ประวัติส่วนตัว
Siroco (S 72) เป็นเรือดำน้ำชั้น Agosta เข้าประจำการในกองทัพเรือสเปนวันที่ 5 ธันวาคม 1983 ตัวเรือยาว67เมตร กว้าง6เมตร ระวางขับน้ำปรกติ1,500ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่1,760ตัน สามารถดำน้ำลึก300เมตร มีอาวุธเป็นตอร์ปิโดขนาด21นิ้ว4ท่อ สามารถบรรทุกตอร์ปิโดไปได้16นัด ความเร็วสุงสุดขณะลอยลำ12น็อตขณะดำใต้น้ำ22.5น็อต
ทร.สเปนสร้างเข้าประจำการ4ลำโดยที่ Siroco (S 72) เป็นลำดับที่ 2 ประเทศอื่นที่สร้างเข้าประจำการด้วยก็คือทร.ฝรั่งเศส4ลำ (ปลดระวางหมดแล้วแทนที่ด้วยเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยน) ปากีสถาน 5ลำ โดยเป็นรุ่น Agosta 90Bจำนวน3ลำและ2ลำสุดท้ายต่อเองในประเทศ ถึงปัจจุบันสายการผลิตยังคงเปิดอยู่ปากีสถานมีสิทธิบัตรสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้ด้วย
หัวกระทู้ทำไมใส่เครื่องหมาย" "ไม่ได้นะ แล้วผมจะแก้ไขหัวกระทู้ยังไงครับเนี่ยโชว์บื้ออีกแล้วเรา
ผมงานในอดีตที่เคยปรากฎ
เรือยังเข้าประจำการไม่ถึง2ปีดีก็มีวีรกรรมเป็นที่ปรากฎเสียแล้ว วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 1985 เรือSiroco ได้ร่วมซ้อมรบกับเรืออื่นตามปรกติ เรือพิฆาต Valdes D-23ตามภาพล่างอยู่ไม่ห่างมากนัก เมื่อถึงเวลาที่กำหนด Sirocoจึงลอยขึ้นผิวน้ำในระดับส่องกล้องเปอร์ริสโคป ส่วนเรือValdesก็กลับหลังหัน180องศาตามโปรแกรมที่ได้รับ เรือทั้ง2ลำเข้าใกล้กันมากเกินไปจนหักหลบไม่ทัน ส่วนหนึ่งของหอบังคับการเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมเสียหายตามภาพจึงจำเป็นต้องเข้าโรงซ่อมโดยด่วน
ส่วนผู้ก่อเหตุอีกรายคือเรือพิฆาต Valdes D-23 ที่มีความยาว114เมตร กว้าง12เมตร ระวางขับน้ำ3,100ตัน เกิดความเสียหายอย่างหนักจนต้องปลดระวางในปีถัดไปทันที ผมล้อเล่นครับเธอได้รับความเสียหายนิดหน่อยเท่านั้นเอง แต่เนื่องจากรับใช้ชาติมานานถึง29ปีแล้วจึงถึงเวลาพักผ่อนเสียที การเฉี่ยวชนกับเรือดำน้ำชั้นAgostaถือเป็นผลงานครั้งสุดท้ายก็ว่าได้ Destructor Almirante Valdés D-23 (1959-1986)
http://perso.wanadoo.es/pfcurto/accidente/siroco.html
เรือรบจากประเทศยุโรปและอเมริกาส่วนมากจะประจำการไม่เกิน30ปีทั้งนั้น ฝรั่งเศสประจำการเรือดำน้ำชั้นAgostaแค่เพียง20ปีเท่านั้นเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาสามารถสร้างเรืออุปกรณ์ต่างๆและอาวุธได้เอง เรือที่สร้างจึงมีราคาที่ไม่แพงและเป็นการสร้างงานให้คนในชาติอีกด้วย
วีกรรมครั้งสุดท้าย
ในปี2010ภายใต้การปฎิบัติการของนาโต้ Sirocoถูกส่งไปสังเกตุการณ์นอกชายฝั่งประเทศซีเรีย วันที่2มีนาคมใกล้ท่าเรือ Tartusเขาสามารถจับภาพเรือต้องสงสัยได้ บนเรือลำนั้นบรรทุกอาวุธที่คาดว่าจะเป็นจรวด Scuds และ M-600ที่กำลังขนออกนอกประเทศ แม้ซีเรียจะปฎิเสธเสียงแข็งมาโดยตลอดว่าไม่เคยให้ความช่วยเหลือกองกำลังติดอาวุธHezbollahในเลบานอนเลยก็ตาม แต่ภาพถ่ายของเรือ Siroco นี้สามารถยืนยันคำตอบทุกอย่างได้เป็นอย่างดี การลักลอบขนจรวดและอาวุธแบบนี้ยังคงมีจากฝั่งอิหร่านอีกด้วยทำให้สถานการณ์ความรุนแรงระหว่างเลบานอนกับอิสราเอลไม่เคยลดลงไปแม้แต่น้อย
จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่า นี่คืออีก1ภาระกิจสำคัญ(มาก)ที่เรือดำน้ำสามารถทำได้ เป็นงานจารกรรมสุดคลาสิคด้วยเรือดำน้ำครั้งล่าสุดของโลกและเป็นภาระกิจสุดท้ายของเรือลำนี้ด้วยเช่นกัน
การปลดประจำการ
ในปี2012 รัฐบาลสเปนประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ทำให้ต้องตัดลดค่าใช้จ่ายทางทหารลงจำนวนมาก เรือ Siroco จำเป็นต้องเข้ารับการปรับปรุงซ่อมแซมทั้งภายนอกและภายในตัวเรือนับเป็นมูลค่าสุงถึง25ล้านยูโร สัญญาที่ทำไว้กับ Navantia ถูกยึดออกไปเรื่อยๆและในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจปลดประจำการเธอ ช่วงเวลานั้นรัฐบาลสเปนพยายามเสนอขายเรือลำนี้ไปยังประเทศ ตุรกี ปากีสถานและประเทศไทย แต่ผลการเจรจาไม่เป็นที่ประสบความสำเร็จ วันที่ 29 มิถุนายน 2012 เรือดำน้ำ Siroco (S 72) จึงปลดประจำการ หลังจากรับใช้ประเทศมาเป็นเวลาเกือบ29ปีเต็ม โดยมีภารกิจจริงทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 33,000 ชั่วโมง นับเป็นเวลามากถึง2,200 วันในทะเล Submarino Siroco S-72 (1983-2012)
Siroco (S 72) กับกองทัพเรือไทยในอดีต
ข่าวเรือดำน้ำ Siroco ลำนี้ผมรวบรวมข้อมูลจากฝั่งสเปนอย่างเดียวนะครับแน่ใจว่าสื่อมวลชนในไทยเคยมีการเผยแพร่บ้างหรือไม่ ในช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมากองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำมือ2เข้าประจำการ นอกจากข่าวกับเรือU206Aแล้วทร.ไทยยังมีความสนใจในเรือลำนี้อีกด้วย จากวิกิได้บอกว่าสเปนแจ้งความจำนงในการขายเรือไปยังหลายประเทศและมีเพียง Tailandia เท่านั้นที่สนใจติดต่อกลับมา
ปลายปี2011 สื่อมวลชนจากสเปนออกข่าวเยอรมันประสบความสำเร็จในการขายเรือดำน้ำมือ2ชั้นU206Aจำนวน2ลำให้กับประเทศไทยมีมูลค่ารวม220ล้านเหรียญ (แต่ข่าวในบ้านเราคือเรือดำน้ำ4ลำและเรือดำน้ำอะไหล่อีก2ลำ) นั่นทำให้โอกาสสุดท้ายที่สเปนจะขายเรือลำนี้หลุดออกไปเสียแล้ว ในข่าวยังมีการเปรียบเทียบเรือทั้ง2แบบและบอกว่าเรือสเปนใหญ่กว่าใหม่กว่าทันสมัยกว่าดำน้ำลึกกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของสื่อมวลชนที่ดีที่จะต้องเขียนถึงประเทศตัวเองในทางที่ดีโดยตลอด
ปี2012ทร.ยื่นเรื่องซื้อเรือU206Aกับกระทรวงกลาโหม นับเป็นการเล็งเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดน่าสนใจที่สุดและน่าจะดีที่สุดสำหรับเรา แต่พวกเขาทำพลาดไม่มีการส่งเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรี โครงการนี้จึงต้องยุติลงเป็นการชั่วคราวไปก่อน
ทีนี้เรามาคุยเรื่องสมมุติกันดูบ้างนะครับ ถ้าทร.เลือกเรือจากสเปนจะต้องเสียค่าซ่อมเรือให้กลับมาใหม่เอี่ยมพร้อมใช้งานไปอีก10-15ปีเป็นเงิน 25ล้านยูโร ผมไม่แน่ใจนะครับว่ารัฐบาลสเปนจะขายเราในราคาเท่าไหร่แต่คิดมั่วๆไปว่าราคาการขนส่งการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และฝ่ายซ่อมบำรุง รวมไปถึงอะไหล่จำนวนหนึ่งที่ทำให้เรือใช้งานได้อย่างน้อยที่สุดก็อีก25ล้านยูโร รวมแล้วเป็นเงินขั้นต่ำ25+25=50ล้านยูโรหรือประมาณ2000ล้านบาท ถ้าเรื่องทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีเราจะมีเรือดำน้ำขนาด1,500ตันที่ซ่อมแซมใหม่หมด ใช้สำหรับฝึกหัดและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเรือดำน้ำรุ่นใหม่สมรรถนะสุงในอนาคตจำนวน1ลำ และเธอน่าจะพร้อมเข้าประจำการได้อย่างช้าที่สุดก็ปลายปีนี้แหละ
