ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปน กับอังกฤษ กรณีพรมแดนทางทะเลบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ กลับมาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง หลังอังกฤษส่งเรือรบเข้าไปลอยลำใกล้พื้นที่พิพาท พร้อมเตือนสเปนให้ยกเลิกการควบคุมอย่างเข้มงวดตามแนวพรมแดนบริเวณดังกล่าว
ชาวประมงในเมืองลา ลิเนีย บริเวณพรมแดนของสเปน ออกมาแสดงความไม่พอใจ และไม่เข้าใจ กรณีที่ช่องแคบยิบรอลตาร์ ได้มีการวางแนวปะการังเทียม ส่งผลกระทบต่อการทำประมงของชาวสเปน ซึ่งเป็นอาชีพหลักของพวกเขา ภายหลังความขัดแย้งระหว่างสเปนและอังกฤษ กลับมาร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสเปน และอังกฤษ ในกรณีการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพรมแดน บริเวณภูเขาที่เป็นจุดชมวิว โดยนายมาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปน ได้ประกาศมาตรการที่ชัดเจนในการรักษาผลประโยชน์ของชาติเอาไว้ในบริเวณดังกล่าว และป้องกันการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี การตรวจตรา และการผ่านแดนอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดปัญหาต่อนักท่องเที่ยวอย่างมาก และเกิดรถติดยาวหลายชั่วโมง
ขณะที่อังกฤษได้ส่งเรือรบเข้าไปในบริเวณยิบรอลตาร์ ซึ่งเป็นพรมแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ โดยอ้างว่าจะเข้าไปทำการฝึกระยะยาว และเพิ่มการตรวจการในบริเวณดังกล่าว ด้านโฆษกของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า การตรวจสอบอย่างเข้มงวดของสเปน เกิดขึ้นภายหลังจากที่ยิบรอลตาร์ ได้สร้างแนวปะการังเทียมใต้นํ้า โดยสเปนอ้างว่าส่งผลกระทบต่อชาวประมง ซึ่งไม่มีเหตุผลและแรงจูงใจทางการเมืองเลย
อย่างไรก็ตาม อังกฤษได้ออกมากล่าวเตือนสเปนว่า หากสเปนไม่ยกเลิกมาตรการที่เข้มงวดบริเวณพรมแดนดังกล่าว ทางอังกฤษจะดำเนินการด้วยกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศกับสเปน ด้วยการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรป ตามกฎหมายการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายปี โดยคณะผู้ตรวจการของสหภาพยุโรปมีแผนที่จะเดินทางไปยังยิบรอลตาร์ เพื่อเข้าตรวจสอบปัญหาพรมแดนของทั้งสองชาติอีกด้วย
by Nattachai
|
เอเจนซีส์ - บ้านเลขที่ 10 ถนนดาว์นิ่ง เผยว่า นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ มีความวิตกกังวลมากในเหตุการณ์ตึงเครียดของพรมแดนระหว่างสเปนและสามเหลี่ยมยิบรอลตาร์ ดินแดนในอาณัตของอังกฤษ หลังจากที่สเปนประกาศจะเก็บค่าธรรมเนียมข้ามแดน 60ยูโรและประกาศห้ามเครื่องบินที่ได้ลงจอดที่สนามบินยิบรอลตาร์บินบินผ่านสเปน นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ มีความวิตกกังวลมากในเหตุการณ์ตึงเครียดของพรมแดนระหว่างสเปนและสามเหลี่ยมยิบรอลตาร์ ดินแดนในอาณัตของอังกฤษ หลังจากที่สเปนประกาศจะเก็บค่าธรรมเนียมข้ามแดน 60ยูโรและประกาศห้ามเครื่องบินที่ได้ลงจอดที่สนามบินยิบรอลตาร์บินบินผ่านสเปน ตลอดจนการตรวจสอบการลักลอบของเถื่อนข้ามชายแดนและการเก็บภาษีกับชาวยิบรอลตาร์ที่มีทรัพย์สินอยู่ในสเปน |
จากเหตุการณ์ข้างต้น ทำให้ ราชนาวีอังกฤษ ต้องคงการฝึก Cougar 13 ในบริเวณดังกล่าว โดยใช้ระยะเวลาการฝึกอีกยาวนาน ไม่ต่ำกว่า 4 เดือน
การฝึก Cougar 13 ประกอบ กองเรือ ด้วย
1. เรือฟริเกต จำนวน 2 ลำ
HMS Montrose (F-236)
HMS Westminster (F-237)
เรือสนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ให้กับ กองเรือ จำนวน 1 ลำ
HMS Illustrious
