จะเป็นไปได้ไหม ถ้าหากนำ yak-130 ผลิตในไทย แบบ m 346 ของอิตาลี เพื่อทดแทน ov-10,L-39,Alpha jet รวมทั้ง A-7 T-337 ของกองทัพเรือ เพื่อการก้าวอีกขั้นของกองทัพไทยในอนาคต
นั่นสิ หากทอ.ทำตามแผนภาพของท่าน Juldas มันจะกลายเป็น เพิ่มแบบบ. เพิ่มรายจ่าย สิ้นเปลืองงบประมาณ ตรงข้ามกับเจตนาในตอนแรกเลยนะครับ ผมว่าทอ.คงต้องมีแผนระยะยาวที่ชัดเจนก่อนว่า จะเลือกบ.ขับไล่หลักเป็นแบบใดบ้างจากตัวเลือก Gripen C/D , NG หรือ F-16E/F , V หรือ F-15SE หรือ F-35A แล้วย้อนกลับมาพิจารณาแผนการจัดหาบ.ฝึก/โจมตีเบา ให้สอดคล้องกันไป โดยส่วนตัวผมมองว่า F-35A นั้นยังอีกนานครับ บ.ขับไล่ฝูงต่อจากนี้ไปน่าจะประมาณ Gripen C/D , NG หรือ F-16E/F , V มากกว่า
ทำได้ครับแต่คงไม่ใช่ตอนนี้เพราะงบประมาณเราจำกัดครับและขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลครับ
ไว้รอลุ้นศูนย์ซ่อมอากาศยานของภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาลให้สำเร็จเป็นรูปธรรมก่อนดีกว่าครับค่อยๆเก็บองค์ความรู้ไปเพื่ออนาคตดีกว่ารีบวิ่งแล้วสะดุดขาตัวเองล้มแบบอินโดฯและตอนโปรเจ็คแฟนเทรนเนอร์ครับ
ผมว่าFA-50หรือT-50 จะดีกว่านะครับ ที่จะมาทดแทน L-39ZA/ART,Alpha Jet ที่กองทัพอากาศมีประจำการอยู่ก็รวมกันทั้งสองแบบก็ประมาณ55ลำ ซึ่งจะมาแทนพวกเครื่องบินฝึกกับโจมตีภาคพื้น ซึ่งผมว่าระหว่างYak-130กับFA-50 ถ้าเป็นผมจะเลือกFA-50สะมากกว่า เพราะFA-50นั้น ระบบส่วนมากจะอิงไปทางอเมริกาเป็นส่วนใหญ่แถมได้ราคาถูก ซึ่งสามารถไปเทียบกับของjas-39 ของเราก็เกือบจะได้เลยก็ว่าได้ อีกอย่างถ้ากองทัพเรือได้ประกาศผู้ชนะการต่อเรือฟริเกต เป็นเกาหลี พอเกาหลีได้งานใหญ่ๆ1งาน งานใหญ่ๆของกองทัพเรือและกองทัพอากาศก็จะตามมา และอาจจะมีการประกอบเครื่อง ที่ประเทศไทยก็ได้นะครับ แต่ถ้าเปิดสายการผลิตนี้ผมก็ไม่มั่นใจเท่าไหร่ส่วนYak-130นั้นระบบก็จะเป็นของรัสเซียซึ่งกองทัพอากาศไม่เคยเครื่องบินระบบรัสเซียมาก่อน ยกเว้นจะไปแบบM-346 ของอิตาลี ซึ่งระบบจะเป็นของยุโรป อันนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ไงแล้วผมว่ากองเกาหลีตอนนี้ อะไรมาก็แรงหมดแหละครับ ถ้ากองทัพอากาศประกอบเครื่องได้ กองทัพเรืออาจจะมาแจมก็ได้นะครับ และก็ถ้ากองทัพเรือกับกองทัพอากาศจับมือร่วมกันลงทุนในส่วนนี้ก็อาจจะเป้นไปได้ก็เช่นกัน
ตามความคิดผมนะ ผมว่า F/A-50 สิ้นเปลืองเกินไปที่จะเอามาทำเครื่องฝึกครับ เครื่องแรงเท่า jas-39 เลย แต่เป็นเครื่องฝึกเนี้ยนะ?
ถ้าเอามาใช้เป็นเครื่องโจมตีก็พอไหว แต่ถ้าฝึก ผมว่า เราซื้อ M346หรือ Yak-130 เปลี่ยนระบบ ดีกว่า
F/A 50 ใช้เครื่องยนต์แบบเดี่ยวกับ Gippen 39 แต่ F/A 50 ทำความเร็วได้ต่ำกว่ามาก
F/A 50 ราคา 45-50 ล้านดอล, Gippen 39 ราคา 65 ล้านดอล
ถ้าหากใช้เรด้าร์และบริภัณฑ์ต่างๆ แบบเดี่ยวกัน ราคา Gippen จะแพงกว่านิดหน่อยเท่านั้น
ถ้าไม่เป็นคนที่ลำเอียงจริงๆ น่าจะเลือกซื้อ Gippen จะดีกว่ามั่ง
(ผมจะเฝ้าดูว่าใครจะเป็นคนสั่งซื้อ F/A50) ซึ่งไม่น่าเกิดขึ้นได้ ตราบใดยังมี Gippen ขายอยู่
ไม่ต้องเถียงกัน เดียวม้าแดงก็มาหรอก (K-8) ไทยสั่ง 50 เครื่อง แถมอีก 1 โหล (ขำขำครับ)
โครงการทดแทน L-39 และ Alpha jet ก็คงอีกนานทีเดียวครับ ประมาณ 10 ปี ถ้าทดแทน 1 ต่อ 1 และเพิ่มในฝูงที่ขาดสำหรับ alpha jet ก็ไม่น้อยครับ L-39 40 เครื่อง และ alpha jet 2 ฝูง 40-50 เครื่อง รวมกัน 80-90 เครื่อง จำนวนมากพอที่จะเปิดสายการประกอบที่ TAI ได้ครับ แต่แนวนโยบายลดจำนวนเครื่องต่อฝูงลงกำลังมาแรง สวนกระแสเพื่อนบ้านเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและจำนวนรอรับภัยจากจีน ไทยเราอินดี้ครับ อินดี้จริงๆ ก็เลยไม่แน่ใจครับว่าเมื่อถึงเวลาจัดหา จะจัดหาแค่สักกี่เครื่องกันแน่ๆ
ก็หวังว่าโครงการนิคมอากาศยาน และเฟสแรกของศูนย์ซ่อมอากาศยานคงจะไม่ล้มครืนลงไปเป็นครั้งที่สองนะครับ และถ้าเฟสแรกผ่านโดยไร้ปัญหา ก็มาลุ้นว่าพวกญี่ปุ่นจะยังสนใจลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องบินในไทยต่อไปอีกหรือไม่ ถ้ายังลงทุนต่อแบบนี้ภายใน 10 ปี อาจจะมีลุ้นที่จะสามารถผลิตชิ้นส่วนและสร้างในนี้ได้ครับ
แต่บอกตรงๆ ลุ้นเหนื่อยมากๆ ยากกว่าอู่แห้งหมายเลข 2 ของทร. และลุ้นยากกว่าโรงงานผลิตยานเกราะและรถถังภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ไทย-ยูเครน ที่ดูจะราบลื่นดี
โอ้ยยย.....พิมพ์ตั้งนานสายหลุด หายหมด
เอาใหม่
ถ้าจะว่ากันตามสเปกความต้องการของ ทอ. และความเหมาะสมในภาระกิจฝึก LIFT M-346 เข้าตากรรมการทุกกรณี แด๊กขาด แต่เวลาเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยนแปลงได้
ราคา M-346 ตกประมาณ 21 ล้านยูโร ก็ ราวๆ 27 ล้านดอลล์ และจากดีลการขาย F/A-50 ให้ทอ.ฟิลิปปินส์ ก็ตกประมาณ 27 ล้านเหรียญ พอๆกัน และล่าสุด ทอ เกาหลีเพิ่งจัดหาเพิ่มอีก 1 พันล้านดอลล์ น่าจะประมาณ 30 กว่าเครื่อง ราคานี้ได้เรด้าร์ EL-2032 ที่เทียบเท่า APG-67 V-4 มาด้วย แต่ราคานี้ M-346 ไม่มีเรด้าร์ให้นะจ๊ะ กรวยเรโดมเปล่าๆ ราคาของเครื่องทั้งสองแบบที่กล่าวถึง น่าจะเป็นราคาตัวเปล่า เป็นการคาดการส่วนตัว ราคาแค่นี้จะเอาอ๊อปชั่นอะไรได้ โธ่เอ้ย
จากความแรงของเกาหลีที่เรียกได้ว่าแรงจริงๆ ขนาดเบียด type-054A จากจีนที่ว่าสายสัมพันธ์กับรัฐบาลแน่นปึ๊ก จนตกกระป๋องไปได้
ถ้าจบจากเรือฟรีเกต แล้วเรือดำน้ำเกิดเป็น DW-1400T มาจริง และมาต่อในไทยสัก 1 ลำเป็นอย่างน้อย สงสัย ทั้ง K-8 จากจีน และ M-346 อาจจะปิ๋วได้แบบชิว..ชิว
