ขอเปิดกระทู้ใหม่น่ะครับ กระทู้เก่าโหลดช้าแล้ว
ขอบคุณครับ
เรือฟริเกตที่จัดหาจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ คือ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ และการปฏิบัติสงครามผิวน้ำ โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ ฮ.ทร. ในการรับ-ส่ง ฮ. และนำ ฮ.เข้าเก็บในโรงเก็บ ฮ.ได้ นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธในการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบ ได้รับการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกต ชุด ร.ล. นเรศวร และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ เป็นผลทำให้การปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบกับข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บริษัทฯ เสนอ จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้อู่เรือไทยและบุคคลากรทั้ง ทร. และภาคเอกชนให้มีความรู้ความชำนาญ รองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการบำรุงรักษา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือรบในประเทศได้
กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้ ทร. ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกอง ทัพเรือ โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก
แบบเรือฟริเกตที่ได้รับการคัดเลือก เป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ซึ่งเรือฟริเกตที่กองทัพเรือจัดหา มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็น สมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society) โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งป้องกันตัวเองในระยะประชิด ตามมาตรฐานยุโรป สหรัฐฯ และกองทัพเรือที่มีใช้งานและกำลังจัดหา
การสร้างเรือ จะดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556 – 2561 โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
--------------------------------------
คุณลักษณะและขีดความสามารถโดยสังเขป
ของเรือฟริเกตสมรรถนะสูง
ภารกิจ
ภารกิจในยามสงคราม กิจหลัก ป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย กิจรอง คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง
ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและ ความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ
ขีดความสามารถ
ขีดความสามารถทั่วไป โดยสามารถนำเรือ/เดินเรือแบบรวมการ ที่ทันสมัย ระบบขับเคลื่อนที่ควบคุมง่าย รวดเร็ว ทนทาน ง่าย และประหยัด ความทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ ๖ ขึ้นไป โครงสร้างเรือแข็งแรง มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทาง นิวเคลียร์/เคมี/ชีวะ
ขีดความสามารถด้านการควบคุมบังคับบัญชาและการตรวจ การณ์ ด้วยระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการณ์ที่ทันสมัยและขีดความสามารถสูง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกับเรือ อากาศยาน และหน่วยบนฝั่ง ตลอดจนสามารถตรวจการณ์ครอบคลุมทุกมิติและทั้งกลางวันและกลางคืน
ขีดความสามารถการรบ โดยสามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ โดยให้ความสำคัญในการการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำเป็นลำดับแรก โดยสามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำได้ที่ระยะไกลด้วย Vertical Launch Anti-Submarine Rocket หรือตอร์ปิโด และลำดับที่สอง การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ โดยใช้เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกล และระยะปานกลางในการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าข้าศึก รวมทั้งแลกเปลี่ยนและประสานการปฎิบัติกับเรือและอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการ แล้วโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ แบบ ESSM และอาวุธปืนของเรือ ส่วนการป้องกันทางอากาศระยะไกล หรือพื้นที่ชั้นนอกของกองเรือ (Battle Group) จะใช้การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศในการค้นหา ตรวจจับและโจมตี และการปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ โดยสามารถโจมตีเป้าหมายได้ที่ระยะไกล โดยปฏิบัติร่วมกับเรือและอากาศยานในการพิสูจน์ทราบเป้า ส่งมอบเป้าและให้ใช้อาวุธจากระยะพ้นขอบฟ้า รวมทั้งโจมตีเป้าพื้นน้ำและใต้น้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ
ขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ ปืนใหญ่เรือและปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายแบบรวมการที่สั่งการได้จากศูนย์กลางหรือแยกสั่งการ มีระบบควบคุมการแพร่สัญญาณออกจากตัวเรือ
ขีดความสามารถในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารตรวจจับ ดักรับ วิเคราะห์ และก่อกวนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของเป้าหมายได้
ขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบร่วม โดยผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ให้สามารถปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) ได้แก่ ร.ล.จักรีนฤเบศร เรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร เรือคอร์เวต ชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับ บ.กองทัพอากาศ ตามบทบาทหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมาย ซึ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะทำหน้าที่ควบคุมการปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก
คุณลักษณะและขีดความสามารถทั่วไป
ระวางขับน้ำสูงสุด |
3,700 ton |
มิติ |
123 x 14.4 x 8 (m) |
ความคงทนทะเล |
Sea State 8 (Survivability) |
ความเร็วสูงสุด |
30 Knots |
ระยะปฏิบัติการ |
4,000 NM @ 18 Knots |
ระบบขับเคลื่อน |
2 x Diesels + 1 x GE, Controllable Pitch Propeller |
ระบบไฟฟ้า |
4 x Ship Service Power Generation (Each of 830 kW Rated output) |
เรือเล็ก |
1 x RHIB |
ระบบเรือ |
Stealth Technology - RCS (Radar Cross Section) Reduction - IR (Infra Red Reduction) - URN (Underwater Radiated Noise) Reduction - Degaussing - NBC Protection System |
เฮลิคอปเตอร์ |
1 x 10 Ton Helo (S-70B Sea hawk or MH-60S Knight hawk) with Hangar |
กำลังพล |
136 |
ระบบอำนวยการรบ |
15 x MFC (Multi Function Consoles) |
ระบบอาวุธ |
8 x SSM VLS with capabilities of + 8 x Canisters (max 32 ESSM) + Vertical Launch Anti-submarine Rocket (VLA) + Nulka Active-off board ECM + SM2** 1 x 76/62 Stealth Shield, Multi feeding system (max range 40- 45 km with smart ammunition) 2 x 30 mm Guns (200 RPM) x CIWS (4,500 RPM) 2 x .50 inch (Range; 2 km) 2 x Trainable Triple tube torpedo launchers |
ระบบควบคุมการยิง |
2 x Radar Fire Control System 2 x Continuous Wave Illuminators 1 x Electro Optical Fire Control 2 x Target Designation Sight |
ระบบตรวจการณ์ |
1 x 3 D Long Range Radar (> 350 Km) 1 x 3 D Medium Range Radar (> 180 Km) 3 x Navigation Radar 1 x Surveillance Camera (TV and thermal imager) 1 x Hull Mounted Sonar 1 x Towed Array Sonar 2 x IFF 1 x Automatic Dependent Surveillance-Broadcast (ADS-B) |
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ |
1 x Radar ESM 1 x Communication ESM 6 x Decoy Launchers Active-off board ECM |
ระบบสื่อสาร |
1 x Integrated Communication System Link RTN, Link G & Link E 1 x TACAN 1 x SAT Communication |
----------------------------------------
** เรือฟริเกต ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธ ปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย
สรุป
เรือฟริเกตที่จัดหาในครั้งนี้ เป็นเรือฟริเกตที่มีสมรรถนะสูงที่สุดในกองทัพเรือ มีความพร้อมมูลในการปฏิบัติการในทะเลทุกมิติ โดยมีคุณลักษณะและขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ที่ได้รับมอบ ได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับความต้องการของกองทัพเรือ และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้
ลองSM-2ในอนาคต ลองรับฮ.ขนาด10 ton 1ลำ คราวนี้มาแค่Mk.41 8Cell
อีกอย่าง
Integrated Communication System Link RTN, Link G & Link E มันคืออะไรเหรอครับ คือว่าทำยังไงก็ได้ให้ระบบรองรับlinkE/GและRTNหรือปล่าวอ่ะครับ
เข้าใจว่า แท่น MK-41 คงมี แท่นเดียว คือ 8 เซล
แต่มีความสามารถยิง ทั้ง ESSM, SM-2, VL-ASROC และ Nulca (มีรุ่นพัฒนา ยิงจาก แท่น VLS ครับ)
ที่น่าสนใจ คือ เรือชั้น นเรศวร จะทำการยิง SM-2 ในอนาคต ได้ด้วยหรือเปล่า ?
Inserts can also enhance a cell’s flexibility. Lockheed Martin’s Extensible Launching System (ExLS) is, in effect, a semi-permanent Mk.41 canister that acts as a quad-pack adapter, allowing ships to fire smaller weapons like Nulka anti-missile decoys, RIM-116 RAM block 2 defensive missiles, or even small land attack missiles, from their Mk.41/Mk.57 vertical launchers. ExLS can also be hosted in a ship on its own, creating an independent launch system that competes with the Mk.41 SDL.
ทำไมผมตอบปิดท้ายมา2กระทู้แล้วนะ 555
นอกเรื่องอีกทีหนึ่งนะครับ ตอบท่านCuteเรื่องภาพเรือ
ระบบ Nulka จะเหมือนภาพด้านซ้ายยิงจากท่อVLS(อยู่ในไฟล์ missilelaunchers-ssm.png) คุณแค่เอาจรวดไปวางข้างจรวดESSMก็พอแล้วหละ ส่วนVLAก็ยิงจากท่อVLSเหมือนกันถ้าเป็นVL-ASROCก็ยังใช้ท่อร่วมด้านหน้าเรือแน่นอน เราก็เอาจรวดไปวางใกล้ๆESSMอีกนัดแล้วหาSM-2มีวงเล็บมาวางข้างๆเป็น4จรวดไปเลย เยอะดีไหมหละ555
นอกจากเรือจริงจะติดNulka แยกออกมาต่างหากและติดK-ASROCในตำแหน่งอื่นที่เราไม่รู้ถึงจะไปติดตั้งจุดอื่น ส่วนท่อVLSควรจะเป็นแบบขวามือนะครับจะได้เข้าใจตรงกันทั่วโลกดี ลานจอดเฮลิคอปเตอร์เปลี่ยนตะแกรงเป็นแบบโล่งๆเหมือนเรือDW3000Hจะสวยและทันสมัยนะครับ
ส่วนdecoy 6จุดตำแหน่งถูกแต่ไม่ใช่sagemแบบในภาพนะครับ มันแพงมากและติดแค่2จุดก็พอ น่าจะเป็นSKWS Decoy 6แท่น (น่าจะ 4x DL-12T 2xMk.137)ตามที่ท่านไอซ์บอก(เหมือนเรือหลวงนเรศวร) อยู่ในไฟล์ eqipment.gif เออโว้ย ไฟล์นี้มีทั้งNulkaและตะแกรงลาดจอดด้วยครบเลย เหอๆ
น่าคิดว่า ในเมื่อจัดหาExLS ซึ่งใส่ในMk41 ได้ แสดงว่า ระบบรล.นเรศวรอัพเกรดที่ไม่มีECM ก็คงด้วยเหตุผลเดียวกัน? เพราะจะไปใช้Nulkaแทน?
76 ม.ม. ไม่รู้จะได้ ดีไซน์ Stealth แบบปิด แบบนี้มาด้วย รึเปล่า...
เพราะ เรือ Gowind ของ มาเลเซีย ได้ 57 ม.ม. ทรง นี้ มาด้วย...
เปิดสเปกจากทร.มาแล้วคร่าวๆ
ถ้าหลวงพี่ไอซ์ แฮปปี้ ผมก็พอใจแล้วครับ
ถือว่า ทร. สอบผ่าน(มั้ง) แบบเกินความคาดหมาย แถมมีอึ้ง ทึ่ง เสียว ตบท้ายด้วย
ที่น่าสนใจมากกว่านะท่านjuldas
มันมีเรื่องกระสุนนำวิถี Vulcanoมาด้วย (รวมถึงเรื่องDual Feeds)
ซึ่งจำไม่ได้ว่า มันใช้ได้กับปืนรุ่นSTRALESเท่านั้น หรือ กับรุ่นSuper rapidธรรมดาได้ด้วย
ตรงนี้มีความเห็นอย่างไร ?
เรือanzac(อีกแล้ว) มี Mark 36 SRBOC launchers , SLQ-25A towed torpedo decoy , Nulka decoy launchers และ Sceptre-A ESM หรือว่าเรือเรายึดเรือเขาเป็นแบบอย่างทั้งหมดรวมไปถึงเรื่องยิงSM-2ด้วย แถมยัง8ท่อVLSเหมือนกันอีกด้วยนะ 5555
ANZAC ยังไม่คิดจะยิงSM-2หรอกท่านsuperboy
เพราะในอนาคตก็จะมีAWD(Aegis)แล้ว
แต่ที่น่าสนใจ(และหากจำไม่ผิด) ของเราดูเหมือนจะเหนือกว่าANZACในเรื่องASW
(เป็นเหตุผลที่มีคอนโซลเพิ่มมา) ส่วนเรื่องEWมันคนละเจเนอเรชั่นกัน แต่ก็น่าจะพอๆกัน(เพียงแต่ว่าเค้าจะใช้On board ECM เสริมด้วย)
โดยรวมๆ เราเหนือกว่าANZAC แต่ถ้าเจาะเเต่ละสเป็ค ANZACจะเหนือกว่าตรงCEAFARนี่แหละ
ผมหมายถึงแนวคิดเฉยๆหนะครับเพราะเราใช้SAABยิงSM-2ก็มีแค่เรือลำนี้ที่พอมองเห็น บางทีถ้าเรือเราทำได้ออสเตรเลียและแคนาดาอาจทำตามบ้างก็ได้นะครับจะว่าไป
เรือเราจากภาพปืนเป็นรุ่นStealthแบบสิงคโปร์แน่นอน ล๊อตแรกอาจจะสั่งVulcanoมาจำนวนจำกัดเพื่อทดสอบ แต่ถ้าใช้กับSRได้จริง(ถ้าใช้ไม่ได้ก็มีชุดคิทปรับปรุงได้)และทร.ถูกใจมากๆอาจจะสั่งเพิ่มมาใช้กับเรือลำอื่นๆด้วย ปัตตานี นราธิวาส อ่างทอง OPVลำที่2-4 และอาจลากลงไปถึงเรือเร็วตรวจการที่จะต่อขึ้นใหม่ ทำให้ไม่ต้องจัดหาระบบจรวดSSMระยะสั้นมาเพิ่มและประหยัดกว่าด้วยย้ายไปมาได้เลยไม่ต้องรอ เออผมก็ลืมคิดถึงเรื่องVulcanoไปเหมือนกัน
ยังคาใจหน่อย ที่ว่าสามารถปรับปรุงให้ยิง SM-2 ในอนาคตได้นี้ คิดว่าต้องเสียตังค์จ้างเค้าอีกดอกหนึ่งใช่ไหม แล้วเค้าให้ราคาไว้หรือยังว่าเท่าไหร กลัวว่าถึงตอนนั้นค่อยมาขอราคาแล้วจะโดนบังคับให้ซื้อระบบใหม่แทนเพราะของเก่าจะปรับปรุงก็แพงเกิน
สงสัยอีกอย่างทำไมไม่มี Thales สักชิ้น? หรือ Saab จะเดินเกมส์พิฆาต Thales จากทร.เลยไม่ยอมเชื่อมให้? แบบนี้ผมว่ามันแม่งๆเกินไปนิ อย่าง Sonar ลากท้ายน่าจะใช้บริการ Captas ที่มัน well proven ขนาดทร.อังกฤษว่ามันแจ๋วที่สุดในสามโลก ทร.คงไม่ไปเสี่ยงกับรุ่นใหม่ของโลกจาก Atlas?
เรื่องที่ยังคาใจ
1.Off Board ECM ไม่มีOn board
2.ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมSM-2 เข้ากับระบบ และ ยังสงสัยว่า Ceros พร้อมSSCWI จะใช้กับSM-2 ได้ดีแค่ไหน
3.VLS .......จะกี่ท่อกันแน่เว้ยเฮ้ย
ตอนนี้จากคะแนนเรือลำนี้คือ 50/100 (ไม่ดี และ ไม่เลว) จัดเป็น 70/100 (เผื่อไว้30 หากSAABทำไม่ได้อย่างที่คุยไว้กับทร.)
" เรือฟริเกต ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธ ปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย "
จากข้อความนี้แสดงว่า แบบของตัวเรือที่จะต่อนั้นคงไม่มีและยังไม่สามารถใช้ SM-2 ได้แต่อย่างใด เพียงแต่ทร.ได้ศึกษาแนวทางที่จะปรับปรุงให้สามารถติดตั้งและใช้งาน SM-2 ได้ในอนาคต (เตรียมแผนไว้ล่วงหน้า) ซึ่งประเด็นที่เป็นห่วงเล็กน้อยก็คือ จะสามารถมั่นใจได้หรือไม่อย่างไรว่า SAAB และผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำได้จริง เพราะถึงเวลานี้มันยังไม่เคยเกิดขึ้นและยังไม่มีการทดสอบหรือรับรอง (Certified) โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะต้องรอการพัฒนาระบบของ CEA ดังที่สมาชิกเคยได้เอามาโพสให้อ่านกัน แต่เทคโนโลยีนั้น(ICWI) ก็ได้มาจาก Thales อยู่ดี
ประเด็นถัดมาคือจำนวนท่อยิง VLS จากภาพ CG ค่อนข้างชัดเจนว่ามี Mk.41 VLS เพียง 1 ชุด 8 ท่อยิง แต่สเปกระบุระบบต่างๆ ที่น่าจะใส่ลงไปในนั้นมากมายหลายอย่าง ได้แก่ ESSM , (K / VL)-ASROC , Nulka ECM ผมมองว่าน่าจะเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ อีกทั้งโดยปกติในสภาวะสงบเช่นปัจจุบันทร.จะมีหลักนิยมในการบรรจุระบบอาวุธจรวดไว้เพียงครึ่งหนึ่งของความจุเท่านั้น เพื่อเก็บรักษาสภาพและอายุการใช้งานของยุโธปกรให้สมบูรณ์ที่สุดและมีอายุยืนยาวที่สุด ดังนั้นในช่วงแรกเรือลำนี้อาจจะบรรจุระบบทั้งหมดเต็มความจุของ Mk.41 แต่เป็นปริมาณเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนตามแผนที่ทร.วางไว้ กล่าวคือ 12 ESSM , 4 ASROC และ 4 Nulka (โดยแผนจริงๆ คือ 3 Mk.41 VLS => 8 SM-2 , 8 ASROC , 24 ESSM และ 8 Nulka )
ปล. แต่ถ้าว่ากันตามจริง .น่าจะยัด Mk.41 ลงไปสัก 4 ชุด แล้วจัดสรรใหม่ 16 SM-2 , 20 ESSM , 8 ASROC ,12 Nulka ไปเลยครับ
มีเปอร์เซ็นต์ ที่นาลุ้น ครับ ท่าน icy_CMU คือ ระยะมันถึง 40 ก.ม. (สเปค ของ ทร.)
Strales system[edit source | edit]
These new improvements led to the Italian Navy preferring the Super Rapido with Strales System and DART ammunition to the Fast Forty 40 mm CIWS, in the anti-missile defense role, being capable of countering several subsonic missiles from 6,000 to 1,000 meters away. DART 76m had a longer range when compared to other CIWS, but the Italian navy wanted an even longer range weapon. The Durand de la Penne class was initially planned to carry four 40 mm Fast Forty dual turrets, but they were replaced by three 76mm Super Rapido turrets. The longer range means one single gun can engage more than one missile in a single engagement, and minimizes the danger posed by fragments and splinters if a missile is destroyed close to the ship. The 76mm was also capable of being used versus surface targets, being a medium calibre gun with relatively long range.[2]
In order to develop the maximum potential from those guns, OTO has developed and is continuing to develop a complete family of ammunition:[3]
เทคโนโลยี่ ICWI ของ CEA มีแล้วครับ...ซึ่งน่า สนใจ ในเรดาร์ ท้ายเรือ...น่าจะเป็นคำตอบของ SM-2 และน่าจะเห็น CEA-MOUNT ในอนาคต...
ถ้า เรดาร์ ท้ายเรือ เป็น Phased Array ของ BAE System...(ผม เดา ว่าเป็น SPACTRA ของ BAE System) ก็แค่ เพิ่ม CEA-MOUNT แล้ว ให้ BAE System ทำ Interrupt กับ เรดาร์ท้ายเรือ (ซึ่งน่าจะเป็น Track while Scan)..ก็จะทำให้ ยิง SM-2 กับ ESSM พร้อม ๆ กัน ได้หลายลูกครับ...
แล้วเจ้า OTO 76/62 Strales นี่มันใช้เป็น CIWS เหมือนรุ่น SR ได้ไหมครับ ถ้าได้ก็ไม่น่าเอา Phalanx มาวางตรงนั้นให้โด่เด่เกะกะเลยนะจริงๆ ดูขัดตามากๆ
ส่วนระบบเรดาร์และนำวิถี CEAMOUNT ICWI ที่ท่าน Juldas ว่านั้น หากทำได้จริงล่ะก็ Formidable ก็ไม่ได้เหนือกว่าเรือใหม่ลำนี้แล้วล่ะครับ 555
ส่วน Tow Sonar ซึ่งน่าจะเป็น ACTAS VDS แน่ๆ ก็ไม่น่ามีปัญหาในการติดตั้งครับ เพราะเข้าใจว่าแบบแผนดั้งเดิมของ KDX I นั้นก็มี โซนาร์แบบลากท้ายมาอยู่แล้ว ซึ่งตรงจุดนี้ก็คงเป็นความได้เปรียบที่ทร.เคยบอกว่า "แบบเรือของเกาหลีได้รับการคัดเลือก เพราะมีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำสูงกว่า" ครับ
ปล. ดูจากรูปนี้ครับ ทั้ง KDX-I และ Formidable จะมีหางยาวออกมาตรงท้ายเรือด้วย
ถ้าSRธรรมดาคงแทนCIWSได้ยาก (ยกเว้นทร.อิตาลีนั่นแหละ ติดอกติดใจ ลำนึงใส่76 2-3กระบอก)
แต่ถ้าเป็นSTRALES อาจจะแทนCIWSได้เลย (นำวิถีด้วย)
เรื่องเรดาร์ท้าย ยังเป็นที่น่าสงสัย
สมมติจะใช้เรดาร์หลังตัวนี้ทำICWI ก็ดูจะเป็นไปได้ (หากใช้SหรือX-Band ) ขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นรุ่นอะไร หากเป็นAESA S/X Band น่าจะทำได้ (แบบเดียวกับTombstone สำหรับS-300 บนเรือของจีนอย่าง 051C หรือ บนชั้นSlava ของรัสเซีย ) แต่จะครอบคลุมเพียงแค่ 90องศา
หรือ อาจจะใช้เรดาร์ตัวนี้ ทำ IMCU (Inertial Midcourse Update) ก็เป็นได้ แต่ต้องมีระบบS/X-Band Update Channel หรือ WDS Mk.14 ด้วย
ซึ่ง หากSAABทำได้ การยิงESSMและSM-2 จะมีประสิทธิภาพขึ้นอีกเยอะ คือมากกว่า2เป้าในเวลาเดียว (ขึ้นอยู่กับการจัดคิว)
ส่ง S-band multibeam and multimode Long range radar เข้าประกวดครับ เขาคือ ELM-2238 STARจากอิสราเอล รุ่นใหญ่สุด350กม.พอดี ติดอยู่บนเรือ ENDURANCEของสิงคโปร์มา แล้วขนาดไม่ใหญ่มากราคาย่อมเยาว์ป้องกันทางอากาศโดยตรง ไหวไหมเนี่ย
http://www.iai.co.il/34481-36667-en/Groups_ELTA_EltaNumber_Products-ELM.aspx?btl=1
แต่ดูแล้ว ถ้า ทร. กำหนดให้ MK-41 ใช้ระบบยิง ได้หลายอย่างแบบนี้...ผมว่า ระบบ มันไม่น่าจะมีเพียง 1 ระบบ...
เอาแบบ เหนียวสุด ๆ มันจะต้องมี 2 ระบบ เป็นอย่างน้อย คือ
1. ระบบ สำหรับ SM-2 จำนวน 4 ลูก (4 เซล) กับ ESSM จำนวน 16 ลูก (4 เซล)...
1. ระบบ สำหรับ VL-ASROC จำนวน 6 ลูก (6 เซล) กับ Nulca แพค 4 (2 เซล) เท่ากับ 8 ลูก...
อืม...ใช่ ท่าน icy_CMU
ผมพิมพ์ผิด ไม่ใช่ Phased Array แต่เป็น AESA radar ลักษณะการทำงาน เหมือน ชั้น Darling ของ ทร.อังกฤษ ครับ...
แต่ดูแล้ว ถ้า ทร. กำหนดให้ MK-41 ใช้ระบบยิง ได้หลายอย่างแบบนี้...ผมว่า ระบบ มันไม่น่าจะมีเพียง 1 ระบบ...
เอาแบบ เหนียวสุด ๆ มันจะต้องมี 2 ระบบ เป็นอย่างน้อย คือ
1. ระบบ สำหรับ SM-2 จำนวน 4 ลูก (4 เซล) กับ ESSM จำนวน 16 ลูก (4 เซล)...
1. ระบบ สำหรับ VL-ASROC จำนวน 6 ลูก (6 เซล) กับ Nulca แพค 4 (2 เซล) เท่ากับ 8 ลูก...
นั่นสิท่าน อันนี้ยังงอยู่ มันแออัดยัดทะนานเกินไปหรือเปล่าสำหรับ 8cells
ที่ผมงงสุดๆคือNuklaนี่แหละ มาจากไหนฟะ ไม่เคยมีใครพูดเรื่องนี่กันเลยใช่ไหมครับ?
หรือทุกคนคิดว่าเป็นOnboard ECMกันหมดหว่า
คงเป็นเพราะงบประมาณนั่นแหละครับท่าน icy_CMU ท่าน Juldas ที่ทำให้ใส่ Mk.41 ได้แค่ชุดเดียว ช่วงแรกก็คงยัดได้ครึ่งเดียวของจำนวนที่วางแผนไว้ไปก่อน 12 ESSM , 4 ASROC , 4 Nulka ส่วน SM-2 ยังไม่มีมากับเรือตั้งแต่แรกอยู่แล้วนี่ครับ
และนี่คงเป็นเหตุให้เจ้า Phalanx ถูกยกมาตั้งไว้ตรงนั้น !?!?
น่าจะเป็นปัญหาหางบประมาณเลยติดแค่ 8 cells ก่อน เชื่อว่าน่าจะมีพื้นที่เตรียมไว้รองรับอีก8-16cells รอupgradeแล้วค่อยใส่เพิ่ม เพราะอย่างไรก็ตามเวลาปกติก็บรรจุจรวดไม่ครบเต็ม คิดว่าเป็น 8ESSM + 4K-ASROC(เดาว่าน่าจะเป็น) + 2Nulka
ดีใจมากครับที่ปืน 76 mm ที่เชียร์เอาไว้ STRALES จะมา เพราะปืนรุ่นนี้ครบเครื่องจริงๆ และสามารถทำหน้าที่ CIWS ได้ด้วยกระสุน DART ระยะยิง 5-6 กิโลเมตรทีเดียว
ส่วนพื้นที่ๆติดตั้งฟาลังก์อยู่ น่าจะเอาไว้ติดตั้ง VLS ได้อีก 8-16 cell นะครับเมื่อทำการรื้อฟาลังก์ออก ซึ่งจะทำให้มี VLS รวม 16-24 cell ถ้ามีถึง 24 - 32 cell ขึ้นไปน่าจะเพียงพอทีเดียวสำหรับใช้งานระบบต่างๆที่ระบุเอาไว้ในอนาคต ทั้ง ESSM Nulka SM-2 VL-ASROC หรือ อาจจะมี RAM block-2 ได้ในอนาคต ส่วน PAM นั้น ผมคิดว่า ทร. คงใช้กระสุน Volcano แทนเอาเพราะถูกกว่า
แล้วฟาลังก์มีติดตรงนี้ทำหยั๋ง........นั่นสิครับ ผมว่าติดไปงั้นเพื่อรอวันรื้อถอน
เรื้อถอนแล้วจะเอาไปไหน ......... โดยส่วนตัวผมว่า เอาไปวางที่ตำแหน่ง CEROS-200 ด้านท้ายเรือ โดยเมื่อทำการ upgrade แล้ว CEROS-200 ตัวนี้อาจจะเอาไปใช้กับเรือลำอื่น หรืออาจจะเอาไปติดตั้งที่จุดอื่นของเรือแทน ซึ่งผมเห็นว่า บริเวณเสาเรด้าร์หลักด้านหลัง อาจจะติดตั้งลานยื่นออกมาจากเสาหลักเพื่อวางเรด้าร์ CEROS-200 ได้ครับ โดยที่ควันจากปล่องไม่รบกวนตัวเรด้าร์ เพราะด้านหลังของเสามันลาดไปด้านหน้าเรือค่อนข้างมากทีเดียว
แล้วค่อถอดถอน DS-30 ออกไป เอาฟาลังก์ทำหน้าที่แทนไปเลย DS-30 ก็เอาไปใช้กับเรือ OPV ลำอื่นๆได้ครับ
หมายเลขที่ 14 จะเป็น อะไร ?
ผมกำลังจะโพสถามท่าน Juldas กับท่าน icy_CMU อยู่พอดีเลยครับ ว่าตรงตำแหน่ง "หมายเลข 14 " นี่มันคืออะไรครับ ???
ไม่รู้เลย
เดาว่า
1.แท่นM2HB
2.เเท่นสำหรับNulka อีกชุดหนึ่ง
3.แท่นMk.137
จากข้อความทั้งสองย่อหน้าข้างล่างนี้
ขีดความสามารถการรบโดยสามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ โดยให้ความสำคัญในการการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำเป็นลำดับแรก โดยสามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำได้ที่ระยะไกลด้วย Vertical Launch Anti-Submarine Rocket
เรือฟริเกต ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธ ปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย
แสดงว่าผู้ผลิต ทั้ง SAAB CEA ผู้ผลิตแท่นยิงและผู้ผลิตลูกจรวด SM-2 (เรนเทียร์) คงให้การยืนยันกับ ทร. แบบชัดเจนจนมั่นใจว่าสามารถรองรับระบบที่ทร.ต้องการได้จริงๆ ซึ่งจะมีทั้ง
- VL-ASROC
- SM-2
- Exls
และการที่จะรองรับ VL-ASROC ได้ แสดงว่า 9 LV ต้องมีความสามารถจะเชื่อมต่อกับ Mk-116 ได้จริงๆ และคงได้รับการยืนยันชัดเจนที่แน่นอนต่อ ทร. ไม่งั้น Thales คงมาทั้งชุดแน่ๆ ( ทร.คงมีแผนแบบสำหรับ Thales ทั้งชุดสำหรับเรือลำนี้แล้วแน่นอน) เพราะ ทร. คงไม่อยากเสี่ยงถูกสับเป็นชิ้นๆแน่ครับ
ถ้ามีงบในวันข้างหน้าเพียงพอ (คงต้องจ่ายเพิ่มอีกสัก 3,000 กว่าล้านบาทต่อ 1 ลำโดยไม่รวมภาษี) เราคงได้เห็น
CEA-MOUNT CEA-FAR SM-2 VLS 24-32 cell VL-ASROC
ถ้าได้แบบนี้ OK. มากเลยครับ มีเงินน่าจะต่อเรือชุดนี้อีก 2-4 ลำนะครับ ทดแทนเรือชุดสุโขทัย 2 ลำ เรือชั้นเจ้าพระยาทั้ง 2 ลำ
หมายเลข14คือลีซอครับ ไม่ใช่แล้ว เป็นจุดติดตั้งNulkaหรือเปล่าครับมันก็ยิงขึ้นตรงๆเหมือนกันนี่นาหรือฝังท่อลงไปเลยง่ายดี เพิ่งรู้จากทร.นี่แหละว่าNulkaเป็นECMด้วย เข้าใจว่าคือDecoyสมรรถนะสุงมาโดยตลอด ชอบตรงนี้แหละมีอะไรดีๆใช้กับเขาบ้างแล้ว
แสดงว่าผู้ผลิต ทั้ง SAAB CEA ผู้ผลิตแท่นยิงและผู้ผลิตลูกจรวด SM-2 (เรนเทียร์) คงให้การยืนยันกับ ทร. แบบชัดเจนจนมั่นใจว่าสามารถรองรับระบบที่ทร.ต้องการได้จริงๆ ซึ่งจะมีทั้ง
- VL-ASROC
- SM-2
- Exls
----------อาจจะเป็นไปได้
และการที่จะรองรับ VL-ASROC ได้ แสดงว่า 9 LV ต้องมีความสามารถจะเชื่อมต่อกับ Mk-116 ได้จริงๆ และคงได้รับการยืนยันชัดเจนที่แน่นอนต่อ ทร. ไม่งั้น Thales คงมาทั้งชุดแน่ๆ ( ทร.คงมีแผนแบบสำหรับ Thales ทั้งชุดสำหรับเรือลำนี้แล้วแน่นอน) เพราะ ทร. คงไม่อยากเสี่ยงถูกสับเป็นชิ้นๆแน่ครับ
ไม่แน่ว่าจะเป็นVL-ASROC โดยส่วนตัวขออยู่ข้าง K-ASROC ไว้ก่อน
อาจจะเป็น 8Mk.41 +4 K-VLS
ก็จะได้คอมโบประมาณ 24xESSM + 2ExLS(8xNulka) +4 K-ASROC
Mk-116 ดูเหมือนจะอินทิเกรตยากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นSonar ที่ไม่ใช่SQS-53 subsystems หลายๆอย่างที่ต่างกัน น่าจะทำได้ยากกว่าระบบของK-ASROC
ซึ่งใช้โซนาร์คล้ายๆบ้านเรา
ส่วนMFC คงหน้าตาประมาณนี้แหละ
จากhttp://defense-studies.blogspot.com/2013/04/south-korea-has-chosen-to-build-thai.html
นสพ.Bangkokpost
RTN chief of staff Chakchai Phucharoenyot, who chaired the panel, said Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering was selected because it had proposed specifications for the frigate that were in line with the navy's demands.
