หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


แกะรอยเรือดำน้ำลำใหม่ของไทยครับ (เรือดำน้ำเกาหลี + SAAB)

โดยคุณ : Ricebeanoil เมื่อวันที่ : 12/08/2013 23:54:29

เกาหลีใต้เตรียมต่อเรือดำน้ำขนาดเล็กภายในประเทศ

ในงาน Kormarine Expo 2011 Naval & Defense Show ที่จัดขึ้นที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปลายเดือน ธันวาคม ปีที่ผ่านมา South Korea’s Agency for Defence Development  (ADD) ได้เปิดเผยถึงโครงการต่อเรือดำน้ำขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่า Midget Submarine ขึ้นใช้เองภายในประเทศ ซึ่งเหนือการคาดการณ์ของคนในแวดวงทหารไปไม่น้อย เนื่องจากโครงการนี้อยู่นอกโครงการพัฒนากองกำลังเรือดำน้ำโจมตี (Korean Attack Submarine program) ของเกาหลีใต้ ซึ่งตั้งเป้าไปที่การผลิตเรือดำน้ำโจมตีขนาด 3,000 ตัน

 

เรือดำน้ำขนาดเล็กของเกาหลีใต้ที่จะต่อขึ้นเองนี้ มีรหัสว่า KS 500A มีขนาดระวางขับน้ำที่ผิวน้ำ 510 ตัน กว้าง 4.5 เมตรยาว 37 เมตร ดำน้ำลึก 250 เมตร ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้แบตเตอร์รี่ลิเธียมไอออนจำนวน 2 ชุด เป็นแหล่งพลังงาน โดยไม่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในตัว ระยะเวลาปฏิบัติการนาน 21 วัน รัศมีทำการ 2,000 ไมล์ทะเล ที่ความเร็วเดินทาง 5-7 น็อต แต่ก็มีความสามารถที่จะเร่งความเร็วได้ถึง 20 น็อตเลยทีเดียว โดยตลอดระยะเวลาปฏิบัติการ เรือไม่ต้องลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ (Snorkeling) บ่อยๆ เหมือนเรือรุ่นเก่าด้วย

 

 

ส่วนของระบบขับเคลื่อนนั้น ยังไม่ได้รับการเปิดเผยจาก ADD แต่จากแบบจำลองของเรือ เราจะมองไม่เห็นใบจักรของเรือที่ปลายสุดของตัวเรือ เช่นเดียวกับเรือดำน้ำแบบอื่นๆ แต่ในภาพขยายของท้ายเรือ เราจะเห็นข้อความ Integrated Motor Propulsion และในภาพตัดขวางจะเห็นส่วนประกอบของมอเตอร์อยู่ทางฝั่งซ้าย ถัดไปที่เห็นเป็นท่อทรงกระบอกคือ Flexible Payload Module (FPM) เป็นช่องสำหรับปล่อยชุดปฏิบัติการพิเศษ , นักประดาน้ำ , ยานใต้น้ำของชุดปฏิบัติการพิเศษ และยานใต้น้ำไร้คนขับ ถัดไปเป็นหางเสือแบบ X-Shaped   ซึ่งส่วนที่เป็นมอเตอร์ อันประกอบไปด้วย Rotot , Stator และ Shroud น่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนของเรือรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้ในเรือดำน้ำ ผู้เขียนสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นระบบ Water Jet แบบใหม่ หรือเป็นลักษณะคล้ายๆ กับเครื่องยนต์เจ็ทในเครื่องบิน (Podded Motor)

 

 

โครงสร้างที่เป็น Podded Motor ที่ท้ายเรือ

 

ตัวเรือแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (Compartments) คือ ส่วนศูนย์ยุทธการ (CIC) และสะพานเดินเรือ , ส่วนห้องเครื่องจักร ,  ส่วนห้องพัก และห้องพักผ่อนของประจำเรือและชุดปฏิบัติการพิเศษ และ ส่วนอาวุธและโซนาร์

 

KS 500A ใช้กำลังพลทำงานเพียงแค่ 5 คน แต่เพื่อการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีคนจำนวน 10 คน สำหรับยาม 2 ผลัด นอกจากนี้ยังสามารถรองรับชุดปฏิบัติการพร้อมอาวุธครบมือได้อีก 14 คน 

 

 

