ญี่ปุ่นเผยโฉมเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ “อิซูโมะ” JDS Izumo (DDH-183) ซึ่งเป็นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และใช้ทุนสร้างถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ วานนี้( 6 ส.ค. 56 ) ขณะที่จีนก็ออกมาแสดงความไม่พอใจที่โตเกียว “ขยายแสนยานุภาพทางทหาร” อย่างต่อเนื่อง
พิธีเปิดตัวเรือบรรทุกเครื่องบินความยาว 248 เมตรลำนี้ ถูกจัดขึ้นที่เมืองโยโกฮามาในวันครบรอบ 68 ปีที่ญี่ปุ่นถูกระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมา และสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ที่ต้องการเลิกใช้รัฐธรรมนูญสันติภาพ และหันมายกระดับศักยภาพของกองกำลังป้องกันตนเองให้กลายเป็น “กองทัพ” ที่สมบูรณ์แบบ
รัฐบาลโตเกียวมีแผนส่งเรืออิซูโมะออกปฏิบัติภารกิจแรกในปี 2015เพื่อป้องกันกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะพิพาท หลังถูกจีนใช้แสนยานุภาพทางทหารกดดันในช่วงไม่กี่ปีมานี้
ด้านกระทรวงกลาโหมของจีนแสดงความกังวลที่ “ญี่ปุ่นมุ่งพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติควรเฝ้าระวัง”
“ญี่ปุ่นควรมองประวัติศาสตร์เป็นบทเรียน ยึดมั่นนโยบายป้องกันตนเองเป็นหลัก และรักษาสัญญาที่ว่าจะมุ่งสู่แนวทางสันติ”
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อิซูโมะที่ญี่ปุ่นผลิตขึ้นเองสามารถจอดเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 9 ลำ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับภารกิจช่วยเหลือในยามเกิดภัยพิบัติต่างๆ ตลอดจนใช้ป้องกันเส้นทางเดินเรือและปกป้องอธิปไตยของชาติ
ก่อนหน้านี้ เรือรบขนาดใหญ่ที่สุดที่ญี่ปุ่นมีอยู่เป็นเพียงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลจำนวน 2 ลำ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเรืออิซูโมะ
เมื่อไม่ถึง 2 สัปดาห์ก่อน ยามฝั่งของจีนได้ล่องเรือเข้ามาในเขตน่านน้ำพิพาทกับญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ซึ่งทำให้สภาวการณ์ตึงเครียดจากการแย่งชิงอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเซ็งกากุหรือเตี้ยวอี๋ว์ คุกรุ่นขึ้นมาอีก
หมู่เกาะแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางแหล่งปลาชุมในทะเลจีนตะวันออก และเชื่อกันว่าใต้พื้นทะเลบริเวณนั้นรุ่มรวยไปด้วยทรัพยากรจำพวกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
credit http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=1015.0 ครับผม
ขอบคุณมากครับท่าน maritime สำหรับข่าวสาร
ญี่ปุ่นที่ใช้นโยบายรักสงบเป็นเวลานานเริ่มมีการเปลี่ยนท่าทีเมื่อจีนกำลังผงาดพร้อมจะเป็นอภิมหาอำนาจ เริ่มมีการขยายขีดความสามารถรองรับจีนเต็มที่ เหมือนๆชาติอื่นๆในเอเชีย เพื่อนบ้านอาเซียนรอบๆก็ทำ ผมมีความรู้สึกว่ากองทัพอากาศของเราเดินสวนทางกับทิศทางที่เพื่อนบ้านรอบๆเขาไปกัน ลดจำนวนเครื่องบินต่อฝูงลง มีแนวโน้มว่าอาจจะต้องลดจำนวนฝูงบินลงอีก เลือกเครื่องบินที่แค่พอรักษาและป้องกันตนเองเท่านั้น ในขณะที่เพื่อนบ้านเลือกเครื่องบินออกแนวเชิงรุกเป็นหลักกัน เพิ่มทั้งจำนวนและคุณภาพ โดยไม่มีการลดจำนวนเครื่องต่อฝูงลงเลย อินดี้สุดๆเหมือนไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงภายนอกเลย
ทร. เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้วครับ เรือใหม่มีประสิทธิภาพน่าประทับใจมาก(ถ้ารองรับทุกอย่างตามที่ผู้ผลิตบอกจริงๆ) และกำลังตั้งใจสอยเรือดำน้ำเป็นของถัดไป หวังว่า Harrier 2+ คงจะได้รับพิจารณาจัดหามาใช้งานนะครับ เพราะคราวที่แล้วจีนโชว์พลังหน้าบ้านมาเลย์ ซึ่งอยู่นอกระยะของ Jas-39 และมีการพัฒนาอย่างจริงจังในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการออกแบบต่อเรือเอง ซ่อมบำรุงเอง รวมถึงการพัฒนาแบบเรือด้วย
ทบ. ก็เริ่มมีการวางพื้นฐานการพัฒนาที่ดีครับ เริ่มมีการผลิตอาวุธจำเป็นหลักๆใช้งานเอง และมีโครงการสร้างขีดความสามารถในการสร้างยานเกราะและรถถังหลักเองด้วย ตามหลัง ทร. ไม่มาก
ขอบคุณสำหรับข่าวสารครับ แอบมาอ่านแต่ไม่เคยแสดงความคิดเห็นนานแล้ว ^^
ท่าน นีโอ ครับ....