ถ้าจะใช้ K-8 มาเบียด ยากที่จะชนะครับ เครื่องคนละชั้นกันเลย เทียบไม่ได้กับทั้ง Yak-130 M-346 F/A/T-50 ผมว่าถ้าจีนจะส่งมาแข่งด้วย คงไม่พ้นรุ่นล่าสุดคือ L-15 ที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดกับ Yak-130 แต่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น ในราคาไม่หนี Yak-130 เลย แถมมีรุ่นขับไล่เบาและรุ่นโจมตีมาให้ด้วย เพื่อแข่งกับ F/A-50 เลย จน ยาโคแลฟเอง ต้องออกโรดแม๊ปการพัฒนาเครื่อง Yak-130 เป็น Yak-133 ซีรี่ย์ โดยเฉพาะ Yak-133 IB หวังจะให้เป็นเครื่องขับไล่เบาและโจมตีเทียบเท่า F/A-50 แต่ยังเป็นแปลนเขียวอยู่เลยมั๊ง ก็ขึ้นกับว่าจีนจะทำตลาด L-15 กระฉูดแค่ไหน ถ้ากระฉูดมากๆรับรองครับ ไม่นาน Yak-133 ซีรี่ย์ออกมาเบียดสู้อย่างรวดเร็วแน่ๆครับ
ขออภัยนิดหนึ่งครับ L-15 มีแผนการพัฒนารุ่นขับไล่เบาและโจมตีมาให้ด้วย คงยังอยู่ในขั้นตอนแบบพิมพ์เขียวอย่างเดียวกับ Yak-133 ล่ะครับ แต่ภายใน 10 ปีที่จะถึงนี้ คงมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วครับ เพราะ F/A-50 รุ่นแรกออกตลาดแล้ว และเริ่มขายแก่ตลาดต่างประเทศได้แล้วด้วย ซึ่งในค่ายตะวันออก จีน-รัสเซีย ก็มี 2 ตัวนี้แหล่ะที่จะวัดกับ F/A-50 คือ Yak-133 กับ L-15 รุ่นขับไล่เบาและโจมตี
สาวจีนคนใหม่สวยบาดใจใช้ได้เลยครับ ส่วนท่วงท่านั้น จากคลิปวีดีโอ พลิวด้อยกว่า F-16 ไม่มากนัก แต่ก็ดีกว่า yak-130/M346 ก็ไม่หนี T-50
อีก 10 เรามาลุ้นกันใหม่ครับ
....ต้องแยกให้ชัดเจน นะครับ ว่าเราจะพูดถึงเครื่องตัวไหนระหว่าง T-50 กับ T/A-50 ครับ (เดี๋ยว งงนะ)
.... "อินโด" ซื้อ T-50 เครื่องฝึก "ปิน" กำลังเจรจาซื้อเครื่องโจมตี ซึ่งราคาค่าตัวต่างกันมากครับ
....."ปิน" กำลังต่อรอง ซื้อ T/A-50 ราคาปลายปี 2012 "เกาเหลา" เสนอมาเครื่องละ 39 ล้านเหรียญ US (38.66 USD)
....."ปิน" ต่อรองใหม่ (คาดว่ามีการปรับเพิ่มอุปกรณ์) กำลังต่อรองกันที่ราคาเครื่องละ 45 ล้านเหรียญ US
เห็นหลายๆท่านตอบไม่ตรงคำถามกันแต่กลายเป็นแบบเชียร์ให้ซื้อไปซะแล้ว
ก่อนอื่นนะครับผมต้องถามใจทุกท่านก่อนว่า บ.แบบเนี่ยประเด็นหลักสำหรับเราแล้วมีไว้เพื่ออะไรแล้วจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องซื้อ
สำหรับผมด้วยความคิดส่วนตัวนะครับ ทางทอ.เรามีความต้องการที่จะมีบ.ฝึกมาแทน L-39 และ Alpha Jet ซึ่งบอกตรงๆว่าค่อนข้างโบราณแล้วหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีของ fighter ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นT-50 M-346 หรือ Yak-130 ก็ดีถือว่าเป็นบ.ฝึกที่ดีกว่า L-39 และ Alpha Jet อย่างแน่นอน แต่ถ้าถามว่าแล้วตัวไหนดีสุดล่ะ ผมบอกได้เลยว่า M-346ครับเพราะ เจ้าบ.ฝึกตัวนี้มันถูกสร้างขึ้นมาสำหรับภารกิจเทรนนิ่ง พูดง่ายๆก็คือเกิดมาเพื่อสิ่งนี้โดยเฉพาะ ซึ่งตรงกับประเด็นหลักของความต้องการ M-346 เป็นเครื่องที่จะเข้ามาเติมเต็มการก้าวกระโดดไปfighter ได้ดีมากเพราะสามารถรับแรงจีได้ถึง 9G ซึ่งจะช่วยย่นชม.การฝึก fighter 4th-5th gen. เช่นGrippen ที่เรามีให้น้อยลง
M-346 มีหน้าตาคล้ายคลึงกับ Yak-130 เพราะมีการพัฒนามาจากพื้นฐานเดียวกันแต่ M-346 นั้นเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Yak-130 โดยใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีจากประเทศทางตะวันตก
T-50 มีข้อได้เปรียบอยู่อย่างเดียวคือการที่สามารถเปลี่ยนเป็นบ.โจมตีเบาได้ แต่อย่างที่ได้เรียนไว้ในเบื้องต้นว่าประเด็นหลักคือบ.ฝึก ซึ่ง M-346 ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้แน่นอนว่าศักยภาพในการเทรนย่อมมีมากกว่า T-50 จริงๆแล้วเกิดมาเพื่อเป็น light combat aircraft การที่นำบ.โจมตีเบามาdownscale จึงอาจไม่ดีเท่า ซึ่งการเทรนนิ่งไม่ได้ต้องการศักยภาพของ T-50 ขนาดนั้นซึ่งดูแล้วเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
ขออนุญาตตอบข้อความข้างบนครับ
ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยครับที่จะไปขอความรู้ในการสร้าง Yak-130 โดยที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนของเขาเพราะเขาเองก็มีซัพพลายเออร์ของบริษัทอยู่แล้ว ซึ่งผมเชื่อว่าทางโน้นคงให้เป็นสัญญาผูกขาดไม่งั้นเขาจะขายอะไรละครับ มันเหมือนกับเราเดินเข้าไปหาบริษัท Ferrari ขอความรู้ทุกอย่างรวมถึงการสร้างที่เขาต้องลงทุนค้นคว้าด้วยเงินมหาสารและบอกเขาว่าเราจะเป็นคนหาชิ้นส่วนเองแล้วประกอบเอง ผมว่าเขาไม่ยอมเด็ดขาดเพราะเหมือนกับเราไปขอเขาลอกดีๆนี้เองแล้วชิ้นส่วนที่เราหามาได้อาจไม่ได้มาตรฐานซึ่งอาจทำให้การบินมีปัญหาแล้วทำให้ชื่อเสียงบริษัทเสียหาย อีกอย่างการเปลี่ยนเครื่องให้เป็นเหมือนของ M-346 ฟังแล้วดูง่ายแต่ทางปฏิบัติจริงถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และต้องทำการคำนวณองค์ประกอบหลายๆอย่างใหม่หมดเลยเพราะน้ำหนังความแรงและอีกหลายๆอย่างไม่เหมือนกัน ถ้าคิดว่าเครื่องยนต์ของ M-346 ดีกว่า ทนกว่า ประหยัดกว่า ทำไมไม่เอา M-346 ไปเลยละครับ
ความเห็นส่วนตัว
ขอบคุณสำหรัทุกคำตอบครับ
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือแนวคิดในการที่จะเริ่มพึงพาตัวเอง โดยนำแบบที่มีอยู่แล้วมาผลิตในประเทศ แต่เพิ่มเติมความต้องการของเราเข้าไป เช่น ระบบอาวุธ ตัวเครื่อง ขั้นตอนการผลิต ชิ้นส่วนอื่นๆจาก รัสเซีย ระบบเรดาร์ สวีเดน และเครื่องยนต์จาก ฝั่งตะวันตก โดยจำนวนการผลิตตามความต้องการของ ทอ.กับทร. รวมกัน
ตัวอย่างการพัฒนาเราก็มีให้เห็นแล้วจาก บ.ชอ.2 และ บ.ทอ.6 ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถนำมาขึ้นสายการผลิตได้สำเร็จ ผมว่าสเต็ปต่อไปในการพัฒนา บ.ที่มีศักยภาพมากกว่านี้ก็คงไม่ยาก คนไทยเก่งอยู่แลัวครับ