The navy also asked the company to manufacture a Combat Management System (CMS) which can be allied to the systems installed in the frigates HTMS Naresuan and HTMS Taksin, he said.
..........มีแนวโน้มว่า NS-ICMS อาจจะมา ซึ่ง เป็นที่น่ายินดีว่า อาจจะได้เห็นK-VLS+K-ASROC มาจริงๆ
แก้ไขๆ SQQ-89 ASWCS ซึ่งคุมMk-116 อีกที
ถ้าเป็น NS-ICMS .....อาจจะยังพอมีหวัง
แต่ถ้าจะเอาVL-ASROC อาจจะมีทางเลือกคือ MSI-2005F ของKongsburg เหมือนบน Fridtjof Nansen.......ซึ่งอาจจะทำได้
เรดาร์ ท้ายเรือ อาจจะเป็น Concept แบบเรือ Endurance ของ ทร.สิงคโปร์...
ข่าว อิสราเอล ขาย AD-STAR ให้ประเทศหนึ่ง ไม่ปรากฎชื่อ
Israel Aerospace Industries' (IAI) subsidiary ELTA systems has announced the recent signing of a series of new orders for its 3D fire control radars, SATCOM network system, AD-STAR radar systems and its tactical short range air defence radar. The contracts, announced 27 March 2012, are worth a total of $106 million.
Under a $39 million contract, the company will supply an unnamed foreign customer with the high-performance 3D Fire Control Radar for its ground-based Surface-to-Air (SA) defence weapon systems. The Fire Control Radar detects tracks and identifies high manoeuvring targets such as fighter aircraft and various missiles. The target data is then transferred to the SA weapon system which consequently locks on the target. The radar's high performance is achieved by implementing AESA (Active Electronically Steered Array) technology for the radar's full compatibility with the weapon system's accuracy requirements.
In a separate contract ELTA will supply the ELK-1891 SATCOM satellite-based network system and the ELK-1894 wideband SATCOM Data Link system to a foreign customer. This contract is worth $30 million. The ELK-1891 is a full duplex SATCOM On-The-Move network designed for uninterrupted Over-The-Horizon communication among its subscribers. The network can support up to 128 subscribers, on different locations within the Communication (GEO) Satellite footprint. Range of communication can reach thousands of kilometres, according to the coverage of the satellite providing service to the network. Each subscriber could be either static or mobile as the antenna in use tracks the Geo-Stationary Satellite.
The ELK-1894 is a wideband Point-To-Point SATCOM On-The-Move Communication Data-Link. It allows high speed data transfer, and is mainly employed for Special Mission Aircraft such as maritime patrol aircraft, airborne early warning & control, SIGINT (Signal Intelligence), airborne SAR platforms and MALE (Medium Altitude Long Endurance) Unmanned Airborne Systems (UAS).
Additionally, ELTA has been awarded a $33 million contract from a foreign customer to supply an advanced 3D long-range air defence and air traffic control radar (AD-STAR). The AD-STAR, designated ELM-2288, is a 3D S-Band radar system designed to support air defence, early warning and traffic control missions in complex clutter environment. ELM-2288 provides high accuracy and highly reliable 3D data of detected targets, initiating automatic target tracking.
ELTA Systems was also awarded $4 million contract to supply the ELM-2106NG 3D Tactical Air Defence Radar designed to support ground forces to protect themselves from attacks of helicopters, airborne battleships and low flying fighters. The radar detects a large variety of airborne platforms, providing accurate range, azimuth and elevation measurements for each target and enabling to take effective protection measures against the threats endangering the tactical ground forces. A foreign customer decided to select ELTA Systems' radars as a solution for its ground forces protection missions.
ข่าวในเว๊ปว่า ทร.สิงคโปร์ จัดหา เรดาร์ EL/M-2238 (ตามที่ ท่าน superboy โพส)
According to SIPRI report , its seem that our 'Endurance' Class LST is suppose to be equiped with EL/M-2238 - a 3D long range multi-function radar .
ภาพ EL.M-2238 ด้านบน กับ SATCOM หน้าด้านเรดาร์ ของ Endurance Class
K-VLS ที่สุง6เมตรนิดๆ K-VLA Redshark ที่ยาว5.7เมตร คอนโซลควบคุมและตู้เชื่อมระบบ ที่มีพวงมาลัยด้วยน่าจะเป็นระบบอื่นนะแต่ภาษาเกาหลีอ่านไม่รู้เรื่องเลย ไอเทมลับตัวนี้หาข้อมูลยากดีแท้
ถามตามประสาคนโง่นะครับ เรือลำใหม่นี่ ไม่มีจรวด ssm พวก harpoon หรอครับ ที่เหนท่านสมาชิกพูดมาในความเห็นข้างต้น ท่อยิงแนวดิ่ง เห็นมีแต่ ESSM ซึ่งเข้าใจว่าเป็น SAM และ แอสรอค ที่เอาไว้ยิงเรือดำน้ำ แล้ว ฮาร์ปูน ไปไหน ???
ถามตามประสาคนโง่นะครับ เรือลำใหม่นี่ ไม่มีจรวด ssm พวก harpoon หรอครับ ที่เหนท่านสมาชิกพูดมาในความเห็นข้างต้น ท่อยิงแนวดิ่ง เห็นมีแต่ ESSM ซึ่งเข้าใจว่าเป็น SAM และ แอสรอค ที่เอาไว้ยิงเรือดำน้ำ แล้ว ฮาร์ปูน ไปไหน ???
8xSSM = SSM=Surface to Surface Missile ........อาจจะไม่ใช้Harpoon หรือาจจะใช่ก็ได้ แต่ถ้าให้เดา ขอลงที่Harpoon Block2
ที่วงนั้นเป็นสะพานเดินเรือครับไม่ใช่ระบบแต่อย่างไรครับ ส่วนระบบต่างๆผมคิดว่าน่าจะอยู่ที่ห้องศูนย์ยุทธการครับซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้าโดยเด็ดขาดครับ อยากมากที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนครับ
ผมก็ลืมดูsatcomไปเลยท่านจูดาส แบบนี้ถ้ามาจริงคงเป็นแพคคู่เลยสิครับ อืมม... น่าคิด
นอกจากสิงค์โปร์5ลำแล้วอิสราเอลยังได้ลูกค้าจากอินเดียเยอะเหมือนกัน เฉพาะลำใหม่ๆก็มี Project 17A Shivalik-class frigate ขนาด 6,200 ตันต่อเสร็จแล้ว3ลำ ติดด้านหลังเหมือนเรือเราได้ภาพแบบบน ดูใหญ่เหมือนกันนะแต่ไม่ถึงขนาดSMART-L
ส่วน Project 15A Kolkata-class the new stealth destroyers ขนาด6,800ตัน ที่กำลังต่อ3ลำและมีแพลนจะต่อเพิ่มอีก3ลำ ติดทั้ง EL/M-2248 MF-STAR AESA ที่ดูเหมือนAPARทันสมัยมากแต่มีระยะทำการแค่150กม. EL/M-2238 STARซึ่งผมมองไม่เห็นเลยว่าจะติดจุดไหน และThales LW-08 D-bandด้านหลัง ยังมีผลิตขายอีกหรือเนี่ย
ส่วน คำว่า VLA Vertical Launch Anti-submarine Rocket ที่ทร.ลงไว้เนี่ย มันหมายถึง ASROC อเมริกาสถานเดียวเลยนะครับ ถ้าเป็นของเกาหลีใต้จะใช้คำว่า KVLA เวลาพูดถึงเสมอถ้าไม่โดนสับขาหลอกเราอาจจะเป็นชาติที่3ของโลกที่ได้ใช่รุ่นยิงจากท่อVLSนะครับ แต่มันจะเชื่อมโยงกันยังไงอันนี้เกินคาดเดา
DSME to build W520b battleship for Thai navy
Published : 2013-07-31 19:28
Updated : 2013-07-31 19:28
Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering closed in on winning a battleship order from Thailand, further consolidating its leading position in the world defense market.
The Thai government on Tuesday approved the navy’s decision to order a 520 billion won ($463.7 million) frigate from the Korean shipbuilder, according to news reports on Wednesday.
DSME is currently the sole preferred bidder for the deal and is highly expected to sign the final contract as early as August, officials said.The company is also planning to develop a combat management system compatible with that of conventional Thai battleships, officials said.
(tellme@heraldcorp.com)
http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20130731000675
เซ็นต์สัญญาภายในเดือนนี้ ...........
เรือประจัญบานเลยเหรอครับท่านไอซ์ เอาข่าวผมบ้างดีกว่าเบาลงมานิดนึง แต่รู้เวลาปลดประจำการเรือเราด้วย
http://maritimeglobalnews.com/news/orders-warship-ampg3f
The 3,700-ton frigate will be built in South Korea by Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co. as a modernized version of the Kwanggaeto-class destroyer of the Korean Navy, reports Xinhua.
Thailand has ordered the South Korean-built frigate which will cost some US$ 486-million, with a delivery date set for 2018.
The Thai cabinet, headed by Prime Minister Yingluck Shinawatra, approved the Thai navy's plan to procure the South Korean frigate with installment payments spreading from next fiscal year until fiscal 2018, reports Xinhua.
The newe frigate will be equipped with stealth technology to help evade radar and sonar scanning and is designed for service alongside other combat forces in land, air and maritime missions.
Construction is scheduled to begin later this year and complete in 2018, in order to replace the HTMS Putthayodfa Chulaloak frigate, which will be decommissioned in 2015.
Aug 4, 2013
The company is also planning to develop a combat management system compatible with that of conventional Thai battleships, officials said.
สงสัย อาจจะได้ใช้NS-ICMSซะแล้วมั๊งเนี่ย
อาจจะเป็น 9LV เป็นCore แต่เชื่อมกับNS-ICMS อีกทีหนึ่ง
ให้9LVคุมอาวุธอื่นๆ ส่วนNS-ICMS คุมK-ASROCและASW
แล้วFused เข้าด้วยกัน แสดงผลผ่านMFC 2000series?
หรือจะใช้NS-ICMS (ซึ่งน่าจะมีพื้นฐานจากTacticosไม่น้อย) เป็นCore
แล้วใช้9LV เป็นSubsystem คุมระบบdatalink และ พวกdatabaseต่างๆ
..........งงวุ้ย
ผมว่า SSM อาจจะไม่จำเป็นต้อง Harpoon ก็ได้ครับ ในเมื่อใช้ 9LV เป็นระบบอำนวยการรบหลักแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเป็น RBS-15 ก็มีไม่น้อยทีเดียว ถ้าเป็น RBS-15 mk-4 จะสุดยอดมากครับ เพราะสามารถทำภาระกิจ Land attack ได้ โดยมีระยะยิงถึง 1,000 กิโลทีเดียว อาวุธครูซดีๆนี่เองครับ
ลืมไปว่าเรือมีความกว้างแค่ 14.4 เมตร (กว้างกว่า KDX-1 ประมาณ 1 เมตร แต่สั้นกว่าถึง 12 เมตร) ด้วยความกว้างขนาดนี้ ถ้าวาง VLS แนวขวาง ( 2 แถว 4 ตอน) เรือจะวางไม่ได้ 16 cell ซึ่งถ้าจะวางแบบนั้น เรือควรจะต้องกว้างกว่า 16 เมตร
แต่ถ้าเป็น K-VLS ขนาด 4 cell วางต่อจาก MK-41 VLS กลายเป็น 12 cell ก็อาจจะเป็นไปได้มากครับ
ส่วนเมื่อมีการรื้อถอนฟาลังก์ออกจากตำแหน่งดาดฟ้ายกแล้ว ทำการติดตั้ง Mk-41 อีก ถ้าวางตามแนวยาวของ MK-41 ( 4 แถว 2 ตอน) ก็อาจจะติดตั้งได้ 16 cell ในภายหลัง
K-VLS K-ASROC ก็ดีครับ เพราะดูท่าทางจะต้องเป็นลูกค้ากันต่อในเรื่องเรือดำน้ำอีก
ถ้าการ Mod 9LV เข้ากับ Mk-116 ได้จริงๆ เรือชั้นนเรศวรก็มีหวังไม่น้อยที่จะใช้ VL-ASROC ได้ครับ
เรือลำนี้ ขนาดมิติโดยทั่วไป มีขนาดใกล้เคียงเรือชั้นนเรศวรมากเลยนะครับ เรือนเรศวรยาว 120 เมตร กว้างประมาณ 14.5 เมตร ถือว่ามีขนาดใกล้กันมาก ถ้าโครงการนี้ ทร.จะทำการต่อเรือลำที่ 2 เองในประเทศและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาให้ด้วย แบบนี้น่าลุ้นสำหรับการที่ ทร. จะสามารถดัดแปลงแบบเรือชั้นนเรศวรให้ได้ใกล้เคียงเรือชั้นนี้ด้วย ความฝันของท่าน superboy ก็จะใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้น และเราก็ไม่ต้องมานั่งจ่ายค่าแผนแบบเรือให้เกาหลีใต้อีก เพราะถ้าจะต่อเรือชั้นนี้ลำที่ 3 , 4 , 5 , 6 เราคงต้องจ่ายค่าแบบเรือด้วย แต่ถ้าใช้ความรู้ที่ได้จากเรือชั้นนี้ แล้วไป mod เรือชั้นนเรศวร เราก็จะได้เรือที่ประสิทธิภาพใกล้กัน โดยไม่ต้องมาจ่ายค่าแบบเรืออีก
ถ้าจริง ขอขนาด 4,000 ตันขึ้นเลยนะครับ ประมาณ 130 เมตร กว้างสัก 16 เมตร รองรับ VLS ได้ 32 cell สบายๆ ติดตั้ง SSM ได้ไม่น้อยกว่า 24 ท่อยิง หรือ ติดตั้ง DTI-1G ได้ด้วย
ที่เหลือผมรอฟังข่าว offset ทางอุตสาหกรรมครับ ลุ้นสุดตัวเรืออู่แห้งหมายเลข 2 ของอู่ราชนาวีครับ ว่าทาง DSME จะมาแจมร่วมลงทุนหรือไม่ครับ ถ้าทาง DSME ทุ่มให้จริงๆ แนวโน้มเรือดำน้ำก็คงเกาหลีค่อนข้างแน่ จนถึงแน่ที่สุดล่ะครับ
มูลค่าโครงการเรือลำนี้ วางงบประมาณที่ 14,600 ล้านบาท จึงต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท เป็น ดอลล่าร์
มูลค่าตามสัญญา จะประมาณ 470 ล้านเหรียญต่อลำ
(หัก) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ประมาณ 955 ล้านบาท หรือ ประมาณ 30 ล้านเหรียญ
มูลค่าตามสัญญา สุทธิ จะประมาณ 440 ล้านเหรียญต่อลำ
เวลาเมื่อเอ่ยถึง มูลค่าการจัดหาเรือลำนี้ สุทธิ จะใช้งบประมาณ 13,645 ล้านบาท หรือ ประมาณ 440 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ ครับ...
เรือของเราน่าจะใกล้เคียงกัลAnzacมากกว่านะครับท่านนีโอ ลำนี้ยาว118 กว้าง 14.8 ระวางขับน้ำ3,600ตัน แต่เรือเรากินน้ำลึกสุดที่8เมตรอาจจะรวมโซนาร์หัวเรือด้วยก็ได้มั้งครับ เรือAnzacของนิวซีแลนด์มีแผนจะปรับปรุงระบบCMSใหม่ประมาณนี้
-Radar suite including Identification, Friend or Foe (IFF) system;
-Infra-Red Search and Track / Optronics (IRST/O) system;
-Electronic Support Measures (ESM) suite;
-Communications Electronic Support Measures (CESM) system;
-Underwater Systems (UWS);
-Combat Management System (CMS);
-Tactical Data Link (TDL) system;
-Local Area Air Defence (LAAD) missile system;
-ASMD Soft Kill (ASK) suite; and
-Torpedo Self Defence (TSD) system.
http://defense-studies.blogspot.com/2013/03/nnzn-tenders-anzac-class-frigates.html
เขายังซื้อSH-2G Seasprite มาใช้งานกับเรือลำนี้อีก6+2ลำ ของเก่ารีบิ๊วใหม่แบบนี้น่าสนใจไหมครับ หรือเราหันไปเล่นZ-9ECจากจีนดี
A total of eight Seasprites (plus two spare airframes) will be purchased from the United States company Kaman Aerospace in a $242 million dollar deal, which includes a training simulator, missiles, and additional components.
ปล. KDX-I และ KDX-II ใช้ CMS เป็นแบบ KDCOM-II ซึ่งแปลงร่างมาจาก SSCS Mk 7 ของ Alenia Marconi Systems อีกที พอจะช่วยอะไรได้บ้างไหมครับ ??? ไม่ได้เรื่องASWไปลุ้นเรื่องAAWกับSM-2ไหวไหม
ถ้าผมจำไม่ผิด ร.ล.นเรศวร กว้าง 13 เมตร ยาว 120 เมตรครับ
ระบบ ควบคุม K-VLS น่าจะมีรวม 3 คอนโซล
^
หรือว่าจะเป็น 12 9LV + 3 K-CMS = 15 consoles ตรมที่สเปคระบุครับ?
K-VLS Control และ Simulator
ดูจากรูปข้างบน...น่าจะเป็นว่า รูปแรกที่อ้างอิง น่าจะเป็น ห้องฝึก K-VLS
ส่วน control จริง จะประกอบด้วย 2 console กับ 1 Control panel
"ฟรีเกตใหม่" ยาว 123 เมตร กว้าง 14.4 เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ 3,700 ตัน (น่าจะมีระวางขับน้ำปกติที่ประมาณ 3,450 ตัน)
"เรือนเรศวร" ยาว 120.5 เมตร กว้าง 13.7 เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ 2,985 ตัน ระวางขับน้ำปกติ 2,800 ตัน
ผมคาดเอาว่า เรือสองลำนี้ น่าจะใช้เครื่องยนต์ ขนาดและตราเดียวกัน (ทั้งชุด)
กะโดยประมาณแล้ว ผมว่าเรือ "ฟรีเกตใหม่" มีมิติโดยรวม ใหญ่กว่าเรือ "นเรศวร" ประมาณ 4%-5% เท่านั้น (ไม่เกินนี้)
ระยะปฏิบัติการ (เชื้อเพลิง) 4,000 ไมล์ ที่ 18 kt เท่ากัน
ถือว่าเรือ 2 ลำนี้มีมิติตัวเรือ ใกล้เคียงกันมาก แต่ "เรือฟรีเกตใหม่" มีระวางขับน้ำปกติมากกว่า ถึง 650 ตัน (โดยประมาณ)
แสดงว่า เรือ "ฟรีเกตใหม่" น่าจะมีตัวเรือ ( Hull ) ที่มีความหนาตัวเรือมากกว่า และมีการแบ่งห้องผนึกน้ำมากชั้นกว่า
เรือ "นเรศวร" นะครับ ผม ว่าอย่างงั้น.....(อนุมาณ เอาตามข้อมูลที่มีครับ)
เพราะระวางขับน้ำปกติ ของเรือ "ฟรีเกตใหม่" มากกว่าเรือ "นเรศวร" มากถึง 23% โดยประมาณครับ (ซึ่งมีมิติใหญ่กว่าแค่ 5%)
หรือไม่ก็อีกกรณีหนึ่งครับ.......
ที่ทำให้เรือทั้ง 2 ลำ มีระวางขับน้ำ ต่างกันมากถึง 23% ทั้งที่มีมิติมากกว่ากันเพียง 5% เท่านั้น
กล่าวคือ เรือ "ฟรีเกตใหม่" อาจสร้างด้วยเหล็ก ทั้งลำ ทั้ง Hull และ ดาษฟ้าเรือ เหมือนเรือ "กระบี่"
ส่วนเรือ "นเรศวร" สร้างด้วยเหล็กเฉพาะในส่วนของตัวเรือ (Hull) เท่านั้น ส่วนของดาษฟ้าเป็น Supper Stucture
ซึ่งเป็นอลูมิเนียม ที่เบากว่า...........
ผมไม่แปลกใจ ที่เรือใหม่ระวางขับน้ำเยอะกว่า เพราะออกแบบการใช้พื้นที่ใช้สอยได้ดีกว่า มีการปิดช่องว่างลำตัวเรือทั้งหมด
เสากระโดงเรือก็เป็นแบบตันแถมมีขนาดใหญ่ ไม่ได้เป็นโครงเหล็กโปร่งๆ
วันนี้เงียบมากสงสัยจะงานยุุ่งกันหมด เพราะความคิดท่านนีโอแท้ๆผมเลยทำตารางญาติพี่น้องไล่มาถึงเรือเราจนได้ เรือเกาหลีเขาไม่เคยบอกว่าใช่หรอกครับแต่ผมนับเป็นญาติสนิทที่รูปร่างหน้าตาเหมือนกันมาก
ไล่ลำดับตามปีเข้าประจำการยกเว้นเรือบังคลาเทศที่มี2รอบ มีเรือมาเลย์ติดเป็นไส้ติ่งอยู่ด้วยนะนับไปนับมาได้เกือบ80ลำแล้ว ถ้าออฟเซตของเกาหลีคืออู่ต่อเรือพ่วงด้วยลำที่2ต่อในไทย โอกาสจะสร้างเรือฟริเกตขึ้นมาเองก็ใกล้เข้ามาอีกเยอะ รอลุ้นหวยกันต่อไปครับ
นั่งทำ เรือฟริเกตใหม่ ครับ...อิ อิ อิ
ภาพใหญ่โหลดนานผมลบทิ้งแล้วกัน
ขอบคุณครับ คุณsuperboy
คอมเซปมันดูดีมากเลยนะเอาไปแอบตั้งริมชายหาดรอแขกผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี แต่ราคาคงจะแพงเกินไปหน่อยหละมั้งครับใช้ปืนครกกันต่อไปง่ายและประหยัดกว่า
กำลังนึกถึงตำแหน่ง14ว่า ถ้าติดตั้งMk57 จะได้มั้ย ลองเทียบกับ Mk56 ที่ติดตั้งบนHalifax ของCanada (ภาพที่2)สัดส่วนใกล้เคียงกัน ถ้าติดตั้งได้เราจะสามารถบรรจุระบบอาวุธได้อีก
รูปของท่านมันเป็น Mk.48 / 56 mod 0 นะครับ Mk.57 จะเป็นแบบชุดยิง 4 ท่อเรียงในแนวเดียวกัน โดยมีท่อระบายไอร้อนอยู่ที่ด้านริมสุดสองข้างครับ
ระบบ Mk.57 นี้เป็นการออกแบบใหม่ ทำให้มีขนาดเล็ก เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง ประหยัดพื้นที่ สามารถติดตั้งได้เป็นจำนวนมาก อย่างเช่นการติดตั้งบนเรือ DDG-1000 Zumwalt เรือพิฆาตชั้นใหม่ล่าสุดของทร.อเมริกา
รูปเจ้า DDG-1000 ไม่ขึ้น ขอลองใหม่นะครับ
ตรงตำแหน่งหมายเลข 14 นั้นไม่น่าจะสามารถติดตั้งระบบ ExLS แบบ Stand Alone ได้ครับ เพราะมันยาวมากและจะไปกินที่ส่วนโรงเก็บฮ. ถ้าจะติดตั้งระบบแท่นยิง Nulka ตรงบริเวณนั้น ก็น่าจะใช้แท่นยิงแบบในรูปนี้มากกว่าครับ
ปล.ถ้าติดตั้งด้านกราบซ้ายด้านเดียว ก็น่าจะพอได้ครับ เพราะส่วนที่เป็นโรงเก็บฮ.จะชิดไปทางกราบด้านขวา
ขออีกทีนะครับ รูปไม่ขึ้นอีกละ (ลืมดูว่าเป็น .BMP) ระบบ Nulka ที่ติดตั้งบนเรือ Alderiade ของทร.ออสเตรเลีย
ต้องขออภัยด้วยครับ ผมอธิบายไม่ครบ คือตั้งใจว่าจะเอารูปMk56ของHalifax มาลงเพื่อเทียบเคียงว่าถ้าติดตั้งMk57จะคล้ายแบบนี้ครับ เนื่องจากสัดส่วนใกล้เคียงกัน เพราะหารูปติดตั้งบนเรือจริงไม่ได้
ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะเอาไปติดตั้งบริเวณข้างปล่องควันแบบเรือ Halifax เลยสิครับน่าจะได้นะ หรืออาจจะยัดลงไปข้างๆ Mk.41 ที่หัวเรือก็น่าจะได้เช่นกันครับ ผมยังสงสัยอยู่ว่าทำไมดาดฟ้ายกหน้าสะพานเดินเรือ ต้องทำรูปทรงแบบนั้น(เหมือนเรือ KDX-I ต้นแบบเป๊ะเลย) ทั้งที่หากเราขยายมันให้เต็มพื้นที่กราบเรือสองด้าน ก็น่าจะสามารถติดตั้ง Mk.41 หรือ Mk.57 ได้อีกหลายชุด
SCL -Single Cell Launcher อาจจะเป็นคำตอบ
จริงๆแล้วVLSของเรือใหม่อาจจะมีลักษณะเป็น 8+2 คือ Mk41 8ท่อ และ SCL 2ท่อ
SCL ใส่Mk25 Quad Packได้ มี2ท่อ เท่ากับมีESSM 8ลูก
Mk41 เอาไปใส่ 6ASROC + 2Quad Nulka ก็ยังได้
หรือ ด้านหน้าอาจจะใส่ 2 ExLs แบบสแตนด์อโลน
แล้วMk41 อาจจะจับมาใส่ VL-ASROC + ESSM แล้วผสมกันตามชอบ (6+8 4+16 2+24 ตามใจ)
1.ExLS
2.SCL
ลองทำ VLS ดูครับ...คือ มองยังไง ๆ...ผมว่า VLS จำนวน 1 ระบบ ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้...หรือจะเพิ่มเติมในอนาคต ก็ดูยัง งง ๆ กับ Phalanx อยู่ดี...ว่าจะทำยังไงกับ มัน...
ตอนนี้ ค่อนข้างให้ เปอร์เซ็นต์ K-VLS กับ K-ASROC ค่อนข้างสูง...
เมื่อลองคิดว่า ขนาด K-VLS ยังต้องมี Control Console สำหรับควบคุมโดยเฉพาะ...
แท่นยิง MK-41 ก็ต้องมี Control Console เฉพาะของ ตัวเอง เหมือนกัน...
ดังนั้น ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ MK-57 ก็ต้องมี Control Console ของตัวเอง เช่นกัน...
ตามภาพที่ยกตัวอย่าง..และสมมติ ถ้ามีส่วนผสม ของ K-VLS กับ MK-41 กับ MK-57...
มันคงวุ่นวาย กันพิลึก...
ตอนนี้ ผมเลย มองว่า
VLS คงมีอยู่ 3 แนวทาง...
1. MK-41 จำนวน 2 ระบบ และใช้ VL-ASROC
2. MK-41 จำนวน 1 ระบบ และ K-VLS จำนวน 1 ระบบ และใช้ K-ASROC (ลักษณะเดียวกับ KDX)
3. MK-57 จำนวน 3 ระบบ และ K-VLS จำนวน 1 ระบบ และใช้ K-ASROC (ลักษณะเดียวกับ KDX)
ผมมองว่าระบบ Full Stealth ของปืน OTO 76 / 62 (ยังไม่เคยเห็นเลย) น่าจะทำให้ราคา,น้ำหนักและการบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นนะครับ เพราะยังไงก็ยังมีเจ้า Phalanx ตั้งโด่เด่อยู่ตรงนั้นอยู่ดี (ขัดตามากๆ) มันคงไม่ช่วยให้ลดสัญญาณเรดาร์ได้มากขึ้นสักเท่าไหร่ (ไม่คุ้ม) ตัวที่คิดว่าน่าจะครอบ Stealth Shield คือ เจ้า DS-30 มากกว่านะครับ -.-'
ปล. ท่าน Juldas น่าจะเปลี่ยนแผงตะแกรง ตรงดาดฟ้าลานบินท้ายเรือเป็นแบบใหม่ซะหน่อยนะครับ น่าจะสวยทันสมัยขึ้นอีกเยอะเลย แต่แค่นี้ก็แจ่มมากอยู่แล้วล่ะครับ ดูเหมือนฮ.ที่ท้ายเรือจะเป็น MH-60R ซะด้วย ว้าวๆ ขอให้มาด้วยจริงๆ เถอะ...เพี้ยง
มีติดตั้ง ที่เรือเร็วตรวจการณ์ ของ UAE น่ะครับ...
ส่วนที่ลุ้น ก็เพราะ ทร.มาเลเซีย จัดหา Stealth 57 m.m. สำหรับเรือ Gowind Class แล้วครับ...ก็เลยเผื่อไว้ก่อน ครับ...เผื่อไม่ได้ Vulcano มา...
Royal Malaysian Navy Gowind class Corvettes for LCS program to be fitted with stealth 57mm Guns
Navy Recognition ^ | Tuesday, 16 April 2013
Posted on 17 เมษายน 2556 4:40:13 by sukhoi-30mki
Royal Malaysian Navy Gowind class Corvettes for LCS program to be fitted with stealth 57mm Guns
At the Langkawi International Maritime and Aerospace exhibition 2013, Navy Recognition exclusively learned that the 6 future Gowind class Corvettes (Littoral Combat Ship program) will be fitted with 57mm Mark 3 main guns with stealth cupola from BAE Systems Bofors. We also took the opportunity to get the latest updates on the Malaysian LCS program from Anuar Murad, Director of Defence and Security at Boustead Heavy Industry Corporation.
It was confirmed during LIMA that the combat management system will be the SETIS by DCNS, the Fire Control Systems will be provided by Rheinmetall, and the engines will be provided by MTU. The design seems to have increased in size with the length of the LCS now at 111 meters (compared to 107 as previously reported) with a displacement of about 3,000 tons (compared to full load displacement of 2,730 tonnes as previously announced).
Integrated with SETIS, a combat system derived from FREMM class Frigates, Gowind Combat can tackle air, surface and submarine threats. The shock-resistant platform (built according to military standards), the small radar cross-section together with an excellent acoustic signature makes it a high-performance surface combatant.
Gowind Combat can be operated by a limited crew and has been designed to offer great at-sea availability and reduced life cycle costs.
ขออนุญาตเจิมกระทู้นี้ด้วยคนนะครับ
ขอแสดงความยินดีกับ ทร. และเหล่าพี่น้องผ้องเพื่อนแฟนคลับ ทร. ทุกท่านที่เราเริ่มก้าวแรก
ในการจัดหาเรือรบใหม่ๆ ขนาดคอร์เวตฟริเกตได้แล้วหลังจากว่างเว้นไปกว่ายี่สิบปี
ก็ขอให้สเปกจริงออกมาให้คุ้มกับเงินที่ต้องเสียไปเพื่อการนี้ ให้กองเชียร์ได้อุ่นในชื่นใจทีเถิด
ไม่มีความรู้เรื่องเรือเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ขออนุญาตเป็นผู้อ่านที่ดีต่อไป
แก้ไขใหม่
ถามคห.ท่านJuldas สักนิด
ท่านว่า VLS มันจะติด16ท่อได้ไหม (แบบแนวยาว) ?
แล้วKVLS 4ท่อ มันจะมีจริงหรือเปล่า?
ถามท่านjuldasครับ
ตัวBulbous Bow อยู่สูงเกินไปรึเปล่าครับ?
แล้วเรือลำนี้ติดตั้งโซนาร์ที่ค่อนไปทางหัวเรือ แทนที่จะเป็นโซนาร์ในกระเปาะหัวเรือเลยเหรอครับ?
ท่าน icy_CMU....ถ้าให้ผม เดา...
