แน่ ESSM และSM-2 มีโหมดMidcourse guidance ซึ่งหากจัดsequenceการยิงดีๆ อาจจะต่อตีได้มากกว่านั้น (เรียงลำดับความสำคัญเป้า และให้โหมดMCGทำงาน บรรดาilluminatorทั้งหลายก็ไม่ต้องส่องเป้าตลอดเวลา ส่องเฉพาะตอนจรวดใกล้ถึงเป้าแล้วหลังจากนั้นก็หันไปเป้าอื่นต่อ )
ชื่นใจ...ที่ถกกันด้วยเหตุผล แบบคนมีอารยะ สุดท้ายก็เข้าใจไปในทางเดียวกันไดั แม้จะมีความเห็นที่ยังคงแตกต่างกันอยู่ก็ตาม แต่ก็ต่างยอมรับในความคิดเห็นซึ่งกันและกันด้วยดี
ท่าน Juldas คงพอเข้าใจประเด็นของผมชัดเจนขึ้นแล้วนะครับ และก็ต้องขอขอบคุณท่าน icy_cmu ที่ช่วยขยายความให้กระจ่างแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น ลึกขึ้น ถูกต้องมากขึ้นครับ แต่...การทีีท่านหยิบยกเรื่อง MCG มาแบบนี้ ผมว่ามันไม่ดีนะครับ เดี๋ยวเพื่อนสมาชิกจะ "จิ้น" กันไปมากกว่าเดิม ยังไงซะในเบื้องต้นนี้คงได้แต่เดาเท่านั้น เพราะเจ้า Long Range 3D Radar ยังเป็นแค่เครื่องหมายคำถามได้อย่างเดียว ซึ่งโอกาสความเป็นไปได้มันก็น้อยมากๆ เลยด้วยสิครับ
ส่วนเรือของอิตาลีที่ท่าน Juldas ยกตัวอย่างนั้น หากเรือลำใหม่นี้สามารถบรรจุได้เท่ากันผมคงไม่บ่นหรอกครับ ท่านลองคำนวนดูแล้วกันว่าต้องติดตั้ง VLS อย่างน้อยกี่ท่อ ถ้าจัดตามสเปกทร.ไทยก็เป็น 8*ASROC , 8*SM-2 , 8*ESSM (แต่ระบบของเรืออิตาลีจะได้เปรียบหากจะต้องเลือกใช้ Aster-30 ได้ทั้งหมดสูงสุด 16 ลูกก็สามารถทำได้ใช่ไหมครับ) ของเราน่ะขอแค่ 16 Cells ก็พอครับ
ปล.ผมน่ะแค่บ่นระบายออกมาน่ะครับ ทั้งที่เข้าใจอยู่ว่าทั้งหมดเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ แต่ยังไงเสียทร.ก็น่าจะทำให้กระจ่างให้ดีกว่าที่ทำเหมือน "โฆษณาชวนเชื่อ" แบบที่ทำอยู่ โดยเฉพาะที่การบอกว่า จำนวนท่อยิง VLS ที่มีอยู่ 8 Cells นั้นเหมาะสมและเพียงพอแล้ว ทั้งที่ความจริงมันก็เห็นกันชัดๆ ว่ามันน้อยเกินไป ไม่สมกับที่พยายามใช้ชื่อโครงการซะสวยหรูว่า "เรือฟริเกตสมรรถนะสูง" ก็แค่นัั้น
ผมเข้าใจเจตนาท่าน Icy_CMU ครับ...และผมมักจะใช้คำว่า ความเห็นส่วนตัว อยู่เสมอ...แต่ก็เป็นแนวคิด ที่ผมให้เผื่อใจไว้นิดนึงครับ...เพราะปัจจุบัน MK-41 ผมยังไม่มีข้อมูลว่ามีการใช้หมดทุก cell แล้วทำการ บรรจุใหม่ รอบสอง...ของเรือลำไหน น่ะครับ...หรือถ้า ท่านไหนมีข้อมูล ก็มาแชร์แลกเปลี่ยนกันครับ...
เพราะ ในแง่ตรรกะแล้ว ผมเชื่อว่า เมื่อมีการใช้ cell ไหนไปแล้ว...ก็คงใช้ cell ที่เหลือต่อไป จนหมด หรือคงเหลือ cell ที่ไม่ได้ใช้งาน อยู่ในปริมาณต่ำกว่าอัตราพร้อมรบที่กำหนด แล้วถึงจะมีการ บรรจุ รอบสอง...ซึ่งในตรงนั้น น่าจะเป็นข้อมูลว่า ค่าใช้จ่ายในซ่อมบำรุง หรือ การนำกลับมาใช้ใหม่ มันมีผลข้างเคียง อะไรหรือไม่ ครับ...
MK-13 รุ่นเดิม จำนวน 40 นัด จะเป็น Harpoon จำนวน 8 นัด (จำนวนมาตรฐานสำหรับ SSM)...คงเหลือ สำหรับ SM-1 จำนวน 32 นัด (สำหรับ SAM)...แต่รุ่น อัพเกรด เหมือนกับว่า จะไม่มีการจำกัดแบบ...แต่ไม่รู้ว่า มีใครทำไปแล้วบ้าง ทั้ง ตุรกี และ ออสเตรเลีย ที่มีข้อมูลในโครงการ อัพเกรด เรือ OHP....
ซึ่งผมดูแล้ว แนวโน้มของเรือฟริเกตใหม่ คงมี SAM ในอัตรา 16 นัด สำหรับทั้ง SM-2 และ ESSM...น่าจะออกมาล้กษณะเดียวกับ FRAMM ของ อิตาลี่ คือ ผสม กัน...แต่ถ้ายังไม่มี SM-2 ก็คงเป็น ESSM จำนวน 16 นัด...ซึ่งหมายถึง 4 cell...
จากข้อมูลตรงนี้...ก็เลยคิดว่า ถ้า ทร. จะติดตั้ง Nulka...ก็ใช้ระบบแบบแท่นยิงธรรมดาน่าจะดีกว่าการใช้ใน VLS...จะทำให้มี Anti Ship Missiles รวม 24 นัด...ซึ่งถ้า สมมติ ทร. มีการติดตั้ง VLS เพิ่มอีก 1 ระบบ...และใช้สำหรับ SM-2 อย่างเดียว...เมื่อรวมทั้งหมด ก็จะทำให้ เรือฟริเกต มี Anti Ship Missiles รวม 32 นัด เสมือนกับการมี SAM ในอัตราสูงสุด...
หรือกรณี สมมติ มีการเพิ่ม VLS อีก 1 ระบบ อาจจะจัดเป็น แบบนี้ก็ได้
SAM = 16 นัด ( SM-2 จำนวน 8 cell, ESSM จำนวน 2 cell)
VL-ASROC = 6 นัด (จำนวน 6 cell)
Nulka = 8 นัด ใช้แท่นยิง MK-53
ก็จะใกล้เคียงกับ สมรรถนะกับ FRAMM ของ อิตาลี่...คือ มี VL-ASROC น้อยกว่า MILAS จำนวน 2 นัด...แต่มี Anti Ship Missiles มากกว่า คือ มีรวม 24 นัด นอกเหนือจาก Decoy ประจำเรือ...
แต่ถ้า ตัวเรือ สามารถติดตั้ง VLS ได้รวมถึง 3 ระบบ...
ก็อาจจะจัดเป็น
SAM = 24 ( SM-2 จำนวน 8 cell, ESSM จำนวน 4 cell)
VL-ASROC = 12 (จำนวน 12 cell)
Nulka = 8 จากแท่นยิง MK-53
ก็จะทำให้เรือมี Anti Ship Missiles รวม 32 นัด (เสมือนอัตราสูงสุดของ SAM) และมี VL-ASROC เทียบเคียงมาตรฐานของเรือ DDH-181 ของ JMSDF...
ผมว่าถ้าSM-2ไม่เป็นเลข2หลัก...อย่าใส่เลยดีกว่าครับ
ถ้าใส่ได้24cellจริง ขอเป็น16 SM-2 + 8 ASROC
หรือ 12 SM-2 + 16 ESSM + 8 ASROC
หรือ16 SM-2 + 16 ESSM + 4 ASROC
จะเหมาะกว่าแบกSM-2ไปแค่8ลูกครับ สมมติเราใช้SM-2 2ลูกต่อเป้า 8นัดจะต่อตีได้4เป้า 12นัดได้6เป้า 16นัดได้8เป้า คูณสองลำไป จะมี32นัดเท่าๆกับเรือAAWลำนึงแต่ได้ความสามารถปราบเรือดำน้ำมาด้วย ระยะยิงใกล้ๆใช้ESSMจากชุดนเรศวร
ส่วนทำไมเรือส่วนใหญ่ถึงพกไป32ก็น่าจะ
อย่างไรก็ดีตามที่ท่านJuldasว่ามา
ยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้เลยว่า ทำไมVLS ไม่ทำกันเป็น10cell 12cell หรือ 4cell ? ทำไมต้องมีฐานจาก8cell
อันนี้หาคำตอบมานานแล้ว ไม่ว่าจะSylver Mk41 หรือแม้กระทั่งท่อยิงของBarak หรือ Umkhonto หรือseawolf (32ท่อ/ 4แถว แถวละ 8)หรือแม้กระทั่งสายรัสเซียอย่างท่อยิงS-300 บนSlava ก็เป็นแบบโรตารี่8ลูก ท่อยิงKlub(UKSK) ก็8 Redutสำหรับ 9m96ก็8
จะมีแหวกๆหน่อยก็VL-Shtil 12cell HQ-9 6cell CAAM (Sea Ceptor) 4cell
แต่พื้นฐานส่วนใหญ่ของVLS จะมีฐานมาจากเลข8 ทั้งนั้น
มันน่าคิดจริงๆว่า 8ท่อยิงของแท่นSSMโดยปกติ ก็เป็นเลข8 (หรือในSAMพิสัยใกล้-กลาง ยุคก่อนๆ ก็ใช้8ท่อยิง อย่างMk-29, Albatross )
ฐานตัวเลขจาก 8 มันมีเหตุมาจากความต้องการทางยุทธวิธี หรืออะไรกันแน่ ??
edit :
อย่างกรณีESSMบนเรือใหม่ โดยคหสต.อย่างน้อยควรจะมีสัก 16ลูก หรือ ใส่ใน4cell (quad pack) เครื่องบิน1หมู่ 4ลำ แบกอวป.ไปได้อย่างน้อย 2ลูก ก็8ลูก หรือ SSMจากเรือ ก็8ลูก การยิงปกติ(โดยไม่ซ้ำสอง) ตามหลักการการเพิ่มโชคการยิงถูก จะใช้อวป.2ลูกต่อ1เป้า
เท่ากับว่าจะต้องมีESSMอย่างน้อย 16ลูก ในการยิงป้องกันรอบแรก หากจะซ้ำในกรณีที่หลุดมาได้หมด(สมมติเหตุการณ์เลวร้ายจริงๆ) ก็น่าจะเป็นเหตุให้ESSM (หรือจรวดประเถทอื่นๆ) จะต้องมีจำนวน 32 ลูกเป็นพื้นฐาน หรือเปล่า???
