โครงการพัฒนาค.120มม.ให้เป็นค.เคลื่อนที่เร็วบนรยบ. 1 ตัน...ทำให้ลดพลประจำค. 120มม.ลงอีก 3 นาย โดยบริษัทปรีชาถาวรอุตสาหกรรมจำกัด
จากFBบก.สมพงษ์ครับ
อันนี้ปรส.
สนับสนุนบริษัทคนไทยครับ แต่ ...
ในอนาคต กระสุนวิถีโค้งขนาดเล็ก คงจะได้รับความนิยมน้อยลง เพราะระบบจรวด หรือ ขีปนาวุธ
จะมาแทน ( ยกเว้น ปรส.ที่ยังต้องใช้ตลอดไป ) ดังนั้น บริษัทคนไทยต้องปรับตัวให้ทันกับยุคสมัย
ประมาณว่า ซื้อแต่แบบชุดยิง แบบ BM21 มาติดตั้งบนรถบรรทุกของเราเอง หรือ ออกแบบเองก็ได้
บริษัทคนไทย .. กลาโหมต้องมีหุ้นส่วน ถึงจะอยู่ได้ ถ้ากลาโหมไม่มีหุ้นส่วน ก็ไม่มีลูกค้าสั่งซื้อ
กำไรที่ได้ ก็เป็นของกลาโหม ส่วนแบ่งกำไรที่ได้ ก็เอามาซื้อของจำเป็นแจกจ่ายทหารทุกนาย
เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงผลกำไร ก็ไม่มีใครแอนตี้โครงการนี้หรอก ..
เรือล่มในหนอง หนองในก็จะไปใหน... เอ้ยย.. ทองก็จะไปใหน อิอิ
ผมคิดว่า จรวด มาแทน ป. หรือ ค. ไม่ได้หรอก เป็นการ ใช้ ร่วมกัน เพื่อ ชดเชยข้อจำกัดของอาวุธแต่ละชนิด และยังมีเรื่องความคุ้มค่าของเป้าหมายนั้นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาว่า จะเอาอาวุธอะไรโจมตีอีกด้วย จรวดก็จรวด ปืนใหญ่ก็ปืนใหญ่ ถ้าเทียบกับจรวดที่ไม่ได้นำวิถี ปืนใหญ่หรือ อาวุธวิถีโค้ง จะแม่นยำกว่ามาก และ เรื่องราคา ลูก ค. หรือ ป. ก็ยังถูกกว่าจรวดอยู่ดี ....จรวดก็มีข้อดีของมันอยู่ ขอบคุณที่อ่าน
ผมว่ามันเล็กเคลื่อนที่หรือพลางตัวสะดวกกว่าระบบจรวดนะครับ เรามีปืนกล12.7มม.แล้วแต่เราก็ยังต้องการปืนกล7.62มมด้วยนี่นา
ปืนค.นี้ความสามารถมันไม่ธรรมดาครับ มันยิงวิถีโค้ง ข้ามแนวสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ หรือกำแพงกั้น
ไปหล่นตุ็บกลางวงเป้าหมายได้สบายๆได้ ขนาดก็มีตั้งแต่คนหิ้วถึงใส่รถ ตามความเหมาะสมของภารกิจ
อยู่หลังแนวปะทะ ใช้ยิงสนับสนุน โค้งข้ามหัวเพื่อนทหารฝ่ายเดียวกัน ไปหล่นใส่ศัตรู ได้สบายๆ
ขอเดาว่าภาพนี้คงเป็นภาพสุดท้ายในชีวิตก่อน......บู๊มมมมม.....กลายเป็นโกโก้ครั้นซ์...