กรณีที่จะมี VLS เพิ่ม คงเป็น K-VLS ซึ่งถ้าดูตามแบบของเรือ KDX-1,2 จะวางเป็นแนวตั้ง...ส่วน MK-41 จะวางเป็นแนวนอน..
วางเป็นรูป ตัวแอล...
ตอนนี้ ผมให้ความเห็นว่า น่าจะเป็น MK-41 จำนวน 1 ระบบ กับ K-VLS จำนวน 1 ระบบ (แบบ 8 เซล ทั้ง 2 ระบบ)...
ซึ่งผมคิดว่า BAE System ไม่น่าจะทำการ บูรณาการ K-ASROC กับแท่นยิง MK-41...และถ้า ทร.จะจัดหา VL-ASROC จากสหรัฐ มันก็น่าจะมีระบบ Control ต่างหากอีก...แล้ว ทร.จะนำมาใส่ใน MK-41 มันก็ดูจะไม่คุ้มกันเท่าไหร่ มันจะเหลือบรรจุได้ไม่กี่ลูก...เพราะแท่นยิง MK-41 จะต้องนำมาใส่ SAM และ Nulca อีก...(ถ้ากรณี มีเพียงแค่ 1 ระบบ)
หรืออีกทางหนึ่ง...ทร. จะได้ MK-57 แบบแท่น 4 เซล...ซึ่งมันก็ใหม่ เกินไป...ที่จะคิดถึงได้ครับ...(หรือว่า อาจจะเหมือน MH-60S ที่ ทร.เป็นลูกค้ารายแรก ใครจะไปรู้ครับ 5 5 5 5)
เรื่อง Sonar ผมก็ทำตามรูปของ ทร. น่ะครับ (เพราะ ก๊อปมา)...จะมีติดตั้งแบบ Hull คือ ใต้ลำตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับ ขนาดโซนาร์ กับ ลักษณะของ โซนาร์...และต้อง สัมพันธ์กับ แบบเรือ ด้วย...เรื่อชั้น รัตนโกสินทร์ เรือชั้น ตาปี และ ร.ล.มกุฎฯ ก็เป็นแบบ Hull คือ ใต้ลำตัว...จะมีแต่แบบ เรือชั้น เจ้าพระยา กับ นเรศวร ที่ติดตั้งตรงหัวเรือ Mount...ซึ่งไม่แน่ใจว่า เรือชั้น นเรศวร ที่กำลังติดตั้งระบบโซนาร์ใหม่ จะติดตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หรือ เปลี่ยนมาติดตั้ง ใต้ลำตัว...ซึ่งดูแล้ว เป็นลักษณะของ โซนาร์แบบ DSQS ที่จะติดตั้งใต้ลำตัว เป็นส่วนใหญ่...
ลองทำอีกสักรูป...
23 August 2012
Print Email
BAE Systems has received a contract from the US Navy to produce canisters for Mk 41 and Mk 57 vertical launching systems (VLS), which are installed on several of its naval surface ship platforms.
Mark Signorelli, BAE Systems' Weapon Systems vice president and general manager, said: "BAE Systems has produced the canisters for the Navy since 1985, and this contract further demonstrates our customer's satisfaction with the quality of our work."
"It is also a testament to the overall effectiveness of the Mk 41 and Mk 57 systems in supporting and protecting our sailors," Signorelli added.
The Mk 41 and Mk 57 VLS are modular below deck multimissile, multimission launching systems that can launch SM-2, SM-3, SM-6, ESSM, Tomahawk and Vertical Launch ASROC missiles.
"The $78m contract modification brings the total value of the original contract to $158m."
Originally designed for the US Navy's Aegis-equipped guided missile cruisers, these launchers can fire missiles at threats that include anti-air, anti-submarine, ship self-defence and land attack targets, as well as on naval surface fire support ballistic missile defence missions.
Apart from serving as a launch platform for different missiles, the canisters are also used within the US Navy fleet as missile shipping and storage containers.
Installed in 18 different ship classes of the US and other navies, the combat-proven MK 41 entered into service with the US Navy in 1986 and is currently fitted on more than 76 of its surface combatants.
Designed for the DDG-1000 Zumwalt-Class destroyer, the MK 57 is capable of launching missiles into a 360-degree hemispherical volume.
The $78m contract modification brings the total value of the original contract to $158m, while work on the contract is expected to be completed by December 2014
ก๊อปท่านจูดาสมาอีกที อิอิ
ผมเชียร์2หน่วยวางแนวตั้งครับแต่ใส่ลูกมาไม่ครบทุกท่อ จบๆไปเลยเสียเวลาทำไมอยู่
อาจจะติด เป็นทรง แบบนี้ น่ะครับ...เพราะดูแล้ว KVLS ตัวระบบจะมีขนาดเล็กกว่า MK-41 ระดับหนึ่งเลยครับ...
ซ้ายมือ MK-41...ขวามือ KVLS
โอ้ รูปท่านsuperboyนี่ Fridtjof Nansen Down-Size ชัดๆเลยนะครับ
ว่าแต่ ฮ.ลำบนนั่นมัน???
sea apache ครับ ออกแบบคอกพิทใหม่(จริงๆก็แทบทั้งลำแหละ)พับหางได้เข้าโรงเก็บสบายตับ มีรุ่นติดเรดาร์เหนือโรเตอร์ด้วยแต่ลำนี้จรวดโตกว่าสวยดีผมชอบ ไม่รู้ว่ามีขายจริงหรือยังนะไม่ได้ตามข่าว
เรื่องท่อ ผมขอเสนออีกมุมแล้วกันครับ MK-41 2หน่วยแนวขวาง
ขอบคุณมากครับท่านครู แฮะๆๆๆ......จำข้อมูลผิดไปหน่อย ตัวเรือกว้าง 13.7 เมตรครับ
กด LIKE ให้ท่าน superboy เลยครับสำหรับ TFX-II ขอให้มีโอกาสเกิดนะครับ 555555 สวยกว่าฟอร์มิเดเบิลซะอีก
ถ้าถอดถอนฟาลังก์ออก ผมคิดว่ามีโอกาสที่จะติดตั้ง MK-41 ตามรูปที่ท่าน superboy ลงไว้นะครับ คือ 4 แถว 2 ตอน จำนวน 2 แท่นติดกัน เพราะคิดว่าลำตัวเรือขนาด 14.4 เมตร น่าจะทำการติดตั้งได้ถ้าจัดวางแบบนี้
ส่วนถ้าสามารถติดตั้ง K-VLS + Mk-41 เป็นรูปตัว L ได้โดยใช้พื้นที่ไม่มากแบบที่รูปป๋าจูลลงไว้ นั่นเท่ากับว่า ทร. น่าจะติดตั้งได้ถึง 32 cell แทนที่จัเป็น 28 cell ( K-VLS 4 cell) ถ้าได้แบบนั้นจะดีมากครับ
เห็นรูปเปรียบเทียบชัดเจนจึงได้รู้ว่า K-VLS กว้างยาวน้อยกว่า Mk-41 แบบตาเปล่ามองออก แต่ไปลึกกว่าแทน
ผมว่าเราคิดถูกแล้วครับที่ลงมาเล่นกับ Saab ผมว่าเรามองการไกลถึงขั้นลงทุนร่วมกันในอนาคตรึปล่าว การจับมือกับสวีเดนประเทศเล็กๆที่ยังไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่มีศักยภาพที่น่าสนใจ อาจจะมีผลดีกับกองทัพไทยในอนาคต
รบกวนถามหน่อยครับ ExLS สามารถบรรจุ Nulka RAM Blk2 ได้ แล้ว NLOS-LS คืออะไรครับ
Non-Line-of-Sight Launch System หรือ PAM/LAM จรวดSAMขนาดเล็กระยะยิง40กม.
แต่โครงการนี้ยกเลิกไปแล้วถ้าจำไม่ผิดนะ
superboy เมื่อวันที่ 07/08/2013 09:36:55
ภาพไม่ติดเซ็งเป็ด
ถ้าจะเป็น Mk.41 แค่ชุดเดียว คงไม่พอแน่ๆ แต่ถ้าจะใช้ ExLS หรือ SCL มากกว่า 2 ชุดก็จะสิ้นเปลืองงบประมาณ(รวมแล้วน่าจะแพง) ส่วนคอนโซลนั้น โดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะใช้ร่วมกันกับ Mk.41 ได้เลยนะครับ เพราะดูจากรูปที่โพสไว้ข้างบน มันสามารถเชื่อมต่ิเข้ากับ Mk.41 ได้ด้วย ส่วนแนวคิดของท่าน Juldas นั้นน่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะการติดตั้ง K-VLS + Mk.41 น่าจะเป็นไปได้มากทีเดียวครับ
จากข้อความในข่าวที่ระบุไว้
VLS with capabilities of
+ 8 x Canisters (max 32 ESSM)
+ Vertical Launch Anti-submarine Rocket (VLA)
+ Nulka Active-off board ECM
+ SM2**
น่าจะหมายความว่า ความจุที่สามารถรองรับ 32 ESSM + VLA + Nulka ซึ่งแสดงว่าอย่างน้อยต้องมีมากกว่า Mk.41 แค่ 1 ชุด และถ้าตามที่เราคาดเดากันว่าเป็น K-ASROC ก็ต้องมากับ K-VLS แล้ว Nulka ล่ะ...???
ลองจัดระบบตาม 3 แนวทาง ครับ
เรือของเราแปลงร่างมาจากKDX-I หนะครับเอาภาพ3มิตเรือลำนี้มาเปรียบเทียบน่าจะเห็นอะไรชัดเจนกว่านะ ด้านหน้าเรือจุดที่ติดตั้งVLS ยกเป็นฐานสุงขึ้นมาพอดีแล้วมีทางเดินด้านข้างรวมไปถึงประตูทางเข้า มองจากภาพแล้วเรือเราคล้ายKDX-IIที่ลดจุดติดตั้งVLSและใช้ที่ว่างติดฟาลังซ์เข้าไปแทนนะครับ จะให้มันเรียบแบนไปเลยแบบเรือรุ่นใหม่ๆคงดัดแปลงลำบากถ้าเอากราบเรือด้านหน้าสุงๆออกก็เหมือนเรืออื่นๆในภาพเป๊ะๆเลย
เรือของเรามิติ 123 x 14.4 x 8 ระวางขับน้ำ 3,700ตัน เรือF123 มิติ 138 x 16.7 x 4.35 (นี่เรือปี94นะ)ระวางขับน้ำ4,400ตัน กว้างกว่าเรือเรา2.3 เมตรระวางขับน้ำเยอะกว่า700ตัน ในภาพติด mk-41 mod3 16ท่อตามยาวได้อย่างเหลือๆ(เห็นว่ารุ่นนี้16ท่อตายตัวอยู่แล้วถ้าจำไม่ผิด) หดเข้ามาด้านหละ1เมตรคือขนาดเรือเรา ซึ่งถ้ามองจากมุมนี้ผมว่าเรือเราติดVLSซ้อนแค่2ชั้นตามยาวแบบเรือF123เป๊ะเลยนะครับ
ฉะนั้นก็น่าจะติดด้วยMK41 2หน่วยหรือ MK-41 + K-VLS รวมแล้วได้16ท่อไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอีกแล้ว ปัญหาคือเรือของเรากว้างพอจะยัดไปได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้ากว้างไม่พออาจจะต้องติดMK-41รุ่น4ท่อเข้าไปรวมแล้วได้12ท่อพอดี ส่วนจะใส่อะไรเข้าไปบ้างค่อยว่ากันทีหลัง จุดติดตั้งVLSที่อื่นผมว่าไม่มีแล้วหละครับแต่ถ้าติดExLS แบบ Stand Alone ก็ยังพอมีลุ้นอยู่บ้างนะ MK57ของใหม่เอี่ยมเขาพร้อมขายประเทศอื่นแล้วเหรอครับ อันนี้ไม่รู้
ขอแก้ไขเรื่องตามยาวตามขวางหน่อยนะครับ มันต้อง"ตามขวางเรือ"สิไม่ใช่ตามยาวผมก็มองแค่พื้นที่ติดตั้งเท่านั้ง เข้าใจผิดไปเองอีกแล้วถึงว่าทำไมข้อมูลขัดแย้งกับคนอื่นอยู่เรื่อย
ผมคิดว่าด้านหน้าเรือคงจะวางได้แค้1 Mk41+ 1K-vlsเท่านั้น เพราะมีPhalanxวางอยู่ (ถ้าย้ายออกน่าจะวางได้ 24cells ) ซึ่ง2ระบบ (16cells)ซึ่งคงพอจเใช้ในเวลานี้ แต่อนาคตก็ไม่พอแน่นอน เลยคิดว่าตำแหน่ง14น่าจะมีการติดตั้งVLSเพิ่ม ถ้าไม่ใช่MK56 / 57 ก็เป็น SCLที่ท่านicy_cmuพูดถึงครับ
ไม่แน่ๆ
หากจะติดSM-2เพิ่ม เป็นไปได้ไหม ที่จะย้ายPhalanx ไปด้านหน้าแทนตำแหน่งMk41 แล้วหดท่อมาด้านหลัง (ซึ่งน่าจะแค่ตีปิดปล่องเดิม )เนื้อที่ด้านหลังน่าจะใส่ได้ไม่ต่ำกว่า24-32ท่อยิง ?
ซึ่งจะได้เลย์เอาท์แนวๆF123
ดู ๆ ก็ยังมีพื้นที่ ด้านข้างของ Phalanx ทั้ง ซ้าย ขวา เหลืออีกเยอะนะครับ
ถ้าNulka แยกออกมา
อาจจะเป็น Mk.53/137 mod 7 พร้อมแท่นเป้าลวงตอริโดในตัว 2แท่น
ส่วนที่เหลืออีก4 อาจจะเป็นแท่นSRBOC ธรรมดาหรืออาจจะเป็นDL-12T ก็ได้
ก็มีความเป็นไปได้อยู่เช่นกัน
ตอนนี้คอนฟิกที่คิดได้และน่าจะเป็นไปได้ตอนนี้คร่าวๆคือ
1. 8 Mk41
-8-16ESSM 2-6VL-ASROC 2ExLS
2. 8 Mk41 +8 KVLS
-16-32ESSM 8 KASROC 2-4 ExLS
3. 8 Mk41 (Mk 53/137 Nulka)
-8-24 ESSM 2-6 VL-ASROC
4. 8 Mk41 + 8 KVLS (Mk 53/137 Nulka)
-32ESSM + 8 K-ASROC
5.16 Mk.41
-32ESSM +4-8 VL-ASROC +2-4 ExLS
6.16Mk.41 (Mk 53/137 Nulka)
-32 ESSM + 8 VL-ASROC
ด้วยความเคารพ อันที่6แจ๋วสุด!!!
เรือOPV Avante 2400ของเวเนซูเอล่า ต่อโดยNavantiaสเปน ยาว98.9 กว้าง13.6(แคบกว่าเรือเรา80เซน) ออกแบบให้ติดMK41ได้1หน่วย8ท่อตามยาวเรือ แต่เรือไม่ได้ติดเลยเอาแผ่นเหล็กมาปิดไว้(หรือเปล่า?) ปืนหน้าแบบเดียวกับเราชัดๆ
ถ้าขยายเรือออกไปด้านหละ40เซนต์ก็คือเรือของเราพอดี ติดMK41ตามยาว2หน่วยผมว่าได้อยู่นะ แต่ถ้า2หน่วยตามขวางเหมือนในภาพจะไหวไหมครับเพราะตีกล่องไว้ไม่เต็มความกว้าง นั่งมองจนคอเอียงตามไปหมดแล้ว
พอได้พิจารณาราย]ะเอียดเล็กๆน้อยๆผมชอบเรือเยอรมันและสเปนมากเลยนะ เสียดายว่าไม่ใช่คู่แท้เลยผ่านมาให้ดมครู่เดียวก็ลาจาก
วางแบบBarbaros class ของตุรกี จะพอไหวไหมหนอ (แต่ของเค้าอยู่ด้านหลัง)
แต่ดูรูปท่านJuldas ซูมมาแล้ว มัน8ท่อจริงๆ ชัดเจนมาก .....
ชัดเจน
สังเกตุจากที่ ทร. เขียน
8 x SSM
VLS with capabilities of
+ 8 x Canisters (max 32 ESSM)
+ Vertical Launch Anti-submarine Rocket (VLA)
+ Nulka Active-off board ECM
+ SM2**
1 x 76/62 Stealth Shield, Multi feeding system
(max range 40-45 kmwith smart ammunition)
2 x30 mmGuns (200 RPM)x CIWS (4,500 RPM)
2 x.50 inch(Range;2 km)
2 x Trainable Triple tube torpedo launchers
ผมตีความว่าอาวุธที่ติดแน่ไม่ยุ่งกับใครจะไม่มีเครื่องหมาย + อยู่ข้างหน้า แสดงว่า VLS มีเพียงชุดเดียว คือ MK41 8 ท่อยิง
ส่วนที่มี เครื่องหมาย + นำหน้าหมายถึง อาวุธที่สามารถเลือกนำมาใช้กับ MK41 ได้ตามแต่ภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย เช่น
ถ้าได้รับภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศก็อาจติด ESSM เต็มที่ 32 นัด
ถ้าภาระกิจปราบเรือดำน้ำก็ติด ASROC 8 นัด (ผมขอฟันธงว่าไม่มี K-ASROC)
ถ้าภาระกิจผสม (น่าจะเป็นมากสุด) จะติด ESSM 8 นัด และ ASROC 6 นัด
ส่วน Nulka ผมคิดว่าจะติดตั้งเมื่อคาดว่ามีภัยอาจคุกคามโดยจะติดในช่อง MK41 เพียงท่อเดียว (ไม่แน่ใจว่าได้กี่นัด)
คราวนี้เวลาออกปฏิบัติการเป้นกองเรือ เช่น
ให้เรือนเรศวร และ ตากสิน ติดตั้ง ESSM ลำล่ะ 32 นัด ภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ
เรือรบใหม่ 2 ลำ ติด 8 ESSM 5 ASROC 1 Nulka รับภารกิจปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก
เรือจักรีฯ รับภารกิจบรรทุก ฮ. สนับสนุนการยกพลขึ้นบก
เรืออ่างทอง สีชัง สุรินทร์ ภารกิจสนับสนุนการยกพลขึ้นบก
เรือสุโขทัย เรือรัตนโกสินทร์ ภารกิจร่วมคุ้มกัน เป็นต้น ครับ
โดยตวามเป็นจริงตัวผมเองก็คิดว่า ตามรูป CG ที่เผยแพร่ออกมา มีระบบ Mk.41 แค่ชุดเดียว 8 ท่อเท่านั้นครับ แต่ใจอยากลุ้นให้มีมากกว่านั้น และมองว่าต้นแบบอย่าง KDX-I เองก็ยังติดตั้ง Mk.56 (ที่ใช้พื้นที่มากกว่า) ได้ถึง 16 ท่อ ที่บริเวณดาดฟ้ายกหน้าสะพานเช่นเดียวกัน และคิดว่าหากย้าย Phalanx ออกไป หรือสลับไปไว้แทนที่ Mk.41 พื้นที่เดิมน่าจะกว้างพอที่จะติดตั้ง แท่นยิงแบบ VLS ทั้ง Mk.41 และ/หรือ K-VLS ได้ 3-4 ระบบ 24-32 ท่อยิงได้อย่างสบายๆ
ปล. ส่วนตัวก็ยังไม่เข้าใจและไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเอา Phalanx ไปวางไว้ตรงนั้นแบบนั้น (วางลอยทั้งแท่นเหนืิอดาดฟ้า เหมือนตั้งใจให้ยกออกได้ง่ายๆ) น่าจะย้ายตำแหน่ง Satcom มาไว้หลังเสากระโดงหลัก แล้วเอา Phalanx มาไว้ตรงนั้นแทน ดีกว่าไหม..??
ผมก็คิดว่ายังเป็นภาพ CG อยู่ครับ...แบบจริง ๆ ที่ตกลงทำสัญญากันแล้ว อาจจะเปลี่ยนแปลงได้อีกครับ...
สำหรับ Phalanx ที่ติดด้านหน้านั้น...ก็คงจะเป็น Phalanx Block 1B ครับ...คือ มีความสามารถป้องกันภัยผิวน้ำด้วย...
ซึ่งเป็นจุดบอด ของหน้าเรือครับ...
ท้ายเรือ มี DS-30 พร้อมกับ EOS-500 และมี Decoy เป็น CIWS แล้ว...
แต่ด้านหน้าเรือ ถ้าไม่ติดตั้ง Phalanx ก็ไม่มี ระบบ CIWS เลยครับ...และ ไม่มีปืนเรือ ทำลาย ภัยผิวน้ำแบบในระยะประชิด ด้วย ครับ...
การติดตั้ง Phalanx Block 1B ตรงตำแหน่งนั้น น่าจะเหมาะสมแล้วครับ...
และ ตำแหน่งที่ตั้งหน้าเรือ จะครอบคลุมได้ถึง รัศมี ครึ่งลำเรือด้านหน้า...บวก กับ Decoy ที่สะพานเดินเรือ...
ส่วน DS-30 ก็จะมีรัศมี ครอบคลุม ครึ่งลำเรือด้านหลัง...
น่าจะเห็นได้เป็นว่า
CIWS หน้าเรือ คือ Phalanx Block 1B + Decoy
CIWS ท้ายเรือ คือ MS-30 + EOS500 + Decoy
CIWS กลางเรือ คือ Phalanx Block 1B (หน้าเรือ) + MS-30 + EOS500 (ท้ายเรือ) + Decoy
Anti Air Warfare Long Range = SM-2
Anti Air Warfare Medium Range = ESSM
Anti Air Warfare Short Range = Gun 76 m.m.
Torpedo Decoy = Nulka
CIWS ระบบปืนป้องกันตัว ระยะประชิด
แบบของท่านจูดาสเข้าใจง่ายไปหน่อยเอาแบบของผมดีกว่าดูแล้ววุ่นวายดี ผมแถมปืนกล12.7กลางลำเรือด้วยนะครับซึ่งสามรถใช้ยิงmanpadในคราวจำเป็นได้ด้วย
จะเห็นได้ว่า CIWSแท้ป้องกันด้านหน้าเรือหอบังคับการและเครื่องยนต์ ส่วนCIWSเทียมป้องกันลานจอดกับโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์รวมไปถึงแท่นยิงจรวดSSM ขณะที่เรือโจรสลัดหมดสิทธิเข้าใกล้แน่ไม่ว่าจะมุมไหนก็ตาม ส่วน76/62 Stealthใช้ยิงอาวุธจรวดได้ก็จริงแต่มีแค่อิตาลีผู้ผลิตเท่านั้นที่บ้าพลังใช้เป็นCIWSเลย ถ้าเป็น57มม.รุ่นใหม่แบบมาเลย์หรือ LCS1-2ยังพอถูไถได้นะครับ
ผมให้ความสำคัญกับส่วนหน้าของเรือมากกว่านะครับ ลานจอดกับโรงเก็บถึงโดนก็ยังรบต่อได้และจมลงยาก แต่ถ้าหอบังคับการก็เอวังกันเลย ไม่จมก็หมดสภาพกลายเป็นเป้าล่อดีๆนี่เอง
ผมขอรบกวนหน่อยได้มั้ยครับ ท่านที่ตัดต่อภาพเก่งๆ ช่วย ย้าย ฟาลังค์ ไปแทนที่ VLS - 8 ท่อ และ นำ VLS ย้ายลงมาแทน และ เพิ่ม VLS อีกหนึ่งชุด เป็น 16 ท่อยิง เพื่อให้เพื่อน ๆ เห็นภาพได้ชัดเจน และเผื่อผู้ใหญ่จะได้เห็น อาจนำไปปรับปรุงแบบเรือครับ เห็นด้วยกับท่านจูดาส ครับ ว่าต้องมี CIWS หน้าเรือ แต่ควรย้ายตำแหน่งนิดหน่อย ตามที่ท่านไอซี่ และท่าน TWG ตั้งข้อสังเกต
(ขอเพิ่มเครดิตท่าน TWG อีกคนครับ)
ทำแบบเร่งด่วนให้ อิๆๆ ไม่รู้ความกว้างเรือจะพอละเปล่า
ขอถามหน่อยนะครับว่า DS-30 นี่มันประสิทธิภาพสูงพอที่จะใช้เป็น CIWS ได้เลยหรือครับ ถ้าเป็นระบบ Sigma ที่มีอวป. Mistral ติดอยู่ด้วยยังพอจะใช้เป็น CIWS ไหวครับ แต่ปืน 30 มม. แท่นเดี่ยวนี่จะไหวเหรอ -.-'
ถ้า30มม.แท่นเดี่ยวนี่อัตรายิงไม่พอมั้งครับ -*- ยิงไม่ทันแน่ๆ
SIGMAจะมาหรือไม่ก็ต้องดูอีกที แต่ผมว่าเป็นDS-30ธรรมดาๆ
ปล.ที่จริงเอาPhalanxไปไว้ด้านหน้าดาดฟ้ายก ดูจะใช้พื้นที่คุ้มกว่านครับ แล้วติดแนวตั้งยัดๆไป 24-32ท่อ ผมว่าไหวนา (ถ้ามีเงิน) ไม่ก็แนวขวาง3ชุด24ท่อ ก็ได้ 4xASROC+16xESSM+16xSM-2...ดูดีนะครับ....(ยัดน่ะลง แต่จะมีเงินซื้อจรวดมาใส่รึเปล่าหว่า)
ปล.1xPhalanx Block 1B + 2xDS-30....นี่กะเอาไปยิงโจรสลัดจริงๆเหรอครับ - - ปืนรอง3กระบอก
DS-30 ก็คงเป็นปืนเอนกประสงค์ น่ะครับ...ในลักษณะ ป้องกัน อาวุธนำวิถี ก็คงไม่ถึงกับ100%...
แต่ภัยคุกคาม ระยะประชิด ในสงครามปัจจุบัน คงไม่ได้ หมายถึง อาวุธนำวิถี อย่างเดียว...
น่าจะหมายถึง ภัยแบบอื่น ๆ หลายประเภท ครับ...ซึ่งเป็นภัย ระยะประชิด เช่น UAV ติดอาวุธโจมตี หรือ เรือขนาดเล็ก ต่าง ๆ หรืออาวุธนำวิถีระยะใกล้ หรือ USV
รูปท่านPaoo นี่แหละ ที่ต้องการจะบอก นั่นคือ ไม่ต้องถอดฝาลังออก
น่าใส่VLS แนวขวาง(ในภาพท่านPaoo มันตามยาว) น่าจะได้ 3โมดูล 24ท่อพอดี
ปัญหาคือเราไม่รู้ว่าข้างใต้ดาดฟ้ายกนั่นมีอะไรอยู่ .....
