หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


รัฐวิสาหกิจของกองทัพบก คือหน่วยงานไหนครับ มีแล้วหรือยังครับ

โดยคุณ : Oversea เมื่อวันที่ : 08/08/2013 15:30:39

ขออนุญาตถามเพื่อนๆ ว่า หากเรามีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหาร เพื่อการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ซึ่งส่วนตัวก็คิดว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นมากเลยนะครับ ทุกเหล่าทัพจำเป็นต้องมีรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นกับแต่ละกองทัพด้วยหรือป่าวครับ คำถามคือ ทร. มี บริษัทอู่กรุงเทพ ส่วน ทอ. ก็มี บริษัท TAI แล้ว ในส่วนของ ทบ. นี่คือ หน่วยงานไหนครับ หรือว่ายังไม่มีครับ แต่ถ้ามีแล้วก็ขออภัยครับและรบกวนแอดมินช่วยลบกระทู้นี้ด้วยนะครับ

 

แต่ถ้าตอนนี้ ทบ. ยังไม่มี แล้วควรจะมีมั้ยครับ เพื่อนสมาชิกคิดว่ายังไงบ้าง ส่วนตัวคิดว่าถ้ามีน่าจะเป็นประโยชน์มากเหมือนกันนะครับ งานก็น่าจะเยอะอยู่นะครับ เช่น การพัฒนาและผลิตยานยนต์และยานเกราะของ ทบ. เอง และของหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และนอกจากนี้เมื่อเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ก็จะสามารถทำงานในเชิงธุรกิจได้ด้วยหรือป่าวครับ เช่น อาจจะผลิตเครื่องยนต์ดีเซลขึ้นเพื่อใช้เองและจำหน่ายในประเทศด้วย จะเป็นไปได้มั้ยครับ เพราะดูเหมือนมีอะไรหลายๆ อย่างใช้เครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถกระบะ รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบัส รถไฟ เรือ และเครื่องกลในโรงงานบางแห่ง อย่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศได้บ้างมั้ยครับ เพราะจะช่วยลดการซื้อเครื่องยนต์จากต่างประเทศลงได้บ้าง (สำหรับผู้ที่ไม่สนใจเรื่องยี่ห้อ) :D นอกจากนี้ ทบ. และบริษัทร่วมทุน ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยนะครับ อย่างนี้จะดีมั้ยครับ ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วย :D





ความคิดเห็นที่ 1


ททบ5 ครับ. จริงๆเหล่าทัพใดๆก็ตามไม่ควรจะมี รสก สังกัดครับ ควรสังกัดกระทรวงกลาโหม

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 03/08/2013 16:48:02


ความคิดเห็นที่ 2


เออ ผมยังไม่ค่อยแน่ใจว่า ช่อง 5 จะมีศักยภาพพอจะผลิตและพัฒนายานยนต์ต่างๆ ได้นะครับ แต่ถ้าดึง ช่อง 7 มาร่วมงานด้วย ผมคิดว่าน่าจะพอไปได้นะครับ :D ส่วนเรื่องที่ว่า รัฐวิสาหกิจ ควรสังกัดกลาโหม นี่เป็นเพราะอะไรครับ

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 03/08/2013 21:55:40


ความคิดเห็นที่ 3


ผมมองว่าเหล่าทัพเป็นหน่วยเตรียมกำลังและใช้กำลัง หน้าที่ในการสร้างและวิจัยควรอยู่กับกลาโหมเพราะกลาโหมสามารถควบคุมทุนวิจัยได้ หลายอย่างอาจใช่ร่วมกันได้งานวิจัยบางอย่างอาจจะใช้ได้ในหลายเหล่าทัพ. อีกอย่างการนำเข้าวัตถุดิบหรือยุทธพันธต้องให้ รมว กหเซ็นอยู่แล้วจะได้ลดขั้นตอนด้วย

ส่วนทบที่ไม่มีอาจจะเพราะบริษัทเอกชนทำได้อยู่แล้วเลยไม่ตั้งเป็นรสกมั้ง. หรือไม่ทบก็มีโรงงานเองเช่น โรงงานซ่อมสร้างรถยนต์ โรงงานประกอบทีวีฯลฯ กองสัมพาวุธซ่อมยาง ฯลฯ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 03/08/2013 23:19:19