ระบบอาวุธประกอบไปด้วย ตอร์ปิโดใหญ่ 2 ลูก และตอร์ปิโดเล็กอีก 4 ลูก นอกจากนี้แล้วก็ยังติดตั้งแท่นยิงอาวุธปล่อยแนวตั้ง และทุ่นระเบิดได้ด้วย อย่างละ 1 ลูก หรืออย่างใดอย่างหนึ่งจำนวน 2 ลูก ส่วนของหอบังคับการหรือ Conning Tower เป็นที่ติดตั้งของเสาที่ทำหน้าที่ต่างๆ ได้แก่ เสาเรดาร์, เสาวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม เสา Electronic Security Measures System ,เสาเพอริสโคปแบบ Electro-optic และเสา Payload สำหรับปล่อยอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กหรือใช้ในการปล่อยอุปกรณ์อื่นๆ 

 

 

ระบบโซนาร์ ประกอบด้วย โซนาร์หัวเรือ (Conformal Array Sonar) , โซนาร์ด้านข้าง (Flank Array Sonar) , โซนาร์ดักจับสัญญาณโซนาร์ (Intercept Sonar) และชนิดสุดท้ายคือ โซนาร์หลบหลีกทุ่นระเบิด (Mine-Avoidance Sonar) ส่วนในห้องศูนย์ยุทธการ ตัวแบบจำลองเผยให้เห็นถึงหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่จำนวน 4 หน้าจอ และคอนโซลแยกอีก 2 ตัว กับโต๊ะแผนที่อีกหนึ่งโต๊ะ  

 

 

เรือรุ่นนี้ มีความมุ่งหมายที่จะสร้างขึ้นมาทดแทนเรือดำน้ำขนาดเล็กชั้น Dolgorae ซึ่งต่อจากประเทศอิตาลี ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.  1980 จำนวน 3 ลำ ซึ่งปัจจุบันปลดระวางไปแล้ว 1 ลำ โดยเรือชั้น KS 500A นี้จะต่อจำนวน 5 ลำ โดยการผลิตจะเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2012 นี้ 

 

ภารกิจของเรือดำน้ำขนาดเล็กนี้ ก็คือการลาดตระเวนป้องกันในเขตชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณทะเลเหลือง ใกล้พรมแดนเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังใช้เพื่อแทรกซึมหาข่าว ส่งชุดปฏิบัติการพิเศษขึ้นบนชายฝั่งด้วย

 

 

สำหรับโครงการนี้ ผู้เขียนมีความคิดว่า เกาหลีใต้ต้องการเริ่มต้นจากโครงการเล็กๆ ก่อน แม้ว่าเกาหลีใต้โดยอู่ต่อเรือ Hyundai Heavy Industries และ Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering จะมีประสบการณ์ในการต่อเรือและอัพเกรดเรือดำน้ำชั้น Type-209 และ Type-214 มาแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการต่อเรือโดยใช้สิทธิบัตรของอู่ต่อเรือ Howaldtswerke-Deutsche Werft GmbH (HDW) จากประเทศเยอรมนี แต่สำหรับเรือดำน้ำชั้น KS 500A นี้เป็นการออกแบบ และสร้างโดยอู่ต่อเรือในเกาหลีใต้เองทั้งหมด ซึ่งหากโครงการนี้สำเร็จ เกาหลีใต้ ก็จะมีความมั่นใจมากขึ้นในการต่อเรือดำน้ำขนาด 3,000 ตัน ตามที่ตั้งเป้าไว้ในโครงการ Attack Submarine

 

สำหรับโครงการนี้ ผู้เขียนมีความคิดว่า เกาหลีใต้ต้องการเริ่มต้นจากโครงการเล็กๆ ก่อน แม้ว่าเกาหลีใต้โดยอู่ต่อเรือ Hyundai Heavy Industries และ Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering จะมีประสบการณ์ในการต่อเรือและอัพเกรดเรือดำน้ำชั้น Type-209 และ Type-214 มาแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการต่อเรือโดยใช้สิทธิบัตรของอู่ต่อเรือ Howaldtswerke-Deutsche Werft GmbH (HDW) จากประเทศเยอรมนี แต่สำหรับเรือดำน้ำชั้น KS 500A นี้เป็นการออกแบบ และสร้างโดยอู่ต่อเรือในเกาหลีใต้เองทั้งหมด ซึ่งหากโครงการนี้สำเร็จ เกาหลีใต้ ก็จะมีความมั่นใจมากขึ้นในการต่อเรือดำน้ำขนาด 3,000 ตัน ตามที่ตั้งเป้าไว้ในโครงการ Attack Submarine

