หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สรุปสถานการณ์เรือดำน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยคุณ : กัปตันนีโม เมื่อวันที่ : 02/08/2013 05:23:15

ไหนๆ คราวที่แล้วโพสต์เรื่องเรือดำน้ำรัสเซียไป ขอโพสต์ต่อเรื่องเรือดำน้ำรอบบ้านเราบ้างครับ

จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้หลายประเทศเริ่มมีโครงการจัดหาเรือดำน้ำในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และล่าสุดคือน้องใหม่เวียดนาม ซึ่งมีข้อสังเกตว่าแต่ละประเทศได้จัดหาเรือดำน้ำจากค่ายต่างๆ กัน (สวีเดน ฝรั่งเศส เยอรมัน และรัสเซีย ตามลำดับ) ในส่วนของไทยเรามีโครงการเรือ 206A มือสองไปเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนโคลอมเบียได้ "สอย" เรือดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว และ ทร.กำลังมีโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงอยู่ในปัจจุบัน ทำให้โครงการเรือดำน้ำต้องหยุดพักไปก่อน

มีหลายคนที่เสนอแนะเรื่องการจัดหาเรือดำน้ำมือ 2 จากประเทศอื่น แทนการซื้อมือ 1 ซึ่งจะมีราคาสูงกว่ามาก แต่ในสภาวะเศรษฐกิจขาลงในภาพรวมของโลกในปัจจุบัน ตลอดจนความทันสมัยไฮเทคของเรือดำน้ำใหม่มือ 1 ที่ดูจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศที่มีเรือดำน้ำอยู่แล้วในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยึดมั่นถือมั่นกับเรือดำน้ำเก่าของตนให้นานที่สุด และคงไม่มีใคร "ปล่อยของ" มือสองกันง่ายๆ ในช่วงนี้ ยกเว้นประเทศที่มีโครงการต่อเรือดำน้ำชั้นใหม่ขึ้นมาและต้องการ "โละกรุ" เรือเก่าเพื่อลดค่าใช้จ่ายแบบเดียวกับกรณี 206A ทำให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของ ทร. ซึ่งทำให้ความเป็นไปได้ของ ทร.ที่จะมีเรือดำน้ำดูจะดำมืดลงไปทุกที ไม่ทราบว่าเพื่อนสมาชิกบอร์ดมีความเห็นในเรื่องนี้กันอย่างไรบ้างครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม http://kapitaennem0.wordpress.com/2013/07/28/204/

ที่มา http://thediplomat.com/flashpoints-blog/2013/07/16/the-submarine-race-in-the-malaccan-strait/

 





ความคิดเห็นที่ 1


ฟรีเกต สมรรถนะสูงควรวางใว้หลังเรือดำน้ำ เพราะชุดเรือ รล  นเรศวร ก็อัพเกรดไปตามแผนระยะประจำการ

และควรมองไปในทางอินโดนิเซีย/เกาหลี เพราะจะใด้เป็นกลุ่ม ที่จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน ในภาวะที่เหมาะสมในอนาคตข้างหน้า

กองทัพเรือจะใด้มีกำลังรบครบมิติ ถ้ามองไปทางจีน ทัพเรือก็มีบุคลากรนั่งโต๊ะที่พร้อมจัดปรับปรุงระบบให้เข้าใด้กับ ระบบของทัพเรือที่มีอยู่

จัดนำเข้าประจำการทีละ 1ลำก็ยังดี นะครับ

 

 

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 29/07/2013 09:53:18


ความคิดเห็นที่ 2


สำหรับผมคิดว่าถ้ามันถึงเวลาที่ทร.ไทยจะต้องมีเรือดำน้ำไว้ใช้งาน มันก็ต้องมีครับ พวกที่ชอบต่อต้านและคัดค้านกันมาตลอด ก็จะไม่สามารถคัดค้านได้อย่างแน่นอนครับ แต่น่าจะเป็นการจัดหาและจัดซื้อเรือดำน้ำจากทางฝั่งเอเชียเสียมากกว่า เพราะราคาไม่แพงมากเหมือนกับทางฝั่งยุโรป

*** ในใจผมมีอยู่สอง สเปกส์ คือ Type209/1400 และถ้าเป็นไปได้ก็อยากได้ Type214  ก็จะดีมากๆเลยครับ(ใจรักแบบไม่เสื่อมคลาย อิอิ...)

