กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้ ทร. ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกองทัพเรือ โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก
ในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสุงจำนวน2ลำมูลค่า30,000ล้านบาท ซึ่งผลการตัดสินอู่เรือแดวูจากเกาหลีใต้ได้รับการคัดเลือกนั้น เพื่อนๆเคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าแบบเรือฟริเกตจากอู่เรือประเทศอิตาลี สเปน จีน และเกาหลีใต้จะน่าตาเป็นอย่างไรกันบ้างนะ วันนี้ผมจึงรวบรวมข้อมูลเรื่องดังกล่าวมานำเสนอบทความให้ทุกคนอ่านกันพอขำๆในช่วงวันหยุดยาว ตรงบ้างไม่ตรงบ้างก็ว่ากันไปนะครับ
เริ่มจากง่ายไปยากแล้วกัน ลำแรกก็คือเรือจากสาธารณรัฐประชาชนจีน Type 054T Jiangkai นั่นเอง เรือมีระวางขับน้ำสุงสุดที่4,000ตัน ยาว 134 เมตร กว้าง16 เมตร ข้อมูลของลำนี้ไม่ได้มีความลึกลับอะไรซักนิด เพราะสื่อมวลชนจากจีนออกข่าวเรื่องโครงการเรือของเราเป็นเจ้าแรกๆก่อนประเทศอื่น ข้อเสนอจากจีนก็ดังก้องไปทั่วโลกนั่นคือเรือฟริเกตจำนวน3ลำเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำZ-9ECอีก6ลำ เรียกว่ามากทั้งขนาดและปริมาณก็ว่าได้มาทีเดียวเต็มท่าเรือเลย ช่วงนั้นในTFCมีการถกเถียงกันมากว่าเรือเขาจะลดสเป็กไหมนะ ได้ระบบVLSแบบในภาพหรือเปล่า สามารถติดตั้งอาวุธตามความต้องการของทร.ได้จริงหรือไม่ และคุณภาพเรือจีนเป็นอย่างไรแล้ว
เรือลำนี้มีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้วจึงผ่านกฎข้อนี้แบบสบายมาก ก่อนมีการประกาศผลการตัดสินไม่กี่วันมีข่าวลือออกมาว่าจีนยื่นข้อเสนอเพิ่มด้วยการสร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ในไทยให้อีกด้วย เรือลำนี้จึงเรียกความฮือฮามาได้โดยตลอดหัวโค้งแต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝั่งฝันสร้างความผิดหวังให้กองเชียร์จำนวนมากไปแทน
เรือลำที่2จากสาธารณรัฐเกาหลีประเทศเดียวกับแดวูที่ได้รับคัดเลือก แต่เป็นเรือจากอู่ฮุนไดที่ใหญ่เป็นอันดับ1ของโลกในเวลานี้ แบบเรือลำนี้ง่ายมากครับเพราะขนาดเรือ3,000-4,000ตันที่ทร.กำหนดเขามีอยู่แค่แบบเดียวคือ FFX-I Incheon-class frigate ตัวเรือมีระวางขับน้ำสุงสุดที่3,251ตัน ยาว 114 เมตร กว้าง14 เมตร ซึ่งดูเล็กเกินไปและติดอาวุธไม่ครบตามที่เราต้องการ
แบบเรือที่นำเสนอจริงๆจึงน่าจะเพิ่มความยาวด้านหน้าหอบังคับการเพื่อติดตั้งระบบVLS ทำการออกแบบเสากระโดงหลักให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มจุดติดตั้งเรดาร์ระยะไกลด้านหลังปล่องไฟ และถ้าปิดช่องว่างข้างเรือให้เรียบร้อยซะเราจะได้ฝาแฝดสยามน้องแท้ๆในไส้ของเรือจากแดวูเลยทีเดียว เนื่องจากเกาหลีใต้มีการแชร์พิมพ์เขียวของเรือกันทุกอู่ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์เรือเราจะเหมือนกับในภาพไม่มีผิดเพี๊ยน และปล่องท่อไอเสียรุ่นเดชไอ้อ้วนก็เหมือนกันกับเรือลำนี้มากจริงๆ
เรือลำนี้มีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้วจึงผ่านกฎข้อนี้แบบสบายมาก แต่ที่ไปไม่ถึงฝั่งก็อาจจะเป็นเรื่องข้อเสนอต่างๆและการยอมรับในเงื่อนไขต่างๆของทร.สู้ไม่ได้หรือเปล่า ซึ่งข้อมูลตรงนี้ยากเกินคาดเดาไปมากผมขอละไว้แล้วกันนะครับ
เรือลำนี้ที่3จากประเทศสเปนคืออู่เรือ Navantia ถ้าเข้าไปดูสินค้าของเขาจะพบว่าไม่มีเรือฟริเกตขนาด3,000-4,000ตันเลย โดยจะมีเรือF-100, F-310ซึ่งขนาดใหญ่เกินไปมากแล้ว จากนั้นจะลดลงมาเป็นเรือตระกูลAvanteซึ่งเป็นเรือOPVและเรือฟริเกตเบาขนาดไม่เกิน2,500ตัน มีการคาดเดากันว่าเขาอาจจะเสนอเรือAFCONที่ติดเรดาร์ทันสมัยมากและขยายขนาดตัวเรือให้ใหญ่ขึ้นมาอีกนิด แต่ผมคิดว่าลำบากครับเพราะเรือAFCONเองแม้มันจะคือAvanteแปลงร่างผ่านกฎข้อนี้ได้ แต่ขนาดของเธอเล็กเกินไปและผิดวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเราไปบ้าง เรือลำนี้ถูกเสนอให้อิสราเอลและบัลกาเรียแต่ไม่ได้รับการจัดซื้อแต่อย่างใด ผมจึงคิดว่าไม่ใช่เรือลำนี้หรอกเนื่องจากNavantiaยังมีเรือให้เลือกอีกถึง3แบบด้วยกัน