ถ้าดูถึง คุณลักษณะ และ ทอ. มีโครงการจัดหา F-35A ในอนาคต
อันดับ 1 คือ M-346
อันดับ 2 คือ T-50
อันดับ 3 คือ L-15
แต่ถ้าดูถึง สภาพงบประมาณ ที่ ทอ. จะต้องจัดหา บ.รบ ฝูงใหม่ ในอนาคต แทน 102 และ โครงการจัดหา บ. สำหรับ 211 ทั้งในแง่ ปรับปรุง F-5T และ บ.มือสอง
อันดับ 1 คือ L-15
อันดับ 2 คือ T-50
อันดับ 3 คือ M-346
ดังนั้น ตัวเก็ง อันดับ 1 ผมคือ L-15
แต่ถ้าสภาพเศรษฐกิจ และการเมือง อยู่ในขั้น ปกติ ไปจนถึง ดี
ผมให้ คะแนน T-50 เป็นอันดับ 1 เพราะเป็น บ.ฝึก เครื่องยนต์เดียว และปัญหาในแง่การซ่อมบำรุง น่าจะน้อยกว่า L-15
ส่วน M-346 ผมว่า สอบตกเรือ่งราคา และ เป็น บ.ฝึก 2 เครื่องยนต์ ที่ในแง่ค่าใช้จ่าย การซ่อมบำรุง น่าจะสูงกว่า T-50 เมื่อเปรียบเทียบตลอดอายุการใช้งาน
ตอนนี้ ผมให้คะแนนสูสี ระหว่าง T-50 และ L-15
ถ้าดูจากบทวิเคราะห์ของท่าน Juldas ผมคิดว่าโอกาสของ T-50 สูงกว่ามากครับ เพราะที่ผ่านมาทอ.แทบจะไม่เคยเชื่อถือในอาวุธของจีนมาก่อนเลย แม้จะเคยมีความพยายามทั้งจากฝ่ายจีนและจากรบ.ไทยเอง ยิ่งเป็นเครื่องฝึกบินเรื่องความน่าเชื่อถือเชื่อมั่นเป็นเรื่องสำคัญมากๆ แล้วยังมีประสบการณ์จาก L-39 เทียบกับ A-Jet และ PC-9 ทอ.น่าจะอยากได้บ.จากค่ายยุโรปมากที่สุด แต่หากมีความจำเป็นในด้านงบประมาณแล้ว ก็คงจะยอมรับ T-50 ของเกาหลีมากกว่า เพราะอย่างน้อยก็พัฒนาจากพื้นฐานของ F-16 และใช้เครื่องยนต์กับระบบอวิโอนิกส์มาตรฐานตต.ที่ใกล้เคียงกับ F-16 และ JAS-39 มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทอ.มีนโยบายลดแบบเครื่องบินลดภาระการซ่อมบำรุง และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโดยรวม โครงการนี้อาจเกี่ยวเนื่องไปถึงบ.ทดแทนสำหรับฝูงบิน 102 และ 211 ที่อาจจัดหาเป็น F/A-50 ด้วยก็เป็นได้นะครับ
ปล. ผมคิดเอาเองว่ากองทัพอาจมีความพยายามดึงเอาสวีเดนกับเกาหลีใต้มาช่วยเหลือในการพัฒนาระบบการป้องกันประเทศ เพราะแนวทางของทั้งสองประเทศน่าจะเหมาะสมกับเรามากกว่า และยังสามารถเลี่ยงอิทธิพลโดยตรงจากมหาอำนาจทั้งสองคือจีนและอเมริกาได้อีกด้วย (รอดูโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของทร. ที่อาจทำให้เกิดความร่วมมือของทร.ไทย เกาหลี DSME และสวีเดน SAAB )
ถ้าปัญหาของ ทอ. คือ งบประมาณ...ซึ่งโครงการ ที่กำลังรออยู่คือ บ.ทดแทน ฝูง 102 กับ ฝูง 211 นะครับ...
ราคาของ L-15 คงไม่เกิน 20 ล้านเหรียญ/ลำ (อ้างอิง Wiki) = 16x20 = 320 ล้านเหรียญ (ประมาณ 9,900 ล้านบาท)
ราคาของ T-50 ประมาณ 25 ล้านเหรียญ/ลำ (อ้างอิง อินโด) = 16x25 = 400 ล้านเหรียญ (ประมาณ 12,400 ล้านบาท)
ราคาของ M-346 ประมาณ 35 ล้านเหรียญ/ลำ (อ้างอิง อิสราเอล กับ สิงคโปร์) = 16x35 = 560 ล้านหรียญ (ประมาณ 17,300 ล้านบาท)
ในกรณีนี้ คือ บ.ขับไล่ฝึกที่มาทดแทน L-39 ซึ่ง ปัจจุบัน บ.ขับไล่ของ ทอ. คือ F-16 กับ JAS-39...โดยใช้การฝึกชั้นสูง ด้วย L-39
ผมเลยมองดูว่า สมรรถนะเครื่อง บ.ขับไล่ฝึก อยู่ในระหว่าง L-39 หรือ สูงกว่าเล็กน้อย...ก็น่าจะสามารถทดแทนได้ครับ...เพราะในอนาคต ก็ยังเป็น F-16 และ JAS-39 อยู่ครับ...
ซึ่ง L-15 เอง ผมว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถ้า L-39 ซึ่งเป็น บ.ต่างค่าย เช่นกัน ยังสามารถใช้งานได้...และดูก็นำสมัยกว่า L-39 ครับ...
ในกรณีนี้ ผมว่า งบประมาณ จะเป็นน้ำหนัก ตัดสิน พอสมควร ทีเดียวครับ...
เว้นแต่ว่า อนาคตของ ฝูง 102 คือ F-35A แน่...
T-50 ก็คงเป็น ตัวนำ แน่...แต่ ทอ. ก็คงต้อง สู้กับ วงเงินงบประมาณอย่างมาก เหมือนกันครับ...
สำหรับ F-35 ผมว่าราคาของมันแพง(โอเว่อร์)เกินไปมากแล้วครับ ในส่วนของบ.ฝึกหาก L-15 มีโอกาสได้เกิดจริง แล้วเป็นที่พอใจประทับใจเหล่านักบินของทอ.แล้วล่ะก็ ไม่แน่นะครับอนาคตบ.ขับไล่ของทอ.อาจไม่ใช่ F-35 , F-16V (E/F) หรือ Gripen NG แต่อาจกลายเป็น J-31B (รุ่นส่งออกเหมือน J-10B ; แต่คงเอื้อมไม่ถึง J-20 แน่ๆ) ถึงกระนั้นโดยส่วนตัวผมยังเชื่อว่าโอกาสเป็นไปได้น้อยมากครับ
ใน TAF และกระทู้เรือฟรีเกตกระทู้ 2 งานนี้สงสัย T-50 มาแหง๋แล้วล่ะครับ F/A-50 หรือ T/A-50 ก็มีลุ้นในโครงการทดแทน Alpha jet ด้วยแน่นอนครับ เพื่อลดแบบของเครื่อง
ในกรณีที่จะทดแทนฝูง 102 211 ผมว่าถ้าไหนๆก็จัดหา Jas-39 มาแล้ว ก็ควรจัดหา Jas-39 ให้หมดเช่นกันครับ เพื่อลดแบบเครื่องและใช้เครื่อง AEW&C แบบเดียวกันทั้งหมด
ราคาน่าเล่น ประสิทธิภาพเกินราคา
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากเวป Pakistan defense
Philippines Nears $443 Million Deal for South Korea Fighter Jets
By Daniel Ten Kate and Norman P. Aquino on January 30, 2013
Philippines Nears $443 Million Deal for South Korea Fighter Jets - Businessweek
The Philippines is close to reaching an 18 billion peso ($443 million) deal to purchase 12 fighter jets from South Korea as it moves to bolster its defenses amid tensions with China over disputed territory.
Defense Assistant Secretary Patrick Velez today said the government intends to finalize a contract with Korea Aerospace Industries Ltd. (047810) by the end of February and two could be delivered in the next six months.
The jets will be used for training , reconneisance and fending off enemy forces, Lacierda said. The Philippines may also seek bids for the supply of an unspecified number of naval warships by April, Velez said.