http://www.laverdad.es/murcia/v/20120508/cartagena/armada-baja-siroco-centra-20120508.html
Siroco (S 72) กับกองทัพเรือไทยในอนาคต
แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของทร.ไทยจะหยุดชะงักไปเกือบปีแต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะยุติไปเลยนี่ ยังมีโครงการนี้อยู่และในเฟส1นี้ทร.ต้องการเรือสำหรับฝึกหัดในระดับประถม นับเป็นความคิดที่ผมเห็นด้วยมากครับพวกเขาเรียนรู้สิ่งที่เคยเกิดและก้าวผ่านมันไปได้แล้ว แปลไทยเป็นไทยก็คือทร.ต้องการเรือดำน้ำมือ2จำนวนหนึ่งก่อนจะมีการจัดหาเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมเข้าประจำการอีกที
ภาพแรกเป็นภาพจากเว็บบล็อกท่านหนึ่งที่ลงข่าวเรือ Sirocoในวันที่เธอปลดประจำการ ภาพระบุชื่อว่าเป็นเรือS-72แต่ในวันนั้นจริงๆเรือยังอยู่ในทะเลตามรูปอยู่เลย ผมก็เลยไม่แน่ใจว่าตกลงเป็นรูปเรือลำนี้จริงไหมช่วงเวลาไหนหรือเป็นเพียงภาพประกอบกันแน่ ผมจึงขอตั้งสมมูติฐานเอาไว้ว่าเรือลำนี้ยังคงสภาพดีอยู่ขณะเดียวกันเรือU206Aอีก2ลำก็ยังไม่โดนทุบทิ้ง เรือดำน้ำเฟส1ของเราจะเป็นนัดล้างตาของเรือเยอรมันกับเรือสเปนได้เลย
เรือสเปน1ลำ50ล้านยูโรได้เรือฝึก1ลำซ่อมแซมใหม่เอี่ยมใช้งานได้ประมาณ10-15ปี(ไม่แน่ใจว่าซ่อมอะไรบ้างแต่น่าจะเยอะ) หรือเรือเยอรมัน2ลำ50ล้านยูโรได้เรือฝึก2ลำที่ผ่านการปรับปรุงมาแล้วระยะหนึ่งสามารถใช้งานได้ประมาณ10ปี มีดีกันคนหละแบบครับอยู่ที่ว่าทร.ต้องการแบบไหนมากกว่ากัน แต่ราคาน่าจะถูกว่าU209จากเกาหลีใต้(ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการขายนอกจากข่าวลือไปเอง)มากพอสมควร
แต่ถ้าในความเป็นจริงทั้งSirocoและU206Aหมดสภาพไปแล้วหละ จะยังมีเรือลำไหนมาเปรียบเทียบกับU209เกาหลีใต้อีกหรือเปล่า สเปนมีแผนการสร้างเรือดำน้ำ S-80 Classจำนวน4ลำมูลค่าลำละประมาณ700ล้านเหรียญ อย่าลืมว่าเขาต่อเองราคาจึงถูกกว่าเราเป็นคนไปซื้อนะครับ เรือลำแลกจะส่งมอบในปี2014แล้วเข้าประจำการในปีถัดไป และเรือจะมาแทนที่ Siroco (S 72)ที่เราคุยกันมาโดยตลอดนั่นเอง
มาดูพี่น้องอีก3ลำของเธอกันบ้างครับ Mistral (S 73) ที่เข้าประจำการในปี1985 ณ.เวลานี้กำลังได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่และจะกลับเข้าประจำการในเดือนพฤษจิกายน 2013 ส่วน Galerna (S 71)ที่เข้าประจำการในปี1983 และ Tramontana (S 74) ที่เข้าประจำการในปี1985 ทั้ง2ลำจะมีโปรแกรมการปลดประจำการในปี 2015 และรัฐบาลสเปนพร้อมจะขายให้กับชาติที่สนใจอย่างแน่นอน โครงการจัดหาเรือดำน้ำเฟส1ของเรายังมีโอกาสนี้อยู่ ถ้าสนใจจริงๆควรจะรีบติดต่อสเปนล่วงหน้าได้เลยนะครับ
100ล้านยูโรสำหรับเรือฝึก2ลำที่ปรับปรุงใหม่หมดสามารถใช้งานได้10-15ปีแล้วจากนั้นค่อยว่ากัน หรือจะลดราคาลงไปครึ่งหนึ่งเพื่อเรือสำหรับฝึก2ลำที่ใช้งานได้ประมาณ8ปีก่อนจะก้าวไปยังเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมต่อไป ถ้าพลาด2ลำนี้ยังมี Mistral ที่ปรับปรุงใหม่เอี่ยมรอตบท้ายอยู่อีกลำนะครับ เรือดำน้ำS-80ต้องเข้าประจำการทั้งหมดภายในปี2020และสเปนจำเป็นต้องปลดประจำการเรือMistralอย่างเลี่ยงไม่ได้ โอกาสเป็นของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ครับ ผมแค่หาข้อมูลมาบอกแต่คนสานฝันต้องทำมันต่ออีกที
