ทดสอบยิงจรวด ในทะเล....
จากที่ลังเล และถกเถียงเรื่องความเสี่ยง กันมานาน...ในที่สุด สถาบันเทคโนโลยี่ป้องกันประเทศ กลาโหม (DTI) ตกลงใจให้ทดสอบจรวดหลายลำกล้องD
TI-1 Gที่พัฒนาร่วมกับจีนในอันดามัน หรือนี่....โดยให้ทร.ดูแล จะมีการลงนามกัน29กค.นี้ที่ราชนาวิกสภา...หวาดเสียวอ่ะ..ทดสอบยิงจรวด หลายลำกล้องไปในทะเล ให้กองเรือภาค ๓ ดูแล ในการเคลียร์ท้องทะเล สำหรับการยิงจรวด แล้วถ้า มันควบคุมทิศทางไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น เพราะ ระบบนำวิถีนี้ มันอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้แม่นยำ มากขึ้น...ขนาดตอนรบกับเขมร ทบ.ยังไม่กล้ายิงเอามาใช้เลย เพราะมันยิงไกล กว่า 180 กม. แต่ไม่แม่นยำ กลัวพลาดแล้วเสียหาย แต่นี่มีการพัฒนาใหม่ เป็นระบบนำวิถีให้แม่นยำขึ้น จึงต้องมีการทดสอบ ตอนแรกจะไปทดสอบในทะเลทราย ที่จีน เหมือนตอนแรก แต่ใช้งบประมาณสูง กลาโหม เลยให้ทดสอบในประเทศแทน......ภาวนาให้ การทดสอบเรียบร้อย ไม่เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นนะ สาธุ....
กองทัพเรือ และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)DTI-Defence Technology Institute จะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาสนามทดสอบอาวุธ (MOA) โดยมี พลเรือโท พัลลภ ตมิศานนท์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ กับ พลโท ดร.ฐิตินันธ์ ธัญสิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ โดยมี พลเรือตรีพัชระ พุ่มพิเชฎฐ์ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ และพลเอกสมพงศ์ มุกดาสกุล รองผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ในวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม นี้ เวลา 0900 – 1130 น. ที่ ราชนาวิกสภา โดยความร่วมมือเพื่อพัฒนาสนามทดสอบอาวุธในครั้งนี้ กองทัพเรือจะสนับสนุนการใช้พื้นที่ สนับสนุนกำลังพลร่วมฝึกอบรมพัฒนาความรู้ด้านการทดสอบอาวุธทั้งในและต่างประเทศ และร่วมมือจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้พัฒนาสนามทดสอบอาวุธ เพื่อใช้ในการทอสอบและประเมินผลการยิงทดสอบระบบจรวด และใช้เป็นสนามฝึกยิงทดสอบอาวุธของกองทัพ
จากเฟชบุ๊คของคุณ Wassana Nanuam
ถ้ากลัวการผิดพลาดขนาดนั้น ก็ไม่ต้องทดสอบกันพอดีหล่ะครับ อาวุธ กว่าจะสำเร็จขึ้นมาได้แต่ละชิ้น ก็ล้วนแต่ต้องผ่านการทดสอบมาทั้งนั้นแหล่ะครับ ขนาดอาวธหลายๆ ชนิด ที่ทำสำเร็จแล้วแบบดีชั้นยอด ก็ยังต้องผ่านด่านของสนามจริงอีก
แต่ผมกลัวการไม่ต่อยอดและการหยุดพัฒนามากกว่า การได้ยินข่าวแบบนี้ ก็ดีแล้วหล่ะครับ เพราะยังทำให้รู้ว่า ยังมีการพัฒนากันอยู่ เพราะนี่คือ อาวุธที่เราร่วมมือและพัฒนากันขึ้นมาเอง
ผมคนหนึ่งล่ะครับ ที่ต้องการให้ทดสอบ...เอาบ้านเรานี่ล่ะ...ผมคิดว่า น่าจะมีการทดสอบระยะใกล้สุด ไกลสุด เเละระยะปานกลางเพื่อความชัวร์ อิอิ จะได้รู้ข้อบกพร่อง เเก้ไขพัฒนาต่อไป...