Source: http://www.defence.pk/forums/military-forum/232336-12-f-50-philippines-air-force.html#ixzz2YkyxzXlW
ราคาตกเฉลี่ย 37 ล้านเหรียญโดยประมาณ ราคาใกล้เคียง M-346 ดีลของสิงคโปร์ และทางเวปนี้ก็ระบุในคำบอกท้ายรูปที่ถ่ายคู่กับ S-211 ว่าเป็น F/A-50 ด้วยครับ
ราคาตอนเกาหลีเสนอ F/A-50 ต่อสาธารณะชนครั้ง ทางเกาหลีเคาะราคาขาบเครื่องละ 30 ล้านเหรียญ ราคานี้รวมเรด้าร์ EL/M - 2032 มาด้วย แต่จากดีลของฟิลิปปินส์ แสดงว่าทางนั้นต้องการอุปกรณืประกอบเพิ่มเติมเข้าไปอีกหลายรายการอยู่ แต่ยังไงก็ถือว่าถูกมากๆ เพราะ 37 x 30 ก็ตกเครื่องละแค่ 1,110 ล้านบาทเท่านั้น
ถ้าใช้เรด้าร์ตัวนี้ ประสิทธิภาพระดับ F-16 block 40/42 ได้ ครับ เหมาะสมกับการทดแทนฝูงบินโจมตีที่ขาดอยู่ 2 ฝูง
ส่วนในวิกิพีเดียเป็นราคา F/A-50 ตอนเปิดตัวเป็นทางการ 30 ล้านเหรียญต่อเครื่องครับ แต่คงได้มาแค่เรด้าร์เท่านั้นมั๊ง ถ้าจะเอาอย่างอื่นเพิ่มก็ต้องจ่ายเพิ่ม
และจากเวปของทาง KAI และเวปอื่นๆ T-50 สามารถรับการอับเกรดเป็น T/A-50 ได้ด้วย และสามารถติดตั้งกระเปาะชึ้เป้าได้เช่นเดียวกับ M-346 และ Yak-130 รวมทั้ง L-15 ได้เช่นกัน
สเปกอาจจะเกินความต้องการของทอ. แต่เทรนเครื่องฝึก/โจมตีสมัยใหม่ออกแนวนี้ทั้งหมด ขนาดรัสเซียยังต้องมีแผนการปรับปรุง Yak-130 ไปเป็น รุ่น Yak-133 เลยครับ รุ่นออกแบบเผื่อสำหรับการขึ้นลงเรือบรรทุกบ.ด้วย เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ทั้งหมด....
http://en.wikipedia.org/wiki/KAI_T-50_Golden_Eagle
Republic of Korea Air Force TA-50 in 2010 | |
Role | Advanced trainer, multirole fighter |
---|---|
Manufacturer | Korea Aerospace Industries |
First flight | 20 August 2002[1] |
Introduction | 22 February 2005[2] |
Status | In service |
Primary users | Republic of Korea Air Force Indonesian Air Force |
Produced | 2001–present |
Number built | 82 |
Unit cost | T-50: US$21 million (2008)[3] TA-50: US$25 million (2011)[4] FA-50: US$30 million (2012)[5] |
37 ลำ ลำละ 30 ล้านเหรียญ = 1100 ล้านเหรียญ ผมว่าแพงนะ
T-50 คือ Training
F/A-50 คือ Fighter/Attack ไม่ใช่ Training
การจัดหาคงเป็นเพียง รุ่น T ครับ ซึ่ง อินโดฯ จัดหาในราคา 400 ล้านเหรียญ สำหรับ จำนวน 16 ลำ ครับ...
บ.ขับไล่ฝึก คือ การเปลี่ยนแบบจาก บ.ฝึก PC-9 มาเป็น เครื่องบินไอพ่น...
ซึ่งคงต้องการเพียง การให้นักบิน มีประสบการณ์กับเครื่องบินขับไล่ ไอพ่น ในลักษณะสภาพแวดล้อม และ ยุทธวิธี พื้นฐาน เท่านั้นครับ...และเมื่อ ชั่วโมงบิน ครบ ก็คงไปลงในฝูงบินขับไล่ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละ ฝูงบิน ก็จะมี รุ่น 2 ที่นั่ง เช่น F-16B และ F-5F ที่นักบิน จะต้องไปฝึกบิน อีกครับ...
โดยสิ่งที่สำคัญ และเป็นลักษณะเด่น คือ ค๊อทพิท ของ บ.ไอพ่นฝึก ควรจะมีลักษณะ คล้าย ๆ หรือ ใกล้เคียง กับ บ.ขับไล่หลัก...
มาเลเซีย ใช้ MB-339 C/D เป็น บ.ขับไล่ฝึก เพื่อรองรับ SU-30
อินโดนีเซีย ใ้ช้ BAE Hawk เป็น บ.ขับไลฝึก เพื่อรองรับ F-16 (ของเดิม) และ SU-27 กับ SU-30 แต่กำลังจะเปลี่ยนเป็น T-50 เพื่อรองรับกับ F-16 C/D และโครงการ บ.ขับไล่ K-FX ที่ร่วมพัฒนาโครงการกับ เกาหลีใต้ ที่น่าจะเป็น บ.ขับไล่หลักใหม่ ในอนาคต...
ออสเตรเลีย ใช้ BAE Hawk เป็น บ.ขับไล่ฝึก เพื่อรองรับ F/A-18 C/D แต่พอเปลี่ยนมาเป็น F/A-18 E/F/G ก็ทำการอัพเกรด BAE Hawk
พม่า ใช้ K-8 เป็น บ.ขับไล่ฝึก สำหรับ F-7M และ Mig-29
สิงคโปร์ ใช้ M-346 เป็น บ.ขับไล่ฝึก สำหรับ F-15SG และ F-35 B ในอนาคต
ดูแล้ว บ.ขับไล่ฝึก ไม่จำเป็น ต้องสัมพันธ์กับ บ.ขับไล่หลัก ครับ...เพียงแต่ บ.ขับไล่ฝึก ควรมีลักษณะแวดล้อมของเครื่อง ให้ใกล้เคียงกับ บ.ขับไล่หลัก
ซึ่งในอีก 20 ปี ข้างหน้า...บ.ขับไล่หลักของ ทอ. ยังเป็น F-16 และ JAS-39...บ.ขับไล่ฝึก คงมีคุณลักษณะใกล้เคียงของเดิม คือ L-39 แต่เพิ่มเติม เทคโนโลยี่ ทางการบินใน ค๊อทพิท...ให้สมสมัย ก็น่าจะเพียงพอครับ
สำหรับ บ.ขับไล่ไอพ่น จากประเทศ จีน ถ้าเป็น เครื่องที่ไม่ได้มี เทคโนโลยี่ สูง...ก็ดู สมราคา ดีครับ...เช่น พม่า ยังประจำการด้วย F-7 ของ จีน อยู่อย่างปกติ...รวมถึง บังคลาเทศ ก็สั่ง F-7BM เพิ่มเติม...
ก็คงต้อง ลุ้น งบประมาณของ ทอ. ครับ...ว่าจะรองรับ บ.ขับไล่ฝึก ได้ขนาดไหน....ซึ่งสมัย L-39 คู่แข่ง ก็เป็น BAE Hawk เหมือนกัน แต่สู้ราคาไม่ไหว...ก็จบที่ L-39 ซึ่งก็เหมาะสมดีครับ...
ถ้า....เดา....ไดอะแกรม บ.ฝึก ของ ทอ.
ผมก็ทำเป็นแผ่นภาพ ประกอบความเห็นผม ข้างต้น น่ะครับ...ว่า...ถ้า ถัดจาก L-39 ยังเป็น F-16 A/B และ F-5 T อยู่ในอนาคต...บ.ฝึกขับไล่ คงจะอยู่ประมาณสูงกว่า L-39 ระดับหนึ่ง ก็เพียงพอ ครับ...