ติดตามข่าวสารจากที่นี่มาซักพัก ได้ความรู้เกี่ยวกับระบบป้องกันประเทศมากมาย ขอบคุณครับ
พอดีเห็นรูปเรือฟริเกตใหม่ของ ทร. ที่ปรับแบบจากเรือรุ่น kdx-1 ของเกาหลี ด้านข้างเรือทำแผง
สูงเพื่อลดการตรวจจับ ( stealth ) ซึ่งด้านในเปิดโล่ง ..... ขอถามผู้รู้ครับว่า ระหว่างเรือที่มีลักษณะ
ดาดฟ้าแบบนี้ กับเรือฟริเกตสมัยใหม่ที่มี ดาดฟ้าปิด แบบไหนการป้องกันตัวเองต่อระบบอาวุธปล่อย
ยิง หรือ ขว้างได้ดีกว่ากันครับ โดยส่วนตัวคิดว่าถ้าโยนของเข้าตะกร้า กับโยนของลงบนกล่องฝาปิด
โยนลงตะกร้าน่าจะง่ายกว่า ของในตะกร้าก็น่าจะเสียหาย ถ้าโยนบนกล่องฝาปิด อาจแฉลบ หรือหล่นออก
ด้านข้าง อันนี้ตาม common sense อาจไม่ถูกก็ได้แต่ถ้าคิดถูกก็น่ากลัวครับ เพราะแค่ระเบิดขว้างหรือ
ปืน ค. ก็สร้างความเสียหายได้ อีกทั้งแผงด้านข้างอาจเพิ่มแรงอัดให้พื้นที่ภายในที่มีทั้ง อาวุธปล่อยและกำลังพล
เสียหายหนักขึ้น หวังว่าคงเป็นเสียงสะท้อนให้ทาง ทร.ได้ฉุกคิดในการเลือกหรือปรับแบบเรือครับ
* ส่วนตัวอยากให้ปิดด้านบนครับ ถ้าปรับจาก kdx-1 ไม่ได้ก็น่าจะเลือกแบบอื่นครับ *
ขอบคุณครับ
แบบเรือผมว่ามัน99เปอร์เซนต์แล้วหละครับ อาจจะมีแค่บางอย่างที่สร้างไปแล้วติดปัญหาจึงต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติม บริเวณที่ติดVLSอาจจะออกแบบให้ติดได้2หน่วย16ท่อตามขวางเรือ(แบบเรือF123)ก็ได้นะครับเพียงแต่คนทำภาพCGใส่เข้าไปแค่1หน่วยตามความต้องการของทร.เท่านั้นเอง อาจจะติดฝั่งขวา8ท่อมาก่อนแบบเรือFridtjof Nansen มีงบค่อยเพิ่มอีกทีก็ว่ากันไป
อันที่จริงเรือฟริเกตเอนกประสงค์มี16VLSก็ถือว่าเยอะเพียงพอแล้วเพราะไม่ใช่เรือAAWโดยตรง เพียงแต่ว่าเรือเรานอกจากESSMที่เป็นมาตราฐานแล้วยังต้องใส่ Vertical Launch Anti-submarine RocketเพราะมีภาระกิจASW ยัด Nulka Active-off board ECM และSM-2(ในอนาคต)เข้าไปอีกเลยดูน่าปวดหัวแทน มีของใหม่ๆเข้ามาก็ดีนะครับแต่ดันไปเบียดเบียนพื้นที่ของที่ต้องการเสียนี่
รูปหาย MK41 2หน่วย16ท่อตามขวางเรือณ.จุดเดิม
เวรกรรมภาพมาแล้ว ขอโทษด้วยครับที่ดันซ้ำ
ขอบคุณนะครับท่าน paoo สำหรับรูป
ตรงหน้าหอบังคับการ มันเป็นสามเหลี่ยมมิใช่รึครับท่านไอซี่ (เพื่อสแตล หรือ หลักอากาศพลศาสตร์) แต่ผมดูจากสัดส่วนตามภาพแล้ว ไม่น่าวาง VLSตามแนวตั้งได้ถึง 24 ท่อ นะท่านไอซี่ แต่ถ้าวางได้ตามท่านว่า หรือพอจะแก้แบบส่วนฐานขยับออกมาอีกนิดได้ ก็จะดีมากๆ ครับ
ส่วนตัวเห็นด้วยครับถ้าวางฟาลังค์ตำแหน่งนั้น (คือผมคิดง่ายๆ ครับ) ฟาลังค์สามารถยิงป้องกันด้านหน้าเป็นมุมกว้างได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเราสามารถ ยิงจรวดด้านหน้าตอบโต้ออกไปได้ในขณะที่ฟาลังค์ก็ยิงป้องกันไป (แต่ก็ไม่แน่ใจอีกว่ามันทำงานพร้อมๆ กันได้หรือไม่)
แต่ถ้าวางฟาลังค์ตามแบบเดิม การใช้จรวดตอบโต้จากท่อ VLS ด้านหน้า อาจใช้งานไม่ได้ขณะฟาลังค์ยิงออกไป ต้องใช้จรวดจากส่วนอื่นแทน (คือผมก็คิดง่ายๆ อีกครับ ก็ขอความรู้จากผู้รู้ล่ะกันครับ ว่ามันสามารถทำได้หรือไม่ได้ครับ)
ภาพที่เรานั่งเพ่งกันอยู่เป็นภาพCGหนะครับ ของจริงจะมีระยะห่างออกมาสามารถทำงานพร้อมกันได้หมดทุกระบบ เรือKDX-IIIของเกาหลีก็ติด Goalkeeperใกล้ๆกับท่อVLSจำนวนมหาศาลและอยู่ด้านหลังเหมือนเรือเรา ทีนี้ถ้าติดฟาลังซ์สลับไปไว้ด้านหน้าการบรรจุจรวดลงท่ออาจจะลำบากจนต้องเสียเวลามากเกินไปก็ได้
เห็นใจพลขับรถเครนหน่อยนะครับถ้าด้านซ้ายเป็นฟาลังซ์ด้านขวาเป็นปืน76/62ที่ไม่สุงมากก็ยังทำงานกันสบายๆอยู่ แต่ถ้าด้านซ้ายเป็นตัวเรือด้านขวาเป็นแท่งเรดาร์ยาวๆของฟาลังซ์ ตอนบรรจุจรวดทั้งหลายเหล่มีมือสั่นปากสั่นกันบ้างหละงานนี้ เรือทั่วไปจึงมีระยะห่างของแท่นVLSกันหอบังคับการไว้ประมาณหนึ่ง
ถ้าปืนเรือหลัก 76 mm ด้านหน้าเป็นรุ่น STRALES มันก็ทำหน้าที่ CIWs ได้ทันทีอยู่แล้วครับ
และตามที่ ทร. เขียนแจงไว้แต่แรก ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็น STRALES มากด้วย ดังนั้นในความเห็นผมว่า ถ้าเป็นแบบนี้เอาฟาลังก์ไว้ด้านท้ายเรือตรงตำแหน่ง CEROS-200 เหนือโรงเก็บเหมาะสมแล้วครับ
ส่วนจะย้าย CEROS-200 ไปติดด้านหลังเสาเรด้าร์หลัก หรือจะย้าย SATCOM ไปด้านหลังเสาเรด้าร์หลัก แล้วนำ CEROS-200 ไปวางแทน SATCOM ก็ว่ากันอีกที
ในสายตาผม ตำแหน่งดาดฟ้ายกที่วางฟาลังก์อยู่ในรูป มันเป็นตำแหน่งเดียวกับดาดฟ้ายกด้านหน้าของ KDX-1 ซึ่งถูกออกแบบไว้ติดตั้ง VLS ดังนั้น ถ้าปืนเรือหลัก 76 mm มีความสามารถในด้าน CIWS อยู่แล้ว ก็ควรจะยกพื้นที่ดาดฟ้ายกอันนี้ติดตั้ง VLS ได้อีก 16 cell เหมาะสมที่สุดแล้วครับ วางตามยาวแบบรูปเรือ meko-200 ของตุรกีนั่นล่ะครับ ( 4 แถว 2 ตอน 2 แท่นยิงติดกัน)
ส่วนตำแหน่งที่ติดตั้ง VLS ในรูป ไม่รู้ว่าของจริงจะติดตั้งได้แค่ 8 cell หรือ 16 cell กันแน่ (แต่ในรูปตอนนี้มีแค่ 8 cell) ดังนั้นถ้าถอดถอน ฟาลังก์ออกไป ดาดฟ้ายกด้านหน้าทั้งหมดน่าจะรองรับ VLS ได้ 24-32 cell ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการใช้งานในอนาคตครับ
อันนี้เป็นมุมมองของผมนะ
ผมมีความเห็นคล้ายกับท่าน neosiamese2 ครับ เพียงแต่ตำแหน่งที่จะย้าย Phalanx ไปตั้งไม่น่าจะแทนที่ Ceros 200 นะครับ เพราะเจ้า Phalanx มันหัวสูงจะบังทิศทางการทำงานของ Ceros 200 ได้(หากเอา Ceros 200 มาแทนที่ Satcom ก็ต้องทำแท่นยกสูงมากทีเดียว) จึงน่าจะเอาไปตั้งแทนตำแหน่ง Satcom น่าจะดีที่สุด ส่วนโดม Satcom ก็ย้ายไปไว้หลังเสากระโดงหลักอีกที และหากใช้เป็น block 1b ก็ไม่จำเป็นต้องมี DS-30 ก็ยังได้
ส่วนเรื่องตำแหน่งกับการทำงานของระบบอาวุธนั้นสามารถจัดการให้มีความสัมพันธ์กันได้ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของระบบ CMS อยู่แล้ว ที่จะจัดการลำดับความสำคัญในการทำงานของแต่ละระบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ , อาวุธหรือระบบอีเลคทรอนิกส์ที่จะใช้ , เป้าหมายและระดับภัยคุกคาม เพราะการทำงานของบางระบบก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน
รูปเปรียบเทียบ ของดาดฟ้าและ VLS Mk-41 ติดตั้งแบบแนวยาว ( 4 แถว 2 ตอน 2 แท่นยิงติดกัน) กับ ดาดฟ้ายกของ KDX-1 ที่ติดตั้ง Mk-48
รูปแรก ขอยืมรูปของท่าน superboy หน่อยนะครับ
รูปสอง VLS mk-41 16 cell วางตามแนวยาว ( 4 แถว 2 ตอน 2 แท่นยิงติดกัน) เรือที่ติดตั้งดูคุ้นๆตานะครับ แต่นึกไม่ออก น่าจะเป็นเรือญี่ปุ่น ถ้าไม่ใช่ก็ขอโทษด้วยครับ
รูป 3 - 4 VLS mk-48 mod 2 ดาดฟ้ายกหน้าตาคล้ายๆเรือของเรา
อ้าวรูปที่สองไม่มา ลองอีกที เพิ่มด้วยรูปเรือ Murasame class ของ ทร.ญี่ปุ่น ที่ติดตั้ง VLS mk-41 16 cell ตามแนวยาว เทียบกับดาดฟ้ายกของ KDX-1 รูปเดิม ตรงตำแหน่ง ฟาลังก์ของเราน่าจะติดตั้งแบบนี้ได้ไม่ยากเย็นครับ ถ้าติดตั้งตามรูปท่าน paoo จะติดตั้งยากหน่อย เรือควรจะกว้าง 16.7 เมตรแบบ F-123 มากกว่า 14.4 เมตรครับ
เรือ Murasame class ใช้ปืนเรือขนาด 76 mm จะเห็นว่า Mk-41 16 cell นี่ไม่ได้ใหญ่โตเลย (แต่ลึกเกือบ 3 ชั้นของเรือ)
ปล. รูปที่สองก็ยังคงไม่มา.....ช่างมันเถอะ
8 cell ด้านหน้าของ VLS mk-48 ใน KDX-1 น่าจะเป็นตำแหน่ง VLS mk-41 ของเรือเรา
8 cell หลังน่าจะเป็นตำแหน่งของ ฟาลังก์ของเรือเราครับ
และจากรูป KDX-1 ทั้งสองรูปจะเห็นว่า 8 cell ของ MK-48 จะมีขนาดใหญ่มาก แค่ 16 cell อาจจะกินพื้นที่ดาดฟ้าเกือบเท่า Mk-41 32 cell เลยทีเดียว สังเกตจากปืนเรือขนาด 127 mm OTO ครับ
และเรือเรามีขนาดกว้างกว่า KDX-1 ด้วย ดังนั้นความเป็นไปได้ที่ดาดฟ้าตรงนี้รองรับได้ 24 -32 cell จึงมีไม่น้อยครับ
ส่วนฟาลังก์ติดตั้งแบบที่ท่าน TWG บอกก็ดีครับ ลืมไปว่าฟาลังก์มันสูงโย่งทีเดียว
ภาพในมุมเดียวกันของเรือ 2 ลำครับ
1 . KDX-1 + Mk-48 mod 2 16 cell เทียบกับปืน 127 OTO
2 KDX-2 + Mk-41 32 cell เทียบกับปืน 127 ของไอ้กัน
จะเห็นว่า Mk-48 mod 2 กินพื้นที่เกือบเท่า Mk-41 32 cell เลย
ขอแทรกนิดนึงคลายเครียด พอดีไปเจอคลิปฝึก เรือ kdx-1 มาเลยมาแปะให้ดู ผมว่ามาตรฐานของตัวเรือนี่ผมว่าดีกว่าจีน แต่ไม่รู้ว่าเวลาต่อให้เราเค้าจะเลือกอุปกรณ์ภายในที่มีมาตรฐานสูงมาติดตั้งให้มั้ย ผมคิดว่าอุปกรณ์ภายในเช่น ระบบไฟ มาตรฐานสายไฟ ท่อทางเดิน บางทีก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ระบบอาวุธเหมือนกัน
ภาพในมุมเดียวกันของเรือ 2 ลำครับ
1 . KDX-1 + Mk-48 mod 2 16 cell เทียบกับปืน 127 OTO
2 KDX-2 + Mk-41 32 cell เทียบกับปืน 127 ของไอ้กัน
จะเห็นว่า Mk-48 mod 2 กินพื้นที่เกือบเท่า Mk-41 32 cell เลย
รูป KDX-2 มุมเดียวกับ KDX-1 ไม่มา สงสัยภาพจะใหญ่เกินไป
เอา KDX-2 อีกมุมดูนะครับ จากมุมนี้จะเห็นว่า Mk-41 32 cell วางตามแนวยาวจะมีความยาวของพื้นที่มากกว่า Mk-48 16 cell แบบเห็นได้ชัด แต่ความกว้างนั้นมีขนาดใกล้เคียงกันทีเดียว Mk-41 32 cell น่าจะกว้างกว่าเพียงเล็กน้อย
ดังนั้นในมุมมองผม จึงคาดว่าดาดฟ้ายกทั้งหมดของเรือใหม่ของทร. ถ้าถอดถอนฟาลังก์ออกไปแล้ว น่าจะติดตั้ง VLS ขั้นต่ำที่ 24 cell คือ ติดตั้งแบบขวาง ( 2 แถว 4 ตอน)แบบที่เรือเราแสดงภาพอยู่ ถอดถอนฟาลังก์ออกแล้วติดตั้งอีก 16 cell ตามยาว รวม 24 cell
หรือถ้ามี K-VLS 4 cell ก็อาจจะติดข้างๆ Mk-41 แถวหน้าไปเป็น 12 cell ส่วนด้านหลังตรงฟาลังก์เป็น 16 cell รวมกันน่าจะได้ 28 cell
และถ้าสุดท้าย จากภาพของป๋าจูลที่แสดงให้เห็นว่า Mk-41 8 cell + K-VLS 8 cell วางเป็นรูปตัว L แล้วใช้พื้นที่ไม่มาก ดังนั้นเมื่อรวมกับ 16 cell ของ Mk-41 ด้านหลังก็จะได้ 32 cell พอดี
ซึ่งการติดตั้งทั้ง 3 วิธีน่าจะได้ขนาดพื้นที่ พอๆกับ Mk-48 mod 2 ครับ อาจจะใหญ่กว่าเล็กน้อยก็ได้
สรุปดาดฟ้ายกน่าจะติดตั้งได้ 24 28 32 cell แล้วแต่การจัดวาง Mk-41 และ K-VLS ครับ
ในเมื่อดาดฟ้ายกหน้าสะพานน่าจะรองรับจำนวนท่อยิงได้เพียงพอ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะยกพื้นที่ให้แท่นยิง VLS ไปทั้งหมดครับ แล้วฟาลังก์ควรจะไปอยู่ที่อื่นแทน
เซ็นต์ลงนามแล้วครับ มีโมเดลเรือด้วย
http://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/2387#sthash.DnQICaQK.dpuf
ใครตาดีๆช่วยเพ่งหน่อย.........แหม่ รูปเล็กเหลือเกิน
ที่ฟันธงได้อย่างนึงคือ เรดาร์หลังไม่ใช่อะไรที่เราเดาๆกันเลย ทั้งSPS-48 และ EL/M-2238
หรือจะเป็นGiraffe ER จริงๆ ???
พล เรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต ตามโครงการจัดหาเรือฟริเกต ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
เพ่งกันหน่อยครับว่าติดVLSกี่ท่อ
เคยเห็นท่าน icy บอกว่า Mk41 2modules ยาวประมาณ 6.3 เมตร เมื่อเทียบกับขนาดฟาลังซ์ดู ซึ่งฟาลังซ์สูง 4.7 เมตร ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นแบบ 16 cell ก็ได้ครับ รูปมันไกลเลยทำให้ดูลำบาก
พยายามเพ่งแล้วครับ ไมไหวความละเอียดภาพต่ำมาก มองไม่ออก แต่ที่แน่ๆ VLS 8 cells ครับ คงต้องลองเลีบยเคียงถามนายหน้าที่แอบเข้าในTAFดูครับ
________________________________________________________________________________________
TFC คาดการณ์ว่ามีเข้ามาเหมือนกันครับ แต่หลังจาก ทร.ประกาศสเป็คออกมาค่อนข้างจะชัดเจนกว่าตอนแรก ก็หายไปครับ /ADMIN
เห็นภาพครั้งแรกนี่มันGowindกลับชาติมาเกิดชัดๆ แต่ใส่หลังคาแครี่บอยมาด้วยไม่ใช่กระบะตอนเดียวเหมือนเก่าแล้ว
เปรียบเทียบซะ เห็นภาพชัดเลย คุณsuperboy ตอนแรกเห็นแบบเรือก็ว่าดูคล้านเรืออะไร ที่แท้Gowindนี่เอง
จากที่ดูในโมเดล แล้วผมว่า ไอ่ที่ยกสูงสำหรับติดMK.41กับPhalanx มันจะหายไปหรือปล่าวอ่ะครับ แต่เราสามารถติดแท่นยิงMK.41ด้านหลังปืนหลักได้นะครับ เห็นพื้นที่ว่าง อยู่เยอะพอสมควรเลยแหละครับ
- ถ้าตาผมไม่ผิดพลาด 8 cell แน่นอน เหมือน DW3000H เลย เทียบกับเสกลปืนใหญ่ดู
- เรดาห์หลังนี่มันอะไรกัน ตอนแรกนึกว่าเสกลเพี้ยน ใหญ่กว่า sea giraffe นิดหนึง แต่เล็กกว่า satcom เสียอีก
ระยะมันจะถึง 350 km หรือเปล่า หรือมันเป็น product ใหม่ของ Saab กะเอาเรือใหม่เรามาโปรโมท product ของ saab ยกเซ็ตแน่ๆ
ขอบคุณท่าน aonestudio มากนะครับสำหรับการตัดภาพส่วนมุมเดียวกับ KDX-1 ที่ผมลงไว้ ทำให้สามารถวัดขนาดได้หยาบๆว่า VLS mk-41 กินพื้นที่กว้างประมาณ 1 ใน 3 ของความกว้างเรือครับ หรือประมาณ 4.6 เมตร เป็น VLS mk-41 8 cell วางแบบขวางครับ (ถ้าวางแบบขวาง 16 cell ก็กว่า 8 - 9 เมตรครับ)
ดังนั้นพื้นที่ตรงฟาลังก์ อาจจะติดตั้งได้อีก 8 cell ตามขวาง เต็มที่สุดๆก็ 16 cell ตามแนวยาวครับ สรุปเต็มที่ได้ 16 - 24 cell สำหรับเรือลำนี้ครับ วางตามแนวยาวนี่ 8 cell จะกว้างประมาณ 3 เมตรกว่าๆ และ 16 cell จะกว้างประมาณ 6 เมตรแก่ๆ
แต่เรือโมเดลรูปร่างสวยกว่าภาพ CG นะครับ ดูสมส่วนกว่ามาก เป็นเรือที่สวยงามมากครับ ยินดีกับทร.ด้วยนะครับ ลงนามกันสักที เป็นอันว่าชัวร์แล้ว ที่เหลือพุ่งเป้าเรือดำน้ำอย่างเดียวเลยครับ
ไหนๆก็เกาหลีแล้ว KSS-500 A mod for RTN ไปเลยครับ ใหม่ถอดด้าม 2 ลำ สำหรับฝึก-รบก่อน
ผมก็คิดแบบเดียวกับพี่ neosiamess เลยครับ คิดว่าในที่สุดถ้ามีการปรับปรุงในอนาคตเพื่อรองรับ SM2 คงจะมีการรื้อเอาฟาลังซ์ด้านหน้าออกไปติดด้านหลังเหมือน KDX1 และ KDX2 ติดตั้งบริเวณที่เป็นโดม SATCOM เดิม และคงจะมีการย้ายโดมSATCOM ไปไว้บริเวณเสาเรด้าร์แทน เพราะผมดูยังไงๆมันก็ขัดตาทีืจะเอาโดมSATCOMไปไว้บริเวณหลังโรงเก็ยฮ.นั่น ส่วน DS30 นั้งควจะย้ายไปบริเวณกลางลำเรือแทนแน่นอน ส่วนที่ว่าย้ายฟาลังซ์จากด้านหน้าไปแล้วด้านหน้าเรือจะมีจุดอ่อนทันทีนั้น ผมคิดว่า ท.ร.คงจะมองจุดนี้ไว้แล้ว จึงได้เอาปืน 76/62 มม. OTO MELARA รุ่นเป็นCIWS ด้วยมาทำหน้าที่แทนตรงนี้พร้อมเสริมด้วย NUKA Decoy และคิดว่า ทร.คงจะจัดหากระสุนDART แน่นอน เพียงแต่อาจจะเป็นการจัดหามาในอนาคตเมื่อถอด ฟาลังซ์ออกไปติดด้านท้ายแทน SATCOM แล้ว ตอนนี้กระสุนDART คงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเพราะยังมีฟาลังซ์อยู่หน้าเรือ ส่วนพื้นที่บริเวณที่เป็นพื้นที่ของฟาลังซ์เดิมนั้น คงจะติดตั้งแท่น MK41 VLS เพิ่มเพื่อใช้ยิงSM2 และคงมีการติแตั้ง K-VLS หรือ VL ASROC แน่นอน เพราะผมดูจากรูปแล้วพื้นที่ตรงที่เป็นพื้นที่ติดฟาลังซ์ตอนนี้มันใหญ่และกว้างไปที่จะเป็นแค่พื้นที่ติดฟาลังซ์ธรรมดาๆ เพราะถ้าจะติดแค่ฟาลังซ์ตรงนั้สถาวรจริงคงไม่จำเป็นต้องทำพื้นที่ฐานกว้างใหญ่ขนาดนั้นก็ได้ครับ คงคิดว่าเป็นพื้นที่ๆเตรียมไว้สำหรับ แท่น VLS หรือ VLA ในอนาคตแน่นอน ส่วนตอนี้ผมคิดว่ายังไงซะเรือคงจะมีแค่ VLSMk.41 แค่8ท่อแบเท่านั้นเพื่อใช้กับ ESSM ส่วนASROC ถ้าจัดหามาตอนนี้คงจะติดตั้งผสมกันไปก่อนแน่นอน หรือถ้าจะติดแต่ ASROC เรือลำนี้คงจะติดแต่ ASROC อย่างเดียวในช่วงแรกนี้โดดยหวังพึ่งการป้องกันภัยจากเรือรุ่นพี่อย่าง รง.ชุดนเรศวรไปก่อนพลางๆ ผมกก้คิดออกประมาณนี้ครับเพราะถ้าเรือเน้นปราบเรือดำน้ำจริง ไอ้8ท่อที่มีมาคงอัดแน่นไปด้วย ASROC ทุกท่อแน่นอน
สงสัยผมจะตาฝาดเห็นเป็น vls 12cell (mk41+mk57)
ส่วนปืน 76 mm ในภาพด้านหน้า มองคล้ายๆ 76 mm STRALES แต่ในภาพมุมด้านข้าง มองแล้วเหมือน 76 mm super rapid ในป้อมทรงเสตลธ์ ไม่รู้ว่าเป็นระบบไหนแน่ครัย
ถ้าเป็นแค่ 76 mm SR ในภาระกิจ CIWs จะใช้ได้แค่กระสุน PFF หรือ anti-missile projectile, with proximity fuse and tungsten cubes ซึ่งจะสู้กระสุน DART หรือ Driven Ammunition Reduced Time of flight ที่ควบคุมการยิงด้วยระบบนำวิถี CLOS (Command Line of Sight ) ซึ่งจะต้องชี้เป้าด้วยเรด้าร์ TX ซึ่งติดตั้งอยู่ในตัวปืนเลย ไม่ได้
พูดง่ายๆ กระสุน DART ที่ใช้ใน 76 mm STRALES แม่นกว่ากระสุน PFF ที่ใช้ใน 76 mm SR แต่กระสุน DART คงแพงกว่ามากด้วย
แต่ก็ถือว่า 76 mm นี้ใช้ในภาระกิจ CIWS ได้ทั้งคู่ครับ แล้วจะติดฟาลังก์ไปทำไมที่มุมนี้เนี่ย
ไม่แน่นะครับน้องแชมป์ บางที่ VLS ที่เห็นอาจจะเป็น K-VLS มาเลยก็ได้ใครจะไปรู้ เพราะตามการแกะหัวข้อข่าวของหลวงพี่ icy มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้ K-ASROC สำหรับเรือลำนี้ ซึ่งภาระกิจหลักคือต่อต้านเรือดำน้ำ ดังนั้น K-ASROC จึงมีความจำเป็นสูง นอกจากนี้ K-VLS ก็ยังสามารถติดตั้ง K-SAAM ที่เทียบเท่า RAM block-2 กับ VL-MICA ได้ด้วยครับ ระยะยิง 20 กิโลเมตร
ส่วนตัวผมก็ยังคิดว่า ทร.คงจะต้องจัดหากระสุน DART มาใช้แหละครับพี่นีโอสยาม เพราะถ้าลงทุนกับป้อมปิน SRไปแล้ว แต่ดันไปใช้แค่กระสุนธรรมดาก็กระไรๆอยู่ ถ้ากระสุนแค่นี้ซื้อไม่ได้ ทร.ก็ขี้เหนียวน่าดูแล้วแหละครับ เรือ เทคโนโลยี อุปกรณ์ ชีวิตลูกเรือ จะมีค่าน้อยกว่ากระสุนDART หรอครับ ยังไงผมก็เชื่อว่า ทร.จะต้องถอดฟาลังซ์ไปไว้ท้ายเรืออยูืแล้วในอนาคต เพราะ DS 30 เอาไม่อยู่แน่ทางด้านท้ายเรือเนี่ย อย่างไร ฟาลังซ์ก็ต้องย้ายมาเป็น CIWS ท้ายเรือชัวส์ เพียงแต่รอปรับปรุงเฟส2แค่นั้นเอง เห้ออออ เรือเพิ่งจะต่อต้องคิดถึงการปรับปรุงเฟส2แล้วหรือนี้ อนิจาถ้ารวยเหมือนสิงคโปร์ คงไม่ต้องมาแบ่งทำเป็นเฟสอย่างนี้ ส่วนกระสุนDART ผมก็คิดว่าถึงจะไม่มีมาในเฟสแรก ก็ต้องมาในการปรับปรุงเรือพร้อม SM2เฟส2แน่นอน
กระสุนDARTใช้ได้เฉพาะป้อมปืนSTRALESเท่านั้น เพราะต้องใช้เรดาร์ในการนำวิถีลูกกระสุน (Beam Riding)
ส่วนป้อมSuper Rapid ไม่สามารถใช้DARTได้
ตัวโมดูลของMk41แบบ1โมดูล8ท่อ มีขนาด 3.4ม.x2.6 ม. ไม่รวมฐานซึ่งอาจจะใหญ่กว่านี้ได้
ลองดูคร่าวๆแล้วจากรูป เพ่งแล้วเพ่งอีก เป็นโมดูล8ท่อแน่ๆ แต่ฐานจะกว้างมากราวๆ 4ม.x 3ม.
เพราะฉะนั้นน่าจะฟันธงได้ว่ามาแค่8ท่อแน่ๆ
ลองทำภาพครับ โดยใช้การ โคลน จาก แท่น VLS...
ถ้าจะเพิ่มระบบในอนาคต ก็ใช้ พื้นที่ ด้านข้าง Phalanx ได้ครับ ไม่ต้อง เคลื่อนย้ายอะไร...
และเป็น Concept ของ เรือ KDX-1 ที่บริเวณส่วนหน้า สามารถเพิ่มเติมระบบ ได้ในภายหลัง ตามภาพความเห็นกระทู้ ข้างบน น่ะครับ...
หรือจะเป็น MK-57 จำนวน 3 แถว
แล้วตกลงปืนหลัก 76/62 ของเราจะเป็น SR หรือ SUPER RAPID ครับ ถ้าจะให้คุ้มค่าที่สุดส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็น SR ที่ยิงกระสุน DART ได้แน่นอน เพื่อให้เป็นปืน CIWS ในอนาคตแน่นอน เมื่อต้องมีการย้ายฟาลังซ์ไปท้ายเรือ ผมคิดว่ายังไงในอนาคต ทร.ต้องเอาพื้นที่หน้าเรือที่ติดฟาลังซ์ไปติดแท่น VLS เพิ่มแน่นอนเพื่อใช้ SM2 หรือ ESSM เพราะอย่างที่พี่ๆบอก 8 Cal มันน้อยไปเฉพาะ ASROC 8ลูกก็เต็มแล้ว ยังไงซะฟาลังซ์ก็ต้องไปเป็น CIWS ท้ายเรือแน่ๆ เพราะอย่างผมว่ามันขัดตาๆทะแม่งๆ ลำพัง DS30 2แท่นเอา SSM ข้าศึกไม่อยู่ชัวส์ๆอย่าว่าแต่หลายลูกเลย ลูกเดียวก็หืดจับแล้ว หุหุ
SRยิงกระสุนDARTไม่ได้ .........SR ย่อมาจากSuper rapid
เฉพาะรุ่นSTRALESเท่านั้นที่ยิงได้
ส่วนปืนหัวเรือลำใหม่นี้เดาว่า เป็นSRธรรมดา ไม่ใช่STRALES
เพราะSRก็ยิงกระสุนVulcanoได้ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนลองในลำกล้องให้ใช้กับกระสุนSabotอย่างVULCANOได้
ถ้ามีการปรับปรุงโดยย้ายฟาลังซ์ไปติดแทนSATCOM ย้ายSATCOMไปหลังเสากระโดง เพื่อที่ด้านหน้าจะได้มีพื้นที่ติดVLSผมว่าทร.ติดฟาลังซ์ด้านหลังแล้วปล่อยข้างหน้าโล่งๆ(โดยให้DSMEเตรียมพื้นที่ด้านล่างรองรับไว้เลย)ไม่ประหยัดกว่าเหรอครับ ตอนย้ายอุปกรณ์ก็ลำบากเสียเวลา ตอนทำเรื่องของบรับรองฝ่ายค้านอัดเละเทะแน่ และถ้าพูดเรื่องเงินๆทองๆจะกลายเป็นเสียเงิน2ต่อโดยไม่มีประโยชน์อะไรอีก ผมว่าด้านหลังคงจะเหมือนเดิมแหละถ้ามีการเปลี่ยนเแปลงอุปกรณ์เพื่อความทันสมัยก็ตามตำแหน่งเดิมเป๊ะๆ
ส่วนด้านหน้าถ้ามีการปรับปรุงจริงๆ คิด(ไปเรื่อย)ออกมาได้หลายแนว
1 ฟาลังซ์ของเก่าจากเรือหลวงพุทธไม่มีการปรับปรุง ใช้ไปก่อนจนถึงเวลาติดsm-2ก็ชราภาพมากแล้วจึงถอดออกไปใช้กับเรือลำอื่นหรือปลดประจำการไปเลย กว่าเรือลำนี้จะมาก็2561(นานมาก) ฟาลังซ์ของเราอายุกี่ขวบแล้วเนี่ย ส่วนCIWSใช้ ram block 2 vls แทน ถ้าทำตามนี้เรืออาจมาโดยด้านหน้าโล่งๆไปก่อนก็ได้ครับ พอถอดออกก็โล่งได้ใจเลยครับ
2 ฟาลังซ์ของเก่าจากเรือหลวงพุทธไม่มีการปรับปรุง ถึงจะติดsm-2ก็ยังลากใช้งานไปจนเขาหมดสภาพจริงๆถึงถอดออก ส่วนการติดท่อเพิ่มจะยังไงว่ากันอีกที ram block 2 vlsค่อยมาตอนถอดฟาลังซ์แล้วกัน พอถอดออกก็โล่งได้ใจเลยครับ
3 ฟาลังซ์ของเก่าจากเรือหลวงพุทธปรับปรุงใหม่หมด ถึงจะติดsm-2ก็ยังใช้งานอยู่ด้านหน้าเรือส่วนการติดท่อเพิ่มจะยังไงว่ากันอีกที ram block 2 vls ไม่มา
4 ฟาลังซ์หรือCIWSใหม่เอี่ยม ถึงจะติดsm-2ก็ยังใช้งานอยู่ด้านหน้าเรือส่วนการติดท่อเพิ่มจะยังไงว่ากันอีกที ram block 2 vls ไม่มา
ยังคิดแนวทางการติดท่อเพิ่มแบบประหยัดงบและดัดแปลงน้อยๆไม่ชัดเจน อาจจะติด1หน่วย8ท่อเพิ่มด้านหลังปืน76/62 หรือติดด้านข้างฟาลังซ์แบบท่านจูดาสว่ามาก็ได้ ก็ว่ากันไปครับ
ปล.เรือของเราที่ต่อขึ้นใหม่จะมีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับอาวุธในอนาคตไว้ก่อนเสมอ โดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับอาวุธหรืออุปกรณ์อื่นๆอีกเลย เรือหลวงจักรีกับMK-41 เรือหลวงนเรศวรกับMK-41 เรือหลวงปัตตานีกับฮาร์พูน หรือแม้แต่เรือต.994กับจรวดSAMท้ายเรือ เราฟริเกตของเราก็น่าจะเข้าข่ายนี้เหมือนกันนะครับ เพราะทร.ได้เข้าไปกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ตอนทำพิมพ์เขียวแล้วเหมือนลำอื่นๆ
เรดาร์ ตรวจการณ์อากาศระยะไกล...ได้กลิ่น ELM-2238 STAR ตามที่ท่าน superboy ให้ความเห็นไว้ เหมือนกันเน๊าะ...