http://www.murciatoday.com/navantia-announce-delays-in-the-s_80-submarine-programme_16545-a.html
การจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการของกองทัพเรือมาเลเซีย
Ouessant (S623) เป็นเรือดำน้ำชั้น Agosta จากฝรั่งเศสที่ปลดประจำการไปแล้วตั้งแต่ปี2001 แต่ในปี2005เธอถูกส่งต่อมายังมาเลเซียเพื่อฝึกหัดและเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง 5ปีต่อมาเมื่อเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยนที่ใหม่เอี่ยมและทันสมัยส่งมอบมายังมาเลย์เซียแล้ว Ouessant (S623) จึงถูกปลดประจำการเป็นครั้งที่2 อีก2ปีให้หลังเธอได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เรือดำน้ำให้ทุกคนเข้ามาเยี่ยมชม ถ้าใครเคยไปเที่ยวที่มะละกาอาจจะเห็นภาพเรือลำนี้ผ่านตาบ้างก็ได้ครับ
ส่วนการจัดหาเรือดำน้ำของประเทศไทยจะออกมารูปแบบไหนเราคงได้ทราบกันในไม่ช้านี่แหละ เรือดำน้ำชั้น Agosta จากประเทศสเปนเป็นเรือเก่าที่ทำการรบรูปแบบใหม่ไม่ดีนัก แต่เธอยังคงมีคุณค่าในการฝึกสอนลูกประดู่ไทยทุกคนให้มีความพร้อมสำหรับอนาคตต่อไป
เข้ามาเพิ่มรูปเรือAlmirante Valdésให้ครับ ฟันหน้าหายไปเลยกลายเป็นฉลามจริงๆกันหละคราวนี้
ผมยอมรับ ว่าผมเคยแอนตี้ U206A มาก่อน แต่ ตอนนี้ผมรู้สึกเสียดายเหมือนกันที่เราไม่ได้มันมา
จากเหตุการณ์ที่เรือดำน้ำของอินเดียระเบิด ทำให้ผมเห็นความสำคัญของเรือดำน้ำรุ่นเก่าๆขึ้นมา
ผมคิดว่า เรือดำน้ำรุ่นเก่าๆมีนมีประโยชน์ในการฝึกลูกเรือมาก เพราะเกือบทุกอย่างยังเป็นระบบ แมน่วล
หรือ กึ่งแมน่วล ทำให้เราเรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานได้เร็ว เปรียบเหมือนเราหัดขับรถเกียร์ธรรมดา
แต่พอไปเจอเกียร์ออโต้ ก็กลายเป็นเรื่องเด็กๆไปเลย
หากเกิดปัญหา ลูกเรือจะสามารถแก้ปัญหาได้เอง พอไปเจอเรือดำน้ำรุ่นใหม่ๆที่เต็มไปด้วยฟังก์ชั่นอิเลคทรอนิคส์
เราก็จะสามารถตัดฟังก์ชั่นนั้นออก แล้วไปใช้ระบบแมน่วลได้ทั้นที เพราะเราเข้าใจหลักการทำงานมันแล้ว
พูดจากใจน่ะครับ ขออภัยที่ผมเคยว่า U206A แบบเสียๆหายๆ
บังคลาเทศ อาจจะเป็นผู้สนใจอีกประเทศก็ได้ครับ...หลังจากพลาด เรือดำน้ำจาก อิตาลี่..มาแล้ว...
ยิ่ง แนวโน้ม พม่า น่าจะจัดหาเรือดำน้ำ ในอนาคตอันใกล้ นี้...
บังคลาเทศ กับ พม่า จะจัดหาอาวุธ คล้าย ๆ กัน (ไม่รู้ว่าทำไม ? เพื่อสร้างความสับสน รึเปล่า ก็ไม่รุ๊)
พม่า ฝึกกับ Agosta ของ ปากีฯ (แนวโน้ม น่าจะเป็นลูกค้ารายแรกของ ปากีฯ)
บังคลาเทศ อาจจะหันไปเหลียวมอง Agosta เก่าของ สเปน บ้างก็ได้...
ทำไมเราไม่ซื้อแบบเรือดำน้ำญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมาต่อเองล่ะครับเช่น I401 I507 หรือไม่งั้นก็ไปฝั่งเยอรมัน พวกเรืออู ซึ่งสร้างชื่อไว้มากมาย ถึงจะ70ปีผ่านมาแล้วเราก็น่าจะมีปัญญาต่อออกมาเองได้ไม่ยากนะ ถึงจะโบราณ แต่ราคาก็ไม่แพงต่อออกมาเยอะๆก็เพอเพียงต่อการป้องกันประเทศ(เอามาซัก20ลำ) พอมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นก็ค่อยขยับไปทีละขั้น ถึงจะช้าไปแต่ก็ดีกว่าเราไม่ลงมือทำอะไรเลยนะ
เซ็งเป็ดครับ นั่งพิมพ์ตอบอยู่ตั้งนาน พอกดส่งบอกให้ log in ใหม่แล้วข้อความเดิมหาย...