เรือยกพลขึ้นบก หรือ เรือที่ประจำการของ กองกำลังนาวิกโยธิน และ กองทัพบก
จำนวน 3 ลำ
HMS Bluwark (L-15) เป็นเรือธง
RFA Lyme Bay (L-3007)
RFA Mounts Bay (L-3008)
เรือสนับสนุน ยานพาหนะ ยานเกราะ ต่าง ๆ
จำนวน 1 ลำ
RFA Cardigan Bay (L-3009)
เรือเสบียง และ ยุทธภัณฑ์ จำนวน 1 ลำ
RFA Fort Austin (A-386)
เรือสนับสนุน ด้านวิศวกรรม จำนวน 1 ลำ
RFA Diligence (A-132)
รวมกองเรือ ทั้งหมด 9 ลำ ภายใต้การฝึกที่ชื่อ Curgar' 13
และประกอบกำลังด้วย กองกำลังนาวิกโยธิน จำนวน 3 หน่วย กองกำลังกองทัพบก จำนวน 3 หน่วย
โดยล่าสุด อังกฤษ ได้ส่งเรือฟริเกต จำนวน 2 ลำ และเรือบรรทุก ฮ. จำนวน 1 ลำ ไปบริเวณ ช่องแคบ ยิปรอลตาร์ ซึ่งก็คือ HMS Monstrose, HMS Westminster และ HMS Illustrious
วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
ความบาดหมางกินใจกันลึก ๆ มานาน 3 ศตวรรษ ระหว่าง 2 ประเทศอดีตนักล่าอาณานิคม อังกฤษ-สเปน เกี่ยวกับดินแดนยิบรอลตาร์ ปะทุขึ้นอีกระลอก ซึ่งคราวนี้ดูท่าจะบานปลายและรุนแรงหนักหนาเอาการทีเดียว
ยิบรอลตาร์ดินแดนติ่งแหลมเล็ก ๆ เนื้อที่ 6.8 ตารางกิโลเมตร ทางใต้สุดฝั่งตะวันออกของสเปน ยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่เป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ เป็นปากประตูชั้นในทางผ่านจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ยิบรอลตาร์เป็นฐานทัพ หนึ่งในฐานที่มั่นสำคัญทางยุทธศาสตร์ของอังกฤษ มาหลายร้อยปี สำหรับปฏิบัติการในน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ ที่อยู่ห่างออกไปทางใต้เพียงแต่ 20 กม. เศษ ๆ
ความขัดแย้งระหว่างสเปนกับอังกฤษเหนือยิบรอลตาร์ มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1704 ซึ่งกองทัพอังกฤษที่มีเนเธอร์แลนด์ช่วย บุกยึดดินแดนแห่งนี้เป็นของตน ทั้งที่ว่ากันตามจริง ดูตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์น่าจะเป็นของสเปน แต่ในที่สุดปี ค.ศ. 1713 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสนธิสัญญาอูเทรคท์ สเปนยกยิบรอลตาร์ให้เป็นของอังกฤษ “ตลอดไป”
ยกให้แล้วคงจะนึกเสียดาย และเสียศักดิ์ศรี สเปนจึงพยายามหาทางเรียกร้องยิบรอลตาร์กลับคืนมาตลอด แต่ก็ไม่สำเร็จ ปี พ.ศ. 2545 มีการลงประชามติชาวยิบรอลตาร์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30,000 คน ปรากฏว่า 99% ต้องการอยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร
ปัจจุบันยิบรอลตาร์มีสถานะดินแดนปกครองตนเอง ขอบเขตอำนาจหน้าที่กว้างขวาง แทบจะทุกด้าน มีผู้ว่าราชการ และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ยกเว้นกิจการด้านการต่างประเทศและกลาโหม ที่ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่ลอนดอน
ยิบรอลตาร์มีนามฉายาว่า เดอะ ร็อค (The Rock) จากภูเขาหินขนาดใหญ่ สูงเด่นเห็นชัดอยู่กลางดินแดน ความขัดแย้งระลอกใหม่เกิดขึ้นหลังจากทางการยิบรอลตาร์ เทแท่งคอนกรีตลงในทะเลนอกชายฝั่งดินแดน นัยว่าเพื่อสร้างโขดหินเทียม สำหรับระบบนิเวศทางทะเล แต่ทางการสเปนบอกว่าเป็นแผนสกัดการทำมาหากินของเรือประมงสเปน ในเขตน่านน้ำแถบนั้น
สเปนตอบโต้ด้วยการตั้งด่านตรวจ ช่องผ่านเขตแดนร่วมทางบกความยาว 1.2 กม. ทำให้รถราติดวินาศสันตะโร บางวันรถติดนาน 7 ชม. เล่นเอา นายฟาเบียง ปิการ์โด นายกรัฐมนตรียิบรอลตาร์ ออกมาโวยวาย สเปนทำตัวเหมือน “เกาหลีเหนือ” เล่นบทเกเรเหนือเขตข้ามแดน
