หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ท่านคิดอย่างไรกับ เครื่องบินที่จะมาแทน L-39 ZA/ART ของ ทอ.ไทย

โดยคุณ : su35 เมื่อวันที่ : 01/08/2013 08:04:18

จากข่าวที่ว่า กองทัพอากาศไทยกำลัง จะพิจารณาจัดซื้อจัดหา เครื่องบินฝึกบิน/โจมตีขั้นสูง เพื่อทดแทน L-39 และ Alphajet ที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาพอสมควรแล้ว จึงมีข่าวลือมาว่ากองทัพอากาศมีโครงการที่จะจัดหา เครื่องบินทดแทน L-39 และ Alphajet โดยเบื้องต้นมี 3 ตัวเลือก คือ 

 



L-15 Falcon



แถม ให้อีก 2 ตัวเลือก คือ Yak-130


และ L-159 Alca




ความคิดเห็นที่ 1


แลกเปลื่ยนความคิดเห็น ความรู้สึก มุมมองของแต่ละคนกัน คุยกันดีๆ ไม่เอาทะเลาะกัน  ครับ..

เมื่อกี้รูปไม่ขึ้น M-346 Master



โดยคุณ su35 เมื่อวันที่ 15/07/2013 09:10:32


ความคิดเห็นที่ 2


อยากขับตัวนี้จังเลย

โดยคุณ fighter เมื่อวันที่ 15/07/2013 11:38:30


ความคิดเห็นที่ 3


อีกทีครับๆ

โดยคุณ fighter เมื่อวันที่ 15/07/2013 11:42:50


ความคิดเห็นที่ 4


โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบ T-50 ครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่าราคาของทั้ง 4 แบบ มีราคามากน้อยต่างกันเพียงใดครับ

โดยคุณ lordeve เมื่อวันที่ 15/07/2013 12:58:02


ความคิดเห็นที่ 5


ผมว่าถึงแม้พวกเราจะอยากได้M346มากแค่ไหนแต่รับรองได้ว่า T50นอนมาแน่นอนครับยิ่งมีข่าวว่าเป็นการแบ่งการจัดหาเป็นเฟสแล้วรับรองว่าชัวร์ และสมรรถนะก็ไม่ขี้เหร่เสียด้วแถมอนาคตอาจมีการจัดหาเครื่องบินโจมตีแทนAlfa Jetซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะเป็นA50เพราะแบบแผนของเครื่องบินทั้ง2แบบคล้ายกันมากน่าจะลดงบประมาณในการบำรุงรักษาได้เนื่องจากไม่ต้องสต็อคอะไหล่ของเครื่องหลายรุ่นมากเกินไป ส่วนเครื่องจีนก็ยังคงจะไม่ได้เกิดต่อไปสำหรับกองทัพอากาศไทยส่วนเหตุผลก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นเพราะความไว้ใจได้ของเครื่องจากจีนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำถึงต่ำมาก ส่วนYak 130เครื่องจากรัสเซียมีคำตอบเดียวคือ "ไม่ใช่มาตรฐานนาโต้" ดังนั้นจบได้เลยครับ

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 15/07/2013 13:15:36


ความคิดเห็นที่ 6


จริงๆเเล้ว M346 เเละ T-50 ก็ดีกันทั้งคู่นะครับเเต่สิ่งที่น่าสังเกตคือการเเข่งขันระหว่างสองตัวนี้ที่ผ่านมาได้เป็นตัวเต็งด้วยกันทั้งคู่ เเต่เมื่อการตัดสินออกมาเเล้ว M345 ชนะมาโดยตลอด เช่นการเเข่งขันที่ สิงคโปร์ อิสราเอล เเละ UAE การพ่ายเเพ้ของ T-50 มันน่าคิดนะครับ

โดยคุณ P197 เมื่อวันที่ 15/07/2013 15:19:59


ความคิดเห็นที่ 7


น่าจะดูที่อัตราความสิ้นเปลืองต่อชม.บินต้องมาดูกันว่าใครประหยัดกว่ากัน

โดยคุณ nonarmy เมื่อวันที่ 15/07/2013 21:17:02


ความคิดเห็นที่ 8


   เซ็ง.....พิมพ์ไปครึ่งชั่วโมง  เวลาส่งหายหมด

 

    ไม่มีเวลาพิมพ์แล้ว   สรุปสั้นเอางี้

ราคา  M-346(ไม่มีเรด้าร์)  และ  F/A-50   ที่เป็นรุ่นขับไล่ติดตั้งเรด้าร์ EL/M-2032  พร้อมอุปกรณืบางอย่าง   ราคา  37  ล้านเหรียญ หรือ  1,100 ล้านบาท

 T-50  รุ่นที่เป็นเครื่องฝึก  ราคา 25  ล้านเหรียญ  หรือ  750  ล้านบาท   รุ่นนี้ที่มีข่าวลือว่า ทอ.คงจะจัดหาแน่ๆ

 ค่าใช้จ่ายในการบิน หรือความสิ้นเปลืองของเชื้อในการฝึกบิน   M-346  ใช้น้อยกว่าเยอะ      แต่ด้วยราคาที่ต่างกันมาก(ในรุ่นฝึก)  คือ  1,100 - 750 =  350  ล้านบาทต่อเครื่อง     น่าจะชดเชยในเรื่องค่าเชื้อเพลิงตลอดอายุการใช้งานไปเรียบร้อยแล้ว    และ T-50  สามารถ upgrade ไปเป็น  A-50  ได้เมื่อยามสงคราม   และมีประสิทธิภาพทางการบินสูงกว่า  M-346  มาก

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 15/07/2013 23:26:17


ความคิดเห็นที่ 9


   ถ้าการจัดหาเครื่องทดแทน  alpha jet  นั้น   ทำการจัดหา  A-50 หรือ F/A-50  มาทดแทน   ก็จะทำให้ลดแบบเครื่องบินลงได้   เพราะเป็นเครื่องที่ใช้โครงอากาศยานเดียวกัน   เพียงแต่  A-50 มี 2 ที่นั้ง  F/A-50  มีที่นั่งเดียว   บรรทุกอาวุธได้ถึง 5 ตัน     ประสิทธิภาพสูงกว่า   M-346 

   ถ้าจะเอา M-346  มาใช้ในภาระกิจโจมตี  คงสู้  A-50 หรือ F/A-50  ไม่ได้เลย      เพราะเครื่องเกาหลี  ถ้าติดตั้งกระเปาะชี้เป้าและเดินอากาศ       มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอเลยที่จะสามารถบินเกาะภูมิประเทศเพื่อเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบได้ทั้งหมด     แถมยังมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะสอยเครื่องบินขับไล่ได้ด้วย

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 15/07/2013 23:33:05


ความคิดเห็นที่ 10


ส่วนผม ชอบ M-346 Master เป็นพิเศษ ครับ แต่นี้เห็นแต่ ข้อเสนอ ของ T-50 เกาหลีใต้ แต่ยังไม่เห็นข้อเสนอ ของ อิตาลี และ เจ้าอื่นๆเลยย

แต่ผมว่า อีกสักพัก ต้องมีตัวแทนของประเทศผู้ขายเครื่องบินรบจากประเทศต่างๆ เข้ายื่นข้อเสนอกัน (มันแน่นอน) ครับ...

ก็อย่างว่า สินค้าใคร ใครก็อยากขาย ...

ต้องดูข้อเสนอของแต่ละฝ่ายก่อนครับ...จึงจะตัดสินว่า ใครให้โปรโมชั่นที่เป็นประโยชน์และตอบสนองความต้องการ ของ ทัพฟ้าไทย.ได้มากกว่ากัน.... มุมมองน่าคิด...

โดยคุณ su35 เมื่อวันที่ 15/07/2013 23:40:20


ความคิดเห็นที่ 11


   ถ้าจัดหา  T-50  A-50 หรือ F/A-50  มาทดแทนทั้ง  L-39  และ alpha jet   ก็จะมีจำนวนมากพอที่จะเปิดสายการประกอบเครื่อง  และหรือ  ต่อรองในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีไดด้วยครับ

 

  นอกจากนี้  ถ้าเกิดการจัดหาเครื่องทดแทนเครื่องสกัดกั้นที่ต้องการอีก  2 ฝูง   โดยจะใช้  Jas-39 NG  ที่ราคามหาโหดพอๆกับ  F-35    หรือ  จัดหา  Jas-39 c/d+  ที่ราคาน่าจะแพงไม่น้อยกว่า  F-16  block 60  ทีเดียว  ( C/D+ ใชัเรด้าร์ เฟสอะเรย์  RAVEN  แทน  PS-05 )    

 ทางเกาหลีก็กำลังจับมือกับ  Thales  พัฒนาเรด้าร์เฟสอะเรย์สำหรับใช้งานกับ  F/A-50  ด้วย   ซึ่งน่าจะให้ประสิทธิภาพดีพอๆกับ  F-16  block 50/52  ที่ใช้เรด้าร์ APG-68 V-9   ดังนั้น   ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณืต่างๆที่ใช้กับ  F-16  50/52  ใน F/A-50  เช่น  RWR   datalink  AIFF   UHF/VHF   แบบนี้  F/A-50  จะมีประสิทธิภาพพอๆกับ   F-16  block 50/52+   เลยทีเดียว     ในราคาที่ถูกกว่า  block  50/52  ด้วย

  ไม่ต้องพูดถึง  block 60  ที่แพงกว่า  50/52   และคาดว่า  jas-39 C/D+   ราคาจะแพงกว่า  block 60  ด้วยซ้ำในประสิทธิภาพพอๆกัน   แต่เครื่องจะเป็น GEN 4.5  ซึ่งใหม่กว่า F-16

 

   สิ่งนี้ก็ยิ่งเป็นทางเลือกที่มากขึ้น   ที่ทำให้  ตระกูล  T-50    มีโอกาสสูงขึ้นครับ   และถ้าอเมริกาจัดหาเครื่องเครื่องฝึกทดแทน  T-38  ในโครงการ  TX   ซึ่ง  T-50  มีโอกาสสูงมากที่จะชนะ    เพราะเป็นเครื่องลูกครึ่งอเมริกัน     แบบนี้  T-50   น่าจะมีโอกาสเกิดและทดแทนเครื่องหลายๆแบบใน ทอ.  ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 15/07/2013 23:47:45


ความคิดเห็นที่ 12


  จริงๆแล้วในภาระกิจขับไล่  ประสิทธิภาพทางการบินของ  F/A-50  ไม่ได้ดีไปกว่า  Jas-39  เลย   ห่วยกว่า  Jas-39  ด้วยซ้ำ   

และในภาระกิจฝึกเองก็มีความประหยัดและเหมาะสมสู้  M-346  ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

 

 แต่สิ่งที่เครื่องเกาหลีเหนือกว่าทั้งของ  SAAB  และ Armacchi  ก็คือ  

ความสามารถทางการตลาดที่เหนือชั้นกว่าครับ  

  เพราะเครื่องทำภาระกิจได้หลากหลาย   ติดตั้งอุปกรณ์ในแต่ละภาระกิจได้หลากหลาย   และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ก้าวกระโดด    แถมยังร่วมทุนในการผลิตกับ  LOCKHEED  ผู้ผลิตยักษ์ใหญ่จ้าวตลาดอเมริกัน   ที่มีแนวโน้มว่าจะเลือก  T-50  เป็นเครื่องฝึกทดแทน  T-38  ด้วย     และราคาโดนใจเป็นอย่างมาก    ไม่ชนะด้วยเทคนิคครับ     ด้วยการตลาดล้วนๆ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 15/07/2013 23:58:19


ความคิดเห็นที่ 13


ผมชอบYakครับ^^

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 16/07/2013 01:23:04


ความคิดเห็นที่ 14


ก่อนอื่นนะครับผมอยากจะขอถามทุกท่านว่าเครื่องบินที่จะมาทดแทน L-39 นั้นประเด็นหลักคืออะไร….?? ระหว่าง เพื่อมาเป็น บ.ขับไล่ หรื่อ บ.ฝึก ผมไม่อยากให้เป็นแบบจับปลาสองมือ จะเอาทางไหนก็เอาทางเดียวไปเลยดีกว่าครับ เพราะจะได้มีประสิทธิภาพในการทําภาระกิจนั้นๆไปเลย  เช่นถ้าจะเน้นบ.ฝึก ก็เลือก M-346แต่ถ้าจะเน้นโจมตี ก็เอา Jas-39 ไปเลยครับ

โดยคุณ superjet เมื่อวันที่ 16/07/2013 01:23:38


ความคิดเห็นที่ 15


.....ผมว่า L-159 มานะ...ครับ ตะหงิ ตะหงิ ยังไงชอบกล (สำหรับเครื่องบินฝึก) เพราะต้องใช้จำนวนมาก

.....ส่วน F/A 50 นี่มาเป็นเครื่องบินรบโดยตรงครับ  ใช้งานแบบ Multi เลย ก็มาอีกฝูงครับ 18 เครื่อง เต็มๆ

.....มาประจำการแถวถาคเหนือ  ประมาณว่าเป็นการจัดหาฝูงบินที่ประหยัดสุดประโยชน์สูง

.....ทั้งสองส่วนนี่ไม่เกี่ยวกันเลยครับ...(เดา...ล้วนๆ ครับ).

.....ว่าแต่ เครื่องบินเกาหลีที่ตกไปเมื่อไม่นานมานี้มันรุ่นไหนครับ T-50  TA-50 หรือ TF-50 ผมค้นข้อมูลข่าว

....แล้วหาข่าวเก่าๆ ไม่เจอครับ  (ตกปีนี้เอง).เหตุผลก็ไม่แถลงว่าตกเพราะอะไร

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 16/07/2013 03:14:14


ความคิดเห็นที่ 16


L-159 เป็นเครื่องบินขับไล่เบาครับไม่ใช่เครื่องบินฝึก ทำการปรับปรุงมาจากเครื่องบินฝึกแบบ L-59 ซึ่ง L-159 มีที่นั่งเดี่ยวครับ ที่นั่งตอนหลังเหมือนเป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 16/07/2013 08:54:11


ความคิดเห็นที่ 17


ท่าน superjet ครับ คิดแบบตรงไปตรงมาน่ะได้ แต่ปัญหาที่จะตามมาในอนาคตอีกเยอะนะครับ การจัดการที่ดีต้องวางแผนให้รอบคอบครับ ถ้าได้อ่านจากกระทู้ก่อนหน้านี้ที่ตกไปแล้วจะเห็นแผนภาพที่ท่าน Juldas ได้ทำไว้ให้ดู ซึ่งดูง่ายและชัดเจนดีครับ ผมแยกแยะเป็นสองแนวทางง่ายๆ นะครับ

1. หากทอ.วางแผนที่จะจัดหาบ.ขับไล่สมรรถนะสูง เพื่อทดแทน F-5E/F , F-16A/B และ ADF เป็น Gripen C/D+ , NG , F-35A แบบนี้น่าจะจัดหาเป็น M-346 เพื่อใช้ในการฝึกเป็นหลักครับ เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกได้มาก และระบบต่างๆก็ใกล้เคียงกับบ.แบบที่ว่ามาทั้งหมดมากกว่าบ.ฝึกแบบอื่น (ดังที่มีคนตั้งข้อสังเกตุว่าเกือบทุกประเทศที่มีโครงการจัดหา F-35 จะเลือก M-346 เหนือ T-50) โดยบ.รุ่นนี้มีสมรรถนะสูงพอที่จะทดแทนบ.โจมตีเบาอย่าง Alpha-Jet และ L-30ZA ได้ในอนาคตอีกด้วย

2. หากทอ.มีแผนจัดหาบ.ขับไล่/โจมตีขนาดเบา เพื่อทดแทน F-5E/F , Alpha-Jet , L-39ZA ด้วย ตรงนี้การเลือก T-50 ย่อมช่วยให้ทอ.สามารถลดแบบบ.ในประจำการลงได้มากถึง 3 แบบในคราวเดียว อีกทั้งจำนวนการจัดหารวมน่าจะมากถึงกว่า 50 เครื่อง ซึ่งจะทำให้สามารถต่อรองผลประโยชน์ตอบแทน(ออฟเซต) ได้มากมาย เช่น การประกอบเครื่องในประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และความร่วมมือในการพัฒนาต่อเนื่องในอนาคต

ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับท่าน neosiamese2 ครับ คงต้องรอดูว่าทอ.จะเลือกบ.แบบใดเป็นบ.ขับไล่หลักในอนาคต ซึ่งก่อนหน้านี้เป็น F-16 ต่อมาก็ Jas-39 C/D + Erieye แต่ถึงเวลานี้ยังไม่ชัดเจนว่าทอ.จะพึงพอใจในสมรรถนะของเจ้ากริปเป้นมากน้อยแค่ไหน ถ้าใช่ก็คงจัดหาเพิ่มเติมทั้ง รุ่น C/D+ หรือ NG แต่ถ้าไม่ก็น่าคิดล่ะครับว่าทอ.จะจัดหาบ.ขับไล่สมรรถนะสูงรุ่นใดต่อไป ซึ่ง F-35A คงออกจะไกลเกินเอื้อมทั้งราคาและระยะเวลาต่อคิวที่ยาวนานมาก (อาจจะต้องรอนานถึง 15-20 ปีหลังจากสั่งซื้อ)

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 16/07/2013 11:24:38


ความคิดเห็นที่ 18


  ส่วนต่างราคา  1,110 - 750 =  360  ล้านบาท

อายุการใช้งาน 20  ปี  ก่อนทำการปรับปรุงใหม่    เอาไปหาร 360  ล้านบาท   ได้เฉลี่ย  18  ล้านบาทต่อปี

18  ล้านบาทต่อปี   หารด้วยจำนวนชั่วโมงการบินสำหรับฝึก  200  ชม  ต่อปี   จะได้   90,000  บาทต่อชั่วโมง

นั่นคือ   ราคา  T-50  ที่ต่ำกว่า  M-346  อยู่ 360  ล้านบาท    เมื่อเฉลี่ยชดเชยค่าสิ้นเปลืองในการใช้งานที่สูงกว่า  M-346  ตลอด 20 ปี   จะชดเชยได้ตกชั่วโมงละ  90,000  บาท  

 

  ด้วยเหตุนี้   ราคาตลอดอายุการใช้งานของ  T-50  และ  M-346   จึงไม่น่าแตกต่างกันมากครับ     แต่ T-50   จะมีประสิทธิภาพแบบเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-16     จึงน่าจะทำภาระกิจ  LIFT  ที่สร้างความสมจริงในการฝึกขับไล่ได้มากกว่า  M-346    และสามารถฝึกด้วยความเร็วเหนือเสียงได้

   แต่ระบบสถาปัตยกรรมในห้อง cockpit   M-346  น่าจะใกล้เคียง  Jas-39   และเครื่องจากค่ายยุโรปมากกว่าเครื่องจากค่ายอเมริกัน      ซึ่งนักบินจะคุ้นเคยห้อง cockpit ได้เร็วกว่าเมื่อไปบินกับ  Jas-39 ครับ    ส่วน  F-35  นั้นน่าจะมีสถาปัตยกรรมในห้อง cockpit  แตกต่างจากเครื่องฝึกทั้งสองแบบอยู่มากทีเดียว     อย่างน้อยก็ไม่มีจอ HUT   และใช้หมวกแบบพิเศษแทน   ซึ่งยังไงบ.ฝึกทั้งสองแบบก็คงไม่มีครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 12:18:16


ความคิดเห็นที่ 19


   .ในช่วง  10-20  ปี  ข้างหน้า  ทอ.จะต้องปลดเครื่องหลายฝูงทีเดียว   L-39จำนวน 2 ฝูง   40  เครื่อง     alphha jet  1 ฝูง  และตามความต้องการเดิมอีก 1 ฝูง  รวม  50  เครื่อง           F-5T       F-16 a/b ฝูง 103     F-16 a/b  ฝูง 102      

    รวมทั้งหมด  7  ฝูงบิน!

 

ต้องการ   F-35  จำนวน 2 ฝูง      ต้องการ  Jas-39  จำนวน  3  ฝูง

ราคา  F-35  ถึงเวลานั้น   น่าจะเกิน 150  ล้านเหรียญ................ซี๊ดดดดดดดดด

Jas-39  C/D+   ราคาน่าจะไม่น้อยกว่า  F-16 block 60   ที่ตกเครื่องละประมาณ  80-85  ล้านเหรียญ    และอาจจะแพงขึ้นไปถึง   100  ล้านเหรียญได้ทีเดียว ...................ซี๊ดดดดดดดดด

Jas-39  C/D  ธรรมดา   ราคา พศ. นี้น่าจะถึง 60  ล้านเหรียญได้แล้วมั๊งครับโดยไม่แถม  SAAB 340+erickeye    ถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียง.............................พอทน..............

 

     สภาพแบบนี้  ทอ.  แทบหน้ามืดหมดทางเลือกครับ         แต่ทำไมทอถึงไม่ทยอยออกแผนการจัดหาและเริ่มจัดหาให้เร็วกว่านี้สัก  10  ปีที่แล้ว     แต่ปล่อยให้มันเลยเถิดมาถึงตรงนี้   และเครื่องต้องปลดจำนวนมากในเวลาอันสั้น    แถมราคาเครื่องก็พุ่งทะยานแบบบ้าคลั่ง      แบบนี้ยากที่จะรักษาฝูงบินขับไล่ขั้นต่ำ 5  ฝูงบินไว้ได้ละครับถ้าจะเน้นของหรูแบบนี้ต่อไป

 

โดยส่วนตัวผมคิดว่า  F/A-50  ถ้าติดตั้งเรด้าร์เฟสอะเรย์ของ  Thales  และติดอุปกรณ์ตามมาตรฐาน  F-16  block  50/52+     ราคาน่าจะสูงขึ้นมากจนพอๆกับ  Jas-39 C/D  หรือต่ำกว่าเล็กน้อย       แต่ประสิทธิภาพระดับ  block 50/52+   ซึ่งจะดีกว่า  Jas-39 C/D  ธรรมดา ครับ     และด้อยกว่า C/D+  อยู่บ้าง   

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 12:36:53


ความคิดเห็นที่ 20


ให้ตายเถอะโรบิน ในที่นี้ท่านใดยังร้องเรียกหาเครื่องบิน F-35 กันอยู่อีกเหรอ (เลิกเพ้อเจ้อกันได้แล้วครับ) จริงๆเรื่องนี้เคยบอกไปแล้วว่าราคาเครื่อง F-35 1 ลำ สามารถจัดซื้อเครื่อง JAS-39C/D ได้ถึง 2 ลำ ลองไปชั่งน้ำหนักกันดูก็แล้วกันว่าทอ.จะเลือกแบบไหน และอย่าลืมนะครับว่าลึกๆแล้วทอ.ยังมีความแค้นฝังใจกับสหรัฐในเรื่องที่เคยยึดทั้งเงินมัดจำที่จ่ายไปแล้วครึ่งนึงกับเครื่อง F-18A จำนวน 8 ลำเมื่อ 13 ปีก่อนจนเป็นที่มาของการเปลี่ยน Type เครื่องบินจากที่เคยผูกขาดอเมริกามาตลอดจนเปลี่ยนไปซื้อจากสวีเดนแทน (มาตรการตอบโต้จนสหรัฐต้องดิ้นพล่านมาแล้ว) แล้วความจำเป็นของเครื่อง F-35A กับประเทศไทยเราผมยังมองไม่เห็นถึงความจำเป็นแต่อย่างใดเมื่อเปรียบเทียบกับขุมกำลังของประเทศเพื่อนบ้าน

ในส่วนของเครื่องบินฝึกนั้นผมมองว่าทาง สิงคโปร์ต้องการเลือกแบบเครื่องบินฝึกจริงๆมากกว่าถึงได้เลือก M346 เพราะเค้ามีเครื่องบินรบสมรรถนะสูงอย่าง F-15 และ F-16C/D รวมกันมากกว่า 100 เครื่อง อยู่แล้วจะเอา T-50 ไปทำไมกัน

 

แต่กับไทยเรามันจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเราไม่ได้มีงบประมาณจัดซื้อจัดหามากมายเหมือนสิงคโปร์เค้า F/A-50 มันสามารถติดตั้งอวป.พิสัยกลางอย่าง AIM-120 (A-T-A) และ อวป.โจมตีภาคพื้น AGM-65 (A-T-G) มันจัดอยู่ในเกณฑ์ของเครื่องบินรบอเนกประสงค์ เป็นได้ทั้งเครื่องบินฝึกเครื่องบินโจมตีและเครื่องบินขับไล่ในระดับนึง ถามว่าคุ้มมั้ยกับราคา 30 ล้าน USD คุ้มสุดๆแล้วครับดีกว่าทอ.ต้องมานั่งซื้อเครื่องบินถึง 3 แบบ และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมที่ประเทศนู้นทีประเทศนี้ที และยังต้องปวดหัวกับการวางแผนจัดหาอะไหล่มารองรับในอนาคต ซื้อ F/A-50 เครื่องในแบบเดียว 3 in 1 จัดหาและส่งคนไปอบรมที่ประเทศเกาหลีใต้ประเทศเดียวประหยัดงบและลดความยุ่งยากไปได้เยอะเลย

http://en.wikipedia.org/wiki/KAI_T-50_Golden_Eagle

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 16/07/2013 13:05:56


ความคิดเห็นที่ 21


แหม่ท่าน neosiamese2 โพสได้โดนใจจริงๆ แต่...เจ้า T/A-50 , F/A-50 นี่มันใช้เครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานเดียวกับ Jas-39 คือเจ้า GE. F404 น่ะสิครับ ดังนั้นที่ท่านว่าสมรรถนะของมันจะสูงกว่ากริปเป้นจนเทียบกับ F-16 ฺblock 50/52 นี่ผมว่ามันคงไม่ถึงขนาดนั้นครับ ปัญหาของทอ.ก็อย่างที่ผมโพสไปข้างบน คือจะเลือกบ.แบบไหนมาเป็นบ.ขับไล่หลักต่อไปในอนาคต ???

โดยส่วนตัวผมมองว่า เมื่อคำนึงถึงงบประมาณที่พอจะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ T-50 => L-39 , T/A-50 => L-39ZA & A-Jet , F/A-50 => F-5E/F และ Jas-39 C/D (หรือ C/D+ แต่จะตัวไหนก็ต้องมาพร้อม Erieye อีก 2-3 ลำ) => F-16A/B , ADF ทั้งนี้เชื่อว่าทอ.จะต้องลดจำนวนฝูงบินลงและ/หรือลดจำนวนเครื่องในแต่ละฝูงลงอีกด้วยครับ

ปล. แต่ผมว่า 12 เครื่อง/ฝูง แบบฝูง 701 นี่มันก็น้อยไปหน่อยนะครับท่านผบ.ทอ. ขอสักฝูงละ 14-16 เครื่องเถอะนะท่าน

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 16/07/2013 13:22:36


ความคิดเห็นที่ 22


  ในความคิดผมถ้าตระกูล T-50  จะมาจริงๆ  คงจะเป็นแบบนี้มากกว่าครับ

T-50  ทดแทน L-39 ZA/ART

A-50  ทดแทน  Alpha jet  และฝูงโจมตีที่ขาดไปอีก 1 ฝูง

ถ้าทดแทนกัน 1 ต่อ 1  ก็ต้องจัดหากันมากถึง 90 เครื่องทีเดียว    T-50 และ A-50  สามารถติดตั้งเรด้าร์ APG-67 V-4  ติดตั้งกระเปาะแลนเซินท์   และสามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์อิเลคทรอนิคอื่นๆได้อีก   ผมให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า F-16 block 40/42  ไม่มาก    เพราะ block 40/42  ใช้เรด้าร์ APG-68 V-5  แล้ว    และมีความสามารถโจมตีกลางคืนได้      ก็ถ้ามีการเลือกอุปกรณ์ที่มาใช้กับ A-50  ไม่ด้อยไปกว่า block 40/42    A-50  ก็มีประสิทธิภาพด้อยกว่าแค่ระบบเรด้าร์

 

  ส่วน F?A-50  นั้นใช้เรด้าร์ EL/M-2032 ครับ   ประสิทธิภาพสูงกว่า APG-67 v-4  ถึง 2 ใน 3 หรือ 60% ทีเดียว (จึงต้องเหลือแค่ 1 ที่นั่ง  เพราะต้องกันพื้นที่สำหรับเรด้าร์ให้มากที่สุด)     นั่นหมายความว่าประสิทธิภาพเรด้าร์รุ่นนี้ไม่น่าจะด้อยกว่า APG-68 v-5   เลย    ดังนั้นใน  F?A-50   ผมเลยให้ประสิทธิภาพใกล้เคียง  F-16  block 40/42 ครับ

 

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 15:41:43


ความคิดเห็นที่ 23


 

   ส่วน  รุ่น advanc ของ  F/A-50   ที่จะใช้เรด้าร์  phase array  นั้นจะมีการขยายแบบใหญ่ขึ้นอีกหน่อย    และมีการเพิ่มกำลังเครื่องยนต์   เห็นว่าจะถึง 22,000  ปอนด์  ก็น่าจะเป็น FW-414 ( ไม่รู้จำระหัสผิดหรือเปล่า)    และบนวิกิพีเดียบอกว่าเรด้าร์มีตัวเลือก 3-4  แบบ   มาจากอเมริกา 2 แบบ   SELEX  vixen 500   และ แบบที่ร่วมกันพัฒนาของ  SUMSUNG Thales    ซึ่งคาดว่าน่าจะมีประสิทธิภาพถึง  90%  ของ  APG-79  ที่ติดตั้งใน  F-18 E/F   super  hornet  เลยทีเดียว      ดังนั้นไม่น่าจะด้อยกว่า  APG-68 V-9  แน่นอน (ระยะตรวจจับ 296 กม.)    แต่ยังน่าจะด้อยกว่า  APG-80  ที่มีระยะตรวจจับ 320-350 กิโลเมตรเลยที่เดียว

 

  มีการขยายพื้นที่ภายในเพื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงและระบบอิเลคทรอนิคให้มากขึ้น    ดังนั้นน้ำหนักน่าจะสูงขึ้น   ประสิทธิภาพน่าจะไม่ด้อยไปกว่า  F-16  block 50/52+  แน่นอนครับ    แต่ราคาคงจะกระโดดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 50-60  ล้านเหรียญแน่ๆ

   ครั้งหนึ่งจำได้ว่าทางเกาหลีจะรีบเข็นเรด้าร์ที่ร่วมกันพัฒนากับ  Thales  ออกมาใช้งานในรุ่น  F/A-50  เลย     แต่โดนอเมริกันแตะเบรคสุดตัว     เพราะจะกระทบกับ  F-16  block 50/52+    block 60    และต้องรอจนกว่าทางอเมริกาปิดสายการผลิต F-16  ทั้งหมดเสียก่อนจึงจะเสนอขาย   F/A-50  รุ่น advance  ได้ครับ

 

  F/A-50  รุ่น advance  นี้   จะใช้ชื่อใหม่ว่า   F-50  ครับ      และจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ  SAAB  Jas-39 C/D  และ   C/D+   โดยใช้การตลาดที่เหนือกว่าเข้าสู้ครับ     

 

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 15:56:08


ความคิดเห็นที่ 24


  ดังนั้นถ้าหวยออกมาที่ T-50  ทดแทนทั้ง  L-39  และ  Alpha jet    ดังนั้นฝูง   F-5T  211  จึงอาจจะต้องสู้กันอย่างหนักระหว่าง    Jas-39 c/d  sinv  c/d+   กับ  F/A-50  รุ่น advance หรือชื่อใหม่ว่า  F-50   ที่ติดตั้งเรด้าร์ เฟสอะเรย์พร้อมอุปกรณืใหม่ๆที่ไม่ด้อยกว่า block 50/52 +    block 60   

  ถ้าจะอิงอเมริกากันแบบสุดๆค่อไป   และเงินคือปัญหา   หวยอาจจะออกมาที่  F-50  ครับ

 แต่ถ้าไม่ต้องการพึ่งพาอเมริกามากเกินไป   หวยอาจจะออกมาที่   Jas-39  C/D  ซึ่งประสิทธิภาพน่าจะต่ำกว่า  F-50  เสียแล้วในราคาไม่หนีกันมาก       แต่ถ้าจะเล่นรุ่น  C/D+  ที่เหนือกว่าเล็กน้อย    ก็ต้องจ่ายไม่น้อยกว่า  80-100  ล้านเหรียญต่อเครื่องครับ  

 

 ในความคิดผม  ไหนๆก็ไหนๆแล้ว    เลือก  Jas-39  มาเป็นฝูงที่ 2 ดีกว่า     จะได้ไม่ต้องพึ่งพาอเมริกันมากเกินไป      แต่ถ้าจะเป็น  F-50   ผมก็ยอมรับได้ครับ    เพราะเครื่องระดับ  Block 50/52+

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 16:07:10


ความคิดเห็นที่ 25


ยังไงก็แล้วแต่ผมไม่เห็นว่า F/A-50 หรือ F-50 เองก็ดี จะจำเป็นขนาดที่จะต้องมีบ.โจมตีอีกแบบนึง ทั้งๆที่ทัพฟ้าไทยเราพึ่งจะเริ่มโครงการ JAS-39 แล้วยังไม่ครบฝูงอีกด้วย โครงการนี้ยังจะต้องสารต่อไปเพราะยังไงเราก็คงไม่อยากจะไปอิงอเมริกาอะไรขนาดนั้นเละผมว่า Grippen ก็เป็น  fighter ที่เหมาะกับประเทศเรามากที่สุดแล้ว

โดยคุณ P197 เมื่อวันที่ 16/07/2013 20:26:48


ความคิดเห็นที่ 26


F/A-50 เป็นการ upgrade จากบ.ฝึกให้สามารถโจมตีได้มากขึ้นครับไม่ได้เก่งโดยกำเนิดเพราะฉนั้นถ้าถึงขั้นบอกว่ามีประสิทธิภาพเท่าหรือใกล้เคียงกันผมขอบอกเลยว่าไม่มีทางครับ jas-39 ถูกจัดอยู่ใน generation 4.5 แต่ F/A-50.....ผมหาไม่เจอเลย ซึ่งผมว่ามันบ่งบอกถึงศักยภายที่ยังเที่ยบชั้นกับ fighter ไม่ได้เลย

โดยคุณ fighter เมื่อวันที่ 16/07/2013 20:45:16


ความคิดเห็นที่ 27


ผมคิดว่า ท.อ. คงต้องการเครื่องบินรบ มากกว่าเครื่องบินฝึกครับ (โดยใช้เหตุผลว่าซื้อมาแทน L-39)

ซึ่งความจริงน่าจะมาแทนฝูง OV-10 ฝูงสุดท้ายมากกว่า......