เอาใหม่ก็ได้ เรื่องของเรื่องก็คือ การซื้อเรือมือ 2 เพื่อมาเริ่มหาประสบการณ์และฝึกความชำนาญก่อน เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ แต่ควรจะมองไปข้างหน้าถึงเรือชุดหลักที่จะมาทดแทนเรือมือ 2 ชุดแรกด้วย เนื่องจากเรือดำน้ำลำหนึ่ง นอกจากตัวเรือแล้วยังต้องมีสิ่งสนับสนุนอื่นๆ เช่น ระบบการซ่อมบำรุง อะไหล่ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ท่าเรือ ระบบอาวุธ ไปจนถึงระบบการฝึกกำลังพล ซึ่งสิ่งสนับสนุนพวกนี้จะมีความเฉพาะเจาะจงกับพื้นฐานของเรือดำน้ำลำนั้น และในกรณีของการซื้อเรือมือ 2 ย่อมเหลืออายุการใช้งานกับเราไม่นาน (อาจจะ 10-20 ปี) และในที่สุด ทร.ก็ต้องมีโครงการหาเรือมาทดแทน และเมื่อถึงเวลานั้นหากได้เรืออื่นที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน จะทำให้ ทร.ต้องลงทุนกับสิ่งสนับสนุนต่างๆ ใหม่เกือบทั้งหมด และทำให้การลงทุนกับเรือชุดแรกไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร
ในกรณีของเรือ 206A จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะ ทร.ได้เรือมือ 2 จำนวนมากพร้อมอะไหล่และสิ่งสนับสนุนในราคาลดแลกแจกแถม แต่ถ้ามองไปถึงเรือชุดทดแทน ทร.จะมีตัวเลือกจาก 209/214/210mod มือ 1 จากเยอรมัน หรือ 209 มือ 2 และ 209/214 มือ 1 จากเกาหลี ซึ่งเป็นเรือที่มีพื้นฐานเดียวกัน (สังเกตว่ามาเลเซียฝึกกับเรือชุด Agosta ในระหว่างที่รอต่อชุด Scorpene และสิงคโปร์เริ่มจากชุด Sjöormen มือ 2 จากสวีเดน แล้วก็ซื้อชุด Västergötland มือ 2 จากสวีเดนเพิ่ม ซึ่งเป็นเรือพื้นฐานเดียวกัน) และ ทร.ก็คงมองตรงจุดนี้แต่ไม่ได้พูดออกมา ทำให้ถูกโจมตีจากผู้ที่สนับสนุนเรือเกาหลีเสียด้วยซ้ำ ทั้งที่ไม่น่าจะถูกโจมตีในมุมนั้นได้เลย เพราะเรือเกาหลีก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งของเรือชุดทดแทนอยู่แล้ว แต่บ่นไปตอนนี้ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นมันก็ได้ผ่านไปแล้ว
ในส่วนของเรือ S-72 ซึ่งเป็นชุด Agosta ก็เป็นที่น่าสนใจ และทางเลือกของเรือชุดทดแทนของ ทร.ก็จะอยู่ในกลุ่ม Scorpene หรือ S-80 หรือ Agosta 90B (เสียดายนิดเดียวตรงที่ชุด Scorpene มีประวัติไม่ค่อยดีกับโครงการของมาเลเซียและอินเดีย) ซึ่งหากเรือชุดทดแทนอยู่ในกลุ่มพื้นฐานเดียวกันนี้ก็จะช่วยให้ ทร.ไม่ต้องลงทุนกับสิ่งสนับสนุนชุดใหม่มากจนเกินไป
สรุปก่อนปิดท้ายก็คือ การมองเรือมือ 2 เพื่อมาหาประสบการณ์และความชำนาญก่อนเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่เราควรมองไปข้างหน้าถึงเรือชุดหลักที่จะมาทนแทนเรือชุดแรกด้วย เพื่อให้การลงทุนกับเรือชุดแรกเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าหาเรือมือ 2 ที่ไหนมาก็ได้ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องเรือทดแทนเมื่อใกล้หมดอายุการใช้งานกันอีกที...
ส่วนเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อเรือเอง ในกรณีของเรือดำน้ำน่าจะเป็นการลงทุนที่สูงมาก และใช้เวลานานมากอีกด้วย ดูอย่างกรณีอินเดีย (ซึ่งมีเทคโนโลยีขนาดส่งดาวเทียวขึ้นสู่วงโคจรเองได้) ต้องใช้เวลาถึงเกือบ 40 ปี กว่าจะต่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์เองได้ และเรือดังกล่าวยังต้องทำการทดสอบทดลองอีกหลายปี หรือโครงการพึ่งพาตนเองอื่นๆ ของอินเดีย เช่นการต่อเรือบรรทุกเครื่องบิน ก็เป็นโครงการที่เกินกำหนดเวลาและเกินงบเกือบ 2 เท่า ส่วนเรือดำน้ำดีเซล (ซื้อเทคโนโลยีจากฝรั่งเศส) เริ่มโครงการไปตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ปัจจุบันคาดว่าจะส่งมอบเรือลำแรกได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า รวมเวลา 7 ปีเต็ม ทั้งที่ตอนแรกประมาณการไว้ว่าจะสามารถส่งมอบเรือได้ภายใน 4 ปี
การพึ่งพาตนเองเป็นเรื่องดีครับ แต่ถ้าทำเกินกำลังตัวเองก็จะเจ็บหนักและอาจไม่สำเร็จด้วย ซึ่งตอนนี้ ทร.กำลังเริ่มต้นกับการต่อเรือผิวน้ำด้วยตนเอง และหากอนาคตเรือรบชุดหลักที่เป็นม้าใช้ของ ทร. คือเรือ ตกป. และ ตกก. สามารถต่อได้เองในประเทศทั้งหมดแล้วก็จะเป็นเรื่องที่น่ายินดี รวมทั้งอาจเป็นพื้นฐานสำหรับการต่อเรือดำน้ำเองต่อไปในอนาคตได้ แต่กว่าจะถึงตอนนั้นคงยังต้องใช้ความพยายามกันอีกนานครับ
....น่าเสียดาย U-206 A มากครับ ตัวเรือมีเปลือกเป็น Stanless ทั้ง 2 ชั้น เหมาะกับการหาข่าวเมืองท่าตามชายฝั่ง
และรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษมาก จะใช้ต่อต้านและทำสงครามใต้น้ำก็ได้ ประหยัดทั้งเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายปฏิบัติการ
...แต่ที่ปรึกษากลาโหมด้านกองทัพเรือไม่เอา ต้องการให้เอาเรือใหม่อย่างเดียว (ไม่ฟังเสียงใคร ไม่มีเหตุผลอีกต่างหาก)
ทุกวันนี้เหตุผลที่ดีๆ ยังไม่เคยได้ยิน ว่าทำไมจึงไม่ยอมให้ผ่าน....