ทางการสเปนบอกว่า กำลังพิจารณาเก็บเงินค่าผ่านแดน ทั้งขาไป-กลับ สเปน-ยิบรอลตาร์ หัวละ 50 ยูโร หรือประมาณ 2,450 บาท เนื่องจาก เดอะ ร็อค ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเกน หรือเขตปลอดหนังสือเดินทาง สำหรับบางประเทศบนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ที่มีเขตแดนเปิด
ในแต่ละวันจะมีชาวยิบรอลตาร์เดินทางข้ามแดนไปทำงานในแผ่นดินใหญ่สเปนหลายพันคน ค่าผ่านแดนไปกลับตามที่ประกาศ ไม่คุ้มค่าแรงทำงานแน่นอน
สเปนยังขู่จะห้ามเที่ยวบินโดยสารจากสเปนไปลงที่ยิบรอลตาร์ ซึ่งระยะหลังมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเล่นการพนันที่กาสิโนใน เดอะ ร็อค มากขึ้น
วันก่อน นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฆอย ของสเปน ประกาศชัด สเปนจะดำเนินทุกมาตรการที่จำเป็น รวมถึงมาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนในยิบรอลตาร์
จะเห็นว่าการดำเนินการในเชิงรุกของสเปนในปีนี้ ตรงกับครบรอบ 300 ปี สนธิสัญญาอูเทรคท์ ที่สเปนยกยิบรอลตาร์ให้อังกฤษพอดี อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าถึงเวลาแล้วที่มาดริดจะเอาจริง ในการเอาคืนดินแดนที่น่าจะเป็นตนเองแท้ ๆ.
เลยซ์ซูม
The Navy’s force led by HMS Illustrious and including two frigates will sail for the Mediterranean on Monday at the start of a four-month deployment.
Three ships including the frigate HMS Westminster are due to stop later this month in the port amid a standoff with Madrid over punitive border checks for visitors to Gibraltar.
The visit was announced two days after Gibraltar’s chief minister demanded that warships be sent to stop Spanish incursions into the Rock's territorial waters. On Thursday, Fabian Picardo told The Telegraph the territory would be delighted to welcome the Royal Navy.
He said: "Gibraltar has a long and close relationship with the Royal Navy and we will be delighted to welcome HMS Westminster and the support ships back to the Rock. It is further proof, if any were needed, of the continuing strategic importance of Gibraltar and its territorial waters."
Naval chiefs stressed the visit by the nine-vessel Response Force Task Group was part of a long-planned exercise, and not in response to the diplomatic row.
But it was announced as the dispute over the territory continued despite attempts by the nations’ leaders to de-escalate the situation.
he force of four Royal Navy warships supported by five ships of the Royal Fleet Auxiliary is led by the helicopter carrier HMS Illustrious. It will consist of thousands of sailors and Royal Marines.
The deployment, called Cougar 13, will see the force sail through the Mediterranean and on to The Gulf and Horn of Africa, holding joint exercises with navies along the way.
David Cameron earlier this week said he was “seriously concerned” about escalating tensions over the border between Spain and Gibraltar.
pain has warned it is ready to impose a border tax, close its airspace to planes using the British overseas territory's airport, and investigate the affairs of Gibraltarians with Spanish economic interests.
The escalation between Spain and the British territory began last month after Gibraltar began building an artificial reef it said would improve fish stocks depleted by incursions by Spanish fishermen.