 

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 29/07/2013 11:56:01


ความคิดเห็นที่ 3


รัสเซีย จีน เกาหลี ในความคิดผมนะฝั่งแถบนาโต้รู้สึกว่ายากครับๆแต่ผมแอบเท่ใจให้ รัสเซียนะหลงไหลเป็นการส่วนตัวครับ

โดยคุณ Nazgul เมื่อวันที่ 29/07/2013 12:26:21


ความคิดเห็นที่ 4


คุณกัปตันนีโม ครับ

เรามาช่วยกันคิดครับ ทำยังไงจะได้มีเรือดำน้ำไว้ปกป้องประเทศเรา มันก็น่าคิดนะครับ ขอซื้อเรือ ดน. ใหม่ 2 ลำ ราคารวม 40,000 ล้าน ก็ไม่ได้ บอกแพงไป งั้นลองใหม่ขอซื้อมือสอง 6 ลำ ราคารวม 7,000 ล้าน มันก็ไม่ได้อีก บอกเก่าไป :D ถ้างั้นเราต้องเล่นไม้นี้แล้วครับ ตื้อเท่านั้นที่ครองโลก :D ในความคิดผมนะ จากข้อมูลที่ คุณกัปตันนีโม ให้มานั้น การซื้อเรือ ดน. ใหม่คงเป็นเรื่องยาก ใช้เวลานานและงบประมาณสูงใช่มั้ยครับ ถ้างั้นเพื่อความรวดเร็วเราก็ต้องมองหาเรือมือสองถูกมั้ยครับ แต่มองไปทางไหนตอนนี้ก็ไม่มีใครจะขายอีกถูกมั้ย มองไปมองมา อ้าว...น้อง u206a (คู่กันแล้วไม่แคล้วกัน) โคลัมเบียสอยไป 4 ลำ จาก 6 ลำ รึเปล่า แล้วมันยังเหลืออยู่ที่เยอรมันอีก 2 ลำ รึเปล่าครับ?? :D ถ้ายังอยู่ก็ลองซื้ออีกครั้งครับ หรือเช่าก็ได้ ผมเคยได้ยินมาว่าถ้าโครงการใช้งบประมาณไม่มากเท่าไหร่ ไม่จำเป็นต้องเข้า ครม. รึเปล่า ไม่แน่ใจครับ ใครรู้ระเบียบนี้ช่วยดูที เรารักจริงหวังแต่ง (ทุกราย) :D แต่ผมว่าคราวนี้คงต้องแก้เคล็ดนิดหน่อยคือ ควรบอกว่า ขอซื้อหรือเช่าเรือ u206a จำนวน 2 ลำนี้ เพื่อมาเป็นต้นแบบการสร้างเรือดำน้ำเอง ซื้อแบบเรือมาด้วยได้มั้ย เน้นการพึ่งพาตนเอง (ก็ลองขอซื้อมาใช้งานมันไม่ได้รับอนุมัติ ก็ลองแก้เคล็ดดู แต่ซื้อมาแล้วจะเอามาฝึกด้วย คิดว่าตำรวจคงไม่มาจับทหารเรือหรอก) เทคโนโลยีบางอย่างอาจจะเก่าไปหน่อยสำหรับปัจจุบัน แต่ก็น่าจะเหมาะกับการเริ่มต้นฝึกและสร้างเองของเรา นอกจากนี้ยังเอาเทคโนโลยีของ u206a มาต่อยอดพัฒนายานใต้น้ำ ของ ทร. ได้เร็วขึ้นด้วย เริ่มจากง่ายๆ ไปก่อน พอชำนาญขึ้นค่อยขยายขนาดเรือ เพิ่มเติมติดตั้งระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไป ก็เหมือนกับที่ ทร. เริ่มสร้างเรือผิวน้ำจาก เรือตรวจอ่าว ลำเล็กมาก่อน แล้วค่อยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ นั่นแหละครับ

ส่วนตัวผมคิดว่า กองทัพที่พัฒนาโดยใช้พื้นฐานการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์เอง กับ กองทัพที่พัฒนาโดยใช้พื้นฐานการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เป็นหลัก จะมีความแตกต่างกันในอนาคตนะครับ ผมว่ากองทัพที่สร้างอาวุธยุทโธปกรณ์เองน่าจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่กองทัพที่ซื้ออย่างเดียวน่าจะมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ ครับ เพราะของพวกนี้ราคาจะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่บางท่านอาจเห็นว่าปริมาณไม่ใช่เรื่องสำคัญใช่มั้ย :D ก็ขอช่วยคิดดังนี้แหละครับ สงสารแม่สายบัวเยอรมัน ไม่อยากให้แกรอเก้อ แต่ถ้าเธอไม่อยู่แล้วก็คงต้องมองไปที่สาวเกาหลีอย่างเดียวล่ะครับ โอ้ อาริดัง :D