แบบแรกที่เป็นไปได้คือรุ่น F-310C ซึ่งเป็นญาติสนิทมากๆกับเรือ Fridtjof Nansen (F-310) ของนอร์เวย์ เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำแท้ๆที่มีระวางขับน้ำ 4,350ตัน ยาว127เมตร กว้าง16เมตร แบบเรือทันสมัยสวยงามมีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้ว ติดแค่เพียงว่าตัวเรือมีขนาดใหญ่ไปหน่อยจึงอาจจะมีต้นทุนในการสร้างที่สุงเกินไป แบบเรือที่เสนอกับเราจริงๆจึงอาจจะDownsideลงมาบ้างเพื่อความประหยัด สำหรับเรือF-310Cลำนี้เกิดขึ้นมาเพื่อชิลีโดยเฉพาะ แต่เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังพร้อมเรือจากอิตาลีก็แล้วกัน
AFCONและAvante
โพสภาพไม่ติดอีกแล้ว ทำไมจึงเลือก2ภาพใน1คห.ไม่ได้เสียทีนะเรา เหอๆ F-310C ที่อาจจะส่งเข้าประกวดครับ
F-310C และ Fridtjof Nansen (F310)
แต่ถ้าไม่ใช่ F-310C หละผมก็ยังมีเรือให้เลือกอยู่ นี่คือภาพเรือF-100ในช่วงยุค90ซึ่งมีขนาด3.500ตันและออกแบบเป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำโดยเฉพาะอีกด้วย แต่ผลสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของ Nato Frigate NFR-90 Project ทำให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต้องพัฒนาเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศกันเองอย่างเร่งด่วน นั่นแหละครับจึงเป็นที่มาของเรือติดเรดาร์ APAR+SMART-L ใช้จรวด SM-2ในหลายๆประเทศ ขณะที่อีกหลายประเทศก็เลือกเรดาร์ EMPAR และใช้จรวดASTER30 แทน สเปนเองก็เช่นกันเขาต้องขยายร่างเรือF-100โดยด่วนและตัดสินใจเลือกเรดาร์ SPY-1 กับจรวดSM-2เพื่อใช้กับเรือตัวเอง แต่แบบเรือเก่าก็ยังมีอยู่นี่ครับและทันสมัยเอามากๆเสียด้วย Navantiaสามารถปรับปรุงนำมาขายกับเราได้อย่างสบายมากเลย 3,500ตันขนาดไล่เรี่ยกับเรือแดวูไม่มีผิดเพี๊ยน
เรือลำที่3ที่เขาอาจจะนำเสนอก็คือ F-590 Series (มีทั้ง F-590A , F-590B และF-592) เรือลำนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อการส่งออกโดยมีลูกค้าสำคัญคือแอฟริกาใต้ ในช่วงปี2002เขาต้องการเรือฟริเกตใหม่จำนวนถึง4ลำด้วยกัน แม้เรือF-590BจะขยายขนาดมาจากเรือตระกูลAvanteแต่ก็มีขนาดถึง3,100ตัน และยาว109เมตรเลย
แต่ผลการตัดสินไม่ได้เป็นอย่างที่หวังเรือMeko A200จากเยอรมันได้รับการคัดเลือก ถึงจะเคยผิดหวังมาก่อนแต่แบบเรือลำนี้ทันสมัยมากติดอาวุธตามความต้องการของลูกค้าได้เลยซึ่งเหมาะกับเราดี ถ้าเสนอมาจริงๆอาจจะเพิ่มขนาดของเรือขึ้นมาอีกนิดเพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น เรือจากอู่สเปนผมชอบมากเป็นพิเศษนะครับน่าเสียดายที่ได้แค่เพียงที่2เท่านั้นเอง
เพื่อนๆคิดว่า3แบบนี้เขาเสนอลำไหนมากันแน่นะ F-310C Down size F-100 V1 หรือ F-590B Up size กันแน่นะ
F-100 V1 และ F-590B
เอาแบบเรือNato Frigate มาให้ดูกันนิดหนึ่งครับลำนี้สนุกมากจริงๆเหมือนกันไว้วันหลังมีโอกาสจะเขียนถึงอีกที แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนจะแซงคิวก็ไม่ว่ากันหละครับ ตั้งกระทู้ทีต้องใช้เวลาหาข้อมูลและเขียนถึง2-3วันเลยสำหรับผม ภาพล่างคือF-100 ติด APAR Smart-L ในปี1994 เทียบกับตัวปัจจุบันที่เลือกSPY-1แล้วดูจืดมากไม่เซ็กซี่ไฉไลเอาเสียเลย
เรือลำสุดท้ายจากประเทศอิตาลี เรื่องนี้ผมแปลกใจมากเพราะไม่เคยได้ยินข่าวว่าเขาส่งเข้าประกวดด้วยมาก่อนเลย แม้กระทั่งทร.ลงข่าวแล้วผมยังคิดว่าเป็นสิงคโปร์หรือเยอรมันอยู่เลยนะ จนได้กลับมาอ่านอีกครั้งจึงรู้ว่าเป็นอิตาลีและเป็นแรงจุงใจให้เขียนบทความเรื่องนี้ขึ้นมา สนุกมากครับประเทศนี้ไม่เหมือนฟุตบอลที่เอาแต่อุดท่าเดียว
NFR-90 และ F-100 With APAR and Smart-L
เรือจากอิตาลีขนาดใกล้เคียงกับที่เราต้องการก็เห็นจะมีแค่ Mosaic240จากOSNที่ขยายร่างมาจากเรือOPVเท่านั้น(แต่ก้แค่2,500ตันเอง) แต่อิตาลีก็มีเรือฟริเกตสำหรับส่งออกนะครับ ในยุดปี90บริษัท Fincantieri - Cantieri Navali Italiani S.p.A. มีโครงการ F-3000และ F-1700 เพื่อตลาดส่งออกโดยเฉพาะ ผมเห็นภาพครั้งแรกนี่มันเรือ Meko A200 ของแอฟริกาใต้ชัดๆเลยนะเพราะสวยงามผิดไปจากเพื่อนร่วมรุ่นเป็นอย่างมาก FincantieriนำเรือฟริเกตMaestraleของอิตาลีมาปรับปรุงเสียใหม่จนสวยงามมากและทันสมัยขึ้นจมหูนำเทคโนโลยีStealthถูกนำเข้ามาใช้งานเป็นรายแรกๆลดความสุงและเพิ่มความกว้างนับว่าทันสมัยไม่เบาเลยครับ