และถ้าเป็นจริงอย่างที่ผมคาดจริง F-50 น่าจะมีราคาที่ตอบโจทย์ได้ (ซื้อครั้งเดียวเต็มฝูง 16-18 เครื่อง)

ส่วน Gippen 39 (ที่ผมชอบ อยากให้ซื้อเพิ่ม) อาจไม่สามารถตอบโจทย์ด้านราคา ท.อ. ได้

ท.อ. จัดหา Gippen 39 เพื่อมาทดแทน F-18 (ที่ไม่สามารถจัดหามาได้)  เพื่อใช้โจมตีทางทะเล ก็ได้สมใจไปแล้ว

คงจัดหามาเพิ่มเพื่อให้เต็มฝูงเท่านั้น แม้ต้องการจัดหามาเพิ่มอีกฝูงก็คงจัดหาได้ลำบาก (แพงไป)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 16/07/2013 21:57:03


ความคิดเห็นที่ 28


L-159 เป็นเครื่องบินขับไล่ก็จริงครับ  แต่น่าจะสามารถนำมาเป็นเครื่องบินฝึกเปลี่ยนแบบได้ นะครับ

เพราะด้วยคุณสมบัติของปีกเครื่องบิน ที่ชายหน้าไม่ลู่ไปข้างหลัง ความเร็วต่ำกว่าหลักนิยมของเครื่องขับไล่ทั่วไป

ทำให้ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องขับไล่จริง  จึงไม่มีใครซื้อไปใช้

(น่าจะเหมาะกับประเทศที่มีนานฟ้าแคบๆ และใช้ในภาระกิจสกัดกั้นเท่านั้น)

หากเช็คโกขายในราคาที่ไม่แพง น่าจะจัดหามาเป็นเครื่องบินฝึกเปลี่ยนแบบมากกว่า (นับวันราคาถูกลงเรื่อยๆ)

ยิ่งเก็บนาน ราคายิ่งลดลงครับ  (แถมยังใช้เป็นเครื่องสกัดกัันได้อีกภาระกิจ แต่ไม่ควรใช้เป็นภาระกิจหลัก)

แบบเดียวกับที่ ท.อ. ใช้ L-39 ในภาระกิจของเครื่องโจมตีอีกภาระกิจ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 16/07/2013 22:25:42


ความคิดเห็นที่ 29


ท่าน TWG ผมก็แค่อยากให้ ทอ. เรามีบ. ฝึกดีๆใช้ก็เท่านั้นเองครับเพื่อที่จะได้เทรนนักบินเราให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะขับบ.ขับไล่ 4th -5th genได้ ในอนาคต แล้วผมก็เห็นว่าทอ. ก็ชื่นชอบและภูมิใจในเจ้าตัว Jas-39มากไม่ใช้หรอครับ เห็นเดือนเมษาที่ผ่านมาGripen 39 C/D ได้ไปบินโชว์ตัวที่ประเทศมาเล โดย นักบิน Neo ผมว่ายังไงทอ. เราก็คงจะใช้ Jas-39 เป็นกองกําลังหลักในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

โดยคุณ superjet เมื่อวันที่ 16/07/2013 22:52:12


ความคิดเห็นที่ 30


   T-50  ทั้งตระกูล   ออกแบบจากพื้นฐานของ  F-16  ที่เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกครับ      ดังนั้นโดยพื้นฐานมันก็คือเครื่องบินขับไล่โจมตีนั่นเอง    ไม่ได้มีพื้นฐานจากเครื่องฝึกใดๆทั้งสิ้น

 

      และเนื่องจากมันยืนพื้นบนเครื่องบินขับไล่โจมตี     แต่ผู้ผลิตจะยัดเยียดให้มันมาเป็นเครื่องฝึก    มันจึงไม่ค่อยเหมาะสมกับการเป็นเครื่องฝึก LIFT  ยังไงเล่า      ก็ทุกฝ่ายยังบอกเลยว่ามันมีประสิทธิภาพสูงเกินจำเป็นสำหรับเครื่องฝึก      เพราะมันไม่ได้ออกแบบยืนพื้นมาจากเครื่องฝึกเหมือน Yak-130  M-346

  แต่เพราะผู้ผลิตมีความต้องการตลาดทั้งเครื่องฝึก และเครื่องขับไล่มาทดแทน F-5  ด้วยทั้งสองตลาดครับ   และตอบสนองความต้องการเครื่องฝึกแบบใหม่ของอเมริกาด้วย    เพื่อใช้เป็นเครื่องฝึก LIFT  ก่อนไปบินกับ  F-35    F-22  ครับ

 

   สำหรับคนที่ชอบ   Jas-39   บางท่าน   ผมเข้าใจความรู้สึกนะว่ารู้สึกอย่างไร    แต่อยากให้เปิดใจยอมรับความจริงหน่อยครับว่าการตลาดของ  SAAB  น่ะ  สู้ KAI+LOCKHEED  ไม่ได้หรอกครับ

  jas-39  โดยพื้นฐานมีการออกแบบที่ดีมากๆ   และเป็นเครื่อง  GEN 4.5   ในขณะที่ F-16  เป็น  GEN 4    และยังเน้นขีดความสามารถในการ Dogfight  ที่เป็นเลิศด้วย      ในขณะที่  F-16  เน้นการออกแบบให้ทำได้อเนกประสงค์     ดังนั้นการสู้กันโดย  Dogfight  นั้น  F-16  เป็นรอง Jas-39 แน่นอนครับ     ซึ่งว่าตระกูล  T-50  ก็ย่อมต้องเป็นรองในการ  dogfight  ด้วยเช่นกัน

  นอกจากนี้   RCS   ของ  Jas-39  ก็ออกแบบมาดีกว่าด้วย     ดูๆแล้ว  Jas-39  โดยพื้นฐานออกแบบมาดีกว่า  F-16

 

  งั้นผมถามละกันว่า.............ทำไม  ........ F-16   จึงขายดีกว่ากันมากมายหลายเท่า    ลองคิดดูครับ

 

ส่วนที่ว่าไม่เห็นข้อมูลเลยว่าเป็นเครื่องขับไล่   แนะนำครับว่าไปอ่านที่วิกิพีเดียดูอย่างละเอียดก่อนจะดีกว่าครับ     ทางฝู้ผลิต  KAI  ก็บอกเองว่าต้องการให้มันมาทดแทน  F-5     ถ้าไม่ใช่เครื่องขับไล่โดยพื้นฐานแล้วจะมาจากเครื่องอะไรครับ    

 

เครื่องของ  SAAB  ดีมากครับ     แต่การตลาดนั้นยังห่างชั้น  KAI + LOCKHEED  เยอะ

     

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 23:06:14


ความคิดเห็นที่ 31


   ถ้าโครงการ  TX  ของอเมริกาตัดสินใจเลือก  T-50  เป็นเครื่องฝึกแทน  T-38  จริงๆเมื่อไหร่    จะเป็นการตอกย้ำว่า   T-50   ออกแบบมาเพื่อรองรับการฝึกก่อนจะทำการบินกับ  F-35  F-22  ครับ  

 

  ไม่รู้สึกแปลกหรือครับว่า   F-16   T-50    F-35   F-22   ก็เป็นผลผลิตมาจาก  LOCKHEED  ทั้งหมด...........มันลงตัวชอบกล..................

 

  ถึงเวลานั้น  T-50  จะมีสเกลการผลิตเหลือเฟือทีเดียวครับ   เพราะอเมริกันต้องการ 200-300  เครื่องทีเดียว    ยังไม่นับ ทร.อเมริกันอีกนะ         แล้วเครื่องบินรบหลักของ ทอ.อเมริกันในเวลาอีก 15-20  ปีข้างหน้า  คือ  F-35  F-22   เครื่องของใครครับ   

   ผมว่าทางโน้นวางแผนการตลาดมาอย่างดีมากเลย    และต้องการลดต้นทุนการผลิตโดยผลิตในเกาหลีใต้ที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาก...........

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 16/07/2013 23:19:03


ความคิดเห็นที่ 32


     ผมเสนอว่าตอนนี้ความจำเป็นในเรื่องเครื่องฝึกบินใหม่กับเครื่องบินโจมตีใหม่ยังน้อยกว่าการมีเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ครับ ทำไมถึงคิดอย่างนั้น  มาดูเพื่อนบ้านเรา ตะวันตกมี Mig29  ใต้มี Su30  ตะวันออก/อีสานมี SU30  แล้วไทยมีอะไรไปสู้บ้าง ภาคตะวันตก/เหนือ มี F16MLU  ภาคใต้มี JAS39 + Ericeye ถือว่าสูสี แต่ภาคอีสาน/ตะวันออกมี F16ADF ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วง  คราวนี้ถ้าไทยจัดหา F/A50 มาล่ะ แน่นอนประสิทธิภาพดีกว่า F16ADF แน่แต่ยังไงคงสู้ SU30 ไม่ไหว

     ผมเลยคิดว่าถ้านำเงินที่มี มาจัดหา JAS39C/D + Ericeye 2 เครื่องมาที่กองบิน 1 คู่กับ F16ADF จะทำให้เกิดสมดุลในการป้องกันได้ แล้วนำ F16AB ที่เหลือ 24 เครื่องแบ่งเป็น 2 ฝูง ไปประจำแทน F5E/F กองบิน 21 และ L39  กองบิน 42 ในภารกิจสกัดกั้นโจมตี น่าจะดีกว่า

    ส่วน L39 ผมจะยุบรวมเหลือฝูงเดียว เลือกเครื่องที่สภาพดีปรับปรุงใช้เพียง 18 สำหรับฝึกบิน ที่เหลือเป็นอะไหล่

   ส่วน Alphajet ผมจะปรับปรุงประสิทธิภาพอีกเล็กน้อยและยืดอายุการใช้งานออกไปอีก

   เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานในระยะ 10 ปีต่อจากนี้ ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 17/07/2013 09:24:12


ความคิดเห็นที่ 33


โอ้โฮ คุณ neosiamese2 ขายฝันได้ดีเยี่ยมจริงๆ ได้เมื่อไรรีบส่งข่าวเลยน่ะครับผมจะรีบไปสมัครเป็นนักบินกับ ทอ. อยากจะเเนบชิด fighter ทั้งหลาย มีทั้ง F16 F35 เเสงยานุภาพ ทอ. จะสุดยอดไปเลย มีสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อไรครับคุณ neosiamese2 ?

โดยคุณ aceofaces เมื่อวันที่ 17/07/2013 09:42:48


ความคิดเห็นที่ 34


ถึงคุณ neosiamese2 ก็ถูกอยู่ครับที่ SAAB สู้ Kai-Lockheed ในการตลอดไม่ได้และจริงอยู่ที่ F-16 ขายดีกว่าหลายเท่าแต่ทำไงได้ละครับก็ทอ. ได้ซื้อมาแล้ว และไม่เกินกันยานี้ก็จะมาเพิ่มอีก 3 ลำเพื่อให้ครบ 1 ฝูง เราก็ต้องใช้ Jas-39 ให้คุ้มค่าสิครับ

เราควรกลับมาคิดดูดีกว่าว่าจะใช้บ.ฝึกอะไรที่จะเทรนคนให้ขับ Gripen 39 ได้และไม่ต้องไปสนใจอมริกาหรอครับว่าเขาจะใช้บ.ฝึกอะไรเพราะเขามีเงินถึงซื้อผิดเขาก็เปลี่ยนใหม่ได้แต่ทางเราต้องติดให้รอบคอบและหาบ.ฝึกที่ดีที่สุดและใกล้เคียงกับ Jas-39ของเรามากที่สุด

แล้วส่วนที่คุณ neosiamese2 บอกให้ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับ Kai ใน วิกิพีเดียนั้น คุณทราบหรือไม่ว่า วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ ชนิด wiki ที่บุคคลทั่วไปที่เข้ามาในเว็บสมารถมาแก้ไขขอมูลนี้ได้ตลอดเวลาจึงไม่สมารถแน่ใจได้ว่าขอมูลเล่านั้นเชื่อถือได้100 %หรือไม่

 

 

 

โดยคุณ z_tech เมื่อวันที่ 17/07/2013 11:24:13


ความคิดเห็นที่ 35


ผมก็มีความคิดคล้ายกับท่าน rayong นะครับ คือ ทอ.น่าจะจัดหา Gripen C/D + Erieye มาเพิ่ม ทั้งสำหรับฝูง 701 และ ฝูง 103 ซึ่งหากเป็นแบบนี้ บ.ฝึก/โจมตีเบา ก็น่าจะเลือก M-346 นะครับ เพราะค่าใช้จ่ายในการบินต่ำกว่า (แต่เจ้า T-50 ใช้เครื่องยนต์ตระกูลเดียวกับ Gripen นะครับ อันนี้ก็น่าคิดนะ)

แต่หากมองภาพรวมในการจัดสรรเงินงบประมาณ อาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ตรงนี้ก็น่าจะหันมาพิจารณาเจ้า T-50 และพี่น้องนะครับ แม้สมรรถนะจะไม่สูงทัดเทียมแต่เราก็สามารถจัดหาระบบอาวุธ และใช้ยุทธวิธีการรบมาชดเชยได้ เหมือนที่เราตั้งใจใช้เจ้า Gripen + Erieye ต่อกรกับ Su-30 MKM ตามยุทธวิธีของสวีเดนเค้ายังไงล่ะครับ 

ปล.ในเวลานี้ผมกลับมองว่าภัยคุกคามด้านตะวันออกเฉีบงเหนือ โดยเฉพาะจากเวียดนามนั้นน้อยมากๆ ครับ เพราะเขาต้องรับมือจีนอย่างสุดกำลัง ส่วนลาวและกัมพูชานั้นในอนาคตอันใกล้นี้ ยิ่งไม่ต้องเป็นห่วงอะไรมากมายเลยครับ ถึงอย่างไรกองทัพเราก็เน้นนโยบายการป้องกันแบบตั้งรับอย่างเดียวอยู่แล้ว 

ปล.2 ท่าน neosiamese2 ครับ F-16 เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อไหร่ครับ(1978) แล้ว Jas-39 ล่ะครับ(1997) ที่สำคัญเจ้า F-16 นั้นได้รับโอกาสในการพิสูจน์ตัวเองในการรบจริงมามากมายนะครับ ส่วนเจ้า Gripen ไม่เคยได้รับโอกาสแบบนั้นหรอกครับ หากจะบอกว่าเป็นการตลาดก็ได้แต่ไม่ใช่การตลาดของ LM ครับ เป็นการตลาดด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของอเมริกาเลยครับ แล้วยังมีเรื่องของการช่วยเหลือทางทหารอย่างเงินกู้ในโครงการ FMS เหมือนที่เราได้รับ(เมื่อกู้เงินจากอเมริกาก็ต้องซื้ออาวุธจากอเมริกา) อิทธิพลของกองทัพสหรัฐต่อชาติพันธมิตร ขนาดเราเองไปสั่งซื้อกริปเป้นมายังโดนอเมริกาขอให้ชี้แจงเลยนะครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 17/07/2013 11:28:14


ความคิดเห็นที่ 36


จริงครับพี่ aceofaces คุณ neosiamese2 เขาขายฝันเก่งจริงอะไรจริงแต่เรามาดูความจริงกันดีกว่า

ที่ F-16 ขายดีกว่า JAS-39 มากมายทุกท่านก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าทำไม แต่อย่างที่มีท่านนึงได้เขียนไว้ข้างบนว่า JAS-39 เหมาะกับประเทศเราสุดแล้วก็เพราะเวลาเปรียบเทียบกันกับราคา JAS-39 เองก็เป็นบ.รบที่พึ่งเกินใหม่และยังไม่มีโอกาศได้โชว์ศักยภาพให้เห็นเท่าไร

ที่ผู้ผลิตอยากให้มาแทน F-5 โอเคครับผมไม่เถียงเพราะการแทน F-5 ผมว่าไม่ยากเพราะเป็นมันเป็น 3rd gen.

และ มันก็ไม่แปลกหรอกครับที่ F-16  F-22 F-35 ที่เป็นผลผลิตมาจาก  LOCKHEED  และ T-50 ก็อาจจะเข้าไปรับใช้ชาติอเมริกาเพราะที่ว่ามานี้เป็นผลผลิตของประเทศเขาทั้ง นั้น ประเทศเขาทำ เขาก็ย่อมที่จะใช้เอง ถ้าไม่ใช้เสี่ยชื้อตายเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า T-50 จะได้รับใช้อเมริกาแน่ๆน่ะเพราะยังไงสะก็ไม่ได้เป็นสันชาติอเมริกันอย่างแท้ จริงแถมยังมีข่าววงในว่า LOCKHEED ไม่ได้ให้ความสนับสนุน KAI อย่างเต็มที่ขนาดนั้น

แต่สิ่งที่ที่น่าแปลกคืออะไรรู้ไหมครับ...3 ประเทศล่าสุดที่ M-346 และ T-50 เข้าประกวดมาผลปรากฏว่า M-346 ชนะรวด ทั้ง UAE Singapore และ Iserael และถ้ามองให้ลึกไปกว่านั้น ทั้ง 3 ประเทศนี้ มี F-16 ไว้ในครอบครองในจำนวณที่ไม่น้อยเลย ซึ่งก็เห็นๆกันอยู่ว่าเป็นบ.รบหลัก และยิ่งไปกว่านั้น 3 ประเทศนี้ก็มีแผนที่จะจัดซึ้อ F-35 เหมือนกันอีกด้วย แต่ประเด็นคือ ถ้า T-50 ดีมากเหมาะกับการเตรียมต้วให้นักบินพร้อมจะบิน F-16 และบ.รบในอนาคตอย่าง F-35 แถมยังมีการตลาดที่เหนือชั้นกว่า Alenia M-346 แล้วทำไมผลลับของการเขาประกวดจึงออกมาแพ้รวด 3 ครั้ง...ไม่สงสัยกันเลยหรอครับขนาด T-50 ที่บอกว่าแน่ + แปะป้ายคำว่า LOCKHEED MARTIN ทำได้แค่นี้เองหรอ???

ทั้ง 3 ประเทศนี้เขาไม่ได้มองในมุมของธุรกิจเหมือนอเมริกาที่ทำเองใช้เองเพราะเขา ไม่มีส่วนได้เสียกับบริษัทนั้นๆอยู่แล้วเพราะไม่ได้ผลิตเองแต่เขากลับมองใน มุมกว่าง เน้นในเรื่องผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างเหมาะสม

โดยคุณ fighter เมื่อวันที่ 17/07/2013 13:35:15


ความคิดเห็นที่ 37


ส่วนตัวชอบ M-346  เพราะน่าจะมีระบบการควบคุมการบิน และ Flight Control ที่ออกแบบก้าวหน้ากว่า ทำให้ดูการบินมีความราบรื่นและต่อเนื่องกว่า T-50  แต่ T-50 ได้เปรียบที่ใช้โครงสร้างและการออกแบบคล้าย F-16 ใช้เครื่องยนต์คล้าย JAS-39 และสามารถสนองความต้องการของ ทอ.ไทย ที่ต้องการใช้เครื่องแบบเดียวในการฝึกและการรบ เหมือนในอดีตที่เคยใช T-37 และ A-37

ดังนั้นถ้าไม่คิดมาก T-50 และ F/A -50 น่าจะได้เกิด  อย่างละฝูง 12 - 18 ลำตามสมควร

ปล. อย่าลืมว่าได้ลงนามความร่วมมือทางทหารแล้วด้วย

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 17/07/2013 13:39:38


ความคิดเห็นที่ 38


ผมคิดว่า ท.อ. ไม่ได้ต้องการเครื่องบินฝึก Lift ครับ  เพราะแค่โอนเครื่อง L-39 ไปเป็นเครื่องฝึกทั้งหมด

ท.อ. ก็มีเครื่อง Lift จำนวนมากเพียงพอแล้วครับ....

แต่ ท.อ. ต้องการเครื่องบินรบที่มีสมถรรนะสูง (อาจไม่สูงมาก) อีกจำนวน 2 ฝูง มากกว่า (แบบประหยัดหน่อย)

ส่วน JAS-39 E คงต้องจัดหามาทดแทนฝูง F-16 adf เพื่อทดแทน และเพิ่มให้กองบิน 7 เท่านั้น

(คาดว่าจะไม่มีเครื่อง JAS-39 F เพราะใช้ รุ่น D ได้)  

(ความเห็นส่วนตัวครับ)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 17/07/2013 17:16:13


ความคิดเห็นที่ 39


คุยมาตั้งนาน ขออนุญาตถามสักนิดนะครับ มีใครพอจะทราบไหมว่า  F-16 A/B ฝูง 103 กับ F-16 ADF ฝูง 102 และ L-39 ที่เหลืออยู่(เคยเห็นรูปการซ่อมใหญ่อยู่ในบอร์ดนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าได้ทำไปตั้งแต่ปีไหน) นั้นน่าจะต้องปลดประจำการ ประมาณช่วงเวลาไหนบ้างครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 17/07/2013 18:08:45


ความคิดเห็นที่ 40


ผมอยากจะมาแชร์ขอมูลเล็กๆเกี่ยวกับ M-346สักหน่อยนะครับ ว่าในตัวเครื่องมีปุ่ม ปุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Miracle button ซึ่งทําหน้าที่ปรับการสงตัวขอเครื่องบินให้อยู่ในภาวะปกติเวลาที่นักบินกําลังฝึกอยู่ และได้เสียการสงตัวซึ่งสมารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง เพราะอยู่ในช่วงฝึกบิน เจ้าปุ่มนี้เลยเป็นปุ่มพิเศษสําหรับ M-346ครับ กดครั้งเดียวช่วยชีวิตทันตาเห็น เจ๋งจริงๆ

โดยคุณ superjet เมื่อวันที่ 17/07/2013 18:26:21


ความคิดเห็นที่ 41


จากการประมาณการคร่าวๆ

-ฝูง102 ปลดในปี พ.ศ.2570

-ฝูง103 ปลดประมาณ ปีพ.ศ. 2580

-ฝูง403ปลดประมาณปี  พ.ศ.2583

 

ขอใช้คำว่า "อาจจะ" ทั้งหมดครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 17/07/2013 20:13:33


ความคิดเห็นที่ 42


ขอออกความเห็นหน่อยครับ

ที่ทอ.กำลังจะทำอยู่นั้นคือการจัดซื้อบ.ใหม่มาแทน L-39 ซึ่งผมมานั่งวิเคราะห์ดูแล้ว คำว่า “แทน” ไม่ได้หมายความว่าทอ.จะทิ้งหรือโละออกไปไหนน่ะครับ ซึ่งเป็นไปได้ว่าทอ.จะยังเก็บไว้ใช้งานอยู่โดยใช้เป็นฝูงโจมตีเบาแบบถาวรโดยไม่มีการเกี่ยวข้องกับการให้ฝึก ถึงยังไงก็แล้วแต่ผมว่าทอ.ยังคงจำเป็นที่จะต้องจัดหา LIFT เพราะด้วยความล้าหลังทางเทคโนโลยี ของ L-39 ที่จะไม่สามารถฝึกนักบินให้ขับบ.รบสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งถ้าเป็นตามนี้จริง M-346 ดูจะเข้าตามากยิ่งขึ้นไปอีกนะครับด้วยสมรรถนะที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเหมาะกับบ.รบรุ่นใหม่

โดยคุณ P197 เมื่อวันที่ 17/07/2013 21:40:03


ความคิดเห็นที่ 43


อันนี้ส่วนตัวนะครับ นอกประเด็น สรุปคือผมชอบ มีสักสองถึงสามลำหล่ะแจ่มเลย

A-10



โดยคุณ Gaara เมื่อวันที่ 17/07/2013 23:19:58


ความคิดเห็นที่ 44


  ผมไม่ได้ขายฝันอะไรหรอกครับ    เพราะคนขายฝันตัวจริงคือคนที่เอาข้อมูลมาลงในวิกิพีเดียและเวปอื่นๆที่เกี่ยวกับทางทหารที่ผมนั่งอ่านเมื่อมีเวลาว่างครับ    ผมก็แค่แปลและเล่าฝันที่เขาเขียนทิ้งเอาไว้ให้เพื่อนๆ TFC  อ่านต่ออีกทอดก็เท่านั้นเอง

อันนี้เวปลิ้งค์วิกิพีเดียที่เป็นเรื่องของ T-50   ซึ่งที่ผมเอามาเล่าก็อ่านมาจากในนี้เป็นหลักน่ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/KAI_T-50_Golden_Eagle

ส่วนข้างล่างนี่ คือ รายละเอียดของโครงการ  T-X  program

http://en.wikipedia.org/wiki/T-X_program

 

    หลายท่านอาจจะไม่เชื่อว่า  T-50  จะชนะในโครงการ  T-X  ได้อย่างไร   เพราะเห็นชาติที่ใช้  F-16  และเข้าชื่อใช้  F-35  เลือก  M-346        เราลองมาดูคู่แข่งและข้อกำหนดในโครงการ  T-X  กัน

คู่แข่งในโครงการนี้มี  3 ราย

1.  M-346   จาก  Armacchi   แผนแบบมาจาก  yak-130  ของรัสเซีย

2.  Hawk  T2/128  จาก BAE

3.  T-50  จาก  KAI+LOCKHEED

โดยข้อกำหนดสำคัญในโครงการ  T-X  มี  5 ข้อดังนี้ครับ   เอามาจากวิกิอีกน่ะแหล่ะ

there are five advanced training roles that the system is expected to fulfill; sustained high-G operations, aerial refueling, night vision imaging systems operations, air-to-air intercepts, and data-link operations

1.  ต้องรองรับแรง  G  ที่สูง

2.  ต้องรองรับความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้   เพื่อฝึกเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ

3.  ต้องรองรับขีดความสามารถการปฏิบัติการเวลากลางคืนได้

4.  ต้องรองรับขีดความสามารถสกัดกั้นทางอากาศได้

5.  ต้องรองรับการปฏิบัติการด้วยระบบดาต้าลิ้งค์ได้

จากข้อกำหนดข้างต้นดูเหมือน  T-50  ถูกออกแบบมาเพื่อการเข้าแข่งขันตามข้อกำหนดของโปรแกรม  T-X  แป๊ะ     มันไม่ฟลุ๊คครับ     เพราะผู้ผลิต  F-35    F-22   คือ   LOCKHEED      แม้ว่า  KAI  จะบอกว่าสร้าง  T-50  ขึ้นมาตามความต้องการของตนเอง    แต่เดิมนั้น เกาหลีใต้ก็ระบุชัดว่าจะใช้  F-35  เช่นกันก่อนจะมีโครงการ  KFX   ดังนั้นคุณสมบัติจึงต้องให้ตรงกับข้อกำหนดของโครงการ  T-X  ที่หุ้นส่วนคือ  LOCKHEED  ขอมา       และข้างล่างเป็นข้อความที่ผมตัดมาจากวิกิพีเดียครับ    ยืนยันว่า  T-50   มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งเจ้าอื่นๆ..................และตามคาดการณ์ของผม.............T-50   คงนอนมาในโครงการ  T-X  program  ครับ

    Lockheed Martin, along with KAI, plan to propose their T-50 for the T-X program. While the T-50 was explicitly designed and built for the South Korean trainer requirement, Lockheed Martin officials have acknowledged that the aircraft was designed with replacing the T-38 in mind. The T-50 may also have an advantage, as Lockheed also builds the F-22 and F-35, the aircraft the new trainer is supposed to prepare pilots for. Lockheed anticipates proposing the T-50 with few changes, mostly avionics related. They are considering moving the assembly location to the United States, from South Korea, if they win the contract.[2]

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 17/07/2013 23:33:09


ความคิดเห็นที่ 45


    นอกจากนี้  อีกไม่นาน ทร. อเมริกันก็จะปลดประจำการ  T-45 Goshawk  ออกด้วย   และก็เตรียมจัดหาเครื่องมาทดแทน  ซึ่งทางทร.อเมริกาก็เหมือนขอเข้าร่วมกับโครงการ  T-X  ด้วยโดยมีข้อกำหนดความต้องการของทร.อเมริกันเข้ามาเพิ่มใน  RFI     ตามข้อความในวิกิพีเดียที่ผมตัดมาให้อ่านข้างล่างนี้

Additionally, while the RFI is specifically for a USAF trainer, it asks potential suppliers about the feasiblily of a fighter/attack variant of the aircraft and a carrier-capable variant for the United States Navy.

1.  เครื่องฝึกต้องรองรับในเรื่องการที่จะมีรุ่น  ขับไล่และโจมตี  ได้ด้วย    และ

2.  จะต้องสามารถปฏิบัติการจากเรือบรรทุกบ.ได้ด้วย

  นั่นก็แสดงว่า   T-50  จะต้องมีการพัฒนารุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.   และจะต้องพัฒนารุ่นขับไล่โจมตีที่ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกบ.ได้ด้วย

 

  ผมยังจำได้  2-3 ปีก่อนพูดถึงเรื่องเครื่องบินที่จะใช้บนเรือจักกรี   ผมบอกว่า  T-50  นั้นน่าเล่นเพราะจะมีรุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.ด้วย    เจอด่าว่าเพ้อเจ้อ..............ผมว่าคนที่เขียนข้อมูลมาให้ผมอ่านคงจะเพ้อเจ้อมากๆครับ   

 

  จะเห็นว่าข้อกำหนดทั้ง  ทอ.และทร.อเมริกันนั้น    เครื่องฝึกที่เขาต้องการ   มันก็คือเครื่องบินขับไล่โจมตีเบาดีๆนี่เองครับ     และ  T-50  ก็ออกแบบมาตามนี้แป๊ะ.....ทุกกระเบียดนิ้ว

 

  M-346  พัฒนามาจาก  Yak-130  ซึ่งถูกสร้างมาตามข้อกำหนดของ  ทอ.  รัสเซียครับ    คงยากที่จะได้คะแนนนำ  T-50  ตามข้อกำหนดของโครงการ  T-X      บอกตรงๆครับว่า    HawkT2/128   ยังมีขีดความสามารถตรงตามข้อกำหนดมากกว่า  M-346   ด้วยซ้ำ

 

  ดังนั้น   T-50  นอนมาในโครงการ  T-X  แน่นอนครับ     และเมื่อมันได้รับการคัดเลือก (ปี 2016 และเข้าประจำการปี  2020)      ทางผู้ผลิต  F-35    f-22   ก็จะประกาศได้เต็มปากว่า   T-50  คือเครื่องบินฝึกที่ทางผู้ผลิต  F-35   ให้การรับรองมาโดยตรง

     เมื่อนั้น   M-346   จะจืดสนิท  

ด้วยเหตุผลนี้แหล่ะครับ   ที่  T-50   จะนอนมาในการจัดหาเครื่องฝึกและเครื่องโจมตีของ ทอ. ไทย     เพราะยังไงเราก็ยังคงตามอเมริกันต้อยๆๆๆอยู่    จนกว่าจะเปลี่ยนนโยบาย

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 17/07/2013 23:51:18


ความคิดเห็นที่ 46


   ทอ. ไทยประกาศชัดเจนมาหลายปีแล้วว่าต้องการ  F-35  จำนวน 2 ฝูง   ไม่แปลกครับที่  T-50  จะมาในทอ.ไทย     และ  F-16 ฝูง 403  ยังต้องประจำการไปอีกนาน   ซึ่ง T-50  เหมาะสมกับการฝึกเพื่อไปบินทั้ง  F-16  และ  F-35  มากกว่า

 

   และจากข้อกำหนดของ ทร. อเมริกันที่ต้องการรุ่นขับไล่และโจมตีด้วย    ดังนั้น  T-50  จึงต้องออกแบบเผื่อไว้   จะเห็นว่ามีทั้งรุ่น  A-50   F/A-50   และล่าสุดที่กำลังพัฒนาคือ  F-50  ที่จะมีการขยายแบบให้ใหญ่ขึ้นและประสิทธิภพาสูงมากขึ้น       ซึ่งต้องการจับตลาดผู้ใช้  F-5  เดิมและผู้ใช้เครื่องบินขับไล่โจมตีเบา   ซึ่งจะตรงกับ   ส่วนตลาดของ   Jas-39  เปรี้ยงพอดี

 

  ไม่มีการฟลุ๊คแน่ครับ   ที่  LM  เลือก  KAI  มาเป็นคู่หู   คงมีการคุยกันในระดับรัฐบาลกันมาก่อนเมื่อความต้องการตรงกัน    และมีการวางแผนการตลาดชัดเจนมาจากทั้งอเมริกาและเกาหลีใต้

1.  สเปกเครื่องระดับ  American  standard

2.  ราคาเบาๆแบบเกาหลีๆ   ดังนั้นจึงต้องผลิตในเกาหลีใต้เพื่อลดต้นทุน

3.  มีสเกลการผลิตมหาศาลแบบที่คู่แข่งสู้ไม่ได้   เฉพาะโครงการ  T-X  ก็ไม่น้อยกว่า  350  เครื่อง    และในวิกิพีเดียบอกว่า   มีการคาดการณืกันว่าจะมีกำลังการผลิตถึง  1,000  เครื่องในอนาคต    แสดงว่ามีการสำรวจตลาดมาเป็นอย่างดี

 

  และเราก็เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตรงตามที่เขาวางแผนไว้แป๊ะเลย...............