อาวุธปืนค. มีความสำคัญไม่แพ้อาวุธอื่นๆครับ ที่สำคัญมากที่สุดคือ มันเป็นอาวุธที่ถูกใช้งานมาก ไม่แพ้ปืนใหญ่เลยทีเดียว ในการปะทะแต่ละครั้ง แม้กระทั้งของเรา ที่ปะทะกะเพื่อนบ้านเหมือนกัน
ของต่างประเทศ เขาก็ยังเล็งเห็นความสำคัญของมันมากเหมือนกันและเกิดการพัฒนาอาวุธชนิดนี้ไม่หยุดหย่อนเหมือนกัน
ดูอย่างเจ้าตัวนี้สิครับ เขาพัฒนามันไปถึงไหนแล้ว ติดตั้งบนยานเคลื่อนที่เร็วและทำการยิงอย่างรวดเร็ว
ผมว่ามันคงฟันธงไม่ได้ชัดเจนหรอกว่าอะไร...ดีกว่า...อะไร
มันน่าจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเป้าหมาย และ ภารกิจมากกว่า
ถ้าจะให้เอามาใช้ยิงสนับสนุนทหารราบในระดับหมู่ หรือ ระดับหมวด ระยะใกล้ๆ เช่น
ในการเข้าตีเพื่อยึดฐานข้าศึก หรือ ในการผลักดันข้าศึกที่พยายามเข้ายึดฐานเรา
หากจะเอาจรวดหลายลำกล้องมายิงมันก็คงจะดูเกินกว่าเหตุไปหน่อย
แถมจรวดหลายลำกล้องมันค่อนข้างจะกระจายวงกว้าง..ดีไม่ดีอาจมีแจ็คพอตมา
ตกในแนวพวกเดียวกันอีก...ทางที่ดีใช้ปืน ค.ยิงสนับสนุนน่าจะคล่องตัว และ
แม่นยำกว่า....ปรับแก้ตำบลกระสุนตกได้นัดต่อนัด...แต่จรวดหลายลำกล้อง
ยิงแล้วยิงเลย...หากลงไม่ถูกเป้าหมายก็ต้องมาเสียเวลาคอยจนกว่าจะบรรจุ
จรวดชุดใหม่เสร็จ
แต่ถ้าหากจะดวลกันในระยะไกลเป็นกิโลๆขึ้นไป....อันนี้ใครจะใช้จรวดหลายลำกล้อง
, ปืนใหญ่วิถีราบ/โค้ง หรือ ปืน ค.ปากลำกล้องใหญ่..ก็ต้องว่ากันไปตามสะดวกของแต่ละท่าน
ส่วนเจ้า ปรส.เนี่ย..โดยส่วนตัวของผมชอบ และ ไม่อยากให้เลิกใช้..เพราะมันใช้ยิงเป้าหมายได้
หลากหลายจริงๆ ทั้ง กลุ่มคน , ที่กำบัง , หรือ ยานเกราะ..แต่รู้สึกว่ามันจะเป็นอาวุธวิถีราบ...
ต้องมองเห็นเป้าหมายถึงจะเล็ง/ยิงได้ และ ตอนโผล่มาเล็งอาจโดนสวนได้เหมือนกัน
สนับสนุนให้เราพัฒนาไปเรื่อยๆ ครับ ทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เดี่ยวก็มีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของเราออกมา
ถ้าพัฒนาได้ตามแนวแบบนี้ คงแจ่มน่าดู
เพราะมันถูกใช้งาน ไม่แพ้กะปืนใหญ่เลย เผลอๆ ถูกใช้งานมากกว่าด้วยซ้ำ
ปืนค.มันมีความสำคัญเสมอแหล่ะครับ แล้วแต่เราจะเลือกใช้ให้เหมาะสมยังไง
ส่วนจรวดหลายลำกล้องนั้น มันก็มีความสำคัญและภารกิจไปอีกอย่าง ก็เหมือนอย่างที่ท่านข้างบนว่าแหล่ะครับ ถ้าจะให้โจมตีขนาดเล็ก จะให้ขนหลายลำกล้องแบบขนาดใหญ่ไปถล่ม มันก็กระไรอยู่+อาจมีผลกระทบระหว่างประเทศมากขึ้นและมันแบกไปได้ทุกที่ไม่ได้ง่ายซะด้วย
ชอบตัวนี้จังแฮ่ะ ขนาด 120 มม. ลูกมันใหญ่ดี โดนเข้าทีเดียว คงอ่วมอรทัยแน่ ตู๊ม...