ผมคิดเหมือนคุณsuperboyนะว่า Phalanxที่ถอดออกจากเรือพุทธ ทั้ง2ชุดคงจะไม่ปรับปรุงเพราะน่าจะอายุมากแล้ว ซึ่งกว่าเรือจะมาก็อีก5ปี + 15ปี Mod. ถึงเวลานั้นคงจะหมดอายุใช้งานแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งคือ CIWSที่เป็นปืนในปัจจุบัน สามารถจะรับมือกับSupersonic cruise missileได้ค่อนข้างจะยาก ทุกวันนี้ESSMก็เกือบจะเป็น Long Range CIWSอยู่แล้ว เชื่อว่าถ้าMod.น่าจะถอดPhalanxออกแล้วเพิ่มVLSลงไปอีกอย่างน้อย 8cells เพื่อรองรับSM2 ซึ่งคงจะเครียมพื้นที่ไว้รองรับแล้ว ส่วนPhalanxสามาถยกออกได้ไม่ยาก
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ได้มีการอนุมัติการจัดซื้อ “เรือฟริเกต” สมรรถนะสูง จำนวน 1 ลำ วงเงิน 14,600 ล้านบาท ที่จะเข้าประจำการที่กองทัพเรืออีก 5 ปี ตามที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้เสนอเรื่องอนุมัติงบผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2561 เพื่อนำไปใช้ในภารกิจรักษาอธิปไตยของชาติ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
วัตถุประสงค์ในการจัดซื้อครั้งนี้ เพื่อต้องการทดแทนเรือฟริเกตชุด “เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และ “เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย” จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จะครบกำหนดปลดประจำการในปี 2558 และ 2561 ตามลำดับ จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 2 ลำ โดยลำที่ 1 ดำเนินการในปีงบประมาณ 2556-2561 ส่วนลำที่ 2 จะพิจารณาดำเนินการจัดหาต่อไป
สำหรับเรือฟริเกตที่จัดหาจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ คือ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ และการปฏิบัติสงครามผิวน้ำ โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ (ฮ.) ของกองทัพเรือ (ทร.) ในการรับ-ส่ง ฮ. และนำ ฮ.เข้าเก็บในโรงเก็บ ฮ.ได้
นอกจากนี้ยังเพิ่มขีดความสามารถของระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธในปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง โดยระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบได้รับการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการ “เชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี” ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกตชุด “เรือหลวงนเรศวร” และ “เรือหลวงจักรีนฤเบศร” ได้
ระบบการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีดังกล่าวทำให้การปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับ “อากาศยาน” ของกองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีของบริษัทจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรของกองทัพเรือไทย อันจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือรบในอนาคต
รายงานข่าวแจ้งว่า ขั้นตอนในการจัดซื้อเรือฟริเกตชุดใหม่ ทร.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการ โดยเชิญชวนอู่เรือของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย รวมถึงอู่เรือจากเยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างในการแข่งขัน
ในการจัดหาครั้งนี้ มีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากอิตาลี สเปน เกาหลีใต้ (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สามารถตอบสนองภารกิจของ ทร.ได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก
เรือฟริเกตที่ได้รับการคัดเลือกเป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐ และเกาหลีใต้ มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย
ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology หรือเทคโนโลยีที่ช่วย “ลดการแผ่คลื่นแม่เหล็ก” ของตัวเรือ รวมทั้งลดเสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งป้องกันตัวเองในระยะประชิด
ส่วนการสร้างเรือจะดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556-2561 โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญในกองทัพเรือรายหนึ่งให้ข้อมูล “คม ชัด ลึก” ว่า ทร.มีความต้องการที่จะจัดหาเรือฟริเกตเพื่อนำมาทดแทนเรือฟริเกต 2 ลำ จากสหรัฐ ชุดเดิมที่กำลังจะปลดประจำการ มาเสริมศักยภาพของกองทัพเรือ
“การซื้อเรือฟริเกตไม่ได้เกี่ยวข้องว่ากองทัพเรือไม่สามารถจัดซื้อเรือดำน้ำได้ จึงหันมาซื้อเรือฟริเกตแทน เพราะจะซื้อเรือดำน้ำได้หรือไม่ กองทัพเรือก็ต้องจัดซื้อเรือฟริเกตอยู่แล้ว ถ้ากองทัพเรือไม่จัดซื้อเรือฟริเกตมาเสริมศักยภาพก็เหมือนไม่มีหลักประกันอะไรให้แก่นักลงทุนที่จะมาลงทุนในพื้นที่อ่าวไทย และยืนยันว่า การจัดซื้อไม่มีการล็อกสเปก”
ผู้เชี่ยวชาญในกองทัพเรือระบุว่า ในการจัดซื้อ ทร.ไม่ได้เน้นไปที่ตัวเรืออย่างเดียว แต่เน้นที่ “ระบบการรบ” ด้วย โดยเรือฟริเกตลำนี้ใช้ยุทโธปกรณ์ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก สามารถทำงานร่วมกับเรือรบของกองทัพเรือได้หมด และสามารถทำงานร่วมกับกองทัพอากาศได้ โดยเฉพาะเครื่องบินแจ้งเตือนภัยทางอากาศ รุ่น SAAB-340 ที่จัดซื้อมาพร้อมกับเครื่องบินขับไล่ รุ่น Gripen
“เครื่องบินซาบ 340 สามารถถ่ายภาพได้ชัดเจน และสามารถชี้เป้าให้เรือฟริเกตปฏิบัติการได้ เหมือนการชี้เป้าให้เครื่องบินกริพเพน ซึ่งเหมือนเป็นการนำระบบของกองทัพอากาศมาตั้งไว้ในเรือ และเป็นการรบแบบ 3 มิติ โดยสมบูรณ์”
ผู้เชี่ยวชาญคนเดิมยังเผยถึง 4 ภารกิจหลักในการจัดซื้อเรือฟริเกตครั้งนี้ คือ 1.การปฏิบัติการปราบปราม “เรือดำน้ำ” ซึ่งถือเป็นปัจจัยอันดับแรกที่กองทัพเรือมีความต้องการ 2.การปฏิบัติการป้องกันภัยทางอากาศ 3.การปฏิบัติการยิงเรือผิวน้ำ และ 4.การปฏิบัติการรบบนชายฝั่ง กรณีที่มีปัญหากับเพื่อนบ้าน
“ทั้ง 4 ภารกิจถือว่ามีความสำคัญ และการเลือกบริษัทของเกาหลี เนื่องจากตอบสนองให้แก่กองทัพเรือมากที่สุด โดยเฉพาะปฏิบัติการปราบปรามเรือดำน้ำ เพราะปฏิบัติการจะต้องเงียบที่สุดเหมือนกับเป็นการย่องเบาไปปฏิบัติการ ซึ่งเรือฟริเกตลำนี้ถือว่าปฏิบัติการได้เงียบมาก”
ปัจจุบันรอบบ้านเรามีเรือดำน้ำกันหมดแล้ว แต่เราไม่มี จึงจำเป็นต้องจัดซื้อเรือปราบเรือดำน้ำ ซึ่งจัดการซื้อลำเดียวไม่เพียงพอ อย่างน้อยต้องมีเรือฟริเกต 2 ลำ เพราะเรือรบจะต้องหาเป็นคู่ ไม่ใช่ลำเดียว ถ้าจะให้ดีจะต้องมีถึง 3 ลำ เพื่อเตรียมพร้อมในการปฏิบัติการ 24 ชั่วโมง และการที่จะมีเพียงลำเดียวทั่วโลกเขาไม่ทำกัน” ผู้เชี่ยวชาญคนเดิม กล่าวย้ำ
———————
(หมายเหตุ : ‘เรือฟริเกต’เมดอินเกาหลี เขี้ยวเล็บปราบ’เรือดำน้ำ’ : ตะลุยกองทัพ โดยทีมข่าวความมั่นคง)
ขอบคุณมากครับป๋าจูลสำหรับบทความ
เน้นปราบเรือดำน้ำอันดับแรก
อันดับสอง ป้องกันภัยทางอากาศ
ยิ่งชักสงสัยว่า 8 cell แรกนี่จะเป็น K-VLS หรือ Mk-41 มาก่อน 5555555 เพราะ K-ASROC ท่าทางจะต้องรีบใช้ก่อนเพื่อน ว่าแต่ K-SAAM นี่ระบบของ SAAB สามารถรองรับการใช้งานได้เหมือนของ Thales หรือไม่ครับ อันนี้ไม่ทราบจริงๆ
สำหรับในอนาคตถ้าต้องการ Upgrade เพื่อภาระกิจที่สอง ภาระกิจที่สองนั้น คงจำเป็นต้องใช้งาน VLS ไม่น้อยกว่า 16 cell คือ มีการติดตั้ง ESSM + SM2 สัดส่วนจะเท่าไรก็ว่ากันไปอีกที และต้องใช้ Mk-41 เท่านั้น ดังนั้นเรือนี้ขั้นต่ำก็ควรจะใช้งาน 24 cell ซึ่งจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดาดฟ้ายกเต็มที่ทั้งหมด ฟาลังก์จะยังสามารถอยู่ที่เดิมได้หรือ........หรือจะติดตั้งแบบที่ป๋าจูลเสนอ แต่ท้ายเรือจะบอด เพราะมีแค่ Nulka แหง๋ๆ ขณะที่หน้าเรือมีทั้ง 76 mm ฟาลังก์ Nulka และอาจจะมี K-SAAM อีก โหเพียบ.........ดูแล้วไม่สมดุลกันเลย แต่ถ้าฟาลังก์ไปอยู่ด้านท้าย เสริม Nulka แล้วด้านหน้าปล่อยให้ 76 mm nulka และอาจจะมี K-SAAM ด้วย น่าจะสมดุลกว่ามากครับ
สรุปยังไงด้านท้ายควรมี ฟาลังก์ป้องกันเพิ่มจะดีกว่า
ผมสงสัยนเหมือนๆกัครับว่า ถ้าจะต้อง upgrade วันข้างหน้าและต้องใช้พื้นที่ติดตั้ง VLS มาก ทำไมไม่เอาฟาลังก์ไปวางด้านหลังแต่แรก ปล่อยพื้นที่ดาดฟ้ายกให้โล่งๆเอาไว้ แล้วติดตั้ง SATCOM ที่หลังเสากระโดงไปซะทีเดียวให้จบ นั่นดิ.............
ว๊ายยย ตายแล้ว ผมใช้ตัวย่อผิดอ่ะ ขอโทษด้วยคร๊าบบบ หลวงพี่ ผมจะบอกว่า ทร.น่าจะจัดหาเจ้าปืน STRALES ครับ แต่ดคนไปให้ตัวย่อ SR เห้ออออ สุดท้ายถ้าไม่ได้เจ้า STRALES มาแต่ได้เจ้า SR มาจริงๆก็ขอให้ทำให้มันเป็นCIWS ได้ด้วยแล้วกันครับถ้าไม่อย่างนั้นก็คงต้องเก็บฟาลังซ์ไว้หน้าเรือแล้วไปหาพื้นที่อื่นติดแท่น VLS เพิ่มเติมแทนแล้วกันครับ แต่ผมสงสัย ถ้าไม่หวังให้ปืน 76 มม เป็นCIWS แล้วเอาฟาลังซ์มาไว้ข้างหน้าเรือตามโมเดล แล้วเรือมันจะสเตลส์ได้อย่างไร ในเมื่อฟาลังซ์มันตั้งโด่เด่เด่นสง่าขนาดนั้น ไม่ต้องทำป้อมเสตลส์ก็ได้มั๊งครับ เพราะอย่างไรมันก็สะท้อนคลื่นเรด้าร์อยู่แล้ว ผมก็ยังเชื่อใจผมอยู่ครับว่าท้ายสุด ทร.จะต้องย้ายฟาลังซ์ท้ายเรือแน่นอน แต่ถามว่าแล้วทำไมถึงได้เอาฟาลังซ์ไปไว้หน้าเรือแต่แรก แทนที่จะติดที่ด้านหลังมาเลย คงเป็นเพราะว่า ทร.คงจะยังไม่จัดหากระสุนDART และ SM2 มาเลยแล้ว8ท่อ VLS คงใช้เพื่อยิง ASROC มากกว่าที่จะบรรจุ ESSM เพราะเรือเน้นปราบเรือดำน้ำ คงจะหวังพึ่งESSM จากเรือชุดนเรศวร ในการป้องกันตัวไปพลางๆก่อน ดังนั้นในเมื่อไม่ได้บรรจุ ESSM ก็คงยังต้องคงเจ้า ฟาลังซ์ไว้ที่หัวเรือก่อนเพื่อป้องกันสะพานเดินเรือที่สำคัญกว่าท้ายเรือ ส่วนท้ายเรือก็เอาเจ้า DS30M ถูๆไถๆเป็นCIWS เทียมไปพลางๆก่อน (โดนเข้าจริงก็คงไม่รอด) จนกว่าจะจัดหาเจ้าSM2 และแท่น Mk41 VLS เพิ่มเติมครับ
ผมว่าเรือฟรีเกตใหม่ลำนี้ ทำไมไม่ขยายดาดฟ้ายกออกไปให้พอติดตั้ง VLS ตามแนวยาวให้ได้ 32 cell ไปเลยแต่แรก หรือคาดว่าเงินไม่พอ....5555......สงสัยเรื่องนี้จริงๆ.....55555... แซวเล่น แต่จริงๆน่าจะมาจากต้องการมุมยิง 76 mm ให้กว้างมากที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ เพื่อคลุมพื้นที่ท้ายเรือที่ไม่มี CIWS
ดูภาพเปรียบเทียบ KDX-2 กับ เรือฟรีเกตใหม่ จะเห็นว่าลุ้นได้ว่าสามารถเจาะช่องใต้ดาดฟ้าเรือเพิ่มให้ได้ 32 cell แน่ๆ แล้วขยายดาดฟ้ายกยาวออกมาอีกสัก 2-3 เมตรคลุมเต็มพื้นที่จรดกาบเรือสองข้าง คล้ายเรือชั้น Lafayette ก็น่าจะพอเพียงสำหรับ 32 cell สบายๆ โดยไม่ไปบังมุมยิงของ 76 mm มากนัก ซึ่งเรือ Lafayette ดาดฟ้ายกนั้นไปบังมุมยิงปืนเรือหลักด้านข้างเยื้องหลังจนหมด
ดูจากการติดตั้ง 76 mm ของเรือใหม่เรา กะจะให้มีมุมยิงกว้างที่สุดเท่าที่จะกว้างได้คลุมไปถึงด้านหลัง เลยต้องลดขนาดพื้นที่ดาดฟ้ายกทำให้ติด VLS ได้ลดลง แต่ถ้าเอาฟาลังก์ไปวางข้างหลังเสีย ให้ฟาลังก์รับภาระด้านท้ายเรือไป เราก็สามารถลดมุมยิง 76 mm ลงไปได้บ้างเพื่อสามารถเพิ่มพื้นทีดาดฟ้ายกให้ได้ถึง 32 cell ไม่ยากครับ
ถึงแม้จะได้ตัว 76 mm super rapid มาก็สามารถใช้เป็น CIWS ได้ครับน้องท๊อป แต่จะใช้ได้แค่กระสุน PFF ยิงต้านได้ที่ระยะ 6 กิโลเมตรเลย ถ้ายังหลุดมาอีกคงต้องพึ่ง Nulka หรือ ฟาลังก์ท้ายเรือช่วยอีกทีได้ครับ
ปล. ปรับปรุงอีกครั้ง คงต้องใช้เงินอีก 3,000 พันล้านสำหรับ VLS 16 cell และ CEA-MOUNT/FAR และอีกสัก 1300 ล้านสำหรับ ESSM + SM2 แต่อยากจะให้ทำดาดฟ้ายกให้เต็มสำหรับ 32 cell ไปเลยด้วยดีกว่าครับ
ปล. 2 เพื่อนท่านใดเก่งตัดต่อภาพ รบกวนทีนะครับ แบบลบฟาลังก์กะ SATCOM ออกไปจากที่เดิม เอาฟาลังก์ติดท้ายเรือ แล้วเอา SATOC มาวางหลังเสากระโดงหลัก ขยายพื้นที่ดาดฟ้ายกออกไปอีกสัก 2 เมตรเต็มกาบเรือสองข้าง ไม่เว้าๆแหว่งๆแบบนี้ เอาภาพ VLS 32 cel ตามแนวยาวl แปะลงไป 5555...... นั่นล่ะครับที่ผมอธิบายมาทั้งหมด
สอบถามหน่อยครับพี่นี่โอ แล้วพี่คิดว่าระยะ6 กม.นี่ปืน Super Rapid จะเอาอยู่หรอครับ เพราะแค่6 กม.เนี่ยมันไม่ได้ไกลเลยสำหรับ SSM ไม่ถึงนาทีด้วยมั๊งครัง ขอดูหน้าตาเจ้ากระสุน PFF กับ เจ้า Volcanoหน่อยครับว่าหน้าตาเป็นอย่างไร หารูปในgoogle ไม่เจอครับ เจอแต่กระสุนDART ครับ เสียดายมากถ้าไม่ได้STRLEST กับกระสุนDART มาจริงๆ พี่นีโอครับ ขอสอบถามเพิ่มเติมหน่อยครับ ไอ้เจ้า 76/62 OTO MELARA ป้อมกลมๆที่เราใช้เป็นปืนหลักกับเรือเกือบทุกแบบของเราเนี่ยครับ ทั้งอ่างทอง ปัตตานี รัตนโกสินทร์ เรือตรวจการณ์ปืนต่างๆ มันเป็นเจ้า OTO รุ่นไหนครับมีความสามารถด้านใดได้บ้างครัว ใช้เป็นCIWS ได้มั๊ย มันดีอย่างไร ทร.ถึงได้เลือกเป็นปืนหลัก แทนที่จะเลือกปืนใหญ่แบบของ เรือชุดนเรศวรครับ เพราะผมคลิปการยิงเจ้า76 มม นเรือชุดรัตนโกสินทร์แล้วก็ไม่เห็นว่ามันจะยิงเร็วอะไรมากมายเลยครับ แล้วถ้าเจ้า SUPER RAPID ยิงได้ในอัตราเดียวกันนี่จะพอเอาอยู่หรอครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับพี่นีโอ
55555.......55555......คำถามสั้นแต่ตอบยาวเลยครับน้องท๊อป เผอิญได้ไปอ่านในเวปของ Thai defense news มาก่อนก็เลยสนใจข้อมูลของ 76 mm OTO ตัวนี้มาก ครับ ทางเวปบอร์ดนั้นให้ข้อมูลเกือบครบ ขาดแต่รุ่น STRALES ไปเท่านั้น ซึ่งอ่านเสริมได้้ที่ วิกิพีเดียครับ ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://thaidefense-news.blogspot.com/2011/09/7662-oto-melara.html
เครดิต thaidefense news ครับ ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ Thaidefense เอื้อเฟ้อให้พวกเราอ่านด้วยครับ
ปล. รุ่น compact น่าจะเป็นตัวเดียวกับ mark 75 ที่ทร. อเมริกันใช้นะครับ ถ้าผิดอย่างไรก็ขออภัยด้วย
super rapid ของเรือชั้นปัตตานีน่าจะสามารถยิงกระสุน PFF และอาจจะทำการยิงกระสุน vulcano ได้นะครับ อำนาจการยิงดีทีเดียว ทร.เลยติดใจ หวังว่าเรือใหม่ควรจะได้ STRALES นะครับ จะสุดยอดมาก
แวะไปเที่ยวเว็บเพื่อนบ้านมาท่านfatboyเข้ามาใบ้หวยอีกแล้ว คล้ายๆกับที่ผมเคยมั่วไปในกระทู้ที่3 จะว่าไปผมก็มั่วไปหมดจนครบทั้งลำเรือแล้วนะเนี่ย เหอๆๆๆ
ถ้าเป็นจริงแบบนี้สบายใจได้ อาจจะ 1 MK41และ1 K-VLS แยกกันคนหละตำแหน่ง หรือจะเป็น2 MK41,1MK41+2MK56อะไรก็ว่าไปเถอะ แค่มีจุดติดตั้งเพิ่มเติมโดยไม่ต้องวุ่นวายผมก้สบายใจแล้ว
วัดจากประตูเล่นๆ
น่าจะยาวไม่ต่ำกว่า 12-13ม. ไว้ได้ 3แถวรวดเลยนะนั่น
76mm HE-PFF
http://www.diehl.com/fileadmin/diehl-defence/user_upload/flyer/Cartridges_76_mm_0809.pdf.pdf
เข้าไปอ่านมาแล้วครับพี่นีโอ ขอบคุณสำหรับlinkนะครัว ถือว่าเป็นปืนที่มีความสามารถใช้ได้เลย เ็กพริกขี้หนู ผิดกับหน้าตาจริงๆ จริงๆผมไม่ค่อยชอบหน้าตาโดมปืนเลย เหมือนคนหัวล้านยังไงๆก็ไม่รู้ อิอิ ถ้าเพิ่มลำกล้องเป็น100 มม คงจะแจ่มกว่านี้ ถึงได้ว่าทำไม ทร ถึงเลือกเป็นปืนหลักของเรือ ถ้าปรับเปลี่ยนหน้าตาให้ทันสมัยอย่างรุ่นใหม่ๆอย่าง super rapid คงจะเทส์น่าดู แต่ก็ชดเชยด้วยคุณภาพครับ อย่างว่าซื้อมารบไม่ได้เอาไว้โชว์ก็พอเข้าใจครับ ก็ขอภาวนาให้ปืนใหม่เป็น strlest พร้อมกระสุนDART ด้วยเถ๊อะเจ้าพรคุณเอ้ยยย
ตามการ แหย่ข้อมูล ของท่าน FaBoy ก็ค่อนข้าง แปลกใจว่า ระบบ VLS ที่ฝังบนดาดฟ้าเรือ ติดตั้งอยู่ภายที่มีผนังปิดแบบนั้น...
สงสัยอยู่ว่า ถ้ามีการยิงระบบ VLS ประตูข้างลำเรือ ก็ต้องเปิดออกด้วยหรือเปล่า...กรณี กำลังพลที่ ปฏิบัติบนดาดฟ้าเรือ ในบริเวณส่วนนั้นของเรือ อาจจะต้องมีเครื่องแบบกันความร้อน เหมือน ทร.อังกฤษ หรือเปล่าหนอ ?
ระบบการรบ 3 มิติ ก็น่าจะเป็น
ถ้าจะวางMk41หีือK-VLS คงจะวางไว้แบบAnzac classมั้งครับ วางคิดกับปล่องควันของเรือ 8cellsก็ไม่ได้ใช้พื้นที่มากนัก
อีกรูป
จิ้นกันไปใหญ่เลย ลืมอะไรกันไปหรือเปล่า เรือยางที่วางบนแท่นด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอาจเป็นแค่เครนยกเรือก็ได้นะครับ -.-'
อาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้ครับ (ตัวอย่างการติดตั้งเครนบนเรือ Formidable)
ปล. แต่ใจจริงน่ะ ขอให้ผมเงิบทีเถอะนะ...ได้โปรด
เรือจีน เรืออินเดีย และเรือสวีเดนนำเรือเล็กลงจากเรือใหญ่โดยใช้เครนตัวเล็กๆแบบในภาพ เรือformidable ของสิงคโปร์โดยปรกติมีเรือเล็กแค่ลำเดียว(ด้านขวา)เอาเรือลงโดยใช้เครนเล็กเหมือนคนอื่นเขาเช่นกัน แต่บังเอิญเขาต้องการบรรทุกเรือเล็กเพิ่มอีก2ลำในที่ว่างกลางเรือซึ่งไม่มีการเจาะช่องเอาไว้จึงต้องติดเครนขนาดใหญ่มากเพื่อยกเรือให้ข้ามตัวถังไปด้วยเท่านั้นเอง เรือของเรามีช่องให้เรือเล็กออกครับสบายใจได้อีกด้านหนึ่งของเราจึงว่างสามารถติดตั้งอะไรก็ได้ตามใจเจ้าของเงิน ลองคิดดูนะครับว่าเอาเรือออกแบบในภาพผมหรือยกเรือจนสุงปี๊ดข้ามตัวถังอย่างไหนจะปลอดภัยกว่ากัน
มาชมภาพการยิงจรวดจากเรือรุปทรงstealthกันนะครับ เดนมาร์คส่งเข้าประกวดถ้าเห็นแค่ภาพสุดท้ายจะคิดว่าเรือโดนยิงอย่างแน่นอน ในดีมีเลวในเลวมีดีอยากได้เมียสวยก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนกันหนักหน่อยหละครับ
นั่นแหล่ะครับที่ผม ค่อนข้างแปลกใจ...ตามภาพการยิง K-ASROC ประกอบ แรงขับของเชื้อเพลิง...ในบริวณนั้น มีทั้ง แท่นยิง ตอร์ปิโด...มีเรือ RHIB และอยู่ในบริเวณปิด ไม่เป็นพื้นยกสูง ปล่อยโล่ง เหมือนเรือลำอื่น ๆ...
ที่ตรงนั้นจึงอาจจะติดแค่MK-56 สำหรับESSM 12-24นัดที่จรวดมีขนาดเล็กและไม่พ่นไอเสียอย่างรุนแรง ส่วนSM-2(ถ้าติด)และจรวดปราบเรือดำน้ำคงต้องใช้8ท่อด้านหน้าเหมือนเรือลำอื่น นั่นหมายถึง VL-ASROC จะมาเสียมากกว่า(ดึงมาเรื่องนี้อีกแล้ว)
แต่ถึงอย่างไรเรือเราก็มีSSMติดอยู่ตรงนั้นอยู่ดี อยากรู้ว่าส่งผลมากน้อยแค่ไหนให้สิงคโปร์ซ้อมยิงจรวดโดยมีเรือยางอยู่ข้างๆ2ลำด้วยน่าจะเห็นผลชัดเจนเลยนะครับ เหอๆๆๆ
ปล. dtac สัญญานหายไปเลยโทรเข้าออกไม่ได้ซักนิด มันเกิดอะไรขึ้นกันเนี่ย
เรื่องท่อยิงตอร์ปิโด เรือฟริเกตรุ่นใหม่จากยุโรปอย่างAbsalon classภาพบนและFridtjof Nansenภาพล่างได้สร้างห้องไว้ต่างหากแยกออกไปเลย ตอร์ปิโดรุ่นใหม่ทันสมัยมากสามารถวิ่งไปหาเป้าหมายได้เองโดยที่เราไม่ต้องยิงตรงๆเข้าใส่ แต่เรือของเราก็ยังไม่น่ามีอยู่ดีแหละครับเทคโนโลยีหลายเรื่องต้องยอมรับว่าเอเชียยังตามไม่ทัน
แบบเรือ Avante ที่ Navantia สเปนเสนอ
ภาพจากคุณ MiCro
พอเห็นแล้วคะแนนเรือเกาหลีในใจผมก็ลดไปอีกระดับหนึ่ง
ถ้าจำไม่ผิด แบบเรือ สเปน ก็มาเป็นลำดับ 2...
โดยสุดท้าย ตัดสินกันด้วย ความสามารถปราบเรือดำน้ำของแบบเรือเกาหลี...
จึงเป็นที่มา ในความเห็นของหลาย ๆ ท่าน...ว่า มันน่าลุ้นจะมี K-VLS มาด้วย...
ส่วนในเรื่องระบบ ขับเคลื่อน ที่ว่ามีความเงียบ...ก็ไม่รู้ว่า เรือของ สเปน จะใช้ระบบขับเคลื่อนแบบเดียวกันหรือไม่...
ถ้าใช่แบบเดียวกัน ก็ดู สูสี กันมาก...
ผมว่ารูปแบบและโครงสร้างของเรือ ของสเปนมันสวยกว่าก็จริงแต่ข้อเสียก็คือมันมีรายละเอียดเยอะมากเกินมันเมื่อเทียบกับเรือของเกาหลี ถ้าเรือที่มีรูปแบบรายละเอียดหรือเหลี่ยมเยอะเกินมันอาจจะมีผลทำให้การ Stealth ลดลงเมื่อเทียบกับเรือของเกาหลีที่มีรูปแบบการ design ที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย อีกทั้งทางเกาหลีมีเทคโนโลยีในเรื่องของ K-VLS ASROC ดังนั้นมันจะช่วยทำให้เรือใหม่ของเรามีความสมบูรณ์แบบในเรื่องการปราบเรือดำน้ำแบบสูงสุด ในขณะที่ทางฝั่งสเปนไม่มีเทคโนโลยีดังกล่าว ครับ
ภาพบนเรือเวเนซูเอล่า ภาพล่างเรือเราด้านหน้าผมทำเองแต่เสากระโดงน่าจะหนาและยาวกว่านี้นะ
วิจารณ์ในเชิงลบนิดๆ ลานจอดและโรงเก็บเหมือนกันทุกอย่างแค่เปลี่ยนCIWSมาเป็นฟาลังซ์ ตอนกลางเรือปรับปรุงใหม่เยอะมาก Ceros200ต้องตั้งให้สุงกว่าฟาลังซ์แล้วยังมีEOS500ที่อยู่สุงกว่าอีก เสากระโดงหลังที่ติดเรดาร์ระยะไกลดันมีเสาTacanโผล่ขึ้นมาบังอีก1ต้น ปืนรองDS-30Mอยู่ห่างฟาลังซ์ไม่กี่เมตรส่วนเรือเล็กอยู่สุงมากจนต้องใช้เครนใหญ่ยกลง(แต่ก็ดีไม่ต้องเจาะช่องใหญ่ข้างเรือ) VLS1หน่อย8ท่อแบบไม่ต้องเดาถ้าตัดเรดาร์ตัวหลังออกไปจะเป็นคู่แข่งSigma10514ของอินโดได้อย่างสูสี
วิจารณ์ในทางดี ตัวเรือสวยมากออกแบบได้สมดุลทั้งหน้า-หลัง เสากระโดงไม่หนามากปล่องท่อไอเสียแบ่งเป็น2ปล่องใหญ่ช่วยลดความร้อนและทำให้เรือดูใหญ่ตามไปด้วย ภาพรวมดูเป็นเรือฟริเกตแท้ๆที่ไม่ใช่เอาเรือเล็กมาขยายร่าง การจัดสรรพื้นที่ทำได้อย่างชาญฉลาดนั่นเป็นเพราะแบบเรือที่ดีและประสบการณ์ของอู่ที่มีมายาวนาน คนทำภาพทำได้สวยมากครับเทียบกับภาพเรือเกาหลีที่เห็นแล้วปวดหัวตึ๊บเลย
เพียงแต่ไม่ทราบระวางขับน้ำ ยาว กว้าง เท่าไหร่เลยเปรียบเทียบกับเรือเกาหลีตรงๆไม่ได้ เรือเวเนซูเอร่ายาว98.9 กว้าง13.6เท่ากับสั้นกว่าเรือเกาหลี24เมตรแคบกว่า80เซนติเมตร ผมมั่วๆจากภาพเรือสเปนของเราน่าจะยาวประมาณ120เมตรแต่ไม่รู้เพิ่มความกว้างได้หรือเปล่านะครับ Up size Frigate กับ Renovate Frigate มันดีไปคนหละแบบแต่ระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำเป็นตัวช่วยให้เรือเกาหลีเข้าวิน
เรือของสเปนดูเข้าท่ามากเลยนะครับ เสียแต่พื้นที่ติดตั้ง VLS สามารถเพิ่มเติมอย่างเก่งก็ได้ 16 cell เท่านั้น และยังต้องพึ่งพา VL-ASROC ก็คงที่ทางเกาหลีเสนอ K-ASROC มาด้วยมั๊งจึงน่าจะเป็นตัวตัดสิน
สำหรับข่างวงในที่ท่าน Fatboy มาแอบบอก ผมว่าเป็นแนวคิดที่ดีของทร.นะครับ
K-VLS มาก่อนเพื่อน รองรับ K-ASROC ทำให้เรือมีระบบต่อต้านเรือดำน้ำพร้อมที่สุดในอาเซียน สมราคา และราคาทั้ง K-VLS และ K-ASROC ก็น่าจะถูกกว่า MK-41 VL-ASROC ด้วย
และเพื่อทำการยิง ESSM ได้ ทร. อาจเลือกติดตั้ง Mk-48/56 2 แท่นยิง 24 ท่อ ถ้าตังค์ไม่พอ เอาแค่ 1 แท่น 12 ท่อยิงไปก่อนได้ และระบบ Mk-48/56 น่าจะถูกกว่า Mk-41 พอควรทีเดียว แถมไม่ต้องมาเสียค่าอะแดปเตอร์สำหรับใส่ ESSM และมีส่วนเคลื่อนไหวน้อย น่าจะซ่อมบำรุงง่ายกว่ากันมาก ติดตั้งง่ายกว่า ถิดถอนง่ายกว่า
เท่านี้เรือก็สามารถยิงได้ทั้ง ESSM และ K-ASROC ได้ โดยไม่ต้องใช้เงินมากมาย
ไว้มีตังค์พอ ค่อยติดตั้ง CEA-MOUNT/FAR และ Mk-41 16 cell เอาทีหลังได้เมื่อต้องการยิง SM-2 เตะโด่งฟาลังก์ไปไว้ข้างหลังแทน และจำนวนท่อยิงก็เพียงตามความต้องการเลยครับ เออเข้าท่านะ......
ปล. เมื่อกี้ลองวัดความกว้างยาวของ K-VLS กับ MK-41 ของรูปที่ป๋าจูลดาสลงเอาไว้ขณะยิง K-ASROC วัดหยาบๆได้ว่าความกว้างนั้น K-VLS แคบกว่า Mk-41 พอสมควร แต่พอวัดความยาว ปรากฎว่า K-VLS ยาวกว่า Mk-41 พอสมควรครับ
MK-41 คงมาแน่นอนอยู่แล้วครับ ตามภาพของ เรือจาก สเปน ก็ระบุอยู่ครับ...และคงใช้สำหรับ ESSM เป็นหลัก...แต่แท่นยิง MK-41 คงสามารถใช้ยิง VL-ASROC ได้ กรณีมีเพียง 1 ระบบ ตามภาพแบบเรือของ สเปน....
ตอนนี้ ก็คงอยู่ที่ว่า แบบเรือเกาหลี จะมี MK-41 ระบบเดียว หรือ จะมี K-VLS เพิ่มเข้ามาด้วย...
ส่วน SM-1 ในอนาคต....คงต้องมีการเพิ่ม ระบบ VLS แน่นอน ครับ...
ซึ่งก็เป็นไปตาม ข้อมูลของ ทร.
** เรือฟริเกต ได้รับ การออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุง ให้สามารถยิงอาวุธ ปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย
และสำหรับเรดาร์ ตรวจการณ์อากาศระยะไกล ท้ายเรือ...
ตามที่ท่าน MiCro ได้ประเมินว่า น่าจะเป็น Sea Giraffe ER โดยรูปแบบ Phased Array...
ในความเห็นส่วนตัวของผม...ตามความเข้าใจใน ณ ขณะนี้
ก็น่าจะเหมือนกับที่ ท่าน icy_CMU ได้เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่อง การยิง ESSM หรือ SM-2 พร้อม ๆ กันหลายลูกโดยใช้การเรียงลำดับ ของเป้าหมาย...โดยอาศัย FCS CWI เพียง 2 ระบบ...
ซึ่งจากแบบเรือของ สเปน จะสังเกตได้ว่ามี IFF หรือ ระบบพิสูจน์ฝ่าย ได้ติดตั้งอยู่บน ทั้ง เรดาร์อากาศ ระยะปานกลาง หน้าเรือ และ ระยะไกล ท้ายเรือ...
ในลักษณะการป้องกันภัยทางอากาศ และ ควบคุมทางอากาศ
1. Sea Giraffe ER (3DLRR) + Sensis radar System
ตรวจจับเป้าหมายอากาศ ตั้งแต่ระยะ 450 – 400 ก.ม. ลงมา (ตรวจจับเป้าอากาศทุกระดับพ้นระยะขอบฟ้า และตรวจจับ บ.ข.ได้ก่อนระยะการปล่อยอาวุธนำวิถี ที่ระยะ 50 ไมล์ทะเล (93 ก.ม.))