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/07/2013 00:09:20


ความคิดเห็นที่ 47


    ตอนนี้  ทอ. ยืนอยู่บนทางสองแพร่งครับ   

1.  เลือกถือข้างอเมริกันและพรรคพวกต่อไป    ดังนั้นระบบอาวุธยังจะต้องยืนพื้นบนระบบอาวุธของอเมริกัน   ซึ่งถ้าเลือกตามนี้   T-50  A-50  มาแน่     และ  F-50  ก็จะตามมาในฝูงขับไล่สกัดกั้นอีก 2 ฝูงที่เหลือ

2.  ค่อยๆเลิกตามตูดอเมริกัน    โดยเริ่มที่ฝูงบินขับไล่สกัดกั้น  3 ฝูงนี้ก่อน   แล้วเลือกพันธมิตรใหม่ที่ออกแนวเป็นกลางระหว่างประเทศมากขึ้น    ซึ่งทั้ง 3 เหล่าทัพดูเหมือนจะมองตรงกันที่   สวีเดน     แต่จะทำแบบนั้นได้ต้องมีขีดความสามารถในอุตสาหกรรมทหารที่สูงและต้องมีสเกลการผลิตที่สูงพอทีเดียวครับ    

   ก็เป็นแนวทางที่ดีถ้าประเทศที่อยากวางตัวเป็นกลางมาร่วมจอยกันในอุตสาหกรรมทหารเพื่อให้สเกลการผลิตอยู่ในระดับสูงที่สามารถแข่งขันในตลาดอาวุธต่อไปได้       ผมถึงสนับสนุนว่าฝูง  211  ก็ควรจะต้องเป็น  Jas-39   และควรจะมีการร่วมทุนเป็นหุ้นส่วนกันจริงจังระหว่าง   TAI + SAAB   เหมือน   KAI +  LOCKHEED    แต่ขอบอก   งานนี้งานช้าง........มากๆ......

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/07/2013 00:19:22


ความคิดเห็นที่ 48


ฟังข้อมูลท่านนีโอแล้วตื่นเต้นตามไปด้วย ส่วนตัวผมเฉยๆนะลำไหนก็ได้ขอให้มันใช้งานได้จริงตามอายุไขด้วยเถอะ ผมไม่มีอะไรจะนำเสนอนอกจากภาพF-50 (ชื่อโหลมาก) ทำให้เครื่องบินตระกูลนี้มีตั้งแต่ T-50 T-50B T/A-50 F/A-50 และ F-50 เยอะดีแท้

 

ส่วนเรื่องขายเครื่องบินได้นี่มันตอบกันยากนะ ขนาดราฟาลสมรรถนะดีมากๆกว่าจะขายออกก็ต้องรอกันนานแสนนาน แต่ก็ได้ดีลใหญ่ไปเลยนะคุ้มกว่ากันเยอะ เหมือนกันกับเครื่ิองบินฝึกทอ.อเมริกาใครได้ไปอิ่มไปอีกนาน

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/07/2013 09:14:22


ความคิดเห็นที่ 49


ภาพใหญ่ไป ชิ


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/07/2013 09:17:17


ความคิดเห็นที่ 50


อย่าลืมสิครับว่าบ.ที่จะส่งเข้าแข่งขันในโครงการของอเมริกานั้น สุดท้ายก็จะต้องถูกโมดิฟายและผลิตโดยบ.ของอเมริกัน เราไม่รู้ว่าข้อตกลงระหว่าง LM กับ KAI เป็นอย่างไรเพราะแบบ F-16 ดั้งเดิมเป็นของ LM แล้ว KAI เอามาดัดแปลง ทีนี้พอออกมาเป็น T-50 แล้วมีจะยังเงื่อนไขอะไรหรือเปล่า แต่ที่ได้แน่ๆ คือความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจในสมรรถนะ และอะไหล่ซ่อมบำรุงในระยะยาว

อีกเรื่องนึงก็คือ แนวทางการปรับปรุงของทอ.ที่ก่อนหน้านี้ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะใช้ "สวีเดน" เป็นต้นแบบ พูดง่ายๆ ก็คือเราจะมีแนวทางเป็นของตัวเองและจะพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุดในอนาคต นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากทร.(ส่วนทบ.คงต้องรอไปก่อน) ในการเชื่อมต่อระบบ NCW เพื่อประสานงานในการป้องกันร่วมกันของสองกองทัพ จากความเคลื่อนไหวล่าสุดในเวลานี้ดูเหมือนว่าจะมีความร่วมมือกับทางเกาหลีด้วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งกองทัพทั้งสองของไทยน่าจะได้ประโยชน์มากๆ และทั้งเกาหลีทั้งสวีเดนเองก็ได้ประโยชน์ด้วยไม่ใช่น้อย แม้ดูเหมือนว่า F/A-50 กับ Gripen จะเป็นคู่แข่งกันในตลาดโลก แต่หากแยกแยะให้ดีก็น่าจะสามารถแบ่งตลาดเกื้อหนุนกันได้ ผมมองว่า Gripen อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างเครื่องสมรรถนะสูงราคาแพง อย่าง F-35 , Rafale , Eurofigther กับ F/A-50 ซึ่งเป็นบ.รบอเนกประสงค์ขนาดเบาที่ราคาต่ำกว่า อีกทั้ง Gripen นั้นจะเน้นจุดขายเป็นระบบร่วมกับ Erieye  

ผมคิดว่าการที่กองทัพหันมาปรับจุดยืนและยุทธศาสตร์ใหม่ โดยเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ด้วยการเรียนรู้และประยุกต์รูปแบบของประเทศที่มีขนาดและศักยภาพรวมทั้งนโยบายการป้องกันประเทศ(แบบเชิงรับ)ที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยนั้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง และหากสามารถบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ จากทั้งสวีเดนและเกาหลีมารวมกันได้ ก็จะยิ่งเพิ่มพูนศักยภาพของกองทัพไทยได้อีกมหาศาล ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงจากสภาวะกดดันจากมหาอำนาจทั้งหลายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ปล.ผมคิดเอาเองนะครับ ก็ไม่รู้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เราจะสามารถโน้มน้าวให้ทั้งสองประเทศนี้มาร่วมมือด้วยกันกับเราได้จริงหรือไม่

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 18/07/2013 10:45:40


ความคิดเห็นที่ 51


สำหรับเครื่องบินฝึกแบบไอพ่นนั้น ส่วนตัวมองว่า จุดหลักในการคัดเลือกนั้น อาจจะเน้นไปที่ความประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจและซ่อมบำรุง ส่วนเรื่องราคานั้นมักจะมีตัวแปรหลายอย่างที่อาจจะทำให้ราคาไม่ได้อยู่ในราคามาตรฐานของประเทศผู้ผลิตเพราะแต่ละประเทศอาจจะเลือกเงื่อนไขหรือระบบรองรับบางอย่างที่แตกต่างกัน รวมทั้งเงื่อนไขข้อเสนอของผู้ขายที่มีต่อกองทัพอากาศก็มีส่วนเช่นกันครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 18/07/2013 11:46:02


ความคิดเห็นที่ 52


จากที่ท่าน Fighter เขียนมาเกี่ยวกับชัยชนะของ M-346 เหนือ T-50 ที่ผ่านมาทำให้ผมอยากรู้เลยว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ T-50 แพ้

ผมได้ไปค้นดูข่าวเก่าๆมาแล้วเจอหนึ่งในสามการแข่งขัน ซึ่งทำให้ผมงงเล็กๆว่า เอ๋....หลายๆคนกำลังเข้าใจอะไรผิดๆเกี่ยวกับราคาหรือเปล่าครับ เห็นมาตั้งแต่กระทู้ที่แล้วละ

ผมได้อ่านข่าวเก่าๆเกี่ยวกับการประกวดระหว่าง M-346 และ T-50 ที่ผ่านๆมา ปรากฏว่าที่ T-50 แพ้มาด้วยตลอด โดยหลักๆแล้วเกี่ยวข้องราคาที่เสนอ

“A T-50 jet's flyaway cost is set at 20 billion Won to 25 billion Won ($13.5 - $16.9 million), while the M-346 costs 18 billion Won to 20 billion Won.”

ที่บางท่านบอกว่า T-50 ถูกกว่า M-346 ผมอยากทราบว่าท่านอ้างอิงมาจากไหนหรอครับผมอยากเห็นหลักฐาน จะเป็น link ก็ได้ครับ แต่อยากได้เป็น website ทางการหรือที่เชื่อถือได้ครับ

อีกอย่างหนึงที่ผมสงสัยและอยากได้คำตอบมากเลยคือ ท่านรู้ได้ยังไงว่าในราคาแบบนั้นๆของทั้ง M-346 และ แต่ละรุ่นของ T-50 มี option อะไรให้บ้าง อยากรู้ว่าท่านอ่างอิงมาจากไหน ผมจะได้มีไว้ประดบความรู้

 

ผมได้ข้อมูลมาจาก koreatime.co.kr

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.koreatimes.co.kr/www/news/biz/2009/03/123_41154.htm

โดยคุณ unmanned เมื่อวันที่ 18/07/2013 12:26:18


ความคิดเห็นที่ 53


อันที่จริงการซื้อเครื่องบินจะไม่ใช่แค่เครื่องเปล่าๆอย่างเดียวนะครับ ยังมีอะไรอีกเยอะแยะเต็มไปหมดอุปกรณ์ในแต่ละดีลก็ไม่เท่ากัน การหาราคาในแต่ละดีลก็ง่ายมากพิมพ์ในgoogleได้เลยแล้วมาลองเทียบดู เพราะนี่เป็นข่าวทั่วไปที่มีนำเสนอทั่วโลก

 

http://www.defensenews.com/article/20110526/DEFSECT01/105260307/Indonesia-Buy-16-S-Korean-T-50-Trainers

 

SEOUL - Korea Aerospace Industries (KAI) signed a $400 million deal to sell 16 T-50 Golden Eagle supersonic trainer aircraft to Indonesia, marking the first overseas sale of the $20 million jet co-developed by Lockheed Martin.

 

อินโดสั่งT-50 16ลำ(ในวิกิบอกว่าเป็นT/A50 4ลำ)400ล้านเหรียญ รวมอะไรบ้างผมไม่แน่ใจ

 

http://www.flightglobal.com/news/articles/singapore-confirms-order-for-m-346-trainer-347885/

 

Singapore has confirmed that it will buy 12 Alenia Aermacchi M-346 advanced jet trainers for delivery from 2012. Boeing will supply the training system, while Singapore Technologies Aerospace has been authorised to purchase the aircraft and manage the entire AJT programme on behalf of the Republic of Singapore Air Force (RSAF). "The acquisition of the M-346 aircraft and the ground-based training system marks a significant milestone in the RSAFs force development, enhancing the capabilities and operational readiness of the Singapore armed forces," says the countrys defence ministry. The acquisition cost of the aircraft, ground-based training system and associated spares are worth S$543 million ($410 million), says ST Aerospace.

 

สิงค์โปร์สั่งM-346 12ลำเป็นเงิน410ล้านเหรียญ รวมอะไรบ้างผมไม่แน่ใจ

 

http://defense-update.com/20120217_israel-to-buy-30-m346-jet-trainers-from-italy-for-1b.html

 

Israels Ministry of Defense (IMOD) has reached a preliminary agreement with Italy for the procurement of 30 M346 military training jets, built by the Italian company Alenia Aermacchi. The value of the package is one billion US$. Pending formal government approval, the agreement marks the end of a long competition between Italy and South Korea over the lucrative sale.

 

อิสราเอลสั่งM-346 30ลำเป็นเงิน1พันล้านเหรียญ รวมอะไรบ้างผมไม่แน่ใจ

 

เฉพาะอิสราเอลมีดราม่ากับT-50เล็กน้อย ข้อมูลในวิกิด้านล่างจะมีลิงค์อ้างอิงเหมือนกับที่เราๆมีกันนี่แหละครับ ถ้าตามดมกลิ่นไปเรื่อยๆก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการจริงๆ ซึ่งเพื่อนๆที่อยู่เวปนี้มาหลายปีแล้วจะชำนาญกว่าผมมากผมสามารถเชื่อถือได้เลยไม่ต้องคิดมาก

 

ปล.ทำไมมันพิมพ์แล้วแปลกๆฟระวันนี้

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/07/2013 13:30:42


ความคิดเห็นที่ 54


อ่าว……!!!

ผมก็หลงเชื่อมาตลอดเลย สรุปว่า T-50 แพงกว่า?!?!?!

 งั้นที่บอกว่า มีปัญหาเรื่องงบ กลัวงบไม่พอ M-346 มันแพงไป

…..แบบนี้ก็…..สามารถซื้อได้แล้วดิ

มันยังไงกันแน่?!?!?!?!

โดยคุณ RPG เมื่อวันที่ 18/07/2013 12:48:55


ความคิดเห็นที่ 55


ผมเห็นคล้ายกับคุณ TWG  คือ ก่อนหน้านี้ ทอ. ได้คิดมาแล้วและได้เลือกรูปแบบและระบบของสวีเดนมาใช้เป็นแกนหลักในอนาคตแทนระบบของสหรัฐ จึงได้สั่งซื้อ JAS39 + Ericeye พร้อมระบบสนับสนุนต่างๆ  ดังนั้นโครงการต่อๆไปจากนี้ จะต้องยึดนโยบายนี้เป็นหัวใจสำคัญ อาวุธทุกชนิดต้องสามารถเข้ากันได้กับระบบของสวีเดน หรือ ระบบที่ไทยพัฒนาต่อยอดจากระบบสวีเดน ตัวอย่าง เช่น หากจะใช้เครื่อง F/A50 , T50 ทางเกาหลีต้องทำให้มันสามารถใช้กับระบบของสวีเดนได้  หรือให้ดีควรใช้ได้ทั้งของสวีเดนและสหรัฐจะดีมาก กรณี F16 ก็เช่นกันหลังปรับปรุง MLU แล้วก็ควรใช้ระบบสวีเดนได้ (อาจใช้ระบบสหรัฐได้ด้วยก็ดี)  เพราะหากไม่ยึดตามนี้ก้เท่ากับ ทอ. ลงทุนศูนย์เปล่า กลายเป็นมีหลายระบบมั่วไปหมด สอดประสานงานกันไม่ได้ ครับ

นี่ผมรวมไปถึงทุกเหล่าทัพควรใช้ระบบที่เข้ากันได้ ตอนนี้ก็ต้องเป็นระบบสวีเดน หรือ จะต้องใช้ได้ 2ระบบ คือสวีเดนและสหรัฐคู่กันได้ เช่น เรือรบ ระบบป้องกันภัยทางอากาศของ ทบ. ทร. ระบบ DTI-1 ยานรบทุกชนิด ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 18/07/2013 13:01:35


ความคิดเห็นที่ 56


ราคาของ M-346 ก็ให้พิมพ์ หาในกูเกิ้ล ครับ...isarael กับ Singapore M-346 ราคาจะออกมา ถัวเฉลี่ยลำละ 32-33 ล้านเหรียญเป็นขั้นต่ำครับ...

ส่วน T-50 ปัจจุบัน มีผู้ซื้อรายเดียว คือ อินโดนีเซีย จำนวน 16 ลำ หาในกูเกิ้ล ได้ครับ...ราคาโครงการ 400 ล้านเหรียญ ถัวเฉลี่ย ลำละ 25 ล้านเหรียญ...

ถ้าเฉพาะเป็น เครื่องบินฝึก เท่านั้น...T-50 จะราคาถูกกว่า ครับ...

แต่ถ้ารวมค่าใช้จ่าย ตลอดอายุการใช้งาน ผมว่า T-50 จะแพงกว่า M-346 น่าจะมากอยู่ครับ...

ส่วนของ ฟิลิปปินส์ เป็น FA-50 จำนวน 12 ลำ ราคาโครงการ ประมาณ 464 ล้านเหรียญ ถัวเฉลี่ย ลำละ 38 ล้านเหรียญ...

ซึ่งผมว่า T-50 เมื่อรวมราคาค่าใช้จ่าย ตลอดอายุการใช้งาน คงสู้ M-346 ไม่ได้ครับ....

แต่ในใจ ผมคิดว่า L-15 น่าจะมา ถ้า จีน มีการสร้างใช้งานจริง จำนวนหนึ่ง และมีประเทศอื่น จัดหาใช้งานด้วย...ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับ ระยะเวลาที่ L-39 หมดอายุใช้งาน และเข้าโครงการจัดหาของ ทอ.

เพราะ L-15 ก็ใช้เครื่องยนต์ของ ยูเครน โดย รัสเซีย เป็นผู้ร่วมออกแบบกับ จีน ครับ...

เพราะดูแล้ว ยังไง ประเทศไทยยังคงมีประจำการ ด้วย F-16 A/B กับ JAS-39 ไปอีกนาน....ซึ่งระดับ เอวิโอนิคส์ ของ L-15 ก็คงเพียงพอครับ...และ งบประมาณ ไม่สูง เกินไป...

ส่วนฝูง 411 บ.ที่จะมาทดแทน L-39 ผมให้น้ำหนักไปที่ super tucano มากกว่าครับ...ส่วน A-Jet ฝูง 231 คงประจำการอีกนานเช่นกัน...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2013 13:39:12


ความคิดเห็นที่ 57


ขอนอกเรื่องสักหน่อยครับ.....เท่าที่ฟังๆความเห็นข้างบนมันตะหงิดๆใจใจครับ ชักเรื่มกังวลว่า Jas 39คงจะหมดอนาคตกับกองทัพซะแล้วหรือเปล่าครับเพาระป่านนี้แล้วยังไม่เต็มฝูงเลยแถมข่าวฝูง2ก็ไม่โผล่

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 18/07/2013 13:42:15


ความคิดเห็นที่ 58


ผมว่า ปัจจุบัน Jas-39 ก็เต็มฝูง นะครับ คือ ฝูง 12 ลำ....(เท่าของเดิม F-5)

ซึ่งผมคิดว่า ทอ. อาจจะลองปรับการจัดใหม่ ก็ได้ครับ คือ เดิมอัตราเต็มฝูง คือ 18 ลำ แต่อัตราพร้อมรบ (คือบินได้ รบได้) จะอยู่ประมาณไม่ต่ำกว่า 70% ก็คือ จำนวน 12 ลำ...และอายุประจำการ ไม่น้อย กว่า 30 ปี (อาจจะไปถึง 40-45 ปี ถ้าทำ MLU)...

เพียงแต่ ตอนนี้ ฝูง 701 จะเป็นฝูงบินที่อัตราพร้อมรบ จะต้องปรับเป็น 100% ก็คือ จำนวน 12 ลำ (มันก็คือ จำนวนเท่าเดิม)...และอายุประจำการ  ไม่เกิน  กว่า 30 ปี ก็คือ ใช้ไปประมาณสัก 20 ปี ทอ. ก็ต้องเริ่มโครงการจัดหา บ.ทดแทน ใหม่ ครับ...ซึ่ง ทอ. จะได้ บ.ขับไล่ใหม่ เร็วกว่าเดิม เทคโนโลยี่ ดีกว่าเดิม...โดยไม่ต้องมีการทำ MLU เหมือนกับ F-16 A/B ฝูง 403 เพราะ ชั่วโมงบินของ เครื่องยังมีอยู่เยอะ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2013 14:01:14


ความคิดเห็นที่ 59


Jas 39 น่าจะเต็มฝูงแล้วนะครับตามโครงการ คือมี12ลำ + 2 SAAB340 AEW + 1SAAB340 + 15 RBS15F = 600+500 = 1.1 พันล้านเหรียญ(น่าจะนะ)  รวมไปถึงการฝึกอบรม ทุนไปเรียนที่สวีเดนและอะไรอีกสารพัด ผมไม่แน่ใจว่ารวมจรวดiris-tด้วยหรือเปล่าแต่คิดเอาเองว่าไม่   จึงเข้าใจเอาเองว่าทอ.เริ่มปรับให้มีฝูงบินละ12ลำเริ่มตั้งแต่ฝูงนี้แหละ

 

ก็เข้าใจนะครับว่าต้องเป็นไปตามนั้นเพียงแต่ดันมีรุ่น2ที่นั่งสำหรับฝึกถึง4ลำเนี่ยสิ เลยกลายเป็นฝูงบินสำหรับฝึกบินขั้นสูงไปด้วย(ถ้ามีกริเพนอีกฝูงอาจจะเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยวหมดก็ได้) ทอ.คงคิดว่า8ลำที่เหลือ+เอแวคสามารถรับมือกับภัยคุกคามในช่วง10ปีนี้ได้ แต่ถ้าไม่ก็อาจจะมีการสั่งซื้อเฉพาะเครื่องเปล่าๆมาเพิ่มหละมั้งครับ

 

ส่วนกริเพนฝูงที่2ก็คงตามที่เราคุยๆกันนี่แหละ ถ้าฝูงบิน211ยังคงปรับปรุงF-5อีกรอบก็ต้องรอไปที่ฝูงบิน102  103 และ 403 ตามลำดับไหล่  แต่ถ้าหาเครื่องใหม่เลยก็ต้องลุ้นอีกที่ว่าทอ.จะมียุทธศาสตร์แบบเดิมคือใช้T/A-50ในปริมาณใกล้เคียงของเก่า หรือแบบใหม่ที่จะเป็นกริเพนในปริมาณน้อยลง แล้วมันก็วนกลับมาที่กริเพนรุ่นไหน c/d ng หรือมือสองปรับสภาพใหม่อีกหน   แต่ถ้าได้L-15กับJ-11Bมาอาจแปลได้ว่าLink-Tของเราพร้อมใช้งานจริงแล้วก็ได้ ยังมีเวลาอีกตั้งหลายปีให้พัฒนานะครับ 5555(ท่านจูดาสนำเสนอL-15หน่อยสิครับ ผมเพิ่งรู้จักเมื่ออาทิตย์ก่อนนี้เอง)

 

ผมคิดว่าทอ.คงมีคำตอบเรื่องนี้แล้วหละเพียงแต่เราเป็นคนนอกมากๆเลยไม่รู้อะไรทั้งนั้น เหมือนกับเรือฟริเกตลำใหม่ของทร.คนที่เกี่ยวข้องคงรู้ทุกรูขุมขนแล้วหละครับ

 

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/07/2013 14:09:56


ความคิดเห็นที่ 60


การซื้อ เครื่องฝึก จาก จีน...ไม่ได้ หมายความว่า จะมี บ,ขับไล่ จาก จีน ในอนาคต นะครับ...เครื่องบินฝึกที่จะมาทดแทน L-39 ต้องมองว่า นำมาเพื่อฝึกบิน กับ F-16 เป็นหลักครับ...เพราะ นักบิน JAS-39 นำมาจาก นักบิน F-16 กับ F-5 ซึ่งมีประสบการณ์และชั่วโมงบินมาแล้วครับ...แค่ฝึกเปลี่ยนแบบในรุ่น JAS-39D เท่านั้น...แต่ บ.ที่จะมาแทน L-39 คือ การเปลี่ยนจากนักบินฝึกใบพัด จาก PC-9 มาฝึกกับ บ.ไอพ่น L-39 เพื่อจะไปเป็นนักบิน F-16 หรือ F-5..

ส่วน JAS-39 D ก็เป็นเครื่องบินรบ นะครับ...ไม่ใช่ เครื่องบินฝึก...เป็นเพียงการบินเพื่อเปลี่ยนแบบ เท่านั้น...แต่ความสามารถในการรบ ก็เท่ากับ C...

การประกอบ หมู่บิน ของ 701 น่าจะมองได้อย่างนี้ ครับ...คือ D จำนวน 1 เครื่อง + C จำนวน 2 เครื่อง เป็น 1 หมู่บิน เท่ากับ 3 ลำ รวม จำนวน 4 หมู่บิน รวมเป็น 1 ฝูงบิน เท่ากับ 12 เครื่อง ก็จะแตกเป็น D จำนวน 4 เครือ่ง และ C จำนวน 8 เครื่อง....

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2013 14:26:53


ความคิดเห็นที่ 61


L-15 เป็นเครื่องบิน ที่เป็นการร่วมออกแบบระหว่าง จีน กับ รัสเซีย (จำไม่ได้ว่าบริษัทฯ อะไร) รูปร่างเลยออกมา คล้ายกับ YAK-130...

แต่เครื่องต้นแบบ ใช้เครื่องยนต์ จีน อยู่...ต่อมา เครื่องต้นแบบ ลำที่ 2 - 4 จะเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ แบบเดียวกับ YAK-130 ซึ่งเครื่องยนต์นี้ จีน ได้สั่งซื้อ ล็อตใหญ่ จาก ยูเครน สามารถผลิต L-15 ได้ประมาณ 100 เครื่อง

China has placed an order for 250 Al-222-25 afterburning turbofans from the Ukraine to power its new L-15 jet trainer. That's enough jet engines for more than 100 trainers.

Ukraine Wins Engine Contract for Chinese L-15 Jet Trainer Production | Aviation International News
 

China has ordered 250 AI-222-25F turbofans from the Ukraine to power production versions of the Hongdu L-15 advanced jet trainer. The –25F is an afterburning version of the AI-222 that was first flown on the Lead-In Fighter Trainer (LIFT) version of the L-15 in October 2010.


The original AI-222 was developed by the Ivchenko Progress design bureau at Zaporozhye for the Russian Yak-130 jet trainer, and was then fitted to three of the four L-15 prototypes. The new order suggests that China will not put the basic version of the L-15 into production.

The AI-222-25F develops 9,250 pounds (4,200 kg) of thrust at full afterburner, enabling the 21,550-pound (9,800 kg)-mtow L-15 LIFT twinjet to accelerate to Mach 1.6. At a price of $10 million, the Chinese aircraft is expected to sell well in international markets. The LIFT version can potentially carry air-to-air and air-to-ground weapons.

The engines will be manufactured at the main Motor Sich factory, also in Zaporozhye. Some components will be provided by Moscow-based Salut, which manufactures the AI-222 for the Yak-130. Deliveries will begin later this year, and are due to be completed by 2015.

Progress general designer Igor Kravchenko told AIN that the AI-222-25F is the first-ever Ukrainian engine to be fitted with an afterburner. “With its development, Progress has mastered reheat technologies, which we are now seeking to apply on a fighter engine in the class of thrust up to 44,000 pounds [20 tonnes],” he said. In its primary 22,000-pound (10-tonne) version, this engine could replace Russia’s Klimov RD-93 on the FC-1 and its Pakistan air force version the JF-17 Thunder.

At the recent Aviation Expo 2011 in Beijing, Progress also offered the higher-thrust SBM1V version of the TV3-117 turboshaft that powers the Mi-17 helicopter. It would boost performance for hot/high operations, such as in mountainous western China. The country has recently taken delivery of 32 additional Mi-17s, and could acquire more from the new joint venture with Russian Helicopters.

The L-15 is an advanced trainer aircraft built by Nanchang based Hongdu Aviation Industry Corporation. The aircraft made its maiden flight on 13 March 2006. The aircraft's general designer is Mr. Zhang Hong (ๅผ�ๅผ˜), and the development is reportedly assisted by Yakovlev OKB of Russia. The L-15 is a direct rival to the Guizhou Aircraft Industry Corporation (GAIC) JL-9/FTC-2000 Mountain Eagle in competition for the People's Liberation Army Air Force's (PLAAF) next-generation advanced trainer aircraft program.
 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2013 14:34:41


ความคิดเห็นที่ 62


ซึ่ง สมมติ...สมมติ นะครับว่า...L-15 จะเข้าวิน ในกรณีที่ ปัญหางบประมาณ การจัดหา...สไตล์ การจัดหา อาจจะออกมาเหมือนกับ L-39 ก็ได้ครับ...คือ สั่งซื้อเครื่องจาก จีน แต่ ระบบเอวิโอนิคส์ ใช้ของ อิสราเอล (น่าจะใช้ประสบการณ์จาก M-346 มาปรับปรุงให้) ซึ่ง จีน กับ อิสราเอล ก็มีสัมพันธ์ที่ดีในเรื่องระบบอาวุธ เหมือนกัน...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2013 14:39:24


ความคิดเห็นที่ 63


เห็นท่าน superboy บอกว่าถ้าได้ L-15 กับ J-11 มาก็จะสามารถมี Link-T ได้เลยหรอครับ? ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยครับ ผมสนใจเรื่อง Link-T มากเลยครับ

โดยคุณ skywalker เมื่อวันที่ 18/07/2013 14:45:09


ความคิดเห็นที่ 64


  สำหรับผม  คำๆเดียวที่ saab จะได้ใจ ทอ.ไทย และผูกพันธุ์กับเราไปอีกนาน ก็คือ "source code" ครับ...