ใช่แล้วครับทั้งสองท่าน (เข้าใจตรงประเด็นกันซะที) ผมก็ว่าไม่ควรยัด Nulka ลงไปใน VLS ให้เปลืองท่อยิงอีก ยิ่งมีน้อยไม่พอใช้อยู่ด้วย ตัวแท่นของ Nulka เองก็ไม่ได้ใหญ่โต ติดตั้งก็ไม่ได้ยากเย็น ส่วนเรือที่อยากให้เทียบก็คือ ANZAC ที่ปรับปรุงใหม่ มีที่ว่างให้ติดตั้ง Mk.41 ได้ 2 ชุด แต่ปัจจุบันติดแค่ชุดเดียวเพราะบรรจุแค่ ESSM อย่างเดียว 32 ลูก ซึ่งเพียงพอแล้วครับ ส่วนอีก 8 ท่อน่าจะเผื่อไว้หากอนาคตสามารถปรับปรุง CEAMOUNT ให้ใช้ SM-2 ได้ ค่อยติดตั้ง จะสังเกตุว่า ไม่ได้ใส่ Nulka ลงไปในท่อ VLS แต่อย่างใด
ส่วนเรื่องจำนวน SM-2 ตามความเห็นของท่าน Phu2000 ก็ตรงกันครับ แต่คงต้องยอมรับและทำใจไว้ล่วงหน้าเลย เพราะว่าโอกาสเป็นไปได้ยากมากๆ ถ้าใส่ได้ถึง 8 ลูกก็ดีแล้วล่ะครับ
ท่าน superboy ด้วยความเคารพ เพื่อความถูกต้อง ปืน 76/62 OTO ที่ท่านกล่าวถึงนั้นเป็นรุ่น Strales ครับ Dart เป็นชื่อกระสุนที่ใช้ระบบนำวิถีที่ใช้เรดาร์จากตัวปืนช่วยปรับแก้วิถีโคจรให้ตรงเป้าหมายครับ
ส่วนเรื่องจำนวนท่อยิงจำนวนจรวดที่เป็นเลขฐาน 2,4,8 นั้นน่าจะมาจากยุทธวิธีการรบในปัจจุบันครับ ที่นิยมยิงแบบ 2 นัดต่อ 1 เป้าหมายเพื่อความแน่นอน ทั้งการโจมตีและการป้องกัน ส่วนที่ทำไมจึงเป็น 8,16,32 ก็คงเป็นเรื่องของขนาดที่พอเหมาะของระบบในการติดตั้ง ขยับขยายเคลื่อนย้าย ได้อย่างสะดวกและลงตัว สมัยก่อนลูกจรวดมีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก ท่อยิงก็ใหญ่จึงติดตั้งแบบเดี่ยวหรือเป็นคู่ๆ ต่อมาเทคโนโลยีพัฒนาสูงขึ้นขนาดเล็กลงน้ำหนักน้อยลงจึงจับรวบเข้าด้วยกัน ซึ่งมัดที่พอเหมาะพอดีก็จะเป็น 4 ท่อยิง หน้าตัดรูปจตุรัส สามารถจัดวางได้ง่ายและหลากหลาย ประหยัดเนื้อที่ได้มาก เมื่อจะจัดวางให้สามารถยิงเป้าหมายได้ทั้งสองฝั่งก็ต้องติดตั้ง 2 ชุด มันก็เป็น 8 ลูกนั่นเอง (เรือรุ่นเก่าอย่างพวกรจอ.ยิงได้กราบละ 2 ลูกเองนะครับ) ความจริงถ้าไม่ติดเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่าย,พื้นที่และน้ำหนักแล้วล่ะก็ คงออกแบบเรือให้นัดจรวดกันได้เป็นร้อยลูกกันหมดแหละครับ
ตัวที่ผมกลับสงสัยมากกว่าคือ แท่นยิงตอร์ปิโดทำไมจึงทำเป็นแบบแฝด 3 เพราะจำนวนก็ขัดกับหลักนิยมทางยุทธวิธี ที่ยิงทีละ 2 ลูก/เป้า คงมองได้แค่เรื่องของขนาดและน้ำหนักของแท่นยิงเท่านั้น(มั้ง)ครับ
ขอแทรกโฆษณานิดเดียวครับท่านจูดาส ดูเหมือนเรืออิตาลีจะใช้ปืน76/62 DARTเป็นCIWSนะครับ อิตาลีมีคอนเซปว่าเรือเราทุกลำต้องมีCIWS(ตามแบบแผนของเขา)จึงไล่ติดDARTไปทั่วตั้งแต่เรือบรรทุกเครื่องบินไปจนถึงเรือOPV ขนาดปากกระบอกปืนก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆนี่ถ้าพี่แกใช้127ได้คงไม่ลังเลแน่นอนผมว่านะ :(
สงสัยแต่ว่า 76/62ที่เขาถอดออกจะเอาไปไว้กันนะ ส่งเขาโรงงานไปรีบิวด์ใหม่ขายต่างประเทศมั้ง
สี่ก็มีครับ แต่ขนาดเล็กกว่า
รบกวนถามเรื่องSonar ATLASท้ายเรือ อ้างอิงตามนี้ได้หรือไม่ ผมจะได้ปรับปรุงรูปท้ายเรือใหม่ครับ
อ้างอิงได้เลยครับท่านcute ^_^
คุยเรื่องท่อกันมาทั้งวันผมเลยแวะมาโพสก่อนนอนบ้าง เรือฟริเกตTYPE26 เวอร์ชั่นสุดท้ายยาว148เมตร ระวางขับน้ำ5,400ตัน มีการจัดเรียงท่อได้วุ่นวายดีแท้
หัวเรือปืน127ของอิตาลี ยกสุงขึ้น1ชั้นแล้วติดฟาลังซ์แบบฝังพื้น(ทำได้ด้วยเหรอ) ด้านหลังติดหอบังคับการเป็นMK-41 VLS strike lenghtจำนวน24ท่อ (ต้องเอาหน่วยหละ8จำนวน3หน่วยมารวมกัน)ไม่ใช่32แล้วครับท่านจูดาส เหอๆ ว่าแต่ประตูทางเข้าเยอะมากทั้งที่ข้างในเป็นท่อVLSทั้งนั้น
ด้านซ้ายและขวาของฟาลังซ์เป็นจรวดCAMM VLSแบบ3x4=12ท่อ รวมกันได้24ท่ออีกแล้ว กลางเรือด้านซ้ายมือของปล่องท่อไอเสียติดCAMM VLSอีกจำนวนหนึ่ง ดูจากภาพน่าจะเป็น2x12=24ท่อ รวมแล้วเรือลำนี้มี CAMM 48นัดและ(คาดว่าจะเป็น)SM-2 24นัด สำหรับต่อสู้อากาศยาน ไม่มีแท่นจรวดSSMเลยซักท่อเดียว ไม่มีลูกยาวปราบเรือดำน้ำ(ปรกติอังกฤษติดบ้างไหมไม่คุ้นเลย)
ถ้าอังกฤษอยากใช้VL-ASROCหรือLRASMคงต้องมาแบ่ง24ท่อข้างหน้ากันวุ่นวายเหมือนเราแน่ แต่คิดว่าเป็น 16 SM-2 + 8 LRASM มากกว่าและใช้สตริงเรย์modล่าสุดสำหรับปราบเรือดำน้ำ
ด้านท้ายเรือเป็นฟาลังซ์ตรงกลางเหนือโรงเก็บและตีฐานกว้างๆออกไปซ้ายขวาเพื่อติดDS-30M(อีกแล้ว) ไม่นับปืนกลเล็กๆที่อาจจะมีแต่แค่นี้ก็มี5กระบอกเข้าไปแล้ว โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์1ลำ
CAAM (หรือชื่อตอนติดบนเรือว่าSea Ceptor ) เป็นQuad-pack หรือจะSingle ก็ได้
เพราะฉะนั้น เรือลำนี้จะติดSea Ceptorได้สูงสุดถึง 96*2 = 192ลูก
ส่วนVLSด้านหน้านั้นยังไม่ตกลงว่าจะเป็นSylver A70 หรือ Mk41 Strike
แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับSM-2 หรือ VL-ASROC แต่มีไว้สำหรับCruise Missile โดยเฉพาะ
หากเป็นSylver จะใช้Scalp-Naval หากเป็นMk41 อาจจะเป็นLRASM หรือ Tomahawk
ส่วนการป้องกันภัยทางอากาศระยะไกล จะใช้Type 45 ในการป้องกันทั้งกองเรือ (เรือType 26 จะมาแทนType 22 และ 23 ซึ่งไม่ได้รับภารกิจAAW ระยะไกลอยู่แล้ว---------แต่ถ้ารุ่นส่งออกนี่ไม่แน่ อาจจะมีเลย์เอาท์ต่างจากต้นแบบพอควร)
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=828
http://www.defenseindustrydaily.com/britains-future-frigates-06268/
ภาพ CAAM(Sea Ceptor) Quad pack (ใช้ระบบCold Launch .....ไม่ต้องมีvent สำหรับระบายไอร้อนจากจรวด)
ส่งการบ้านครับ..พยายามเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด คิดว่าใกล้เคียงนะ ระหว่างที่รอกว่าเรือลำนี้จะต่อเสร็จก็ดูเรือผมไปก่อนแล้วกัน
อยากทำบ้างจังใช้โปรแกรมอะไรกันครับ XD
เรือท่านcuteผมติงนิดเดียวว่าลานจอดมันสั้นไปนิดนึงครับ ส่วนเฮลิคอปเตอร์S-70Bใบพัดหน้าหลังไม่เท่ากันและยังมีตราอเมริกาติดอยู่ แต่ถ้าแก้แล้วกลัวความยาวเรือเพี๊ยนปรับให้พื้นเรือมันเท่ากันก็พอ
ภาพที่ท่านไอซ์ลงเมื่อคืนผมก็เห็นอยู่นะแต่มองแล้วก็ผ่านเพราะดันยึดติดกับคำว่าmini-silos แบบนี้เรือที่ติดseawolfสบายเลยเพราะใส่ได้เพิ่มอีก4เท่าตัว เรือมาเล เรืออินโดที่ซื้อต่อจากบรูใน รวมไปถึงเรือหลวงกระบี่ด้วย(มาได้ยังไงเนี่ย)
แต่ว่าแหม อุตส่าห์เชืยร์ออกนอกหน้าให้อังกฤษใช้SM-2เสียหน่อย การกระทำของBAEอาจจะส่งผลบุญมาให้บริษัทลูกบ้างก็เท่านั้นเอง หมดกัน เรืออังกฤษยิงได้ไกล25กม.ครับพี่น้องแต่มีจรวด196ลูกเอง
หากจำไม่ผิด โครงการSea Ceptorจะติดให้Type 23 แทนSeawolf ด้วย จากSeawolf 32ลูกจะกลายเป็นSea Ceptor 48ลูก (12ท่อ)
http://www.mbda-systems.com/e-catalogue/#/solutions/maritime/40/video
ผมว่าการมี SM-2 จำนวน 8 นัด กับ ESSM จำนวน 8 นัด ก็ดูจะไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ครับ...
ASTER 15 มีระยะไม่เกิน 30 ก.ม.
ASTER 30 มีระยะไม่เกิน 120 ก.ม.
ESSM มีระยะไม่เกิน 50 ก.ม.
กรณีเปรียบเทียบ ถ้าเรือสามารถจับเป้าหมายได้ (ที่แน่ใจว่า ใช่ ศัตรู) ที่ระยะเกินกว่า 30 ก.ม.
เรื่อที่ใช้ ASTER ก็คงต้องเลือกใช้ ASTER 30 ก่อน แล้วจึงใช้ ASTER 15 เป็นลำดับต่อมา...
เรือที่ใช้ ESSM ก็สามารถใช้ ESSM ตามปกติ
ส่วน SM-2 ก็เอาไว้ใช้สำหรับในระยะที่เกิน 50 ก.ม. ขึ้นไป
เป้าหมายที่แน่ใจว่า ใช่ ศัตรู มากกว่า 50 ก.ม. ASTER 30, SM-2
เป้าหมายที่แน่ใจว่า ใช่ ศัตรู มากกว่า 30 ก.ม. ASTER 30, ESSM
เป้าหมายที่แน่ใจว่า ใช่ ศัตรู น้อยกว่า 30 ก.ม. ASTER 15, ESSM
ซึ่งดูแล้ว ESSM จะมีโชคการทำลายสูงกว่า ASTER 15
และถึงเรือรบลำนั้น จะติดตั้ง ASTER 30 แต่ก็ต้องนำมาใช้แทนระยะความสามารถของ ESSM ด้วย...