2. IFF บน 3DLRR แยกแยะ เป้าหมาย มิตร หรือ ศัตรู
3. Sensis Radar System + ADS-B ติดตามและจัดลำดับเป้าหมาย ขณะเข้าสู่ระยะยิงของ SAM แต่ละแบบ
4. ส่งข้อมูล เข้า 9LV Mk4 ทำการ uplink เข้า FCS CWI กำหนดปล่อย SAM ทำลายเป้าหมายเรียงตามลำดับ หรือ ส่งข้อมูลให้ Link G เข้าทำลาย หรือ ควบคุมเป้าหมาย
5. Sea Giraffe AMB จะเป็นระบบสนับสนุน และเป็นระบบตรวจจับ ป้องกันในระยะปานกลาง จนถึงระยะประชิด ให้กับตัวเรือ ทั้งเป้าอากาศ และเป้าพื้นน้ำ โดยสามารถช่วยเพิ่มการทำลายเป้าเรือผิวน้ำ ที่เป็นภัยทางอากาศและพื้นน้ำ พ้นระยะขอบฟ้า มาจนถึง ระยะประชิด
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ...ไม่รู้ของจริง เป็นอย่างไร...
http://www.defence.pk/forums/turkey-defence/99091-perry-class-frigate-mk-41-vls.html
จากข้อมูลขนาดของ MK41 เป็นไปได้มากนะครับที่ในรูปภาพโมเดลเรือจะไม่ใช่แค่ 8 cell ผมว่ามีความเป้นไปได้ที่จะมี 2-4 module
เพราะ ทางสเปคที่ทร.ประกาศมาก็ไม่ได้ระบุจำนวนใว้ยกเว้น 8 cell for essm
VLS with capabilities of
+ 8 x Canisters (max 32 ESSM)
+ Vertical Launch Anti-submarine Rocket (VLA)
+ Nulka Active-off board ECM
+ SM2**
1 x 76/62 Stealth Shield, Multi feeding system
(max range 40-45 kmwith smart ammunition)
2 x30 mmGuns (200 RPM)x CIWS (4,500 RPM)
2 x.50 inch(Range;2 km)
2 x Trainable Triple tube torpedo launchers
เอารูปมาเพิ่ม ทำขยายได้เท่านี้ 5 5 5 5
เพิ่ม
อยากอ่านข้อมูลบนบอร์ดนั่นจังเลยครับ คงไม่ต้องเดากันหลายรายการเลยล่ะครับ
ขอบคุณมากครับท่าน speci จากข้อมูล
1 modul 8 cell ยาว 103 นิ้ว กว้าง 135 นิ้ว หรือ ยาวประมาณ 2.6 เมตร และกว้างประมาณ 3.4 เมตร ผมว่ากว้างยาวน่าจะสลับกันนะ น่าจะยาว 3.4 เมตร กว้าง 2.6 เมตร มากกว่า
สรุป 1 modul 8 cell น่าจะ กว้าง 2.6 เมตร ยาว 3.4 เมตร
2 modul 16 cell ยาว 103 นิ้ว เท่าเดิม(แปลก) กว้าง 249 นิ้ว หรือ ยาว 2.6 เมตร กว้าง 6.23 เมตร ผมว่ามันแหม่งๆนะครับ ถึงจะกลับกันให้มันเป็น กว้าง 2.6 เมตร ยาว 6.23 เมตร ผมก็ว่ามันไม่น่าจะถูก เพราะในภาพ 16 cell นั้น ด้านความยาวของ 8 cell จะกลายเป็นความกว้างของ 16 cell แทน ดังนั้น
ผมว่าที่ถูกน่าจะเป็น กว้าง 135" หรือ 3.4 เมตร (เท่ากับความยาว 1 โมดูล) แต่ยาว 6.23 เมตรมากกว่า
แล้วก็ไม่ได้บอกว่าวางเรียงตามขวาง หรือเรียงตามยาว ไม่มีภาพ 16 cell ประกอบด้วย งง.....
เอางี้แล้วกัน ใช้ 1 modul เป็นตัวยืน กว้าง 2.6 เมตร ยาว 3.4 เมตร
เรียงตามขวาง เอาด้านยาวมาต่อกันได้ความยาวรวมเท่ากับ 2 X 3.4 = 6.8 เมตร กว้าง 2.6 เมตร เท่าเดิม
เรียงตามยาว (แบบที่เรือญี่ปุ่นมันวาง) ความยาวของ 1 modul จะกลายเป็นความกว้างของ 2 modul 16 cell คือ
กว้างของ 2 modul 16 cell จะเป็น 3.4 เมตร
ยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง 1 modul เท่ากับว่า ยาว 2 X 2.6 = 5.2 เมตร เล่นง่ายๆเลย
สรุป 2 modul 16 cell กว้างประมาณ 3.4 เมตร ยาว 5.2 เมตร
4 modul 32 cell ก็ยังคงกว้าง 103" หรือ 2.6 เมตรอีก ผมว่าข้อมูลแผ่นนี้ผิดแล้วครับ
และจาก 2 modul 16 cell ด้านยาวของ 2 modul 16 cell น่าจะกลายเป็นความกว้างของ 4 modul 32 cell มากกว่า
ดังนั้น ด้านกว้างของ 32 cell น่าจะเป็น 5.2 เมตร
และด้านยาวของ 4 modul 32 cell น่าจะเป็น 2 เท่าของด้านกว้าง 16 cell นั่นคือ 2 X 3.4 = 6.8 เมตร
สรุป 32 cell น่าจะ กว้าง 5.2 เมตร ยาว 6.8 เมตร
ใครเป็นคนถ่ายรูปพวกนี้ กรุณากลับไปอีกรอบ เอากล้องไปจ่อใกล้ๆถ่ายด้วยความละเอียดสูงสุดแล้วนำกลับมาโฟสด้วยเถอะครับ จะเป็นพระคุณยิ่ง อิอิ แต่ผมมีลาง..ว่า มันจะมาด้านหน้าเรือ 16 เซลพอดิบพอดี ไม่มีเพิ่มมีลดตรงตำแหน่งนั้น
ปล.ทำไมช่วงนี้คิดถึงคุณพี่ กบอีกแล้ว ถ้าแวะมาอ่านบ้างแสดงตัวให้ชื่นใจหน่อยครับพี่
ตามสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต กําหนดให้บริษัท DSME ดําเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการออกแบบ
การวิศวกรรมและการต่อเรือ (Engineering and Construction) รวมทั้งการวางแผนและบริหารโครงการให้แก่
กําลังพลของ ทร. และอู่เรือเอกชนของไทย จํานวนรวมถึง ๑๔๗ นาย โดยเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระยะที่ ๑ ซึ่ง
เป็นการถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติพร้อมกับการสร้างเรือ
โดยบริษัท DSME ได้แบ่งการดําเนินการถ่ายทอด เทคโนโลยีออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ส่วนระยะที่ ๒ เป็นการต่อเรือร่วมกับอู่ต่อเรือภายในประเทศ โดยสร้างเรือส่วนหนึ่งในเกาหลีและมาประกอบขั้นสุดท้ายที่อู่เรือในประเทศไทย
และระยะที่ ๓ อู่เรือในประเทศ ต่อเรือฟริเกตได้เอง โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากบริษัท
อ่านเต็มๆ ได้ที่
http://www.navy.mi.th/sctr/frigate_news_3.pdf
NewFrigate
เทพีดอกประดู่กับรองอันดับ1เทียบกันแบบปอนด์ต่อปอนด์ มุมนี้ผมจิ้นไปถึงFridtjof Nansenเลยนะนั่น ตรงที่มี8ท่อเหมือนกันเป๊ะ 555
Sensor หน้าเรือ
เดา ว่า นะครับ...
มา จิ้น กันต่อว่า....ด้านหลัง Phalanx มันจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ ระบบ Phalanx...
หรือ เป็นอะไร ?
น่าจะเป็นส่วนประกอบของ phalanx ครับ
ใช่แล้ว ครับ เป็นระบบ อิเลคทรอนิค...
แต่เมื่อดูจาก CG ของ ระบบ Phalanx...อาจจะไม่ใช่ Block 1B..เพราะไม่มีกล้อง ติดมาด้วย...
ถ้าเช่นนั้น Phalanx หน้าเรือ ก็ไม่มีความสามารถ ทำลายเป้าผิวน้ำ ได้...ทำหน้าที่ เป็น CIWS อย่างเดียว...
หรือว่า CG ภาพ ยังไม่ได้ลงรายละเอียดในระดับนั้น...(แต่ก็ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น ในความเห็นส่วนตัว)
ผมว่าไม้ตายของเรือเกาหลี มันไม่ได้อยู่ที่อะไรหรอกครับ มันอยู่ที่การถ่ายทอดเทคโนโลยี เลยชนะเรือจากสเปนไป ส่วนPhalanx ผมว่าเค้าเอามาทำหน้าที่CIWS อย่างเดียวแหละครับท่าน จูดาส ที่ไม่ติดกล้องก็เพราะ เรามีMSI DS-30 อยู่แล้วอ่ะครับอีกอย่างปืนหลักก็ทำหน้าที่ทำลายเป้าผิวน้ำนี้แทนได้ด้วย นิครับ
ตามที่ท่าน randolph69 ยกข้อความในส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี่
ตามสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต กําหนดให้บริษัท DSME ดําเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการออกแบบ
การวิศวกรรมและการต่อเรือ (Engineering and Construction) รวมทั้งการวางแผนและบริหารโครงการให้แก่
กําลังพลของ ทร. และอู่เรือเอกชนของไทย จํานวนรวมถึง ๑๔๗ นาย โดยเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระยะที่ ๑ ซึ่ง
เป็นการถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติพร้อมกับการสร้างเรือ
โดยบริษัท DSME ได้แบ่งการดําเนินการถ่ายทอด เทคโนโลยีออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ส่วนระยะที่ ๒ เป็นการต่อเรือร่วมกับอู่ต่อเรือภายในประเทศ โดยสร้างเรือส่วนหนึ่งในเกาหลีและมาประกอบขั้นสุดท้ายที่อู่เรือในประเทศไทย
และระยะที่ ๓ อู่เรือในประเทศ ต่อเรือฟริเกตได้เอง โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากบริษัท
ก็พอจะสรุป ในความเห็นส่วนตัวของผม เป็น
ระยะที่ ๑ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติพร้อมกับการสร้างเรือ ( เรือฟริเกต ลำที่ 1 สร้างที่ อู่เรือ เกาหลี ทั้งลำ)
ระยะที่ ๒ เป็นการต่อเรือร่วมกับอู่ต่อเรือภายในประเทศ โดยสร้างเรือส่วนหนึ่งในเกาหลีและมาประกอบขั้นสุดท้ายที่อู่เรือในประเทศไทย ( เรือฟริเกต ลำที่ 2 สร้างตัวเรือเป็น Block ๆ แล้วนำมาประกอบที่ อู่เรือในประเทศไทย และรวมถึงการติดตั้งระบบอาวุธต่าง ๆ ในประเทศไทย)
ระยะที่ ๓ อู่เรือในประเทศ ต่อเรือฟริเกตได้เอง โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากบริษัท ( เรือฟริเกต ลำที่ 3 สร้างโดย อู่เรือในประเทศ ทั้งหมด )
อาจจะมอง เป้าหมาย ของเรือฟริเกต ชุดนี้...ทร. อาจจะต้องการ รวมจำนวน 3 ลำ ก็ได้...
อ่อ...อ่านความเห็นท่าน speci ผมเพิ่งจะเข้าใจความหมาย
คือ การติดตั้ง 2 ระบบ กับ 4 ระบบ จะใช้พื้นที่ในการติดตั้ง เท่ากัน...
ดังนั้น ถ้าเรือชุดนี้ ต้องติดตั้งอย่างน้อย 2 ระบบ...การวางพื้นที่ก็ต้องใช้พื้นที่ ขนาด เท่ากับ 4 ระบบ อยู่แล้ว...
คาดว่าcg น่าจะไม่ได้ติดกล้องแต่ของจริงน่าจะเป็นBlock1B เพราะดูจากลักษณะโครงรอบลำกล้องแล้ว มันBlock1Bชัดๆ
ภาพประกอบ
แต่..ผมงง ทำไมมันถึงเท่ากับล่ะครับ Mk.41 VLS จำนวน 2 ระบบ กับ 4 ระบบ ขนาดมันต่างกันเท่าตัวเลยนะครับ ผมว่าข้อมูลน่าจะผิดพลาดมากกว่า ตัวเลขความกว้างความยาวเท่ากันเป๊ะ...เป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ
ข้อมูล4โมดูลน่าจะผิด ดูจากPDFต้นฉบับแล้ว ไม่สมเหตุผล แต่1-2โมดูลนั้น ตรงอยู่
น่าจะเป็นว่า ปัจจุบัน มีแบบ 1 โมดุล กับ 4 โมดูล...
โดยถ้าจะใช้เพียง 2 โมดูล จะต้องใช้ ฐานของ 4 โมดูล...
เพิ่มภาพประกอบ
murasame 2โมดูล ......
ภาพที่2 ข้อมูลจาก http://www.dtic.mil/cgi-bin/GetTRDoc?AD=ADA183944
น่าจะให้มิติชัดเจนกว่า .....แม้จะเป็นStrike length แต่ความกว้างยาวไม่ต่างกัน
เรือชั้น Murasame ใช้ MK-41 เฉพาะ VL-ASROC จำนวน 16 เซล ไม่ได้ใช้กับ SAM ด้วย...
ส่วน ESSM ใช้ MK-48 จำนวน 16 ท่อยิง...
เลยไม่รู้ว่า จำนวน 16 เซล ดังกล่าว ใช้ฐานแบบ 4 โมดูล หรือเปล่า ? เพราะในส่วน ดาดฟ้า บนฝา ท่อยิง จะปรับเปลี่ยนไปตาม เรือแบบต่าง ๆ เช่น F-217 ผิวด้านบน ก็จะราบเรียบ เหลือแต่ฝาเปิด...หรือ เกี่ยวกับ ระบบร่วมการยิงของ SAM กับ ASROC...
แต่เรือแบบใหม่ของ JMSDF ก็ใช้ แบบ 4 โมดูล ซึ่งใช้ยิงทั้ง SAM และ ASROC...ลักษณะการใช้ก็แตกต่าง ชั้น Murasame...
แต่ DDH-181 ก็ใช้แบบ 16 cell
โดยแบ่งเป็น ESSM = 16 กับ VL-ASROC = 12
จับจุด สังเกตุ จะเห็นว่า เรือของ ญี่ปุ่น แบบ 16 เซล จะวางแนว แบบแนวตั้ง ไม่วางแบบ แนวนอน เหมือน F-217 ของ เยอรมัน
เพิ่มเติมรูป
barbaros class
เฉพาะที่ติดกับเรือF-123(ที่สร้างในปี1992)ของเยอรมัน ข้อมูลบอกไว้วางเป็นรุ่น MK41 Mod3 ที่มีแต่รุ่น16ท่อตามยาว(แต่ขวางเรือ)แบบนั้นเท่านั้น หาหาข้อมูลเหมือนกันแต่ไม่เจอเลย MK-41 ยังมีรุ่น8หน่วย64ท่อ รุ่น8หน่วย61ท่อ(+1เครน) และ1หน่วย5ท่อ(+1เครน)ด้วย วุ่นวายดีแท้
ภาพ16ท่อของเรือญี่ปุ่นแบบใกล้ๆ(มีเอียงด้วย) เรือMurasameสร้างในปี1993ไม่รู้ตอนนั้นเป็นModไหน ส่วนของปัจจุบันMod15(ใช่ไหม) น่าจะมีขนาด 1หน่วย 4หน่วยแล้วก็8หน่วยนะครับ ถ้ามีเครนด้วยจำนวนท่อก็น้อยลง
Fridtjof Nansen ติด1หน่วย8ท่อเอียงขวาของเรือทีแรกผมคิดว่าเพิ่มได้อีก1หน่วย(เพราะภาพCGติดไว้16ท่อ) แต่เห็นคนนอร์เวย์บอกว่าติดเพิ่มได้ถึง3ในพื้นที่เท่านี้เนี่ยนะ ถ้าจะเอาแบบนั้นคงถอด1หน่วยออกแล้วใช้แบบ4หน่วยติดแทนหละมั้งครับน่าจะได้พอดี แต่เป็นเรือASW(ที่ติดเรดาร์ทันสมัยที่สุดในโลก)เขาก็คงไม่ติดเพิ่มมากไปกว่านี้แล้วหละ
lockheed MMC
16cell แนวนอน
ที่น่าสนใจคือมีแบบ4ท่อยิง (เดาว่าเป็นSCL-4ท่อ เพราะไม่มีventตรงกลางแถมฝาปิดใหญ่กว่าMk41ปกติ )
Barbaros Class ต่อในปี1992 ข้อมูลบอกไว้ว่า Barbaros is fitted with a Mk 41 Mod.8 vertical launch system for firing 16 Sea Sparrow surface-to-air missiles ตอนหลังมี2ลำที่อัพเกรดไปยิงESSMได้แทน
Type 123 Brandenburg Class ต่อในปี 1993 ข้อมูลบอกไว้ว่า A Lockheed Martin Mk41 mod 3 vertical launch system for 16 Nato Sea Sparrow medium-range surface-to-air missiles ยังไม่ได้อัพเกรดไปยิงESSM
แต่ Murasame หาไม่เจอว่ารุ่นอะไร The Mk41 VLS installed below the deck can fire RUM-139 VL ASROC (anti-submarine rockets).
สงสัยตอนนี้คงไม่มีรุ่น16ท่อขายแล้วมั้งครับไม่ว่าจะแนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม Mod 15คงมี 8แล้วไป32เลย ไม่อย่างนั้นก็เอา8+8 (แบบ lockheed MMC) แต่กินเนื้อที่ความยาวเยอะหน่อย
http://www.naval-technology.com/projects/brand/
http://www.naval-technology.com/projects/barbaros-class/
http://www.naval-technology.com/projects/murasameclass/
รูปที่ 1. เรือชั้น Meko 200 ของ ทร.นิวซีแลนด์ ติด MK-41 VLS แบบ 8 เซล คือ 1 Module ในส่วนของ ทร.ตุรกี จะเป็น 1 + 1 หรือเปล่า ?
รูปที่ 2. เรือชั้น DE Zeven Provincies จะเป็น 40 เซล ก็น่าจะเป็น 4 + 1
Lockheed ผู้ผลิตMk41 ยังเสนอแบบVLS 16ท่อ ในงานEuronaval 2012 อยู่
น่าจะยังผลิตอยู่นะ
คอนฟิก1+1 ดูจะเป็นไปได้เช่นกัน
แต่แบบ2โมดูล16ท่อ ทำให้ใช้ชิ้นส่วนบางชิ้นร่วมกันได้ เช่นระบบไฟฟ้า หรือ การwiring ที่ง่ายกว่า
เดาว่า เรือใหม่ มี8cellด้านหน้าค่อนข้างแน่
แต่จุดไหนจะติดเพิ่มได้อีก อันนี้จนปัญญาทีเดียว
การออกแบบให้ระบบมีลักษณะเป็นโมดูล ก็เพื่อความสะดวกและมีความอ่อนตัวในการติดตั้งดัดแปลงให้เข้ากันได้ ดังนั้นไม่น่าจะจำกัดว่าต้องเป็นโมดูลขนาดใหญ่ (4 ชุด) เท่านั้น นอกจากเรือลำนั้นๆ จะได้ออกแบบที่เผื่อรองรับการติดตั้งเพิ่มเติมได้ในอนาคต ที่จริงก็แค่ติดตั้งโมดูลเดี่ยวลงไป 2 โมดูล เชื่อมโครงสร้างเข้าด้วยกัน แล้วเชื่อมต่อระบบต่างๆ ก็เท่านั้น
ดูจากแบบของ MMC จำนวน 16 ท่อ...ก็น่าจะเป็น 1 + 1 คือ แบบ 1 Module จำนวน 2 ระบบ...วางแนว ตั้ง เช่นเดียวกัน...
หรือแบบ เรือของ ทร. ตุรกี ชั้น Barbaros ก็วางแบบ แนว ตั้ง เช่นกัน...ก็น่าจะเป็น 1 + 1...
ลองเปรียบเทียบขนาดกับ CIWS ของเรือชั้น barbaros...VLS จำนวน 2 ระบบ ก็ดูไม่ได้ใหญ่มากมาย อะไรนะครับ...
เทียบกับฟาลังซ์ก็ได้ครับ2หน่วย16ท่อตามยาวกว้างกว่าไม่มากเลย ของเราอาจติดก่อน1แล้วค่อยเพิ่มอีก1ทีหลัง
แต่เรือDDH-181ของญี่ปุ่นก็เพิ่งต่อไม่นานนี่นา16ท่อน่าจะยังมีขายอยู่ เพียงแต่เรือในภาพของเรานับได้8เห็นๆก็คงต้อง1+1ไปตามมารยาทที่ดี ไม่รู้16ท่อเลยจะถูกกว่า8+8มากน้อยแค่ไหนนะแต่ผมว่ามีบ้างซัก5-10เปอร์เซนต์หละน่า
กลับเข้าเวปอีกที สุดยอดมากครับ ....
ความเห็นของผม ผมตั้งข้อสังเกตุจากภาพ CG กับโมเดล ผมว่า VLS มันยาวกว่าตัวปืนเรือกับฟาลั้งนะครับ ขอยืมภาพคุณ superboy นะครับ จากภาพนี่จะเห็นว่าหากวางตามยาวขนาดจะพอๆกับตัวปืนใหญ่เรือ ผมมองว่า 2 โมดูลวางขวางเรือ 24 essm +6 v-asroc + 4 nulka
อุ๊ยเรือสเปน....กรี๊ด !! ถ้าตอนนั้นรู้ว่าNavantiaส่งน้องเต้เข้าประกวดจะทำให้แจ่มแจ๋วกว่านี้เลย
อวดโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ของเธอนิดจุได้10ตันสบายๆ แถมมอเตอร์ไซค์1คันกับโต๊ะตีปิงปองรุ่นมัดเก็บได้
ขอถามหน่อยครับ เรือหลวงกระบุรี และ สายบุรี ปรับปรุงใหม่ เป็นเรือฟริเกต สมรรถณะสูงแล้วใช่มั๊ยครับ เคยได้ยินมา แว๊ปๆ
และเรือชั้นสุโขทัย มีความสามารถพอที่จะเทียบเคียงเรือฟริเกตสมรรถณะสูงหรือไม่ครับ
รล.กระบุรี,รล.สายบุรี ปรับปรุงแล้ว ดีกว่าเดิม (เช่น อวป. ซี 802 บินได้ไกลกว่า) แต่จะเรียกเป็น ฟก.สมรรถนะสูงคงไม่ได้ เพราะเหตูผลหลายอย่าง เช่น แบบดีไซน์เก่า (ไม่สเตลท์) ระบบต่างๆ แม้ปรับปรุงแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเทพ ฯลฯ บลาๆๆๆ ถ้าเป็นนักมวย ก็ประมาณ รองอับดับ 4 จูเนียร์เฟเทอร์เวท (PABA ด้วย)...
รล.ชุดสุโขทัย เป็นคอร์แวต (ฟรายเวท) ตัวเล็กกว่า อาวุธครบมิติมากกว่า รล.กระบุรี/สายบุรี (เพราะมี "แอสปิเด้") แต่... เก่ามากแล้วเช่นกัน(ประจำการปี 29 มั้ง) จึงไม่อาจเรียกเป็น ฟก.สมรรถนะสูงได้เช่นกัน...
ถ้านำเรือชุดปัตตานี มาติด อวป.ฮาร์พูนสัก 4 ท่อยิง และ จรวดมิสทรัล ติดบนแท่นยิงซาดรัลอีก 1ระบบ คงจะดีไม่น้อย อุ่นใจขึ้นเยอะ
ว่าแต่ว่า ถ้าจะอัพเกรดเรือทั้งสองลำจะต้องใช้เงินเท่าไร และต้องติดเรดาร์ใดเพิ่มป่าวครับ
ผมจิ้นไปว่าDSMEนำแบบเรือของเราไปพัฒนาเพื่อขายต่อในชื่อรุ่นน้องตรีชฎา DW3500H ระวางขับน้ำสุงสุด3,350ตัน ยาว117.5เมตร กว้าง 14.4เมตร อุปกรณ์บนเรือใส่Samsung Thalesเข้าไปทั้งลำทั้งลำ ปืน76/62SR MK-41 8ท่อสำหรับESSM32นัด(เพิ่มได้อีก8) เรดาร์SMART-S MK2 ใช้FCSเป็น STIR 1.2 คุมปืนและESSM ด้านท้ายติดMilinum Gun เป็นCIWSและปืนรองโดยเพิ่มMiradorสำหรับควบคุมโดยเฉพาะ(หรืออยากประหยัดใช้STIRท้ายเรือคุมร่วมกับESSMก็น่าจะได้) ปืน12.7มมสำหรับยิงนก ใช้CMSเป็นTaticos ติดSagem Decoy 2-4จุดแล้วแต่จะเลือก มีเรือเล็ก2ลำข้างฮาร์พูน8นัด หรือจะใช้อาวุธฝรั่งเศสทั้งลำก็ได้แล้วแต่ลูกค้าต้องการ และในอนาคตรองรับอาวุธเกาหลีใต้ทั้งลำเช่นกัน ราคาน่าจะถูกกว่าเรือเราเหมือนกันนะ380-400ล้านเหรียญ(ไม่รวมVAT)แล้วแต่อาวุธที่ติด
เป้าหมายคือประเทศที่ต้องการเรือฟริเกตเอนกประสงค์แท้ๆลำใหญ่ที่มีการสร้างจริงแล้ว ถ้าต้องการเน้นASWก็เพิ่มโซนาร์ลากท้ายและASW Suiteที่ทันสมัยเข้าไป กลุ่มลูกค้าประกอบไปด้วย บราซิล อาเจนติน่า ชิลี เวเนซูเอล่า ซาอุ ยูเออี รวมไปถึงไทยแลนด์เฟส2ด้วย จิ้นเว่อร์ไปนิดโปรดคิดอภัย
ระวังนะท่าน Superboy เดี๋ยวเกิดมีคนเอาไปใช้เป็นแนวทางรวบรวมข้อมูล เพื่อนำไปใช้เป็นประเด็นล้มโครงการขึ้นมาแล้วจะยุ่งกันใหญ่นะครับ เพราะถ้าราคาต่ำขนาดนั้นแต่ได้ตามสเปกที่ว่ามาล่ะก็...น่าคิด คงจะมีแค่เรื่อง Data Link เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่จะถูกยกมาเป็นข้ออ้างได้ตลอดมาและตลอดไป
ปล. ถ้าในอนาคตทร.มีงบประมาณและมีความต้องการติดตั้ง SM-2 บนเรือนี้ ก็ต้องจ้าง SAAB (ผ่านนายหน้าเจ้าเดิม) ทำให้อีก แล้วต้องใช้เงินอีกเท่าไหร่ และจะสามารถมั่นใจได้แคไหนว่ามันจะสำเร็จ และจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง
ห้ามจิ้นไม่ทันแล้วครับ แค่ข้อมูลในกระทู้เรือฟรีเกต 4 กระทู้ในTFC กับ อีก150กว่าหน้าในTAF ติดตามอ่านกันเป็นเดือนตอนนี้จิ้นกันไกลถึงอีก15ปีMod.เรือ ติดSM2 + ........ ไปไกลแล้วครับ
ผมจิ้นเรื่องเรือของDSMEไปถึงซาอุแล้ว ก็ยังวนมาเรื่องน้ำเน่าในบ้านเราอีกนะ เฮ้อ....
ดูรูปที่ท่าน superboy ตัดมาแปะเปรียบเทียบกันชัดๆทั้งเรือใหม่ของเรากับ Murasamae มีปืน 76 mm และ ฟาลังก์ ประกบหน้าหลังเหมือนกันเป๊ะ ไม่แน่นะว่ามันอาจจะเป็น 16 cell ก็ได้ ทั้งๆที่เราทายกันว่าเป็น 8 cell แน่นอน เพราะจะว่าไป ภาพมุมมองอื่นของเรือใหม่จะเห็นว่าความยาวของ Mk-41 มันยาวกว่าฐานของฟาลังก์และยาวกว่าปืน 76 mm พอดู
แต่ในรูปที่ท่าน speci ลง(ยืมท่าน superboy มา) วางตามยาว 8 cell มันมีขนาดความกว้างน้อยกว่า 76 mm เล็กน้อย แต่รูปเรือของเรา ดูเหมือน Mk-41 มันจะมีความยาวกว่าความกว้างของ 76 mm ซะอีก
ถ้าเกิดมันเป็น 16 cell ขึ้นมา(คงแปลกใจเชิงดีใจ) และมีฐานเฉพาะแค่ 1 4 8 โมดูลจริง บางทีพื้นที่ที่วางฟาลังก์ อาจจะเป็นฐานของ 32 cell ก็เป็นได้
แต่ภาพของ Murasamae มันค้านอยู่ครับว่า น่าจะมีฐานสำหรับ 16 cell โดยเฉพาะ เพราะมันถูกบีบพื้นที่ด้วยดาดฟ้ายกที่วางฟาลังก์ กับแท่นปืน 76 mm มันแคบมากเกินไปสำหรับ ฐานของ 32 cell
ขอบคุณมากครับท่าน :randolph69 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ตามข้อที่ 2 ระยะสองน่าจะเป็นการต่อตัวเรือลำที่สองในเกาหลีใต้ โดยมีช่างของเราไปทำการร่วมทำงานในการต่อทุกขั้นตอน หรือ ช่างของเราไปต่อที่โน่นโดยมีทีมงานของทางเกาหลีประกบ ใช้โรงต่อและเครื่องมือของทางโน้น ก็ได้ แล้วลากตัวเรือที่ต่อเสร็จ มาทำการสร้างส่วน superstructure และติดตั้งระบบต่างๆในเมืองไทยเอาเอง
ถ้าแบบนี้แสดงว่าโรงต่อที่คาดว่ากำลังลงมือสร้างใหม่ในอู่ราชนาวี ยังไม่น่าจะเสร็จทันสำหรับลำที่สอง (ปีหน้าอาจจะมีข่าวดีสำหรับลำที่สองนะแบบนี้) ตามความคิดผม ผมว่าลำที่สองไม่น่าจะเป็นการต่อหลังจากลำที่หนึ่งสร้างเสร็จแล้ว น่าจะเป็นการสร้างหลังจากลงนามกันเสร็จแล้วมากกว่า นั่นคือ ลำที่ 1 ยังไม่เสร็จ ก็เริ่มลงมือต่อเรือลำที่สองเลยครับ
ตามข้อที่ 3 สร้างความแปลกใจให้ผมเป็นที่สุดครับ ต่อเองในประเทศทั้งหมดโดย DSME ไม่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน อ้าว.....งั้นแสดงว่าได้สิทธิบัตรการต่อมาเพิ่มอีกอย่างน้อยที่สุด 1 ลำ หรือ มากกว่าก็ได้
ตามข้อ 3 งั้นแสดงว่า ทร. ไม่ได้ต้องการเรือชั้นนี้แค่ 2 ลำ แต่อย่างน้อยน่าจะไม่ต่ำกว่า 2 ลำขึ้นไป option กี่ลำเนี่ย .......3 4 5 หรือ 6 .........เออน่าลุ้นจริงๆ จบเรือดำน้ำสงสัยมีลุ้นต่อ
............................ งานนี้ท่าทางเรือดำน้ำเกาหลีนอนมาแหง๋ๆละพี่น้อง..............
ท่าน superboy ครับ ผมว่าโครงการนี้ของเรา ท่าทางเกาหลีคงเอาแบบเรือไปวางขายแล้วกำหนดรหัสใหม่แบบที่ท่านว่าจริงๆนะเออ DW-3500 H Frigate และท่าทางเรือใหม่ของเราจะดังทั่วโลกเอาง่ายๆเลยนะคราวนี้ เพราะว่าเป็นเรือสเตลธ์แบบใหม่ล่าสุดจากกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือใหญ่ที่สุดในโลก และกำลังรุ่งพุ่งแรง..........ถึงเวลานั้นเมื่อเวปต่างประเทศลงข้อมูล เราคงได้รู้ว่า ทร. มี option สำหรับเรือชุดนี้กี่ลำกันแน่.........