โดยคุณ nui-714 เมื่อวันที่ 18/07/2013 15:07:08


ความคิดเห็นที่ 65


L-15  J-11B และ Link-T ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย ผมแค่รวบยอดอยู่ในบรรทัดเดียวเท่านั้นเอง  อาจจะมีคนเข้าใจผิดต้องขออภัยนะครับ

 

จีนต้องสู้ในเรื่องเครื่องบินทดแทน F-16 ฝูง 102 103 รวมทั้งF-5อย่างแน่นอนซึ่งเขาอาจจะนำเสนอJ-11B ตัวผมคิดว่าเครื่องบินลำนี้จะเกิดในกรณี Link-Tของพัฒนาเสร็จเรียบร้อยและสามารถติดตั้งใช้งานจริงได้แล้วเท่านั้น  โอกาสเกิดมีน้อยมากกว่าL-15แต่ก็ยังเปิดกว้างอยู่ ผมพูดถึงเพราะมีแต่ F/A 50 กับกริเพนตัวเลือกมันน้อยไปหน่อยมั้งครับ อาจจะมีสาวจีนเวอร์ชั่นยุโรปเกิดขึ้นในอนาคต5ปีก็เป็นได้

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/07/2013 15:17:54


ความคิดเห็นที่ 66


โอกาสของ L-15 กับทอ.ไทย ผมว่ายากมากถึงมากที่สุดครับ ทั้งเรื่องความน่าเชื่อถือ ความเข้ากันได้ของระบบต่างๆ และราคา (ซึ่งไม่น่าจะแตกต่างกันมากนักเพราะต้องเสียเงินจ้างอิสราเอลให้ปรับปรุงระบบอวิโอนิกส์ให้ใหม่) และต้องไม่ลืมว่าทอ.เองมีประสบการณ์กับ L-39 มาอย่างไรบ้าง ที่สำคัญแนวโน้มของความร่วมมือทางทหาร ระหว่างไทย-จีนก็ดูจะเบาบางลง ซึ่งสวนทางกับเกาหลีใต้ที่กำลังมีแนวโน้มขยายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพในการป้องกันประเทศกับเรา โดยเริ่มจากโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ซึ่งเกาหลีใต้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของพื้นฐานระบบต่างๆ ที่เขาใช้ก็อ้างอิงจากฝ่ายตต.โดยเฉพาะอเมริกาเป็นหลักเช่นเดียวกัน หากเราไม่ต้องการเป็นหนังหน้าไฟที่อยู่ระหว่างมหาอำนาจทั้งสอง(จีนกับอเมริกา)แล้วล่ะก็ การยึดแนวทางความร่วมมือกับเกาหลีและสวีเดน ดูจะเหมาะกับสถานะและยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของเรามากกว่าครับ

ปล.โดยส่วนตัวผมไม่ได้อคติกับจีนนะครับ ตรงกันข้ามผมชื่นชมและชอบด้วยซ้ำไป แต่เครื่องบินรบของจีนคงต้องใช้เวลาพิสูจน์คุณภาพอีกอย่างน้อย 10-15 ปีครับ โดยเฉพาะ J-10B (ที่จะขายให้ปากีสถาน) ส่วน J-11 , J-20 และ J-31 สามตัวหลังเชื่อว่าจีนจะยังไม่ส่งออกในเร็วๆ นี้ครับ

ปล.2 ท่าน neosiamese2 ครับ การที่บ.ฝึกตามโครงการ T-X มีข้อกำหนดของทร.สหรัฐ ว่าต้องมีความสามารถขึ้น-ลงบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้นั้น ก็ถือเป็นเรื่องปกติครับไม่ได้แปลกประหลาดอะไร แต่ถึงแม้ว่า T-50 , T/A-50 หรือ F/A-50 จะมีความสามารถเช่นนั้น ก็มิได้หมายความว่าจะเอามาใช้บน 911 ของทร.เราได้ครับ เพราะบ.ที่จะขึ้น-ลงบนรล.จักรีฯ ได้นั้นต้องเป็นบ.ที่ใช้ทางวิ่งขึ้น-ลงที่สั้นมากๆ และโดยความเป็นจริงแล้วรล.จักรีฯ นั้นออกแบบมาสำหรับบ.ที่เป็น VTOL (Vertical Take-Off & Landing) หรือ STOVL (Short Take-Off & Vertical Landing) ซึ่งก็คือเจ้า AV-8(S) Harrier (Matador) เท่านั้นครับ ดังนั้นพอจะสรุปได้ตรงนี้เลยว่า T-50 , T/A-50 หรือ F/A-50 ไม่สามารถขึ้น-ลงบนรล.จักรีฯ ได้ครับ (ยกเว้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่น STOVL เหมือน F-35B)

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 18/07/2013 15:23:24


ความคิดเห็นที่ 67


อยากจะขอยํ้าท่าน Neosiamese2 นะครับว่า ผมทํางานทางด้าน Computer and Information Technology โดยตรง เลยอยากจะบอกว่า เว็บไซต์ วิกิพีเดียนั้น เป็นเว็บไซต์ชนิดที่เรียกว่า wiki ที่บุคคลทั่วไปที่เข้ามาในเว็บสมารถมาแก้ไขขอมูลนี้ได้ตลอดเวลาจึงไม่สมารถแน่ใจได้ว่าขอมูลเล่านั้นเชื่อถือได้100 % เพราะฉะนั้นการที่อ้างอิงขอมูลจากวิกิพีเดียอย่างเดียวนั้นความน่าเชื่อถือมันน้อยมากครับ ผมแนะนําให้ไปดูขอมูลจากที่อื่นจะดีกว่าครับ

โดยคุณ z_tech เมื่อวันที่ 18/07/2013 19:01:51


ความคิดเห็นที่ 68


Topic เรื่องขึ้นมาทีไรกลายเป็นกระทู้ยอดนิยมไปอย่างรวดเร็วทุกครั้ง เป็นกระทู้ที่ได้ประโยชน์เเละความรู้อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าเรื่อง trainer ก็ดี fighter ก็ดี ทุกบ. ดูมีทั้งข้อดีเเละข้อเสียที่เเตกต่างกันออกไปเหมือนทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรดีไปหมดทุกอย่าง ทุกบริษัทผลิตสินค้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการของเเต่ละประเทศมาอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี จีน เกาหลี หรืออื่นๆ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับประเทศผู้ซื้อว่าเเต่ละบริษัทตอบโจทย์ความต้องการเเละจุดประสงค์ของประเทศตนได้มากน้อยเพียงใด

ในกระทู้นี้ทุกคนก็มีความเห็นเเตกต่างกันออกไป มีความขัดเเย้ง มีการเห็นคล้อง เเต่ผมเชื่อว่าทุกคนทุกคอมเม้นต์ในที่นี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือทุกคนต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย ประเทศที่เรารัก เเละผมในฐานะบุคคลากรคนหนึ่งของประเทศที่อุดมสมบรูณ์นี้ก็ยังเชื่ออีกว่าไม่ว่า ทอ. จะเลือก M 346, T50 เเม้กระทั้ง L 15 หรืออื่นๆ  ทอ. และบุคคลที่เกี่ยวข้องคงพิจารณาดีที่สุดด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกับทุกคนในที่นี้

โดยคุณ aceofaces เมื่อวันที่ 18/07/2013 20:00:45


ความคิดเห็นที่ 69


เทพมากครับครับพี่ aceofaces ขอตบมือให้เลย!! ผมเห็นด้วยครับ สุดท้ายพวกเราทุกคนก็ต้องการสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับประเทศชาติเราครับ

โดยคุณ skywalker เมื่อวันที่ 18/07/2013 21:25:10


ความคิดเห็นที่ 70


อ่านเยอะจนเริ่มงงครับ ขอเรียบเรียงหน่อย เอาตามความเข้าใจตัวเองนะครับ

เครื่องที่เข้าข่ายที่จะต้องหาตัวแทนในอนาคต(ไม่รู้ว่าโดนปลดหรือย้ายไปทำอะไร)

1. L-39          ภารกิจ โจมตีเบา และ ฝึกสำหรับ F-16 Jas-39

2. Alpha jet    ภารกิจ โจมตีเบา

3. OV-10       ภารกิจ โจมตีเบา (อ่านผ่านๆใครบอกว่ายังขาดแทนฝูงที่ปลดไปอยู่)

4. F-16          ภารกิจ fighter

5. F-16 ADF   ภารกิจ fighter

6. F-5E/F       ภารกิจ intercept (อันนี้มองว่ารูปแบบการรบปัจจุบันค่อนข้างเกินความสามารถนิดหน่อย)

ส่วนตัวสำหรับข้อ 1-3 นั้นผมคิดว่าหลักๆก็แข่งกันอยู่ 2 ตัวคือ M-346 กับ T-50,F/A-50
-ถ้าเอา M-346 ผมอยากทราบว่านอกจากข้อ 1 ที่ใช้เพื่อฝึก มันพอทำภารกิจของข้อ 2-3 ในสภาพการรบปัจจุบันได้หรือไม่
 ซึ่งโดยส่วนตัวมันไม่น่าจะได้หรือต้องอัพเกรดเพิ่มซึ่งจุดนี้อาจไม่คุ้มค่าเท่าเอาของเกาหลีไปเลย จึงทำให้ผมมองว่าถ้า
 ถ้าเอา M-346 มามันก็ต้องหาเครื่องแบบอื่นมาแทนข้อ 2-3 อยู่ซึ่งมันก็ไม่ได้ลำบากหรอกครับเพราะปัจจุบันเราก็หลากหลายรุ่นอยู่
 ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร แถมจากที่หลายๆท่านกล่าวมาเราก็จะได้ความประหยัดต่อ ชม บินของ M-346 มาด้วย
 
-ทีนี้ถ้าเราเลือกข้อ 1-3 ให้แทนด้วยตระกูลเกาหลีทั้งหมด เราจะประหยัดค่าเครื่องลงสำหรับข้อที่ 1 คือ T-50 และได้เครื่องใน
 สมรรถนะที่เกินความต้องข้อ 2-3 แต่ยังไม่พอสำหรับข้อ 4-6 ซึ่งข้อดีของตัวเลือกนี้ในความเห็นคือ จำนวนอาจจะพอที่จะ
 ตั้งโรงประกอบ,ชิ้นส่วนพื้นฐานที่เหมือนกันและการผลิตชิ้นส่วนพื้นฐานเอง(ลด cost สร้างรายได้ภายใน),ราคาพอไหว,
 องค์ความรู้ในการผลิต(ต้องได้บ้างล่ะน่า) ข้อแตกต่างจากตัวเลือกแรกคือค่าใช้จ่ายต่อ ชม บิน,ส่วนเรื่องสถาปัตยกรรมภายใน
 น่าจะพอๆกันครับเพราะถ้าจะบอกตระกูลเกาหลีอิงอเมริกาแต่เราวางแผนเพื่อสวีเดนมันก็ไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับอิตาลี

ส่วนข้อ 4-6 ผมก็อยากได้ครับ F-35 แต่ดูจากเงิน,เวลาและเพื่อนบ้านผมว่ามันไม่เหมาะสมเอาซะมากๆครับ

ผมจึงอยากเห็นข้อ 1-3 เป็น T-50 และ F/A-50  และข้อ 4-6 เป็น Jas-39(upgrade,C/D,C/D+,NG) ในจำนวน 12-14/ฝูง
(เข้าใจว่า 12 มันพร้อม 100% แต่ถ้ามันพังจนซ่อมไม่ได้มันก็เท่านั้น) แถมเจ้า Erie Eye มาครอบคลุมทุกภาค ประหยัดค่าใช้จ่าย
ประจำ ลดแบบเครื่อง ไม่โดนจำกัดนู่นนี่นั่น พอเพียงที่จะชกข้างบ้านด้วยยุทธวิธี (ทั้งหมดนี่ก็คิดเอง บวกอ่านของทุกท่านแล้วเอา
มาเรียบเรียง ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ต้องขออภัยค้าบบบ)(ว่าแล้วต้องหลุด ดีที่ก๊อปไว้ก่อนพิมตั้งนาน หึหึ)

โดยคุณ Grippen เมื่อวันที่ 18/07/2013 21:43:53


ความคิดเห็นที่ 71


  พิมพ์ไปกว่าครึ่งชั่วโมงเรื่องการเบื้องหลังการแข่งขันของทอ.รัสเซีย .....หายหมดเกลี้ยงเวลาส่ง...............ไม่พิมพ์ใหม่แล้วครับ    เซ็ง    หาอ่านกันเอาเองครับ

 

        เรื่องนี้ยังผลให้   Yak-130  ชนะ(ใช้แนวคิดเรื่องการฝึกแบบธรรมดาที่ ทอ. เราใช้)       ทั้งๆที่เครื่องตระกูล   S-54   family  ของ  ซูคอยนั้นแผนแบบโดยใช้แนวคิดคล้ายๆ  T-X  program      เพราะแนวคิด  T-X  program  นั้นตอบโจทย์ในเรื่องการฝึกเพื่อใช้เครื่องสเตลธ์ได้ดีกว่าแบบเดิมๆมาก........................และเป็นเหตุให้  รัสเซียต้องทำการ  redesign  เครื่อง   Yak-130   ใหม่ทั้งหมดเป็น   Yak-133  family  แทน

 

 ผมบอกสั้นๆว่า   T-50   ตอบโจทย์การฝึกตามแนวคิดที่จะใช้เครื่องสเตลธ์เป็นหลักได้ดีกว่าแนวคิดแบบทั่วๆไปที่ ทอ.เราใช้อยู่มากครับ      ไม่งั้นก็ต้องมากลับลำแบบ ทอ.รัสเซีย   

ป่านนี้ทางรัสเซียคงพูดว่า

 

.................รู้งี้..ตรูเลือกแบบ  s-54  family  ไปซะตั้งแต่แรกก็จบแล้ว   ไม่ต้องมาเสียเงินเสียเวลา...........

 

   และผมเชื่อว่า  Yak-133   หน้าตาคงไม่ต่างจาก  L-15  นัก     เพราะดูเหมือนจีนเองก็มองการฝึกแบบทั่วๆไปว่า    ไม่อาจเพียงพอสำหรับเครื่องสเตลธ์ที่จะมาเป็นเครื่องบินรบหลักของตนเช่นกัน    และแนวคิด  L-15  จึงออกมาคล้ายๆ  T-50  ตามแนวทาง   T-X  program

 

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/07/2013 22:41:06


ความคิดเห็นที่ 72


   ส่วนเรื่องข้อมูล  L-15  แบบเจ๋งๆ  เนื้อๆ  คงต้องพึ่งท่านเหล่านี้จากพันธ์ทิพย์แล้วล่ะครับ

ท่าน   red_C

ท่าน  ฟักทองอินเตอร์

ท่าน   Miracle  boy

   เพราะท่านเหล่านั้น  โปรจีนของแท้เลย    แต่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเขียนบทความดีๆเกี่ยวกับจีนให้เราฟังหรือเปล่าครับ     โดยเฉพาะท่าน  red_C  นี่สุดยอดมากๆ

  แต่ผมบอกเลยว่า   L-15   นั้นน่าจะมีแนวคิดออกไปทาง  T-50  ที่ยึดแนวคิด  T-X  program    ซึ่งน่าจะเหมาะสมสำหรับการฝึกเครื่องสเตลธ์มากกว่าแนวคิดการฝึกแบบเดิมๆ    ซึ่ง  Yak-130  ยังคงยึดแนวคิดแบบเดิมๆอยู่ครับ    หลายๆคนจึงบอกว่า  M-346  จึงเพียงพอแล้วสำหรับเครื่องฝึกของ  ทอ. ไทย

 

  แต่ ทอ. ไทยกลับจะเน้นฝูงขับไล่สกัดกั้น  3  ฝูงเป็น  GEN 4.5    เซมิ-สเตลธ์   และ  F-35  เครื่องสเตลธ์  สำหรับ 2 ฝูงที่ทำหน้าที่คล้ายๆ   strike-fighter

 

   ........ผมว่า   L-15   ก็น่ามองนะครับ.......

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/07/2013 22:54:33


ความคิดเห็นที่ 73


   ใครมีเวลา    มีข้อมูลย้อนหลังการคัดเลือกและแนวคิดการจัดหาเครื่องบินฝึกของ ทอ.รัสเซีย    ช่วยอนุเคราะห์ด้วยจะดีมากเลยครับ     เราจะได้เข้าใจว่าทำไมรัสเซียจึงเลือก  yak-130    แทนที่จะเป็น  S-54  ที่ออกมาแนวๆ  T-X  program    ผมไม่มีเวลาเลยช่วงนี้     และไม่ได้ทำการเก็บข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ของผมเลย     จะต้องใช้เวลาอย่างมากไปในการหาหน้าข้อมูลเดิมที่เคยอ่านและทำการบันทึกเวปลิ้งค์เพื่อเป็นการอ้างอิงครับ

 

   และไอ้   T-X  program  นี่มันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือสำหรับการฝึกนักบินก่อนไปขับเครื่องสเตลธ์    

 

สำหรับมุมมองผมนะ    ไอ้  T-X  program  นี่   จะเป็นการปฏิวัติการฝึก  LIFT  รูปแบบใหม่กันเลยทีเดียว   เหมาะสำหรับเครื่องสเตลธ์สุดๆแล้ว  

  ผมถึงได้เชียร์   T-50   family  ใจขาดไงครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/07/2013 23:03:37


ความคิดเห็นที่ 74


   ถ้าพวกรัสเซียมันคิดล่วงหน้าแบบพวกอเมริกันซะตั้งแต่แรก   เราคงไม่ได้เห็น  YAK-130    M-346  มาอวดโฉมกันหรอกครับ    ป่านนี้เป็นไอ้ตัวนี้ไปแล้ว

      

    S-54  

 

ในความคิดผมนะ    ผมว่ามันเจ๋งกว่า  T-50  ซะอีก    และถ้ามันได้เกิด    ผมคงเชียร์มันมากกว่า  T-50  ครับ

 




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 18/07/2013 23:18:52


ความคิดเห็นที่ 75


ท่าน Grippen ผมแนะนําให้เข้าไปดูในเว็บไซต์ของทาง alenia aermacchi โดยตรงเลยครับ http://www.aleniaaermacchi.it/en-US/Products/Pages/M-346.aspx 

แล้วก็คลิกไปที่ PDF brochures ขอ M-346 ครับ เมื่อเปิดอ่านดูก็จะเห็นประโยคดังนี้ :

"From the beginning of the program, the M-346 has been conceived with additional operational capabilities, with the goal of providing a very capable multirole combat aircraft, particularly suited to ground and surface attack roles including CAS(Close Air Support), COIN (COunter INsurgency) or anti-ship missions as well as air police missions."

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า M-346 นั้นก็สมารถเป็นบ.โจมตีเบาได้สบายครับ และยังบอกอีกว่าเหมาะสมกับการโจมตีภาคพื้นดิน เช่นกองกําลังสนับสนุน หรือโจมตีทางนํ้าและถ้าได้อ่านต่อก็จะเห็นลิสคุณสมบัติขอ M-346ว่าทําไมถึงเป็นบ.โจมตีเบาได้ ผมจะยกตัวอย่างสักสองข้อนจากลิสนะครับ

  1. ได้ออกแบบมาเพื่อลองรับนํ้าหนักขีปนาวุธได้ถึง 3000 kg
  2. สมารถติดตั้งอาวุธได้ถึง 9 จุดด้วยกัน

ขอสรุปว่าภารกิจของข้อ 2-3 ที่ท่าน Grippenได้กล่าวมาM-346ทําได้ครับ แล้วถ้ายังแน่ใจไม่พอให้เข้าไปดูอีกเว็บครับ:

http://www.airforce-technology.com/projects/yak/

จะได้ยืนยันว่า M-346สมารถครับ


โดยคุณ superjet เมื่อวันที่ 19/07/2013 00:02:19


ความคิดเห็นที่ 76


รูปร่างหน้าตาของเจ้า S-54 นี่มันก็คือ Mini Su-35 ชัดๆ เลยนี่นา 555 (เห็นแล้วนึกถึงโมเดล SD เลยแฮะ)

แต่ผมว่ามันดูทะแม่งๆ ชอบกล ดูไม่ค่อยสมส่วนสักเท่าไหร่ แต่ก็เป็นแค่แบบจำลองของต้นแบบอีกทีนี่เนอะ

ขอนอกเรื่องสักนิดนึงนะครับ เมื่อวานเพิ่งเห็นโพสในเฟสบุ๊ค เกี่ยวกับระบบ Oxygen Regenerator บนเครื่อง

T-50 (PAK-FA) ของรัสเซีย เป็นระบบสร้างอ๊อกซิเจนจากอากาศภายนอกที่ระดับเพดานบินสูง ซึ่งมีขนาดเล็ก

และเบากว่าระบบเดิมที่ใช้กัน ที่สำคัญคือ ระบบ(OBOGS ของ Honeywell)แบบเดิมที่ว่านี้มันเป็นสาเหตุการตก

ของเจ้า F-22 Raptor และนักบินเสียชีวิตด้วย !!! และมันก็เป็นแบบเดียวกันกับที่ติดตั้งกับ F-18 , F-35 ,

Eurofighter , Jas-39 Gripen ซะด้วยสิ แต่กลับไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับปัญหานี้จากบ.รุ่นอื่นเลย ???

ref. : http://www.defencetalk.com/forums/air-force-aviation/causes-f-22-oxygen-problem-have-been-found-11978/

ปล. ผมก็ชอบอ่านโพสของคุณ red_c มากเลยครับ แต่ตอนนี้แกเปลี่ยน login เป็น Hong_c แล้วนี่ครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 19/07/2013 11:19:23


ความคิดเห็นที่ 77


ผมมองว่าทางกองทัพอากาศน่าจะมองในเรื่องของการใช้งานในแบบหลายมิติมากกว่าครับ

เช่นต้องมองว่าซื้อเครื่องบินมาทำอะไร ทอ. การจะเลือกเครื่องบินฝึกคงมองว่าจะเอามาฝึกอย่างเดียวหรือใช้ในสงครามด้วย เท่าที่มองรูปแบบการซื้อเครื่องบินประเภทนี้ของทอ.ไทยในอดีตน่าจะพอเดาทางได้ไม่ยากหรอกครับ หวยน่าจะออกทั้งสองฝ่ายครับ  คือ ทั้ง F/A-50 และ M-346 คือ

  1. มีความเป็นไปได้ว่า ทอ.อาจจะซื้อ F/A-50 มาทดแทนเครื่องบิน F-5 และ Alpha-Jet  เพราะเครื่อง F/A-50 มีคุณลักษณะเป็นทั้งเครื่องบินขับไล่และโจมตีได้อยู่ในระดับพอสมควรเพราะมันสามารถยิง ARRAM และ MAVERICK ซึ่งเครื่องรุ่นนี้อาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นในแบบเดียวกันกับ F-5 และใช้เป็นเครื่องบินฝึกระดับสูง เพราะมันมีความเร็วสูงสุดที่ 1.5 มัค ใช้ฝึกรับแรง G สูงๆได้ดีทีเดียว
  2. มีความเป็นไปได้ว่าซื้อ M-346 มาใช้ทดแทนเครื่อง L-39 เพราะมันเป็นทั้งเครื่องบินฝึกและเครื่องบินโจมตีภาคพื้นระยะต่ำ ใช้ทิ้งระเบิดและยิงจรวดแบบกระเปาะได้ เหมือนกันกับ L-39 ราคาไม่แพงมากและค่าใช้จ่ายไม่สูงเหมือนกับ F/A-50 ซึ่งมองว่าถ้าจะซื้อเครื่องบินมาใช้เพียงแค่ฝึกบินและสนับสนุนการโจมตีภาคพื้นดินก็ไม่จำเป็นต้องซื้อให้มันสมรรถนะสูงและควรที่จะต้องประหยัดน้ำมันและการซ่อมบำรุงในระยะยาวด้วย
  3. ส่วนเรื่องการให้ขอดีลในเรื่องการมีโรงงานผลิตและซ่อมภายในประเทศด้วยนั้นอันนี้เป็นเรื่องดีและสนับสนุน แต่มันต้องขึ้นอยู่กับ Volume ด้วยครับ ว่าทาง ทอ.จะจัดหามาได้แค่ไหน บอกตรงๆว่าผมไม่คาดหวังอะไรมากนักกับเรื่องนื้  เพราะโครงการของ L-39 ก็มีปัญหาในเรื่องนี้มาตลอด

ส่วนเรื่องการจัดซื้อจัดหาเครื่องบินรบนั้นผมมองว่า ทอ.คงยังใช้บริการจาก JAS-39 ของ Saab ในส่วนของเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง อาจจะใช้ทดแทน F-16 ทั้งหมดในอนาคต เพราะเท่าที่เคยอ่านเจอในหนังสือ TOPGUN ทอ.ยังมีแผนจะซื้อ JAS-39 เพิ่มขึ้นอีกในอนาคตอย่างแน่นอน

จริงๆผมอยากให้ทอ.ลองหันไปพิจารณาในเรื่องของเครื่องบินขับไล่และโจมตีสมรรถนะสูงในอนาคตมากกว่า ตอนนี้อย่างประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดฯ พวกเค้ามีทั้งเครื่องบิน SU-30MK และ F-15 เอาไว้ใช้งานกันหมดแล้วแต่ไทยเรายังไม่มีเลยซักเครื่อง เผลอๆพม่าอาจจะซื้อ SU ไว้ใช้งานในอนาคตอีกด้วย (ผมมองว่า JAS-39 เป็นได้แค่เครื่องบินขับไล่ได้อย่างเดียวเพราะข้อจำกัดการบรรทุกหนักได้ไม่มาก) แอบหวังอยู่ลึกๆว่าทอ.ไทยเราจะมี F-15SE ไว้ใช้งานซักฝูง 12 เครื่อง

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 19/07/2013 11:51:07


ความคิดเห็นที่ 78


ลองสังเกต นะครับ ว่า...ปัจจุบัน เครื่องบินยุคที่ 5 หรือ Stealth ทั้ง F-22 F-35 หรือแม้แต่ T-50 ของรัสเซีย รวมถึง K-FX ของ เกาหลีใต้ และของ อินโดนีเซีย จะไม่มีเครื่องแบบ 2 ที่นั่ง

ซึ่ง F-35 ในอนาคตของ กองทัพสหรัฐ จะทดแทน F-16 ทั้งหมด ดังนั้น นักบินที่จะบินกับ F-35 ของ กองทัพสหรัฐ ก็จะต้องเป็นนักบินที่มีชั่วโมงบิน และประสบการณ์สูงกว่าปัจจุบัน เพราะไม่มีเครื่องบินแบบ 2 ที่นั่ง เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบ...

บ.ขับไล่ฝึกของ กองทัพสหรัฐ จึงต้องเป็น บ.ขับไล่ฝึกแบบเต็มรูปแบบ เพื่อฝึกนักบินบรรจุเข้าฝูง F-35...หรือ K-FX เองก็ตาม...ซึ่งผมคิดว่า ที่ อินโดนีเซีย จัดหา T-50 ของเกาหลี ก็อาจจะด้วยเหตุผล นี้ด้วย ครับ...

ซึ่งแตกต่างจากของ ทอ.ไทย ที่ในอนาคต ถ้ายังเป็น F-16 กับ JAS-39 โดยถ้าไม่มีการจัดหา F-35 ในอนาคต เพราะทั้ง F-16  และ JAS-39 ก็มีเครื่องแบบ 2 ที่นั่ง เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบอยู่แล้ว  เครื่องบินไอพ่นฝึก ของ ทอ.ไทย จึงดูคงลักษณะที่ไม่ต้องเต็มรูปแบบเหมือนกับ กลุ่มประเทศข้างต้น..

เพราะ การฝึกนักบินของ ทอ.ไทย จะเป็นฝึกเปลี่ยนแบบจาก เครื่องเทอร์โบพร๊อพ มาขับ เครื่องบินไอพ่น  จนเมื่อชั่วโมงบิน และประสบการณ์เครื่องบินไอพ่น ครบตรงตามการเป็นนักบิน F-16 และ JAS-39 ได้ จึงไปฝึกเปลี่ยนแบบ กับ F-16B และ JAS-39D อีกทีหนึ่ง... ดังนั้น เครื่องบินฝึกไอพ่น ที่เปลี่ยนแบบจากเครื่องเทอร์โบพร๊อพ ของ ทอ. จึงควรจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า...

ถ้าเปรียบกับ การที่ ทอ. ใช้ T-50 ฝึก ค่าใช้จ่ายการบินฝึก ก็จะไม่แตกต่างกับการใช้  JAS-39 ฝึกบิน เพราะมันใช้เครื่องยนต์เดียวกัน ดังนั้น ในส่วนนี้ ค่าใช้จ่ายการฝึกบิน จะไม่ได้มีส่วนช่วยให้ลดลงแต่อย่างใด...

สำหรับ เครื่องบินโจมตีเบา เท่าที่เคยอ่านผ่านตามา มีผู้ที่เคยให้ความเห็นไว้ว่า A-Jet ยังคงประจำการอยู่ใน ทอ. อีกนาน อาจจะมีอายุประจำการใน ทอ.ไทย ถึง 30 ปี

 และรูปแบบการจัดหา เครื่องบินโจมตีเบา ในปัจจุบัน แม้แต่ สหรัฐ ก็มองไปที่ บ.ลักษณะ Super Tucano และ Texan II  รวมถึง UAV เป็นลักษณะ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย หรือ สงครามกองโจร มากกว่า สงครามเต็มรูปแบบ ซึ่ง ผมก็มองว่า ทอ. ก็คงน่าจะมองในลักษณะนี้ ด้วยเหมือนกัน

ผมเลยมองว่า ในอนาคต บ.โจมตีเบา ของ ทอ. น่าจะเป็น เครื่องยนต์ เทอร์โบพร๊อพ กับ UAV มากกว่า จะเป็น เครื่องขับไล่ไอพ่น หลังสิ้นยุค A-Jet และ L-39….โดย กรณี ถ้าเกิดเหตุการณ์ เลวร้ายสุด ๆ เกิดสงครามเต็มรูปแบบ ขึ้นมา... การโจมตี ก็น่าจะเป็นหน้าที่ของ บ.ขับไล่ มัลติโรล แบบ JAS-39 หรือ F-16 ที่จะมารับบทบาทแทน...