เห็นพูดถึงการ upgrade จาก T-50 ให้เป็น F/A-50 เอามาแทน 102 และ 211ซึ่งดูจากภาพร่วมแล้วผมว่ามันมันไม่หน้าจะเป็นไปได้แล้วมันไปขัดกับนโยบายของทอ.ที่อยากจะลงแบบเครื่องลง อีกอย่างการที่นำเอาบ.ฝึกโจมตีเบามาทำให้เป็น fighter นั้นยังไงก็สู้ fighter ตัวจริงอย่าง jas-39 ไม่ได้หรอกครับเพราะฉนั้นถ้าจะซื้อก็ซื้อ jas-39 ไปเลยครับเพราะเราก็มีอยู่แล้วด้วยจะได้เหมือนกันหมด
ฟิลิปปินส์ออกข่าวว่าจะซื้อเครื่องบินT/A-50 จากเกาหลีใต้มาปีกว่าๆแล้วแต่ทำไมยังตกลงไม่ได้เสียที ตามลิงค์ข้างล่างเกาหลีให้ยืมเงินซื้อต่างหาก มีข่าวยืนยันก็ตั้งหลายรอบจนราคาเครื่องพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆจากเดิมพอประมาณ (เริ่มต้นที่28ล้านเหรียญ)
http://philippineairspace.blogspot.com/2012/06/its-ta-50-for-paf.html
ผมว่านายทหารชั้นสุงประเทศนี้"เหนียว"ไปหน่อยหรือเปล่าครับ อย่างเรื่องT/A-50ก็จะขอเครื่องมาก่อน2เครื่องเพื่อใช้ฝึกนักบิน เรือมือ2ที่ได้จากอเมริกาก็บ่นว่าไม่ติดอาวุธให้แล้วร้องขออันโน้นอันนี้ไปเรื่อย แล้วยังเรือฟริเกตอีกหละคุยกับอิตาลีไว้ดิบดีแต่สุดท้ายได้งบเพิ่มไม่เอาอีกแล้ว ตอนนี้มีงบ440ล้านเหรีญญสำหรับเรือ2ลำคนในเว็บบอร์ดจะเอาสเป็กใกล้เคียงประเทศไทยเลย(แต่ก็อย่างว่าเรายังอยากได้SMART-Lกันเลยนี่นา)
ส่วน อินโดประเทศเขาเศรษกิจกำลังดีงบประมาณทางทหารเลยสุงขึ้นตาม ประกอบกับการเมืองเขานิ่งพอสมควรการทหารเลยตัดสินใจได้โดยง่าย เรือฟริเกตฮอลแลนด์ เรือดำน้ำเกาหลี เครื่องบินฝึกเกาหลี F-16C/Dมือสองอเมริกา SU-30จากรัสเซีย รถถังมือสองจากเยอรมัน ชอปปิ้งกันเพลินเลยครับท่าน
กลับมาประเทศไทยต่อ ถ้าพูดแค่เรื่องเครืองบินฝึกอย่างเดียวก็เอาทั้ง3แบบมาทดสอบแล้วคำนวนเงินในกระเป๋าดู แต่ของเรามันวุ่นวายมากเพราะต้องคิดเรื่องฝูงบินอีกหลายฝูงที่กำลังจะหมดอายุพร้อมๆกันด้วย คือผมไม่รู้โรดแมปของทอ.หนะครับว่าจะยังคงฝูงบินเหมือนเดิมแต่ลดปริมาณหรือเปลี่ยนไปเป็นแบบอืนเพื่อรอบรับเรื่องที่จะพูดถึง นั่นคือต่อไปนี้ถ้าเรือซื้ออาวุธจะคิดแค่เรื่องอาวุธอย่างเดียวไม่ได้แล้ว จะต้องพิจารณาเรื่องระบบ LINK-Tที่ในอนาคตที่เราจะนำมาใช้กับอาวุธหลักของประเทศทั้ง3เหล่าทัพด้วย
ผมเดาเอาว่าทอ.ต้องการ F-35A อย่างน้อย1ฝูง(ไม่ว่ามันจะราคาไหนก็ตาม) แต่จะได้ซื้อรอบไหนและอเมริกาจะขายหรือไม่เท่านั้นเอง ตอนนี้เขาต้องผลิตให้ตัวเองและคนที่ร่วมโครงการก่อนก็ต้องดูหละครับว่าสิงคโปร์ได้ตอนไหนของเราก็บวกไปอีก5ปีเป็นอย่างต่ำ(ถ้าตอนนั้นมีเงินพอนะ) คือถ้าไกลสุดก็คงแทนฝูงบิน403ที่เรากำลังปรับปรุงกันนี่แหละ ส่วนกริเพนทอ.ก็อยากได้มาทดแทนF-16อีกซักฝูงนะ แต่จะเป็น C/D NG หรือ A/Bมือสองมาปรับปรุงก็ไม่ทราบแน่ ตอนนี้หวยมันออกได้หลายหน้ามากทอ.คงต้องการNGแต่ไม่รู้ตอนนั้นราคาจะเท่าไหร่เนี่ยสิ SAAB เป็นบริษัทที่ดีนะแต่ขนาดเล็กไปหน่อยเลยทำอะไรได้ยากมาก
ส่วนที่มันมาคาบเกี่ยวกับเครื่องบินฝึกก็คือ ถ้าเราเลือกเครื่องบินเกาหลีเพื่อหวังผลิตจำนวนมากทดแทนฝูงบินโจมตีและF-5ด้วย รวมไปถึงเครื่องบินโจมตีของทร.อีก8ลำแล้ว มันก็มากพอจะตั้ง"โรงงานประกอบในประเทศ"ได้ แต่เกาหลีก็ต้องเปิดกว้างให้เราอัพเกรดเครื่องิบตามใจชอบได้ด้วย ไม่ว่าจะติดตั้งLINK-T หรือปรับปรุงอาวุธเช่นของทร.ติด RBS-15 ได้ ของทอ.ติดจรวดแบบกริเพนได้ แล้วฝั่งอเมริกาที่มีเอี่ยวด้วยจะยอมหรือ
ใน3ประเทศ ที่พูดมาอินโดง่ายสุดเลย เพราะเขามีงบเยอะขึ้นยังไม่ต้องกังวลเรื่องการพัฒนาไปสู่สงครามดิจิตอลมาก เท่าเรา (อาวุธพี่แกซื้อใหม่มีทั้งรัสเซีย อเมริกา ยุโรป เกาหลี) และอุตสาหกรรมในประเทศเขารองรับการผลิตอาวุธได้ทันที ทั้งต่อเรือ เครื่องบิน รถช่วยรบ เยอะแยะสารพัด เฮลิคอปเตอร์BELL412ก็ซื้อมาประกอบเองนะครับลำหละ12ล้านเหรียญเอง
ส่วนของประเทศไทยผมว่ายากที่สุด ต้องคิดอะไรเยอะมากเครื่องบินก็ดันหมดอายุพร้อมกันเยอะอีก เศรษกิจจและการเมืองก็อย่างที่เห็นนี่แหละ และผบเหล่าทัพเราอยู่แค่ประมาณ2ปีเอง
ตอบจขกท. เครื่องบินรัสเซียไม่ได้เกิดในประเทศไทยหรอกครับ ลุ้นเครื่องบินจีนยังง่ายกว่าเยอะ ทั้งเครื่องบินฝึกและเครื่องบินรบที่มาทดแทนF-5ในอนาคต
ดูจากแผนภาพของท่าน Juldas แล้วดูง่ายและชัดเจนดีจัง หากพูดถึงนโยบายการลดแบบของเครื่องบิน ต้องไม่ลืมเรื่องของงบประมาณด้วยนะครับ การจัดหาบ.ขับไล่มาทดแทน F-5E/F นั้นแม้ทอ.อาจต้องการ Gripen C/D หรือ NG แต่ต้องไม่ลืมว่าในระยะเวลาไม่ห่างกันนั้่นทอ.ก็ต้องเตรียมจัดหาบ.ทดแทน F-16 A/B ฝูง 103 และ ADF ฝูง 102 อีกด้วย และหากทอ.เลือกบ.ที่มีหลากหลายรูปแบบเช่น T-50 มาทดแทน L-39Z , T/A-50 มาทดแทน L-39ZA และ A-Jet ก็เท่ากับสามารถลดแบบของเครื่องบินลงได้ จาก 2 เหลือ 1 และหากมองว่า F/A-50 มีสมรรถนะสูงพอที่จะสามารถเป็นบ.ขับไล่ทดแทนภารกิจของ F-5E/F ฝูง 211 ได้ (สมรรถนะทางการบินสูงที่กว่า และมีระบบเรดาร์ที่ดีพอ สามารถใช้อาวุธปล่อย BVR ได้) ก็จะยิ่งลดแบบของเครื่องลงได้อีก ด้วยงบประมาณที่ต่ำกว่าการจัดหา Gripen ราวครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว ตรงนี้อาจเป็นทางเลือกที่สองในกรณีที่งบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดหา Gripen ได้ครบจำนวนฝูงบิน โดยคงจำนวนฝูงบินไว้แต่อาจลดจำนวนเครื่องในแต่ละฝูงบินลง
ปล. ผมคิดแค่ใช้ F/A-50 ทดแทนเฉพาะฝูง 211 นะครับ ส่วน 102 , 103 นั้นยังไงก็ต้องเป็นบ.ขับไล่แท้ๆ ที่มีสมรรถนะสูงเท่านั้น เช่น Gripen C/D , NG หรือ F-16 E/F , V หรือ F-35A , F-18E/F , F-15SE แพงๆ ทั้งนั้นเลยครับ เฮ้ออออออ
ขอทำ แผ่นภาพใหม่ ครับ...ซึ่งจะต่อเนื่องกับ ความเห็นต่อไป ครับ
กรณี ถ้า งบประมาณ ทอ. ไม่สามารถสนองตอบความต้องการได้ โดยเป้าหมาย ต้องการมี F-35A ประจำการ
1. ทำการ Mod และ อัพเกรด โครงสร้าง F-5 T/F ตาม ทอ.บราซิล
2. จัดหา L-15
3. จัดหา F-35A ซึ่งคัดนักบินจาก F-5 และ F-16 และ JAS-39 อยู่แล้ว
กรณี ถ้างบประมาณ สามารถสนองตอบความต้องการของ ทอ. ได้
1. จัดหา T-50
2. จัดหา JAS-39 C/D เพิ่มเติม อาจจะเป็นมือหนึ่ง หรือ มือสอง หรือ เช่า
3. โอน F-16 A/B ไป 211
4. จัดหา F-35A
ถ้าในกรณีที่งบประมาณสามารถตอบสนองกับความต้องการของทอ.ได้โดยที่ผลสุดท้ายทอ.สามารถซื้อ F-35A ได้ แล้วทำไมบ.ที่มีคุณสมบัติสำหรับการฝึกนักบินให้ขับ F-35 ได้ อย่างM-346 ถึงดูเหมือนไม่ได้อยู่ในเกมนี้เลยละคับ
แล้วอีกอย่างผมขอถามไว้เป็นความรู้หน่อยคับว่า T-50 มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า M-346 ในประการไหนบ้าง?