Downing Street’s claims that Spain had agreed to ease punitive border delays after a call between David Cameron and Mariano Rajoy, the Spanish Prime Minister, appeared premature after Spanish police quickly re-imposed them.
Those entering the Rock quickly found themselves in queues of up to four hours in the hottest part of the day.
Gibraltar’s chief minister, who earlier in the week likened Spain’s stance to “that of North Korea”, said the latest behaviour was just another example of Spanish “duplicity”.
“It’s about time the UK government saw the face of Spain that we see constantly. In Gibraltar we are not so surprised that there was an element of duplicity in the way Spain is going about this,” Mr Picardo said on Thursday.
Following the call between Prime Ministers, Downing Street briefed that Spain had conceded to reduce measures at the border while agreeing the Gibraltar issue should “not become an obstacle in bilateral relations” and that there was a “need to find a way to de-escalate”
However, the Spanish government issued a statement in which it made no reference to any concessions to reduce delays at the border and claimed instead that Mr Rajoy had held his ground over the matter.
“From the two such diametrically opposed briefings from two capitals, it seemed that two entirely different conversations were held,” commented Gibraltar’s Chief Minister.
The front pages of Spanish newspapers on Thursday carried headlines on the “stand-off”.
“There is an obvious defiance displayed on front pages of all the Spanish newspapers today,” said Mr Picardo. “It remains to be seen whether we are going to see that defiance played out on the ground or whether in fact they will talk tough but deliver on de-escalation that the prime minister has sought.”
He commented that perhaps it suited Spain’s ruling Popular Party to keep Gibraltar in the headlines for a few more days yet.
“There is certainly a smoke screen element to all this and the best way for Spanish government to play out August is to have Gibraltar on the front pages and not the scandals that are afflicting them.”
A spokesman for the Ministry of Defence said the annual Cougar deployment was “long-planned and well-established”.
He said: “Gibraltar is a strategic base for UK Defence and as such Royal Navy ships visit its waters throughout the year as part of a range of regular and routine deployments.
“Elements of last year’s Cougar ’12 deployment visited Gibraltar and the forthcoming visit by ships making up Cougar ’13, including HMS Westminster and the Royal Fleet Auxiliary ships Lyme Bay and Mounts Bay, are business as usual. At the same time, other elements of the Task Force will be visiting Spanish ports as part of the exercises.
“The same phase of the deployment will also see port visits in Portugal and throughout the Mediterranean to Spain, Turkey and Malta before onward transit to the Middle East.”
The Rock
HMS Illustrious และ HMS Westminster เดินทางออกจาก ฐานทัพเรือ Portsmouth เพื่อไปเยี่ยมเยือนท่าเรือที่ ยิปรอลตาร์
รัฐบาลจะ อนุมัติ เรือดำน้ำ ให้ได้หรือยัง ? อิ อิ อิ...(สวมรอย)
ขนาด ประเทศอย่าง อังกฤษ กับ สเปน ที่อยู่ในกลุ่มนาโต้ ด้วยกัน...
ยังต้อง แสดงถึง สมุทธานุภาพ กันเองเลย...