กองทัพอากาศไม่เคย แสดงเจตทัศน์ อะไร ออกมาเลยว่า จะลดจำนวนเครื่องบินจากฝูงละ 16-18 เครื่อง
ลงมาเหลือ 12-14 เครื่อง.....(คิดกันไปเอง)
และ ท.อ. ก็ไม่เคยบอกอีกว่าจำนวนฝูงมาตรฐานของ ท.อ. ต้องมีกี่เครื่อง...กันแน่
ให้ดูจากประวัติการจัดหาเครื่องบินของ ท.อ. ใน อดีต ที่ซื้อด้วยทุนของ ท.อ. เองดังนี้ครับ
F-5 E ฝูงที่แรก จัดซื้อเป็นทางการ 16 เครื่อง แอบซื้อเพิ่มตอนไหนไม่รู้ตามมาติดๆอีก 4 เครื่อง รวมเป็น 20 เครื่อง
F-5 E ฝูง 2 จัดซื้อเป็นทางการครั้งแรก 16 เครื่อง แอบซื้อเพิ่มตามหลังไม่รู้ตอนไหนตามมาอีก 4 รวมเป็น 20 เครื่อง
F-16 ฝูงแรก จัดซื้อครั้งแรก 12 เครื่อง จัดซื้อเงียบๆ ตอนไหนไม่รู้ตามมาอีก 6 เครื่อง รวมกันเป็น 18 เครื่อง
F-16 ฝูง 2 จัดซื้อครั้งแรก 16 เครื่อง ตามมาเงียบๆ อีก 2 เครื่อง รวมเป็น 18 เครื่อง
ตกลงไม่มีใครทราบว่า ท.อ. ใช้เครื่องบินกี่เครื่องต่อฝูง ครับ
ส่วนการจัดซื้อ L-39 นั้น ก็มีประวัติ ครับ...
ทาง ท.อ. เสนอขอรัฐบาลท่าน อานันต์ ซื้อจำนวน 50 เครื่อง ครับ โดยอ้างว่าเป็นการจัดหามาสำหรับ 3 ฝูงบินครับ
ไอ้ 50 เครื่องนี่มันเอา 3 หารไม่ลงตัวนี่ครับ......
ก็เท่ากับฝูงละ 16 เครื่อง 2 ฝูง......ฝูงละ 18 เครื่อง 1 ฝูง..........เท่ากับ 50 เครื่องพอดี
แต่รัฐบาลท่าน อานันต์ ต่อรองให้กองทัพอากาศ ซื้อมาเพียงครึ่งเดียวครับ คือให้ซื้อแค่ 25 เครื่อง
แต่ ท.อ. ก็ขอ ต่อรองกับรัฐบาลขณะนั้นว่า ท.อ. จำเป็นที่จะต้องจัดหาเครื่องมาสำหรับ 3 ฝูงบิน
โดย ท.อ. ยอมลดจำนวนเครื่องต่อฝูงลงเหลือ ฝูงละ 12 เครื่อง ในที่สุดรัฐบาลก็เลยยอม ท.อ. ให้ซื้อได้ 36 เครื่อง ครับ
จึงเป็นที่มาของเครื่องจำนวน 36 เครื่อง แต่พอเครื่องตกไป ท.อ. รีบซื้อเครื่องมาชดเชยที่ตกไปทันที....(ให้เท่าจำนวนเดิม)
ท.อ. เลยมีฝูงบินที่มีเครื่อง 12 เครื่องอยู่ 3 ฝูง (เนื่องจากไม่ใช้ฝูงหลักเลย ไม่จัดหาเครื่องเพิ่มมาอีก เหมือนฝูงหลัก)
และอีก ประเดน สำคัญสุดๆ ครับ......