เรือF-3000ในภาพมีขนาด3,100ตัน ยาว112.5เมตรและกว้าง14.5เมตร ด้านหน้าเรือสามารถติดVLSได้ถึง24 ลานจอดและโรงเก็บรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด10ตัน ส่วน F-1700 มีขนาด1,710ตัน ยาว90เมตร กว้าง12.6เมตรด้านหน้าเรือสามารถติดVLSได้ถึง16ท่อ ลานจอดและโรงเก็บรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด7ตัน ภาพโมเดลทั้ง2เกิดขึ้นในปี1989นับย้อนไปแล้วกันครับว่ากี่ปี
เมื่อมีเรือแล้วก็ต้องมีการขายสิ ในปี1993อิหร่านมีความต้องการเรือดำน้ำชั้นกิโลจากรัสเซีย ทำให้UAEต้องการเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำเพื่อใช้ป้องกันไปด้วย(คล้ายๆกับบ้านเราเหมือนกันนะครับ) F-1700ถูกปรับปรุงให้เข้ากับประเทศนี้โดยมีชื่อว่าใหม่ว่าFALCO-1700 (ภาพบนสุด) ตัวเรือติดระบบอาวุธและโซนาร์ที่ทันสมัยรวมทั้งลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอีกด้วย ช่วงเวลานั้นเรือที่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ต้องใหญ่มากกว่า3,000ตันแทบทั้งสิ้นจึงนับเป็นเรือที่ทันสมัยมากๆ เรือเพิ่มความStealthมากขึ้นแม้จะสวยน้อยกว่าต้นแบบไปบ้างก็ตามที ถึงเรือดำน้ำของอิหร่านจะมาจริงๆแต่สุดท้ายUAEก็ไม่ได้จัดหาFALCO-1700มาประจำการแต่อย่างใด
ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน Fincantieriยังไม่ยอมแพ้จึงนำเรือนี้มาพัฒนาปรับปรุงต่อจนกลายเป็นโครงการ NUMC (New Minor Combatant) และอิตาลีได้สั่งสร้างเป็นเรือจริงรุ่น Commandante Class จำนวน4ลำในอีก9ปีต่อมา แบบเรือ Commandante-1500 ยังไปตรงกับความต้องการของUAEอีกครั้งเขาจึงซื้อแบบเรือไปสร้างเป็นเรือ Baynunah-class corvette หรือชื่อใหม่ว่า Abu Dhabi Class จำนวนถึง6ลำ (ภาพล่างสุด)
สรุปตอนท้าย FincantieriสามารถปิดดีลUAEได้สำเร็จอย่างสวยงามมากแม้จะต้องใช้เวลานานถึง16ปีก็ตาม
ขณะเดียวกันเรือF-3000ก็ถูกพัฒนาแบบคู่ขนาดกันไปด้วยและถูกส่งเข้าประกวดในเวลาต่อมา ปี1999ชิลีมีโครงการ tridente frigate ขึ้นมาโดยต้องการเรือฟริเกตทันสมัยถึง6ลำแบ่งเป็น2เฟส เฟส1เป็นเรือฟริเกตทั่วไปจำนวน4ลำก่อน และเฟสที่2เป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นและติดอาวุธจรวดSM-2ที่ทันสมัย ปี2002เปิดให้มีการส่งแบบ เรือF-310CจากNavantiaที่ผมกล่าวถึงไปแล้วจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ด้วยแบบเรือที่ใหญ่และทันสมัยจึงนับเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมาก อิตาลีส่งFalco3000ขนาด 3,600ตันที่ออกแบบอย่างดีเยี่ยมเข้ามาประกบโดยหวังผลชัยชนะกลับไปเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังสู้ต่อในเฟส2ด้วยการเสนอเรดาร์EMPARเข้ามาควบคุมจรวดSM-2ให้ด้วยเพราะทร.ตัวเองกำลังจะทำอยู่เช่นเดียวกัน
ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตนผลการตัดสินปรากฎว่าเรือ Meko 200 Triton (ไม่ใช่รถกระบะนะ) จากเยอรมันได้รับการคัดเลือกในเฟสแรก ส่วนเฟสสองเรดาร์ SPY-1F รุ่นส่งออกควบคุมโดย 9LV CMS ทำท่าจะเข้าวินแบบนิ่มๆ นั่นหมายถึงภายในเวลาไม่ถึงปีเยอรมันได้รับออเดอร์ให้สร้างเรือฟริเกตถึง10ลำเข้าไปแล้ว (Meko A200 4ลำ Meko 200 6ลำ) โบนัสปลายปีของพนักงานที่เกี่ยวข้องคงมากพอจะซื้อบ้านได้เป็นหลังเลยทีเดียวนะครับ
แต่มานะตนหรือจะสู้ความจนในกระเป๋า แค่เพียงปีเดียวเท่านั้นรัฐบาลชิลีก็ถังแตกเข้าจนได้ พวกเขาต้องซื้ออาวุธจำนวนหลายอย่างแต่มีเงินไม่มากพอจึงตัดสินใจซื้อF-16 C/D1ฝูงต่อแต่ยกเลิกโครงการเรือฟริเกตไปแทน ทร.ชิลีจึงต้องไปซื้อเรือฟริเกตมือ2จากอังกฤษมาใช้ไปพลางๆก่อนจนถึงทุกวันนี้ เป็นอันว่าประเทศในยุโรปที่แข่งกันแทบเป็นแทบตายกินแห้วกันหมด อเมริกาขายอาวุธได้น้อยลงไปบ้างและอังกฤษอยู่เฉยๆคว้าพุงปลาไปกินเพียงคนเดียว