รู้สึกว่าเรือดำน้ำจะมาพร้อม การเป็นรัฐบาลรอบหน้าอ่ะครับ เหตุเพราะถ้าได้เป้นรัฐบาลอีกรอบค่อยอนุมัติ ถ้าอนุมัติรอบนี้โดนสับเละครับตายหยั่งเขียดแน่นอน ถ้ารัฐบาลมีเสถียรภาพกองทัพพัฒนาได้ไวครับ ทุกๆภาคส่วนนั้นแหละ(ผมว่านะ คงออกเกาหลีแน่ๆ ใจอยากอยู่เยอรมัน)
สงสัยสเปนอยากเข้าไปมีเอี่ยวด้านผลประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะรู้อยู่แล้วว่ายังไงๆอังกฤษก็ไม่ให้คืนอยู่แล้ว
*** แหลมยิปรอนต้า มีท่าเรือน้ำลึกพร้อมทั้งอู่แห้งขนาดใหญ่ทั้งสนามบินด้านพานิชย์ และกิจการรีสอร์ทโรงแรมขนาดใหญ่และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลไว้สำหรับว่ายน้ำชมปะการังที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
*** เป็นดินแดนขนาดเล็กแต่มีกิจการด้านการท่องเที่ยวและกิจการอู่ต่อเรือและซ่อมเรือ ซึ่งสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศอังกฤษ
รูปแผนที่แหลมยิปรอนต้า
"ความขัดแย้งระหว่างสเปนกับอังกฤษเหนือยิบรอลตาร์ มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1704 ซึ่งกองทัพอังกฤษที่มีเนเธอร์แลนด์ช่วย บุกยึดดินแดนแห่งนี้เป็นของตน ทั้งที่ว่ากันตามจริง ดูตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์น่าจะเป็นของสเปน แต่ในที่สุดปี ค.ศ. 1713 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสนธิสัญญาอูเทรคท์ สเปนยกยิบรอลตาร์ให้เป็นของอังกฤษ “ตลอดไป”
อ่านช่วงวรรคนี้แล้ว .. คล้ายๆกับของเราเป๊ะ ดูตามที่ตั้งตามภูมิศาสตร์ ทั้งทางสายตาและตามภูมิประเทศ
มันอยู่ในพื้นที่ไทยชัดๆ หรือจะแบ่งตามสันปันน้ำ มันก็อยู่ในเขตไทย .. เขมรกลับขอมีเอี่ยวซะงั้น
ใหนๆแล้ว ฝากถามผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศหน่อย ฝรั่งเศส มีปัญหาชายแดนตรงส่วนใหนบ้างครับ
หรือ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนก็ได้ ทั้งทางบก และ ทางทะเล .. แบบว่า หมั่นใส้มันเหมือนกัน อยากให้มันเจอ
แบบเดียวกับไทยบ้าง
สเปน ก็พร้อมปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ทุกวิถีทางตามกฎหมาย
Spain will take “all legal measures” to protect its interests in its row with Gibraltar, its Prime Minister Mariano Rajoy has warned Britain.
In tough remarks, following the failure of diplomatic efforts to defuse the row, Mr Rajoy said Spain would “defend its national interests” and suggested Britain should act with “common sense and good judgement”.
Downing Street said the British position on the issue had “been quite clear” and the Foreign Office said it was aware of Mr Rajoy’s comments.
A fleet of British warships will visit Gibraltar this month in what Prime Minister David Cameron calls a “routine deployment”.
The Ministry of Defence confirmed that the frigate HMS Westminster and two auxiliary Royal Navy ships will be sent to the Rock, while another three warships will visit Spanish ports.
They will be accompanied by an elite commando group from the Royal Marines and naval air squadrons. The MoD says the deployment is “long-planned” and not connected to political disagreements.
Meanwhile Spanish Prime Minister’s intervention followed a formal protest by Britain’s ambassador in Madrid over “disproportionate” checks at the border with Spain and Spanish threats to levy a charge on vehicles crossing into Gibraltar and to close airspace. Yesterday No 10 confirmed that British warships will soon set sail for Gibraltarian waters as part of a planned exercise in the Mediterranean.
The dispute flared up after Gibraltarian authorities dropped concrete blocks in the sea off the territory’s coastline. The Gibraltar government said it was attempting to create an artificial reef to protect marine life.
However the Spanish believe the blocks were dropped to prevent Spanish fishermen from trawling in the area.
In a press conference Mr Rajoy said: “We will take legal measures which are proportionate to defend the interests of Spaniards. I hope that this issue goes no further, but Spain has to defend its national interests.
“We can and should carry out border controls like the ones which we have carried out in recent days.”
The Spanish Prime Minister’s intervention came two days after a phone call with David Cameron, who told his counterpart the situation at the border with Gibraltar was “not acceptable”.
Downing Street said that in the “constructive” phone call Mr Rajoy agreed to reducing measures at the border, but a statement issued by the Spanish government afterwards made no reference to any such concession.
The European Commission has suggested organising a “technical meeting” with the Spanish authorities about the border controls in September or October. Spain claims sovereignty over Gibraltar, which has been a British Overseas Territory since the Treaty of Utrecht in 1713.