เเต่ดูรวมๆเเล้วคุณสมบัติของ T-50 ก็ดูดีไม่เบาเลยนะครับเนี่ย
ตามความเห็นของผมน่ะครับว่า...
ก็ นักบิน F-35A คงต้องคัดจาก นักบินที่มีประสบการณ์บิน จาก F-16 และ JAS-39 ซึ่ง นักบิน เหล่านี้...จะมีชั่วโมงบิน และประสบการณ์สูงอยู่แล้ว ครับ...งบประมาณในส่วนที่จะต้องจัดหา M-346 ก็เตรียมไว้จัดหา F-35A น่าจะดีกว่าครับ...
ซึ่งถ้า F-35A พิสูจน์ ได้ ถึง ความสามารถที่เหนือกว่า F-16 AM/BM และ JAS-39 ที่ ทอ. มีประจำการอยู่...ก็จะหมายถึง การลดจำนวน เครื่อง ในฝูงบินลง...จาก 16 หรือ 18 ลำ คงเหลือเพียง 12 ลำ...ซึ่งจะใช้ งบประมาณที่มากกว่า การจัดหา F-16 C/D เต็มฝูง 18 ลำ..ไม่มากครับ...
ตัวอย่าง สมมติ นะครับว่า...F-16 C/D ราคาลำละ 80 ล้านเหรียญ ในจำนวน 18 ลำ จะสมดุลย์ กับศักยภาพประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน คือ การใช้งบประมาณ 1,440 ล้านเหรียญ...
แต่ด้วย F-35A มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า และมีความสามารถทำลายที่สูงกว่า...F-35A ราคาลำละ 120 ล้านเหรียญ ในจำนวน 12 ลำ จะสมดุลย์ กับ ศักยภาพประเทศเพื่อนบ้านในขณะนั้น ๆ คือ การใช้งบประมาณ 1,440 ล้านเหรียญ ที่จำนวนเงินเท่ากันครับ...
นั่นคือ การจัดหา เครื่องบิน ที่มีความสามารถสูง จ่ายต่อหน่วยแพงกว่า แต่ใช้ ปริมาณ น้อยกว่า...โดยจ่ายเงินที่ เท่าเดิม น่ะครับ...
การซื้อเครื่องบินถูก จำนวน 18 ลำ ก็หมายถึง ค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง 18 ลำ
การซื้อเครื้องบินราคาแพง แต่มีความสามารถสูง จำนวน 12 ลำ ทำให้ลดปริมาณ จำนวนลง ก็หมายถึง ค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงที่น้อยลง เหลือ 12 ลำ
เเล้วบ. Gripen ที่ทาง ทอ. เพิ่งซื้อมาละครับ
ด้วยจุดประสงค์เเละความต้องการของ ทอ. ขณะนี้คงไม่ใช่ fighter เเต่เป็น trainer ที่ถึงเวลาปลด การปรับเปลี่ยน fighter ที่มีอยู่เเล้วถึง 3 เเบบ ถึงเเม้ gripen ยังไม่มีฝูงก็ตาม ผมคิดเป็นการนำมาซึ่งการที่เราต้องเสียเวลาทั้งการเตรียมนักบิน ช่าง เเละอื่นๆ ราคาของ บ.เเต่ละลำเป็นเพียงเเค่การพิจารณาเบื้องต้น เเต่ผลที่ตามมาเราไม่ควรมองข้ามน่ะครับ ผมว่าถ้าเราจะเชียร์ fighter ในขณะนี้ควรสนับสนุนให้ Gripen ซึ่งเป็น บ.ที่ทาง ทอ. ได้คัดเลือกมาเเล้วนั้นให้มี ฝูง เพื่อเพิ่มสมรรถะภาพของกองทัพเราโดยใช้งบประมาณที่ทุ่มไปเเล้วอย่างคุ้มค่า
เอาใหม่ .... ถ้าตามเจตนา จขกท. ผมขออนุญาตนำเสนอ บ. ตัวหนึ่งที่น่าสนใจ.. เพื่อนำมาทดแทน L-39 ZA/ART และ A-jet (จำนวน 4 ฝูง จัดเต็ม 18 ลำ/ฝูง = 72 ลำ) แม้มีความเป็นไปได้เพียงน้อยนิดก็ตาม (เน้นงป.น้อย) นั่นคือ...
AT-63 Pampa 2000
ด้วยเหตุผล(ส่วนตัว) ดังนี้ครับ.......
1. ราคา ถูกมาก ( $ 8-9 Mill.) พร้อมเรดาห์ AN/APG-67 (V) 4
2. ประกันคุณภาพด้วยชื่อ LM (Lockheed Matin)
3. ประกอบในไทยและติดตั้งระบบใดๆทีเหมาะสมกับความต้องการของเรา เพราะ
3.1 LM ต้องการเปิดตลาดให้ได้ (ตอนนี้ มีแค่ ทอ.อาร์เจนติน่า เท่านั้น)
3.2 Pampa ไม่ใช่เครื่องที่ซับซ้อน เราจะสามารถพัฒนาฝีมือและเรียนรู้ knowhow ตามขั้นตอน (ไม่ก้าวกระโดดมาก) จาก ชอ.2 ไป Pampa หลังจากที่เราห่างหายมานานจาก Fantrainer........
3.3 เครื่องยนต์เดี่ยว เชื่อได้ในเรื่องประหยัด..
ทั้งหมดที่นำเสนอนี้ ในกรณีที่ บ.ขับไล่ใหม่ของเราไม่ใช่ F-35 นะครับ และฝูง 211 ผมก็ยังสนใจ K/A-50 เหมือนเดิม (เอ..........Gripen A/B mod ตามเพื่อน คห.ข้างบน ก็ดีนะ )
www.aircraftinformation.info/ff_at-63.htm
ประเด็นบ.ขับไล่ฝูงต่อไปซึ่งน่าจะส่งผลต่อการพิจารณาบ.ฝึกที่จะจัดหามาทดแทน L-39 นั้น ผมว่าทอ.คงไม่สามารถจัดหา F-35A ได้ เพราะนอกจากราคาที่พุ่งสูงไปถึง 130-150 ล้านเหรียญต่อลำ ระยะเวลาการรอยังยาวนานถึง 15-20 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งประเมินจากขั้นตอนการเตรียมโครงการเพื่อการจัดหาแล้ว อย่างน้อยต้องใช้เวลามากกว่า 20-25 ปี ผมจึงเชื่อว่าบ.ขับไล่ที่ทอ.จะจัดหามาทดแทนฝูงที่ต้องปลดประจำการ น่าจะเป็น Jas-39 C/D หรือ NG มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาระบบ NCW นอกเสียจากว่าทอ.จะไม่พึงพอใจในสมรรถนะการบินการรบของมันเป็นอย่างมาก ถึงขนาดต้องเปลี่ยนไปหาบ.รุ่นอื่นแทน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็น่าจะเป็นบ.ในตระกูล F อย่าง F-16 E/F , V , F-18 E/F หรือแม้แต่ F-15SE มากกว่าแบบอื่น
ปล. AT-63 Pampa นี่ไม่ไหวล่ะครับ สมรรถนะต่ำเกินไปเยอะ แถมยังเก่ามากๆ แม้จะปรับปรุงใหม่แล้วก็เถอะนะ
ผมขอเสนอความคิดบ้างน่ะครับ
สำหรับเครื่องฝึกบิน ผมคงเลือกเครื่องที่มี 2 เครื่องยนตร์ไว้ก่อนแต่ราคาต้องไม่แพง ผมจึงเลือกของจีน L15 จำนวน 1 ฝูง แต่ให้ SAAB เปลี่ยนอุปกรณ์การบินให้เป็นแบบ Jas39 กริฟเปน
ส่วนเครื่องบินโจมตี 2 ฝูง ผมเสนอ Jas 39 A/B มือสอง down grade คือ ไม่มีสันดาปท้าย ลดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้ได้เครื่องโจมตีที่มาสมรรถนะที่สูงมากแต่ราคาลดลง และทำให้แบบเครื่องบินไม่มากเกินไปการซ่อมบำรุง อะไหล่ใช้ร่วมกันได้
ส่วนเครื่องที่จะมาแทน F5 E/F และ F16A/B ผมเลือก JAS 39 C/D จำนวน 12 เครื่อง ต่อฝูง (อาจเป็นมือสอง)