...ส่วนเรือ "อกูสต้า" เปลือกเป็นเหล็ก ถ้ารีโนเวตใหม่ ก็ต้องทำทั้งเปลือกและเนื้อใน หนักกว่า 2 เท่าเลย
...เมืองไทย ผมว่าเรือดำน้ำชายฝั่ง 4 ลำไม่เพียงพอใช้งานครับ ยังไงก็ต้องมีเรือใหม่เสริมอีก 2 ลำ
ตอนนี้ถึงได้เรือใหม่ๆ 2 ลำ ก็ไม่พอใช้งานครับ (การไม่เอา U-206 เป็นอะไรที่ งงงง มาก)
ดูข้อมูลใน TAF เหมือน 206 ชุดนี้ไม้ใช่ชุดแรกที่ ทร ปฎิเสธ ก่อนหน้านี้ อิสราเอลเคยจะให้เรือดำน้ำ gal class (206 version อิสราเอล)ของอิสราเอล ให้กับ ทร ฟรีๆ แต่ทรก็ไม่เอา ....
โครงการ 206A ล่าสุด ถ้าจำไม่ผิดเสนอจาก ทร.ไปเข้ากลาโหมแล้วครับ มากกว่า 1 ครั้งด้วย แต่ถูกให้กลับไปทบทวน และเมื่อทบทวนแล้วก็ไม่ถูกเสนอในที่ประชุม ครม. อย่างไรก็ดี ไม่อยากให้ยึดติดกับอดีตครับ อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ย้อนกลับไปแก้ใหม่ไม่ได้ ควรเอามาเป็นบทเรียนสำหรับการเสนอโครงการเรือดำน้ำครั้งต่อไปของ ทร.ดีกว่าว่าทำอย่างไรจึงจะไม่พลาดอีก
ท่านกับตันนีโมเขียนบนwordแล้วเอามาแปะแบบผมสิครับ หรือไม่ก่อนจะกดส่งให้เลือกทั้งหมดแล้วcopyกันเหนียวไว้ผมทำแบบนี้ทุกครั้งที่เขียนอะไรยาวๆ ต้องเข้าใจนะครับว่าเว็บบอร์ดของเราไม่ได้มีงบประมาณสุงแบบที่อื่น ถ้าคนของบริษัทขายอาวุธได้อ่านความเห็นนี้ของผมแล้วรีบไปบอกเจ้านายให้มาซื้อโฆษณาที่นี่โดยด่วนเลยนะครับ เรารับทุกประเทศไม่มีการแบ่งค่ายหรือชนิดของสินค้าโดยเด็ดขาด เมื่อผมเห็นโลโก้ของท่านบ่อยๆก็จะอยากหาเรื่องของท่ามานำเสนอบ่อยไปด้วยหละครับ รับรองตรงไปตรงมาแน่นอน^_^
เรื่องเรือดำน้ำผมว่าแค่เป็นค่ายยุโรปเหมือนกันก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร สมมูติเรารับเรือAgostaมาฝึกไปก่อนถึงเวลาจัดหาเรือใหม่จากยุโรปไม่ว่าจะเป็นสกอร์เปี้ยน,S-80(สกอร์เปี้ยนเวอร์ชั่นอเมริกาที่เหมาะกับไทยมาก) ,Marlin(สกอร์เปี้ยนฝรั่งเศสแท้ๆ อย่าไปเอาเลยวุ่นวายชะมัดประเทศนี้) ที่เป็นสายพันธ์เดียวกัน หรือจะข้ามรุ่นไปยังType 214ของเยอรมันหรือDW1400T ของเกาหลีใต้ ก็ไม่น่าจะวุ่นวายในการใช้งานมากนัก แต่ถ้าข้ามไปเรือดำน้ำกิโลรุ่นใหม่ล่าสุดแบบนี้น่าจะปวดหัวตื๊บมากกว่านะครับ
มาเลเซียใช้เรือAgostaโคตรเน่าสำหรับฝึกแล้วข้ามไปสกอร์เปี้ยนเลย 5-10ปีนับนี้จะเป็นช่วงเวลาลำบากมาก ส่วนหนึ่งของปัญหาเรือลำนี้คือคนของมาเลเซียยังตามเทคโนโลยีไม่ทัน จากที่เคยทำแค่ดำๆโผล่ๆกลายมาเป็นระบบทันสมัยสุดๆก็เลยไปไม่ค่อยเป็น แต่ถ้าเขาใช้งานเรือได้คล่องเมื่อไหร่จะมีความน่ากลัวสุงมากเพราะเรือยิงได้ทั้งตอร์ปิโด เอ๊กโซเซ่ต์ และจรวดต่อสู้อากาศยาน(ไมคาและหรือมิสตรัล)นับเป็นเรือสมรรถนะสุงมาลำหนึ่ง ในอนาคตเมื่อเขาคล่องตัวแล้วผมว่าคงจะตามมาอีก2ลำแน่นอน