ความผิดพลาดที่กลัวกัน คงไม่ได้หมายถึงผิดพลาดไม่โดนเป้า หรือผิดพลาดยิงแล้วตกเอง แต่ที่น่ากลัวคือความผิดพลาดเรื่องการยิงแล้วไปโดนสิ่งที่ไม่ใช่เป้ามากกว่า ยิ่งจรวดระยะไกลมาก หมายความว่าพื้นที่อันตรายที่จรวดมีโอกาสตกได้ต้องไม่มีเรืออยู่ในนั้นเลย ซึ่งในทะเลไม่สามารถกั้นรั้วห้ามได้เหมือนบนบก ทำได้แค่ออกประกาศชาวเรือ และจัดกำลังเรือและอากาศยานเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยสนามยิง ซึ่งหากมีเรือเล็กไม่รู้อิโหน่อิเหน่หลงเข้ามาแล้วจรวดบังเอิญตกไปโดนพอดีละก็... (เป็นความบังเอิญของความบังเอิญซึ่งโอกาสเกิดน้อยมาก แต่ความเสียหายและผลกระทบหากเกิดขึ้นมาก็รุนแรงเช่นกัน)
ในส่วนของการทดสอบอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำในทะเล (เช่น Harpoon) จะมีเครื่องบินติดตามและมีระบบความปลอดภัยที่สามารถหยุดการทำงานของลูกอาวุธปล่อยฯ ในขณะอยู่กลางอากาศได้ แต่ในกรณีของจรวดหลายลำกล้องไม่สามารถหยุดการทำงานของลูกจรวดกลางอากาศได้ จึงเป็นการทดสอบที่มีความเสี่ยงมากกว่า
เอ่อ ด้วยความเคารพ ตอนที่พิพาทกับเขมร DTI ยังอยู่ระหว่างการวิจัยไม่ใช่หรือครับ?
เรามีตัวที่จีนผลิต ws-1b ตั้งนานแล้วครับ ก่อนตีกับเขมอนอีก
เป็นกำลังใจให้ครับ ก่อนที่จะวิ่ง ต้องเดิน ก่อนเดินเป็น มันต้องล้มลุกกันบ้าง
ต้องขอถามครับ มันคือการยิงแบบหลายลำกล้อง ถ้าเราลองยิง ทีละน้อยๆคงทำได้ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นงานนี้ ในเมื่อเป็นการทดสอบ ผมว่าคงทดสอบกันหลายแบบ น่าจะประสบผลสำเร็จ
สนับสนุนเต็มที่...............กับเรื่องนี้
ทดสอบทะเลไทย.....
มีภาพคันต้นแบบออกมาให้เห็นบ้างไหมครับ
อยากเห็นรูปDTI1Gครับ ไม่รู้ว่าต้นแบบเสร็จหรือยั่ง
ตัวต่อไปจับยัดลงเรือ(อ้าวสะดุ้งตื่น) ผมว่าทำได้แน่ แต่เมื่อไรก็เมื่อนั้น
สาเหตุที่กลาโหมตัดสินใจใช้ทะเลอันดามันทดสอบยิงจรวด DTI-1 นั้นก็เพราะว่า
1)ทดสอบบนบกไม่ได้เพราะกลัวจะไปตกในแหล่งชุมชน (เพราะระบบนำวิถีที่หัวรบยังไม่สามารถการ์รันตีได้)
2)ทดสอบกันในป่าก็ไม่ได้อีกเพราะกลัวจะเกิดเพลิงทำให้เป็นไฟไหม้ป่าลุกลามบานปลายใหญ่โต
3)ทะเลอ่าวไทยมีเรือประมงและเรือเดินสมุทรเยอะและแถมยังมีแท่นขุดเจาะก๊าซและน้ำมันอีกเพียบ
4)สาเหตุที่ไม่ติดหัวรบนั้นไม่ใช่เพราะสาเหตุหลักเรื่องของความปลอดภัยอย่างเดียว แต่ที่สำคัญคือการยิงจรวดติดหัวรบลงไปในน้ำทะเลเฉยๆมันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และไม่สามารถเป็นตัววัดหรือบ่งชี้ประสิทธิผลของอำนาจการทำลายล้างจากหัวรบ คือจะติดหัวรบให้มันสิ้นเปลืองไปทำไมนั้นเอง
ทะเลอันดามันถ้าห่างจากแนวชายฝั่งออกไปเกินกว่า 150 kmจะเป็นเขตทะเลลึกมากกว่า 200 เมตร จะไม่ค่อยมีปลาครับไม่เหมือนใกล้แนวชายฝั่งเราที่มีแนวประการังเป็นที่อยู่และแหล่งอาหารของปลา เรือประมงเพียงส่วนน้อยที่ออกเรือไปหาปลาระยะไกลขนาดนั้น จึงควบคุมได้ง่ายกว่า
อยากเห็นประสิทธิภาพของเจ้า DDT เอ้ยยย DTI เป็นบุญตาซักครั้ง
นับเป็นความสำเร็จไปอีกขั้น จงพัฒนาต่อไปครับ
ปล.แต่อยากให้ไทยเราซื้อสิทธิบัตรพวกขีปนาวุธมาผลิตที่ไทยบ้าง เราจะได้เทคโนโลยีและพัฒนาคนได้ไวขึ้น