สำหรับระยะข้างต้น จะหมายถึง ระยะของแรงขับจรวด ที่ ระยะความสูง + ระยะแนวนอน = ระยะไกลสูงสุด ใช่หรือเปล่า ? (ไม่ทราบครับ)
ท่านicy_cmu ในcripที่เปลี่ยนsea ceptorcแทนseawolfในType23 เห็นติดตั้งแค่12ท่อยิง (48ลูก) ฝั่งเดียว แล้วอีกฝั่งจะติดตั้งอะไรเหรอครับ หรือว่าสำหรับCruise Missileครับ
อังกฤษเริ่มติดตั้งSea CeptorในType23 ในปี 2016 แต่พอปี 2023 HMS Argyll จะเป็นเรือลำแรกในจำนวนที่ยังเหลือ13ลำที่จะปลดประการไล่ไปเรื่อยๆจนถึงปี2036 สงสัยจะติดไม่ครบทุกลำแฮะลำแรกนี่คงไม่ติดแน่ๆเซ็งเลย เห็นเรือใหญ่ๆแล้วนึกชอบทุกลำแต่ถ้ายังเป็นSeawolf ก็ไม่น่าสนเท่าไหร่แล้ว
พอส่องเข้ามาใกล้ๆCIWSของเรือType26 นี่มันRayhtheon Defender ที่เป็นที่สุดของแจ้ในตระกูลฟาลังซ์เลยนี่นา แม่เจ้า!!ราคาเท่าไหร่เนี่ย เอาท้ายเรือพุทธไปอัพเกรดได้ไหม เหอๆๆ
อีกเรื่องครับ เรืออังกฤษมือ2ขายไม่ออกหรือเป็นนโยบายกันแน่ Type 22 ขาย3ล้านปอนด์เพื่อเอาไปscrap ส่วนType 42 ที่เพิ่งปลดลำสุดท้ายไม่นานก็ไม่มีข่าวเรื่องขายเรือเลย แต่ดูระบบอาวุธก็ไม่เข้ากับชาวบ้านเท่าไหร่เลยนะถ้าเราเอามาคงวุ่นวายกว่าเรืออิตาลีอีก ส่วน เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Ark Royal ถูกขายไปปีที่แล้ว3ล้านเพื่อแยกเป็นเศษเหล็ก นะ
ด้วยความเคารพทุกท่านนะครับ เพื่อความถูกต้องในข้อมูลต่างๆ
ระบบจรวด CAMM : Sea Ceptor ที่ติดตั้งบน Type 26 มีจำนวน 48 ลูก แบ่งเป็น 3 หน่วย บนดาดฟ้ายกหน้าสะพาน 2 หน่วย (หน่วยละ 12 ลูก) สองข้างของ Phalanx และ อีกหนึ่งหน่วย (24 ลูก) จะอยู่บนหอข้างปล่องควัน (Funnel Tower) ทั้งนี้ตัวท่อยิงนั้นเป็นแบบเฉพาะใช้ Single Canister ที่มีขนาดเล็กกว่าราคาถูกกว่าทั้ง Mk.41 และ Sylver เพราะเป็นระบบ Cold Launch ไม่ต้องมีท่อระบายและระบบป้องกันไอร้อน หากสังเกตุจากภาพ CG เปรียบเทียบระหว่างท่อยิงของ Sea Ceptor กับ ท่อยิง Cruise Missile 24 ท่อที่อยู่หน้าสะพาน (ซึ่งยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็น Mk.41 หรือ Sylver) จะเห็นได้ว่าท่อยิงของ Sea Ceptor มีขนาดเล็กกว่าอย่างชัดเจน
ส่วนภาพที่ท่าน Icy_cmu โพสนั้น เป็นการร่วมมือกันระหว่าง MBDA กับ Raytheon ในการบรรจุ Sea Ceptor ด้วย Quad Pack Canister ลงไปในท่อยิงแบบ Mk.41 และ Mk.57 เพื่อการส่งออกสู่ตลาดครับ ประมาณว่าเจาะกลุ่มประเทศที่มีใช้ระบบ VLS แบบ Mk.41 อยู่แล้ว ซื้อไปใส่ได้เลย
ด้วยจุดเด่นของ Sea Ceptor : ที่พัฒนามาจาก ASRAAM แต่ใช้ระบบ Active Radar Homing ที่สามารถใช้ร่วมกับระบบเรดาร์ได้ทุกแบบ เป็นจรวด Fire & Forget ที่ไม่ต้องใช้ระบบเรดาร์ชี้เป้า illuminator ระยะยิง 25 กม. และยิงจากท่อแบบ Cold Launch ด้วยแรงอัดอากาศ จึงทำให้ระบบท่อยิงมีขนาดเล็กน้ำหนักเบาติดตั้งได้ง่ายและมีราคาถูกกว่าทั้ง Mk.41 และ Sylver
ปล. ทำให้นึกถึง Iris-T SL เลยนะครับ ถ้าหากมีระบบ Naval ด้วยก็คงน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
ถามจริงแล้วมีขีปนาวุธยิงแนวดิ่งโจมตีเรือบ้างไม ใส่ในแท่งยิงMK41ทำให้ประหยัดพื้นที่จัดวางนะผมว่า แล้วทำให้จำนวนอาวุธเยอะขึ้นด้วย แบบไม่ต้องวางแท่งยิงแนวเฉียงเอาเป็นVLSกลางลำเรือแทน
^
มีLRASMไงครับ แต่ยังไม่มีใช้จริงและใช้ได้แค่กับรุ่นStrike
ปัจจุบันVL-AShM คงมีแต่ของสายพี่หมีล่ะมั้งครับ
ส่วนภาพที่ท่าน Icy_cmu โพสนั้น เป็นการร่วมมือกันระหว่าง MBDA กับ Raytheon ในการบรรจุ Sea Ceptor ด้วย Quad Pack Canister ลงไปในท่อยิงแบบ Mk.41 และ Mk.57 เพื่อการส่งออกสู่ตลาดครับ ประมาณว่าเจาะกลุ่มประเทศที่มีใช้ระบบ VLS แบบ Mk.41 อยู่แล้ว ซื้อไปใส่ได้เลย
---------------------------------------------
ในภาพนั้นเป็นภาพของ VLS ของSea Ceptor ไม่ใช่ทั้งSylver หรือ Mk57 Mk41 เพราะ ไม่มีvent ระบายไอร้อน(ซึ่งจะอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของVLS )
และVLS ของSea Ceptor เอง ออกแบบในลักษณะไม่ใช่โมดูล(กลุ่ม 8 หรือ 4ท่อ) แต่เป็นท่อแยกในลักษณะเดียวกับ Mk41 SCL
อย่างในภาพจากVDOของMBDAเอง ที่ติดตั้งให้Type 23 แทนSeawolf
เพราะฉะนั้น canisterของVLS สำหรับ sea ceptor จึงมีทั้งแบบQuad pack และ Single Canister เพื่อตอบสนองการใช้งานบนเรือที่แตกต่างกัน และ canister quad pack ของ sea ceptor ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ Mk41/57 หรือ sylver อย่างเดียวเท่านั้น
แต่โดยส่วนตัวคิดว่า VLS สำหรับ sea ceptor บนไทป์26 ยังไม่ชัดเจนนัก และMBDA เองก็ยังออกแบบไม่เสร็จ ยังเร็วเกินไปที่จะพูดว่า Sea Ceptor บนไทป์26 เป็นquad packหรือไม่
“On other platforms [beyond the Type 23], the Soft Vertical Launch system allows for considerable flexibility in launching arrangements and significantly higher packing densities can be achieved. The design of the Sea Ceptor launcher on Type 26 is not yet finalised.”
http://www.defenseindustrydaily.com/i-think-i-camm-britains-versatile-air-defense-missile-07293/
อ้อ...ครับๆ คือมันยังอยู่ระหว่างช่วงพัฒนา ทุกอย่างยังไม่ได้บทสรุปที่ชัดเจน (not yet finalised) ....ก็ถึงว่าสิ เพราะหากมีท่อยิงแบบ Quad Pack ของตัวเองแล้วล่ะก็ มันยิ่งจะกระทัดรัดมากกว่าระบบท่อยิงเดี่ยวแบบ 12 ท่ออย่างแน่นอน แต่จากรูปของท่าน superboy นี่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนครับ ว่าท่อยิงของระบบ VLS แบบ 12 ท่อนั้นเป็น Single Canister เพราะมีขนาดเล็กกว่า Mk.41 หรือ Sylver ค่อนข้างมาก จึงไม่น่าจะสามารถบรรจุลูกจรวด Sea Ceptor ในแบบ Quad Pack ได้น่ะครับ อย่างไรก็ตามหากเรือ Type 26 เปลี่ยนมาติดตั้งระบบท่อยิงที่สามารถใช้ Quad Pack Canister แทน ก็จะทำให้บรรจุจรวดได้มากขึ้นในพื้นที่น้อยลงอีกด้วย
ผมว่าเราวกกลับมาที่เรือของรบเรากันดีกว่า คือในฐานะที่ผมอยู่ในวงนอกมาตลอดและคอยอ่านเพื่อเก็บมูล ไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นมากนัก แต่ที่ผมสงสัยและอยากถามคือ ตรงบริเวณ Phaplanx ตรงนั้นถ้าสมมุติว่าถอดออกไปมันจะไม่สามารถเพิ่ม VLS mk. อีก 8 ท่อยิงได้จริงๆหรือครับ เพราะถ้าเรือลำนี้มีโครงสร้างพื้นฐานมาจากเรือ KDX-I จริงมันก็น่าจะ modify ให้เหมือนกันกับเรือ KDX-I ของเกาหลีที่มี VLS MK48 mod 2 16 ท่อยิง และที่ท่าน icy_cmu บอกว่ามันเป็นห้องอะไรซักอย่างนี้ ทางคนของเวป TAF ได้บอกหรือไม่ว่ามันมีความสำคัญหรือเปล่า ถ้ามันไม่มีความสำคัญจนไม่สามารถระบุได้ ผมคิดว่ามันน่าจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับเพิ่ม VLS ได้ในอนาคตนะครับ ถ้ากองทัพเรือต้องการจะเพิ่มจริงๆ
ส่วนเรื่องที่ว่าทำไมถึงนับ VLS เป็น 4,8,16,32,64, มันก็ทำให้ผมพาลสงสัยครับว่าแล้วทำไม พวกหน่วยความจำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มันถึงได้มีสเปกส์แบบเดียวกันเลยครับ 8 GB 16GB 32GB 64GB และ 128GB
ข้อสันนิฐานของผมน่าจะเป็นเรื่องของเลขฐานสิบหรือเปล่า เกี่ยวกับ สัญญาณดิจิตอลเพราะระบบ net work บนเรือรบที่ใช้กันในปัจจุบันจะเป็นสัญญาณดิจิตอล เพราะระบบสัญญาณดังกล่าวมีความเสถียรมากที่สุด โดยใช้หลักการคำนวณเพื่อส่งและแปลสัญญาณแบบเดียวกันครับ 2^2 = 4 , 2^3 = 8, 2^4 = 16, 2^5 = 32, 2^6 =64 (อันนี้เดานะครับไม่รู้ว่าว่าเกี่ยวกันรึเปล่านะ)
*** ^ คือสัญลักษณ์เลขยกกำลังครับ
โทษครับลืมใส่รูปเรือ KDX-I รุ่น original คือสังเกตรูปแบบที่เรือนะครับว่า VLS MK48 mod 2 มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ดังนั้นเรือ KDX ของเราก็น่าใส่เพิ่มได้อีก 8 cell เป็น 16 ท่อยิงโดยให้เบียดชิดติดกัน สังเกตุจากรูปที่สอง
แต่ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าของทร.ได้ร้องขอให้ทางแดวูออกแบบพื้นที่ดังกล่าวเอาไว้เผื่อในอนาคตด้วยหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ผมอยากรู้มากๆเลยครับ น่าเบื่อก็ตรงที่ ทร. ไม่แจ้งข้อมูลอะไรเพิ่มเลยนี่แหละเซ็ง
เรื่องหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ยังพอจะรู้เหตุผลคือ 8bit เป็น 1byte ไม่ว่ายังไงเลขความจุของHDD(ที่แท้จริง ไม่ใช่ฉลาก ฉลาก 1TB แต่แท้จริงคือ 931.32GB) กับแรม ก็ต้องขึ้นกับเลขฐาน2 8หลัก อยู่แล้ว ......แต่เรื่องVLS นี่ยังต้องหาคำตอบต่อไป
ในฐานะที่ผมแอบอ่านมานานหลายชั่วโมงแล้ว จึงเห็นว่าอังกฤษกำลังจะเปลี่ยนกฎข้อนี้ใหม่ให้เป็นเลขฐาน12แทน เริ่มจากTYPE23แล้วไปTYPE26/27 ต่อเลยครับ โดยเรียกการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า dozen's law
เวลาเบิกจรวดจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย Sea Ceptor 2โหล LRASM 1โหล ทราบแล้วเปลี่ยน :( (ฝืดไหมเนี่ย)
ระบบ Sea Captor ถ้าอยู๋ในระยะไม่เกิน 30 ก.ม.
คิดว่า ในระยะการป้องกัน ประมาณ 30 ก.ม. น่าจะเป็น ระยะหวังผลทางยุทธวิธีในการป้องกันเรือ สำหรับการโจมตี อาวุธนำวิถีโจมตีเรือแบบต่าง ๆ...
ซึ่งก็เป็นระยะแบบเดียวกับ ASTER 15...
รูปแบบ 12 นัด ของ เรือฝั่งยุโรป...ก็จะเป็น ลักษณะ ซัลโว...คราวละ 4 ลูก คือ อัตราสูงสุด ต่อ ครั้ง...( 3 ซัลโว )
ตามที่เคยค้นหาภาพ มีเรือของ สหรัฐ DDG เคยโชว์ การซัลโว Missile จากเรือในคราวเดียว นับได้ จำนวน 4 นัด...