ส่วนสิงค์โปร์ที่ใช้เรือดำน้ำมือ2ของสวีเดนมาตลอดผมว่าเมื่อเขาจัดหาลำใหม่จะมีปัญหาพอสมควร เพราะถ้าสืบสายเลือดกันต่อก็ต้องเป็นรุ่นA26ที่ยังสร้างไม่เสร็จเสียที เรือลำนี้ดีมากครับมีความstealthสุงปฎิบัติการริมชายฝั่งตื้นๆได้ดี "แต่" ยิงได้แค่ตอร์ปิโดเท่านั้นและต้นทุนในการสร้างสุงมากทำให้ราคาไม่ถูกกว่าสกอร์เปี้ยนหรือS-80เลย สวีเดนเป็นประเทศเล็กๆมีเงินไม่มากในอดีตต่อเรือดำน้ำเพื่อใช้เองในประเทศ แต่การอัพตัวเองไปแข่งกับตลาดโลกมันคนหละเรื่องกัน
เรือดำน้ำใหม่ๆมีต้นทุนในการพัฒนาสุงบรรลัย สวีเดนจีบสิงค์โปร์ให้ช่วยออกเงินวิจัยพัฒนาด้วยนั่นเป็นการมัดมือมัดเท้ากันหละทีนี้ ถ้าสิงคโปร์อยากให้เรือตัวเองยิงฮาร์พูน(หรือRBS-15)ได้ รวมทั้งAIM-9Xได้ ต้องลงเงินในการพัฒนาเพิ่มอีกเยอะเลยครับ(สวีเดนไม่สนใจอยู่แล้วจะยิงไปทำไม) แต่ถ้าซื้อแบบเดิมเป๊ะๆก็จะได้เรือราคาเท่ามาเลเซียแต่ยิงได้แค่ตอร์ปิโดเท่านั้นเลือกเอา
ผมถึงบอกแหละว่าสิงค์โปร์สบายตอนนี้แต่ลำบากช่วงหลังแน่ๆ ส่วนมาเลย์ลำบากมันตั้งแต่ไก่โห่แต่ต่อไปจะสบายตัวแล้ว ขณะที่ไทยแลนด์เอาเรือฝึกดำน้ำมาซัก1ลำก่อนเถอะน่า เมื่อพลาดโอกาสสำคัญไปแล้วคงไม่เลือกมากอีกแล้วนะครับท่าน เรื่องเรือดำน้ำมาเลเซียกับสิงคโปร์ขอไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติมเยอะๆก่อนถึงจะเขียนถึงมากกว่านี้ได้
เรือดำน้ำสวีเดนออกแบบโดยเยอรมัน
ขอบคุณท่าน superboy สำหรับคำแนะนำครับ เมื่อก่อนก็เคย copy ไว้ก่อนกดส่งตั้งแต่สมัยก่อนจะมาเป็นบอร์ดไฮเทคแบบตอนนี้ แต่พอเว้นไปนานก็ลืม ต่อไปก่อนกดส่งคงต้อง copy ไว้ก่อนแบบเดิม
ส่วนเรื่องเรือดำน้ำต่างค่าย ถึงจะดูคล้ายกันโดยผิวเผิน (เช่นมาตรฐานยุโรปเหมือนกัน) แต่รายละเอียดภายในมีความแตกต่างกันพอสมควรครับ ตั้งแต่ concept ในการออกแบบเรือและการคำนวณ เยอรมันก็คิดไม่เหมือนชาวบ้านแล้ว (เยอรมันใช้หลักคำนวณการดำด้วยการลดปริมาตร ส่วนค่ายอื่นใช้การคำนวณด้วยการเพิ่มน้ำหนัก) นอกจากนี้ยังมีแนวคิดพื้นฐานที่แตกต่างกันอีก เช่น การจัดวางห้อง อุปกรณ์ความปลอดภัย การควบคุมอาวุธ ระบบขับเคลื่อน ไปจนถึงการเชื่อมต่อระบบอำนวยการรบ จิปาถะอีกยิบย่อย ถ้าจะลงละเอียดจริงๆ พวกปั๊มเครื่องจักรช่วยก็ยังต่างกัน บางค่ายใช้มอเตอร์ AC บางค่ายใช้มอเตอร์ DC ดังนัั้นถ้ามาต่างค่ายรับรองได้ปวดหัวแน่ครับ ส่วนระบบ manual กับ auto ต้องใช้เวลาเรียนรู้เพิ่มเติมแน่นอน แม้กระทั่งเยอรมันเองก็เจอปัญหานี้ตอนกระโดดจาก 206A ไป 212A แต่อย่างน้อย concept ด้านอื่นก็ยังคงใช้พื้นฐานเดิม และยังใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมได้ครับ
จำได้ ตอนจัดหา Type-206A ทร.เคยให้ข่าวความคิดเห็นว่า
ระยะเวลาจัดหาเรือดำน้ำ 5 ปี + ประสบการณ์ 5 ปี = 10 ปี คือ ความพร้อมรบ
เสียดายปี 2554 ที่โครงการเรือดำน้ำ ไม่ผ่าน...ไม่เช่นนั้น ก็ย่นระยะเวลามาเป็น 8 ปี คือ ความพร้อมรบ (ระยะเวลาจัดหา 3 ปี + ประสบการณ์ 5 ปี = 8 ปี)
ไม่งั้นประมาณปี 2562 ทร.คงพร้อมรบ...