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 29/07/2013 15:43:28


ความคิดเห็นที่ 5


   สำหรับผมเห็นว่าทร.ไทยคงอยากได้เรือเยอรมันมากที่สุดครับ   ไม่ว่าจะเป็น  type 209/1400  หรือ  type 210 mod class  หรือ  type 212/214  สำหรับฝั่งอันดามัน   

   แต่ปัญหาเดิมๆของ ทร. คือ เงินครับ    ดังนั้นคิดว่าคงมีปัญหาเหมือนเรือฟรีเกตชุดนี้ที่ตอนแรกตั้งใจจะต่อจากเยอรมันแน่นอน   แต่พอเจอราคา........ถอดใจครับ    แพงเหลือหลาย

 type 212/214  น่าจะไม่ต่ำกว่า 24000 ล้านบาทแล้วนะครับสำหรับ พศ.นี้

type 210 mod  ผมเดาว่าถ้าติดตั้งระบบ AIP  เพิ่มเข้ามา   ราคาไม่น่าจะน้อยกว่า  15,000 บาท หรือกว่านั้น

type 209/1400  AIP   ราคาคงไม่น้อยกว่า type 210 mod  

   ดังนั้นค่ายเยอรมันนี่ถอดใจเรื่องราคาจริงๆครับ    เรือดีมากจนถึงดีที่สุด   แถมยังสามารถใช้ IDAS  ได้ด้วย   เหมือนแมงป่องทะเลที่ได้ยินข่าวว่ากำลังสนใจ   Mica รุ่นยิงจากเรือดำน้ำ




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/07/2013 21:55:41


ความคิดเห็นที่ 6


   จากกระแสเกาหลีที่มาแรง    และราคา  type 209/1300 เวอร์ชั่นเกาหลีที่ขายให้อินโดในราคาประมาณ 10,000  ล้านบาทต่อลำ(ไม่มีระบบ AIP)  หรือ 330  ล้านเหรีญ    ดังนั้นจึงมีแนวโน้มจะเป็นเกาหลีอีกครับ

   และจากแผ่นโบรว์ชัวร์ที่ป๋าจูลดาสลงไว้เป็นรูป  DW-1400 T   ซึ่งมีการติดตั้ง  AIP (ที่เกาหลีพัฒนาเอง)   ดังนั้นเรือชั้นนี้น่าจะใกล้เคียง  Type 209/1400  AIP  ของเยอรมัน    

  และถ้าราคาไม่เกิน  12,000  ล้านบาทต่อลำ     ผมว่า  DW-1400 T  จึงมีโอกาสสูงมากครับ  

 

  สำหรับผม  ทร. ควรมีเรือฝึกที่ใช้รบได้และเหมาะสมกับอ่าวไทยตอนในที่ตื้นและน้ำขุ่นมาก    เรือควรมีขนาดเล็กต่ำกว่า 1000 ตัน   แบบ  Type 206A    ซึ่งผมก็มองที่เกาหลีอีกแหล่ะครับ  นั่นคือ  KSS-500A   ซึ่งทางเกาหลีทำการต่อใช้งาน 5 ลำ   และออกแบบเอง    ดังนั้นราคาจึงน่าจะถูกลงมากครับ

 

สรุป   ในแนวทางของผมเสนอว่าเป็นเรือใหม่ครับ 

1.  เรือรบหลัก  DW-1400  T   เหมาะสมตามสภาพงบประมาณของ ทร.  จำนวน 2 ลำ

2.  เรือฝึกและรบ   KSS-500A  ทำการ mod  ขยายขนาด 600-800 ตัน   สเปกตาม ทร.กำหนด  จำนวน 2 ลำ

 

ราคาทั้ง 4 ลำ    ในการเดาของผม   น่าจะอยู่ในช่วง  33,000 - 40,000  ล้านบาทครับ   ใช้งบมากกว่าเรือฟรีเกตชุดนี้  3,000 - 10,000 ล้านบาทครับ   พอลุ้นได้

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/07/2013 22:11:08


ความคิดเห็นที่ 7


เสนอ S-1000 ลูกครึ่งรัสเซีย/อิตาลี เข้าประกวด อินเดียแสดงความสนใจ 6 ลำแล้ว

http://en.wikipedia.org/wiki/S1000-class_submarines

 