และถ้าไป เปรียบกับ MK-41 ที่รูปแบบการจัด 8, 16, 32
ก็น่าจะเป็น 2 ซัลโว, 4 ซัลโว, 8 ซัลโว...
ซึ่งดูแล้ว ถ้า เรือฟริเกตใหม่ กำหนด SAM ที่ 16 นัด ก็น่าจะเป็น 4 ซัลโว (มาตรฐาน)...
ดังนั้น ถ้ามีการใช้งานด้วย SM-2..ก็คงต้องมีการติตดั้ง VLS เพิ่ม...ถ้าจะให้ได้ ซัลโว (มาตรฐาน) คือ 16 นัด...หรือถ้าแบบเลวร้ายสุด คือ ซัลโว ขั้นต่ำ คือ 2 ซัลโว ก็ต้องมีอย่างน้อย 8 นัด...แต่เรือยังต้องติดตั้ง VL-ASROC อีก...
ดูแล้ว แนวโน้มถ้ามีการติดตั้ง SM-2...คงต้องมีการติดตั้ง VLS เพิ่มแน่...
ภาพ USS Sterett ทำการ Salvo SM-2 ในคราวเดียว จำนวน 4 นัด...
จาก ลิงค์ การถามตอบของ DDG-66
http://www.cram.com/cards/esws-ddg66-strike-warfare-1500929
มีคำถามว่า เรือติดตั้ง Module กี่ Module
คำตอบ คือ มีด้านหน้า 4 โมดูล มี ด้านหลัง 8 โมดูล
มีคำถามหนึ่งว่า
เรือสามารถ salvo สูงสุด ได้เท่าไหร่ ?
คำตอบ ว่า ได้สูงสุด 24 นัด โดย ครึ่งหนึ่งของ โมดูล (4 cell) ยิงได้ ครั้งละ 1 นัด ดังนั้นใน 1 Module ซึ่งมี 8 cell ก็ยิงได้ครั้งละ 2 นัด...( มี 12 Module x 2 เท่ากับ 24 นัด) แต่ก็บอกว่า จะได้ในสูงสุดในอัตรา 22 นัด เพราะจะโมดูล ที่มี เครน ด้วย...และมีคำตอบว่า กว่า ครึ่งหนึ่งของ โมดูล ไม่มีการ บรรจุ missile...
What is our max salvo?
wenty four
Secondary max salvo is twenty two.
(Reason is a max salvo is one missile from each half-module, which is four cells. The half modules containing the strike-down crane only have only one missile, once that's shot off in the first max salvo, that half-module has no missile.)
จากข้อมูลข้างต้น ก็น่าจะเป็น MK-41 VLS แบบ 8 cell...ทำการ ซัลโว ในคราวเดียว ได้ครั้งละ 2 นัด...
ถ้ามี 16 cell ทำการ ซัลโว ได้ครั้งละ 4 นัด...
แต่ข้อมูลในข้างต้น เป็นลักษณะ 1 Missile ต่อ 1 cell...
ซึ่งไม่รู้ว่า สำหรับ ESSM ที่มี 4 Missile ต่อ 1 cell จะใช้หลักการเดียวกันหรือไม๋...
ถ้าแท่นยิง Sylver ใช้หลักการเดียวกับ MK-41...
เรือ Formidable ก็สามารถทำการ ซัลโว ในคราวเดียว ได้ครั้งละ 8 นัด...
อืม...น่าจะเป็นเช่นที่ท่าน Juldas ใหัความเห็นนั่นแหละครับ ถ้าคิดตามยุทธวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป (ของฝ่ายตต.) ฝ่ายบ.หรืออากาศยานที่เข้าโจมตี ก็น่าจะใช้เครื่งเข้ามาโจมตีแบบเป็นคู่ 2,4,6,8 ลำ และการอาวุธปล่อย ASM ก็จะเป็นแบบ 2 ลูก/เป้า (ประเมินจากขั้นต่ำสุด) ส่วนฝ่ายเรือที่ตกเป็นเป้าก็ใช้การป้องกันด้วยจรวดนำวิถี 2 ลูกต่อเป้าหมาย ดังนั้นเรือนี้ก็ต้องยิงจรวดออกไป 4 ลูกติดๆกันในช่วงเวลาเดียวกัน (ยิงแบบซัลโว) ซึ่งข้อจำกัดของเรือทีี่ใช้จรวดแบบ Semi Active Radar ที่ใช้ระบบ CWI (ในที่นี้สมมติให้มี 2 ชุดเหมือนเรือลำใหม่และรล.นเรศวร) คือจะสามารถจัดการเป้าได้คราวละ 2 เป้าด้วยจรวด 4 ลูก (เป้าละ 2 ลูก) เท่านั้น จนกว่าจรวดจะชนเป้าหรือหลุดเป้าไปแล้ว จึงจะเริ่มล๊อคเป้าและยิงจรวดลูกใหม่ได้ต่อไป ในขณะที่จรวดที่ใช้ระบบ Active Radar Homing อย่าง Sea Ceptor นั้น สามารถทำการยิงปล่อยจรวดออกไปได้เป็นจำนวนมากกว่ามาก ขึ้นอยู่กับความสามารถในการติดตามและส่งข้อมูลเป้าของระบบเรดาร์และ CMS บนเรือ (ซึ่งโดยทั่วไประบบเรดาร์อำนวยการรบรุ่นใหม่ๆ ก็สามารถติดตามเป้าได้มากกว่าสิบเป้าหมายในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว) ดังนั้นการยิงแบบซัลโวของระบบ Sea Ceptor ก็อาจยิงต่อเนื่อง 3 ชุด 12 ลูกในคราวเดียวเลยก็ได้ครับ
ย้อนกลับมาที่เรือฟริเกตลำใหม่ของทร. หากระบบเรดาร์บนเรือลำใหม่มีขีดความสามารถในการทำ Mid-Course Up-Link และระบบ CMS/FCS มีขีดความสามารถสูงพอ ก็จะสามารถจัดการให้ยิงและนำส่งจรวดสู่เป้าหมายได้หลายเป้าหลายทิศทางในเวลาไล่เรี่ยกัน ซึ่งตัวจรวดทั้ง ESSM และ SM-2 ต่างก็มีความสามารถนี้พร้อมอยู่แล้ว
ข้อแก้ไข ความเห็น ความเข้าใจใหม่ครับ...
เรื่อง การ salvo ของเรือ DDG ของ ทร.สหรัฐ...
หมายถึงว่า การ Salvo ครั้งแรก จะ Salvo ได้สูงสุด 24 นัด
แต่การ Salvo ครั้งที่ 2 จะได้สูงสุด 22 นัด...เพราะจะมี Strike Module อยู่จำนวน 2 โมดูล...ซึ่งใน ครึ่งหนึ่งของ Strike Module จะมี Missile อยู่เพียง 1 นัด ส่วนที่เหลือจะไม่มี Missile...
ที่ท่านจูดาสพูดมาหมายถึงกายภาพคือข้อกำหนดของระบบVLS หรือรวมระบบควบคุมเข้าไปด้วยหละครับ
อเมริกาใช้เอจิสในการควบคุมซึ่งพวกเราก็รู้ดีอยู่แล้วในเรื่องความสามารถในการบริหารจรวดทั้ง24ลูกได้เป็นอย่างดีมาก บวกกับSPY-1 และ FCS ของเขาที่มีความสามารถค่อนข้างสุงและเขามีถึง3FCS ถ้าจะบังคับไปหาเป้าหมาย12เป้าในเวลาที่เหลื่อมล้ำกันบ้างก็น่าจะได้หละมั้งครับ แต่ความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่ไหวนะเยอะไปนิดแต่ขอหาข้อมูลก่อนกันหน้าแตก
ส่วนของเราถ้ามี1หน่วย8ท่อยิง2ลูก2เป้าหมายหน้าหลังน่าจะได้อยู่ มี2หน่วย16ท่อยิง4ลูก2เป้าหมายอาจจะไหว(หรือเปล่า) ถ้า4ลูก4เป้าหมายไหวไหมหนอพ่อคุณเอ๋ย และถ้ามีมี4หน่วย32ท่อจะซัลโว8นัดไปยัง4เป้าหมายพร้อมกัน อืมมม.....
สมัยก่อนยิงได้นัดเดียวแล้วรอลุ้นกันทั้งลำเป็นอะไรที่คลาสสิคมากๆ ถ้าไม่โดนด้วยจะยิ่งเร้าใจเข้าไปอีก
ข้อมูลผม ก็เอามาจากตาม Link น่ะครับ...แต่ที่จะพูดตรงนี้ คือ VLS จำนวน 8 Cell จะยิง Missile ในครั้งเดียว ได้สูงสุด 2 นัด...หลังจากนั้น เป็นเรื่องเวลา หรือ เทคนิค ในการ ซัลโว ชุดที่ 2 หรือ ชุดต่อ ๆ ไป....
แม้แท่นยิง MK-41 จะ Salvo ครั้งละ 2 นัด...แต่ Canister MK-25 ตามข้อมูล มีความเร็วในการเตรียมยิงครั้งต่อไป...อาจจะใช้ในส่วนนี้ ที่จะปรับจาก 2 นัด ให้เป็น 4 คือ อาศัย ความสามารถของเรือที่จะเป็น สิงห์ปืนไว ได้หรือเปล่า...
ดังนั้น Nulka ถึงมีความสำคัญ รองจาก SAM...และถึงมีความจำเป็นต้องมี CIWS...อาจจะเป็นตรงนี้ ก็ได้ ครับที่ Sylver สามารถ Salvo ได้มากนัด กว่า จึงไม่ค่อยมีใครติดตั้ง CIWS...
สังเกตุที่ เรือชั้น FRAMM ของ อิตาลี่ ติด SAM 16 นัด ถ้าใช้การคำนวณหลักการเดียวกับ MK-41 จะทำให้ ซัลโว ได้สูงสุดที่ 4 นัด...จึงต้องติดตั้ง ปืน 76 ม.ม. มาเป็น CIWS ให้กับเรือด้วย...แต่ FRAMM ของฝรั่งเศส หรือ Formidable ติดตั้งที่ 32 นัด จึงซัลโว ได้สูงสุดที่ 8 นัด จึงไม่มีการติดตั้ง CIWS...
ภาพลองเปรียบเทียบ สมรรถนะ ปัจจุบัน กับ การเพิ่มระบบ VLS ในอนาคต (ถ้ามี) ระหว่าง MK-41 กับ SCL ที่ท่าน Icy_CMU เคยประเมินไว้อาจจะเป็น...เพราะ SCL ตามข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกับระบบ MK-41 ด้วยกันได้ และใช้ MK-25 Canister...
The Single Cell Launcher (SCL) is designed to meet maritime force protection requirements utilizing the existing MK 41 VLS Launch Control System, MK 25 Quad Pack Canister and a new SCL structure. This design provides for a flexible system that is easily configurable particularly where size and space concerns are paramount. SCL has been designed to meet the need for a smaller, lighter, more flexible launcher for smaller ship classes like those found in many international navies. Due to its single cell modularity, SCL can be configured in any number to meet the defined mission. Leveraging the combat proven design and open system architecture from the MK 41 VLS, SCL will incorporate the latest available software, computer, and electronics systems currently entering production with the MK 41 VLS.
The ESSM is a coordinated effort with numerous nations
in the North Atlantic Treaty Organization (NATO). This
coordinated effort allows all NATO countries to have the
same self-defense capability and at the same time, reduce
the cost to each country associated with developing and
testing new systems.
