เดี๋ยวนี้เรือเร็วโจมตีติดอาวุธนำวิถี เค้าไม่ค่อยเป็นที่นิยมต่อแล้วหรือครับ
เล็กพริกขี้หนูนะ
-ระยะทำการใกล้ (ไปเช้าเย็นกลับ)
-บรรทุกอาวุธได้น้อย(กว่าฟริเกต)
-ไม่หลากภารกิจพอ(เทียบCorvetteไม่ได้)
-สิ้นเปลืองค่าบำรุงเครื่องยนต์และค่าเชื้อเพลิง (ปราบปรปักษ์นี่จำได้ว่าน่าจะดีเซล4เครื่อง)
-ขนาดเล็ก รบบบตรวจจับใกล้มาก
-คงทนทะเลน้อย เจอคลื่นสูงหน่อยก็จมแล้ว
-ระยะทำการใกล้
-ระบบป้องกันตัวเองแทบไม่มี
-เครื่องบินโจมตี หรือ ฮ.โจมตีก็จมเรือพวกนี้ได้หมด
แทบไม่มีประโยชน์แล้วครับ เพราะ ฮ. จากเรือฟรีเกตสามารถทำลายเรือแบบนี้ได้อย่างง่ายดายมากครับ เลยหมดความนิยม
จริงๆถ้าดูจากหลายๆชาติหรือแล้วแต่ใครจะนิยม ตั้งแต่ปี2000 เรื่อยมา ก็มีการต่อเรือFAC เข้าประจำการกันพอสมควร โดยความสามารถที่เหมือนๆกันมีดังนี้
-เร็วไม่ต่ำกว่า40น็อต
-ระหว่างขับน้ำที่500ตัน
-ตัวเรือแบบสเตล์ทตรวจจับยาก ลดการแพร่สารพัด
โดดเด่นมากที่ระบบอาวุธและอำนวยการรบ โดยเฉพาะระบบค้นหาเป้าหมายในทะเลสำหรับยิงASM ใกล้เคียงเรือฟรีเกตุ(ก็ถอดมาทั้งระบบนั้นแล)
-ASM ระยะยิงเทียบเท่าเรือฟรีเกตุและเป็นรุ่นใหม่ๆที่ระบบนำทางหลายแบบเพื่อเพิ่มโชคการถูก
-มีระบบป้องกันตนเองนอกจากปืนหลัก76มม. เช่น RAM Phalanx อย่างใดอย่างนึงหรือ2อย่างในลำเดียว
-เป้าลวง ระบบECM
ถามว่าด้วยรึ?....มีครับเช่น Ambassador MK II เป็นต้น ส่วนแบบอื่นๆในงานEuronaval ก็มีแบบเรือพวกนี้ออกมาเรื่อยๆ
หรือในชาติที่กองเรือน้อยๆงบไม่มาก ก็จะมีเรือแบบนี้เช่นปากีวถาน พม่า บังคลาเทศ......แน่ๆว่าเน้นเข้าให้ใกล้เป้าหมาย หรือยิงแล้วถอยออกรวดเร็วแบบนี้.......อย่างที่ว่าใช้ข้อดีลำเล็ก รวดเร็ว ถึงถูกยิงสวนก็ยังมีระบบป้องกันตนเอง.......แต่ถ้ามาแบบไม่มีอะไรป้องกันตนเองคงเหมือนตีรถเปล่า ถ้าเป้าหมายโดนจมก็ดีไป แต่ถ้าไม่โดนก็จบเลย
เพราะส่วนตัวคิดว่าถ้่าใส่ระบบอาวุธขนาดนั้น ไม่แปลกที่ไปต่อเรือคอร์เวตหรือOPV ที่ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายกว่าจะคุ้มกว่าเยอะ......อย่างบ้านเราถ้าต่อเรือแบบนี้ไหนจะระบบควบคุมการยิง ASM ระบบป้องกันตนเองระดับCIWS แค่นี้ก็หลายแล้ว ขนาดเรือหลักเรายังมีไม่ครบขนาดนั้นเลย
...แต่ถ้ามีเงินถึงมีซักกองเรือใช้หลบตามเกาะแล้ว เข้าจู่โจม ก็คงจะดี
เรือเร็วโจมตี หรือ Fast Attact Craft (FAC) ยังมีประโยชน์อยู่ครับ ตามที่ท่าน MIG31 ว่าไว้ข้างต้น แต่อาจจะห่างหายไปจากวงการของกองทัพเรือชาติตะวันตก ที่หันไปเน้นเรือ OPV สำหรับภารกิจรักษากฎหมายและ ลว.ในภัยคุกคามระดับต่ำ หรือไม่ก็เป็นฟริเกตขนาดใหญ่ไปเลย แต่ก็ยังมีหลายประเทศที่ยังนิยมเรือ FAC โดยเฉพาะประเทศที่มีกองทัพเรือขนาดเล็กแบบ Coastal Navy หรือประเทศในโซนตะวันออกกลางที่ยังมีภัยคุกคามระดับกลางหรือระดับสูงใกล้บ้าน ซึ่งภารกิจของเรือ FAC ต่างจาก OPV หรือฟริเกต คือเน้นการป้องกันชายฝั่งด้วยอาวุธหนัก มากกว่าการรักษากฎหมาย/ปฏิบัติการในยามสงบที่ไม่มีภัยคุมคาม หรือการออกปฏิบัติการไกลฝั่ง ดังนั้นการใช้เรือหรือความนิยมจึงขึ้นอยู่กับความต้องการทางยุทธการและสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามของประเทศนั้นๆ