แต่ยอมรับหมดใจว่า ทร. มีการวางแผนงานล่วงหน้าในระยะยาวเป็นระบบได้อย่างดีเข้าขั้นมากๆ นี่ถ้าได้งบมาอย่างพอเพียง เราคงมีเฮในอีกหลายๆเรื่องแน่ๆครับ
ท่าน neosiamese2 ครับ...ในส่วนระยะที่ 2 ตามข้อมูลข้างต้นนั้น...อาจจะหมายถึง มีการต่อเรือ บาง Block ขึ้นที่ อู่เรือ ในประเทศไทย ด้วยก็ได้ครับ...คือ มีการต่อ Block เรือ ทั้งที่ เกาหลีใต้ และ ที่ ไทย...แต่นำมาประกอบขั้นสุดท้ายที่ อู่เรือ ประเทศไทย...ซึ่งผมคาดว่า น่าจะเป็น อู่เรือมหิดล นั่นแหล่ะครับ...
ซึ่ง เทคโนโลยี่ เรือฟริเกต นั้น ในส่วน ตัวเรือ น่าจะเป็นส่วนประกอบของ เหล็กกล้า เป็นพิเศษ (เพราะต้องรองรับการทำลายด้วย อาวุธนำวิถี และ ตอร์ปิโด) ซึ่งอาจจะ แตกต่าง จากเรือ OPV ที่ใช้เหล็กมาตรฐานชนิดเดียวกัน ทั้งลำ...เหมือนกับการต่อเรือโดยทั่วไป...
ราคาของเรือฟริเกต กับ เรือ OPV จึงแตกต่างกัน อย่างมาก...ซึ่ง ผมคิดว่า เรือของ อินโดนีเซีย ที่กำลังต่อใหม่ ก็น่าจะเป็น มาตรฐาน OPV หรือ เรือตรวจการณ์ มากกว่า จะเป็น เรือฟริเกต แบบเต็มตัว เพียงแต่ใส่ระบบอาวุธเข้าไป...ราคาในโครงการ ถึง น้อยกว่า เรือที่เรากำลังต่อ และ เรือชั้น Gowind ของมาเลเซีย เกือบเท่าตัว...
ก็มีความเป็นไปได้สูงครับ เพราะบอกมาแค่ว่าทางเรามีส่วนร่วมในการสร้างบางส่วนแล้วมาประกอบขั้นสุดท้ายในไทย แต่ถ้าได้แบบนั้นจริงๆ ทร. ก็อยู่ในสภาพที่ร่วมต่อเรือฟรีเกตแล้วครับ ไม่ใช่แค่มาประกอบ block ตัวเรือและติดตั้งระบบต่างๆ ถ้าได้กรณีนี้ ผมก็จะถือว่า ทร. มีขีดความสามารถที่จะทำการต่อเรือฟรีเกตมาตรฐานสูงได้เองเป็นครั้งแรกเลย..................นับเป็นข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
แต่จากข้อตกลงแบบนี้ แสดงว่าความพร้อมของบุคคลากรเราสูงกว่ามาเลย์ครับ แต่ขาดเงินทุนสนับสนุนในตัวโครงการมานานมาก
ผมสนใจในอ๊อปชั่นว่ากี่ลำจริงๆ....... แล้วข้อเสนอสนับสนุนทางอุตสากรรมต่อเรือกับเรานั้น มีเพียงเท่านี้เองหรือ......ไม่มีการร่วมลงทุนในอู่แห้งหมายเลขสอง.............
ถ้าไม่มีในเรื่องการสร้างอู่แห้งหมายเลขสองในโครงการจัดหาเรือฟรีเกตชุดนี้ น่าจะลองต่อรองในเรื่องอู่หมายเลข 2 ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำในคราวต่อไปได้นะครับ ขู่ว่าไม่งั้นเรือดำน้ำเยอรมันจะมาทั้งชุด
ผมว่าราคาที่จ่ายคราวนี้คงรวมค่าแผนแบบและสิทธิบัตรในแบบเรือที่จะสร้างทุกลำด้วย และอาจจะต้องจ่ายแบบเหมาครั้งเดียวจบก็เป็นได้ครับ แต่ก็นับว่าดีลการจัดหาอาวุธคราวนี้ ทร. เรียกร้องผลประโยชน์ได้มากที่สุดจริงๆ
ใครก็อยากได้ครับ แต่ไม่มีเงิน
ซื้อมาลำเดียวไม่ได้ช่วยอะไรมากหรอกผมว่า (เทียบกับภัยคุกคาม ความพร้อมรบด้วยจำนวนยังจำเป็นกว่า)
ในระยะที่ 2 ถ้าเป็นไปตามที่เข้าใจ คือ มีการต่อ Block เรือ บาง Block ในประเทศไทย และ การประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศไทย ก็น่าจะหมายถึง ค่าต่อเรือ บางส่วน ชำระให้กับ อู่เรือ ในประเทศไทย ด้วย...
ก็คงต้องดูว่า เสร็จจาก ระยะ 1 ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี่แล้ว บริษัทอู่เรือ ที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมโครงการด้วย จะวิเคราะห์ถึงความสามารถในการต่อเรือ บางส่วน ได้เพียงใด....ซึ่งน่าจะเป็นข้อนำไปสู่ ในการร่วมต่อเรือ ในลำที่ 2 ว่า อู่เรือ ในประเทศไทย จะได้งานเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ของเรือทั้งลำ...
อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ ถ้าสเปคเรือออกมาแบบที่คาดกันไว้ น่าเสียดายมากนะครับ ระบบหลักๆก็ไม่ได้ต่างอะไรกับ naraesuan เลย ระบบส่วนใหญ่ก็ ดูเหมือน naraesuan ขยายขนาดกับมี VLA เพิ่มมา Sea girafe ไม่ใช่ไม่ดี radar ตัวนี้ส่วนใหญ่เหมาะกับ corvette มากกว่า หลายๆประเทศ จัดหา อย่างมีในเรือ Baynunah-class , Visby class , Victory Class เรือเหล่านี้เป็น corvette ทั้งสิ้น ผมหวังว่าจะได้เห็น พวก radar phased array radar ดีกว่าเดิมอย่างพวก, EMPAR , APAR หรือ IMAST ก็ยังดี แบบนี้ถึงจะเรียกว่า สมเรือ สมรรถภาพสูง มากกว่า ถ้าแบบนี้ต่อเรือลำเดียวแพงๆสเปคเทพๆไปเลยดีกว่า อย่าง de zeven provincien 25000 กว่าล้าน มีถึง 40 cell SM-2 ESSM 6 พันตัน แถมได้ของชั้นเทพอย่าง radar SMART-L APAR แบบนี้ถึงจะเรียกว่าเหนือกว่า formidable เสียอีก เรือใหม่ 2 ลำ 30000 ล้าน รวมกันแล้วแค่ 16 cell แถมได้แค่ sea girafe แค่นั้นเอง แล้วพอมีงบค่อยต่อมาอีก ลำก็ได้แบบนี้ มาแค่ลำแรก ทั้งอาเซียน ตะลึงกันหมดแน่นอน แต่ก็ยังว่าอะไรไม่ได้ต้องรอดูสเปคอย่างเป็นทางการอีกทีนึง บางทีอาจจะไม่ใช่อย่างที่หลายๆท่านว่ามาก็ได้
ดูแล้วจากการที่ทัพเรือเลือกเรือเกาหลีและระบบควบคุมจากSAAB และทางเกาหลีมีข้อเสนอในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือ ส่วนในเรื่องการต่อเรือนั้นบุคลากรของเราคงเรียนรู้ได้ไม่ยากขึ้นอยู่กับอุปกรณ์มากกว่าที่เราไม่พร้อม แต่สำหรับทางSAABมีข้อเสนออะไรมาบ้างเรื่อง data link อย่างเดียวคงไม่น่าจะใช่ หรือว่าอาจจะเป็นการช่วยในการพัฒนาอาวุธด้วยหรือเปล่า อย่างทางsaab bofors dynamicsของสวีเดนและdiehl bgt defenceของเยอรมันก็ยังมีการพัฒนาอาวุธร่วมกันและยังมีโปรเจคใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ ถ้าเกิดSAABยื่นข้อเสนอแบบนี้มาโดยที่เจ้าอี่นให้ไม่ได้ก็ถือว่าเป็นผลดีกับเรามากเลยทีเดียว และยังสงสัยอยู่เหมือนกันว่าทัพเรือวางรูปแบบอาวุธประจำเรือในอนาคตไว้อย่างไร ยังจะอิงทางฟากอเมริกาหรือว่าจะเปลี่ยนแนว ขนาดฟากยุโรปยังทำเองใช้เองไม่ค่อยอยากจะร่วมมือกันเหมือนแต่ก่อนแบบว่ากลุ่มใครกลุ่มมัน แต่ใจอยากให้ iris t มีระยะยิงสัก120km.และติดตั้งบนเรือได้จะดีมากเลยตัวนี้ชอบมาก
ท่าน yuy999 อย่าเพิ่งจิ้นไปไกลเลยครับ ดีลนี้อาจจะเป็นแค่เรื่องง่ายๆว่าเอา link มาคุยกะ ทอ.แค่นั้นเอง ส่วนตัวผมว่ามันใช้แค่ console แยกออกมาสักตู้ ทร.ก็สามารถเลือกระบบภายในอะไรก็ได้แล้วแต่กลับเลือกเล่นท่ายาก มองยังไงมันก็ยังไงอยู่ดี
เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีบางส่วน ผมคิดที่เรือลำแรกใช้เวลาเกือบ 5 ปี ผมจึงคิดว่า
ขั้นที่ 1.ในระหว่างที่ต่อเรือลำที่ 1 ทร. อาจจะมีการปรับปรุงอุ่ต่อเรือให้พร้อมที่จะต่อเรือขนาดใหญ่ๆได้
ขั้นที่ 2. เกาหลีสร้างเรือลำที่ 2 มาเป็นบล๊อกๆ (แต่ล่ะบล๊อกคงใหญ่กว่ากรณีเรือหลวงกระบี่มาก) แล้วมาประกอบในไทย (อาจมีบางบลีอกต่อในไทยเพื่อดูว่าสามารถทำได้เหมือนของเกาหลีหรือไม่
ขั้นที่ 3 ทร. ก็ต้องทดลองต่อลำที่ 3 หรือเรือแบบอื่นๆที่ขนาดใหญ่ใกล้เคียงกันในไทยทั้งหมดโดยมีเกาหลีเป้นพี่เลี้ยง
ทั้งหมดนี้ก็ 3 ลำ ใช้เวลาร่วม 10 ปี งบประมาณน่าจะราวๆ 45,000 ล้านบาท ก็ถือว่าไม่เกินกำลังของ ทร.
เห็นมีคนมองว่างานนี้ทร.ต่อรองได้จาก DSME เยอะ อีกมุมนึงทร.สามารถต่อรองได้อะไรจาก SAAB บ้างล่ะ ในเมื่อทร.กำหนดสเปกระบบของ SAAB ไปให้ทุกอู่ใช้ในการออกแบบเรือและประเมินราคาเพื่อเข้าประมูลแข่งขันกัน การที่มีผู้สนใจส่งแบบและราคาเข้าร่วมประมูล คงไม่ใช่เพราะไม่มีแบบเรือที่เหมาะสมหรือเวลาไม่พอ แต่น่าจะเป็นเพราะการกำหนดสเปกของทร.มากกว่า ทำแบบนี้คนที่สบายคือ SAAB กับนายหน้าเท่านั้น เพราะยังไงทุกอู่ก็ต้องยอมรับราคาและเงื่อนไขตามที่ตัวเองกำหนด ไม่งั้นก็หมดสิทธิ์ได้งานนี้โดยสิ้นเชิง บริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง LM หรือ DCNS ก็ยังไม่ส่งแบบมาร่วมประมูล ทั้งที่เขามีแบบเรือมากมายที่สามารถดัดแปลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถตอบสนองข้อกำหนดของทร.ได้
ยังงงและสงสัยกับเรดาร์ 3D Long Range เพราะไม่มีการระบุตราสัญลักษณ์และแบบรุ่นอะไรไว้เลย ??? ปิดบังซ่อนเร้นแบบนี้ถึงทำให้ปชช.สงสัยการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพทุกครั้ง หรือเพราะยังเป็นแค่แผนยังไม่มีตัวจริงที่ทำเสร็จแล้วืจึงไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ยิ่งแย่หนักเข้าไปอีกนะ
หลายท่านจินตนาการกันไปไกลเลย เหอๆ
ในสัญญาครั้งนี้ระบุไว้แค่ ระยะที่ 1 ที่เป็นการถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติพร้อมกับการสร้างเรือ
สรุปก็คือไปดูเขาต่อเรือนั่นแหล่ะ ซึ่งเค้าจะกั๊กเทคนิคหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ แล้วที่บอกว่าอบรมฟรีแต่อย่าลืมว่าก็ต้องมีค่ากิน ค่าอยู่ เบี้ยเลี้ยงตลอด 5 ปี ขณะอยู่ที่เกาหลี กองทัพคงออกเงินให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของตัวเอง ส่วนเอกชนที่เข้าร่วมก็ต้องจ่ายในส่วนนี้เองแล้วก็ต้องไปแบ่งกันว่าบริษัทไหนจะส่งจำนวนเท่าไร
ส่วนระยะที่ 2-3 มันเป็นเรื่องของอนาคตครับ ขึ้นอยู่กับเรื่องบประมาณอย่างเดียวว่าพอหรือไม่ เอาแค่ OPV ถูกกว่าตั้งเยอะยังไม่มีกำหนดการต่อที่แน่นอนเลย
เรื่องการต่อเรือในประเทศมาเลเซียกับอินโดเซียชัดเจนกว่าเรามาก เพราะเค้าประกาศเลยว่าต้องต่อในประเทศให้ได้จำนวนเท่านี้ๆ แผนในกระดาษจะเขียนอะไรก็เขียนได้ครับ
กรอบงบประมาณอนุมัติไปแล้วครับ 30,000 ล้านสำหรับเรือ 2 ลำครับท่าน aonestudio ดังนั้นยังไงการจัดหาลำที่สองก็คงจะลงนามกันภายใน 1-2 ปี ข้างหน้า เพราะไม่เช่นนั้นราคาของจะสูงขึ้นมากจนเกินงบประมาณที่มี
แต่ที่จัดหามาก่อนเพียง 1 ลำในตอนนี้ ก็เพื่อลดแรงต้าน จากฝ่ายที่ต้องการล้มโครงการของ ทร. เมื่อฝ่ายต้านลดแรงต้านลง เดี๋ยวก็มีข่าวมาเองล่ะครับ เพราะยังไง เรื่องเรือดำน้ำคงจะดังกว่านี้มาก.....
ดังนั้นเรื่องอนาคตที่ว่านั้น เป็นเรื่องอนาคตอันใกล้ตัวครับ.....................................ชอบไม่ชอบยังไงเดี๋ยวก็มา
ดังนั้น ระยะที่ 2 ยังไงก็ต้องมา ................ส่วนระยะที่ 3 คงว่ากันหลังจากเรื่องเรือดำน้ำล่ะครับ
ความรู้ที่ได้จากระยะที่ 1 และเพิ่มความชำนาญในระยะที่ 2 เหลือเฟือพอสำหรับ ทร. ที่จะสร้างเรือฟรีเกต class นี้เองได้ และองค์ความรู้ที่ได้มา ผมว่า ทร. คงสามารถนำไปต่อยอดและออกแบบ เรือชั้น นเรศวรเฟส 2 ได้ด้วยตนเองแน่ครับ เพราะเรือมีพื้นฐานจากเรือชั้น MEKO และ เรือฃั้น เจียงหู ฝันของท่าน superboy ก็ขยับใกล้ความจริงเข้ามาอีก
ดีลคราวนี้ ไม่ใช่แค่การซื้อเรือครับ เป็นการซื้อวิทยาการและความรู้ใหม่มาสะสมและต่อยอดเพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางอุตสาหกรรม
ผมมองว่า หากข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เขียนลอยๆ เพียงเพื่อให้โครงการดูดีและป้องกันการข้อครหาต่างๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีมาก และเชื่อว่าทร.น่าจะต้องการต่อเรือลำที่ 3 ในประเทศทั้งลำ ซึ่งน่าจะเป็นเรือแบบเดียวกันเพื่อความต่อเนื่องและเพิ่มความชำนาญของบุคคลากร มากกว่าที่จะเปลี่ยนไปต่อเรือแบบอื่นครับ
ผมว่าเผื่อๆใจกันไว้มั่งนะครับ สำหรับ เรือลำที่สองและเรือดำน้ำ มันอาจจะไม่โผล่ก็ได้ มีความรู้สึกเหมือน f18 ยังไงก็ไม่รู้
http://www.bbc.co.uk/news/business-23751846
ลำที่ 2 เกิดอยู่แล้วล่ะครับ...เพราะลำแรก ทร. ก็ใช้ งบประมาณประจำปี ของ ทร. เอง ไม่ได้ของบพิเศษ...
ก็คือ งบประจำปี เพิ่มในสัดส่วนปกติ...
แต่เดิม โครงการจัดหาเรือฟริเกต นี้ ในข่าวช่วงแรก ๆ ก็ลงข้อมูล ใช้ระยะเวลากรอบงบประมาณ 10 ปี...(ลองดูในกระทู้เก่าครับ) ขอแก้ไขครับ ไปจำผิดกับ งบประมาณจัดหารถเมล์ ขสมก. ฮ่า ฮ่า ฮ่า...คงจะอยู่ในกรอบงบประมาณ 8 ปี
ตามแผนเดิม คือ หลังจากจัดหา เรือฟริเกต ลำที่ 1 แล้ว อีก 2 ปี จะดำเนินการจัดหา ลำที่ 2...
ของเดิม ลำที่ 1 งบประมาณ ปี 2555 - 2559
ลำที่ 2 งบประมาณ ปี 2557 - 2561
ปัจจุบัน ลำที่ 1 งบประมาณ ปี 2557 - 2561
ลำที่ 2 งบประมาณ ปี 2559 - 2564
ซึ่งถ้า ภายใน ปี ถึง 2 ปี นี้ ถ้าเศรษฐกิจ ไม่ทรุดไปมากกว่านี้ หรือ อยู่ในระดับ ทรง ๆ ตัว...
ก็อาจจะจัดหาอีกภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า...
แต่ถ้า เศรษฐกิจ ทรุดจริง ๆ...ก็จัดหาในอีก 4-5 ปี ก็คงจะคลาดเคลื่อนจากระยะเดิม เป็นประมาณ 10 ปี...
และถ้าเป็นเช่นนั้นว่า เรือฟริเกต ต้องใช้ระยะเวลาถึง 10 ปี จริง ๆ...โอกาสของ OHP ค่อนข้างจะมาสูง...เพราะ เรือชั้นพุทธฯ คงรอไม่ไหวแล้ว....และเรือดำน้ำ คงต้องรอหลังจาก พม่า จัดหาไปแล้ว...(ก็คงอีก 10 ปี) เพราะเชื่อว่า แม้จะเป็น เรือดำน้ำ มือ 2...คงต้องใช้งบ ประมาณไม่ต่ำกว่า 5000 - 7000 ล้านบาท...แต่การจัดหา OHP ในลักษณะเดิม ๆ ที่มาเหมือนเรือชั้นพุทธฯ ค่าซ่อมแซม ปรับปรุงสภาพ คงไม่เกินไปกว่า 3000 ล้านบาท ( 100 ล้านเหรียญ )...
ถ้า เศรษฐกิจ ทรุด...เรือดำน้ำ เตรียมทำใจ...
กว่าประเทศไทยจะต่อเรือรบได้จริงสงสัยจะเกือบ10ปีแน่ท่านนีโอ ถึงตอนนั้นแบบเรือนเรศวรของเราคงล้าสมัยมากเต็มทีแล้ว Gowind ของมาเลระวางขับน้ำไม่ถึง3,000ตันยาวประมาณ110เมตรแต่กว้างถึง16เมตร เราคงต้องมองเรือLCSแบบเขาเพื่อทดแทนเรือหลวงเจ้าพระยา บางปะกง แต่จะหวังพัฒนาเรือหลวงกระบี่ก็ไม่ได้อีก ผมว่าแบบเรือจากVTมีปัญหาจริงๆเหมือนที่ท่านจูดาสเคยว่าเอาไว้ ถึงจะซื้อแบบเรือมาจริงแต่ถ้ามีฟ้าผ่าต่อแค่ลำเดียวก็ยอมรับและเข้าใจนะ
ไหนๆก็อ้างอิงSAABอยู่แล้วแอบขอแปลนเรือเขามาปรับปรุงไปเลยดีกว่าไหมครับ เอาประมาณนี้แต่ไม่ต้องทันสมัยแบบเขาจะได้เรือที่เป็นรูปแบบใหม่สามารถต่อยอดได้อีก เรือฟริเกตเบาขนาด2,500ตันน่าจะพัฒนาและสร้างได้ง่ายกว่ายังมีอนาคตทางการส่งออกไปยังประเทศเล็กๆอีกด้วย ริ่มต้นด้วยเรือฟริเกตสมรรถนะสุงถ้าจะยากพอสมควรและแบบเรือของแดวูก็ไม่ได้ทันสมัยเท่าไหร่
จะมีลำที่3หรือเปล่าผมเฉยๆนะรู้สึกตายด้านกับเรือลำนี้ไปแล้ว ตอนนี้หันไปสนใจเรือหลวงจักรีอีกครั้ง ไม่รู้จะสามารถใช้งานเธอได้อย่างเต็มรูปแบบอีกทีตอนไหน
ตอนนี้ เรือฟริเกต ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน...
แต่เท่าที่ ผมลองเปรียบเทียบกับเรือในภูมิภาคนี้ แล้ว...
คงต้องรอดูว่า ระบบ VLS จะมากี่ระบบใน ระยะแรก นี้...
และเมื่อต้องปรับปรุงติดตั้ง SM-2...
ผมว่า เรือฟริเกตไทย ยังดูเหนือกว่า เรือระดับเดียวกันในภูมิภาค...แม้แต่ Formidable กับ Anzac...
ในเบื้องต้น ลองเทียบ ระบบอาวุธ ทั้ง 3 แบบ ว่า เรือฟริเกต ลำใหม่ของไทย มี และ ไม่มี อะไร...ระบบการตรวจการณ์ ใคร จะไกลกว่ากัน...
ส่วนเรื่อง ระบบ Sensor ต่าง ๆ ที่จะรองรับ ระหว่าง Active Missile ของ Aster15/30 กับ Semi Active Missile ของ ESSM และ SM-2 ในเรื่องความสามารถการยิงต่อจำนวนเป้าหมาย นั้น...ในเบื้องต้น ผมว่า การยิงต่อจำนวนเป้าหมาย คงไม่ด้อยไปว่า Anzac ที่มี ESSM อย่างเดียว...แต่ Formidable ใช้ความได้เปรียบในเรื่อง ความเป็น Active Missile...แต่สุดท้ายในเรื่อง การพิสูจน์ฝ่าย และความสามารถของแบบชนิด ประเภท ของ ภัยคุกคาม ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นข้อจำกัด ที่ทำให้ได้ผลลัพภ์ของ จำนวนของเป้าหมาย ไม่แตกต่าง กัน...กับ Semi Active Missile...คงต้องมาวิพากษ์วิจารณ์ กันอีกที...
ส่วน SM-2 ผมค่อนข้างเชื่อว่า น่าจะมาในเร็ว ๆ นี้ ผมลองประเมินจากระยะเวลา ทั้งอายุของ เทคโนโลยี่ SM-2...ที่ก็ผ่านมาในระยะหนึ่งแล้ว...
โดยประเมินในความเห็นส่วนตัวว่า...น่าจะมาใน เรือฟริเกต ลำที่ 2...และติดตั้ง เพิ่มเติม ในลำที่ 1 หลังจาก ติดตั้งใน ลำที่ 2 เสร็จสิ้น...
ซึ่งน่าจะเป็น เฟส งบประมาณเพิ่มเติม หลังจากทำงบประมาณจัดหา เรือลำที่ 2 ผ่านไปแล้ว ประมาณ 2 ปี คือ ระยะเวลาของโครงการเรือฟริเกตลำนี้ ไม่น้อยกว่า 10 ปี...นั่น หมายถึงว่า ในช่วงระยะเวลานั้น เทคโนโลยี่ SM-2 อายุมันจะเข้าสู่ 30 ปี เข้าไปแล้ว ถ้านับจากปี 1988...
และ ความเป็น NWC ในปี 2562 เป็นต้นไป ของ เรือชั้น นเรศวร, ร.ล.จักรีฯ, เรือชั้น รัตนโกสินทร์ กับ ฝูง 701/702 ของ ทอ. มันอยู่ในขั้นการใช้งานจริงไปแล้ว...โดยจะมี เรือฟริเกต ชุดใหม่ นี้ เสริมเติมเข้าไป อุดช่องโหว่ พอดีในเรื่องการป้องกันภัยทางอากาศ ในหลักนิยมการป้องกันทางลึก....ตามบทความข้างต้นในกระทู้ จาก หนังสือ นาวิกศาสตร์...
ก็จะทำให้ ในปี 2565 น่าจะเห็นผลที่เป็น รูปธรรม ชัดเจน ของ NWC ระหว่าง ทร. ก้บ ทอ. ในเรื่อง การป้องกันภัยทางอากาศ...
ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นโครงข่าย การป้องกันภัยทางอากาศ ที่เสร็จสิ้นในปี 2565 (ถ้านับจากปี 2555 (เริ่มต้นโครงการ ปรับปรุงเรือชั้นนเรศวร,ร.ล.จักรีฯ) ก็ได้ระยะเวลา 10 ปี)
ก็คงถึงเวลาของ สงครามใต้น้ำ อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากปี 2565...
โดยใช้ เรือฟริเกตชุดใหม่ เป็น ฐานกำลังหลัก ในการสร้างโครงข่ายระหว่าง เรือดำน้ำ ไปสู่ กองเรือรบผิวน้ำ เชื่อมกับ กำลังทางอากาศ
ปี 2555 - 2565 NWC การป้องกันภัยทางอากาศ
ปี 2565 - 2575 NWC สงครามใต้น้ำ
ถ้าSM-2มาก่อนเรือดำน้ำจริง ทร.เราแปลกๆนะครับ ได้อวป.ระยะกลางมาใช้ก่อนเรือส. (แต่ผมก็ดีใจนะถ้าSM-2มาจริง)
เรื่องเรือดำน้ำ...ก็รู้ ๆ กันอยู่...ว่า เป็นโครงการจัดหาตั้งแต่ปี 2554...
แต่ถูก ขัดขวาง จนโครงการล้ม..
ไม่ใช่ เรื่องแปลก เลยครับ...
ความเป็น จริง เรือดำน้ำ Type-206A มันควรจะมา พร้อม ๆ กับ ที่เวียดนาม ได้รับน่ะครับ...
TAF Editorial #3 - โครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของไทย สูงแต่ยังไม่สุด? (ตอนแรก)
หลังจากพลาดหวังจากการจัดหาเรือดำน้ำด้วยเหตุผลที่ทุกคนก็รู้กันดีอยู่ว่าเพราะอะไร กองทัพเรือได้รับการปลอบใจด้วยคำสัญญาที่จะผลักดันโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่ล่าช้ามากว่าสิบปีให้สำเร็จ และวันนี้กองทัพเรือก็ประสบความสำเร็จในการจัดหา โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือลงนามในสัญญาจัดหากับอู่ Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering ประเทศเกาหลีใต้ และกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ณ ตอนนี้ ข้อมูลเท่าที่ปรากฏเกี่ยวกับเรือลำนี้เป็นเพียงภาพสามมิติและคุณสมบัติคร่าว ๆ ในเว็บไซต์ของกองทัพเรือเท่านั้น เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นทางการ แต่จากการคาดการณ์และการวิเคราะห์ภาพและข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ ทำให้คณะทำงาน ThaiArmedForce.com มีความเห็นหลายประการเกี่ยวกับคุณลักษณะของเรือลำนี้ ในตอนแรกของบทวิเคราะห์สองตอนนี้ เราจะคาดการณ์คุณลักษณะของเรือ และวิเคราะห์แนวทางการเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเรือจากข้อมูลเปิด โดยจะละการวิเคราะห์ข้อเสนอด้าน Offset ออกไป ก่อนจะเริ่มวิเคราะห์ภารกิจหลัก ราคา และทรรศนะโดยรวมของเราในตอนที่สอง ทั้งนี้ความเห็นทั้งหมดเป็นความเห็นของคณะทำงาน ThaiArmedForce.com เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกทุกท่านต้องเห็นเหมือนกับเรา และเราส่งเสริมให้สมาชิกถกเถียงกันต่อในประเด็นนี้
... เพราะเราเชื่อว่า เรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำนี้ สมรรถนะอาจไม่สูงอย่างที่คาดหวังไว้
ปล. อ่านต่อได้ที่ http://www.thaiarmedforce.com/taf-edito ... rial3.html
ท่านไอซ์พอจะขยายความเรื่อง Lanza MRR ซักหน่อยได้ไหมครับ ผมหาเจอแต่ภาพที่ติดตั้งบนบกเท่านั้นเอง
เคยมีข่าวผบ.ทร.ไปเยี่ยมชมโรงงานนี้มาแล้วเหมือนกันนะ มีลุ้นครับพี่น้อง
ขอก็อปมาจากTAFเลยแล้วกัน
แอดมินวิเคราะห์ได้ไม่หนีจากที่วิเคราะห์นัก
เครื่องยนต์เดาว่าเป็นCODAG อัตรา 2:1 หรือ 4:1
เรดาร์LRR โดยความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นLANZA-N โมเดลใหม่(เพิ่มTransmitter หรือ Receiver Stack ) หรือ Giraffe ER ที่มีพื้นฐานจาก Erireyes + Giraffe ---Mechanical Rotating AESA (S-Band) ซึ่งอันหลังดูว่าจะเพิ่มขีดความสามารถให้ESSM และ ลดข้อด้อยของCeros ในการใช้กับSM-2MRด้วย
โดยเฉพาะเมื่อดูขนาดของสายอากาศในภาพCGแล้ว มีแนวโน้มจะเป็นคลื่นที่สั้นกว่าL-Band .....เรดาร์LRR ตัวนี้อาจจะเป็นS-band ก็ได้
แต่ไม่ว่าจะรุ่นไหน ขอพูดว่า เรดาร์LRR ตัวนี้ ไทยเป็นผู้ใช้เจ้าแรกทั้งนั้น อย่างLANZA ที่ยังไม่แน่ว่าจะใช้กับSM-2 ได้ และในเวอร์ชั่นทะเลนั้น ไทยเป็นลูกค้าเจ้าแรกนอกจากสเปน ..........หรือGiraffe ER ที่เป็นเรดาร์มายา ยังไม่มีใครเห็นตัวจริง หรือ ข้อมูลใดๆจากผู้ผลิตเลย
ภาพปลากรอบ LANZA-Nแบบชัดๆ
credit http://www.portierramaryaire.com/foro/viewtopic.php?f=4&p=166484
Lanza-N MRR เป็นเรดาร์PESA (Passive Electronic Scan Array )ตัวส่งคลื่นแบบSolid State ใช้เสาอากาศแบบเส้นตรง 32สแต็ค(16รับ 16ส่ง)
มีความสามารถในการติดตามเป้าหมายเพดานบินสูงสุด 30กม. ระยะไกลสุด 325กม. มุมเงยสูงสุด40องศา update rate 3วินาที
อยู่ในคลาสเดียวกับ EL/M-2238 STAR,RAN-40L
ถามว่ามันดีไหม ........เรดาร์น่ะดี แต่ไม่มั่นใจว่าระบบเรดาร์ตัวนี้จะใช่เรดาร์LRRปริศนาหรือไม่
โดยส่วนตัวยังให้คะแนนGiraffe-ER ซึ่งยังไม่มีใครเห็นหน้าค่าตามากกว่า
แต่ขอเดาว่าเป็น S-Band AESA แบบMechanical Steered
โครงสร้างภายนอกและระบบทางกลใช้พื้นฐานจากGiraffe แต่T/R Modules ใช้ของErieye (200+ หากเป็น2nd gen GaAs แต่หากเป็น3rd gen GaN อาจจะมากกว่านั้น)
หากเป็นเช่นนั้น ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้Update Rate สูง(น่าจะเท่ากับ1วินาที ) ที่ระยะพอเหมาะพอสม (ไม่น้อยกว่า150-200กม. หากหมุนรอบต่ำกว่านี้ก็จะได้ระยะที่ไกลขึ้น)
ผลที่ได้จากconfigแบบนี้คือ มีโอกาสที่เรดาร์นี้จะมีS-Band Uplink ให้ลูกจรวดESSM /SM-2MR ทำให้มีประสิทธิภาพคล้ายกับระบบNTUของเรือKDX-II
อีกการคาดการณ์หนึ่งของGiraffe ER คือ ใช้เรดาร์Giraffe AMBเดิม ขยายขนาดขึ้น เพิ่มกำลังส่งของTWT (และเป็นDual-TWT) แต่ข้อเสียของคอนฟิกนี้คือ เรดาร์ตัวนี้จะเป็นC-band ที่เป็นVolume Search อย่างเดียว ไม่สามารถUp-Linkให้ESSM/SM-2MRได้ และจะเป็นเรดาร์LRRทางทหารแบบเดียวที่เป็นC-band ซึ่งมีปัญหากับฝน ซึ่งจะทำให้ระยะลดลงมาก อีกทั้งTWTมีความน่าเชื่อถือต่ำกว่าSolid State ยิ่งทำให้คอนฟิกนี้ไม่เข้าท่ามากขึ้น
มีคำถามครับ ถ้าใช้ตัวหลังในการuplinkให้SM-2จริง แล้วด้านหน้าที่ถูกเสาหลักบังก็จะใช้ไม่ได้เหรอครับ?