Loaded in an Mk 25 Quad-Pack canister for the MK 41
VLS, this tail-controlled missile, with Thrust Vector
Control and quick start guidance section, offers a
significant increase in load-out, response time, and
firepower. The guidance section, which includes a radomeprotected
antenna for semi active homing, attaches to a new
warhead section. The fore body is attached to a 10-inch
diameter rocket motor, which provides higher thrust for
longer duration than predecessor Sea Sparrow (RIM-7P)
missiles
หากเป็นตามข้อมูลของท่าน Juldas แล้วล่ะก็ ยิ่งแย่หนักกว่าเดิมอีกนะครับ เงื่อนไขข้อจำกัดในการใช้อาวุธป้องกันภัยทางอากาศยิ่งมากขึ้นไปอีก แค่บ.ข้าศึก 2 เครื่องหลุดรอดเข้ามาในระยะปล่อย ASM ก็แทบจะเอาไม่อยู่แล้วสิเนี่ยะ ยิ่งเป็นแบบนี้ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ VLS ที่มากกว่า 1 ชุด 8 ท่อยิง ก็ยิ่งจำเป็นและสำคัญมากๆ เลยนะครับ จากตัวอย่างบ.ข้าศึกหลุดเข้ามา 2 เครื่อง หากจะจัดการก่อนก็ต้องยิง ESSM ทีละ 2 ลูกไปที่บ.ทั้งสอง (1:1 หรือ 2:1) หากระหว่างนั้นบ.ข้าศึกยิง ASM ออกมาลำละ 2 ลูกล่ะ !!! กว่าระบบ FCS/CWI จะกลับมาพร้อมอีกรอบอย่างน้อยก็ราว 40-50 วินาที แค่ Subsonic ASM ก็จะยิงไม่ทันแล้ว ถ้าเจอพวก Supersonic ASM ล่ะ... Nulka , Phalanx , Decoy มีอะไรก็คงต้องงัดออกมาใช้กันครบทุกอย่างเลยล่ะครับ อ้อ...อย่าลืมท่องบทสวดบทอธิฐานด้วยล่ะ....บรึ๋ยส์
Fremm ฝรั่งเศสมี32VLSก็จริงแต่ติด 16 Aster15ในA50(บางเว็บบอก43ด้วยซ้ำยัดAster30ไม่ได้แน่นอน) + 16 Naval ScalpในA70 ไม่ใช่เหรอครับ ผมเคยเห็นภาพที่จะย้าย Naval Scalp ไปติดข้างโรงเก็บด้านซ้ายบ้าง หรือติดVL Micra ตรงนั้นบ้างแต่ก็ยังไม่เห็นของจริงเสียที
โดยส่วนตัวผมว่า Aster15 ค่อนข้างมีประสิทธิภาพสุงและยิงได้ไกล้สุดถึง700เมตร ฝรั่งเศสเลยไม่สนใจCIWSมากนัก CAMMยิงได้ใกล้สุดแค่1กิโลเมตรเอง(ก็ตามศักยภาพของจรวดนั่นแหละ) อังกฤษที่เคยสยองมาจากฟอคแลนด์เลยจัดเต็มมันรอบลำ
แล้วทำไมเรือฝรั่งเศสถึงไม่ติดมิสตรัลบ้างนะเอาแต่ส่งขายต่างชาติทำกำไรลูกเดียว ผมก็มั่วต่อไปอีกว่าเขามั่นใจในAster15 ว่าดีที่สุดแล้วในบรรดาSAMด้วยกัน เรื่องนี้ผมก็เห็นด้วยอีกครั้งแต่ถ้าเจอของหนักจากซีเรียเข้าบ้างแล้วจะร้องไม่ออก(ของแบบนี้มันพลาดกันได้)
http://www.navyrecognition.com/index.php?id=786&option=com_content&task=view
ก็จะเห็นว่าเรือฟริเกตอเนกประสงค์หรือปราบเรือดำน้ำของฝรั่งเศส อังกฤษ และรวมไปถึงอิตาลีใช้อาวุธป้องกันภัยทางอากาศไม่เกิน30กม.ทั้งนั้น เพียงกองเรือเขามีเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศและเครื่องิบจากกองทัพอากาศคุ้มหัวอยู่แล้วจึงอุ่นใจได้อีกเยอะ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆเขาก็อัพเกรดตัวเองมาป้องกันระยะปานกลางได้ด้วยการเปลี่ยนตัวจรวดเท่านั้นเอง
ส่วนอังกฤษ เอ่อ... อังกฤษ เอาCAMMไปติดบูทเตอร์เพิ่มระยะทางไหวไหมเนี่ย
ขอเข้ามาแก้ข่าวหน่อยครับ Aster15 ยิงได้ใกล้สุด1.7กิโลเมตรไอ้เราก็จำ700เมตรมาตั้งนาน ชิ
เป้นอันว่าทฤษฏีของผมตกไปอย่างสิ้นเชิง(เหมือนพุ่งเอาลูกโทษแต่ได้ใบเหลือง) และCAMMกลับมาน่าสนใจอีกครั้งด้วยขนาดและและความสามารถยิงใกล้สุด
ดูระบบอาวุธที่ยัดลงไปในเรือฟริเกตของฝรั่งเศสกันบ้างนะครับ พอทำเนียนยัดAster30เข้าไปช่วยบ้างก็พอไหว
ท่าน TWG ตามที่ผมยกข้อมูล ก็คือ การยิงครั้งละ พร้อม ๆ กัน ครับ...แต่ยังไม่่ได้พูดถึงว่า แล้ว MK-25 ที่บรรจุ 4 นัด นี้ จะใช้เวลาอีกกี่วินาที..จึง ซัลโว ชุดที่ 2 หรือชุดที่ 3 ได้ ครับ (ซึ่งยังไม่ได้หาข้อมูล)...ซึงภายใน X นาที MK-41 แบบ 8 เซล อาจจะยิงได้ 4 - 8 ก็ได้ครับ...
และโอกาส ของ บ. ไม่เข้ามาให้ ยิง หรอกครับ...หรือตามภาพประกอบ โดยส่วนใหญ่ ในอินเตอร์เนต ก็จะเน้น การทำลาย อาวุธโจมตีเรือ ที่ปล่อยมาจาก อากาศยาน...แต่ไม่ได้เน้นไปถึง อากาศยาน...
ตามข้อมูล ก็คือ บ.ขับไล่ จะบินเข้ามาปล่อยอาวุธนำวิถีที่ระยะ 50 ไมล์ทะเล...(ประมาณ 90 ก.ม.)
SAM โดยหน้าที่หลักของเขา คือ Anti Ship Missile...การ Anti Air Warfare ในที่นี้ คงพูดหมายถึง Missiles ทุกชนิด...ทั้งมาจาก ทะเล ใต้น้ำ อากาศ หรือ บนฝั่ง...มากกว่า อากาศยาน...
และตามหลักนิยม ที่ ทร. วางการป้องกันภัยทางอากาศ คือ JAS-39 C/D จะเป็น ด่านหน้า....
ถ้าจะมองดูโอกาส ในภูมิภาคนี้ ผมว่าการปะทะกัน..โอกาส SSM จาก เรือรบผิวน้ำ กับ USM จาก เรือดำน้ำ น่าจะมีมากกว่า ASM ที่มาจากอากาศยาน...
และถ้ายกตัวอย่างเช่น SU-30 ก็ติดตั้งได้ ลำละ ลูก เท่านั้น...ในขณะที่ เรือรบผิวน้ำ จะขนมากว่า 4 - 8 ลูก...และเรือดำน้ำ ก็น่าจะประมาณ 2 ลูก เป็นขั้นต่ำ...แต่ถ้ามันจะมา ก็คงมาใน ทิศทาง เดียวกัน...
และในภูมิภาคนี้ ประเทศที่มี ASM ก็คงจะมี มาเลเซีย กับ เวียดนาม...ส่วน สิงคโปร์ ยกไว้ว่า ไม่น่าจะเกิดการกระทบ กระทั่งกัน...ซึ่งผมว่า มันอยู่ในความดูแล ของ ทอ. อยู่แล้ว ที่จับตาการปฏิบัติอากาศยานของประเทศเหล่านี้เป็นปกติ...และ ทอ. ก็มีหน้าที่สกัด อากาศยาน ทุกประเภท...ทร. ถึงให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับ ทอ. ให้เป็นเนื้อเดียวกัน...ซึ่งจะช่วย ทร. ในเรื่องนี้ได้มาก...
การป้องกัน อาวุธนำวิถีโจมตีเรือ ของ ทร. คงคำนวณ ศักยภาพของประเทศเพื่อนบ้าน มากกว่า...โจทก์ ข้อสมมติ....ก็คงอยู่ที่วา ทร. คำนวณศักยภาพ SSM,ASM และ USM จากประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณไหน จากทางไหน...
แต่ SSM ที่มาจากเรือรบผิวน้ำ มีมาได้จากทุกประเทศใน ASEAN...และ USM ที่มาจากเรือดำน้ำ ก็มี มาเลเซีย ซึ่งในส่วนของ เวียดนาม ไม่แน่ใจ...
ในความเห็นผม SSM ที่มาจากเรือรบผิวน้ำ กับ USM จากเรือดำน้ำ...จะมี ปริมาณ ที่มากกว่า มาจากทางอากาศ...ซึ่งทางอากาศ ทอ. ก็ดูแล อยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว....
และปัจจุบัน สิ่งจะทำลายกองเรือที่ดูน่ากลัว สำหรับ ทร. ก็มาจาก ตอร์ปิโด และ USM จากเรือดำน้ำ...ซึ่งสิ่งที่จะต่อต้าน USM ของ เรือดำน้ำ ก็คือใช้ SAM นั่นเอง...และสิ่งที่จะต่อต้าน ตอร์ปิโด ก็คือ Torpedo Decoy ชั้นเทพ...ซึ่งไม่แน่ใจว่า Nulka เป็น Torpedo Decoy ด้วยหรือเปล่า ? (ดูข้อมูลแล้ว ไม่ได้เป็นครับ)
การให้ความสำคัญ ความสามารถการทำลายใต้น้ำ คือ การมีอาวุธทำลายเรือดำน้ำ ระยะไกลแบบ ASROC จึงสำคัญไม่น้อยไปกว่า SAM...
เพราะ โอกาส อาวุธนำวิถีโจมตี ที่มาจากเรือดำน้ำ ดูจะมีโอกาส มากกว่า มาจาก อากาศยาน...เพราะมันเป็น อาวุธ หาข่าว กบดานเป็นเดือน ๆ และ พร้อมทำลายกองเรือ...ในขณะที่ อากาศยาน ต้องรอการข่าว ต้องรอการชี้เป้า...บินมาสุ่ม ๆ โอกาส น้ำมันหมด ตกทะเล ก็มีสูง...คงไม่บินมามั่ว ๆ เหมือนกับ เรือดำน้ำ ที่ ดำมาแบบ มั่ว ๆ ไม่มีใครจับได้...
เพราะ ทร. ดัน ไม่มี เรือดำน้ำ....
ถ้าจะมองในความเห็นผม...เรือฟริเกตชุดนี้ เน้นการปราบเรือดำน้ำ เป็นลำดับแรก...การให้ความสำคัญกับ ASROC ก็ต้องมี...ในขณะที่ SAM นั้น....คงเป็นในลักษณะการป้องกันตนเองจากการถูกโจมตี ด้วยอาวุธนำวิถีโจมตีเรือ ที่มาจากเรือดำน้ำ เป็นลำดับแรก ในขณะที่การป้องกันภัยทางอากาศ จะเป็นลำดับรอง...โดยยกหน้าที่การป้องกันภัยทางอากาศหลัก ให้กับ ทอ. กับ เรือชั้น นเรศวร ถ้าเป็นการปฏิบัติแบบกองเรือ...
ก็พอจะสรุปในความคิดเห็นส่วนตัวว่า...SAM ของเรือ มีไว้สำหรับต่อต้าน USM จากเรือดำน้ำ เป็นหลัก (เพราะต้องปราบเรือดำน้ำในระยะใกล้)...และต่อต้าน ASM เป็นลำดับรอง...ส่วนต่อต้าน SSM น่าจะเป็นลำดับสุดท้าย (อาศัย เรือชั้น นเรศวร ป้องกันเป็นหลัก)...
SSM = Surface to Surface Missile
ASM = Air to Surface Missile
USM = Underwater to Surface Missile
สิ่งที่น่าจะต้อง จับตา ต่อไป คือ เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ ครับ...
เพราะตามข้อมูลของ ทร. ก็กำหนดคุณสมบัติ เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ ไว้ด้วยว่า...
สามารถต่อต้านเรือผิวน้ำ และ เรือดำน้ำ ได้...
ซึ่งก็น่าจะ มีความหมายว่า ฮ. ติดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือ และ ติด ตอร์ปิโด ด้วย...
น่าจะได้เห็น S-70B สเปค สิงคโปร์ ก็เป็นได้ครับ...
The Singapore Ministry of Defence (MINDEF) has awarded a contract to Sikorsky to deliver additional S-70B Seahawk helicopters to the country's navy.
An unidentified industry source was quoted by Flightglobal as saying that the company would equip the new aircraft with a weapons kit that is different to those currently available on existing navy helicopters.
Further details on the contract and the new equipment have not been disclosed.
The Singapore MINDEF had ordered six S-70B helicopters in January 2005 to operate from the Formidable-class multi-mission frigates and enhance the navy's capability to conduct a wide range of missions, as well as effectively protect its vital sea lines of communications.
Commissioned into service in January 2011, the existing six S-70B aircraft cruise at a speed of 270km/h with an endurance of three hours and are equipped with L-3 long-range active sonar and torpedoes to support anti-submarine warfare missions for the navy.