ผลพวงจากสงครามในครั้งนี้สร้างบาดแผลให้ทุกคนโดยถ้วนหน้า เยอรมันยังคงขายเรือตัวเองได้แต่ไม่มีดีลขนาดใหญ่แบบนี้อีกแล้ว สเปนยังโชดดีที่ขายF-100ให้ออสเตรเลียและF-310ให้นอร์เวย์ได้อยู่ แต่อิตาลีมีแต่ทรงกับทรุดลงไปเรื่อยๆมากขึ้นทุกวัน ตั้งแต่ปี1990เป็นต้นมา Fincantieri จากอิตาลีซึ่งมีอู่ต่อเรือและบริษัทลูกในเครือจำนวนมาก (รวมถึง OSN - Orizzonte Sistemi Navali S.p.A. ที่เน้นเรือขนาดเล็กไม่เกิน2,500ตัน) ได้รับออดอร์ให้ต่อเรือรบขนาดใหญ่และเรือดำน้ำแค่เพียง10ลำเท่านั้นเอง(ของทร.อิตาลีเองทั้งหมด) เขาต้องจับตลาด cruise ship และFerry Ship มาทดแทนจำนวนมากกลายมาเป็นผู้นำอันดับ1ทางด้านนี้ไปแล้ว เมื่อรู้แบบนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่มีอิตาลีในรายชื่อผู้ส่งแบบเรือเข้าประกวดด้วย เพราะเขาต้องการทวงตลาดเรือฟริเกตคืนกลับมาบ้างเช่นกัน
F-3000 หรือ Falco-3000หรือ Commandante-3000เหมาะสมที่จะเป็นแบบเรือที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุด เขามีพี่สาวตัวเล็กคือ Commandante-1500จำนวนถึง10ลำ และถ้าเรือฟริเกตของเราคือKDX-Iจำแลง เรือลำนี้ก็ต้องเป็นMaestraleจำแลงเหมือนกันด้วย เป็นอันว่าตอนนี้ผมหาแบบเรือได้ครับทุกประเทศแล้วแต่ผิดถูกยังไงไม่ทราบคำตอบเหมือนกัน
Commandante-3000 และ Commandante-1500
ปัจจุบันประเทศใหญ่ๆจะใช้เรือขนาดไม่เกิน2,500ตันและข้ามไป4,000-5,000ตันกันเลย เรือส่งออกของพวกเขาจึงต้องมีขนาดตามนี้ไปด้วย เรืออเนกประสงค์ขนาดเล็กถ้าติดอาวุธน้อยจะเป็นOPVที่กำลังฮิตมากและถ้าติดอาวุธมากจะเป็นฟริเกตเบาหรือเรือคอร์เวตใหญ่แล้วแต่จะเรียกกัน เรือขนาดนี้ขายดีมากในประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกาและอาเซี่ยนบ้านเรา ถ้าเจาะลึกลงไปอีกจะพบว่าเรือตระกูลSigmaจากฮอลแลนด์ขายดีมากและน่าสนใจทีเดียว ผมเคยคิดว่าเขาจะเสนอรุ่นขยายร่างให้กับเรานะแต่ดันถอดใจไปก่อนเหมือนเยอรมันและอเมริกา อาจจะเป็นเพราะขนาดเรือไม่ตรงตามความต้องการทร.เสนอมาคิดว่าสู้ไม่ได้ก็เลยถอยไป
เพราะเราต้องการเรือฟริเกตขนาด3,000-4,000ตันซึ่งมีขายน้อยมาก ช่องว่างที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆประเทศจากเอเชียเร่งพัฒนาแบบเรือและส่งเข้าชิงชัยกันถ้วนหน้า จีน เกาหลี สิงค์โปร์ ทุกคนเริ่มมีลูกค้ารายแรกๆกันแล้วต่อไปจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอีกหลายประเทศในเอเชียก็เริ่มอุตสาหกรรมเรือรบในประเทศตัวเองรวมทั้งไทยแลนด์ของเราที่เริ่มนับ1ได้แล้วเหมือนกัน
แต่ก็ยังมีประเทศใหญ่ที่ทำตลาดเรือขนาดนี้อยู่นะครับ Meko Delta (D) จากเยอรมันยังไงหละครับเรือที่พวกเราทุกคนฝันถึงและยกให้เป็นอันดับ1ของรุ่นเลย น่าเสียดายอย่างมากที่สุดถ้าทร.เราจัดหามาจริงๆจะเป็นประเทศแรกๆที่ใช้เรือแบบนี้ บทความของผมจบแล้วครับ ถ้ามีข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเขียนผิดไวยากรณ์ต้องขออภัยด้วย พอดีไม่ค่อยสบายเป็นไข้หวัด มีอะไรตรงไหนผิดพลาดบอกได้เลยนะครับแล้วผมจะมาแก้ไขให้อีกที
http://www.betasom.it/forum/index.php?showtopic=28499
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t774.htm
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t794.htm
http://forum.keypublishing.com/showthread.php?77827-Spanish-and-other-navies-Never-where-ships
Meko D
+1ครับ กระทู้ดีมีสาระ อธิบายสั้นๆแต่ได้ใจความ
ขอบคุณมากครับ คุณsuperboyที่ค้นหาข้อมูลมาให้พวกเราได้อ่าน ผมว่าที่น่าสนใจมากคือ MEKO200 Tritonที่ใช้SPY1F + 9LV น่าจะเป็นความหวังในการใช้SM2ของเรา
+2 ครับ (อ่านอย่างเดียวไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นครับ)
ขอบคุณท่าน superboy ครับ.... กระจ่างขึ้นเยอะเลย
ข้อมูลเยอะมากครับ :)
ขอบคุณมากครับ...สำหรับบทความ...อ่านได้สรุปดี...
มีภาพวาด เรือ Type-054 รุ่น ส่งออก..ซึ่่งไม่แน่ใจว่าเป็นแบบเรือที่ ผู้ทำภาพออกแบบเอง หรือ แบบตาม Concept ของ อู่เรือ...แต่อยู่เครื่องที่ออฟฟิศ ครับ...คงต้องประมาณวันอังคาร จะร่วม แจม ด้วยครับ...แบบโดยรวมก็คล้าย ๆ กับที่ จีน ประจำการอยู่ปัจจุบัน แต่หอบังคับการเรือ จะเป็นทรงสามเหลี่ยม...และมี CIWS หน้าเรือ 2 ระบบ...