 

โครงการ Korean Attack Submarine program คือโครงการก่อตั้งกองเรือดำน้ำโจมตีขนาดใหญ่ ที่สามารถทำให้เกาหลีใต้ เป็นประเทศผู้ใช้เรือดำน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงประเทศหนึ่งในโลก โดยโครงการนี้แบ่งออกเป็น 3 เฟส ดังนี้

ภาพแสดงโครงสร้างและส่วนประกอบภายในเรือดำน้ำชั้น Type-214

 

ปัจจุบัน โครงการนี้ยังอยู่ในเฟสที่ 2 โดยมีเรือในชั้น Sohn Won-il เข้าประจำการแล้วจำนวน 3 ลำ กำลังต่ออยู่อีก 3 ลำ ส่วนในเฟสที่ 3 ก็กำลังจะเริ่มควบคู่ไปด้วย โดยที่แต่เดิมจะเริ่มโครงการใน ปี ค.ศ. 2007 แต่ก็ต้องยืดระยะเวลาออกไป โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็คาดการณ์ได้ว่าน่าจะเป็นเรื่องของความไม่พร้อมของอู่ต่อเรือ และเทคโนโลยีที่มีอยู่ เพราะในปัจจุบันก็ยังต่อเรือในเฟสที่ 2 ไม่แล้วเสร็จ

 

เรือดำน้ำ ROKS Choi Museon ชั้น Chang Bo-go

 

นอกจากโครงการต่อเรือดำน้ำ KS 500A จะเป็นโครงการทดลองเพื่อก้าวต่อไปยังเรือดำน้ำชั้นใหม่ของเกาหลีใต้เองแล้ว ประโยชน์อีกทางหนึ่งก็คือ เกาหลีใต้จะมีเรือดำน้ำขนาดเล็กเพื่อทดแทนเรือดำน้ำชั้น Dolgorae ที่ใช้งานมานานเพิ่มขึ้นอีกถึง 5 ลำ ซึ่งจากเหตุการณ์จมเรือคอเวต โชนัน โดยคาดว่าจะเป็นการโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำขนาดเล็กของเกาหลีเหนือนั้น ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงความน่ากลัวของเรือดำน้ำขนาดเล็กนี้  

 

ภาพความเสียหายของเรือ ROKS Cheonan

 

ที่มา : http://zedth.exteen.com/20130112/entry-1

****************************************

คิดว่าเรือดำน้ำใหม่ของ ทร.ไทย คงเป็นเรือดำน้ำเกาหลี + SAAB ไม่ผิดจากนี้เป็นแน่ครับ

 

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


ถ้ามันยิงตอปิโดได้ก็ถือว่าใช้ได้แระคับ รูบทรงสวยดูดีผมว่ามันดูเท่กว่า 206 เยอะเลยนะ แถมคุยจ้อกับ ย๊าส์จ ได้ด้วย

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 10/08/2013 07:33:57


ความคิดเห็นที่ 2


สอยมาสัก 6 ลำ แล้วดีลหน้าค่อยไปเอาKSS-IIIไม่ก็209ธรรมดาๆ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 10/08/2013 08:58:05


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าราคาไม่แรงจนเกินไป ผมว่าตัวนี้ก็น่าสนใจดีครับ