"The Seahawk can be equipped with the Lockheed Martin-built Hellfire air-to-surface missile to engage surface targets such as fast attack craft and small armed ships."
Armed with two Mk46 torpedoes or Mk50 ALT advanced lightweight torpedoes, the Seahawk can also be equipped with the Lockheed Martin-built Hellfire air-to-surface missile to engage surface targets such as fast attack craft and small armed ships.
สงสัยเราจะได้เรือประจัญบานแน่นอนเสียแล้ว เหอๆๆๆ
mk-41 สัก 16 cell คือ 2 ลำ ก็น่าจะพอสำหรับภัยคุกคามภายใน 10 ปีนี้นะคับ
สงสัยจะมีคนแอบแปลซัพนรกส่งไปให้
จัดหาเรือรบ เรือรบ พี่แกก็ซัด แบทเทิลชิพไปเลย ตรงๆ 555
ป้าด เว่อร์ อีหลี ปานคึสิเรือเทพพระเจ้า คั้กๆ ทั้งอั่นเรือประจันบาน ทั้งอั่นเรือโจมตี เรืออั่นซิแตกยั๋ง บ่มิห่าอั่นยั๋งเล้ย
อุ๊บ !!!..... โทษที อ่านข้อความในข่าวแล้วรับไม่ค่อยได้เลย แอ๊ป ไม่อยู่จริงๆ อิอิ...
"It is the biggest defense contract ever awarded by the Thai Navy" โอ้โห ข้อความนี้อ่านแล้วรู้สึกเรือฟรีเกตของไทยเราเป็นเรือที่โครตสุดยอดจนถึงสุดยอดเป็นที่สุด เท่าที่อู่เรือ แดวู เคยต่อมาเลยอย่างนั้นแหละ แหม่ยกยอกันซะ..จริง ผมว่าน่าจะให้รางวัลกับผู้สื่อข่าวของDSME รายนี้ให้ด้วยนะ
แต่ที่น่าสนใจมากที่สุดของข่าวนี้เลยก็คือข้อความชุดนี้แหละ
On 13th August, DSME held the launching ceremony for a 214 class submarine ordered by the Korean Navy. It is the fourth 1,800 ton 214 submarine of its kind in operation.
หวังว่าในอนาคตอันใกล้ไทยเราคงจะได้เป็นข่าวตามข้อความนี้บ้างละน่า ( ตอนนี้ฝันไปก่อนหุหุ )
On 2015 th August, DSME held the launching ceremony for a 214 class submarine ordered by the Korean Navy Royal thai navy. It is the fourth 1,800 ton 214 submarine of its kind in operation.
มันไม่ได้ยอเราหรอกครับ....(ไม่ได้อวย อะไรเลย)
มันแค่บอกว่า "เป็นงบสัญญาป้องกันก้อนใหญ่ที่สุด เท่าที่กองทัพเรือไทยเคยใช้"
ผมว่ามันออกจะหมิ่นนิดๆ ด้วยครับ.....(ถ้าเราเป็นคนคิดเล็กคิดน้อย...)
แต่อย่าไปสนใจมันเลย เพราะมันเรื่องจริง....
จริงๆ แล้วตาม มารยาทของผู้ขายไม่ควรพูด (ยกเว้นแต่เป็นสื่อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง)
อีกอย่างมีเรื่องอื่นให้กล่าวถึงตั้งเยอะแยะ กลับไม่มีการพูดถึง...ซะนี่
(เพราะมีปมประเดนที่เป็นปริษณา น่าสนใจอยู่มากกลับเงียบ....)
ทำให้เรารู้ถึงจิตใจเค้าเลย....(ว่าคนประเทศนี้เป็นอย่างไร ดูๆไป อีกหน่อยจะมีมาอีก...ก็ได้)
รอสักพัก เดี๋ยวก็จะหลุดมาเองแหละครับ สื่อเกาหลี มันชอบแฉ ถ้าอยากจะแฉนะ
ข่าวใหม่เรือเราไม่มีเลยไปดูข่าวเรืออังกฤษกันหน่อยนะครับ
4วันก่อนในงานDSEi 2013 มีการเผยโฉมเรือType26แบบล่าสุดซึ่งมีการย้ายจุดติดตั้งฟาลังซ์และCAMM กันอีกแล้ว จากที่เคยอยู่หน้า-หลังฟาลังซ์โดนย้ายกลับไปกลางเรืออีกครั้งใกล้เคียงตำแหน่งเดิมเมื่อปี2011 มุมขวามือมันอับไปหน่อยไหมนั่นแต่ด้านท้ายยังมีDS-30Mอยู่ด้วยคงไม่เป็นไรมากหรอกมั้ง CAMMชุด2ที่เคยอยู่ข้างซ้ายของปล่องไฟถูกเลื่อนมาอยู่ด้านหลังปล่องและตรงกลางแทน ปล่องไฟเล็กมากนี่เรือ5400ตันนะ เรดาร์ARTISAN 3Dที่อยู่บนสุดมันดูคุ้นๆยังไงพิกล
ผมว่าการติดเรดาร์และจรวดแบบนี้ก็ประหยัดค่าอุปกรณ์ไปได้พอสมควร แต่นี่เป็นแบบที่3ของเรือแล้วนะ จะเปลี่ยนอีกไหมสงสารคนวาดภาพบ้างสิคุณ แต่ดูสมดูลกว่าแบบเดิมนะครับอย่างน้อยก็ไม่เอียงซ้ายหละฟระ แต่แบบเรือใหม่ท่อVLSขนาดใหญ่ลดจาก24เหลือ16แล้วนะครับ
http://www.thinkdefence.co.uk/2013/09/type-26-dsei/
อีกข่าวแล้วกันนะครับ MBDA and Lockheed Martin ทดสอบยิงจรวด CAMM จากMK 41 โดยใช้ ExLS อยากอ่านยาวๆเข้าไปในลิงค์แล้วกัน
This is the first test by MBDA and Lockheed Martin since the May 2013 announcement of cooperation between the two companies to offer MBDA missile systems for use with the MK 41 and ExLS family of launchers. The test used MBDA’s soft vertical launch technology to eject the CAMM from its canister and position the missile for main motor ignition. The trial is the first in a series to demonstrate that the CAMM can be installed using ExLS in vessels that use the MK 41 launcher or on the 3-cell stand-alone ExLS CAMM launcher.
http://www.mbda-systems.com/mediagallery/#/news/3135
อันนี้จริงผมเชียร์ IRIS-T รุ่นใช้งานทางทะเลอย่างออกนอกหน้านะครับ เพราะใช้งานร่วมกับระบบต่างๆของSAABได้เป็นอย่างดี อย่างเรือที่เขียนเองเล่นๆก็ติดจรวดนี้กับเรดาร์AMBเท่านั้น แต่ดูแล้วจะยังอีกนานแน่เมื่อเทียบกับCAMMที่ดูมีอนาคตมากกว่า เป็นอะไรที่น่าสนใจมากกับเรือฟริเกตสำหรับใช้งานทั่วไปและปราบเรือดำน้ำของเราในอนาคต รวมไปถึงเรือฟริเกตลำแรกที่เราจะสร้างเองด้วยติดง่ายๆแบบนี้แหละไม่ต้องไปวุ่นวายกับSM-2หรอก
โดยส่วนตัวผมก็ชอบก็เชียร์เจ้า Iris-T SL อยู่เหมือนกันครับ แต่เป็นส่วนของทอ.มากกว่า เพราะรุ่นที่ใช้กับเรือคงต้องรอไปก่อน อีกอย่างระยะยิงก็แค่ ~40 กม. พอๆ กับ ESSM ที่ถือว่าแจ่มที่สุดในแถบนี้แล้ว แต่ถ้าได้ใช้เจ้านี่จริงๆ ก็จะดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะเป็นจรวดจำพวกยิงแล้วลืมและใช้ระบบ DataLink เป็นตัวนำส่งจรวดไปสู่เป้าหมาย แถมตัวระบบนำวิถีก็ก้าวหน้ามากๆ อีกด้วย ดูจากรูปทรงแล้วก็น่าจะใส่ใน Canister แบบ Quad Pack ได้เช่นเดียวกันด้วย
นี่ถ้าติดตั้งบูสเตอร์เพิ่มเหมือนอย่าง Aster 30 ได้แล้วล่ะก็ มันอาจกลายเป็น AAM ระยะไกลอีกรุ่นหนึ่งเลยก็ได้นะครับ
Iris-Tรุ่นยิงบนเรือ มันจะต้องใช้อะไรชี้เป้าครับ? เพราะมันหาเป้าเองแค่ช่วงสุดท้ายไม่ใช่เหรอ?
ที่มา
จรวด Iris-T มีระบบนำวิถีแบบ IR Imaging Seeker ตรวจจับและล๊อคเป้าด้วยภาพอินฟราเรด ในขั้นสุดท้าย แต่มันมีขีดความสามารถพิเศษที่ติดตัวมาด้วยคือ LOAL (Lock On After Launched) คือ ความสามารถในการค้นหาและล๊อคเป้า หลังจากยิงปล่อยออกไปแล้ว (โดยปกติจรวดนำวิถีด้วย IR รุ่นเก่าต้องรอให้เซนเซอร์ของจรวดล๊อคเป้าให้ได้ก่อนทำการยิง) โดยจรวดจะรับข้อมูลระยะ,ทิศทางและพิกัดตำแหน่งเป้าจากระบบคคย.ที่เป็นบ.หรือศูนย์ควบคุมภาคพื้น(สำหรับ Iris-T SL) ผ่านระบบ DataLink (ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับระบบที่ทอ.และทร.มีอยู่) เมื่อจรวดถูกยิงปล่อยออกไปแล้ว มันก็จะพุ่งไปในทิศทางตามพิกัดที่ได้รับมาประมวลผลกับระบบ GPS/INS เพื่อหาตำแหน่งเป้าเทียบกับตำแหน่งปัจจุบันของตัวจรวดเอง จนกระทั่งเข้าใกล้เป้าในระยะที่ระบบ IR Imaging Seeker ของมันจะสามารถตรวจับและล๊อคเป้าได้ มันก็จะติดตามและพุ่งเข้าสู่เป้าหมายด้วยระบบนำวิถีของตัวเอง
ปล. ต้องขอเรียนไว้เลยว่าผมปลื้มเจ้า Iris-T และ Iris-T SL มากเป็นพิเศษ เพราะมันมีคุณสมบัติที่รวมเอาจุดเด่นหลายอย่างมาไว้ในตัวเอง แถมราคาก็ไม่ได้แพงกว่าจรวดรุ่นอื่นที่อยู่ในระดับเดียวกัน (น่าจะถูกกว่าด้วยซ้ำ) มันมีทั้ง Advance IR Imaging Seeker ที่สร้างภาพความร้อนความละเอียดสูงได้ในสองคลื่นความถี่ Dual Mode ทำให้การหลอกและแจมทำได้ยาก , มีมุมค้นหาเป้ากว้างถึง 60 องศา , มีระบบ Trust Vector Control ทำให้มีความคล่องแคล่วสูงมากๆ , ระบบมอเตอร์จรวดขับดันแบบก้าวหน้าที่มีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูง จึงมีระยะยิงไกลมากถึง 25 กม.(รุ่น AAM โดยปกติ SRAAM ทั่วไปจะมีระยะยิงราว 6-12 กม.เท่านั้น) และ ~40 กม.(สำหรับรุ่น SL) ด้วยความเร็วสูง >3 มัค นอกจากนี้มันยังสามารถใช้ร่วมกับหมวกที่มีระบบเล็งเป้านอกแนวยิงได้ (Cobra) , มีความสามารถในการล๊อคเป้าหลังการยิงปล่อย LOAL , และระบบการนำวิถีที่ทันสมัยอย่าง GPS/INS + 2 Ways DataLink (สำหรับรุ่น SL) แจ่มสุดๆ
Iris-T ก็คือไซน์ไวด์เดอร์ที่เยอรมันและสวีเดนเอาไปปรับปรุงตามแบบตัวเอง ขณะที่อเมริกาพัฒนาไปเป็นAIM-9X ตัวล่าสุดคือBlock 2 ที่ประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแล้ว (แต่ระยะยิงมากกว่านิดหน่อย) ส่วนของอังกฤษก็คือASRAMหละมั้งครับที่กลายมาเป็นCAMMในที่สุด
Iris-T SLM คือความพยายามของเยอรมันที่จะให้ไซน์ไวด์เดอร์ยิงได้ไกลเท่าสแปโรว์ อาจจะเป็นเพราะเขาต้องการจรวดต่อสู้อากาศยานบนพื้นดินที่มีระยะยิงปานกลางแต่ไม่อยากซื้อจากอเมริกา แล้วในมือตอนนี้ก็ยังมีแต่Iris-Tเท่านั้นเลยเอามาปรับปรุงให้มันยิงได้ไกลขึ้น โครงการนี้ตอนแรกๆต้องการยิงได้ถึง80กม.โน่น เฉพาะตัวนี้ผมขอดูผลงานไปอีกซัก5-10ปีก่อนนะครับถึงจะบอกได้ว่าดีหรือไม่อย่างไร ราคาถ้าเทียบกับจรวดระยะยิงปานกลางจริงๆต้องถูกกว่าแน่นอนแหละ แต่ถ้าเทียบกับเพื่อนๆที่ไม่ได้ตกแต่งพันธุกรรมน่าจะแพงกว่าอยู่เหมือนกัน ต้องรอดูของจริงอย่างเดียวครับถ้าได้ออกรบจริงๆด้วยยิ่งดีใหญ่
แต่Iris-T รุ่นใช้งานทางทะเล ถ้ามีจริงผมว่ามันก็คือIris-Tจากเครื่องบินนำมาปรับปรุงนั่นแหละ จรวดจะมีระยะยิง20-25กม.ใกล้เคียงกับCAMMและเป็นคู่แข่งกับVL MICAที่ขายดีมากในเรือฟริเกตใหม่ๆขนาดไม่เกิน3000ตัน ประสิทธิภาพน่าจะใกล้เคียงกับIDASลูกพี่ลูกน้องนะครับ ถ้าเกิดได้จริงจะเป็นจรวดไว้ป้องกันตัวที่ดีมากในระยะยิงที่ดีกว่าRAMพอสมควร ถ้ามีจริงๆเยอรมันคงจะติดในเรือคอร์เวตK-130ของเขาตรงด้านหน้า และอาจติดบนเรือF-125ที่มีพื้นที่โล่งเยอะแยะถ้ายังไม่คิดจะติดSM-2 ส่วนRAMก็เป็นCIWSเหมือนเดิมเรือจะมีจรวด2แบบ2ระยะยิงไว้ป้องกันตัวเอง
ปัญหาคือสงสัยจะไม่มีแน่ๆหันไปมองCAMMน่าจะดีกว่า ติดบนเรือฟริเกตที่เราสร้างเองในอนาคต4ท่อ16นัด+CIWSแท้ๆอีก1จุดปืน76/62dart ด้านหน้าก็พออุ่นใจขึ้นเยอะ ราคาเรือจะไม่สุงเกินไปพอจะสร้างได้หลายๆลำสำหรับทดแทนเรือเก่าๆ แหม่ จิ้นได้อีกนะเรา
DSME unveils the Batch II of Incheon class multipurpose frigates
The scaled model of the Incheon class frigate Batch II was unveiled by DSME in the 63rd anniversary festival of the Incheon landing operation in the Korean War. Key updates of the Batch II over the ASW-focused Batch I include VLS and full electric propulsion system, as well as a larger hangar that can accomodate a 10-ton helicopter (Batch-I has hangar for lighter helicopters like AW159). About 8 ships of Batch II are going to be built in pairs by DSME until 2018. Some items like the MT30 gas turbine engines for the new propulsion system are already being delivered.