Mortar 120 mm.
Note: ใส่เฉพาะ ID ไม่ต้องใส่ &list ครับงงกะรบบอับวีดิโอแท้...แก้ไข้ตัวที่อับก็ยาก ลบทิ้งตัวที่อับเสียก็ไม่ได้ *-*
Admin : แก้ไขให้แล้วครับ ใส่เฉพาะ ID ไม่ต้องใส่ &list ครับ
เกือบจะครบถ้วนสมบูรณ์แล้วครับท่าน hatyai และขอเสริมเพิ่มอีกนิดว่า
"โครงการพัฒนาค.120มม.ให้เป็นค.เคลื่อนที่เร็วบนรยบ. 1 ตัน...ทำให้ลดพลประจำค. 120มม.ลงอีก 3 นาย โดยบริษัทปรีชาถาวรอุตสาหกรรมจำกัด"
ดังกล่าวที่ว่านั้นมันจะคล้ายกับในหน่วยยานเกราะสนับสนุนการรบของ Panzer ของนาซีเยอรมันในสงครามโลกเลยครับ คือรถ armor ของหน่วยเพนเซอร์จะบรรทุกหน่วยปืนครก Mortar 80 mmพร้อมพลประจำปืน 3 นายและพลขับ 1 นาย (Puma-11)
http://modelsuwemilitaria.blogspot.com/2013/06/puma-11-panzerspahwagen-2342-panzer.html
เพื่อทำให้การโจมตีแบบเฉพาะจุดเล็กๆและในระยะใกล้ จะช่วยทำให้การสนับสนุนการรบกับหมู่พลปืนกลเบาได้ดีและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
แต่เจ้ารถดังกล่าวคงจะทำการรบได้แค่ในที่โล่ง ในป่าทึบคงจะเข้าไปไม่ได้สะดวกนัก (ลองไปหา download หนัง HBO เรื่อง THE PACIFIC ดูครับแล้วจะรู้ว่าปืนครกมีความสำคัญเพียงใด)
*** ซึ่งจริงๆแล้วก็มีพลปืน M79 หรือ M203 อยู่แล้วแหละ แต่พลทหารเหล่านี้ก็มีโอกาสโดนสอยไปก่อนโดยพลแม่นปืนหรือ sniper เวลาทำการรบจริงตอนกำลังอยู่ในช่วงเข้าตีฐาน ดังนั้นอย่างไรเสียหน่วยปืนครกเหล่านี้ก็ยังมีความจำเป็นอยู่ครับในโลกปัจจุบัน
เรื่องประสิทธิภาพไม่ขออกความเห็นนะครับยิงได้ก็โอและ แต่เท่าที่ผมสังเกตุนะบริษัทผู้ผลิตยุทธโทปกรณ์ในบ้านเรา(เห็นหลายบริษัทละ)น่าจะขาดแคลนบุคลากรทางด้านการออกแบบนะ รูปทรงมันเรพโทย้อนยุคยังกะหลุดออกมาจากยุคสงครามโลกอะไรแบบนั้น ผมอยากไห้ปรับปรุงในส่วนนี้
ก่อนอื่นต้องแยกภาระกิจให้ออกก่อนครับ ค.120 มม. เป็นอาวุธระดับกรมทหาราบ ปรส.106 เป็นอาวุธระดับกองพันทหารราบ ส่วนปืนใหญ่ จรวดหลายลำกล้องจะเป็นอาวุธ ของหน่วยทหารปืนใหญ่ ค.120 ระยะยิงไกลเกิน 5 กม.ครับ กระสุนบางแบบเกิน 7 กม.ด้วย สมมุติว่าระดับกองพันเข้าตีหรือตั้งรับ มี ค.120 ไปด้วยอุ่นใจมาก หน่วยลาดตระเวนของเรา หรือผู้ตรวจการณ์หน้าของเราเจอข้าศึกเคลื่อนกำลังหรือวางกำลังอยู่นี่ ในระยะยิงนี้เสร็จเราแน่ และมีความอ่อนตัวในการใช้ค่อนข้างสูง ความรุนแรงสูง การเดินทางของกระสุนสั้นลง แต่ก่อนหน้านี้เวลารบจริง ระยะไกลกว่านี้เราจะมีปืนใหญ่ดักรอไว้ก่อนแล้ว ภาระกิจคล้ายกันแต่ลำดับความจำเป็นต่างกันครับ รายละเอียดลึก ๆ คงต้องรอท่านอื่น หรือรอท่านผู้กองบอม ครับ
ถ้าบริษัทนี้ ทำรถตีนตะขาบ เคลื่อนที่เร็วล่ะ แจ๋วเลย ผมว่า กลาโหม น่าจัดงบ ให้เขาสักก้อนนะ
จะติดตั้งปืนกล ปืนคอ จรวดหลายลำกล้อง ก็เอาเลย.......