และถ้าได้แบตรี่ กับมอเตอร์ ตัวชาร์ด ระบบอาวุธ ฯลฯ

จะน่าสนใจอีกมาก

โดยคุณ bird เมื่อวันที่ 10/08/2013 12:31:10


ความคิดเห็นที่ 4


น่าสนใจครับ มาฝึกมาใช้จนชำนาญแล้วค่อยซื้อลำที่ใหญ่กว่าทันสมัยกว่ส

โดยคุณ tou เมื่อวันที่ 10/08/2013 16:15:14


ความคิดเห็นที่ 5


เทคโนโลยีเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ไม่มีเครื่องยนต์กำลังเป็นที่สนใจของผู้ผลิตเรือดำน้ำครับ เนื่องจากมอเตอร์ขับเคลื่อนได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งปัจจุบันมีแนวคิดในการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กที่มีเพียงแบตเตอรีและระบบ AIP ซึ่งสามารถทำให้เรือดำน้ำสามารถออกปฏิบัติการได้นานถึง 20-30 วัน โดยไม่ต้องทำ Snorkel เลย แต่ในก็ยังมีประเด็นในเรื่องของความเชื่อถือได้ ซึ่งระบบทางทหารส่วนมากแล้วจะมีระบบสำรองอยู่เสมอ เช่น เครื่องยนต์ 2 เครื่อง, แบตเตอรี 2 ชุด หรือเรือดำน้ำบางแบบมีมอเตอร์ขนาดเล็กเป็น Auxiliary Propulsion สำหรับกรณีฉุกเฉินอีกด้วย ซึ่งการถอดเครื่องยนต์ดีเซลออกไปทำให้ลดโอกาสถูกตรวจจับได้มากเนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องทำ Snorkel แต่ก็ทำให้มีความเสี่ยงในการออกปฏิบัติการระยะไกลมากขึ้น เนื่องจากมีระบบสำรองที่ลดลง นอกจากนี้การพัฒนาแบตเตอรีแบบ Lithium Ion สำหรับเรือดำน้ำก็ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งถึงแม้ว่าแบตเตอรี Lithium Ion จะมีใช้ตามบ้านมานานแล้ว แต่ความเสี่ยงของการระเบิด-ติดไฟด้วยตัวเองอย่างในกรณีของเครื่องบิน 787 ก็ยังทำให้กองทัพเรือหลายประเทศเลือกที่จะรอจนกว่าจะเป็น Proven Technology เสียก่อน โดยเฉพาะกับเรือดำน้ำที่การเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุขัดข้องอาจส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตลูกเรือได้

โดยคุณ กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 10/08/2013 21:13:03


ความคิดเห็นที่ 6


  ไม่เห็นนานเลยนะครับท่าน  Ricebeanoil   ผมกด LIKE  ให้หนึ่งเสียงครับ

เป็นเรือดำน้ำรุ่นที่ผมเชียร์สุดใจครับ    แม้ว่ามีสเปกบางอย่างไม่ตรงตามความต้องการของทร.   หลายอย่าง    แต่ผมว่าราคาน่าสนใจจนถึงน่าสนใจที่สุดแน่ๆ   ขนาดก็ใกล้เคียง  type-206A  มาก 

   แต่เนี่องจากมันมีระบบที่ไม่ตรงตามความต้องการของ ทร.หลายรายการ    ดังนั้นผมจึงเสนอว่าเป็นรุ่น  KSS-500A  mod  for  RTN  ครับ  

     ขยายขนาด เป็น  600 - 800  ตัน    อยากได้เครื่องยนต์ดีเซลไว้กันเหนียวก็ยัดใส่ลงไป   อยากได้ท่อตอร์ปิโดหนักมากกว่านี้   ก็ยัดใส่เข้าไป     อยากเปลี่ยนห้องพักสำหรับหน่วยซีลไปเป็นห้องพักสำหรับนักเรียนฝึกหัดก็สร้างไว้       อยากได้ระบบอำนวยการรบแบบ  type - 209  ก็ยัดใส่เข้าไป    หรือถ้าคิดจะเลือกซื้อ  DW-1400T  เป็นเรือรบหลักในอนาคต     ก็สามารถจัดระบบภายในให้คล้ายๆกันได้   ทั้งเครื่องยนต์  CMS  ระบบอิเลคทรอนิค    เพราะผลิตจากอู่ต่อเรือเดียวกันครับ    แถมเรือฟรีเกตที่จัดหาใหม่   ก็มาจากอู่นี้เช่นกัน   รวมถึง  K-ASROC  ด้วย   ซึ่งก็น่าจะสามารถเรียกร้องให้ใช้งานมันได้ในเรือดำน้ำ  KSS-500A  mod  นี้

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/08/2013 23:20:21


ความคิดเห็นที่ 7


  แต่น่าสนใจตรงที่มี  SAAB  มาแจมด้วย   นี่ถ้า KOCKUMs  มาแจมด้วยคนยิ่งน่าสนใจครับ    เพราะเป็นเจ้าของระบบ  stirling AIP  ครับ   ถ้าแบบนี้ไม่ต้องมีเครื่องดีเซลไปเลยก็ดี     เรียกว่าลองของใหม่    หรือว่ามีเครื่องปั่นไฟดีเซลใช้ไปก่อนเพื่อความมั่นใจ     เมื่อระบบตระกูล  AIP  ได้รับความมั่นใจกว่านี้   ก็อาจจะถอดถอนออกแล้วนำระบบ   Stirling  AIP  มาใช้งานเลย

   ผมว่าเกาหลีกำลังโหมเจาะตลาดอุตสาหกรรมทหาร   เพื่อสร้างยอด  GDP  ประเทศให้ติด  1 ใน 10  แบบนี้   เขาน่าจะใจกว้างคุยง่ายครับ

 

ปล.                 