http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?230594-DSME-unveils-the-Batch-II-of-Incheon-class-multipurpose-frigates
น่าสนใจตรงที่เป็น full electric propulsion system เกาหลีเค้ามองไปไกลขนาดนั้นแล้ว
รูป หน้าตาคุ้นๆ กันไหมครับ ^ ^
นั่นหมายถึงพอเราสร้างsuperstructureด้านหน้าแท่นยิงเพิ่มขึ้นมา ก็สามารถติดตั้งLVSได้อีกหนึ่งหน่วย8ท่อยิงเพราะมีพื้นที่รองรับอยู่แล้ว
ปล.นอกเรื่องเป็นอย่างมาก : ฝนตกหนัก2วันติดน้ำระบายไม่ทันท่วมทั้งอำเภอแล้วครับ ต้องบอกว่า50เปอร์เซนต์ของจังหวัดจะดีกว่า ตอนนี้นอนฟังเสียงคลื่นที่อยู่ห่างห้องนอนชั้นล่างไม่ถึง3เมตรโดยมีค่าความสุงต่างกันที่30เซนติเมตรหรือน้อยกว่า บ่นอยากไปทะเลอยากขึ้นเรือฟริเกตสมรรถนะสุงมาเลยทีนี้
ตั้งแต่เมื่อวานที่มีประกาศเตือนจนมาถึงตอนนี้นับเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมาก ทำอะไรไปแล้วตั้งเยอะตั้งแยะเพิ่งบ่ายโมงเอง จะนอนก็นอนไม่หลับเรือฟริเกตโฟว์วีลยกสุงวิ่งกันไม่ยอมชะลอเลย ฝนอย่าตกมาเลยอีกนะครับเหนื่อยแล้ว เพื่อนๆท่านใดที่คิดว่ามีความเสี่ยงเตรียมถุงทรายเครื่องสูบน้ำเอาไว้แต่เนิ่นๆเลยนะครับ
Iris-t ไม่ได้พัฒนามาจาก sidewinder แต่อย่างใดเลยนะครับ
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลยครับ
เพียงแต่ชาติที่ร่วมกันผลิตเอามาทดแทน
บทความโดยน.อ.ไชยวัฒน์ กาศโอสถ ปัจจุบันเทคโนโลยีอาวุธนำวิถีโดยเฉพาะ Infrared Short Range Air to Air Missile หรือ อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้ได้ก้าวมาถึงยุคที่๕ (Fifth Generation) และมีการผลิตอาวุธนำวิถีในยุคนี้หลายแบบ เช่น อาวุธนำวิถี Python-5, อาวุธนำวิถี AIM-9X และอาวุธนำวิถี IRIS-T เป็นต้น อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้ส่วนใหญ่จะเป็นอาวุธนำวิถีประเภท Passive เนื่องจากต้องการให้อาวุธนำวิถีมีขนาดเล็ก มีความคล่องตัวในการติดตามเป้าหมาย ซึ่งจะรับสัญญาณหรือการจับเป้าหมายเป็น Infrared ที่แผ่ออกมาจากท่อท้ายเครื่องบิน อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้เริ่มต้นใช้งานมาในยุคแรกๆ ประมาณปี๑๙๖๐ในยุคแรกนั้นวิวัฒนาการการสร้างอากาศยานยังไม่ล้ำยุคอย่างในปัจจุบันการใช้อาวุธนำวิถีในยุคแรก ผู้ยิงจะนำเครื่องบินเข้าไปจ่อยิงด้านท้ายของเครื่องเป้าหมาย ซึ่งในยุคนั้นเครื่องบินเป้าหมายยังไม่สามารถบินผาดแผลงได้มากนัก อาวุธนำวิถีในยุคนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี AIM-9B เป็นต้น
อาวุธนำวิถีในยุคที่๒ พัฒนาจากยุคที่๑ โดยให้สามารถตามเป้าหมายที่บินผาดแผลงได้ตามวิวัฒนาการของอากาศยาน แต่ก็ยังคงต้องบินแบบไล่ตามจับเป้าที่ต่อท้ายเครื่องบินเช่นกัน อาวุธนำวิถียุคนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี AIM-9P เป็นต้น
อาวุธนำวิถีIRIS-T เป็นอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้ในยุคที่๕ IRIS-T ย่อมาจาก Infrared Imaging System Tail/Thrust Vector-Controlled เดิมเป็นโครงการที่มีประเทศเยอรมันเป็นผู้นำในการที่จะพัฒนาอาวุธวิถีระยะใกล้เพื่อที่จะใช้แทนอาวุธนำวิถีAIM-9 Sidewinder การออกแบบ ในการออกแบบอาวุธนำวิถี IRIS-T นั้น เป็นการออกแบบให้อุปกรณ์ส่วนประกอบเป็นแบบ Modular Design ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการพัฒนาต่อไปในอนาคต ด้วยการใช้เทคโนโลยีของ Microprocessor ที่ทันสมัยสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตที่อาจมีการใช้ Memory ที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการปรับปรุงและการเพิ่ม Software
Wing Design เป็นการออกแบบที่ไม่มีWing บริเวณ Guidance Section แต่มีWing บริเวณด้านท้ายของ Rocket Motor ซึ่งช่วยในการเลี้ยวได้เป็นอย่างดีในขณะที่มีDrag สูง สามารถทนแรง G จากการเลี้ยวได้ถึง 70 G รวมทั้งยังช่วยปรับจุดศูนย์กลางของแรงดันได้เป็นอย่างดี
Radar Fuzing จากขีดความสามารถของ Imaging Processing และ Agile Airframe อาวุธนำวิถี IRIS-T ทำให้ความเป็นไปได้ที่อาวุธนำวิถีIRIS-T จะ Direct Hit สูงมาก แต่อย่างไรก็ตาม Smart Proximity Fuze ก็มีความจำเป็น เนื่องจากอาวุธนำวิถีIRIS-T มีขีดความสามารถในการสกัดกั้นเป้าหมายได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน AWACS หรือ Tanker Aircraft, เครื่องบินขับไล่ทุกแบบ, เครื่องบินทิ้งระเบิดทุกประเภท, UAV, เฮลิคอปเตอร์รวมทั้งอาวุธนำวิถีด้วยกัน ดังนั้น Proximity Fuze ของอาวุธนำวิถี IRIS-T จึงเป็นแบบ Radar Proximity Fuze แทนที่จะเป็น Active Optical Target Detector (เช่นเดียวกับของอาวุธนำวิถีตระกูล Sidewinder) Proximity Fuze ชนิดนี้จะทำงานในระยะที่แน่นอนเมื่อได้รับสัญญาณ “Near Signal” จาก Imaging Seeker และเมื่อ Proximity Fuze ถูก Activated นั่นหมายความว่า ความผิดพลาดจะไม่มีอย่างแน่นอน เนื่องจากการถูก Activated ของ Proximity Fuze ได้รับัญญาณจากทั้ง Seeker และจาก Radar ของ Proximity Fuze เอง สรุปคุณลักษณะและขีดความสามารถของอาวุธนำวิถีIRIS-T ได้ดังนี้ ขณะนี้อาวุธนำวิถี IRIS-T ได้รับใบสั่งการผลิตจำนวนมากกว่า 3,500 นัด ซึ่งจะส่งมอบได้ในปี 2011อาวุธนำวิถี IRIS-T สามารติดตั้งได้กับเครื่องบิน Eurofighter/Typhoon, Tornado, Gripen, F-18 และ F-16 |
Last Updated on Thursday, 08 July 2010 03:50 |
ที่มา
http://www.apd5rtaf.org/pdf/IRIS-T.pdf
http://www.diehl.com/de/diehl-defence/produkte/lenkflugkoerper/iris-t-familie.html
http://www.thaiarmedforce.com/taf-article/52-outer-article/114-apd5rtaf-iris-t.html
แล้ว F-16 ของเราหลัง MLU แล้วจะใช้ IRIS-T ได้ด้วยรึป่าวครับ
มาคุยกันต่อนะครับ ผมสงสัยอะไรอยู่อย่างนึง โครงการนี้มันมูลค่า14,600 ล้านบาท แล้วเมื่อไม่นานมานี้SAAB ก็ออกมาประกาศว่าได้รับสัญญาจัดหาระบบและอุปกรณ์ต่างของตนและจากค่ายอื่นด้วยเช่นกันที่รวมอยู่ในงบ4,139 ล้านบาท ซึ่งผมสงสัยอยู่คือว่า มันจะมีระบบอื่นที่นอกเหนือจากที่SAABจัดหาหรือไม่หรือว่า แค่ค่าตัวเรือเปล่าก็ปาไป10,461ล้านบาทแล้วเหรอครับ ราคามันดูแพงไปหรือป่าวหว่า
ของSAABมันก็มี9LV,CEROS200,Giraffe 3อย่างเองนี่ครับ พวกMk.41 แท่นยิงตอร์ปิโด เครื่องยนต์ โซนาร์ตัวเรือโซนาร์ลากท้าย LRR ก็ราคาแยกต่างหากนะครับ เพราะไม่ใช่ของSAAB (เขาบอกว่าจะมีส่วนที่ผลิตในไทย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สวีเดน และเดนมาร์ก)
แล้วประเทศที่เค้ากล่าวมานั้น แต่ละประเทศเราพอจะเดาได้มั้ยว่าเป็นระบบอะไรได้บ้างอ่ะครับ ส่วนไทยนี้คงเป็นlink มากกว่า
นอกจากของSAABเองแล้ว SAABยังเป็นผู้บูรณาการ ระบบต่างๆ ให้ทำงานร่วมกับระบบ 9LV จาก Saab เองด้วย (ระบบครวบคุมการยิง sm2 ด้วยหรือเปล่า)
ท่านTopper0011 ถ้าสนใจ F-16 MLU ไปดูได้ที่
เว็ป http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=7&t=327 ครับ
รูปโมเดลแบบเต็มๆ ของ FFX Batch II
ระวางขับน้ำเบากว่าความกว้างก็น้อยกว่าแต่ติดอาวุธได้มากกว่าเรือเรา
แถมเรดาห์ที่เค้าใช้ก็ไม่ธรรมดาเพราะเป็น S/X dual-band AESA
I-MAST ยังไม่ตายครับ คราวนี้ถูกปลุกเสกโดย Samsung Thales รูปแบบน่าจะเป็น I-MAST 500
ใช้อุปกรณ์เกาหลีแทบทั้งหมด แน่นอนว่าเป็น S/X dual-band AESA ตามที่เกาหลีชอบใช้
ที่มา http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?231547-DSME-Samsung-Thales-unveil-future-destroyers-submarines
...