Ripsaw1
พูดถึง ปรส. แล้ว..ก็นึกได้...ผมมีข้อสงสัยมานานตั้งแต่สมัยเรียน นศท. ( แต่ไม่กล้าถามครูฝึก )
ขอแยกถามเป็นข้อๆตรงนี้เลย....คิดว่าคงไม่หลุดประเด็นจากหัวข้อกระทู้นะครับ
1.ไอ้ ปืน.50 ที่ติดตั้งด้านบน ปรส. 105 ม.ม. เนี่ย....มันใช้กระสุนแบบเดียวกับ ปก.93 รึเปล่าครับ
เคยอ่านในตำรา นศท. รู้สึกเค้าจะบอกว่า ปืนจะบรรจุกระสุนส่องวิถี 10 นัดใช้เป็นปืนชี้เป้า..
ถ้าเราดัดแปลงซองกระสุนให้บรรจุได้มากขึ้น และเปลี่ยนจากกระสุนส่องวิถีมาเป็นกระสุนธรรมดา
หรือเจาะเกราะ เพื่อใช้งานในลักษณะปืนกลร่วมแกน..ไม่ทราบว่าจะทำได้มั้ยครับ
2.ผมยังสงสัยว่าโดยหลักการทำงานของ ปรส.เนี่ย ความจริงแล้วมันควรจะจัดให้เป็นเครื่องยิงจรวด
แบบนึงรึเปล่า..ยิ่งปรส.ยุคใหม่ อย่างคาร์ลกุสตาฟเนี่ย..หน้าตามันก็อารมณ์บาซูก้าเลย..และดูแล้ว
วิธีการใช้งานของ ปรส.ก็ไม่ต่างจาก คจตถ.75 ม.ม. หรือ ระบบจรวดทั้งหลายซักเท่าไหร่ คือ บรรจุกระสุน
ทางด้านท้ายลำกล้อง , เวลายิงส่วนที่เป็นหัวรบก็จะออกทางปากลำกล้อง ส่วนท้ายลำกล้องจะเปิดและมี
เปลวไฟพุ่งออกทางด้านหลังเพื่อลดแรงสะท้อน
ค.หรือเครื่องยิงลูกระเบิด ถือได้ว่าเป็นอาวุธยิงสนับสนุนหลักในมือของบรรดาเหล่าชาวกระเพาะแถกดิน(ราบ)และม้า ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธหลัก ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นระบบอาวุธที่มีคุณค่าและยังจำเป็น จุดเด่นคือ มีความอ่อนตัว อัตรายิงสูง มีแบบลูกระเบิดยิงหลายแบบตามลักษณะเป้า ฯลฯ
ค.หลักที่มีประจำการในทบ.ถ้าไล่ตามขนาดก็ 40,60,81 และ 120 มม.(ค.4.2นิ้ว ก็ยังมีบางหน่วยยังคงใช้งานอยู่)
ในส่วนของทหารราบ ค. อาจจะเปรียบได้เป็น ปืนใหญ่ทหารราบ มีอำนาจการยิงสูง มีทั้งแบบ เล็งตรง ยิงตรง และ เล็งจำลอง ยิงวิถีโค้ง ในส่วนของแบบ เล็งจำลอง ก็มีทั้งใช้เทคนิค ใช้ ศอย.(ศูนย์อำนวยการยิง) และไม่ใช้ ศอย.