 สำหรับเครื่องยนต์   ในความเห็นส่วนตัวของผม   ผมว่าน่าจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีการออกแบบระบบใบพัดใหม่ทั้งหมด    น่าจะคล้ายๆคอมเพรสเซอร์ของเครื่องยนต์เครื่องบินครับ   และสามารถให้แรงดันออกไปได้สูง     จะว่าไปก็น่าจะเป็นวอเตอร์เจ๊ตที่มีลักษณะคล้ายๆคอมเพรสเซอร์ของเครื่องยนต์เครื่องบิน    

  ถ้า ทร.  ไม่อยากเสี่ยงในระบบเครื่องยนต์แบบนี้  ก็น่าจะสามารถเลือกใช้ระบบดีเซลและระบบใบจักรแบบเดิมๆได้    โดยน่าจะยึดแบบอย่าง,kจาก  type -209  type -214 ด้วย    เพราะอู่เรือนี้ก็ต่อเรือทั้ง 2 ชั้นมาแล้วน่าจะรู้รายละเอียดดีมาก   

    และน่าจะเผื่อสำหรับการถอดถอนเครื่องยนต์ดีเซลออกไปเพื่อติดตั้งระบบ  stirling  AIP  ได้ในอนาคต    ผมค่อนข้างมั่นใจว่าระบบ  stirling AIP  นี้น่าจะให้พลังงานมากกว่า Fuel cell  ที่ทางเยอรมันพัฒนาอยู่    แม้ว่าเสียงอาจจะดังกว่า             Fuel cell นี่มันไม่มีเสียงเลยเพราะไม่มีส่วนเคลื่อนไหว

  ส่วนช่องเข้าออกของนักประดาน้ำก็ไม่ต้องมีไปซะ     แต่มาแปลกนะสำหรับเรือรุ่นนี้ที่ให้หน่วยซีลออกทางตูด  ยังกะขี้ปลาทองเลย

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/08/2013 23:31:10


ความคิดเห็นที่ 8


   lสำหรับเพื่อนๆ TFC  ใหม่ๆ  อาจจะยังไม่ทราบหลักการดีนัก   สรุปสั้นๆว่า

เครื่องยนต์ดีเซลแบบเดิม   ใช้ทำหน้าที่ปั่นไฟเพื่อประจุไฟเข้าแบต   โดยต้องพึ่งพาอากาศภายนอกในการประจุไฟ    ดังนั้นจึงต้องลอยขึ้นไปใกล้ผิวน้ำแล้วใช้ท่อดูดอากาสเข้ามาเพื่อเดินเครื่องยนต์ดีเซล    เมื่อแบตเต็มแล้ว    ก็จะดำลงใต้น้ำ  แล้วใช้แบตตารี่ในการส่งไฟให้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนใบจักรเรือ         เป็นระบบที่ได้รับความน่าเชื่อถือที่สุดแล้วในปัจจุบัน    แต่มีข้อเสียและเสี่ยงมาก คือ  ต้องลอยลำขึ้นมาประจุไฟ   

 

ระบบ  Stirling  AIP   ก็ คือ   เครื่องยนต์ดีเซลแบบ  Stirling  แต่เป็นระบบปิด  คือ  แพคส่วนผสมอากาศอัดถังลงไปใช้ใต้น้ำเลย    เวลาเดินเครื่องดีเซล  stirling  เพื่ออัดไฟ   ก็ไม่ต้องลอบลำขึ้นไปดูดอากาศครับ   ใช้อากาศอัดกระป๋องที่เตรียมเอาไว้   มาใช้งานเลย     เสียงของเครื่องดีเซล  stirling  เบากว่าเครื่องดีเซลปกติพอควร   เหมือนเครื่องเบนซินที่เสียงเบากว่าเครื่องดีเซลนะครับ     และน่าจะเป็นไปได้ที่แท่นรองเครื่องยนต์ stirling  น่าจะมีเครื่องหักล้างคลื่นเสียงอยุ่ด้วย     และคงใช้เวลาในการอัดไฟ 1-2 วัน