จาก ดีล ของ ทร. ครั้งนี้...และแบบเรือของ แดวู ทำให้ผมขี้เกียจเดาแบบ เรือของ ประเทศต่าง ๆ ไปเลย..5 5 5 5
แสดงว่า อู่เรือ แต่ละอู่ มีแบบเรือหลายแบบมาก ทั้งที่เปิดตัว และ ไม่เปิดตัว...แต่ที่จับจุดสังเกต คือ ถ้ามูลค่าการจัดหาไม่จูงใจมากพอ...(คือ สเปคสูง แต่ราคาไม่สูงพอ)...จะไม่ค่อยได้เห็นแบบเรือตามที่ประเทศอื่น ๆ ที่มีนำเข้าประจำการ...คงจะกลัวเสียราคา..
แบบเรือของประเทศ อิตาลี่ เข้ารอบการคัดแบบของ ทร. หลายครั้ง และเป็นอันดับ 1 หรืออันดับต้น ๆ...แต่ก็ พลาด ทุกครั้ง...เพราะ ราคาที่สูงเกินงบประมาณ...ทร.ไทย เลยไม่ได้เป็นลูกค้า สักที 5 5 5 5....แต่ครั้งนี้ เห็นข่าวอยู่ในลำดับต้น เหมือนกัน...สงสัยแบบเรือ คงยังไม่ทันสมัยเพียงพอ...(เพราะ ระบบอาวุธ มันก็คงจะเหมือนกันหมด ด้วยเป็นของกำหนดของ ทร. อยู่แล้ว)
ทร.ส่ง TOR ให้ 13 ประเทศ แต่ตอบรับยื่นเสนอแบบเรือ เพียง 4 ประเทศ (5 อู่เรือ)...แสดงว่า ราคาของ ทร. ที่เราดูเหมือนก็สูงอยู่ในระดับหนึ่ง...ก็เหมือนยังไม่จูงใจให้เข้าร่วมประกวดแบบเพียงพอ...หรือ ปริมาณ มันน้อย จนดูไม่คุ้มการลงทุน ก็ไม่รู้...
ยินดีมากครับท่านjuldasมาแจมกันได้เลย ^_^ อันที่จริงเรือสเปนกับอิตาลีมีอะไรมากกว่านี้อีกเยอะแต่ดันไม่ใช่ภาษาอังกฤษผมเลยอ่านไม่ออก
เรือจีนที่ส่งออกของท่าน juldas น่าจะเป็นอันนี้รึเปล่าครับ
ถามนอกเรื่องนิดนึงครับ เกี่ยวกับเรือ FFX ของเกาหลีใต้ เห็นว่าติด SSM 8 ลูก และมี Cruise Missile อีก 4 ลูก เท่าที่เห็นในภาพ คือมีท่อยิงอยู่ระหว่างปล่องควันกับโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ แต่สงสัยว่าพวกเขาวางตำแหน่งท่อยิงยังไงครับ
ใช่ครับ...น่าจะเป็นเรือรุ่นนี้ น่ะครับ...แต่เป็นภาพวาดแทน...
เรือ FFX ถ้าดูจาก โมเดล มีการติดตั้ง SSM ได้ถึง 16 ลูก...คงติดตั้งใน จุดตำแหน่งเดิม น่ะครับ...
ถ้าดูจากโมเดล แท่นยิงแฝดสี่สองแท่นของ SSM ก็คงถูกแทนด้วย แท่นยิงแฝดสองของ Cruise Missile จำนวนสองแท่นสินะครับ แถมยังพอมีที่ว่างตรงระหว่างปล่องควันกับเสากระโดงเรืออีก
ข้อมูลสาระดีครับ ที่สำคัญคิดว่าช่วยคลายข้อข้องใจในการเลือกแบบของทร. และที่สำคัญให้ข้อมูลแบบตรงๆไม่เข้าข้างใด ขอบคุณครับ
"ความคิดเห็นส่วนตัวครับ"
สาเหตุ ที่มีผู้เสนอเรือเข้าแข่งน้อยน่าจะเป็นเรื่องการให้ระยะเวลาเตรียมเสนอผลิตภัณฑ์ สั้นไปหน่อยครับ
ระยะเวลา 6 เดือน นั้นถือว่าสั้นมาก (มาแบบรวบรัด ปิดแบบรวดเร็ว) คนตามข่าวยังงงกับความรวดเร็ว
ถ้าไม่มีผลิตภัณฑ์ในมืออยู่แล้วมาเสนอได้ทันที แทบไม่มีโอกาสเลย....
คนที่ได้เปรียบคือคนที่รู้โจทย์ ล่วงหน้าก่อนเป็นปีๆ ครับ...(มีเวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ ได้ แต่...)
อาจต้องกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (เสียเวลาช่วงหลัง นาน...)
ปกติการจัดหาอาวุธต่างๆ ต้องเตรียมการและให้เวลากันนานกว่านี้มากครับ....
โมเดลเรือ Avante ของ Navantia ครับ
(ส่วนที่ crop ตกไปเป็นปืนใหญ่ 76 mm Oto Melara ครับ)
ขอบคุณท่าน MiCro มากครับ...แหมมม...วงใน นะเนี่ยยยยย...
ส่วนเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล..ก็ Saab Sensis...ซึ่งได้รับโครงการ Sea Giraffe ของ ทร.สหรัฐ...
Saab Sensis เป็นADS-B เป็นระบบเกี่ยวกับการควบคุมอากาศยาน ไม่ใช่เรดาร์
เรดาร์ระยะไกล ยังงงว่าเขียนผิดหรือเปล่า จากIndra เป็นIntra ........ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เรดาร์ของเรือใหม่จะเป็นLanza จากบ.Indraจริงๆ
ผมคิดว่า เรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล ก็คงจะเป็นพื้นฐานของ Sea Giraffe แต่คงทำการต่อระยะโดย Sensis...คล้ายกับโครงการ 3DLRR ของ ทอ.สหรัฐ นะครับ...คือ เปลี่ยนจาก AESA ของ Raytheon เป็น Sea Giraffe...
Sensis Team Selected for 3DELRR Program
PR Newswire
EAST SYRACUSE, N.Y., May 26
Sensis, Raytheon and Moog Solution to Meet Long Range Surveillance and Threat
Detection Challenges of Today's Expeditionary Forces
EAST SYRACUSE, N.Y., May 26 /PRNewswire/ -- The team of Sensis Corporation,
Raytheon Company and Moog Inc. was selected by the U.S. Air Force for the
Three-Dimensional Expeditionary Long-Range Radar (3DELRR) program technology
development phase. The Sensis-led team brings extensive radar system design,
development, manufacturing, test and support experience to the 3DELRR program.