ค.40 มม. มีใช้งานใน 2 ระดับหน่วย คือ ในหมู่ปืนเล็ก(M79,M203 ฯลฯ) ระยะยิงหวังผลเป็นพื้นที่ 300 เมตรและใน หมวดลาดตระเวน ของ กองร้อยสนับสนุนการรบ(หรือกองร้อยกองบังคับการสำหรับทหารราบเบา) กองพันทหารราบ ซึ่งจะมีทั้ง 2 แบบ ทั้ง M79/M203 และ ค.40มม.อัตโนมัติ ค.40 อัตโนมัติ ระยะยิงไกลสุด ถ้าเป็นศูนย์เปิด 1500 กล้องเล็ง 2200
ค.60 มม. มีใช้งานใน มว.ค.60 กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ระยะยิงไกลสุดแล้วแต่แบบของ ลูกระเบิดยิง และ เครื่องยิง ที่หน่วยนั้นๆใช้ กลางๆก็ประมาณ 2 กม.(+ - ) แต่บางหน่วยได้รับ ค.60 ลองเรนซ์แบบใหม่ ซึ่งถ้าใช้ลูกต่อระยะยิง ยิงได้ 6.4 กม.
ค.81 มม. มีใช้งานใน ตอน.ค.81 หมวดอาวุธหนัก กองร้อยสนับสนุนการรบ(หรือใน หมวด ค.81 กองร้อยกองบังคับการสำหรับทหารราบเบา) กองพันทหารราบ ระยะยิงไกลสุดแล้วแต่แบบของ ลูกระเบิดยิง และ เครื่องยิง ที่หน่วยนั้นๆใช้ กลางๆก็ประมาณ 3 กม.นิดๆ
ค.120 มม. มีใช้งานใน กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบ ระยะยิงไกลสุดแล้วแต่แบบของลูกระเบิดยิง กลางๆ ประมาณ 6 กม. กว่า ลูกต่อระยะยิงได้ประมาณ 9 กม.
สรุปคร่าวๆ
ค.40 มม. เป็นอาวุธยิงในระดับ หมู่ปืนเล็ก ในส่วน ค.40 อัตโนมติ มีจุดอ่อนตัวสูง แล้วแต่การใช้งาน
ค.60 มม. เป็นอาวุธยิงสนับสนุนหลักในมือสำหรับ กองร้อยอาวุธเบา ใช้งานได้หลายแบบ เช่น ตั้งยิงเป็นส่วนร่วมทั้งหมวด หรืออาจจะแยกบาง หมู่ ค.60 ไปขึ้นสมทบกับ หมวดปืนเล็ก ก็ได้
ค.81 มม. เป็นอาวุธยิงสนับสนุนหลักในมือสำหรับ กองพันทหารราบ นิยมใช้งานแบบตั้งยิงเป็นส่วนรวมอย่างเดียว
ค.120 มม. เป็นอาวุธยิงสนับสนุนหลักในมือสำหรับ กรมทหารราบ ใช้งานได้หลายแบบ แต่ก็นิยมแยกไปสมทบ กองพันทหารราบ กองพันละหมวด และเก็บ 1 หมวดไว้ ช่วยส่วนรวม
ย้อนกลับมาที่ ค.120 อจ.(อัตราจร) ตามรูปในกระทู้
ส่วนตัวว่า มันยังเป็นแบบกั๊กๆ ถ้าเทียบกับแบบ ลจ.(ลากจูง) คือมันมีจุดดีในภาพรวมมากกว่าแบบ ลากจูงตรงส่วนไหนบ้าง