ในส่วนของข้อด้อยของเรือ FAC มีคนพูดถึงกันเยอะแล้ว ขอพูดถึงจุดเด่นบ้างดังนี้
- ราคาถูก ใช้กำลังพลน้อย และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าเรือรบแท้ๆ ประเภทอื่น (ราคาเรือและค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่าเรือ OPV แต่มีความแตกต่างตรงที่ได้ขีดความสามารถในการรบแท้ๆ เทียบกับขีดความสามารถในยามสงบที่ไม่มีภัยคุกคามทางทหาร)
- มีความคุ้มค่า ถ้าหารกันตันต่อตันหรือดอลลาร์ต่อดอลลาร์แล้วถือว่าติดอาวุธหนักกว่าเรือฟริเกตหรือคอร์เวตมาก ตัวอย่างเช่นเรือ FAC ลำหนึ่งติดปืน 76 มม. เท่ากับเรือฟริเกตขนาดเล็ก ติดอาวุธปล่อย 4 ลูก เทียบเป็นครึ่งหนึ่งของเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อย 8 ลูก แต่ใช้คนน้อยกว่ากัน 10 เท่า ราคาตัวเรือถูกกว่า และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ทำให้สามารถจัดหาเรือได้จำนวนมากกว่า
- เหมาะกับภารกิจป้องกันฝั่งด้วยขีดความสามารถทางทหารในระดับความขัดแย้งสูง ดีกว่า Coastal Missile Site หรือ Mobile Missile Site เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ และถูกตรวจพบได้ยากกว่า นอกจากนี้ในพื้นที่ที่มีภัยคุกคามทางทหารหรือมีความขัดแย้งในบริเวณใกล้เคียง (อย่างเช่นในตะวันออกกลาง) สามารถใช้เป็นอาวุธเชิงรุกหรืออาวุธป้องปรามได้อีกด้วย
- สุดท้ายในเรื่องของความเชื่อที่ว่า ฮ.ติดอาวุธปล่อยฯ ทำให้เรือ FAC หมดประโยชน์นั้น เป็นความเชื่อเมื่อสมัย 10 กว่าปีก่อน (ความเชื่อนี้เกิดมาจากสมัยสงครามอ่าวที่ ฮ.Lynx ติดอาวุธปล่อยฯ กวาดเรือ FAC ของอิรัคจนหมดอ่าวเปอร์เซีย) แต่เทคโนโลยีและยุทธวิธีไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ โดยเรือ FAC มีจุดแข็งด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว ซึ่งก็มีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธปล่อยนั่นเอง และในปัจจุบันเรือ FAC มีการติดตั้ง SAM เพื่อป้องกันตัวจาก ฮ.ติดอาวุธปล่อย ทำให้ไม่ตกเป็นเป้านิ่งสำหรับ ฮ.อีกต่อไป
อาจจะด้วยเทคโนโลยี ระบบเรดาห์ควบคุมการยิง(สมัยนี้ต่ำๆก็180ก.ม.)มีขนาดเล็กลงเช่นTRSD-3 ตัวอาวุธน้ำหนักเบามากขึ้น ตัวเรือออกแบบได้ดีมากขึ้นเป็นต้น
อย่างอิหร่านเองเรือลำนิดเดียว(ไม่น่าเกิน200ตัน)แบก C704และ705 ระยะยิงเกือบ50ก.ม.ได้ พวกนี้นับว่าเป็นการแลกหมัดแบบราคาถูก ถ้าเป้าหมายเป็นเรือพิฆาตถ้าจมได้ก็คุ้ม แต่ถ้าเรือเร็วดังกล่าวโดนจมก็ยังจ่ายน้อยกว่าเอาเรือใหญ่พอๆกันไปแลก
จึงถือว่าเป็นการป้องกัน ป้องปรามได้ในระดับนึงล่ะ
มาร่วมแสดงความเห็นด้วยคนครับ
ผมว่าเรือพวกนี้อำนาจการยิงและการป้องกันตัวเทียบไม่ได้กับ เรือCorvette
ระยะปฏิบัติการ และ ความคงทนทะเลเทียบไม่ได้ กับ เรือ OPV....