สุดท้ายที่จะมาแทน F16ADF ซึ่งต้องเป็นไม้ตายของเรา ผมเลือก JAS 39 NG จำนวน 16 เครื่อง หรือถ้ามีเงินก็ F15 silent ครับ
ท่าน Rayong ครับ ผมว่า 2 ข้อแรกนี่เป็นไปไม่ได้เลยนะครับ จะให้ SAAB ติดตั้งระบบอวิโอนิกส์กับเครื่องบินจีน (ถ้าเป็นของอิสราเอลหรือฝรั่งเศสน่าจะพอเป็นไปได้ครับ) แต่จีนก็คงไม่ยอม เว้นแต่จะสั่งซื้อจำนวนมากแล้วจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือในการพัฒนา ตั้งโรงงานประกอบในประเทศไทย ใช้เป็นฐานในการผลิตส่งออกไปตีตลาดโลก ถึงกระนั้นราคามันคงจะแพงขึ้นกว่าเดิมมากๆ จนอาจแพงกว่า T-50 หรือ M-346 เลยด้วยซ้ำไปนะครับ
ส่วน Gripen A/B ก็ไม่มีสายการผลิตแล้ว และการจะ Downgrade ด้วยการถอด Afterburner ออกก็ไม่สามารถทำได้ครับ ยิ่งจะเอามาใช้เป็น บ.โจมตีนี่ยิ่งไปกันใหญ่ ถึงจะเป็นการซื้อเครื่งมือสองที่ทางสวีเดนสำรองไว้อาจจะเป็นไปได้มากกว่า แต่มันก็ไม่เหมาะสมอยู่ดีครับ
แต่ผมก็เห็นด้วยกับท่านใน 2 ข้อหลังครับ ไหนๆ ก็เลือกที่จะใช้สวีเดนเป็นแบบอย่างในการพัฒนากองทัพอากาศ ให้เป็นกองทัพอากาศยุคดิจิตอลและระบบเน็ตเวิร์คแล้ว ก็น่าจะจัดมาให้เยอะๆ จะได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้ง Gripen C/D (มือสอง) สักสองฝูง และ Erieye อีกสัก 2-4 เครื่อง (ตัวนี้ขอเป็นรุ่นใหญ่อย่าง SAAB 2000) แล้วค่อยขยับไปหา Gripen NG หรือจะเป็น F-35A ไปเลยก็ได้ในอนาคต
ปล. อีกประเด็นก็คือ อยากให้ทอ.จัดหา Gpipen C/D เพิ่มเติมเป็นฝูงละ 16 เครื่องด้วยครับ 12 เครื่อง/ฝูง ดูจะน้อยไปนะครับ
ตอนนี้เรากำลังมองที่ราคากับศักยภาพกันอย่างเดียว ผมอยากให้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายหลังซื้อมาแล้วในหลายๆด้านไว้หน่อยครับ ราคามันคือเปลือกนอกที่บางตัวห่างกันนิดหน่อยบางตัวห่างกันเยอะ ซึ่งพวกนี้เราซื้อครั้งเดียวแล้วจบเดี๋ยวงบก็จัดหาใหม่ได้แต่สิ่งที่ไม่จบคือค่าใช้จ่ายนับตั้งแต่วันแรกที่ได้มาไปจนอีก 15-20ปีและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตามมาอีกละ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมาก ของถูกก็ใช่ว่าจะโอเค ถ้ามันถูกเราก็ต้องตั้งคำถามละว่าทำไมมันถึงถูก จะทนไหม วัสดุที่ใช้ดีไหม เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายน่ะครับ
ประเด็น L15 หาก SAAB ทำไม่ได้ ก็เห็นด้วยที่จะเป็นอิสราเอล หรือ ฝรั่งเศสมาเปลี่ยนระบบให้เป็นแบบตะวันตก แบบเดียวกับที่เคยทำกับ L39 แต่สุดท้ายดูที่ราคาครับ ถ้าแพงเกินไปก็ไม่ไหว
ส่วนถ้า JAS39 เอามาเป็น บ.โจมตีไม่ได้ ก็คงต้องมองแบบที่เข้ากันได้กับ JAS39 คือให้สามารถใช้อะไหล่ อาวุธ ร่วมกันให้มากที่สุด ที่คิดอย่างนี้เพราะเคยได้ยินมาว่าในอดีตเราเคยใช้วิธีซ่อมแบบกินตัวไปเรื่อยๆ กับเครื่องที่ใช้มานานๆจนขาดแคลนอะไหล่ วิธีแก้ของผมก็คือยอมให้ บ. โจมตีที่ไม่สำคัญบินไม่ได้ดีกว่าแล้วนำอะไหล่ไปใช้กับ บ. รบหลัก ครับ
อื้ม... @คุณ skywalker พูดมีเหตุผลนะครับ เราควรคำนึงถึงปัจจัยและผลกระทบที่จะตามมาหลังการซื้อ ราคาเนี่ยผมว่ามันก็ใกล้เคียงกันมากนะครับ เพราะฉนั้นผมจะไม่เอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นหลัก ผมอยากจะเห็นการเปรียบเทียบระหว่าง M-346 กับ T-50 มากกว่า เพราะผมค่อนข้างมันใจเลยว่ายังไงทอ.ก็ไม่มีทางเอาของจีนหรอกครับ
ถ้าพูดถึงT-50 น่ะครับ เป็นเทรนเนอร์แต่มี afterburner ผมว่าดูหน้าจะซดน้ำมันเยอะอยู่ดูเป็นการสิ้นเปลืองน่ะครับ แบบนี้ค่าใช้จ่ายคงสูงน่าดู
เรื่องค่าใช้จ่าย เชื้อเพลิง และ ซ่อมบำรุง
M-346 ใช้เครื่องยนต์ Honeywell F124 จำนวน 2 เครื่อง แบบเดียวกับ L-159
T-50 ใช้เครื่องยนต์ GE-F404-102 จำนวน 1 เครื่อง แบบเดียวกับ JAS-39
L-15 ใช้เครื่องยนต์ AI-222 จำนวน 2 เครื่อง แบบเดียวกับ Yak-130 (ผลิตจาก รัสเซีย และ ยูเครน)
ซึ่งเมื่อดู ๆ แล้ว L-15 ก็เหมือนกับ Yak-130 และ Yak-130 ก็คล้ายกับ M-346...จึงนาจะเป็นคำตอบว่า ทำไม L-15 ถึงติดโผ ของ ทอ. ด้วย....
ส่วน T-50 ค่าใช้จ่ายในการบินต่อชั่วโมง ก็คงใกล้เคียงกับ JAS-39 ที่ ทอ.ประจำการอยู่...ซึ่งคงคล้าย ๆ กับ M-346 ที่ค่าใช้จ่ายในการบินต่อชั่วโมง คงใกล้เคียงกัน เพราะใช้เครื่องยนต์ของ เครื่องบินขับไล่ ใช้ในการฝึกบิน แต่ก็น่าจะถูกกว่า T-50...
ถ้า ทอ. สนใจในค่าใช้จ่ายการฝึกบิน ต่อ ชั่วโมง ของ Yak-130...ตัวเลือก L-15 ก็คงจะใกล้เคียงกัน...
ส่วน T-50 ถ้าจะพ่ายแพ้ต่อ M-346 และ L-15 ก็คงจะในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการฝึกบิน ที่เหมือนกับเอา JAS-39 มาใช้ฝึกบิน...ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการฝึกนักบิน อาจจะสูงกว่า ค่าใช้จ่ายในการบินปกติ ของ ฝูง 701 ก็เป็นได้ครับ...เพราะมันต้องบินทั้ง 18 ลำ และชั่วโมงบินรวม ก็คงต้องสูงกว่า ฝูง 701 อยู่...ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงของ T-50 มันน้อยกว่า JAS-39 คงในเรื่องระบบอวิโอนิคส์ ที่มันไม่มี...ส่วนระบบเครื่องยนต์ กับ การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง คงไม่แตกต่างกัน...
ส่วน L-39 ในปัจจุบันของ ทอ. ค่าใช้จ่ายในการฝึกบินต่อชั่วโมง มันน้อยกว่า F-16 และ JAS-39 กว่าเท่าตัว...