น่าสนใจมาก i-mast version เกาหลี ถ้าทร.ไม่เอาตัวไปพันกับสวีเดนมาก อยากให้มากับฟรีเกตลำที่สองที่จะต่อในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจัง
ราคา 14,600 ล้านบาท เป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มครับ...
เมื่อหัก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ออก จะเหลือราคาสุทธิประมาณ 13,645 ล้านบาท...
เมื่อหัก ระบบของ SAAB และระบบอาวุธที่เกี่ยวข้อง (ผมว่า ถ้าสมมติรวมระบบอาวุธที่ว่า น่าจะมีเพียง MK-41 กับ ปืนหลัก และ ปืนรอง และ Decoy) ประมาณ 4,140 ล้านบาท...
จะเหลือ ตัวเรือ พร้อมระบบขับเคลื่อน รวมถึงระบบใบพัด ที่ว่ามีความเงียบกว่า (แบบเดียวกับเรือชั้น ANZAC) กับระบบปราบเรือดำน้ำ (ลืม ระบบยิง ฮาร์พูน น่าจะเป็นตัวใหม่ สำหรับ Block II) ระบบชักลาก ฮ. ประมาณ 9,500 ล้านบาท ครับ...
ซึ่งราคา 9,500 ล้านบาท นี้ ผมว่า รวมระบบ ท่อยิงตอร์ปิโด โซนาร์ และ ระบบโซนาร์ ลากท้าย อยู่ด้วยครับ...
คงไม่ได้รวมอยู่ใน SAAB...แบบเดียวกับ เรือชั้น นเรศวร ครับ...ที่ระบบโซนาร์ จะแยกงบประมาณออกมาครับ...และน่าจะมีระบบ Fire Control ของ ระบบปราบเรือดำน้ำ อยู่ด้วย...ซึ่งผมว่า ATLAS จากเยอรมัน น่าจะได้เหมาทั้งระบบ...
ซึ่งอาจจะโยงไปถึง การจัดหา เรือดำน้ำ ในอนาคต ที่มาตรฐานระบบเรือดำน้ำ อาจจะใช้แบบ มาตรฐานเยอรมัน...ก็จะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูล และการปราบเรือดำน้ำ ของเรือฟริเกตลำใหม่ กับ เรือดำน้ำในอนาคต จะประสานงานกันได้ดี....
ผมคิดว่า ในส่วนตัวเรือและระบบขับเคลื่อน น่าจะอยู่ประมาณ 8,500 - 9,000 ล้านบาท...โดยถ้า ข้อสมมติฐานว่า ระบบปราบเรือดำน้ำ มาจาก ATLAS เยอรมัน ทั้งหมด ในตัวระบบน่าจะอยู่ประมาณ 600 - 800 ล้านบาท...(ประเมินในความเห็นส่วนตัวจาก โครงการปรับปรุงเรือต่อต้านทุ่นระเบิด จำนวน 2 ลำ มูลค่าโครงการ 2,100 ล้านบาท ซึ่งใช้ระบบตรวจจับจาก ATLAS เยอรมัน (ถ้าจำไม่ผิด) )
สงสัยราคาของ Saab หากแยกราคาเป็นส่วนๆจะประมาณเอาตามนี้ Sea Giraffe 500 ล้าน (ออสเตรเลียซื้อไปติด Canberra class 15.6 ล้านเหรียญ), CMS 500 ล้าน, Ceros 200 ล้าน, Link 30 ล้านละกันทำในไทยนิ ค่า integration 150 ล้าน เลขมันไปรวมเป็น 4000 ล้านได้ไงฟะ
กลายเป็นว่าอินเดียเอาเจ้า ATLAS ใช้ก่อนเราซะแล้ว คงต้องติดตามดูว่าประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไร
เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ หนังสือพิมพ์ South Asia รายงานว่า อินเดียและบริษัท Atlas Elektronik ของเยอรมัน ใกล้บรรลุข้อตกลงในการจัดซื้อระบบ Sonar คลื่นความถี่ต่ำ เพื่อนำไปติดตั้งให้กับเรือรบของกองทัพเรืออินเดียจำนวน ๖ ลำ โดยระบบดังกล่าวจะช่วยให้เรือรบของอินเดียสามารถระบุตำแหน่งของเรือดำน้ำ เรือรบ และตอร์ปิโดของฝ่ายตรงข้ามจากระยะไกลได้ (ที่มา : ขว.ทร.)
http://rtnpr.blogspot.com/2013/10/sonar.html
อาจจะเป็นระบบหลักของ ทร.อินเดีย สำหรับ ACTAS
http://trishul-trident.blogspot.com/2013_09_01_archive.html
After waiting for almost a decade for the DRDO-owned NPOL to deliver the Nagan low-frequency active towed-array sonar, the IN has decided that enough is enough, and was awarded Germany-based ATLAS Elektronik the contract for supplying its ACTAS ultra low-frequency active/passive towed-array sonar for the IN’s three Project 17 FFGs, three Project 15A DDGs four Project 28 ASW corvettes, and the three upgraded Project 1241PE ASW corvettes (INS Abhay, INS Ajay and INS Akshay), which were also re-engined with MTU-1163 diesel engines two years ago by Kolkata-based GRSE. The ACTAS is also likely to be acquired in future for the IN’s six Project 1135.6 FFGs, seven Project 17A FFGs and four Project 15B DDGs.
มาแล้วกับเสปคคร่าว ๆ lcs กองทัพเรือมาเลเซีย
Navy Recognition learned during LIMA 2013 defense show that the future Royal Malaysian Navy Littoral Combat Ships, based on French Shipyard DCNS' Gowind combat design, will be fitted with the following systems:
- BAE Systems Bofors 57mm stealth main gun
- SETIS combat management system
- Rheinmetall Fire Control Systems (TMX/EO Mk2 and TMEO Mk2)
- MTU engines.
The length of the LCS will be 111 meters with a displacement of about 3,000 tons. According to the general consens and rumors in the industry, the Malaysian "second-generation patrol vessels" will also come with:
- Thales Smart-S Mk2 radar
- Thales Captas 2 towed array sonar
- MSI-Defence 30mm guns
- MBDA Mica VL for air defense in VLS cells
- MBDA MM40 Exocet BlkIII anti-ship missiles
ที่มา
http://securemalaysia.blogspot.com/
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/year-2013-news/october-2013-navy-world-naval-forces-maritime-industry-technology-news/1314-malaysian-ministry-of-defence-confirms-construction-of-gowind-ships-for-lcs-program.html
แหม่ เกือบมี long เรดาร์ มาด้วยแล้วไงแหละ
เอามาตั้งแสดงคู่กันนี่มีนัยยะอะไรหรือไม่?
ที่มา ภาพจาก TAF
http://instagram.com/p/gSG9tmMOrW/#
พี่ ทั้งหลาย เรามีกระทู้เรื่องเรือ มา 5 กระทู้ แล้ว แต่ไม่ค่อยมีใครเอ่ยถึง Harpoon เลย ก็เลยถามว่าทำไมต้องเป็น Harpoon ซึ่งรุ่นล่าสุด พิสัย ประมาณ 130 กิโล หรือเปล่าไม่รู้แต่ ซิกม่าเวียดนาม โกวิน มาเล ใช้ EXOCET ตั้งแต่ 180 กิโล เราจะเอา EXOCET หรือ RBS 15 MK3 ก็ได้ ตั้ง 200 กิโล ไม่ได้หรือ มันก็เหมือนว่า มันยิงเราก่อน ที่เราจะยิงถึงมันเสียอีก (คงไม่ถึง อีก 50 กิโล ) เราเราจะทำอย่างไร ยังไม่ถึงระยะยิงของเราเลย มันยิงเราแล้ว เปลี่ยน เปลี่ยน
รุ่นที่เราใช้ปัจจุบันคือRGM-84D Harpoon block 1C ระยะยิง140กิโล
รุ่นล่าสุด(ที่คาดว่าจะจัดหา)คือRGM-84L Harpoon block 2 ระยะยิง278กิโล พร้อมland attack mode
ถามว่าถ้าจัดหามาจะเป็นรองSSMอะไรแถวนี้บ้าง...คงมีแต่3M54 Klub กับ BrahMosเท่านั้น
น่าจะเหนือกว่าKh-35 Ural C-802AและExocet MM40นะครับ
ถ้าอยากใช้ของหนักอย่างBrahMos...อย่าใช้เรือระบบตะวันตกเลยครับ วุ่นวายกว่าให้SAABยิงSM-2อีก
อยากเสนอ และถามผู้รู้ครับว่า แม้ว่าเรือฟริเกตใหม่ของไทยจะไม่มี Asroc รุ่นยิงแนวดิ่ง แต่เรายังมี Asroc ที่เหลือมากับเรือชั้นพุทธ ผมเลยสงสัยว่าแท่นยิง Harpoon จะสามารถใช้ยิง Asroc ได้หรือไม่ (กรณีแท่นยิง Asroc ในเรือชั้นพุทธ ยังสามารถยิง Harpoon ได้เลย) ถ้าได้ผมก็คิดต่อไปว่าเรือใหม่ก็จัดพื้นที่ใหม่เล็กน้อยให้สามารถติดแท่นยิง Harpoon เพิ่มได้จาก 2 แท่นเป็น 4 แท่น รวมจรวดก็ 16 ลูก ส่วนเวลาใช้งานจะติด Harpoon , Asroc อย่างล่ะก็ลูกก็แล้วแต่โอกาส ส่วนแท่นยิงตอปิโดแฟดสาม 2 แท่นก็คงไม่จำเป็นต้องติดตั้งแล้ว
ส่วนแท่นยิง MK41 8 cell (หรืออาจเป็น 16 cell ในอานาคต) ก็เอาไว้ใช้กับ ESSM หรือ SM2 จะดีกว่า
ส่วนแบบเรือล่าสุดผมคิดว่าตอนสร้างจริงอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยวกับโครงสร้างหลัก เช่น อาจเพิ่ม MK41 เป็น 16 cell , การย้ายหรือติด Phalanx เพิ่มที่ด้านหลังของเรือ ซึ่งผมคิดว่าถ้าไม่ต้องเพิ่มงบมากนักก็ควสรทำซะทีเดียวเลย ราคาเรืออาจจะประมาณ 18,000-20,000 ล้าน แต่คุ้มค่า ครับ
mk141 launcherแบบเรือหลวงนเรศวรถูกออกแบบสำหรับจรวดฮาร์พูนเท่านั้นครับ ส่วน mk16 launcherแบบเรือหลวงพุทธใส่ได้ทั้งฮาร์พูนและAsroc แต่ถ้าเป็นmk26 launcherแบบเรือติคอนเดอโรก้า ใส่ได้ทั้งทั้งฮาร์พูน Asroc และ SM-2 เลยนะครับ ส่วนยิงได้ไม่ได้อยู่ที่ระบบบนเรืออีกที
ผมว่าทร.มองๆMILASไว้หน่อยก็ดีนะครับ ปลดเรือพุทธไปก็ลดจำนวนแบบของอาวุธไปได้สองคือMk.16พร้อมRUR-5 และปืนเรือMk.42
มีจรวดใหม่สักแบบจะเป็นไร แต่Saabยิงได้รึเปล่าก็อีกเรื่อง แล้วยังจะเอาMU-90ไปแทนMk.32บน421,422ได้ด้วย ระยะยิงไกลก็ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ไว้เปลี่ยนตอนจะใส่โซนาร์ใหม่ก็ได้