ในขณะที่ เครื่องบินโจมตีเบา แบบเทอร์โบพร๊อพ หรือ UAV ก็จะทำหน้าที่ในการรักษาความสงบภายใน  การปราบปรามยาเสพติด การต่อต้านภัยก่อการร้าย หรือ ความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน ในลักษณะการจำกัดบริเวณ และเป็นความขัดแย้งแบบเล็ก ๆ ที่จะมีบทบาท มากขึ้นกว่า ในปัจจุบัน ที่มี L-39 หรือ A-Jet แต่ก็ไม่ค่อยได้เห็นบทบาท ในความขัดแย้งปัจจุบันเท่าไหร่ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2013 12:03:56


ความคิดเห็นที่ 79


- สำหรับการฝึกหากใช้ ซิมมูเลเต้อ จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ครึ่งนึง แลัวมาทำการบินจริงอีกนิดหน่อยก็สามารถเป็น นักบินพร้อมรบได้

- ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงของ M-346 ซึ่งเป็นเครื่อง 2 เครื่องยนต์น่าจะแพงกว่า T-50 ที่ใช้เครื่องยนต์เดียว และ สามารถใช้ร่วมกับ JAS-39 และการส่งชิ้นส่วนอะไหล่อื่น ๆ จากโรงงานเกาหลีใต้ ใกล้กว่าอิตาลี จะทำให้ความพร้อมรบสูงกว่า

- FA 50 รับภาระกิจ แทน F-5  และ Alpha Jet   ได้เลย

- AT 6  รับภาระกิจ แทน L39 (411) และ เพิ่ม ให้ฝูง 561

ถ้าเป็นตามนี้ก็จะมี

12 - JAS 39 C/D

18 - F 16 MLU (403)

16 - F 16 ADF (102)

15 - F16 A/B  (103)

12 - T 50  (401)

12 - FA 50 (231)

12 - FA 50 (211)

12 - AT 6 ( 411)

12 - AT 6 (561) ยากส์

12 - AT 6 (531)

จบการเดา

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 19/07/2013 13:05:34


ความคิดเห็นที่ 80


พูดถึงเรื่อง T-X program เมื่อก่อนผมบอกได้เลยว่าผมมั่นใจมากว่าเจ้า T-50 Golden Eagle ยังไงๆก็เข้าตาอเมริกามากๆ เพราะตรงตาม spec และมีศักยภาพดีพร้องมากกว่าบ.ของเจ้าอื่นๆ และยิ่งเป็นผลผลิตจาก Lockheed Martin อีกด้วย แต่มาวันนี้ผมชักเริ่มไม่มั่นใจเลยว่า T-50 ยังจะนอนเข้าไปแบบสบายๆเหมือนที่เคยคิดไว้หรือเปล่า

T-X Program ถือว่าเป็นเนื้อชิ้นใหญ่และอร่อยที่สุด ถ้าใครได้ไปสบายไปอีกหลายชาติเลย แต่เพราะว่ามันเป็นแบบนี้ไงครับผมเลยค่อนข้างมั่นใจว่าทุกๆค่ายทั้วโลกที่มีบ.ในหมวดที่โปแกรมนี้ต้องการจะเข้าร่วมประกวดทุกอันแม้แต่จีนเองก็เถอะ(ผมว่านะ) 

ผู้ผลิตรายอื่นก็กำลัง upgrade ค้นคว้าเพื่อให้ได้ตรงตาม spec หรือมากกว่าที่เขากำหนด เพราะฉนั้นงานนี้ผมว่าทุกฝ่ายทำเต็มที่และคงงัดทีเด็ดออกมาหมด อย่าลืมนะครับว่า T-X Program ถูกล่าช้าออกไปซึ่งหน้าจะเกินขึ้นหลังจาก 2020 ไปแล้วและกว่าจะถึงตอนนั้นผมว่าอะไรๆคงเปลี่ยนไปเยอะ

จากเหตุการที่ได้เกิดในการจัดซื้อ LIFT ของทั้ง อิสราเอล UAE และ สิงคโปร์ ทำให้ผมได้รู้ว่า โลกนี้ไม่ได้มีแต่ Lockheed Martin เพราะการแข่งขันตอนนั้นๆ บอกผมว่า M-346 ก็เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวและมาแรงมาก ซึ่งสามารถทำให้ทั้งสามประเทศที่มี F-5 และ F-16 ที่มากมายโดยมีขาใหญ่สนับสนุนอยู่ตลอดมาอย่าง Lookheed Martin ยังถึงกับแพ้ได้ผมว่ามันน่าเหลือเชื่อ T-50 เองก็มีศักยภาพมากมายที่เหนือกว่า M-346 แต่สิ่งที่ M-346 มีน่ากลัวกว่า T-50 ก็คือระบบที่ล้ำสมัยกว่า และข้อสำคัญคืออเมริกาเป็นสมาชิก NATO ซึ่ง M-346 เป็น trainner รายเดียวในระยะเวลา 35ปี ที่ผ่านมา ที่ถูกพัฒนาและสร้างขึ้นในประเทศสมาชิก NATO 

อย่าง BAE เองก็ได้จับมือกับ L-3 ซึ่งเป็นบริษัทยักข์ใหญ่ผู้ทำ F-16 Training Centre ให้กับ U.S. Army เพื่อทำ Ground Base Training ให้กับ BAE ซึ้งจะมีความได้เปลียบกว่า T-50 อย่างมากในเรื่องนี้

ส่วน Boeing เองก็แว่วๆ ว่าจะลงแข่งใน T-X ด้วย โดยการสร้างขึ้งมาใหม่สำหลับ T-X โดยเฉพราะ 

อ่านได้ที่ http://defensetech.org/2012/10/17/boeings-t-x-bid-a-bellwether-for-future-bids/ 

ยังไงก็ตามแต่อีก 4-5 ปีหลังจากนี้คงมีอะไรใหม่ๆให้พวกเราเห็นกันเรื่อยๆ อาจมีม้ามืดโผล่มาแซงทางโค้งก็เป็นได้ครับ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ

 

โดยคุณ skywalker เมื่อวันที่ 19/07/2013 14:12:34


ความคิดเห็นที่ 81


ก่อนอื่นเลยไม่อยากจะเชื่อว่ากระทู้นี้จะกลายเป็นกระทู้ยอดฮิตประจำปีไปซะได้

เข้าเรื่อง  มีหลายท่านพยายามจะพาดพิงถึงเครื่องบิน Yak-130 เครื่องบินฝึกของรัสเซีย และL-15ของจีน(ส่วน S-54 ไม่ต้องไปพูดถึงกับโครงการกระดาษ)   ผมบอกก่อนเลยครับมีโอกาสแพ้ T-50 ของเกาหลีสูงมาก เพราะเหตุผลที่ว่าถ้าซื้อเครื่องดังกล่าวมาแล้วก็จะเข้าอีหรอปเดิม คือต้องไปว่าจ้าง  บริษัท Elbit ของอิสรเอล มาmod ให้ใช้อาวุธของอเมริกันอีกเหมือนเดิมหรือเปล่า แบบเดียวกับ L-39 ก็จะมีคำถามตามมาอีกว่าทำไมถึงชอบเสียเงินซ้ำซ้อนกันอีกหลายครั้ง ....กันไปทำไมอีกฮึ เพราะสุดท้ายแล้ว

  • ราคาเครื่องYak-130 และ L-15 รวมกับค่า mod แล้วก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเครื่องของ T-50 เลย
  • Yak-130 ราคา 15 บวกค่า mod ขั้นต่ำราวๆ 6 - 7 เท่ากับ 21 หรือ 22 ล้าน USD กับเครื่อง T-50 ราคาแค่ 22 ล้าน USD L-15
  • ของจีน ล่าสุด 14.6 ล้าน USDบวก 6-7 เท่ากับ 21-22 ล้าน USD ก็จะมีคำถามตามมาให้ซุบซิบนินทากันอีกว่า เครื่องบินของจีนน่าไว้วางใจแค่ไหน เพราะทอ.ไทยเราไม่เคยซื้อมาใช้เลย ขนาดเครื่อง L-39 มาใหม่ๆยังตกไป 2-3 เครื่อง เช็คราคาต่อเครื่อง http://en.wikipedia.org/wiki/Hongdu_L-15
  • ซื้อเครื่อง T-50 ที่ซับพอร์ตระบบและอาวุธของสหรัฐและนาโต้ไปทีเดียวเลยไม่ดีกว่าหรือและแถมสมรรถนะสูงกว่าด้วย
  • เรื่องการเมืองเรื่องเดิมๆอย่าคาดหวังมากนักกับเครื่องบินจากค่ายรัสเซีย (ผมปลงซะแล้ว)

ในส่วนของเครื่องที่มีโอกาสได้เข้ารอบสุดท้ายจริงๆก็น่าจะเป็นที่ใครหลายๆท่าน เก็งๆกันไว้นั้นแหละครับ คือ M-346 ของอิตาลี และ T-50,TA-50,FA-50 ของเกาหลี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณรายจ่ายของทางกองทัพอากาศไทยเราด้วยว่ามีงบมารองรับรายจ่ายตรงนี้ซักแค่ไหนบวกกับภาระกิจเดิม คือ

  • แค่ฝึกบินและสนับสนุนการโจมตีขนาดเบา ถ้ามีงบเยอะราคาต่อเครื่องของเจ้า M-346 ไม่ใช้ถูกๆราคาตกเครื่องละ 49 ล้าน USD หรือ 37 ล้านยูโร แต่ถ้าทอ.กล้าทุ่มและอยากได้เครื่องฝึกสไตร์เดิมๆ เจ้า      M-346 มีโอกาสเข้าวินส์สูงทีเดียวเพราะทรงของมันมาในรูปเดียวกันกับ L-39 เช็คราคาเครื่อง M-346 ที่นี้ http://www.deagel.com/Trainers-and-Light-Attack-Aircraft/M-346-Master_a000328002.aspx
  • แต่ถ้าทอ.ต้องการเครื่องแบบฝึกบินระดับสูงด้วยและอย่างน้อยๆต้องใช้สนับสนุนโจมตีทางภาคพื้นดินได้ก็แน่นอนว่า TA-50 ของเกาหลีมีโอกาสสูงที่จะเข้าวินส์ แต่ต้องถามว่าราคาที่เครื่องละเกือบ 30 ล้าน USD ทอ.จะน่าจะยอมรับได้เมื่อเปรียบเทียบกับ M-346 แต่เชื่อว่าทอ.ไม่เลือก FA-50 มาติดโผอย่างแน่นอนเพราะมันจะซ้ำซ้อนกับ F-16 และ JAS-39   เช็คราคาเครื่อง TA-50ล่าสุดที่นี้ http://defense-update.com/20120625_philippines-orders-south-korean-ta-50-jets.html

สรุปเชื่อว่ากองทัพอากาศจะพิจารณาในส่วนของการทดแทนเครื่อง L-39 ก่อนไปทีละเฟสแน่ๆ โดยเริ่มจากฝูงบิน 401 ที่ตาคลีก่อน แล้ว ฝูง 411 ที่เชียงใหม่ (การทดแทนเครื่อง F-5 กับ Alpha-Jet ยังไม่ต้องไปพูดถึงดีกว่า)  ซึ่งนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่า เครื่องของ T-50 หรือ TA-50 มีโอกาสเข้าวินส์อย่างมาก(ในความคิดของผมนะ) ด้วยงบประมาณที่เป็นงบประมาณผูกพันที่คาดว่าทอ.จะสามารถจัดซื้อจัดหาได้  อย่าเอาประเทศไทยเราไปเปรียบเทียบกับประเทศที่มีเงินเยอะอย่าง UAE หรือ อิสราเอล หรือ สิงคโปร์ เค้า เพราะพวกนั้นเค้าหวังไปไกลถึงขั้นจะซื้อ F-35 แต่ไทยเรามีปัญญาซื้อมาใช้หรอแค่เครื่อง Jas-39 ฝูงที่สองให้มันได้ก่อนเถอะ

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 19/07/2013 16:56:33


ความคิดเห็นที่ 82


สรุป ดีล การจัดหา T-50 และ M-346 ของประเทศต่าง ๆ ครับ ในส่วนของเกาหลี เป็นรวมข้อมูล คำนวณเอง จาก วิกีฯ ครับ แต่ของประเทศอื่น ๆ ก็เป็นข้อมูลตามข่าวการจัดหาของประเทศต่าง ๆ ครับ

 


 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2013 17:06:02


ความคิดเห็นที่ 83


โครงการ T-X Program ของ กองทัพสหรัฐ มูลค่าโครงการ 11,000 ล้านเหรียญ สำหรับอากาศยาน จำนวน 350 ลำ ถัวเฉลี่ย ลำละ 30 ล้านเหรียญ ตอนนี้ ที่มีแบบนำ อยู่ 3 แบบ...ซึ่งแบบ BAE Hawk ก็น่าจับตา อยู่เหมือนกันครับ เพราะ ทอ.อังกฤษ ก็เพิ่งสั่งซื้อไป รุ่น High End หรือ T-2/MK-128 ซึ่งเป็น Hawk LIFT แบบเดียวกับ T-50 และ M-346 และ ทอ.ออสเตรเลีย ก็เพิ่งมีโครงการ อัพเกรด Hawk100 ของตัวเองเช่นกัน

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2013 18:13:34


ความคิดเห็นที่ 84


หวัดดีคับ ขออนุญาตร่วมออกความคิดเห็นบ้างนะคับ

จากที่รวบรวม ข้อมูลของกระทู้นี้มา การผลิตเครื่องบินรบขึ้นมาใช้เองยังไม่ค่อยกล่าวกันมากนักนะคับ นอกจาก คุณ neosiamese2 หรืออาจจะมีท่านอื่นกล่าวไว้ที่ผมไม่เห็นต้องขออภัยด้วย อย่างไรก็ตามจากที่ติดตามมาได้รับความรู้และแนวคิดต่างๆ ที่ดีมากมาย จากสมาชิกทุกท่านคับ ในฐานะคนไทยคนนึงจึงอยากขอถามว่า ผู้บริหารเหล่าทัพหรือรัฐบาลในปัจจุบัน ปี 2013 จะมอบอะไรไว้ให้กับคนรุ่นหลัง อีก 50-70 ปี ข้างหน้าคับ ระหว่าง 1) ซากเครื่องบิน gripen และ f16 ที่ใช้การไม่ได้เพราะไม่มีอะไหล่แล้ว เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเลิกผลิต คุ้นๆ มั้ยคับ :D หรือ 2) โรงงานผลิตเครื่องบินรบของเราเองคับ ที่พร้อมจะนำเครื่องบินรุ่นใหม่เข้าประจำการอย่างต่อเนื่อง ในราคาที่ถูกกว่าการนำเข้ามาก เงินทองไม่รั่วไหลมาก และแถมยังส่งออกได้ด้วย สร้างทั้งงานและความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้คนไทยด้วยคับ

 

ผม ทราบดีคับว่า บางท่านอาจมองว่า เราทำไม่ได้ เพราะมันเป็นเทคโนโลยีระดับสูงเกินไป แต่ไม่อยากให้คิดแบบนั้นคับ และท่านคงไม่ใช่คนไทยกลุ่มแรกที่คิดแบบนี้ บรรพบุรุษเราเมื่อหลายสิบปีก่อนของไทยก็คิดแบบเดียวกันนี้ เราจึงยังไม่มีความสามารถที่จะผลิตเครื่องบินรบแบบนี้ได้เองคับ (ยกเว้นรุ่นยอดคนที่ผลิต บ. บริพัตร กับ ประชาธิปก ใช้เองนะคับ) แต่บรรพบุรุษของเกาหลี ไม่ได้คิดอย่างเราคับ เขากลับคิดว่า ทำอย่างไรเขาจึงจะผลิตเครื่องบินรบแบบนี้ได้เอง จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกับ สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเวลาผ่านไปถึงยุคนี้ เขาผลิตได้แล้วคับ แล้วนับแต่นี้ไป เขาจะมีทั้งเครื่องบินรบจำนวนมากกว่าเดิมในราคาถูกกว่าเดิมได้ และมีคนเกาหลีที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูงเหล่านี้ด้วย ยังไม่นับรายได้จากการขายเครื่องบินรบเหล่านี้ให้กับประเทศด้อยพัฒนาอื่นๆ อีกนะคับ :D

 

ผมเคยได้ยินมาว่า คนไทยไม่เชื่อมั่นคนไทยด้วยกันเองคับ เรามักจะคิดว่าเราไม่เก่งหรอก สร้างของไฮเทคไม่ได้หรอก แต่ทราบมั้ยคับว่า คนอื่นเขามองเราแล้วแอบชื่นชมผสมเกรงอยู่ในใจ โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียน ตอนนี้อาจจะไม่ค่อยกลัวเหมือนก่อน แต่เกรงนี่แน่นอนคับ ผมขอยืนยันคับว่า ไทยเรานี่แหละคือ สุดยอดเผ่าพันธุ์เผ่าหนึ่งบนโลกใบนี้ เพราะอะไรคับ ง่ายที่สุดคือ เราเป็นประเทศเอกราชมาตลอด รอดพ้นจากการล่าอาณานิคม เป็นเรื่องที่เกินจินตนาการของนานาประเทศคับ อันนี้ภูมิใจได้เลย แต่นั่นยังไม่ใช่เหตุผลที่ดีในการสรุปว่าคนไทยเราเก่งคับ ต้องอันต่อไป บรรพบุรุษฝ่ายชายเราได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้อันวิจิตรพิสดารไว้ให้เราคับ มวยไทย มีชาติใดบ้างในโลกที่มีมวยที่ใช้อาวุธทั้ง 9 ทั่วร่างกายแบบเรา แต่คนไทยคิดได้คับ ไม่ธรรมดาเลย ยังมีอีกคับ ฝ่ายหญิงท่านทิ้งตำหรับอาหารที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้กันเลย ร้านอาหารไทยจึงมีอยู่ในทุกเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่มีวันเจ๊งคับ ยืนยันได้คับผมเรียนหนังสืออยู่ต่างประเทศ เมื่อพูดถึงอาหารไทยกับมวยไทยแล้ว คนอื่นเขายอมกันหมดแล้วคับ มีชาติใดบ้าง แกะสลักผลไม้กินแบบเรา กรุณาอย่านำเอา เทควันโด้ ยูโด ซาเซมิ กิมจิ มาเปรียบเลยคับ สงสารเขา มันคนละชั้นกัน ลองไปหาคลิปดูคับว่า เทควันโด้ ยูโด มวยจีน เจอมวยไทยแล้วมีสภาพแบบไหน นี่แหละคับ คนไทย เราต้องเชื่อมั่นในคนไทยด้วยกันเองให้ได้คับ ปลูกสิ่งที่เรากินได้ กินสิ่งที่เราปลูกได้คับ หลักการเศรษฐกิจพอเพียงคับ แต่ตอนนี้ทางด้านเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน เราเหมือนซื้อเขากินตลอดเวลาคับ ตั้งแต่ รถยนต์ ไปจนถึง เรือรบ (คิดว่าสากกะเบือ เราน่าจะผลิตเองได้แล้วนะคับ ผิดพลาดยังไงขออภัยคับ)

 

ดัง นั้น ผมจึงอยากถามว่า จะดีมั้ยถ้าต่อไปนี้ไม่ว่าจะซื้ออะไรที่มันแพงๆ ใช้งบประมาณมหาศาล ซื้อกับเจ้าที่เขาจะสอนเราปลูกด้วยคับ เราจะปลูกเอง สร้างของเราเอง ทำได้คับ เราต้องมองยาวๆ คับ 50-70 ปีขึ้นไป มันเกินคำว่าคุ้มค่าซะอีกคับ ลูกหลานจะได้ไม่ลำบากเหมือนเราตอนนี้คับ ถ้าเราวางรากฐานไว้ให้เขาในวันนี้ แต่ส่วนใหญ่ประเทศไทยเราวางแผนกันไม่เกิน 10-20 ปีคับ มันยังยาวไม่พอคับ สำหรับเราเพราะล้าหลังเขาอยู่ ควรวางแผนกัน 50 -100 ปีคับ เราคงต้องปรับแล้ว

 

เขียนซะยาวเลย ขออภัยด้วยคับ ถ้าทำให้รำคาญ ทีนี้ขอย้อนกลับไปถึงเรื่อง บ.ฝึก ของ ทอ. นะคับ ส่วนตัวคิดว่า เราเองได้ลงทุนไปแล้วกับ gripen ของ saab แล้วยังได้ยินมาว่าเขาเองก็ยินดีจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราด้วยถูกมั้ยคับ ในที่นี้หมายถึงอะไรคับ เขาจะมาเปิดบริษัทร่วมกับ TAI เพื่อผลิต gripen ในไทยรึป่าวคับ หรือจะร่วมกันออกแบบและสร้างเครื่องบินรุ่นใหม่เลย แต่ลดสเป็คจาก gripen ลงมา เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึกสำหรับ บ. ตระกูล gripen โดยเฉพาะ เพื่อป้อนให้กับทุกประเทศที่มี gripen ประจำการได้มั้ย แต่เครื่องบินที่ออกแบบใหม่นี้ควรจะผลิตในไทยเท่านั้นนะคับ เพราะค่าแรงถูกกว่า :D หรือจะยังไง ลองมาคิดกันเล่นๆ ดู ก็ T 50 ของเกาหลียังทำได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้ เขาก็ไม่ได้มีสิบหน้า ยี่สิบกรนะคับ แล้วถ้าคนไทยจะทำล่ะก็ ความวิจิตรพิสดารมันอยู่ใน DNA มวยเรายังใช้อาวุธได้ทั่วร่างกาย เครื่องบินรบของไทยมันจะขนาดไหนหนอ (เพ้อพก) :D

 

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามันยังเป็นไปไม่ได้ตอนนี้หรือเราจะสร้าง gripen ตัวจิงเท่านั้น ก็ลองเครื่องบินอื่นดูคับ M346, T50, L15 อะไรก็ได้คับสำหรับผม เพราะคิดว่าคุณภาพไม่หนีกันมากนัก แต่ที่สำคัญคือต้องมาร่วมกับบริษัทของไทย ผลิตเครื่องบินในไทย เราจะได้เลิกซื้อเขาแสนแพงไปชั่วลูกชั่วหลาน ซะทีคับ ช่วงแรกๆ คุณภาพอาจจะยังไม่ดี แต่เราก็ต้องช่วยกันกินสิ่งที่ปลูกได้เองกันก่อนคับ แล้วมันจะค่อยๆ พัฒนาไปได้ผมว่านะ มีแต่ได้กับได้คับ ญี่ปุ่น กับ เกาหลี ทำให้ดูแล้วไงคับ เงินทองเขาไม่รั่วไหลแถมได้ความรู้อีก อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นความเห็นของคนคนเดียวคับ ที่ไปเห็นมา ไปจำเขามา

 

แต่ จะว่าไปแล้ว ตอนนี้ทุกเหล่าทัพของเราได้เริ่มทำของใช้เองมาแล้ว ขอชื่นชมและให้กำลังใจคับ แต่ต้องมีธงว่าจะทำใช้เองทุกอย่างให้ครบภายในกี่ปี 50 ปีมั้ย หรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะ ทร. เรื่องเรือรบขนาดเล็กหายห่วงคับ ปลูกเองสร้างเองได้ เหลือเรือ ส. นี่หล่ะ แต่ยังไงไม่ควรหยุดพัฒนานะคับ คงต้องทำไปเรื่อยๆ OPV ควรสร้างเพิ่มมั้ย แต่อยากให้ต่อฟริเกต กับ เรือ ส. ร่วมกับเกาหลี สร้างในไทยเราก่อน จะดีมั้ย ฝันร้ายเรื่องเรือดำน้ำของคนไทยจะได้หมดไปซะที เรื่องทุกอย่างของประเทศไทย เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนคับ คงไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยเดียว เพราะมันเป็นของคนไทยทุกคน เช่น ความต้องการเรือ ส. ไม่ควรจะเป็นเหตุผลว่า ทร. ต้องการซื้อ แต่ควรจะเป็นคนไทยจำเป็นต้องมีคับ ทร. คงจะมีบทเรียนแล้วนะคับ กับการ ขอซื้อเรือ ส. ได้เรือฟริเกต ซึ่งเรือฟริเกตมีราคาแพงกว่าหลายหมื่นล้านด้วยคับ มันเป็นไปได้อย่างไร แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่งบประมาณคับ แต่อยู่ที่การนำเสนอความจำเป็นของการซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำไมต้องเป็น 6 ลำนี้ มันดียังไง และมันดีกว่าซื้อลำใหม่ด้วยซ้ำยังไง การอธิบายชี้แจงต่อสาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเช่นกัน คับ แล้วต้องชูเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อผลิตใช้เองด้วยคับ เช่น U206 ทั้ง 6 ลำนี้ ส่วนหนึ่งใช้ได้เลย ส่วนหนึ่งใช้เป็นอะไหล่และ reverse engineering เพื่อสร้างเองด้วย ถ้าใช้เหตุผลแบบนี้ผมว่าใครก็คงอยากสนับสนุนคับ หรือถ้าจะขวางก็ต้องคิดหนักคับ เพราะถ้าซื้อเรือใหม่มาคงเสียดาย ถ้าต้องมาทำการรื้อเพื่อการศึกษาวิจัยนะคับ ส่วนความคิดของผมนี้ผิดพลาดยังไงก็ขออภัยนะคับ ความคิดเห็นของคนคนเดียวเท่านั้น ก็คิดไปตามข้อมูลที่ทราบมาคับ มุมมองที่แตกต่าง ก็เหมือนสีสันในงานศิลป์นะคับ ถ้าใช้สีเดียวกันหมดวาดภาพคงไม่สวยนะคับ เราลองมาช่วยกันคิดคับ มันควรจะเริ่มที่คนรุ่นเรานี่แหละคับ ลูกหลานจะได้ไม่ต้องลำบาก หอบเงินไปให้คนอื่นเขาอีกเหมือนเรานะคับ หลักการเศรษฐกิจพอเพียงคับ

 

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 19/07/2013 18:24:03


ความคิดเห็นที่ 85


ด้วยความหวังดีทีหลังเปลี่ยนจาก "คับ" เป็น "ครับ" จะดีมากๆ

โดยคุณ FiTaLipz เมื่อวันที่ 19/07/2013 19:52:42


ความคิดเห็นที่ 86


ท่านจูดาสทำภาพสวยมาก ผมสู้ไม่ได้เลยต้องขอลอกการบ้านแล้วแอบใส่พระเอกเข้ามาด้วย

 

จำเขาได้ไหมครับเพื่อนๆ สิ่งที่เราต้องการเคยมีมาก่อนแล้ว


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/07/2013 20:15:18


ความคิดเห็นที่ 87


กำลังอ่านเพลินๆแท้ๆ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 19/07/2013 20:32:07


ความคิดเห็นที่ 88


ลืมใส่ของจีนไปเลย ขออีกรอบครับ

 

ผมจำรุ่นเครื่องบินจีนผิดไปครับ ที่เขาอาจจะเสนอขายเราไม่ใช่J-11B แต่ต้องเป็นJ-31 Fulcon Eagle ต่างหาก(เอาF-15มารวมกับF-16เลยวุ้ย)


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/07/2013 21:11:16


ความคิดเห็นที่ 89


เท่าที่ได้เปรียบเทียบข้อมูลจากผู้รู้หลายท่าน ก็จะเห็นว่าเครื่องบิน M-346 มีราคาเฉลี่ยแล้วสูงกว่าเครื่อง T-50 ของเกาหลี ค่อนข้างจะชัวร์แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบจากตารางที่ท่าน Juldas ได้อุตสาทำมาให้พวกเราได้รับทราบข้อมูล เครื่องบินของแต่ละค่ายจะสังเกตได้ว่ายิ่งจำนวนสั่งซื้อมาก ราคาก็จะถูกกว่าสั่งซื้อในปริมาณน้อย ถ้าทอ.ของเราสั่งซื้อแบบเป็นเฟสจริง น่าจะเป็นเฟสละไม่เกิน 6 เครื่อง (ก็คือครึ่งฝูง)ดังนั้น แนวโน้มน่าจะอยู่ในเกณฑ์ปริมาณน้อย

      ราคาคาดเดาของ M-346 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จำนวน 6 เครื่องน่าจะอยู่ที่ประมาณ 45-49 ล้านดอลล่าสหรัฐ

      ส่วนของ T-50 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จำนวน 6 เครื่อง น่าจะอยู่ประมาณ 35-38 ล้านดอลล่าสหรัฐ

ถ้าซื้อแบบเฟสละ 1 ฝูง 12 เครื่อง

      ราคาคาดเดาของ M-346 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จำนวน 12 เครื่องน่าจะอยู่ที่ประมาณ 42-46 ล้านดอลล่าสหรัฐ

      ส่วนของ T-50 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จำนวน 12 เครื่อง น่าจะอยู่ประมาณ 33-37 ล้านดอลล่าสหรัฐ

 (ปล.กระแสเบรนด์ของเกาหลีนี้มันแรงจริงๆนะครับตอนนี้ลามมาถึง ทอ.แล้ว แต่อย่างว่านี่เป็นเพียงแค่การคาดเดาเท่านั้นครับ)

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 19/07/2013 23:27:27


ความคิดเห็นที่ 90


ที่ท่านทั้งหลายบอกว่า M-346 แพงเนี่ยได้โปรดเข้าไปดูในเว็บไซต์นี้นะครับเกี่ยวกับตอนที่ประเทศ อิสราเอลสั่งซื้อ M-346 จาก Alenia ครับ :

http://defense-update.com/20120217_israel-to-buy-30-m346-jet-trainers-from-italy-for-1b.html

 จะแสดงให้เห็นว่า อิสราเอลได้ซื้อ M-346 จํานวน 30 ลําในราคา 1 พันล้านเหรียญ ก็ตกอยู่ที่ลําละ 33 ล้าน แต่ทางเกาหลีได้เสนอราคาขอ T-50 จํานวนเครื่องเท่ากันแต่ในราคา 1.6 พันล้านซึ่งตกอยู่ที่ลําละ 53 ล้านเหรียญ ซึ่งสรุปได้ว่า M-346เลยชนะการแข่งขันในประเทศ อิสราเอลครับ

 

และในส่วนของประเทศ UAE นั้น M-346 ก็ชนะด้วยราคา 1.3 พันล้าน สําหรับ 48 ลํา ซึ่งตกอยู่ที่เครื่องละ 27 ล้านเหรียญเท่านั้นครับ

ขอมูลจากเว็บ : http://www.defensenews.com/article/20100701/DEFSECT04/7010310/Source-Singapore-chooses-Italy-s-M-346-Trainer-Jet

 

ท้ายสุดนี้ก็ประเทศสิงคโปร์ที่ได้สั่งซื้อ M-346 ไปเป็นจํานวน 12 ลํา ซึ่งหลายท่านอาจจะเข้าใจผิดว่าราคาอยู่ที่ 410 พันล้านเหรียญ แต่นั้นคือราคารวมทั้ง เครื่องบิน , อุปกรณ์ฝึก ภาคพื้นดิน และ อะไหล่ 

จากเว็บ 1 "The acquisition cost of the aircraft, ground-based training system and associated spares are worth €543 million ($410 million)"

แต่สําหรับตัวเครื่องบินนั้น 12 เครื่องราคาอยู่ที่ 340 พันล้านเหรียญซึ่งตกอยู่ที่ลําละ 28 ล้านครับ

จากเว็บ 1"The company's involvement in the deal is expected to value €250 million ($340 million"

และถ้ายังไม่แน่ใจให้ไปอ่านเว็บ 2 ครับที่ประโยคที่เขียนว่า

"Alenia Aermacchi's share of the contract is expected to be around $340 million for the purchase of the planes"
 

ขอมูลจากเว็บ : เว็บ 1 http://www.upi.com/Business_News/Security-Industry/2010/10/01/Singapore-set-for-Alenia-Aermacchis-M-346/UPI-84901285927980/

เว็บ 2 http://www.flightglobal.com/news/articles/singapore-confirms-order-for-m-346-trainer-347885/

เอาไปสองเว็บเลยครับอ่านกันดูดีๆ จะได้รู้ว่าราคา M-346 นั้นไม่ได้แพงกันอย่างที่คิดครับ และนั้นก็คือสาเหตุที่ทําไม M-346 ชนะการแข่งขันทั้ง 3 ประเทศ  (UAE, สิงคโปร์, อิสราเอล ) รวดครับ

m3461



โดยคุณ Airbus เมื่อวันที่ 20/07/2013 02:06:15


ความคิดเห็นที่ 91


ส่วนตัวผมมองว่า จากที่ ทอ.ต้องการเป็นกองทัพอากาศชั้นนำอย่างที่ตั้งใจไว้นั้น เพื่อให้เป็นไปตามที่ตั้งใจคงไม่เล่นของที่เสมอตัวหรือด้อยลง เพราะเรื่องเงินหรอกนะครับ  แน่นอนที่ว่าประเทศเราไม่ได้ร่ำรวยอะไรแต่ ราคาเครื่องที่เราจะซื้อเพื่อความเป็นเจ้าแห่งทัพฟ้าของภูมิภาคนี้ มันก็หนีไม่พ้นเครื่องบินรบชั้นดีครับ  เอาหล่ะถ้าว่าเครื่องบินฝึกเป็น เครื่อง ที 50 ของเกาหลีใต้  แล้วจะตามมาด้วย เอฟ/เอ 50 นั้นผมว่าเหมือน ถอยหลังลงคลองครับ(แน่นอนเครื่องฝึก ที50 ยอมรับได้อยู่แล้ว)  อีกอย่างเรื่องเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น เพื่อแทน เอฟ 5 มันต้องอย่างต่ำคือ กริฟเปน ครับ ถึงจะเรียกว่าก้าวหน้า เรื่องเอฟ 35 ยังไง ก็ต้องซื้อ ไม่มีก็ต้องมี เพราะอย่างที่บอก กองทัพอากาศชั้นนำก็ต้องของดีๆถึงจะตอบสนองเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ครับ อีกอย่าง  เห็นหลายๆท่าน พูดถึงเครื่องบินโจมตีเบากันเยอะ ไม่ลองคิดถึงเครื่องโจมตีแบบจริงจังบ้างหล่ะครับ(รุ่นใหญ่แฮฟวี่เวท) ก็ เอฟ 15 ไงหล่ะครับ ซื้อ แบบนี้ถึงจะเรียกว่าก้าวหน้า

ปล.ต้องยอมรับแหละครับว่าของบ้างอย่างเราก็ต้องซื้อเขา ไอ้ที่คิดจะวิจัยและสร้างเองนั้น แน่นอนเป็นเรื่องที่ดี วิเศษอยู่แล้วหล่ะครับ...