The UK Government has made clear that it will not negotiate over sovereignty as long as Gibraltar’s people want to remain British
หรือว่าท่านจูดาสคือคอลัมนิตส์คนดังท่านนี้ ????
http://www.thairath.co.th/column/oversea/worldsky/363568
อังกฤษกับสเปนขัดกันแรงขึ้นทุกวัน
พ.ศ.2524 มีพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร กับไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 และสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปนจะเสด็จร่วมในพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งนั้นด้วย ทว่า เมื่อมีข่าวว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอานาทรงวางแผนเสด็จไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ที่ยิบรอลตาร์ รัฐบาลและประชาชนคนสเปนก็บีบพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีของตนเองมิให้เสด็จ ไปร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรส
การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนของประเทศต่างๆ มีความรุนแรงสูงครับ หลายครั้งการแย่งกันอ้างกรรมสิทธิ์นำไปสู่สงคราม ผมเชื่อว่า ผู้อ่านหลายท่านยังรำลึกนึกถึงภาพเรือบรรทุกเครื่องบินเฮอร์เมสและอินวิน–ซิเบิล ที่มีเจ้าชายแอนดรูว์ พระโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงทำหน้าที่นักบินประจำลำหนึ่งด้วย แล่นไปหมู่เกาะ ฟอล์กแลนด์ พร้อมด้วยขบวนเรืออีก 100 ลำ ทหารกว่า 25,000 คน เพื่อปิดล้อมหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
14 มิถุนายน 2525 เครื่องบินของอังกฤษทิ้งระเบิดลงบนเกาะที่มีทหารอาร์เจนตินาอยู่มากถึง 20,000 คน ทหารอาร์เจนตินาสู้ไม่ไหวก็ยกธงขาวปลิวไสวไปทั้งเกาะ ผลของสงครามครั้งนั้น ทหารอังกฤษตายกลายเป็นผีไป 256 คน ทหารอาร์เจนตินาตายไป 712 คน
31 ปีต่อมา 12 สิงหาคม 2556 ก็เมื่อจันทร์วันที่ผ่านมานี่เองครับ ขบวนเรือรบและเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพอังกฤษเคลื่อนออกจากเมืองพอร์ตสมัธที่อยู่ทางตอนใต้ของอังกฤษ แล่นไปยังช่องแคบยิบรอลตาร์ ซึ่งเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างอังกฤษและสเปนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือทั้งหมดมีกำหนดแล่นไปถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ภายใน 1 สัปดาห์
ความขัดแย้งเรื่องช่องแคบยิบรอลตาร์ระหว่างอังกฤษและสเปนมีมานานแล้วครับ และมีผลต่อทุกภาคส่วนของทั้งสองประเทศ ทั้งต่อคนธรรมดาสามัญและเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ ผู้อ่านท่านจำพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 ได้ไหมครับ วันที่ 17 พฤษภาคม สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันองค์พระประมุขจากทั่วโลก
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 ทรงอยู่ในระหว่างพักฟื้นพระวรกายหลังการผ่าตัดพระโสณี จึงทรงตอบปฏิเสธ แต่สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน ซึ่งเป็นพระญาติในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ด้วย ทรงตอบรับก่อนหน้านี้ ว่าจะเสด็จร่วมงานเลี้ยง
เมื่อรัฐบาลและประชาชนคนสเปนทราบว่าสมเด็จพระราชินีของตนจะเสด็จไปร่วมงานเลี้ยงของเจ้าอังกฤษ ก็แนะนำว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปนจึงต้องทรงยกเลิกการเสด็จอย่างกะทันหันตามแรงบีบจากรัฐบาลสเปน
เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีกำหนดเสด็จเยือนยิบรอลตาร์พร้อมพระชายาระหว่าง 11-13 มิถุนายน 2555 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก็โดนรัฐบาลและประชาชนคนสเปนประท้วง
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษเปลี่ยนจากกษัตริย์ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ไปเป็นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ จึงถูกต่อต้านจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และทรงหนุนเจ้าฟ้าที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน
อังกฤษคิดว่าตนถูกท้าทายโดยฝรั่งเศส กษัตริย์อังกฤษจึงทรงขยายอำนาจทางทะเลเพื่อแข่งกับฝรั่งเศส ภายหลังก็มีสงคราม การรบรันพันตูขยายขอบเขตกว้างขวางขนาดไปเอาสเปนและยุโรปชาติอื่นมาร่วมด้วย บั้นปลายท้ายที่สุด ก็ต้องมาลงนามกันที่อูเทรคท์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองและประเทศที่ผมกำลังพำนักพักอยู่ในขณะนี้นี่แหละ เรียกว่า สนธิสัญญาอูเทรคท์ซึ่งมีรายละเอียดเป็นการตกลงระหว่างรัฐต่างๆในยุโรป และช่วยยุติสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
สเปนมอบยิบรอลตาร์ให้อังกฤษใน พ.ศ.2256 ภายใต้สนธิสัญญานี้ด้วย
ขณะนี้ ประชาชนคนทั่วโลกกำลังจับตาดูว่าความขัดแย้งระหว่างสเปนกับอังกฤษ จะบานปลายขยายเป็นความขัดแย้งใหญ่เหมือนสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์หรือไม่ ที่น่าสนใจคือ สเปนและอังกฤษต่างก็เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปด้วยกันทั้งคู่.