แต่ปัจจุบัน ถ้าหาเรือดำน้ำมือสอง ไม่ได้....กว่าจะได้จัดหาอีก สมมติ ปี 2562 ก็ใช้เวลาอีก 10 ปี คือ ความพร้อมรบ...
คือ พร้อมรบในปี 2572
ซึ่ง มาเลเซีย กับ สิงคโปร์ กับ เวียดนาม...ก็คงมี นักเรือดำน้ำ พร้อมรบแล้ว กว่า 2 - 4 รุ่น...
และคงน่าเสียดาย...ที่ในอนาคต จะมี นักเรือดำน้ำ หรือ ผู้บังคับการเรือดำน้ำ เก่ง ๆ...จะเป็นสัญชาติ ตามประเทศข้างต้น ก่อน...ส่วน ทร.ไทย ค่อยตามมาทีหลัง...
(ข้อมูลผมอาจผิดพลาดได้ ครับ เพราะเอาเท่าที่จำได้ ไม่มีเวลาไปเช็ดใหม่)
เรือ Gal มีเปลือกเป็นเหล็กครับ เป็นเรือต่อที่อังกฤษ อิสราเอลขายไม่ได้ให้ฟรี แต่ผมจำไม่ได้แล้ว (2 ลำ เข้าพิพิษภัณฑ์ 1 ลำ)
แต่ค่าปรับปรุงโดยเยอรมัน บริษัท DHW ที่คลองคลี มันแพงมากครับ
ซากเรือจอดรอลูกค้ามาสั่งซ่อมอยู่ต่อมาอีกหลายปีจนสนิมเคลาะ
ที่ ท.ร. ไม่เอาเพราะไม่คุ้มนะครับ (แพงมากครับ)
แต่พอตอน U 206a ท.ร. เห็นราคาแล้วอยากได้ครับ เพราะคุ้มค่า (สภาพเรือไม่ต้องซ่อมใหญ่)
(รายละเอียดลึกๆ ไม่รู้ครับ เพราะตอนนั้นเรื่องเงียบมาก มีข่าวต่างประเทศนิดหน่อย ว่าไทยซื้อแล้ว ทำนองนั้น)
ข้อมูลในเนท ยุกต์นั้นไม่มี สมอภูมิก็ไม่ลงข่าว
เหตุผลที่อิสราเอล ต้องต่อเรือที่อังกฤษ น่าจะเป็นเหตุผลทางการเมืองในยุกต์นั้น (ยุกต์ 70) แต่อยากได้เรือของเยอรมัน
หรืออีกเหตุผลหนึ่ง คือ เยอรมันไม่ยอมต่อเรือให้ประเทศที่เป็นคู่สงครามกันอยู่ (วางตัวเป็นกลาง ว่างั้น)
จุดเด่นของเรือชุดนี้น่าจะเป็นเรื่อง Sub Harpoon Missile นี่แหละ (ที่ทำให้ ท.ร. ยุกต์นั้น หู ผึ่ง)
ส่วนตัวมองว่ามีตัวเลือกไว้หลายๆ ตัวก็ดีนะครับ Gotland class ก็น่าสนใจเหมือนกันนะครับ
เห็นท่านกับตันนีโมเขียนบทความลงบล๊อกแล้วอยากรวบรวมบ้าง จะได้รู้ว่าตัวเองเคยทำอะไรไปแล้วแค่นั้นแหละครับ เหอๆ
http://thaimilitary.blogspot.com/2013/12/siroco-s-72-agosta.html
http://mahitthi.exteen.com/20130822/siroco-s-72-agosta-8221-8221-8221-8221
ยินดีครับที่มีคนเลียนแบบ ;)
โดยส่วนตัวแล้วมองว่าทำเป็น Blog น่าจะเก็บข้อมูลได้ดี และสืบค้นง่าย (สมัยก่อนเคยใช้ Brinkster แต่ไม่ได้เข้าไปนานจนโดนลบไปอัตโนมัติ) กลับมาคราวนี้คงต้องขยันหน่อย แล้วจะใส่ link ไว้จาก blog ผมให้นะครับ
ไม่มีอะไรครับผมแค่ไปเจอมาว่าทร.เราเคยแอบสนใจสกอร์เปี้ยนมาตั้งแต่นมนานแล้ว ตอนนั้นโคiงการของมาเลเซียยังเป็นวุ้นอยู่เลยมั้ง 2บรรทัดสุดท้ายแสดงให้เข้าใจว่าทำไมเราไม่มีเรือดำน้ำเสียที่ ถ้านับรวมความพยายามในปี2011,2012ด้วยแล้วก็เป็น6ครั้งในรอบ18ปี
เฉลี่ยแล้วมีความพยายาม3ปีหนแฮะ หนังจะเหนียวไปไหนครับพี่น้อง