แต่วันนี้ก็ต้องดูตัวเราเองว่าเราคิดแบบไหน ผู้ใหญ่คิดแบบไหน ถ้าจะทำ มันต้องภาคเอกชน แล้วไหนหล่ะใครสนับสนุน ใครกล้าลงทุน รอๆๆ และรอๆ 

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 20/07/2013 04:37:56


ความคิดเห็นที่ 92


เห็นมีคนพูดถึงเจ้าA-10thunderbothกันนักไม่ใช้ทอ.เราจะไม่สนใจนะครับในอดีตทอ.ไทยเราเคย

ติดต่้อขอซื้อเจ้านกเหล็กตัวนี้แต่เมกาไม่ยอมขายให้เรายังบอกด้วยในภูมิภาคในแถบนี้ยังไม่ต้องมี

เจ้าA-10ใว้ใช้งานเอาแค่ฮ.โจมตีไปก็น่าจะเพียงพอแล้วพอเมกาว่ามาแบบนี้ทอ.เลยคิดว่า

ถึงเอาเจ้าA-10มาสงสัยงบคงบานเบอะแน่แค่ปืนขนาด30มม.นั้นยิงแต่ละทีไม่รู้จะหมดเงินไปเท่าไหร่

เลยไม่สนใจจะจัดหาแล้ว

 

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 20/07/2013 13:29:38


ความคิดเห็นที่ 93


ผมกลับคิดว่า L-159 นั้นน่าจะตัดออกไปครับ เพราะเชค ได้ปิดสายการผลิตไปแล้ว เครื่องหน่ะถูกจริง แต่อนาคตจะมีมากน้อยแค่ไหนนี่ซิสำคัญ ไม่ว่าจะเรื่องอะไหล่ หรืออาวุธ รวมไปถึงการอัพเกรด ไม่รู้ว่าเชคเก็บอะไหล่เครื่องรุ่นนี้ไว้มากน้อยแค่ไหน

แต่ผมยอมรับว่าผมชอบเจ้าเครื่องนี้มานานแล้วนะ เพราะประสิทธิภาพผมว่ามันโอเคเลย ที่สำคัญเราน่าจะได้ราคาพิเศษ เสียดายที่อิรักระงับโครงการไปซะก่อน ซึ่งเดาว่าน่าจะเป็นเพราะอเมริกาคงจะฮึ่มๆอยู่ อาภัพจริงๆเครื่องบินเชค 

แต่ถ้าอยู่ในโผจริงผมสนับสนุนเต็มที่ เพราะชอบจริงๆ ความเห็นส่วนตัว

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 20/07/2013 15:17:33


ความคิดเห็นที่ 94


เครื่องบิน A-10 นี่ผมเคยได้ข่าวว่าเราแสดงความต้องการครับ และภายหลังอเมริกาก็เสนอขายให้(อาจจะเพราะจีนเสนอขาย F-7Mให้เราหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้) แต่พอดีช่วงนั้นกองทัพอากาศสนใจ F-16A/B มากกว่า A-10 จึงหมันไป

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 20/07/2013 17:09:09


ความคิดเห็นที่ 95


อะอะอย่าเพิ่งไปA-10สิครับกลับมาก่อนอิอิ  ว่าแต่ไม่มีใครตามผมเลยหรอว่าYakจะมาระวังเงิบทั้งวงนะครับ55555

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 20/07/2013 19:08:09


ความคิดเห็นที่ 96


อ้างอิงจากคุณ AIR BUS ราคามันต้องขึ้นอยู่กับดีลของแต่ละค่ายจะยื่นซองประมูลไม่ใช่หรือครับ คือมันต้องดูด้วยว่าราคาต่อเครื่องที่แต่ละค่ายเค้าตั้งไว้ต่างหาก อย่าง T-50 ตั้งราคาเครื่องที่ประมาณ 25 ล้านดอลล่าสหรัฐ ส่วนของ M-346 ตั้งราคาไว้ที่ประมาณ 45 ล้านดอลล่าสหรัฐ มันเป็นไปได้ยากมากๆครับที่อิตาลีจะผลิตอาวุธได้ในราคาที่ต่ำกว่าอาวุธที่ผลิตจากเกาหลี เพราะค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตเกาหลีมันต่ำกว่าอิตาลีถึงเท่าตัว ดูตัวอย่างราคาเครื่องที่ทอ.อิตาลีเองแท้ๆกลับต้องซื้อเครื่อง M-346 ในราคาเครื่องเฉลี่ย 55 ล้านดอลล่าสหรัฐ

ให้เป็นข้อคิด

1) ในกรณีของอิสราเอลมันเป็นการยื่นซองประมูลแข่งกันครับไม่ใช่การ ตั้ง budget ก่อนแล้วมาแข่งขันกันในเรื่องของ อ็อฟชั่น เหมือนกับเรือฟรีเกตของไทยเรา คือใครยื่นซองประมูลได้ด้วยราคาที่ต่ำที่สุดค่ายนั้นก็ได้ Jobไป (ถ้าเป็นกรณีนี้ไม่สามารถใช้เป็นตัววัดได้ว่าเครื่องบินของใครมันถูกกว่ากันนะครับเพราะมันเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถตัดราคาแข่งกันได้)

2) ในกรณีของ UAE ก็เช่นเดียวกัน เหตุที่ M-346 ขายได้ในราคาถูกเพราะ UAE เค้า order มากถึง 48 เครื่อง ซึ่งคิดว่าราคาที่ทาง อิตาลีเสนอไปน่าจะคุ้มทุนสำหรับพวกเค้า (คงจะได้กำไรไม่มากนักหรอก คือยอมหันราคาลงมาเพื่อให้ได้งานเอาไว้ก่อนเพราะตอนนี้ที่ยุโรปกำลังเผชิญกับสภาวะวิกฤตเศรษกิจ)

3) ผมว่ามันเป็นความผิดพลาดของทีมงานฝ่ายการตลาดของ kai (เกาหลี)ในการยื่นราคาแข่งประมูล บวกกับปัญหาสภาวะหนี้สินภายในบริษัท kai เองด้วยที่ทำให้ประเทศทั้งสามประเทศดังกล่าวเกิดความไม่แน่ใจถึงความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวของบริษัทนี้ เพราะบริษัทนี้กำลังจะถูกแปรรูปให้เอกชนเข้ามาถือหุ้นแทนรัฐบาลเกาหลี

(ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ต้องมาดูกันว่าทาง Alenia Aermacchi จะเสนอดีลในราคาแบบเดียวกันกับประเทศทั้งสามให้กับทอ.ไทยเราหรือไม่ต่างหาก ถ้าเสนอราคาที่เป็นในลักษณะของการทุ่มตลาด ลดหันราคาแล้วละก็ เครื่องบินฝึกที่จะมาทดแทน L-39 ก็อาจจะเป็น M-346 )

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 20/07/2013 20:37:05


ความคิดเห็นที่ 97


ทำแผ่นภาพ นะครับ

สำหรับ เครื่องบินฝึก Lead In Fighter Trainer

ในแผ่นภาพจะหมายถึง  ประเทศ ที่มีความต้องการ F-35 ประจำการ แล้วเขามีการจัดหา บ.ฝึก ใหม่ แบบ LIFT แบบไหน กันบ้างนะครับ

สำหรับที่ ขีดเส้น ทึบ นั้น หมายถึงว่า ประเทศเหล่านั้น ไม่มี Trainer Jet ครับ...จะมีเพียง เครื่องบินฝึก เทอร์โบพร๊อพ เท่านั้น..

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/07/2013 09:08:12


ความคิดเห็นที่ 98


สำหรับแผ่นภาพ นี้

เป็นการ รวบรวม ประเทศต่าง ๆ ที่จัดหา Lead In Fighter Trainer (LIFT) ตั้งแต่ 2000 เป็นต้นมา

สำหรับความหมายของ LIFT นั้น ผมใช้แปลจาก กูเกี้ล ครับ...

โดยเปรียบเทียบ โครงการจัดหา และผู้เสนอแบบ และ สุดท้าย การคัดเลือกแบบ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/07/2013 09:13:09


ความคิดเห็นที่ 99


จากที่ทำ แผ่นภาพ และหาข้อมูล ผมพอสรุปในความเห็นส่วนตัว ได้ว่า

1. T-50 ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในการขาย บ.ลักษณะ LIFT แบบมี สาระสำคัญ เลย นอกจาก เกาหลีใต้ ผลิตเพื่อใช้งานของตนเอง เท่านั้น มีเพียง อินโดนีเซีย ที่จัดหา บ.ชั้นสูง T-50 แต่โดยวัตถุประสงค์ของ อินโดนีเซีย ที่ตัดสินใจ น่าจะเป็นความร่วมมือและเกาหลีใต้จะถ่ายทอดเทคโนโลยี่ สำหรับ โครงการเครื่องบินขับไล่ F-X ที่ อินโดนีเซีย มีความต้องการอยากสร้างเครื่องบินขับไล่แบบ Stealth

2. T-50 ขายได้เฉพาะในกลุ่มประเทศ เอเซีย คือ อินโดนีเซีย กับ ฟิลิปปินส์ ซึ่ง ฟิลิปปินส์ นั้น เป็นการจัดหา บ.ลักษณะ FA-50 มากกว่า ไม่ใช่ T-50 LIFT

3. ถ้า สหรัฐ ตัดสินใจ คัดเลือกแบบโครงการ T-X เป็น M-346 หรือ Hawk T2 น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงการ T-50 ที่ยอดการผลิตคงไม่กระเตื้องไปกว่าปัจจุบันเท่าไหร่

4. BAE Hawk เป็น บ. ที่น่าจับตา...มากที่สุด...ซึ่งถ้าเทียบการจัดหา บ.ขับไล่ ชั้นสูง แบบ LIFT แล้ว Hawk ตระกูล 120 กลับมียอดขายได้มากกว่า M-346 และ Hawk เป็น บ.ที่สามารถอัพเกรดได้ในอนาคต ซึ่ง ประเทศที่ประจำการ บ.จากค่ายยุโรป เช่น Gripen หรือ Typhoon ก็ล้วนแต่จัดหา บ. LIFT ตระกูล Hawk เข้าประจำการ

5. BAE Hawk รุ่นใหม่ เป็น บ.ขับไล่ชั้นสูง ที่ BAE System ออกแบบมาเพื่อรองรับ โครงการ Typhoon และ F-35 และ แอฟริกาใต้ จัดหา Hawk และออกแบบสำหรับฝึกนักบิน Gripen

6. โครงการ T-X ของ สหรัฐ ดูจะเป็น โครงการที่จะมีผลกับ ประเทศต่าง ๆ ในอนาคต ที่จะจัดหา บ.ลักษณะ LIFT

7. M-346 ที่ สิงคโปร์จัดหา ก็ให้ BAE System เป็นผู้จัดการระบบภายในให้

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/07/2013 09:27:42


ความคิดเห็นที่ 100


สำหรับ บ. L-159 นั้น จะเป็น รุ่น B และ C,T ครับ ที่ส่งแบบเข้าร่วมการคัดเลือก สำหรับประเทศต่าง ๆ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/07/2013 09:32:08


ความคิดเห็นที่ 101


ในความเห็นส่วนตัว

ผมว่า T-50 น่าจะมีข้อด้อยในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการบิน...ซึ่งค่าใช้จ่ายในการบิน จะเหมือนการใช้ เครื่องบินขับไล่ ไอพ่น ปกติ...มากกว่า การใช้เครื่องบินฝึก ที่วัตถุประสงค์ของ Lead In Fighter Trainer คือ การลดลงของค่าใช้จ่ายในการฝึก แต่ได้ประสิทธิผล เทียบเท่ากับการบินด้วย เครื่องบินขับไล่จริง...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/07/2013 09:36:53


ความคิดเห็นที่ 102


Lead In Fighter Trainer จากข้อมูลที่ค้นหา พอจะวิเคราะห์ในส่วนตัว คือ

ถ้าคัดเลือกจากแบบ บ. ที่ได้รับความนิยมจัดหา (มูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 500 ล้านเหรียญ ไม่ตำกว่า 15000 ล้านบาท)

คู่แข่ง จะเป็น M-346 และ Hawk ตระกูล 120

ถ้าคัดเลือกจากแบบ บ. ที่มูลค่าจัดหา อยู่ระหว่าง ไม่เกิน ลำละ 30 ล้านเหรียญ (มูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 450 ล้านเหรียญ ไม่ต่ำกว่า 13500 ล้านบาท)

คู่แข่ง จะเป็น T-50 กับ Hawk ตระกูล 120

ถ้าคัดเลือกจากแบบ บ. ที่มูลค่าจัดหา ต่ำกว่า ลำละ 25 ล้านเหรียญ (มูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 350 ล้านเหรียญ ไม่ต่ำกว่า 10000 ล้านบาท)

คู่แข่ง จะเป็น T-50 (ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ เกาหลีใต้ ให้เงื่อนไขพิเศษ) กับ L-15 หรือ L-159B,T

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/07/2013 14:56:10


ความคิดเห็นที่ 103


เมื่อลองเก็บข้อมูล ของ L-159s แล้ว....น่าจะมีอุปสรรค สำหรับการผลิต L-159 ในไลน์การผลิตใหม่ ถ้า บริษัทฯ ผู้ผลิต ยังไม่ได้ order รายใหม่...ยกเว้นแต่ การจัดหา โดยการ Mod. จาก L-159A ของ ทอ.เชคฯ...และราคา สำหรับการผลิตใหม่ ก็ไม่ใช่น้อยเช่นกัน...ผมเลยต้องแก้ไขความเห็นข้างบนใหม่ โดยถ้า ทอ. มีงบประมาณต่ำกว่า 25 ล้านเหรียญต่อลำ คู่แข่ง น่าจะคงเหลือเพียง T-50 กับ L-15

โดยเฉพาะ T-50 นั้น เกาหลี ต้องให้เงื่อนไขพิเศษสำหรับไทย เท่านั้น ถึงจะยอม กดราคามาต่ำกว่า ลำละ 25 ล้านเหรียญ...

แต่ถ้าสังเกตุ คู่แข่งของ L-159 แล้ว สำหรับประเทศที่มีงบประมาณอย่างจำกัด และยังเป็นกองทัพขนาดไม่ใหญ่...

L-159 ก็ดูจะเป็นตัวเลือกมากกว่า M-346, BAE Hawk และ T-50...

และสำหรับ T-50 สำหรับการเข้าแข่งขันใหม่ ของ โปแลนด์...Lockheed Martin ต้องเสนอเงื่อนไข การร่วมกับ BAE System ในการปรับระบบใหม่ให้สำหรับ โปแลนด์ โดยเฉพาะ...ดูแล้ว Deal ของ โปแลนด์ เป็นการจัดการของ Lockheed Martin ไม่ใช่ KAI

L-159 ใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกับ M-346

L-159 ใช้ระบบอิเลคโทรนิค ของ สหรัฐอเมริกา

 

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/07/2013 07:28:01


ความคิดเห็นที่ 104


ความเห็นส่วนตัว ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/07/2013 08:25:36


ความคิดเห็นที่ 105


South Korea has hoped to sell its T-50 aircraft to Israel and had issued a $1.6 billion counteroffer, including buying the Iron Dome counter-rocket system, defense officials said. Seoul have recently acquired a number of defense systems from Israel, including the Spike NLOS missiles, advanced fire control radars for its indigenous fighters and the ‘Green Pine’, a large anti-missile radar.

 

http://defense-update.com/20120217_israel-to-buy-30-m346-jet-trainers-from-italy-for-1b.html

 

มันเป็นofferที่เกาหลีใต้จะซื้ออาวุธจากอิสราเอลคืนหรือเปล่าครับ ?????

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 22/07/2013 15:52:25


ความคิดเห็นที่ 106


คงเป็น วฺิธีการของเกาหลีใต้ ที่เคยทำกับ อินโดนีเซีย น่ะครับ...ที่ ซื้ออาวุธเกาหลี...เกาหลี ก็จะซื้ออาวุธจาก อินโดนีเซีย เป็นการตอบแทน..เช่น CN-235 น่าจะเป็นข้อเสนอเพิ่มเติมสำหรับ ดีล การจัดหาของ อิสราเอล...

หรืออย่างที่ เกาหลีใต้ ปล่อยกู้ให้ รัสเซีย แล้วมีการ swap เงินกู้ กับ อาวุธ โดยเกาหลีใต้ ซื้ออาวุธจากรัสเซีย มาใช้หนี้ที่กู้ยืม เช่น ฮ.Ka-32 ครับ...

ดู ๆ แล้ว T-50 ในตลาดยุโรป จะพ่ายแพ้เกือบหมด...คงต้องรอดู ดีล โปแลนด์ กับ สหรัฐ ว่าจะผ่านไปได้ หรือเปล่า ?

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/07/2013 16:34:14


ความคิดเห็นที่ 107


เป็นวิธีการขายของที่บริษัทเล็กๆจากประเทศเล็กๆที่เป็นผู้เล่นหน้าใหม่ทำอยู่เสมอ แบบนี้เรือฟริเกตของเราจะได้อะไรแลกเปลี่ยนกับคืนมาบ้างนะ อู่ต่อเรือใหญ่ๆหรือข้าวสารซัก2ล้านตันดี

 

ไหนๆก็เกาหลีแล้วมาดูเครื่องบินเขาอีก1รุ่น  KAI KT-1 single-engined turboprop, basic training aircraf ซึ่งเกาหลีใต้สามารถเปิดตลาดในประเทศอินโดนีเซีย 17ลำ ตุรกี40ลำ และล่าสุดคือเปรู20ลำในราคา200ล้านเหรียญ โดยของเปรูจะเป็นรุ่นKA-1ที่สามารถใช้โจมตีภาคพื้นดินได้จำนวน10ลำ เกาหลีอ้างว่าติดไซด์ไวน์เดอร์ได้และในอนาคตจะมีรุ่นที่ติดปืนกล12.7มม.มากับเครื่องเลย ตัวหลังที่ใช้ภาระกิจโจมตีไดเคงแพงกว่าเครื่องบินฝึกบ้างหละเพราะมีอุปกรณ์เยอะกว่าแต่ราคาก็คงไม่หนีกันเท่าไหร่ ผมให้ KT-1 9ล้าน KA-1 11ล้านแล้วกัน

 

พูดถึงเครื่องบินโจมตีแบบนี้จะไม่เอ่ยถึง A-29 Super Tucano ได้ยังไงนี่มันสุดยอดของสุดยอดเลยนะครับ แต่เครื่องบินลำนี้มีดีลล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์คืออเมริกาสั่งซื้อ 20ลำในราคา 427ล้านเหรียญ แม่เจ้าลำหละ 21.35ล้านเหรียญ จริงๆมันรวมเรื่องอะไหล่การอบรมอะไรพวกนี้ด้วยแหละแต่ดีลอื่นก็เหมือนกันนี่

 

http://www.embraer.com/en-US/ImprensaEventos/Press-releases/noticias/Pages/Forca-Aerea-dos-EUA-seleciona-o-A29-Super-Tucano-para-o-programa-LAS.aspx

 

As specified by the U.S. Air Force, this is a USD 427 million contract for 20 Light Air Support (LAS) aircraft, as well as ground-based devices to support pilot training and all maintenance and supply requirements for the aircraft and associated equipment. The aircraft selected for the LAS program will be built in Jacksonville, Florida.

 

ถ้าทอ.สนใจจะนำมาใช้แทนOV-10ในส่วนแนวหน้า ส่วนทร.ก็สนใจเป็นเครื่องบินฝึกหัดลาดตระเวณและโจมตีสำหรับnavy wing รวมๆกันหลายสิบลำน่าลุ้นที่จะนำมาประกอบในประเทศมากกว่าT-50 อีกนะครับ รอเครื่องทอ.6จนท้อแล้วลองลำนี้ดูบ้างไหม

 

แต่อย่าไปเทียบกันตรงๆกับSuper Tucano หละ ลำนี้เขาใหญ่กว่าทุกด้านแต่ก็แพงกว่ากันเยอะไปหน่อยนะครับ


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 22/07/2013 22:16:35


ความคิดเห็นที่ 108


super tucano เจ๋งจริงๆครับผมยอมรับเลยว่าเป็นอันดับ1 แต่มีคนซื้อมากต่อคิวยาวและราคาแพงจนไปแตะเครื่องบินไอพ่นเลยนะนั่น L-15ของท่านจูดาสคงจะงงไปเลยหละสิทำไมมันแพงกว่ากรูฟระ  ถ้าเราหันมาสนใจเครื่องบินราคาไม่แพงกับประเทศที่มีofferคืนมาบ้างเป็นการเริ่มอุตสาหกรรมการบินในประเทศก็ต้องลำนี้  KT-1, KA-1มีคนซื้อไปใช้งานบ้างแล้วและเกาหลีก็สั่งไปแล้วตั้ง85+20ลำแหนะ งานนี้คงไม่ซ้ำรอยแฟนเทรนเนอร์หรอกครับ เห็นเครื่องหน้าตาแบบนี้ใช้จอHUDทั้ง2ลำเลยนะทั้งKA-1และsuper tucano


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 22/07/2013 22:41:04


ความคิดเห็นที่ 109


 

   มุมมองเรื่องเครื่องฝึกในโครงการ  T-X  program ของผมนั้น      ผมจะขอมองต่างจากมุมมองทั่วไปจากการฝึก  LIFT  ตามปกติ    เป็นเพราะข้อกำหนดสเปกเครื่องฝึกของโครงการ  T-X program  เองที่บ่งบอกเราว่าหลักสูตรการฝึกของอเมริกาจะมีการเปลียนแปลงไปจากที่เคยมีมาก่อนเป็นอย่างมากครับ

 

  เนื่องจากการที่อเมริกาต้องการจัดหา  F-35  มาแทนเครื่องหลายแบบที่ประจำการอยู่   และ  F-22   จะมาทำหน้าที่ทดแทน  F-15  ทั้งหมด     ดังนั้นอเมริกาจะเป็นประเทศแรกที่ประจำการเครื่องบินรบหลักที่เป็นเครื่องสเตลธืทั้งหมด

   จากข้อสังเกตขอองท่าน  Juldas เองและผมก็เห็นเหมือนกันคือ   เครื่องสเตลธ์ไม่ได้มีรุ่น 2 ที่นั่งเลย       และจากที่ผ่านมานักบินที่จะมาบินเครื่องสเตลธืก็ต้องเป็นนักบินที่มีชั่วโมงบินสูงกับเครื่อง  GEN 4  มาก่อน

 

แต่ต่อไปเมื่ออเมริกาประจำการด้วยเครื่องสเตลธ์ทั้งหมดแล้ว     นักบินที่ผ่านหลักสูตร  LIFT  แล้วจะต้องไปทำการบินเครื่องสเตลธ์ทันทีเลย    และไม่มีรุ่น 2 ที่นั่งเพื่อฝึกเปลี่ยนแบบ    ไม่มีการสะสมชั่วโมงบินและความชำนาญในเครื่อง  GEN 4   อีก ต่อไป    

    ดังนั้นเพื่อที่จะให้นักบินใหม่สามารถบินเครื่องสเตลธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรีดประสิทธิภาพเครื่องออกมาได้มากที่สุด     หลักสูตรการฝึกผมว่าน่าจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างมากครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/07/2013 00:14:10


ความคิดเห็นที่ 110


   เมื่อประเทศต้องประจำการด้วยเครื่อง  GEN 5  ใหม่ทั้งหมด  

หลักสูตรการฝึกและหลักนิยมในการฝึกนักบินขับไล่โจมตีคงได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่อง

และด้วยข้อกำหนดนี้เครื่องฝึกจึงต้องมีลักษณะไม่เหมือนเดิมครับ

จากข้อกำหนด  5  ข้อของ  T-X  program

-  เครื่องต้องรับแรง G ได้สูง

-  เครื่องจะต้องมีขีดความสามารถเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้

-  เครืองต้องสามารถทำการฝึกรบขับไล่สกัดกั้นได้

-  เครื่องต้องมีอุปกรณ์สำหรับมองกลางคืน  พูดง่ายๆปฏิบัติการกลางคืนได้

-  เครื่องต้องสามารถปฏิบัติการด้วยระบบ ดาต้าร์ลิ้งค์ได้

 

   5  ข้อนี้มันบ่งบอกแล้วนี่ครับว่านักบินฝึกต้องฝึกดังต่อไปนี้ก่อนจะไปบินเครื่องสเตลธ์

-  ฝึกเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจนชำนาญ

-  ฝึกการใช้ระบบ  data link  ในระบบ  NCW   ได้ในทุกภาระกิจอย่างคล่องแคล่ว    ดังนั้นเครื่องจึงต้องมีระบบรองรับ

-  ฝึกโจมตีภาคพื้นดินและการบินเกาะภูมิประเทศเพื่อเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศในเวลากลางคืน    ด้วยอุปกรณ์  night vision  สาระพัดแบบที่มีใช้บนเครื่องเสตลธ์     และต้องทำการเชื่อมด้วยระบบ  NCW  ตลอดเวลา    เช่น    ขณะบินเจาะ   ต้องพึ่งพาข้อมูลจากเครื่อง  AWAC   E-8  ด้วยระบบดาต้าร์ลิ้งค์    และอาจจะต้องปิดระบบเรด้าร์ด้วยในบางครั้งเพื่อความเงียบทางอิเลคทรอนิค   จึงต้องพึ่งพาข้อมูลจากเครื่อง  AWAC และ  E-8   เป็นอย่างมาก

-  ฝึกขับไล่สกัดกั้น    ที่ต้องพึ่งพาระบบ   NCW  มาก    เช่น   บินเข้าสกัดกั้นโดยปิดระบบเรด้าร์เพื่อความเงียบทางอิเลคทรอนิคและใช้ข้อได้เปรียบของเครื่องสเตลธ์ที่ตรวจจับได้ยากเพื่อป้องกันการถูกตรวจจับ    แล้วไปพึ่งพาเครื่อง   AWAC  ในการเวกเตอร์ให้   โดยผ่านระบบดาต้าร์ลิ้งค์     เมื่อจะต้องใช้อาวุธก็จะเปิดเรด้าร์และระบบตรวจจับในช่วงเวลาสั้นๆก่อนปล่อยอาวุธ     เมื่อปล่อยแล้ว  ก็ปิดระบบตรวจจับอีก  เป็นต้น

 

   การฝึกแบบนี้มันมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องฝึกที่มีประสิทธิภาพสูงพอๆกับเครื่องขับไล่โจมตีเบา    เพื่อให้นักบินมีความพร้อมสูงสุดก่อนไปบินกับเครื่องสเตลธ์ครับ

 

ในมุมมองผมนะครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/07/2013 00:31:12


ความคิดเห็นที่ 111


    และในการฝึกการสกัดกั้นในแบบเครื่องสเตลธ์และต้องการความสมจริงมากที่สุด (เครื่องสเตลธ์มีอัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนักตัวสูงมาก)  ดังนั้นเครื่องฝึกจึงต้องมีสมรรถนะใช้ได้ดีมากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

 

 ข้อกำหนด  5  ข้อ   มันบ่งบอกอะไรหลายอย่างกว่าที่เราคิดนะผมว่า    และด้วยข้อกำหนดเหล่านี้    ทางอเมริกาจึงต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงระดับเครื่องบินขับไล่เบา    จึงจะสามารถฝึกนักบินใหม่ให้มีความสามารถสูงเพียงพอที่จะไปบินเครื่องสเตลธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

   Yak-130   จากความต้องการของทอ.รัสเซียนั้น   ต้องการฝึกนักบินสำหรับเครื่อง  GEN 4  และ  GEN 5  ได้ด้วย    เครื่องมันจึงออกแนวๆเครื่องฝึกที่เพิ่มประสิทธิภาพในการบินกลางคืน    และข้อกำหนดชัดเจนของทางรัสเซียก็ต้องการให้มันมาเป็นเครื่องบินโจมตีเบาหลักได้ด้วย   ถ้าทดแทน  SU-25  ได้ด้วยก็ยิ่งดี   ( แต่ไม่ผ่าน )    ดังนั้นเครื่องรุ่นนี้จึงออกแบบสำหรับการฝึกและการโจมตีเท่านั้น     

 

  มันไม่ได้ออกแบบสำหรับฝึกนักบินเพื่อไปบินกับเครื่องสเตลธ์เพียงอย่างเดียวแบบอเมริกาเลย    ซึ่งมุมมองขานั้นคิดว่า    เครื่องฝึกที่จะทำให้นักบินมีประสิทธิภาพสูงพอไปบินกับเครื่องเสตลธ์ได้นั้น    ต้องมีประสิทธิภาพระดับเครื่องบินขับไล่เบากันเลย          

      และผมคิดว่าสำหรับรัสเซียแล้ว    นักบินที่จะไปบินเครื่องสเตลธ์คงต้องเป็นนักบินที่ผ่านเครื่อง  GEN 4  ในกองทัพมาอย่างโชกโชนเสียก่อน   ชั่วโมงบินสูง    จึงจะได้บิน     เพราะ ทอ.รัสเซียก็ยังไม่ได้มีแผนที่จะใช้เครื่องสเตลธืหมดทั้งกองทัพแบบอเมริกา

 

  ดังนั้นสำหรับผม  ถ้า ทอ.  วางแผนจะใช้เครื่อง  GEN 4.5  และ  GEN 5  เป็นเครื่องรบหลักของกองทัพ    ก็ควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องใช้   T-50  ครับ

  และนอกจากนี้    ด้วยเหตุผลของการเงิน    และต้องการให้ ทอ. มีขีดความสามารถสูงสุดด้วยเงินไม่มากเกินไป    เครื่องขับไล่โจมตีเบาที่พัฒนาจากเครื่องฝึก  T-50   น่าจะทำให้ ทอ. มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมากมายถ้าทดแทน  L-39   Alpha jet  ด้วยเครื่องฝึกตระกูลนี้ครับ

 

และคิดว่าสำหรับทอ. อเมริกา    เครื่องฝึกน่าจะมีสเปกประมาณ  T/A-50  ที่ติดตั้งเรด้าร์  APG-67 และระบบกระเปาะชี้เป้าเดินอากาศได้    แถมมีระบบดาต้าร์ลิ้งค์ด้วย    ซึ่งจะตรงกับข้อกำหนดของ  T-X  program  เป็นอย่างมาก

  เครื่องที่ดูจะมีสเปกตรงตามความต้องการรองลงมากน่าจะเป็น   Hawk  T2/128     ครับ    เพราะเครื่องตระกูลนี้มีรุ่นขับไล่โจมตีเบาด้วยนั่นคือ  Hawk-200      

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/07/2013 00:45:25


ความคิดเห็นที่ 112


  ดังนั้นด้วยเหตุผลในมุมมองของผมทั้งหมดจึงกล่าวได้ว่า

 

   M-346   แทบจะไม่มีโอกาสชนะในโปรแกรม  T-X   ได้เลยแม้แต่น้อยครับ

 

Hawk T2/128  ยังมีสิทธิลุ้นมากกว่า    

 

L-15   มีการออกแบบเผื่อสำหรับการเป็นเครื่องขับไล่โจมตีเบาได้ด้วย  และมีประสิทธิภาพทางการบินสูงกว่า  Yak-130     และจากการทีจีนนำเสนอ เครื่องต้นแบบที่คล้าย  F-35  และ  F-22   ดังนั้น   ผมว่าจีนเองคงมีเป้าหมายในการประจำการเครื่องบินในกองทัพของตนทั้งหมดด้วยเครื่องสเตลธ์เช่นเดียวกับอเมริกาครับ    L-15  จึงดูเหมือนออกแบบมาใกล้เคียงตามข้อกำหนด  T-X  มากกว่า  yak-130/M-346     แต่อย่างที่เพื่อนๆสมาชิกกล่าวไปครับ   ผมเห็นด้วยว่าโอกาสสำหรับ  L-15   ในบ้านเรามีน้อยจริงๆ

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/07/2013 01:04:38


ความคิดเห็นที่ 113


M-346 ในโครงการ T-X programe ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็น รุ่น T-100 โดย General Dynamics เป็นผู้อัพเกรด เพื่อให้คุณสมบัติเป็นไปตาม T-X Programe และจะทำการผลิตภายในประเทศ อเมริกา เองด้วยครับ

General Dynamics, Alenia Aermacchi Pursue T-X Trainer Program

January 18, 2013, 12:20 PM

General Dynamics and Italy’s Alenia Aermacchi signed a letter of intent to jointly offer a pilot training system built around Alenia Aermacchi’s M-346 advanced jet trainer for the U.S. Air Force’s T-X jet trainer replacement program. The partnership is the second industrial team to announce its pursuit of the T-X program after the team of BAE Systems and Northrop Grumman, which is offering the Hawk AJT (advanced jet trainer).

General Dynamics C4 Systems, based in Scottsdale, Ariz., would be the prime contractor for an integrated training program featuring Alenia Aermacchi’s twin-engine jet, designated T-100 for the U.S. requirement. The company would supply a system consisting of the aircraft, flight simulation devices, multi-media classes and logistics support. The T-X requirement is for 350 to 500 jets to replace the Air Force’s Northrop T-38C Talons, which are used as advanced jet trainers for fighter pilots.

Alenia Aermacchi is in the process of surveying potential sites for what would be a final assembly operation for the T-100 in the U.S., General Dynamics executives told AIN. “This will be a ‘made in the USA’ aircraft,” said Chris Marzilli, president of C4 Systems. “A lot of the supply chain is already sourced in the U.S., and there will be arrangements to assemble it stateside, fairly quickly into the build quantity.”

The Air Force will conduct a T-X industry day later this month at Wright-Patterson AFB in Ohio. Executives said they hope to learn more about the program status there, including the timing of a draft request for proposals. “They have advertised 2020 as an IOC [initial operational capability], so you would expect we’d have to get to draft material later this year,” said Mike DiBiase, General Dynamics T-X program vice president. He said there is research, development test and evaluation funding for the T-X in Fiscal Years 2013 to 2015, with increased funding thereafter. “It’s a low-level effort in the next two to three fiscal years and then it gets significant funding really quickly,” he said.

The air forces of Italy, Singapore and Israel have ordered the M-346. ST Aerospace serves as the prime contractor on the industrial team providing 12 jet trainers to the Republic of Singapore Air Force, with Alenia Aermacchi supplying the aircraft and Boeing the training system. Marzilli said Alenia Aermacchi “sought out General Dynamics,” for the U.S. program. “They did their homework on what primes would be competitive and compelling, and we made the cut,” he said. “It was quite a natural marriage.” Boeing may still be considering whether to bid an all-new design for the T-X.

In September 2011, BAE Systems and Northrop Grumman announced a partnership to offer BAE’s Hawk AJT for the T-X requirement. Their system is based on the Hawk TMk2 flown by the UK Royal Air Force. BAE later named L-3 Link Simulation & Training to supply the ground-based training system.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 07:02:25


ความคิดเห็นที่ 114


สำหรับการจัดหา Super Tucano ของ สหรัฐ ถูกระงับโครงการไปแล้วครับ...โดยการคัดค้านของอุตสากรรมภายในประเทศครับ...โดยตอนนี้ ได้เลือก Texan II มาแทน ครับ...ซึ่งผมก็มองว่า ฝูงบินเครื่องบินโจมตีเบา ในอนาคต น่าจะเปลี่ยนเป็น เครื่องแบบ เทอร์โบพร๊อพ และ UAV ก็อยู่ที่ว่า เครื่องเทอร์โบพร๊อพ จะเป็น Super Tucano หรือ Texan II...น่าจะทดแทน บ.แบบ L-39 และ Alpha Jet ซึ่งปัจจุบัน ก็ไม่มีประเทศไหน ที่มีการจัดหา บ.โจมตีเบา แบบเจ็ต แล้ว และตลาดในปัจจุบัน ก็ไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น มีเพียง บ.ฝึกขับไล่ แบบ Lead In Fighter Trainer ที่กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม ในการอัพเกรด...