แต่ถ้าด้านคุณค่าทางยุทธการผมว่ายังจำเป็นไม่น้อย....ไม่ต้องไปลอยลำดวลกะเรือลำใหญ่ๆหรอก
เอาไว้แว็บเข้าแว๊บออก..ยิงอาวุธใส่เรือข้าศึกแต่ไกลแล้วรีบเผ่นหนี...ถ้ายิงโดนก็แจ๊กพอตคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
ถ้าไม่โดนก็ยังได้ผลทางจิตวิทยาทำให้ข้าศึกต้องพะวักพะวงไม่สามารถดำเนินการรบได้สะดวก
ถ้าจำไม่ผิด ทร.ของประเทศชั้นนำหลายๆประเทศยังมีเรือประเภทนี้อยู่นะ.
ทางทร.สหรัฐเองก็มีเรือไฮโดรฟอยด์ติดอาวุธนำวิถีฮาร์พูนใช้งานด้วย...ผมว่ามันก็เป็นเรือเร็วโจมตีประเภทหนึ่งนะ..
แต่ตอนนี้ไม่รู้ยังประจำการอีกรึเปล่า....ญี่ปุ่นก็มีลำเล็กๆน่ารักพกจรวดไป 2 ลูก..ทร.ทางยุโรปหลายๆประเทศก็มี
แต่ของ ทร.ไทยรู้สึกว่าพักหลังๆเรือพวกนี้จะไม่ค่อยได้ออกสื่อซักเท่าไหร่....พวกเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง กับ OPV
ยังได้ออกสื่อมากกว่าอีก
ส่วนเรื่อง ฮ.สามารถล่าทำลายเรือประเภทนี้ได้อย่างง่ายดายนั้น...ผมว่าตอนนี้น่าจะไม่หมูอย่างแต่ก่อนแล้ว
เพราะสมัยนี้มีการนำ manpad มาพัฒนาติดตั้งบนแท่นยิงใช้งานบนเรือรบได้ อย่างพวก ระบบ Simbad หรือ mistral
น่าจะนำมาใช้เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานบนเรือลำเล็กได้สบาย....แถมเรือเร็วโจมตีจากฝั่งรัสเซียก็ติดตั้ง
แท่นปืนแกตลิ่ง 30 ม.ม. ซึ่งเป็นระบบปืนแบบเดียวกับที่ใช้ในติดตั้งบนเรือขนาดใหญ่...น่าจะมีขีดความสามารถพอสมควร
ในการยิงทำลายอากาศยานที่เข้ามาคุกคาม และ อาวุธนำวิถีที่พุ่งเข้าหาเรือ
สรุปก็คือ ผมว่าเรือประเภทนี้มันคุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ....ในยามสงครามก็ไปแอบลักไก่ดักยิงเรือใหญ่ก็ได้
ยามสงบก็ถอดอาวุธนำวิถีออก...เอามาใช้ในบทบาทเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งก็สามารถทำได้ โดยค่าใช้จ่ายในการออกเรือ
แต่ละเที่ยว น่าจะประหยัดไม่แตกต่างจากเรือตรวจกาณณ์ลำเล็กๆซักเท่าไหร่
ขอบคุณมากครับท่านกับตันนีโมและท่าน MIG-31 ผมก็มองผ่านจากบทวิเคราะห์ของชาติตะวันตกที่เน้นสงครามทางทะเลแบบบลูเนวี และเน้นไปทุบหัวชาวบ้านเขาเป็นหลัก เลยมองไปตามมุมนั้นไปด้วย
ถ้ามองในแง่ของชาติเล็กๆ งบน้อย เกาะแก่งเพียบอย่างฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่อินโดที่มีงบประมาณมากกว่ามาก แต่เกาะแก่งเพียบสุดๆ เออ.......แบบนี้เข้าท่านะ
สำหรับไทยในมุมมองของผม OPV ที่สามารถ upgrade เป็น corvette ได้เมื่อจำเป็น น่าจะมีความเหมาะสมกว่าครับ