1.เท่าที่เห็นในรูปน่าจะเป็นท่าตั้งยิง ซึ่งตรงนี้ยังไม่เห็นการเก็บปืนในท่าเคลื่อนย้าย แต่ถ้าท่าเคลื่อนย้ายปืนยังตั้งอยู่ในลักษณะนี้มันดูแหม่งๆพิกล เพราะเท่าที่ดูตามรูปในส่วนขาหยั่งน่าจะล็อคกับพื้นรถเฉยๆ ในรูปมองไม่เห็นแผ่นฐาน เลยไม่รู้ว่า ใช้แผ่นฐานมาตรฐานแล้วทำจุดยึดล็อคกับพื้นรถ หรือออกแบบแผ่นฐานแบบใหม่บิวท์อินกับพื้นรถกันแน่ แต่ถ้าเคลื่อนย้ายในท่านี้ ส่วนตัวคิดว่าจะมีผลกับตัวปืนเวลารถเคลื่อนย้ายในภูมิประเทศ
2.เท่าที่ดูตามรูป หากบอกว่า สามารถลดจำนวนพลประจำรถได้ ผมว่าแหม่งๆอีกเช่นเคย เพราะเท่าที่ดูไม่มีจุดไหนที่เป้นระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วย แล้วมันจะลดจำนวนพลประจำปืนได้ยังไง แถมจะเป็นตรงกันข้าม เพราะรถปืนไม่มีที่พอสำหรับพลประจำปืนที่เหลือและกระสุนติดปืน จึงจำเป็นต้องมีรถอีก1คันต่อ 1 ปืน ซึ่งจะกลายเป็นใช้รถ 2 คัน ต่อ 1 หมู่ ปืน 1 คันเป็นรถปืน อีก 1 คันเป็น รถกระสุนและพลประจำปืน ซึ่งแบบลากจูง ใช้รถคันเดียว
3.การตั้งยิง ค.บนรถ จะมีข้อเสียใหญ่ๆคือ มุมส่ายจะจำกัด ไม่สามารถยกขาหยั่งช่วยได้ ถ้ามุมส่ายไม่พอต้องขยับรถ นั่นหมายถึงต้องเสียเวลาเพิ่มเพราะต้องเลย์ปืนใหม่หมด ส่วนใหญ่จะใช้ยิงในการเข้าตี แต่ถ้าตั้งรับต้องยกมาตั้งยิงนอกรถ(เพราะการตั้งรับมีกว้างด้านหน้ามากกว่าเข้าตี โอกาสใช้มุมส่ายกว้างกว่า) ในยานเกราะสายพานหรือล้อยางที่ติด ค. จะมีขาหยั่งและแผ่นฐานสำหรับตั้งยิงปกตินอกรถ ติดรถไปด้วยสำหรับ การตั้งรับ ถ้ารถ ค. ในรูปเป็นแผ่นฐานปกติที่ล็อคกับพื้นรถก็สามารถยกมาตั้งยิงนอกรถได้ และยิ่งจะลดกำลังพลไม่ได้ เพราะไม่มีระบบอัตโนมัติช่วย
4สรุป รถ ค. ตามรูป จะนำไปใช้ในหน่วยไหน ถ้าหน่วยยานเกราะ ก็ไม่เวิร์ค เพราะไม่มีเกราะป้องกันเหมือนส่วนดำเนินกลยุทธและต้องมีรถขนกระสุนไปด้วย ซึ่งสู้ยานเกราะติด ค. ไม่ได้ ถ้านำไปใช้ในหน่วยเดินเท้า ตามข้อต้นๆที่กล่าวมา ส่วนตัวว่าในภาพรวมก็ไม่ได้เหนือกว่าแบบลากจูงที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
ปืนชี้เป้าขนาด .50 บน ปรส.106 มม. กระสุนคนละแบบกับกระสุน .50BMG ของ ปก.93 ครับ มีไว้ยิงนำเพื่อทราบขีปนวิถีเพื่อเพิ่มโชคในการยิงถูกเป้าในนัดแรกครับ
รยบ.ตามรูปจัดเป็น รยบ.ขนาด 1/4 ตัน ครับ ไม่ใช่ 1 ตัน