ความคิดเห็นที่ 4


เรื่องการวิจัยและพัฒนาควรให้กลาโหมดำเนินการ อันนี้ผมเห็นด้วยเลยครับ ไม่รู้ว่าก็คือ DTI หรือป่าว ส่วนหลังจากวิจัยสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต

ผมว่าการให้เอกชนดำเนินการเองทั้งหมดคือ เป้าหมายที่ดีมากเลยครับ แต่เรายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือป่าว ทำให้บางคนอาจไม่แน่ใจว่า ด้วยสภาวะการแข่งขันกันในธุรกิจปัจจุบัน ภาคเอกชนอย่างเดียวจะมีสายป่านยาวพอที่จะทำให้ การพัฒนาธุรกิจยานยนต์และยานเกราะของไทยเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้มั้ย กลัวจะไม่ไหว จนสุดท้ายก็ต้องหันไปเน้นรับจ้างประกอบให้กับต่างประเทศแบบเดิมหรือป่าว แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เกรงว่าจะต้องวนกลับไปที่การจัดหายานยนต์และยานเกราะจากต่างประเทศอีก ศูนย์เสียเงินให้ต่างชาติอีกหรือป่าว อันนี้ก็น่าคิดนะครับ

ส่วนโรงงานต่างๆ ที่ ทบ. มีอยู่แล้วนี่มีประโยชน์มากเลยครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถสร้างยานยนต์และยานเกราะในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้หรือไม่ เพราะมีหน้าที่หลักด้านอื่นด้วย ส่วนตัวก็เลยมองว่า เป็นไปได้มั้ยว่า มันยังขาดตัวเชื่อมโยงความสามารถของ ทบ.กับ ภาคเอกชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ยานเกราะของไทยอย่างยั่งยืนหรือป่าว อันนี้น่าคิดเหมือนกันนะครับ ดีครับที่มาช่วยกันคิด :D

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 04/08/2013 01:02:53


ความคิดเห็นที่ 5


เรื่องยานยนต์ เอกชนไทยหลายบริษัทก็ทำได้อยู่แล้วครับ ไม่ต้องตั้งเป็นรสกก็ได้เพียงแต่กองทัพและกลาโหมสนับสนุนก็พอ ส่วนยานเกราะทบไม่เน้นสร้างเน้นซ่อมกับดัดแปลง จริงๆมีความสามรถขนาดซ่อมระดับโรงงานถอดประกอบใหม่ได้. แต่เหมือนเราเคยคุยกันว่าถ้า ทหารทำเอง ครบจำนวนแล้วทำไง.ทำขายก็ไม่ได้ ปิดโรงงานหรือ จึงอยากให้เอกชนทำมากกว่า มันต่างจากเรือครับมเรือต่อทีล่ะลำ ลำล่ะเป็นปี น่าจะคุ้ม taiก็เน้นซ่อมและปรับปรุงเหมือนกัน

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 04/08/2013 08:48:49


ความคิดเห็นที่ 6


ผมก็มองว่าเอกชนไทยทำได้ครับ มั่นใจเลย สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า เป็นการรับจ้างผลิตแล้วติดยี่ห้อต่างชาติหรือป่าวนะครับ ถ้าเป็นแบบนั้นผมคิดว่า สุดท้ายเราก็คงต้องซื้อรถที่เป็นยี่ห้อต่างชาติเหมือนเดิม การซื้อรถยี่ห้อต่างชาติหนึ่งคัน (แม้จะสร้างในไทยก็ตาม) สมมติว่าราคา 600,000 บาท มีใครมีข้อมูลบ้างมั้ยครับว่า เงินจำนวนนี้ออกนอกประเทศกี่บาทและอยู่ในประเทศกี่บาทครับ ใครทราบช่วยให้ข้อมูลทีครับ ส่วนตัวกังวลเพราะว่า จำนวนเงินที่ไหลออกนอกประเทศก็เหมือนเลือดที่ไหลออกจากร่างกายครับ ไหลออกมากๆ เราก็จะอ่อนแอลงเรื่อยๆ แต่ถ้าเราอุดช่องเงินไหลออกได้มากขึ้น เราก็จะมีเงินไหลเวียนในประเทศมากขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รึป่าว นี่ก็อาจทำให้บางคนคิดไปได้ว่า เป็นสาเหตุให้มาเลเซียมีเงินจับจ่ายจัดหายุทโธปกรณ์ได้มากกว่าเราทั้ง เรือดำน้ำและเครื่องบิน เพราะเขามีรถยนต์ของเขาเองด้วยหรือป่าว อันนี้ก็น่าคิดนะครับ