The U.S. Air Force's 3DELRR program is a replacement program for the AN/TPS-75
radar. The primary mission of the 3DELRR is long-range surveillance, control
of aircraft, and theater ballistic missile detection. The 3DELRR will provide
air traffic controllers with a precise, real-time view of the surrounding
airspace to conduct close control of individual aircraft under a wide range of
environmental and operational conditions. In addition, 3DELRR will provide the
capability to detect and report highly maneuverable, small radar cross section
targets as well as classify and determine the type of a non-cooperative
aircraft.
"The Sensis team's proposal of an entirely new radar system from the ground-up
means every facet of our solution is designed with only the 3DELRR's
requirements in mind," said Dave Kovarik, vice president and general manager
of Sensis Defense & Security Systems. "The program also follows the DoD's
acquisition strategy of the armed services working together on significant
programs to realize the most cost-effective, technologically-sound solutions
for our fighting forces."
Sensis, as the prime contractor, is responsible for program management,
Systems Engineering, Integration and Test, and the digital electronics,
software and mechanical structures.The company is currentlysupporting the
development and production of the Ground/Air Task Oriented Radar (G/ATOR)
system, a new ground-based radar for the U.S. Marine Corps. The company has
also modernized over one hundred 2D and 3D primary surveillance radars.
Raytheon Company's Integrated Defense Systems has extensive experience in
developing, testing and producing complex radar systems. For 3DELRR, Raytheon
is responsible for the development and production of the Active Electronically
Scanned Array (AESA).
Moog Inc.'s Space and Defense Group provides precision motion control
solutions to a number of critical military programs. The Company's Space and
Defense Group is producing, testing and integrating 3DELRR's motion control
subsystems.
ABOUT SENSIS CORPORATION
Sensis Corporation provides sensors, information technology, and simulation
and modeling to the world's militaries, air navigation service providers,
civil aviation authorities, airports, and airlines. Sensis Corporation
solutions are deployed around the world. For more information regarding Sensis
Corporation, visit www.sensis.com.
ABOUT RAYTHEON COMPANY
Raytheon Company, with 2008 sales of $23.2 billion, is a technology and
innovation leader specializing in defense, homeland security and other
government markets throughout the world. With a history of innovation spanning
87 years, Raytheon provides state-of-the-art electronics, mission systems
integration and other capabilities in the areas of sensing; effects; and
command, control, communications and intelligence systems, as well as a broad
range of mission support services. With headquarters in Waltham, Mass.,
Raytheon employs 73,000 people worldwide. For more information, visit
www.raytheon.com.
ABOUT MOOG INC.
Moog Inc. is a worldwide designer, manufacturer, and integrator of precision
control components and systems. Moog's high-performance systems control
military and commercial aircraft, satellites and space vehicles, launch
vehicles, missiles, automated industrial machinery, marine and medical
equipment. Additional information about the company can be found at
www.moog.com.
SOURCE Sensis Corporation
sensis ในโครงการ3DELRR เป็นADS-Bสำหรับส่งข้อมูลให้อากาศยาน รวมถึงควบคุมอากาศยาน
อย่าสับสนเรื่องเรดาร์กับADS-B ซึ่งเป็นคนละแบบและไม่สามารถเพิ่มระยะการทำการให้เรดาร์ได้
เรือใหม่มีระบบACCS ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการควบคุมอากาศยานด้วย
สุดยอดเลยครับ คุณMiCro ผมว่าเรือสเปนดูสวยกว่าเรือเกาหลีนะ ส่วนLong-Range Radar ถ้าเป็นLanza 3D ก็น่าจะเป็นได้ ระยะตรวจจับไกล ไม่ใหญ่มากเรือเราแบกไหว ดูเหมือนว่าสเปนก็มีแนวคิดจะเปลี่ยนSPS49บนเรือSanta Mariaเป็นLanza3Dเหมือนกัน รวมทั้งอาจจะเอาไว้เสนอลูกค้าOHPรายอื่นด้วย
ทำไมลงรูปเกิน2ไม่ได้???? เอาใหม่
แนวคิดจะเปลี่ยนแทนSPS49บนเรือชั้นSanta Maria
ขออีกครั้ง
"The Sensis team's proposal of an entirely new radar system from the ground-up
means every facet of our solution is designed with only the 3DELRR's
requirements in mind,"
เรดาร์ท้ายเรือ เป็น 3D Long Range Air Surveilance คือ ต้องการเพียงการ ตรวจการณ์ทางอากาศ ไม่ได้รวมถึง เป้าพื้นน้ำ...แบบ Sea Giraffe AMB...
ความหมายของผม ก็อาจจะเป็น Sea Giraffe ER + Sensis Radar System ไม่ได้หมายถึง Sensis ADS-B อย่างเดียวครับ...
ในแผนภาพ เขียนอย่างชัดเจนว่า ADS-B ...........เท่านั้น
ตามแผ่นภาพ คือ Air Search Radar (Intra (น่าจะความหมาย ภายใน หรือ Iner) long range radar) + IFF + Saab Sensis ADS B
ความหมายของผม ก็คือ Sea Giraffe ER + Sensis Radar System + IFF + Saab Sensis ADS B
ในความหมายที่วา อาจจะคล้าย ๆ กับ 3DLRR ของ ทอ.สหรัฐ ก็คือ เรดาร์ของ Raythone เปลี่ยนเป็น Saab น่ะครับ...
Intra เขียนด้วยI ตัวใหญ่ น่าจะเป็นชื่อเฉพาะ ขอเดาว่าเป็นIndra ดูจะเข้าท่ากว่า หากผู้ทำแผนภาพเป็นคนไทย ไม่แปลกที่จะเขียนผิดจากIndra เป็น Intra เพราะออกเสียงคล้ายกัน
อย่างJ+S ก็เขียนเป็นJ&S แต่อ่านว่า J and S เหมือนกัน
จากข้อมูลในวิกิภาษาสเปนLanza Navalตัวใหม่ มีAntenna กว้างเพียง5เมตร ซึ่งดูจากสเกลแล้ว น่าจะพอไหว
อาจจะความหมายกว้าง ๆ คือ
Air Search Radar (เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ) ความหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นระยะใกล้ ระยะปานกลาง หรือ ระยะไกล
บรรทัดต่อมา จึงระบุ ความหมายว่า ภายในข้อกำหนดว่าเป็น ระยะไกล
(ภายใน พื้นที่ระยะไกล) (Intra Long Range Radar) ซึ่งอาจจะหมายถึง ความหมายที่ว่า ระยะ ระหว่าง กี่กฺิโล ขึ้นไป ที่เรียกว่า ระยะไกล...มากกว่า 320, 350, 400, 450 จะเป็นเรดาร์ แบบไหน ก็ได้...