ท.อ. ไม่เเคยคิดลดจำนวนฝูงบินลง เลยครับ เพราะเท่ากับลด ตำแหน่ง ผ.บ.ฝ. ให้น้อยลง (อันนี้สำคัญสุดๆ) ครับ
แล้วที่เคยมี เสธ. ท.อ. ในอดีต นานมากแล้ว เคยกล่าวถึง เป้าหมายในขณะนั้นว่า ทาง ท.อ. มีความต้องการฝูงบินหลักๆ
จำนวน 5 ฝูงเป็นอย่างน้อย (ในขณะนั้น ท.อ. มีฝูงบินหลักเพียง 3 ฝูง คือ F-5 E 2 ฝูง และ F-16 อีก 1 ฝูง)
ก็อย่าเอามาเป็นประเดนว่าประเทศไทยควรมีความต้องการฝูงบินหลักๆ แค่ 5 ฝูงก็พอแล้ว (ซึ่งในยามปกติ ก็เพียงพอ ละ..)
แต่ในยามยุ่งยาก ฉุกเฉิน ประเทศไทยต้องมีฝูงบินหลักอย่างน้อย 10 ฝูง ครับ (หรือประมาณเครื่องดีๆ 200 เครื่อง)
(เพราะนาทีทองมันอยู่ที่ 1-3 ชั่วโมงแรกของการรบเท่านั้นเอง) ถ้าจะรบเพื่อเอาชนะ ไม่ใช่รบแบบเงื้อง่าราคาแพงแบบนั้นไม่พูดถึงครับ
แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้ เรามีแนวโน้มที่เพื่อนบ้านจะร่วมมือกัน ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นการค้าขาย
และการพัฒนาสังคมให้อยู่ดีกินดี มีความสุขร่วมกัน มากกว่าที่จะมารบกัน ความจำเป็นต้องมีอาวุธก็ลดลง (เพราะราคามันแพง)
เอาเงินที่หามาได้ยาก มาใช้ด้านอื่นดีกว่า ยังมีคนจน ขาดการพัฒนา การศึกษา และอดอยาก อีกมาก ในภูมิประเทศแถบนี้
แต่ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่า จะไม่มีโอกาสเกิดความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธ ระหว่างประเทศ (เพราะ บางทีก็คุยกันไม่รู้เรื่อง อย่างขอม)
ไอเทม นี้ ถือเป็น ทัศนคติ และความเห็นส่วนตัว ครับ.....
ดูเหมือนช่วงนี้บรรยากาศในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกและทะเลจีนใต้กำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ ครับ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลายประเทศเริ่มมีข้อพิพาทและการกระทบกระทั่งกันทางทะเลกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเสริมสร้างกำลังรบทางเรือกันอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นเรียกเรือดังกล่าวว่าเรือพิฆาต แต่ขนาดและรูปร่างหน้าตาก็คือเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์นั่นเอง และถึงแม้จะไม่มี Ski-Jump สำหรับเครื่อง VSTOL แต่ก็สามารถรองรับ F-35B ได้สบายๆ) เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning (Ex-Varyag) ของจีน (และข่าวลือว่าจีนกำลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเองอีกลำ) เรือฟริเกตฟิลิปปินส์ เรือดำน้ำของเวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ รวมถึงเรือฟริเกตของไทยก็อาจถูกเหมารวมไปด้วย ถึงแม้ว่าในกรณีของไทยจะเป็นการจัดหาเรือใหม่เพื่อทดแทนเรือฟริเกตเดิม ไม่ใช่การจัดหาเพิ่มเติมอย่างเช่นในกรณีอื่นๆ ที่กล่าวถึง
รายละเอียดเพิ่มเติม - http://kapitaennem0.wordpress.com/2013/08/07/ddh_izumo/
ปล.ขออนุญาตเกาะกระแสประชาสัมพันธ์เพจใหม่ด้วยครับ https://www.facebook.com/kapitaennem0 สำหรับเป็นช่องทางเผยแพร่บทความและข่าวสารจาก Blog อีกทางหนึ่ง
ข้อสังเกตุคือ
ชื่อเรือ “อิซูโมะ” มันคือชื่อ อดีตเรือธงของญี่ปุน ที่ใช้รุกรานจีน
ทั้ง ชื่อ + ธง + และ เพลง ล้วนใช้ของยุครุกรานเพื่อนบ้าน
(มิน่า ทั้งจีน และ เกาหลี ต่างประมาณญี่ปุ่นตลอดมาว่า ไม่เคยสำนึกผิด และ ยังคิดทำผิดซ้ำ)
ถ้าเยอรมันทำแบบเดียวกันบ้าง ประเทศต่างๆในยุโรป จะยอมไหม......