เรื่องโดนเสาบังผมว่ามันเล็กน้อยนะเพราะเรือลำอื่นก็โดนเหมือนกันไม่ใช่เหรอ ผมว่าเรดาร์มันตัวเล็กไปเยอะเรือเลยดูโหลดๆพิกล
Giraffe ER ที่เอาโมดูลของอีรี่อายมาใส่Giraffe AMBมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับEL/M-2238 STAR โดยคาดว่าน่าจะมีUpdate Rateสูงกว่า แต่ทางด้านกายภาพมีขนาดเล็กกว่ากันพอสมควร มันดูแปลกหูแปลกตามากถ้าจะเป็นเรดาร์LRRเหมือนกัน
เท่าที่ดูข้อมูลผมคิดว่าGiraffe ERน่าจะเป็นเวอร์ชั่นใหม่เอี่ยมสำหรับเรดาร์ตระกูลนี้ แต่มันควรติดอยู่บนเสากระโดงหลักตัวเดียวก็พอนี่นาจะมีซ้ำมีซ้อนกันไปเพื่ออะไร เหมือนกับ SMART-S Herakles I-MAST500 อะไรแบบนี้ มันน่าจะมีระยะทำการไกลมากขึ้นแต่ไม่น่าจะถึง350กม.นะครับ ถ้าเราเลือกตัวนี้จริงๆแล้วจะมีGiraffe AMBไปทำไมกัน
จับมาใส่ราโดมแบบGiraffeหรือปล่องกลมๆครอบแบบEMPARหรือทำ4เหลี่ยมหมุนได้แบบHeraklesไปเลย น่าจะแจ่มแจ๋มที่สุดนะ
หากGiraffe ER เป็นAESA จะไม่เหมือนEL/M-2238 ซะทีเดียว เพราะประสิทธิภาพจะสูงกว่ามาก
ตอนนี้คิดconfig Giraffe ERได้3แบบ
1.AESA (T/R modules จากErieye +ระบบทางกลของGiraffe)
2.PESA (ใหม่หมด มีพื้นฐานจากGiraffe AMB แต่ใช้S-Band ตัวแพร่คลื่นเป็นโซลิดสเตท อารมณ์ประมาณSmart-S Mk2 ขยายขนาด )
3.PESA (จับเอาGiraffe AMB มาโมดิฟาย ใส่จานสายอากาศขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ตัวแพร่คลื่นกำลังส่งสูงขึ้น อาจจะเป็นTWT หรือSolid state แต่เป็นC-Band เหมือนเดิม)
ตอนแรกคิดว่าน่าจะเป็นเรดาร์L Band แต่L band ต้องการสายอากาศขนาดใหญ่กว่านี้ ไม่ค่อยจะเห็นL Band ขนาดเล็กๆเท่าไหร่ โดยเฉพาะแบบ3D
Config ที่1 มีลุ้นESSM/SM-2 Uplink และ อาจจะได้ถึงICWI แบบแปลกๆ (อารมณ์ประมาณTombstone บนType051C คือนำวิถีให้จรวดได้ในมุมจำกัด)
Configที่ 2 มีลุ้นESSM /SM-2 Uplink แต่หมดหวังICWI และไม่สมเหตุผลเท่าไหร่ที่จะใช้Volume Search มาทำCWI
Configที่3 C-Band volume search ดูแปลกๆโดยเฉพาะเรดาร์C-band พิสัย 350กม. ดูเหมือนจะไม่ใช่แน่ๆ C-band โดนก่อกวนโดยฝนได้ง่าย หากจะให้ได้ระยะขนาดนั้น กำลังส่งจะต้องสูงมากทีเดียว
Config 1ต้องการGiraffe AMB ในกรณีทำICWI
Config 2 ต้องการGiraffe AMB เพราะS-Band Resolutionสู้C-bandอย่างGiraffeไม่ได้
Config 3 ไม่น่าจะต้องการGiraffe AMBเลย
ตะกี้ดูช่อง9 ผบ.อู่ราชนาวีมหิดล บอกว่า เรือชุดนี้ ลำที่2 ต่อในประเทศ
เฮ้ยๆ ต่อเองจริงๆตั้งแต่ลำที่2เลยเหรอครับ มันจะเร็วไปแล้วววว
http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/9/2013-08-23/19/
นาทีที่33เป็นต้นไป
กลัวว่าจะเป็นการสื่อสารผิดของนักข่าวหรือเปล่าครับ อาจจะเป็นเรือกระบี่ลำที่ 2 ก็ได้นะครับ
ความทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอู่ราชนาวี ซึ่งสามารถซ่อมเรือระหว่างขับน้ำตั้งแต่ 5,000-20,000 ตัน
กองทัพเรือจึงมีแผนต่อเรือฟริเกตลำที่ 2 เอง
พล.ร.ต. อนันต์ สุขณียุทธ (ผอ. อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ) กล่าวว่า
“ขณะ นี้เนี่ยผมได้รับนโยบายจากทางกองทัพเรือให้เตรียมพื้นที่ทางด้านทิศเหนือของ อู่ราชนาวี สำหรับที่จะเตรียมการสร้างเรือลำที่ 2 นะครับ ซึ่งในโครงการนี้มี 2 ลำ ขณะนี้เราเตรียมการแล้วครับ”
ที่ท่านบอกว่า ทิศเหนือ นี้มันหมายความว่า อู่แห้งหมายเลข2 เหรอครับ ที่ทุกท่านหลายคนในบอร์ดนี้ ฝันกันไว้หว่าๆ
เออใช่ผมลืมไปว่าEL/M-2238ไม่ใช่ AESA แต่ถ้าเป็น Lanza MRR ใช้ Volume Search อย่างเดียวแบบเรือสเปนที่เคยเห็นภาพ แล้วจะยิงSM-2ยังไงหละเนี่ย คิดให้มันงงไว้ก่อนจนกว่าจะรู้สเป็กจริง
ข่าวดีมากนะครับสำหรับเรือฟริเกตลำที่2 ถ้าเรือOPVอีก3ลำกระจายให้อู่อื่นช่วยต่อด้วยตามงบที่ได้ในแต่ละปีจะเป็นพระคุณอย่างสุงครับ
ลำที่ 2 ทำการต่อเรือเอง อาจจะหมายถึง การประกอบเอง ตามแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี่ ระยะที่ 2
"ส่วนระยะที่ ๒ เป็นการต่อเรือร่วมกับอู่ต่อเรือภายในประเทศ โดยสร้างเรือส่วนหนึ่งในเกาหลีและมาประกอบขั้นสุดท้ายที่อู่เรือในประเทศไทย"
เรดาห์ท้ายเรือ คือ เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ เท่านั้น ครับ...ไม่ได้ รวมถึง ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบ Sea Giraffe AMB หน้าเรือ...
ซึ่งผมว่า ก็คงเป็น Sea Giraffe ER (น่าจะเป็น AESA)...คล้าย ๆ กับ เรดาร์ตระกูล Master 400...เรดาร์ตระกูล Master 400 เวลาติดตั้งบนยานพาหนะ ก็เรียกว่า Ground Master 400...เวลาติดตั้งบนเรือ ก็จะเรียกว่า Sea Master 400
Sea Giraffe ER ก็คงเป็นเรดาร์ ตระกูล Giraffe Extened Range...แต่เมื่อนำมาติดตั้งบน แพลทฟอร์มเรือ ก็จะเติม คำว่า Sea ไว้ด้านหน้า...
หรือ จะเรียกว่า EGIS หรือเปล่า ? (The Erieye Ground Interface Segment)
EGIS เป็นระบบให้ภาคพื้นคุยกับErieye ผ่าน Link-E
http://www.defenseindustrydaily.com/uae-buys-saabs-erieye-aewc-aircraft-05951/
The Erieye family of Airborne Early Warning & Control aircraft offer of small size, lower purchase price, dual air/sea scan capabilities, and comparatively cheap operating costs are making it one of the world’s most popular AEW systems. The antenna reportedly provides coverage out to 450km, with a detection range of 350km even inchallenging conditions.
The Erieye Ground Interface Segment (EGIS) provides a 2-way exchange of data via an associated “Link-E” datalink sub-system, and the plane’s capabilities can can also reportedly be used to support border control or even rescue operations.
รบกวนท่านicy_cmuช่วยอธิบายเรื่องSea Giraffe ER เป็นAESA T/R modules+รเบบกลของSea Giraffe จะสามารถuplinkให้ESSM&SM2 ได้ แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องมุมยิง คือว่า เพราะมีมุมยิงจำกัดเรือไม่สามารถยิงได้360• รอบตัวหรือครับ
จากข่าวช่อง 9 อย่าพึ่งจินตนาการกันไปไกลครับ ต่อลำที่ 2 นั้นหมายถึง เรือ OPV ครับ ไม่ใช่เรือฟริเกต นักข่าวสื่อสารกันผิดพลาดครับ(แหล่งข่าวจากนายหน้าค้าอาวุธ 20,000 ล้านครับ)
อุ....
คนที่ฝันไปไกลโดนท่านnokสยร่วงไปตามๆกัน...
โดยส่วนตัวคิดว่าเรดาร์Giraffe ER (ขี้เกียจพิมพ์Sea) ตามข้อมูลเล็กๆที่ได้จากสมาชิกท่านนึง(ลืมชื่อ) ว่ามีอัพเดทเรทต่ำกว่า1วินาที และมีโหมดCWI (ซึ่งโดนส่วนตัวคิดว่าเป็นICWI ) ซึ่งเป็นที่น่าคิดว่า หากไม่นับเรื่องrebundancy หรือระบบสำรอง ซึ่งตัวGiraffe AMBต้องมีไว้ในกรณีเรดาร์ตัวนี้กำลังนำวิถีให้อวป.อย่างSM-2MR เรือลำนี้ก็ไม่น่าจะต้องมีGiraffe AMB
เหตุที่เรือรบส่วนใหญ่ ที่มีเรดาร์ระยะไกล จะต้องมีเรดาร์อำนวยการรบ ก็เพราะ
1.เรดาร์ระยะไกลส่วนใหญ่(>300km) เป็นL-Band ซึ่งมีปัญหาเรื่องGround Clutter เนื่องจาก resolutionต่ำ
2.Update rate ต่ำ จึงต้องมีเรดาร์อำนวยการรบในการติดตามเป้าหมาย โดยเฉพาะเป้าหมายที่บินเร็ว และต่ำ เพราะเป้าหมายเหล่านี้จะหายไปในเส้นขอบฟ้าได้เร็วมาก
แต่เรดาร์มายาอย่างGiraffe ER หากเป็นไปตามที่คาดการณ์จริง คือ เป็นS-band มีUpdate rate ต่ำกว่า1วินาที เป็นAESA มีโหมดICWI (แม้จะแปลกๆหน่อย) เรดาร์ตัวนี้สามารถทำงานเป็นเรดาร์อำนวยการรบได้เลย โดยไม่ต้องใช้Giraffe AMB และอาจจะเสริมการทำงานด้วยVolume Search L-band อย่างLanza (โมเดลเดียวกับFREMM )
แต่ปัญหาจะเกิดขึ้น เมื่อเรดาร์ตัวนี้เราไม่รู้น้ำหนัก หากมันหนักมากจนไม่สามารถนำไปตั้งไว้บนเสากระโดงหลักได้ ก็คงจะเป็นเหตุผลที่น่าเชื่อว่า ทำไมGiraffe ER ถึงไปอยู่บนแท่นต่ำขนาดนั้น และ ประสิทธิภาพระดับ(น่าจะ)เทพ ทำไมถึงไม่ทำเป็นเรดาร์อำนวยการรบหลักไปเลย
แต่จะว่าไปแล้ว หากGiraffe ER เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ ซ้าบจะได้ผลิตภัณฑ์ที่แข่งได้กับทุกเจ้าตอนนี้เลยทีเดียว
ระยะไกลกว่าSmart-S Mk2 /EMPAR /SAMPSON อัพเดทเรทเร็วกว่า มีmissile uplink เรือระดับ6000-7000ตันก็ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องเสากระโดงหลักรับน้ำหนักไม่ได้ .........มันเรดาร์ในฝันชัดๆ
ที่น่าสงสัยคือจะทำได้จริงแค่ไหน ? ลองคิดเล่นๆแล้ว Configหมายเลข2น่าจะเป็นไปได้ที่สุด คือS-band PESA พร้อมUplink Channel
รบกวนท่านicy_cmuช่วยอธิบายเรื่องSea Giraffe ER เป็นAESA T/R modules+รเบบกลของSea Giraffe จะสามารถuplinkให้ESSM&SM2 ได้ แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องมุมยิง คือว่า เพราะมีมุมยิงจำกัดเรือไม่สามารถยิงได้360• รอบตัวหรือครับ
อาจจะทั้งใช่และไม่ใช่ ในเรื่องที่ใช่ คืออาจจะมีการบังของเสา ซึ่งทำให้การuplink โดนขวาง แต่อาจจะไม่มากนัก สัก5-10องศาด้านหน้าเรือ
และที่ว่าไม่ใช่คือ โดยส่วนตัวยังไม่รู้รูปแบบคลื่นของUplink อาจจะมีเทคนิคเลี้ยวเบนได้ ซึ่งก็จะทำให้การuplinkทำได้360° แต่ถึงจะโดนขวาง missile อย่างESSMมีโหมด Inertial midcourseอยู่แล้ว แต่การไม่มีuplink ทำให้ขีปนวิถีของจรวดอาจจะอยู่ในทิศที่ไม่เหมาะกับการสกัดกั้นได้ (และโหมดHome all the way นั้น ก็ทำให้เสียเรดาร์คคย.ไป1ตัว ทำให้จัดการเป้าหมายที่มาเยอะได้ไม่มีประสิทธิภาพ)
แต่ถ้าพูดถึงmissile การยิงจากVLS สามารถต่อตีเป้าหมายได้360°อยู่แล้ว
ส่วนเรื่องICWI ผ่านเรดาร์ตัวนี้(หากเป็นAESA) ที่ว่าแปลกๆคือ มันจะทำได้แค่ ด้านใดด้านหนึ่งของเรือเท่านั้น (หากมิสไซล์มาในแบริ่งใกล้ๆเคียงกัน ไม่เกิน 70-80องศา ก็ถือว่าโชคดีไป) และเรือจะเสียการทำงานของเรดาร์Volume searchไป (เหมือนกับคนฉายไฟฉายไปด้านเดียว ด้านอื่นก็จะไม่เห็น)
เพราะฉะนั้น ดูแล้วไม่สมเหตุผลที่จะติดตั้งCW Transmitter ให้เรดาร์ตัวนี้
สเป็คGiraffe ER นี้ เป็นการคาดเดาล้วนๆ แต่จากตรรกะที่สมเหตุผลที่สุด ขอเดา2ทางดังนี้
1.เรดาร์LRRของเรือลำนี้ ไม่ใช่Giraffe ER ......แคนดิเดตที่ว่า มี4เจ้า คือLanza-N , EL/M-2238 STAR , EL/M-2248 MFSTAR เวอร์ชั่นหมุนๆ และ ของชอบท่านจูลดาส CEAFAR เวอร์ชั่นหมุนๆ จานเรดาร์ขนาด 2-3เมตร
ตัดEMPAR เพราะระยะเพียง180กม.
ตัดSPS-48 เพราะขนาดไม่ใช่
2.หากเป็นGiraffe ER เรดาร์ตัวนี้ น่าจะเป็นได้2อย่าง 1.S-band AESA พร้อมUplink ให้ESSM และSM-2 2.S-band PESA พร้อมUplink ให้ESSM/SM-2 ส่วนGiraffe AMBขยายขนาดแล้วตั้งชื่อว่าGiraffe ER ดูจะเป็นไปได้น้อยที่สุด ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
แต่คหสต. คิดว่า Giraffe ER แบบS-band PESA ดูเป็นไปได้ที่สุด เพราะน่าจะทำได้ง่ายกว่า และราคาน่าจะไม่แพง
สกู้ปข่าว ร.ล.กระบี่ ในข่าวค่ำโมเดิร์นไนน์ทีวี 23 ส.ค.56 ครับ
http://www.mcot.net/site/content?id=5215e8b5150ba0ff070002ec#.Uhgrd9LwlcF
ไม่เข้าใจครับว่าในข่าว ผบ.อู่ท่านหมายถึงอะไรกันแน่ เพราะไม่ได้บอกชัดเจนว่าลำที่ 2 ที่จะต่อนั้นคือเรือ ตกก. หรือเรือฟริเกต แต่นักข่าวกล่าวถึง กองทัพเรือจึงมีแผนต่อเรือฟริเกตลำที่ 2 เอง ท่านผบ.อู่บอก เราเตรียมการสร้างเรือลำที่ 2 ซึ่งโครงการนี้มี 2 ลำ ขณะนี้เราเตรียมการแล้วครับ โดยอาจจะมีความหมายว่าต่อเรือในชั้นเรือหลวงกระบี่เป็นลำที่ 2 และเรือหลวงกระบี่ในชั้นนี้ก็น่าจะมีเพียง 2 ลำ หรือเป็นเรือฟริเกตลำที่ 2 เพราะตามโครงการเรือตรวจการไกลฝั่งมีแผนจะต่อถึงอีก 3 ลำ
มีข่าวดีแล้วครับพี่น้อง สุดยอดพึ่่งได้มาสดๆ
ข่าวดี
ฟรีเกตนะ
สงสัยงานนี้ผมเงิบแฮะ๐ ๐ ๐ ๐ ๐
ขอต้อนรับอาการเงิบของท่านnok ด้วยเรือลำที่3แต่ต่อเป็นลำที่2ในบ้านเรา SAABวุ่นวายนักThalesป่วนไม่หยุดเราข้ามไปหาSPY-1FและAegisรุ่นส่งออกเลยแล้วกัน 76/62 DARTแท้ 32VLS RAM Block2กันเลย จิ้นกันไหมลุงรับวันเสาร์ที่มีข่าวดีมากจริงๆ
แต่ยังไงผมก็ยังคิดว่า Giraffe ER น่าจะมาอยู่บนเสากระโดงหลักเลยนะ ขนาดI-MAST500หนักโคตรยังอยู่บนเรือ3,000ตันได้เลยนิ
แผนขั้นที่3 น่าจะเป็นการต่อเรือฟรีเกตชั้นใหม่ โดยใช้แบบของDSME อาจจะแทนชุดตาปี หรือ ชุดเจ้าพระยา......
ส่วนGiraffe ER อาจจะมาแนวๆเดียวกับTRS-4D คือ จะหมุนก็ได้ หรือจะเป็นแบบ 4หน้าก็ยังไหว
เรื่องระยะตรวจจับและฟังก์ชั่น อาจจะดึงลูกค้าจากAPAR และ ตระกูลPAAMS อย่างSAMPSON Herakles EMPAR มาได้ไม่น้อยด้วย
และตั้งราคาขายที่แพงกว่าSmart-S หรือ Herakles ไม่มากนัก อาจจะเป็นโปรดักส์ที่สำเร็จตัวนึงของSAABก็ได้
คือถ้าSaabเอาSea Giraffe ER มาทำเป็นเรดาร์multiรุ่นสุงกว่าดีกว่าทันสมัยกว่า Sea Giraffe AMB(เหมือนปลาหมึกแถวบนสุด)จะมีตลาดมากกว่าเป็นแค่LRRที่ดูแล้วสู้เจ้าใหญ่ๆไม่ได้นะครับ แล้วตลาดLRRก็เหลือน้อยเหลือเกินเดี๋ยวนี้ต้องเป็นเรือฟริเกต AAW เท่านั้นถึงจะใช้(ยุโรปมีประเทศหละ2-4ลำ ถ้าประเทศไหนใช้SPY-1ไปแล้วก็จบกันอีก) มีอินเดียอีกประเทศที่ชอบมากเหลือเกินแต่อิสลาเอลผูกขาดอยู่เจ้าเดียวตลอดกาล
Sea Giraffe ER S-band AESA พร้อมUplink ให้ESSM และSM-2 มีระยะตรวจจับไกลสุดซัก320กม. ราคาแพงกว่าAMB ซัก30-40เปอร์เซนต์ผมว่าขายได้นะน่าจะขายดีด้วยสิ เรือขนาด3,000ตันขึ้นไปออกแบบเสากระโดงให้รองรับได้ซัก2.5ตันก็น่าจะไหวนะครับ แล้วไปพัฒนา Ceros200++กับ9LV MK5 เพื่อใช้กับSM-2หรือจรวดระยะปานกลางรุ่นใหม่ๆ แค่นี้Saabก็มีอนาคตไปอีกนานแบบสบายๆแล้ว
ส่วนเรือเราจิ้นไปมั่วอีกว่า batch2แปลงเป็นAAWจะถอดเอามาใส่เสากระโดงหลักแล้วถอดAMBไปใส่ลำอื่นแทน แล้วหาLRRเทพๆมาใส่ด้านหลังอีกที WOW สุดยอดเลยเรา
เกี่ยวกับการต่อเรือลำที่สองในสกู้ปข่าว ร.ล.กระบี่ ข่าวค่ำโมเดิร์นไนน์ทีวี 23 ส.ค.56 ที่ผ่านมา แอดมินได้สอบถามไปทางอู่ราชนาวีมหิดล และทางนักข่าวแล้ว ยืนยันเป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สอง ซึ่งลำแรกจะต่อจากประเทศเกาหลี ไม่ใช่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่สองครับ/ H.T.M.S.Krabi
จากเพจของ รล.กระบี่ครับ ทีนี้ผมมีข้อสงสัยต่อหลังจากเงิบแล้วคือ
1.เรื่องของการ ต่อเรือ OPV ลำต่อไป จะต่อก่อนเรือฟริเกตลำที่ 2
2.เรือฟริเกตลำที่ 2ต่อก่อน
3.หรือต่อในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยต่อคนละอู่ ?
เพื่อนๆท่านใดมีเบอร์โทรอู่บ้างครับ
ท่านnok ผมว่าเรือชั้นกระบี่ลำที่2น่าจะสร้างในระหว่างที่ลำแรกต่อที่เกาหลีมากกว่าครับ พอต่อกระบี่ลำที่2เสร็จก็ต่อฟริเกตลำที่2เลย
Sea Giraffe ER ในเรือลำนี้ น่าจะเป็นเพียง ตรวจการณ์อากาศระยะไกล...คือ อยู่ในตำแหน่ง แนวพื้นราบ...ไม่ได้ตรวจจับเป้าพื้นน้ำ ด้วย...ทำการตรวจจับเพียงแนวอากาศ...อาจจะตรวจจับได้แนวระดับอากาศที่สูงกว่า Sea Giraffe AMB บริเวณหัวเรือ ด้วย...
Sea Giraffe AMB คือ เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ และ พื้นน้ำ...จึงต้อง อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของเรือ เพราะต้อง ตรวจจับเป้าพื้นน้ำ ด้วย ส่งเป้าให้ Harpoon (น่าจะเป็น Block II เพราะมีระบบ AHWC (Advance Harpoon Weapon Control)...
ซึ่งทั้ง ESSM และ SM-2 อยู่ในระยะการตรวจจับของ Sea Giraffe AMB...การ Uplink น่าจะผ่านในส่วนของเรดาร์ตัวนี้...โดยใช้ตัวส่องเป้า ผ่าน CEROS200...และเมื่อมีการติดตั้ง SM-2 ก็น่าจะเพิ่ม ตัวส่องเป้า เพื่อเป็น ICWI...
ผมว่า เรือชั้น กระบี่ ลำที่ 2 น่าจะต่อก่อนครับ...
ส่วน เรือฟริเกตลำที่ 2...ผมคิดว่า น่าจะเป็นเพียงการนำมาประกอบขั้นสุดท้าย...เหมือนกับ เลโก้...คือ อู่เรือในประเทศ ก็อาจจะมีการต่อ บล็อคเรือ บางส่วน...ของ เกาหลี ก็ต้อง ต่อ บล๊อกเรือ บางส่วน...ซึ่งการทำทั้งหมด ยังไม่ต้องใช้ อู่เรือแห้ง...
แล้ว นำบล๊อกทั้งหมด มาเชื่อมประกอบเป็นลำ ที่ อู่มหิดล ถึงจะใช้อู่เรือแห้ง...
และการใส่ระบบอาวุธต่าง ๆ ก็คงทำที่ ประเทศไทย เป็นที่แน่นอน...
ดูแล้ว รูปแบบ ก็คงเหมือนกับเรือชั้น กระบี่...แต่การสร้างเป็น บล็อคเรือ อาจจะมีความทันสมัยกว่า...และมีความลงตัวกว่า...
Sea Giraffe ER ในเรือลำนี้ น่าจะเป็นเพียง ตรวจการณ์อากาศระยะไกล...คือ อยู่ในตำแหน่ง แนวพื้นราบ...ไม่ได้ตรวจจับเป้าพื้นน้ำ ด้วย...ทำการตรวจจับเพียงแนวอากาศ...อาจจะตรวจจับได้แนวระดับอากาศที่สูงกว่า Sea Giraffe AMB บริเวณหัวเรือ ด้วย...
-----ถูก คอนฟิกอย่างนี้คงเป็นVolume searchเท่านั้น
Sea Giraffe AMB คือ เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ และ พื้นน้ำ...จึงต้อง อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของเรือ เพราะต้อง ตรวจจับเป้าพื้นน้ำ ด้วย ส่งเป้าให้ Harpoon (น่าจะเป็น Block II เพราะมีระบบ AHWC (Advance Harpoon Weapon Control)...
---------เรื่องนี้ถูก แต่ที่พูดกันนั้น หมายถึงหากสามารถนำเอาเรดาร์ตัวนี้ขึ้นระดับสูงกว่านี้(อย่างSampsonหรือ herakles) จะสามารถใช้แทนเรดาร์อำนวยการรบอย่างAMBได้หรือไม่ ......โดยส่วนตัวคิดว่า หากเป็นS-band และมีupdate rateสูงพอ ก็สามารถใช้แทนAMBได้ (อย่างHerakles ที่เป็นS-band update rate 1วินาที พิสัย 250กม. ) ซึ่งจะเพิ่มข้อได้เปรียบมากขึ้นในเรื่องของการuplinkให้ลูกจรวดได้ไกลขึ้นด้วย ยิ่งโดยเฉพาะหากจะมีโหมดICWI (แบบแปลกๆ) การยกเรดาร์สุงขึ้นย่อมทำให้สามารถนำวิถีลูกจรวดได้ไกลมากขึ้นด้วย (หากอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน การใช้โหมดICWIกับเป้าหมายเรี่ยผิวน้ำ ก็จะจำกัดอยู่ไม่เกิน40-50กม. เนื่องจากขอบฟ้า ) ส่วนvolume search อาจจะใช้เรดาร์L-Band พิสัยไกลๆหน่อยก็ยังได้
แต่เรือลำนี้ เดาว่า โครงสร้างเสากระโดงหลักรวมถึงสมดุลเรือคงไม่รองรับน้ำหนักขนาดนั้นแน่ๆ(อนุมานจากระบบErieye ซึ่งหนัก900kg ถ้าใช้บนเรืออาจจะต้องใส่ระบบทางกลและโครงสร้างป้องกันไอทะเล อาจจะหนักได้ถึง1.2-1.5 ตัน เมื่อเทียบกับAMBซึ่งหนักเพียง 660kg.) ก็เลยใช้ER ไปเป็นVolume search แล้วใช้ AMBไปเป็นเรดาร์อำนวยการรบแทน
ซึ่งทั้ง ESSM และ SM-2 อยู่ในระยะการตรวจจับของ Sea Giraffe AMB...การ Uplink น่าจะผ่านในส่วนของเรดาร์ตัวนี้...โดยใช้ตัวส่องเป้า ผ่าน CEROS200...และเมื่อมีการติดตั้ง SM-2 ก็น่าจะเพิ่ม ตัวส่องเป้า เพื่อเป็น ICWI...
-------ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าER จะมีคุณลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นPESA ไม่ต้องคุยถึงICWI ถ้าเป็นAESA ก้ต้องลองดูว่า เรดาร์รองรับT/R module X-band หรือไม่ เพราะSM-2และESSM ก็ต้องใช้ CW X-band ในterminal phaseทั้งคู่ ........ยกเว้นว่าเรดาร์ตัวนี้ มีT/R Module แบบDual band แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก เพราะราคา ต่อให้เป็นหนูทดลองใช้ คงจะมหาศาลทีเดียว
เรื่องESSM และ SM-2อยู่ในพิสัยของ AMB นั้น ต้องทำความเข้าใจว่า 180กม.นั้น เป็นinstrumental range หรือ ระยะสูงสุดที่อุปกรณ์จะทำได้ แต่จริงๆแล้ว tracking range ของAMB น่าจะอยู่ที่ 60กม.เท่านั้น (สำหรับเป้าขนาดบ.ขับไล่) และมีอัตราอัพเดทเป้าที่2วินาที (หมุน30รอบ/นาที) หรือจะให้อัพเดทไวขนาด1วินาที ก็จะอยูที่ 30กม. สำหรับเป้าบ.ขับไล่เท่านั้น ซึ่งถือว่าสั้นมาก
ยังไม่นับรวมข้อเสียเปรียบของC-band ที่มีปัญหากับเม็ดฝน เนื่องจากresolutionที่สูง ความยาวคลื่นต่ำ ทำให้ตรวจจับเม็ดฝนได้(โดยไม่ตั้งใจ) ซึ่งรบกวนการทำงานของเรดาร์ จนอาจจะมีปัญหาระยะตรวจจับสั้นลงไปอีก
ยินดีที่จะเงิบมั้ยล่ะเพื่อน
มีความคิดคล้ายกับท่าน Juldas ครับ ว่าเรือฟริเกตลำที่ 2 น่าจะเป็นการต่อเป็นบล๊อกแล้วนำมาประกอบในประเทศไทย แต่นั่นก็แสดงว่าต้องมีการปรับปรุงระบบต่างๆ เพื่อรองรับงานนี้กันอย่างมากมายพอสมควรเลยทีเดียว เพราะขนาดของบล๊อกแต่ละส่วนน่าจะใหญ่กว่ารล.กระบี่ ซึ่งขนาดบล๊อกตามแบบดั้งเดิมของรล.กระบี่นั้น เรายังไม่มีเครนที่ใหญ่พอจะยกได้เลยด้วยซ้ำไป ซึ่งส่วนหนึ่งที่เรือลำนี้ใช้เวลาสร้างนานถึง 5 ปี ก็น่าจะเป็นเพราะต้องให้ฝึกสอนให้ทีมงานที่เราส่งไปได้เรียนรู้ฝึกฝนไปด้วย และน่าจะเป็นการรอเพื่อให้มีการต่อเรือลำที่สองคู่ขนานกันไป และให้ทีมงานทั้งหมดสามารถกลับมาประกอบเรือลำที่สองได้เองโดยมีเกาหลีเป็นผู้ควบคุมดูแล
และยังทำให้ "จิ้น" ต่อไปได้อีกว่า ตามแผนนี้ในขั้นที่ 3 ทร.ต้องมีขีดความสามารถในการต่อเรือฟริเกตในประเทศได้ด้วยตนเองทั้งหมด ??? แสดงว่าทร.มีแผนจะจัดหาเรือชั้นนี้เพิ่มอีกอย่างน้อย 1 ลำ ???
แล้วท่า เรือชั้นกระบี่ยังไม่ต่อ แต่เรือชั้นอ่างทองจะเริ่มต่อแหละครับ
ไปแสดงความคิดเห็นต่อที่กระทู้นี้ได้เลยครับ/ADMIN