 

ส่วนความสามารถของโรงงานใน ทบ. นี่ ผมเพิ่งทราบว่า เก่งขนาดซ่อมระดับโรงงานได้นะครับ ขอบคุณ ท่าน skysky สำหรับข้อมูล แต่ก็น่าเสียดายที่ต่อยอดไปจนทำขายไม่ได้ ถ้าทำให้โรงงานพวกนี้ทำขายได้ก็คงจะดีนะครับ ไม่แน่ใจว่าถ้าทำให้โรงงานของ ทบ. เหล่านี้เป็น รัฐวิสาหกิจ แล้วจะสามารถทำให้โรงงานเหล่านี้ทำรถขายได้หรือไม่ และที่สำคัญ นอกจากทำรถเกราะขาย มันยังมีสิ่งอื่น เช่น เครื่องยนต์ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะดีเซล นี่แหละครับ ผมไม่แน่ใจว่าเอกชนไทยทำเครื่องยนต์ได้ด้วยตนเอง ทุกชิ้นส่วน ทุกกระบวนการ 100% แล้วหรือยังนะครับ แต่ถ้าเราทำเครื่องยนต์ดีเซลใช้ได้เองในประเทศทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ผมมองว่ามันจะช่วยพัฒนาประเทศได้วงกว้างกว่าวงการยานยนต์ยานเกราะอีกนะครับ

 

ส่วน TAI ผมก็คิดว่าเน้นการซ่อมบำรุงเหมือนกันครับ แต่ถ้า บ.ทอ.๖ พัฒนาจนสมบูรณ์ก็ไม่แน่ว่าจะเปลี่ยนมาเป็นผลิตด้วยมั้ยนะครับ เพราะถ้าจำไม่ผิดเห็นว่า ผบ.ทอ. ว่าจะผลิตอยู่หลายลำนะครับ เพราะเน้นการพึ่งพาตนเองครับ ไม่แน่ใจนะครับ ก็ต้องลุ้นกันต่อไป บ้านเรายังไม่อะไรให้ลุ้นอีกหลายเรื่องว่ามั้ยครับ สนุกดีครับ :D

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 04/08/2013 18:20:00


ความคิดเห็นที่ 7


สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศครับ  องค์การมหาชน  สังกัด  กระทรวงกลาโหม

......แบบนี้ใกล้เคียง  รัฐวิสาหกิจ  ของกระทรวงกลาโหมไม๊ครับ.....

แต่ว่า  ก็นะ   บางทีบ้านเราน่ะ  ทำอะไรๆที่ดูแล้วมันง่ายๆ  ก็มักจะทำให้ยากๆเข้าไว้  แล้วมันไม่ยั่งยืนด้วยเรามักยืมจมูกคนอื่นหายใจ  แล้วมักพร่ำบ่นกับตัวเองไปวันๆเท่านั้น  ลุกขึ้นมาทำอะไรก็ติดนั่นนี่

อ้างว่าเราทำไม่ได้  เราติดนั่นนี่  ติดกฎหมายนั้น  ติดกระทรวงนี้  กองทัพโน้น  ภาคเอกชนเขาเลยไปทำของอื่นๆขายดีกว่าและเรามักจะอิงกับมหาอำนาจ  คือ  ฝ่ายนาโต  ทำให้เราไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง  เวลาเราคิดจะทำอะไร

ก็เกรงใจมหาอำนาจ  เพราะว่าเป็นตลาดซื้อของจากเรา  สินค้าเกษตร   ข้าว   หมู  ไก่  เนื้อ  นั่นนี่  ถ้าเราคิดจะทำสินค้าอุตสาหกรรมทางทหาร  หรือการป้องกันประเทศ  เรากลัวว่า  มหาอำนาจจะแบนเรา  ไม่ซื้อของๆเรา