 


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 30/07/2013 10:13:13


ความคิดเห็นที่ 8


 S-1000 ยิงจรวด Strike Missiles ได้ด้วยถือเป็นหมัดเด็ดเลยนะเนี่ยะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Naval_Strike_Missile

แต่ราคาโหดอยู่พอสมควร ประมาณว่าเล็กแต่แจ๋ว อินเดียวางแผนจะซื้อในราคาลำละ 583 ล้านดอลล่าสหรัฐ(18,000 ล้านบาทต่อลำ) เรือชั้น kilo ที่เวียดนามซื้อถูกกว่าอีก ลำละ333 ล้านดอลล่าสหรัฐ (10,000 ล้านบาทต่อลำ)

According to WIKI S1000 submarine class - Wikipedia, the free encyclopedia There are plans to buy 6 Submarines at the cost of 3.5 Billion USD.
 

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 30/07/2013 11:15:59


ความคิดเห็นที่ 9


   สายหลุดระหว่างการส่งเลยออกมา 2 ความเห็นซ้ำกัน   รบกวนแอดมินช่วยกรุณาลบออกไป 1 อันด้วยครับ

 

สำหรับ  KSS-500A   เนื่องด้วยมีระยะปฎิบัติการสั้นแค่ 21 วัน    ดังนั้นอาจจะมีการสน๊อกกิ้งแค่ 2 ครั้งเท่านั้น   ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมีระบบ  AIP  ก็ได้ครับเพื่อให้ราคาถูกลง    และเนื่องด้วยเกาหลีใต้ออกแบบและพัฒนาเองทั้งหมด   ระวางขับน้ำน้อย  แค่ประมาณ  500  ตัน  ซึ่งก็พอๆกับ  type 206A    ดังนั้นราคาน่าจะถูกลงเป็นอันมากครับ   ถ้าทร.ไทยจะ mod ให้เหมาะสมกับเรามากขึ้น  คือ  อาจจะให้มีท่อตอร์ปิโดหนัก 6 ท่อยิง แทนที่จะเป็น  2 ท่อยิงตอร์ปิโดหนัก 4 ท่อยิงตอร์ปิโดเบา      มีห้องรองรับหน่วยซีล  หรือ นักเรียนฝึกหัดเดินเรือด้วยก็ได้ครับ   ระวางน่าจะใหญ่ขึ้นเล็กน้อย คือ  ใหญ่ขึ้นมาเป็น  600-800 ตั

 

และเนื่องด้วยทางเกาหลีกำลังพัฒนา  K-SAAM  ที่จะเป็นจรวดที่จัดชั้นเดียวกับ   MICA  และ  RAM block-2  และ  AIM-9X   ซึ่ง  MICA และ  AIM-9X  จะมีรุ่นยิงจากเรือดำน้ำเหมือน IDAS  ของเยอรมัน    ดังนั้นในอนาคตไม่แน่ว่า  K-SAAM   อาจจะมีการพัฒนารุ่นที่สามารถยิงจากเรือดำน้ำได้เช่นกัน     เพราะเกาหลีมักจะเล่นตามกระแสนิยมอย่างรวดเร็วเสมอครับ

 

  K-SAAM  นี่เป็นการคาดเดาของผมล้วนๆนะครับ    แต่เกาหลีมักจะทำสินค้าออกมาตามกระแสอย่างรวดเร็วเสมอครับ   เหมือนๆระบบ AIP    

 

 





โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/07/2013 22:31:24


ความคิดเห็นที่ 10


   และที่สำคัญ  สำหรับเกาหลีใต้นั้น   เราอาจจะได้รับข้อเสนอ offset ทางอุตสาหกรรมมากที่สุดก็ได้  อย่างขอสิทธิบัตรการต่อเรือดำน้ำทั้ง 2 แบบ ในประเทศไทยได้.......ซึ่งอันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าประเทศที่สามารถสร้างอาวุธเองได้ในยุคนี้  โดยต้นทุนไม่สูงดังชาติเอเชียแถบนี้   น่าจะสามารถรองรับการแข่งขันอาวุธได้ง่ายกว่า ประเทศที่เอาแต่ซื้ออย่างเดียวครับ    (จีนเป็นตัวจุดกระแสสะสมอาวุธอย่างแรง)  

 