การ recycle ชื่อเรือเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของทหารเรือทั่วโลกครับ อย่างเช่นเรือ Hyuga และ Ise ก็เคยเป็นชื่อของเรือรบญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หรือเยอรมันก็ recycle ชื่อเรือดำน้ำ U20 (ชั้น 206A) ที่เคยเป็นชื่อเรือดำน้ำที่จมเรือ Lusitania จนเป็นสาเหตุ (หรือข้ออ้าง) หนึ่งที่ดึงให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
"เยอรมัน" กับประเทศในยุโรปต่างก็ใช้ชื่อเรือ ซ้ำกับกับชื่อเดิมในอดีต เหมือนกันนี่ ครับ...
ของเยอรมัน น่าจะใช้ซ้ำเป็นรอบที่ 4 แล้วมั้งครับ ก็คงเป็นทำเนียมของทุกประเทศละครับ
IZUMO นี่พึ่งเป็นลำที่ 2 เท่านั้นเอง เพราะลำแรกประจำการนานถึง 45 ปี
ตั้งแต่สงครามกับรัสเซีย จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้ง 2
เรือชั้นนี้ ผมเดาว่าญี่ปุ่นคงทำ "ไก๋" สร้างไปเรื่อยๆ ถึง 4 ลำแน่ๆ ดีไม่ดีอาจถึง 6 ลำ เพราะเป็นเรือเอนกประสงค์มากครับ
ขอแสดงความเห็นนิดหนึ่งหน่อยนะครับ....
เอา ญี่ปุ่น ก่อนครับ ผมไม่แปลกใจหรอกครับ ที่ญี่ปุ่น จะเร่งขยายอำนาจทางทหารของตัวเอง เพราะสภาพแวดล้อมของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น-ถูกแวดล้อมด้วยเพื่อนที่เป็นศัตรู (ศัตรู ตัวใหญ่เสียด้วย) เช่น รัสเซีย,จีน,เกาหลี+ทั้งเหนือและใต้ แล้วก็สิ่งที่ญี่ปุ่นเคยทำกะประเทศพวกนี้ในอดีต มันยังเกาะกินใจและสร้างบาดแผลให้กะผู้คนแถบนั้นอยู่ ซึ่งถ้าเป็นอดีต ก็ไม่น่าห่วงเท่าไร แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น ล้วนแต่มีการพัฒนาอาวุธของตัวเองและเสริมความแข็งแกร่งด้านการทหารอย่างมโหฬารกันทั้งนั้น ซึ่งข้อพิพาทดินแดนหรือหมู่เกาะต่างๆ กะประเทศพวกนี้ สิ่งหนึ่งที่รู้ได้ชัดคือ ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ จะไม่นำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกหรือศาลระหว่างประเทศ_ให้ตัดสิน แต่จะใช้กำลังทางทหารเข้าตัดสินแทน (ปะทะแต่ละครั้ง ทำให้ญี่ปุ่นหนักใจพอควร)
มาดูที่แถบบ้านเรากัน อาเซี่ยน นั้น ผมว่า เป็นเพียงแค่การร่วมมือกันทางด้านเศษฐกิจและด้านอื่นๆ เท่านั้น แต่ด้านการทหาร พวกท่าน เห็นหรือยังว่า มีการร่วมอะไรบ้าง
ในขณะที่การซื้ออาวุธในแถบอาเซี่ยนบ้านเรา กลับมีการสั่งซื้ออาวุธแทบจะมากที่สุดในโลกด้วยซ้ำมั้งครับ แต่ละประเทศต่างซื้ออาวุธเข้ามาสั่งสมกันไว้ทั้งนั้นและมันจะมีการสั่งซื้ออาวุธมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะแก้ปัญหาข้อพิพาทดินแดนในครั้งต่อๆ ไป จะไม่ค่อยใช้การเจรจาเท่าไร ดูตัวอย่างของข้อพิพาทหมู่เกาะระหว่างอินโดนีเซียกะมาเลเซียก็ได้ครับ ที่ทั้งสองเอาขึ้นสู่ศาลโลก แล้วศาลโลกตัดสินให้เป็นของมาเลเซีย ได้ไปครอบครอง, ซึ่งสร้างความแค้นเคืองใจให้กะชาวอินโดมาก เมื่อมีข้อพิพาทรอบใหม่อีก อินโดนีเซีย จึงไม่ยอมเอาขึ้นสู่ศาลโลกอีก แต่จะใช้กำลังเข้าตัดสินแทน (จำไม่ได้ว่า เรื่องพิพาทดินแดนรอบใหม่ หลังจากเรื่องหมู่เกาะที่ศาลโลกตัดสินแล้ว ที่ทั้งอินโดและมาเล ต่างก็เอากำลังรบมายันกันไว้เยอะเหมือนกัน เห็นว่า เครื่องบินรบนี่ วินกันว่อนเลยทีเดียว)