ขอบคุณท่านMiCroมากครับที่อุตส่าห์นำภาพมาลง นับเป็นAvanteลำใหญ่ที่สุดและแบกอาวุธกันจนหลังโก่งเลยนะเนี่ย สำหรับท่านอื่นๆที่มีภาพเรืออีก3ลำจะเข้ามาแจมด้วยผมก็ยินดีมากนะครับ ความเห็นส่วนตัวผมว่าเรืออิตาลีจะสวยที่สุดนะไม่มีเหตุผลอะไรมารองรับหรอก
ที่ เดา ว่า เป็น Sea Giraffe ER + Sensis Radar system...
ก็จากที่ Saab Sensis เอง ก็มีประสบการณ์จาก 3DLRR ที่อัพเกรดยืดอายุใช้งานให้ ทอ.เยอรมัน กับ ทอ.นอร์เวย์ ให้กับเรดาร์ HADR...และ ในโครงการของ ทอ.สหรัฐ...
คาดว่าน่าจะเป็นSaab ER radar แบบที่ท่าน juldas ว่าครับ คงจะเป็นแบบ phase array พัฒนาจาก Erieye+Giraffe AMB ซึ่งน่าจะรองรับการยิง SM-2 ครับ โดยตัวเรดาร์มีระยะ 350+ กม. มีอัปเดทเรทน้อยกว่า 1 วินาที
หากติดตั้งCWI กำลังส่ง 5-10 kW จาก Raytheon หรือ Lockheed เพิ่มเติมอีก1ตัว น่าทำให้มีขีดความสามารถยิง ESSM กับ SM2 ได้ทั้งสองแบบครับแต่อาจต้องติดตั้ง Mk 41 VLS เพิ่ม
สำหรับเเบบเรือสเปนเป็นการขยายจาก Avante ได้ 3900 ตันครับ เป็น เทคโนโลยี NATO-standard .ในช่วงปี 2010
สรุปว่า RFP ที่มีคนเคยเอามาโพสในเวบ TAF เป็นของจริง (ข้อมูลเป๊ะ) ทำให้สงสัยว่าทำไมในภาพนี้จึงไม่ระบุลงไปเลยว่าเป็น Sea Giraffe ER เหมือนที่ระบุใน RFP ที่ทร.ระบุไว้แล้ว
พอได้เห็นแบบเรือจากสเปนแล้วบอกตรงๆ เลยว่า ผมเสียดายเรือของสเปนลำนี้มากๆ ดูลงตัวมากกว่า และสมเหตุสมผลมากกว่า แบบเรือของเกาหลี อารมณ์ประมาณเดียวกับเครื่องไฟฟ้าเกาหลี พวกจอ LED ที่ดีไซน์สวยโฉบเฉี่ยวบาดใจ ราคาไม่แพง แต่คุณภาพ...นะ ส่วนของยุโรป ดูทันสมัย แข็งแรง ลงตัว คุณภาพดี แต่ราคา...น่าสงสัย
สงสัยต่อไปอีกว่า ที่ทร.ให้เหตุผลในการเลือกแบบเรือเกาหลีนั้น เพราะมีความโดดเด่นกว่าเรือสเปนในเรื่องการต่อต้านเรือดำน้ำ มันคือตรงไหนและอย่างไร...???
ปล. ชักเป็นห่วงเรือลำนี้ซะแล้วครับ ดูๆแล้วน่าจะมีปัญหาตามมาเยอะไม่ใช่เล่น ยิ่งเป็นเกาหลีนี่ยิ่งน่าห่วงเลย ลดต้นทุนแบบมโหราฬ แถมการแข่งขันก็จะยัดใส่กันเต็มแม๊ก แบบไม่เกรงกลัวผลที่จะตามมา ขอให้ได้งานมาก่อน ทำไปแล้วมีปัญหาก็ค่อยแก้ไปทำไป แบบลูบหน้าปะจมูก งานออกมาดูดีแค่ภายนอก ข้างในและประสิทธิภาพ...เฮ้อ
ผมกลับมองว่า...เรือจาก สเปน คือ เรือ Patrol Vessel ที่ขยายแบบ มากกว่าครับ....
ในขณะที่ เรือจากเกาหลี คือ เรือ Destroyer ที่ปรับแบบ Stealth...
ผมว่า มันคนละรุ่น กันเลย...