Super Tucano มีเพียง ทร.สหรัฐ ทีเช่ามา ทดสอบ จาก บราซิล ตามโครงการ Imminent Fury Programe ซึ่งคุณสมบัติ ก็เป็นที่น่าพอใจครับ แต่ไม่ผ่านการคัดค้านของอุตาสาหกรรมเครื่องบินภายในประเทศเอง...เพราะถ้า Super Tucano ได้ประจำการใน สหรัฐ ก็น่าจะเป็นไปได้ว่า อนาคตของ Texan II คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่...(เพราะ แพงกว่า และสมรรถนะ ด้อยกว่า)

http://www.thaifighterclub.org/webboard/10910/Imminent-Fury-Super-Tucano-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 07:12:43


ความคิดเห็นที่ 115


อ้าวเหรอ ผมนึกว่าโดนระงับโครงการไปปีที่แล้วแต่ว่าปีนี้เปลี่ยนใจสั่งใหม่เสียอีก เพราะเห็นมี2ดีลในเว็บที่อเมริกาจะสั่งซื้อหนะครับ  super tocanoราคาล่าสุดมันแพงได้ใจดีแล้วไอ้Texan IIมันยังแพงกว่าอีกเหรอ พระเจ้า อเมริกาก็ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศไม่ต่างจากที่อื่นเหมือนกันแอะ เช้าวันนี้ฝนตกเอาข่าวล่าสุดของฟิลิปปินส์มาเสนอบ้างแล้วกันของเมื่อวานนี้เอง เปิดไปหน้า 28ของลิงค์นะครับ

 

http://www.scribd.com/doc/155290085/July-22-2013-Sona-2013-Technical-Report

 

The Philippines is currently negotiating the procurement of 12 unitsof F/A-50 aircraft from the Republic of Korea with a total cost of P18.98 billion (P1.58 billion/unit)

 

แปลงค่าเงินมาเท่ากับ437ล้านดอล หรือลำละ 36.38 ล้านดอล ตกลงใกล้ปิดดีลแล้วสินะ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 23/07/2013 09:24:27


ความคิดเห็นที่ 116


อ่อ...ข้อมูลผมน่าจะเป็นของเก่าแล้ว สำหรับ Super tucano....ลองหาดูข่าวใหม่...เหมือนกับว่า ตอนนี้ รอการตัดสินของศาลของสหรัฐ...ยังลูกผี ลูกคน อยู่เหมือนกัน...สำหรับ lot จำนวน 20 ลำ นี้...แต่ ทอ.สหรัฐ ยังคงให้ บ.Sieera Navada ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งศาลตัดสินออกมา...โดยตามแผนจะเริ่มส่งมอบให้ กองทัพอากาศอัฟกานิสถาน ในปีหน้า ก่อนที่สหรัฐ จะถอนตัวออกมา

Federal Claims Court Clears Way For Continued Light Air Support Work

By Amy Butler

Source: Aerospace Daily & Defense Report

April 22, 2013

The U.S. Federal Claims Court has ruled that the U.S. Air Force rightly allowed Sierra Nevada and Embraer to continue work on the first 20 A-29 Super Tucanos for the Light Air Support (LAS) program, despite protests by losing bidder Beechcraft.

The decision clears the way for the winning team to continue pushing to deliver aircraft for use in Afghanistan next year.

Beechcraft, which emerged from bankruptcy earlier this year, protested its February loss of the $427.5 million LAS contract with the Government Accountability Office. The company also filed suit in federal court requesting the service halt Sierra Nevada’s work pending the outcome of the GAO review.

The service had directed the winning bidder to continue work — counter to typical procedure in the case of a protest — citing an urgent need for the aircraft. They will be used by Afghan forces for light attack missions as the U.S. Air Force pulls out of the region in 2014.

“While we reluctantly accept the court’s opinion, we will continue to contest this award through the GAO and as a program of record for building partnership capacity with other nations that desire Light Air Support aircraft,” Beechcraft says in a statement.

Company officials object to their loss, claiming the AT-6 offering was substantially less expensive and that U.S. aerospace jobs are at risk given the choice of the Embraer platform. Jobs, however, were not a factor in the source selection and pricing was weighed against the utility of the aircraft.

The court ruling is a significant win for the Air Force. Its acquisition corps has been embarrassed by some high-profile procurement missteps that dragged out source selections and delivery of combat rescue helicopters and aerial refuelers critical to their missions. Air Force officials have been working hard to improve training for their procurement ranks and shore up oversight for buying decisions for several years.

“Sierra Nevada Corp. will continue work on the LAS contract while Beechcraft’s bid protest proceeds at the Government Accountability Office, which will decide the merits of the protest,” says Ed Gulick, an Air Force spokesman. “Continued work on the LAS contract honors the U.S. Air Force’s critical and time-sensitive commitment to provide air support capability to the Afghan Air Force.”

Though Sierra Nevada’s win is for the first 20 aircraft, the total value of LAS could reach nearly $1 billion if other allies opt to purchase the A-29.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 10:14:55


ความคิดเห็นที่ 117


ผมขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ

คือผมอยากทราบว่าความจำเป็นในการที่มีบ.โจมตีเบา มีมากน้อยแค่ไหนครับและเพราะอะไร

แล้วเป็นไปได้ไหมครับถ้าสมมุติว่าจะเป็นแบบนี้

PC-9 --------> L-15 / T-50 / M-346 / YAK-130/ BAE ----------> F-16 / JAS-39

หมวดตรงกลางเป็นแค่บ.ฝึกขั้นสูงเฉยๆนะครับ

ที่ผมถามแบบนี้เผื่อว่าถ้าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องมีขนาดนั้น เราจะได้ประหยัดงบกันได้มากขึ้นแล้วเอาไปทำอย่างอื่นต่อ

โดยคุณ groundzero เมื่อวันที่ 23/07/2013 15:57:51


ความคิดเห็นที่ 118


ท่าน Neosiamese2 ไอ้ 5 ข้อกําหนดของ T-X programนิ ขอมูลมาจากเว็บไหนหรอครับ ขอดูลิงค์หน่อยครับ  อย่าบอกนะว่ามาจากเว็บ วิกิพีเดีย เพราะ อ้างอิงจาก คุณ z_tech แล้วขอมูลจากในนั้นเชื่อถือไม่ได้ 100% นะครับ แล้วก็ขออ้างอิงขอมูลจากคุณ juldas นะครับว่าทาง Alenia ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท  General Dynamicเพื่อสร้างรุ่น mod จาก M346 ที่เรียกว่า T-100 เพื่อให้มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของอเมริกา จากประโยคย์นี้ครับ :

“General Dynamics C4 Systems, based in Scottsdale, Ariz., would be the prime contractor for an integrated training program featuring Alenia Aermacchi’s twin-engine jet, designated T-100 for the U.S. requirement.”

 

เพราะฉะนั้นคุณ Neosiamese2 ไปกล่าวหา M346 ว่าไม่มีโอกาสชนะใน T-X program มันก็ไม่ถูกนะครับ อีกอย่างยังไม่มีการตัดสินอะไรสักอย่างครับ ยังอยู่ในระหว่างการแข็งขัน ผมว่าทุกบริษัทมีสิทธิ์และโอกาสเท่าเทียบกันหมดนะครับในการแข่งขัน เพราะต่างคนก็ต่างผลิต เครื่องบินที่เหมาะสมกับโปรแกรมนี้เพื่อมาสู้กัน  

โดยคุณ Airbus เมื่อวันที่ 23/07/2013 18:16:09


ความคิดเห็นที่ 119


ลองจัดทำ แผ่นภาพ ครับ....

ใส่ความเห็นส่่วนตัวไว้ครับ...ว่า ฝูง 411 น่าจะใช้ Super tucano สำหรับภัยลักษณะต่อต้านการก่อการร้าย และ ปราบปรามยาเสพติด...

เพราะจากโครงการที่รัฐบาล ทำโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง ไป เหนือ และ อิสาน และใต้...ลักษณะความเจริญทั้งในแง่การลงทุน และความขัดแย้งจากภายนอกประเทศที่จะทำลายผลประโยชน์ระหว่างคู่ขัดแย้ง น่าจะมีโอกาสภัยความคุกคามมากขึ้น...ซึ่ง มองดูแนวโน้มว่า เชียงใหม่ น่าจะเป็นเมืองใหญ่สำคัญทางเศรษฐกิจต่อไป ในอนาคต ครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 19:04:53


ความคิดเห็นที่ 120


ตอนนี้ ลอง เดา ในระยะอีก 10 ปี ข้างหน้า โดยฝุงบิน ที่ต้องใช้งบประมาณ คือ 211 และ 401 รวมถึง 411....

การคาดเดา ในขณะนี้ คือ ทอ. จัดหา บ.ใหม่อีก 3 ฝูง ประกอบด้วย

1. L-15 สำหรับ ทดแทน L-39 โดยใส่ฝุง 101 แทนฝูง 401 เพื่อฝึกนักบินบรรจุ F-16 และ Jas-39 วงเงินประมาณ 350 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 11,000 ล้านบาท

2. Super Tucano สำหรับ ฝูง 411 จำนวน 12 ลำ วงเงินประมาณ 160 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 5,000 ล้านบาท

3. Jas-39 C/D สำหรับฝูง 102 จำนวน 12 ลำ รวม S-100 Erieye จำนวน 2 ลำ (บรรจุฝูง 402) วงเงินประมาณ 1,100 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 34,000 ล้านบาท

รวมวงเงินงบประมาณ 50,000 ล้านบาท

โดย ฝูง 211 จัดเครื่องบินแบ่งจาก ฝูง 103 เพื่อทดแทน F-5E/F ที่น่าจะไม่มีการอัพเกรดยืดอายุใช้งานอีก....

และ หลังจากนี้ อีก 15 ปี ประมาณปี 2572 ก็เริ่มโครงการจัดหา บ.ทดแทน ฝูง 103 ต่อไป....

ดังนั้น บ.ฝึกขับไล่ใหม่ น่าจะอยู่ใน ฝุง 101 เพื่อฝึกนักบิน สำหรับฝูง 102 (Jas-39) และ ฝูง 103 (F-16) โดย ฝูง 403 และ ฝูง 211 จะรองรับนักบินจากฝูง 103


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 19:20:06


ความคิดเห็นที่ 121


โดย ฝูง 402 ที่เป็น S-100 Erieye จะคงลักษณะฝูงเป็น AEW&C แบบเดียวกับ ทอ.ปากีสถาน

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 19:27:21


ความคิดเห็นที่ 122


แผ่นภาพ ในการ เดา ณ ขณะนี้

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 19:59:07


ความคิดเห็นที่ 123


หลังปี 2572 เป็นต้นไป

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 20:43:32


ความคิดเห็นที่ 124


แก้ไขใหม่ ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/07/2013 23:20:59


ความคิดเห็นที่ 125


ผมขอเสนอในอีกแง่มุมครับ โดยเพื่อให้ใช้งบน้อยที่สุด  มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีส่วนพึ่งตนเองได้ ผมเสนออย่างนี้ว่า ฝูงบิน 102 ตอนนี้มี F16A/B รวม 24 เครื่อง (รวมที่ได้จากสิงค์โปร์) ผมจะแบ่งเป็น 2 ฝูงๆล่ะ 12 เครื่อง ไปแทน F5 ที่อุบล , L39 ที่เชียงใหม่ แล้วซื้อ Jas39 C/D 12 เครื่อง + Ericeye 2 เครื่อง มาแทนที่ฝูง 102  ส่วน Tocano ผมคงไม่จัดหา แต่จะใช้บริการ บ.ทอ6 พัฒนาเป็นรุ่นตรวจการณ์/โจมตี สัก 2 ฝูงๆ 12 เครื่อง และแบบฝึกอีกสัก 2 ฝูง 24 เครื่อง  แถมอีกนิดผลิตให้ ทร. ทดแทน บ.ตรวจการทางทะเลแบบเก่าอีก 2 ฝูง 24 เครื่อง ครับ   หลักการผมคือ บ. ตรวจการณ์/โจมตี ไม่จำเป็นต้องแพงหรือดีมากมายอะไร มุ่งไปที่การมีเครื่องบินขับไล่การครองอากาศหลักก่อนอย่าง JAS39  F16MLU เป็นต้น  ภาพรวมเป็นดังนี้ ครับ

ฝูง 101   L15   16

ฝูง 102   Jas39   12 + Ericeye 2

ฝูง  103   F16 ADF  14

ฝูง  211   F16 A/B  12

ฝูง  231   Alphajet   16-20

ฝูง   403  F16 MLU  17

ฝูง  701  Jas 39C/D 12 + Ericeye 2

ฝูงบิน UAV ตรวจการณ์ / โจมตี  1 ฝูง  12

ฝูงบินฝึก ทอ.   PC9  XX + บ.ทอ 6   16

ฝูงตรวจการณ์/โจมตี  ทอ. 2 ฝูง  24 เครื่อง (เอาไปไว้ที่ กองบิน 56 หาดใหญ่สักฝูง)

แถมด้วยฝูงตรวจการณ์ / โจมตีทางทะเล  ทร. 2 ฝูง 24 เครื่อง

  แบบนี้เป็นอย่างไร ครับ

 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 24/07/2013 11:26:23


ความคิดเห็นที่ 126


ท่าน Juldas รูป Erieye ของปากีสถานนั้นเป็น SAAB 2000 AEW ครับ ใช้ตัวเครื่องบินรุ่น SAAB 2000 ที่ลำใหญ่กว่า และเครื่องยนต์แบบเทอร์โบพร๊อบ ส่วนระบบของ Erieye S-100 นั้นเป็นรุ่นพื้นฐานตัวเดียวกับที่เราได้มา น่าจะเป็นรุ่น

ซึ่งเจ้า S-100B AEW จะใช้การเชื่อมต่อระบบการส่งข้อมูล Data Link กับศูนย์ควบคุมสั่งการภาคพื้นดินผ่านทาง Link E คือจะเป็นเพียงแค่ AEW (ไม่มีระบบ Control อยู่บนเครื่อง)

รุ่นถัดมาคือ S-100D AEW&C หรือ SAAB 340 AEW-200 เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถในการ "ตรวจพิสูจน์เป้าหมาย" ได้ไกลถึง 250 ไมล์ทะเล (450 กม.) มีคอนโซลควบคุมและสั่งการเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ชุด

และรุ่นล่าสุดคือ SAAB 340 AEW-300 ได้มีการเพิ่มคอนโซลควบคุมจากรุ่น AEW-200 อีก 1 ชุด(รวมเป็น 3 ชุด) เพิ่มระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบก้าวหน้า IFF mod.4 รวมทั้งระบบสื่อสารใหม่และระบบ Link 16 เพื่อให้สามารถปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินและสถานีภาคพื้นของประเทศ พันธมิตรได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เตรียมการเพื่อรองรับการติดตั้งระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม (SATCOM) ไว้อีกด้วย

จากทั้งหมดผมเข้าใจว่าเครื่อง AEW&C ที่ท่าน Juldas คิดว่าจะเอาไปใส่ไว้ที่ฝูง 402 ก็น่าจะหมายถึง SAAB 340 AEW-300 มากที่สุด เพียงแต่น่าจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องบินที่ลำใหญ่กว่าบินได้ไกลและนานกว่าเจ้า SAAB 340 ซึ่งก็อาจจะเป็น SAAB 2000 AEW&C เหมือนของปากีสถาน...ใช่ไหมครับ ???

ref. : http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=97:---2555&catid=41:magazine&Itemid=112




โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 24/07/2013 12:09:32


ความคิดเห็นที่ 127


ผมให้ความหมายในภาพรวม น่ะครับ...

ในฝูง 702 ยังเป็น AEW ยังไม่มี C...แต่ล่าสุดถ้าผมจำไม่ผิดในเวีป TAF ว่า ทอ.มีโครงการจะเพิ่ม C เข้ามา...

ซึ่งเมื่อในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อ ทอ.พัฒนา Link ของ ทอ. (ซึ่งน่าจะสมบูรณ์ระดับใช้งานได้แล้ว)...

การจัดหา AEW&C ก็คงมี ลักษณะการทำงาน เหมือนกับ Saab-2000 AEW&C ของ ทอ.ปากีสถาน น่ะครับ...คือ มันคงไม่จำเพาะว่า ต้องเฉพาะ Gripen...

โดย ทอ. คงจัดหาในรุ่นเดิม คือ S-100 แต่ทำหน้าที่ แจ้งเตือน และควบคุม (AEW&C) ให้กับ ฝูง Fighter และ Attack โดยผ่าน Link ของ ทอ.เอง ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/07/2013 12:21:14


ความคิดเห็นที่ 128


ก่อนที่ท่านๆจะไปไกลกันมากไปกว่านี้ ผมขออนุญาตวนกลับมาที่ประเด็นหลักของกระทู้นี้นะครับ

ผมไม่ได้มีอคติอะไรกับ T-50 นะครับแต่อยากถามความเห็นท่านทั้งหลายว่าสิ่งที่เรากำลังมองกันอยู่มันเหมาะสมแล้วจริงๆหรอ

ถ้าสมมุติว่า T-50 มาแทน L-39 จริงๆ ท่านคิดอย่างไรกับช่องว่างระหว่าง PC-9 ไป T-50 มันไม่ใหญ่ไปหรอครับเนื่องด้วยศักยภาพที่สูงมากใกล้เคียงกับ fighter ของ T-50 มันจะยากไปไหมสำหรับการฝึกจาก PC-9 ไป T-50

โดยคุณ unmanned เมื่อวันที่ 24/07/2013 16:15:02


ความคิดเห็นที่ 129


แล้วท่านมีความเห็นว่าอย่างไรกับข่าวนี้ที่สื่อดังของเกาหลีเขียน

ผมได้เน้นย้ำในประโยคที่ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวและอยากทราบความเห็นท่านทั้งหล่ายครับ

ซึ่งประเด็นที่สอดคล้องกับคำถามของผมเมื่อข้างต้นคือ ผู้เชี่ยวชาญทางทหารของเกาหลีได้ออกมากล่าวว่า

" สมรรถนะของ T-50 นั้นมีมากเกินความจำเป็นต่อจุดประสงฆ์ที่ต้องการฝึกนักบินให้มีพื้นฐานที่ดี การมี Supersonic นั้นไม่ได้หมายความว่าดีเพราะการฝึกขับเครื่องบินนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ มันเหมือนกับซื้อรถ Lamborghini มาสอนลูกขับรถยังไงยังงั้น "

 

Singapore Bid Set to Make or Break Advanced Trainer’s Future

By Kim Hyun-cheol
Staff Reporter

There are more reasons than meet the eye for last month's bidding failure of the T-50 Golden Eagle, Korea's advanced trainer jet, chief of which is its price policy shortcoming, experts say.

Korea Aerospace Industries (KAI), Korea's only aerospace firm, lost in a competition to supply next-generation military jet trainers to the United Arab Emirates (UAE). The Middle Eastern country selected the M-346, by Italy's Alenia Aermacchi, as the preferred aircraft in the $1.3 billion deal, which included the building of 48 jets.

``Although the UAE acknowledged the T-50 has remarkably high quality, the country apparently put more value on cooperative projects in the aerospace industry that the Italian side pledged,'' the Ministry of Knowledge Economy said in a statement, which also pointed out a disadvantage in price.

A T-50 jet's flyaway cost is set at 20 billion won to 25 billion won ($13.5 - $16.9 million), while the M-346 costs 18 billion won to 20 billion won.


KAI said superiority in quality led to the higher price. The T-50's engine generates 1.4 times more power than the M-346, and the jet trainer's Mach 1.5 speed is superior to the Mach 0.9 of its Italian rival, according to the company.

A military expert claimed, however, that overly high quality led to failure in the end in a false effort to cram too much into a product that didn't need to be equipped with state-of-the-art features.

``It's just like trying to sell a Lamborghini to a driving school,'' military expert Kim Seong-jeon said. ``The market for trainer jets can't be a luxury market. Even its supersonic speed doesn't give it a critical edge because it's not pivotal for advanced trainer jets.''

Supersonic flights are not necessary in an advanced flight-training program, he added. The core elements of the course consist of in-air operation, take-off and landing, and blind flying.

Manufacturing of supersonic trainer jets ends in a steep surge of its prime cost due to the superfluous features, according to the former wing commander, and this makes it non-price competitive.

``The price gap between the two jets per unit makes a huge difference,'' Kim said. ``Some might say the government didn't give KAI enough support, but it makes no sense to blame it on a lack of marketing and other support as long as the product has a basic price problem.''

All of its problems trace back to its origins. The T-50's development originally started as a domestic supply scheme for the Korean Air Force, which strongly opposed the plan first because of small demand.

The Korean Air Force needs 50 trainer jets at most, and the interval between each procurement could be long, as they can be in use for over 40 years. Consequently, export emerged as the solution to keep the project going.

Advocates of the T-50 say once it blazes the selling trail, in spite of the price, there will be more opportunities in the global market.

An industry source, however, said on condition of anonymity that kind of logic ``could apply to the auto industry, where mass production is possible, but it's highly unlikely for trainer jets.''

``The overall size of the defense industry is shrinking across the world and trainer jets take up a very small and limited share of it. At the end of the day, Korea can't expect to export the T-50 in large quantities,'' he said.

โดยคุณ unmanned เมื่อวันที่ 24/07/2013 16:34:19


ความคิดเห็นที่ 130


เรื่องช่องว่าง ระหว่าง PC-9 กับ T-50 ในความเห็นผมว่า ไม่น่าจะมีช่องว่างในส่วนตรงนี้นะครับ...มันคงเหมือนกับในอดีต ที่่ฝึกกับ T-33 ซึ่งก็เป็น บ.ฝึกไอพ่น ที่ปรับแบบมาจาก บ.ขับไล่ F-80...

ซึ่งผมเห็นด้วยกับ บทความข้างต้น น่ะครับ....ว่า ม้นดูเกินความจำเป็นไปสำหรับ เครื่องบินฝึก ที่ค่าใช้จ่ายในการฝึกมันคงจะสูงเกิน เปรียบเหมือนการเอาเครื่องบินขับไล่จริง มาฝึกนักบินใหม่...ผมคิดว่า ค่าใช้จ่ายในการฝึกต่อชั่วโมงบิน ของ T-50 คงจะสูงกว่ามาก เมื่อคำนวณในระยะยาว ตลอดอายุใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง M-346 หรือ Hawk T2...

ซึ่งผมคิดว่า น่าจะเป็นในส่วนนี้แหล่ะครับ...ที่ T-50 ยังไม่ชนะดีล การจัดหา บ.ฝึกไอพ่นชั้นสูง ประเทศไหนเลย ยกเว้น แต่ อินโดนีเซีย...ที่มีการร่วมลงทุนในโครงการ F-X กับ เกาหลีใต้ เท่านั้น...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/07/2013 09:07:03


ความคิดเห็นที่ 131


ความเห็น ณ ขณะนี้ผมว่า

1. L-39 ZART ฝูงฝึก 401 น่าจะถูกแทนด้วย M-346  จำนวน 12 ลำเพื่อฝึกนักบินไปบินกับ JAS-39 C/D ,F-16 MLU และ FA-50

2. FA-50  24 ลำ จะมาแทน  F-5 และ L-39 ZART ฝูง 411 ฝูงละ 12 ลำ

3. AT-6 หรือ A-29 Super Tucano อาจจะไม่เกิด

 

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 25/07/2013 10:51:17


ความคิดเห็นที่ 132


ส่งถึงคุณ unmanned มันขึ้นอยู่กับว่าทอ.ไทยเราต้องการอะไรด้วย ต้องการเครื่องบินฝึกอย่างเดียว หรืออเนกประสงค์

T-50 เป็นทั้งเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง(สามารถใช้ทดแทน L-39 ได้ และแรงกว่าด้วย )

TA-50 เป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง+โจมตี (สามารถใช้ทดแทน Alpha-Jet และ L-39 ได้ แถมดีกว่าด้วย)

FA-50 เป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง+โจมตี+ขับไล่ (สามารถใช้ทดแทน F-5 ได้ และดีกว่าด้วย)

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นและอ็อฟชั่นของมัน

***ในแนวความคิดของผม***

สำหรับ T-50 เกินความจำเป็นไหมแรงเกินไปริเปล่าผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวหรอก ถ้าจะเปรียบเปรยกับการซื้อรถ แลมบูกินี แล้วราคามันไม่ต่างอะไรกันกับ อัลติส เป็นคุณๆจะเลือกซื้อ แลมบูกินี หรือ อัลติส ละครับ (นี่เป็นการเปรียบเปรยเท่านั้นนะครับ อย่าเลยเทิดไปถึงเรื่องค่าน้ำมัน)

เมื่อราคาที่ใกล้เคียงกันมาก ก็ต้องมาวัดกันที่ค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซ่อมบำรุง

  • ถ้าสมมุติว่า ราคา+ค่าซ่อมบำรุง T-50 vs M-346 ค่าความต่างT-50 สูงมากกว่ากันไม่เกิน 10%  เลือก T-50 ไม่ดีกว่าเหรอครับแรงกว่าบรรทุกหนักได้มากกว่า สมรรถนะ M-346 ด้อยกว่าทุกด้าน
  • ก็เพราะว่า M346 ด้อยกว่า T-50 ทุกด้านนี้แหละครับ ทาง Alenia Aermacchi  ถึงยอมตัดราคากลืนเลือดตัวเองยอมขาย M-346 ให้กับทาง UAE ในราคาต่อเครื่องที่ต่ำเอามากๆทั้งๆที่ต้นทุนการผลิตเครื่องบิน M-346 ในประเทศอิตาลีสูงเอาเรื่องอยู่พอสมควร (อ้างอิงข้อมูลจากคุณ woot1980)
  • เรื่องความยากระหว่าง Level ของเครื่อง PC-9 กระโดดข้ามไป T-50 ไม่เกี่ยวกันนะครับ เครื่องบิน บินได้เร็ว 1.5 มัค มันก็เปรียบเสมือนรถ แลมบูกินี ที่วิ่งได้เร็วเกือบ 300 กม./ชม แต่เวลาฝึกขับคุณก็ตั้งรอบเครื่องยนต์ให้ต่ำลงมาและใช้ความเร็วในการฝึกขับที่ 40-60 กม./ชม. ก็ได้นิครับแล้วค่อยฝึกขับโดยเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆตามชม.บิน

และได้เคยกล่าวไปแล้วก็คือ ทาง UAE ISRAEL และ สิงคโปร์ เหตุที่พวกเค้าเลือก M-346 นั้นเพราะเค้าต้องการเครื่องบินฝึกแบบเครื่องไอพ่นในระดับกลางครับไม่ต้องการในระดับสูง ดังนั้นความจำเป็นในเรื่องความเร็วและบรรทุกหนักจึงไม่ใช่ตัวแปรสำคัญในการเลือกเครื่องบินฝึกแบบ T-50 สำหรับประเทศเหล่านั้น

****แต่กับไทยเรามันเป็นประเภทชอบเรือพ่วงคือใช้ฝึกได้ด้วยและใช้ในสงครามได้อีกต่างหากเหมือนๆกับ L-39 นั้นแหละครับ ตอนแรกซื้อมาใช้ฝึกอย่างเดียวแล้วมา Mod ให้ใช้ในสงครามและติดอาวุธของสหรัฐได้ด้วยในภายหลัง  ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกแบบเครื่องบินของทาง ทอ.ด้วยว่าต้องการใช้งานในรูปแบบผสมเหมือนเดิมอีกหรือเปล่าเท่านั้นแหละ ถ้าเป็นในลักษณะดังกล่าว โอกาสเข้า win ของเครื่อง T-50 หรือ TA-50 ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงอยู่พอสมควรครับ แต่ถ้าซื้อ M-346 มาแล้วต้องมา Mod ให้ใช้ในสงครามกันอีกในภายหลัง เกรงจะเสียเงินซ้ำซ้อนหรือเปล่าเท่านั้นแหละครับ M-346 (อันนี่ไม่รู้นะว่า M-346 สามารถติดตั้งอาวุธอะไรได้บ้าง)

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 25/07/2013 13:44:12


ความคิดเห็นที่ 133


เกาหลีใต้และอินโดนีเซียมีการเตรียมนักบินรบบางฝูงด้วย KT-1 --> T-50 --> KFX(gen5) ดูจากขนาดแล้วน่าจะเป็นเครื่องบินมัลติโรลประเภทขับไล่สกัดกั้นโจมตีทิ้งระเบิดแบบF-16 หรือ GIRPEN มากกว่า ขับไล่ครองอากาศโจมตีทางลึกแบบ F-15 Su-30 นะครับ อีก7ปีคอยดูว่าจะคลอดออกมาหน้าเป็นอเมริกา(ซ้ายมือ)หรือยุโรป(ขวามือ) หรือมามันทั้ง2แบบ ยังไงเครื่องบินลำนี้ต้องเกิดให้ได้อย่างแน่นอนแม้จะไม่มีใครซื้อเพราะหมายถึงความมั่นคงของประเทศเขาด้วย ส่วนอินโดต้องการก้าวกระโดดอุตสาหกรรมการบินทางทหารจึงเข้ามาร่วมอย่างสุดลิ่ม แต่ประเทศอินโดพร้อมกว่าเราเยอะครับผลิตเครื่องบินได้เองมานานแสนนานแล้ว

 

T-50ใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกับกริเพนเลยมีค่าใช้จ่ายสุงกว่าเครื่องบินฝึกโดยทั่วไป แต่เกาหลีใต้ก้ไม่มีทางให้เลือกมากกับการสร้างเครื่องบินลำแรกของเขา อย่างน้อยที่สุดเครื่องบินฝึกT-50ทุกลำ จะสามารถเข็นเข้าโรงงานปรับปรุงเป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเล็กได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเหมาะสมกับประเทศที่สงครามเคาะประตูหน้าบ้านทุกวันแบบเขามาก

 

โอกาสT-50ในบ้านเราผมให้น้ำหนักไปที่ราคามากที่สุด  อันที่จริงก็ทุกยี่ห้อแหละครับถ้าตรงตามาตราฐานทอ.จะเลือกลำที่ราคาถุกกว่าชาวบ้าน เพียงแต่ประเทศเรามีฝูงบินรบที่ใกล้ปลดประจำการหลายฝูงทำให้เรื่องมันอีรุงตุงนังวุ่นวายไปหมด หลายๆคนอยากให้มีอุตสาหรกรรมการบินทางทหารเกิดขึ้นในประเทศเสียที(รวมทั้งผมด้วย) แต่อีก10ปีข้างหน้าเราจะพร้อมแล้วหรือยังสำหรับประกอบเครื่องบินไอพ่น ผมก็ยังไม่แน่ใจ

 

ทอ.6 ตอนนี้รอให้ลำที่2คลอดออกมาแล้วมีประสิทธิภาพสมเหตุสมผลจนผ่านกระประเมินเสียก่อน บางทีทอ.อาจตัดสินใจผลิตเพิ่มอีกซัก10-15ลำก็ได้ แต่ก็แค่เครื่องบินใบพัดขั้นต้นเท่านั้นจะเอาไปติดอาวุธแบบ KA-1 ก็ต้องพัฒนากันอีกนาน  เอามาใช้เป็นเครื่องบินตรวจการณ์หรือธุรการก็ยังดี นอกจากมีไม้ตายคือส่งให้เอกชนผลิตขายพลเรือนทั่วไปด้วยแบบนี้อาจจมีลูกค้าในประเทศเพิ่ม แต่ก็ยากนะเพราะคงทำราคาสู้เจ้าเก่าๆไม่ได้

 

ส่วนเครื่องบินจากอิตาลีเคยอกหักอย่างแรงในบ้านเรามาแล้ว ถ้าเขาต้องการแจ้งเกิดจริงๆต้องลดราคาสู้กันสุดๆหละครับ นอกจากมีแผน2คือขายเครื่องบินมือ2ที่ทอ.อิตาลีต้องการลดจำนวนลงแบบนี้มีโอกาสสุงแน่ครับ 5555

 

เครื่องบินฝึกอย่างเดียวผมรู้สึกเฉยๆนะแบบไหนก้ไม่ต่างกันหรอก แต่ถ้าฝึกด้วยรบด้วยดัดแปลงได้ง่ายแบบอัลฟ่าเจ๊ตนี่ใช่เลย แล้วถ้าได้ของถูกก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่  ประเทศเราไม่ควรลงทุนไปกับเครื่องบินฝึกราคาแพงๆมากนักหรอก นักบินของเราควรจะลำบากลำบนในตอนฝึกให้มากๆจะได้เก่งและอาตัวรอดได้ดีในตอนรบกันจริงๆ อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับไม่มีเหตผลอะไรประกอบทั้งสิ้น 

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/07/2013 15:07:47


ความคิดเห็นที่ 134


.....