เพราะราคาอาวุธจากชาติตะวันตกแพงขึ้นอย่างบ้าคลั่งจริงๆ

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/07/2013 22:46:25


ความคิดเห็นที่ 11


กระทู้เรือดำน้ำ ก็พูดกันมาเยอะแล้วนะทุกท่าน ก็น่าจะเห็นว่า ทร. ไม่มีดวงโฉลกที่ถูกกะเรือเยอรมันเท่าไร ขนาดเรือดำน้ำ U206A ที่เยอรมันเสนอให้ในตอนนั้น ในราคา 7,000 กว่าล้าน ดีลนี้ คุ้มสุดคุ้ม ยังไม่ได้เล้ย...มันคุ้มแค่ไหน ได้มาก็หลายลำ+แถมเรือดำน้ำที่สำรองเป็นอะไหล่ได้อีก+มีเรือดำน้ำเอาไว้ฝึกและออกปฏิบัติการได้อีก+ที่สำคัญ เราจะให้เยอรมันอับเกรดระบบภายในให้ด้วย ซึ่งก็น่าจะมีความทันสมัยและอายุยืนยาวมากพอสมควร - แต่อนิจจา เรื่องโดนเบรก_ไปไม่ถึงกลาโหมด้วยซ้ำ

ถ้าได้ดีลนี้ มาตั้งแต่แรก เรือดำน้ำเยอรมันมือหนึ่ง แบบที่พวกท่านว่า ก็พอมีหวังมากขึ้น

 

โดยคุณ gto25302530 เมื่อวันที่ 30/07/2013 13:32:45


ความคิดเห็นที่ 12


เรือดำน้ำสำหรับฝึก ผมว่าเรามีน่ะ เพียงแต่เราๆท่านๆอาจจะยังไม่เคยเห็น หรือกำลังต่ออยู่ก็เป็นได้

อะไรที่เป็นความลับ ทหารคงไม่มาเปิดเผยหรอก ไม่ใช่มีอะไรก็เอาออกมาอวดหมด

เราต้องมีไอเทมลับเป็นไม้ตายไว้บ้าง

.. ใครจะไปรู้ ต่อไป DTI  ของไทย อาจจะติดหัวรบนิวเคลียร์ก็ได้  อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 31/07/2013 09:06:44


ความคิดเห็นที่ 13


กรณีเรือต่อใหม่ก็อย่างที่หลายท่านได้วิเคราะห์กันไปแล้ว ลองมองความเป็นไปได้เรื่องเรือมือสองดูบ้างนะครับ ถ้าพูดถึงกรณีเรือดำน้ำแบบพอมีอายุที่นึกออกตอนนี้ก็มี Ula Class ของ Norway (จัดเป็นเรือขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 1100 ตัน) กับ Walrus Class ของ Netherlands (ลำใหญ่ไปนิด ประมาณ 2600 ตัน) ซึ่งทั้งสองชุดต่อในช่วงทศวรรษที่ 1980's แต่ทั้งสอง ชุดก็เพิ่งจะได้รับการปรับปรุงใหม่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา และยังไม่มีแนวโน้มที่ทั้งสองประเทศจะจัดหาเรือชุดใหม่มาทดแทน (เนื่องจากได้ลงทุนกับการปรับปรุงเรือไปแล้ว) ดังนั้นจึงหมดโอกาสที่จะเป็นเรือมือ 2 ได้

ในส่วนของชั้น 209 (Chakra) ของอินโด ถึงจะมีอายุพอสมควร (ต่อช่วงทศวรรษที่ 1970's) แต่ก็เพิ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ไปเมื่อปีที่แล้ว และอินโดนีเซียกำลังจัดหาเรือชั้น 209 รุ่นใหม่จากเกาหลีเพิ่มเติม ไม่นับรวมยุทธศาสตร์ของอินโดนีเซียที่ต้องการมีเรือดำน้ำถึง 10 ลำ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะขายมือสองในเร็วๆ นี้ แนวโน้มที่ดูเป็นไปได้มากที่สุดคือชั้น 209/1200-1400 (Chang Bogo) ของเกาหลี ซึ่งต่อในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980's ถึง 1990's และกำลังจะถูกทดแทนด้วยชั้น KSS-II/Type 214 หลังปี 2020 ซึ่งเกาหลีจะเก็บชั้น Chang Bogo ไว้หรือจะทำอย่างไรก็ต้องรอดูกันต่อไป

โดยคุณ กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 01/08/2013 14:44:57


ความคิดเห็นที่ 14


ตอนนี้มองมุมไหนยังไง ผมก็คิดว่า ชาง โบโก มีความเป็นไปได้มากเหมือนกันนะครับ โอม...จงมาๆ

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 02/08/2013 05:23:15