Cockpit M-346, T-50 และ L-15
ซึ่ง L-15 ผมคิดว่า คงไม่ใช่รุ่น Glass Cockpit...( Glass Cockpit คงน่าจะยังไม่มีใครเชื่อถือในขณะนี้)
ดูแล้ว Cockpit ของ M-346 ดูดีที่สุด คล้ายกับของ Gripen มากๆ ส่วนของ T/A-50 ก็คล้าย F-16 C/D (คันบังคับอยู่ด้านข้าง) ในขณะที่ของ L-15 นี่ยังไงผมว่าคงต้องเปลี่ยนทั้งหมดเลยครับ คงต้องให้พี่ยิวทำให้ใหม่ลักษณะเดียวกับเจ้า L-39 ล่ะครับ
ใช่ครับผมเห็นด้วยกับ @คุณ TWG นะครับว่า Cockpit เนี่ยคล้ายของ Gripen มากเพราะฉะนั้นการใช่ M-346 ให้เป็น บ.ฝึกนั้นจะทําให้ย่นชม. การฝึกบ.ขับไล่และค่าใช่จ่ายในการฝึกไม่ว่าจะเป็น Jas-39 , F-35, F-16 ก็ตาม ด้วยเหตุผลนี้การเลือก บ.ฝึกให้ถูกต้องกับความต้องการในอนาคตเป็นสิ่งสําคัญมากครับ
แต่...ในปัจจุบันทอ.มีบ.กริปเป้นประจำการอยู่แค่ 12 เครื่อง และในจำนวนนั้นมี 4 เครื่องเป็นรุ่น D แบบ 2 ที่นั่ง(สำหรับการฝึกบินเปลี่ยนแบบ)อยู่แล้วด้วย เทียบกับ F-16 A/B , ADF , MLU ที่มีอยู่มากกว่า 50 เครื่อง ณ.จุดนี้ก็คงต้องรอดูว่าทอ.จะให้น้ำหนักไปทางไหนมากกว่ากัน และนั่นจะแสดงให้เราได้เห็นว่าทอ.มีแผนจะใช้บ.แบบใดเป็นกำลังหลักในอนาคตอีกด้วย ส่วนเจ้า F-35 นั้นระบบต่างๆ รวมถึง Cockpit เป็นแบบก้าวหน้ามากๆ คงยังไม่มีบ.ฝึกรุ่นไหนที่จะมีระบบที่ใกล้เคียงได้ในช่วงเวลานี้อย่างแน่นอน
ผมขอเสนอ เครื่องฝึกอีกแบบด้วยดีกว่า
L-159 ของเชค ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่เข้าท่านะครับ
เครื่องยนต์ Honeywell F124 แบบเดียวกับ M346 แต่ใช้แค่เครื่องเดียว รับประกันความประหยัด
ความเร็วสูงสุดทำได้เกือบ 1 มัค(936 km/h at sea level, clean)
Radar GRIFO-L (ไม่ทราบระยะตรวจจับสูงสุดครับ ทราบแต่ว่ารุ่นเก่ากว่า หรือ GRIFO-F ที่ใช้ใน F-5S/T ของสิงคโปร์ ระยะตรวจจับอยู่ที่ 56 km สำหรับเครื่องบินในระดับเดียวกัน)
หมายความว่าสามารถใช้ AIM-120 หรือ Derby สำหรับทำการรบแบบ BVR ได้(แต่อาจต้องปรับปรุงแทนติดอาวุธ)
ระบบอาวุธก็ใช้แบบมาตรฐาน NATO ใช้ได้ทุกแบบที่ไทยมี AIM-9M Sidewinder, IRIS-T, AGM-65 Maverick,AIM-132 ASRAAM(ตัวนี้เราไม่มี)
มีตำบลติดอาวุธ 7 ที่(ใต้ปีกข้างละ3 ใต้ตัวอีก1) ค่าตัวก็ไม่แพง อยู่ที่ประมาณ 15-17 ล้าน$
แล้วถ้าจำไม่ผิด ในกระทู้เก่าๆเหมือนว่าเราเคยส่งนักบินไปทดสอบเครื่องตัวนี้แล้วนิครับ
ขอบคุณความเห็นท่าน skywalker ครับ Pampa ที่ราคาถูกน่าจะเพราะพัฒนาแบบพื้นๆโดย อาร์เจนติน่าเอง(ในตอนแรก) ส่วนที่ท่าน TWG ว่าสมรรถนะต่ำนั้น ผมก็เห็นด้วย หรือมันเหมาะเพียงแค่จะมาแทน PC-9 ..... คือจุดประสงค์หลักของผม มองไปที่เราได้พัฒนาทักษะต่อจาก บ.ชอ.2 น่ะครับ.....
L-159 ไม่ทราบว่า ทอ. อิรัก เหมาไปหมดรึยังครับ?
เห็น ทอ. ฟันธงมานานแล้วนี่ครับว่าฝูงบินขับไล่จะมี 2 แบบ คือ
1. F-35 2 ฝูงบิน ทำหน้าที่คล้ายๆ strike fighter แต่สเตลธ์ด้วย
2 Jas-39 3 ฝูงบิน ทำหน้าที่ขับไล่สกัดกั้น
ระหว่างการทยอยทดแทน F-16 ด้วยเครื่องขับไล่ใหม่ ก็อาจจะมี F-16 ค้างคาอยู่บ้างตามแต่เงินที่จะจัดหาได้ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าทอ, มีแบบเครื่องขับไล่ถึง 3 แบบทีเดียว คือ Jas-39 F-35 F-16
ผมว่าถ้าทอ หาเงินมาได้อย่างเหลือเฟือและสามารถจัดหาได้พร้อมกันรวดเดียว ผมว่า F-16 คงถูกปลดเกือบพร้อมๆกัน และถูกทดแทนด้วย Jas-39 กับ F-35 ครับ
ส่วนถ้าจะเอา F/A-50 มาแทนฝูง 211 ผมว่าไหนๆก็ไหนๆแล้ว จัดหา Jas-39 ไปเลยดีกว่าครับ จะได้ลดแบบเครื่องบินลง ถ้า NG ไม่ไหวก็เอา C/D พร้อม AEW&C เหมือนฝูง 701 ก็ได้
แต่ถ้าจะเอา F/A-50 มาทดแทน ผมว่าเรารอเรด้าร์เฟสอะเรย์ที่ทาง Thales กำลังพัฒนาให้เครื่องรุ่นนี้อยู่ดีกว่า เพราะประสิทธิภาพอาจจะได้ใกล้เคียงเรด้าร์ APG-68 V-9 ที่ใช้กับ F-16 block 50/52+ แล้วเลือกอุปกรณืแบบอื่นๆ เช่น AIFF UHF/VHF datalink RWR และระบบสงครามอิเลคทรอนิครุ่นเดียวกับ F-16 block 50/52+ จะทำให้ F/A-50 มีประสิทธิภาพกระโดดเกือบเท่า F-16 block 50/52 เลยทีเดียวครับ
ปล ผมก็สงสัยเป็นอย่างมากว่า ทอ.จะจัดหา F-35 มาได้จริงๆหรือเปล่า สงสัยมากๆ.......
L-159 นั้นน่าเสียดายครับ เพราะทางโรงงานแอโร่....ผู้ผลิตน่าจะยุติสายการผลิตไปแล้ว และไม่มีผู้ใช้ต่างประเทศอื่นใดเลยนอกจาก ทอ.เชค เอง ดังนั้นมีความเสี่ยงไม่น้อยครับว่าซื้อมาแล้วไม่มีอะไหล่ หรือ ถ้ามีก็แพงและช้า สเปกและประสิทธิภาพดีเหลือเฟือพอเลยครับ แถมมีเรด้าร์ APG-67 มาให้ด้วย ราคาก็ต่ำ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะต่กว่า 15 ล้านเหรียญนะครับ มีแต่อินโดมั๊งที่เสี่ยงจัดหามาใช้งานจำนวนหนึ่งและเป็นมือสอง
ค่าใช้จ่ายในการบินของ T-50 น่าจะมากกว่า M-346 อยู่ไม่น้อย แต่ราคาและประสิทธิภาพ M-346 ก็สู้ T-50 ไม่ได้จริงๆ ผมถึงบอกว่าในใจ ทอ. คงสนใจ M-346 มากที่สุดแล้ว แต่เงินในกระเป๋าไม่พอจะทำอย่างไรได้ครับ แถมผู้อนุมัติก็เอียงไปทางฝั่งเกาหลีและจีน
L-15 ได้บริษัทผู้ผลิต Yak-130 ถ่ายทอดเทคโนโลยีมาให้ หน้าตาจึงคล้ายๆ Yak-130 แต่ประสิทธิภาพทางการบินสูงกว่า รัสเซียเคยบอกว่า Yak-130 เป็นสถาปัตยกรรมเปิด ดังนั้น L-15 น่าจะรองรับสถาปัตยกรรมเปิดด้วยเช่นกัน จึงน่าจะสามารถปรับเอาระบบอิเลคทรอนิคของตะวันตกมาใช้งานได้ แต่ราคาก็น่าจะสูงขึ้น ยกเว้นจะเปลี่ยนแค่เท่าที่จำเป็นเหมือน L-39 ZA/ART