   ทำให้เรือมีความเสี่ยงน้อยลงไปมากครับ   และควรจะน่าให้พลังงานมากกว่าระบบ  fuel cell   ซึ่งระหว่างอัดไฟก็น่าจะสามารถส่งพลังงานไปที่มอเตอร์ขับเคลื่อนหลักได้ดีกว่า  fuel  cell  ด้วย    และน่าจะใช้เวลาในการประจุไฟได้สั้น

     

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/08/2013 00:17:22


ความคิดเห็นที่ 9


มีข้อสงสัยครับ

จากที่สเปคระบุ เรือลำนี้คชถือว่ามีความสามารถในการทำสงครามใต้น้ำ(ปราบเรือดำน้ำ) และยุทธการ ใต้น้ำ-สู่-ผิวน้ำ/พื้นดิน(ปราบเรือผิวน้ำ และปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ด้วยกำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษ) ได้ในระดับไหนครับ? ถือว่าเทียบเท่าเรือดำน้ำขนาดกลางได้ไหม(ไม่นับระยะปฏิบัติการ)?

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 12/08/2013 01:04:10


ความคิดเห็นที่ 10


  ในความคิดเห็นของผมนะ       ผมว่าเรือชั้นนี้น่าจะรองรับ  K-ASROC  ในภาระกิจต่อตีเรือดำน้ำได้ด้วย   เพราะมีท่อตอร์ปิโดหนัก 2 ท่อ     ส่วนท่อ  VLS  นี่ผมยังสงสัยมันจะมีได้เหรอเพราะมองไม่เห็น   เห็นแต่ท่อปล่อยขี้ปลา  เอ้ย...นักประดาน้ำ   ซึงน่าจะทำการปล่อยวางทุ่นระเบิดไปได้ด้วยช่องนี้ครับ

  ส่วนในภาระกิจต่อตีเรือผิวน้ำ   เรือน่าจะรองรับ  Sub harpoon  หรือ จรวดของเกาหลีที่ลอก harpoon มาน่ะแหล่ะ(ผมจำชื่อไม่ได้)     ส่วนจะยิง  Hyunmoo - 2/3  ได้หรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ   

     ส่วนหน่วยซีลนั้น  รองรับเจ้าหน้าที่แค่สิบกว่าคน   น่าจะออกแนวแทรกซึมหาข่าว   เสียมากกว่า

 

ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเรือดำน้ำขนาดกลางอย่าง  type 214   type-209  หรือ  แมงป่องทะเล   ผมว่าเรือ  KSS-500 A   น่าจะออกแนวเป็นฝ่ายตั้งรับในเขตน้ำตื้นมากและในเขตพื้นที่เศรษฐกิจทางทะเลมากกว่า     แม้เรือจะสามารถรองรับระบบอาวุธทันสมัย   แต่บรรทุกไปได้น้อยมาก    ถ้า ทร. ต้องการให้ทางเกาหลี  mod ให้   อย่างเก่งก็ได้แค่  6-8  ท่อยิงตอร์ปิโดหนัก    และแบกทุ่นระเบิดทั้งภายในภายนอกได้  4-6  ลูกเท่านั้นครับ     

  ยากที่จะทำหน้าที่ไปปิดเส้นทางลำเลียงและประจำพื้นที่ได้เป็นเวลานานๆ  หรือ  สามารถยิงอาวุธ ครุซส์สำหรับต่อตีเป้าหมายบนภาคพื้นดิน   หรือทำการลาดตระเวนคุ้มกันกองเรือรบที่ออกไปปฎิบัติการนอกบ้านได้ยากครับ    แบบเรือดำน้ำขนาดกลางและเรือดำน้ำนิวเคลียร์ทำได้  

 มันออกแบบมาเพื่อการตั้งรับและรักษารั้วบ้านเป็นหลักมากกว่าครับ   หรือจะทำการแทรกซึมหาข่าวก็ไม่เลวเลย   หรือจะดอดไปวางทุ่นระเบิดในเส้นทางเดินเรือข้าศึกก็เข้าท่าครับ

หรือจะใช้ฝึกลูกเรือใหม่ก็เข้าท่านะครับ   เพราะค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการและการบำรุงรักษาน่าจะต่ำ

 

อันนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/08/2013 23:54:29