ก็เท่านั้นแหละ  เราจึงยังคงเหมือนเด็กที่ยังไม่ดตครับ  คอยให้เขาป้อนข้าวป้อนน้ำอยู่เสมอ  เกิดมาชาตินี้คุณคิดว่า  ประเทศไทย  จะมีรถถังสัญชาติไทยเกิดขึ้นไหม   เอาแค่เครื่องยนต์ของรถถังนะครับ  บริษัทไหนจะผลิตให้

เพราะ ญี่ปุ่นเอง  ก็อิงมหาอำนาจ  อเมริกา  ไม่ขายให้เราอีก  กลัวเราจะทำแข่ง  มหาอำนาจกลัวนะครับ  กลัวว่าถ้าประเทศไหนๆก็ตาม  พึ่งพิงตัวเองได้  มหาอำนาจนั้น  ก็จะหมดความสำคัญ  พกวนี้เขากลัวครับ

 

โดยคุณ Nicolai เมื่อวันที่ 07/08/2013 00:11:53


ความคิดเห็นที่ 8


ใช่ครับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) สังกัดกลาโหมครับ แต่ที่สงสัยก็คือ รัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กองทัพบก น่ะครับ เพื่อจะได้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานเกราะยานยนต์ของไทยเราให้ยั่งยืนน่ะครับ

 

ส่วนเรื่องแรงกดดันจากต่างชาติ ผมเห็นด้วยครับ คิดว่ามีแน่นอน เพราะต่างชาติเขาเคยขายรถให้เรา ซึ่งทำกำไรให้เขาเป็นเงินมหาศาล แล้วมาวันนึงเราจะไม่ซื้อเขา เพราะจะทำใช้เอง มันก็ต้องมีการตอบโต้บ้างแน่นอน ทีนี้มันก็ขึ้นกับว่าใครจะดำน้ำอึดกว่ากันครับ ผมเลยมองว่าจะเหมือนเรื่องข้าวตอนนี้หรือป่าว ก็เราเคยขายข้าวราคาถูกมาตลอด อยู่มาวันนึงเราจะขายแพงขึ้น (เพื่ออะไร? อันนี้ก็ไม่ทราบครับ) :D ต่างชาติเขาก็คงไม่ซื้อง่ายๆ ส่วนตัวมองว่า มันก็เลยต้องแข่งกันว่าใครจะดำน้ำอึดกว่ากันหรือป่าว ถ้าเราอึดน้อยกว่าเขา เราก็ต้องยอมขายข้าวในราคาที่เขาต้องการ แต่ถ้าเราอึดมากกว่าเขา เราก็จะขายข้าวได้ในราคาที่เราต้องการ แต่ถ้าอึดพอๆ กันก็อาจจะพบกันครึ่งทางหรืออาจจะไม่มีการซื้อขายกันเลยก็ได้ อันนี้ก็น่าคิดนะครับ แต่ถึงยังไงผมว่าเราก็คงเอาข้าวไปทำประโยชน์ได้ เช่น อาจจะแลกกับ รถไฟ เรือดำน้ำ เครื่องบิน เป็นต้น

 

แต่ส่วนตัวคิดว่า การจะริเริ่มทำอะไรใหม่ๆ มันก็ต้องเสี่ยงและคงมีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราต้องการกลับไปเป็นผู้นำอาเซียน (เหมือนในอดีต) เราก็จะต้องพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่มีชาติใดในอาเซียนเคยทำ เพราะว่า ผู้นำจะไม่มีใครเดินนำหน้าเขาได้ ผู้นำจะเดินไปถึงที่ซึ่งยังไม่มีใครเคยเดินไปถึง เพราะถ้ามีใครเดินนำหน้าเขาได้ เขาก็ไม่ใช่ผู้นำแล้วล่ะครับ ดังนั้นผมว่าเราจึงควรเอา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ควรมองกลุ่มโอเปกเป็นตัวอย่างในเรื่องการขายข้าวครับ จึงจะนับได้ว่าเราเป็นผู้นำอาเซียน ความเห็นส่วนตัวนะครับ :D

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 08/08/2013 15:30:39