แถบบ้านเรา เมื่ออาเซียน ร่วมมือกันมากขึ้น ทำให้เศษฐกิจของแต่ละประเทศดีมากขึ้นตามและมีสตางค์มากขึ้น แต่ข้อพิพาทเรื่องดินแดน กลับมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อมีสตางค์มากขึ้น ก็ซื้ออาวุธมาสะสมมากขึ้นเช่นกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีปืนอยู่ในมือ การตัดสินจะออกมาแนวไหนหละท่านว่า
โลกยุคปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ยุคที่จะเอากำลังไปรบราฆ่าฟันประเทศอื่นๆ เพื่อแย่งชิงดินแดนเหมือนในอดีตได้แล้ว แต่ละประเทศ จึงหวนแหนดินแดนที่ยังมีอยู่
ไม่ต้องดูไกลบ้านหรอกครับ เอาบ้านเรานิ ข้อพิพาทพื้นที่เขาพระวิหารก็ได้ นี่ยังไม่รวมพื้นที่อื่นๆ ด้วย เช่น พื้นที่ทางทะเล_ที่ยังไม่ถึงกะเป็นเรื่องขั้นแตกหักเท่าไร/ ถ้าหากประเทศเพื่อนบ้านของเรา มีสตางค์ซื้ออาวุธทันสมัยมาสะสมเยอะๆบ้างหล่ะและประเทศเหล่านั้น ก็พัฒนาถึงขีดสุดทั้งด้านเศษฐกิจและการทหาร ความรู้สึกของเราในตอนนั้น ที่มาถึง ผมว่า ก็ไม่ต่างจากญี่ปุ่นหรอกครับ_ที่ล้อมรอบไปด้วยประเทศมหาอำนาจทางอาวุธกันทั้งนั้น_ข้อพิพาทเรื่องดินแดนในตอนนั้น คงหนักเอาการแน่
ส่วนเรือ Hyugo กับ Ise นี่ก็เป็นชื่อ เรือที่เคยต้ังมาแล้วเหมือนกัน คงสร้างแค่ 2 ลำ
เพราะมหาอำนาจ (รวยๆ) ไม่ชอบเรือขนาดเล็กๆ
เบอร์ 181 เป็น Hyugo 182 เป็น Ise แล้วยังมีเรือ LST ชั้น OSUMI อีก 3 ลำ ซื่อมีขนาด 9000 ตันอีก (เบอร์ 4001)
(ขอโทษครับ ภาพ 181 , 182 ไม่ออก อีก 2 ภาพครับ)
ขอโทษนะครับ ถ้าภาพมันจะใหญ่ไปนิด....
(ภาพไม่ขึ้น มันคงใหญ่เกินไปครับ)
เรือ Izumo นี้เป็นเรือชั้นเดียวกับเรือ Hyuga ใช่ไหมครับ เห็นหมายเลขเรือต่อกัน รูปร่างก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ Izumo มีขนาดใหญ่กว่า
คุณ gto2530253 พูดก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง
เพียงแต่ ถ้าพัฒนาการตามแนวนี้ไปเรื่อยๆ สักวันก็ต้องรบกันแน่นอน ซึ่งไม่น่าจะเกิด 10-30 ปีนี้
วิธีที่ดีที่สุด ที่จะนำสันติภาพมาสู่ภูมิภาคนี้อย่างถาวร คือ รับผิด ขอโทษ และ ชดใช้ สิ่งที่เคยกระทำต่อเพื่อนบ้านลงไป
ตัวอย่างดีๆ มีให้เห็น เช่น เยอรมัน ทำไปแล้ว ทุกชาติให้อภัย ไม่มีใครคิดจะแก้แค้นเยอรมันอีก เยอรมันก็ไม่ต้องระแวงใคร
ต่างกับญี่ปุ่น ทำเขาแล้ว ไม่รับผิด ไม่สำนึก ไม่ขอโทษ แล้วยังบิดเบือน...
จนเพื่อนบ้านไม่ไว้ใจ ต้องพัฒนาอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากญี่ปุ่นอีกรอบ..ญี่ปุ่นเองก็ระแวงว่า เพื่อนบ้านจะแก้แค้น เลยต้องพัฒนากองทัพไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็หนีไม่พ้นต้องรบกัน
สรุป คนเอเซียรบฆ่ากันเอง ฝรั่งได้ประโยชน์ตลอด