ส่วนตัวผมไม่คิดอะไรมาก ตอนอังกฤษรบกับอาเจนติน่าคนสเปนก็ประท้วงด้วยคำว่า "มัลวีนัสเป็นของอาเจนติน่า ยิบรอลต้าเป็นของสเปน"แล้วก็เงียบไป ตอนนี้เศรษกิจสเปนไม่ค่อยดีการจุดประเด็นรักชาติขึ้นมาก็พอจะช่วยกลบข่าวได้ซักระยะหนึ่ง
ปัญหาชายแดนมีหมดทุกประเทศแหละถ้าสเปนรบกับอังกฤษจริงๆจะทำให้เศรษกิจย่ำแย่ไปกว่าเดิมมากกว่า แต่ถ้าแค่ข่าวแบบนี้ไปซัก2-3เดือนก็พอกล้อมแกล้มไปได้ แล้วค่อยหามุขใหม่มาเล่นอีกที
5 5 5 5 ท่าน superboy ผมคนธรรมดา ๆ ครับ....ไม่ได้เป็นใคร ปลอมตัว มาทั้งสิ้น...5 5 5 5 5
สำหรับ ประเทศอังกฤษ ผมว่า...ความรักษา ศักดิ์ศรี ค่อนข้างสูงอยู่ครับ...
และผมคิดว่า อังกฤษ เย็นไม่เท่ากับ สเปน เท่าไหร่ครับ...
การดำเนินการทางการฑูต กับ ทางการทหาร น่าจะทำไปพร้อม ๆ กัน...
ช่วงนี้ น่าจะเป็นการ แสดงบทบาท เล็ก ๆ ให้ สเปน เห็นว่า...อย่าทำอะไร ที่มากกว่านี้....ให้หยุดอยู่แค่นี้...
ซึ่ง ผม ไม่แน่ใจ ในส่วนประชาชน ของ สเปน...อาจจะต้องการให้ ขยายผล...หรือ อาจจะเกิด ความเป็นชาตินิยม ขึ้นมา หรือเปล่า ?
แต่ในส่วนของ รัฐบาล สเปน ผมว่า เขาน่าจะหยุดแค่นี้...
จากเหตุการณ์ครั้งนี้...น่าจะได้คำตอบในระดับหนึ่งว่า...สงคราม พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ....
ดังนั้น...จึงควรเสนอ โครงการ จัดหาเรือดำน้ำ เป็นกรณี ฉุกเฉิน...5 5 5 5 5
ขอถามครับ....HMS Illustrious นี่...ไม่ทราบว่าเดิมเป็นเรือบรรทุกเครื่้องบินรึเปล่า
ถ้าใช่...ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังมี แฮริเออร์ประจำอยู่บนเรื่อบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษอีกมั้ยครับ
ในยุคนี้ยังมีโอกาสที่เราจะเห็นแฮริเออร์ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินเหมือนสมัยสงครามฟอล์คแลน์อีกรึเปล่า
ใช่ครับ แต่เดิมเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน แบบ VSTOL
แต่ปัจจุบัน ราชนาวีอังกฤษ ได้ปลดประจำการ แฮรริเออร์ หมดแล้ว โดยการขายให้กับ สหรัฐ เพื่อไว้สำหรับ สำรอง และทดแทน ให้กับผู้ใช้งาน แฮรริเออร์ ให้กับประเทศที่เหลือ
จึงคงเป็นเพียง เรือบรรทุก ฮ. อย่างเดียว เพื่อสนับสนุน ฮ. ให้กับ กองเรือฟริเกต และ เรือยกพลขึ้นบก โดยปัจจุบัน ฮ.นาวีของ ราชนาวีอังกฤษ จะใช้ ฮ.แบบ Merlin เป็นหลัก ซึ่งกำลังทดแทน Sea king กับ Lynx ของเดิม
คงไม่เห็น โอกาส อนาคต ของ แฮรริเออร์ กับ เรือบรรทุกเครื่องบินแบบ VSTOL แล้วครับ