.....ผมว่า มันไม่น่าจะมีปัญหาอะไรหรอก ครับ
เพราะว่าไม่ว่าใครชนะ ก็ต้องไปออกแบบของจริงขึ้นใหม่อยู่ดี เพราะไม่มีใครมีพิมพ์เขียว พร้อมอินทิเกรทระบบมาแบบสมบูรณ์
การจ้างดูเหมือนเป็นแบบการจ้างแบบ Turn Key ใครได้ไปก็ต้อง ออกแบบพร้อมอินทิเกรทระบบทั้งหมด รวมแก้ไขปัญหาเอาเองด้วย
ปัจจุบันนี้ ผมว่าฝีมือไม่ว่าเจ้าไหนๆ คงไม่ห่างกันมากนัก...(Spac อุปกรณ์ ก็เหมือนกันทุกเจ้า )
ที่เอาภาพ Mok-up หรือ Model Mok-up มาโชว์ มันก็เป็นแค่ วัสดุสื่อสารเบื้องต้น (ใกล้เคียง) เท่านั้นครับ
แต่ว่าที่เป็นประเดน น่าจะเป็นเรื่อง "มาเร็ว เครมเร็ว" ทำให้มีผู้เล่นน้อยราย แถมบางรายน่าจะ Strat ก่อนเสี่ยงปืนดัง..มากกว่า
การออกแบบการจัดวางระบบตามโจทย์ที่กำหนด มันสะท้อนออกมาในแบบเรือที่เห็นได้ชัดเจนครับ อย่างที่บอกเรือของสเปนดูการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ลงตัวและสัมพันธ์กันทั้งหมด ในขณะที่ของเกาหลีดูสับสนขัดแย้งกีดขวางเกะกะ และที่สำคัญก็เรื่องที่ท่านบอกนั่นแหละ ว่าผู้ที่ได้งานไปต้องมีหน้าที่ปรับแก้ขอบกพร่องและปัญหาเอง เพื่อให้งานบรรลุตามข้อกำหนด แต่...ถ้าคุณเคยสัมผัสการทำงานของผู้รับเหมาสัญชาติเกาหลี คุณจะเข้าใจว่าผมห่วงเรื่องอะไรครับ ผมไม่แปลกใจเลยที่เรือที่ต่อให้บังคลาเทศจะเกิดปัญหาจนต้องใช้เวลาแก้ไขนานนับปี
ปล. ถึงยังไงมันก็เป็นแค่มุมมองและความกังวลส่วนตัวของผมนั่นแหละ แต่ลางสังหรณ์ + ผลวิเคราะห์ ที่ผ่านมามันใกล้เคียงมากๆ จนน่า"ขนลุก"เลยล่ะครับ
(ต้องขอไปเข้าห้องน้ำก่อนนะ 555)
รูป T-054 รุ่นส่งออก ตามที่เขียนในเว๊ป นะครับ ไม่ยืนยันความถูกต้อง
ตามที่ทร. ระบุไว้ในข้อกำหนด ผู้เสนอแบบเรือทุกรายต้องเสนอรายการอุปกรณ์และระบบต่างๆตามรายการครับ
เท่ากับว่าแบบเรือจากทั้งสองบริษัทได้ผ่านการคัดเลือกจากขณะกรรมการพิจารณา โดยทั้งสองบริษัทมีการยืนยันว่าแบบเรือดังกล่าวอยู่ในวงเงินงบประมาณที่ทร. ระบุไว้ในเอกสารสารเชิญชวนเสนอราคา
อุปกรณ์และระบบดังกล่าวจะรวมถึง ASROC, Torpedo, Sonar หัวเรือและลากท้ายด้วยครับซึ่งส่วนนี้คือส่วนการต่อต้านเรือดำน้ำ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทุกบริษัทต้องเสนอโดยส่วนมากจะใช้ Mk 41 VLS ครับ
ท่านmicro พอจะแย้มได้ไหมว่า เรือทั้ง2ลำมีขีดความสามารถติดVLS สูงสุดได้กี่ท่อ และเฟสแรกมากี่ท่อ ?
เรดาร์ระยะไกลมาจากเจ้าไหน ?
จากข้อมูลท่าน MiCro...ว่าสาระสำคัญ คือ ระบบการปราบเรือดำน้ำ...
ก็คงมีลุ้น จะมี VLS อย่างน้อย จำนวน 2 ระบบ...
ตามข้อกำหนดของ ทร. คือ 8 Canister ( ESSM Max 32)...ในส่วนนี้ น่าจะใช้ไปแล้ว 1 ระบบ
ส่วนที่เหลือ คือ VL ASROC กับ Nulka ก็น่าจะใช้อีก 1 ระบบ...
ส่วนใน อนาคต ถ้ามีการติดตั้ง SM-2 อ่านใน ปล. ของ สยป.ทร. + ความเห็นท่าน MiCro ก็น่าจะเพิ่มอีก 1 ระบบ...
รวมเท่ากับ เรือลำนี้ จะติดตั้งถึง 3 ระบบ...
ข้อมูลท่านMicroเด็ดดวงมากครับแสดงว่ามีส่วนน้อยที่ไม่ใช่MK-41สิ(เรือจีนแน่นเลย) ตอนนี้ผมหมดแม็กแล้วเหลือแค่เรือสเปนก่อนโมดิฟายลำเดียว เจาะกระดาษเข้าแฟ้มไปแล้วก็ยังอุตส่าห์ดึงออกมาภ่ายรูปอีกจนได้ นาทีนั้นคนเขียนจะรู้ไหมนะว่าเรือโตขึ้นมาเป็นHi-end Frigateได้
ส่วนตัวผมคิดเหมือนคุณ juldas ครับ ผมคาดว่าเรดาร์ระยะไกลน่าจะเป็น SAAB Giraffe ใช้เทคโนโลยี AMB+ Erieye เป็น phase array radar ซึ่งสามารถใช้รองรับการยิง SM-2 อยู่แล้ว และน่าจะใช้ในแบบทั้งของสเปนและเกาหลีใต้
ในความคิดของผม สำหรับการออกแบบเรือทั้งสองแบบตัวเรือต้องรอรับการติดตั้งอุปกรณ์ CWI สำหรับ SM-2 ในอนาคตเมื่อ ทร. มีงบประมาณครับ กล่าวคือทางอู่เรือจะต้องเตรียม space and weight (S&W) ไว้ติดตั้ง Mk 41 VLS อย่างน้อยอีก 1 ชุดได้ สิ่งเหล่านี้ต้องออกแบบตั้งแต่เริ่มต้น เช่น เรือ นเรศวร-ตากสิน ที่มีการออกแบบรองรับการติดตั้ง Mk 41 VLS ไว้แล้ว ซึ่งทางทร. เพิ่งจะมีงบประมาณติดตั้งเมื่อเร็วๆนี้ครับ
เท่าที่ดูขนาดเรือทั้งสองแบบน่าจะเพิ่ม Mk 41 VLS ได้อีกหนึ่งชุด แค่นี้ก็น่าจะเต็มที่แล้วครับ
พอดีมีแต่ของสเปนนะครับแหะๆ ใครมีรูปของทางเกาหลีรบกวนช่วยกันโพสต์หน่อยนะครับ
หงุดหงิดกับเรื่องเรดาห์ท้ายเรือจริงๆ คงจะมีตัวเลือกประมาณนี้..... แต่ผมว่าภาพ CG มัน EMPAR ชัดๆ