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 26/07/2013 11:31:17


ความคิดเห็นที่ 135


ถ้าหากเกาหลีใต้เสนอ T-50 , T/A-50 ให้ทอ.ด้วยราคาพิเศษและเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ KFX ไปกับเขาด้วยล่ะครับ เพราะล่าสุดเราก็เพิ่งลงนามความร่วมมือในการพัฒนาระบบการป้องกันประเทศกับเกาหลีใต้ไปเมื่อเร็วๆนี้ ผมว่าถ้าเป็นแบบนี้ล่ะก็ มันจะเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจมากๆเลยนะครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 26/07/2013 12:09:05


ความคิดเห็นที่ 136


หากแอฟริกาใต้จะขาย jas มือสอง ไม่คิดว่า ทอ จะโยกงบไปจัดหา jas มาก่อนหรือครับ เพราะที่หลายๆท่านบอกว่าในอนาคต ทอ จะเอา jasc/d มาแทน f16 ผมยังงงว่าจะหาjas cd มาจากไหน ตอนนั้นของใหม่คงมีแต่ ng มือสองคงมีแค่ของ อาฟริกาใต้นี่แหละ ส่วน บ gen5 ยังไงก็ต้องมาครับ จะF35หรือจะ บ จีน หรือ รัสเซีย (หรือเกาหลี) เท่านั้นเอง เพราะ เวียดนามคงมี pak50 แน่ๆ หาก ทอ ประจำการด้วย T/F50 คงไม่ไหว 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 26/07/2013 17:17:28


ความคิดเห็นที่ 137


ในความคิดของผมที่ได้เคยบอกไปแล้วว่ารุ่น F/A-50 ทางทอ.ไทยไม่น่าจะคัดเลือกมาครับ แต่ถ้ารุ่น T-50 หรือ TA-50 ที่จะเข้ามาแทนที่ L-39 ฝูงบิน 401 กับ 411 และ ALPHA-JET ฝูงบิน 231 ในอนาคต มีโอกาสที่จะมาอยู่ครับ

และคิดว่าเครื่องบิน Jas-39 ซึ่งน่าจะเป็น รุ่น NG เพราะเชื่อว่า Saab คงจะปิดสายการผลิตรุ่น C/D ในระยะเวลาอันใกล้นี้ และ JAS-39 NG ฝูงที่ 2 และ 3 น่าจะเข้ามาประจำการแทนที่เครื่อง F-5 Tigris  ฝูงบิน 211 ที่เหลืออยู่ทั้งหมด ในอีกประมาณไม่เกิน 10 ปีหลังจากนี้ เพราะเพิ่งจะว่าจ้างบริษัทอิสราเอลเจ้าเก่าให้มา mod ไปเมื่อไม่นานมานี้เอง มากกว่าที่จะมาทดแทนเครื่องบิน F-16 ครับเพราะ F-16 รุ่น MLU ยังน่าจะใช้งานและประจำการอยู่อีกนานน่าจะมากกว่า 12-15 ปีขึ้นไปครับ ถ้าถึงตอนนั้นคิดว่า ทอ.ไทยเราน่าจะกำหนดสเปกส์เครื่องบินรบ Generation ที่ 5 ที่จะเข้ามาแทนที่เครื่อง F-16 ทั้งหมด แล้วครับ

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 26/07/2013 23:11:18


ความคิดเห็นที่ 138


 ท่าน   AIRBUS  ครับ     ผมลงลิ้งค์เอาไว้ชัดเจนแล้วในความเห็นตอนแรกที่มีการอธิบายโครงการ  T-X  program  ครับ       ก็มาจากวิกิพีเดียน่ะล่ะครับ

 

55555........โอกาสของ ทอ. ไทยมาแล้วครับ    จากกระทู้เรื่องอัฟริกาอยากขาย  Jas-39  ทิ้ง 

http://www.thaifighterclub.org/detail.php?questionid=17987

 

    ซึ่งแบบนี้เป็นการบีบ  SAAB  เป็นอย่างมากครับ    เพราะผู้ใช้จะน้อยลงเรื่อยๆ    ทำให้เราต่อรองกับ  SAAB  ได้มากขึ้น

กรณีที่เราไม่อยากพึ่งพาอเมริกาแอนด์เดอะแก๊งมากจนเกินไป    เครื่องของ  SAAB  ก็น่าจะเป็นเครื่องต่อรองได้ดีมากครับ   ก็อย่างที่บอก  เริ่มที่  3  ฝูงบินขับไล่สกัดกั้นก่อนก็ได้ครับ   

จริงๆผมชอบเครื่องแรงๆอย่าง  SU-30  และ  F-15E  มากครับ    แต่เพื่อการต่อรองและไม่เป็นการพึ่งพาอเมริกามากเกินไป   Jas-39  น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี

 

  ทางอัฟริกาต้องการขายครึ่งหนึ่ง หรือ ทั้งหมด   ผมว่า  ทอ.  ควรตัดสินใจสอยมาก่อนเลยครับ  12-14  เครื่อง   ผมเดาเอาว่า   ราคาขายมือสองควรอยู่ที่  50-60  ล้านเหรียญ     และเนื่องจากเป็นเครื่องที่ไม่ค่อยมีใครเล่น   ผิดกับ  F-16  SU-30   ดังนั้น   ทางเราน่าจะสามารถต่อรองได้มากว่าถ้าขายให้เราฝูงแรกก่อนในราคาน่าสนใจ   เกิดทางคุณอยากจะขายฝูงถัดมา   ผมก็ขอเหมาหมดครับ   

 ถ้าเราจัดหาจากเขาเหมาหมดยกแข่ง   26  ตัว   เมื่อรวมกับของเราอีก  12  ตัว   เป็น  38  ตัว       เราจะกลายเป็นลูกค้าที่มีเครื่องของเขามากจนทาง  SAAB  ต้องเกรงใจกันทีเดียว   และจะทำให้เราสามารถต่อรองเขาได้มากขึ้น    และถ้าเรายังดำรงฝูงละ  18  เครื่อง   โดยมีการจัดหาเพิ่มเติม(มือสองจากทอ.สวีเดน)   ให้ครบ  54 - 60  เครื่อง     จะยิ่งทวีความสำคัญของเราต่อ  SAAB  มากยิ่งขึ้นครับ

 

 

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/07/2013 23:43:54


ความคิดเห็นที่ 139


   ผมยังคงยืนยันการสนับสนุนเรื่องดำรงฝูงบินไว้  18-20  เครื่องต่อไปครับ   ด้วยเหตุผล  2 ข้อ

1.   เพื่อดำรงดุลอำนาจกับเพื่อนบ้าน   ที่นับวันกำลังเพิ่มเครื่องรุ่นใหม่ๆทั้งคุณภาพและจำนวน   และจำนวนฝูงบินของเพื่อนบ้านแถวนี้ก็เริ่มมากขึ้น   เช่น  ฟิลิปปินส์       เพราะภัยคุกคามจากจีนที่สูงมาก

2.  เพื่อให้จำนวนเครื่องมากพอที่จะสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศผู้ผลิตได้

 

  กรณีที่สองนั้น     จากข่าวทอ.อัฟริกาต้องการขายเครื่อง   Jas-39  ทิ้ง    ถ้าเราจัดหาจากเขาทั้งหมด   และดำรงฝูงบิน  18-20  เครื่องต่อฝูงต่อไป    ทางเราจะมี  Jas-39  54-60  เครื่อง   3 ฝูงบิน  

  และจากเหตุการนี้    เราควรจะจัดหา   T-50  และ  A-50  เพื่อทดแทน  L-39  และ  Alpha jet  จำนวน  3-4  ฝูงบิน  60 - 80  เครื่อง  จำนวนพอๆกันกับ  Jas-39    เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับทั้ง  SAAB  แห่งสวีเดน  และ  อเมริกัน + เกาหลี  ครับ     เพื่อเรียกรองเอาผลประโยชน์ทางอุตสาหกรรมให้มากที่สุด  ให้เราสามารถพึ่งพาตนเองหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนากับพวกเขาได้มากและเร็วที่สุดครับ

 

 

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/07/2013 23:54:41


ความคิดเห็นที่ 140


   ขอบคุณมากครับท่าน  Superboy  เรื่องรูปภาพของ  KFX

 

KFX  แบบเดิมที่เคยเห็นในเวปของทาง  KAI  ซึ่งบอกโร๊ดแม๊ปในการพัฒนา  T-50  ว่า   จะพัฒนาออกมาเป็นรุ่น  GEN-5  ด้วย    หน้าตาจะคล้าย  F-22  และมีขนาดพอๆกับ  F-16   ก็ไอ้ตัวนี้แหล่ะครับ

 

แต่ตอนหลังเห็นแผนแบบ  KFX  ใหม่ออกมาหน้าตาไปทาง   FS-2020  ผมก็เลยงงรับประทาน   และพี่แกก็เอาแผนภาพการพัฒนา  T-50  สำหรับ  GEN-5  ออกไป    แสดงว่าจะรวมไว้ที่โครงการ   KFX  ทั้งหมด

 

  ตัวแรกหน้าตาคล้าย  F-22   ตัวถัดมาคล้ายๆ  FS-2020  ของสวีเดน    ยิ่งมีข่าวว่าสวีเดนเสนอตัวช่วยพัฒนา  KFX  ด้วยแล้วน่าสนใจมากครับ      แสดงว่าตอนนี้เกาหลีมีทางเลือกในการพัฒนา  KFX  2 แนวทางคือ 

1.  เดินตามรอยอเมริกา  เป็นลูกกระจ๊อกอเมริกาและพึ่งพาอเมริกาต่อไป

2.  ให้  SAAB  จากสวีเดนมามีส่วนร่วมในการพัฒนาและทำตลาดร่วมกัน  และค่อยๆสลัดการพึ่งพาอเมริกาออกไป

 

          ซึ่งถ้าทางเกาหลีใต้เลือกทางเดินที่สอง    และทั้งสวีเดนกับเกาหลียุบโครงการ  FS-2020 กับ  KFX  มาเป็นโครงการเดียวกัน             แบบนี้ถ้าเราตัดสินใจในเรื่อง   Jas-39  ได้ถูกทาง  คือ  ซื้อ  Jas-39  มาให้ครบ  3 ฝูงบิน  54 - 60  เครื่อง     แบบนี้เราก็จะมีตัวเลือกในเครื่อง  GEN-5  เพิ่มเข้ามานอกเหนือจาก  F-35  ที่ผูกขาด      

  และถ้ามีการจัดหา  T-50  A-50  จากเกาหลี  60 -80  เครื่อง     เราก็จะมีอำนาจต่อรองหรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับ  เกาหลี + สวีเดนได้สูงครับ

 

  มาลุ้นกันต่อดีกว่า ว่าทางเกาหลีจะเลือกเดินแนวทาง  KFX  ไปทางไหนมากว่าครับ    ถ้ามาทาง  FS-2020  ของสวีเดนและมีการเจรจาร่วมกันพัฒนาเครื่องชนิดนี้ร่วมกันระหว่างเกาหลีและสวีเดน    Jas-39  ก็จะยิ่งน่าเล่นสำหรับเรามากขึ้นครับ    ถ้าออกมาทางนี้จริงและเราใช้  Jas-39  จำนวนมาก    แบบนี้น่าจะขอมีส่วนร่วมในโครงการ  KFX  ได้ไม่ยาก    ไม่ต้องง้อ  F-35  ด้วย

 

  ผมก็คิดแบบพ่อค้า   เกมส์แห่งการต่อรองผลประโยชน์   เพื่อให้ประเทศได้ผลประโยชน์สูงสุดครับ

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/07/2013 00:14:11


ความคิดเห็นที่ 141


   ส่วนเรื่องที่ผมยังทำนายว่า  T-50  มีโอกาสสูงสุดในโครงการ T-X  program   ผมว่าก็ยังคงเป็นเช่นเดิมครับ   และด้วยการที่  Super  tucano  เจอปัญหาทั้งๆที่เครื่องน่าจะดีตรงตามความต้องการมากกว่า    แต่เพราะอำนาจของผู้ผลิตในประเทศอเมริกาที่มีสูงมากในรัฐสภาและรัฐบาลอเมริกัน    

   สำหรับ  T-50  ก็คงไม่ต่างจากดีลของ  super tucano กับ  T-6  หรอกครับ    ยังไง  LOCKHEED  ก็เหนือกว่ามากอยู่เห็นๆครับ    F-16  นี่เริ่มพัฒนาโดย  GD นะ     แต่ไหงตอนนี้มาอยู่ในมือ  LM  ไปล่ะครับ

 

 กิน  LM  ยากส์์์  จนถึง  ยากส์มากครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/07/2013 00:37:51


ความคิดเห็นที่ 142


ผมเห็นต่างจากท่าน neosiamese2 ในเรื่องที่ว่า ถ้าเราจัดหา Gripen จาก สวีเดน จำนวนฝุงใหญ่ แล้วจะมีข้อต่อรองที่มากขึ้นนั้น...ผมว่า มันจะตรงกันข้ามครับ...

ถ้าประเทศไทย เป็นผู้ใช้รายใหญ่อยู่ประเทศเดียว...สวีเดน กลับจะมีอำนาจต่อรองมากกว่า ในเรื่อง การซ่อมบำรุง และอัพเกรด...เพราะมันเป็น สินค้าผูกขาด ไปแล้วครับ...เพราะ สวีเดน เป้าหมายแรก คือ การขาย...ต่อจากนั้น คือ การซ่อมบำรุง และอัพเกรด ที่ Saab จะมีรายได้ต่อเนื่อง...ถ้า สวีเดน เสนอราคาการซ่อมบำรุง และอัพเกรด มา...แล้วเราจะปฏิเสธอย่างไร ?...เพราะมันไม่มีคู่แข่ง ที่จะทำแทนได้นี่ครับ...และพวกอะไหล่ มันก็จะมีการผลิตอย่างจำกัด แถมยังเป็นฝูงบินรบหลักของประเทศอีกต่างหาก...

และ ไม่ว่าจะเป็น Gripen หรือ F-16 หรือ F-15 ก็หนีไปจาก สหรัฐ ไม่พ้นครับ...เพราะอุปกรณ์อิเลคทรอนิค รวมถึง เครื่องยนต์ ก็มาจาก สหรัฐ ทั้งนั้นน่ะครับ..ซึ่งผมมองว่า สิ่งที่เราซื้อมาจาก สวีเดน คือ ตัวเครือ่ง และระบบ Data Link เท่านั้นครับ...นอกนั้น คือ เราซื้ออุปกรณ์ประกอบจาก สหรัฐ และ อังกฤษ โดย ผ่าน สวีเดน...

ขนาดเราจะติดตั้ง AIM-9M กับ AIM-120 และ AGM-65...Saab ยังต้องขออนุมัติจาก สหรัฐ ก่อนครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/07/2013 07:19:21


ความคิดเห็นที่ 143


ผมมองว่าดังนี้

    เรื่องถ่วงดุลอำนาจกับเพื่อนบ้าน ผมมองที่จำนวนเครื่องที่มีทั้งหมด(รวมคุณภาพด้วย) มากกว่า จำนวนเครื่องต่อฝูงบิน นั่นคือ ผมยอมลดจำนวนเครื่องต่อฝูงลงจาก 18 เหลือ 12-14 เครื่องต่อฝูง แต่จำนวนฝูงต้องไม่ลด  ถ้ามี 7 ฝูงก็ 84-98 เครื่อง ผมว่าน่าจะเหมาะสมกับขนาดของไทย (ต้องรีบทยอยจัดหามาให้ครบใน 10ปี อาจจะมีมือสองบ้างตามงบประมาณ แล้วปีที่ 11 ขึ้นไป มองที่ Gen 5 หรือ Gen 4++)

   เรื่องแบบเครื่อง สำหรับผมในอีก 10  ปีข้างหน้า จะเครื่องหลัก 2 แบบ เท่านั้นคือ  F16 ทุกรุ่น 4 ฝูง 66 เครื่อง และ JAS39 ทุกรุ่น 3 ฝูง 36 เครื่อง

   เรื่องเครื่องฝึกบิน  ผมมองของที่มีอยู่น่าจะพอใช้ต่อไปได้อีก 10 ปี อาจยุบ L39 เหลือ ฝูงเดียว หรือ เอา Alphajet  มาใช้ฝึก โดยการนำไปปรับปรุงเล็กน้อยให้เหมาะกับการใช้ฝึกนักบินของ F16 Jas39 เท่านี้ก็พอ (ยังไม่ต้องรับจัดหาในตอนนี้)

   เรื่องการต่อรองกับสหรัฐ  การที่เรามีเครื่องบินหลัก 2 แบบจำนวนมากพอๆกันก็ช่วยในการต่อรองแล้วระดับหนึ่ง  แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันทุกยี่ห้อก็คงมีของอเมริกาผสมอยู่  แต่ที่เราต่อรองได้คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี  ของแถมในการขาย ราคาซ่อมบำรุง ต่างๆ ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 27/07/2013 08:32:05


ความคิดเห็นที่ 144


ขอต่ออีกหน่อยครับ

มาดูที่ปีที่ 11-20 ในแผนของผมจะยังมี 7 ฝูงบินรบ และ 1 ฝูงบินฝึก/โจมตี ประกอบด้วย

3 ฝูง Jas39C/D (เดิม)  36 เครื่อง

2 ฝูง Jas39 NG (จัดหาใหม่แทน F16AB) 24 เครื่อง

2 ฝูง Gen 5 หรือ Gen 4++ (แทน F16MLU , ADF) 24-28 เครื่อง ( ฝูงโคราช นครสวรรค์ 14 เครื่องต่อฝูง)

1 ฝูง L15 mod หรือ TA50  14-18 เครื่อง (แทน L39 , Alphajet)

   จะเห็นว่าใน 20 ปีจำนวนเครื่องบินลดลง  แต่เครื่องบินรบหลักลดลงน้อย( จาก 102 เหลือ 88 ) แต่จะลดเครื่องบินฝึก/โจมตีลงมาก (จาก 56 เหลือ 18)

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 27/07/2013 08:50:01


ความคิดเห็นที่ 145


   แล้วคำถามว่าสนามบินย่อยอื่นๆที่ไม่มีเครื่องประจำล่ะจะทำอย่างไร สำหรับผมทุกสนามบินต้องมีเครื่องประจำการตลอด เพื่อให้พร้อมใช้งานสนามบิน โดยจะต้องมีเครื่อง UAV , เครื่องบินใบพัดสำหรับตรวจการณ์/โจมตีเบาประจำการอยู่ แต่ไม่มาก 4-8 เครื่อง/สนามบิน แล้วให้เครื่องบินรบหลักสลับกันไปใช้สนามบินเพื่อฝึก ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 27/07/2013 08:56:25


ความคิดเห็นที่ 146


เครื่องบินในโครงการ KFX มีภาพออกมาเยอะพอสมควรแต่ข้อมูลยังเป็นภาษาเกาหลีเสียเยอะเลยไม่ค่อยเข้าใจ มีทีมงานพัฒนาคนหนึ่งคอยอัพเดทข้อมูลตลอดแหละครับ ในโครงการนี้ยังมีรุ่นเครื่องยนต์เดียวเหมาะสำหรับประเทศที่ต้องการความประหยัดแบบเราด้วย ติดแอมรามในท้องได้4นัดเพียงพอสำหรับการบินสกัดกั้นแบบเร่งด่วน ก็ต้องรอดูกันไปนะครับว่าจะเกิดขึ้นได้จริงมากน้อยแค่ไหน หวังว่าเกาหลีจะไม่ถังแตกไปเสียก่อนนะไม่อย่างนั้นก็ F-35 บินกันทั่วโลกแน่ ถึงจะมียอดเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัวแต่F-35กดราคาเครื่องเปล่าต่ำกว่า120ล้านเหรียญไม่ได้แน่นอน(ผมว่ามันน่าจะแพงกว่านี้อีกหน่อยนะ) ถ้าไทยซื้อก็แพงขึ้นไปอีกหน่อยและต่อคิวเขานานนิดหนึ่ง แต่อเมริกาขายแน่นอนครับอยู่เราะสู้ไหวหรือเปล่าเท่านั้นเอง

 

โครงการนี้ผมจิ๊ดตรงที่ใช้คำว่า KFX/IFX นี่แหละแต่ก็ยินดีกับอินโดเขาด้วยที่ไปไกลขนาดนี้แล้ว ถ้าเพื่อนๆอยากให้ไทยเข้าร่วมแล้วอยากใช้ชื่อรหัสว่า TFX ผมคงต้องแสดงความเสียใจเพราะตุรกีจองชื่อนี้แล้ว

 

ตลกร้ายเป็นอย่างมากก็คือมีมือดีตัดต่อภาพKFXไปเป็นTFXแล้วโพสไปเกลื่อนโลก ผมเห็นทีแรกยังตกใจเลยนึกว่ารวมโครงการกันแล้วเสียอีก ตุรกีสั่งซื้อ F-35 แต่ยังมีโครงการเครื่องบินGEN5ของตัวเอง มีรถถังของตัวเองและกำลังจะต่อเรือฟริเกตรุ่นใหม่ของตัวเอง ประเทศนี้ไม่ธรรมดาเหมือนกันนะเนี่ย

 

ภาพล่างเป็นการเปรียบเทียบกับเครื่องบินญี่ปุ่นครับ แต่ภาพโปรโมทของ ATD-X ดูจืดไปหน่อยเหมือนF-15ดัดแปลงเลย ตัวจริงดุกว่านี้นะและเล็กกว่าทุกลำพอๆกับF-16เลย



โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/07/2013 20:10:10


ความคิดเห็นที่ 147


ปัจจุบัน

L-39 ZA/ART  ฝูง 401 ภารกิจหลักคือ Lead-In

                         ฝูง 411 ภารกิจหลักคือ CAS

A-Jet                ฝูง 231 ภารกิจหลักคือ CAS

โครงการจัดหาตามหัวข้อกระทู้คือ เครื่อง Lead-In ใหม่เพื่อมาแทน L-39 ZA/ART ในฝูง 401 ตัวเกร็งหลักๆก็ตามที่เรากำลังพูดคุยกันอยู่   ไม่ว่าแบบไหนมา เชื่อว่า L-39 ZA/ART ในฝูง 401 ลำที่ยังพอเหลือชั่วโมงบินอยู่คงยุบไปรวมอยู่กับฝูง 411 เพื่อรอปลดพร้อมกัน,A-Jet ฝูง 231 ก็จะถึงเวลาปลดตามมา

ทีนี้เราคงต้องมาอ่านใจ ทอ.กันว่า ทอ.ยังคงมีความต้องการฝูงที่ใช้ บ.จ.ขนาดเบาเพื่อภารกิจ CAS โดยเฉพาะอยู่อีกหรือไม่  หรือจะใช้ฝูงมัลติโรลในฝูงขับไล่ที่เหลือสัก1ฝูงเพื่อรับภารกิจหลักเป็น CAS แทน

ถ้า ทอ.ยังมองว่าฝูง 411 และ 231 ยังคงจำเป็นต้องมี บ. ประจำการอยู่เพื่อภารกิจ CAS  ตัวเลือก บ.สำหรับโครงการ Lead-In Fighter ก็น่าจะต้องมองแบบที่ตอบโจทย์ภารกิจ CAS สำหรับ 411และ231 ในอนาคต เพื่อลดแบบของอากาศยานลง  แต่จำนวนมันก็ไม่น้อย  3 ฝูง 36-54 ลำ

ในขณะเดียวกันฝูงขับไล่ที่มีก็ยังมีความจำเป็นต้องจัดหาเพื่อทดแทนอีกอย่างน้อย 2 ฝูง คือ 102 และ 211 จำนวน 24-36 ลำ

ดูจำนวนเครื่องแล้วน่าปวดหัวในเรื่องงบประมาณ 1ฝูง Lead-In  2 ฝูง CAS และ 2 ฝูงมัลติโรล

ส่วนตัวถ้าให้คิดเล่นๆแทน ทอ. ก็คงมี 3 หนทางปฏิบัติ

หนทางฯ1

-ยังคง บ. ประจำการสำหรับ ฝูง 411และ231 ในภารกิจ CAS ถ้าหนทางฯนี้ ตัวเลือก T/A/F 50  ก็ดูจะน่าสนใจสำหรับทั้ง 3 ฝูง คือ 401,411และ231

หนทางฯ2

-ยุบฝูง 411และ231เป็นฝูงที่ไม่มี บ. ประจำการ บ.ที่ใช้อยู่ก็ใช้จนกว่าจะปลด ถ้าหนทางฯนี้ M346 ก็ดูจะน่าสนใจกว่าสำหรับฝูง 401

-แล้วมอบภารกิจCASให้ฝูงมัลติโรลสัก1ฝูงรับเป็นภารกิจหลักเช่น 103

หนทางฯ3

-ยังคงไว้ 1ฝูงสำหรับภารกิจ CAS(411หรือ231ฝูงไหนสัก1ฝูง) ถ้าหนทางฯนี้ตีกันมันส์ครับเพราะจะต้องมาคิดกันอีกว่าฝูงที่เลือกไว้ข้างต้นจะเป็น บ.เบาสำหรับ CAS หรือจะเป็นมัลติโรลสำหรับCAS

-ถ้าเป็น บ.เบาสำหรับ CAS T/A/F 50 ก็น่าเลือกสำหรับ 401 และ 411 หรือ 231 1ฝูงที่คงไว้

-ถ้าเป็น บ.มัลติโรลสำหรับ CAS M346 ก็น่าเลือกสำหรับ 401 ส่วน 411 หรือ 231 ที่คงไว้ 1 ฝูง ก็ประจำการด้วยเครื่องมัลติโรลแบบเดียวกับที่จะทดแทนใน 102 และ 211

 

ถ้าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ผมเลือก หนทางฯ3  เลือก Lead-In แท้ๆโดยไม่ต้องมองเรื่อง CAS สำหรับฝูง 401 แล้วหันมาลงทุนกับมัลติโรลใหม่ที่ต้องทดแทนในฝูง 102 และ 211 รวมไปถึงอีก 1 ฝูงสำหรับ 411 หรือ 231 ที่จะคงไว้และมอบภารกิจ CAS ให้เป็นภารกิจหลัก

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 27/07/2013 21:01:09


ความคิดเห็นที่ 148


ดูท่าทางแล้วทางเกาหลีใต้จะเอาแน่กับโครงการทั้งสอง (หรือไม่ก็อย่างใดอย่างหนึ่ง)

1) KFX/GSC (ดัดแปลงมาจาก F-35)

2) KFX/C100,C200 (ดัดแปลงมาจาก F-22)

คือเครื่องบินที่ผลิตในเกาหลีใต้แต่ได้รับเทคโนโลยีโดยส่วนใหญ่มาจากสหรัฐและสามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าสหรัฐมากครับ

ผมว่าทางทอ.เองก็คงจะให้ความสนใจแบรนด์เครื่องบินทางเกาหลีใต้อยู่พอสมควรครับ ถ้าหากเราเลือกเครื่องบินฝึกตามโครงการดังกล่าวจริง (T-50) เกาหลีใต้น่าจะเล็งความสำคัญมาที่ไทย ในเรื่องของเครื่องบินรบ Generation ที่ 5. เพื่อทดแทนเครื่องบิน F-16MLU ในอีก 15 ปีข้างหน้า

ก็ต้องมาดูกันว่าในอีก 5-7 ปีข้างหน้าโครงการทั้ง 2 ของเกาหลีใต้ ดังกล่าวจะมีความคืบหน้ามากน้อยแค่ไหน ถ้าหากโครงการทำได้จริงก็น่าสนับสนุนแบรนด์จากเกาหลีเป็นอย่างยิ่งครับ

ในส่วนของทาง Saab บอกตรงๆว่าถ้ารูปลักษณ์เครื่องบินรบ ตระกูล JAS ยังไม่การแปลงโฉมให้ดู Modern ดู stealh มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ยากที่จะมาทดแทนเครื่องบิน F-16MLU ได้ในอนาคต

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 29/07/2013 10:24:04


ความคิดเห็นที่ 149


มี2แบบที่ไหนหละครับท่านObeOne มี3แบบต่างหาก  อย่างที่ท่านนีโอพูดเอาไว้ T-50แปลงร่างปรากฎตัวขึ้นแล้วเมื่ออาทิตย์ก่อน โดยใช้ชื่อว่า KF-X-E  ถ้าลำนี้เกิดขึ้นมาได้จริงๆทอ.ยิ่งปวดหัวเข้าไปอีก อยู่ที่ว่าKAIจะสายป่านยาวแค่ไหนหรือมีผู้ร่วมลงทุนเพิ่มขึ้นก็คงดี วันไหนว่างๆผมรวบรวมข้อมูลเครื่องบินลำนี้มาตั้งกระทู้ดีกว่ามั้งครับเพราะมีญาติเยอะจริงๆ

 

http://www.aviationweek.com/Article.aspx?id=/article-xml/AW_07_22_2013_p33-598290.xml

July 22, 2013
Credit: KAI

Korea Aerospace Industries (KAI) has published a drawing of a moderately stealthy fighter concept based on its T-50 series of supersonic trainers and light-attack aircraft. The concept aircraft is far smaller and less ambitious than the all-new, twin-engine KF-X designs promoted by the Agency for Defense Development, the leading proponent of building an indigenous South Korea fighter.

Some South Korean industry officials doubt that the country has the technical resources to build the KF-X, especially if major civil aerospace programs go ahead at the same time; a 90-seat turboprop airliner is also proposed. But a KF-X derived from a current type would demand less engineering and may benefit from stronger pricing by avoiding competition with the Lockheed Martin F-35, although Saab is already in the market for advanced but moderately sized fighters with its Gripen E/F.

The T-50 and its FA-50 light fighter derivative are themselves based on the F-16 and were developed with help from Lockheed Martin, but the stealthy concept, called KF-X-E, departs from the F-16 planform used for the earlier aircraft. Some wing and fuselage edges are parallel, and the trailing edges of the main and tail planes are swept forward. The fuselage sides have chines. Nose volume of the KF-X-E appears to be small, limiting the size of the radar antenna, but the airframe seems to have more volume overall than the T-50, offering more space for internal fuel and thereby minimizing the need for external tanks and their radar reflections.

Retention of the single tail on the KF-X-E is emblematic of the limited ambition of the designers, who appear to have aimed at achieving a level of stealth above that of the Eurofighter Typhoon and Boeing F/A-18E/F Super Hornet but well below that of the Lockheed Martin F-22 and F-35. The latter two, like other stealth aircraft, have canted twin tail fins.

Similarly, the air inlets of the KF-X-E have boundary-layer diverters; recent stealth aircraft handle the boundary layer with aerodynamic shaping and no diverters. The KF-X-E may be too small for internal weapons stowage. No engine details are known, but South Korea may want to replace the T-50's General Electric F404, whose future application appears limited to the T-50 series, with another probably more powerful type. Candidates would include the GE F414 and Eurojet EJ200.

The winner of the separate F-X Phase 3 competition for 60 fighters—Lockheed Martin, Boeing or Eurofighter—is expected to support KF-X development. Each manufacturer has proposed a design. Lockheed Martin's could conceivably be similar to but a little larger than the KF-X-E by introducing stealth features into the design of the F-16. The result would still be a fighter well-differentiated from the F-35.

A key issue in developing the KF-X-E might be obtaining permission from Lockheed Martin, which presumably has intellectual property in the T-50 design or at least contractual rights to ensure that it does not become an F-16 competitor. Another obstacle is that the South Korean air force prefers twin-engine aircraft for the medium-fighter category that the KF-X would fill.

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 29/07/2013 20:28:44


ความคิดเห็นที่ 150


ขอโทษด้วยครับผมตามข่าวไม่ทันจริงๆ

แต่ผมว่า รุ่น KFX/GSC ดูดีกว่านะ รูปแบบคล้ายๆ กับ YF-23 ของนอร์ทธอป แต่ใช้เครื่องเดี่ยว

ส่วนเจ้า KF-X-E น่าจะเป็นการถอดแบบมาจาก YF-22 ของล็อกฮีต แต่ใช้เครื่องยนต์เดี่ยว

เกาหลีใต้มันบังคับหรือเปล่าหว่า ? ว่าถ้าจะใช้เครื่องบินเหล่านี้ต้องซื้อ T-50 ไปใช้เท่านั้น

แต่เจ้า KFX/C200 ดูดีเอามากๆเลย แต่เสียอย่างเล็กไปนิด ขนาดเกือบเท่ากันกับ F-35 แถมช่วงตัวสั้นกว่าด้วยครับ

 

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 30/07/2013 08:47:25


ความคิดเห็นที่ 151


เปรียบเทียบขนาดเครื่องบินของproject KFX/C100 และ C200 กับเครื่องชาติอื่นๆ





โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 30/07/2013 10:38:43


ความคิดเห็นที่ 152


เกี่ยวกับ KF-X program ครับ

โดยคุณ warmachine เมื่อวันที่ 31/07/2013 11:07:23


ความคิดเห็นที่ 153


ส่วนตัวผมชอบ T-50 กับ M346 นะครับ

โดยคุณ pomtep5555 เมื่อวันที่ 01/08/2013 08:04:18