ส่วนประเทศที่คงเหลือ แฮรริเออร์ ก็เหลือเพียง อิตาลี่ กับ สเปน และ สหรัฐฯ...ซึ่ง กรณี อังกฤษ มีการขัดแย้งกับ สเปน ถึงขั้นเกิดสงครามแห่งศักดิ์ศรี ขึ้นมาจริง ๆ ก็คงไม่เห็นโอกาสของ แฮรริเออร์ของ ราชนาวีอังกฤษ ในสมรภูมิ เพราะประเทศ อิตาลี่กับสหรัฐ คงไม่สนับสนุนหรือยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้ง...แต่จะเห็น บ.ขับไล่ ไต้ฝุ่น มา Dogfight กันเอง มากกว่าครับ... แต่ สเปน คงไม่แน่ เพราะดูแล้ว การนำเรือ LHD ที่บรรทุก แฮรริเออร์ มาลอยลำ สังเกตูการณ์ ก็ดูสร้างความได้เปรียบกว่า ราชนาวีอังกฤษ พอสมควรทีเดียว...
ปัจจุบัน อากาศยานขับไล่ไอพ่น ขึ้น ลง แนวดิ่ง ในอนาคตคงเหลืออยู่แบบเดียวในโลก คือ F-35B
ส่วนอังกฤษ ก็ต่อเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสายพันธ์แท้ ขึ้นมาทดแทน คือ เรือหลวงควีนส์อลิซาเบสท์ และใช้ อากาศยานแบบ F-35C
ขอบคุณครับ..คุณjuldas
น่าเสียดายที่อังกฤษปลดแฮริเออร์จากเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว
ตอนแรกผมกำลังนึกภาพว่า หากเหตุการณ์มันสุกงอมเต็มที่ เราอาจเห็นทั้งอังกฤษ และ สเปน
ส่ง Herier ขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเพื่อไปโจมตีกองเรือฝั่งตรงข้ามเหมือนกับ
อเมริกัน กับ ญี่ปุ่น รบกันในยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2
ฟังคำตอบคุณ Juldas แล้ว..ทำให้ทราบว่าคงจะไม่มีโอกาสได้เห็นซะแล้ว
แต่ความจริงหากว่า Eurofighter ของทั้ง 2 ฝ่าย มาDogfight กันเอง ..คงจะเป็นภาพที่หลายๆคน
จินตนาการกันไม่ออกเหมือนกัน ว่าผลจะเป็นอย่างไร
ความขัดแย้ง ในข้อสมมติฐานของผม...ขั้นเกิดสงครามระหว่างกัน น่าจะเป็นลักษณะ การกระทบกระทั่งกัน มากกว่า สงครามเต็มรูปแบบ...
ผมเลยให้ความเห็นว่า อาจจะได้เห็น การ Dogfight1...อาจจะ ระหว่าง F/A-18 กับ Typhoon หรือ ระหว่าง Typhoon กับ Typhoon...
คือ การลาดตระเวณ แล้วเจอกัน แล้วกระทบกระทั่ง กัน...แต่ อังกฤษ ไม่มีแนวชายแดน ในช่องแคบ ยิปรอลตาร์....
การกระทบกระทั่งกัน ก็น่าจะเป็นในส่วน เรือรบ กับ เรือรบ หรือ เรือรบ กับ อากาศยาน หรือ อากาศยาน กับ อากาศยาน...
ในการยกตัวอย่างขั้นต้น....การกระทบกระทั่งกัน ระหว่าง อากาศยาน กับ อากาศยาน ดูจะมีความ เบา กว่า การกระทบกระทั่งกันในแบบอื่น ๆ....
ซึ่ง เมื่อมีการกระทบกระทั่งกันใน ครั้งแรก...ผมเชื่อวา อังกฤษ คงส่งหน่วย คอมมานโด ลงพื้นที่แน่...
แล้วหลังจากนั้น...ถึงจะเป็นเหตุการณ์ ที่ อาจจะ นำไปสู่ การกระทบกระทั่ง กัน ในลักษณะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น...